The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nsmu_it, 2024-03-12 05:10:01

รายงานผลกิจกรรมการจัดการความรู้ ปีงบประมาณ 2564

รายงานผลกิจกรรมการจัดการความรู้ 2564

รายงานผลกิจกรรมการจัดการความรู้ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีงบประมาณ 2564 โดย คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ และ งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง


NSKnowledge Management ค ำน ำ คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่เป็น ตัวแทนจากภาควิชาและส านักงานที่เข้ามาท างาน เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการจัดการความรู้ให้เกิดขึ้นภายใน คณะพยาบาลศาสตร์ในปีงบประมาณ 2564 นี้นับเป็นปีที่ 15 ของการด าเนินการด้านการจัดการความรู้ คณะกรรมการฯ ได้มีการวางแผนการด าเนินกิจกรรมต ่างๆ โดยพยายามผลักดันให้เกิดการจัดการ ความรู้ในงานประจ า มีการถอดบทเรียนความรู้ที่ได้จากการด าเนินกิจกรรมแต่ละครั้ง ตลอดจนมีการน า เครื่องมือในการจัดการความรู้เข้ามาใช้มากขึ้น เพื่อสะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการวางแผนหาแนว ทางแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นต่อไป การจัดการความรู้ของคณะฯ ในปีงบประมาณ 2564 มีการจัดกิจกรรมทั้ง กิจกรรมการบูรณา กา รจัดก า รคว ามรู้กับก า รด าเนินง านต ามพันธกิจต ่างๆ ของคณะฯ ซึ ่งผลการด าเนินการตลอด ปีงบประมาณนี้ท าให้สามารถถอดบทเรียนความรู้ได้เป็นจ านวนมาก และเพื ่อเป็นการเผยแพร ่ผลการ ด าเนินงาน คณะกรรมการฯจึงจัดท ารายงานผลกิจกรรมการจัดการความรู้ประจ าปีงบประมาณ 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผลการด าเนินงานในด้านต ่างๆ ที่เกี ่ยวข้องกับ การจัดการความรู้ และเผยแพร่ผลการด าเนินงานแก่บุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบุคคลทั่วไป คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานฉบับ นี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน และบุคคลทั่วไปที่จะด าเนินงานด้านการจัดการ ความรู้ต่อไปในอนาคต รองศาสตราจารย์ ดร.สมสิริ รุ่งอมรรัตน์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้


NSKnowledge Management [i] สารบัญ หน้า สรุปการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ 1 กิจกรรมการจัดการความรู้แต่ละภาควิชา 1.1 ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ 2 1.2 ภาควิชการพยาบาลรากฐาน 16 1.3 ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ 18 1.4 ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ 25 1.5 ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา 29 1.6 ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ 30


NSKnowledge Management [1] สรุปผลจากการจัดการความรู้ประจําปี 2564 คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล มีเป้าหมายในการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการ เรียนรู้จึงได้จัดให้มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นประจําทุกปีโดยในปีที่ผ่านมา มีกิจกรรมการจัดการความรู้ จากแต่ละภาควิชาทั้งสิ้น 15 เรื่อง สามารถสรุปกิจกรรมการจัดความรู้ได้ดังนี้ การจัดการความรู้จากแต่ละภาควิชา ในรอบปีที่ผ่านมาพบว่า คณาจารย์ในคณะพยาบาลศาสตร์ มีความสนใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมทั้งมีผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดีเป็นไปตามเป้าหมาย รวมทั้งมีการ เผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ ไปสู่บุคลากรของคณะพยาบาลศาสตร์ให้เกิดการใช้งานองค์ความรู้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยมีรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมดังนี้ 2.1 ภาควิชการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์โดยแบ่งเป็นด้านการดําเนินงานด้านการศึกษา จํานวน 4 เรื่อง 2.2 ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน โดยแบ่งเป็นด้านการดําเนินงานด้านการศึกษา จํานวน 1 เรื่อง 2.3 ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์โดยแบ่งเป็นด้านการดําเนินงาน ด้านการศึกษา จํานวน 2 เรื่อง 2.4 ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์โดยแบ่งเป็นด้านอื่นๆ จํานวน 1 เรื่อง 2.5 ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โดยแบ่งเป็นด้านอื่นๆจํานวน 1 เรื่อง 2.6 ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ โดยแบ่งเป็นด้านการศึกษา จํานวน 5เรื่อง และด้านอื่นๆ จํานวน 1 เรื่อง


NSKnowledge Management [2] ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งท 1/2564 ี่ เรื่อง “การทบทวน การใช Microsoft Teams ้ ในการสอนออนไลน์การสร้างและการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ” ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล วันพุธที่ 17 กุมภาพนธั 2564 ์เวลา 9.00-12.00 น. ผ่านห้องปฏบิัติการคอมพวเตอริ ์และระบบออนไลน Microsoft Teams ์ อาจารย์ลัดดาวัลย์ทรัพย์เจริญมาก/ อาจารย์ดร.ชญาภา ชัยสุวรรณ/ อาจารย์สาธิมา สุระธรรม วิทยากร รศ.ดร.วนดาิเสนะสุทธิพันธุ์ผู้ลิขิต ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “การทบทวน การใช้ Microsoft Teams ในการสอนออนไลน์การสร้างและการ ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ” เมื่อวันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 9.00-12.00 น. ผ่านห้องปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์503 ชั้น 5 คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย และระบบออนไลน์ Microsoft Teams โดยมีวิทยากร 3 คน ได้แก่อาจารย์ลัดดาวัลย์ทรัพย์เจริญมาก อาจารย์ดร.ชญาภา ชัย สุวรรณ และอาจารย์สาธิมา สุระธรรม มผีู้เข้าร่วมกิจกรรมจํานวน 10 คน อาจารย์ลัดดาวัลย์ทรัพย์เจริญมาก วิทยากร ได้นําเข้าสู่กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการสอน ให้เนื้อหา อย่างสั้นๆ และให้เวลาแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการฝึกทําในหัวข้อย่อยต่างๆ ที่เรียน อย่างต่อเนื่อง เป็นระยะๆ โดยมีอาจารย์ดร.ชญาภา ชัยสุวรรณ และอาจารย์สาธิมา สุระธรรม ให้คําแนะนํา ตอบคําถาม และช่วยเหลือแก้ไขปัญหาในระหว่างเรียนอย่างใกล้ชิด จนผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถ ทําได้ด้วยตนเอง ก่อนเริ่มการทํากิจกรรม มีการสอบถามประเด็นปัญหาในเข้าถึงระบบ Microsoft Teams ปัญหาใน การใช้แนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ประเด็นที่ต้องการเรยนรีู้เพิ่มเติม หรือไม่แน่ใจ เพื่อให้คณาจารย์สามารถ ใช้ Microsoft Teams .ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างคล่องตัว มีประสิทธิภาพสูงสุด และรวดเร็วทันเวลา ในการจัดกิจกรรม KM ครั้งนี้ได้มีการทบทวนเนื้อหา ดังต่อไปนี้ 1. การเข้าสู่ระบบ Microsoft Teams เช่น การ download สัญลักษณ์ต่างๆ ในการใช้งาน การ upload ไฟล์การแชร์ไฟล์การนําเสนอ การบันทึก ประเด็นปัญหาในการใช้ที่ มักพบบ่อย เป็นต้น 2. การสร้างห้องเรียนสําหรับนักศึกษากลุ่มใหญ่สําหรับรับนักศึกษา อาจารย์และ บุคคลภายนอก การกําหนดการเข้าร่วมการเรียนออนไลน์จะให้เข้าร่วมได้หรือไม่ได้ การตรวจสอบรายชื่อนักศึกษา 3. การสร้างห้องเรียนย่อย สําหรับการเรียนกลุ่มย่อย สามารถทําได้หลายๆ ห้องใน ระยะเวลาเดียวกัน ได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยส่งเสริม Interactive learning


NSKnowledge Management [3] 4. การมอบหมายงาน ในขณะเรียน การส่งงาน และการป้อนกลับจากอาจารย์สามารถทํา ได้หลากหลายวิธีขึ้นกับจํานวนนักศึกษา และระยะเวลาในการมอบหมาย 5. การสร้างแบบประเมินการจัดการเรียนการสอน หรือแบบประเมินอื่นๆ ในระหว่างเรียน หรือเมื่อสิ้นสุดของรายวิชา 6. การสร้างแบบทดสอบ/ข้อสอบ ทั้งปรนัย และอัตนัย การตรวจคะแนน และการส่งผลการ สอบ ซึ่งสามารถให้นักศึกษาทําในเวลาเรียน หรือนอกเวลาเรียนที่กําหนดได้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม สรุปได้ดังนี้ 1. การเรียนรู้โดยทีมวิทยากร สอน ให้ข้อมูล ร่วมกับการฝึกปฏิบัติ เป็นระยะๆ ทําให้ เข้าใจได้ง่ายขึ้น 2. การศึกษาการใช้โปรแกรม Microsoft Teams ควรมีการศึกษาทบทวนจาก video clips ผ่าน link ต่างๆ สําหรับคณาจารย์ได้อ่านและทบทวนได้บ่อยตามที่ต้องการ (7 links) สําหรับแนวทางในการนําไปประยุกต์ในการสอนทฤษฎี คณาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เสนอแนะให้ศึกษาหรือทบทวนเพิ่มเติม โดยศึกษาจาก video clips ทั้ง จากในระดับภาควิชา คณะพยาบาลศาสตร์และระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้มีความคุ้นเคยมากขึ้น และนําไป ประยุกต์ใช้ได้จริง โดยเฉพาะภาคทฤษฏีจะช่วยให้การจดการเรั ียนการสอนน่าสนใจ ติดตามมากขึ้น ผลการประเมินจากคณาจารย์ 5 คน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ได้รับประโยชน์ใน การเข้ากิจกรรม เสนอแนะให้ทํากิจกรรม KM ครั้งต่อไปในเรื่อง การสร้างข้อสอบและการจัดทําแบบประเมิน ออนไลน์อนึ่ง เนื่องจากเนื้อหาในการจัดทํา KM ครั้งนี้มีเน้ือหามาก จึงควรทํากิจกรรม KM 2 ครั้ง เพื่อได้มี โอกาสฝึกในการทํา ถ้าหากเป็นไปได้ควรจัดทําเป็น Advanced course จะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่คณาจารย์ ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลยนเรี่ียนรู้เรื่อง “การทบทวน การใช้ Microsoft Teams ในการสอนออนไลน์การสร้างและการใช้อย่างมีประสิทธภาพิ ” ด้านการดําเนินงานด้านการศึกษานั้น นําสิ่งที่ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปประยกตุ์ในในการจดการเรั ียนการสอนออนไลน์แลแก้ไขปัญหาในการจัดการเรียนการ สอนออนไลน์รวมถึงการสร้างทีม การแบ่งห้อง การทํากลุ่มย่อย การให้นักศึกษาส่งงานผ่านระบบออนไลน์


NSKnowledge Management [4]


NSKnowledge Management [5] กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งท 2/2564 ี่ เรื่อง “Essential skills for effective teaching” ในหัวข้อย่อย ครั้งที่ 1 เรื่อง “Teaching techniques” คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ โดยภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล วันพุธที่ 28 เมษายน 2564 เวลา 13.30-15.00 น. ผ่าน link: https://tinyurl.com/46yuyrmy อาจารย์ดร.ภัทรนุช วิทูรสกุล/อาจารย์สาธิมา สุระธรรม/อาจารย์ดร.ชญาภา ชัยสุวรรณ อาจารย์ลัดดาวัลย์ทรัพย์เจริญมาก วิทยากร รศ.ดร.วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์ผู้ลิขิต คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้โดยภาควิชาการพยาบาลกุมาร เวชศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “Essential skills for effective teaching” ประกอบด้วย 3 ครั้ง โดยหัวข้อย่อย ครั้งที่ 1 เรื่อง “Teaching techniques” เ มื่อ วัน พุธ ที่ 28 เมษายน 2 5 6 4 เวลา 13. 30 - 1 5. 00 น . ผ่า น link: https://tinyurl.com/46yuyrmy โดยมีวิทยากร 4 คน ได้แก่อาจารย์ดร.ภัทรนุช วิทูรสกุล อาจารย์สาธิมา สุระธรรม อาจารย์ดร.ชญาภา ชัยสุวรรณ และอาจารย์ลัดดาวัลย์ทรัพย์เจริญมาก และมีคณาจารย์จาก 4 ภาควิชาฯ เข้าร่วมกิจกรรมจํานวน 21 คน สําหรับกิจกรรมในหัวข้อย่อยครั้งต่อไป คือ ครั้งที่ 2 เรื่อง “Active learning” เมื่อวันพุธที่ 23 มิถุนายน 2564 เวลา 13.30-15.00 น. และครั้งที่ 3 เรื่อง “Monitoring and evaluation” เมื่อวันพุธที่ 14 กรกฎาคม 2564 เวลา 13.00-14.00 น. ในหัวข้อย่อย ครั้งที่ 1 เรื่อง “Teaching techniques” ประกอบด้วยหัวข้อ Basic concepts of clinical teaching, Giving feedback, Reflection, Clinical supervision, Questioning techniques, Teaching on the run, Reflection from this activity session โดย Basic concepts of clinical teaching จะเน้น OLE คือ Objective, Learning experience, Evaluation และใช้หลัก C-A-P ได้แก่ความรู้เจตคติ และทักษะ ในการฝึกทักษะของผู้เรียน พึงประกอบด้วย Close supervision, Refection, Giving feedback หลักในการให้ข้อมูลย้อนกลับ (How to giving feedback) ประกอบด้วย 1. สร้างบรรยากาศที่ดีผ่อนคลาย 2. เริ่มให้ผู้เรียนประเมินตนเองก่อน คือการสะท้อนคิด (Reflection) 3. ให้ positive feedback ก่อน 4. ให้ negative feedback ที่จําเพาะ 5. การ feedback ให้ในปริมาณที่เหมาะสม และเลือกประเด็นที่สําคัญก่อน และต้องการ การแก้ไขปรับปรุง


NSKnowledge Management [6] 6. ให้คําแนะนํา และวางแผนในการทํางานหรือฝึกปฏิบัติครั้งต่อไป ข้อชวนคิด สําหรับ Positive feedback เพื่อรักษาพฤติกรรมที่ดีให้กล่าวชมเชย ทําทันทีในแบบ ส่วนตัว หรือต่อหน้าผู้อื่น ส่วน Negative feedback เพื่อแก้ไขปรับปรุง ให้กล่าวถึงข้อเท็จจริง ให้คําแนะนํา และการปรับปรุง ให้ทําทันเวลาและเร็ว แบบส่วนตัว ไม่ต่อหน้าผู้อื่น Reflection เป็นการให้โอกาสผู้เรียนได้สะท้อนคิดหรือการประเมินตนเอง มี 2 ระดับ ได้แก่ Descriptive reflection บอกสิ่งที่ได้เรียนรู้มา และ Practical reflection เชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้เหมือนหรือ ต่างจากเดิม ตัวอยางการสะท่ ้อนคิด เช่นได้เรียนรู้อะไร ต่างจากเดิมหรือเคยปฏิบัติอย่างไร มีข้อดีอย่างไร มีข้อ ปรับปรุงอย่างไรบ้าง หรือถ้ามีโอกาสที่จะปฏิบัติอีกครั้งจะทําอย่างไร การสะท้อนคิดควรจะทําก่อนการให้ ข้อมูลย้อนกลับที่สําคัญ/จําเป็นหรือเพิ่มเติม Clinical supervision โดยมีวัตถุประสงค์คือ Professional development และ Patient safety ในการเตรียมพร้อมนักศึกษาก่อนฝึกปฏิบัติหัตถการจริงกับผู้ป่วย เช่น การฝึกในสถานการณ์จําลอง (Simulation) และ Self supervision การศึกษาด้วยตนเอง แล้วฝึกซ้อมการทําหัตถการ อาจจะมีข้อจํากัด เรื่องไม่ทราบถึงข้อพึงระมัดระวัง หรือประเด็นสําคัญๆ หลักในการให้ Clinical supervision ได้แก่ Planning, Briefing, Practice, Debriefing โดยในการสอนหรือให้คําแนะนํานักศึกษาในการฝึกปฏิบัติพึงตระหนักถึงเจต คติ (Attitude perception) แล้วให้ปฏิบัติ (Action) และตรวจสอบผลลัพธ์ (Results) แล้วควรทํา Debriefing สอบถามรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับความคิด/การเรียนรู้และกระบวนการในการดูแลผู้ป่วย ให้นักศึกษา สะท้อนคิด สําหรับการปรับปรุงในการดูแลครั้งต่อไป หรือวางแผนอย่างไรในรายที่มีประเด็นปัญหาที่ยากหรือ ซับซ้อนมากขึ้น Questioning techniques มีประโยชน์คือ Think critically, Scaffold learning, Retain knowledge โดย The “Must” questioning ประกอบด้วย Critical thinking, Diagnostic reasoning skill, Decision making ในการสอน ควรสอบถามหรือตั้งคําถามนักศึกษา คือ ตั้งคําถาม (Questioning) มากกว่า การบอกข้อมูลหรือแนะนําเลย (Telling) โดยคํานึงถึง 3 ประเด็น ได้แก่ 1) Good atmosphere (suitable, respect, acknowledge, attend) 2) Good questions ให้แนะนํานักศึกษาก่อนสําหรับการสอบถามคําถามในห้องเรียน หรือเรียกชื่อ นักศึกษาถาม โดยถามเพียง 1 คําถามในแต่ละครั้ง ที่ชัดเจนและจําเพาะเจาะจง และสอบถาม คําถามที่สามารถตอบได้หลากหลาย หรือในเชิงกว้างหรือลึกมากขึ้น และควรหลีกเลี่ยง คําถาม Yes-No เดา คําถามนํา หรือถามคําถามไปเรื่อยๆ ถามใช้คําถามลากไปเรื่อยๆ หรือมาก/นานเกินไป 3) Good techniques (clarification, assumption, reasons, viewpoints, implications, about questions) เวลาถามคําถามนักศึกษา ควรให้เวลานักศึกษาคิดและตอบคําถาม ประมาณ 10 วินาที แต่ไม่ควรเกิน 30 วินาทีเพราะนานเกินไป จะทําให้นกศั ึกษารู้สึกกดดัน หรือเกิดความเครียดได้ Teaching on the run เป็นการสอนนักศึกษาพยาบาลข้างเตียง ในขณะเรียน หรือดูแลผู้ป่วย ซึ่งมีระยะเวลาจํากัด อยู่ในสถานการณ์ที่จําเพาะ เช่นข้างเตียง หน่วยผู้ป่วยนอก หรือทางเดิน และเป็น


NSKnowledge Management [7] สถานการณ์ที่สามารถควบคุมได้น้อย ดังนั้น ควรจะเป็นการสอนแบบง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้เวลาสั้นๆ ในเวลา 1 นาทีควรเป็นการสอนเชิง Active มากกว่า Passive และการให้คําแนะนํา/เสนอแนะ (Supervision experience) โดยปรับเปลี่ยน รูปแบบการสอนแบบเดิม ซึ่งเน้น Case presentation และ Case summary มากกว่า Asking question, Patient assessment ไปเป็นรูปแบบการสอนแบบใหม่ซึ่งเน้น Asking question, Patient assessment มากกว่า โดยเทคนิค ของ Teaching on the run ประกอบด้วย ถามหา ความคิดเห็น (Make commitment) สอบถามถึงเหตุผล (Explore reasoning) เน้นจุดสําคัญ (Teach general rules) เสริมสิ่งที่ดี (Reinforce what was done) และชี้จุดพัฒนา (Correct mistakes) สําหรับ Reflection from activity session เพื่อประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ คณาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากภาควิชาฯ ต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า Teaching techniques ต่างๆ เช่น การตั้งคําถาม การป้อนข้อมูลกลับ การสะท้อนคิด เป็นต้น ก็ได้มีการใช้อยู่เสมอๆ แต่การมาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ทําให้ตระหนักถึงความสําคัญมากขึ้น หลักการ กระบวนการ และตัวอย่าง กรณีศึกษา คําพูดหรือประโยคที่ควรใช้รวมทั้งปัญหาที่มักพบบ่อย และแนวทางแก้ไข หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น ส่วน Teaching on the run ดูว่าจะเป็นสิ่งใหม่แต่อาจจะมีการใช้บ้าง หรือไม่เต็มรูปแบบหรือไม่ครบขั้นตอน อาจารย์บางส่วนแจ้งว่าระยะเวลาในการเข้ากลุ่มย่อย ทํา Role play ภายใน 1 นาทีค่อนข้างยาก จึงทําได้ไม่ ครบทุกขั้นตอน แต่ก็มีอาจารย์บางส่วนทําได้ดีถูกต้องตามขั้นตอนและในเวลาที่กําหนด ถ้าได้ทําบ่อยๆ อาจจะ ทําให้การทํา Teaching on the run ดีขึ้น และสามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้จริงในการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะภาคปฏิบัติได้ การประเมินผล ผลการประเมินจากคณาจารย์ 4 วิชาฯ จํานวน 7 คน พบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยมากถึงมากที่สุด ได้รับประโยชน์อย่างมากในการเข้ากิจกรรม สามารถนําไปเผยแพร่ และประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการ สอนทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติได้ทีมวิทยากร มีการเตรียมตัวมาอย่างดีเยี่ยม ให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะ ที่กระชับ ตรงประเด็น มีกิจกรรมกลุ่มย่อย ลักษณะของกิจกรรมเป็น Active learning ทําให้น่าสนใจ ติดตาม และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์เดิม ผนวกกับข้อมูลและความรู้ใหม่ที่ได้รับ ระหว่างคณาจารย์ จากหลายภาควิชาฯ เช่นการตั้งคําถาม และระยะเวลาในการรอคําตอบจากนักศึกษาที่เหมาะสม เพื่อให้โอกาส นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วม คณาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้ให้ข้อคิดเห็นและถามคําถามที่ น่าสนใจ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ ข้อเสนอแนะ - ควรเพิ่มเวลาในการทํากิจกรรมกลุ่มย่อย เพราะช่วยทําให้เข้าใจได้มากขึ้น - การบันทึก teaching techniques ในแบบฟอร์ม ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรม 2 สัปดาห์เนื่องจาก ช่วงระยะเวลาดังกล่าว ไม่มีการจัดการเรียนการสอนเช่นปกติอาจตอบแบบบันทึกได้ไม่สมบูรณ์ - อยากให้สรุปเน้ือหาสั้นๆเป็น One page infographic และ post ไว้ใน KM ของภาควิชาหรือ คณะฯ เพื่อเผยแพร่ต่อไป


NSKnowledge Management [8] ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง ในหัวข้อ “Essential skills for effective teaching” ประกอบด้วย 3 ครั้ง โดยหัวข้อย่อย ครั้งที่ 1 เรื่อง “Teaching techniques” ด้านการดําเนินงาน ด้านการศึกษานั้น สามารถนําไปเผยแพร่ และประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนทั้งในภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติได้การใช้เทคนิคในการเรียนการสอน เช่น การต้ังคําถาม และระยะเวลาในการรอคําตอบจาก นักศึกษาที่เหมาะสม เพื่อให้โอกาสนักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วม มีการทํากิจกรรมกลุ่มย่อยเป็น Active learning ทําให้น่าสนใจ ติดตาม และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์เดิม ผนวกกับข้อมูล และความรู้ใหม่ที่ได้รับ ระหว่างคณาจารย์จากหลายภาควิชาฯ


NSKnowledge Management [9] กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งท 3/2564 ี่ เรื่อง “Essential skills for effective teaching” ในหัวข้อย่อย ครั้งที่ 2 เรื่อง “ Active learning” คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ โดยภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล วันพุธที่ 7 กรกฎาคม 2564 เวลา 13.30-15.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ Microsoft team Link: shorturl.at/mxzUW อาจารย์ดร.ภัทรนุช วิทูรสกุล/อาจารย์สาธิมา สุระธรรม/อาจารย์ดร.ชญาภา ชัยสุวรรณ/ อาจารย์ลัดดาวัลย์ทรัพย์เจริญมาก วิทยากร อ.ลัดดาวัลย์ทรพยั ์เจริญมาก ผู้ลิขิต คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้และภาควิชาการพยาบาลกุมาร เวชศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “Essential skills for effective teaching” ประกอบด้วย 3 ครั้ง โดยหัวข้อย่อย ครั้งที่ 2 เรื่อง “Active learning”โดยมีวิทยากร 4 คน ได้แก่อาจารย์ดร.ภัทรนุช วิทูรสกุล อาจารย์สาธิมา สุระธรรม อาจารย์ ดร.ชญาภา ชัยสุวรรณ และอาจารย์ลัดดาวัลย์ทรัพย์เจริญมากในวันพุธที่ 7 กรกฎาคม 2564 เวลา 13.30- 15.00 น. ผ่าน Link: shorturl.at/mxzUW และมีคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน เข้าร่วมกิจกรรม จํานวน 12 คน รายละเอียดสรุปได้ดังนี้ ในหัวข้อย่อย ครั้งที่ 2 เรื่อง “Active learning” ประกอบด้วยหัวข้อ Basic Concepts of Active Learning, Small group teaching, Ward round and bedside teaching, Clinical performance assessment, Reflection โดย Basic concepts of active learning มี 4 หลักการพื้นฐานที่ช่วยส่งเสริมการ เรียนรู้แบบ Active learning ได้แก่ Feedback, Activity, Individualization, Relevance การสอนกลุ่มย่อย Small group teaching โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการร่วมอภิปราย การ ทํากลุ่ม การสะท้อนคิดและการให้ข้อมูลย้อนกลับ เป็นต้นโดยครูผู้สอนมีบทบาทในการเป็นผู้นําในการทํากลุ่ม เป็นที่ปรึกษา เป็นผู้สังเกตการณ์สนับสนุนประเด็น/ข้อโต้แย้ง ซึ่งจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พบว่าส่วนใหญ่มัก พบปัญหาและอุปสรรค เช่น นักศึกษาไม่ได้เตรียมตัว อาจจะมีนักศึกษาเพียงบางคนที่ตั้งใจทํากลุ่ม นักศึกษา บางคนไม่มีส่วนร่วมในการทํากลุ่ม ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยกระตุ้นในนักศึกษามีการเตรียมตัว มีการแนะนําและ ตั้งกติกาในการทํากลุ่ม การเลือกใช้ทําคําถามที่เหมาะสม สามารถกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน มีการ อธิบายในเวลาที่เหมาะสม มีการสรุปและประเมินผล


NSKnowledge Management [10] การสอนข้างเตียง Bed side teaching มีขั้นตอนหลัก 5 ขั้น คือ 1. การเตรียมทั้งผู้ป่วยและนักศึกษาก่อนทําการเรียนการสอน รวมทั้งยึดหลักการเคารพสิทธิของผู้ป่วยด้วย 2. การสรุปรวมสิ่งที่ต้องการปฏิบัติเมื่อเข้าพบผู้ป่วย เช่น สรุปความรู้ข้อมูลผู้ป่วย สิ่งที่ต้องการทราบ คําถามใน การซักประวัติการตรวจร่างกายในระบบที่ต้องการทราบเพ่มเติ ิม รวมถึงหัตถการที่จะปฏิบัติกับผู้ป่วย เป็นต้น 3. การสอนข้างเตียงเน้นให้นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์และได้ประสบการณ์การจากผู้ป่วย เช่น การฝึกทักษะการซัก ประวัติการตรวจร่างกาย การสื่อสาร การสังเกตพฤติกรรม ลักษณะอารมณ์ของผู้ป่วย การตัดสินใจ ทักษะใน การปฏิบัติหัตถการ เป็นต้น 4. การสรุปรวมความรู้และประสบการณ์ที่ได้หลังจากปฏิบัติกับผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจตนเอง สถานการณ์สิ่งที่ปฏิบัติรวมถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหา 5. การสะท้อนคิด ความรู้สึก สิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อนําไปสู่การพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลเกิด ความรู้สึกที่ดีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพและมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลเพิ่มขึ้น การประเมินผล เป็นกระบวนการที่ใช้เพื่อบันทึกระดับความรู้ทักษะ และเจตคติของผู้เรียน ซึ่งมัก บันทึกเป็นระดับคะแนนที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ระหว่างผู้เรียน ได้จากการสังเกตการปฏิบัติงานของ นักศึกษาในสถานการณ์จริง ซึ่งในการประเมินอาจมีปัจจัยรบกวนอื่นๆ มาเกี่ยวข้อง เช่น ระบบการทํางาน สภาพแวดล้อม สภาพจิตใจของผู้สอบ รวมถึงผู้ประเมินแต่ละคนอาจประเมินให้คะแนนแตกต่างกันใน สถานการณ์เดียวกัน ดังนี้จึงควรมีการสร้างมาตรฐานให้ผู้ประเมินแต่ละคนเข้าใจในการประเมินตรงกันและ เครื่องมือในการประเมิน ควรมีความชัดเจนและเหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการประเมิน การประเมินผล ผลการประเมินจากคณาจารย์และบุคลากร จํานวน 7 คน พบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยมากถึงมากที่สุด ได้รับประโยชน์อย่างมากในการเข้ากิจกรรม สามารถนําไปเผยแพร่ และประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการ สอนทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติได้ทีมวิทยากร มีการเตรียมตัวมาอย่างดีเยี่ยม ให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะ ที่กระชับ ตรงประเด็น มีคลิปวิดีโอประกอบทําให้มีความน่าสนใจมากขึ้น และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ประสบการณ์เดิม ผนวกกับข้อมูลและความรู้ใหม่ที่ได้รับ และควรมีจัดในครั้งต่อๆไป ข้อเสนอแนะ - อยากให้แลกเปลี่ยนจัด KM กับภาควิชาอื่นๆ มากขึ้น - อยากให้มีการจัดกิจกรรมในหัวข้อ Online skill assessment และ Active learning online - Video clips ประกอบ ทําให้น่าสนใจมากขึ้น ระดับเสียงใน video บางช่วงค่อนข้างเบา ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง หัวข้อ “Essential skills for effective teaching” ประกอบด้วย 3 ครั้ง โดยหัวข้อย่อย ครั้งที่ 2 เรื่อง “Active learning” ด้านการดําเนินงานด้าน การศึกษานั้น นําไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติทั้งการสอน แบบ Active learning เทคนิคต่างๆ ในการทํากลุ่มย่อย การสอนข้างเตียงบนหอผู้ป่วย รวมถึงการประเมิน และแบบประเมินผล


NSKnowledge Management [11]


NSKnowledge Management [12] กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งท 4/2564 ี่ เรื่อง “Essential skills for effective teaching” ในหัวข้อย่อย ครั้งที่ 3 เรื่อง “Monitoring and Evaluation” คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ โดยคณะกรรมการพัฒนาการจัดการความรู้ระบบข้อมูลสารสนเทศ ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล วันพุธที่ 1 กันยายน 2564 เวลา 13.30-14.30 น. ผ่านระบบออนไลน์ Microsoft team Link: shorturl.at/npABH อาจารย์ดร.ชญาภา ชัยสุวรรณ อาจารย์ลัดดาวัลย์ทรัพย์เจริญมาก วิทยากร รศ.ดร.วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์ผู้ลิขิต คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้โดยร่วมมือกับคณะกรรมการ พัฒนาการจัดการความรู้ระบบข้อมูลสารสนเทศ ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “Essential skills for effective teaching ” ไปแล้วจํานวน 3 ครั้ง โดยหัวข้อย่อย ครั้งที่ 1 เรื่อง “Teaching techniques” เมื่อวันพุธที่ 28 เมษายน 2564 เวลา 13.30-15.00 น. ครั้งที่ 2 เรื่อง “Active learning” เมื่อวันพุธที่ 7 กรกกฏาคม 2564 เวลา 13.30-15.00 น. และครั้งนี้ครั้งที่ 3 เรื่อง “Monitoring and evaluation” เมื่อวันพุธที่ 1 กันยายน 2564 เวลา 13.30-14.30 น. โดยมีคณาจารย์จากภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์และภาควิชาอื่นๆ เข้าร่วม กิจกรรมจํานวน 13 คน ในการนําเสนอผลการติดตามและการประเมินผล ที่คณาจารย์ภาคอื่นๆ นําวิธีการสอน ต่างๆ ไปใช้เช่น Questioning, Reflection, Teaching on the run, small group discussion (มีผู้ตอบ การนําไปใช้จํานวน 6 คน) โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ได้ร่วมกันอภิปรายอย่างหลากหลาย ในเรื่องการ นําไปใช้ปัญหาอุปสรรค ที่พบ รวมทั้งแนวทางแก้ไข/ข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เป็นประโยชน์สรุปประเด็นสําคัญๆ ได้ดังนี้ 1. Questioning ได้มีการใช้ในการสอนบรรยาย และการสอนภาคปฏิบัติซึ่งพบว่า นักศึกษาส่วน ใหญ่มักจะเงียบ ต้องกระตุ้นถามคําถามหลายครั้ง พบนักส่วนหนึ่งไม่กี่คนที่มักจะตอบแบบสอบถาม อนึ่ง questioningสามารถใช้ได้ดีในการสอน simulation ใน LRC ทําให้สามารถประเมินการปฏิบัติของนักศึกษา และบทบาทการเป็นผู้นํา รวมทั้งการประเมินทักษะการปฏิบัติบนหอผู้ป่วยได้ว่าทําอะไร เพราะอะไร กระตุ้น ให้นักศึกษาได้มีโอกาสคิด วิเคราะห์ ข้อเสนอแนะ: - คําถามไม่ควรยากมาก ถ้ายาก ต้องย่อยให้เข้าใจได้ง่าย หรือมีการบอกไบ้บางส่วน - อาจารย์ผู้สอนต้องใจเย็น อดทน และรอคําตอบจากนักศึกษา เลือกใช้คําถามเป็นบางช่วงในการ สอน ถ้าใช้มากเกินไป ก็ทําให้ใช้เวลาในการสอบถามมากเกินไป อาจจะทําให้สอนไม่ทัน หรือเร่งสอนในช่วง ท้ายๆ


NSKnowledge Management [13] - ลักษณะ ท่าทางการถามจะต้องเป็นมิตร ไม่คุกคาม ปรับน้ําเสียงและระดับความดังให้เหมาะสม ถ้านักศึกษาตอบไม่ได้อาจจะบอกใบ้หรือขอให้เพื่อนในกลุ่มช่วย หรือขออาสาสมัคร เช่น ใครประสงค์ อยากตอบ - สุ่มถาม หรือถามจากรายชื่อ รายกลุ่ม หรือขออาสาสมัคร หรือถามทั้งชั้น หรือขอฟงเสั ียงนักศึกษา ที่ยังไม่เคยตอบ หรือเปิดกล้องให้เห็นหน้า รู้จักกันมากขึ้น - ใช้เทคนิคการถามคําถาม ในการเปิดประเด็น หรือถามต่อยอดจากเนื้อหาเดิม เพื่อทดสอบความ เข้าใจ หรือกรณีศึกษา เพื่อประเมินการนําไปใช้หรือประยุกต์ - ในกรณีที่นักศึกษาหลายคน ตอบไม่ได้ควรเฉลย หรืออธิบายเพิ่มเติม 2. Reflection ส่วนใหญ่อาจารย์มักจะใช้ภายหลังการสอน เช่น การสอนกลุ่มย่อย หรือการสอน ภาคปฏิบัติบนหอผู้ป่วย เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสสะท้อนความคิดเห็นของตนเองว่าตนเองเรียนรู้อะไร มี จุดเด่นอะไร และอยากจะปรับปรุงหรือพัฒนาเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งก็พบปัญหาว่านักศึกษาบางส่วนไม่กล้าที่จะพูด สะท้อนคิด ไม่อยากให้เนนจุ้ดด้อย หรือพูดไปมากอาจจะถูกหักคะแนน ข้อเสนอแนะ: -แจ้งนักศึกษาว่าเป็นกระบวนการศึกษา และเรียนรู้ร่วมกันในระหว่างเพื่อน ไม่มีการหักคะแนน หรือถ้าแสดงความคิดเห็น ก็จะช่วยให้เพื่อนในกลุ่ม ให้คะแนนเพื่อนๆ ในกลุ่มได้ดีมากขึ้น -การสะท้อนคิด ช่วยให้ข้อมูลแก่อาจารย์ในการปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนให้ดีขึ้น และฝึกให้ นักศึกษามีความกล้าในการแสดงออก และประเมินตนเอง ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ซึ่งจะนําไปสุ่การพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืนต่อไป 3.Teaching on the run เป็นวิธีการสอนที่น่าสนใจ แต่เนื่องเป็นช่วงที่นักศึกษายังไม่ได้ขึ้นฝึกปฏิบัติ อาจารย์จึงยังไม่ได้นําไปใช้ในการสอน แต่คิดว่าเป็นวิธีการสอนที่ท้าทายทั้งอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา อาจารย์จึงควรจะมีระยะเวลาในการทดลอง/ฝึกฝนในการนําไปใช้ในการประเมินความรู้ความเข้าใจ การตัดสินใจบนข้อมูลพื้นฐานทางคลินิก และการเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมของนักศึกษาต่อไป 4. Small group discussion อาจารย์ส่วนใหญ่ได้นําไปใช้เช่นการสอนกลุ่ม ในวิชาทฤษฏีการสอน กลุ่มย่อย การเรียนในห้อง LRC และการเรียนภาคปฏิบัติในหอผู้ป่วย โดยรวมก็จะได้ผลดีในการสอน แต่ก็พบ ปัญหาบางส่วน เช่น นักศึกษาไม่ยอมแสดงความคิดเห็น หรือมีบางส่วนเท่านั้นที่มักจะแสดงความคิดเห็น การแบ่งงานที่รับผิดชอบภายในกลุ่มไม่ทั่วถึง หรือไม่ทํางานตามที่ได้รับมอบหมาย หรือการทํากลุ่มบริหารเวลา ไม่ดีพอ เช่น ทํางานไม่ทัน หรือกลับเข้าห้องกลุ่มใหญ่ล่าช้า เป็นต้น


NSKnowledge Management [14] ข้อเสนอแนะ: - สุ่มถาม หรือ สลับให้เพื่อนตอบ หรือสลับคนที่นําเสนอ หรือการกําหนดการถามคําถาม เช่นให้ แสดงความคิดเห็นอย่างน้อยคนละ 1 ครั้ง อาจารย์จะบันทึกจํานวนครั้ง - กระตุ้นให้มีการถาม การตอบ โดยในช่วงแรก อาจารย์อาจจะทําเป็นตัวอย่าง หรือแม้แต่การ ยกตัวอย่างหรือสาธิตว่าอาจจะเป็นลักษณะใดได้บ้าง และอาจารย์ควรเน้นถึงประโยชน์ที่นักศึกษาพึงได้จาก การเรียน small group discussion - อาจารย์อาจสอบถามถึงประเด็นปัญหาในการทํางานกลุ่ม การแบ่งงาน ใครทํางานมาก น้อย และเสนอแนะการปรับแก้อย่างไร อาจสอบถามเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม แล้วแต่กรณีที่เหมาะสม ------------------------------------------------ การประเมินผล ผลการประเมินจากคณาจารย์จํานวน 7 คน พบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยมากถึงมากที่สุด เป็นกิจกรรม KM ที่ได้ประโยชน์ดําเนินการได้อย่างราบรื่น น่าสนใจมากและได้แลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆ ร่วมกับภาควิชาฯ อื่นๆ ข้อเสนอแนะ อยากให้มีการ refresh เทคนิคต่างๆ เป็นระยะๆ เนื่องจากเป็น tarcit knowledge เทคนิคการสอนมีหลายวิธีแล้วแต่อาจารย์จะเลือกใช้หรือใช้ผสมผสานหลายวิธีทั้งนี้ก็ขึ้น ความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษามากน้อยแค่ไหน และระยะที่กําหนดในการสอน อาจารย์สามารถ ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้เหมาะสมตามสถานการณ์เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้สูงสุด อาจารย์สนุกกับ การสอน และนักศึกษาก็เรียนรู้อย่างมีความสุข ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง เรื่อง “Essential skills for effective teaching” ในหัวข้อย่อย ครั้งที่ 3 เรื่อง “Monitoring and Evaluation” ด้านการดําเนินงานด้านการศึกษา นั้น ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาและอุปสรรคเมื่อนําเทคนิคไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและได้ช่วยกัน เสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาในการเรียนการสอน เพื่อช่วยพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น


NSKnowledge Management [15]


NSKnowledge Management [16] กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งท 1/2564 ี่ เรื่อง “การพัฒนาข้อสอบปรนัยเพื่อประเมินความรทางการพยาบาลู้ ” รองศาสตราจารย์พัสมณฑ์คุ้มทวีพร ผู้นํากิจกรรม ผู้ช่วยอาจารย์เสาวลักษณ์ สุขพัฒนศรีกุล ผู้ลิขติ ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การพัฒนาข้อสอบปรนัยเพื่อ ประเมินความรู้ทางการพยาบาล” โดยรองศาสตราจารย์พัสมณฑ์คุ้มทวีพร ในวันที่ 17 มีนาคม 2564 เวลา 9.00 – 11.00 น. ณ ห้องประชุม 318 คณะพยาบาลศาสตร์ศาลายา มีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้ ข้อสอบปรนัย (multiple choice question) เป็นข้อสอบที่นํามาใช้อย่างแพร่หลายในการวัดผล การศึกษาทางการพยาบาล ซึ่งข้อสอบปรนัยที่ดีนั้นสามารถวัดได้ทั้งในระดับรู้จําไปจนกระทั่งการประยุกต์ใช้ โดยข้อสอบปรนัยสามารถแบ่งออกเป็น ๒ รูปแบบ คือ ข้อสอบแบบถูกผิด (true/false item) และข้อสอบ เลือกตอบที่ถูกที่สุด (one best response) สําหรับการออกข้อสอบเพื่อวัดผลการศึกษาทางการพยาบาล ที่พบบ่อยส่วนใหญ่เป็นการออกข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบที่ถูกที่สุด การพัฒนาข้อสอบปรนัยเพื่อประเมินความรู้ทางการพยาบาลนั้น อาจารย์ต้องมีวัตถุประสงค์ที่ ชัดเจนว่าต้องการประเมินในเรื่องใด ไม่ควรวัดหลายวัตถุประสงค์ในข้อสอบข้อเดียว หลีกเลี่ยงการถามคําถาม ที่ยังมีความขัดแย้งในทางปฏิบัติและควรออกตามตารางกําหนดจํานวนข้อสอบ (blue print) สําหรับภาษา ที่ใช้ในการเขียนข้อสอบนั้น ควรเป็นภาษาที่ง่ายและไม่ซับซ้อนเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน หลีกเลี่ยงการ เขียนโจทย์คําถามที่เป็นประโยคเชิงปฏิเสธ เช่น ยกเว้นข้อใด พบน้อยที่สุด ปฏิบัติน้อยที่สุด เป็นต้น กรณีที่ อาจารย์ออกข้อสอบเป็นสถานการณ์เพื่อให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์การเขียนโจทย์ควรมีความกระชับและ นําเสนอเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา สําหรับการพัฒนาตัวเลือก อาจารย์ควรเขียนให้ตัวเลือกแต่ละข้อมีความเป็นอิสระต่อกัน ไม่มีความซ้ําซ้อน โดยคํานึงถึงความเป็นเนื้อเดียวกัน (homogeneous) ลักษณะตัวเลือกควรมีความยาว พอๆ กัน และหลีกเลี่ยงการเขียนตัวเลือกแบบ “ถูกทุกข้อ” และ “ผิดทุกข้อ” และ “ไม่มีข้อใดถูก” นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องระวังในการพัฒนาตัวเลือก คือ การใช้คําซ้ําในโจทย์และคําตอบ การบอกใบ้คําตอบโดยใช้หลักตรรกะ การใช้คําคุณศัพท์หรือข้อความที่เด่นชัดจนเกินไป และการบอกใบ้คําตอบโดยโจทย์ข้ออื่น นอกจากนี้การนําข้อสอบปรนัยไปใช้ในการวัดผลการศึกษาทางการพยาบาล มีความจําเป็น อย่างยิ่งในการวิพากษ์ข้อสอบก่อนนําไปใช้สอบวัดผลจริง รวมไปถึงการตรวจสอบตัวสะกด การเว้นวรรคและ ข้อผิดพลาดด้านไวยากรณ์ ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การพัฒนาข้อสอบปรนัยเพื่อ ประเมินความรู้ทางการพยาบาล” ด้านการดําเนินงานด้านการศึกษานั้น นําองค์ความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้เพื่อ พัฒนาข้อสอบปรนัยในรายวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น วิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล และวิชาการ พยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 เป็นต้น โดยคํานึงถึงหลักการสําคัญและควรมีแนวปฏิบัติดังนี้


NSKnowledge Management [17] 1. กําหนดตารางกําหนดจํานวนข้อสอบ (blue print) ของรายวิชา 2. เขียนโจทย์ที่ตอบสนองวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชาและมีความชัดเจน 3. พัฒนาตัวเลือกที่ถูกต้องให้เรียบร้อย แล้วจึงพัฒนาตัวลวง 4. จัดการวิพากษ์ข้อสอบปรนัย


NSKnowledge Management [18] กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งท 1/2564 ี่ เรื่อง “การประเมินการเรียนการสอนโดยใช้ Objective Structured Clinical Examination: OSCE” อาจารย์ดร.ณัฐมา ทองธีธรรม วิทยากร ผู้ช่วยอาจารย์ภิญญาพัชญ์กิตติ์ธัญญธีรกุล ผู้ลิขิต ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การประเมินการเรียนการสอน โดยใช้ Objective Structured Clinical Examination: OSCE โดยอาจารย์ดร.ณัฐมา ทองธีธรรม ในวันที่ 20 มกราคม 2564 เวลา 13.00-14.00 น. ณ ห้องประชุม 704 คณะพยาบาลศาสตร์ (บางกอกน้อย) และผ่าน ระบบออนไลน์ Microsoft team รายละเอียดโดยสรุปดังนี้ ประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความสําคัญของการประเมินผลด้วยวิธี OSCE องค์ประกอบของการประเมินด้วย OSCE วัตถุประสงค์การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนพยาบาล มีวัตถุประสงค์หลักที่ต้องการวัด ดังนี้ 1. ด้านความรู้ 2. ด้านทัศนคติต่อวิชาชีพ 3. ทักษะปฏิบัติ การประเมินผลการศึกษาโดยใช้วิธี Objective Structured Clinical Examination: OSCE เป็นวิธีการประเมินที่มีมาตรฐาน สามารถประเมินพฤติกรรมผู้เรียนได้ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และเจตคติ (Attitude) โดยการประเมินด้วย OSCE นั้นจะเป็นการประเมิน พฤติกรรมผู้เรียนโดยมีการจัดเป็นสถานีย่อยหรือจัดให้มีสถานการณ์เสมือนจริง กําหนดให้ผู้เรียนปฏิบัติจริง หรือตอบคําถาม เช่น สถานีใส่ท่อทางเดินหายใจ สถานีวินิจฉัยผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าฟัวใจ ผลการตรวจทาง รังสีหรือ สถานการณ์เสมือนจริง เป็นต้น โดยสถานการณ์แต่ละสถานีอาจใช้หุ่นจําลอง หรือผู้ป่วยมาตรฐานใน การทดสอบขึ้นอยู่กับบริบทและวัตถุประสงค์ของการวัดผลในสถานีนั้นๆ ตามวัดและประเมินผลด้วย OSCE ตาม Miller’s Pyramid of competency evaluation through performance จะเป็นการวัดระดับพฤติกรรม (show)


NSKnowledge Management [19] ความสําคัญของการประเมินด้วยวิธีการใช้ Objective Structured Clinical Examination: OSCE เป็นการประเมินผลที่สามารถวัดทัศนคติของผู้เรียนได้ สามารถใช้ในการประเมินทักษะผู้เรียนที่เสมือนจริงในกิจกรรมที่มีอันตรายหากจะปฏิบัติจิง กับผู้ป่วย สามารถใช้ในการประเมินความพร้อมทางด้านทักษะบางอย่างของผู้เรียนว่าปฏิบัติได้ตาม วัตถุประสงค์และปลอดภัยก่อนการไปปฏิบัตจริ ิง ผู้เรียนสามารถประเมินความพร้อมของตนเองก่อนการไปปฏิบัติจริง ได้ทราบจุดอ่อน จุดแข็ง และจุดที่ต้องพัฒนาของตนเอง มีมาตรฐานในการประเมิน (Standardization) เนื่องจากตัวผู้เรียนจะถกประเมูินใน สถานการณ์ทถีู่กจัดกระทําให้เหมือนกัน ซึ่งแตกต่างจากการประเมินจริงในคลินิก การจัดสอบสามารถที่จะบันทึก (Record) ทวนสอบซ้ํา (Review) และให้ข้อมูลย้อนกลับได้ (Feedback) ใช้ในการประเมินขั้นตอนโดยละเอียดของทกษะัที่จําเป็นของผู้เรียน เช่น ขั้นตอนย่อยการ ฉีดยา สิ่งทสามารถจะประเม ี่ินในทกาะทั ี่รอบด้าน ครอบคลุมทั้ง Clinical skills, technical skills และ communication skills


NSKnowledge Management [20] ความท้าทายของการประเมินด้วยวธิีการใช้ Objective Structured Clinical Examination: OSCE การจัดทรัพยากร เนื่องด้วยการประเมินด้วยวิธี OSCE ใช้ทรัพยากรจํานวนมากทั้งด้านเวลา ในการเตรียมและการจัดสอบ ด้านการเงิน และด้านกําลังคน การบริหารการจัดสอบ ซึ่งมีความซับซ้อนในกระบวนการต้องมีการวางแผนที่มีลําดับขั้นตอน ชัดเจน การควบคุมความเสี่ยงในการเกิด Error ทั้งในกระบวนการมาตรฐานในการออกข้อสอบและ การออกแบบการประเมินขั้นตอนและทักาะย่อย ความครอบคลุมของการวัดผล เนื่องจากมีข้อจํากัดในจํานวนข้อสอบ จะเลือกข้อสอบให้ ครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัดอย่างไร องค์ประกอบการประเมินด้วยวิธีการใช้ Objective Structured Clinical Examination: OSCE เนื้อหาของโจทย์ (Content) ที่จะใช้ในการประเมิน จําเป้นต้องมีการกําหนด blueprint ให้ ชัดเจนเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดที่ต้องการวัดและประเมินผล ผู้ป่วย/สถานการณ์มาตรฐาน (Standardized patient: SP) มีแผนการเตียมที่มาตรฐาน เกณฑ์การให้คะแนนและกําหนดผู้ให้คะแนน (Scoring and rater) จัดเตรียมและวพากษ์ ทดลองใช้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันของผู้ประเมิน ไม่จําเป็นต้องให้ผู้เรียนได้เห้นเกณฑ์ การให้คะแนน ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลยนเรี่ียนรู้เรื่อง “การประเมินการเรียนการสอนโดยใช้ Objective Structured Clinical Examination: OSCE” ด้านการดําเนินงานด้านการศึกษานั้น รายละเอียด ดังนี้ 1. ได้ความรู้เกี่ยวกับการประเมินด้วยวิธีการใช้ Objective Structured Clinical Examination: OSCE ความสําคัญ ความ ท้าทาย ขั้นตอนวิธีการในการวดและประเม ั ินผลด้วย OSCE 2. ได้ความรู้มาประยุกต์ใช้ในการการประเมินด้วยวิธีการใช้ Objective Structured Clinical Examination: OSCE โดยเฉพาะในยุคการระบาดของโควิ 19 ที่ต้องใช้ดการเรียนการสอนเสมือนจริงมากขึ้น 3. อาจารย์ในภาควิชาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ปัญหาและอุปสรรค ในการประเมินผลด้วย OSCE ที่ผ่านมาและวางแผนการออกข้อสอบการจัดสอบ OSCE ที่ได้มาตรฐานในครั้งต่อไป


NSKnowledge Management [21] กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งท 2/2564 ี่ เรื่อง “การออกข้อสอบ Objective Structured Clinical Examination: OSCE” อาจารย์ดร.ณัฐมา ทองธีธรรม วิทยากร ผู้ช่วยอาจารย์ภิญญาพัชญ์กิตติ์ธัญญธีรกุล ผู้ลิขิต ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การออกข้อสอบ Objective Structured Clinical Examination: OSCE โดยอาจารย์ดร.ณัฐมา ทองธีธรรม ในวันที่ 9 มีนาคม 2564 เวลา 13.00-14.00 น. ณ ห้องประชุม 704 คณะพยาบาลศาสตร์ (บางกอกน้อย) และผ่านระบบออนไลน์ Microsoft team รายละเอียดโดยสรุปดังนี้ ประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวทางการออกข้อสอบ OSCE การเตรียมการจัดสอบและการบริหารการสอบ OSCE แนวทางในการดําเนินการเพื่อเตรียมการจัดสอบ OSCE แนวทางการออกข้อสอบ Objective Structured Clinical Examination: OSCE กําหนดวัตถุประสงค์ของการออกข้อสอบให้ชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะใช้เพื่อประเมินในส่วนที่ สามารถประเมินได้ยาก เช่น - การประเมินปัญหาของผู้ปวย่ - การสื่อสารกับผู้ป่วย การวักประวัติและการให้คําแนะนํา - ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สื่อสารระหว่างทีมการดูแล - การปฏิบัติการพยาบาล - จริยธรรมในเชิงวิชาชีพ มีกรรมการในการจัดทํา test blueprint ข้อสอบในแต่ละหน่วยไม่จําเป็นต้องออกข้อสอบครบทุกทักษะ ตรวสอบข้อสอบที่แต่ละหน่วยออกมาว่าตรงกับ test blueprint หรือไม่ วิเคราะห์ตรวจสอบและปรับปรุง test blueprint ใหม่ทุกครั้งภายหลังจาการจัดสอบ ลกษณะขั ้อสอบ Objective Structured Clinical Examination: OSCE สถานการณ์ (Scenario) ควรต้องใช้ข้อมูลผู้ป่วยจริง จะทําให้สถานการณ์นั้นเหมือนจริงมาก ขึ้น โดยครอบคลุม - หัวเรื่องของข้อสอบ - วัตถุประสงค์และเวลาที่ใช้ในการสอบ - ผู้สอบและอาจารย์ผู้คุมสอบ - สถานการณ์/ประวัติและผลการตรวจร่างกาย


NSKnowledge Management [22] - รายการอุปกรณ์ที่ต้องใช้ - ลักษณะผู้ป่วยมาตรฐาน (ถ้าต้องใช้) คําแนะนําผู้เข้าสอบ (Instruction for examination) จะต้องมีความสั้นกระชับและมีความ ชัดเจน เนื่องจากผู้เรียนจะมีความตื่นเต้นทําให้เข้าใจผิดพลาดได้ง่าย คําแนะนําผู้ป่วยมาตรฐาน (Standardized patient: SP) เกณฑ์การให้คะแนน (Scoring rubric) ที่ชัดเจนตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัด คําแนะนําสําหรับอาจารย์ผู้คุมสอบ ไม่ควรมีการตั้งคําถามในระหว่างที่ทําการสอบ กระตุ้น ผู้เรียนได้บ้างแต่ไม่บอกใบ้ในสถานการณ์นั้นๆที่ทําการประเมิน วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้คุมสอบทราบว่าต้องการประเมินทักษะใดของผู้สอบ ผู้สอบ ต้องมีการกําหนดผู้สอบเนื่องจากระดับความยากง่ายที่มีความแตกต่างกัน คําสั่ง ต้องสั้นกระชับ ผู้สอบอ่านแล้วเข้าใจง่าย เวลา ต้องมีการระบุเวลาเพื่อให้ผู้ที่ดําเนินการสอบสามารถที่จะบริหารจัดการเวลาได้อย่างดี และมีความเหมาะสม (ใควรเกิน 30 นาที) รายการอุปกรณ์ต้องมีการระบุรายละเอียด ทั้งจํานวนและลักษณะเฉพาะเพื่อสื้อสารให้ เจ้าหน้าที่ในการจัดเตรียมอุปกรณ์สําหรับการสอบได้อย่างถูกต้อง หลักการให้คะแนนการประเมินด้วยวิธีการใช้ Objective Structured Clinical Examination: OSCE การให้คะแนนอาจเลือกใช้ 2 วิธีการ 1. Rubric scale ซึ่งไม่มีหลักฐานทางวิชาการว่าแบบไหนตรงมากกว่ากัน ได้แก่ - Checklist ลักาณะของการประเมิน “ทํา” หรือ “ไม่ทํา” - Rating scale ลักษระของการประเมิน “ไม่ทํา” “ทําไม่ถูกขั้นตอน” หรือ “ทํา ถูกขั้นตอน” ต้องกําหนดเกณฑ์ตัดสินให้ชัดเจน 2. สะท้อนกลับ (Feedback) ภายหลังจากการสอบ อาจารย์ที่คุมสอบจะต้องบอกจุดดีจุด ด้อยของผู้ถูกสอบเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาของผู้เรียน ควรต้องทําภายหลังสอบสิ้น ทุกข้อเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากส่งผลกระทบในเวลาสอบ จําเป็นต้องมีการกําหนดเกณฑ์ขั้นต่ําในการสอบ “ผ่าน” หรือหากไม่ปฏิบัติในข้อใดถือว่า “สอบตก” แบบประเมินต้องมีความครบถ้วน ไม่ละเอียดมากจนเกินไป และไม่ควรยาวมากเกินไปเนื่องจาก จะทําให้ผู้คุมสอบให้ความสําคัญกับแบบประเมินมากกว่าการสังเกตพฤติกรรมเข้าสอบ คะแนนในทกขุ้อของการสอบจะต้องมีคะแนนรวมเท่ากัน ต้องให้ความสําคัญกับลําดับของขั้นตอนการปฏิบัติ


NSKnowledge Management [23] การประเมินมุ่งเน้นการประเมินพฤติกรรมของผู้เข้าสอบ โดยเฉพาะจุดที่ผู้เข้าสอบมักทําผิด หรือเข้าใจผิดได้ง่าย แบบประเมินจะต้องสื่อความหมายที่ตรงกัน ดังนั้นอาจต้องมีคําอธิบายการใช้แบบประเมิน แนบท้าย หลักการในการพิจารณาข้อสอบและแบบประเมินผล - ระยะเวลาเหมาะสมหรือไม่ - ระดับความยากเหมาะสมหรือไม่ - เครื่องมือ/อุปกรณ์เหมาะสมหรือไม่ - คําอธิบายมีความชัดเจนหรือไม่ การเตรียมการเพื่อจัดสอบ Objective Structured Clinical Examination: OSCE มีการจัดประชุมทีมผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อเตรียมการจัดการสอบ - ผู้ดูแลอาจารยืประเมินผลการสอบ - ผู้ดูแลผู้ป่วยมาตรฐาน - ผู้ดูแลโจทย์ข้อสอบและการประเมิน - ผู้จัดเตรียมอุปกรณ์/สถานที่ การจัดทําผังข้อสอบ โดยพิจารณาดังนี้ - ขนาดของห้องสอบเหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ใช้สอบ - ระมัดระวังเรื่องของเสียงที่จะรบกวนกันในการสอบแต่ละฐาน และการมองเห็น ข้อสอบในฐานต่อไปของผู้เข้าสอบเพื่อลดความเหลื่อมล้ําของผู้สอบ - ต้องมีฐานพักสําหรับกรณีที่ผู้เข้าสอบได้เข้าสอบในฐานก่อนหน้าที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน ผังผู้เข้าสอบ โดยกําหนดวง และจํานวนผู้เข้าสอบในแต่ละวง การเคลื่อนตัวของผู้สอบในแต่ ละวงและเวลาในแต่ละฐาน ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การออกข้อสอบ Objective Structured Clinical Examination: OSCE” ด้านการดําเนินงานด้านการศึกษานั้น รายละเอียดดังนี้ 1 .ไ ด้ความรู้เ กี่ยวกับหลักการออกแบบข้อสอบObjective Structured Clinical Examination: OSCE และปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ทําให้การออกแบบข้องสอบ OSCE เป็นไปตามมาตรฐาน 2. ได้ความรู้มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบข้อสอบ OSCE เพื่อใช้ในการวัดและประเมินผล ทักษะปฏิบัติของนักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติจริงและปฏิบัติการพยาบาลเป็นมาตรฐาน เดียวกัน


NSKnowledge Management [24] 3.อาจารย์ในภาควิชาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การออกแบบข้อสอบ OSCE และได้ มีการวาง แนวทางในการดําเนินการเพื่อเตรียมการจัดสอบ OSCE ของภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ดังนี้ - จัดทําพิมพ์เขียวข้อสอบ (Test blueprint) - ออกข้อสอบและแบบประเมินการสอบแต่ละข้อ - วิพากษ์และปรับปรุงข้อสอบ OSCE - จัดเตรียมรายการอุปกรณ์สําหรับการจัดสอบ - ประชุมทีมที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดเตรียมการสอบ - สรุปผลการสอบ


NSKnowledge Management [25] กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1/2564 เรื่อง “ประเด็นความรู้เรื่อง : การประเมินตําแหน่งวิชาการ” รองศาสตราจารย์ดร.นริศรา จันทราทิตย์วิทยากรภายนอก คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์สุรัสวดีไวว่อง ผู้ลิขิต สรุปได้ดังนี้ (มีเอกสารแนบ) การแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งวิชาการ ใหพ้จารณาจากิ 1. ระยะเวลาการปฏิบัติงาน 2. ภาระงานสอน 3. การประเมนผลการสอนิเว้นแต่กรณีขอต าแหน่งศาสตราจารย์โดยวิธีปกติ 4. ผลงานทางวิชาการ 5. จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ผลงานวิชาการแบ่งเป็น 4 กลุ่ม 1. งานวิจัย 2. ผลงานลักษณะอื่น 3. ผลงานวิชาการรับใช้สังคม 4. ตํารา หนังสอืหรือบทความทางวิชาการ คําจํากัดความ รูปแบบ การเผยแพร่และลักษณะคุณภาพของผลงานทางวิชาการให้เป็นหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ประกาศผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น 10 แบบ 1. ผลงานทางวิชาการเพื่ออุตสาหกรรม 2. ผลงานทางวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการเรียนรู้ 3. ผลงานทางวิชาการเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะ 4. Case study 5. งานแปล 6. พจนานุกรม (Dictionary) สารานุกรม (Encyclopedia) นามานุกรม (Directory) 7. ผลงานสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8. ผลงานสร้างสรรค์ด้านสุนทรียะ ศิลปะ 9. สิทธิบัตร (Patent) 10. Software


NSKnowledge Management [26] ลักษณะของผลงานทางวิชาการ 1. งานที่จัดทําขึ้นโดยผู้ขอตําแหน่งในสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ 2. ไม่เป็นงานวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อสําเร็จการศึกษา 3. ไม่ผิดจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ 4. ไม่เป็นผลงานทางวิชาการเดียวกันหรือซ้ํากับผลงานทางวิชาการซึ่งได้ใช้ในการกําหนดตําแหน่ง วิชาการของผู้นั้นมาแล้ว จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ 1. การลอกเลียนผลงานของผู้อื่น ของตนเอง และการอ้างอิง 2. การคํานึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลยหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นหรือสิทธิมนุษยชน 3. การศึกษาค้นคว้าโดยใช้หลักวิชาเป็นเกณฑ์ปราศจากอคติเสนอผลงานตามความเป็นจริง 4. การนําผลงานไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย 5. หลักฐานแสดงการอนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนหรือในสัตว์ของหน่วยงานหรือ ส่วนงานที่มีการดําเนินการ การกําหนดตําแหน่งวิชาการ ระยะเวลาการปฎิบัติงาน 1. ชั่วโมงสอนประจําวิชาที่กําหนดไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ผลการสอน และเอกสารหลักฐานที่ใช้ใน การประเมินผลการสอน 2. ระดับคุณภาพผลงานวิชาการ และจํานวนผลงานวิชาการ 3. การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติหรือระดับชาติตามที่ ก.พ.อ. กําหนด 4. มีข้อกําหนดลักษณะของ Case report (ไม่สามารถใช้ขอ รศ. และ ศ. ได้) 5. จํานวนหน้าของตําราหรือหนังสือ 6. ผลงาน Open access ต้องมี Digital Object Identifier (DOI) 7. ผลงานทางวิชาการที่เสนอขอตําแหน่งต้องเป็นผลงานหลังจากดํารงตําแหน่งเดิม ถ้าขอ รศ. เกิน 3 ปีหลังได้ผศ. หรือขอ ศ. เกิน 3 ปีหลังได้รศ. (ข้อบังคับข้อนี้ยังไม่ใช้ก่อน 1 พฤศจิกายน 2564)


NSKnowledge Management [27] ลักษณะการมีส่วนร่วมทางวชาการิ (ประกาศของมหาวิทยาลัยมหิดล 1 มีนาคม 2562) 1. ผู้ขอตําแหน่งเป็นผู้ขอและผู้ดําเนินการหลัก First author มีส่วนร่วม 50% หรือ corresponding author มีส่วนร่วม 20% งานที่ตีพิมพ์ก่อนประกาศ (1 มีนาคม 2562) ใช้ส่วนร่วม 10% ได้หรือผลงานวิจัยอื่นที่ เกี่ยวเนื่องสอดคล้องกันซึ่งแสดงปริมาณงานวิจัย รวมกันแล้วเทียบได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50% ของงานวิจัย 1 เรื่อง 2. การลงนามรับรองการมีส่วนร่วมในผลงานทางวชาการิและการแบ่งสัดส่วนต้องเหมาะสมตามบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน 3. ผู้ร่วมงานทุกคนลงนามรับรองการมีส่วนร่วม ลักษณะที่แสดงคุณภาพของงานวิจัย 10 ข้อ 1. งานวิจัยถูกต้องตามหลักจริยธรรมการวิจัย 2. งานวิจัยมีกระบวนการวิจัยถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย (มีวัตถุประสงค์สมมติฐาน ขั้นตอนการวิจัย สรุป อภิปราย) 3. มีการนําเสนอ เรียบเรียง เชื่อมโยง สรุป และอ้างองอยิ ่างชัดเจน 4. แสดงให้เหนถ็ ึงความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือสามารถนําไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ 5. มีการวิเคราะห์และนําเสนอผลเป็นความรู้ใหม่ที่ลึกซึ้งกว่างานเดิมที่มีผู้ศึกษาแล้ว 6. ใช้เป็นแหลงอ่ ้างอิง หรือนาไปปฏ ํ ิบัติได้เป็นประโยชน์ด้านวิชาการอย่างกว้างขวาง หรือสามารถนําไปใช้ ประโยชน์อย่างแพร่หลาย 7. ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ Q1 8. เป็นงานริเริ่มบุกเบิกทางวิชาการที่มีการสังเคราะห์อย่างลึกซึ้ง และนําไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเรื่อง ใดเรื่องหนึ่ง 9. แสดงถงการนึ ําไปใช้ประโยชน์ในแนวทางหรือรูปแบบใหม่ๆที่มีผลกระทบ (Impact) อย่างชัดเจน 10. เป็นที่ยอมรับและได้รับการอ้างอิงถึงอยางกว่ ้างขวางในวงวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในระดับ นานาชาติ ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การประเมินตําแหน่งวิชาการ” ด้านอ่ืนๆ รายละเอียด ดังนี้ 1. ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ได้นําความรู้ที่ได้จากการฟังบรรยายเรื่อง การประเมิน ตําแหน่งวิชาการ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งร่วมแชร์ประสบการณ์ของอาจารย์ที่ได้รับ ตําแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์เรียบร้อยแล้ว ให้แก่อาจารย์ที่กําลังวางแผน เตรียมตัวขอตําแหน่งทางวิชาการในอนาคต


NSKnowledge Management [28] 2. ภาควิชาฯ ควรมีการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสรุปคําแนะนําแก่อาจารย์ที่ต้องการยื่น ขอตําแหน่งทางวิชาการ เช่น เป็นงานวิจัยริเริ่มบุกเบิกทางวิชาการที่มีการสังเคราะห์อย่างลึกซึ้ง และนําไปสู่ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และแสดงถึงการนําไปใช้ประโยชน์ในแนวทางหรือรูปแบบใหม่ๆท่ี มีผลกระทบ (Impact) อย่างชัดเจน


NSKnowledge Management [29] กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1/2564 เรื่อง “การใช้งานระบบการบันทึก The DB” อาจารย์เสาวรส แพงทรัพย์วิทยากร อาจารย์ดร.กุลธิดา ทรัพย์สมบูรณ์ผู้ลิขิต ภาควิชา การพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การใช้งานระบบ การบันทึก The DB” โดย อาจารย์เสาวรส แพงทรัพย์ในวันพุธที่ 16 ธันวาคม 2563 เวลา 13.00-13.30 น. ณ ห้องประชุมเพชรรัตน์คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล (บางกอกน้อย) รายละเอียดสรุปได้ดังนี้ อาจารย์เสาวรส แพงทรัพย์ได้แนะนาเกํ ี่ยวกับระบบ the DB และประโยชน์การใช้งานต่างๆ ดังนี้ - การเข้าสู่ระบบ - การตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว - การตรวจสอบข้อมูลด้านผลงาน วิจัยและกิจกรรมต่างๆในคณะฯ - การใช้งานระบบการลาและการลงบันทึกชั่วโมง Faculty practice ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การใช้งานระบบการบันทึก The DB” ด้านการดําเนินงานด้านอื่นๆ นั้น รายละเอียดดังนี้ 1. ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีวเชวิทยา ได้นําประสบการณ์จากการใช้งานระบบบันทึก The DB ที่พบ ได้แก่การเข้าใช้งานไม่ได้ปัญหาในการบันทึกระบบ DB มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยได้มีการแนะนํา ขั้นตอน และเปิดโอกาสให้อาจารย์ได้ทดลองใช้งานจริง ซึ่งพบว่า ภายหลังการอบรมหรือทํา workshop ควรมี การติดตาม หรือมีเจ้าหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือเม่อพบป ื ัญหาต่างๆ 2. ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ควรมีการวางแผนจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อ สรุปปัญหาจากการเข้าใช้งานระบบออนไลน์ต่างๆ ของอาจารย์ในภาควิชาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ออนไลน์ต่อไป เช่น Microsoft Teams, Google forms เป็นต้น


NSKnowledge Management [30] กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1/2564 เรื่อง “การทําวีดีโอจาก PowerPoint ด้วย Camtasia” อาจารย์ดร.ศรินรัตน์ศรีประสงค์วิทยากร ผู้ช่วยอาจารย์ปวิตรา จริยสกุลวงศ์ผู้ลิขิต ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การทําวีดีโอจาก PowerPoint ด้วย Camtasia” โดย อาจารย์ดร.ศรินรัตน์ศรีประสงค์ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 เวลา 12.30-13.30 น. ณ ห้องประชุม 901 รายละเอียดสรุปได้ดังนี้ Camtasia เป็นโปรแกรมที่สามารถบันทึกภาพหน้าจอ รวมไปถึงเสียงและภาพของผู้ที่นั่งอยู่หน้าจอ คอมพิวเตอร์ได้ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังสามารถปรับแต่ง แก้ไข เพิ่มเสียงประกอบต่างๆ ดังนั้นเมื่อนํามาใช้ งานร่วมกับโปรแกรม PowerPoint (.ppt) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเรียนการสอนอย่างแพร่หลาย จึงทําให้ การผลิตสื่อการเรียนมีความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น การเริ่มต้นใช้งานเริ่มจากการติดตั้งโปรแกรม ซึ่งเมื่อติดตั้ง เรียบร้อยจะเห็นไอคอนรูปตัว C สีขาวบนพื้นสีเขียวดังรูป ปรากฎขึ้นที่หน้า Desktop การเริ่มต้นใช้งาน การเริ่มต้นใช้งานร่วมกับโปรแกรม ppt ให้ทําการเปิดไฟล์ ppt ที่มีเนื้อหาที่เราเตรียมเอาไว้สําหรับ การบรรยายขึ้นมา แล้วคลิกเลือก getting started to record your presentation เมื่อไฟล์ ppt เปิดขึ้นมา จะเห็นคําว่า Add-in บนแถบเครื่องมือ ดังรูป ให้คลิกเลือกเพื่อไปยังแถบการทํางานของโปรแกรม Camtasia บน ppt แถบการทํางานของ Camtasia จะปรากฎขึ้นบนมุมซ้ายมือ ใต้แทบเมนูของ ppt ซึ่งจะมีลักษณะ ดังรูป


NSKnowledge Management [31] โดยที่แต่ละสัญลักษณ์มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ ในการเริ่มใช้งานควรเริ่มด้วยการทดสอบดูการทํางานของกล้อง เพื่อเลือกมุมที่สวยงามและเหมาะสม ของผู้บรรยาย จากนั้นเลือกตัวเลือกในการบันทึก ว่าต้องการบันทึกเสียง ภาพ หรือทั้งภาพและเสียง จากนั้น กดเริ่มการบันทึก เมื่อต้องการจบการนําเสนอให้กดปุ่ม Esc ซึ่งจะมีตัวเลือกให้เราใส่ช่ือไฟล์นอกจากนี้จะมีตัวเลือกให้ เราเลือกบันทึกไฟล์หากไม่มีการแก้ไขใดๆ โดยเลือก Produce และให้เลือกบันทึกเป็นไฟล์ .mp4 แต่หาก ต้องการแก้ไขให้เลือก Edit เพื่อเริ่มทําการปรับแต่งและแก้ไข การปรับแต่งและแก้ไข ในหน้าต่างของการปรับแต่งและแก้ไข จะประกอบด้วยส่วนของแถบเมนูเครื่องมือต่างๆ (1) ส่วนของ การแสดงวิดีโอ (2) และส่วนของ timeline ที่แสดงสถานะเวลาของวิดีโอและการใช้งานเอฟเฟคต่างๆ (3) โปรแกรม Camtasia มีเมนูและคําสั่งหลากหลาย แต่คําสั่งหลักที่ใช้บ่อยได้แก่การเพิ่มไฟล์ภาพ หรือวิดีโอ รวม ไปถึงการปรับแต่ง และย่อขยายมุมมองของภาพที่จะให้ปรากฎในวิดีโอได้การใส่คําบรรยายเพิ่มเติมในวิดีโอ โดยการเลือก annotations การใส่ transition เพื่อเปลี่ยนหน้าจอ การลบ หรือตัดเสียงในวิดีโอที่ไม่ต้องการ ออก และการเพิ่มหรือบันทึกเสียงใหม่เข้าไปในวิดีโอ


NSKnowledge Management [32] Tips เพิ่มเติมในการใช้งาน หากเลือกขนาด ppt เป็นขนาดจอแบบกว้าง (16:9) และมีการบันทึกภาพผู้บรรยายให้ขึ้นจอ นําเสนอด้วยต้องระมัดระวังว่าจอภาพผู้บรรยายอาจบังเนื้อหาบางส่วนใน ppt สามารถแก้ปัญหาได้โดย เลือกใช้จอ ppt ขนาดมาตรฐาน (4:3) จะทําให้มีพื้นที่ข้างๆเหลือสําหรับจอผู้บรรยาย ความยาวของแต่ละไฟล์คววรอยู่ที่ประมาณ 10 นาทีเพื่อไม่ให้การอัพโหลดใช้เวลานานมาก เกินไปหากการบรรยายใช้เวลานานควรตัดแบ่งเป็นไฟล์ย่อยๆ ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การทําวีดีโอจาก PowerPoint ด้วย Camtasia” ด้านการดําเนินงานด้านการศึกษา นั้น สามารถนํามาใช้ประโยชน์ในการออกแบบสื่อการเรียนการ สอนให้มีความหลากหลายและน่าสนใจ


NSKnowledge Management [33] กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2/2564 เรื่อง “การออกข้อสอบแบบปรนัย (Multiple choice question)” รองศาสตราจารย์ดร.อัจฉริยา พ่วงแก้ว วิทยากร ผู้ช่วยอาจารย์ปวิตรา จริยสกุลวงศ์ผู้ลิขิต ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การออกข้อสอบแบบปรนัย (Multiple choice question)” โดยรองศาสตราจารย์ดร.อัจฉริยา พ่วงแก้ว ในวันที่ 16 ธันวาคม 2563 เวลา 13.30-14.00 น. ณ ห้องประชุม 901 รายละเอียดสรุปได้ดังนี้ เนื้อหาในกิจกรรมจะเน้นเกี่ยวกับหลักการในการสร้างโจทย์ตัวเลือกข้อสอบ และ pifall ของการออก ข้อสอบแบบปรนัย การออกข้อสอบแบบปรนับเป็นที่นิยมเนื่องจากสามารถประเมินความรู้ได้ในปริมาณมาก โดยใช้เวลาน้อยไม่เกิดอคติจากผู้ประเมิน แต่อาจมีข้อจํากัดคือ ผู้ทําข้อสอบสามารถสุ่มเดาคําตอบได้ง่าย ข้อสอบแบบปรนัยมีสองรูปแบบ ได้แก่รูปแบบคําตอบเป็น ถูก-ผิด (true-false) และรูปแบบคําตอบที่มีข้อถูก เพียงข้อเดียว (one best choice) การสร้างข้อสอบแบบปรนัยมีส่วนหลักสองส่วนคือการสร้างโจทย์ (stem) และตัวเลือก (option) โดย เนื้อหาของโจทย์ที่ตีควรเน้นประเด็นหลักเพียงประเด็นเดียว และสอดคล้องไปกับวัตถุประสงค์เพราะหากมี หลายประเด็นในข้อสอบหนึ่งข้อ เมื่อผู้สอบตอบผิดจะทําให้ไม่สามารถแยกได้ว่าผู้สอบน้ันไม่เข้าใจในประเด็น ใดข้อคําถามที่ดีคือข้อคําถามที่สามารถตอบได้โดยไม่ต้องดูตัวเลือกในกรณ๊ที่ผู้ตอบมีความรู้ในประเด็นนั้นๆ และ main edea ต้องอยู่ในคําถาม ไม่ใช่อยู่ในตัวเลือก และโจทย์ที่ดีควรมาจากปัญหาที่พบในการดูแลผู้ป่วย ระหว่างการฝึกปฏิบัติงาน ส่วนจํานวนตัวเลือกที่เหมาะสมควรมี 4-5 ตัวเลือก ซึ่งประกอบไปด้วยคําตอบที่ถูก และตัวลวง โดยที่ตัวลวงที่นํามาใช้เป็นตัวเลือกนั้นควรมราจากสิ่งที่นักศึกษาใช้ตอบในสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งเป็น คําตอบที่นักศึกษามักเข้าใจผิด ตัวลวงที่ดีไม่ควรผิดอย่างชัดเจนควรมีส่วนที่ถูกปนอยู่ด้วย และลักษณะตัวเลือก ทุกตัวควรเป็นเรื่องเดี่ยวกัน เช่น ถ้าเป็นการรักษาก็เป็นการรักษาทุกข้อ ไม่ควรสลับบางข้อเป็นการรักษา อีก ข้อเป็นผลทางห้องปฏิบัติการ เป็นต้น และข้อคําตอบที่ถูกต้องควรกระจายกันไปในแต่ละข้อ สําหรับ Pitfall ทีมักเกิดขึ้นในการออกข้อสอบคือการบอกใบ้คําตอบจากความผิดพลาดในเรื่อง ไวยากรณ์ความส้ันยาวของตัวเลือก การใบ้คําตอบด้วยหลักตรรกะ การใบ้คําตอบด้วยคําศัพท์บางอย่าง การ ใบ้คําตอบด้วยโจทย์ข้ออื่น การใช้คําซ้ําในโจทย์และตัวเลือกมักเป็นการบอกใบ้ว่าเป็นคําตอบที่ถูก สิ่งเหล่านี้จึง เป็นข้อควรระวังในการออกข้อสอบแบบปรนัย นอกจากนี้การออกข้อสอบควรใช้คําศัพท์และภาษาที่เข้าใจง่าย ตรวจสอบเรื่องความเข้าใจในการสื่อภาษา เพื่อให้ข้อสอบวัดได้ตรงวัตถุประสงค์แทนที่จะวัดเรื่องคําศัพท์หรือ ทักษะทางภาษา หลีกเลี่ยงข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกัลการแก้ปัญหาในโจทย์เพื่อลดระยะเวลาในการอ่านหลีกเลี่ยงการ ใช้ประโยคปฏิเสธ หากจําเป็นต้องมีการเน้นให้เห็นชัด เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจ และผิดประเด็นไปจากสิ่งที่ผู้ ประเมินต้องการ ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การออกข้อสอบแบบปรนัย (Multiple choice question)” ด้านการดําเนินงานด้านการศึกษา นั้น สามารถใช้เป็นแนวทางในการออกข้อสอบแบบ ปรนัย รวมถึงข้อควรระวังในการออกข้อสอบ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการประเมินผลการเรียนการสอนให้ มประส ี ิทธิภาพมากขึ้น


NSKnowledge Management [34] กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 3/2564 เรื่อง “การพัฒนาข้อสอบปรนัยโดยการใช้ผลการวิเคราะห์ข้อสอบ” อาจารย์ดร.นาตยา รัตนอัมภา วิทยากร ผู้ช่วยอาจารย์ปวิตรา จริยสกุลวงศ์ผู้ลิขิต ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การพัฒนาข้อสอบปรนัย โดยการใช้ผลการวิเคราะห์ข้อสอบ” โดย อาจารย์ดร.นาตยา รัตนอัมภา ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 เวลา 12.30-13.30 น. ผ่านระบบออนไลน์ Microsoft Teams รายละเอียดสรุปได้ดังนี้ การวิเคราะห์ข้อสอบมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบเป็นรายข้อ ซึ่งมีตัวบ่งชี้คุณภาพ ที่สําคัญ ได้แก่ค่าความยากของข้อสอบ และค่าอํานาจจําแนกของข้อสอบ ผลจากการวิคราะห์ข้อสอบช่วยให้ ทราบข้อมูลพื้นฐานของตัวข้อสอบ คําตอบ และตัวลวง ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงจุดที่ต้องพัฒนาในการเรียนการสอน ทั้งในแง่ความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน อันจะนําไปสู่การปรับปรุงการเรียนการสอน และเป็นกระบวนการ สําคัญในการเพิ่มทักษะการสร้างข้อสอบ การวัดคุณภาพของข้อสอบตามแนวคิดทฤษฎีดั้งเดิม จะใช้ค่าความ ยากง่าย แทนด้วยสัญลักษณ์ P (Power of difficulty of difficulty index) คือ สัดส่วนของจํานวนคนที่ตอบ ข้อสอบข้อนั้นได้ถูกต้องต่อจํานวนผู้สอบทั้งหมด โดย P จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 – 1.00 ค่ายิ่งน้อยแสดงว่า ข้อสอบนั้นมีความยากมาก ซึ่งข้อสอบที่ดีควรมีค่า P อยู่ระหว่าง 0.20-0.80 แต่ในข้อสอบทั้งฉบับมีข้อแนะนํา ว่าจํานวนข้อที่มีค่า P อยู่ระดับปาน ควรมีอยู่ร้อยละ 50 ในขณะที่ข้อสอบที่มีค่า P สูงและต่ําควรมีอยู่ร้อยละ 25 ตามลําดับ ดังนั้นหากมีการวิเคราะห์ข้อสอบออกมาแล้วพบว่าข้อสอบข้อนั้นๆ มีค่า P น้อยกว่า 0.20 ซึ่ง แสดงถึงข้อสอบข้อนั้นมีความยากมากไป แนวทางการพัฒนาคือปรับให้ง่ายขึ้น ในขณะที่หากผลวิเคราะห์ พบว่าค่า P มากกว่า 0.80 แสดงว่าข้อสอบนั้นง่ายเกินไป ควรปรับปรุงให้ยากขึ้น สําหรับค่าอํานาจจําแนก (D : discrimination index) จะแทนด้วยสัญลักษณ์ r โดยที่ r จะมีค่าอยู่ระหว่าง -1.00 ถึง + 1.00 ซึ่งข้อสอบที่ดี ควรค่ามีค่า r อยู่ที่ +0.20 ถึง +1.00 สําหรับการแปลความของค่า r ที่น้อยกว่า 0.20 และยิ่งเข้าใกล้ 0 แปลว่า ข้อสอบนั้นไม่สามารถจําแนกคนเก่งกับคนอ่อนออกจากกันได้และหากค่า r ติดลบ แสดงถึงการจําแนกกลับ นั่นคือเป็นข้อที่คนเก่งตอบผิด แต่คนอ่อนตอบถูก ซึ่งค่า r ที่น้อย 0.20 จนกระทั่งติดลบ จึงนับเป็นข้อสอบที่ ควรปรับปรุง และอาจจําเป็นต้อบทบทวนกระบวนการสอนด้วย นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์ตัวลวง โดยพิจารณาจาก ๒ ตัวบ่งชี้ได้แก่สัดส่วนของคนที่เลือกตัวลวง นั้นๆ แทนด้วยสัญลักษณ์ Pw ซึ่งมีค่าจาก 0 ถึง 1 และตัวลวงที่ดีควรมีค่า Pw ตั้งแต่ 0.05 ขึ้นไป และค่า อํานาจจําแนกตัวลวง คือ ผลต่างระหว่างสัดส่วนของคนในกลุ่มอ่อนที่เลือกตัวลวงกับสัดส่วนคนเก่งที่เลือกตัว ลวงนั้นๆ แทนค่าด้วยสัญลักษณ์ rw มีค่าตั้งแต่ -1 ถึง +1 โดยที่ค่าอํานาจจําแนกตัวลวงที่ดีคือมีค่า ตั้งแต่ 0.05 ขึ้นไป เช่นกัน ค่าดัชนีต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดต้องพิจารณาร่วมกันซึ่งจะเป็นการประเมินคุณภาพข้อสอบแบบ อิงกลุ่ม นั่นคือผลการประเมินก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของผู้ทําข้อสอบด้วย นอกจากนี้ยังมี การประเมินคุณภาพข้อสอบแบบอิงเกณฑ์ซึ่งเน้นข้อสอบที่มีค่าความยากขึ้นอยู่กับความยากง่ายของเนื้อหาที่ มุ่งวัด โดยทั่วไปมักค่อนข้างง่าย มีความไวในการจําแนกผู้สอบที่มีความรอบรู้และไม่รอบรู้ดังนั้นข้อสอบที่ควร


NSKnowledge Management [35] นํามาใช้จึงไม่เน้นถึงความยากของข้อสอบ ขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อหา แต่สนใจความไวของข้อสอบที่มีค่า ตั้งแต่ 0.5 เป็นต้นไป ซึ่งวิธีการประเมินคุณภาพแบบอิงเกณฑ์นี้จะเป็นการวิธีการประเมินที่ค่อนข้างได้ มาตรฐานเพราะไม่แปรเปลี่ยนไปตามลักษณะผู้สอบ ผู้ร่วมกิจกรรมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นว่าควรมีการปรับระบบการวิเคราะห์ข้อสอบที่ปัจจุบันใช้ รูปแบบอิงกลุ่มให้เป็นการประเมินแบบอิงเกณฑ์โดยประสานกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยสนับสนุนที่มีหน้าที่ช่วย วิเคราะห์ข้อสอบ แนะแนววิธีการวิเคราะห์เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่เหมาะสม ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เร่ือง “การพัฒนาข้อสอบปรนัย โดยการใช้ผลการวิเคราะห์ข้อสอบ” ด้านการดําเนินงานด้านการศึกษา นั้น เป็นการทราบหลักการและวิธีการ แปลผลการวิเคราะห์ข้อสอบจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาปรับปรุงข้อสอบแต่ละข้อ รวมไปถึงช่วยให้เข้าใจ ลักษณะผู้สอบและมีส่วนช่วยในการพัฒนาการสอนได้ รายชื่อผู้ร่วมกิจกรรมจากภาพถ่ายหน้าจอโปรแกรม MS Teams


NSKnowledge Management [36] กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 4/2564 เรื่อง “การทํางานอย่างมีความสุขที่แท้จรงิ” รองศาสตราจารย์ดร.จงจิต เสน่หา วิทยากร ผู้ช่วยอาจารย์ปวิตรา จริยสกุลวงศ์ผู้ลิขิต ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การทํางานอย่างมีความสุขที่ แท้จริง” โดย รองศาสตราจารย์ดร.จงจิต เสน่หา ในวันที่๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๒.๓๐ - ๑๓.๓๐ น. ผ่านระบบออนไลน์ Microsoft team รายละเอียดสรุปได้ดังนี้ การสร้างสุขในการทํางานได้ต้องเริ่มจากการแก้ไขที่ตนเอง ในทางพระพุทธศาสนาสอนให้เรา เข้าใจความเป็นเหตุและผล เข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ซึ่งผู้ที่รู้ถึงความเป็นจริงต่างๆ ก็คือ พระพุทธเจ้า ดังนั้นคําสอนของพระพุทธเจ้าคือสิ่งสําคัญที่จะนําเราไปสู่ความจริงต่างๆ ในโลกนี้คําสอนของ พระพุทธเจ้าทําให้เข้าใจถึงบุคคลประเภทต่างๆ ๑๒ ประเภท ได้แก่ ปุถุชน ๔ และอริยะ ๘ การศึกษาถึงการมี อยู่ของบคคลประเภทตุ่างๆ ช่วยให้เรามองโลกอย่างเข้าใจมากขึ้น ในทางพระพุทธศาสนากล่าวถึงการเกิดเป็นมนุษย์ว่านับเป็นความโชคดีอย่างมาก เนื่องจากการจะได้ เกิดเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่ยากยิ่งนัก และการเกิดเป็นมนุษย์นี่เองทําให้เรามีโอกาสได้ศึกษาในสิ่งที่พระพุทธเจ้า สอนเพื่อนําพาไปสู่หนทางแห่งความสุขท่ีแท้จริง พระพุทธเจ้าสอนเกี่ยวกับ กรรมบถ ได้แก่กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ และมโนกรรม ๓ ทําให้เห็นถึงต้นเหตุของกรรมทั้งหลายล้วนเริ่มต้นมาจากมโนกรรม หรือความคิด ของเราเองเป็นพื้นฐานแล้วจึงนําไปสู่คําพูดและพฤติกรรมที่แสดงออก ความคิดหรือมโนกรรมเป็นสิ่งที่เกิด ขึ้นกับคนเราโดยไม่ต้องสอน และเป็นความคิดที่เกิดจากโมหะ โทสะ โลภะ ทําให้คนเกิดความรู้สึกต่างๆ ขึ้นต่อ ผู้อื่น ทั้ง รัก เกลียด อิจฉา ริษยา โกรธ การที่จะแก้ไขความคิดที่เกิดขึ้นนี้ในทางพระพุทธศาสนาต้องใช้การ สิกขาธัมมเป็นหนทางแก้ไข มีคําสอนของพระพุทธเจ้าหลายประการที่สอนให้เราเกิดการควบคุมและปรับ ความคิดที่อยู่ภายในตัวตนของเราได้เช่น สัมมากัมมันตเจตสิก สัมมาอาชีวเจตสิก สัมมาวาจาเจตสิก รวมไปถึง บุญญกิริยาวัตถุ๑๐ ที่ทําให้เกิดกุศลกรรมบทซึ่งจะช่วยแก้ไขเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย การดําเนินชีวิตในปัจจุบันนั้นถึงแม้หน้าที่ความรับผิดชอบในชีวิตประจําวันเป็นสิ่งสําคัญ แต่การ จัดลําดับความสําคัญและแบ่งเวลาในการศึกษาเรียนรู้คําสอนของพระพุทธเจ้าจะทําให้เกิดความสมดุลทั้งทาง โลกและทางธรรมซึ่งจะนําไปสู่ความสุขที่แท้จริงได้ ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลยนเรี่ียนรู้เรื่อง “การทํางานอย่างมีความสุขที่แท้จริง” ด้าน การดําเนินงานด้านอื่นๆ นั้น ทําให้เกิดแนวทางสําหรับผทู้สนใจศ่ี ึกษาคําสอนในพระพทธศาสนาุซึ่งอาจนําไปสู่ การสร้างความสมดุลในชีวิตทั้งทางโลก และทางธรรม และเป็นพื้นฐานการสร้างความสุขที่แท้จรงในช ิ ีวิต


NSKnowledge Management [37] กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่๕/๒๕๖๔ เรื่อง “KM: EFFECTIVE LRC FOR COVID – ๑๙” อาจารย์ดร.ศรินรัตน์ศรีประสงค์วิทยากร ผู้ช่วยอาจารย์ปวิตรา จริยสกุลวงศ์ผู้ลิขิต การจัดกิจกรรม KM ในครั้งนี้เนื้อหาจะครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของ ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรใหม่ที่สอดคล้องกับเกณฑ์ของ สภาการพยาบาลและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาควิชาต่างๆ โดยที่ในรายวิชาปฏิบัติ (พยคร ๓๘๕) ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์มีการจัดการเรียนการสอนใน LRC สลับกับการฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย โดยที่ LRC มีการแบ่งเป็นชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ทั้งหมด ๗ ชุด ตามสมรรถนะของนักศึกษาตามเกณฑ์ขั้นตํ่า ของรายวิชาที่กําหนดในสมุดประสบการณ์ประกอบด้วย ชุดที่๑ การดูดเสมหะจาก tracheostomy tube แบบระบบปิดและเปิด และการให้ออกซิเจนแบบ ต่างๆ และการพ่นยาขยายหลอดลม ชุดที่๒ การประเมินและบันทึก neuro sign การบริหารยารับประทานและการ drip อาหารผ่านทาง NG tube และเครื่อง drip อาหารและการทําความสะอาดช่องปาก ชุดที่๓ การฉีดยาทาง IV และคํานวณอัตราหยดโดย drip set manual & infusion pump การฉีดยาทาง subcutaneous และการฝึกปฏิบัติหัตถการด้วย sterile technique ชุดที่๔ การเปลี่ยนเชือกผูก endotracheal tube การใส่เครื่องป้องกันร่างกาย การทําแผล และเปลี่ยนเชือกผูก tracheostomy tube และการฝึกปฏิบัติหัตถการด้วย sterile technique ชุดที่๕ การทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์และส่วนปัสสาวะผู้ป่วยหญิง การทําความสะอาดอวัยวะ สืบพันธุ์และการใส่ condom ในผู้ป่วยชาย และการใส่เครื่องป้องกันร่างกาย ชุดที่๖ การประเมินและการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ การประเมินและการเตรียมผู้ป่วยในการ หย่าเครื่องช่วยหายใจ และการใส่เครื่องป้องกันร่างกาย ชุดที่๗ การเปิดเส้นให้ IVF การเจาะเลือด และการฝึกปฏิบัติหัตถการด้วย sterile technique: ป้องกันอุบัติการณ์ของมีคมทิ่มตํา ซึ่งภายหลังเสร็จสิ้นวิชาปฏิบัตินักศึกษาได้มีการประเมินเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ว่าการจัดมีความเหมาะสมเนื่องจากมีการจํากัดจํานวนคนตามนโยบายทําให้ไม่เกิดความแออัดและสามารถทํา หัตถการได้ทั่วถึง ได้ทบทวนความรู้ในการทําหัตถการ ทําให้ชํานาญและมั่นใจมากขึ้น ทําให้ปฏิบัติได้จริง โดยนักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อห้อง LRC ที่บางกอกน้อยว่าอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ครบ ไม่เหมือนที่ใช้จริงบนหอ ผู้ป่วย ในขณะที่ศาลายาสถานที่กว้างขวาง อุปกรณ์พร้อมมากกว่า แต่นักศึกษาจะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่าย มากขึ้นในการเดินทางไปศาลายา ส่วนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนใน LRC มีนักศึกษาจํานวน ๓ กลุ่มเห็น ว่าควรมการจี ัดการฝึกแบบมีสถานการณ์เพราะจะทําให้สามารถเห็นลําดับการพยาบาลรวมถึงนําไปประยุกต์ใช้ บนวอร์ดได้จริง นักศึกษาจํานวน ๑ กลุ่มเห็นว่าการจัดเป็นชุดการเรียนรู้แบบในปัจจุบันดีอยู่แล้วเนื่องจาก


NSKnowledge Management [38] นักศึกษาทุกคนมีโอกาสได้ฝึกทีละคน ในขณะที่การทําเป็นสถานการณ์นั้นนักศึกษาอาจได้ฝึกไม่ทั่วถึง และ นักศึกษาจํานวน ๓ กลุ่มเห็นว่าควรมีการจัดทั้งรูปแบบชุดฝึกทักษาะและรูปแบบสถานการณ์ นอกจากนี้ยังมีผลการสํารวจที่พบว่านักศึกษามากกว่าร้อยละ ๕๐ ได้ฝึกปฏิบัติตามชุดฝึกทักษะที่ LRC คนละมากกว่า ๓ ครั้ง ยกเว้นชุดฝึกทักษะเรื่องการทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์และส่วนปัสสาวะผู้ป่วยหญิง การทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์และการใส่ condom ในผู้ป่วยชาย ที่พบว่ามีนักศึกษาประมาณร้อยละ ๓๐ ไม่ได้ฝึกปฏิบัติใน LRC โดยนักศึกษาส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าอุปกรณ์ไม่เพียงพอ ต้องรอผลัดเปลี่ยนกันทําจึงทําให้ ไม่ทันเวลา นอกจากนี้นักศึกษาบางส่วนยังมีความเห็นว่าชุดฝึกทักษะบางชุดอาจไม่จําเป็นต้องจัดใน LRC เพราะ สามารถฝึกที่หอผู้ป่วยได้เช่น การประเมินทางระบบประสาท การบริหารยาลดความดันโลหิต ยาละลาย ลิ่มเลือด การทําความสะอาดช่องปาก การการฝึกปฏิบัติหัตถการด้วย sterile technique และป้องกัน อุบัติการณ์ของมีคมทิ่มตํา อย่างไรก็ตามนักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจการจัดชุด procedure ต่างๆ อยู่ในระดับมาก และนักศึกษาเสนอการจัดระยะเวลาในการฝึกระหว่าง LRC กับการฝึกบนหอผู้ป่วย ให้เป็นแห่งละ ๒ วันติดต่อกันและสลับกันไป นอกจากนี้มีนักศึกษาในสัดส่วนใกล้เคียงกันที่คิดว่าเป็นไปได้น้อย และอาจจะเป็นไปได้ที่การฝึกใน LRC จะสามารถทดแทนการปฏิบัติจริงบนหอผู้ป่วยได้ในกรณีเกิด การแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-๑๙ โดยนักศึกษาเสนอแนะว่าควรมีการจัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ ให้มีความสมจริงและมีความใกล้เคียงบนหอผู้ป่วยมากที่สุด รวมถึงการจัดสถานการณ์ให้ได้มีการฝึกคิดมากขึ้น รวมไปถึงจดทั ําคลิปวิดิโอให้มีความเป็นปัจจุบันมากที่สุด ในส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เสนอแนะว่าในการจัดการเรียนการสอนใน LRC ควรทําให้กับ สอดคล้องกับ outcome base และ competency base ของสภาการพยาบาล และมีการ เชื่อมโยงผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบต่างๆเข้าไป โดยจัดเป็นสถานการณ์สมมติเพื่อให้นักศึกษาได้คิดต่อยอดจาก procedures พื้นฐาน นอกจากนี้ยังสามารถเน้นไปถึงบทบาทของพยาบาลในการทํางานร่วมกับ multidisciplinary ในทีมได้ซึ่งในวิธีการดําเนินการอาจทําให้สอดคล้องกับวิชาทฤษฎีโดยให้อาจารย์ ผู้รับผิดชอบในแต่ละหน่วยการสอนระบุ outcome ที่ต้องการให้นักศึกษาได้หลังจากนั้นก็มาออกแบบ สถานการณ์ให้สอดคล้องกันไป ซึ่งสถานการณ์ที่ออกแบบนั้นสามารถใช้ได้ทั้งในวิชาทฤษฎีและนํามาใช้ในวิชา ปฏิบัติใน LRC ด้วย โดยที่ในช่วงแรก อาจจะเริ่มทําจากหน่วยที่ไม่ซับซ้อนมากนัก อาจารย ดร.ศรินรัตน์ ศรีประสงค์ได้แบ่งบันรูปแบบที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาใน LRC ว่าเริ่มจากให้นักศึกษา


NSKnowledge Management [39] แต่ละคนระบุทักษะที่ตนเองจําเป็นต้องได้ตามเกณฑ์ที่กําหนด จากนั้นให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันออกแบบ สถานการณ์ที่ผนวกทักษะที่นักศึกษาแต่ละคนต้องการเข้าไป และอาจารย์จะเป็นผู้พิจารณาและปรับ สถานการณ์ให้มีความสมเหตุสมผลและคล้ายเหตุการณ์จริง พร้อมทั้งเพิ่มเติมสถานการณ์ต่างๆเข้าไปเพื่อให้ นักศึกษาได้ฝึกคิดและแก้ปัญหา พร้อมทั้งตั้งคําถามในระหว่างการฝึกในสถานการณ์นั้นๆ อาจารย์จากภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนใน LRC ว่าจะเน้นในการดูแลที่สําคัญสําหรับผู้ป่วยทางศัลยศาสตร์เช่น ผู้ป่วยที่ทํา ventriculostomy ผู้ป่วยที่ต้องทํา Continuous bladder irrigation: CBI และการเช็ดตา sterile ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดตา เป็นต้น โดยใช้เป็น การสอบ OSCE ที่จะมีเวลาให้ฐานละ ๕ นาทีซึ่งจะมี๓ รูปแบบคือ มีสถานการณ์ให้ตอบโดยเขียนบรรยาย มีสถานการณ์ให้ตอบโดยใช้ตัวเลือกตอบ และมีสถานการณ์ให้ลงมือปฏิบัตินอกจากนี้อาจารย์จากหลักสูตร พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตได้ร่วมแบ่งปันวิธีการที่อาจารย์ในหลักสูตรใช้แก้ปัญหาในช่วงสถานการณ์ โรคระบาด Covid-๑๙ ที่ทําให้นักศึกษาไม่สามารถขึ้นฝึกปฏิบัติได้ในช่วงการทํา situation analysis จากเดิม ที่นักศึกษาจะต้องเป็นผู้ขึ้นไปสืบค้นข้อมูลจากหอผู้ป่วยเอง ได้มีการปรับเปลี่ยนโดยอาจารย์จะเป็นผู้ให้ข้อมูล ส่วนนั้นๆ แต่นักศึกษาจะต้องคิดมาก่อนว่าต้องการข้อมูลอะไรบ้างในสถานการณ์ที่นักศึกษาจะวิเคราะห์ ปัญหาที่พบในการจัดการเรียนการสอนคือนักศึกษายังไม่สามารถปฏิบัติทักษะต่างๆได้ชํานาญทําให้ การต่อยอดไปสู่สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาตามระบบทําได้ยาก ผู้ร่วมกิจกรรมเสนอแนะว่าควรมี การจัดห้อง LRC เพื่อให้นักศึกษาใช้เวลาว่างไปฝึกทักษะเพื่อเสริมความมั่นใจ (Self-learning) โดยมีอาจารย์ เป็นผู้ตรวจสอบว่านักศึกษาทําได้ถูกต้องหรือไม่และสามารถคิดเป็นภาระงานในส่วนบริการวิชาการสําหรับ อาจารย์ผู้รับผิดชอบดูแลนักศึกษาในการฝึกทักษะนี้จากการประเมินผลของนักศึกษาพบว่าปัญหาสําคัญของ LRC คืออุปกรณ์ที่ล้าสมัย จํานวนไม่เพียงพอ และไม่เหมือนกับอุปกรณ์ที่ใช้จริงบนหอผู้ป่วย ซึ่งปัญหานี้ รองศาสตราจารย ดร.วิมลรัตน ภู่วราวุฒิพานิช แจ้งว่าสามารถแจ้งได้ว่าอุปกรณ์ใดที่ต้องการเพิ่มเติม จะได้มี การเสนอไปยังคณะกรรมการเพื่อจัดงบประมาณในการจัดซื้อต่อไป ซึ่งผู้ร่วมกิจกรรมได้เสนอให้มีการจัดแบ่ง อุปกรณ์จากศาลายามาที่บางกอกน้อย รวมถึงจัด LRC ที่บางกอกน้อยให้มีความทันสมัย รวมถึงมีการเสนอ อุปกรณ์ที่ต้องการเพิ่มเติมดังนี้


NSKnowledge Management [40] ๑. อุปกรณ์พ่นยาในรูปแบบต่างๆ เช่น MDI และ spacer ๒. เครื่อง infusion pump และ syringe pump ๓. เครื่องให้ Oxygen ที่เป็นของจริง ๔. หุ่น simulation แบบที่สามารถเปลี่ยน sim card ได้ ๕. เครื่อง drip อาหาร


NSKnowledge Management [41] กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่๖/๒๕๖๔ เรื่อง “What is SPOC” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ศรินรัตน์ศรีประสงค์วิทยากร ผู้ช่วยอาจารย์ประพัฒน์สินีประไพวงษ์ผลู้ิขิต ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “What is SPOC” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ศรินรัตน์ศรีประสงค์ในวันที่๗ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๒.๓๐ - ๑๓.๓๐ น. ผ่านระบบออนไลน์ Microsoft team รายละเอียดสรุปได้ดังนี้ SPOC หรือ Small Private Online Course คือ บทเรียนออนไลน์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ในหลักสูตรที่เปิดอิสระให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกช่วงเวลาตามความเหมาะสมของผู้เรียน ผู้เรียนต้องมีการ ลงทะเบียนตามหลักสูตร และใช้เรียนเฉพาะภายในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยผสมผสานระหว่างการเรียนแบบ ออนไลน์กับการเรียนในห้องเรียน ส่วน MOOC หรือ Massive Open Online Courseware คือ หลักสูตร ที่เป็นการเรียนแบบออนไลน์สําหรับประชาชน หรือบุคคลทั่วไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเรียน ซึ่งการเรียนรู้ แบบ MOOC สามารถเข้าถึงผู้เรียนได้จํานวนมาก โดยนําเทคโนโลยีการเรียนรู้เข้ามาผสมผสานทําให้คนทั่วโลก สามารถเข้าถงการศึ ึกษาได้ง่ายขึ้น ซึ่งการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์จะมีข้อดีคือสามารถสร้างรายวิชา ในหลักสูตรได้ไม่จํากัด รองรับผู้ใช้งานได้ปริมาณมาก ผู้เรียนมีอิสระ เสรีภาพ ในการเรียน สามารถเรียนได้ ทุกที่ทุกเวลา และยังสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้แม้จะเป็นการเรียนแบบออนไลน์ สําหรับการเรียนการสอนในวิชาการพยาบาลทางอายุรศาสตร์นั้น จะพบว่าวิชาเหล่านี้จะมีเนื้อหาที่ทํา ความเข้าใจได้ค่อนข้างยาก เน้นความจํา เนื้อหามีปริมาณมากทําให้เวลาในการสอนมีไม่เพียงพอ อีกทั้งผู้เรียน มีจํานวนมาก ทําให้อาจารย์ไม่สามารถให้คําแนะนําผู้เรียนอย่างทั่วถึง และการสอนโดยบรรยายแบบทั่วไป ทําให้การสอนดูไม่น่าสนใจ ดั้งนั้นการนําการเรียนการสอนแบบออนไลน์มาใช้ในการสอนนักศึกษา จะสามารถ ทําให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น และสามารถดึงดูดความสนใจได้โดยการใช้สื่อมัลติมีเดียต่างๆ เช่น รูปภาพ เสียง วิดีโอ เป็นต้น ผู้สอนสามารถใช้สื่อวีดิทัศน์ต่างๆ ในการสอนเนื้อหาที่ต้องใช้สถานการณ์จําลอง เพื่อลดค่าใช้จ่าย และลดอันตรายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ผู้สอนสามารถพูดคุย อภิปรายกับนักศึกษา เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความกระตือรือร้น และแสดงความคิดเห็นผ่านทางออนไลน์ได้นอกจากนั้นยัง สามารถใช้แบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบออนไลน์แก่นักศึกษา เพื่อประเมินการเรียนรู้และให้คําแนะนํา แก่นักศึกษาได้ทันที ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “What is SPOC” ด้านการดําเนินงาน ด้านการศึกษา นั้น เป็นแนวทาง และทางเลือกสําหรับอาจารย์ในภาควิชาฯ ในการนําการเรียนการสอนแบบ ออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในการสอนของนักศึกษาพยาบาล ทั้งในรายวิชาทฤษฎีและรายวิชาปฏิบัติเพื่อให้ สอดคล้องกับสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิค-๑๙ ในปัจจุบัน


Click to View FlipBook Version