The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nsmu_it, 2024-03-08 02:20:48

แผนการจัดการความรู้ ปีงบประมาณ 2567

แผนการจัดการความรู้ 2567

Keywords: แผนการจัดการความรู้,2567,KM

แผนการจัดการความรู้ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปีงบประมาณ 2567 โดย คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ และ งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง


สารบัญ เรื่อง หน้า ส่วนที่ 1 การจัดการความรู้ ความเป็นมา 1 วัตถุประสงค์ 2 นโยบายการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ 3 กลไกการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ 3 แผนยุทธศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2564-2567 4 ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการความรู้ของคณะพยาบาลศาสตร์ 4 รายนามคณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ 5 ส่วนที่ 2 การจัดทำแผนการจัดการความรู้ แผนการดำเนินงานการจัดการความรู้ 6 แผนการจัดการความรู้ : กิจกรรมการจัดการความรู้กับการดำเนินงานตามพันธกิจ 8 การศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ แผนการจัดการความรู้ : โครงการการขับเคลื่อนองค์ความรู้/นวัตกรรมเพื่อพัฒนาสู่องค์กร 9 แห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน แผนการจัดการความรู้ : โครงการสนับสนุนการศึกษาให้เป็ฯไปตามมาตรฐานสากล 11 กิจกรรมถ่ายทอดความรู้ผู้เกษียณอายุราชการสายวิชาการและสายสนับสนุน แผนที่การดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ (KM Map) 13 KM 7 ขั้นตอน 14 ภาคผนวก ภาคผนวก ก KM Road Map 16 ภาคผนวก ข คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ 17


1 ส่วนที่ 1 การจัดการความรู้ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ความเป็นมา การพัฒนาระบบการจัดการความรู้เป็นเรื่องที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง คณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2439 จนถึงปัจจุบันมีอายุกว่า 127 ปี มีวัฒนธรรมการถ่ายทอดความรู้มายาวนานและ ต่อเนื่อง หลากหลายรูปแบบ เช่น ถ่ายทอดความรู้จากอาจารย์ผู้มีความชำนาญไปยังอาจารย์ใหม่ พี่สอนน้อง หรือการถ่ายทอดความรู้ของผู้เกษียณให้กับบุคลากรในคณะฯ ทำให้เกิดการเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์ตรง และองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวสั่งสมและเกิดเป็นประสบการณ์ นอกจากนี้ยังมีการนำความรู้ที่มีอยู่แล้วมาพัฒนา ต่อยอดเป็นงานวิจัย ซึ่งก่อให้เกิดงานวิจัยตรงตามความเชี่ยวชาญของอาจารย์ในคณะฯ ในขณะเดียวกันมีการ พัฒนาคุณภาพของหน่วยงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง เช่น การทำให้ขั้นตอนการทำงานเร็วขึ้น ซึ่งดำเนินงาน มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แต่อย่างไรก็ตามความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดต่างๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกเก็บเป็น ลายลักษณ์อักษร หรือมีการเผยแพร่ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานให้ชัดเจน ทำให้องค์ความรู้ ของคณะพยาบาลศาสตร์ที่เป็นต้นแบบในเรื่องต่างๆ ไม่มีหลักฐานหรือไม่เกิดการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง คณะพยาบาลศาสตร์จึงเริ่มพัฒนาระบบการจัดการความรู้อย่างจริงจังให้ครอบคลุมทุกพันธกิจ และเกิดการ นำความรู้มาใช้ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาเว็บไซต์การจัดการความรู้เพื่อใช้เป็นช่องทางใน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ แต่การจัดการความรู้ยังอยู่ในระบบ อินทราเน็ต ยังไม่มีการเผยแพร่ออกไปภายนอก ต่อมาในปีงบประมาณ 2551 คณะฯ มียุทธศาสตร์และแผนงานที่ ชัดเจนในการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จึงได้มีการจัดตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบการจัดการ ความรู้ขึ้น เพื่อเข้ามาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ในปีงบประมาณ 2552 คณะฯ ได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการพัฒนา องค์กรแห่งการเรียนรู้” และ “คณะกรรมการพัฒนาระบบการจัดการความรู้” ขึ้น ซึ่งคณะกรรมการทั้ง 2 ชุดได้ ประสานงานและทำงานร่วมกันในการดำเนินการให้เกิดการพัฒนาคณะพยาบาลศาสตร์ให้เป็นองค์กรแห่งการ เรียนรู้ และพัฒนาระบบการจัดการความรู้ขึ้นภายในคณะฯ รวมทั้งผลักดันให้เกิดระบบการจัดการความรู้ของ ภาควิชาต่างๆ ด้วย ในปีงบประมาณ 2554 คณะฯ ได้ทบทวนและวางแผนการดำเนินการด้านการจัดการความรู้ ใหม่ โดยได้รวมคณะกรรมการทั้ง 2 ชุด เข้าด้วยกัน และตั้งชื่อใหม่เป็น “คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการ เรียนรู้และการจัดการความรู้” โดยมีบุคลากรและหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการจัดการความรู้ โดยตรง ผลักดันให้เกิดองค์ความรู้มากขึ้นทั้งที่เป็นความเชี่ยวชาญตามพันธกิจ เช่น พันธกิจการศึกษา วิจัย บริการวิชาการ รวมถึง การบริหารจัดการ และการประกันคุณภาพ ในปีงบประมาณ 2562 เริ่มมีการผลักดันให้ เกิดการจัดการความรู้ทั้งองค์กร โดยให้สายสนับสนุนและลูกจ้างเข้ามามีส่วนร่วมทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งองค์กร ในปีงบประมาณ 2564 ได้มีการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการพัฒนานวัตกรรม เป็นการใช้ทักษะ และความรู้ใหม่ๆ หลายแง่มุมในการทำโครงการ/กิจกรรมร่วมกัน ที่ทำให้คณะฯ สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม/ การให้บริการรูปแบบใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่องและสามารถตอบสนอง และปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อม คณะฯ จึงเล็งเห็นถึงการพัฒนาคุณภาพงานซึ่งก่อให้เกิดองค์ความรู้/นวัตกรรมจากบุคลากร สายสนับสนุนถึงกระบวนการพัฒนาคุณภาพงาน/นวัตกรรมผ่าน NS-Learning โดยเป็นรูปแบบที่มีการกำหนดให้


2 แต่ละงานทบทวนกระบวนการทำงานหลักโดยใช้เครื่องมือ SIPOC กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพ/ นวัตกรรมให้สอดคล้องกับกระบวนการทำงาน และเป็นส่วนหนึ่งของผลการปฏิบัติงานของบุคลากรได้ ต่อมาในปีงบประมาณ 2567 ได้มีการนำระบบ LEAN เข้ามาบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ดำเนินงานเพื่อสร้างคุณค่าที่แตกต่างกันไป ซึ่งมีการกำหนดคุณค่า วางแผนการดำเนินงาน สร้างขั้นตอนการ ทำงาน การทำงานตามความต้องการที่เกิดขึ้น มุ่งสู่ความสมบูรณ์แบบ รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการ สร้างสรรค์นวัตกรรม/การให้บริการรูปแบบใหม่ๆ พัฒนาคุณภาพงานที่ตนเองได้รับมอบหมายได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถตอบสนองและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ประสิทธิภาพการทำงาน ดีขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ คือ การใช้เวลาอย่างมีคุณภาพ การบริการที่ดีขึ้น บุคลากรมีกำลังใจมากขึ้น ลดต้นทุน และเพื่อให้บุคลากรทุกคนพัฒนาองค์ความรู้ที่มีการนำระบบ LEAN มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพงานและมุ่งเน้น ลูกค้า ส่งผลให้มีโครงการที่ปรับปรุงคุณภาพงานของงานที่ดำเนินการเป็นประจำ ในส่วนการจัดกิจกรรม สนับสนุนให้ภาควิชาฯ ดำเนินงานการจัดการความรู้ตามพันธกิจการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ ระหว่างกลุ่ม ชุมชนนักปฏิบัติของภาควิชาฯ จำนวน 7 กลุ่ม จึงทำให้คณะพยาบาลศาสตร์มีองค์ความรู้พร้อมใช้เป็นองค์กรแห่ง การเรียนรู้อย่างยั่งยืน และพร้อมที่จะเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเครือข่าย สถาบันการศึกษาพยาบาลด้วยกัน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมกระบวนการการจัดการความรู้กับการดำเนินงานตามพันธกิจการศึกษา การวิจัย บริการ วิชาการ บริหารจัดการ และการประกันคุณภาพของคณะพยาบาลศาสตร์ 2. เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรของการถ่ายทอดความรู้ผู้เกษียณอายุราชการ 3. เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในการทำงานเชิงรุกด้านคุณภาพงาน/นวัตกรรม 4. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มงาน ค้นหาแนวแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) และเผยแพร่ไปสู่ บุคลากรของคณะพยาบาลศาสตร์และบุคคลภายนอก 5. เพื่อถอดบทเรียน/ความรู้ที่ได้จากกระบวนการการจัดการความรู้กับการดำเนินงานตามพันธกิจต่างๆ ของคณะพยาบาลศาสตร์ และจากการถ่ายทอดความรู้ผู้เกษียณอายุราชการ 6. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ไปยังหน่วยงานภายนอกและสถาบันการศึกษาพยาบาล


3 นโยบายการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง ได้วางนโยบายการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ของ คณะพยาบาลศาสตร์ ไว้ดังนี้ 1. สร้างระบบการจัดการความรู้ด้วยการส่งเสริมกระบวนการการจัดการความรู้ การสร้างองค์ความรู้ การจัดเก็บความรู้รวมทั้งการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ให้เป็นเครื่องมือพัฒนางานอย่างต่อเนื่องอันนำไปสู่การ สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ 2. สนับสนุนให้ทุกหน่วยงาน/ภาควิชาฯ มีการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ รวมทั้งการนำองค์ ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานของหน่วยงาน/ภาควิชา เพื่อให้เกิดการ ปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3. เสริมสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทุกหน่วยงานทั้งภายใน และภายนอกสถาบัน กลไกการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ กลไกการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลที่สำคัญ มีดังนี้ 1. มีคณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ 2. มีหน่วยงานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง เป็นผู้ดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ จากกลไกการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ดังกล่าว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำไปสู่การปฏิบัติโดยมีระบบ และกลไกการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ภายในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดังนี้ 1. แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคณะพยาบาล ศาสตร์ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สร้างวัฒนธรรมขององค์กรแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในคณะฯ รวมถึงการจัด กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในระดับภาควิชา และหน่วยงาน 2. จัดทำโครงการ/ กิจกรรมที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของคณะพยาบาลศาสตร์ 3. จัดกิจกรรมการจัดการความรู้กับการดำเนินงานตามประเด็นสำคัญของคณะฯ ได้แก่ การศึกษา วิจัย บริการ วิชาการ บริหารจัดการและการประกันคุณภาพ ทั้งในระดับภาควิชาฯ หน่วยงาน และระดับคณะฯ 4. ถอดบทเรียน/ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้กับการดำเนินงานตามประเด็นต่างๆ และเผยแพร่ ความรู้ผ่านทางเว็บไซต์การจัดการความรู้และเว็บไซต์ของภาควิชาฯ 5. สนับสนุนให้มีการนำความรู้จากการจัดการความรู้ไปใช้ในหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง 6. จัดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานภายในคณะฯ รวมถึงส่งเสริมให้มีการเผยแพร่องค์ ความรู้ไปภายนอกองค์กร


4 แผนยุทธศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2564-2567 แผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ ยุทธศาสตร์ที่ 4 กลยุทธ์ที่ 4.5 พัฒนาระบบและกลไกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในทุกพันธกิจ ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการความรู้ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาทิศทางและกลไกสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการความรู้ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการจัดการความรู้ ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับในการจัดการความรู้ ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดการความรู้


5 รายนามคณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.สมสิริ รุ่งอมรรัตน์ ประธาน รองคณบดีพัฒนาคุณภาพ 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกศศิริ วงษ์คงคำ กรรมการ 3. อาจารย์ดร.กุลธิดา ทรัพย์สมบูรณ์ กรรมการ 4. อาจารย์ ดร.ภาศิษฏา อ่อนดี กรรมการ 5. อาจารย์ ดร.สาธิมา สุระธรรม กรรมการ 6. ผู้ช่วยอาจารย์ปวิตรา จริยสกุลวงศ์ กรรมการ 7. ผู้ช่วยอาจารย์สุรัสวดี ไวว่อง กรรมการ 8. ผู้ช่วยอาจารย์อภิรฎี พิมเสน กรรมการ 9. นางนภัสสร ลาภณรงค์ชัย กรรมการและเลขานุการ หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง 10. นายกณพ คำสุข กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 11. นางสาวดารานิตย์ กิ่งวัน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ หน้าที่ 1. จัดทำแผนปฏิบัติการในการพัฒนาคณะพยาบาลศาสตร์ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ให้สอดคล้อง กับแผนยุทธศาสตร์ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2. สร้างวัฒนธรรมขององค์กรแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในคณะพยาบาลศาสตร์อย่างต่อเนื่อง 3. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการความรู้ทั้งในระดับภาควิชา และสำนักงาน ของคณะพยาบาลศาสตร์ 4. สร้างองค์ความรู้จากการจัดการความรู้และนำองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร


6 ส่วนที่ 2 การจัดทำแผนการจัดการความรู้ งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้วางแผนการ ดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ ดังนี้ เป้าประสงค์หลัก: เพื่อพัฒนาคณะพยาบาลศาสตร์ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ นโยบาย: ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบทั่วทั้งองค์กร เป้าประสงค์: มีประยุกต์การจัดการความรู้ในการพัฒนาคณะพยาบาลศาสตร์ในพันธกิจด้านต่างๆ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาทิศทางและกลไกสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการความรู้ กลยุทธ์ ตัวชี้วัดกลยุทธ์ โครงการ/กิจกรรม กำหนดทิศทางการจัดการความรู้ที่มีผล ต่อยุทธศาสตร์ด้านการจัดการความรู้ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แผนการจัดการความรู้ที่ส่งเสริม ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการความรู้ของ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำแผนปฏิบัติการจัดการความรู้ (KM Action Plan) ที่สอดคล้องกับ แผนยุทธศาสตร์ด้านการจัดการความรู้ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่สอดคล้องกับ พันธกิจการศึกษา วิจัย บริการวิชาการ บริหารจัดการและการประกันคุณภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการจัดการความรู้ กลยุทธ์ ตัวชี้วัดกลยุทธ์ โครงการ/กิจกรรม 1. ส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับมีส่วน ร่วมเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการจัดการ ความรู้อย่างต่อเนื่อง จำนวนผลงานที่ได้จากบุคลากร โครงการ การขับเคลื่อนองค์ความรู้/ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาสู่องค์กรแห่งการ เรียนรู้อย่างยั่งยืน กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้ด้านระบบ LEAN เกี่ยวกับ การพัฒนาคุณภาพงาน/นวัตกรรม เพื่อ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า/ ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดีขึ้น กิจกรรมที่ 2 เปิดคลินิกให้ คำปรึกษาโครงการ/กิจกรรมพัฒนา คุณภาพงาน/นวัตกรรม ทุกวันพุธบ่าย สัปดาห์ที่ 2 ของเดือน กิจกรรมที่ 3 สัญจรพบหน่วยงาน 2. พัฒนาศักยภาพด้านการจัดการ ความรู้ จำนวนผลงานที่พัฒนาคุณภาพงาน/ นวัตกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับในการจัดการความรู้ กลยุทธ์ ตัวชี้วัดกลยุทธ์ โครงการ/กิจกรรม ส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิด การขับเคลื่อนการจัดการความรู้อย่าง ต่อเนื่อง จำนวนองค์ความรู้จากการจัดการ ความรู้ในพันธกิจด้านต่างๆ 1. โครงการ สนับสนุนการศึกษาให้ เป็นไปตามมาตรฐานสากล กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างระดับคณะฯ สายวิชาการ


7 กลยุทธ์ ตัวชี้วัดกลยุทธ์ โครงการ/กิจกรรม กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมการจัดการ ความรู้กับการดำเนินงานตามพันธ กิจการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ กิจกรรมที่ 6 ถ่ายทอดความรู้ผู้ เกษียณอายุราชการ ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ กลยุทธ์ ตัวชี้วัดกลยุทธ์ โครงการ/กิจกรรม 1. สร้างแรงจูงใจด้วยการให้รางวัล เกียรติบัตร และยกย่องเชิดชู เพื่อ กระตุ้นการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ ในแต่ละหน่วยงาน จำนวนผลงานที่พัฒนาคุณภาพงาน/ นวัตกรรม 1. โครงการ การขับเคลื่อนองค์ความรู้/ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาสู่องค์กรแห่งการ เรียนรู้อย่างยั่งยืน กิจกรรมที่ 7 อบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพ งาน/นวัตกรรม เพื่อตอบสนองความ ต้องการของลูกค้า/ปรับปรุง กระบวนการทำงานให้ดีขึ้น กิจกรรมที่ 8 สัญจรติดตามการ พัฒนาโครงการ/กิจกรรมพัฒนา คุณภาพงาน/นวัตกรรมหลังจากการ อบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมที่ 8 นำเสนอโครงการ/ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพงาน/นวัตกรรม 2. สื่อสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ กิจกรรม KM แก่บุคลากรทุกระดับ อย่างต่อเนื่อง 1. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ KM ทุก ช่องทาง 2. สร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มี ประสิทธิภาพและเหมาะสม


7 แผนปฏิบัติการด้านการจัดการความรู้ (KM Action Plan) ปีงบประมาณ 2567 : กิจกรรมชื่อหน่วยงาน : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป้าหมาย KM (Desired State) : 1. เพื่อส่งเสริมกระบวนการการจัดการความรู้กับการดำเนินงานตาม2. เพื่อถอดบทเรียน/ความรู้ที่ได้จากกระบวนการการจัดการความรู้กหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม : ได้องค์ความรู้จากการจัดการความรู้ในพันธกิจด้านต่างๆ ลำดับ กิจกรรม วิธีการสู่ความสำเร็จ ระยะเวลา 1 การกำหนดประเด็น ความรู้และเป้าหมาย ของการจัดการความรู้ - ประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อ กำหนดประเด็นการจัดการความรู้ ตามพันธกิจของสายวิชาการ ในระดับคณะฯ - กลุ่มชุมชนนักปฏิบัติของภาควิชาฯ กำหนดประเด็นและเป้าหมายการ จัดการความรู้ของกลุ่ม ต.ค. 66-ก.ย. 67 - ได้ประเความรู้ตอย่างน้อ- ได้ประความรู้อ2 กำหนดบุคลากร กลุ่มเป้าหมาย บุคลากรสายวิชาการ ต.ค. 66-ก.ย. 67 มีบุคลากกิจกรรม3 การแบ่งปันและ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และ เผยแพร่ไปสู่บุคลากร กลุ่มเป้าหมาย - จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน พันธกิจด้านการศึกษา การวิจัย บริการวิชาการ และด้านอื่นๆ - จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติของ ภาควิชา ต.ค. 66-ก.ย. 67 มีจำนวนความรู้ในอย่างน้อ


การจัดการความรู้กับการดำเนินงานตามพันธกิจการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ มพันธกิจการศึกษา การวิจัย และอื่นๆ ของคณะพยาบาลศาสตร์ กับการดำเนินงานตามพันธกิจต่างๆ ของคณะพยาบาลศาสตร์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผู้รับผิดชอบ เด็นและเป้าหมายการจัดการ ามพันธกิจในระดับคณะฯ ย 8 เรื่อง เด็นและเป้าหมายการจัดการ ย่างน้อย 1 เรื่อง (คลิปวีดีโอ) - ความรู้ในพันธกิจด้านการศึกษา การวิจัย และด้านอื่นๆ - สร้างกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติในระดับภาควิชา และสำนักงานของคณะฯ คณะกรรมการฯ ภาควิชาและสำนักงาน กรสายวิชาการเข้าร่วมใน ที่จัด บุคลากรสายวิชาการเข้าร่วมในกิจกรรมการ จัดการความรู้ในพันธกิจด้านการศึกษา การ วิจัย บริการวิชาการ และด้านอื่นๆ คณะกรรมการฯ ภาควิชาและสำนักงาน นองค์ความรู้จากการจัดการ นพันธกิจด้านต่างๆ ย 8 เรื่อง - มีการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ในพันธกิจ ด้านการศึกษา การวิจัย และด้านอื่นๆ - ถอดบทเรียน/ความรู้ที่ได้จากการดำเนินงาน ตามพันธกิจต่างๆ ของคณะฯ คณะกรรมการฯ ภาควิชาและสำนักงาน


8 ลำดับ กิจกรรม วิธีการสู่ความสำเร็จ ระยะเวลา 4 ติดตามผลงาน 1. ผลงานหลังจากจัดกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพันธกิจด้าน การศึกษา การบริการวิชาการ และ ด้านอื่นๆ 2. ผลงานหลังจากกิจกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ ของภาควิชา ต.ค. 66-ก.ย. 67 มีจำนวนความรู้ในอย่างน้อ5 การรวบรวมความรู้ และจัดเก็บอย่างเป็น ระบบโดยเผยแพร่ ออกมาเป็นลายลักษณ์ อักษร (Explicit Knowledge) จัดเก็บสรุปถอดบทเรียน/ความรู้ที่ได้ ไว้บนเว็บไซต์ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ ต.ค. 66-ก.ย. 67 มีการจัดที่ได้ไว้บน6 การนำความรู้ที่ได้จาก การจัดการความรู้มา ปรับใช้ในการ ปฏิบัติงานจริง นำความรู้ที่ได้จากการถอดบทเรียน ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง ต.ค. 66-ก.ย. 67 มีการนำประโยชน7 รายงานแจ้งที่ประชุม กค. และทีมบริหาร 1. ขั้นตอนการดำเนินงาน 2. ความสำเร็จของงาน ต.ค. 66-ก.ย. 67


ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผู้รับผิดชอบ นองค์ความรู้จากการจัดการ นพันธกิจด้านต่างๆ ย 8 เรื่อง 1. ผลงานหลังจากจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ในพันธกิจด้านการศึกษา การบริการ วิชาการ และด้านอื่นๆ อย่างน้อย 8 เรื่อง 2. ผลงานหลังจากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติของภาควิชา อย่างน้อยภาควิชาละ 2 เรื่อง คณะกรรมการฯ ภาควิชาและสำนักงาน เก็บสรุปถอดบทเรียน/ความรู้ นเว็บไซต์ รวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่องค์ความรู้ของ คณะฯ คณะกรรมการฯ ภาควิชาและสำนักงาน องค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ น์อย่างน้อย 3 เรื่อง มีการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการ ปฏิบัติงาน คณะกรรมการฯ ภาควิชาและสำนักงาน - - คณะกรรมการฯ ภาควิชาและสำนักงาน


9 แผนปฏิบัติการด้านการจัดการความรู้ (KM Action Plan) ปีงบประมาณ 2567 : โครงการชื่อหน่วยงาน : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป้าหมาย KM (Desired State) : 1. เพื่อส่งเสริมกระบวนการจัดการความรู้/นวัตกรรมในการพัฒนาคุ2. เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในการทำงานเชิงรุกด้านหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม : ได้องค์ความรู้ได้ไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ลำดับ กิจกรรม วิธีการสู่ความสำเร็จ ระยะเวลา 1 การกำหนดประเด็น ความรู้และเป้าหมาย ของการจัดการ ความรู้ 1. กำหนดประเด็นการจัดการ ความรู้ตามพันธกิจของสายวิชาการ และสายสนับสนุนในระดับคณะฯ ต.ค. 66-ก.ย. 67 1. ได้ประเด็นจัดการความส่งผลให้สามหน่วยงานอื่น2 กำหนดบุคลากร กลุ่มเป้าหมายที่จะ พัฒนาความรู้และ ทักษะ บุคลากรสายสนับสนุน ต.ค. 66-ก.ย. 67 มีบุคลากรสากิจกรรมที่จัด3 การแบ่งปันและ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่ไปสู่ บุคลากร กลุ่มเป้าหมาย - อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ด้าน ระบบ LEAN เกี่ยวกับการพัฒนา คุณภาพงาน/นวัตกรรม เพื่อ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า/ ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดีขึ้น - สัญจรติดตามการพัฒนาโครงการ/ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพงานฯ ต.ค. 66-ก.ย. 67 จำนวนเรื่องทในการจัดกายอด ส่งผลใหหน่วยงานอื่น


รการการขับเคลื่อนองค์ความรู้/นวัตกรรมเพื่อพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน ณภาพงานของบุคลากรสายสนับสนุน นคุณภาพงาน/นวัตกรรม ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผู้รับผิดชอบ นและเป้าหมายในการ มรู้และพัฒนา/ต่อยอด มารถเทียบเคียงกับ นได้ หน่วยงานสายสนับสนุน 12 หน่วยงาน คณะกรรมการฯ ภาควิชาและสำนักงาน ายสนับสนุนเข้าร่วมใน ด บุคลากรสายสนับสนุนทุกท่านเข้าร่วมใน กิจกรรมการจัดการความรู้ คณะกรรมการฯ ภาควิชาและสำนักงาน ที่นำระบบ LEAN มาใช้ รความรู้และพัฒนา/ต่อ ห้สามารถเทียบเคียงกับ นได้ จำนวน 12 เรื่อง - มีการจัดกิจกรรมคลินิกให้คำปรึกษา โครงการ/กิจกรรมพัฒนาคุณภาพงาน/ นวัตกรรม ทุกวันพุธบ่าย สัปดาห์ที่ 2 ของ เดือน - ถอดบทเรียน/ความรู้ที่ได้จากการดำเนินงาน ตามพันธกิจต่างๆ ของคณะฯ คณะกรรมการฯ ภาควิชาและสำนักงาน


10 ลำดับ กิจกรรม วิธีการสู่ความสำเร็จ ระยะเวลา - จัดกิจกรรมนำเสนอโครงการ/ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพงาน/ นวัตกรรม Show Case Best Practice 4 ติดตามผลงาน ผลงานหลังจากที่ได้สัญจรพบ 12 หน่วยงาน ต.ค. 66-ก.ย. 67 จำนวนหน่วยโดยมีค่าเป้าห5 การรวบรวมความรู้ และจัดเก็บอย่างเป็น ระบบโดยเผยแพร่ ออกมาเป็นลาย ลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) จัดเก็บสรุปถอดบทเรียน/ความรู้ที่ ได้ไว้บนเว็บไซต์ เพื่อเผยแพร่ องค์ความรู้ ต.ค. 66-ก.ย. 67 มีการจัดเก็บความรู้ที่ได้ไว6 การนำความรู้ที่ได้ จากการจัดการ ความรู้มาปรับใช้ใน การ ปฏิบัติงานจริง นำความรู้ที่ได้จากการถอดบทเรียน ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง ต.ค. 66-ก.ย. 67 มีการนำองค์ประโยชน์อย7 รายงานแจ้งที่ประชุม กค. และทีมบริหาร 1. ขั้นตอนการดำเนินงาน 2. ความสำเร็จของงาน ต.ค. 66-ก.ย. 67


ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผู้รับผิดชอบ - มีการนำเสนอโครงการ/กิจกรรมพัฒนา คุณภาพงานที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อส่งเข้า ประกวดในงานมหกรรมคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล ยงานจัดทำโครงการฯ หมายอยู่ที่ 12 เรื่อง หน่วยงาน 12 หน่วยงาน คณะกรรมการฯ ภาควิชาและสำนักงาน สรุปถอดบทเรียน/ ว้บนเว็บไซต์ รวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่องค์ความรู้ ของคณะฯ คณะกรรมการฯ ภาควิชาและสำนักงาน ค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ ย่างน้อย 1 เรื่อง มีการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ใน การปฏิบัติงาน คณะกรรมการฯ ภาควิชาและสำนักงาน - - คณะกรรมการฯ ภาควิชาและสำนักงาน


11 แผนปฏิบัติการด้านการจัดการความรู้ (KM Action Plan) ปีงบประมาณ 2567 : โครงการ กิจกรรมชื่อหน่วยงาน : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป้าหมาย KM (Desired State) : 1. เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรของการถ่ายทอดความรู้ผู้เกษียณอายุร2. เพื่อถอดบทเรียน/ความรู้ที่ได้จากถ่ายทอดความรู้ผู้เกษียณอายุราหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม : ได้องค์ความรู้จากการถ่ายทอดความรู้ผู้เกษียณอายุราชการ ลำดับ กิจกรรม วิธีการสู่ความสำเร็จ ระยะเวลา 1 การกำหนดประเด็นความรู้ และเป้าหมายของการ จัดการความรู้ ประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อกำหนดประเด็น การถอดบทเรียน/ความรู้ของผู้เกษียณอายุ ราชการ ต.ค. 66-ก.ย. 67 2 กำหนดบุคลากร กลุ่มเป้าหมาย ผู้เกษียณอายุราชการปีงบประมาณ 2567 สายวิชาการ 1. รศ.ดร.เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธิ์ 2. รศ.ดร.สุพร ดนัยดุษฎีกุล 3. อ.ดร.พรทิพย์ คณานับ สายสนับสนุน 1. นางวรรณทิน ยิ่งพัฒนพันธ์ 2. นางสาวอุษณี ฟองอนันตรัตน์ สายลูกจ้าง 1. นางสมใจ ลครศรี 2. นางเสาวณี หม่าตระกูล ต.ค. 66-ก.ย. 67 3 ติดต่อผู้เกษียณอายุ และ วิทยากรผู้ดำเนินรายการ - ผู้เกษียณอายุถ่ายทอดประสบการณ์ - วิทยากรดำเนินรายการ ต.ค. 66-ก.ย. 67


รสนับสนุนการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ถ่ายทอดความรู้ผู้เกษียณอายุราชการสายวิชาการและสายสนับสนุน ราชการ าชการ ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผู้รับผิดชอบ ได้องค์ความรู้จากการถ่ายทอดความรู้ ผู้เกษียณอายุราชการ 1 เรื่อง สร้างวัฒนธรรมองค์กรการ ถ่ายทอดความรู้ของผู้ เกษียณอายุราชการ คณะกรรมการฯ ผู้เกษียณอายุราชการเข้าร่วมใน กิจกรรมอย่างน้อย 2 คน สร้างวัฒนธรรมองค์กรการ ถ่ายทอดความรู้ของผู้ เกษียณอายุราชการ - คณะกรรมการฯ มีผู้เกษียณอายุถ่ายทอดประสบการณ์ อย่างน้อย 2 คน ได้รับความรู้จาก ผู้เกษียณอายุราชการ คณะกรรมการฯ ภาควิชาและสำนักงาน


12 ลำดับ กิจกรรม วิธีการสู่ความสำเร็จ ระยะเวลา 4 การแบ่งปันและแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และเผยแพร่ไปสู่ บุคลากรกลุ่มเป้าหมาย - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับคณะฯ เพื่อให้ผู้เกษียณอายุราชการได้ถ่ายทอดความรู้ - ถอดบทเรียน/ความรู้ของผู้เกษียณอายุ ราชการ ต.ค. 66-ก.ย. 67 5 การรวบรวมความรู้และ จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดย เผยแพร่ออกมาเป็นลาย ลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) จัดเก็บสรุปถอดบทเรียน/ความรู้ที่ได้ไว้บน เว็บไซต์ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ ต.ค. 66-ก.ย. 67 6 การนำความรู้ที่ได้จากการ จัดการความรู้มาปรับใช้ ในการปฏิบัติงานจริง นำความรู้ที่ได้จากผู้เกษียณอายุราชการไปใช้ใน การปฏิบัติงานจริง ต.ค. 66-ก.ย. 67 7 รายงานแจ้งที่ประชุม กค. และทีมบริหาร 1. ขั้นตอนการดำเนินงาน 2. ความสำเร็จของงาน ต.ค. 66-ก.ย. 67


ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผู้รับผิดชอบ - มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างน้อย 1 ครั้ง - ได้องค์ความรู้จากการถ่ายทอด ความรู้ผู้เกษียณอายุราชการ อย่างน้อย 1 เรื่อง - สร้างวัฒนธรรมองค์กร การถ่ายทอดความรู้ของผู้ เกษียณอายุราชการ - ถอดบทเรียน/ความรู้ที่ได้ จากการถ่ายทอดความรู้ ของผู้เกษียณอายุราชการ คณะกรรมการฯ มีการจัดเก็บสรุปถอดบทเรียน/ความรู้ ที่ได้ไว้บนเว็บไซต์ รวบรวม จัดเก็บ และ เผยแพร่องค์ความรู้ของ คณะฯ คณะกรรมการฯ มีการนำความรู้ที่ได้จากผู้เกษียณ อายุราชการไปใช้ในการปฏิบัติงาน อย่างน้อย 1 เรื่อง มีการนำความรู้ที่ได้จากผู้ เกษียณอายุราชการไปใช้ใน การปฏิบัติงาน คณะกรรมการฯ - - คณะกรรมการฯ ภาควิชาและสำนักงาน


13 แผนที่การดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ (KM Map) งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีแผนที่การ ดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ (KM Map) โดยเป็นการจัดเก็บในรูปแบบของคลังความรู้ที่เกิดจากการ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถเข้าไปได้ที่ Website KM http://www.elearning.ns.mahidol.ac.th/km/ ซึ่งได้จัดเก็บแบ่งเป็น 5 ด้าน ดังนี้


14 กระบวนการขั้นตอนสู่ความสำเร็จด้านการจัดการความรู้ของ คค้นหาความรู้ที่ จะทำให้บรรลุ เป้าหมายของ องค์กร สร้างและ แสวงหาความรู้ ให้เหมาะกับงาน และเป้าหมาย จัดการความรู้ให้ เป็นระบบแบ่ง ชนิดประเภทให้ สืบค้นง่าย ปรับปรุงให้เป็น ภาษาเข้าใจง่าย


คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มี 7 ขั้นตอน ดังนี้ เข้าถึงความรู้ (website) แบ่งปัน แลกเปลี่ยน เรียนรู้ (เวที) นำมาใช้ ประโยชน์ในการ ตัดสินใจเกิดผล ลัพธ์ที่ดี มุ่งสู่ เป้าหมายคณะฯ


15 ภาคผนวก


ปี 2551 เกิดกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติจำนวน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มNSFIS กลุ่มNSCIPPA และกลุ่ม NSLP ปีเพิ่มกลุ่มนักปฏกลุ่มการเรียนกาและกลุ่มปี 2562-2563 เริ่มปรับยุทธศาสตร์ใหม่สนับสนุนให้ ทุกหน่วยงานทำ KM เพื่อพัฒนา คุณภาพงานอย่างจริงจัง ปี จัดหาเครือข่ายเพื่อให้เหน่วยงานภายนอกสปี 2550 พัฒนา website KM เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ ภาคผนวก ก


16 ปี 2553 ปรับรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ ผู้เกษียณอายุราชการเป็นรูปธรรม ในรูปแบบคู่มือทางการพยาบาล ป 2552 ฏิบัติอีก 3 กลุ่ม คือ ารสอน กลุ่มคนรักไอที มสายสนับสนุน ปี 2554 ทบทวนการดำเนินการจัดการความรู้ใหม่ พร้อมตั้งคณะกรรมการ KM เฉพาะ ปี 2555-2556 สนับสนุนให้บุคลากรทำ KM ต่อเนื่อง จัดเก็บองค์ความรู้ใน web site ปี 2557-2561 แบ่งตามกลุ่มให้เข้าถึงได้ สนับสนุนให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2564-2570 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง สถาบัน และเครือข่ายพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ องค์กรแห่งการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล


17 ภาคผนวก ข คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้


18


19


Click to View FlipBook Version