The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษ

แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษ

แนวทาง

การประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
ระดับปฐมวัย

ระดบั การศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน
และระดับการศึกษาขัน้ พื้นฐาน

ศูนย์การศึกษาพิเศษ

ส�ำ นักทดสอบทางการศกึ ษา
ส�ำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาข้นั พื้นฐาน

แนวทางการประเมินคณุ ภาพตามมาตรฐานการศึกษา
ระดับปฐมวัย ระดบั การศึกษาขั้นพืน้ ฐาน
และระดับการศึกษาข้ันพืน้ ฐานศนู ยก์ ารศึกษาพิเศษ

ปที ่ีพิมพ ์ พ.ศ. ๒๕๖๑

จ�ำ นวนพมิ พ ์ ๑๐,๐๐๐ เลม่

พิมพ์ท ่ี โรงพมิ พช์ มุ นมุ สหกรณก์ ารเกษตรแหง่ ประเทศไทย จ�ำ กดั
๗๙ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจกั ร
กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐
โทร. ๐-๒๕๖๑-๔๕๖๗ โทรสาร ๐-๒๕๗๙-๕๑๐๑
นายโชคดี ออสวุ รรณ ผพู้ ิมพผ์ ้โู ฆษณา

คำ�น�ำ

การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาถูกพัฒนาข้ึน
เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ทุกฝ่ายว่าการจัดการศึกษาทุกระดับมีคุณภาพ
และจะคงรักษาไว้ซ่ึงมาตรฐาน กระทรวงศึกษาธิการจึงให้มีการปฏิรูป
ระบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีนโยบาย
ปรับปรุงมาตรฐานและตัวช้ีวัดให้มีจำ�นวนน้อยลง กระชับและสะท้อนถึง
คณุ ภาพอยา่ งแทจ้ รงิ เนน้ การประเมนิ ตามสภาพจรงิ ไมย่ งุ่ ยาก สรา้ งมาตรฐาน
ระบบการประเมิน เพ่ือลดภาระการจัดเก็บข้อมูล ลดการจัดทำ�เอกสาร
ที่ใช้ในการประเมิน รวมท้ังพัฒนาผู้ประเมินภายในให้มีมาตรฐาน
มีความน่าเช่ือถือ สามารถให้คำ�ช้ีแนะและให้คำ�ปรึกษาแก่สถานศึกษาได้
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ปรับใหม่จึงมีจำ�นวนไม่มาก
แนวทางการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาจะเน้นการเก็บข้อมูล
ในเชิงคุณภาพตามบริบทของสถานศึกษา ไม่เพ่ิมภาระการจัดทำ�เอกสาร
ใหส้ ถานศกึ ษา รวมทง้ั พฒั นาผปู้ ระเมนิ ภายในใหม้ มี าตรฐาน มคี วามนา่ เชอ่ื ถอื
สามารถใหค้ �ำ ชแ้ี นะและใหค้ �ำ ปรกึ ษาแกส่ ถานศกึ ษาได้ ปรบั กระบวนทศั น์
ในการประเมนิ ทมี่ เี ปา้ หมายเพอ่ื พฒั นา (evaluation and development)
บนพื้นฐานบริบทของสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
จึงเป็นจุดเร่ิมต้นของการพัฒนาทุนมนุษย์และเป็นเป้าหมายสำ�คัญที่สุด
ที่ผู้มีส่วนเก่ียวข้องทุกฝ่ายทุกคนในสถานศึกษาต้องรับรู้ และปฏิบัติงาน
ในหน้าท่ีท่ีรับผิดชอบให้บรรลุถึงเป้าหมายคือมาตรฐานท่ีสถานศึกษา
กำ � ห น ด แ ล ะ ร่ ว ม รั บ ผิ ด ช อ บ ต่ อ ผ ล ก า ร จั ด ก า ร ศึ ก ษ า ท่ี เ กิ ด ขึ้ น
(accountability)

เอกสารเล่มนี้ จัดทำ�ข้ึนตามกรอบกฎกระทรวงการ
ประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ นโยบายปฏิรูประบบ
การประเมนิ และประกันคณุ ภาพการศกึ ษาของสถานศกึ ษา และประกาศ
มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน และ
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ พ.ศ. ๒๕๖๑ สำ�หรับ
ให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางดำ�เนินงาน เพื่อการประกันคุณภาพภายใน
ของสถานศึกษา และเตรียมการสำ�หรับการประเมินคุณภาพภายนอก
ซึ่งจะทำ�ให้เกิดความม่ันใจแก่ผู้มีส่วนเก่ียวข้องทุกฝ่ายว่าการจัดการศึกษา
ของสถานศึกษามีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และคงรักษาไว้ซ่ึงมาตรฐาน
จากการด�ำ เนินงานประกันคณุ ภาพภายในของสถานศึกษา
สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน หวังว่า
สถานศึกษาทุกสังกัดที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะได้รับประโยชน์จาก
การศึกษาเอกสารเล่มน้ี ใช้เป็นแนวทางในการดำ�เนินการกำ�หนดกรอบ
และแนวทางในการตรวจสอบและประเมนิ คณุ ภาพภายในของสถานศกึ ษา
ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา เพ่ือพัฒนาคุณภาพการศึกษา
สู่เป้าหมายตามมาตรฐานที่สถานศึกษากำ�หนด ท้งั นี้ ขอขอบคณุ ผ้บู ริหาร
ครูอาจารย์ ศึกษานิเทศก์ และผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการ
จัดทำ�เอกสารเล่มนี้ให้สมบูรณ์ สามารถนำ�ไปปฏิบัติงานได้อย่างมี
ประสทิ ธภิ าพและประสิทธผิ ลตอ่ ไป
(นายบุญรกั ษ์ ยอดเพชร)
เลขาธกิ ารคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พ้ืนฐาน

สารบญั

หนา้

สว่ นท่ี ๑ บทน�ำ ๑
สว่ นท่ี ๒ มาตรฐานการศึกษา คำ�อธิบาย และระดบั คุณภาพ ๑๑
... มาตรฐานการศกึ ษาระดบั ปฐมวยั ๑๒
... มาตรฐานการศกึ ษาระดับการศึกษาขน้ั พืน้ ฐาน ๒๕
... มาตรฐานการศึกษาระดับการศกึ ษาข้นั พ้นื ฐาน ๔๒
ศูนยก์ ารศึกษาพเิ ศษ ๖๐
สว่ นท่ี ๓ แนวทางการประเมนิ คุณภาพภายในของสถานศกึ ษา ๖๗
… บทบาทหน้าทขี่ องหน่วยงานทเี่ กี่ยวขอ้ ง ๗๑
ภาคผนวก
…ประกาศกระทรวงศกึ ษาธกิ าร ๗๒
เรื่อง ให้ใชม้ าตรฐานการศกึ ษาระดบั ปฐมวยั ๘๓
ระดบั การศึกษาขน้ั พนื้ ฐาน ๙๒
และระดบั การศกึ ษาข้นั พื้นฐานศนู ย์การศกึ ษาพิเศษ
… ประกาศกฎกระทรวงการประกันคณุ ภาพการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๖๑
คณะท�ำ งาน



สว่ นท่ี ๑

บทนำ�

การศึกษาเป็นกระบวนการที่ท�ำให้คนมีความรู้และคุณสมบัติ
ตา่ ง ๆ ทช่ี ว่ ยใหค้ นนนั้ อยรู่ อดในโลกได้ เปน็ ประโยชนต์ อ่ ตนเอง ครอบครวั
และสังคมส่วนรวม (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี,
๒๕๔๕) คณุ ภาพการศึกษาจึงสะท้อนถึงคุณภาพคนท่เี ปน็ ผลผลิตของการ
จดั การศึกษา ในบรบิ ทของสงั คมไทยปจั จุบัน รูปแบบการศกึ ษาสว่ นใหญ่
จะเป็นการศึกษาในระบบ ดังน้ัน สถานศึกษาจึงเป็นหน่วยงานหลัก
ท่มี หี นา้ ที่ในการจดั การศกึ ษา โดยเฉพาะในระดบั การศกึ ษาขนั้ พ้นื ฐาน
ในสถานการณ์ปัจจุบันสถานศึกษาส่วนใหญ่ ยังมีความ
เหลื่อมล้�ำแตกต่างกัน ท้ังในด้านงบประมาณ คุณภาพ บุคลากร หรือ
แม้แต่ปัจจัยด้านผู้เรียน รวมท้ังปัจจัยเอื้ออ่ืน ๆ เช่น ความร่วมมือของ
คณะกรรมการสถานศกึ ษา การสนบั สนนุ จากชมุ ชน หนว่ ยงานหรอื องคก์ ร
ที่อยู่ใกล้เคียงสถานศึกษา และการติดตามช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดจาก
ส�ำนกั งานเขตพื้นท่ีการศึกษาหรอื หนว่ ยงานตน้ สังกัด สง่ิ เหลา่ นีล้ ว้ นส่งผล
กระทบต่อคุณภาพการจัดการศึกษา อีกทั้ง ปัจจุบันสถานศึกษามีอิสระ
ในการบริหารจัดการศึกษาด้วยตนเอง มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ตามบริบทและความต้องการของตนเอง คุณภาพผู้เรียนและคุณภาพ
ในการบริหารจัดการจึงมีความแตกต่างกัน พระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
จึงก�ำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกัน
คุณภาพภายในของสถานศึกษา อันน�ำไปสู่การก�ำหนดให้มีมาตรฐาน

1

การศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้น ประกอบกับได้มีการประกาศใช้กฎกระทรวง
การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ และกระทรวงศึกษาธิการ
มีการประกาศให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษา
ข้ันพื้นฐาน และระดับการศึกษาข้ันพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๑ ส�ำหรับให้สถานศึกษา
ใช้เปน็ แนวทางด�ำเนินงานเพือ่ การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
และเตรียมการส�ำหรับการประเมินคุณภาพภายนอก ซ่ึงจะท�ำให้เกิด
ความมนั่ ใจแกผ่ มู้ สี ว่ นเกยี่ วขอ้ งทกุ ฝา่ ยวา่ การจดั การศกึ ษาของสถานศกึ ษา
มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และคงรักษาไว้ซ่ึงมาตรฐานจากการด�ำเนินงาน
ประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ความสำ�คัญและความจำ�เป็นในการกำ�หนดมาตรฐาน
การศึกษา

มาตรฐานการศึกษาเป็นข้อกำ�หนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ
และคุณภาพที่พึงประสงค์ท่ีต้องการให้เกิดข้ึนในสถานศึกษาทุกแห่ง
มาตรฐานถูกกำ�หนดขึ้นเพ่ือใช้เป็นหลักเทียบเคียงสำ�หรับการส่งเสริม
และกำ�กับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผลและการประกันคุณภาพ
การศึกษา (สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ๒๕๔๘)
มาตรฐานในบรบิ ทนจ้ี งึ เปน็ มาตรฐานทม่ี งุ่ เนน้ การพฒั นาคณุ ภาพการศกึ ษา
โดยองคร์ วมการก�ำ หนดใหม้ มี าตรฐานการศกึ ษาท�ำ ใหเ้ กดิ โอกาสทเ่ี ทา่ เทยี มกนั
ในการพัฒนาคุณภาพเพราะสถานศึกษาทุกแห่งรู้ว่าเป้าหมายการพัฒนา
ที่แท้จริงอยู่ท่ีใด การกำ�หนดให้มีมาตรฐานการศึกษาจึงเป็นการให้ความ
ส�ำ คญั กบั การจดั การศกึ ษา ๒ ประการ ไดแ้ ก่ ๑) สถานศกึ ษาทกุ แหง่ มเี กณฑ์
เปรียบเทียบกับมาตรฐานซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกัน ๒) มาตรฐานทำ�ให้

2

สถานศึกษาเข้าใจชัดเจนว่าจะพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปในทิศทางใด
นอกจากน้ี การก�ำ หนดมาตรฐานยงั เปน็ การก�ำ หนดความคาดหวงั ทชี่ ดั เจน
ให้กับครู ผู้บริหาร พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ท่ีมี
ส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา ซ่ึงเป็นแนวทางหนึ่งในการร่วมมือ
รวมพลงั เพือ่ ให้เกิดคณุ ภาพการศกึ ษาตามเปา้ หมายท่ีกำ�หนด มาตรฐาน
การศึกษาจึงเป็นจุดเร่ิมต้นของการพัฒนาทุนมนุษย์และเป็นเป้าหมาย
สำ�คัญที่สุดที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกคนต้องรับรู้และปฏิบัติงาน
ในหน้าท่ีที่รับผิดชอบให้บรรลุถึงเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษา
ทก่ี �ำ หนดและรว่ มรบั ผดิ ชอบตอ่ ผลการจดั การศกึ ษาทเ่ี กดิ ขน้ึ (accountability)
มาตรฐานการศกึ ษามปี ระโยชน์ตอ่ บคุ คลทีเ่ ก่ยี วขอ้ ง ดังน้ี
๑. ผู้เรียน ทำ�ให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาตนเองตาม
ความคาดหวังของสังคมและประเทศชาติว่าต้องการคนท่ีมีคุณลักษณะ
ทพี่ งึ ประสงคอ์ ย่างไร จะทำ�อย่างไรจงึ จะเป็นผู้มีคุณสมบัตติ ามทม่ี าตรฐาน
การศึกษาก�ำ หนด
๒. ครู ใช้มาตรฐานเป็นกรอบแนวทางในการออกแบบ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำ�คัญ และเป็นแนวทางในการพัฒนา
ตนเองตามคณุ ลกั ษณะและคณุ สมบตั ติ ามมาตรฐานทก่ี �ำ หนด เพอ่ื ใหผ้ เู้ รยี น
มคี ุณภาพตามทมี่ าตรฐานก�ำ หนดไว้
๓. ท้องถ่ินและสถานศึกษา ใช้มาตรฐานเป็นแนวทาง
รว่ มมือกนั ในการจดั การศึกษาใหบ้ รรลุเปา้ หมายตามทีต่ ้งั ไว้
๔. พอ่ แมผ่ ปู้ กครอง ประชาชนและผนู้ �ำ ชมุ ชน ใชม้ าตรฐาน
เป็นเคร่ืองมือส่ือสารให้ประชาชนได้รับทราบกระบวนการจัดการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนที่จะทำ�ให้คนไทยในท้องถิ่นเข้าใจและเข้ามา
มีส่วนร่วม เพ่ือให้การจัดการศึกษาช่วยยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้ได้
ตามมาตรฐานที่ก�ำ หนด

3

๕. ประเทศชาติ ใชม้ าตรฐานเปน็ เครอ่ื งมอื ทที่ �ำ ใหท้ กุ องคก์ ร
ประกอบของระบบการศกึ ษาขบั เคลอ่ื นไปพรอ้ ม ๆ กนั สเู่ ปา้ หมายเดยี วกนั
และทำ�ให้เกิดภาพการจดั การศึกษาท่มี ีความหมาย

แนวคิดในการกำ�หนดมาตรฐานการศึกษาข้ันพืน้ ฐาน

จากการศึกษางานวิจัย บทความ บทสัมภาษณ์ผู้น�ำทาง
การศกึ ษา ผูบ้ ริหารดเี ดน่ ตลอดจนการแสดงความคดิ เหน็ ของกล่มุ บคุ คล
ทั่วไป สรุปได้ว่า สถานศึกษาท่ีจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีส่ิงส�ำคัญท่ีบ่งบอกได้อย่างชัดเจนหลายประการ ได้แก่ มีการก�ำหนด
ภารกิจของสถานศึกษาที่ชัดเจน มีการก�ำกับติดตามงานสม่�ำเสมอ
ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษาบ้านและชุมชนมีความใกล้ชิดและ
ไว้วางใจกัน มีการต้ังความคาดหวังของผลส�ำเร็จไว้สูง มีความเป็นผู้น�ำ
ดา้ นการจดั การเรยี นรอู้ ยา่ งมอื อาชพี ทงั้ ครแู ละผบู้ รหิ าร มกี ารสรา้ งโอกาส
ในการเรยี นรแู้ ละใหเ้ วลาผเู้ รียนในการท�ำงานกลุ่มมากข้ึน จัดส่งิ แวดลอ้ ม
ทจี่ �ำเป็นอยา่ งมรี ะเบยี บ สะอาด และปลอดภยั มกี ารจัดหลักสตู รท่ชี ดั เจน
สอดคล้องกบั เปา้ หมาย ใชก้ ลวิธใี นการประเมนิ ทีห่ ลากหลาย จดั การเรยี น
การสอนท่ีกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจ กระตือรือร้นในการท่ีจะเรียนรู้
จัดบรรยากาศท่ีส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ ขจัดสิ่งที่เป็นอุปสรรค
ส�ำหรับความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน พัฒนางานอยู่บนพ้ืนฐาน
ของการวิจัย ใช้แหล่งเรียนรู้ท่ีมีอยู่อย่างเต็มท่ีและวางแผนงานอย่างมี
ประสทิ ธภิ าพ จากแนวคดิ ในการจดั การศกึ ษาและพฒั นาคณุ ภาพการศกึ ษา
ดงั กลา่ ว ประกอบกับแนวคดิ ในการพัฒนามาตรฐานการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน
ว่าต้องเป็นมาตรฐานทีป่ ฏบิ ัติง่าย ประเมินไดจ้ ริง กระชับและจ�ำนวนนอ้ ย
แต่สามารถสะท้อนคุณภาพการศึกษาได้จริง ข้อมูลที่ได้เกิดประโยชน์
ในการพฒั นาการศึกษาทุกระดบั ตงั้ แตร่ ะดบั สถานศกึ ษา ระดบั เขตพื้นท่ี

4

การศึกษา ระดับหน่วยงานต้นสังกัดและระดับชาติ ดังน้ันการก�ำหนด
มาตรฐานจึงเน้นที่คุณภาพของผู้เรียน คุณภาพของกระบวนการบริหาร
และการจัดการและคุณภาพของกระบวนการจัดการเรียนการสอนท่ีเน้น
ผู้เรียนเป็นส�ำคญั โดยมแี นวคิดในการก�ำหนดมาตรฐานในด้านต่าง ๆ ดงั น้ี
๑. แนวคดิ ในการก�ำ หนดมาตรฐานดา้ นคณุ ภาพของผเู้ รยี น
คุณภาพผู้เรียนท่ีสังคมต้องการ ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน
ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และท่ีแก้ไขเพ่ิมเติม
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๖ ท่ีว่า “การจัดการศึกษาต้องเป็นไป
เพ่ือพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ (หมายถึง
สุขกาย สุขใจ) สติปัญญา ความรู้ (หมายถึง เป็นคนเก่ง) และคุณธรรม
มจี รยิ ธรรมและวฒั นธรรมในการดำ�รงชวี ติ สามารถอยรู่ ว่ มกบั ผอู้ น่ื ไดอ้ ยา่ ง
มีความสขุ (หมายถงึ เป็นคนดขี องคนรอบข้างและสังคม)” และในมาตรา
๗ ที่ว่า “ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำ�นึกที่ถูกต้องเก่ียวกับ
การเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเปน็ ประมขุ รจู้ กั รกั ษาและสง่ เสรมิ สทิ ธิ หนา้ ที่ เสรภี าพ เคารพกฎหมาย
ความเสมอภาคและศกั ดศิ์ รคี วามเปน็ มนษุ ย์ มคี วามภมู ใิ จในความเปน็ ไทย
รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนร่วมและของประเทศชาติ รวมทั้ง ส่งเสริม
ศาสนา ศลิ ปะ วฒั นธรรมของชาติ การกฬี า ภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถน่ิ ภมู ปิ ญั ญาไทย
และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ
สง่ิ แวดลอ้ ม มีความสามารถในการประกอบอาชพี รู้จกั พง่ึ ตนเอง มคี วาม
คดิ ริเริม่ สร้างสรรค์ ใฝ่ร้แู ละเรยี นรู้ ด้วยตนเองอยา่ งตอ่ เนอื่ ง” นอกจากนี้
เพื่อให้ก้าวทันกระแสการเปล่ียนแปลงในยุคที่ความรู้และเทคโนโลยี
เจริญข้นึ อย่างรวดเร็ว กระทรวงศกึ ษาธกิ ารในยคุ ของการปฏริ ปู การศึกษา
ในทศวรรษท่ี ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๖๑) ได้ประกาศวิสัยทัศน์เก่ียวกับ
คนไทยยคุ ใหมว่ า่ คนไทยยคุ ใหมต่ อ้ งไดเ้ รยี นรตู้ ลอดชวี ติ มสี ตริ ทู้ นั มปี ญั ญา

5

รู้คิด มีสมรรถนะและมีคุณธรรม รับผิดชอบต่อครอบครัว ประเทศชาติ
และเป็นพลเมืองที่ดีของโลก ซึ่งสอดรับกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาข้ันพน้ื ฐาน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๑ ท่ีได้มงุ่ พฒั นาผู้เรยี น
ให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและ
การประกอบอาชีพ ดังน้ัน ในการกำ�หนดมาตรฐานการศึกษาระดับ
การศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐาน ดา้ นคณุ ภาพของผเู้ รยี น จงึ มงุ่ เนน้ ทก่ี ารพฒั นาผเู้ รยี น
ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยได้กำ�หนดมาตรฐานการศึกษาย่อย จำ�นวน
๒ ด้าน ไดแ้ ก่ ๑) ด้านผลสัมฤทธทิ์ างการเรยี น และ ๒) ด้านคณุ ลกั ษณะ
ที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน มุ่งเน้นคุณภาพ
มาตรฐานขัน้ ตน้ ในระดบั “ปานกลาง” ที่การมคี วามสามารถในการอ่าน
การเขยี น การสอ่ื สารและการคดิ ค�ำ นวณ รวมทง้ั การมผี ลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี น
ตามหลักสตู รสถานศึกษา ส่วนคณุ ภาพมาตรฐานข้ันสูง ไดแ้ ก่ ระดบั “ดี”
“ดีเลิศ” และ “ยอดเยี่ยม” จะมุ่งเน้นไปท่ีคุณภาพมาตรฐานใน
ระดับท่ีแตกต่างกันในเรื่อง การมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์
คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปล่ียนความคิดและการแก้ปัญหา
การมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การมีความสามารถในการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศและการส่ือสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน
และเจตคติท่ีดีต่องานอาชีพ สำ�หรับด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของ
ผู้เรยี น ม่งุ เน้นคุณภาพมาตรฐานข้ันพ้นื ฐานในระดบั “ปานกลาง” ท่กี ารมี
คุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามท่ีสถานศึกษากำ�หนด และการมีสุขภาวะ
ทางร่างกายและจิตสังคม ส่วนคณุ ภาพมาตรฐานขั้นสงู ได้แก่ ระดบั “ดี”
“ดีเลิศ” และ “ยอดเย่ียม” จะมุ่งเน้นไปที่คุณภาพมาตรฐานในระดับ
ที่แตกต่างกันในเร่ือง ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย รวมทั้ง
การยอมรบั ท่จี ะอยู่ร่วมกันบนความแตกตา่ งและหลากหลาย
6

๒. แนวคดิ ในการก�ำ หนดมาตรฐานดา้ นกระบวนการบรหิ าร
และการจัดการ
การจัดการศึกษาของสถานศึกษามีองค์ประกอบท่ีสำ�คัญ
๔ ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารคุณภาพของสถานศึกษา ด้านการบริหาร
หลกั สตู รและงานวชิ าการของสถานศกึ ษา ดา้ นการพฒั นาครแู ละบคุ ลากร
และด้านการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการ ด้านการบริหารคุณภาพ
ของสถานศึกษา เน้นท่ีการบริหารจัดการคุณภาพโดยรวม โดยให้
ความส�ำ คญั กบั การก�ำ หนดเปา้ หมายวสิ ยั ทศั นแ์ ละพนั ธกจิ ของสถานศกึ ษา
รวมท้ังระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาท่ีมีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล ด้านการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของสถานศึกษา
หลักสูตรสถานศึกษาจะเป็นตัวสะท้อนคุณภาพของผู้สำ�เร็จการศึกษา
ไดเ้ ปน็ อยา่ งดี มหี ลกั สตู รสถานศกึ ษาจะมกี ารก�ำ หนดจดุ มงุ่ หมาย แนวทาง
วธิ กี ารและเนอ้ื หาสาระทเี่ รยี น ตลอดจนวธิ กี ารวดั และประเมนิ ผลการเรยี น
การสอนในสถานศึกษา ซ่ึงจะสะท้อนว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ
เจตคติ และพฤติกรรมตามมาตรฐานการศึกษาท่ีสถานศึกษากำ�หนดไว้
หรือไม่ หลักสูตรที่ดีควรคำ�นึงถึงบริบทของผู้เรียน ท้องถ่ินและชุมชน
มกี ารบรู ณาการสาระการเรยี นรู้ หรอื จดั ท�ำ รายวชิ าเพม่ิ เตมิ ทส่ี อดคลอ้ งกบั
ความถนดั ความสามารถและความสนใจของผเู้ รยี นและจดั กจิ กรรมพฒั นา
ผู้เรียนที่ส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนตามขีดความสามารถทำ�ให้ผู้เรียน
มีความสมบูรณ์และสมดุลทั้งทางร่างกาย สังคม อารมณ์ จิตใจและสติ
ปัญญา ดา้ นการพัฒนาครแู ละบคุ ลากร ครูและบุคลากรเป็นปจั จัยสำ�คญั
ที่ช่วยให้การจัดการศึกษาเกิดคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาท่ีกำ�หนด
การพัฒนาครูและบุคลากร เน้นไปที่ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพซ่ึงต้องมี
การพัฒนาที่ตรงตามความต้องการจำ�เป็นอย่างต่อเนื่อง ท้ังในส่วนของ

7

บุคคลและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบของการสร้างชุมชนการเรียนรู้
ทางวิชาชีพ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการ สภาพแวดล้อม
และการบรกิ ารทด่ี เี ปน็ ปจั จยั ส�ำ คญั ตอ่ การพฒั นาคณุ ภาพการจดั การศกึ ษา
สถานศึกษาที่มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารเรียนที่มั่นคง สะอาด
มีแหล่งเรียนรู้ท่ีเพียงพอ มีการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคม
ท่ีเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนมีการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพ่ือสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ท่ีมีคุณภาพ
ทำ�ให้ผู้เรียนดำ�เนินชีวิตอยู่ในสถานศึกษาได้อย่างมีความสุข ปลอดภัย
มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซ่ึงจะส่งผลถึงความสำ�เร็จในการเรียนของผู้เรียน
ด้วยมาตรฐานด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ มุ่งเน้นคุณภาพ
มาตรฐานขน้ั ตน้ ในระดับ “ปานกลาง” ที่เป้าหมายวิสัยทัศน์และพนั ธกิจ
ที่สถานศึกษากำ�หนดและระบบบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา
สว่ นคณุ ภาพมาตรฐานขนั้ สงู ไดแ้ ก่ ระดบั “ด”ี “ดเี ลศิ ” และ “ยอดเยยี่ ม”
จะมงุ่ เนน้ ไปทค่ี ณุ ภาพมาตรฐานในระดบั ทแ่ี ตกตา่ งกนั ในเรอ่ื งการด�ำ เนนิ การ
พัฒนาวิชาการ การพัฒนาครูและบุคลากร การจัดสภาพแวดล้อม
ทางกายภาพและสังคม รวมท้ังการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของ
สถานศึกษา
๓. แนวคิดในการกำ�หนดมาตรฐานด้านกระบวนการจัด
การเรยี นการสอนท่เี น้นผูเ้ รยี นเปน็ สำ�คัญ
การจัดการเรียนการสอนเป็นกลไกสำ�คัญในการพัฒนา
คุณภาพผู้เรียนซึ่งจะบ่งบอกถึงคุณภาพการจัดการศึกษา ในปัจจุบัน
การจัดการเรียนการสอนที่ยอมรับกันว่าส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ไดอ้ ยา่ งแทจ้ รงิ เปน็ การจดั การเรยี นการสอนทเี่ นน้ ผเู้ รยี นเปน็ ส�ำ คญั ซง่ึ เนน้
ที่การปฏบิ ตั ิ (active learning) เพ่ือใหผ้ เู้ รียนเรยี นรู้ผา่ นกระบวนการคดิ
8

และการปฏบิ ตั ทิ นี่ �ำ ไปสกู่ ารเรยี นรทู้ ล่ี กึ ซงึ้ และคงทน มาตรฐานดา้ นการจดั
การเรียนการสอนทเ่ี นน้ ผู้เรียนเป็นสำ�คัญ มุง่ เนน้ คณุ ภาพมาตรฐานข้นั ตน้
ในระดับ “ปานกลาง” ที่การจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด และ
ปฏิบัติจริง รวมทั้งความสามารถในการนำ�ไปประยุกต์ใช้ในชีวิต การใช้
สือ่ เทคโนโลยสี ารสนเทศ และแหล่งเรียนร้ทู ี่เออ้ื ตอ่ การเรยี นรู้ ตลอดจน
การตรวจสอบและประเมนิ ผู้เรยี นอย่างเป็นระบบและการนำ�ผลมาพัฒนา
ผู้เรียน ส่วนคุณภาพมาตรฐานขั้นสูง ได้แก่ ระดับ “ดี” “ดีเลิศ” และ
“ยอดเย่ียม” จะมุ่งเน้นไปที่คุณภาพมาตรฐานในระดับที่แตกต่างกัน
ในเรือ่ ง การบรหิ ารจัดการชนั้ เรียนเชิงบวก รวมทงั้ การแลกเปลยี่ นเรียนรู้
และใหข้ ้อมูลสะทอ้ นกลบั เพือ่ พฒั นาและปรับปรุงการจดั การเรียนรู้

วัตถปุ ระสงค์ของการจดั ท�ำ เอกสาร

๑. เอกสารฉบบั นจี้ ดั ท�ำ ขน้ึ ส�ำ หรบั สถานศกึ ษาใชเ้ ปน็ แนวทาง
ดำ�เนินงานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาและเตรียม
การสำ�หรับการประเมินคุณภาพภายนอก ตามกรอบมาตรฐานการศึกษา
ระดับปฐมวัย ระดับการศกึ ษาข้ันพื้นฐาน และระดบั การศึกษาขั้นพ้ืนฐาน
ศูนย์การศึกษาพิเศษ ซ่ึงจะทำ�ให้เกิดความม่ันใจแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ทุกฝ่ายว่าการจัดการศึกษาของสถานศึกษามีคุณภาพได้มาตรฐาน และ
คงรักษาไว้ซ่ึงมาตรฐานจากการดำ�เนินงานประกันคุณภาพภายใน
ของสถานศกึ ษา
๒. เอกสารฉบับนี้จัดทำ�เพ่ือให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทาง
ในการกำ�หนดกรอบมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อพัฒนา
คุณภาพการศึกษาสู่เป้าหมายตามมาตรฐานท่ีสถานศึกษากำ�หนด และใช้
เปน็ แนวทางในการตรวจสอบและประเมนิ คณุ ภาพภายในของสถานศกึ ษา

9

๓. โครงสรา้ งของเอกสารประกอบดว้ ย ๓ ส่วน คอื สว่ นท่ี ๑
บทนำ� สว่ นท่ี ๒ มาตรฐานการศึกษา ค�ำ อธบิ าย และระดบั คุณภาพ และ
ส่วนท่ี ๓ แนวทางการประเมินคุณภาพภายในของสถานศกึ ษา
๔. ให้สถานศึกษาระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐานและหน่วยงาน
ต้นสงั กัดดำ�เนินการใหผ้ ู้ทเ่ี กย่ี วข้องทกุ ฝ่ายมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบตั ิ
ตามหลกั การของการประกันคุณภาพภายในของสถานศกึ ษา ดังนี้
๔.๑ การประกันคุณภาพเป็นหน้าท่ีของบุคลากรทุกคน
ทต่ี อ้ งปฏิบัติงานตามภารกิจท่แี ต่ละคนไดร้ บั มอบหมาย
๔.๒ การประกนั คณุ ภาพมงุ่ พฒั นางานตามความรบั ผดิ ชอบ
ของตน ให้มีคุณภาพดียิง่ ขน้ึ เพราะผลการพัฒนาของแต่ละคนกค็ ือผลรวม
ของการพัฒนาท้ังสถานศกึ ษา
๔.๓ การประกันคุณภาพเน้นการพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา โดยให้เป็นส่วนหน่ึงของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้อง
ดำ�เนนิ การอยา่ งต่อเน่ือง ไมใ่ ชท่ ำ�เพือ่ เตรยี มรับการประเมนิ เป็นครั้งคราว
เทา่ น้นั
๔.๔ การประกันคุณภาพต้องเกิดจากความร่วมมือ
ของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่สามารถว่าจ้างหรือขอให้บุคคลอื่น ๆ
ดำ�เนินการแทนได้
๔.๕ การประกันคุณภาพต้องเกิดจากการยอมรับและ
น�ำ ผลการประเมนิ คณุ ภาพการศกึ ษาไปใชใ้ นการพฒั นาคณุ ภาพการศกึ ษา
ของสถานศึกษา
10

ส่วนที่ ๒

มาตรฐานการศกึ ษา คำ�อธบิ าย
และระดับคณุ ภาพ

การพฒั นามาตรฐานการศกึ ษา มแี นวคดิ วา่ ตอ้ งเปน็ มาตรฐาน
ที่สถานศึกษาปฏิบัติได้จริง ประเมินได้จริง กระชับ และจำ�นวนน้อย
แต่สามารถสะท้อนบริบทของสถานศึกษาและคุณภาพการศึกษาได้จริง
ข้อมูลท่ีได้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ
สถานศึกษา ระดับเขตพ้ืนท่ีการศึกษา ระดับหน่วยงานต้นสังกัด และ
ระดับชาติ ดังนั้น การกำ�หนดมาตรฐานการศึกษาจึงเน้นท่ีคุณภาพ
ผเู้ รยี น คณุ ภาพผบู้ รหิ ารสถานศกึ ษา และคณุ ภาพครู มคี วามสอดคลอ้ งกบั
มาตรฐานการศกึ ษาชาติ และขอ้ ก�ำ หนดในกฎกระทรวงการประกนั คณุ ภาพ
การศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑
มาตรฐานการศึกษาในแต่ละระดับ กำ�หนดเกณฑ์การตัดสิน
คณุ ภาพของมาตรฐานมี ๕ ระดบั คือ ระดับก�ำ ลังพฒั นา ระดับปานกลาง
ระดับดี ระดับดีเลิศ และระดับยอดเย่ียม รายละเอียดของมาตรฐาน
การศึกษาแต่ละระดับ ประเด็นพิจารณา และระดบั คณุ ภาพ ดังน้ี

11

...มาตรฐานการศึกษาระดบั ปฐมวัย

มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๑ มีจำ�นวน
๓ มาตรฐาน ได้แก่
มาตรฐานที่ ๑ คณุ ภาพของเดก็
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบรหิ ารและการจัดการ
มาตรฐานท่ี ๓ การจัดประสบการณ์ท่ีเนน้ เด็กเปน็ ส�ำ คญั
รายละเอียดแต่ละมาตรฐาน มีดังน้ี
มาตรฐานท่ี ๑ คุณภาพของเด็ก
๑.๑ มพี ฒั นาการดา้ นรา่ งกาย แขง็ แรง มสี ขุ นสิ ยั ทด่ี ี และดแู ล
ความปลอดภัยของตนเองได้
๑.๒ มพี ฒั นาการดา้ นอารมณ์ จติ ใจ ควบคุม และแสดงออก
ทางอารมณไ์ ด้
๑.๓ มพี ฒั นาการดา้ นสงั คม ชว่ ยเหลอื ตนเอง และเปน็ สมาชกิ
ท่ีดขี องสงั คม
๑.๔ มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิด
พนื้ ฐาน และแสวงหาความร้ไู ด้

12

ค�ำ อธิบาย
มาตรฐานที่ ๑ คณุ ภาพของเด็ก
ผลพัฒนาการเดก็ ในดา้ นรา่ งกาย อารมณ์ จิตใจ สงั คม และ
สตปิ ญั ญา
๑.๑ มีพฒั นาการด้านรา่ งกาย แข็งแรง มีสขุ นสิ ัยทด่ี ี และ
ดแู ลความปลอดภยั ของตนเองได้
เดก็ มนี ้�ำหนัก ส่วนสงู ตามเกณฑม์ าตรฐาน เคลือ่ นไหว
ร่างกายคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดี ใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดี ดูแล
รกั ษาสขุ ภาพอนามยั สว่ นตนและปฏบิ ตั จิ นเปน็ นสิ ยั ปฏบิ ตั ติ นตามขอ้ ตกลง
เกี่ยวกับความปลอดภัย หลีกเล่ียงสภาวะท่ีเสี่ยงต่อโรค สิ่งเสพติด และ
ระวังภยั จากบุคคล ส่ิงแวดล้อม และสถานการณ์ท่เี ส่ยี งอันตราย
๑.๒ มพี ฒั นาการดา้ นอารมณ์ จติ ใจ ควบคมุ และแสดงออก
ทางอารมณ์ได้
เด็กร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม
รู้จักยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอย ยอมรับและพอใจในความสามารถ
และผลงานของตนเองและผู้อ่ืน มีจิตสำ�นึกและค่านิยมท่ีดี มีความมั่นใจ
กล้าพูด กลา้ แสดงออก ช่วยเหลอื แบ่งปนั เคารพสิทธิ รูห้ น้าที่รับผดิ ชอบ
อดทนอดกลน้ั ซอ่ื สตั ยส์ จุ รติ มคี ณุ ธรรม จรยิ ธรรมตามทสี่ ถานศกึ ษาก�ำ หนด
ชนื่ ชมและมีความสขุ กับศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว

13

๑.๓ มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็น
สมาชกิ ท่ีดีของสงั คม
เด็กช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำ�วัน
มีวินัยในตนเอง ประหยัดและพอเพียง มีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
ในและนอกหอ้ งเรยี น มมี ารยาทตามวฒั นธรรมไทย เช่น การไหว้ การยิม้
ทักทาย และมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ เป็นต้น ยอมรับหรือเคารพความ
แตกต่างระหว่างบุคคล เช่น ความคิด พฤติกรรม พื้นฐานครอบครัว
เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม เป็นต้น เลน่ และทำ�งานร่วมกบั ผอู้ นื่ ได้ แกไ้ ข
ขอ้ ขัดแย้ง โดยปราศจากการใชค้ วามรนุ แรง
๑.๔ มพี ฒั นาการดา้ นสตปิ ญั ญา สอ่ื สารได้ มที กั ษะการคดิ
พื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้
เดก็ สนทนาโตต้ อบและเลา่ เรอ่ื งใหผ้ อู้ น่ื เขา้ ใจ ตง้ั ค�ำ ถาม
ในส่ิงท่ีตนเองสนใจหรือสงสัย และพยายามค้นหาคำ�ตอบ อ่านนิทาน
และเล่าเร่ืองที่ตนเองอ่านได้เหมาะสมกับวัย มีความสามารถในการคิด
รวบยอด การคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การคิด
แก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจในเร่ืองง่าย ๆ ได้ สร้างสรรค์ผลงาน
ตามความคิดและจินตนาการ เช่น งานศิลปะ การเคล่ือนไหวท่าทาง
การเล่นอิสระ เป็นต้น และใช้ส่ือเทคโนโลยี เช่น แว่นขยาย แม่เหล็ก
กลอ้ งดจิ ติ อล เปน็ ต้น เป็นเครอื่ งมือในการเรียนรู้และแสวงหาความร้ไู ด้
14

การใหร้ ะดบั คณุ ภาพ

ระดบั คุณภาพ ประเดน็ พจิ ารณา

ก�ำ ลังพฒั นา ◆ มพี ฒั นาการดา้ นรา่ งกาย อารมณ์ จติ ใจ สงั คมและสตปิ ญั ญา
ปานกลาง ยงั ไมบ่ รรลตุ ามเปา้ หมายทส่ี ถานศึกษากำ�หนด

ดี ◆ มพี ฒั นาการดา้ นรา่ งกาย อารมณ์ จติ ใจ สงั คมและสตปิ ญั ญา
ดีเลศิ ยงั ไมบ่ รรลุตามเปา้ หมายที่สถานศึกษาก�ำ หนด

ยอดเยยี่ ม ◆ มกี ารจดั ประสบการณก์ ารเรยี นรตู้ ามหลกั สตู รและมแี ผนงาน/
โครงการ/กิจกรรมเสริมในการพัฒนาเด็กท่ียังไม่บรรลุตาม
เป้าหมายท่สี ถานศกึ ษาก�ำ หนด

◆ มพี ฒั นาการดา้ นรา่ งกาย อารมณ์ จติ ใจ สงั คม และสตปิ ญั ญา
บรรลุตามเปา้ หมายท่สี ถานศกึ ษากำ�หนด

◆ มพี ฒั นาการดา้ นรา่ งกาย อารมณ์ จติ ใจ สงั คม และสตปิ ญั ญา
บรรลุตามเปา้ หมายทสี่ ถานศึกษาก�ำ หนด

◆ มกี ารจดั ประสบการณก์ ารเรยี นรตู้ ามหลกั สตู รและมแี ผนงาน/
โครงการ/กิจกรรมเสริมในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นระบบ
และต่อเนอ่ื ง

◆ มพี ฒั นาการดา้ นรา่ งกาย อารมณ์ จติ ใจ สงั คมและสตปิ ญั ญา
บรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำ�หนด มีความพร้อม
ในการศึกษาระดบั ประถมศึกษา

◆ มกี ารจดั ประสบการณก์ ารเรยี นรตู้ ามหลกั สตู รและมแี ผนงาน/
โครงการ/กิจกรรมเสริมในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นระบบ
และตอ่ เนอ่ื ง

◆ มสี ว่ นรว่ มของพอ่ แมค่ รอบครวั ชมุ ชน และทกุ ฝา่ ยทเ่ี กย่ี วขอ้ ง
ในการส่งเสรมิ พัฒนาการของเด็ก

15

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบรหิ ารและการจัดการ
๒.๑ มหี ลกั สตู รครอบคลุมพัฒนาการทง้ั ๔ ด้าน สอดคล้อง
กบั บริบทของท้องถ่นิ
๒.๒ จดั ครูให้เพียงพอกบั ชน้ั เรยี น
๒.๓ สง่ เสรมิ ใหค้ รมู คี วามเชย่ี วชาญดา้ นการจดั ประสบการณ์
๒.๔ จดั สภาพแวดลอ้ มและสอื่ เพอ่ื การเรยี นรู้ อยา่ งปลอดภยั
และเพียงพอ
๒.๕ ใหบ้ รกิ ารสอ่ื เทคโนโลยสี ารสนเทศและสอื่ การเรยี นรเู้ พอื่
สนับสนุนการจัดประสบการณ์
๒.๖ มรี ะบบบรหิ ารคณุ ภาพทเี่ ปดิ โอกาสใหผ้ เู้ กย่ี วขอ้ งทกุ ฝา่ ย
มีส่วนรว่ ม
ค�ำ อธิบาย
มาตรฐานท่ี ๒ กระบวนการบรหิ ารและการจัดการ
สถานศึกษาดำ�เนินการบริหารและจัดการสถานศึกษา
ที่ครอบคลุมด้านวิชาการ ด้านครูและบุคลากรด้านข้อมูลสารสนเทศ
ด้านสภาพแวดลอ้ มและส่ือเพ่อื การเรียนรู้ และด้านระบบประกนั คุณภาพ
ภายใน โดยเปดิ โอกาสให้ผเู้ กีย่ วขอ้ งทกุ ฝ่ายมสี ่วนรว่ มในการจัดการศึกษา
มีการกำ�กับติดตามการดำ�เนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเน่ือง เพ่ือสร้าง
ความม่นั ใจตอ่ คณุ ภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

16

๒.๑ มหี ลกั สตู รครอบคลมุ พฒั นาการทงั้ ๔ ดา้ น สอดคลอ้ ง
กบั บรบิ ทของท้องถิ่น
สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่น และ
สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย โดยสถานศึกษาออกแบบการ
จดั ประสบการณ์ทเ่ี ตรียมความพร้อมและไมเ่ รง่ รดั วิชาการ เนน้ การเรียนรู้
ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ ตอบสนองความต้องการและความ
แตกต่างของเด็กปกติและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และสอดคล้องกับวิถีชีวิต
ของครอบครวั ชมุ ชนและท้องถ่นิ
๒.๒ จัดครูใหเ้ พียงพอกับชน้ั เรยี น
สถานศึกษาจัดครูให้เหมาะสมกับภารกิจการเรียน
การสอนหรือจัดครูที่จบการศึกษาปฐมวัยหรือผ่านการอบรมการศึกษา
ปฐมวัยอย่างพอเพยี งกบั ช้นั เรียน
๒.๓ ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัด
ประสบการณ ์
พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ
ในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา มีทักษะในการจัด
ประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็ก ใช้ประสบการณ์สำ�คัญ
ในการออกแบบการจัดกิจกรรม มีการสังเกตและประเมินพัฒนาการเด็ก
เป็นรายบุคคล มีปฏสิ ัมพันธท์ ่ีดกี ับเด็ก และครอบครวั

17

๒.๔ จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพ่ือการเรียนรู้ อย่าง
ปลอดภัยและเพยี งพอ
สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก
หอ้ งเรยี นทคี่ �ำ นงึ ถงึ ความปลอดภยั สง่ เสรมิ ใหเ้ กดิ การเรยี นรเู้ ปน็ รายบคุ คล
และกลุ่ม เล่นแบบร่วมมือร่วมใจ มีมุมประสบการณ์หลากหลาย มีสื่อ
การเรียนรู้ เช่น ของเล่น หนังสือนิทาน ส่ือจากธรรมชาติ ส่ือสำ�หรับ
เดก็ มุด ลอด ปนี ปา่ ย สอ่ื เทคโนโลยี สือ่ เพื่อการสืบเสาะหาความรู้
๒.๕ ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและส่ือการเรียนรู้
เพื่อสนบั สนนุ การจัดประสบการณ์ส�ำ หรบั ครู
สถานศึกษาอำ�นวยความสะดวก และให้บริการส่ือ
เทคโนโลยสี ารสนเทศวสั ดุ และอปุ กรณ์ เพอ่ื สนบั สนนุ การจดั ประสบการณ์
และพฒั นาครู
๒.๖ มีระบบบริหารคุณภาพท่ีเปิดโอกาสให้ผู้เก่ียวข้องทุก
ฝา่ ยมีสว่ นร่วม
สถานศกึ ษาก�ำ หนดมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา
ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษา
ก�ำ หนด จดั ท�ำ แผนพฒั นาการศกึ ษาของสถานศกึ ษาทสี่ อดรบั กบั มาตรฐาน
ท่ีสถานศึกษากำ�หนดและดำ�เนินการตามแผน มีการประเมินผลและ
ตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำ�เนินงาน และ
จดั ท�ำ รายงานผลการประเมนิ ตนเองประจ�ำ ปี น�ำ ผลการประเมนิ ไปปรบั ปรงุ
และพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
มสี ่วนร่วมและจดั สง่ รายงานผลการประเมนิ ตนเองให้หน่วยงานต้นสงั กัด
18

การใหร้ ะดบั คุณภาพ

ระดบั คุณภาพ ประเด็นพิจารณา

กำ�ลงั พฒั นา ◆ มหี ลกั สตู รสถานศกึ ษาทไี่ มย่ ดื หยนุ่ ไมส่ อดคลอ้ งกบั หลกั สตู ร
ปานกลาง การศกึ ษาปฐมวยั และบรบิ ทของทอ้ งถน่ิ

ดี ◆ มีระบบบริหารคุณภาพ แต่ไม่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพ
เดก็ ปฐมวยั

◆ มหี ลกั สตู รสถานศกึ ษาทย่ี ดื หยนุ่ สอดคลอ้ งกบั หลกั สตู รการ
ศึกษาปฐมวัยและบริบทของท้องถ่ิน

◆ มีระบบบริหารคุณภาพ แต่ไม่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพ
เด็กปฐมวยั

◆ มีหลักสูตรสถานศึกษาท่ียืดหยุ่น สอดคล้องกับหลักสูตร
การศึกษาปฐมวยั และบริบทของท้องถนิ่

◆ จัดครใู หเ้ พยี งพอและเหมาะสมกบั ช้ันเรยี น
◆ มกี ารสง่ เสรมิ ใหค้ รมู คี วามเชย่ี วชาญดา้ นการจดั ประสบการณ์

ทีส่ ่งผลตอ่ คณุ ภาพเดก็ เปน็ รายบคุ คล
◆ จัดสภาพแวดล้อมอย่างปลอดภัย และมีสื่อเพื่อการเรียนรู้

อย่างเพียงพอและหลากหลาย
◆ ให้บริการส่ือเทคโนโลยีสารสนเทศและส่ือการเรียนรู้

เพ่ือสนับสนุนการจัดประสบการณ์เหมาะสมกับบริบท
ของสถานศึกษา
◆ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาท่ีส่งผลต่อ
คุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษาและเปิดโอกาสให้
ผ้เู ก่ยี วขอ้ งทกุ ฝ่ายมสี ว่ นรว่ ม

19

ระดบั คุณภาพ ประเดน็ พจิ ารณา

ดีเลศิ ◆ มกี ารประเมนิ และพฒั นาหลกั สตู รสถานศกึ ษาใหส้ อดคลอ้ งกบั
ยอดเยี่ยม หลกั สตู รการศึกษาปฐมวัยและบรบิ ทของท้องถน่ิ

◆ จดั ครูให้เพียงพอและเหมาะสมกบั ช้ันเรียน
◆ มกี ารสง่ เสรมิ ใหค้ รมู คี วามเชย่ี วชาญดา้ นการจดั ประสบการณ์

ทส่ี ง่ ผลตอ่ คณุ ภาพเดก็ เปน็ รายบคุ คล ตรงความตอ้ งการของครู
และสถานศึกษา
◆ จัดสภาพแวดล้อมอย่างปลอดภัย และมีสื่อเพ่ือการเรียนรู้
อย่างเพียงพอและหลากหลาย
◆ ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและส่ือการเรียนรู้
เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เหมาะสมกับบริบท
ของสถานศกึ ษา
◆ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาการช้ีแนะ
ระหวา่ งการปฏบิ ตั กิ ารปฏบิ ตั งิ านทส่ี ง่ ผลตอ่ คณุ ภาพมาตรฐาน
ของสถานศึกษา บูรณาการการปฏิบัติงานและเปิดโอกาส
ให้ผเู้ กยี่ วขอ้ งทกุ ฝ่ายมีส่วนร่วม
◆ มกี ารประเมนิ และพฒั นาหลกั สตู รสถานศกึ ษาใหส้ อดคลอ้ งกบั
หลักสูตรการศกึ ษาปฐมวยั และบริบทของท้องถ่ิน
◆ จัดครูใหเ้ พยี งพอและเหมาะสมกบั ชน้ั เรยี น
◆ มกี ารสง่ เสรมิ ใหค้ รมู คี วามเชย่ี วชาญดา้ นการจดั ประสบการณ์
ทส่ี ง่ ผลตอ่ คณุ ภาพเดก็ เปน็ รายบคุ คล ตรงความตอ้ งการของ
ครแู ละสถานศกึ ษา และจดั ใหม้ ชี มุ ชนการเรยี นรทู้ างวชิ าชพี
จัดสภาพแวดล้อมอย่างปลอดภัย และมีสื่อเพ่ือการเรียนรู้
อย่างเพียงพอและหลากหลาย

20

ระดบั คณุ ภาพ ประเด็นพิจารณา

◆ ให้บริการส่ือเทคโนโลยีสารสนเทศและส่ือการเรียนรู้
เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เหมาะสมกับบริบท
ของสถานศกึ ษา

◆ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาท่ีเหมาะสม
และตอ่ เนอ่ื งมกี ารชแ้ี นะระหวา่ งการปฏบิ ตั งิ านสง่ ผลตอ่ คณุ ภาพ
ตามมาตรฐานของสถานศกึ ษา บรู ณาการการปฏบิ ตั งิ านและ
เปดิ โอกาสใหผ้ เู้ กย่ี วขอ้ งทกุ ฝา่ ยมสี ว่ นรว่ มจนเปน็ แบบอยา่ งทด่ี ี
และได้รับการยอมรับจากชมุ ชนและหน่วยงานทีเ่ กย่ี วข้อง

มาตรฐานท่ี ๓ การจดั ประสบการณท์ ีเ่ นน้ เด็กเปน็ สำ�คญั
๓.๑. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้าน
อยา่ งสมดุลเตม็ ศักยภาพ
๓.๒ สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและ
ปฏบิ ตั อิ ย่างมคี วามสขุ
๓.๓ จัดบรรยากาศท่เี ออ้ื ตอ่ การเรียนรู้ ใชส้ ือ่ และเทคโนโลยี
ที่เหมาะสมกับวัย
๓.๔ ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำ�ผล
การประเมนิ พฒั นาการเดก็ ไปปรบั ปรงุ การจดั ประสบการณแ์ ละพฒั นาเดก็
ค�ำ อธบิ าย
มาตรฐานที่ ๓ การจดั ประสบการณ์ท่เี นน้ เด็กเป็นสำ�คญั
ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล
เต็มศักยภาพ รู้จักเด็กเป็นรายบุคคลและสร้างโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับ
ประสบการณต์ รง เลน่ และลงมอื กระท�ำ ผา่ นประสาทสมั ผสั จดั บรรยากาศ
ท่ีเอ้ือต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย มีการติดตาม
และประเมินผลพัฒนาการเด็กอยา่ งเป็นระบบ

21

๓.๑ จดั ประสบการณท์ ส่ี ง่ เสรมิ ใหเ้ ดก็ มพี ฒั นาการทกุ ดา้ น
อยา่ งสมดุลเตม็ ศกั ยภาพ
ครูวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล จัดทำ�แผน
การจดั ประสบการณ์ จากการวเิ คราะหม์ าตรฐานคณุ ลกั ษณะทพ่ี งึ ประสงค์
ในหลกั สตู รสถานศกึ ษา โดยมกี จิ กรรมทสี่ ง่ เสรมิ พฒั นาการเดก็ ครบทกุ ดา้ น
ทงั้ ดา้ นรา่ งกาย ดา้ นอารมณ์ จติ ใจ ดา้ นสงั คม และดา้ นสตปิ ญั ญา ไมม่ งุ่ เนน้
การพัฒนาดา้ นใดดา้ นหน่ึงเพียงด้านเดียว
๓.๒ สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและ
ปฏบิ ตั อิ ย่างมีความสุข
ครูจัดประสบการณ์ท่ีเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม
ใหเ้ ดก็ มโี อกาสเลอื กท�ำ กจิ กรรมอยา่ งอสิ ระ ตามความตอ้ งการ ความสนใจ
ความสามารถ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล
หลากหลายรูปแบบจากแหล่งเรียนรู้ท่ีหลากหลาย เด็กได้เลือกเล่น
เรยี นรู้ ลงมอื กระท�ำ และสร้างองคค์ วามรู้ด้วยตนเอง
๓.๓ จดั บรรยากาศทเี่ ออ้ื ตอ่ การเรยี นรู้ ใชส้ อื่ และเทคโนโลยี
ที่เหมาะสมกบั วยั
ครจู ดั หอ้ งเรยี นใหส้ ะอาด อากาศถา่ ยเท ปลอดภยั มพี น้ื ท่ี
แสดงผลงานเด็ก พ้ืนที่สำ�หรับมุมประสบการณ์และการจัดกิจกรรม
เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน เช่น ป้ายนิเทศ
การดแู ลตน้ ไม้ เปน็ ตน้ ครใู ชส้ อื่ และเทคโนโลยที เี่ หมาะสมกบั ชว่ งอายุ ระยะ
ความสนใจ และวิถีการเรียนรู้ของเด็ก เช่น กล้องดิจิตอล คอมพิวเตอร์
สำ�หรับการเรียนรู้กลุ่มย่อย ส่ือของเล่นท่ีกระตุ้นให้คิดและหาคำ�ตอบ
เป็นตน้
22

๓.๔ ประเมินพฒั นาการเดก็ ตามสภาพจรงิ และนำ�ผลการ
ประเมินพัฒนาการเด็กไปปรบั ปรงุ การจดั ประสบการณ์และพัฒนาเดก็
ครูประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรมและกิจวัตร
ประจำ�วันด้วยเคร่ืองมือและวิธีการท่ีหลากหลาย ไม่ใช้แบบทดสอบ
วิเคราะห์ผลการประเมินพัฒนาการเด็กโดยผู้ปกครองและผู้เก่ียวข้อง
มสี ว่ นรว่ ม และน�ำ ผลการประเมนิ ทไี่ ดไ้ ปพฒั นาคณุ ภาพเดก็ และแลกเปลย่ี น
เรยี นรู้การจดั ประสบการณ์ทม่ี ปี ระสทิ ธภิ าพ

การให้ระดบั คณุ ภาพ

ระดบั คุณภาพ ประเดน็ พิจารณา
กำ�ลังพฒั นา ◆ จัดประสบการณ์ท่ีส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย

ปานกลาง อารมณ์ จิตใจ สงั คม และสติปัญญา ไมส่ มดลุ
◆ ไมส่ รา้ งโอกาสใหเ้ ดก็ ไดร้ บั ประสบการณต์ รง เลน่ และปฏบิ ตั ิ
ดี
กิจกรรมอย่างอิสระตามความต้องการ ความสนใจและ
ความสามารถของเดก็
◆ จัดประสบการณ์ท่ีส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย
อารมณ์ จิตใจ สังคม และสตปิ ัญญาอยา่ งสมดลุ
◆ สรา้ งโอกาสให้เด็กไดร้ บั ประสบการณต์ รง เล่น และปฏบิ ตั ิ
กิจกรรมอย่างอิสระตามความต้องการ ความสนใจ และ
ความสามารถของเดก็
◆ จัดประสบการณ์ท่ีส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย
อารมณ์ จติ ใจ สงั คม และสตปิ ญั ญา อยา่ งสมดลุ เตม็ ศกั ยภาพ
ของเด็กเปน็ รายบุคคล
◆ สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติ
กิจกรรม เรียนรู้ลงมือทำ�และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
อยา่ งมีความสุข

23

ระดับคณุ ภาพ ประเดน็ พจิ ารณา
ดีเลศิ ◆ จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอื้อต่อ

การเรียนรู้ ใช้สอ่ื และเทคโนโลยีท่ีเหมาะสมกับวัย
◆ ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการ

ท่ีหลากหลาย โดยผู้ปกครองและผู้เก่ียวข้องมีส่วนร่วม
นำ�ผลการประเมินที่ได้ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์
และพฒั นาเดก็
◆ จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย
อารมณ์ จติ ใจ สงั คม และสตปิ ญั ญา อยา่ งสมดลุ เตม็ ศกั ยภาพ
โดยความร่วมมือของพ่อแม่ และครอบครัว ชุมชน และ
ผเู้ กยี่ วขอ้ ง
◆ สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติ
กิจกรรม เรียนรู้ลงมือทำ� และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
อย่างมคี วามสุข
◆ จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนท่ีเอ้ือต่อ
การเรียนรู้โดยเด็กมีส่วนร่วม ใช้ส่ือและเทคโนโลยีที่
เหมาะสมกบั วัย
◆ ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการ
ท่ีหลากหลาย โดยผู้ปกครองและผู้เก่ียวข้องมีส่วนร่วม
นำ�ผลการประเมินที่ได้ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์
และพัฒนาเด็ก

24

ระดับคุณภาพ ประเดน็ พิจารณา
ยอดเยีย่ ม ◆ จัดประสบการณ์ท่ีส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย

อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างสมดุล
เต็มศักยภาพโดยความร่วมมือของพ่อแม่และครอบครัว
ชุมชนและผ้เู ก่ียวข้อง และเปน็ แบบอย่างที่ดี
◆ สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติ
กิจกรรม เรียนรู้ลงมือทำ� และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
อย่างมคี วามสุข
◆ จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่เอ้ือต่อ
การเรียนรู้โดยเด็กมีส่วนร่วม ใช้ส่ือและเทคโนโลยี
ท่ีเหมาะสมกบั วยั
◆ ครูประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการ
ท่ีหลากหลาย โดยผู้ปกครองและผู้เก่ียวข้องมีส่วนร่วม
นำ�ผลการประเมินที่ได้ไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์
และพัฒนาเดก็

...มาตรฐานการศึกษาระดบั การศึกษาข้ันพืน้ ฐาน

มาตรฐานการศึกษาระดบั การศึกษาขน้ั พ้ืนฐาน พ.ศ. ๒๕๖๑
มีจำ�นวน ๓ มาตรฐาน ไดแ้ ก่
มาตรฐานท่ี ๑ คุณภาพของผเู้ รยี น
๑.๑ ผลสมั ฤทธิ์ทางวชิ าการของผูเ้ รียน
๑.๒ คณุ ลักษณะทพ่ี ึงประสงคข์ องผเู้ รยี น
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบรหิ ารและการจดั การ
มาตรฐานท่ี ๓ กระบวนการจดั การเรยี นการสอนทเี่ นน้ ผเู้ รยี น
เป็นส�ำ คญั

25

รายละเอียดแต่ละมาตรฐาน มดี งั น้ี
มาตรฐานท่ี ๑ คุณภาพของผเู้ รยี น
๑.๑ ผลสัมฤทธท์ิ างวชิ าการของผเู้ รยี น
๑) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การส่ือสาร
และการคิดคำ�นวณ
๒) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมี
วิจารณญาณ อภปิ รายแลกเปล่ยี นความคิดเห็น และแก้ปญั หา
๓) มีความสามารถในการสร้างนวตั กรรม
๔) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการส่ือสาร
๕) มีผลสมั ฤทธิท์ างการเรียนตามหลกั สูตรสถานศึกษา
๖) มคี วามรู้ ทกั ษะพน้ื ฐาน และเจตคตทิ ด่ี ตี อ่ งานอาชพี
๑.๒ คุณลักษณะทพี่ ึงประสงคข์ องผเู้ รียน
๑) การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามท่ีสถานศึกษา
กำ�หนด
๒) ความภมู ิใจในทอ้ งถิ่นและความเปน็ ไทย
๓) การยอมรับท่ีจะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและ
หลากหลาย
๔) สุขภาวะทางร่างกาย และจติ สังคม
26

คำ�อธบิ าย
มาตรฐานท่ี ๑ ดา้ นคุณภาพผู้เรยี น
ผลการเรียนรู้ท่ีเป็นคุณภาพของผู้เรียนท้ังด้านผลสัมฤทธิ์
ทางวชิ าการ ประกอบดว้ ย ความสามารถในการอา่ น การเขยี น การสอ่ื สาร
การคิดคำ�นวณ การคิดประเภทต่าง ๆ การสร้างนวัตกรรม การใช้
เทคโนโลยสี ารสนเทศและการสอ่ื สาร ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี นตามหลกั สตู ร
การมคี วามรู้ ทกั ษะพน้ื ฐานและเจตคตทิ ดี่ ตี อ่ วชิ าชพี และดา้ นคณุ ลกั ษณะ
อันพึงประสงค์ท่ีเป็นค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำ�หนด ความภูมิใจ
ในท้องถ่นิ และความเปน็ ไทย การยอมรับทจี่ ะอยรู่ ่วมกนั บนความแตกต่าง
และหลากหลาย รวมท้งั สุขภาวะทางรา่ งกายและจติ สังคม
๑.๑ ผลสมั ฤทธ์ิทางวชิ าการของผู้เรยี น
๑) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร
และการคดิ คำ�นวณ
ผเู้ รยี นมที กั ษะในการอา่ น การเขยี น การสอ่ื สาร และ
การคดิ ค�ำ นวณตามเกณฑ์ท่สี ถานศึกษากำ�หนดในแต่ละระดบั ชัน้
๒) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมี
วิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลยี่ นความคิดเหน็ และแกป้ ญั หา
ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดจำ�แนกแยกแยะ
ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบ โดยใช้เหตุผลประกอบการ
ตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปล่ียนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมี
เหตุผล

27

๓) มคี วามสามารถในการสร้างนวตั กรรม
ผู้เรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้
ทงั้ ดว้ ยตวั เองและการท�ำ งานเปน็ ทมี เชอื่ มโยงองคค์ วามรู้ และประสบการณ์
มาใชใ้ นการสร้างสรรค์ส่งิ ใหม่ ๆ อาจเปน็ แนวความคดิ โครงการ โครงงาน
ชิ้นงาน ผลผลติ
๔) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการส่ือสาร
ผู้เรียนมีความสามารถในใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้
การส่ือสาร การทำ�งานอยา่ งสรา้ งสรรค์ และมคี ุณธรรม
๕) มผี ลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี นตามหลกั สตู รสถานศกึ ษา
ผู้เรียนบรรลุและมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้
ตามหลกั สตู รสถานศกึ ษาจากพน้ื ฐานเดมิ ในดา้ นความรู้ ความเขา้ ใจ ทกั ษะ
กระบวนการต่าง ๆ รวมท้ังมีความก้าวหน้าในผลการทดสอบระดับชาติ
หรือผลการทดสอบอน่ื ๆ
๖) มคี วามรู้ ทกั ษะพน้ื ฐาน และเจตคตทิ ด่ี ตี อ่ งานอาชพี
ผู้เรียนมคี วามรู้ ทกั ษะพน้ื ฐานในการจัดการ เจตคติ
ทด่ี พี รอ้ มท่ีจะศกึ ษาตอ่ ในระดบั ชัน้ ท่สี งู ข้ึน การทำ�งานหรืองานอาชพี
๑.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรยี น
๑) มีคุณลักษณะและค่านิยมท่ีดีตามที่สถานศึกษา
ก�ำ หนด
ผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม
เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำ�นึกตามที่สถานศึกษากำ�หนด
โดยไมข่ ดั กบั กฎหมายและวฒั นธรรมอันดีของสังคม
28

๒) มคี วามภมู ิใจในท้องถิน่ และความเปน็ ไทย
ผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของ
ความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย
รวมท้ังภูมิปญั ญาไทย
๓) ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและ
หลากหลาย
ผู้เรียนยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง
ระหวา่ งบุคคลในด้าน เพศ วยั เช้ือชาติ ศาสนา ภาษาวัฒนธรรม ประเพณี
๔) มสี ุขภาวะทางร่างกาย และจติ สังคม
ผู้เรียนมีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์
และสงั คม และแสดงออกอยา่ งเหมาะสมในแตล่ ะชว่ งวยั สามารถอยรู่ ว่ มกบั
คนอ่ืนอยา่ งมีความสขุ เขา้ ใจผู้อน่ื ไมม่ ีความขดั แยง้ กบั ผอู้ ่นื

การใหร้ ะดับคณุ ภาพ

ระดบั คุณภาพ ประเด็นพจิ ารณา
กำ�ลังพฒั นา ๑.๑ ผลสมั ฤทธิท์ างวชิ าการของผ้เู รยี น

◆ ผเู้ รยี นมคี วามสามารถในการอา่ น การเขยี น การสอื่ สาร
และการคิดค�ำนวณ ต�่ำกว่าเป้าหมายที่สถานศึกษา
ก�ำหนด

◆ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนตามหลักสูตร
สถานศกึ ษาตำ่� กว่าเป้าหมายที่สถานศกึ ษาก�ำหนด

๑.๒ คณุ ลกั ษณะทีพ่ งึ ประสงคข์ องผู้เรยี น
◆ ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีต่�ำกว่าเป้าหมาย
ท่ีสถานศกึ ษาก�ำหนด
◆ ผเู้ รยี นมสี ขุ ภาวะทางรา่ งกายและจติ สงั คมตำ�่ กวา่ เปา้ หมาย
ท่สี ถานศกึ ษาก�ำหนด

29

ระดับคณุ ภาพ ประเด็นพจิ ารณา
ปานกลาง ๑.๑ ผลสมั ฤทธิท์ างวิชาการของผู้เรียน

ดี ◆ ผเู้ รยี นมคี วามสามารถในการอา่ น การเขยี น การสอื่ สาร
และการคดิ ค�ำนวณ เปน็ ไปตามเปา้ หมายทสี่ ถานศกึ ษา
ก�ำหนด

◆ ผเู้ รยี นมผี ลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี นตามหลกั สตู รสถานศกึ ษา
เปน็ ไปตามเปา้ หมายท่สี ถานศึกษาก�ำหนด

๑.๒ คุณลกั ษณะทพ่ี ึงประสงคข์ องผูเ้ รยี น
◆ ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีเป็นไปตาม
เป้าหมายทีส่ ถานศึกษาก�ำหนด
◆ ผเู้ รยี นมสี ขุ ภาวะทางรา่ งกาย และจติ สงั คมเปน็ ไปตาม
เป้าหมายทสี่ ถานศกึ ษาก�ำหนด

๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวชิ าการของผูเ้ รียน
◆ ผเู้ รยี นมคี วามสามารถในการอา่ น การเขยี น การสอ่ื สาร
และการคดิ ค�ำนวณ เปน็ ไปตาม เปา้ หมายทส่ี ถานศกึ ษา
ก�ำหนด
◆ ผเู้ รยี นมผี ลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี นตามหลกั สตู รสถานศกึ ษา
เปน็ ไปตามเป้าหมายท่ีสถานศกึ ษาก�ำหนด
◆ ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมี
วจิ ารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคดิ เหน็ และ
แก้ปญั หาได้
◆ ผเู้ รยี นมคี วามรู้และทกั ษะพน้ื ฐานในการสรา้ งนวตั กรรม
◆ ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสารเพ่ือพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสม
ปลอดภยั
◆ ผู้เรยี นมีความรู้ ทักษะพน้ื ฐาน และเจตคติทด่ี ตี ่องาน
อาชพี

30

ระดบั คณุ ภาพ ประเด็นพจิ ารณา
ดเี ลศิ ๑.๒ คุณลกั ษณะทพี่ งึ ประสงคข์ องผ้เู รียน

◆ ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีเป็นไปตามเป้า
หมายทสี่ ถานศึกษาก�ำหนด

๑.๑ ผลสมั ฤทธ์ทิ างวิชาการของผ้เู รยี น
◆ ผเู้ รยี นมคี วามสามารถในการอา่ น การเขยี น การสอื่ สาร
และการคิดค�ำนวณ สูงกว่าเป้าหมายที่สถานศึกษา
ก�ำหนด
◆ ผเู้ รยี นมผี ลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี นตามหลกั สตู รสถานศกึ ษา
สงู กว่าเปา้ หมายท่สี ถานศึกษาก�ำหนด
◆ ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมี
วิจารณญาณอภิปรายแลกเปล่ียนความคิดเห็น
โดยใชเ้ หตุผลประกอบการตดั สนิ ใจ และแก้ปัญหาได้
◆ ผเู้ รยี นมคี วามสามารถในการสรา้ งนวัตกรรม
◆ ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการส่ือสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมในด้าน
การเรียนรู้ การสือ่ สาร การท�ำงาน
◆ ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีพร้อม
ท่ีจะศึกษาต่อในระดับชั้นท่ีสูงขึ้น และการท�ำงาน
หรืองานอาชีพ

๑.๒ คณุ ลกั ษณะทพี่ งึ ประสงค์ของผเู้ รียน
◆ ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมท่ีดีสูงกว่าเป้าหมาย
ที่สถานศึกษาก�ำหนด

31

ระดับคณุ ภาพ ประเดน็ พจิ ารณา
ยอดเยีย่ ม ๑.๑ ผลสมั ฤทธ์ิทางวิชาการของผู้เรยี น

◆ ผเู้ รยี นมคี วามสามารถในการอา่ น การเขยี น การสอ่ื สาร
และการคิดค�ำนวณ สูงกว่าเป้าหมายที่สถานศึกษา
ก�ำหนด

◆ ผเู้ รยี นมผี ลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี นตามหลกั สตู รสถานศกึ ษา
สูงกว่าเป้าหมายท่ีสถานศกึ ษาก�ำหนด

◆ ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่าง
มีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
โดยใชเ้ หตุผลประกอบการตดั สนิ ใจ และแก้ปัญหาได้

◆ ผู้เรยี นมีความสามารถในการสรา้ งนวัตกรรม มกี ารน�ำ
ไปใช้และเผยแพร่

๑.๒ คณุ ลกั ษณะที่พงึ ประสงค์ของผู้เรยี น
◆ ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการส่ือสารเพ่ือพัฒนาตนเอง และสังคมในด้าน
การเรียนรู้ การสื่อสาร การท�ำงาน อย่างสร้างสรรค์
และมคี ุณธรรม
◆ ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติท่ีดีพร้อม
ท่จี ะศึกษาต่อในระดบั ช้นั ที่สงู ขน้ึ และการท�ำงานหรือ
งานอาชพี
◆ ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมท่ีดีสูงกว่าเป้าหมาย
ที่สถานศกึ ษาก�ำหนดเป็นแบบอยา่ งได้
◆ ผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความ
เปน็ ไทย มสี ว่ นรว่ มในการอนรุ กั ษว์ ฒั นธรรม ประเพณี
และภมู ิปัญญาไทย
◆ ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและ
หลากหลาย
◆ ผู้เรียนมีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคมสูงกว่า
เป้าหมายท่ีสถานศึกษาก�ำหนด

32

มาตรฐานท่ี ๒ กระบวนการบรหิ ารและการจดั การ
๒.๑ มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจท่ีสถานศึกษากำ�หนด
ชดั เจน
๒.๒ มรี ะบบบรหิ ารจัดการคณุ ภาพของสถานศกึ ษา
๒.๓ ด�ำ เนนิ งานพฒั นาวชิ าการทเ่ี นน้ คณุ ภาพผเู้ รยี นรอบดา้ น
ตามหลักสูตรสถานศกึ ษา และทกุ กลมุ่ เป้าหมาย
๒.๔ พัฒนาครแู ละบคุ ลากรใหม้ คี วามเชยี่ วชาญทางวชิ าชีพ
๒.๕ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมท่ีเอื้อต่อ
การจัดการเรียนรู้อยา่ งมคี ุณภาพ
๒.๖ จดั ระบบเทคโนโลยสี ารสนเทศเพอื่ สนบั สนนุ การบรหิ าร
จดั การและการจดั การเรยี นรู้
คำ�อธบิ าย
มาตรฐานท่ี ๒ กระบวนการบรหิ ารและการจัดการ
เป็นการจัดระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
มกี ารก�ำ หนดเปา้ หมายวสิ ยั ทศั นแ์ ละพนั ธกจิ อยา่ งชดั เจน สามารถด�ำ เนนิ งาน
พัฒนาวิชาการท่ีเน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา
ในทกุ กลมุ่ เปา้ หมาย จดั ท�ำ แผนพฒั นาคณุ ภาพการจดั การศกึ ษา ด�ำ เนนิ การ
พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเช่ียวชาญทางวิชาชีพ และจัดระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศ เพ่ือสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้
รวมทง้ั จดั สภาพแวดลอ้ มทางกายภาพและสงั คมทเี่ ออื้ ตอ่ การจดั การเรยี นรู้

33

๒.๑ มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจท่ีสถานศึกษา
กำ�หนดชดั เจน
สถานศึกษากำ�หนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
ไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของ
ชุมชน ท้องถ่ิน วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของ
รัฐบาลและของตน้ สงั กัด รวมท้งั ทนั ตอ่ การเปลย่ี นแปลงของสงั คม
๒.๒ มรี ะบบบรหิ ารจดั การคุณภาพของสถานศกึ ษา
สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการคุณภาพของ
สถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาคุณภาพ
การจัดการศึกษา การนำ�แผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
มีการติดตามตรวจสอบประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
มกี ารบรหิ ารอตั ราก�ำ ลงั ทรพั ยากรทางการศกึ ษา และระบบดแู ลชว่ ยเหลอื
นกั เรยี น มรี ะบบการนเิ ทศภายใน การน�ำ ขอ้ มลู มาใชใ้ นการพฒั นา บคุ ลากร
และผ้ทู เี่ ก่ียวขอ้ งทกุ ฝ่ายมีสว่ นรว่ มการวางแผน ปรับปรุง และพฒั นา และ
ร่วมรบั ผิดชอบต่อผลการจดั การศึกษา
๒.๓ ดำ�เนินงานพัฒนาวิชาการท่ีเน้นคุณภาพผู้เรียนรอบ
ดา้ นตามหลกั สูตรสถานศึกษาและทุกกลุม่ เป้าหมาย
สถานศึกษาบริหารจัดการเก่ยี วกบั งานวิชาการ ท้ังดา้ น
การพฒั นาหลักสตู ร กจิ กรรมเสรมิ หลักสตู รทเ่ี นน้ คณุ ภาพผ้เู รยี นรอบดา้ น
เชอื่ มโยงวถิ ชี วี ติ จรงิ และครอบคลมุ ทกุ กลมุ่ เปา้ หมาย หมายรวมถงึ การจดั
การเรยี นการสอนของกล่มุ ทเี่ รียนแบบควบรวมหรือกลุ่มที่เรยี นร่วมดว้ ย
๒.๔ พฒั นาครแู ละบคุ ลากรใหม้ คี วามเชย่ี วชาญทางวชิ าชพี
สถานศกึ ษาสง่ เสริม สนบั สนุน พัฒนาครู บคุ ลากร ใหม้ ี
ความเช่ียวชาญทางวิชาชีพ และจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
มาใช้ในการพฒั นางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน
34

๒.๕ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอ้ือต่อ
การจดั การเรยี นรู้
สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพท้ังภายใน
และภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่เอื้อต่อการจัด
การเรียนรู้ และมีความปลอดภัย
๒.๖ จดั ระบบเทคโนโลยสี ารสนเทศเพอ่ื สนบั สนนุ การบรหิ าร
จดั การและการจดั การเรยี นรู้
สถานศกึ ษาจดั ระบบการจดั หา การพฒั นาและการบรกิ าร
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
ทเ่ี หมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา

การใหร้ ะดบั คณุ ภาพ

ระดับคุณภาพ ประเด็นพิจารณา
ก�ำ ลังพฒั นา ◆ เปา้ หมายวสิ ยั ทศั นแ์ ละพนั ธกจิ ทส่ี ถานศกึ ษาก�ำ หนดไมช่ ดั เจน
ปานกลาง ◆ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาแต่ไม่ส่งผล

ดี ต่อคณุ ภาพตามมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศกึ ษา
◆ เปา้ หมายวสิ ยั ทศั นแ์ ละพนั ธกจิ ทส่ี ถานศกึ ษาก�ำ หนดชดั เจน

เปน็ ไปไดใ้ นการปฏิบตั ิ
◆ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาท่ีส่งผลต่อ

คณุ ภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศกึ ษา
◆ เปา้ หมายวสิ ยั ทศั นแ์ ละพนั ธกจิ ทส่ี ถานศกึ ษากำ�หนดชดั เจน

สอดคลอ้ งกบั บรบิ ทของสถานศกึ ษา เปน็ ไปไดใ้ นการปฏบิ ตั ิ
◆ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาที่ชัดเจน

สง่ ผลตอ่ คณุ ภาพตามมาตรฐานการศกึ ษาของสถานศึกษา

35

ระดับคณุ ภาพ ประเด็นพจิ ารณา
ดีเลิศ ◆ ดำ�เนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน

ตามหลักสตู รสถานศึกษา และทกุ กลุ่มเปา้ หมาย
◆ พฒั นาครแู ละบุคลากรใหม้ ีความเชย่ี วชาญทางวิชาชพี
◆ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอ้ือต่อการจัด

การเรียนรอู้ ย่างมคี ณุ ภาพ
◆ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหาร

จดั การและการจดั การเรียนรู้
◆ มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำ�หนด

ชัดเจน สอดคลอ้ งกับบริบทของสถานศึกษา ความตอ้ งการ
ชมุ ชน นโยบายรัฐบาล แผนการศกึ ษาแห่งชาติ เป็นไปได้
ในการปฏิบัติ
◆ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาท่ีชัดเจน
มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
ของสถานศึกษา โดยความร่วมมือของผเู้ กี่ยวขอ้ งทุกฝา่ ย
◆ ดำ�เนินงานพัฒนาวิชาการท่ีเน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน
ตามหลักสูตรสถานศึกษา และทกุ กลุ่มเปา้ หมาย เชอ่ื มโยง
กับชวี ติ จริง
◆ พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเช่ียวชาญทางวิชาชีพ
ตรงตามความตอ้ งการของครู และสถานศกึ ษา
◆ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัด
การเรยี นรูอ้ ยา่ งมีคณุ ภาพ และมีความปลอดภัย
◆ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือสนับสนุนการบริหาร
จัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของ
สถานศึกษา

36

ระดบั คุณภาพ ประเด็นพจิ ารณา
ยอดเยี่ยม ◆ มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำ�หนด

ชดั เจน สอดคลอ้ งกับบริบทของสถานศกึ ษา ความต้องการ
ชมุ ชน นโยบายรฐั บาล แผนการศกึ ษาแหง่ ชาติ เป็นไปได้
ในการปฏิบัติ ทนั ต่อการเปลี่ยนแปลง
◆ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาท่ีชัดเจน
มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
ของสถานศึกษา โดยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
มกี ารน�ำ ขอ้ มลู มาใชใ้ นการปรบั ปรงุ พฒั นางานอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง
และเป็นแบบอยา่ งได้
◆ ดำ�เนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน
ตามหลกั สูตรสถานศกึ ษา และทุกกลุ่มเปา้ หมาย เชื่อมโยง
กับชวี ิตจรงิ และเปน็ แบบอยา่ งได้
◆ พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
ตรงตามความต้องการของครูและสถานศึกษา และจดั ให้มี
ชุมชนการเรยี นรู้ทางวชิ าชพี เพ่ือพัฒนางาน
◆ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอ้ือต่อการจัด
การเรยี นร้อู ย่างมคี ุณภาพ และมีความปลอดภยั
◆ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือสนับสนุนการบริหาร
จัดการและการจัดการเรียนรู้ท่ีเหมาะสมกับสภาพของ
สถานศึกษา

37

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจดั การเรยี นการสอนทเี่ นน้ ผเู้ รยี นเปน็ ส�ำ คญั
๓.๑ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และ
สามารถน�ำ ไปประยกุ ต์ใช้ในชวี ิตได้
๓.๒ ใชส้ ือ่ เทคโนโลยสี ารสนเทศ และแหลง่ เรยี นรทู้ ี่เอื้อต่อ
การเรียนรู้
๓.๓ มีการบรหิ ารจดั การช้ันเรยี นเชงิ บวก
๓.๔ ตรวจสอบและประเมนิ ผเู้ รยี นอยา่ งเปน็ ระบบ และน�ำ ผล
มาพัฒนาผูเ้ รียน
๓.๕ มีการแลกเปล่ียนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับ
เพื่อพัฒนาและปรบั ปรงุ การจดั การเรยี นรู้
ค�ำ อธิบาย
มาตรฐานท่ี ๓ กระบวนการจดั การเรยี นการสอนทเ่ี นน้ ผเู้ รยี น
เป็นส�ำ คัญ
เปน็ กระบวนการจดั การเรยี นการสอนตามมาตรฐานและตวั ชว้ี ดั
ของหลักสูตรสถานศึกษา สร้างโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีการบริหารจัดการช้ันเรียนเชิงบวก
สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำ�เนินการตรวจสอบ
และประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำ�ผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้ง
ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำ�ผลท่ีได้มาให้ข้อมูลป้อนกลับ เพ่ือพัฒนา
และปรับปรุงการจัดการเรยี นรู้
๓.๑ จดั การเรยี นรผู้ า่ นกระบวนการคดิ และปฏบิ ตั จิ รงิ และ
สามารถนำ�ไปประยกุ ต์ใชใ้ นการด�ำ เนนิ ชีวิต
จัดกิจกรรมการเรียนรูต้ ามมาตรฐานการเรยี นรู้ ตัวช้ีวดั
ของหลกั สตู รสถานศกึ ษาทเี่ นน้ ใหผ้ เู้ รยี นไดเ้ รยี นรู้ โดยผา่ นกระบวนการคดิ

38

และปฏบิ ัติจรงิ มแี ผนการจัดการเรยี นรู้ท่ีสามารถนำ�ไปจัดกจิ กรรมไดจ้ รงิ
มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้เฉพาะสำ�หรับผู้ท่ีมีความจำ�เป็น และต้องการ
ความช่วยเหลือพิเศษ ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะแสดงออก แสดงความ
คิดเห็น สรุปองค์ความรู้ นำ�เสนอผลงาน และสามารถนำ�ไปประยุกต์ใช้
ในชีวติ ได้
๓.๒ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อ
ตอ่ การเรยี นรู้
มีการใช้ส่ือ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้
รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถ่ินมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยสร้างโอกาสให้
ผเู้ รียนได้แสวงหาความรดู้ ว้ ยตนเองจากสื่อท่ีหลากหลาย
๓.๓ มีการบรหิ ารจดั การชัน้ เรยี นเชิงบวก
ครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยเน้น
การมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้เด็กรักครู ครูรักเด็ก และเด็กรักเด็ก เด็กรัก
ท่ีจะเรยี นรู้ สามารถเรยี นรู้รว่ มกันอยา่ งมคี วามสขุ
๓.๔ ตรวจสอบและประเมนิ ผเู้ รยี นอยา่ งเปน็ ระบบ และน�ำ ผล
มาพฒั นาผเู้ รยี น
มีการตรวจสอบและประเมนิ คณุ ภาพการจดั การเรยี นรู้
อย่างเป็นระบบ มีข้ันตอนโดยใช้เคร่ืองมือและวิธีการวัดและประเมินผล
ที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ และให้ข้อมูลย้อนกลับ
แกผ่ ้เู รียนเพอ่ื น�ำ ไปใชพ้ ฒั นาการเรียนรู้
๓.๕ มีการแลกเปล่ียนเรียนรู้และให้ข้อมูลป้อนกลับเพ่ือ
ปรับปรงุ และพฒั นาการจดั การเรยี นรู้
ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันแลกเปล่ียนความรู้
และประสบการณ์รวมท้ังให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อนำ�ไปใช้ในการปรับปรุง
และพัฒนาการจัดการเรยี นรู้

39

การใหร้ ะดบั คณุ ภาพ

ระดับคุณภาพ ประเด็นพิจารณา
กำ�ลังพัฒนา ◆ จดั การเรยี นรทู้ ไี่ มเ่ ปดิ โอกาสใหผ้ เู้ รยี นไดใ้ ชก้ ระบวนการคดิ
ปานกลาง
และปฏิบตั ิจริง
ดี ◆ ใช้ส่ือ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ท่ีไม่เอ้ือต่อ

การเรียนร ู้
◆ ตรวจสอบและประเมนิ ผู้เรียนอยา่ งไมเ่ ปน็ ระบบ
◆ จดั การเรยี นรผู้ า่ นกระบวนการคดิ และปฏบิ ตั จิ รงิ ตามมาตรฐาน

การเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา และสามารถ
นำ�ไปประยุกต์ใชใ้ นการด�ำ เนนิ ชวี ติ
◆ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อ
การเรยี นร้ ู
◆ ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำ�ผล
มาพัฒนาผูเ้ รียน
◆ จดั การเรยี นรผู้ า่ นกระบวนการคดิ และปฏบิ ตั จิ รงิ ตามมาตรฐาน
การเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา และสามารถ
น�ำ ไปประยกุ ตใ์ ช้ในการด�ำ เนินชีวิต
◆ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ท่ีเอ้ือต่อ
การเรยี นรู้
◆ ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำ�ผล
มาพฒั นาผ้เู รยี น
◆ มีการบริหารจดั การชนั้ เรียนเชงิ บวก
◆ มกี ารแลกเปลย่ี นเรยี นรแู้ ละใหข้ อ้ มลู สะทอ้ นกลบั เพอ่ื พฒั นา
และปรบั ปรงุ การจดั การเรียนรู้

40

ระดบั คุณภาพ ประเด็นพจิ ารณา
ดเี ลิศ ◆ จดั การเรยี นรผู้ า่ นกระบวนการคดิ และปฏบิ ตั จิ รงิ ตามมาตรฐาน

ยอดเยี่ยม การเรียนรู้ ตัวชีว้ ดั ของหลกั สตู รสถานศึกษา มแี ผนการจัด
การเรียนรู้ที่สามารถนำ�ไปจัดกิจกรรมได้จริง และสามารถ
นำ�ไปประยกุ ตใ์ ชใ้ นชวี ติ ได้
◆ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมท้ัง
ภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถิน่ ทเ่ี อือ้ ตอ่ การเรียนรู้
◆ ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน
โดยใช้เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลท่ีเหมาะ
สมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ ให้ข้อมูลย้อนกลับ
แก่ผเู้ รยี น และนำ�ผลมาพฒั นาผเู้ รียน
◆ มีการบริหารจัดการช้ันเรียนเชิงบวก เด็กรักที่จะเรียนรู้
และเรียนรูร้ ่วมกนั อย่างมคี วามสขุ
◆ มีชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพระหว่างครูเพ่ือพัฒนา
และปรับปรงุ การจัดการเรยี นรู้
◆ จดั การเรยี นรผู้ า่ นกระบวนการคดิ และปฏบิ ตั จิ รงิ ตามมาตรฐาน
การเรียนรู้ ตัวชว้ี ัดของหลกั สตู รสถานศกึ ษา มแี ผนการจดั
การเรียนรู้ท่ีสามารถนำ�ไปจัดกิจกรรมได้จริง และสามารถ
น�ำ ไปประยกุ ตใ์ ชใ้ นชวี ติ ได้ มนี วตั กรรมในการจดั การเรยี นรู้
และมีการเผยแพร่
◆ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้ง
ภูมิปัญญาท้องถ่ินที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยสร้างโอกาสให้
ผูเ้ รียนไดแ้ สวงหาความรูด้ ้วยตนเอง

41

ระดับคณุ ภาพ ประเดน็ พจิ ารณา
◆ ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีข้ันตอน

โดยใช้เคร่ืองมือและวิธีการวัดและประเมินผลท่ีเหมาะสม
กับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ ให้ข้อมูลย้อนกลับ
แกผ่ เู้ รียน และน�ำ ผลมาพัฒนาผู้เรยี น
◆ มกี ารบรหิ ารจดั การชน้ั เรยี นเชงิ บวก เดก็ รกั ทจี่ ะเรยี นรู้ และ
เรยี นรู้รว่ มกันอยา่ งมีความสุข
◆ มชี มุ ชนแหง่ การเรยี นรทู้ างวชิ าชพี ระหวา่ งครแู ละผเู้ กย่ี วขอ้ ง
เพอ่ื พฒั นาและปรบั ปรงุ การจดั การเรยี นรู้ ครู และผเู้ กย่ี วขอ้ ง
มี ก า ร แ ล ก เ ป ลี่ ย น เ รี ย น รู้ แ ล ะ ใ ห้ ข้ อ มู ล ส ะ ท้ อ น ก ลั บ
เพ่อื พัฒนาและปรบั ปรงุ การจัดการเรียนรู้

...มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน
ศนู ย์การศึกษาพิเศษ

มาตรฐานการศกึ ษา ระดบั การศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐานศนู ยก์ ารศกึ ษา
พเิ ศษ พ.ศ. ๒๕๖๑ มจี �ำ นวน ๓ มาตรฐาน ไดแ้ ก่
มาตรฐานท่ี ๑ คณุ ภาพของผเู้ รียน
๑.๑ ผลการพัฒนาผู้เรยี น
๑.๒ คณุ ลักษณะท่พี งึ ประสงค์ของผู้เรียน
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ
มาตรฐานท่ี ๓ กระบวนการจดั การเรยี นการสอนทเ่ี นน้ ผเู้ รยี น
เปน็ ส�ำ คัญ

42

รายละเอียดแต่ละมาตรฐาน มดี ังนี้
มาตรฐานท่ี ๑ คณุ ภาพของผเู้ รยี น
๑.๑ ผลการพัฒนาผู้เรยี น
๑) มพี ฒั นาการตามศกั ยภาพของแตล่ ะบคุ คลทแ่ี สดงออก
ถงึ ความรู้ ความสามารถ ทกั ษะ ตามทรี่ ะบไุ วใ้ นแผนการจดั การศกึ ษาเฉพาะ
บคุ คล หรือแผนการใหบ้ รกิ ารชว่ ยเหลอื เฉพาะครอบครวั
๒) มีความพร้อมสามารถเข้าสู่บริการช่วงเช่ือมต่อ
หรือการส่งต่อเข้าสู่การศึกษาในระดับที่สูงข้ึน หรือการอาชีพหรือ
การดำ�เนินชีวิตในสังคมได้ตามศักยภาพของแตล่ ะบคุ คล
๑.๒ คุณลักษณะทพ่ี งึ ประสงคข์ องผูเ้ รยี น
๑) มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามท่ีสถานศึกษา
กำ�หนด
๒) มีความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทย
ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล
คำ�อธบิ าย
มาตรฐานที่ ๑ ดา้ นคุณภาพของผู้เรียน
ผลการพฒั นาผเู้ รยี นตามศกั ยภาพของแตล่ ะบคุ คล ทแี่ สดงออก
ถึงความรู้ ความสามารถ ทักษะ ตามท่ีระบุไว้ในแผนการจัดการศึกษา
เฉพาะบคุ คล หรอื แผนการใหบ้ รกิ ารชว่ ยเหลอื เฉพาะครอบครวั มคี วามพรอ้ ม
สามารถเข้าสู่บริการช่วงเช่ือมต่อ (Transitional Services) หรือการ
ส่งต่อ (Referral) เข้าสู่การศึกษาในระดับที่สูงข้ึน หรือการอาชีพ หรือ
การด�ำ เนนิ ชวี ติ ในสงั คมไดต้ ามศกั ยภาพของแตล่ ะบคุ คล และมคี ณุ ลกั ษณะ
ท่ีพงึ ประสงค์ ความภมู ิใจในทอ้ งถนิ่ และความเปน็ ไทย

43


Click to View FlipBook Version