The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มืออบรมให้ความรู้การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (E-book Flipbook)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nathamon.boonpan, 2021-10-01 05:03:39

คู่มืออบรมให้ความรู้การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (E-book Flipbook)

คู่มืออบรมให้ความรู้การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (E-book Flipbook)

คำนำ

คู่มืออบรมให้ความรู้การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
สำหรับเจ้าของสวนและเกษตรกรเล่มนี้ จัดทำและเรียบ
เรียงข้อมูลจากเอกสารและหนั งสือต่างๆ ได้รับทุน
อุดหนุนการวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำ
ปีงบประมาณ 2564 ผู้เขียนหวังว่าคู่มือเล่มนี้ จะเป็น
ประโยชน์ เนื่ องจากผู้เขียนมีแนวทางในการเขียนให้อ่าน
เข้าใจง่าย หลักเลี่ยงการใช้ศัพท์ในเชิงวิชาการเพื่อให้
เจ้าของสวนและเกษตรกร รวมถึงประชาชนทั่วไป ได้รับ
สาระสำคัญของเนื้ อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ทั้งนี้ เนื้ อหาบางส่วนผู้เขียนนั้ นได้นำเสนอกรณี
ศึกษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและรูปแบบการ
จัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อใช้เป็นตัวอย่าง
สำหรับการเรียนรู้ การสร้างคุณค่า รวมถึงการเพิ่มมูลค่า
ของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรในหลากหลายรูป
แบบ

ผู้เขียนจึงขอขอบคุณสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ ที่
ได้สนั บสนุนทุนอุดหนุนการวิจัยและมหาวิทยาลัยราชภัฏ
เชียงรายที่ให้เวลาและโอกาสให้การทำงานวิจัยอย่างต่อ
เนื่ องและขอขอบคุณวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ และทีมวิจัย ที่
คอยให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ จนสามารถถ่ายทอดออก
มาเป็นองค์ความรู้การท่องเที่ยวเชิงเกษตรผ่านคู่มือฉบับ
นี้

ณฐมน สังวาลย์และคณะวิจัย

การท่องเที่ยว คืออะไร

เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “ท่องเที่ยว” ในปัจจุบันเรามองเห็นภาพชาว
ต่างประเทศสะพายกล้องถ่ายรูปเดินกันเป็นกลุ่มใหญ่บ้างเล็กบ้างอยู่
ตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ หรือไปท่องเที่ยวที่อยู่ตามชายหาด ทะเล ที่
สวยงาม และอีกจำนวนไม่น้ อยที่ไปเที่ยวชมป่าเขาลำเนาไพร เราจึงมัก
จะมองเห็นว่านั กท่องเที่ยวเหล่านี้ ได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าที่พัก ค่าอาหาร
ค่าเดินทางไปชมสถานที่ต่างๆ ค่าซื้อของฝากของที่ระลึก

ในขณะเดียวกันการเดินทางท่องเที่ยวนั้ นเป็นการผ่อน
คลายความเคร่งเครียดพร้อมๆ กับการได้รับความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม
ประเพณี ได้เห็นภูมิประเทศที่แปลกตาและได้สร้างความสัมพันธ์กับคน
ต่างถิ่นด้วย เมื่อการคมนาคมสะดวก การเดินทางท่องเที่ยวกลายเป็น
ความนิ ยม ที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับการเดินทางการท่องเที่ยวมากมาย ทั้ง
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ธุรกิจการขนส่ง ธุรกิจที่พักและอาหาร
ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจการค้า ของที่ระลึก ธุรกิจเหล่านี้ ขายบริการให้กับ
ตัวนั กท่องเที่ยวเอง และยังมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องทางอ้อม เช่น การ
ก่อสร้างอาคาร ที่พัก ร้านอาหาร การผลิตสินค้าเกษตรกรรม เพื่อขาย
ให้แก่ธุรกิจที่พักและอาหาร การผลิตสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านเพื่อส่ง
ร้านค้าของที่ระลึก เป็นต้น ธุรกิจเหล่านี้ จะก่อให้เกิดงานอาชีพใหม่ๆ
และการกระจายเงินตราซึ่งถือเป็นการเสริมสร้างความเจริญทาง
เศรษฐกิจและสังคมให้กับประเทศนั่ นเอง (การท่องเที่ยวแห่ง
ประเทศไทย, 2562)

และมีนั กวิชาการที่ได้ให้ความหมายการท่องเที่ยวไว้ ดังนี้
สำนั กงานพัฒนาการท่องเที่ยว (2546) การท่องเที่ยว หมายถึง การเดิน
ทางเพื่อผ่อนคลายความเครียด แสวงหาประสบการณ์แปลกใหม่ โดยมี
เงื่อนไขว่า การเดินทางนั้ น เป็นการเดินทางเพียงชั่วคราว ผู้เดินทางจะ
ต้องไม่ถูกบังคับให้เดินทาง และไพฑูรย์ พงศะบุตร และวิลาสวงศ์ พงศ
ะบุตร (2542) ได้ให้ความหมายของการท่องเที่ยว (Tourism) หมายถึง
การเดินทางไปเยือนสถานที่ต่างถิ่นซึ่งไม่ใช่เป็นที่พำนั กอาศัยประจำ
ของบุคคลนั้ น และเป็นการไปเยือนชั่วคราวโดยไม่ใช่เพื่อเป็นการ
ประกอบอาชีพหารายได้

สามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่า การท่องเที่ยวนั้ นหมายถึง
การเดินทางเพื่อผ่อนคลายความเครียด ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประสบการณ์
ที่แตกต่างจากเดิมโดยการเดินทางท่องเที่ยวนั้ นเป็นเพียงชั่วคราว
เท่านั้ นเพื่อเยือนสถานที่ต่างถิ่นที่ไม่ใช้ที่พำนั กอาศัยถาวรของตัวเอง
และนั กท่องเที่ยวหรือผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวต้องไม่ถูกบังคับให้เดินทาง
ท่องเที่ยวนั่ นเอง

การท่องเที่ยวเชิงเกษตรคืออะไร

Agritourism หรือเรียกว่า "การท่องเที่ยวเชิงเกษตร " หมาย
ถึง การท่องเที่ยวที่มุ่งเน้ นทางด้านการเรียนรู้วิถีเกษตร กรรมของ
ชาวชนบท โดยเน้ นการมีส่วนร่วมของนั กท่องเที่ยวในการดำเนิ น
กิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้ด้านการเกษตรและวิถีการดำรงชีวิต
วัฒนธรรม ประเพณี และเป็นการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดการ
เรียนรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ ก่อให้เกิดรายได้ต่อชุมชน และตัว
เกษตรกร

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร จะเป็นการอนุรักษ์ควบคู่ไปกับการ
ท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและผล กระทบต่อสภาพ
สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นการเดินทางท่องเที่ยวไปยัง
พื้นที่เกษตรกรรม สวนเกษตร วนเกษตร สวนสมุนไพร ฟาร์ม
ปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยง เพื่อชื่นชมความสวยงาม ความสำเร็จ และ
เพลิดเพลินในสวนเกษตร ได้ความรู้ ได้ประสบการณ์ใหม่ บนพื้น
ฐานความรับผิดชอบ มีจิตสำนึ กต่อการรักษาสภาพแวดล้อมของ
สถานที่แห่งนั้ น

ทั้งนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) (2545) ให้
ความหมายของ Agritourism (การท่องเที่ยวเชิงเกษตร) ไว้ว่า
เป็นการท่องเที่ยวที่ได้ทั้งความเพลิดเพลิน และความรู้นำกลับไป
ประยุกต์ใช้หรือประกอบอาชีพได้ เหนื อสิ่งอื่นใดคือการได้หวนกลับ
ไปเรียนรู้เข้าใจ ภาคภูมิใจกับอาชีพเกษตรกรรมรากฐานของแผ่นดิน
ไทยที่เปี่ ยมไปด้วยคุณค่า ภายใต้แนวคิด ปรัชญาองค์ความรู้
ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษเกษตรกรไทย ขนบธรรมเนี ยม วัฒนธรรม
ประเพณี รู ปแบบกิจกรรมและการประกอบอาชีพทางการเกษตรที่ก่อ
ให้เกิดรายได้แก่ชุมชน

จึงสามารถสรุปได้ว่า การท่องเที่ยวเชิงเกษตร หมายถึง
การท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญในเรื่องการเรียนรู้วิถีเกษตรกรรม
โดยเน้ นกิจกรรมที่มีส่วนร่วมของนั กท่องเที่ยว และกิจกรรมเหล่านั้ น
ก่อให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตร รวมถึงวิถีวัฒนธรรม
การเกษตร ประเพณีที่เกี่ยวข้อง โดยการนำเอาสิ่งที่มีอยู่มาทำให้เกิด
ประโยชน์ และเกิดรายได้ให้เกษตรกร นั่ นเอง

การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

เรานั้ นสามารถแบ่งสันปันส่วนของพื้นที่เพาะปลูกหรือพื้นที่ที่เป็น
ไร่นา โดยสามารถแบ่งออกเป็น 25% ของพื้นที่สวนหรือพื้นที่เพาะปลูก
ทั้งหมดของเรา มาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้ และทั้งนี้ ยัง
สามารถดูแลได้ทั่วถึง ทำความเข้าใจก่อนว่า รูปแบบการท่องเที่ยวที่เป็น
เชิงความรู้ หรือเป็นการจัดการเชิงความรู้ กล่าวได้คือ การท่องเที่ยวเชิง
เกษตรนั่ นเอง ซึ่งเป็นจุดแข็งและคุณสมบัติหลักของรูปแบบการท่อง
เที่ยวประเภทนี้ ฉะนั้ นต้องคำนึ งถึงศักยภาพในการเตรียมพื้นที่รองรับ
นั กท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่ควรคำนึ งถึงก่อนอันดับแรกให้สอดคล้องหรือมี
ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนของนั กท่องเที่ยวและการรองรับนั กท่อง
เที่ยว ดังรูปภาพต่อไปนี้




ความสั มพันธ์

จำนวนนั กท่องเที่ยว การรองรับนั กท่องเที่ยว

การออกแบบพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงเกษตร

1.ทางเข้า ทางออก ของพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ควร
เป็นทางเดียวกัน เป็นทางที่มีคนจำนวนมากผ่านไปผ่านมาเยอะที่สุด
ซึ่งเราสามารถขายของที่ระลึกหรือสินค้าทางการเกษตร ได้ตรงจุดนี้
นั่ นเอง

2.ฐานการเรียนรู้ ในแต่ละฐานการเรียนรู้นั้ นมีความจำเป็น
ต้องควรจะเดินทางเชื่อมถึงกันโดยการเดินเท้าเพื่อลดปัญหาด้าน
การบริหารจัดการการขนส่ งภายในพื้นที่การท่องเที่ยว

3.การบริการจัดการพื้นที่ร่ม อย่างน้ อยในพื้นที่การท่อง
เที่ยวเชิงเกษตรของเราควรจะมีพื้นที่ 70% ของพื้นที่ทั้งหมด ยก
ตัวอย่างเช่น อุโมงค์ต้นไม้ ซุ้มหม่อนมัลเบอร์รี่ ทำเป็นในรูปแบบ
ของBuffer Zone

4.การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรของ
ตนเอง มีการจัดการในเรื่องของพื้นที่ สูง ต่ำ อาจจะทำเป็นในรูป
แบบของคลองไส้ไก่รอบพื้นที่ แบบโคกหนองนาโมเดล หรือให้มือ
อาชีพมาช่วยออกแบบภูมิทัศน์ (Landscape)

5.มีการตรวจคุณสมบัติของคุณภาพดิน หรือลักษณะของ
ดินในพื้นที่

6.การเดินทางของนั กท่องเที่ยวในพื้นที่ Flow Map
7.ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ให้บริการในแหล่งท่องเที่ยวทุก
ประเภท อารมณ์และความประทับใจ (Mood and Tone) ของนั กท่อง
เที่ยวหรือลูกค้าที่มาท่องเที่ยวในพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรของ
เรานั้ นสำคัญที่สุด

รู ปแบบหรือประเภทของ

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นอย่างไร


ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแต่ละแห่งจะมีกิจกรรมที่จะให้

บริการนั กท่องเที่ยวหลาย ๆ กิจกรรม แล้วแต่สภาพจุดท่องเที่ยวเชิง
เกษตรแต่ละแห่ง ได้แก่

1.) ประเภทนั กท่องเที่ยวร่วมกิจกรรมระยะสั้น ได้แก่ การเข้า
ชมสวนเกษตร โดยนั กท่องเที่ยวอาจเก็บผลผลิตในสวนหรือซื้อ
ผลผลิตโดยเลือกเก็บได้ และทำกิจกรรมพื้นบ้านระยะสั้น ร่วมกับชาว
บ้าน เช่นขี่ควาย นั่ งเกวียน และอื่น ๆ

2.) ประเภทให้นั กท่องเที่ยวพักแรมในหมู่บ้าน การให้นั กท่อง
เที่ยวพักแรมในหมู่บ้านเพื่อศึกษา และสัมผัสกับชีวิตของชาวชนบท
เกษตรโดยนั กท่องเที่ยวจะได้รับบริการที่อบอุ่น ปลอดภัย สะดวกและ
สะอาด

3.) ประเภทอบรมให้ความรู้เกษตรแผนใหม่และความรู้ที่เป็น
ภูมิปัญญาชาวบ้าน การทำการเกษตรแผนใหม่ เช่น การปลูกและการ
ดูแลรักษา การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร อาจมีการให้ใบ
ประกาศนี ยบัตรด้วย การเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น การศึกษา
แมลงที่มีประโยชน์ พืชผักพื้นเมืองที่กินได้ การทำน้ำตาลมะพร้าวและ
น้ำตาลโตนด ฯลฯ

4.) ประเภทจำหน่ ายสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรสินค้า
หัตถกรรมพื้นบ้านของเกษตร กร ของใช้และของที่ระลึกต่าง ๆ ผลไม้
สด ดอกไม้สด เมล็ดพันธุ์พืชที่น่ าสนใจให้นั กท่องเที่ยวซื้อไปปลูก

5.) ประเภทให้ลู่ทางธุรกิจ ช่วงที่ธุรกิจอื่น ๆ ประสบปัญหาจาก
ธุรกิจตกต่ำ ให้นั กท่องเที่ยวส่วนหนึ่ งเดินทางมาท่องเที่ยวเพื่อหา
ลู่ทางในการทำธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร เพราะเป็นธุรกิจที่ให้ผล
ตอบแทนเร็ว การท่องเที่ยวในลักษณะนี้ นอกจากจะช่วยเอื้อประโยชน์
ให้แก่เกษตรกรแล้วยังเป็นหนทางที่ช่วยภาคเอกชนที่รับผลกระทบ
จากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันอีกด้วย

โดย รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร สามารถ
แบ่งได้ 3 ประเภทดังนี้

ประเภท ที่ 1 แบบกิจกรรมรายบุคคล
ได้แก่ การนำเที่ยวชมสวนของเกษตรกรรายบุคคลที่
ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ เช่น สวน
ทุเรียน มังคุด สวนไม้ดอกไม้ประดับ หรือแม้แต่ฟาร์ม
เลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้ ผู้เยี่ยมชมจะได้รับความรู้ด้าน
เทคโนโลยีการผลิต การจัดการ การตลาดแล้วยัง
สามารถซื้อผลผลิตต่าง ๆ ที่ทางสวนจัดขึ้นอีกด้วย

โดย รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร สามารถ
แบ่งได้ 3 ประเภทดังนี้ (ต่อ)

ประเภท ที่ 2 กิจกรรมการท่องเที่ยวตามฤดูกาล
หรือเทศกาล เช่น การจัดงานวันทุเรียนโลก งานวัน
เงาะโรงเรียนทุ่งทานตะวันบาน ทุ่งดอกปทุมมา ซึ่งการ
ท่องเที่ยวแบบนี้ จะมีขึ้นเฉพาะในช่วงที่มีการจัด
นิ ทรรศการเกี่ยวกับการเกษตรเท่านั้ น

โดย รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร สามารถ
แบ่งได้ 3 ประเภทดังนี้ (ต่อ)

ประเภท ที่ 3 กิจกรรมการท่องเที่ยวตามชุมชน
หรือหมู่บ้านเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรในชุมชน ร่วมกัน
จัดตั้ง บริหาร และจัดการท่องเที่ยว โดยกรมส่งเสริม
การเกษตรให้ความร่วมมือสนั บสนุนในการจัดทำ
โครงสร้างทางกายภาพ การจัดภูมิทัศน์ การให้แนว
ความคิดในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับ
พื้นที่และความสามารถของเกษตรกรในชุมชน

ตัวอย่าง รูปแบบกิจกรรม หรือ กิจกรรมอะไรบ้างที่
สามารถจัดได้

ในพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ตัวอย่าง การท่องเที่ยวเชิงความรู้
ในรู ปแบบของศูนย์การเรียนรู้เชิงเกษตร




1.รูปแบบของพิพิธภัณฑ์ โดยการจัดการในรูป
แบบนี้ มีองค์ประกอบทั้งหมด 3 อย่าง คือ
1.1 ต้องมีคนเข้าชม
1.2 ต้องมีการจัดการและจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็น
ระเบียบ
1.3 มีคนให้องค์ความรู้ นำชม หรือในรูปแบบนำ
ชมแบบอิเลกทรอนิ กส์ (E-Tour)

ตัวอย่าง การท่องเที่ยวเชิงความรู้
ในรู ปแบบของศูนย์การเรียนรู้เชิงเกษตร

(ต่อ)

2.สถานี เก็บไข่ไก่อินทรีย์
ไข่ไก่อารมณ์ดี อาจจะมี
ราคากิจกรรม 50บาท/
สามารถเก็บไข่ได้ 4 ฟอง
เป็นต้น

ตัวอย่าง การท่องเที่ยวเชิงความรู้
ในรู ปแบบของศูนย์การเรียนรู้เชิงเกษตร

(ต่อ)

3. สถานีวิถีใบตอง องค์ความรู้เกี่ยวกับ
ประเภทของกล้วยในประเทศไทย
การนำส่ วนต่างๆของกล้วยมาใช้
ประโยชน์ ในชีวิตประจำวันของคนไทย
เป็นต้น

ตัวอย่าง การท่องเที่ยวเชิงความรู้
ในรู ปแบบของศูนย์การเรียนรู้เชิงเกษตร

(ต่อ)

4.กิจกรรมกาแฟทำมือ

ตัวอย่าง การท่องเที่ยวเชิงความรู้
ในรู ปแบบของศูนย์การเรียนรู้เชิงเกษตร

(ต่อ)

5. สถานีแคคตัส องค์ความรู้เกี่ยวกับ
การเพาะปลูกแคคตัส ประเภทของแค
คตัส มีอะไรบ้าง การดูแล เป็นต้น

ตัวอย่าง การท่องเที่ยวเชิงความรู้
ในรู ปแบบของศูนย์การเรียนรู้เชิงเกษตร

(ต่อ)

6. สถานีผักอินทรีย์

ตัวอย่าง การท่องเที่ยวเชิงความรู้
ในรู ปแบบของศูนย์การเรียนรู้เชิงเกษตร

(ต่อ)

7. สถานีไส้เดือน องค์ความรู้เกี่ยวกับการ

เลี้ยงไส้เดือน ไส้เดือนที่นิ ยมนำมาเลี้ยงใน

ปัจจุบัน การทำน้ำหมักมูลไส้เดือน การสาธิต

วิถีการทำปุ๋ยมูลไส้ เดือน ประโยชน์ ของ

ผลิตภัณฑ์ที่มาจากไส้เดือน เป็นต้น

ตัวอย่าง การท่องเที่ยวเชิงความรู้
ในรู ปแบบของศูนย์การเรียนรู้เชิงเกษตร

(ต่อ)

8.สถานีเพาะเห็ด องค์ความรู้เกี่ยวกับการเพาะ
เห็ด การขายก้อนเห็ด การดูแลเห็ด ผลผลิตที่
ได้จากเห็ด เป็นต้น.

ตัวอย่าง การท่องเที่ยวเชิงความรู้
ในรู ปแบบของศูนย์การเรียนรู้เชิงเกษตร

(ต่อ)

9. สถานีแปรรูป เพื่อใช้แปรรูปผลิตภัณฑ์ใน
พื้นที่การท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ตัวอย่าง การท่องเที่ยวเชิงความรู้
ในรู ปแบบของศูนย์การเรียนรู้เชิงเกษตร

(ต่อ)

10. สถานี Cooking Class

ตัวอย่าง การท่องเที่ยวเชิงความรู้
ในรู ปแบบของศูนย์การเรียนรู้เชิงเกษตร

(ต่อ)

11.สถานีเผาถ่าน ทำน้ำส้มควันไม้

กรณีศึ กษา
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร


1.ไร่แสงอรุณ รีสอร์ทในฝัน สวรรค์ของ

คนรักธรรมชาติ

ณ หมู่บ้านผากุบ หมู่บ้านเล็
กๆ แห่งหนึ่ ง ในพื้นที่

ชนบทซึ่งทอดตัวอยู่ในพื้นที่ราบเชิงเขาเหนื อริม
ฝั่ งแม่น้ำโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่ง

เป็นพื้นที่รอยต่อชายแดน ระหว่างประเทศไทย
กับสาธารณรัฐประชาชนลาว ไร่แสงอรุณ ได้ถูก
ก่อตั้งขึ้นด้วยแนวคิดที่ชาญฉลาด ที่ต้องการผสม
ผสานการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กับรีสอร์ทเพื่อ

สุขภาพ ท่ามกลางธรรมชาติอันงดงาม



อ้างอิงจาก:https://travel.mthai.com/hotel-review/104070.html สืบค้น
เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2564

กรณีศึ กษา
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (ต่อ)


2. สวนมิ่งมงคล จุดแวะพักสีเขียว ปอด

ของเมืองสระบุรี


สวนมิ่งมงคล เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราช

สุดา สยามบรมราชกุมารี เป็นสวนสาธารณะชุมชนขนาด 22 ไร่ เป็น
แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวิถีชุมชนแบบยั่งยืน เหมาะ
เป็นจุดแวะพักชมสวนสวยสไตล์ชนบทอังกฤษ จิบกาแฟ ช้อปของดีจาก

ร้านโอท้อปชุมชนและมูลนิ ธิชัยพัฒนา
“สวนมิ่งมงคล” สร้างโดยบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน)
เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่ องในวโรกาส
เฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ให้เป็นสวน
สาธารณะต้นแบบ เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับชุมชนและผู้

เดินทาง สวนมิ่งมงคลตั้งอยู่ริมถนนมิตรภาพ เส้นทางขาเข้ามุ่งหน้ า
กรุงเทพฯ กม. ที่ 125 ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี




อ้างอิงจาก: https://travel.mthai.com/blog/123149.htmlสืบค้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน
2564

กรณีศึ กษา
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (ต่อ)


3. บ้านไร่ไออรุณ จ.ระนอง

มาระนองไม่จำเป็นต้องไปทะเล แต่อยากให้ลองมาพักฟาร์ม


สเตย์ เที่ยวเชิงเกษตรกันที่บ้านไร่ไออรุณ ที่พักท่ามกลาง

ธรรมชาติแวดล้อมไปด้วยต้นไม้ใบหญ้า และพืชพรรณนานา
ชนิ ดที่เจ้าของบ้านเพาะปลูกไว้ บ้านไร่ไออรุณแบ่งออกเป็น 2
โซน สำหรับโซนแรก คือร้านขายสินค้าทางการเกษตร และ
ร้านอาหาร โซนที่สอง คือบ้านพัก หากใครได้มาที่นี่ รับรอง

ต้องประทับใจ จนอยากกลับไปอีกครั้ง







อ้างอิงจาก:
https://www.trueplookpanya.com/blog/content/71288/-trahot-

tra- สืบค้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2564

กรณีศึ กษา
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (ต่อ)

4. Cool living Farmhouse eco &


organic living จ.นครราขสีมา

ฟาร์มสเตย์ที่จะทำให้คุณได้สั มผัสประสบการณ์ ธรรมชาติขั้น
สุด ตั้งแต่การกิน คุณจะได้ปลูกและกินผักสลัดออแกนิ คสด

ๆ การนอน ได้นอนพักในห้องปลอดเคมี ปลอดแร่ใยหิน


VOCs พร้อมเครื่องนอนจากธรรมชาติในระดับฟรีฟอร์มั

ลดีไฮด์ ได้ใช้สบู่ แชมพูที่มาจากส่วนผสมธรรมชาติ และที่
สำคัญคือการเรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน ชมโรงเพาะ

ขนาดยักษ์ ชมสวนสมุนไพร และอีกมากมาย




อ้างอิงจาก:
https://www.trueplookpanya.com/blog/content/71288/-trahot-

tra- สืบค้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2564

กรณีศึ กษา
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (ต่อ)


5.ไร่รื่นรมย์ เกษตรอินทรีย์ จังหวัด

เชียงราย

เที่ยวไร่ไม่น่ าเบื่ออย่างที่คิด ที่ไร่รื่มรมย์มีกิจกรรมรอให้ทุก
คนมาสัมผัสมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการมัดย้อมด้วยสี
ธรรมชาติ การทำไข่เค็มสมุนไพรและไข่ทรงเครื่อง เรียนรู้วิธี
การปลูกข้าวตั้งแต่การเพาะ ปลูก สี หรือจะเป็นการให้อาหาร


แพะ แกะ หากชอบกิจกรรมแน่ น ๆ และได้อยู่ท่ามกลาง
ธรรมชาติ ก็ห้ามพลาดที่นี่ เลย





อ้างอิงจาก:
https://www.trueplookpanya.com/blog/content/71288/-trahot-

tra- สืบค้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2564

จดบันทึก:

อ้างอิงสำหรับคู่มือ :

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.(2544). แผนปฏิบัติการการท่อง

เที่ยวเชิงนิ เวศแห่งชาติ.กรุงเทพฯ: กองอนุรักษ์การท่องเที่ยวแห่ง

ประเทศไทย.

กรมการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐาน

คุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร.พิมพ์ครั้งที่2. พิมพ์ที่สำนั กงาน

กิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรม

ราชูปถัมภ์.

กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาการท่อง

เที่ยวไทย. (2557). แบบประเมิน ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิง

เกษตรตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร.

จริญญา เจริญสุกใสและสุวัฒน์ จุธากรณ์.(2544). แนวคิดเกี่ยวกับ

การท่องเที่ยว.ในเอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ

อุตสาหกรรมท่องเที่ยว(หน่ วยที่1-7).(น.72).นนทบุรี.มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช

นิ ออน ศรีสมยง. (2545). การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวใน

ชนบทและทรัพยากรการท่องเที่ยว เชิงเกษตร, การจัดการ

ทรัพยากรการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,

นนทบุรี.

พยอม ธรรมบุตร.(2549). เอกสารประกอบการเรียนการสอน

เรื่องหลักการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: สถาบัน

พัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่ งแวดล้อม. มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฏฐพงษ์ ฉายแสงประทีป. (2557).รูปแบบและกระบวนการดำ

เนิ นธุรกจิการท่องเที่ยวเชิงเกษตร. วารสารวิชาการ Viridian E-

Journal. 7(3) ,310-321.

https://www.trueplookpanya.com/blog/content/71288/-

trahot-tra- สืบค้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2564

https://travel.mthai.com/blog/123149.htmlสืบค้นเมื่อวันที่ 6

เมษายน 2564

https://travel.mthai.com/hotel-review/104070.html สืบค้น

เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2564


Click to View FlipBook Version