The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

E-BOOK ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ ฯลฯ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kamollucks208, 2022-09-11 14:09:55

ไตรภูมิพระร่วง

E-BOOK ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ ฯลฯ

ไตรภูมิพระร่วง

E-BOOK วิชาภาษาไทย

เรื่อง ไตรภู
มิพระร่วง

จัดทำโดย

นาย กษิดิ ปานเขียว เลขที่ ๒
นางสาว กมลลักษณ์ เศวตธรรม เลขที่ ๒๘

นางสาว ชนัญธิดา เเก้วสุข เลขที่ ๒๙
นางสาว ณัฐริกา เวียนวัฒนชัย เลขที่ ๓๐
นางสาว ธันยธรณ์ ทองพรม เลขที่ ๓๓
นางสาว ปัณฑ์ชนิต เสลาวรรณ์ เลขที่ ๓๔

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑๘

เสนอ
คุณครูสุนันทา



คำนำ

ไตรภูมิพระร่วงหรือไตรภูมิกถาเป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ( พระยาลิไท )
ในการพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องนี้เพื่อให้ผู้ที่ได้ศึกษาเข้าใจสภาพสังคมสมัยเมื่อเริ่มตั้ง

อาณาจักรเป็นปึกแผ่นในแผ่นดินไทยเพราะการก่อตั้งเพราะการก่อตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่ในสมัย
นั้นจะต้องรวบรวมกำลังไพร่พลแผ่นดินหากประชาชนมีระเบียบวินัยรู้จักบุญคุณโทษและยึดมั่น
ในหลักคำสอนทางศาสนาก็จะสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคงและมีความสุขจึงได้รวบรวมศีล
ธรรมของไตรภูมิพระร่วงไว้ในวารสารเล่มนี้หวังว่าผู้ที่อ่านจะได้รับประโยชน์บ้างตามสมควร





คณะผู้จัดทำ

สารบัญ ข

เรื่อง หน้า

คำนำ ก

สารบัญ ๑

ความเป็นมา


ประวัติผู้เเต่ง ๓

ลักษณะคำประพันธ์ / จุดประสงค์การแต่ง ๔
๕ -๖
เนื้อเรื่อง ( แบบย่อ )

เนื้อเรื่อง ตอน มนุสสภูมิ ( แบบสรุป)

คุณค่าด้านต่าง ๆ

ความเป็นมา ๑

ไตรภูมิพระร่วง เป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อ วันพฤหัสบดี
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีระกา ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1864 (ปีเก่า) จ.ศ. 683
ม.ศ.1243 เป็นปีครองราชย์ที่ 6 โดยมีพระประสงค์ที่จะเทศนาโปรดพระมารดา และเพื่อจำเริญ
พระอภิธรรม ไตรภูมิพระร่วงเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถอย่างลึก
ซึ้ง ในด้านพุทธศาสนาของพระมหาธรรมราชาลิไทที่ทรงรวบรวมข้อความต่างๆ ในคัมภีร์
พระพุทธศาสนา นับแต่พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และปกรณ์พิเศษต่างๆ มาเรียบเรียงขึ้น
เป็นวรรณคดีโลกศาสตร์เล่มแรกที่แต่งเป็นภาษาไทยเท่าทีมีหลักฐานอยู่ในปัจจุบันนี้ ทั้งนี้

อ.สินชัย กระบวนแสง ได้วิเคราะห์เหตุผลการแ
ต่งไตรภูมิพระร่วงของพระมหาธรรมราชาลิไท

ว่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองด้วย เนื่องจากไตรภูมิเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนรก-สวรรค์ สอน
ให้คนรู้จักการทำความดีเพื่อจะได้ขึ้นสวรรค์ หากแต่ใครทำชั่วประพฤติตนผิดศีลก็จะต้องตก
นรก กล่าวคือ ประชากรในสมัยที่พระมหาธรรมราชาลิไทปกครองนั้นเริ่มมีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
ทำให้การปกครองบ้านเมืองให้สงบสุขปราศจากโจรผู้ร้ายเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น การดูแลของรัฐก็
ไม่อาจดูแลได้ทั่วถึง พระมหาธรรมราชาลิไทจึงได้คิดนิพนธ์วรรณกรรมทางศาสนาเรื่องไตรภูมิ
พระร่วงขึ้นมาเพื่อที่ต้องการสอนให้ประชาชนของพระองค์ทำความดี เพื่อจะได้ขึ้นสวรรค์มีชีวิต
ที่สุขสบาย และหากทำความชั่วก็จะต้องตกนรก ด้วยเหตุนี้วรรณกรรมเรื่องไตรภูมิจึงเป็นสิ่งที่ใช้

ควบคุมทางสังคมได้เป็นอย่างดียิ่ง เพราะสามารถเข้าถึงจิตใจทุกคนได้

ประวัติผู้เเต่ง ๒




พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ( พญาลิไท ) เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งกรุงสุโขทัย
ขึ้นครองราชย์ต่อจากพญางัวนำถม จากหลักฐานในศิลาจารึกวัดมหาธาตุพ.ศ. ๑๙๓๕ หลักฐาน
ที่ ๘ ค้นพบเมื่อพ.ศ. ๒๔๙๙ เมื่อพญาเลอไทสวรรคต ใน พ.ศ. ๑๘๘๔ พญางัวนำถมได้ขึ้นครอง
ราชย์ ต่อมาพญาลิไทยกทัพมาแย่งชิงราชณสมบัติและขึ้นของราชในพ.ศ. ๑๘๙๐ ทรงพระนาม

ว่าพระเจ้าศรีสุริยพงสรามมหาธรรมราชาธิราช ในศิลาจารึกมักจะเรียกพระนามเดิมว่า
พญาลิไท หรือเรียกย่อว่า พระมหาธรรมราชาที่ ๑ เสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. ๑๙๑๑ พญาลิไท ทรง
เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทรงอาราธนาพระเถระชาวลังกาเข้ามาเป็นสังฆราชในกรุงสุโขทัย ได้
สละราชณสมบัติออกทรงผนวชที่วัดป่ามะม่วง นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก พญาลิไททรงมี
ความรู้เเตกฉาน ในพระไตรปิฎกทรงสนพระทัยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอันมากและทรง
พัฒนาบ้านเมืองให้เจริญหลายประการ เช่น สร้างถนนพระร่วงตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัยผ่านกรุง
สุโขทัยไปถึงเมืองนครชุม ( กำแพงเพชร ) บูรณะเมืองนครชุม สร้างเมืองสองแคว ( พิษณุโลก )

เป็นเมืองลูกหลวง และสร้างพระพุทธะชินราช พระพุทธสีห์ ที่ฝีมือการช่างงดงามเป็นเยี่ยม

ลักษณะคำประพันธ์ ๓

ร้อยเเก้ว แบบเทศนาโวหาร และพรรณนาโวหาร

จุดประสงค์การเเต่ง
๑.เพื่อเทศนาโปรดพระมารดา เป็นการเจริญธรรมกตัญญู

๒.เพื่อใช้สั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรม เข้าใจพระพุทธศาสนาและ

ช่วยกันธำรงพร

ะพุทธศาสนา

เนื้อเรื่อง ( เเบบย่อ ) ๔

ไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงลักษณะการเกิดหรือปฏิสนธิของมนุษย์ สัตว์ และเทวดา และบรรยายลักษณะของแต่ละ
ภูมิอย่างละเอียด เริ่มด้วยนรกภูมิ บรรยายภาพที่น่ากลัวของนรกแต่ละขุม กล่าวถึงเหตุของการตกนรกแต่ละขุม
และความทุกข์ทรมานที่สัตว์นรกต้องได้รับ ในติรัจฉานภูมิ กล่าวถึงการเกิดและลักษณะของสัตว์ชนิดต่าง ๆ สัตว์

ที่กล่าวถึงอย่างละเอียดได้แก่ ราชสีห์ ๔ ชนิด ช้างแก้ว ๑๐ จำพวก ปลาใหญ่ ๗ ตัว ครุฑ นาค และหงส์
ในเรื่องเปรตภูมิ บรรยายรายละเอียดของลักษณะเปรตแต่ละจำพวก และในส่วนที่ว่าด้วยอสุรกายภูมิ บรรยาย
รายละเอียดเกี่ยวกับเมืองของอสูรใหญ่ ๔ เมือง ส่วนในเรื่องของมนุสสภูมิ บรรยายการปฏิสนธิและการเจริญ
เติบโตของทารกในครรภ์จนถึงเวลาคลอด บรรยายลักษณะของทวีปทั้ง ๔ คือ อุตตรกุรุทวีป อมรโคยานทวีป

พบุพญวาิเพทิมหพทิสวีาปรแแลละะพชญมพาูอทชวีาปตโดศัยตลรูะใเนอีสย่วดนกที่ลว่่าาวด้ถวึงยจฉักกรา
พมรารพดิจรราภชูมิแไลดะ้แบุก่คสควลรสรำคค์ัญ๖บชัา้นงคบนรไรด้ยแากย่ ลโัชกตษิกณเศะรขษอฐงี

สวรรค์แต่ละชั้นให้เห็นความยิ่งใหญ่ งดงามและน่ารื่นรมย์ ในส่วนที่กล่าวถึงรูปภูมิ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพรหมที่มีรูป
๑๖ ชั้น และอรูปภูมิ ที่อยู่ของพรหมที่ไม่มีรูป ๔ ชั้น ก็บรรยายลักษณะของพรหมอย่างละเอียด ในตอนท้ายของ

หนังสือผู้นิพนธ์ทรงชี้ให้เห็นว่า มนุษย์ สัตว์และเทวดาทั้งหลายตลอดจนสรรพสิ่งในภูมิทั้ง ๓ แม้กระทั่งภูเขา
แม่น้ำ พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาว ตลอดจนป่าหิมพานต์ ในที่สุดก็ต้องเสื่อมสลายไปทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดเที่ยง
แท้เลย กล่าวถึงการเกิดไฟประลัยกัลป์ และกำเนิดโลกและสรรพสิ่งขึ้นใหม่หลังจากเกิดไฟประลัยกัลป์ นอกจาก

นี้ยังกล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์



เนื้อเรื่อง ตอน มนุสสภูมิ ( เเบบสรุป )

มนุสสภูมิเป็นภูมิหนึ่งในกามภูมิ ซึ่งกล่าวถึงเนื้อหาของการกำเนิดมนุษย์เอาไว้ โดยกล่าวถึงมนุษย์
ผู้ชายหรือผู้หญิงที่ปฏิสนธิในท้องของแม่ จะเริ่มต้นโดยการเป็น “กลละ” หรือเซลล์ที่มีขนาดเล็ก
ที่สุด พอครบ ๗ วัน จะมีลักษณะเหมือนน้ำล้างเนื้อ เรียกว่า “อัมพุทะ” อีก ๗ วันถัดมาจะเป็นชิ้น
เนื้อในครรภ์มารดา หรือเรียกว่า “เปสิ” ซึ่งมีลักษณะข้นเหมือนตะกั่วเชื่อมในหม้อ และอีก ๗ วัน

ต่อมาจะแข็งเป็นก้อนเหมือนไข่ไก่ ซึ่งเรียกว่า “ฆนะ” จากนั้นจะค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นทุกวัน
หลังจากเป็นฆนะได้ ๗ วัน ก็จะเป็น “เบญจสาขาหูด” โดยคำว่าเบญจแปลว่า ๕ ดังนั้น จึงหมายถึง

หูดที่มี ๕ ตุ่ม ได้แก่ หัว ๑ ตุ่ม แขน ๒ ตุ่ม และขา
๒ ตุ่ม ต่อจากนั้นไปอีก ๗ วัน จะเริ่มมีฝ่ามือ นิ้ว

มือ และเมื่อครบ ๔๒ วันจึงมีขน มีเล็บเท้า เล็บมือ มีอวัยวะครบถ้วนทุกประการแบบมนุษย์
นอกจากนั้นในไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิยังบอกอีกว่า เด็กที่เกิดในท้องแม้นั้นมีรูปร่าง

๑๘๔ ประการ แบ่งออกเป็น
- ส่วนบน ตั้งแต่คอถึงศรีษะ มี ๘๔ รูป
- ส่วนกลาง ตั้งแต่คถึงสะดือ มี ๕๐ รูป
- ส่วนล่าง ตั้งแต่สะดือถึงปลายเท้า มี ๕๐ รูป
โดยเด็กที่อยู่ในท้องนั้นต้องได้รับความลำบากอย่างมาก ต้องทนอยู่ในที่ที่ทั้งชื้นและเหม็นพยาธิซึ่ง

อาศัยปนอยู่ในท้องแม่ ดังความว่า
“...เมื่อกุมารอยู่ในท้องแม่นั้นลำบากนักหนา พึงเกลียดพึงหน่ายพ้นประมาณนัก ก็ชื้นแลเหม็นกลิ่น

ตืดแลเอือนอันได้ ๘๐ ครอก...ฝูงตืดแลเอือนทั้งหลายนั้นคนกันอยู่ในท้องแม่…”



สำหรับอาหารที่เด็กกินนั้น ก็จะกินผ่านสายสะดือที่ส่งจากผู้เป็นแม่อีกทอดหนึ่ง โดยอาหารที่แม่กินเข้าไปก่อนจะ
อยู่ใต้ตัวเด็ก ส่วนอาหารที่แม่กินเข้าไปใหม่จะทับอยู่บนศีรษะเด็ก ทำให้เด็กได้รับความทุกข์ทรมานยิ่งนัก ตอนที่
อยู่ในท้องแม่ เด็กจะนั่งอยู่กลางท้อง ในท่าคู้คอจับเจ่า และกำมือแน่น ซึ่งในขณะที่นั่งอยู่นั้น เลือดและน้ำเหลือง
จะหยดลงเต็มตัวเด็กตลอด ไม่ได้หายใจ รวมถึงไม่ได้เหยียดมือและเท้าเลย ต้องเจ็บปวดเหมือนถูกขังไว้ในไห หรือ
ที่คับแคบ เวลาแม่เดิน นอน หรือลุกขึ้น เด็กก็จะเจ็บปวดประหนึ่งว่าจะตาย เปรียบได้กับลูกเนื้อทรายที่อยู่ในมือ

ของคนเมาเหล้า หรือลูกงูที่หมองูเอาไปเล่น ดังความว่า
“ผิแลว่าเมื่อแม่เดินไปก็ดี นอนก็ดี ฟื้นตนก็ดี กุมารในท้องแม่นั้นให้เจ็บเพียงจะตายแล ดุจดั่งลูกทรายอันพึ่งออก

แล อยู่ธรห้อย ผิบ่มิดุจดั่งคนอันเมาเหล้า ผิบ่มิดุจดั่งลูกงูอันหมองูเอาไปเล่นนั้นแล…”
หลังจากอยู่ในท้องแม่มาประมาณ ๖ เดือน หากเด็กคลอดออกมาช่วงนี้ มักจะไม่รอด แต่หาก ๗ เดือนแล้วคลอด

เตด่็ากงมกัักนจแะลอะอเกมื่มอาคไลม่อแดข็องแอรกงมานยอ่อกมจมาีลกักนี้ษยังณมีะกตา่ารงกกลั่นาดว้วด้ยว
ยเวช่่านเเดด็็กกทีท่ีม่มีทีา่มจาาตก่านงรกกันเมเื่มอื่อออยู่ยใู่นในท้ทอ้องงแแม่ม่กจ็จะะมีเลดัืกอษดณเนืะ้อที่

ร้อนใจ กระสับกระส่าย พลอยให้แม่ร้อนเนื้อร้อนตัวไปด้วย และเวลาที่คลอด ตัวเด็กก็จะร้อน ต่างจากเด็กที่มา
จากสวรรค์ เมื่ออยู่ในท้องแม่ ก็จะมีแต่ความสุขกายสบายใจ ตัวแม่ก็พลอยเย็นไปด้วย และเวลาคลอด
ตัวของเด็กจะเย็น

ต่อมาเมื่อถึงเวลาจะคลอด ก็จะเกิดลมกรรมชวาตพัดดันตัวเด็กให้ขึ้นไปด้านบน และหันหัวเด็กลงมาด้านล่าง
เตรียมที่จะคลอด ถ้าคลอดออกมาไม่พ้นจากตัวแม่ เด็กคนนั้นก็จะรู้สึกเจ็บเนื้อเจ็บตัวเป็นอย่างมาก เหมือนกับ
ช้างที่ถูกชักถูกเข็นออกจากรูกุญแจ หลังจากออกจากท้องแม่แล้ว เด็กที่มาจากนรก ก็มักจะคิดถึงความยาก
ลำบากที่เคยเจอมา พอคลอดออกมาก็จะร้องไห้ แต่ถ้าเด็กคนนั้นมาจากสวรรค์ ก็จะคิดถึงความสุขในครั้งก่อน

เมื่อคลอดออกมา จะหัวเราะก่อน
นอกจากนั้นไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ ยังกล่าวถึงเด็ก ๒ กลุ่ม คือเด็กทั่วไป และเด็กที่เป็นพระปัจเจกโพธิ

เจ้า พระอรหันตาขีณาสพ และพระอัครสาวก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
- เด็กทั่วไป จะไม่รู้สึกตัวใด ๆ ทั้งตอนมาเกิดในท้องแม่ ตอนอยู่ในท้องแม่ และตอนออกจากท้องแม่
- เด็กที่เป็นพระปัจเจกโพธิเจ้า พระอรหันตาขีณาสพ และพระอัครสาวก จะรู้สึกตัวตอนมาเกิดในท้องแม่

และตอนอยู่ในท้องแม่ แต่เมื่ออกจากท้องแม่แล้ว ก็จะลืมทุกอย่างเหมือนเด็กทั่วไป

คุณค่าด้านต่าง ๆ ๗

๑. คุณค่าด้านวรรณคดี
เป็นความเรียงที่มีสัมผัสคล้องจอง มีความเปรียบเทียบที่ให้อารมณ์และเกิดจินตภาพชัดเจน
เป็นภาพพจน์เชิงอุปมาและภาษาจินภาพ เห็นความงดงามของภาษา

๒. คุณค่าด้านศาสนา
เป็นปรัชญาทางพระพุทธศาสนา ชี้ให้เห็นแก่นแท้ของชีวิตอาจนำมนุษยชาติให้หลุดพ้นจากวัฏสงสาร



๓. คุณค่าด้านจริยธรรม

ไตรภูมิพระร่วงกำหนดกรอบแห่งความประพฤติเพื่อให้

สังคมมีความสงบสุขผู้ปกครองแผ่นดินต้องมีคุณธรรม

๔. คุณค่าด้านประเพณีและวัฒนธรรม
ความเชื่อที่ปรากฏในเรื่องไตรภูมิพระร่วงยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ประเพณีงานศพ ภาพนรกและสวรรค์

ก่อให้เกิดผลงานด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมจนถึงปัจจุบัน



๕. ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ ทำให้เห็นได้ว่าแนวคิดของวรรณกรรมเล่มนี้เป็นไปตามหลักทางด้าน
วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเกิดเป็นมนุษย์


Click to View FlipBook Version