The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เล่มคู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย 1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by กลุ่มวิจัย สสว.8, 2023-04-20 22:13:19

เล่มคู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย 1

เล่มคู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย 1

คู่มือ โดย กลุ่มการวิจัยและการพัฒนาระบบเครือข่าย สำ นักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แนวทางการจัดทำ ข้อเสนอเชิงนโยบาย จากข้อมูลเชิงพื้นที่


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 บทนำ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 ได้จัดอบรมจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเชิงพื้นที่ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมหรรษนันท์ ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ให้เจ้าหน้าที่ของ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 6 จังหวัด และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุน วิชาการ 8 ซึ่งเป็นไปตามความต้องการและการพัฒนาทักษะในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับพื้นที่ให้ สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงฯ และพันธกิจขององค์กร ผลจากการจัดอบรมดังกล่าว สามารถสรุปเป็นคู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูล เชิงพื้นที่ โดยในเนื้อหาแบ่งการนำเสนอเป็น ส่วนที่ 1 ทำความรู้จักกับ “นโยบาย” ประกอบไปด้วย 1) รูปแบบ การกำหนดนโยบาย 2) วงจรของนโยบาย (Policy Cycle) 3) การนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติ(Policy Implementation) ส่วนที่ 2 ข้อเสนอเชิงนโยบาย ประกอบไปด้วย 1) การนิยามความหมาย 2) (3 Keywords) ที่ควรพิจารณา 3) แนวทาง วิธีจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูล เชิงพื้นที่ 4) การสรุป เป็นข้อเสนอแนะ 5) รายละเอียดของเล่มรายงานข้อเสนอเชิงนโยบาย ส่วนที่ 3 สรุปและข้อเสนอแนะ ประกอบไปด้วย 1) สรุปผลการศึกษา (ข้อเสนอเชิงนโยบาย และแนวทางการดำเนินงานสั้นๆ) 2) ข้อเสนอแนะ (เพื่อต่อยอดไปเป็นโครงการพัฒนาฯ ในอนาคต) และในท้ายเล่มมีตัวอย่างการจัดทำรูปเล่มรายงาน เพื่อให้ เจ้าหน้าที่หน่วยงานพม.One Home ใช้เป็นแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิง นโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ จะเป็นประโยชน์ในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป กลุ่มการวิจัยและการพัฒนาระบบเครือข่าย สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 เมษายน 2566


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 สารบัญ ส่วนที่ 1 ทำความรู้จักกับ “นโยบาย” 1 1.1 รูปแบบการกำหนดนโยบาย 2 1.2 วงจรของนโยบาย (Policy Cycle) 3 1.3 การนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติ(Policy Implementation) 8 ส่วนที่ 2: ข้อเสนอเชิงนโยบาย 9 2.1 การนิยามความหมาย 9 2.2 (3 Keywords) ที่ควรพิจารณา 9 2.3 แนวทาง วิธีจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ 10 2.4 การสรุปเป็นข้อเสนอแนะ 12 2.5 รายละเอียดของเล่มรายงานข้อเสนอเชิงนโยบาย 13


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 1 คู่มือ: แนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ ส่วนที่ 1 ทำความรู้จักกับ “นโยบาย” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้กำหนดความหมายของนโยบายไว้ว่า นโยบาย หมายถึง หลักการและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการ และ ปทานุกรม Oxford English Dictionary ได้ให้ คำจำกัดความของนโยบายไว้ว่า นโยบาย หมายถึง ความฉลาดและการใช้ดุลยพินิจที่หลักแหลมในทาง การเมือง ศิลปะแห่งการดำเนินกิจการของบ้านเมือง การดำเนินการที่ฉลาดรอบคอบ แนวทางการดำเนินการ ของรัฐบาลพรรคการเมือง เป็นต้น (อ้างถึงใน จุมพล หนิมพานิช, 2549 : 5) นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการได้ให้ความหมายของคำว่านโยบายไว้เพิ่มเติม ดังนี้ Helco (อ้างถึงใน จุมพล หนิมพานิช, 2549 : 5) ได้กล่าวถึงความหมายของนโยบายไว้ว่า นโยบาย เป็น มากกว่าแนวทางการดำเนินการที่จงใจหรือตั้งใจ Brain W. Hogwood and Lewis A.Gunn (อ้างถึงใน จุมพล หนิมพานิช, 2549 : 6) ได้ให้คำนิยาม ของคำว่านโยบายในฐานะต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ คือ นโยบาย ในฐานะป้ายประกาศกิจกรรมของรัฐบาล ในฐานะเป้าหมายทั่วไปของกิจกรรมของรัฐที่พึงปรารถนา ในฐานนะข้อเสนอที่เฉพาะเจาะจง ในฐานะการ ตัดสินใจของรัฐบาล ในฐานะการให้อำนาจอย่างเป็นทางการ ในฐานะแผนงาน ในฐานะผลผลิต ในฐานะ ผลลัพธ์ ในฐานะทฤษฎีและตัวแบบ และสุดท้ายในฐานะกระบวนการ Friedrich (1963 : 70) กล่าวไว้ว่า นโยบาย คือ ข้อเสนอสำหรับแนวทางการดำเนินงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือรัฐบาล ภายในสภาพแวดล้อมแบบหนึ่งซึ่งจะมีทั้งอุปสรรค และโอกาสบางประการด้วย อุปสรรคและโอกาสที่มีนั้นเอง ที่ผลักดันให้มีการเสนอนโยบายขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์และเอาชนะสภาพการณ์เช่น นั้น ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่เป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดนั้นเอง Knezevich (1969 : 217) ได้ระบุไว้ว่า นโยบาย หมายถึง ข้อความทั่วไปที่อธิบายถึงวัตถุประสงค์ที่ ต้องการจะบรรลุถึงคำแถลงนโยบาย (policy statement) เป็นแนวทางในการดำเนินงาน McNichols (1977 : 3) กล่าวว่า นโยบาย หมายถึง การตัดสินใจที่มีความฉลาดและหลักแหลม กล่าวคือเป็นการกระทำที่ไตร่ตรองและลึกซึ้งของผู้บริหารระดับสูง Chang and Campo – Folres (1980 : 7) ระบุว่า นโยบาย หมายถึง กรอบพื้นฐาน (A Basic Framework) ที่เป็นตัวกำหนดปัญหาหลักของบริษัท จุดมุ่งหมาย ปณิธาน วัตถุประสงค์ทั่วไป และแนวทางชุด หนึ่ง ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานทางธุรกิจภายใต้กรอบแนวคิดรวมของบริษัท Stecklein (1989 : 8) อธิบายว่า นโยบาย หมายถึง ข้อความที่ให้แนวทาง (Guideline) สำหรับการ พัฒนาและการดำเนินงานของหน่วยงานหรือแผนงาน (Program) ซึ่งสะท้อนให้เห็นทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ถึง หลักการพื้นฐานหรือความเชื่อถือของผู้รับผิดชอบสำหรับหน่วยงานหรือแผนงาน นั้น ๆ อมร รักษาสัตย์ (2522 : 1) ได้ให้ความหมายของนโยบายไว้ว่า นโยบาย หมายถึง อุบายหรือกลเม็ดที่ ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้พิจารณาเห็นว่าเป็นทางที่จะนำไปสู่ เป้าหมายส่วนรวมในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเหมาะสม ที่สุด


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 2 ประชุม รอดประเสริฐ (2544 : 13) กล่าวว่านโยบายเป็นข้อความหรือความเข้าใจร่วมกันอย่างกว้าง ๆ ที่ใช้เป็นแนวทางการตัดสินใจเพื่อการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ของผู้บริหารและของหน่วยงาน วิจิตร ศรีสะอ้าน (2549 : 8) ได้เปรียบเทียบว่านโยบายเปรียบเสมือนเข็มทิศและหางเสือในการ เดินเรือ ที่จะพาเรือไปในทิศทางที่กำหนดไว้ได้ ดังนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดนโยบายการศึกษาให้ สอดคล้องกับการพัฒนา ประเทศและการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน เพื่อจะพาประเทศให้พัฒนาไปใน ทิศทางที่ต้องการ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า นโยบาย หมายถึง แนวทางหรือกรอบที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการดำเนินงานหรือ ปฏิบัติให้บรรลุเป้า หมายตามต้องการ 1.1 รูปแบบการกำหนดนโยบาย รูปแบบของการกำหนดนโยบาย ประกอบไปด้วย Top-Down เป็นการออกแบบการทำงาน ลักษณะการทำงาน รวมถึงเอกสาร เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ใน กระบวนการทำงานจากผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ออกแบบ และจัดทำขึ้นมา ซึ่งข้อดีของการบริหารจัดการแบบนี้ คือ กระบวนการทำงานได้จากประสบการณ์ทำงานของผู้บริหารระดับสูง มีการวางแผนป้องกันข้อผิดพลาด ล่วงหน้า แต่ข้อเสียของการบริหารจัดการแบบนี้คือ หากระหว่างการทำงานมีการเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุง กระบวนการทำงาน ให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นจะทำให้การทำงานไม่ สอดคล้องกับนโยบาย หรือกระบวนการที่กำหนดไว้ การจะปรับปรุงกระบวนการใหม่ให้สอดคล้องกับการ ทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปก็จะทำได้ช้า เพราะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้บริหารระดับสูงก่อน สามารถ


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 3 เทียบเคียงได้กับการออกแบบนโยบายแบบบนลงล่างตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 - 6 (พ.ศ.2504 - 2534) Bottom-Up เป็นการออกแบบการทำงาน ที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับ Top-Down กล่าวคือพนักงาน จะเป็นผู้เสนอ กระบวนการทำงาน เครื่องมือหรือเอกสารที่ใช้ในการทำงาน รวมถึงการ Control ต่าง ๆ ขึ้นมา ให้กับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งจะทำให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน แต่การทำงานแบบ Button-Up นั้นจะต้องมี การสื่อสารที่รวดเร็ว เม่นยำ ตลอดจนผู้บริหารจะต้องทำงานใกล้ชิดกับพนักงานเพื่อคอยปรับปรุงนโยบายการ ทำงานให้ทันสมัยอยู่เสมอ และการกระทำที่กระทบกับฝ่ายอื่นๆ ก็จะต้องมีการสื่อสารอย่างต่อเป็นระบบด้วย โดยทั่วไปองค์กร จะเริ่มการจัดวางแผนนโยบายต่าง ๆ จาก Top-Down ก่อนแล้วต่อไปก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนไปใช้แบบ Bottom-Up กล่าวคือ เริ่มต้นนโยบายและกระบวนการทำงานต่าง ๆ จากผู้ริหารระดับสูง ก่อน จากนั้นเมื่อนำไปใช้งานแล้วเกิดความไม่สอดคล้องหรือมีการ Control ที่ไม่เพียงพอ ก็เปิดโอกาสให้ ผู้ปฏิบัติงานสามารถที่จะนำเสนอแนวทางการทำงานกลับมายังผู้บริหารระดับสูง เพื่อทำการตัดสินใจและ อนุมัติการทำงานในรูปแบบใหม่ ซึ่งส่วนนี้จะเป็นการทำงานแบบ Bottom-Up ที่ถูกนำมาใช้เพื่อการ ปรับปรุง กระบวนการทำงานให้ดีขึ้นนั้นเอง 1.2 วงจรของนโยบาย ( cy Cyc e) วงจรของนโยบาย (Policy Cycle) มีกระบวนการสำคัญ คือ 1 .การก่อตัวนโยบาย (policy formation) เกิดอะไรขึ้นบ้าง 2. การกำหนดนโยบาย (policy formulation) มีแนวทางอย่างไรบ้าง 3. การตัดสินนโยบาย (policy decision) จะเลือกแนวทางใดดี 4. การนำนโยบายไปปฏิบัติ (policy implementation) จะนำแนวทางที่ได้ไปดำเนินการอย่างไร


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 4 5. การประเมินผลนโยบาย (policy evaluation) การดำเนินการตามแนวทางได้ผลหรือไม่ 1.การก่อตัวนโยบาย ( cy f r ) การศึกษาการก่อรูปนโยบายต้องเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ลักษณะสภาพของปัญหาสาธารณะให้ชัดเจน เพื่อให้มั่นใจว่า ปัญหาที่กำลังปรากฏอยู่นั้นเป็นปัญหาอะไร เกิดขึ้นกับคนกลุ่มใด และมีผลกระทบต่อสังคม อย่างไร รวมทั้งต้องการความแร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาแค่ไหน และประชาชนในสังคมต้องการให้แก้ไขปัญหา นั้นอย่างไร ถ้าไม่แก้ไขจะเกิดผลอย่างไร และถ้ารัฐบาลเข้าไปแก้ไขใครจะเป็นผู้ได้และเสียประโยชน์ ผลกระทบ ที่เกิดจากการแก้ไขตรงตามที่คาดหวังหรือไม่ ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการนำไปปฏิบัติต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง การระบุปัญหาที่ชัดเจนจะเป็นพื้นฐานในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสภาพ ปัญหา ปัญหาสาธารณะจะกลายเป็นประเด็นเชิงนโยบายหรือเข้าสู่วาระและได้รับความสนใจจากผู้กำหนด นโยบายสาธารณะ มักจะต้องมีคุณลักษณะ 1. เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเกิดขึ้นจากความรุนแรงทางการเมือง เช่น ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาภัย แล้ง 2. มีการแตกตัวและขยายวงกว้างออกไป เช่น ปัญหาของความเป็นเมือง 3. มีความกระเทือนต่อความรู้สึกและเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนทั่วไป เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหา แรงงานเด็ก 4. มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหามลภาวะ 5. มีลักษณะท้าทายต่ออำนาจและความชอบธรรมของรัฐ เช่น ปัญหาการแบ่งแยกดินแดง 6. เป็นเรื่องร่วมสมัย เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหาโรคเอดส์ cy Cyc e) ท า มต้องมีนโยบายนี้ นโยบายจะท าอะ ร แนวทางที่ดีที่สุดของ นโยบายคือแนวทาง ด แนวทางการของนโยบายที่ เลือกมานั้น ควรด าเนินการอย่าง ร การด าเนินการตามนโยบาย นั้น บรรลุ ลหรือ ม่ อย่าง ร


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 5 การกำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบาย เมื่อทราบลักษณะปัญหานโยบายที่ชัดเจนแล้ว จะต้องกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการแก้ไข ปัญหาให้ชัดเจน - การกำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบาย ทำให้ทราบถึงลำดับความสำคัญของนโยบายที่ต้องจัดทำ และ การเลือกใช้นโยบายให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ - วัตถุประสงค์ของนโยบายมีความสำคัญ ในฐานะที่เป็นปัจจัยกำหนดทิศทางของทางเลือกนโยบายที่ จะนำไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ - วัตถุประสงค์เป็นเกณฑ์ในการประเมินผลสำเร็จของนโยบาย ที่จะนำไปปฏิบัติว่าเป็นตาม วัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด คุณลักษณะของวัตถุประสงค์ของนโยบาย 1. ความครอบคลุมประเด็นปัญหานโยบาย 2. ความสอดคล้องกับค่านิยมของสังคม 3. ความชัดเจนและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ 4. ความสมเหตุสมผล 5. มีความสอดคล้องกับทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ 6. มีความสอดคล้องทางการเมือง 7. การกำหนดกรอบเวลาที่เหมาะสม 2. การกำหนดนโยบาย ( cy f r ) หากพิจารณาปัญหาเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะในกรอบการวิเคราะห์ “เชิง ระบบ” หรือ “ทฤษฎีระบบ” จะได้ปัจจัยนำเข้า ระบบ ปัจจัยนำออก ดังนี้ ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ปัญหาทั่วไป ปัญหาสังคม ประเด็นปัญหาสังคม และข้อเสนอของสังคม ใน สภาวการณ์ที่สภาการเมืองมีบทบาทสูง ปัจจัยนำเข้าอาจมาจากการที่พรรคการเมืองต่าง ๆ ได้นำเสนอนโยบาย ไว้ในการหาเสียง และในที่สุดก็กลายเป็นคำมั่น ในการที่ต้องกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ ระบบการเมือง คือ ข้อเสนอข้อรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้เสนอนบายต่างๆ มากมาย เช่น นโยบาย กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต และนโยบายจัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร ให้กับหมู่บ้านและชุมชน นำออก คือ นโยบายซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของกฎหมายต่างๆ คือ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา และ ประกาศ คำสั่งกระทรวง เป็นต้น ขณะเดียวกันก็จะมีการป้อนกลับสู่ระบบการเมือง โดยมีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคมและ การเมือง เป็นปัจจัยเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนกำหนดและเปลี่ยนแปลงนโยบาย ซึ่งมีทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้และ ควบคุมไม่ได้


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 6 3. การตัดสินนโยบาย ( cy dec s ) การเลือกนโยบาย หมายถึง การเลือกวิถีทางหรือแนวนโยบายที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งสามารถบรรลุ วัตถุประสงค์ได้ตามต้องการ อาจรวมถึงนโยบายเทคนิคและกลยุทธ์ต่างๆ ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี หลักจริยธรรมหรือคุณธรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อค่านิยมที่เป็นรากฐานสำคัญในการเลือกนโยบาย การพิจารณาทางเลือกนโยบาย - ประสิทธิผล effectiveness ความสามารถในการบรรลุเป้าหมายของทางเลือก - ประสิทธิภาพ efficiency ความสามารถในผลิตผลผลิตโดยเปรียบเทียบจากต้นทุน - ความพอเพียง adequacy ความสามารถของการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายภายใต้เงื่อนไขของ ทรัพยากรที่มีอยู่ - ความเป็นธรรม equity การกระจายตัวของผลการดำเนินการตามทางเลือก - การตอบสนอง responsiveness ความสามารถในการเติมเต็มความต้องการของประชาชนกลุ่ม ต่างๆ - ความเหมาะสม appropriateness การพิจารณาเชิงคุณค่าและความเป็นไปได้ในทางกลยุทธ์ในการ ตัดสินใจเลือกนโยบาย 4. การนำนโยบาย ปปฏิบัติ ( cy e e ) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ (1) ฝ่ายนิติบัญญัติ (2) ฝ่ายบริหารหรือระบบ ราชการ (3) กลุ่มกดดัน และ (4) องค์กรชุมชนหรือภาคประชาสังคม การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ประการอาทิ ความยากง่ายของสถานการณ์ ปัญหาที่เผชิญอยู่ โครงสร้างตัวบทของนโยบายสาธารณะ และ โครงสร้างนอกเหนือตัวบทบาทของนโยบายสาธารณะ กระบวนการที่เป็นปัญหาการนำนโยบาย ปปฏิบัติ 1. ปัญหาทางด้านสมรรถนะ: ปัจจัยบุคลากร เงินทุน เครื่องจักร วัสดุ ข้อมูลข่าวสาร เวลา (จำกัด) เทคโนโลยี (4MI2T) Man, Money, Machine, Material, Information, Time, Technology 2. ความสามารถในการควบคุม : การวัดความก้าวหน้าและผลการปฏิบัติ 3. การไม่ให้ความร่วมมือหรือต่อต้าน ทางบุคลากรในหน่วยงาน 4. การประสานงานระหว่างองค์กรรับผิดชอบกับองค์กรอื่น ๆ 5. การไม่ให้ความสนับสนุนทางผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านการเมือง เงินทุน งบประมาณ แต่กลับสร้าง อุปสรรคในแง่ลบ 5. การประเมิน ลนโยบาย ( cy ev )


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 7 เพื่อให้ทราบผลว่าการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เป็นไปตามเป้ าหมายหรือวัตถุประสงค์หรือไม่ ในกรณีที่ไม่ เป็นไปตามเป้ าหมายจะได้มีการปรับ แผน / แผนงาน / โครงการ ให้บรรลุเป้ าหมายหรือวัตถุประสงค์มากขึ้นเป็น เครื่องมือที่ช่วยให้รู้ว่า แผน / แผนงาน / โครงการ นั้นควรจะ ดำเนินการต่อไปหรือยุติจุดมุ่งหมายของการประเมินผล โครงการมักจะมีคำถามอยู่ตลอดเวลาว่า ประเมินผลเพื่ออะไร หรือ ประเมินผลไปทำไม ปฏิบัติงานตามโครงการแล้วไม่มีการ ประเมินผลไม่ได้หรือ ตอบได้เลยว่าการบริหารแนวใหม่หรือ การบริหารในระบบเปิด (open System) นั้นถือว่าการ ประเมินผลเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากซึ่งจุดมุ่งหมายของการ ประเมินผลโครงการมีดังนี้ 1. เพื่อสนับสนุนหรือยกเลิก การประเมินผลจะเป็น เครื่องมือช่วยตัดสินใจว่าควรจะยกเลิกโครงการหรือสนับสนุน ให้มีการขยายผลต่อไป โดยเฉพาะการมีโครงการใหม่ ๆ ยัง มิได้จัดทำในรูปของโครงการทดลองซึ่งมีโอกาสจะผิดพลาดหรือล้มเหลวได้ง่าย ความล้มเหลวของโครงการจึง มิใช่ความล้มเหลวของผู้บริหารเสมอไปดังนั้นถ้าเราประเมินผลแล้วโครงการนั้นสำเร็จตามที่กำหนด วัตถุประสงค์และเป้ าหมายไว้ก็ควรดำเนินการต่อไป แต่ถ้าประเมินผลแล้วโครงการนั้นมีปัญหาหรือมี ผลกระทบเชิงลบมากกว่า เราก็ควรยกเลิกไป 2. เพื่อทราบถึงความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานตามโครงการ ว่าเป็นไปตามที่กำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย หรือกฎเกณฑ์ หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้เพียงใดกลุ่มนโยบายสาธารณะ 3. เพื่อปรับปรุงงาน ถ้าเรานำโครงการไปปฏิบัติแล้ว พบว่าบางโครงการไม่ได้เสียทั้งหมด แต่ก็ไม่บรรลุ วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ทุกข้อ เราควรนำโครงการนั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น โดยพิจารณาว่าโครงการนั้น บกพร่องในเรื่องใด เช่น ขาดความร่วมมือของประชาชน ขัดต่อค่านิยมของประชาชน ขาดการประชาสัมพันธ์ หรือสมรรถนะขององค์การที่รับผิดชอบต่ำ เมื่อเราทราบผลของการประเมินผล เราก็จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ตรง ประเด็น 4. เพื่อศึกษาทางเลือก โดยปกติในการนำโครงการไปปฏิบัตินั้น ผู้บริหารโครงการจะพยายามแสวงหา ทางเลือกที่ดีที่สุด จากทางเลือกอย่างน้อย 2 ทางเลือก ดังนั้นการประเมินผลจะเป็นการเปรียบเทียบทางเลือก ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกทางเลือกใดปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงให้น้อยลง 5. เพื่อขยายผล ในการนำโครงการไปปฏิบัติ ถ้าเราไม่มีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เรา อาจจะไม่ทราบถึงความสำเร็จของโครงการ แต่ถ้าเราประเมินผลโครงการเป็นระยะ สม่ำเสมอ ผลปรากฏว่า โครงการนั้นบรรลุผลสำเร็จตามที่กำหนดวัตถุประสงค์ เราก็ควรจะขยายผลโครงการนั้นต่อไป แต่การขยายผล


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 8 นั้นมิได้หมายความว่าจะขยายไปได้ทุกพื้นที่ การขยายผลต้องคำนึงถึงมิติของประชากร เวลา สถานที่ สถานการณ์ 1.3 การนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติ( cy I e e ) การนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการนโยบายสาธารณะ ความหมายของการนำ นโยบายไปปฏิบัติหมายถึง การนำการตัดสินใจนโยบายที่ได้กระทำไว้ไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จและเป็นการ ร่วมกันทำงานภายใต้กฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือคำสั่งของฝ่ายบริหาร หรือคำ พิพากษาของศาลสูงสุด หรือศาลฎีกา ซึ่งตามอุดมคติแล้วการตัดสินใจนโยบาย คือ การบ่งชี้ปัญหา การกำหนด วัตถุประสงค์ และการกำหนดโครงสร้างกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งกระบวนการกำหนดนโยบายไป ปฏิบัติประกอบด้วยขั้นตอนหลายขั้นตอน เริ่มด้วยการกำหนดกฎพื้นฐานสำหรับการปฏิบัติการคาดหมาย ผลลัพธ์จากการนำนโยบายไปปฏิบัติ การยินยอมปฏิบัติตามของกลุ่มเป้าหมาย การพิจารณาผลกระทบจาก ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งที่เจตนาและไม่ได้เจตนาผลกระทบจากการตัดสินใจของหน่วยปฏิบัติ และการปรับปรุง กฎระเบียบพื้นฐานที่ใช้ในการนำนโยบายไปปฏิบัติให้เหมาะสม การบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติประกอบด้วย ขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ 1. การพิจารณาผลลัพธ์ของนโยบายของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ โดยมุ่งให้เกิดผลลัพธ์ที่พึง ปรารถนาตามวัตถุประสงค์ของนโยบายที่กำหนดไว้ 2. การยินยอมปฏิบัติตามของกลุ่มเป้าหมายต่อการตัดสินใจนโยบายของผู้กำหนดนโยบาย หาก นโยบายใดที่กลุ่มเป้าหมายไม่ยินยอมปฏิบัติ จะก่อให้เกิดอุปสรรคสำคัญต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบ ผลสำเร็จ 3. พิจารณาจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของหน่วยปฏิบัติ เพื่อจำแนกว่าผลกระทบที่ เกิดขึ้นเป็นผลกระทบในทางบวกหรือทางลบ ถ้าเกิดผลในทางลบก็จะได้ปรับปรุงแก้ไขต่อไป 4. พิจารณาผลกระทบจากการรับรู้ของผู้ตัดสินนโยบาย ซึ่งผู้ตัดสินใจนโยบายจะประเมินได้ว่าเป็น ผลกระทบที่พึงปรารถนาหรือไม่ 5. การประเมินกระบวนการทางการเมืองที่มีบทบาทในการบัญญัติกฎหมายเพื่อพิจารณาปรับปรุง กฎหมายให้มีความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 9 ส่วนที่ 2: ข้อเสนอเชิงนโยบาย การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย มีข้อพิจารณาใน 6 ประเด็น ประกอบไปด้วย 1) การนิยามความหมาย 2) 3 คำสำคัญ (3 Keywords) ที่ใช้ประกอบในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ (1) ข้อมูลเชิงพื้นที่ (2) เชิง นโยบาย และ (3) ข้อเสนอ 3) แนวทาง วิธีจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ และการวิเคราะห์ ความสอดคล้อง (Method of agreement) 4) การสรุปเป็นข้อเสนอแนะ และ 5) รายละเอียดของเล่มรายงาน ข้อเสนอเชิงนโยบาย 2.1 การนิยามความหมาย การนิยามความหมายในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย สามารถสรุปนิยามความหมายเพื่อสร้างความ เข้าใจในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ได้ ใน 3 ประการ คือ 1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเป็นถ้อยคำที่เขียนขึ้นเกี่ยวกับนโยบายหรือปัญหาที่ต้องการแก้ไข/หรือ พัฒนา ในรูปแบบของรายงาน 2) ซึ่งรายงานฉบับนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมอำนาจในการตัดสินใจกับผู้ที่มีอำนาจในส่วน อื่นๆ ได้พิจารณาแนวนโยบายที่ได้รับการเสนอ 3) วัตถุประสงค์หลัก เพื่อจัดทำนโยบาย ปรับปรุงนโยบาย หรือ ยกเลิกการใช้นโยบายนั้นๆ รวมถึง การดำเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปในอนาคต 2.2 (3 Key rds) ที่ควรพิจารณา นการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย 3 2 1


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 10 3 คำสำคัญ (3 Keywords) ที่ใช้ประกอบในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ (1) ข้อมูลเชิงพื้นที่ (2) เชิงนโยบาย และ (3) ข้อเสนอ เป็นสิ่งที่ผู้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายควรคำนึงถึงเพื่อทำให้ข้อเสนอที่จัดทำ ขึ้นสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติได้จริง โดนมีข้อพิจารณา และแหล่งข้อมูลที่จะนำมาอ้างอิงในการจัดทำ ข้อเสนอเชิงนโยบายดังภาพ 2.3 แนวทาง วิธีจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ แนวทาง วิธีจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ เป็นการนำผลที่เกิดจากการดำเนินงานเชิง พื้นที่ ปัญหา อุปสรรค ที่เกิดจากการดำเนินงานตามนโยบาย ทั้งนี้อาจพิจารณาค้นหาจากผลงานวิจัย รายงาน สถานการณ์ทางสังคม รวมถึงผลการนิเทศติดตามประเมินผลโครงการ เพื่อนำสู่การวิเคราะห์สภาพปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ สู่การจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในแต่ละประเด็นที่เรากำหนด ดังภาพ การเชื่อมโยงข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยใช้วิธีการทบทวนนโยบายกระทรวงฯ พันธกิจขององค์กร รวมถึง การติดตามประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ความสอดคล้อง (Method of agreement) เพื่อสร้างความเป็นรูปธรรมสู่การปฏิบัติของข้อเสนอเชิงนโยบายที่จัดทำขึ้น ในที่นี้อาจพิจารณา ได้จากองค์ประกอบ 1) ยุทธศาสตร์ชาติ 2) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) 3) นโยบายของรัฐบาล 4) ทิศทางยุทธศาสตร์ พม. 4 ยุทธศาสตร์พุ่งเป้า 5) 10 นโยบายพุ่งเป้า พม. 6) ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด/ จังหวัด และ 7) กลไกการบูรณการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ดังภาพ 1 ประเด นปัญหา อุปสรรค นพื้นที่ที่เป็นความจ าเป็นเร่งด่วน กลุ่มเป าหมาย พม. ที่ต้องการ แก้ปัญหา พั นา ข้อเสนอแนะจากประชาชน และ จากการด าเนินงาน ข้อเสนอแนะจากข้อมูลทุติย ูมิ


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 11 แนวทางการวิเคราะห์ความสอดคล้อง (Method of agreement) สามารถวิเคราะห์ได้ใน 2 ส่วนประกอบกัน คือ 1) การวิเคราะห์/สังเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรค และ 2) การวิเคราะห์/สังเคราะห์ ข้อเสนอแนะ โดยจัดเก็บข้อมูลจาก 1) ผลจากการดำเนินงานตามนโยบายที่ผ่านมา 2) เสียงสะท้อนจาก ประชาชน และ 3) การนิเทศ/ติดตามประเมินผล โดยมีอ้างอิงจาก 1) ผลงานวิจัย และ 2) รายงานสถานการณ์ ทางสังคม/แนวโน้มและผลกระทบ ดังตาราง การวิเคราะห์/สังเคราะห์ ส าพปัญหาและอุปสรรค การวิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อเสนอแนะ ปฐม ูมิ ทุติย ูมิ ปฐม ูมิ ทุติย ูมิ ลจากการดำเนินงานตาม นโยบายที่ ่านมา (1) ลงานวิจัย (2) รายงานสถานการณ์ ทางสังคม/แนวโน้มและ ลกระทบ (1) เสียงสะท้อนจาก ประชาชน (2) การนิเทศ/ติดตาม ประเมิน ล (1) ลงานวิจัย (2) รายงานสถานการณ์ ทางสังคม/แนวโน้มและ ลกระทบ


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 12 ตัวอย่างการจัดทำตารางวิเคราะห์ความสอดคล้อง (Method of agreement) อาจพิจารณาใช้ตาราง นี้ในการวิเคราะห์ ที่ ประเด น ปัญหา ที่พบ ยุทธศาสตร์ ชาติ แ นพั นาฯ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566- 2570) นโยบาย ของรัฐบาล ทิศทาง ยุทธศาสตร์ พม. 4 ยุทธศาสตร์ พุ่งเป า 10 นโยบาย พุ่งเป า พม. ยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัด/ จังหวัด กล ก การบูรณการ หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง นพื้นที่ 1 เรื่องใด ข้อไหน ประเด็นใด หมุดหมายใด ข้อไหน ประเด็นใด ข้อไหน ประเด็น ใด นโยบายใด ประเด็นใด ยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัด/ จังหวัดข้อใด ประเด็นใด ภาคีเครือข่าย คือหน่วยงาน/ องค์กรใด 2.4 การสรุปเป็นข้อเสนอแนะ แนวทางการจัดทำข้อเสนอแนะ มีข้อพิจารณาในประเด็นที่ข้อเสนอนั้นจะนำไปสู่การแก้ปัญหา/ อุปสรรค หรือเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานตามนโยบายหลักได้อย่างไร โดยมีแหล่งข้อมูลในการอ้างอิงจาก การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลได้จากพื้นที่ เพื่อเสนอเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหา หรืออุปสรรค รวมถึง การเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานตามนโยบายหลัก ทั้งนี้มีแนวทางสำคัญในการจัดทำข้อเสนอ คือ การอ้างอิง ตามหลักวิชาการ (รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมจะนิยมเขียนในรูปแบบ APA หรือ (American Psychological Association)) ดังภาพ ข้อควรพิจารณา จะแก้ปัญหา อุปสรรค หรือเพิ่มศักย าพ น การด าเนินงานตามนโยบายหลัก ด้อย่าง ร แหล่งข้อมูล การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลที่ ด้จาก พื้นที่ เพื่อเสนอเป็นแนวทางการแก้ปัญหา อุปสรรค หรือเพิ่มศักย าพ นการ ด าเนินงานตามนโยบายหลัก 3 การอ้างอิง ตามหลักวิชาการ การประมวล ล และน าเสนอ ลการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิง พื้นที่ 1) เล่มรายงานข้อเสนอ เชิงนโยบาย บนพื้น ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่) 2) โครงการที่ต้องการท า การทดลองปฏิบัติ นพื้นที่ )


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 13 ทั้งนี้ การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่มาจากข้อมูลเชิงพื้นที่ และอ้างอิงเชื่อมโยงกับนโยบาย กระทรวงฯ พันธกิจขององค์กร รวมถึงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยอาศัยหลักการ วิเคราะห์ความสอดคล้อง (Method of agreement) เพื่อสร้างความเป็นรูปธรรมสู่การปฏิบัติของข้อเสนอเชิง นโยบายที่จัดทำขึ้น และมีการอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ควรต้องสรุปเป็นรูปเล่มรายงานข้อเสนอเชิง นโยบาย ซึ่งอาจประกอบไปด้วย 1) ส่วนของบทนำ 2) ส่วนของวิธีการศึกษา และข้อเสนอเชิงนโยบาย และ 3) ส่วนสรุปและข้อเสนอแนะ ทั้งนี้อาจวิเคราะห์และจัดทำข้อเสนอในส่วนของโครงการที่ต้องนำไปสู่การ ทดลองปฏิบัติในพื้นที่ เพื่อเป็นการทดสอบและนำผลจากข้อเสนอเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติ และพัฒนาเป็น ข้อเสนอเชิงนโยบายที่มาจากการทดลองปฏิบัติในพื้นที่ ซึ่งในที่นี้อาจเรียกว่าพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) หรือชื่ออื่นๆ แล้วแต่กรณี 2.5 รายละเอียดของเล่มรายงานข้อเสนอเชิงนโยบาย ส่วนประกอบของเล่มรายงานข้อเสนอเชิงนโยบาย อาจประกอบไปด้วย ส่วนที่ 1: บทนำ 1.1 ที่มา และความสำคัญของปัญหา 1.2 วัตถุประสงค์ 1.3 กลุ่มเป้าหมาย 1.4 วิธีดำเนินการ 1.5 ผลที่คาดว่าจะได้รับ (การอ้างอิงตามหลักวิชาการถึงสถานการณ์จากผลงานวิจัย/ เล่มรายงาน/ และความสอดคล้องในเชิงนโยบาย) ส่วนที่ 2: วิธีการศึกษา และข้อเสนอเชิงนโยบาย 2.1 วิธีการศึกษา 2.2 การวิเคราะห์/ สังเคราะห์ประเด็นปัญหา เล่มรายงานข้อเสนอเชิงนโยบาย บนพื้นฐานข้อมูลเชิงพื้นที่) ชื่อเรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบาย นประเด น...) ของ จังหวัด......)) ส่วนที่ 1: บทน า ส่วนที่ 2: วิธีการศึกษา และข้อเสนอ เชิงนโยบาย ส่วนที่ 3: สรุปและข้อเสนอแนะ โครงการที่ต้องการท า การทดลองปฏิบัติ นพื้นที่) รายละเอียดของการเขียนโครงการ โดยประเด นที่น ามาเขียนเป็นโครงการนั้น ต้องสอดคล้องกับเล่มรายงานข้อเสนอ เชิงนโยบาย


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 14 2.3 การวิเคราะห์/ สังเคราะห์ประเด็นความสอดคล้องเชิงนโยบาย 2.4 การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย 2.5 ผลการศึกษา (ข้อเสนอเชิงนโยบาย) ส่วนที่ 3: สรุปและข้อเสนอแนะ 3.1 สรุปผลการศึกษา (ข้อเสนอเชิงนโยบาย และแนวทางการดำเนินงานสั้นๆ) 3.2 ข้อเสนอแนะ (เพื่อต่อยอดไปเป็นโครงการพัฒนาฯ ในอนาคต) สรุป องค์ประกอบข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ ควรประกอบไปด้วย 1) ประเด็นสภาพ ปัญหาและอุปสรรคของพื้นที่ (Problem identification) 2) วัตถุประสงค์ (Policy objectives) 3) วิธีการ ดำเนินการ (Policy means) 4) กลไกของนโยบาย (Policy mechanism) และ 5) โครงการ/กิจกรรม (Area based project/activities) ดังภาพ ประเด นส าพปัญหาและ อุปสรรคของพื้นที่ r e de c ) วัตถุประสงค์ cy ec ves) วิธีด าเนินการ cy e s) กล กของนโยบาย cy ec s ) โครงการ กิจกรรม re sed r ec c v es) การวิเคราะห์ประเด น ปัญหา อุปสรรค r e ys s) การวิเคราะห์ ความจ าเป็นเร่งด่วน r r y se ys s) การวิเคราะห์ ู้มีส่วน ด้ส่วนเสีย e der ys s) การสังเคราะห์ข้อมูล ข้อเสนอแนะ ese rc sy es s)


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 15 (ตัวอย่าง) รายงาน “ข้อเสนอเชิงนโยบาย นประเด นสวัสดิการสังคมตามกลุ่มเป าหมาย” กลุ่มจังหวัด/ าคเหนือ โดย สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 16 ส่วนที่ 1 บทนำ 1.1 ที่มา และความสำคัญของปัญหา 1.2 วัตถุประสงค์ 1.3 กลุ่มเป าหมาย 1.4 วิธีดำเนินการ 1.5 ลที่คาดว่าจะ ด้รับ


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 17 ส่วนที่ 2 วิธีการศึกษา และข้อเสนอเชิงนโยบาย 2.1 วิธีการศึกษา รายงานฉบับนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mix methods)......................................................... ............................................................................................................................................................................. 2.2 การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ประเด นปัญหา (การสังเคราะห์งานวิจัย สสว.1-11) (ตัวอย่าง) ตารางการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ประเด นปัญหา ที่ หมวดหมู่ ประเด นปัญหา ที่พบ ข้อเสนอแนะ ที่พบ รายงานวิจัย อื่นๆ 1 เด็กและเยาวชน ข้อเสนอเชิงนโยบาย ด้านสังคมในระดับ พื้นที่ 2 สตรีและครอบครัว 3 ผู้สูงอายุ 4 ค้ามนุษย์ 5 ชาติพันธุ์ 6 กลุ่มเปราะบางทางสังคม 7 กลุ่มอาเซียน 8 กลไกทางสังคมและ สวัสดิการสังคม


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 18 2.3 การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ประเด นปัญหา (สถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจังหวัด/ าค) (ตัวอย่าง) ตารางการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ประเด นปัญหา ที่ หมวดหมู่ ประเด นปัญหา ที่พบ ข้อเสนอแนะ ที่พบ รายงานวิจัย อื่นๆ 1 กลุ่มเด็ก ข้อเสนอเชิงนโยบาย ด้านสังคมในระดับ พื้นที่ 2 กลุ่มเยาวชน 3 กลุ่มสตรี 4 กลุ่มครอบครัว 5 กลุ่มผู้สูงอายุ 6 กลุ่มคนพิการ 7 กลุ่มผู้ด้อยโอกาส


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงน สำนักงานส่งเสริ 2.4 การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ประเด นความสอดคล้องเชิงนโยบาย (ตัวอย่าง) ตารางการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ประเด นความสอดคล้องเชิงนโยบ ที่ ประเด นปัญหา ที่พบ ยุทธศาสตร์ชาติ แ นพั นาฯ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 -2570) นโยบา ของรัฐบ 1 คืออะไร ข้อไหน ประเด็นใด หมุดหมายที่ ข้อไหน ประ


นโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ ริมและสนับสนุนวิชาการ 8 19 บาย าย บาล ทิศทางยุทธศาสตร์ พม.4 ยุทธศาสตร์ พุ่งเป า 10 นโยบาย พุ่งเป า พม. ยุทธศาสตร์กลุ่ม จังหวัด/ จังหวัด กล ก การบูรณการ หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง นพื้นที่ ะเด็นใด ข้อไหน ประเด็นใด นโยบายใด ประเด็นใด ยุทธศาสตร์กลุ่ม จังหวัด/ จังหวัดข้อใด ประเด็น ใด ภาคีเครือข่ายคือ หน่วยงาน/องค์กรใด


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 20 2.5 การวิเคราะห์กลุ่มเป าหมาย (จากเวทีสมัชชาสวัสดิการสังคม าคเหนือ) จากประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า กลุ่มเป้าหมายที่สำคัญของข้อเสนอเชิงนโยบาย ตาม รายงานฉบับนี้ จึงอยู่ที่ ……. (ตัวอย่าง) ตารางการวิเคราะห์สวัสดิการสังคมตามกลุ่มเป าหมายตามกลุ่มเป าหมาย ที่ กลุ่มเป าหมาย ประเด นปัญหาที่พบ (สวัสดิการสังคมตามกลุ่มเป าหมาย) ข้อเสนอจากเวที (สวัสดิการสังคมตามกลุ่ม เป าหมาย) กล ก การบูรณการหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง นพื้นที่ 1 กลุ่มเด็ก ภาคีเครือข่ายคือ หน่วยงาน/องค์กรใด 2 กลุ่มเยาชน 3 กลุ่มแรงงาน 4 กลุ่มผู้สูงอายุ 5 กลุ่มคนพิการ 6 อื่นๆ


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงน สำนักงานส่งเสริ 2.6 ลการศึกษา (ข้อเสนอเชิงนโยบาย) จากการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ประเด็นปัญหา ร่วมกับการวิเคราะห กลุ่มเป้าหมาย สามารถสรุปประเด็นข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อ......... ได้ดังนี้ (ตัวอย่าง) ตารางสรุปประเด นข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่ กลุ่มเป าหมาย ประเด นปัญหา/ ข้อเสนอแนะ ที่พบ ความสอดคล้อง เชิงนโยบาย 1 กลุ่มเด็ก 2 กลุ่มเยาชน 3 กลุ่มแรงงาน 4 กลุ่มผู้สูงอายุ 5 กลุ่มคนพิการ


นโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ ริมและสนับสนุนวิชาการ 8 21 ห์ และการสังเคราะห์ประเด็นความสอดคล้องเชิงนโยบาย ตลอดจนการวิเคราะห์ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ กล กการบูรณการหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง นพื้นที่


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 22 ส่วนที่ 3 สรุปและข้อเสนอแนะ 3.1 สรุป ลการศึกษา (ข้อเสนอเชิงนโยบาย/ความเชื่อมโยงกับกรม นสังกัดกระทรวง พม. และแนวทางการ ดำเนินงาน) 3.2 ข้อเสนอแนะ (เพื่อต่อยอด ปเป็นโครงการพั นาฯ นอนาคต) 3.3 ข้อเสนอแนะ (การนำข้อเสนอเชิงนโยบาย ปทดลองปฏิบัติ นพื้นที่)


คู่มือแนวทางการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากข้อมูลเชิงพื้นที่ สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 คณะผู้จัดทำ ที่ปรึกษา นางสาวเรืองลักษณ์ ทิพย์ทอง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 คณะผู้จัดทำ นายนครินทร์ เข็มทอง นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ นางสาวชนกพร พรมภา พนักงานบริการ เรียบเรียง นายนครินทร์ เข็มทอง นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ


สำ นักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 8 tpso-8@m-society.go.th 94 หมู่ที่ 5 ต.ผาเลือด อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ 53190 0-5540-6009 0-5540-6132 http://tpso-8@m-society.go.th Facebook : สสว.แปด


Click to View FlipBook Version