สมยั อยธุ ยา
คำนำ
E-Book เล่มนี้มีเน้ือหาเก่ียวกับสมยั อยธุ ยา ซงึ่ มีรายละเอียดประกอบดว้ ย ประวัตคิ วามเป็นมา ความสำคญั ทาง
ประวัตศิ าสตร์ ลกั ษณะทางกายภาพของเมืองโบราณกรงุ ศรอี ยุธยา การปกครองสมยั อยุธยา เศรษฐกิจและการค้า
ความสัมพนั ธ์กับตา่ งประเทศ ประวตั ิการดำเนนิ งานอนุรักษ์เมอื งพระนครศรีอยุธยา รวมถงึ ข้อมูลอน่ื ๆเพิ่มเติมอกี
มากมาย โดยรวบรวมข้อมลู มาเพื่อให้ผทู้ ส่ี นใจได้ศกึ ษาและเรยี นรูเ้ พมิ่ เตมิ ผจู้ ัดทำหวังเป็นอยา่ งยงิ่ วา่ ผูอ้ ่านจะไดร้ ับ
ประโยชนไ์ มม่ ากก็น้อย หากมีขอ้ ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้
ปฏิพร เกตุแกว้
ผจู้ ดั ทา
สารบญั หน้า
เรอ่ื ง
1
ประวัติท่ีมาและความสำคญั 2
ลักษณะทางกายภาพของเมืองโบราณกรุงศรีอยธุ ยา 3
การปกครองสมยั อยธุ ยา 4
เศรษฐกิจและการค้า 5
ความสัมพันธก์ ับต่างประเทศ 6-7
ประวัตกิ ารดำเนินงานอนรุ ักษเ์ มืองพระนครศรีอยุธยา 8
บรรณานกุ รม
ประวตั ิทม่ี าและความสาคญั ทางประวตั ศิ าสตร์
กรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย บริเวณที่แมน่ ้ำสำคัญ 3 สายไหลมาบรรจบกัน คือ
แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำป่าสัก ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ ต่อการเกษตรกรรมอันเป็นพื้นฐานของ
การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เป็นชุมทางคมนาคมท่ีเอื้ออำนวยต่อการค้าทัง้ ภายในและภายนอก จนทำให้เมืองอยธุ ยา
เตบิ โตเปน็ ศนู ย์กลางทางเศรษฐกิจ และการค้าทสี่ ำคญั ในภมู ภิ าคเอเชียในชว่ ง พทุ ธศตวรรษที่ 20 - 23พ้นื ทบ่ี ริเวณ
เมืองอยุธยาไดป้ รากฏร่องรอยการอยู่อาศยั มาก่อนการสถาปนากรงุ ศรีอยธุ ยา โดยมีหลักฐานในพระราชพงศาวดาร
ที่กล่าวถึงการสร้างพระเจ้าพแนงเชิงเมื่อ พุทธศักราช 1867 เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่ ที่แสดงให้เห็นว่า
ขณะนั้นชุมชนบริเวณนี้มีขนาดใหญ่ มีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง จึงมีทั้งกำลังคนและกำลังทรัพย์ในการสร้าง
พระพุทธรูปขนาดใหญข่ ึ้นได้จนกระทั่งสมเดจ็ พระรามาธบิ ดที ี่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรอี ยุธยาข้นึ
เป็นศูนย์กลางทางการเมืองการปกครองเมื่อ พุทธศักราช 1893 โดยรวบรวมกลุ่มเมืองที่มีความสัมพันธ์ทางด้าน
เครือญาติเข้าด้วยกัน อาทิ เมืองลพบุรี เมืองสุพรรณบุรี เป็นต้น ต่อจากนั้นกรุงศรีอยุธยาได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นโดย
ลำดบั มกี ารขยายดนิ แดนออกไปอย่างกว้างขวาง สืบต่อมาถงึ 417 ปี มพี ระมหากษัตรยิ ์ปกครองแผ่นดินสืบต่อกัน
มา 34 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนที่กรุงศรี
อยุธยา จะสิ้นสุดลงใน พุทธศักราช 2310 ทำให้ศูนย์กลางของประเทศไทยต้องย้ายลงมากรุงธนบุรีและ
กรุงเทพมหานครตราบจนถึงทุกวันน้ีอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึง
วันที่ 7 เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถงึ 417 ปี มีประวัติในการปกครอง การกอบกู้เอกราช วีรกรรมและดา้ น
ขนบธรรมเนียมประเพณมี ากมาย เปน็ เมอื งท่ีอุดมสมบูรณ์ดว้ ยพชื พันธ์ธญั ญาหารดังคำกลา่ ววา่ " ในน้ำมปี ลา ในนา
มีข้าว " ทั่วทั้งจังหวัดพระนครศรีอยธุ ยายังมากมายไปด้วยวัดวาอาราม ปราสาทราชวังและปูชนยี สถานปชู นยี วัตถุ
มากมายกรุงศรีอยุธยามีพระมหากษัตริย์ปกครองอาณาจักรสืบต่อกันมา 33 พระองค์ มีราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนกัน
ครองอาณาจักรรวม 5 ราชวงศ์
1.ราชวงศ์อู่ทอง 3 พระองค์
2. ราชวงศ์สพุ รรณภมู ิ 13 พระองค์
3.ราชวงศส์ ุโขทยั 7 พระองค์
4.ราชวงศ์ปราสาททอง 4 พระองค์
5. ราชวงศบ์ ้านพลูหลวง 6 พระองค
ลกั ษณะทางกายภาพของเมืองโบราณกรุงศรีอยุธยา
ศูนยก์ ลางของกรุงศรีอยุธยา คือ สว่ นทเ่ี ปน็ เกาะเมือง มีแมน่ ำ้ ลอ้ มรอบ 3 สาย ตัวเกาะมีกำแพงเมืองล้อมรอบ
อีกชั้นหนึ่ง เมอื่ แรกสร้างเมอื งในสมัยพระเจ้าอทู่ องน้นั กำแพงเมืองทำด้วยดิน มาเป็นกำแพงอฐิ สมยั สมเดจ็ พระมหา
จกั รพรรดิ กำแพงเมืองมีความยาวโดยรอบประมาณ 12.5 กโิ ลเมตร หนา 5 เมตร สูง 6 เมตร มีป้อมปืนประจำอยู่
โดยรอบ จำนวน 16 ป้อม มีประตุเมือง 18 ประตู ประตูช่องกุด 16 ประตู ประตูน้ำ 20 ประตู รวมทั้งสิ้น 99
ประตูอยุธยาถูกออกแบบให้เป็นเมืองน้ำ ผังเมืองที่สมบูรณ์และสวยงามเกิดจากความรู้จากธรรมชาติอย่างลึกซ่ึง
เพราะแม่น้ำหลัก 3 สาย นอกจากจะนำความอุดมสมบูรณ์มาสู่เมืองอยุธยาแล้ว เมื่อถึงฤดูฝน ปริมาณน้ำจะมีมาก
และไหลหลากลงมามากเกินความจำเป็น ดังนั้นการสร้างเมืองของชาวอยุธยาจึงได้รักษาแม่น้ำลำคลองของเดิม
เอาไว้ และมีการขุดคูคลองเพิ่มเติมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวเหนือใต้ ให้เป็นแนวตรง เชื่อมต่อกับแม่น้ำลำคลอง
เดิม ทำให้กระแสน้ำระบายออกไปจากตัวเมืองได้สะดวกรวดเร็ว ทำให้เมืองอยุธยา มีแม่น้ำลำคลองจำนวนมาก
เป็นเครือข่ายโยงใยกัน ทั้งนอกเมืองและในเมือง และแนวคลองต่างๆก็แบ่งพื้นที่ให้เป็นลักษณะเกาะ ขนาดเล็ก
จำนวนมาก สำหรับเป็นเขตวัด เขตวัง และที่อยู่อาศัยนอกจากนี้ยังมีแนวถนนที่ขนานไปกับแนวคูคลอง มักสร้าง
เป็นถนนดิน ถนนอิฐ โดยมีสะพานจำนวนมากสร้างข้ามคลอง มีทั้งสะพานไม้ สะพานอิฐ สะพานก่อด้วยศิลาแลง
สะพานสายโซ่ สะพานยก รวมทั้งสิ้นกวา่ 30 สะพาน นอกตัวเมืองเป็นที่ต่ำกว่าใช้เป็นพื้นที่สำหรบั เกษตรกรรม มี
แม่น้ำลำคลองนำน้ำเข้าไปหล่อเลี้ยงอย่างทั่วถึง สองฝ่ังน้ำเหล่านั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาวอยุธยาซึ่งจะปลูกสร้าง
บ้านเรอื นเปน็ กลมุ่ ๆ สลับไปกับวดั วาอาราม
การปกครองสมัยอยธุ ยา
กรงุ ศรีอยธุ ยาปกครองรปู แบบที่มีกษตั รยิ ์ทรงเปน็ พระประมขุ ที่มีอำนาจสูงสดุ ในการปกครองแผน่ ดนิ พระองค์
ทรงมอบหมายให้พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางปกครองดูแลเมืองลูกหลวงหลานหลวง และเมืองหน้าด่านต่าง
พระเนตรพระกรรณ ส่วนเมืองประเทศราชมีเจ้านายในราชวงศ์เก่าปกครอง ขึ้นตรงต่อกรุงศรอี ยุธยาเมอื งราชธานี
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปฏิรูปการปกครอง ลดทอนอำนาจหัวเมือง ทรงแยกการบริหารราชการแผ่นดิน
ออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายทหาร มีสมุหพระกลาโหมเป็นผู้รบั ผิดชอบ ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ใน
ฝา่ ยพลเรอื นนัน้ ยงั แบ่งออกเป็น 4 กรม หรอื จตุสดมภ์ คอื สีเ่ สาหลัก ได้แก่ กรมเวยี งหรอื นครบาลทำหน้าที่ปกครอง
ดแู ลบ้านเมอื ง กรมวังหรือธรรมาธิกรณ์ ทำหนา้ ทด่ี แู ลกจิ การทเี่ กี่ยวเน่ืองกับงานต่างๆ ในพระราชวงั และราชสำนัก
กรมคลังหรือโกษาธิบดี ทำหน้าที่ดูแลด้านการค้า และการต่างประเทศกรมนา หรือเกษตราธิการ ทำหน้าที่ดูแล
เรื่องเกษตรกรรม ซึ่งรูปแบบการปกครองนี้ใช้สืบต่อมาตลอดสมัยอยุธยา สังคมอยุธยามีการแบ่งเป็นชนชั้นต่างๆ
แยกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ชนช้ันสูงหรือมูลนาย ประกอบด้วยพระมหากษัตริย์ ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในฐานะ
พระประมขุ ระดับรองลงมาคือ พระบรมวงศานวุ งศ์ เจ้าเมอื งและขนุ นาง ซ่ึงเปน็ ผทู้ อ่ี ย่รู ะหว่างพระมหากษัตริย์กับ
ราษฎรสามญั ชนทำหนา้ ที่ควบคุมชนชัน้ ใตป้ กครอง นน่ั กค็ ือ ไพรแ่ ละทาส
ไพร่ คอื พลเมืองสามญั เปน็ คนส่วนใหญข่ องสังคม ซึง่ กฎหมายกำหนด ให้ไพร่ต้องสงั กัดมลู นาย เปน็ ระบบควบคุม
กำลังคน ของทางราชการ ไพร่ถูกเกณฑ์แรงงานไปทำราชการให้หลวงปีละ 6 เดือน แต่หากไพร่คนใดที่ไม่ตอ้ งการ
จะถกู เกณฑแ์ รงงาน จะตอ้ งจา่ ยเงินหรือส่ิงของเพื่อทดแทนแรงงาน เรียกว่าส่วย แรง งานไพร่ จะไม่มีเงินเดือนเป็น
ค่าตอบ แทน แต่ส่งิ ทไ่ี พร่จะได้รับคอื การปกปอ้ งคุม้ ครองจากมลู นายที่ตนสังกัด
ทาส คือ แรงงานของมูลนายตลอดชีวิต อันเนื่องมาจากเหตุผลทาง ด้านสงครามด้านเศรษฐกิจ การสืบสายเลือด
ทาสน้นั จะถกู เล้ียงดูโดยมลู นายไปตลอดชีวิต
เศรษฐกจิ และการค้า
อาชีพหลักของชาวอยุธยาคือ เกษตรกรรม มีข้าวเป็นผลิตผลที่สำคัญสามารถผลิตได้มากเพียงพอสำหรับ
พลเมืองของประเทศและยังเป็นสินค้าสำคัญอย่างหนึ่งที่อยุธย าส่งไปขายตลาดต่างชาติเนื่องจากเป็นศูนย์กลาง
การค้าขายที่สำคัญของโลก ดังนั้นอยุธยาจึงมีรายได้จากการค้าทั้งจากการส่งสำเภาไปค้าขายกับต่างประเทศและ
จากการเป็นพ่อค้าคนกลางโดยราชสำนักตัง้ พระคลงั สนิ คา้ ขึน้ มาผูกขาดสินค้าสำคัญบางประเภทซึ่งพ่อค้าต่างชาติ
จะต้องซื้อขายกับราชสำนักเท่านั้นการค้าขายต่างประเทศ อยู่ภายใต้กรมคลังมีออกญาศรีธรรมราชเป็นผู้
ควบคมุ ดแู ล ในระยะแรกนนั้ มีการแบ่งออกเปน็ 2 ฝ่าย คือกรมท่าขวา สงั กดั ออกพระจุฬาราชมนตรีขุนนางแขกซึ่ง
จะดูแลการค้ากับโลกตะวันตก กับกรมท่าซ้ายสังกัดพระยาโชฎึกราชเศรษฐี ขุนนางจีนซึ่งจะดูแลการค้าฝ่าย
ตะวันออก ต่อมาในสมยั อยุธยาตอนปลาย เมอื่ มชี าวยุโรปเขา้ มาติดต่อค้าขายมากขึ้นจงึ เกิดมีกรมทา่ กลางขึ้นมาอีก
กรมหน่ึงมีขนุ นางฝร่ังดูแลพระมหากษัตริย์และขุนนางมีสำเภาค้าขายกับต่างประเทศ สว่ นมากมชี าวจีนรับจ้างเป็น
นายเรือและลูกเรือ สินค้าส่งออกของอยุธยาคือผลิตผลทางการเกษตรเครื่องสังคโลก และผลิตผลจากป่า เช่น
งาช้าง หนงั สตั ว์ ไม้ เครือ่ งเทศ และแรธ่ าตุต่างๆ เปน็ ตน้ รายได้หลักของราชสำนักอีกสว่ นหน่ึงมากจากบรรณาการ
สว่ ยและภาษีอากรโดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ภาษีการค้าขายกบั ตา่ งประเทศ ด้านการคา้ ภายในยา่ นการค้าและตลาดใหญ่
น้อยตั้งอยู่ทั้งในเมืองและนอกเมือง ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางและเปลี่ยนสินค้าส่วนตลาดในกรุงศรีอยุธยามี 2
ประเภท คือ ตลาดน้ำขนาดใหญ่มีอยู่ 4 แห่ง และตลาดบกอีกราว 72 แห่ง อยู่นอกเมือง 32 แห่ง อยู่ในเมือง 40
แห่ง ยา่ นการค้าและตลาดเหลา่ นี้มีทั้งตลาดขายของสดเช้าเยน็ ตลาดขายสงิ่ จำเป็นต่อการดำรงชวี ิต (ของชำ) และ
สนิ คา้ ทเ่ี ปน็ เอกลกั ษณข์ องยา่ นไมเ่ หมือนกับท่ีอนื่
ความสมั พนั ธ์กบั ตา่ งประเทศ
อยธุ ยามีการติดต่อสมั พันธ์กับต่างชาติท้ังประเทศเอเชยี และประเทศตะวนั ตก ความสัมพนั ธร์ ะหวา่ งอยุธยากับ
ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ พมา่ มอญ เขมร ลาว ญวน และมลายู ส่วนมากเกีย่ วกับทางสงั คม วฒั นธรรม เศรษฐกิจ
และการค้า ในฐานะบา้ นพี่เมืองน้อง เครอื ญาติ หรือในฐานะเมืองประเทศราช ซึ่งบางครัง้ ก็ต้องทำสงคราม เพ่ือชิง
ความเป็นใหญ่เหนือแผ่นดินของกันและกันความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคเอเชียอื่นๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย
เปอร์เซยี มกั จะเก่ยี วขอ้ งสัมพันธก์ ันในด้านวัฒนธรรมการคา้ ขาย โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งชาวจีนและเปอร์เซีย ได้เข้ามา
รับราชการในกรมคลังดูแลเรื่องการค้าขายกับต่างประเทศ ให้ราชสำนักอยุธยา ในงานศิลปกรรมสมัยอยุธยาก็มี
อิทธิพลของศิลปะจีน อินเดีย และเปอร์เซีย ปรากฏอยู่สำหรับประเทศตะวันตกนั้นอยุธยาติดต่อ กับชาวโปรตุเกส
เป็นชาตแิ รกในรัชกาลสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ราวกลางพทุ ธศตวรรษที่ 21 หลังจากนนั้ กม็ ีชาวตะวันตกชาติ
อื่นตามเข้ามา ได้แก่ สเปน ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส เป็นต้น การเข้ามาสู่กรุงศรีอยุธยา จุดมุ่งหมายเพื่อใน
การคา้ ขาย และการเผยแพร่คริสต์ศาสนา เป็นสำคัญ พระมหากษัตรยิ ์อยุธยาทรงระมดั ระวังในการดำเนินนโยบาย
ทางด้านการต่างประเทศ พระองค์ทรงผูกมิตรกับทุกชาติ ที่เข้ามาติดต่อเพื่อให้มีการคานอำนาจซึ่งกันและกัน
นอกจากผลดีด้านเศรษฐกิจแล้ว การติดต่อกับประเทศตะวันตก ทำให้อยุธยาได้เรียนรู้วิทยาการและเทคโนโลยี
สมัยใหม่ เช่น ทางด้านการทหาร การสร้างป้อมและกำแพงเมืองอย่างยุโรป การใช้ปืนในการทำสงคราม ความรู้
ทางด้านวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ การประปาและการจัดสวน เป็นต้น โดยชาวตะวันตกบางกลุ่มได้เข้ามารับ
ราชการรับใช้ราชสำนักเป็นทหารอาสา เป็นทหารรับจ้าง เป็นราชองครักษ์และเป็นวิศวกรพระมหากษัตริย์ทรง
อนุญาตและมอบที่ดิน ให้ชาวต่างชาติตั้งหมู่บ้าน ตั้งสถานีการค้า และสร้างศาสนสถานเพื่อประกอบพิธีกรรมได้
อยา่ งอสิ ระ หม่บู ้านของชาวต่างชาติสว่ นมากต้งั อยู่นอกเมอื ง มีเฉพาะชาวจีน ชาวฮินดู และแขกเพยี งบางกลมุ่ ซ่ึงมี
ความสำคัญใกลช้ ดิ กับราชสำนกั มาแตเ่ ดมิ เทา่ นั้นทก่ี ำหนดให้สรา้ งบ้านเรือนอยู่ภายในเมือง
ประวตั กิ ารดำเนินงานอนุรักษเ์ มืองพระนครศรีอยุธยา
ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงประกาศอิสรภาพแล้ว ทรงย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่ที่กรุง
ธนบุรี แลว้ โปรดให้อพยพชาวอยุธยาไปเป็นกำลังสำคัญอยทู่ ่ีกรุงธนบุรี เม่ือสมเด็จพระพทุ ธยอดฟ้าจฬุ าโลกมหาราช
เสด็จขน้ึ ครองราชย์เปน็ ปฐมกษัตรยิ แ์ ห่งราชวงศ์จักรี ทรงสถาปนากรงุ รัตนโกสนิ ทร์ขน้ึ ในปี พุทธศักราช 2325 ได้มี
การรื้ออิฐจากกำแพงเมืองและอาคารศาสนสถานจากกรุงศรีอยุธยาเพื่อนำไปใช้ในการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ให้
ม่นั คงจนถงึ รัชสมยั พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยหู่ วั ทรงมพี ระบรมราโชบายที่จะรื้อฟื้นเมืองอยุธยา จงึ โปรด
ให้มีการอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถานต่างๆ ในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ทรงสร้างพระราชวังจันทร
เกษมไว้เป็นที่ประทับ เป็นต้น ถึงแม้การดำเนินงานดังกล่าวจะยังไม่แล้วเสร็จในรัชสมัยของพระองค์ ก็นับว่าเป็น
การรเิ ริ่มกลับมาใหค้ วามสำคัญแกก่ รุงศรอี ยธุ ยาอีกครัง้ ต่อมาในปี พุทธศักราช 2451 ในรชั สมยั ของพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยู่หัว ทรงโปรดให้ให้สงวนทีด่ ินเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาไว้เป็นสาธรณสมบตั ขิ องแผ่นดิน
ห้ามเอกชนถือครอง ทรงมอบให้พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาล ผู้ว่าการมณฑลกรุง
เกา่ ขณะน้นั ดำเนนิ การสำรวจขดุ แตง่ โบราณสถานเมืองอยุธยา และปรับปรุงสภาพภายในพระราชวังโบราณ นับว่า
เป็นจุดเริ่มต้นที่จะอนุรักษ์พระนครศรีอยุธยาไว้ในฐานะที่เป็นหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์เป็นครั้ง
แรกพุทธศักราช 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลภายใต้การนำของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้
สนับสนุนให้มีการตราพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและที่ดินร้างภายใน
กำแพงเมืองให้กระทรวงการคลังถือครองพุทธศักราช 2478 กรมศิลปากรในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้เริ่ม
ประกาศข้ึนทะเบียนโบราณสถานที่สำคัญในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาเป็นโบราณสถานของชาติ จำนวน 69
แห่ง พุทธศักราช 2481 กระทรวงการคลังโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาให้เอกชนเข้าใช้พื้นที่
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงเมืองร้างให้เป็นศูนย์กลางด้านการค้าและการปกครองพุทธศักราช 2499
รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา
หลายแห่ง เช่น วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วิหารพระมงคลบพิตร และภูเขาทอง เป็นต้น แต่
พุทธศักราช 2500 การดำเนินการหยุดชะงักไป เน่ืองจากเกิดเหตุการณ์ไม่สงบ และกระทรวงวัฒนธรรมถูกสั่งยุบ
พุทธศักราช 2510 คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการสำรวจ ขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานในเกาะเมือง
พระนครศรีอยุธยาและบริเวณใกล้เคียงโดยให้สำนักผังเมืองในสังกัดกระทรวงมหาดไทย กรมศิลปากร และ
เทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยา ร่วมกันรับผิดชอบดำเนินการพุทธศักราช 2511 กรมศิลปากรได้รับจัดสรร
งบประมาณ จำนวน 1,000,000 บาท สำหรับดำเนินการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานที่สำคัญตามโครงการ
พัฒนาเกาะเมืองพุทธศักราช 2519 กรมศิลปากรได้ประกาศเขตพื้นที่ภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา จำนวน
1,810 ไร่ เป็นโบราณสถาน โดยประกาศในราชกจิ จานุเบกษา เมือ่ วันที่ 27 กรกฎาคม พทุ ธศักราช 2519
พุทธศักราช 2525 กรมศิลปากรได้จัดตั้งโครงการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาขึ้นมาดูแลและบริหาร
จดั การโบราณสถานท่ปี ระกาศขึน้ ทะเบยี นไว้ 1,810 ไร่
พุทธศักราช 2530 เริ่มดำเนินการโครงการจัดทำแผนแม่บทโครงการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์
พระนครศรีอยธุ ยา และบรเิ วณใกล้เคยี ง
พุทธศักราช 2534 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO มีมติ ณ กรุงคาร์เทจ
ประเทศตูนิเซีย ให้ขึ้นทะเบียนนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาไว้ในบัญชีมรดกโลก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม
พุทธศกั ราช 2534 ดว้ ยการตระหนกั ถึงความสำคัญและความย่งิ ใหญ่ของกรงุ ศรีอยุธยา
พุทธศักราช 2536 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการตามแผนแม่บท โครงการอนุรักษ์และนครประวัติศาสตร์
พระนครศรอี ยธุ ยา เม่ือวนั ท่ี 23 มีนาคม พทุ ธศักราช 2536
พุทธศักราช 2540 กรมศิลปากรประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานพระนครศรีอยุธยาในเกาะเมืองเพ่ิมเติมอีก
3,000 ไร่ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 114 ตอนที่ 62 หน้าที่ 40 ลงวันที่ 21 มกราคม พุทธศักราช
2540 ทำใหพ้ ้ืนท่ีเกาะเมอื งพระนครศรอี ยธุ ยา 4,810 ไร่ เปน็ เขตโบราณสถาน
พุทธศักราช 2537-2544 กรมศิลปากรดำเนินโครงการต่างๆ ตามแผนแม่บทฯ โดยได้รับงบประมาณจากรัฐบาล
และภาคเอกชนสนบั สนนุ เปน็ จำนวนเงิน 862.73 ลา้ นบาท
พุทธศักราช 2548 - ปัจจุบัน ภายหลังจากที่แผนแม่บทได้สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการแล้ว กรมศิลปากรได้ยึด
แนวทางตามกรอบแผนแม่บทฉบับเดิมในการดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
อย่างตอ่ เน่ืองและดำเนินการจดั ทำแผนแมบ่ ทฉบับใหม่เพ่ือการประกาศใชต้ ่อไป
บรรณานกุ รม
http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/ayutthaya/index.php/th/about-us.html?fbclid=IwAR3e-
ZiFRrtJdjBJPQy0Bq7BFZSx03kEvHw0Wcs-1zCKIVH1663vQo8SVtg
https://ayutthaya.go.th/showatg.php?selatg=14&fbclid=IwAR1gET6CL6y7bfwOClvM5jZ6KGacPHyd
44xYA8XdSWWYjBWYohcQYNtpEyc
http://www.satit.up.ac.th/BBC07/AroundTheWorld/hist/23.htm?fbclid=IwAR0aQxpDYIBkNqNInngx
TrTkKmgqpNuAf3l86Pubr_Hh5DFBUM_0VwbCNMc