The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

HS413602 หัวข้อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Supalak Sriwong, 2022-07-26 02:45:11

การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ (HS413602)

HS413602 หัวข้อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

การอนุรักษ์
ทรัพยากรป่าไม้

HS413602 การบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ปั ญ ห า ท รั พ ย า ก ร ป่ า ไ ม้

ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ายิ่งต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นฐานการ
พัฒนาประเทศในทุกด้านและป่าไม้ถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อมวลมนุษย์ทั้งประโยชน์
ทางตรงและประโยชน์ทางอ้อม ซึ่งหากมีการทำลายทรัพยากรป่าไม้ก็ย่อมจะเกิดผลกระทบทั้ง
ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะ
ต้องอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เอาไว้ให้เกิดประโยชน์ ยืนยาวสืบไป

ภาพรวมสถานการณ์ทรัพยากรป่าไม้

จากการแปลภาพถ่ายดาวเทียม พื้นที่ป่าไม้ประเทศไทยปี 2559 โดยกรมป่าไม้ พบว่าปัจจุบันมีพื้นที่ป่าไม้ ร้อยละ 31.58
ของพื้นที่ประเทศไทย หรือเท่ากับ 102.17 ล้านไร่ คิดเป็น 163,479.69 ตารางกิโลเมตร ลดลงจากปี 2558 ร้อยละ 0.02 หรือ
ประมาณ 65,500 ไร่ และจากสถิติพื้นที่ป่าไม้ประเทศไทยจากปี 2557-2559 ที่ผ่านมา พื้นที่ป่าลดลงร้อยละ 0.02 ทุกปี
และในปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2561 – 2562 จำนวน 102,484,072.71ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 31.68 ของ
ประเทศ ซึ่งลดลงจากปี พ.ศ. 2560 – 2561 จำนวน 4,229.48 ไร่ หากย้อนไปดูสถานการณ์ป่าไม้ของประเทศไทยในช่วง
มากกว่า 30 ปีที่ผ่านมาคงปฏิเสธไม่ได้ว่า พื้นที่ป่าไม้ของประเทศอยู่ในสถานการณ์วิกฤตและมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงโครงการต่าง ๆ ที่คุกคามผืนป่าและสัตว์ป่าก็ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทรัพยากรป่าไม้จึงถือว่าเป็น
อีกปัญหาหนึ่งที่ควรเร่งแก้ไขในเร็ววันนั่นเอง

วิเคราะห์สาเหตุวิกฤติการณ์

ป่าไม้ประเทศไทย

1. การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า


การตัดไม้ทำลายป่านั้นถือเป็นสาเหตุหลักๆที่ก่อให้
เกิดปัญหาทรัพยากรป่าไม้ในปัจจุบัน ซึ่งมีตัวการคือ
นายทุนพ่อค้าไม้ ซึ่งทำการรุกล้ำและลักลอบตัดไม้
เพื่อผลประโยชน์ การลักลอบตัดไม้มีมากขึ้นเรื่อยๆ
ตามอัตราเพิ่มขึ้นของประชากร กล่าวคือประชากร

มากขึ้น ความต้องการใช้ไม้ก็มีมากขึ้นเท่ากัน

2. การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อครอบครองที่ดิน

การตัดไม้ทำลายป่าจะมีอัตราที่เพิ่มมากขึ้นตาม
อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร นอกเหนือจากความ
ต้องการไม้เพื่อใช้ดำรงชีวิตแล้ว ก็ยังมีความต้องการ
ตัดไม้เพื่อครอบครองที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย

และที่ดินทำกินด้วยเช่นกัน

3. การส่งเสริมการปลูกพืช
หรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก

เนื่องจากการทำอุตสาหกรรมการส่งออกพืชหรือสัตว์อาจ
เป็นการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ในพื้นที่ป่าบางแห่งนั้น

ไม่เหมาะสมกับการที่จะนำมาใช้ในการทำการเกษตร
ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาการทำลาย

และลดประสิทธิภาพของพื้นที่ป่าไม้ได้

วิเคราะห์สาเหตุวิกฤติการณ์

ป่าไม้ประเทศไทย

4. การกำหนดแนวเขต
5. การสร้าง
พื้นที่ป่ากระทำไม่ชัดเจน สาธารณูปโภคของรัฐ
หรือไม่กระทำเลยในหลาย ๆ พื้นที่




ทำให้เกิดปัญหาความสับสนแก่ราษฎร การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ เช่น
ผู้ทำการเกษตรทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม
เนื่องจากการกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่าไม่ชัดเจน กล่าวคือ การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำ
ซึ่งเป็นการรุกล้ำที่ดินป่าไม้และจะนำมาสู่ปัญหา
จะทำให้พื้นที่เก็บน้ำหน้าเขื่อนที่อุดมสมบูรณ์
การขาดแคลนทรัพยากรป่าไม้ในที่สุด ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์ ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กหรือ

ส่วนต้นไม้ที่ย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย




6. ไฟไหม้ป่า 7. การทำเหมืองแร่
หรือโรงงานอุตสาหกรรม



ไฟไหม้ป่ามักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง ด้วยอากาศที่แห้ง
และร้อนจัด ทั้งโดยธรรมชาติและจากการกระทำ

ของมนุษย์ที่อาจลักลอบเผาป่าหรือการเข้าไปในพื้นที่ป่า
แล้วได้จุดไฟทิ้งไว้โดยเฉพาะในป่าไม้ จึงนำมาซึ่งการเกิด
ไฟไหม้ป่าที่ยากเกินควบคุม ด้วยเหตุนี้จะทำให้หน้าดินได้รับ

ผลกระทบจากความเสียหายของป่าไม้เช่นเดียวกัน





กล่าวคือ แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่มีความจำเป็น
ที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อนจึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง

เส้นทางขนย้ายแร่ในบางครั้งมนุษย์ต้องทำลาย
ป่าไม้ลงเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างถนนในการ
ใช้เป็นเส้นทางขนย้าย อีกทั้งการระเบิดหน้าดิน
เพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ธาตุก็ส่งผลถึงการทำลายป่าเช่นเดียวกัน

การอนุรักษ์
ทรัพยากรป่าไม้

เนื่องจากปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงมากมายที่เกิดขึ้น ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ ที่มีความเป็นพลวัตร
สูง ทุกสิ่งล้วนส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตของป่าในประเทศไทยเป็นอย่างมาก จึงได้มีการจัด
ทำแนวทาง และวิธีต่าง ๆ เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ป่าไทย ดังนี้

1. มีการใช้รูปแบบตัวอย่างชุมชนที่ประสบผลสำเร็จมาเป็นต้นแบบในการ
อนุรักษ์ เช่นการดูตัวอย่างจากป่าดงวังอ้อ ที่มีการกำหนดขอบเขตการดำเนิน

งานที่ชัดเจน จัดทำกิจกรรมสร้างความขับเคลื่อนอยู่เสมอ

2. การจัดตั้งคณะกรรมการบริหารชุมชนให้ชัดเจนเพื่อคอยดูแลความเรียบร้อยของ
กิจกรรมในชุมชน กำหนดผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อจะสามารถดูแลงบประมาณ

หรือรูปแบบกิจกรรม

การอาศัยแนวคิด “การจัดการป่าโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน” คือการที่ช่วยให้ชุมชนมี

3. ทัศนะว่า ป่านั้นคือทรัพย์สินส่วนกลาง ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้จาก

ป่านี้ ดังนั้นเพื่อจะให้ผืนป่ายังคงสภาพอยู่ ทุกคนในชุมชนจึงต้องทำตามข้อตกลง
หรือข้อกำหนดที่ออกร่วมกันเพื่ออนุรักษ์ป่านั้น

การจัดทำการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นแนวคิดในการปรับป่าให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

4. เชิงอนุรักษ์ของชุมชนป่าดงใหญ่วังอ้อ จังหวัดอุบลราชธานี ให้ผู้คนได้มีโอกาสเข้า

มาเพื่อที่จะได้พักผ่อน เรียนรู้ถึงความสำคัญของป่า ช่วยกันอนุรักษ์พัฒนาป่าร่วม

กับคนในชุมชน และเผยแพร่กิจกรรมให้กับคนภายนอก ทั้งยังเป็นการช่วยพัฒนา
สร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยเป็นการให้ชาวบ้านนำสินค้าท้องถิ่นมาจำหน่าย เช่น
พืชผักผลไม้ตามฤดูกาล ผักปลอดสารพิษ และผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน

5. สร้างจิตสํานึกให้กับชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์
ทรัพยากรป่าไม้ โดยการปลูกป่าทดแทนซึ่งจะเป็นผลช่วยป้องกันไฟป่าด้วย เพราะ

ไฟป่าจะเกิดง่ายเมื่อขาดความชุ่มชื้นและยังทำให้ป่ามีความงอกงามตลอดปี

การอนุรักษ์
ทรัพยากรป่าไม้

6. การจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบมีการแบ่งงานป้องกันรักษาป่าที่ชัดเจนและ
สร้างเครือข่ายกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานในท้องที่เข้ามาร่วม

ปฏิบัติงาน และจัดตั้งเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อทำให้เกิดการมีส่วนร่วม

ระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่

การป้องกันไฟป่า โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนคนในพื้นที่จะต้องทำสวนทำไร่ และ

7. เผาป่า ควรจะต้องมีการช่วยกัน รณรงค์ ไม่ให้มีการเผ่าป่าไม้ การเผาป่ายังส่ง

ผลกระทบมากมาย เช่น สภาพพื้นดิน มลพิษทางอากาศ เป็นต้น

8. ขอความร่วมมือประชาชนไม่จุดไฟเผาขยะ ควบคุมการเผาโดยการฝังกลบขยะ

การใช้มาตรการด้านกฎหมาย เช่น การจำกัดเขตการใช้พื้นที่ การออกกฎควบคุม

9. หรือ อนุญาตในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การกำหนดนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เพื่อให้ผู้คนในพื้นที่ได้รักษาทรัพยากรป่าไม้ให้

10. อยู่กับธรรมชาติตลอดไป โดยมีพื้นที่ทั่วประเทศอย่างน้อยในอัตราร้อยละ 40 ของ

พื้นที่ประเทศ จะต้องมีแนวทางจัดการและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

การอนุรักษ์
ทรัพยากรป่าไม้

11. การปลูกป่าในเมือง เป็นการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ซึ่งสามารถนำมาทดแทน
ป่าไม้ที่ถูกทำลายลงไปได้ ช่วยให้ป่าไม้ในเมืองมีมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะพื้นที่

สำคัญ

การป้องกันอนุรักษ์ไม่ให้มนุษย์บุกรุกทำลายป่าไม้ เพื่อนำคนที่ทำผิดสำหรับการ

12. ทำลายป่าไม้มาลงโทษ โดยการทำป้ายเตือน เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องเอาจริงเอาจัง

เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี เจ้าหน้าไม่ควรทำผิดเสียเอง ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา

การใช้วัสดุต่าง ๆ มาทดแทนไม้ คือ หนทางหนึ่งที่สามารถช่วยให้ป่าไม้ใน

13. ประเทศไทยมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันสามารถทำบ้านด้วยเหล็กและปูน ซึ่งมี

ความแข็งแรงมากกว่าเสียอีก แต่สำหรับบางคนยังบุกรุกในเขตอนุรักษ์ป่าไม้อยู่จึง

ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะต้นไม้กว่าจะเติบโตมาต้องใช้เวลาที่นานพอสมควร จึง

ควรช่วยกันสร้างบ้านเรือนหรือสิ่งก่อสร้างด้วยปูนเหล็กจะดีกว่า

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1 . ก ร ม ป่ า ไ ม้

1.1 พันธกิจ
: เพิ่มพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ สนับสนุนการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และฟื้ นฟูพื้นที่ป่าไม้
ให้อุดมสมบูรณ์ ตอบสนองความต้องการทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่ง
แวดล้อม

1.2 อำนาจหน้าที่
: ควบคุม กำกับ ดูแล ป้องกันการบุกรุก การทำลายป่า และการกระทำผิดใน
พื้นที่รับผิดชอบตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ
กฎหมายว่าด้วยสวนป่า

2. กรมอุ ทยานแห่งชาติ สัตว์ ป่า และพันธุ์พืช

2.1 พันธกิจ
: อนุรักษ์ คุ้มครองและฟื้ นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ส่งเสริมการใช้
ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน

2.2 บทบาทภารกิจ
: มีภารกิจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม และฟื้ นฟูทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืช ในเขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ โดยการควบคุม ป้องกัน พื้นที่ป่า
อนุรักษ์เดิมที่มีอยู่ และพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้กลับสมบูรณ์ เพื่อเป็นการรักษา
สมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม

3. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง

3.1 ภารกิจหลัก
: เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดพื้นที่ป่าชายเลนอนุรักษ์
พื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง และพื้นที่ที่จะใช้มาตรการใน
การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ งเพื่อประโยชน์ในการสงวน อนุรักษ์ และฟื้ นฟู
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง ตลอดจนแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ ง

ตัวอย่างกฎหมาย พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ
เกี่ยวกับการ พ.ศ.๒๕๐๗
หมวด 1 การกำหนดป่าสงวนแห่งชาติ

อนุรักษ์ป่าไม้ ตัวอย่าง มาตรา 6 บรรดาป่าที่เป็นป่าสงวน
อยู่แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง
พระราชบัญญัติป่าไม้ และสงวนป่าก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
พุทธศักราช ๒๔๘๔ ให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้
เมื่อรัฐมนตรี เห็นสมควรกำหนดป่าอื่นใดเป็น
ตัวอย่าง มาตรา 11 ผู้ใดทำไม้ หรือเจาะ หรือสับ หรือเผา ป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อรักษาสภาพป่าไม้ ของป่า
หรือทำอันตราย ด้วยประการใดๆ แก่ไม้หวงห้ามต้องได้รับ หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น ให้กระทำได้โดยออก
อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือได้รับสัมปทานตาม กฎกระทรวงซึ่งต้องมีแผนที่แสดงแนวเขตป่าที่
ความในพระราชบัญญัตินี้ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดใน กำหนดเป็นป่าสงวนแห่งชาตินั้นแนบท้าย
กฎกระทรวงหรือในการอนุญาตฯ กฎกระทรวงด้วย

พระราชบัญญัติอุทยาน พระราชบัญญัติสวนป่า
แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ พ.ศ.๒๕๓๕

ตัวอย่าง มาตรา 7 การขยายหรือการเพิกถอนอุทยาน ตัวอย่าง มาตรา 10 ในการทำไม้ที่ได้มาจากการ
แห่งชาติไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้กระทำโดย ทำสวนป่า ผู้ทำสวนป่าอาจตัดหรือโค่นไม้ แปรรูปไม้
พระราชกฤษฎีกาและในกรณีที่มิใช่เป็นการเพิกถอน ค้าไม้ มีไม้ไว้ในครอบครอง และนำไม้เคลื่อนที่
อุทยานแห่งชาติทั้งหมด ให้มีแผนที่แสดงเขตที่ ผ่านด่านป่าไม้ได้ แต่การตั้งโรงงานแปรรูปไม้
เปลี่ยนแปลงไปแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้





รายชื่อสมาชิก

นางสาวมิ่งกมล ไชยทองศรี 633080425-9
นางสาวเนตรนิภา ปิ๊ บกระโทก 633080662-5
นางสาวอติกานต์ ธรรมิกสกุล 633080666-7
นางสาวธนัสนันท์ วรพงศาทิตย์ 633080411-0
นางสาวพัชรพร ณ หนองคาย 633080419-4
นางสาวณัฐณิชา ดีนวลพะเนา 633080408-9
นางสาวกันตาวีร์ พัฒนวิบูลย์ 633080401-3
นายธนบดี มายอด 633080657-8
นางสาวศุภลักษณ์ ศรีวงษ์ 633080431-4
นางสาวภัสราภรณ์ เสียงไพรพันธ์ 633080423-3
นางสาวภัทรมน วงศ์เพลินจิต 633080422-5
นายชัยธวัช รามมะเริง 633080679-8

นักศึกษาสาขารัฐประศาสนศาสตร์ ชั้นปีที่ 3


Click to View FlipBook Version