The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โดย กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาอาชีพประมง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Napasorn (Lukpla), 2022-11-18 09:40:37

โครงการธนาคารปูม้ายั่งยืน โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

โดย กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาอาชีพประมง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

โครงการธนาคารปูม้ายั่งยืน
















































หน่วยสาธิตการเลี้ยงสัตว์น้ำภายในอ่าวคุ้งกระเบน

ความเป็นมาของโครงการธนาคารปูม้ายั่งยืน












ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยกลุ่มขยายผล กลุ่มงานส่งเสริม


พัฒนาอาชีพประมงได้ดำเนินกิจกรรม “ธนาคารปูม้า” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 เริ่มจากการใช้กระชังเป็นพื้นที่พักรอ


ให้แม่ปูม้าเขี่ยไข่เอง กระทั่งมีการปรับรูปแบบระบบจนเหมาะสม และได้รับความร่วมมือระหว่างศูนย์ศึกษาการ


พัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ กับทางบริษัท แพ๊คฟู้ด จำกัด (มหาชน) ระบบเพาะฟักไข่ปู แบบ Circulation And



Separation Hatching Technique (CASHT) ออกแบบระบบโดย คุณตรีรัตน์ เชาวน์ทวี และทางศูนย์


คุ้งกระเบนฯ ได้มีการพัฒนาระบบเพาะฟักจนถึงปัจจุบัน ณ หน่วยสาธิตการเลี้ยงสัตว์น้ำภายในอ่าวคุ้งกระเบน


ธนาคารปูม้าแห่งนี้ได้ใช้วิธีการแปรงปัดแยกไข่ออกมาจากตัวแม่ปูม้าแล้วนำไข่ที่ได้ไปลงเพาะฟักในระบบ เมื่อตัว


อ่อนของลูกปูม้า ระยะ Zoea ได้ฟักออกจากไข่แล้วจึงปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ (อ่าวคุ้งกระเบน) นับตั้งแต่


ติดตั้งระบบเมื่อ กันยายน พ.ศ. 2555 จนถึง กันยายน พ.ศ. 2565 มีจำนวนแม่ปูม้าขนาดใหญ่ที่นำเข้า



ระบบเพาะฟักไข่ปูนี้รวมทั้งสิ้น 582,310 ตัว คิดเป็นน้ำหนักไข่ปูไม่น้อยกว่า 13,223.7 กิโลกรัม ส่งผลให้


ปูม้าที่เกิดจากโครงการ “ธนาคารปูม้า” พบว่าได้ผลสัมฤทธิ์ค่อนข้างสูง ทำให้ปริมาณปูม้าเพิ่มจำนวนขึ้น


อย่างรวดเร็ว

วงจรชีวิตปูม้า






































ปูม้าจะสามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ปูม้าเพศเมียจะเริ่มแพร่ขยายพันธุ์ได้จะมีขนาดกระดอง


ประมาณ 9.4 เซนติเมตร หรืออายุประมาณ 144 วัน ส่วนเพศผู้จะมีขนาดกระดองประมาณ 6.5 เซนติเมตร หรือมี


อายุประมาณ 130-150 วัน โดยจะผสมพันธุ์เมื่อตัวเมียลอกคราบ ไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อตัวผู้จะเคลื่อนที่


ออกมาพักตัวอยู่ที่ตะปิ้งของปูเพศเมีย และค่อยๆ เจริญเติบโตจากไข่ที่มีสีเหลือง เป็นเหลืองอมส้ม และเปลี่ยนเป็น


สีน้ำตาล จนเป็นสีน้ำตาลอมเทา จนระยะสุดท้ายเป็นสีเทาอมดำ และฟักเป็นปูม้าวัยอ่อน โดยใช้ระยะเวลาการ


พัฒนาการเจริญเติบโต ประมาณ 10-15 วันโดยปูม้าจะมีการแพร่ขยายพันธุ์มากสุด 2 ช่วง คือ ในช่วงเดือน



กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม และเดือนกันยายน – ธันวาคม

ระบบการเพาะฟักไข่ปู แบบ CASHT

































ระบบเพาะฟัก แบบ Circulation And



Separation Hatching Technique (CASHT)









ระบบเพาะฟักไข่ปู แบบ Circulation And Separation Hatching Technique (CASHT)



ออกแบบระบบโดย คุณตรีรัตน์ เชาวน์ทวี

แผนผังจำลองระบบการเพาะฟักไข่ปู









































ระบบการฟัก นำไข่ปูที่ได้ชั่งน้ำหนัก และแบ่งลงในถังที่มีท่ออากาศเป่าให้น้ำมีการ


หมุนเวียน โดยระบบจะสูบน้ำจากทะเลขึ้นมาในถังแล้วใช้ท่ออากาศเป่าให้ไข่ไม่จมลงกับ



พื้นถัง จากนั้นไหลต่อไปตามถังที่ถูกเจาะรูไว้ เปลือกไข่ที่ฟักจะลงสู่พื้นถังแล้วลูกปูจะ



ลอยไปกับน้ำ และลมจนออกสู่ถังสุดท้ายที่มีสวิงกรองอยู่

ขั้นตอนการเขี่ยไข่ปูม้าจนได้ลูกปูม้าระยะ Zoea











































การปล่อยลูกปู Zoea จะปล่อยลงสู่ทะเลในเวลากลางคืน เวลาประมาณ 21.00 น.



เนื่องจากสัตว์น้ำหลายๆ ชนิด เช่น ปลากระบอก หรือปลาชนิดต่างๆ หลับในเวลากลางคืน ทำให้
มุมเทิดพระเกียรติ รัชกาลที่ ๙

การปล่อยลูกปูม้าในระยะ Zoea มีอัตราการรอดมากขึ้น เมื่อเทียบกับการปล่อยในช่วงเวลาอื่น
“สานต่อปณิธานของพ่อ”

ระยะเวลาการฟักของสีไข่ปูม้า

















































ไข่ปูม้าแต่ละสีใช้ระยะเวลาฟักเป็นตัวอ่อนไม่เท่ากัน โดยไข่สีส้ม – สีเหลือง



ใช้ระยะเวลา 4 – 7 วัน ไข่สีน้ำตาล 2 – 4 วัน ไข่สีเทา 1 – 3 วัน และไข่สีดำ 1 – 2 วัน

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี




ทรงสนพระหทัยโครงการธนาคารปู ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ

การดำเนินงานของโครงการธนาคารปูของศูนย์ฯคุ้งกระเบน



















ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาอาชีพประมงได้ดำเนิน


กิจกรรม “ธนาคารปูม้า” เป็นประจำ และได้รับความร่วมมือในการบริจาคไข่แม่ปูม้าจาก

ชาวประมงท่าเรือประมงบ้านหัวแหลมคุ้งวิมาน และชาวประมงท่าเรือประมงปากน้ำแขมหนู ทาง


เจ้าหน้าที่กลุ่มงานส่งเสริมฯ จะออกพื้นที่ไปเขี่ยไข่ปูม้าบริเวณท่าเรือประมงบ้านหัวแหลมคุ้งวิมาน


และบริเวณท่าเรือประมงปากน้ำแขมหนู โดยใช้วิธีการแปรงปัดแยกไข่ออกมาจากตัวแม่ปูม้า แล้ว


นำไข่ที่ได้ไปลงเพาะฟักในระบบที่หน่วยสาธิตการเลี้ยงสัตว์น้ำภายในอ่าวคุ้งกระเบน เมื่อตัวอ่อน


ของลูกปูม้า ระยะ Zoea ได้ฟักออกจากไข่แล้ว จึงปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ (อ่าวคุ้งกระเบน)

จำนวนน้ำหนักไข่ปูที่เข้าร่วมโครงการธนาคารปู ปี 2565







จ้านวนน้้าหนักไข่ปูม้าที่เข้าร่วมโครงการธนาคารปู ปี 2565


น้้าหนักไข่ปูม้า (กิโลกรัม)

600


500


400



300


200



100

0 เดือน

การดำเนินการของโครงการธนาคารปูของศูนย์ฯคุ้งกระเบน







หลังจากที่ได้ดำเนินการโครงการ “ธนาคารปูม้า” พบว่าได้ผลสัมฤทธิ์ค่อนข้างสูง ทำ


ให้ปริมาณปูม้าเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงได้ขยายผลนำหลักการเดียวกันไปทดลองใช้

กับปูทะเล Scylla serrata โดยกำหนดให้ โรงเรียนตชด.บ้านน้ำแดง หมู่ที่ 6 บ้านสีลำเทียน


ต.บางชัน อ.ขลุง จ.จันทบุรี เป็นพื้นที่นำร่อง จากการดำเนินการธนาคารปูทะเลมาประมาณ


1 ปี พบว่าให้ผลดีเช่นเดียวกัน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ โดยกลุ่มงานส่งเสริมฯ


จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการทำธนาคารปูเพื่อความยั่งยืน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 จนถึง

ปัจจุบัน โดยทำการคัดเลือกพื้นที่มีลักษณะภูมิประเทศที่เหมาะสม และมีภูมิสังคมที่


สอดคล้องกับโครงการดังกล่าว และมีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ โดยทำการขยาย


พื้นที่ระบบเพาะฟักเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ชุมชนประมงในเขตพื้นที่เขตชายฝั่งทะเล จังหวัด


ชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด

จุดพิกัดที่ติดตั้งระบบธนาคารปู



ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2565 รวมทั้งสิ้นจำนวน 25 กลุ่ม



เวลาทำการ



วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น


วันเสาร์ -วันอาทิตย์ เวลา 08.30 - 17.00 น.


วันหยุดราชการ เวลา 08.30 - 17.00 น.








ข้อมูลติดต่อ




หน่วยสาธิตการเลี้ยงสัตว์น้ำภายในอ่าวคุ้งกระเบน




ที่อยู่ : หมู่ที่ 7 ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

โทรศัพท์ : 039 – 433216 - 8





ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ



โทรศัพท์ : 039 – 433216 - 8


แฟกซ์ : 039 - 433209


อีเมล์ : [email protected]


Click to View FlipBook Version