The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

งานประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย ประจำปี 2562 ครั้งที่ 43

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by flukeisme, 2019-11-28 05:31:17

Smart Living In A Changing World

งานประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย ประจำปี 2562 ครั้งที่ 43

ชณตั พิ ร ชลไพร
ปว�ตรา คมุ ปยะผล
จ�ตตรตั น ศรว� �เลศิ

ณ โรงแณรเมรอโื่อรีสงงตแSินรmเมรมปaอื่อกัrรสีงtกะตSะจLนิ สmiาvปันมiปanี ักrถรgt2กะ.เ5iะจLพn6สiาvช2ปันaiรnี คบCถg2รุร.hเ5้ังiตีพnaท6ัดnช2ี่aใgรห4iคบCnม3รุรhg่ง้ัตีกaทWัดรn่ี ใงุ goหเ4iทrnม3lพdg่ กมWรหุงoาเทrนlพdครมหานคร
การประชมุ 2ว7ิช–าก2า92ร7รพะฤ–ดศบั2จ9ชิกาาพตยฤิ นสศมจ2าิก5คา6มย2นนัก2จ5ติ 6ว2ทิ ยาคลนิ กิ ไทย
ประจาปี 2562 คร้งั ที่ 43
เรอื่ ง Smart Living in a Changing World
ณ โรงแรมอสี ติน มักกะสนั ถ.เพชรบุรตี ดั ใหม่ กรงุ เทพมหานคร
27 – 29 พฤศจกิ ายน 2562

ชณัตพิ ร ชจปิตณวติตตั ชศบครริพต้มุรัลารีวรรนไปพณิเ์ยิลระาิศผธิกลศบชคาร้มุลรรวีรไปพณิเยิลระาศิ ผธิกลาร
ปวติ รา
จติ ตรตั น์

ชณตั ิพร ชลไพร
ปวิตรา คุม้ ปยิ ะผล
จติ ตรตั น์ ศรวี ิเลิศ
บรรณาธิการ

ชอื่ หนงั สอื : การประชุมวชิ าการระดบั ชาติ สมาคมนกั จติ วทิ ยาคลนิ ิกไทยประจาปี 2562 ครง้ั ที่ 43
เร่อื ง : Smart Living in a Changing World
บรรณาธิการ : ชณัติพร ชลไพร ปวิตรา คุม้ ปยิ ะผล จติ ตรตั น์ ศรวี ิเลศิ
แบบปก : สุพัตรา ชัยเลิศ
จัดทาโดย : สมาคมนักจิตวทิ ยาคลนิ ิกไทย

สานักงานเลขานุการ (สานกั งานตดิ ตอ่ )
ภาควชิ าจติ เวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแกน่
ตาบลในเมอื ง อาเภอเมือง จงั หวัดขอนแกน่ ๔๐๐๐๒ โทร ๐๔๓ ๓๖ ๓๐๐๒
มือถือ ๐๘๔ ๖๘๑ ๓๘๗๖ โทรสาร ๐๔๓ ๓๖ ๓๐๒๘
อีเมลล์ [email protected]
พิมพ์ครั้งแรก : พฤศจิกายน 2562

สารบญั หน้า

หัวขอ้ ข

วสิ ยั ทศั น์ พนั ธกิจ คา่ นยิ ม สมาคมนกั จติ วิทยาคลินกิ ไทย ค

คำ�ปรารภนายกสมาคมนักจิตวทิ ยาคลนิ ิกไทย 1

ส่วนท่ี 1 โครงการประชมุ วิชาการระดับชาติ สมาคมนักจติ วิทยาคลินิกไทย 2
ประจ�ำ ปี 2562 ครงั้ ท่ี 43 เรื่อง “Smart Living in a Changing World” 4
7
- คำ�กล่าวรายงานพิธเี ปดิ และค�ำ กล่าวเปดิ งาน 11
- รายละเอียดโครงการ
- ก�ำ หนดการประชุม 14
- สาระการเรียนรจู้ ากหอ้ งประชุมเชงิ ปฏบิ ัติการ 15

ส่วนที่ 2 การน�ำ เสนอผลงานวิจยั 27
- บทคดั ยอ่ ผลงานวจิ ัย
31
ส่วนท่ี 3 การน�ำ เสนอ WISC-V Thailand Adaptation and Standardization Project
43
สว่ นที่ 4 การตอ่ อายุใบอนุญาตประกอบโรคศลิ ปะสาขาจติ วิทยาคลนิ กิ
104
ส่วนที่ 5 ประวัตวิ ทิ ยากร
115
ส่วนท่ี 6 ประวัตินักจติ วิทยาคลนิ ิกดเี ดน่
121
ส่วนที่ 7 รายนามผู้เกษยี ณอายรุ าชการประจ�ำ ปี 2562 122

ส่วนท่ี 8 ภาคผนวก 126
- คำ�สั่งแตง่ ตงั้ คณะอนกุ รรมการโครงการประชุมวชิ าการระดบั ชาติสมาคม
นกั จติ วิทยาคลินิกไทย ประจ�ำ ปี 2562 ครัง้ ท่ี 43 127
- ค�ำ สั่งแตง่ ตั้งคณะท�ำ งานเก่ียวกบั การน�ำ เสนอผลงานวจิ ัยโครงการ
ประชุมวิชาการระดบั ชาติ ประจำ�ปี 2562 127
- ค�ำ สง่ั แตง่ ต้ังคณะกรรมการการพิจารณาและคดั สรรนกั จิตวทิ ยาคลนิ กิ 128
ดเี ดน่ ประจ�ำ ปี 2562-2563 144
- ผลการด�ำ เนนิ งานของสมาคมนกั จิตวิทยาคลนิ ิกไทย ประจำ�ปี 2562
- สินค้าท่ีระลกึ ในงานประชมุ วชิ าการ ประจำ�ปี 2562
- แบบประเมินความพึงพอใจ

วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม
สมาคมนักจิตวิทยาคลนิ ิกไทย
คำ�ปรารภนายกสมาคมนักจติ วทิ ยาคลินกิ ไทย

วิสยั ทัศน์ (Vision)

เปน็ องค์กรระดับประเทศ ในการส่งเสรมิ สนับสนุนทางด้านวิชาการและการปฏิบัตงิ านของนักจติ วทิ ยา
คลินกิ ไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชพี อนั จะนาไปสูค่ วามเป็นเลิศในการส่งเสรมิ สุขภาพจติ และคุณภาพชีวติ
ของคนไทย

พนั ธกจิ (Mission)

ส่งเสริมสนบั สนุนกระบวนการพฒั นาสขุ ภาวะและวิชาชีพจติ วิทยาคลนิ ิก เพ่ือเพม่ิ ศกั ยภาพในการดูแล
ประชาชน พัฒนาสังคม ตลอดจนคิดค้นนวัตกรรมที่เก่ียวข้องกับสุขภาพจิตตามบริบทของสังคมไทย
ตามภารกิจดงั น้ี

1. พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการปฏบิ ัตงิ านของนักจติ วิทยาคลนิ กิ ไทย โดยการส่งเสริมสนับสนุน ให้เกิด
การแลกเปลี่ยนเรยี นรู้ ศึกษาวิจยั และสมรรถนะนักจิตวทิ ยาคลินกิ เพื่อระบบบริการสุขภาพจติ ทเี่ ปน็ เลศิ

2. พฒั นาคุณภาพการปฏบิ ัตวิ ิชาชพี อย่างมีจรรยาบรรณและจรยิ ธรรม ของผ้ปู ระกอบวิชาชีพนักจิตวิทยาคลนิ ิก
สู่ผลลัพธ์ทีเ่ ป็นเลิศ

3. สรา้ งเครอื ขา่ ยความรว่ มมือกับองค์กรวิชาชพี สถาบนั การศึกษา และองค์กรท่ีเกยี่ วข้อง ทง้ั ในระดบั
ชาติและนานาชาติ

4. เป็นศูนย์รวมของผู้ประกอบวิชาชีพจิตวิทยาคลนิ ิก สร้างความสามคั คีระหวา่ งผู้ประกอบวชิ าชีพ
5. สรา้ งเสริมความเข้มแข็งของสมาคม ให้พร้อมปฏบิ ัตภิ ารกิจได้อยา่ งมีประสทิ ธิภาพ
6. เผยแพรใ่ ห้ความรู้ทางด้านการปอ้ งกนั และการดูแลสขุ ภาพจิตให้แกป่ ระชาชนและผสู้ นใจ

คา่ นิยมหลกั (Core Value)

T = Team Work : ทางานเป็นทีม
หมายถงึ รว่ มคิด ร่วมทา ช่วยเหลอื สนับสนุน มสี ว่ นร่วม รวมทัง้ เปดิ ใจรบั ฟงั ความคิดเหน็ ท่ีแตกตา่ ง เพื่อให้
บรรลเุ ปา้ หมายร่วมกัน
C = Continuous Improvement : พัฒนาตอ่ เนือ่ ง
หมายถึง ม่งุ พฒั นาตนเอง พร้อมเพ่มิ พูนความรู้ ความสามารถ ทกั ษะ ให้รู้ลึก รกู้ วา้ ง รูจ้ ริง และทนั สมัย
เพื่อความเปน็ เลิศในดา้ นวิชาการ
P = Professionalism : เป็นมืออาชีพ
หมายถงึ มีความรคู้ วามเช่ียวชาญในงาน ทาตามมาตรฐานวชิ าชีพ โดยปฏิบัติงานอย่างมจี รยิ ธรรม และอยู่ใน
จรรยาบรรณแห่งวิชาชพี
A = Altruism : อทุ ิศตน
หมายถึง ปกป้องภาพลักษณ์ขององค์กร มสี านกึ ในการดูแลรักษาผลประโยชนข์ ององค์กร พรอ้ มสนใจ เข้าใจ
ความต้องการของผรู้ บั บริการ เพื่อให้เกดิ ความพงึ พอใจและประทบั ใจในการบริการ



คำปรำรภ
นำยกสมำคมนักจิตวทิ ยำคลินกิ ไทย

ในนามของสมาคมนกั จิตวิทยาคลินกิ ไทย ดิฉันขอต้อนรับสมาชกิ และผมู้ เี กยี รติทุกทา่ นเขา้ สกู่ าร
ประชมุ วิชาการระดบั ชาติ สมาคมจติ วทิ ยาคลินิกไทย ประจาปี ๒๕๖๒ ครง้ั ท่ี ๔๓ เรอ่ื ง Smart Living in a
Changing World ณ โรงแรมอสี ติน มักกะสนั ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร ระหวา่ งวันที่ ๒๗ - ๒๙
พฤศจิกายน ๒๕๖๒

ดงั ทที่ ราบดีวา่ โลกและสังคมในยุคศตวรรษท่ี ๒๑ มกี ารเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเรว็ หลายดา้ น ทัง้ การ
เปล่ยี นแปลงเชงิ โครงสรา้ งทางสังคม เชน่ การเพ่มิ ข้ึนของสังคมผ้สู งู อายุ (Aging Society) การเปลีย่ นแปลงด้าน
รูปแบบการใชช้ ีวติ โดยเฉพาะสงั คมยุคการพึง่ พาเทคโนโลยดี จิ ทิ ัล (Digital Dependency) ในการดาเนินชีวิต
หรือการเปล่ยี นแปลงเก่ียวกับการตื่นตวั ทางปญั หาสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพจิต เชน่ ความเครยี ดและภาวะ
ซมึ เศรา้ (Stress and Depression) รวมถึงภาวะหมดไฟในการทางาน (Burn Out Syndrome) ที่อธบิ ายถึง
สภาวะการเหน่อื ยลา้ จากการทางานในกลุ่มคนวัยทางานอย่างรนุ แรง ทาให้ขาดแรงจงู ใจและต้องการหลีกหนี
จากการทางาน ซ่ึงถูกยกเปน็ ปญั หาทางสุขภาพยคุ ใหม่ เป็นต้น สถานการณต์ ่าง ๆ เหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึง
อทิ ธิพลของการเปลี่ยนแปลงทางสงั คมที่มตี ่อการดาเนนิ ชีวิตมากขึน้ และการเปล่ียนแปลงดงั กล่าวก่อใหเ้ กิดผล
กระทบตามมาหลายด้าน ทัง้ ตอ่ ตนเอง ครอบครวั รวมถึงชมุ ชนและสังคม อีกท้งั เกิดผลกระทบเปน็ วงกวา้ ง
ต้งั แต่เด็กจนถงึ ผใู้ หญ่และผู้สงู อายุ ทีต่ อ้ งปรับตวั ต่อการเปลยี่ นแปลง บคุ คลที่มีการเตรียมความพร้อมย่อมมี
โอกาสในการรบั มอื กบั การเปลีย่ นแปลงตา่ ง ๆ ไดม้ ากขน้ึ และอาจไดร้ บั ประโยชนอ์ นื่ ๆ จากประสบการณ์ที่
เกดิ ขึน้ จากการรบั มอื กบั การเปลีย่ นแปลง อาทิ ไดเ้ รยี นรู้ มที กั ษะหรือประสบการณ์ที่ช่วยในการรับมือกบั
ปัญหาในชีวิตประจาวนั ส่งเสริมให้สามารถปรับตัวไดอ้ ย่างมีประสิทธภิ าพย่งิ ข้นึ อีกด้วย

สมาคมนักจิตวิทยาคลินกิ ไทย ไดเ้ ล็งเห็นถงึ ความสาคัญในประเดน็ ดงั กลา่ ว จึงได้จัดโครงการ
ประชมุ วิชาการระดบั ชาติ สมาคมนักจติ วทิ ยาคลนิ ิกไทย ประจาปี ๒๕๖๒ ครง้ั ท่ี ๔๓ ภายใตห้ วั ข้อเร่ือง Smart
Living in a Changing World ขึ้น โดยมงุ่ หวังให้ผเู้ ข้าร่วมโครงการตระหนักรตู้ ่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง
ของโลกและสงั คม และมีความร้คู วามเขา้ ใจในการประยุกตใ์ ชอ้ งค์ความรู้ทางจติ วิทยาทท่ี นั สมยั เพื่อการ
ดาเนนิ งานสง่ เสรมิ ป้องกันปัญหาสุขภาพจิตตลอดทุกชว่ งวัย ตั้งแตว่ ยั เด็ก วัยรนุ่ วัยผใู้ หญ่ จนถึงวยั สงู อายุ
ใหส้ อดคล้องกบั บริบทการเปลยี่ นแปลงของโลกและสังคม นาไปสู่การใชช้ วี ติ แบบ Smart living ทีม่ ีศักยภาพใน
การพฒั นาสงั คมและประเทศชาตติ อ่ ไปในอนาคต



เนอ้ื หาการประชุมวิชาการในปีน้ี เร่มิ ตน้ วนั แรก สมาคมฯ ไดร้ ับเกียรติจาก นายแพทยเ์ กียรติภมู ิ
วงศร์ จติ อธิบดกี รมสขุ ภาพจิต เป็นประธานในพิธเี ปิดและแสดงปาฐกถาพิเศษ เร่ือง “Smart Living in a
Changing World” ตามชื่อการประชุม จากนนั้ กจ็ ะเป็นผมู้ อบรางวัลบุคคลเกียรติยศและนักจิตวทิ ยาคลินิก
ดเี ด่น ประจาปี ๒๕๖๒ เพ่ือเป็นการยกยอ่ งเชดิ ชูผู้ทท่ี าคุณประโยชนแ์ ละสรา้ งชอื่ เสยี งให้กับวชิ าชีพ และเพอ่ื
เป็นขวญั กาลงั ใจใหก้ ับนักจิตวิทยาคลนิ ิกทตี่ ั้งใจปฏิบัติหน้าที่และมีผลงานเปน็ ทป่ี ระจักษ์ ตอ่ ดว้ ยการอภิปรายหมู่
ท่ีเน้นการเสนอทัศนะในแง่มุมท่ีเป็นทางออกของปัญหา การป้องกัน และการส่งเสริมการใช้ส่ือสังคมอย่าง
สร้างสรรค์ เร่ือง “Smart Media - Smart Life” โดยวิทยากรที่มากประสบการณ์จากสาขาอาชีพต่าง ๆ ที่
เก่ียวข้อง สาหรับภาคบ่ายเร่ิมด้วยการนาเสนอผลงานวิจัยแบบ oral presentation จานวน ๓ เรื่อง
ถัดจากนั้น สมาคมฯ แถลงผลงานท่ีผ่านมา ในรอบปี ๒๕๖๒ โดยเฉพาะโครงการดัดแปลงและพัฒนาเกณฑ์
ปกติสาหรับแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา WISC-V ฉบับภาษาไทย ที่จะเร่ิมดาเนินการในไม่ช้านี้ ต่อด้วยการ
แสดงบญั ชงี บดลุ สมาคมฯ ปี ๒๕๖๒ และปดิ ทา้ ยการชี้แจงและตอบข้อซักถามเรื่องสาคัญคือ หลกั เกณฑ์การ
ต่ออายุใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก โดยประธานและผู้แทนคณะกรรมการวิชาชีพสาขา
จิตวิทยาคลนิ ิก

ในวันทสี่ องและวันทีส่ ามของการประชมุ มกี ารประชมุ เชิงปฏิบตั ิการท่ีนา่ สนใจ ๔ หัวขอ้ เร่ือง จาก
๔ ห้องประชุมเชงิ ปฏบิ ตั ิการ ครอบคลุมลักษณะงานสุขภาพจิตทุกช่วงวยั ให้สามารถรับมอื กบั สถานการณ์
ตา่ ง ๆ ในชีวติ ประจาวนั ท่ีอาจจะก่อใหเ้ กดิ ภาวะเครยี ดและอารมณ์เศร้าได้ นอกเหนือจากการประชมุ วิชาการท่ี
เขม้ ขน้ แล้ว สมาคมฯ ยังได้จดั ชว่ งเวลาพเิ ศษเพ่ือสง่ เสรมิ วัฒนธรรมอนั ดีด้วยการจดั ให้มพี ิธีการแสดงมุทิตาจติ
ตอ่ อาจารยผ์ เู้ กษยี ณอายุราชการ และเสริมสร้างบรรยากาศผอ่ นคลายและกระชับความสัมพนั ธร์ ะหวา่ งสมาชิก
และระหว่างผู้เข้าร่วมประชมุ ด้วยกิจกรรม “สมาชกิ และเครอื ขา่ ยสมั พันธ์” โดยทีมงานกาหนดธมี การแต่งกาย
คอื “วฒั นธรรมไทย ๔ ภาค”

นอกจากน้ี สมาคมฯ ไดจ้ ัดให้มีบธู จาหนา่ ยหนงั สอื โดยความร่วมมอื จากศูนย์หนงั สือจฬุ าฯ และบธู
จาหนา่ ยของทรี่ ะลึกของสมาคมฯ ประกอบดว้ ย แก้ว กระเป๋า และเสือ้ ยดื ตราสมาคมฯ

การจดั ประชมุ คร้ังนี้ สาเร็จลงได้ดว้ ยความอนเุ คราะห์จากท่านวทิ ยากร และท่านผู้มอี ุปการะคณุ
ท่ขี อเอย่ นามดังน้ี คุณชมพูนุท โทสินธิติ หจก. ซีทรี ีซอส จ.เชยี งใหม่ และคณะผบู้ ริหาร บรษิ ทั มายด์ เมดคิ อล
แคร์ จากัด จ.ชลบุรี ผู้สนับสนุนงบประมาณบางส่วนในการจัดการประชมุ และ นาวาอากาศเอก หญิง อุบลรัตน์
หร่ายเจรญิ นักจิตวทิ ยาคลนิ ิก สถาบันเวชศาสตร์การบนิ ท่ีบรจิ าคของรางวัลในช่วงกิจกรรมสมาชิกสัมพันธ์
สมาคมฯ ขอขอบคุณทุกท่านมา ณ โอกาสน้ี

ขอขอบคุณคณะทางานท่ีได้ทุ่มเทกาลังกายและกาลงั ความคิด ชว่ ยกันจดั เตรียมงานและดาเนนิ งาน
กนั อยา่ งแขง็ ขัน พร้อมเพรียง ดว้ ยความสามัคคีและเปน็ น้าหนึง่ ใจเดียวกัน แมว้ า่ จะปฏบิ ัติงานกนั คนละท่ี
แตก่ ็มีการประสานงานกนั ทุกช่องทาง ทาให้การประชมุ วิชาการสมาคม ฯ ในครงั้ นี้ สาเร็จลลุ ว่ ง บรรลุ
วตั ถุประสงค์ทกุ ประการ ขอขอบคุณทกุ ท่านท่ีมสี ่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ช่วงรายการพิธมี ทุ ิตาจิต และ
“สมาชิกและเครอื ข่ายสัมพนั ธ์” และขอขอบคณุ ผ้เู ข้าร่วมประชุมทกุ ทา่ นท่ีมีสว่ นสาคัญยงิ่ ท่ที าให้การประชมุ นี้
เกิดข้ึนได้



ทา้ ยสุดนี้ ขออานาจคุณพระศรรี ัตนตรยั และส่ิงศักดิ์สทิ ธ์ิท้ังหลายในพิภพสากล ได้โปรดดลบนั ดาล
ประทานพรให้ผู้เข้ารว่ มประชมุ ทุกท่านและทมี ทางาน ประสบแตค่ วามสขุ ความเจรญิ และมีสขุ ภาพพลานามัย
ทีส่ มบูรณ์แข็งแรงตลอดไป

(นางสาวจินตนา สิงขรอาจ)
นายกสมาคมนกั จิตวิทยาคลนิ ิกไทย

๒ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๒



ส่วนที่ 1

โครงการประชมุ วิชาการฯ ประจ�ำ ปี 2562 คร้งั ที่ 43
ค�ำ กลา่ วรายงานพธิ ีเปดิ และคำ�กลา่ วเปิดงาน

รายละเอยี ดโครงการ
กำ�หนดการประชมุ
สาระการเรยี นรูจ้ ากหอ้ งประชุมเชงิ ปฏิบัตกิ าร

คำกล่ำวรำยงำนพธิ เี ปดิ

กำรประชมุ วิชำกำรระดับชำติ สมำคมนกั จิตวิทยำคลนิ ิกไทย ประจำปี ๒๕๖๒ คร้ังท่ี ๔๓
เร่อื ง Smart Living in a Changing World

ณ โรงแรมอสี ติน มักกะสัน ถ.เพชรบรุ ีตดั ใหม่ กรุงเทพมหำนคร
ระหวำ่ งวนั ที่ ๒๗ - ๒๙ พฤศจิกำยน ๒๕๖๒

.........………………………………………………………………………

โดย ประธานจดั งาน (นางสาวจนิ ตนา สิงขรอาจ นายกสมาคมนกั จิตวทิ ยาคลินกิ ไทย)
เรียน รองอธิบดีกรมสุขภาพจติ (นายแพทย์สมัย ศิริทองถาวร)

ดิฉัน ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดการประชุมฯ ขอขอบพระคุณท่ีท่านได้ให้เกียรติ มาเป็น
ประธานพิธีเปดิ การประชมุ ในวนั นี้

ดิฉนั ใคร่ขอเรียนความเปน็ มาของการจัดประชมุ ในครั้งนี้ โดยย่อ ดังนี้
ด้วย โลกและสังคมในยุคศตวรรษท่ี ๒๑ มีการเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็วหลายด้าน จากการพึ่งพา
เทคโนโลยดี จิ ิทลั (Digital Dependency) ซ่งึ กอ่ ให้เกิดผลกระทบเปน็ วงกวา้ งกับคนในสังคมต้ังแตว่ ัยเด็ก จนถึง
วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ ที่ต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนสุขภาพกาย
และจิตใจ ปนี ้ี สมาคมนักจติ วทิ ยาคลินกิ ไทย จงึ จดั การประชุมประจาปี เรอื่ ง “Smart Living in a Changing
World” โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักรู้ต่อสถานการณ์การเปล่ียนแปลงของโลกและสังคม และมี
ความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางจิตวิทยาท่ีทันสมัย เพื่อการดาเนินงานเยียวยา ส่งเสริม
และป้องกันปัญหาสุขภาพจิตตลอดทุกช่วงวัย ให้สอดคล้องกับบริบทการเปล่ียนแปลงของโลกและสังคม ให้
นาไปส่กู ารใช้ชีวิตแบบมศี ักยภาพในการพฒั นาสงั คมและประเทศชาตติ อ่ ไปในอนาคต
ในการประชุมครั้งน้ี มีผู้เข้าร่วมประชุมที่ปฏิบัติงานตามหน่วยงานต่าง ๆ ท่ัวประเทศประกอบด้วย
นักจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยา พยาบาล อาจารย์ ผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาคลินิก และนักศึกษาฝึกงาน
สาขาจิตวิทยาคลินิก จานวนทั้งส้ินประมาณ 150 คน โดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเก่ียวกับการดาเนินการ
จัดประชมุ บางสว่ น จากหา้ งหนุ้ สว่ นจากดั ซ.ี ท.ี เชยี งใหม่ และ บรษิ ัท มายด์ เมดคิ อล แคร์ จากัด และได้รับความ
อนุเคราะห์จากท่านวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ดังที่ปรากฏในหนังสืออิเลคทรอนิกส์ proceeding ท่ีแจกให้กับ
ผ้เู ข้ารว่ มประชมุ ดิฉนั ในฐานะตวั แทนผู้จดั การประชุม ใครข่ อขอบพระคุณ ทุกทา่ นทไ่ี ด้เอย่ นามไว้ ณ ที่นี้
บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว ดิฉันใคร่ขอเรียนเชิญท่านประธาน ได้ให้เกียรติกล่าวเปิด การประชุม
วิชาการระดับชาติ สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย ประจาปี ๒๕๖๒ คร้ังท่ี ๔๓ และแสดงปาฐกถาพิเศษ
เร่อื ง “Smart Living in a Changing World” ขอกราบเรียนเชิญคะ่

........................................................

2

คำกล่ำวเปดิ งำน
กำรประชุมวิชำกำรระดบั ชำติ สมำคมนกั จิตวิทยำคลนิ ิกไทย ประจำปี ๒๕๖๒ คร้ังที่ ๔๓

เร่อื ง Smart Living in a Changing World
ณ โรงแรมอีสตนิ มักกะสัน ถ.เพชรบุรตี ดั ใหม่ กรงุ เทพมหำนคร

ระหวำ่ งวนั ที่ ๒๗ - ๒๙ พฤศจิกำยน ๒๕๖๒
.........………………………………………………………………………
โดย รองอธบิ ดีกรมสขุ ภาพจิต (นายแพทย์สมัย ศิรทิ องถาวร)
เรยี น นายกสมาคมนักจติ วิทยาคลินิกไทย ท่านวทิ ยากร และท่านผู้เข้ารว่ มประชุมทุกทา่ น
กระผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งท่ีได้รับเกียรติให้มากล่าวเปิดงานการประชุม และแสดงปาฐกถาพิเศษ
เรื่อง “Smart Living in a Changing World” ในวันน้ี
การมาพบปะรวมกันของทกุ ท่านในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าท่านทั้งหลายมีความต่นื ตัวในการท่จี ะพัฒนา
วิชาการตามบทบาทแห่งวิชาชีพของตน โดยเฉพาะในยุคสมัยท่ีโลกและสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
หลายด้าน จากการพึ่งพาเทคโนโลยีดิจทิ ัล (Digital Dependency) ซ่ึงก่อให้เกิดผลกระทบมากมายนานปั การ
ตามท่ีนายกสมาคมฯ ได้กล่าวรายงาน
การท่พี วกท่านมีความมุ่งมั่นท่ีจะพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนประยุกต์ใช้องค์ความรู้
ท่ีทันสมัยท่ีจะได้รับ นาไปใช้ดาเนินงานเพื่อเยียวยา ส่งเสริม และป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ให้สอดคล้องกับ
บรบิ ทการเปลยี่ นแปลงของโลกและสงั คม นบั เป็นสง่ิ ท่ีนา่ ยนิ ดีและควรสนบั สนนุ ย่ิง
กระผมหวังว่า ทุกท่านคงจะได้รับความรู้และได้ฝึกฝนทักษะในเชิงวิชาการ และการอานวยความ
สะดวกจากการเข้ารว่ มประชุมในครัง้ นเี้ ปน็ อย่างดี
โอกาสน้ี กระผมขออวยพรให้การประชุมคร้ังน้ี ประสบผลสาเร็จตามท่ีตั้งวัตถุประสงค์ไว้ทุกประการ
และขอเปิดการประชมุ เร่ือง “Smart Living in a Changing World” ณ บดั น้ี

…………………………………………………………

3

โครงการประชมุ วิชาการระดบั ชาติ สมาคมจติ วทิ ยาคลนิ ิกไทย ประจาปี ๒๕๖๒ ครั้งที่ ๔๓
เรือ่ ง Smart Living in the Changing World
ระหวา่ งวันท่ี ๒๗ - ๒๙ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๒

ณ โรงแรมอสี ตนิ มกั กะสนั ถ.เพชรบรุ ีตดั ใหม่ กรงุ เทพมหานคร
....................................................................................

๑. ช่ือโครงการ การประชมุ วิชาการระดบั ชาติ สมาคมนกั จติ วทิ ยาคลินกิ ไทย ประจาปี ๒๕๖๒ คร้ังท่ี ๔๓
หัวข้อ Smart Living in the Changing World

๒. ผรู้ บั ผดิ ชอบ สมาคมนักจิตวิทยาคลนิ กิ ไทย
๓. หลักการและเหตุผล

โลกและสังคมในยุคศตวรรษท่ี ๒๑ มีการเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็วหลายด้าน ทั้งการเปลี่ยนแปลง
เชิงโครงสร้างทางสังคม อาทิ การเพิ่มข้ึนของสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) โดยจากสถิตปี ๖๐ พบว่า
มปี ระชากรสงู อายุ (อายุ ๖๐ ปีขน้ึ ไป) มีราว ๑๑.๓ ล้านคน คิดเป็น ๑๖.๗% ของประชากรท้งั หมดและคาดว่า
จะเพิ่มข้ึนเร่ือยๆ ในอนาคต (สานักงานสถิติแห่งชาติ ๒๕๖๑) การเปล่ียนแปลงด้านรูปแบบการใช้ชีวิต
โดยเฉพาะสังคมยุคการพ่ึงพาสื่อโซเชียลมีเดียในการดาเนินชวี ิต (Digital Dependency) หรือการเปลี่ยนแปลง
เก่ียวกับการตื่นตัวทางปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพจิต เช่น ความเครียดและภาวะซึมเศร้า (Stress and
Depression) รวมถึงภาวะหมดไฟในการทางาน (Burn Out Syndrome) ท่ีอธิบายถึงสภาวะการเหน่ือยล้า
การทางานในกลมุ่ คนวัยทางานอยา่ งรนุ แรง ท่ีส่งผลให้ขาดแรงจงู ใจและต้องการหลีกหนีจากการทางาน ซง่ึ ถูก
ยกเป็นปัญหาทางสุขภาพยุคใหม่ โดยองค์การอนามัยโลกกาหนดให้เป็นความผิดปกติทางสุขภาพด้านหน่ึง
ในบัญชีจาแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาทางสุขภาพ (International Classification of
Disease: ICD ๑๑) (World Health Organization, ๒๐๑๙) สถานการณ์ขา้ งตน้ สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของ
การเปล่ียนแปลงทางสังคมที่มีต่อการดาเนินชีวิตมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก่อเกิดผลกระทบ
ตามมาหลายด้าน ท้ังต่อตนเอง ครอบครัว รวมถึงชุมชนและสังคม อีกท้ังเกิดผลกระทบเป็นวงกว้างตั้งแต่เด็ก
จนถึงผู้ใหญแ่ ละผ้สู ูงอายุที่ต้องปรบั ตัวตอ่ การเปลย่ี นแปลง ดงั น้ันบคุ คลทมี่ ีการเตรียมความพร้อม ยอ่ มมโี อกาส
ในการรับมอื กบั การเปลย่ี นแปลงต่างๆ ได้มากข้นึ กล่าวคอื มีความสขุ บนการเปลย่ี นแปลงทางสังคม นอกจากนี้
อาจได้รบั ประโยชน์อื่นๆ จากประสบการณ์ที่เกิดข้นึ จากการรบั มือกับการเปลยี่ นแปลง อาทิ ไดเ้ รียนรู้ มีทักษะ
ห รื อ ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ ท่ี ช่ ว ย ใ น ก า ร รั บ มื อ กั บ ปั ญ ห า ใ น ชี วิ ต ป ร ะ จ า วั น ส่ ง เ ส ริ ม ใ ห้ ส า ม า ร ถ ป รั บ ตั ว ไ ด้ อ ย่ า ง
มปี ระสทิ ธิภาพยง่ิ ข้ึนได้อีกดว้ ย

สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย ในฐานะองค์กรวิชาชีพซ่ึงมีหน้าที่ในการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุน
องค์ความรู้ทางวิชาการแก่สังคมและวิชาชีพ ได้เล็งเห็นถึงความสาคัญในประเด็นดังกล่าว โดยเฉพาะประเด็น
ทางจิตวทิ ยาที่มีความละเอียดอ่อนและได้รับความสนใจจากสังคมเป็นวงกว้างมากขึ้น จึงไดจ้ ดั โครงการประชุม
วิชาการระดับชาตสิ มาคมนักจติ วิทยาคลินิกไทย ประจาปี ๒๕๖๒ ครัง้ ท่ี ๔๓ ภายใต้หวั ข้อเร่ือง Smart Living

4

in the Changing World ระหว่างวันท่ี ๒๗ - ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ณ โรงแรมอีสติน มักกะสันข้ึน
โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักรู้ต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคม และมีความรู้
ความเข้าใจในการการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางจิตวิทยาที่ทันสมัย ในการดาเนินงานส่งเสริมป้องกันปัญหา
สุขภาพจิตตลอดทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ จนถึงวัยผู้สูงอายุ ให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลง
ของโลกและสังคม นาไปสู่การใช้ชีวิตแบบ Smart living ที่มีศักยภาพในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ
ตอ่ ไปในอนาคต

๔. วตั ถุประสงค์
๔.๑ เพ่ือให้ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักรู้ต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคม
๔.๒ เพ่ือให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางจิตวิทยา

ที่ทันสมัย ในการดาเนินงานส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ภายใต้บริบทท่ีมีการเปลี่ยนแปลงของโลก
และสงั คม

๔.๓ เพือ่ เป็นเวทีในการแลกเปล่ียนเรยี นรทู้ างวชิ าการ และประสบการณ์สาหรับสมาชกิ และผู้สนใจ
๔.๔ เพ่อื สง่ สร้างการสรา้ งเครือข่ายทางวชิ าชพี ทางจิตวิทยาคลินกิ และสหวิชาชีพ
๔.๕ เพ่ือเป็นเวทีในการเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ งานบริการ และงานสร้างสรรค์ของ
นักจิตวิทยาคลินิกที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ด้านจิตวิทยาคลินิก และเป็นประโยชน์ต่อการ
พฒั นาสังคมและประเทศชาติ

๕. วธิ ดี าเนนิ การ
การประชุมวิชาการมีรปู แบบการจดั โครงการ ดงั น้ี
บรรยาย/ นาเสนอผลงานวิชาการ/ อบรมเชิงปฏบิ ตั ิการ (Workshop)

๖. กลมุ่ เป้าหมาย
กลุ่มเปา้ หมายสาหรบั การประชมุ วิชาการในคร้ังน้ี ได้แก่
- สมาชกิ สมาคมจิตวทิ ยาคลินกิ ไทย
- บุคลากรท่ีปฏบิ ตั งิ านดา้ นสุขภาพจิตและจติ เวช
- นักจติ วิทยา นกั จติ วทิ ยาการใหค้ าปรึกษา นักจติ วิทยาโรงเรยี น และอ่ืนๆ ทเ่ี กี่ยวข้อง
- ครู อาจารย์ และบุคลาการทางการศกึ ษา
- นิสิต นกั ศึกษา และผูส้ นใจท่ัวไป

๗. ระยะเวลา/ สถานท่ี
การประชมุ วิชาการประจาปีครง้ั นี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ณ โรงแรม

อีสตนิ มักกะสัน ถ.เพชรบุรีตดั ใหม่ กรุงเทพมหานคร

๘. คา่ ลงทะเบียน ๔,๐๐๐ บาท
คา่ ลงทะเบียนประชุมวิชาการ ๔,๕๐๐ บาท
- คา่ ลงทะเบียนผูเ้ ข้าร่วมประชมุ สาหรับสมาชกิ สมาคม (๓ วัน) ๓,๐๐๐ บาท
- คา่ ลงทะเบียนผเู้ ขา้ ร่วมประชมุ สาหรับผูไ้ ม่เป็นสมาชกิ สมาคม (๓ วัน) ๓,๕๐๐ บาท
- คา่ ลงทะเบยี นผูเ้ ข้าร่วมประชมุ สาหรับนักศกึ ษาอนิ เทิรน์ (๓ วัน) ๑,๕๐๐ บาท
- ค่าลงทะเบียนสาหรบั ผเู้ ข้ารว่ มประชุมเฉพาะวนั ที่ ๒๘ - ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒
- ค่าลงทะเบียนสาหรับผ้เู ข้าร่วมประชมุ เฉพาะวนั ที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

5

ค่าลงทะเบยี นห้องพักโรงแรม
ผู้เข้าร่วมประชุมที่ประสงค์เข้าพักโรงแรม กรุณาประสานกับทางโรงแรมโดยตรง ได้ที่
๐๒-๖๕๑๗๖๐๐ ต่อ ๘๗๑๐ หรือ ๘๗๐๓ ฝา่ ยจองห้องพัก E-mail : [email protected]
อตั ราคา่ ห้อง
- ห้องพักเดี่ยว ราคา ๑,๔๕๐ บาท
- ห้องพักคู่ ราคา ๑,๘๐๐ บาท

*** โดยจะต้องโอนคา่ มดั จาคืนแรกด้วย***
ท้งั น้ี อตั ราค่าห้องพักดงั กล่าว สงวนสทิ ธ์ไิ ว้เพียง ๓๐ ห้อง เท่าน้นั

ผู้เขา้ รว่ มประชมุ สามารถเบิกคา่ ลงทะเบยี นการประชุม ค่าเดินทาง คา่ ทีพ่ ัก จากงบประมาณต้นสังกัด
การประชมุ ไมถ่ ือเป็นวนั ลา และสามารถเบิกคา่ ลงทะเบยี นไดต้ ามระเบยี บกระทรวงการคลังวา่ ด้วยการประชมุ
ค่าใชจ้ า่ ยในการอบรม การจัดงาน และการแประชุมระหว่างประเทศ (ฉบับท่ี ๓) พ.ศ.๒๕๕๕ และตอ้ งได้รบั
อนุมัตจิ ากผ้บู งั คบั บญั ชาแล้ว

๙. วิธีการลงทะเบียน
- กาหนดการลงทะเบียน ระหว่างวนั ท่ี ระหว่างวันท่ี ๒ กนั ยายน ๒๕๖๒ - ๑๑ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๒
- ลงทะเบยี นโดยวิธอี อนไลน์ ตามลงิ ค์ดังน้ี
http://i-regist.com/v2/tcpa/index.php?r=register&project=621127
- ชาระเงินค่าลงทะเบยี นเรียน คา่ มดั จาหอพกั ภายในวนั ที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒
***หลงั ชาระคา่ ลงทะเบียน กรุณาส่งหลกั ฐานการชาระเงนิ มาท่ีเว็บไซดท์ ลี่ งทะเบียน หรอื

Line id: tcpa2562
สามารถสอบถามรายละเอยี ดเพ่ิมเติมได้ท่ี เบอร์มือถือ ๐๘๗-๓๐๔๑๓๗๔ ตดิ ต่อคณุ ปวิตรา

คุ้มปยิ ะผล (เวลา ๙.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ไดท้ กุ วนั ยกเว้น วันองั คาร)

๑๐. การประเมนิ ผล
การประเมนิ พิจารณาจากการสงั เกต การมีส่วนรว่ ม และแบบสอบถามความพึงพอใจในการร่วม

โครงการภายหลงั สนิ้ สุดโครงการประชุม

……………………………………………………..

6

กาหนดการประชมุ วชิ าการระดับชาติ สมาคมนักจติ วิทยาคลนิ กิ ไทย ประจาปี ๒๕๖๒ คร้ังท่ี ๔๓
เร่ือง Smart Living in a Changing World
วันท่ี ๒๗ – ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒

ณ โรงแรมอสี ติน มกั กะสนั ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร

วันพุธท่ี ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๒
๐๗.๔๕– ๐๘.๔๕ น. ลงทะเบียน / ชมโปสเตอรว์ ิชาการ
๐๘.๔๕ – ๐๙.๐๐ น. กลา่ วตอ้ นรับและชี้แจงวตั ถุประสงค์โครงการฯ ประจาปี ๒๕๖๒

โดย อาจารยจ์ นิ ตนา สิงขรอาจ นายกสมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย
๐๙.๐๐ – ๐๙.๔๕ น. พธิ ีเปดิ และปาฐกถาพเิ ศษ เรื่อง Smart Living in a Changing World

พธิ มี อบรางวัลนกั จิตวิทยาคลินกิ เกียรติยศและนักจิตวทิ ยาคลนิ ิกดเี ดน่
โดย นายแพทย์สมยั ศริ ทิ องถาวร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต
๐๙.๔๕ – ๑๐.๐๐ น. พักรบั ประทานอาหารวา่ ง
๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. การอภปิ รายหมู่ เรื่อง “Smart Media - Smart Life”
- อาจารยว์ ันชัย ไชยสิทธ์ิ

รองผอู้ านวยการและนักจิตวิทยาประจาโรงเรียนเสรมิ ทักษะโรสมารี
(Rose Marie Academy)
ประธานคณะกรรมการวิชาชพี สาขาจติ วิทยาคลนิ กิ
- ดร.นพ. วรตม์ โชติพิทยสุนนท์
จิตแพทยเ์ ดก็ และวยั รุ่น กรมสุขภาพจิต
- อาจารยธ์ าม เชอ้ื สถาปนศิริ
สถาบนั แหง่ ชาตเิ พ่อื การพฒั นาเดก็ และครอบครัว มหาวิทยาลัยมหดิ ล
- พ.ต.อ.ดศรริ .วิ ศฒั ริ นิวฒั์ ดนีพ์ ดอพี อ
กองบังคบั การปราบปรามการกระทาความผิดเก่ียวกับอาชญากรรมทาง
เทคโนโลยี
- ดร. วิลาสนิ ี ชัยสิทธิ์ ผดู้ าเนนิ การอภิปรายหมู่
ภาควชิ าจติ เวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิรริ าชพยาบาล มหาวทิ ยาลัยมหดิ ล
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. พักรบั ประทานอาหารกลางวนั
๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. นาเสนอผลงานวิจยั (Oral Presentation) (๒ เรือ่ ง)
ประธาน ดร. สมชาย เตยี วกลุ วทิ ยาลยั เซนตห์ ลุยส์
เลขานกุ าร ดร. อารยา ผลธญั ญา มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม่

7

๑๔.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. การนาเสนอ WISC-V Thailand Adaptation and Standardization Project
โดย อาจารยจ์ ินตนา สิงขรอาจ นายกสมาคมฯ
ดร.เมธี วงศ์วีระพันธ์ุ ท่ีปรึกษาสมาคมฯ
ดร.กุลวดี ทองไพบูลย์ อปุ นายกและประธานวชิ าการสมาคมฯ
๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕ น. พกั รบั ประทานอาหารวา่ ง
๑๔.๔๕ – ๑๕.๑๕ น. ประชุมสามัญประจาปสี มาคมนักจิตวทิ ยาคลนิ กิ ไทย ประจาปี ๒๕๖๒
วาระการประชุม ๑) แถลงผลการดาเนนิ งาน ปี ๒๕๖๒
๒) แสดงบญั ชีงบดุลสมาคมฯ ปี ๒๕๖๒
โดย อาจารยจ์ ินตนา สงิ ขรอาจ นายกสมาคมฯ
๑๕.๑๕ – ๑๖.๓๐ น. การตอ่ อายุใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะสาขาจติ วิทยาคลินิก
โดย อาจารย์วันชยั ไชยสทิ ธ์ิ ประธานคณะกรรมการวิชาชีพฯ
อาจารย์สุภาวดี นวลมณี ผ้ทู รงคุณวุฒจิ ากกรมสขุ ภาพจิต
อาจารยว์ นิดา ชนินทยทุ ธวงศ์ ประธานคณะอนุกรรมการวชิ าชพี ฯ
ด้านพฒั นาวชิ าการและมาตรฐาน
วิชาชพี
อาจารยจ์ ินตนา สงิ ขรอาจ ผทู้ รงคณุ วุฒิจากสมาคมฯ
ผู้ดาเนนิ รายการ
วนั พฤหสั บดีที่ ๒๘ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๒

๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. ประชมุ เชิงปฏบิ ัติการ (Workshop)

Workshop ๑: Fostering healthy social and emotional development in children and
adolescents
วิทยากร ดร. กลุ วดี ทองไพบูลย์

Workshop ๒: From burnt out to flourishing : How to achieve well-being at the workplace
(รบั ผู้เข้าอบรมไม่เกิน ๓๐ คน)
วิทยากร ดร. วิลาสนิ ี ชัยสทิ ธิ์
ภาควชิ าจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลยั มหิดล

Workshop ๓: Aging Well : Psychological Initiative Research
วทิ ยากร รศ.ดร.อรญั ญา ตุย้ คาภรี ์
คณะจติ วทิ ยา จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย
และ อาจารย์สืบพงศ์ ฉตั รธมั มลกั ษณ์
คณะแพทยศาสตรศ์ ิรริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหดิ ล

Workshop ๔: Psychological approaches in patients with physical illness
วิทยากร รศ.พญ. นริ มล พจั นสนุ ทร และ อาจารยจ์ นิ ตนา สิงขรอาจ
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

หมายเหตุ : พักรบั ประทานอาหารกลางวัน เวลา ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.
พักรับประทานอาหารว่าง เวลา ๑๐.๓๐ – ๑๐.๔๕ น. และ ๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕ น.

8

รายการพเิ ศษ - พธิ ีมทุ ติ าจติ
๑๘.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. รายชอื่ อาจารย์ท่ีเกษยี ณอายุราชการในปี ๒๕๖๒

๑. อาจารยน์ คร ศรสี ุโข สถาบันจติ เวชศาสตร์สมเด็จเจา้ พระยา
๒. อาจารยจ์ นิ ตนา หะรนิ เดช รพ.จติ เวชนครราชสมี าราชนครินทร์
๓. อาจารย์ประไพพรรณ นิลวงศ์ รพ.จิตเวชสงขลาราชนครนิ ทร์
๔. อาจารยเ์ สาวลักษณ์ สุวรรณไมตรี กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต
กรมสุขภาพจิต
๕. อาจารยส์ ุภาพร ประดับสมุทร รพ.พระศรมี หาโพธิ์
๖. รศ.ดร.สชุ รี า ภทั รายุตวรรตน์ ภาควชิ าจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศริ ิราชพยาบาล
มหาวิทยาลยั มหิดล
๗. อาจารย์ดวงพร เกตุชรา รพ.สวรรค์ประชารกั ษ์
๘. อาจารยป์ รีชา เพ้ยี นสาอางค์ รพ.แมส่ อด
๙. อาจารยม์ าเรียม ดอรอมาน สถาบันบาบัดรักษาและฟ้นื ฟูผตู้ ดิ ยาเสพตดิ
แหง่ ชาติบรมราชชนนี
- รบั ประทานอาหารคา่
- กิจกรรม “สมาชกิ และเครือข่ายสมั พนั ธ์”

วันศุกรท์ ี่ ๒๙ พฤศจกิ ายน ๒๕๖๒

๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. ประชมุ เชงิ ปฏิบัตกิ าร (Workshop)
Workshop ๑: Fostering healthy social and emotional development in children and
adolescents
วทิ ยากร ดร. กุลวดี ทองไพบลู ย์

Workshop ๒: From burnt out to flourishing: How to achieve well-being at the
workplace
(รับผู้เข้าอบรมไม่เกนิ ๓๐ คน)
วทิ ยากร ดร.วลิ าสนิ ี ชยั สิทธิ์

ภาควชิ าจติ เวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
มหาวทิ ยาลยั มหดิ ล

9

Workshop ๓: Aging Well : Psychological Initiative Research
Workshop ๔: วิทยากร รศ.ดร.อรัญญา ตยุ้ คัมภีร์ คณะจิตวทิ ยา จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั
หมายเหตุ :
และ อาจารย์ ดร.ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล คณะศกึ ษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยบรู พา
Psychological approaches in patients with physical illness
วทิ ยากร รศ.พญ.นิรมล พจั นสุนทร และ อาจารย์จนิ ตนา สงิ ขรอาจ
ภาควิชาจติ เวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแกน่
พกั รบั ประทานอาหารกลางวัน เวลา ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.
พกั รับประทานอาหารว่าง เวลา ๑๐.๓๐ – ๑๐.๔๕ น. และ ๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕

…………………………………………………………….

10

สาระการเรียนรูจากหองประชมุ เชงิ ปฏิบัตกิ าร

Workshop 1: Fostering healthy social and emotional development in children
and adolescents
วทิ ยากร ดร. กลุ วดี ทองไพบูลย

ทักษะทางอารมณและสังคมเปนทักษะสาํ คัญในการดํารงชีวิตอยูในสังคม การเรียนรูทักษะทางอารมณแ ละสังคม
(social and emotional learning) ซง่ึ รวมถงึ การตระหนกั รูในตนเอง (self-awareness) การจัดการตนเอง (self-
management) การตระหนักรูทางสงั คม (social awareness) การรับผิดชอบตอการตัดสินใจ (responsible decision
making) และสัมพันธภาพกับผูอื่น (relationship skills) สามารถลดความเส่ียงและพฤติกรรมที่เปนปญหา รวมทั้งปองกัน
ปญหาสุขภาพจิตเชนความวิตกกังวล และภาวะซึมเศราในเด็กและวัยรุนไดดวย
ใน Workshop นี้ผูเขารวมอบรมจะไดร ับความรูเกี่ยวกับแนวคิด วิธีการ และกิจกรรมในการสงเสริมทกั ษะทาง
อารมณและสังคมในเด็กและวัยรุน ผา นการบรรยาย การทํากิจกรรม และการแลกเปลี่ยนเรียนรรู วมกัน

Workshop 2: From burnt out to flourishing : How to achieve well-being at the workplace
(รับผูเขาอบรมไมเกิน 30 คน)
วิทยากร ดร. วิลาสินี ชัยสิทธิ์
ภาควิชาจิตเวชศาสตร คณะแพทยศาสตร ศริ ริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

องคการอนามัยโลก (WHO) ไดบรรจภุ าวะหมดไฟ (Burn out syndrome) เปนปรากฏการณทางการงานอาชพี
(Occupational phenomenon) ที่มผี ลตอความผาสุกของบุคคลในการทํางานอาชีพในมาตรฐานรหสั โรคสากล ทั้งใน
ฉบับที่10 และ 11 (International International Classification of Diseases-ICD.10, ICD.11) ภาวะน้ีจงึ เปนเร่ืองท่ี
กําลังไดร ับความสนใจ

การอบรมปฏิบัติการนี้ จะนําผูเขารวมประชมุ สํารวจและทาํ ความเขาใจแงมมุ ตาง ๆ ของภาวะหมดไฟ ตั้งแต
สาเหตุ ผลกระทบ รวมกันแลกเปลี่ยนเรียนรูและคนหาวิธีการ และพัฒนาทักษะเพอื่ ใชฟนตัวกลับมาอีกคร้ังหลังภาวะหมดไฟ

11

Workshop 3: Aging Well : Psychological Initiative Research
วิทยากร รศ.ดร.อรัญญา ตุยคําภรี 
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณม หาวิทยาลัย

การกา วสกู ารเปนผูสูงวัยและอาศัยในสังคมเมืองหลวงระดับมหานคร เชน กรุงเทพมหานคร ที่มีความหลากหลาย
รวมถึงความสมั พันธของหนวยตาง ๆ ในสังคมมีความซับซอน อาจสงผลตอความสามารถในการใชชีวิตอยางพึ่งพาตนเองได
อาจกอใหเกิดปญหาสขุ ภาพและการมีคุณภาพชีวิตที่ดลดลงอยา งมีนัยสาํ คัญได ผลกระทบดังกลา วนอกจากจะเกิดกับ
ครอบครวั คนรอบขางแลว ยังสง ผลตอระบบบริการสุขภาพ ระบบเศรษฐกิจและสงั คมโดย และยงั กอตนทุนตอชุมชนและ
สังคมอีกดวย ทมี วิจัยจากคณะจิตวิทยา ซึ่งเปนสวนหนง่ึ ของ “โครงการจุฬาอารี” ในพันธกิจดา น “การพัฒนาเมืองนาอยู
เพอ่ื ผูสงู อายุ (มิติการสนับสนุนของชมุ ชนและการบริการดา นสขุ ภาพ)” ไดเลง็ เห็นความสาํ คญั ของการมีขอมูลวิชาการใน
ลกั ษณะสหศาสตรทแี่ สดงถงึ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคมุ คา ในการเอ้ือใหผูสงู วัยและสงั คมได “เตรียมตัว
เตรียมการ” ตา ง ๆ ในเรือ่ ง การมีสุขภาพจิตที่ดี และอยูดีมีสุข ผา นการสรางความรู การลงมือปฏิบัติ และการมีสวนรวม
กาํ หนดแนวนโยบาย (ทางดานจิตวิทยา) อันจะเปนการลดความเส่ียงตอ การมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตท่ีตํ่าในผูสงู วัยตอไป

Workshop น้ี เปนการนาํ เสนอผลงานการศึกษาวิจัยในเรอ่ื ง การ “สูงวัยอยา งมีความสุขและสุขภาวะ” ใน
ผูสูงอายุที่อาศัยในสังคมเมืองหลวงระดับมหานคร เชน กรงุ เทพมหานคร ผา นกิจกรรม เชน การสัมภาษณเร่ืองราว
ประสบการณ การใชชีวิตประจําวันในการเปนผูสูงวัย หรือมีประสบการณอยูร วมกับผูสูงวัย การสอบถามการตระหนักรู
ของชมุ ชนในเร่ือง “การสูงวัยอยา งมีความสุขและสขุ ภาวะ” การสง เสริมความสัมพันธระหวา งคนในชุมชนและผูสงู วัย ผาน
การทดลองใชส ื่อ เชน การจัดนิทรรศการ แคมเปญและการรณรงค ทางสงั คมออนไลน การสอบถามเก็บขอมูลเก่ียวกับเรื่อง
การสูงวัยอยางมคี วามสขุ และการชวนแลกเปลี่ยนพูดคุย เพ่ือสรางคมู ือประเมินและเสริมสรา งความสุข และสขุ ภาวะใน
ผูสงู อายุทอี่ าศัยในชมุ ชนเมืองนา อยูเพ่ือผูสงู อายุ เปนตน

Workshop 4: Psychological approaches in patients with physical illness
วิทยากร รศ.พญ. นิรมล พัจนสุนทร และ อาจารยจินตนา สิงขรอาจ
ภาควิชาจิตเวชศาสตร คณะแพทยศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน

ปจจุบันศาสตรทางดา นจิตเวชและจิตวิทยามีความสาํ คัญยิ่งตองานดานสุขภาพ เนื่องจากมีผลกระทบตอดา น
รางกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ของผูปวยและผูท่ีเก่ียวขอ ง จําเปนที่บุคลากรดานสาธารณสขุ ตองมคี วามรูความเขาใจ
และทกั ษะในการรับมือและใหความชวยเหลอื ผูปวยและญาติอยา งครอบคลุม

Workshop น้ี ผูเขา อบรมจะไดทราบเกี่ยวกับ โรคและเหตุผลในการสง ปรึกษาท่ีพบบอยใน รพ.ท่ัวไป ทั้งแบบ
เฉียบพลัน เรื้อรงั ระยะสุดทาย และท่ีเก่ียวของกับกฎหมาย และฝกทักษะการประเมนิ และหลักการการดแู ลผูปวยแบบ
ครอบคลุมกาย-จิต-สังคม เทคนิคการส่ือสารเพ่ือการรวมมือและการเปล่ียนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ และตัวอยางกรณีศึกษา

12

Celebration Party : A Night to Remember
มุทติ าจิตและสมาชิกสมั พนั ธ์ สมาคมนักจิตวทิ ยาคลนิ ิกไทย

วันที่ 28 พฤศจกิ ายน 2562 เวลา 18.00-21.30 น.
ณ โรงแรมอิสติน มักกะสัน ถ.เพชรบุรีตัดใหม่

เวลา กิจกรรม
18.00 น. - ลงทะเบียนผเู้ ข้ารว่ มงาน / ลงทะเบยี นของขวญั
18.30 น. - ตอ้ นรับผูเ้ กษยี ณอายุราชการและแขกผู้มีเกียรติ
18.45 น. - ทกั ทาย / ร้องเพลงตามอธั ยาศัย
19.00 น. - เรม่ิ รับประทานอาหาร / กิจกรรมสันทนาการ
19.30 น. - การแสดงชุด “ราฟ้อนอวยพร” / ถา่ ยภาพ / มอบของท่ีระลกึ
- รบั ประทานอาหาร / กิจกรรมสันทนาการ / ร้องเพลงตามอธั ยาศยั
20.45 น. ชว่ งพธิ ีการ
21.30 น. - เชญิ ผูเ้ กษียณบนเวที
- กล่าวต้อนรบั และเปิดงาน โดย อ. วนั ชยั ไชยสิทธ์ิ
- กกบ. สมาคม 7 ทา่ น มอบมาลยั กรแดผ่ เู้ กษียณ
- บทกลอน
- นาเขา้ ส่กู ารชม วีดที ศั น์ฯ ประวตั ิผู้เกษยี ณ
- ความร้สู ึกของผ้เู กษยี ณ (การสมั ภาษณ)์
- มอบของท่ีระลึกจากสมาคมฯ แด่ผู้เกษียณ โดย นายก /อปุ นายกสมาคมฯ
- แขกผู้มเี กียรติมอบของท่รี ะลึก
- แขกผมู้ เี กียรตมิ อบดอกไม้แดผ่ ู้เกษยี ณ
แขกผูม้ ีเกียรตริ ่วมสนุกกบั กิจกรรมสมาชิกสัมพนั ธ์ / ร้องเพลงตามอัธยาศัย
เสร็จสน้ิ งานฯ / กลา่ วปิดงาน โดย อ. วันชยั ไชยสทิ ธิ์

การแต่งกาย ชุดไทย 4 ภาค

13

สว่ นท่ี 2

การนำ�เสนอผลงานวจิ ยั
บทคัดย่อผลงานวิจยั

14

การสง่ เสริมสขุ ภาพจิตสาหรับผ้สู ูงอายุ

Mental Health Promotion for Elderly เมธี วงศว์ ีระพนั ธุ์ 1 *

บทคัดยอ่
การศึกษาวิจัยคร้ังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมสุขภาพจิตสาหรับผู้สูงอายุและแนวทาง
การส่งเสริมสุขภาพจิตสาหรับผู้สูงอายุที่เหมาะสมในชุมชน การวิจัยน้ีเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูล
เป็นตัวแทนกลุ่มผู้สูงอายุของจังหวัดเชียงใหม่จานวน 50 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเลือกแบบ
เจาะจง ตามคุณสมบัติท่ีกาหนดตามเกณฑ์ เครอื่ งมือที่ใช้เก็บข้อมูลคอื แบบสัมภาษณ์ทั่วไปและแบบสัมภาษณ์
ทไ่ี ม่เป็นทางการ แบบสอบถามรวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลกึ การวิเคราะห์ขอ้ มูลเชงิ คุณภาพได้จากการวิเคราะห์
เน้อื หา
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเองเก่ียวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุน้ัน
ผู้สูงอายุมีการรับรู้ความสามารถของตนเองเก่ียวกับการดูแลสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี ( X = 2.92 S.D.
= 0.13) วิถีชีวิตและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมที่นาไปสู่การมีสุขภาพจิตที่ดี ประกอบด้วยการดูแลตนเอง
ตามแบบ แผนการดาเนินชีวิต 6 ด้านคือ 1) โภชนาการ 2) การสนับสนุนระหว่างบุคคล 3) การจัดการกับ
ความเครยี ด 4) การพัฒนาทางจิตวิญญาณ 5) การออกกาลังกาย และ6) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ส่วนการ
ส่งเสริมสุขภาพ จิตสาหรับผู้สูงอายสุ ามารถสรุปเป็นกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพจิตที่เหมาะสมสาหรบั ผสู้ งู อายุ
โดยพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรม 3 ด้านคือ 1) การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ ประกอบด้วย
กิจกรรมทาง ศาสนา กิจกรรมท่ีสนับสนุนการอยู่ร่วมกับวัยอ่ืนในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งกิจกรรม
การชว่ ยเหลือในชมุ ชน กิจกรรมจิตอาสาในชมุ ชน 2) การจดั กิจกรรมส่งเสรมิ สุขภาพด้านร่างกาย ประกอบดว้ ย
กิจกรรม การนวด การออกกาลังกายที่ปลอดภัยและเหมาะสมอาหารที่เหมาะสม และการใช้พืชสมุนไพร
3) การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านสังคม ประกอบด้วย การพัฒนาเครือข่ายผู้สูงอายุ การสร้างเครือข่าย
สังคมดูแล กันและกัน การพัฒนาระบบสวัสดิการ และการส่งเสริมครอบครัวให้มีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุ
ตามความ เหมาะสม
การใช้ทรัพยากรต้นทุนของชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข จิตอาสาผู้ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ชมรม
ผสู้ ูงอายุ หรือชมรมผูป้ ฏิบัติธรรม เพ่ือเป็นแกนนาในการส่งเสริมสขุ ภาพจิต ควบคู่กับระบบบริการสาธารณสุข
จะเป็นประโยชน์สาหรับการสง่ เสริมสขุ ภาพจิตทยี่ งั่ ยนื ตอ่ ไป

คาสาคัญ การสง่ เสริมสุขภาพจิต, ผู้สูงอายุ
------------------------------
1 อาจารยป์ ระจากล่มุ วชิ าพฒั นาสขุ ภาพ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาเภอสนั ทราย จังหวัดเชียงใหม่
* อีเมล์: [email protected] โทรศพั ท์ 085-8646311

15

Abstract
The purposes of this research were to study mental health promotion activities for

the elderly and to provide guidelines for promoting mental health for the elderly in the
community. It was a qualitative research. The key informants were 50 representatives of the
elderly group in Chiang Mai by specific selection method according to the criteria tools. Data
was collected by interviews, informal interviews, in-depth interviews and data was analysed
by content analysis method.

The results found that the elderly perceived their healthcare self-efficacy at a good
level (X=2.92 S.D = 0.13) . Mental health promotion activities for the elderly summarized
from lifestyle and self-care that lead to positive mental health, by focusing on 6
components of lifestyle and self-care; nutrition, interpersonal, stress management, spiritual
development, health responsibility and exercise. An appropriate mental health promotion
activity model for the elderly includes 3 components: 1)mental health promotion: mental /
religious development activities, activities that support happiness living together with
individuals of different ages, helper / volunteer activities in the community 2) physical
health promotion: massage, exercise, food and herb food safety 3) social health promotion:
elderly network development, social care network, welfare system development, and
promoting the role of the family in caring for the elderly.

Mental health promotion would be sustainable by the health system service model
of the Ministry of Public Health and community cost resources: Public Health Volunteers,
Elderly volunteers, elderly Club, Dharma Club.
Keywords: Mental Health Promotion, Elderly

16

บทนา
ในปัจจุบนั ประชากรในวัยสูงอายทุ ่วั โลกกาลงั เพ่ิมขน้ึ อย่างรวดเร็ว โดยสานักงานคณะกรรมการพฒั นา

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้คาดการณ์ว่าเมื่อถึงปี พ .ศ.2568 จะมีผู้สูงอายุทั่วโลกจานวน 823 ล้านคน
แยกเป็นประชากรท่ีอยู่ในประเทศท่ีพัฒนาแล้ว 232 ล้านคน ในประเทศกาลังพัฒนา 561 ล้านคน ซ่งึ เป็นการ
ที่โลกจะเข้าสู่ภาวะประชากรสูงวัย (Population Aging) และในประเทศกาลังพัฒนาอัตราของการเข้าภาวะ
ประชากรสูงวัยจะเร็วกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว (สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,
2552)

ประเทศไทยมีจานวนประชากร 68 ล้านคน โครงสร้างประชากรผู้สูงอายุมีจานวนประชากรผู้สูงอายุ
60 ปีขึ้นไปเท่ากับ 10 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 15 (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2558)
จากจานวนประชากรผสู้ ูงอายทุ ่ีเพมิ่ มากขน้ึ และก้าวเขา้ ส่ภู าวะประชากรสูงวัยอย่างรวดเรว็ น้ีพบว่าใชเ้ วลาน้อย
กว่า 30 ปี ในการเพ่ิมสัดส่วนประชากรสูงวัยเป็นหนึ่งเท่าตัว จากร้อยละ 6.7 เมื่อปี พ.ศ. 2533 เป็นร้อยละ
15.2 ในปี พ.ศ. 2563 (วิทยาลยั ประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย, 2550) สถิติการเพิ่มของผู้สูงอายุ
เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยจากเดิม ปี 2533 มีจานวน 4,017,000 คน ปี 2543 มีจานวน 5,838,000 คน
ปี 2553 มีจานวน 8,508,000 คน และคาดว่าปี 2563 ผู้สูงอายุจะมีจานวน 12,622,000 คน (สานักงานสถิติ
แห่งชาติ, 2561) และคนไทยมีอายุคาดเฉล่ียสูงขึ้น โดยอายุคาดเฉลี่ย เม่ือแรกเกิดถึงปีปัจจุบันเท่ากับ 71 ปี
โดยอายุเพศชายเท่ากับ 68 ปีและอายุเพศหญิงเท่ากับ 75 ปี (ชื่นฤทัย กาญจนจิตราและคณะ, 2550)
การทปี่ ระชากรวัยสงู อายุในประเทศไทยเพ่ิมข้นึ ทั้งจานวนและสัดส่วนนั้น ทาให้ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพหลาย
อย่างตามมา อันเป็นการเปล่ียนแปลงท่ีเกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีสมรรถภาพทางกายลดลงเน่ืองมาจาก
ความเส่ือม ทาให้มีอัตราเจ็บป่วยท่ีต้องเข้ารับการรักษาใน สถานบริการเป็นเวลานาน และใช้ทรัพยากร
ทางดา้ นสขุ ภาพเป็นมูลคา่ สงู มาก

การส่งเสริมสุขภาพ เป็นกระบวนการของการเพิ่มสมรรถนะให้บุคคลสามารถควบคุมปัจจัยที่เป็น
ตัวกาหนดสุขภาพและพัฒนาสุขภาพของตนเอง เป็นผลให้มีสุขภาพดีขึ้นทั้งกายและจิตใจ เพื่อนาไปสู่
การปอ้ งกันการเส่ือมถอยของรา่ งกายจากกระบวนการสงู อายแุ ละความพิการ รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพท่ีจะ
สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพได้ สามารถดูแลตนเองได้ นอกจากน้ีการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้
เข้าร่วมกิจกรรม ก่อให้เกิดประโยชน์ทางร่างกายคือ ทาให้ภาวะสุขภาพทางด้านร่างกายและใจ ดีข้ึน
การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้มีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ซ่ึงทฤษฎีกิจกรรมยืนยันว่าผู้สูงอายุ
ที่สามารถดารงกิจกรรมทางสังคมไว้ได้ จะเป็นผู้ที่มีความพึงพอใจสูง มีภาพพจน์เกี่ยวกับตนเองดี (Decker,
1980) รวมท้ังมีผู้ศึกษาและเสนอแบบจาลองการส่งเสริมสุขภาพเพื่อมุ่งให้บุคคลมีการส่งเสริมสุขภาพที่ดี
เช่น แบบจาลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ เป็นการผสมผสานมุมมองทางศาสตร์การพยาบาล
และพฤติกรรมศาสตร์เก่ียวกับปัจจัยท่ีมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพ ซ่ึงแบบจาลองการส่งเสริมสุขภาพ
ประกอบด้วย ลักษณะและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ความรู้และความรู้สึกที่เฉพาะเจาะจงต่อพฤติกรรม
ท่เี ป็นตัวกระตุน้ ใหเ้ กดิ พฤตกิ รรมและการเกดิ พฤตกิ รรม (Pender, 1996)

ปัญหาท่ีทาให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตเสื่อมลงมาจากปัญหาหลัก 3 ประการคือ(คณะเภสัชศาสตร์
จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย, 2558)

1. ปัญหาเรื่องสุขภาพกายที่มีความเสื่อมไปตามอายุขัย ทาให้สมรรถภาพต่างๆ ของร่างกายท่ีเคย
ทางานได้ดีลดลง ไม่สามารถดาเนินการได้ดีเท่าเดิม ผลก็คือทาให้จิตใจไหวหว่ัน ได้รับความกระทบ กระเทือน
พอสมควร

17

2. ปัญหาเรื่องการเงินหรือสถานภาพทางเศรษฐกิจโดยท่ัวไปจะลดลง เพราะต้องเกษียณจากการงาน
เงินเดือนเคยได้จะลดลง หรือแม้จะไม่ต้องเกษียณอายุการงาน เพราะมีกิจการเป็นของตนเอง แต่ผลงานก็จะ
ลดต่าลง เนื่องจากสภาพร่างกายลดความแข็งแรง หรือบางทีต้องอาศัยเงินจากบุตรหลาน ทาให้ความ
ภาคภูมใิ จลดตา่ ลง หรอื บุตรหลานไม่ดีอยา่ งทค่ี ิดทาให้สุขภาพจิตเสื่อมลงได้มาก

3. ปัญหาทางสังคม สาหรับผู้สูงอายุที่เคยมีบทบาทในสังคมสูง เช่น เคยเป็นข้าราชการระดับสูง
มีอานาจและบารมี ทาให้มีคนนับถือจานวนมาก เมื่อเกษียณอายุการงานออกมา จะทาให้มีปัญหาสุขภาพจิต
มากกว่าคนธรรมดา เพราะผู้สูงอายุจะไม่มีสถานภาพทางสังคมแบบเดิม และไม่มีอานาจในการต่อรอง
ทางสังคมได้ ส่งผลกระทบตอ่ จิตใจคอ่ นขา้ งมาก

นอกจากนั้นยังมีปัญหาปลีกย่อยในแต่ละบุคคลซึ่งแตกต่างกันไป ผลของปัญหาเหล่านี้จะกระทบจิตใจ
ของผู้สูงอายุทาให้เกิดความเครียด ซึ่งแต่ละคนจะต้องมีการปรับตัวเพื่อสู้ความเครียด ถ้าปรับตัวได้ ทาให้
รา่ งกายและจิตใจกอ็ ยใู่ นสภาพปกติ แต่ถา้ ไม่สามารถปรบั ได้ย่อมส่งผลต่อการเกิดปญั หาสุขภาพจิตตามมาเพิ่ม
มากขึ้น จนกลายเป็นโรคทางจิตเวชในผู้สูงอายุได้ โดยปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ 5 อันดับแรกคือ
ความวิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ภาวะสมองเส่ือม และปัญหาเรื่องเพศ(คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2558)

กรมสขุ ภาพจิตไดจ้ ัดทาแนวทางการดาเนนิ งานส่งเสรมิ สุขภาพจติ และป้องกันปัญหาสขุ ภาพจิตสาหรับ
ผู้สูงอายุให้กับโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตาบล (สานักงานส่งเสริมและพัฒนา
สุขภาพจิต, 2560) ซ่ึงมีกรอบการดาเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ มุ่งเน้น
การพัฒนาความสุขเชิงจิตวิทยาให้แก่ผู้สูงอายุ โดยดาเนินการตามกิจกรรมการสร้างสุข 5 มิติ ได้แก่
1) สุขสบาย หมายถึง ความสามารถของผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพร่างกายให้มีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรง
คล่องแคล่วมีกาลัง สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางกายภาพได้ตามสภาพที่เป็นอยู่ มีเศรษฐกิจหรือ
ปัจจัยที่จาเป็น พอเพียง ไม่มีอุบัติภัยหรืออันตราย มีสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพ ไม่ติดส่ิงเสพติด
2) สุขสนุก หมายถึง ความสามารถของผู้สูงอายุในการเลือกวิถีชีวิตท่ีรื่นรมย์ สนุกสนาน ด้วยการทากิจกรรม
ที่ก่อให้เกิดอารมณ์เป็นสุข จิตใจสดช่ืน แจ่มใส มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซ่ึงกิจกรรมเหล่านี้สามารถลดความซึมเศร้า
ความเครียดและความวิตกกังวลได้ 3) สุขสว่าง หมายถึง ความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต ความภาคภูมิใจในตนเอง
ความเชื่อม่ันในตนเอง เห็นคุณค่าในตนเอง การยอมรับนับถือตนเอง ให้กาลังใจตนเองได้ เห็นอกเห็นใจผู้อ่ืน
มลี ักษณะเอ้ือ เฟือ้ แบง่ ปัน และมสี ่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้อน่ื ในสังคม 4) สุขสง่า หมายถงึ ความสามารถของ
ผู้สูงอายุ ด้านความจา ความคิดอย่างมีเหตุผล การส่ือสาร การวางแผนและการแก้ไขปัญหา ความสามารถใน
การคิดแบบนามธรรม รวมทั้งความสามารถในการจัดการสิง่ ตา่ งๆ ได้อยา่ งมีประสิทธภิ าพ 5) สุขสงบ หมายถึง
ความสามารถของบุคคลในการรับรู้เข้าใจความรู้สึกของตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์ และสามารถจัดการกับ
สภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถผ่อนคลายให้เกิดความสุขสงบกับตัวเองได้ รวมท้ัง
ความสามารถในการปรับตัว ปรับสภาพส่ิงที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เป้าหมายสุดท้ายของการส่งเสริม
สุขภาพจิต ผสู้ งู อายุ เพือ่ ให้ผ้สู งู อายมุ สี ุขภาพจิตทีด่ ี

กรมสุขภาพจิตได้มีการดาเนินงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ในพ้ืนท่ี
ดาเนินงานระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล ต้ังแต่ปี 2554 เน้นการดาเนินงานในชมรมผู้สูงอายุ
เพ่ือคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกัน
ปัญหาสุขภาพจิตให้กับผู้สูงอายุ ปี 2555 มีการพัฒนาและสนับสนุนให้เกิดบริการงานสุขภาพจิตในคลินิก
ผู้สูงอายุ และ คลินิกโรคไมต่ ิดตอ่ ในสถานบรกิ ารระดับโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลท่ัวไป ปี 2556 ได้มี
การพัฒนาแนว ทางการดูแลทางด้านสังคมจิตใจใหก้ บั ผู้สงู อายุ ปี 2557 ได้พัฒนาเกณฑเ์ บอ้ื งต้นในการสง่ เสริม

18

สขุ ภาพจติ และ ปอ้ งกนั ปัญหาสุขภาพจติ ผู้สูงอายุในชมุ ชน และในปี 2558 ได้มีการส่งเสรมิ และพฒั นาให้ชุมชน
สามารถส่งเสริม ศักยภาพให้กับผู้สูงอายุในชุมชนและมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุได้ รวมท้ัง
การพัฒนาศักยภาพ บุคลากรให้สามารถส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงอายุในชุมชนได้
(กรมสุขภาพจติ , 2560)

ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ดาเนินการศึกษาวิจัยเร่ืองการส่งเสริมสุขภาพจิตสาหรับผู้สูงอายุ เพ่ือศึกษา
การส่งเสรมิ สุขภาพจิตสาหรบั ผู้สูงอายุ และแนวทางการส่งเสริมสขุ ภาพจิตสาหรับผู้สูงอายทุ เี่ หมาะสมในชุมชน
เพ่ือขยายไปสู่กลุม่ ผู้สงู อายุในชุมชนอนื่ ตอ่ ไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมสุขภาพจิตสาหรับผู้สูงอายุ และแนวทาง
การส่งเสริมสุขภาพจิตสาหรบั ผูส้ ูงอายทุ ่ีเหมาะสมในชุมชน
ระเบยี บวธิ วี จิ ัย

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาการส่งเสริมสุขภาพจิต และแนวทาง
กจิ กรรมการส่งเสริมสุขภาพจติ ที่เหมาะสม มาใช้เปน็ แนวทางในการส่งเสริมสขุ ภาพจิตผสู้ งู อายุต่อไป
ลักษณะประชากร

ผู้ให้ข้อมูลสาคัญคือ ผู้สูงอายุจานวน 50 คน ซ่ึงเป็นตัวแทนกลุ่มผู้สูงอายุของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้ให้
ข้อมูล ข้อคิดเห็นและอ่ืนๆ ในกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพจิต โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ตามคุณสมบัติ
ทีก่ าหนด คอื

1) เป็นผู้สูงอายุท่ีมีอายุยืนยาว โดยเพศชายอายุต้ังแต่ 68 ปีข้ึนไปและเพศหญิงอายุต้ังแต่ 75 ปีข้ึนไป
(ชื่นฤทัย กาญจนจิตราและคณะ, 2550) และ 2) ได้รับการยืนยันว่าเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพจิตดี จากการ
สอบถามบุคคลสาคัญในชุมชนที่รู้จักคุ้นเคยกับผู้สูงอายุ ได้แก่ ผู้นาชุมชน ประธานชมรมผู้สูงอายุ
และอาสาสมัคร สาธารณสุข เป็นตน้ รวมทั้งการยอมรับจากตัวผู้สูงอายุเอง และมคี วามเต็มใจ ยินยอมเข้าร่วม
ในการวิจัย สามารถสื่อสารพูดจาโต้ตอบภาษาไทยดี และมีการรับรู้ที่ดีซึ่งสามารถประเมินจากการสอบถาม
โดยตรง
สถานที่ดาเนนิ การศึกษา

ชมรมผสู้ งู อายุ ภายในจงั หวัดเชียงใหม่
ขอบเขตของการวจิ ัย

การดาเนนิ การวิจยั ไดก้ าหนดขอบเขตการศึกษาวจิ ยั ไวด้ ังนี้
1.ขอบเขตของเนื้อหาในการวิจัยกาหนดกิจกรรมเพ่ือการส่งเสริมสุขภาพจิตจากพฤติกรรมสร้างเสริม
สุขภาพตามแนวคิดเพนเดอร์ (Pender, 1996) โดยเน้นกิจกรรมด้าน 1) โภชนาการ 2) การสนับสนุนระหว่าง
บุคคล 3) การจัดการกับความเครียด 4) การพัฒนาทางจิตวิญญาณ 5) การออกกาลังกาย และ 6) ความ
รับผิดชอบตอ่ สขุ ภาพ
2.ขอบเขตเวลา การศึกษามีระยะเวลาดาเนนิ งานวจิ ยั ประมาณ 12 เดอื น (ก.ค. 2560 - ส.ค. 2561)
3.ขอบเขตพนื้ ทศี่ ึกษาวจิ ยั คอื ชมรมผู้สูงอายุ 21 ชมรม ในพ้นื ทจี่ ังหวัดเชียงใหม่
เครอ่ื งมอื ท่ีใชใ้ นการรวบรวมขอ้ มลู
ประกอบด้วยแบบสมั ภาษณ์ข้อมูลลักษณะท่ัวไปของผู้สงู อายุ แบบสมั ภาษณแ์ บบไม่เป็นทางการ เกยี่ วกับ
การส่งเสริมสุขภาพจิต และแบบสัมภาษณ์เจาะลึกเกี่ยวกับกิจกรรมของการดาเนินชีวิต ที่ทาให้มีสุขภาพจิต

19

ท่ีดีตามแบบแผนพฤติกรรมสุขภาพครอบคลุมทั้ง 6 ด้าน 1) โภชนาการ 2) การสนับสนุนระหว่างบุคคล
3) การจัดการกับความเครียด 4) การพัฒนาทางจิตวิญญาณ 5) การออกกาลังกาย และ 6) ความรับผิดชอบ
ต่อสขุ ภาพ
แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองเก่ียวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ มีลักษณะคาถาม
เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) แบ่งเป็น 3 อันดับตัวเลือก คือ เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย
ให้ผู้ตอบเลือกตอบเพียงคาตอบเดียว คาถามมีท้ังด้านบวกและด้านลบ เป็นถามการรับรู้ความสามารถของ
ตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ จานวน 12 ขอ้ โดยมเี กณฑก์ ารใหค้ ะแนนดังน้ี
การให้คะแนนแบบสอบถามซึ่งมีทั้งคาถามด้านบวก จานวน 8 ข้อ ได้แก่ ข้อ 1, 2, 6, 8, 9, 10, 11
และ12 และคาถามด้านลบ จานวน 4 ข้อ ได้แก่ ข้อ 3, 4, 5 และ7 และได้กาหนดเกณฑ์การให้คะแนน
ดังนี้
ข้อความท่ีแสดงดา้ นบวก ข้อความท่ีแสดงดา้ นลบ
เห็นดว้ ย 3 คะแนน 1 คะแนน
ไมแ่ น่ใจ 2 คะแนน 2 คะแนน
ไม่เหน็ ดว้ ย 1 คะแนน 3 คะแนน
การแปลความหมายของระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูง
อายมุ ีเกณฑ์พจิ ารณาดงั นี้ (ดดั แปลงจาก วารินทร์ ปยุ ทอง, 2547)
คะแนน 2.50-3.00 ระดับดี คะแนน 1.51-2.49 ระดบั ปานกลาง คะแนน 1.00- 1.50 ระดบั พอใช้

การวเิ คราะหข์ ้อมลู
1. วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามขอ้ มูลลักษณะท่ัวไปของผู้สูงอายุ โดยใชส้ ถิติพรรณนา โดยการ หา

ค่าร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ
โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบ่ยี งเบนมาตรฐาน

2. ขอ้ มูลจากการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์แบบเจาะลกึ
ข้นั ตอนท1ี่ การวิเคราะห์ข้อมลู ด้วยการทาดชั นขี อ้ มลู และการสร้างบทสรุป โดยวธิ ีวเิ คราะหเ์ นื้อหา
ขั้นตอนท่ี2 การวิเคราะห์เน้ือหาจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เพื่อจัดแนวทางของกิจกรรม
การส่งเสริมสุขภาพจติ ท่เี หมาะสม

ผลการวจิ ยั
กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จานวน 50 ราย ท่ีได้รับการยืนยันว่าเป็นผู้สูงอายุท่ีมีสุขภาวะดีจากบุคคลสาคัญ

ในชุมชนท่ีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย จานวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 อยู่ในช่วงอายุ 60 – 70 ปี
จานวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 มีสถานภาพสมรสอยู่ร่วมกัน จานวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 70.00
ประกอบอาชีพข้าราชการบานาญ จานวน 20คน คิดเป็นร้อยละ 40.00 มีรายได้ประมาณ 10,001-20,000
บาท คิดเป็นร้อยละ 40.00 มีโรคประจาตัว จานวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 และผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็น
สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จานวน 49 คน คดิ เป็นร้อยละ 98.00

ผลการศึกษาการรับรู้ความสามารถของตนเองเก่ียวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุมีการ
รับรู้ ความสามารถของตนเองเก่ียวกับการดแู ลสขุ ภาพโดยรวมอยู่ในระดบั ดี (X= 2.92 S.D = 0.13)

กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตสาหรับผู้สูงอายุสามารถสรุปจากวิถีชีวิตของผู้สูงอายุและการดูแลตนเอง
แบบองค์รวมท่ีนาไปสู่การมีสุขภาพจิตที่ดี จากการดูแลตนเองตามแบบแผนการดาเนินชีวิต ประกอบด้วย

20

โภชนาการ การสนับสนุนระหว่างบุคคล การจัดการกับ ความเครียด การพัฒนาทางจิตวิญญาณ
ความรับผดิ ชอบต่อสุขภาพ และการออกกาลังกาย ดังน้ี

1. โภชนาการ ผู้สูงอายุจะเลือกรับประทานอาหารพ้ืนบ้านที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน และมีความ
ต้องการอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ แต่จะลดปริมาณอาหาร เคร่งครัดการรับประทานอาหารมีคุณค่า ปริมาณท่ี
เหมาะสม การปรุงอาหารใช้วัตถุดิบท่ีหาง่ายตามบ้าน เน้นเครื่องปรุงท่ีเป็นสมุนไพรไทย และเลือกรับประทาน
อาหารที่เป็นประโยชน์ไมเ่ กดิ โทษตอ่ รา่ งกาย

2. การสนับสนุนระหว่างบคุ คล ผู้สูงอายยุ งั มีการประกอบอาชีพอยู่บ้าง และถ่ายทอดความรู้ภมู ิปัญญา
สู่ลูกหลานรุ่นหลังๆ ผู้สูงอายุจึงกลายเป็นที่ปรึกษา ลักษณะสังคมผูกพันใกล้ชิด เครือญาติไปมาหาสู่กันเป็น
ประจา และผู้สูงอายุท่ีมีบทบาทในสังคมช่วยเหลือกิจกรรมการกุศล อุทิศเวลาส่วนตัวในการทาหน้าที่ของ
ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมจิตอาสา คณะกรรมการหมู่บ้าน โรงเรียนผู้สูงอายุ มีการนัดพบปะเพื่อปรึกษาหารือ
ทางานร่วมกัน ส่งผลให้เกิดสัมพันธภาพท่ีดีกับเพื่อนบ้าน สมาชิกองค์กรต่างๆ ในชุมชนที่อาศัยอยู่มีการพึ่งพา
อาศัยกันตามสมควร นอกจากน้ีบทบาทของครอบครัวไทย ที่มีการดูแลเก้ือหนุนพ่อแม่ที่แก่ชราเป็นหน้าที่ของ
บุตรหลาน จงึ กลายเป็นส่ิงทยี่ ึดปฏิบัตกิ ันมาโดยตลอด

3. การจัดการความเครียด ผู้สูงอายุเผชิญความเครียดท้ังปัญหาส่วนตัว เศรษฐกิจ ผู้สูงอายุเคยได้รับ
การสอนถ่ายทอดจากคนรุ่นพ่อแม่ในการทาใจให้สงบ ผู้ท่ีมีความเครียดได้ปฏิบัติกิจกรรม ทางศาสนาแล้วเกิด
ความผ่อนคลาย เป็นความเชื่อท่ีทาให้จิตใจสงบ การไปวัดหรือการทาบุญเป็นกิจวัตร ส่วนหน่ึงท่ีต้องปฏิบัติ
โดยเป็นกิจกรรมท่ที าอย่างต่อเนอ่ื งสม่าเสมอ ครอบครวั ของชาวพุทธ ให้ความสาคัญกับการไปวัด ฟังเทศนแ์ ละ
ทาบุญในวันสาคัญทางศาสนา เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ซง่ึ ผลจากการ ทาบุญแล้ว ทาให้เกิดความสงบของจิตใจ
จึงเป็นสิง่ ที่ยึดปฏิบัติ สาหรับผู้ท่ีมคี วามเครียดจึงหันไป ปฏิบัติทางศาสนาทาให้มองสภาวะทุกอย่าง ด้วยความ
เปน็ จริงและยอมรับความจริงทเ่ี กิดขน้ึ แลว้ เกดิ การผอ่ นคลายไดด้ ี

4. การพัฒนาทางจิตวิญญาณ ผู้สูงอายุสุขภาพจิตดีไม่ปล่อยให้วันเวลาล่วงผ่านเป็นเพียงการเพิ่ม
ความชราให้แก่ชีวิต แต่เป็นการเพิ่มความงดงามและคุณค่าให้แก่ชีวิตเม่ือวันเวลาล่วงผ่านไป ความสาเร็จ
ในชีวิตเป็นความพอใจและการรับรู้ถึงการประสบความสาเร็จในการดาเนินชีวิต มองโลกในแง่ดี มี ความ
ภาคภูมิใจในตนเอง มีความกระตือรือร้น เอาใจใส่ต่อชีวิต รู้เท่าทันเหตุการณ์ มีการตั้งเป้าหมายของชีวิต
และใชค้ วามพยายามเพอื่ ใหบ้ รรลุเป้าหมายทต่ี นตอ้ งการ ผู้สูงอายุยึดหลักคาสอน และแนวทางการดาเนิน ชวี ิต
ตามหลักของศาสนาพุทธ มักมีความเช่ือเร่ืองเวรกรรมและส่ิงศักด์ิสิทธิ์จึงเป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาจิตใจ ให้สงบ
สุขได้

5.การออกกาลังกาย ผู้สูงอายุทมี่ ีสขุ ภาพจิตดี ยึดหลักการได้ออกแรงมากพอทจ่ี ะเทียบเท่าว่า เปน็ การ
ออกกาลังกายได้ คือการออกแรงอย่างต่อเน่ืองจากภาระหน้าท่ีประจาตอ้ งปฏิบัติทุกวัน และไมม่ ี ความจาเป็น
อันใดท่ีจะต้องออกกาลังกายเหมือนเช่นนักกีฬา เป็นการหาวิธีการที่เหมาะสมในหลักคิด เดิมของผู้สูงอายุคือ
ตอ้ งออกแรงกระทาอย่างตอ่ เน่ืองในการทางาน

6.ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีมีเจตนารมณ์เพื่อการดูแลตนเอง และให้ความ
สาคัญกับภาวะสุขภาพของตนเองมาตลอดต้ังแต่อดีตในทุกเร่ือง เช่น อาหาร ออกกาลังกาย เน้นการดาเนิน
ชีวิตประจาวันที่เรียบง่าย เป็นวิถีชีวิตท่ีจะพาไปสู่ความสุขด้วยการทาตัวตามสบาย ไม่ผูกมัดตนเอง
ดว้ ยกฎเกณฑ์ต่างๆ มากมาย กนิ ง่าย อยู่ง่าย และดารงชวี ิตโดยยึดความพอเพียง ซึ่งการเปลย่ี นแปลงท่เี หน็ ได้
ชัด คือการเปล่ียนแปลงด้านร่างกาย ผู้สูงอายุเองให้ความสนใจการเปลี่ยนแปลงเหล่าน้ีเป็นอย่างมาก
มุ่งส่งเสริมการทางานของร่างกายให้ ทางานอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการดูแลสมองเป็นพิเศษ และเลือกวิธี
การพักผ่อนดว้ ยการทอ่ งเที่ยว

21

สาหรับรูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพจิตที่เหมาะสมเพ่ือการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ
สามารถสรุปแนวทางการจดั กจิ กรรมท่คี รอบคลุม 3 ดา้ นดังนีค้ อื

1.การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ ประกอบด้วยการจัดกิจกรรมพัฒนาจิตใจ และ กิจกรรม
ศาสนา เช่น การน่ังสมาธิ สวดมนต์ เป็นต้น และสง่ เสริมกิจกรรมท่ีสนับสนุนการอยู่ร่วมกับวัยอ่ืน ในสังคมได้
อย่างมีความสุข ลดช่องว่างระหว่างวัย รวมท้ังส่งเสริมกิจกรรมการช่วยเหลือ ใน ชุมชนกิจกรรมจิตอาสาใน
ชมุ ชน

2. การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกาย ประกอบด้วย อาหารที่เหมาะสมสาหรับผู้สูงอายุ
เพื่อสุขภาพดี และการใช้พืชสมุนไพรและรูปแบบของการออกกาลังกายท่ีปลอดภัยและเหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ
โดยการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ เคร่ืองมือในการออกกาลังกายท่ีมีอยู่ในท้องถ่ิน และกิจกรรมสันทนาการ รวมทั้ง
จัดกิจกรรมการนวดพื้นฐาน การนวดเท้า กิจกรรมสังเกตและเรียนรู้ผู้สูงอายุต้นแบบท่ีสุขภาพดีท้ังทางตรง
และทางออ้ ม

3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านสังคม ประกอบด้วย การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ โรงเรียน
ผู้สูงอายุ และเครือข่ายผู้สูงอายุให้มีความย่ังยืน รวมท้ังการสร้างเครือข่ายสังคมดูแลกันและกัน และการ
พัฒนาระบบสวัสดิการ จัดสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัย ส่งเสริมครอบครัวให้มีบทบาท ในการ
ดูแลผสู้ ูงอายุตามความเหมาะสม
สรุปและอภิปรายผลการวจิ ยั

ผู้สูงอายุที่มสี ุขภาพจิตดีน้ัน มีการรับรู้ความสามารถของตนเองเก่ียวกับการดูแลสุขภาพโดยรวมอยู่ใน
ระดับดี เข้าใจกระบวนการเป็นผู้สูงอายุว่าเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นไปตามอายุท่ีเพิ่มขึ้น
เป็นความเสื่อมท่เี กย่ี วขอ้ งกับกรรมพันธ์ุ ส่ิงแวดล้อม และพฤติกรรมการดแู ลของแต่ละบคุ คล สาหรับผู้สงู อายุ
ท่ีสามารถทากิจกรรมได้ หรือทางานได้ ผู้สูงอายุกลุ่มน้ียังแข็งแรง มีการประกอบอาชีพอยู่ ซ่ึงเป็นอาชีพเดิม
ส่วนผู้สูงอายุที่เกษียณอายุแล้ว ก็จะทากิจกรรมอ่ืนๆ ที่ยังสามารถแสดงให้เห็นว่ายังมีความสามารถทางานได้
แต่ก็จะมีผู้สูงอายุท่ีทางานได้น้อยลง หรือสามารถทากิจกรรมได้ลดลง กลุ่มผู้สูงอายุนี้เคยทางานได้มาก่อน
แต่เมื่ออายุมากข้ึนทางานได้ลดลง หรือการมีโรคประจาตัว สอดคล้องกับการศึกษาของ Schwingel et al.
(2009) เร่ืองการทางานอย่างต่อเน่ืองและความสมัครใจกับสุขภาพจิตท่ีดีของผู้สูงอายุ: การศึกษาระยะยาว
ของผู้สูงอายุในสิงคโปร์ ท่ีชี้ให้เห็นว่าการทางานอย่างต่อเนื่องหรือตามความสมัครใจ ได้หยิบยกโอกาสในด้าน
ปฏิสมั พนั ธ์ทางสงั คมทม่ี ีความสัมพันธก์ บั การสง่ เสรมิ ให้สุขภาพจิตดีขน้ึ

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ผู้สูงอายุท่ีมีสุขภาพจิตดีให้ความสาคัญและจริงจังในการรับผิดชอบด้านสุขภาพ
มาก เม่ือเข้าวัยสูงอายุการจะมีความสุขได้น้ัน สุขภาพกายและสุขภาพจิตก็ต้องดีด้วย ผู้สูงอายุจึงจาเป็นต้องหม่ัน
ไปตรวจร่างกายประจาปีอย่างสม่าเสมอ และรีบไปพบแพทย์แต่เนิ่นๆ เมื่อเร่ิมมีอาการที่บ่งชี้ว่าเจ็บป่วย
ระมัดระวังและป้องกันไมให้ตนเองเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ ควบคุมดูแลสุขอนามัยของตนเองอย่างเคร่งครัด
เลือก กิจกรรมทางกายท่ีเหมาะสมกับวัยและสภาพร่างกายของตนเอง รับประทานอาหารท่ีมีประโยชน์ ปริมาณ
เพียงพอให้คุณค่าทางอาหารครบ ปรับให้เหมาะสมกับวัย จากัดในปริมาณเพียงพอในแต่ละวัน ดื่มน้าสะอาดให้
เพียงพอกับความต้องการของร่างกายอย่างน้อย ให้ได้ปริมาณวันละ 8 แก้ว ดูแลระบบขับถ่ายของตนเองให้เป็น
ปกติ นอนหลับให้เพียงพอ นอนพักผ่อนช่วงกลางวัน และอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ให้ความสาคัญกับสมอง
ซ่ึงเป็นอวัยวะสาคัญที่ส่งผลต่อวิถีการดาเนินชีวิต และความเป็นอยู่ สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ธันยพร
สุรินทร์คา (2544) ท่ีพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ค่อนข้างดี มีการออกกาลังกาย
มีสว่ นร่วมในกจิ กรรมของหมู่บ้าน มกี ารสวดมนตไ์ หวพ้ ระเป็นประจา และได้อาศยั ในสงิ่ แวดล้อมทีด่ ี

22

นอกจากผู้สูงอายุดูแลสุขภาพของตนเองเป็นอย่างดีแล้ว ก็ต้องดูแลสุขภาพจิตร่วมด้วย โดยทาจิตใจ
ให้เบิกบานอยู่เสมอ ไม่ให้ตนเองเกิดความเครียด หงุดหงิด ฉุนเฉียว ท้อแท้หรือน้อยใจ หรืออาจหากิจกรรม
ท่ีทาให้ตนเองได้พักผ่อนหย่อนใจ มิฉะนั้นจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพจิตของตนเอง และสัมพันธภาพกับลูกหลาน
และคนอื่น การใช้จ่ายหรือการมีกิจกรรมตามแต่สถานภาพของแต่ละบุคคลที่มีอยู่ ไม่ทาให้ตนเองหรือคนอื่น
เดือดร้อน และดาเนินชีวิตอยู่บนทางสายกลาง คิดทาในส่ิงที่ทาได้ให้เกิดความสอดคล้องกับธรรมชาติมากท่ีสุด
เชื่อว่าจะทาให้มีชีวิตที่ยืนยาวได้ สอดคล้องกับ Puterman and Epel (2012) ได้ศึกษาพบว่า ความเครียด
ในชีวติ จะเปน็ สงิ่ ท่ีกอ่ ให้เกิดการพฒั นาและนาไปสู่การเจ็บป่วยในวยั สงู อายุด้วยเช่นกัน

ผสู้ ูงอายุท่ีมีบทบาทในสังคม ช่วยเหลือกจิ กรรมการกุศล อุทิศเวลาส่วนตัวโดยการทาหน้าที่ของชมรม
ผู้สูงอายุ ชมรมจิตอาสา คณะกรรมการหมู่บ้าน โรงเรียนผู้สูงอายุ ซ่ึงจะมีการนัดพบปะเพื่อปรึกษาหารือ
ทางานร่วมกัน ส่งผลให้เกิดสัมพันธภาพท่ีดีกับเพื่อนบ้าน สมาชิกองค์กรต่างๆ ในชุมชนที่อาศัยอยู่มีการพ่ึงพา
อาศัยกันตามสมควร ที่สาคัญคือการได้ทาคุณประโยชน์แก่สังคม การได้ช่วยเหลือผู้อ่ืนโดยไม่หวังผลตอบแทน
ใดๆ ส่วนมากจะได้รับความเคารพนับถือ ได้รับเกียรติในการให้คาแนะนาท่ีมีผู้อ่ืนรับฟังและปฏิบัติตาม
ความเบิกบานใจเกิดจากการทากิจกรรมกับเพื่อนบ้านหรือผู้สูงอายุวัยเดียวกัน การได้ทาสิ่งที่ตนเองชอบ
ทางานยามว่าง รวมท้ังการมีอารมณ์ขันในกลมุ่ เพ่ือนทาใหผ้ ู้สูงอายุไม่เหงา ไม่รสู้ ึกเบื่อหรอื โดดเดี่ยว สอดคล้อง
กับ Krause (2010) ที่ศกึ ษา คณุ ภาพชีวิตในสว่ นเพอื่ นสนิท การแสดงความรูส้ ึก และความผาสุกทางด้านจิตใจ
กลุ่มผู้สูงอายุในประเทศสหรัฐอเมริกาว่า ผู้สูงอายุที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนในทางที่ดี จะมีการแสดงออก
ในแง่ของระดบั ความรู้สึกของตนเองทส่ี งู กวา่ ผสู้ ูงอายทุ ่ีไมค่ ่อยมีกลมุ่ เพื่อน

กิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ/โรงเรียนผู้สูงอายุ สะท้อนให้เห็นว่าผู้สูงอายุเป็นพลังทางสังคมท่ียังเป็น
ประโยชน์ต่อการพัฒนาอย่างแท้จริง การที่ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ทาให้ครอบครัวและชุมชน
เข้มแข็งข้ึน การมีโอกาสอยู่ร่วมกับสมาชิกในครอบครัวและชุมชน การได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาและเช่ือมโยง
ห่วงโซ่แห่งวัฒนธรรมให้สืบทอดต่อไป ความสัมพันธ์เช่นนี้เร่ิมมีต้ังแต่ในระดับครอบครัวไปจนถึงระดับชุมชน
และสังคม เป็นการทาประโยชน์เพ่ือสังคมในช่วงบั้นปลายของชีวิตให้มากที่สุด เป็นที่ยอมรับของบุตรหลาน
และสังคม รวมท้ังเมธี วงศ์วีระพันธ์ุ(2558) ยังได้เสนอแนวทางการส่งเสริมสุขภาวะด้านจิตใจโดยใช้กิจกรรม
ดา้ นศาสนาเพม่ิ เตมิ ไว้กับการดาเนนิ การของชมรมผสู้ งู อายุอีกดว้ ย
ข้อเสนอแนะ

ผลการศึกษาคร้ังนี้ มีข้อเสนอแนะตอ่ กิจกรรมการสง่ เสริมสขุ ภาพจติ สาหรบั ผ้สู ูงอายุดังน้ี
1. กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพจิต ควรเน้นกิจกรรมเชิงรุกในชุมชนมากข้ึน และระบบบริการด้าน

สุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลต้องสอดคล้องกับวิถีชุมชนและ เอื้อต่อการดูแลตนเองของผู้สูง
อายุอยา่ งตอ่ เน่อื ง

2. การใช้ทรัพยากรต้นทุนของชุมชน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข อาสาสมัคร จิตอาสาผู้ดูแล
ผู้สูงอายุท่ีบ้าน ชมรมผู้สูงอายุ หรือชมรมผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นแกนนาในการส่งเสริมสุขภาพจิต ควบคู่กับ
ระบบบรกิ ารสาธารณสุข จะเปน็ ประโยชน์สาหรบั การส่งเสรมิ สุขภาพจิตทยี่ ั่งยนื ตอ่ ไป
กติ ตกิ รรมประกาศ

ขอขอบพระคุณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการสนับสนุน งบประมาณอุดหนุนวิจัย
ประจาปี 2560 ครั้งนี้
เอกสารอ้างองิ
กรมสุขภาพจติ . (2560). สถานการณป์ ัญหาสุขภาพผู้สงู อายุ. [ออนไลน์] เข้าถงึ ได้จาก: www.dmh.go.th/

23

download portal/Strategy/ผู้สูงอายุ.pdf สืบค้น วันท่ี .เมษายน27 2558
คณะเภสัชศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย .(2558). ปญั หาสุขภาพจติ ของผสู้ งู อายุ .[ออนไลน์] เขา้ ถงึ ไดจ้ าก:

http://www.pharm.chula.ac.th/ physiopharm/content/ activity_%20lh/.6.2.9html
สืบคน้ วันที่27 เมษายน 2558
ชื่นฤทัย กาญจนจติ ราและคณะ.(2550) .สุขภาพคนไทย . 2550 สถาบนั วจิ ยั ประชากรและสังคม
มหาวิทยาลยั มหดิ ล กรุงเทพฯ : อัมรนิ ทร์พร้ินต้งิ พลับลิชชิ่ง.
ธนั ยพร สรุ นิ ทรค์ า. (2544). วิถีการดาเนินชีวิตของ ผสู้ ูงอายทุ ่มี ีสุขภาพดีในตาบลเหมืองจ้ี อาเภอเมือง
จังหวดั ลาพนู . วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวชิ าการพยาบาลอายรุ ศาสตร์
ศลั ยศาสตร์ บณั ฑติ วทิ ยาลัย มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม.่
มลู นธิ ิสถาบนั วิจยั และพฒั นาผู้สงู อายไุ ทย. (2558). สถานการณผ์ ู้สงู อายุไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ :

อมรินทรพ์ รนิ้ ติง้ แอนด์พับลชิ ช่งิ จากดั (มหาชน).
เมธี วงศว์ ีระพันธ.์ุ (2558). ภูมิปัญญาทอ้ งถน่ิ เพือ่ การสง่ เสริมสุขภาวะ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ

ด้านจิตวิทยาระดับชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง จิตวิทยากับความสุขใน ชีวิตและการทางาน . วันท่ี 24
กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมอมิ พเี รียลแม่ปงิ จ.เชียงใหม่.
วิทยาลยั ประชากรศาสตร์ จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย . (2550). ข้อมูลผสู้ งู อายุท่ีนา่ สนใจ .กรุงเทพมหานคร :
จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั .
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2552. รายงานวิเคราะห์การเปล่ียนแปลง

โครงสรา้ งประชากรและผลกระทบทเี่ กดิ ข้นึ ตอ่ การพฒั นาประเทศ. กรุงเทพฯ
สานักงานสง่ เสรมิ และพฒั นาสขุ ภาพจติ , 2560 .แนวทางการดาเนินงานส่งเสริมสขุ ภาพจิตและ

ปอ้ งกันปญั หาสขุ ภาพจิตใจผสู้ งู อายุ .กรงุ เทพฯ: สานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สานกั งานสถติ แิ หง่ ชาติ .(2561). รายงานประชากรผ้สู งู อายุ .[ออนไลน์] เขา้ ถึงได้จาก:

http://www.nso.go.th/ sites/2014/Pages/Press_Release/2561/N10-04-61-1.aspx
สถาบนั วิจยั ประชากรและสังคม, 2557. การสูงวัยของประชากรไทยพ.ศ. 2557. กรงุ เทพฯ:

มหาวิทยาลัยมหิดล.
Decker, M. 1980. Theory Aging. Philadelphia: The C.V. Mosby company.
Krause, Neal. 2010. “Close Companion Friends, Self-Expression, and Psychological Well-

Being in Late Life.” [Online]. Available: http://proquest.umi.com/pqdweb Retrieved
June 10, 2017.
Pender, N. J. 1996. Health promotion in nursing practice. (3rded.). Norwalk: Appleton &
Lange.
Puterman, Eli. And Epel, Elissa. 2012. An Intricate Dance: Life Experience, Multisystem
Resiliency, and Rat of Telomere Decline Throughout the Lifespan. Social and
Personality Psychology Compass, 1-19.
Schwingel, Andiara. et al. 2009. “Continued work employment and volunteerism and mental
well-being of older adults: Singapore longitudinal ageing studies.” [Online]. Available:
http://proquest.umi.com/pqdweb Retrieved June 10, 2017.

24

การศึกษาลกั ษณะความบกพร่องทางประสาทจิตวิทยาและคณุ ภาพชีวิตในกลมุ่ ผูส้ ูงอายุ
The Study of Neuropsychological Deficits and Quality of life in Elderly People

เรอื เอกวเิ ชียร ศรภี ธู ร
กองสขุ ภาพจติ รพ.อาภากรเกียรตวิ งศ์ ฐท.สส อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

บทคดั ย่อ
การวิจัยน้ีมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะความบกพร่องทางประสาทจิตวิทยาและคุณภาพชีวิต
ในกลุ่มผู้สูงอายุ จานวน 56 คน ที่เกษียณอายุราชการจากกองทัพเรือซึ่งเป็นสมาชิกชมรมผู้สงู อายุใน อ.สัตหีบ
จ.ชลบุรี โดยแบ่งเป็นสองกลุ่มอายุ คือ กลุ่มท่ีมีอายุระหว่าง 60 - 69 ปี (n = 28) และ 70 ปีข้ึนไป (n = 28)
แบ่งเป็นเพศชาย 50% และเพศหญิง 50% โดยเป็นการศึกษาเชิงบรรยายแบบภาคตัดขวางในกลุ่มผู้สูงอายุ
ที่เกษียณอายุราชการจากกองทัพเรือ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบระดับช้ัน โดยการทดสอบลักษณะทาง
ประสาทจิตวิทยาและคุณภาพชีวติ จานวน 7 ชุด 1) ทดสอบความสามารถด้านบริหารจัดการ ใช้แบบทดสอบ
Wisconsin Card Sorting Test ( WCST) , Behavioural Assessment of Dysexecutive Syndrome
(BADS), Stroop Color Interference, และ Tower of London (ToL) 2) ความสามารถด้านทักษะพิสัย
ใช้แบบทดสอบ Trail Making Test (TMT) 3) ด้านความจา วัดความจาระยะสั้น ความจาโดยทั่วไป ความจา
เกี่ยวกับการมองเห็นและความจาเก่ียวกับการได้ยิน โดยใช้ชุดทดสอบย่อยของแบบทดสอบ Wechsler
Memory Scale (WMS-III) ไ ด้ แ ก่ Logical Memory I and II , Spatial Span and Letter-Number
Sequencing และ 4) คุณภาพชีวิต ใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิตไทยแบบรูปภาพ (PTQL) วิเคราะห์
เปรียบเทียบลักษณะประสาทจิตวิทยาทั้งสองกลุ่มอายุทดสอบโดยใช้สถิติ Independent t - test
หาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประสาทจิตวิทยากับคุณภาพชีวิตทดสอบโดยใช้สถิติ Pearson product
moment correlation coefficient และทานายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะประสาทจิตวิทยาแต่ละด้าน
วเิ คราะหโ์ ดยใช้สถติ ิ Multiple linear regression
ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60 - 69 ปี มีความสามารถด้านบริหารจัดการดีกว่า
กลุ่มอายุ 70 ปีข้ึนไป ในด้านท่ีเกี่ยวข้องกับความยืดหยุ่นในการคิด การแก้ไขปัญหา การวางแผน และการคิด
รเิ ร่ิม นอกจากน้ยี ังพบวา่ ผสู้ ูงอายุกลุ่ม 70 ปีข้ึนไปทาคะแนนได้ต่ากว่ากลมุ่ อายุ 60 - 69 ปี ในด้านทักษะพิสัย
เม่ือประเมินด้วยแบบทดสอบ TMT อยา่ งไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติในทั้งสองกลุ่ม
อายุในด้านความจาทุกด้าน และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประสาทจิตวิทยากับคุณภาพชีวิต
ส่วนการวิเคราะหป์ ัจจยั ทานายพบวา่ ระดับการศึกษาสามารถทานายลกั ษณะประสาทจิตวทิ ยาในกลุ่มผู้สงู อายุ
ได้ โดยเฉพาะด้านความสามารถด้านบริหารจัดการ ความจาระยะส้ัน ความจาโดยท่ัวไป และความจาเกีย่ วกับ
การได้ยิน การศึกษาน้ีแสดงให้เห็นว่า การเป็นผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับความบกพร่องในลักษณะประสาท
จิตวทิ ยา โดยเฉพาะความสามารถด้านบรหิ ารจดั การและความสามารถดา้ นทกั ษะพิสัย ดงั น้ันการตรวจวินิจฉัย
ทางประสาทจิตวิทยาจึงมีความสาคัญต่อการพัฒนากลยุทธ์ในการป้องกันความเส่ียงของภาวะสมองเส่ือมและ
เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนารูปแบบการบาบัดบัดรักษาเพ่ือส่งเสริมหรือคงระดับความสามารถทางประสาท
จติ วิทยาและคุณภาพชวี ิตในผู้สูงอายไุ ด้
คาสาคัญ : ลกั ษณะทางประสาทจิตวทิ ยา ความสามารถดา้ นบริหารจดั การ ความสามารถดา้ นทกั ษะพิสยั

ความจา คณุ ภาพชวี ิต ผู้สงู อายุ

25

Abstract
This study investigated various neuropsychological characteristics and quality of life
aspects of elderly people. A sample of 56 healthy participants aged 60 and over was
recruited from the Elderly Club, Sattahip District, Chonburi Province. They were divided into
two groups: a younger age group (n = 28, age : 60-69), and an older age group (n = 28, age :
over 70), each consisting of 50% men and 50% women. A descriptive cross-sectional study
was conducted. The sampling method used was stratified random sampling.
Neuropsychological characteristics and quality of life were measured by a battery of seven
tests. The tests included executive function (Wisconsin Card Sorting Test (WCST), Behavioural
Assessment of Dysexecutive Syndrome (BADS), Stroop Color Interference, and Tower of
London (ToL), psychomotor speed (Trail Making Test - TMT), memory function (Logical
Memory I and II, Spatial Span and Letter-Number Sequencing, subtasks derived from the
Wechsler Memory Scale (WMS-III), and quality of life (Pictorial Thai Quality of Life (PTQL). The
comparison between younger old, and older old was analyzed by using an independent t-
test. Additionally, Pearson product moment correlation coefficient was used to examine the
association between neuropsychological characteristics and quality of life. Multiple linear
regression was performed to identify the potential predictors of neuropsychological
characteristics of healthy elderly people.
There were significant age differences in executive function in terms of cognitive
flexibility, problem solving, planning and initiation. In addition, the older age group tended
to do worse in psychomotor speed of the TMT. However, no significant differences were
found between younger and older old in memory function. Furthermore, neuropsychological
characteristics were not particularly associated with quality of life. Regression analyses also
indicated that the educational level of participants significantly predicted the individual’s
performance, especially executive function, immediate memory, general memory, and auditory
memory. These results demonstrate that aging is associated with decreases in
neuropsychological characteristics, including impairments in executive function and
psychomotor speed. Hence, neuropsychological assessment is vital to develop strategies
that control risk factors, and allow interventions aimed at enhancing or maintaining the
individual’s performance level and quality of life.
Keywords : neuropsychological characteristics, executive function, psychomotor speed,

memory function, quality of life, elderly people
หมายเหตุ: บทความฉบับเต็ม ตีพมิ พ์ในวารสารแพทย์นาวี (Royal Thai Navy Medical Journal) ปีที่ 45
ฉบับท่ี 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2561

26

สว่ นท่ี 3

WISC-V Thailand Adaptation and Standardization Project



27

โครงการการดัดแปลงและพฒั นาเกณฑ์มาตรฐานแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา
Wechsler Intelligence Scale for Children - Fifth Edition (WISC-V) ฉบบั ภาษาไทย

(WISC-V Thailand Adaptation and Standardization Project)
จินตนา สงิ ขรอาจ วท.ม. (จิตวิทยาคลนิ ิก)
อกนิษฐา สีบุญเรือง วท.ม. (จิตวิทยาคลินิก)

ดร.เมธี วงศว์ ีระพนั ธ์ุ ปร.ด. (บรหิ ารศาสตร์)
ดร.กุลวดี ทองไพบลู ย์ Psy D, JD

ความเป็นมาและความสาคัญและของโครงการ
แบบทดสอบเชาวนป์ ญั ญา Wechsler Intelligence Scale for Children (WISC) เป็นเครอ่ื งมอื

ประเมนิ ทางคลนิ ิกทนี่ ามาใช้ตรวจวดั เชาวนป์ ัญญาแง่มมุ ต่าง ๆ ในเด็กบ่อยมากทสี่ ุด โดย version แรก ถูก
พฒั นาข้นึ ในปี ค.ศ. 1949 โดยดัดแปลงจากแบบทดสอบ Wechsler-Bellevue Intelligence Scale ของ
David Wechsler ในปี ค.ศ. 1939 (Present Wechsler IQ Test and PB International, 2019) จากนั้นก็
ได้มีการปรบั ให้ทันสมัยอีกหลาย version โดยใน ปี ค.ศ. 1974 ปรบั ปรงุ เป็น WISC-R ด้วยการปรบั ขอ้ คาถาม
การดาเนินการ และเกณฑ์การใหค้ ะแนนใหม้ ีความครอบคลุมชดั เจนขึ้น แล ในปี ค.ศ.1992 ก็ได้มกี ารปรบั ปรงุ
คร้งั ที่ 2 เป็น WISC-III โดยปรบั ขอ้ คาถาม เกณฑป์ กติใหท้ ันสมัย และเปลย่ี นอปุ กรณ์การทดสอบให้นา่ สนใจขนึ้
(วภิ าวี และคณะ, 2549) ต่อมา ในปี ค.ศ. 2002 มีการปรับปรงุ อีกครั้งหนงึ่ เป็น WISC-IV เนื่องจากต้องการให้
นามาใชป้ ระโยชน์ทางคลนิ กิ เพอื่ ชว่ ยในการตัดสินใจได้ครอบคลุมและแมน่ ยามากขึ้น โดยปรับปรงุ การประเมิน
ด้าน fluid reasoning, working memory และ processing speed ปรับปรุงความเช่ือถือไดข้ อง
แบบทดสอบย่อย ใช้เป็นเกณฑป์ กติร่วมกับแบทดสอบ WIAT-II (The Psychometrics Centre Cambridge
Judge Business School, 2019) และจนกระท่ัง ปี ค.ศ. 2014 ได้มปี รับปรงุ ต่อยอด WISC-IV เปน็ WISC-V
ในปัจจุบัน การปรับปรุงเป็น WISC-V มเี หตุผลสาคญั คือ 1) มีความสอดคล้องกับพืน้ ฐานทางทฤษฎที ่ที นั สมัย
ตามโมเดลโครงสรา้ งทางเชาวนป์ ัญญา อิงข้อมูลวิจัยด้าน neurodevelopmental and neurocognitive และ
working memory models 2) เคร่ืองมอื มพี ฒั นาการทเี่ หมาะสมมากขึน้ ในแง่ของ คาสงั่ การทดสอบ ขอ้ ความ
ท่ีใช้เปน็ ขอ้ คาถาม เกณฑ์การให้คะแนน และการใหโ้ บนสั ตามเวลาทีใ่ ช้ 3) มีความเปน็ มติ รกบั ผู้ใชม้ ากข้นึ
4) มคี ุณสมบัตขิ องการวดั เพม่ิ ขึ้น เชน่ norms and norming method, reliability and validity, floor and
ceiling เป็นตน้ และ 5) เป็นประโยชน์ในการนาไปใชง้ านทางคลินิกมากขึ้น (Wechsler, 2014)

ผู้พัฒนาแบบทดสอบเชาวนป์ ญั ญาตระหนักว่าความสามารถจากการทาแบบทดสอบของเดก็ ต้องมกี าร
เปรียบเทยี บกบั เด็กที่มีลักษณะคลา้ ยคลงึ กบั เขา และ WISC แต่ละ version ใช้กลมุ่ ตัวอยา่ งปกตเิ ปรยี บเทยี บ
กบั คะแนนของเด็ก และเน่ืองด้วยอายุมีผลกระทบอยา่ งมนี ัยสาคัญมากทส่ี ุดต่อการทาแบบทดสอบในแต่ละ
ช้ินงาน ดังนน้ั คะแนนดิบในแตล่ ะชดุ ทดสอบย่อยตอ้ งนามาคานวณและเปรียบเทยี บกบั กลุ่มตวั อย่างปกติ
ในชว่ งอายุเดยี วกนั (Present Wechsler IQ Test and PB International, 2019) สาหรับประเทศไทย ได้มี
การศึกษาหาค่าเกณฑป์ กติของแบบทดสอบ WISC-III สาหรบั เด็กไทย เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยกรมสุขภาพจติ
ร่วมกบั สมาคมนกั จติ วิทยาคลินกิ ไทย (วิภาวี และคณะ, 2549) และได้ใชแ้ บบทดสอบ WISC-III มาจนถงึ

28

ปจั จบุ ัน แตด่ ว้ ยเหตุผลด้าน flynn effect ที่มีการศึกษากนั ท่ัวโลกว่าคะแนนเฉลีย่ จากการทดสอบเชาวน์ปญั ญา
จะมีคะแนนเพมิ่ ขน้ึ เม่ือเวลาเปลีย่ นไป โดยคนรนุ่ เยาว์กวา่ จะทาคะแนนได้ดกี วา่ คนรุ่นก่อนหนา้ ซง่ึ พบว่า
คะแนนเชาวนป์ ญั ญาจะเพิม่ ขึ้น 10 คะแนน ในคนแต่ละรุ่น (123 Test, 2019) ประกอบกับเหตุผลด้าน
ความทันสมัยและความสอดคลอ้ งกับสภาพสงั คมวฒั นธรรมไทยปจั จุบัน

ด้วยเหตผุ ลและความสาคญั ดังกลา่ วขา้ งตน้ สมาคมนกั จิตวิทยาคลนิ ิกไทยจงึ ได้จัดทาโครงการ การ
ดัดแปลงและพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานแบบทดสอบเชาวน์ปญั ญา Wechsler Intelligence Scale for Children -
Fifth Edition (WISC-V) ฉบับภาษาไทย (WISC-V Thailand Adaptation and Standardization Project) ขึน้
ตามเหตผุ ลและความจาเป็นดังกล่าวข้างตน้ โดยความร่วมมือกบั บริษทั เพยี ร์สนั

วัตถปุ ระสงคข์ องโครงการ

1. เพื่อแปลและปรับเปลย่ี นข้อคาถาม รวมถึงดดั แปลงแบบทดสอบเชาวนป์ ัญญา Wechsler Intelligence
Scale for Children - Fifth Edition (WISC-V) จากตน้ ฉบับใหเ้ ป็นภาษาไทย โดยให้มคี วามสอดคล้อง
กับวฒั นธรรมไทย

2. พัฒนาเกณฑ์ปกตมิ าตรฐาน (Norm) ใหเ้ หมาะสมกับบริบทสังคมไทย

คณะผู้ดาเนินการ

1. นางสาวจนิ ตนา สงิ ขรอาจ ผู้บริหารโครงการ
2. ดร.กลุ วดี ทองไพบลู ย์ ฝา่ ยแปลและดัดแปลงแบบทดสอบ
3. ดร.เมธี วงศว์ รี ะพนั ธ์ุ ฝ่ายระเบยี บวธิ ีวจิ ยั
4. ดร.ไชยันต์ สกุลศรปี ระเสรฐิ ฝา่ ยสถิติวเิ คราะหข์ ้อมลู
5. ดร.แสงเดอื น ยอดอัญมณวี งศ์ ฝ่ายสนับสนุนขอ้ มูลวิชาการ
6. นางสาวอกนิษฐา สบี ญุ เรือง ฝ่ายประสานงานตา่ งประเทศและฝ่ายแปลฯ
7. นางสาวชณตั พิ ร ชลไพร ฝ่ายเหรัญญกิ และเลขานุการ

29

เอกสารอา้ งองิ
วภิ าวี สถิรงั กรู , ดวงเดือน สายน้าปราณ และสดุ ารตั น์ ศิรศิ ักด์ิพาณชิ ย.์ (2549). การศึกษานารอ่ งเกย่ี วกบั

เกณฑ์ปกติของแบบทดสอบ Wechsler Intelligence Scale for Children-Third Edition (WISC-
III). วารสารจิตวทิ ยาคลินิก, 37(1), 23-33.
Present Wechsler IQ Test and PB International. (2019). Wechsler Intelligence Scale for Children
(WISC). [Topic]. Retrieved November 22, 2019, from https://wechsleriqtest.com/wechsler-
intelligence-scale-for-children/
The Psychometrics Centre Cambridge Judge Business School. (2019). Anglicisation and
standardization of the Wechsler Intelligence Scale for Children (WISC-IV). [Topic].
Retrieved November 23, 2019, from https://www.psychometrics.cam.ac.uk/services/
psychometric-tests/wisc-iv
Wechsler D. (2014). WISC-V Administration and Scoring Manual. Bloomington : Pearson Press.
123 Test. (2019). The Flynn effect. [Topic]. Retrieved November 23, 2019, from https://www.
123test.com/flynn-effect/

.........................................................

30

สว่ นที่ 4

การต่อใบอนุญาตประกอบโรคศลิ ปะสาขาจติ วิทยาคลนิ กิ

31

เอกสารประกอบการบรรยาย
อ.วนิดา ชนินทยุทธวงศ์

คณะกรรมการวิชาชพี จิตวทิ ยาคลนิ ิก
ประธาน : อาจารย์วันชัย ไชยสิทธ์ิ

คณะอนกุ รรมการวิชาชพี ฯ ด้านพจิ ารณาขน้ึ ทะเบียนและจัดสอบความรู้
ประธาน : รศ.ดร. สชุ ีรา ภทั รายุตวรรตน์

คณะอนุกรรมการวชิ าชีพฯ ดา้ นพฒั นาวิชาการและมาตรฐานวชิ าชพี สาขาจิตวทิ ยาคลินกิ
ประธาน : นางวนดิ า ชนินทยุทธวงศ์

คณะอนุกรรมการวชิ าชพี ฯ ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพสาขาจิตวทิ ยาคลนิ กิ
ประธาน : พ.ต.อ. วินยั ธงชยั

32

คณะอนกุ รรมการวชิ าชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก
ด้านพฒั นาวชิ าการและมาตรฐานวิชาชพี

ประธาน นางวนิดา ชนินทยทุ ธวงศ์
รองประธาน นางสาวจินตนา สงิ ขรอาจ
อนกุ รรมการ นางสภุ าวดี นวลมณี
นางพิมพาภรณ์ สังขร์ ศั มี
เลขานุการ/ นางสาวอกนิษฐา สบี ญุ เรือง
ผชู้ ่วยเลขานกุ าร นางขตั ติยา รัตนดิลก
นางกลุ วดี ทองไพบลู ย์
พนั ตรหี ญงิ พนมพร พมุ่ จนั ทร์
นายสมบุญ จารุเกษมทวี
นางสาวพณิดา โยมะบตุ ร
นางสาวธดิ ารตั น์ ศรสี ุโข
นางฐปนยี ์ ฟูมูลเจรญิ
นายเอกลกั ษณ์ วงศอ์ ภยั
หวั หน้ากลุ่มการประกอบโรคศลิ ปะและทมี งาน

33

ขั้นตอนการรับรองโครงการหรือกิจกรรมการศึกษาต่อเน่อื ง

สถาบันขอย่ืนคาขอการรับรองโครงการหรือกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง
ไปยังสมาคมนักจติ วิทยาคลินกิ ไทยกอ่ นดาเนินการไม่นอ้ ยกว่า 30 วนั

สมาคมนกั จิตวิทยาคลินิกไทยรวบรวมโครงการหรือกจิ กรรม
การศึกษาต่อเนอื่ งส่งไปยงั คณะทางานเพ่อื พิจารณาให้
การรบั รองและกาหนดค่าคะแนน

คณะทางานประชุมเพ่อื พิจารณาใหก้ ารรับรองและกาหนดค่า
คะแนน (กาหนดการประชมุ ไตรมาสละ 1 ครงั้ )

คณะทางานนาผลการประชุมเสนออนุกรรมการฯ ดา้ นพฒั นา
วชิ าการและมาตรฐานวชิ าชีพสาขาจิตวทิ ยาคลนิ ิก
เพอ่ื ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการวชิ าชีพ

คณะทางาน/อนุกรรมการฯ ด้านพัฒนาวชิ าการและมาตรฐาน
วชิ าชีพสาขาจิตวทิ ยาคลนิ ิก แจง้ ผลการรบั รองให้
สมาคมนกั จิตวิทยาคลินกิ ไทย

สมาคมนักจิตวิทยาคลินกิ ไทยแจ้งผลการพิจารณาให้สถาบนั ที่
ขอยนื่ คาขอการรบั รองโครงการหรอื กิจกรรมการศกึ ษาต่อเนอ่ื ง

สถาบนั ทยี่ ่ืนคาขอการรับรองโครงการหรือกิจกรรมการศึกษาตอ่ เนื่อง
ดาเนนิ การจัดกจิ กรรม จดั ทาเอกสารการรับรองหน่วยคะแนนใหผ้ เู้ ข้าร่วม
กจิ กรรม และแจง้ รายชื่อผเู้ ขา้ ร่วมกจิ กรรมไปยังสมาคมนกั จิตวทิ ยาคลินกิ

ไทย

34

ข้นั ตอนการขอต่อใบอนุญาต

ผู้ประสงค์จะขอต่อใบอนุญาตต้องมกี ารสะสมคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง ภายใน
ระยะเวลา 5 ปี กอ่ นวนั ยน่ื ขอต่อใบอนญุ าต (ต้องใช้คะแนนอยา่ งน้อย 50 คะแนน)

ภายในระยะเวลา 5 ปี ผู้ประสงคจ์ ะขอต่อใบอนญุ าต สามารถยื่นขอเก็บคะแนน
ตามแบบฟอร์มขอเก็บคะแนนพรอ้ มเอกสารหลักฐานตอ่ คณะกรรมการวิชาชพี

(ยนื่ ไดด้ ้วยตนเองหรือมอบอานาจให้บุคคลอื่น)

ผ้ขู อต่อใบอนุญาตยน่ื คาขอต่อใบอนญุ าต พรอ้ มด้วยหลักฐานและเอกสาร
และผลสรปุ คะแนนการศกึ ษาต่อเน่อื งไมน่ อ้ ยกว่า 50 คะแนน ภายใน 90

วนั กอ่ นวนั ทใ่ี บอนุญาตฉบับเดิมหมดอายุ
(ยน่ื ได้ดว้ ยตนเองหรือมอบอานาจใหบ้ คุ คลอื่น
ณ สานกั สถานพยาบาลและการประกอบโรคศลิ ปะ)

)
คณะทางาน/อนุกรรมการฯ ดา้ นพัฒนาวิชาการและมาตรฐาน

วิชาชพี สาขาจิตวทิ ยาคลนิ กิ พจิ ารณาใหก้ ารรับรอง
การต่อใบอนญุ าต

คณะทางาน/อนุกรรมการฯ ด้านพฒั นาวิชาการและมาตรฐาน
วชิ าชีพสาขาจิตวิทยาคลนิ ิก แจง้ ผลการรับรองเพ่ือขอความ

เหน็ ชอบจากคณะกรรมการวิชาชพี

สานกั สถานพยาบาลและการประกอบโรคศลิ ปะดาเนนิ การออกใบอนุญาต

35

การต่ออายใุ บอนญุ าตการประกอบโรคศิลปะ
สาขาจิตวทิ ยาคลินิก

โดย

คณะกรรมการวิชาชพี สาขาจิตวิทยาคลินิก

กจิ กรรมการศกึ ษาต่อเน่ืองสาหรบั การต่ออายุใบอนญุ าตเปน็ ผปู้ ระกอบโรคศลิ ปะ
แบง่ ไดเ้ ปน็ 4 ประเภท ดังน้ี

กจิ กรรมประเภทท่ี 1 การเพม่ิ พนู ความรู้ ความสามารถทางวิชาชีพหรอื วิชาการ ได้แก่
1.1 การเข้าฟงั บรรยาย อภปิ รายประชุมวิชาการประจาปี
1.2 การอบรมฟ้นื ฟูวิชาการ หรือการอบรมระยะส้ัน
1.3 การอบรมเชงิ ปฏิบตั กิ าร
1.4 การสัมมนาวิชาการและการจัดกิจกรรมวิชาการอื่นๆ
1.5 การศกึ ษาหรอื เรยี นรดู้ ้วยตัวเองจากบทความวชิ าการ การเรยี นรผู้ า่ นเทคโนโลยสี ารสนเทศ
1.6 การศึกษาในหลกั สูตรและหรอื การฝกึ อบรมทเ่ี ก่ยี วขอ้ งทางวชิ าการ ดา้ นสุขภาพและด้านการ
ประกอบโรคศลิ ปะในสาขา

36

กจิ กรรมประเภทท่ี 2 การมีสว่ นร่วมในกจิ กรรมการพัฒนาบุคลากรหรอื พฒั นาวชิ าชีพ ไดแ้ ก่
2.1 การตีพมิ พ์บทความทางวิชาการลงในวารสารทเ่ี ก่ยี วขอ้ ง
2.2 การแต่งตาราหรือหนงั สือทางวิชาการด้านการประกอบโรคศลิ ปะสาขา....
2.3 การนาเสนอผลงานทางวิชาการในการประชุมวชิ าการ
2.4 การกลนั่ กรองบทความวิชาการโดยคณะบรรณาธิการ
2.5 การตรวจสอบเครอื่ งมอื การวจิ ยั
2.6 การกลัน่ กรองโครงร่างงานวจิ ัย การตรวจสอบคุณภาพและเครือ่ งมือการวิจัย การทาหนา้ ทเี่ ปน็ กรรมการ
พิจารณาจริยธรรมงานวจิ ัย
2.7 การอ่านผลงานเพ่ือประเมินตาแหนง่ ทางวิชาการหรือเพ่อื เลอื่ นระดบั ความกา้ วหนา้ ของตาแหน่ง
2.8 เปน็ กรรมการผูท้ รงคณุ วฒุ ิภายนอกสถาบนั ในการสอบปอ้ งกนั วทิ ยานิพนธ์
2.9 เป็นวิทยากรหรือผู้อภปิ รายรว่ มในการประชมุ วิชาการ
2.10 เป็นอาจารย์พ่เี ลี้ยงสาหรบั นกั ศึกษาในหลักสตู รต่างๆ ที่ได้รบั การแต่งตั้ง

2.11 เปน็ อาจารยพ์ เิ ศษสอนหรอื บรรยายสาหรบั นกั ศึกษาในหลักสูตรการประกอบโรคศิลปะสาขา….
2.12 เปน็ อาจารย์พิเศษดา้ นการประกอบโรคศลิ ปะสาหรับนกั ศกึ ษาในหลักสูตรอ่นื
2.13 เปน็ อาจารย์สอนในหลกั สตู รการประกอบโรคศลิ ปะสาขาเฉพาะทางอืน่ ๆ
2.14 การสร้างส่อื การศึกษาพรอ้ มแบบทดสอบเพ่ือการศึกษาหรอื เรียนรู้ดว้ ยตนเอง เชน่ บทความวชิ าการ บทความวชิ าการ online,
e-learning , e-book เป็นต้น
2.15 โครงการบรกิ ารวชิ าการในสาขาวิชาชพี .... สาหรับประชาชน หรือโครงการสรา้ งสรรคร์ ะบบหรอื กิจกรรมการใหบ้ รกิ ารทไี่ มใ่ ช่
งานประจา เชน่ การออกหน่วยเคลื่อนที่บริการประชาชน
2.16 สรา้ งหรือพฒั นาแนวทางการปฏิบัตงิ านหรอื คู่มอื การปฏบิ ตั ิงาน
2.17 กิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ด้านประกอบโรคศิลปะแก่ประชาชนทไี่ ม่ใชเ่ ปน็ งานประจา
2.18 สรา้ งหรอื พฒั นานวัตกรรมด้านการประกอบโรคศิลปะในสาขา.....
2.19 กจิ กรรมการใหบ้ ริการแก่ประชาชน หรือกิจกรรมการส่งเสรมิ พฒั นาศกั ยภาพผ้ปู ระกอบโรคศิลปะ หรอื กจิ กรรมอ่นื ๆ ที่เก่ยี วกับ
การประกอบโรคศลิ ปะ ทีจ่ ดั ภายใต้กรมสนบั สนนุ บรกิ ารสขุ ภาพ
2.20 กิจกรรมอ่ืนๆ นอกจาก ข้อ 6.2.1 – 6.2.19 ศนู ยก์ ารศกึ ษาตอ่ เนือ่ งจะพิจารณาเป็นรายกรณีไปโดยใหค้ ณะกรรมการวชิ าชีพ
ให้ความเห็นและเสนอเป็นลายลักษณ์อกั ษร

37

กจิ กรรมการประเภทที่ 3 การเข้าศกึ ษาในหลักสตู รในระดับบณั ฑิตศึกษา
กจิ กรรมประเภทท่ี 4 การฝึกอบรมในหลักสูตรเฉพาะทางของการประกอบ
โรคศลิ ปะในสาขา

การคิดหนว่ ยคะแนนการศึกษาตอ่ เนื่อง มหี ลกั เกณฑ์ ดงั นี้

1 การเขา้ รว่ มฟังบรรยาย/อภปิ ราย/สัมมนา/ฝึกอบรมฟนื้ ฟคู วามรูว้ ิชาการ/การอบรมเชิงปฏิบัตกิ าร
ให้คิดหน่วยคะแนน 1 ช่วั โมงเทา่ กับ 1 หน่วยคะแนน
วว2ิิชชกาาาชกรีพาปรรโะดชยมุ ตวอ้ ิชงามกกี าารรดพา้ ิจนากราณรปาเรทะียกบอเบคโียรงคหศนิล่วปยะคใะนแหนรนือจตา่ากงปครณะะเทกศรรใหมก้ยานื่ รหวลิชักาฐชาพี นกอ่พนรอ้ แมลกะาเหสนนดอกตาอ่ รคปณระะกชรมุ รมการ
ร3ูปกเลารม่ ศหกึ รษือาสหื่อรออื ิเลเรคียทนรรอู้ดนว้ กิยสต์นแเลอะงทจาากแหบนบังทสดอื ส/อเอบกอสยาา่ รงทนาอ้ งยวชิ 5ากข้อารคขิดอเงปด็นา้ น1กาหรนป่วรยะคกะอแบนโนรคศลิ ปะ ทจ่ี ัดทาเป็น
4 การมสี ่วนรว่ มในกิจกรรมพัฒนาบุคลากร/พัฒนาวชิ าชพี ใหค้ ดิ หนว่ ยคะแนน ดังน้ี
ก4.า1รยกอามรตรบัพี มิ หพร์บอื ททค่ีปวราามกทฏาในงวฐชิ าานชขีพอ้ ม(Pลู uTbCliIc,aIStiIoหnร)อื ในSวcาoรpสuาsรทางวิชาชีพ หรอื วารสารวิชาการท่เี กย่ี วข้อง ที่ไดร้ ับ
(1) วารสารนานาชาติ ช่ือแรก : เรอื่ งละ 10 หนว่ ยคะแนน ชื่ออื่น : เร่ืองละ 5 หน่วยคะแนน
(2) วารสารภาษาไทย ชื่อแรก : เรอื่ งละ 5 หนว่ ยคะแนนชอ่ื อน่ื : เร่ืองละ 3 หนว่ ยคะแนน

38

4.2 การแตง่ ตารา หรอื หนังสอื ภาษาไทยหรอื ภาษาองั กฤษ ไมน่ อ้ ยกวา่ 50 หน้า (ขนาด A 4) ตอ่ 1 เล่ม ผู้แตง่ ตารา/
หนงั สอื ทัง้ เล่ม ได้ 50 หน่วยคะแนน ผู้แต่งบางบทไดบ้ ทละ 5 หนว่ ยคะแนน บรรณาธกิ ารกลน่ั กรองตารา / หนงั สือเล่มละ
10 หนว่ ยคะแนน (กรณบี รรณาธิการมากกวา่ 1 คนใหเ้ ฉล่ียคะแนนตามสัดส่วนการกล่ันกรองตารา / หนังสอื )
4.3 การเสนอผลงานทางวิชาการ (Scientific presentation) ทั้ง Oral Presentation และPoster Presentation)
(1) ในการประชมุ ระดับนานาชาติ ชือ่ แรก : เรอ่ื งละ 10 หนว่ ยคะแนน ชือ่ อ่นื : เร่ืองละ 5 หน่วยคะแนน
(2) ในการประชุมระดบั ชาติ ช่ือแรก : เรื่องละ 5 หน่วยคะแนน ชื่ออน่ื : เรื่องละ 2 หน่วยคะแนน
4.4 การกลัน่ กรองบทความโดยคณะบรรณาธกิ าร (Editorial peer reviews) เรอื่ งละ 2 หน่วยคะแนนต่อ 1 บทความ
4.5 การตรวจสอบเครอ่ื งมือวจิ ัยเรอื่ งละ 5 หน่วยคะแนน
4.6 การกล่นั กรองโครงร่างงานวจิ ยั การตรวจสอบคณุ ภาพงานวจิ ัย (Proposal and editorial reviews) การทาหนา้ ท่ี
กรรมการพิจารณาจริยธรรมงานวจิ ยั เร่อื งละ 5 หน่วยคะแนนต่อ 1 โครงการ
4.7 การอ่านผลงานเพื่อประเมินตาแหนง่ ทางวชิ าการหรอื เพอ่ื เล่ือนระดับความกา้ วหน้าของตาแหนง่ (Peer review
reader) เรอื่ งละ 5 หน่วยคะแนน
4.8 กรรมการผูท้ รงคุณวุฒภิ ายนอกสถาบันในการสอบปอ้ งกนั วิทยานิพนธ์(External examiner) เรอื่ งละ 5 หน่วยคะแนน

4.9 วิทยากรหรือผอู้ ภิปรายรว่ ม คนละ 5 หน่วยคะแนน
4.10 เปน็ อาจารย์พี่เลย้ี งในหลักสตู รตา่ งๆ ให้คดิ 5 หนว่ ยคะแนนตามแตล่ ะภาคการศกึ ษา
4.11 เป็นอาจารย์พิเศษสอนหรอื บรรยาย โดยสอนในภาคทฤษฎี (การบรรยาย) หรือภาคปฏิบัติหรือการฝกึ ปฏบิ ตั ิงานทางคลนิ กิ
1 ชั่วโมงได้ 1 หน่วยคะแนน
4.12 เป็นอาจารยพ์ ิเศษ ในหลักสูตรอนื่ โดยสอนในภาคทฤษฎี (การบรรยาย) หรือภาคปฏิบตั หิ รือการฝึกปฏบิ ตั ิงานทางคลนิ ิก
1 ชว่ั โมงได้ 1 หน่วยคะแนน
4.13 เปน็ อาจารย์สอนในหลกั สตู ร เฉพาะทาง โดยสอนในภาคทฤษฎี (การบรรยาย) หรือภาคปฏบิ ตั หิ รอื การฝกึ ปฏิบตั งิ านทางคลนิ กิ
1 ช่ัวโมงได้ 3 หนว่ ยคะแนน
5 การสร้างส่ือการศึกษาพร้อมแบบทดสอบเพอ่ื การเรยี นรูด้ ว้ ยตนเองดา้ นวิชาชพี เช่น บทความวชิ าการ บทความวชิ าการ online,
e - learning, e - book เปน็ ต้น ช่ือแรก 5 หนว่ ยคะแนน ช่ืออน่ื 3 หนว่ ยคะแนนตอ่ 1 เรื่อง
6 โครงการบรกิ ารวิชาการ/วิชาชพี สาหรับประชาชน หรอื โครงการสรา้ งสรรค์ระบบหรือกิจกรรมการใหบ้ รกิ ารทไี่ มใ่ ช่งานประจา
โครงการละ 5 หน่วยคะแนน (ไม่เกิน 5 คน) หากมากกวา่ 5 คน ให้เฉลี่ยคะแนน รวมแล้วไมเ่ กนิ 25 คะแนน
7 สรา้ งหรือพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานหรอื คมู่ อื การปฏบิ ัตงิ าน (Clinical practice guideline) คนละ 5 หน่วยคะแนนต่อ
1 เรื่อง

39

8 กิจกรรมการถา่ ยทอดความรแู้ กป่ ระชาชนทไี่ ม่ใช่งานประจากิจกรรมละ (หรือครัง้ ละ) 5 หน่วยคะแนน
9 การพัฒนานวัตกรรม ผผู้ ลิตหลักเร่ือง/ช้นิ ละ 10 หนว่ ยคะแนน ผผู้ ลิตรองเร่ือง/ชิน้ ละ 5 หนว่ ยคะแนน (รวมกนั
ไม่เกิน 5 คน) หากมากกวา่ 5 คน ใหเ้ ฉลย่ี คะแนน รวมแลว้ ไมเ่ กนิ 25 คะแนน
10 การศกึ ษาในหลกั สูตรการประกอบโรคศิลปะ ในระดับบณั ฑิตศกึ ษา ให้ 1 ภาคการศกึ ษา ได้ 10 หน่วยคะแนน
11 การศึกษาในหลักสตู รดา้ นวทิ ยาศาสตรส์ ุขภาพ ในระดบั บณั ฑิตศกึ ษา ศกึ ษา ให้ 1 ภาคการศึกษา ได้ 5 หนว่ ย
คะแนน
11 การฝึกอบรมในหลักสตู รเฉพาะทาง ให้ 50 หนว่ ยคะแนนตอ่ หน่ึงหลกั สตู ร
12 กิจกรรมการให้บรกิ ารแกป่ ระชาชน โครงการละ 5 หน่วยคะแนนต่อคน
13 กิจกรรมการส่งเสรมิ พัฒนาศักยภาพผปู้ ระกอบโรคศลิ ปะ ใหค้ ิดหน่วยคะแนน 1 ชว่ั โมงเท่ากบั 1 หนว่ ยคะแนน
13 กจิ กรรมอ่นื ๆ คณะกรรมการวิชาชีพ จะพิจารณาเปน็ กรณๆี ไป
ขอ้ 8 หน่วยคะแนนการศกึ ษาตอ่ เนือ่ ง เพ่อื การต่ออายใุ บอนุญาต ต้องเปน็ หนว่ ยคะแนนทเี่ กบ็ สะสมในระยะเวลา
5 ปี ตั้งแตว่ นั ที่ออกใบอนญุ าต จนถงึ วนั ท่ีใบอนญุ าตหมดอายุ และหน่วยคะแนนท่ีเกบ็ สะสมดังกล่าว จะใชต้ ่ออายุ
ใบอนุญาตไดเ้ พียงครั้งเดยี ว

กิจกรรมการศกึ ษาต่อเน่อื งสาหรบั ผทู้ ไี่ ดร้ ับใบอนญุ าตก่อนวันทกี่ ฎกระทรวงวา่ ด้วย
การขอขึ้นทะเบียนและรบั ใบอนญุ าต การออกใบอนุญาต การขอรบั ใบแทน
ใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ (ฉบบั ที่ 2)
พ.ศ. 2562 ใชบ้ ังคับ ให้เปน็ ไปตามขอ้ 6

- ใหน้ ับเปน็ จานวนกิจกรรมโดยต้องมกี ารเขา้ รว่ มกิจกรรมอยา่ งต่อเนื่องทกุ ปี

อยา่ งน้อยปีละ 1 กจิ กรรม
- ต้องจัดส่งเอกสารหรือหลกั ฐานท่ีแสดงวา่ เปน็ ผู้ผ่านการอบรมหรอื เขา้ ร่วม
กิจกรรมตามท่ีกาหนด ต่อ กช.

40

ขน้ั ตอนการขอการรบั รองโครงการ หรอื กิจกรรมการศกึ ษาตอ่ เนื่อง

1 หน่วยงานที่จัดกิจกรรมจะตอ้ งยืน่ คาขอการรบั รองโครงการ หรอื กจิ กรรมการศกึ ษาต่อเน่ือง
ตอ่ คณะกรรมการวชิ าชีพ พร้อมดว้ ยหลกั ฐานต่าง ๆ ตามแบบทีค่ ณะกรรมการวชิ าชีพประกาศกาหนด
กอ่ นดาเนนิ การไม่น้อยกว่า 30 วัน
2 คณะกรรมการวชิ าชีพจะเปน็ ผูพ้ ิจารณาให้การรับรองโครงการ หรือกิจกรรมการศึกษาต่อเนอื่ ง
และจานวนหนว่ ยคะแนน และแจง้ ผลการพจิ ารณาใหห้ นว่ ยงานทราบ
3. โครงการหรอื กจิ กรรมการศกึ ษาต่อเนอื่ ง ทีไ่ ด้รับการรับรองจากคณะกรรมการวชิ าชพี แลว้ หากมี
การเปล่ยี นแปลงกาหนดการหรือวิทยากร ต้องแจ้งให้ กช.พิจารณาก่อนดาเนนิ การจดั กจิ กรรม

การตอ่ อายใุ บอนญุ าต

ผขู้ อต่ออายุใบอนญุ าตเปน็ ผู้ประกอบโรคศลิ ปะต้องมคี ุณสมบัติ ดงั นี้
1 ตอ้ งเป็นผูไ้ ด้รับใบอนญุ าตเปน็ ผู้ประกอบโรคศลิ ปะหลงั จากทกี่ ฎกระทรวงว่าด้วยการขอข้นึ ทะเบยี น
และรับใบอนญุ าตฯ ประกาศใช้
2 ภายในระยะเวลา 5 ปี กอ่ นวนั ยน่ื ขอตอ่ อายุใบอนญุ าต ต้องมีการสะสมคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง
3.การตอ่ อายใุ บอนญุ าตแตล่ ะครง้ั จะตอ้ งใชค้ ะแนนอยา่ งน้อย 50 คะแนน
4.การย่นื ขอเกบ็ คะแนนตามแบบฟอรม์ ขอเกบ็ คะแนนต่อคณะกรรมการวิชาชพี โดยยนื่ ดว้ ยตนเองหรอื
มอบอานาจใหบ้ ุคคลอ่ืนพรอ้ มด้วยเอกสารหลักฐานทจ่ี าเป็น
5. ใหผ้ ้ขู อต่ออายใุ บอนญุ าตยน่ื คาขอตอ่ อายุใบอนญุ าต พรอ้ มด้วยหลกั ฐานและเอกสาร ตามแบบ
แนบทา้ ยประกาศด้วยตนเองหรือมอบอานาจให้บุคคลอนื่ พรอ้ มดว้ ยสรุปผลคะแนนการศึกษาตอ่ เนอ่ื ง
ไมน่ อ้ ยกว่า 50 คะแนน ยน่ื ตอ่ คณะกรรมการวชิ าชพี ภายใน 90 วัน ก่อนวันที่ใบอนญุ าตฉบบั เดมิ หมดอายุ

41


Click to View FlipBook Version