เร ื่องท ี่1 กำรคัดเลือกลูกพันธุ์ ควรพิจารณาซื้อลูกพันธุ์จากฟาร์ม ที่เชื่อถือได้เช่น ฟาร์มเพาะพันธุ์ที่ได้รับการ รับ ร อ ง ม าต ร ฐ า น ก า ร ปฏิ บัติ ท า งก า ร เพาะเลี้ยงสัตว์น ้าที่ดีหรือ จีเอพี (Good Aquaculture Practices; GAP) หรือ จากฟาร์มเพาะพั นธุ์หรือแหล่งรวบรวม ลูกพันธุ์ที่มีระบบการจัดการที่ดีโดย พิจารณาถึงคุณภาพลูกพันธุ์ตามลักษณะที่ สังเกตได้ เช่น มีอวัยวะครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่พิการ ล าตัวไม่คดงอ ไม่มีสีซีด หรือด า ผิดปกติ หนวด หาง ครีบครบถ้วนไม่กร่อน ไม่มีรอยโรค เช่น เป็นรอยด่าง ช ้าเลือด หรือมีแผลบริเวณล าตัว การว่ายน ้าและการ ทรงตัวปกติไม่ลอยหัวตั้ง เป็นต้น บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 43 - ตอนที่3 การเลี้ยง เร ื่องท ี่2 กำรล ำเลียงและกำรขนส่งลูกพันธุ์ ในการล าเลียงลูกปลาเพื่อน ามา เลี้ยงควรติดต่อฟาร์มเพาะพันธุ์ล่วงหน้า เพื่อให้ทราบรายละเอียดต่าง ๆ โดยเฉพาะ เวลา ในกา ร รับพันธุ์ปลา ในบางครั้ง เกษตรกรอาจประสบปัญหาต้องรอเป็น ระยะเวลานานในการซื้อพันธุ์ปลาซึ่งอาจ ท าให้ส่งผลถึงเวลาในการขนส่งล าเลียงพันธุ์ ปลามายังบ่อเลี้ยง ในกรณีที่ต้องขนส่ง ระยะไกลอาจเปลี่ยนเป็นการขนส่งในเวลา กลางคืน โดยในการล าเลียงควรควบคุม อุณหภูมิน ้าในถุงปลาให้อยู่ในช่วง 23-28 องศาเซลเซียส (กรมประมง, ม.ป.ป.) ใน กรณีที่มีจ านวนไม่มากนักนิยมน าถุงบรรจุ พั นธุ์ปลาไว้ในห้องโดยสารปรับอากาศใน รถยนต์ ส าหรับวิธีการลดอุณหภูมิในถุง บรรจุพั นธุ์ปลา ได้แก่ การล าเลียงโดยใช้ รถยนต์มีหลังคา ล าเลียง โดยรถยนต์ บรรทุกที่มีการใช้วัสดุเก็บรักษาความเย็น เช่น ผ้านวม กระสอบ รองพื้นกระบะและ รอบถุงบรรจุพันธุ์ปลา โดยรดน ้าให้ชุ่ม หรือใส่น ้าแข็งให้กระจายให้ทั่วบริเวณวัสดุ กันความร้อน หลังจากขนส่งล าเลียงลูกปลาถึง บ่อแล้วควรตรวจสอบความแข็งแรงของ พันธุ์ปลาอีกครั้ง โดยก่อนปล่อยควรปรับ อุณหภูมิภ าย ในถุง ให้ ใกล้เคียงกันกับ ภายนอกถุง โดยลอยถุงปลา ไว้ ในบ่อ ประมาณ 15-20 นาทีแล้วเปิดปากถุงให้น ้า ในบ่อปลา ไหลเข้า ไปในถุงเพื่อปรับให้ คุณสมบัติของน ้าภายในและภายนอกถุง ใกล้เคียงกัน แล้วจึงปล่อยปลาให้ว่ายออก จากถุง
เร ื่องท ี่3 ร ู ปแบบกำรเล ี้ยง การเลี้ยงปลาดุกลูกผสมอุยเทศเพื่อให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้นสามารถเลี้ยงได้ทั้งใน บ่อดินและบ่อซีเมนต์ 1. กำรเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ส่วนใหญ่การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์จะเป็นการเลี้ยงในลักษณะบริโภคใน ครัวเรือนในพื้นที่ที่ห่างไกลจากแหล่งผลิตหรือตลาดจ าหน่ายปลาดุก บ่อมีขนาดเล็กประมาณ 2-10 ตารางเมตร เมื่อเริ่มเลี้ยงบ่อซีเมนต์ใหม่ต้องปรับสภาพบ่อก่อน โดยใส่น ้าให้เต็มบ่อ ใส่หยวกกล้วย สับลงไป แช่ทิ้งไว้2 สัปดาห์เพื่อลดความเป็นด่างของปูน จากนั้นล้างบ่อให้สะอาด แล้วตากบ่อให้ แห้ง บ่อซีเมนต์เก่าล้างท าความสะอาดแล้วตากบ่อให้แห้ง ปล่อยลูกปลาขนาด 5-7 เซนติเมตร ใน อัตรา 50-100 ตัวต่อตารางเมตร น ้าลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมื่อลูกปลาเติบโตขึ้นค่อย ๆ เพิ่มระดับน ้าให้สูงขึ้นตามล าดับโดยเพิ่มระดับน ้าประมาณสัปดาห์ละ 5 เซนติเมตร จนได้ระดับประมาณ 50 เซนติเมตร อาหารที่ให้ใช้อาหารส าเร็จรูปจนปลากินอิ่มวันละ 2 ครั้ง โดยหมั่นสังเกตการกินอาหาร ของปลาอย่าให้เหลือ เปลี่ยนถ่ายน ้าทุก 3-5 วัน หรือดูตามสภาพและสีของน ้า โดยในการเปลี่ยนถ่ายน ้า จะไม่ถ่ายน ้าออกทั้งหมด ประมาณ 30-50 เปอร์เซ็นต์ของน ้าที่เลี้ยง ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 90 วัน ปลาจะเติบโตได้ขนาดประมาณ 100-200 กรัมต่อตัว 2. กำรเลี้ยงในบ่อดิน เตรียมบ่อโดยระบายน ้าออกให้แห้ง ท าการปรับปรุงโดยเฉพาะที่พื้นบ่อ คันบ่อ ก าจัดวัชพืชและศัตรูปลาใส่ปูนขาวโดยโรยให้ทั่วบ่อ อัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ ตากบ่อ ทิ้งไว้5-7 วัน กรณีบ่อใหม่หรือบ่อที่มีอาหารธรรมชาติน้อยใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วสูบน ้าเข้าบ่อโดยผ่านถุงกรองให้น ้าลึกประมาณ 40-60 เซนติเมตร ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 วัน กรณี เป็นบ่อเก่าซึ่งเลี้ยงปลามานานแล้วไม่จ าเป็นต้องสร้างอาหารธรรมชาติเนื่องจากมีอินทรีย์สารที่สะสม อยู่ในปริมาณที่มาก ควรปล่อยปลาขนาด 3 เซนติเมตรขึ้นไป ซึ่งเป็นปลาที่สามารถกินอาหารปลาดุก วัยอ่อนชนิดเม็ดได้แล้ว หากได้ลูกปลาที่เล็กกว่านั้นควรผสมน ้าในอาหารให้นิ่มก่อนให้หรือให้อาหาร ชนิดผงป้ันเป็นก้อนเพื่อให้ปลาสะดวกต่อการย่อย โดยปล่อยลูกปลาในอัตราประมาณ 50-70 ตัวต่อ ตารางเมตร เมื่อลูกปลาเจริญเติบโตขึ้นในเดือนแรกเพิ่มระดับน ้าสูงประมาณ 60-70 เซนติเมตร และ ทยอยเพิ่มระดับน ้าให้สูงขึ้นสัปดาห์ละประมาณ 10-15 เซนติเมตร จนระดับน ้าในบ่อมีความลึก 1.00-1.50 เมตร เริ่มเปลี่ยนถ่ายน ้าเมื่อการเลี้ยงผ่านไปประมาณ 1-2 เดือน ประมาณ 20-30% ของน ้าทุก 1-2 สัปดาห์หรือมากกว่านั้นโดยสังเกตตามสภาพของน ้า เช่น กลิ่นของน ้า สีของน ้า แม้ว่าปลาดุกจะเป็น ปลาที่ทนต่อสภาพแวดล้อมในสภาพต่าง ๆ ได้สูง แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงควรมีอุปกรณ์วัดคุณสมบัติน ้า ภาคสนาม (Test Kit) ซึ่งมีราคาไม่สูงเพื่อตรวจสอบอยู่เป็นประจ าในรายการที่ส าคัญ เช่น ค่าปริมาณ ออกซิเจนที่ละลายน ้า ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง นอกจากนี้ควรมีอุปกรณ์ส ารอง เช่น เครื่องสูบน ้า ส าหรับสูบพ่นน ้า อุปกรณ์เติมอากาศ กรณีฉุกเฉิน หรือสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดย การเลี้ยงในบ่อดินมีผลผลิตประมาณ 10-14 ตันต่อไร่ อัตรารอดตายประมาณ 40-70 % บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 44 - ตอนที่3 การเลี้ยง
ตอนท ี ่ 4 อาหารและการให้อาหาร - 45 -
ตอนที่4 อำหำรและกำรให้อำหำร การให้อาหารปลาดุกในปัจจุบันนิยมใช้อาหารเม็ดส าเร็จรูป ซึ่งมีการพัฒนาสูตรอาหารให้ เหมาะสมกับปลาดุกทุกขนาดตั้งแต่วัยอ่อนจนถึงขนาดตลาด ดังนี้ อำหำรปลำดุกวัยอ่อนอำยุไม่เกิน 15 วัน หรือขนาดไม่เกิน 3 เซนติเมตร นิยมใช้อาหาร ชนิดผงระดับโปรตีนประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ อำหำรปลำดุกเล็กพิ เศษอำยุ 16-30 วัน หรือขนาด 3-5 เซนติเมตร นิยมใช้อาหารเม็ด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 มิลลิเมตร ระดับโปรตีน ประมาณ 35-40 เปอร์เซ็นต์ อำหำรปลำดุกเล็กอำยุ 30-45 วัน หรือขนาด 5 เซนติเมตรขึ้นไป นิยมใช้อาหารเม็ด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 4.3 มิลลิเมตร ระดับโปรตีน ประมาณ 30-35 เปอร์เซ็นต์ อำหำรปลำดุกกลำงอำยุ 1.5-3 เดือน นิยมใช้อาหารเม็ดระดับโปรตีน ประมาณ 28-32 เปอร์เซ็นต์ อำหำรปลำดุกใหญ่อำยุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป นิยมใช้อาหารเม็ดระดับโปรตีน ประมาณ 24-30 เปอร์เซ็นต์ การให้อาหารควรให้ปลากินวันละ 2 ครั้ง หว่านให้ทั่วบ่อในปริมาณตามที่ปลากินพอดีอิ่ม วิธีนี้จะใช้สังเกตการกินอาหารของปลา ปกติแล้วปลาจะกินอาหารอิ่มและหมดในเวลาประมาณ 5-15 นาทีหลังจากนั้นปลาจะกินน้อยลงและไม่กินในที่สุด เมื่อเลี้ยงปลาได้ประมาณ 3-4 เดือน ปลาจะมีขนาดประมาณ 200-400 กรัมต่อตัว นอกจากอาหารเม็ดส าเร็จรูปแล้วเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาดุกนิยมใช้อาหารสมทบเพื่อลด ต้นทุนได้แก่ โครงกระดูกไก่ หัวไก่ ใส่ไก่ เศษปลา โครงกระดูกหมู เศษอาหาร เป็นต้น โดยน ามาบดเลี้ยงปลาเสริมในช่วงอายุตั้งแต่ 1-1.5 เดือนเป็นต้นไป เพื่อลดต้นทุนในการผลิต ข้อควรระวัง การให้อาหารแต่ละครั้งไม่ควรให้มากเกินไป ควรให้เพียงพอต่อความ ต้องการของปลาเท่านั้น โดยการสังเกตการกินอาหารของปลา การให้อาหารมากเกินไปจะท าให้ สิ้นเปลือง คุณภาพน ้าไม่เหมาะสมจนเกิดอันตรายต่อปลาได้นอกจากนี้ปลาจะกินอาหาร น้อยลง เมื่อออกซิเจนต ่า อุณหภูมิต ่าหรือสูงเกินไป โดยต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมการกิน อาหาร หากมีปลาป่วยหรือเครียดจากสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงควรลดอาหารลง หรืองดให้อาหารจนกว่าปลาจะอยู่ในสภาพปกติ บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 46 - ตอนที่4 อาหารและการให้อาหาร
ตอนท ี ่ 5 โรคและการควบคุม - 47 -
ตอนที่5 โรคและกำรควบคุม อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงปลาดุกของประเทศไทย เป็นอุตสาหกรรมที่มีความส าคัญ ทั้งต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงปลาดุกลูกผสมบิ๊กอุยนั้น ถือเป็นชนิดหลักที่มีผลผลิตมากกว่า 80% ของผลผลิตปลาดุกทั้งหมด จากผลผลิตมวล รวมอยู่ในช่วง 100,000-120,000 ตันต่อปีซึ่งเมื่อพิจารณาจากสัตว์น ้าจืดเศรษฐกิจทั้งหมด แล้วถือว่าเป็นอันดับ 2 รองจากการเพาะเลี้ยงปลานิลที่มีผลผลิตประมาณ 200,000 ตันต่อปี และส่วนใหญ่มีการบริโภคภายในประเทศเป็นหลักคิดเป็น 95% ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาดุกภายในประเทศส่วนใหญ่มีการเลี้ยงแบบพัฒนาที่ปล่อยลูกปลาในอัตรา ที่หนาแน่นสูงต่อพื้นที่และมีการให้อาหารที่มากไปทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยส่วนใหญ่เป็นการ เลี้ยงในบ่อดินขนาดตั้งแต่ 400-1,600 ตารางเมตร ถึงแม้ว่าปลาดุกจะเป็นปลาที่มีความ ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและสามารถด ารงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ เหมาะสมต่อการด ารงชีวิตของสัตว์น ้าทั่วไป เช่น สภาพที่มีก๊าซออกซิเจนที่ละลายในน ้าต ่าและมี ปริมาณแอมโมเนียที่ละลายในน ้าสูง อย่างไรก็ตามในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการ เพาะเลี้ยงปลาดุกของประเทศได้ประสบปัญหาการสูญเสียหรือการตายของปลาเป็นจ านวน มากอันเป็นผลมาจากการเกิดโรคระบาด ทั้งในปลาขนาดเล็กในโรงเพาะและอนุบาลไปจนถึงปลา ขนาดใหญ่ที่เลี้ยงในบ่อดิน นอกจากนี้ผลของการขาดการปรับปรุงพันธุ์และใช้พ่อแม่พันธุ์ที่ไม่มี คุณภาพ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศตามธรรมชาติที่เริ่มจะรุนแรงมากขึ้น ซึ่งมี ส่วนส่งเสริมท าให้คุณภาพน ้าทั้งเคมีชีวภาพและกายภาพ เปลี่ยนแปลงในช่วงกว้างและ บ่อยครั้งเป็นสาเหตุที่ท าให้สิ่งแวดล้อมในบ่อเลี้ยงและสภาพการเลี้ยงไม่เหมาะสมต่อการอยู่ อาศัยท าให้ปลาเกิดความเครียดและอ่อนแอ ยอมรับเชื้อโรคได้ง่ายส่งผลท าให้ปลาเกิดโรคได้ ง่ายอย่างเห็นได้ชัดในปัจจุบัน โดยโรคที่ส าคัญได้แก่ บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 48 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม
เร ื่องท ี่1 โรคท ี่ม ี สำเหต ุ มำจำกปรสิตภำยนอก ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาดุกนั้น จะพบว่ามีปรสิตภายนอกที่ท าอันตรายต่อ ป ล า ห ล า ย ช นิ ด โ ด ย ส่ ว น ใ หญ่ ป ร สิ ต ภายนอกเหล่านี้จะเข้าเกาะในบริเวณเหงือก ผิวหนังและครีบ ท าให้ปลาเกิดความระคาย เคืองเกิดบาดแผล ส่วนพวกที่เกาะบริเวณ เหงือกจะท าให้มีผลต่อระบบการแลกเปลี่ยนก๊าซ ท าให้ปลาดุกเกิดปัญหาขาดออกซิเจนได้ โดยปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาตุ้ม ปลาเซนต์ หรือปลานิ้วในบ่อเพาะหรืออนุบาลจะได้รับ ผลกร ะทบมากกว่าปลาขนาด ใหญ่ แล ะ เสียหายบ่อยครั้งมากกว่า ซึ่งชนิดของ ปรสิตภายนอกที่พบสร้างความเสียหาย ในปลาดุก มีดังนี้ 1.1 โปรโตซัว (Protozoa) 1.1.1 สำเหตุ ปรสิตในกลุ่มนี้จะสร้าง ความเสียหายในลูกปลาดุกมากกว่าปลาขนาด ใหญ่ ชนิดของโปรโตซัวที่พบบ่อยเหมือนกับ ที่สร้างความเสียหายในการเพาะเลี้ยงปลา น ้าจืดโดยทั่วไป ซึ่งได้แก่ โปรโตซัวในสกุล Trichodina, Ichthyophthirius multifilis, Epistylis, Scyphidia, Apiosoma และ Ichtyobodo เป็นต้น แต่ชนิดที่พบบ่อยครั้ง มากที่สุด คือ Trichodina, Ichthyophthirius multifilis และ Epistylis (ภาพที่10) ที่เป็น สาเหตุของการเกิดโรคในปลาดุกมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของโปรโตซัวที่มี โครงสร้างพิเศษที่มีลักษณะเป็นขนเส้น เล็ก ๆ ที่ใช้ในการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหว ที่เรียกว่า “Cilia” จึงถูกจัดอยู่ ในกลุ่ม “CIliated protozoa” โดยปรสิตเหล่านี้จะ อาศัยพื้นที่ผิวนอกตัวปลาเป็นแหล่งยึดเกาะ ในการด ารงชีวิตและหาอาหาร ถ้าเกิดในปลา ขนาดเล็กแล้วจะพบความเสียหายรุนแรง มากกว่าปลาขนาดใหญ่เนื่องจากปลา ขนาดเล็กบอบบางและอ่อนไหวต่อการติด เชื้อปรสิตภายนอกมากกว่าปลาขนาดใหญ่ นอกจากนี้เนื่องจากปลาดุกเป็นปลาที่ไม่มี เกล็ดจึงส่งผลให้การติดเชื้อปรสิตภายนอก เหล่านี้เกิดขึ้นได้เร็วและรุนแรงกว่าปลาที่มี เกล็ดโดยทั่วไป บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 49 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม A B C ภำพที่10 | ปรสิตภายนอกในกลุ่มโปรโตซัวชนิด Trichodina (เห็บระฆัง) (A) Ichthyophthirius multifilis (B) Epistylis (C) ที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคที่เกิด จากปรสิตภายนอกในปลาดุก
1.1.2 อ ำ ก ำ ร โ ป ร โ ตซั วเหล่านี้ สามารถท าให้เกิดความร าคาญในปลาดุกได้ ทุกขนาด แต่อาการจะรุนแรงมากในปลา ขนาดเล็ก เนื่องจากการเกิดกร่อนของ ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อที่ปกคลุมร่างกาย ซึ่งจะพบได้ในบริเวณที่ปรสิตเหล่านี้ ยึดเกาะ ลูกปลาจะแสดงอาการระคายเคือง ในขณะว่ายน ้าจะถูล าตัวกับข้างบ่อหรือวัตถุ ในน ้า ท าให้ผิวหนังเป็นแผลและถลอก ส่งผลให้เชื้อโรคชนิดอื่น เช่น เชื้อแบคทีเรีย เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย รวมทั้งเชื้อราที่ สามารถท าให้เกิดการติดเชื้อแบบซ ้าเติม (Secoundary infection) ได้บ่อยครั้ง เมื่อโปรโตซัวเหล่านี้เข้ายึดเกาะตามพื้นที่ผิว โดยเฉพาะผิวหนังครีบและเหงือกของปลา จะท าให้ปลามีบาดแผลตกเลือดถ้ามีปริมาณ มาก ๆ ที่เหงือกจะท าให้เนื้อเยื่อเหงือกตาย และขัดขวางการแลกเปลี่ยนแร่ธาตุในน ้าและ ก๊ า ซ ต่ า ง ๆ ใ น ก ร ะ บ ว น ก า ร ห า ย ใ จ มี ประสิทธิภาพลดลง ท าให้ปลาขนาดเล็ก เครียดง่าย กินอาหารลดลง อัตราการ เจริญเติบโตต ่า และเมื่อติดเชื้อเหล่านี้นาน ๆ ปลาจะเริ่มผอม หัวโต ตัวลีบ มีสีด าคล ้า ว่ายน ้าเอื่อย ๆ ที่ผิวน ้าและเริ่มทยอยตาย เป็นระยะ ๆ ถ้ามีการระบาดในอัตราที่สูง จะท า ให้อัตราการตายขยับเพิ่มสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง ถ้าเป็นปลาขนาดใหญ่ส่วน ใหญ่จะท าให้ปลาระคายเคืองว่ายน ้าผิดปกติ เอาตัวไปถูกับวัสดุที่แข็ง อัตราการตายจะ น้อยมาก อย่างไรก็ตามเมื่อมีการแพร่ ระบาดของปรสิตกลุ่มนี้มาก ๆ มักจะท าให้ ปลาเกิดบาดแผลและท าให้เชื้อโรคชนิดต่าง ๆ เช่น แบคทีเรียหรือเชื้อราเข้าเกาะตัวปลา และ เป็นสาเหตุของการเกิดการติดเชื้อชนิดอื่น ตามมาได้(ภาพที่11) บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 50 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม ภำพที่11 | อาการของปลาดุกวัยอ่อนที่ติดเชื้อ ปรสิตภายนอก โปรโตซัวชนิด Trichodina (เห็บระฆัง) ที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคที่ เกิดจากปรสิตภายนอกในปลาดุกวัยอ่อน ในส่วนของการเกิดโรคที่มีสาเหตุมา จากปรสิตโปรโตซัวชนิด Ichthyophthirius Multifilis จะมีลักษณะที่ค่อนข้างเฉพาะ เนื่องจากภายหลังจากการลงเกาะเนื้อเยื่อที่ ปกคลุมร่างกายแล้ว โปรโตซัวชนิดนี้จะ ชอนไชเนื้อเยื่อบนพื้นผิวจนท าให้ปลาเกิด การระคายเคืองและพยายามปลดปล่อย เมือกออกมาปกคลุมจนเกิดเป็นเม็ดสีขาว ขุ่น จนเป็นที่มาของโรคที่เกษตรกรรู้จักกัน เป็นอย่ างดีว่ า “โ รคจุดข ำว ห รือ อิ๊ค (Ich)” (ภาพที่12) และเมื่ออยู่ในสภาพที่ เหมาะสมปรสิตชนิดนี้จะเพิ่มจ านวนขึ้น อย่างรวดเร็วและเคลื่อนที่ไปเกาะบริเวณ อื่น ๆ จนเกิดจุดขาวปกคลุมตามร่างกาย
1.1.3 สำเหตุโน้มน ำ โดยทั่วไปสาเหตุ โน้มน าที่ส าคัญของการเกิดโรคปรสิต เหล่านี้ในปลา คือ การส่งผ่านเชื้อโรคมาจาก ภายนอกโดยเฉพาะทางอาหาร ซึ่งพบว่า การใช้อาหารมีชีวิตโดยเฉพาะไรแดงที่ไม่ได้ ผ่านการฆ่าเชื้อหรือลดการปนเป้ือนก่อนการ น ามาให้ลูกปลา จะเป็นสาเหตุหลักของการ เกิดโรคปรสิตภายนอกในกลุ่มนี้ในลูกปลาดุก นอกจากนี้สภาพการเลี้ยงหรืออนุบาลที่ หนาแน่นและมีปริมาณสารอินทรีย์ในน ้า ปริมาณสูง จะท าให้การแพร่ระบาดของโรค เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ภำพที่12 | อาการของปลาดุกวัยอ่อนที่ติดเชื้อโปรโตซัวชนิด Ichthyophthirius multifilis ที่เรียกว่า“โรคจุดขำว หรือ อิ๊ค (Ich)” ในปลาดุกวัยอ่อน บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 51 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม โดยปริมาณสารอินทรีย์ที่เพิ่มสูงขึ้นจะเป็น แหล่งอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ โปรโตซัวเหล่านี้ใช้ในการเจริญเติบโตและ เพิ่มจ านวน และยังเพิ่มปริมาณแบคทีเรียในน ้า ซึ่งจะเป็นอาหารที่ส าคัญของโปรโตซัวกลุ่ม นี้ได้เช่นกัน ดังนั้น หากมีการเลี้ยงปลาใน อัตราที่หนาแน่นสูงและมีการให้อาหารที่มาก ไปทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนการ จัดการคุณภาพน ้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลท าให้อัตราการเกิดโรคและความ รุนแรงของโรคเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
1.1.4 กำรป้องกันและรักษำ กำรป้องกัน การป้องกันโรคที่เกิด จ าก โป ร โตซั วเหล่านี้ที่ดีที่สุด คือการ ควบคุมคุณภาพน ้าและสารอินทรีย์ภายใน บ่อเลี้ยง โดยเฉพาะในปลาขนาดเล็กที่น ามา เลี้ยงในบ่อซีเมนต์ก่อนการล าเลียงขนส่ง หากมีความจ าเป็นต้องพั กปลาไว้ในอัตรา ที่หนาแน่นสูง ต้องควบคุมคุณภาพน ้าและ ปริมาณสารอินทรีย์ในน ้าให้อยู่ในระดับที่ เหมาะสม และควรแช่ลูกปลาด้วย สารเคมี บางชนิด เช่น ฟอร์มาลิน 25 ส่วนในล้าน ส่วน (25 ซีซีต่อน ้า 1 ลูกบาศก์เมตร) หรือ ใช้เกลือแกงในอัตรา 0.01% (0.1 กิโลกรัม ต่อน ้า 1 ลูกบาศก์เมตร) และให้อากาศอย่าง เต็มที่และต้องระวังอย่าให้มวลน ้าเกิดการ เคลื่อนที่อย่างรุนแรง ซึ่งจะท าให้ปลามี อัตราการเกิดโรคที่เร็วขึ้น นอกจากนี้การลดการปนเป้ือนของ เชื้อก่อโรคในอาหารมีชีวิต เช่น การแช่ไรแดง โด ย ใ ช้ด่ า ง ทับ ทิ ม (KMnO4 ) ใ น อัต ร า 10-15 ส่วนในล้านส่วน (10-15 กิโลกรัมต่อ น ้า 1 ลูกบาศก์เมตร) เป็นเวลา 5-10 นาที แล้วล้างออกด้วยน ้าสะอาด 2-3 รอบ จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคจากโปรโตซัว ในกลุ่มนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กำรรักษำ การรักษาโรคที่เกิดจาก โปรโตซัวเหล่านี้ที่ดีที่สุด เมื่อน าปลาพัก ในบ่อพักควรให้เกลือแกงในอัตรา 0.01% (1 กิโลกรัมต่อน ้า 1 ลูกบาศก์เมตร) เพื่อ ป้องกันการเกิดความเครียด เมื่อสังเกตเห็น ปลาที่แสดงอาการของโรค ให้พยายามน า ปลาที่แสดงอาการออกจากระบบการเลี้ยงมาก ที่สุด และใช้ฟอร์มาลิน 25 ส่วนในล้านส่วน (25 ซีซีต่อน ้า 1 ลูกบาศก์เมตร) ทุก ๆ วัน ร่วมกับการถ่ายน ้าทุก ๆ วัน วันละ 20-50% จนกว่าอัตราการตายจะลดลง ระหว่างการ ให้ฟอร์มาลิน ต้องมีการให้อากาศอย่างเต็มที่ และหลีกเลี่ยงการให้มวลน ้าเคลื่อนที่รุนแรง มากจนเกินไป จะท าให้ประสิทธิภาพในการ รักษาดีขึ้น ในกรณีของการรักษาโรคอิ๊คหรือ จุดขาวนั้น สามารถท าได้โดยน าปลามาแช่ใน ฟอร์มาลิน 25 ส่วนในล้านส่วน (25 ซีซี ต่อน ้า 1 ลูกบาศก์เมตร) ร่วมกับการใช้ มาลาไคท์กรีน 0.01 ทุก ๆ วัน ส่วนในล้านส่วน (0.01 กรัมต่อน ้า 1 ลูกบาศก์เมตร) ร่วมกับ การถ่ายน ้าทุก ๆ วัน วันละ 20-50% จนกว่าอัตราการตายจะลดลง ระหว่างการ ให้ฟอร์มาลินและมาลาไคท์กรีน ต้องมีการ ให้อากาศอย่างเต็มที่และหลีกเลี่ยงการให้ มวลน ้า เคลื่อนที่รุนแรงมากจนเกินไป จะท าให้ประสิทธิภาพในการรักษาดีขึ้น บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 52 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม
1.2 ปลิงใส (Monogenea) 1.2.1 สำเหตุ โดยทั่วไปปลิงใสเป็นปรสิตภายนอกที่จัดอยู่ในกลุ่มหนอนตัวแบน ชนิดที่ ก่อให้เกิดโรคในปลาดุกที่พบได้บ่อยครั้งที่สุดได้แก่สกุล Gyrodactylus และ Dactylogyrus (ภาพที่13) ปรสิตกลุ่มนี้จะมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น จนถึงขนาดใหญ่ มากกว่า 3 มิลลิเมตร โดยอวัยวะที่พบปรสิตกลุ่มนี้มากที่สุดคือ เหงือก เนื่องจากเป็นบริเวณ ที่เหมาะสมและเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนของก๊าซออกซิเจนของปลา ท าให้เงือกมีการสร้างเมือก ออกมาปกคลุมเนื้อเยื่อส่วนนี้มากกว่าปกติรวมทั้งผิวหนังบนตัวปลาซึ่งมีความส าคัญในการ ด ารงชีพของปรสิตเช่นกัน จากนั้นปรสิตในกลุ่มนี้จะดูดกินเยื่อเมือกและของเหลวจากเซลล์ใน ตัวปลา ท าให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อบริเวณที่เกาะ บางครั้งท าให้เกิดป้ืนขาวตามผิวหนัง ส่งผลต่อเนื่องให้จุลินทรีย์อื่น ๆ สามารถเข้าไปในร่างกายทางบริเวณที่เกิดบาดแผลได้เช่นกัน (Lindenstrøm et al., 2004, Tubbs et al., 2005) บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 53 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม A B ภำพที่13 | ปลิงใสในสกุล Gyrodactylus (A) และ Dactylogyrus (B) ที่เป็นสาเหตุหลัก ของการเกิดโรคที่เกิดจากปรสิตภายนอกในปลาดุก
1.2.2 อำกำร โรคที่เกิดจากปลิงใสในปลาดุกนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งปลาขนาดเล็ก และปลาขนาดใหญ่อาการที่เกิดขึ้นจะเหมือนกับการเกิดปรสิตภายนอกโดยทั่วไป คือ จะท าให้ ปลามีบาดแผลตกเลือด ปลามีการขับเมือกออกมาเป็นปริมาณมากบริเวณที่ปลิงใสเข้าเกาะ เนื่องจากปลิงใสจะเกาะและกัดกินเนื้อเยื่อหรือเยื่อเมือกบริเวณผิวหนังของปลา ถ้ามีปริมาณ มาก ๆ ที่เหงือกจะขัดขวางการแลกเปลี่ยนแร่ธาตุในน ้าและก๊าซต่าง ๆ ส่งผลท าให้กระบวนการ หายใจมีประสิทธิภาพลดลง ลูกปลาดุกที่ป่วยจะมีการหายใจหรือกระดูกปิดเหงือกเปิดปิดเร็ว กว่าปกติท าให้ปลาขนาดเล็กเครียดง่าย กินอาหารลดลง อัตราการเจริญเติบโตต ่า และเมื่อ ติดเชื้อเหล่านี้นาน ๆ เข้า ระยะการติดเชื้อช่วงท้าย ๆ ปลาจะเริ่มผอม หัวโต ตัวลีบ มีสีด าคล ้า ว่ายน ้าเอื่อย ๆ ที่ผิวน ้าและเริ่มทยอยตาย เป็นระยะ ๆ (ภาพที่14) ถ้ามีการระบาดในอัตราที่สูง จะท าให้อัตราการตายขยับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถ้าเป็นปลาขนาดใหญ่ส่วนใหญ่จะท าให้ปลา ระคายเคืองว่ายน ้าผิดปกติเอาตัวไปถูกับวัสดุที่แข็ง อัตราการตายจะน้อยมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการแพร่ระบาดของปรสิตกลุ่มนี้มาก ๆ มักจะท าให้ปลาเกิดบาดแผล และท าให้เชื้อโรค ชนิดต่าง ๆ เช่น แบคทีเรียหรือเชื้อราเข้าเกาะตัวปลา และเป็นสาเหตุของการเกิดการติดเชื้อ ชนิดอื่นตามมาได้ บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 54 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม 1.2.3 สำเหตุโน้มน ำ สาเหตุโน้มน าที่ส าคัญของการเกิดโรคที่เกิดจากปลิงใส คือ ปริมาณสารอินทรีย์ในน ้าและการเลี้ยงปลาในอัตราที่หนาแน่นสูง โดยปัจจัยทั้ง 2 นั้นจะท าให้ ปลิงใสเพิ่มจ านวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากมีการเลี้ยงปลาในอัตราที่หนาแน่นสูงและมีการ ให้อาหารที่มากไปทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนการจัดการคุณภาพน ้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลท าให้อัตราการเกิดโรคและความรุนแรงของโรคเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับ การเกิดโรคปรสิตภายนอกชนิดอื่น ๆ ภำพที่14 | ลักษณะอาการภายนอกของปลาดุกที่เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากปรสิตภายนอกกลุ่มปลิงใส
1.2.4 กำรป้องกันและรักษำ กำรป้องกัน การป้องกันการเกิดโรค ที่มีสาเหตุมาจากปลิงใสนั้น สามารถท าได้ เช่นเดียวกับการป้องกันการเกิดโรคจาก โปรโตซัว คือ การควบคุมความหนาแน่น และปริมาณสารอินทรีย์ในน ้า รวมทั้งต้อง ระวังการน าปลากลุ่มใหม่เข้ามารวมกันกับ ปลากลุ่มเดิม หากจ าเป็นต้องท า ควรมีการ กักบริเวณในบ่อที่แยกออกจากปลากลุ่ม เดิมเพื่อดูและสังเกตอาการอย่างน้อย 7 วัน เมื่อปลากลุ่มใหม่ผ่านการกักกันโรค แล้วจึงสามารถรวมปลาทั้ง 2 กลุ่มเข้า ด้วยกันได้นอกจากนี้ลูกปลาวัยอ่อนที่เพิ่ง ย้ายมาใหม่ๆ สามารถลดการปนเป้ือนของ ปรสิตภายนอกเหล่านี้โดยการแช่ลูกปลาดุก ขนาดตั้ง แต่ปล า เ ซ น ต์ถึงปล านิ้ว ใ น ฟอร์มาลินความเข้มข้น 100 ส่วนในล้าน ส่วน (100 ซีซีต่อน ้า 1 ลูกบาศก์เมตร) เป็น เวลานาน 5 นาทีและให้อากาศอย่างเต็มที่ ก่อนปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง กำรรักษำ การรักษาโรคที่มีสาเหตุ มาจากปลิงใสนั้น ก็สามารถท าได้เช่นเดียว กับการรักษาโรคที่เกิดจากโปรโตซัว แต่จะ สามารถ ใช้ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์แกน โน ฟอสเฟสชนิด Dipterex ในอัตรา 0.25- 0.5 ส่วนในล้านส่วน (0.25-0.5 กรัมต่อน ้า 1 ลูกบาศก์เมตร) แช่ได้ตลอด หรือแช่ปลา ในฟอร์มาลินความเข้มข้น 100 ส่วนในล้าน ส่วน (100 ซีซีต่อน ้า 1 ลูกบาศก์เมตร) เป็น เวลานาน 5 นาทีและให้อากาศอย่างเต็มที่ ซึ่งการรักษาจะได้ผลในปลาที่เลี้ยงหรือพัก ในบ่อซีเมนต์ขนาดไม่ใหญ่มากนัก ส่วนปลา ที่เลี้ยงในบ่อดินหรือกระชังโดยทั่วไปท าได้ ค่อนข้างยาก บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 55 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม
เร ื่องท ี่2 โรคท ี่ม ี สำเหต ุ มำจำกแบคท ี เร ี ย บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 56 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม ในการเพาะเลี้ยงปลาดุกนั้นโรคแบคทีเรียจัดเป็นโรคที่สร้างความเสียหายมากที่สุด เนื่องจากสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกระยะหรือทุกขนาด และท าให้เกิดการตายและความเสียหาย อย่างรุนแรงมากกว่าปรสิตภายนอก โรคชนิดที่ส าคัญที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียในปลาดุก จะมีสาเหตุมาจากแบคทีเรียที่เกิดในปลาที่เลี้ยงในน ้าจืดทั่วไปซึ่งได้แก่ 2.1 โรคท้องบวมน ้ำหรือตกเลือดตำมล ำตัวหรือกกหูบวม 2.1.1 สำเหตุ โรคชนิดนี้เป็นสาเหตุการตายของปลาดุกมากที่สุด เนื่องจากสามารถ ก่อให้เกิดโรคได้ในทุกระยะหรือทุกขนาดของปลา ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ในกลุ่ม Aeromonas spp. ซึ่งได้แก่ Aeromonas hydrophila, A. carviae, A. veronii และ A. sorbia เป็นต้น (Ashiru et al. 2011) แบคทีเรียเหล่านี้ก่อให้เกิดโรคที่เรียกว่า Motile Aeromonas disease หรือ Aeromonad septicemia หรือ Haemorrhagic septicemia โดยในปลาดุกส่วนใหญ่นั้นมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย A. hydrophila เป็นหลัก (Harikrishnan et al. 2018) เชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Aeromonas นี้เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างเป็นแท่ง สั้นตรงหรือท่อนสั้น (Short rod) เคลื่อนที่ได้โดยใช้Flagella (ภาพที่ 15) เจริญได้ทั้งใน สภาพมีและไม่มีออกซิเจน โดยทั่วไปด ารงชีวิตอยู่ในน ้าเป็นปกติอยู่แล้ว (Water borne organisms) ทั้งในน ้าและตัวสัตว์น ้า แต่เมื่อตัวสัตว์น ้าเกิดความอ่อนแอหรือภูมิคุ้มกัน ประสิทธิภาพต ่าลงอันเป็นผลมาจากการเกิดสภาวะเครียด จะส่งผลให้เกิดการเกิดโรคการติด เชื้อแบบฉวยโอกาส (Opportunistic infection) แบคทีเรียนี้เป็นการติดเชื้อในระบบภายใน ร่างกายและแพร่ไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยอาศัยกระแสเลือด (Systemic infection) โดยที่เชื้อจะเข้าสู่ปลาทางปาก ทางผิวหนังหรือเหงือกที่เกิดบาดแผล ในสภาพปกติเชื้อจะไม่ท าให้ เกิดโรค โดยเชื้อในกลุ่มนี้สามารถก่อให้เกิดโรคได้ในสัตว์น ้าหลายชนิดและในทุกระยะหรือทุก ขนาด แต่ส าหรับในปลาดุกนั้นจะท าให้เกิดความเสียหายมากกับปลาตั้งแต่ขนาดเล็ก (ปลาเซนต์ หรือปลานิ้ว) ไปจนถึงขนาด 50 กรัมถึงปลาขนาดตลาด (Sellegounder et al., 2018)
บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 57 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม ภำพที่15 | ลักษณะสัณฐานของเซลล์แบคทีเรียในสกุล Aeromonas ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคท้องบวมน ้าหรือตกเลือดตามล าตัวในปลาดุก
2.1.2 อำกำร แบคทีเรียในกลุ่มนี้ สามารถก่อให้เกิดโรคได้ในสัตว์น ้าจืดแทบ ทุกชนิด ซึ่งเมื่อก่อให้เกิดโรคในปลาดุกจะ แสดงอาการของโรคที่ส าคัญดังนี้ อำกำรภำยนอก ปลาที่ป่วยขนาดเล็กหรือใหญ่จะมี บาดแผลตามล าตัว ครีบกร่อน ตกเลือด หรือมีแผลตามล าตัว บางครั้งมีการตก เลือดเป็นจุดขนาดเล็กตามผิวหนัง ท้อง บวมน ้า โคนครีบหูบวม (ภาพที่16) ปลาที่ ป่วยส่วนใหญ่จะว่ายน ้าเอื่อย ๆ ที่บริเวณ ผิวน ้า ซุกตัวเองบริเวณขอบบ่อหรือท้าย บ่อ อัตราการตายจะทยอยเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ 1-5% และสามารถเพิ่มสูงขึ้นถึง 40-60% ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการ แปรปรวนของสภาพแวดล้อมและคุณภาพ น ้า (โสภาและสุปราณี, 2528) อำกำรภำยใน เมื่อน าปลาที่แสดงอาการของโรคมา ผ่าช่องท้องจะพบว่ามีของเหลว ใสหรือ เหลืองหรือส้ม หรือมีเลือดปนน ้าเหลืองใน ช่องท้อง ตับจะมีสีซีดผิดปกติ (ภาพที่17) ภำพที่ 16 | ลักษณะอาการภายนอกของปลา ดุกที่เป็นโรคท้องบวมน ้าและตกเลือดตามที่เกิด จากเชื้อในสกุล Aeromonas บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 58 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม ภำพที่ 17 | ลักษณะอาการภายนอก (บน) และภายใน (ล่าง) ของปลาดุกที่เป็นโรค ท้องบวมน ้าและตกเลือดตามที่เกิดจาก เชื้อในสกุล Aeromonas hydrophila
2.1.3 สำเหตุโน้มน ำ การเกิดโรคชนิดนี้ในปลาดุก มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่ปลาเกิด ความเครียด ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีโดยเฉพาะช่วงรอยต่อระหว่างฤดูกาล เช่น ร้อนต่อกับฝนหรือปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว โดยเฉพาะปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน ้าและค่า ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของน ้ามีการแกว่งตัว ความรุนแรงของโรคมักขึ้นอยู่กับการ เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมเป็นหลักหรือคุณภาพน ้าในบ่อหรือแหล่งน ้าตามธรรมชาติ ซึ่งเมื่อปลาเกิดความเครียดแล้วมักจะท าให้ระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันตัวจากเชื้อโรคชนิด ต่าง ๆ ด้อยประสิทธิภาพลง ส่งผลท าให้เชื้อโรคที่อยู่รายล้อมตัวปลาหรืออยู่ในตัวปลาที่ ปกติด ารงชีวิตเป็นเชื้อประจ าถิ่น (Normal flora) ถูกกระตุ้นให้มีความสามารถในการสร้าง สารพิษออกมาท าลาย ตัวปลาที่เป็นเจ้าบ้าน (Host) ปกติและท าให้เกิดโรคที่รุนแรงตามมา ได้แบบฉวยโอกาส ซึ่งเป็นลักษณะส าคัญของการเกิดโรคแบบฉวยโอกาสที่มีสาเหตุมาจาก เชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Aeromonas spp. ทั้งสิ้น (โสภาและสุปราณี, 2528) 2.1.4 กำรป้องกันรักษำ กำรป้องกัน การป้องกันการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อในกลุ่ม Aeromonas spp. นั้น ต้องมีการ ควบคุมสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะคุณภาพน ้าและควบคุมอัตราการกินอาหารให้อยู่ในระดับที่ เหมาะสม โดยเฉพาะช่วงรอยต่อของฤดูกาลที่พบว่าสภาพอากาศจะมีความแปรปรวนสูง ซึ่งจะ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน ้าและพฤติกรรมการกินอาหารของปลา และจะส่งผล กระทบต่อเนื่องถึงการตอบสนองทางสรีระโดยเฉพาะการสูญเสียสมดุลน ้าและเกลือแร่ใน ร่างกาย ซึ่งจะเป็นส่วนโน้มน าท าให้ปลาเกิดภาวะความเครียด อ่อนแอ ยอมรับเชื้อโรคได้ง่าย จนท าให้เกิดโรคในที่สุด โดยจะพบว่าเมื่อเข้าสู่ช่วงรอยต่อของฤดูกาลเกษตรกร ที่พบว่าเป็น “ช่วงวิกฤตของกำรเกิดโรค” เช่น อากาศร้อนติดต่อกัน ฝนตกหรือฟา้ครึ้มติดต่อกัน ร้อน แล้วมีฝนตกติดต่อกัน สภาพน ้าหลาก อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลันหรืออุณหภูมิของน ้าต ่าลง น้อยกว่า 25 องศาเซลเซียส และโดยเฉพาะช่วงที่มีฝนตกหรือฟา้ครึ้มต่อเนื่องถือเป็นจุด เปราะบางส าหรับการเลี้ยงปลาดุกมากทั้งในระยะเริ่มแรกที่ปล่อยเลี้ยงไปจนถึงช่วงระหว่าง เลี้ยง เนื่องจากจะเป็นระยะที่ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน ้าต ่าลงและค่าความเป็นด่าง (Alkalinity) ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของน ้าเกิดการ แกว่งตัวในรอบวันอย่างต่อเนื่อง ยิ่งเป็นปัจจัยที่ท าให้ปลาดุกเกิดภาวะเครียด อ่อนแอและ ยอมรับการเกิดโรคง่ายในที่สุด ดังนั้น เกษตรกรควรเพิ่มการจัดการคุณภาพน ้า การให้อาหาร และการจัดการสุขภาพปลาควบคู่กันดังนี้ บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 59 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม
1) ช่วงระยะแรกของการปล่อยปลาลงเลี้ยงหรืออนุบาล เกษตรกรควรตรวจวัดค่า ความเป็นด่างและความเป็นกรด-ด่างของน ้า ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมที่80-120 มิลลิกรัมต่อ ลิตร (เมื่อเทียบกับ CaCO3 ) และ 7-8.5 ในรอบวัน ตามล าดับ หากคุณภาพน ้าทั้ง 2 ปัจจัยมี ระดับต ่า ควรมีการให้วัสดุปูนในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหากน ้ามีสีเขียวหรือน ้าตาล เข้มอยู่แล้วให้ใช้ปูนมาร์ล (CaCO3 ) หรือหากน ้ามีสีน ้าอ่อน เช่น เขียวอ่อน น ้าตาลอ่อน ให้ใช้ปูน โดโลไมท์ [CaMg(CO3 )2 ] โดยผสมน ้าแล้วทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาทีแล้วน าไปสาดให้ทั่วบ่อใน ช่วงเวลา 20.00-21.00 น. โดยท าวันเว้นวันติดต่อกัน 2-3 ครั้ง เพื่อรักษาระดับความเป็น ด่าง (Alkalinity) ซึ่งจะเป็นคุณภาพน ้าที่ส าคัญในการควบคุมคุณภาพน ้าทางด้านเคมี ชีวภาพและกายภาพของน ้า ให้เหมะสมในช่วงที่มีการแปรปรวนของสภาพอากาศ โดยเฉพาะจะ ส่งผลต่อความความเป็นกรด-ด่าง จะอยู่ในระดับที่เหมาะสมก่อนการปล่อยปลาลงบ่อเลี้ยง หรืออนุบาล อย่างไรก็ตามการใช้วัสดุปูนในบ่อปลาดุกต้องมีความระมัดระวังในช่วงปลามีอายุเข้าสู่ เดือนที่3-4 เนื่องจากระยะดังกล่าวจะมีการสะสมของเสียในบ่อปริมาณสูง ซึ่งจะสามารถ สังเกตได้จากสีหรือกลิ่นของน ้า หากมีสีน ้าตาลหรือด า แสดงว่ามีปริมาณสารอินทรีย์และ ปริมาณสารพิษต่าง ๆ โดยเฉพาะปริมาณแอมโมเนียละลายในน ้าสูง ดังนั้นในช่วงดังกล่าวควร งดการใช้วัสดุปูนโดยเด็ดขาด เนื่องจากการใช้วัสดุปูนในช่วงดังกล่าวจะส่งผลให้น ้ามีความ เป็นกรด-ด่างสูงขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้แอมโมเนียอยู่ในรูปที่เป็นพิษ (NH3 ) มากกว่ารูปที่ไม่มี พิษ (NH4 + ) ซึ่งเป็นอันตรายท าให้ปลาตายได้ในจ านวนมาก 2) ในช่วงที่มีฝนตกหรือฟา้ครึ้มติดต่อกัน จะส่งผลท าให้ระดับปริมาณออกซิเจนละลาย ในน ้าต ่าเสมอ ถึงแม้ว่าปลาดุกจะมีความทนทานต่อสภาพที่มีระดับปริมาณออกซิเจนละลายใน น ้าต ่าดังกล่าว แต่เมื่อปลาต้องอยู่ในสภาวะดังกล่าวติดต่อกันหลายวันปลาจะมีโอกาสเกิด ความเครียด อ่อนแอ ยอมรับเชื้อโรคได้ง่ายและมักจะพบเสมอว่ามีอัตราการเกิดโรคบ่อยครั้ง ในช่วงดังกล่าว เกษตรกรควรติดตั้งเครื่องให้อากาศในน ้าให้ปลาได้รับอากาศอย่างเพียงพอ ซึ่งโดยทั่วไปควรมีค่ามากกว่า 3 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยเฉพาะช่วงเริ่มปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงไป จนถึงการเลี้ยงปลาขนาดใหญ่นอกจากนี้ควรใส่ปูนมาร์ลหรือโดโลไมท์ในเวลากลางคืนอย่าง ต่อเนื่อง เช่นเดียวกับข้อปฏิบัติในข้อ 1 3) ก่อนและหลังการขนส่งหรือก่อนและระหว่างภาวะวิกฤต เกษตรกรควรแขวนเกลือ แกงให้ปลาได้รับอย่างต่อเนื่อง โดยเกษตรกรควรมีการแขวนเกลือในอัตรา 120-160 กิโลกรัมต่อไร่หากเป็นบ่อขนาดใหญ่เน้นเฉพาะพื้นบริเวณที่ปลาขึ้นกินอาหาร (ภาพที่18) ให้ ปลาได้รับอย่างต่อเนื่องภายหลังการเกิดภาวะดังกล่าว บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 60 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม
4) ผสมวิตามิน ซีในอาหารในอัตรา 3-5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินติดต่อกัน 3-5 วัน ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงวิกฤตของการเกิดโรค 5) เมื่อภาวะวิกฤตเกิดขึ้น ให้เกษตรกรควบคุมการให้อาหารให้ดี โดยเฉพาะช่วงวิกฤต ของการเกิดโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีอุณหภูมิสูงมากกว่า 32 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรควบคุมปริมาณอาหารที่ให้โดยการงดหรือลดปริมาณการให้อาหารลง กำรรักษำ 1) เมื่อปลาเกิดโรคท้องบวมหรือแผลตกเลือดหรือโรคกกหูบวมอันเป็นผลมาจากเชื้อใน กลุ่ม Aeromonas spp. แล้ว เกษตรกรควรงดอาหารทันที หากพบปลาป่วยเป็นโรคให้ พยายามน าปลาที่ป่วยออกจากระบบการเลี้ยงแล้วน าไปฝังหรือเผาท าลายให้มากที่สุด เพื่อเป็น การป้องกันและหยุดการแพร่ระบาดของโรคในระบบการเลี้ยง 2) งดอาหาร 2-3 วันแล้ว ผสมยาปฏิชีวนะ เอ็นโรฟล็อกซาซิน (Enrofloxacin) ใน อาหารที่อัตรา 3-5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากิน ติดต่อกันเป็นเวลา 5-7 วันแล้วจึง หยุด ระหว่างนี้พิจารณามาตรการในการจัดการตามข้อเสนอแนะในการป้องกันโรคข้างต้น และ ควรมีระยะหยุดยา (Withdrawal period) อย่างน้อย 14-21 วัน ก่อนจับผลผลิต เพื่อความ ปลอดภัยของผู้บริโภค บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 61 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม ภำพที่18 | รูปแบบของการให้เกลือเพื่อการป้องกันโรคในปลาดุกในบ่อดิน
2.2 โรคตัวด่ำง (Columnaris) 2.2.1 สำเหตุ โรคตัวด่างที่เกิดขึ้นในปลาดุกนั้นเกิดจากแบคทีเรีย Flavobacterium columnare (ชื่อเดิม Flexibacter columnaris) สามารถก่อให้เกิดโรคได้ในสัตว์น ้าจืดเกือบ ทุกชนิด แบคทีเรียในกลุ่มนี้จะมีลักษณะเป็นแบคทีเรียแกรมลบ ท่อนยาว (Long rod) ย้อมติด สีแดงของ Safranin O (ภาพที่19) เชื้อโรคในกลุ่มนี้มักจะก่อให้เกิดการติดเชื้อ ภายนอกบริเวณผิวหนังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายก่อน และจะสามารถพัฒนาท าให้เกิดการติด เชื้อภายในระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ในภายหลัง ภำพที่19 | ลักษณะสัณฐานของเซลล์แบคทีเรีย Flavobacterium columnare ที่เป็น สาเหตุของการเกิดโรคตัวด่างในปลาดุก บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 62 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม 2.2.2 อำกำร การเกิดโรคชนิดนี้ส่วนใหญ่จะสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในปลาขนาดเล็กและ ปลาขนาดใหญ่ ปลาที่พบว่ามีอาการของโรคตัวด่างมักตายในเวลาอันรวดเร็ว ถ้าไม่รีบท าการ รักษาให้ทันท่วงที อัตราการตายอาจสูงถึง 80-100 เปอร์เซ็นต์ ภายในเวลา 24-48 ชั่วโมง โดยเฉพาะปลาขนาดเล็กตั้งแต่ปลาเซนต์จนถึงปลานิ้ว ที่มักเกิดขึ้นภายหลังจากการ เคลื่อนย้ายหรือการขนส่ง เช่น เดียวกับปลาขนาดใหญ่ซึ่งจะแสดงอาการภายใน 1 สัปดาห์ หลังจากการขนส่ง ส่วนปลาขนาดใหญ่ที่เลี้ยงในบ่อดินนั้น โอกาสที่จะเกิดโรคตัวด่างมีน้อย กว่าปลาขนาดเล็กแต่อาจได้รับผลกระทบเมื่อมีการเปลี่ยนถ่ายน ้าที่มากจนเกินไปหรือใช้น ้าที่ถ่าย โดยไม่มีการพัก หรืออยู่ในสภาพที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวันก็สามารถโน้มน าให้ปลาขนาดใหญ่ เกิดโรคตัวด่างได้เช่นกัน โดยปลาที่ป่วยมักแสดงอาการที่ส าคัญ คือ ปลาที่ติดเชื้อจะว่ายน ้า เชื่องช้าหรือว่ายลอยเอื่อย ๆ ที่บริเวณผิวน ้า ล าตัวตั้ง เมื่อสังเกตลักษณะภายนอกจะเห็นรอย ด่างเป็นป้ืนขาว บริเวณผิวหนังตามล าตัว ครีบ โดยเฉพาะครีบหาง ปาก เมื่อปลาติดเชื้อกรณี ที่รุนแรงจะพบรอยด่างหรือเนื้อเยื่อตายที่บริเวณเหงือกและเนื้อเยื่อบริเวณรอบปาก หนวดกุด และมีแผลเป่ือยรอบ ๆ ปาก (ภาพที่20) อัตราการตายจะสูงมาก ในปลาขนาดเล็กจะพบการ เกิดครีบกร่อน โดยเฉพาะครีบหางขาดลึกเข้าไปถึงล าตัว ส่วนอาการภายในส าหรับปลาดุกจะ ไม่ค่อยเด่นชัดเมื่อเทียบกับปลาชนิดอื่น ๆ ที่เป็นโรคชนิดเดียวกันนี้(Prasad et al. 2011)
ภำพที่ 20 | ลักษณะภายนอกของปลาที่เกิดโรคตัวด่างที่รุนแรงในปลาดุก บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 63 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม
2.1.3 สำเหตุโน้มน ำ การเกิดโรคตัวด่างนี้มักพบในช่วงที่ อากาศมีการเปลี่ยนแปลงกะทันหัน เช่น ในช่วงอากาศเย็น ในช่วงฝนตกหนักและ หลังจากการขนย้ายปลาในช่วงที่มีอากาศ ร้อนจัด หรือภาวะน ้าหลาก (Decostere et al. 1999) ในกรณีของฟาร์มอนุบาลที่น าปลา มาพักก่อนการขนส่งหรือจ าหน่าย ไม่ว่าจะ เป็นปล า เซนต์หรือปลานิ้วจะพบความ เสียหายมากกว่าปลาขนาดใหญ่ที่เลี้ยงใน บ่อดิน โดยเป็นผลมาจากการเกิดภาวะ ความเครียด หากมีการกักขังปลาในอัตราที่ หนาแน่นสูง มีการควบคุมคุณภาพน ้าไม่ดี และมีสารอินทรีย์ปนเป้ือนในน ้าปริมาณสูง จ ะส่งผล ให้อัตราการเกิด โรคแล ะความ รุนแรงสูงมาก 2.1.4 กำรป้องกันและรักษำ กำรป้องกัน การป้องกันโรคตัวด่างที่มีสาเหตุมา จาก เชื้อ F. columnare คือ การควบคุม คุณภาพน ้าและสารอินทรีย์ภายในบ่อพัก ปลา โดยเฉพาะในปลาขนาดเล็กที่น ามา เลี้ยงในบ่อซีเมนต์ก่อนการล าเลียงขนส่ง หากมีความจ าเป็นต้องพักปลาไว้ในอัตราที่ หนาแน่นสูง ต้องควบคุมคุณภาพน ้าและ ปริมาณสารอินทรีย์ในน ้าให้อยู่ในระดับที่ เหมาะสม และควรแช่ลูกปลาด้วย สารเคมี บางชนิด เช่น ฟอร์มาลิน 25 ส่วนในล้าน ส่วน (25 ซีซีต่อน ้า 1 ลูกบาศก์เมตร) หรือ ใช้เกลือแกงในอัตรา 0.01% (0.1 กิโลกรัม ต่อน ้า 1 ลูกบาศก์เมตร) และให้อากาศอย่าง เต็มที่และต้องระวังอย่าให้มวลน ้าเกิดการ เคลื่อนที่อย่างรุนแรง ซึ่งจะท าให้ปลามี อัตราการเกิดโรคที่เร็วขึ้น การล าเลียงขนส่งปลาควรหลีกเลี่ยง การขนส่งในช่วงอากาศร้อนจัด ระหว่าง การขนส่งสามารถใช้เกลือละลายน ้าความ เข้มข้นในอัตรา 0.1-0.5% (1-5 กิโลกรัมต่อ น ้า 1 ลูกบาศก์เมตร) ส าหรับปลาเซนต์ถึง ปลานิ้ว หรือในอัตรา 0.5-1.0% (5-10 กิโลกรัมต่อน ้า 1 ลูกบาศก์เมตร) ส าหรับ ปลาขนาดใหญ่ตั้งแต่ 100 กรัมเป็นต้นไป หรือก่อนจะลงปลาควรแช่ปลาในฟอร์มาลิน 100 ส่วนในล้านส่วน (100 ซีซีต่อน ้า 1 ลูกบาศก์เมตร) จะสามารถลดอัตราการเกิด โรคตัวด่างหรือโรคชนิดอื่น ๆ ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ (ประพันธ์ศักดิ์, 2558) ส่วนในปลาขนาดใหญ่ที่เลี้ยงใน บ่อดินจะไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากการ เกิดโรคชนิดนี้ยกเว้นกรณีที่สูบน ้าจาก แห ล่งน ้าภายนอกเ ข้า ไปในบ่อ เ ลี้ยง โดยตรง โดยไม่มีการพักหรือเตรียมน ้า ให้มีคุณภาพดีก่อน ส่วนปลาที่เลี้ยงใน กระชังซึ่งเป็นส่วนน้อยนั้น มักจะเกิดโรค ในช่วงที่มีน ้าหลากครั้งแรก ๆ ที่ชาวบ้าน เรียกว่า “น ้ำแดง” จะสามารถก่อให้เกิด โรคตัวด่างที่สามารถก่อให้เกิดการตาย แ ล ะ ค ว า ม ส ูญ เ ส ีย ใ น ป ร ิม าณ ม า ก ๆ เช่นกัน ดังนั้นก่อนที่จะเกิดภาวะดังกล่าว บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 64 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม
เกษตรกรควรมีการแขวนเกลือในอัตรา 120-160 กิโลกรัมต่อไร่ หากเป็นบ่อขนาด ใหญ่เน้นเฉพาะพื้นที่2-3 ไร่บริเวณที่ปลา ขึ้นกินอาหาร (ภาพที่18) ส่วนปลาที่เลี้ยง ในกระชังตามแหล่งน ้าควรแขวนเกลือใน อัตรา 1-5 กิโลกรัมต่อกระชัง (ภาพที่21) ให้ปลาได้รับอย่างต่อเนื่องภายหลังการเกิด ภาวะดังกล่าว นอกจากนี้เพื่อเป็นการป้องกันการ เกิดโรคตัวด่างอันเป็นผลมาจากการขนส่ง นอกเหนือจากการใช้เกลือแกงแล้ว ก่อนที่ จะปล่อยปลาลงเลี้ยง ควรแช่ปลา ใน ฟอร์มาลิน 100 ส่วนในล้านส่วน (100 ซีซี ต่อน ้า 1 ลูกบาศก์เมตร) จะสามารถลด อัตราการเกิดโรคตัวด่างหรือโรคชนิดอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ประพันธ์ศักดิ์, 2558) และควรแขวนเกลือแกงด้วยวิธีต่าง ๆ ข้างต้น จะสามารถลดความเสี่ยงการ เกิดโรคตัวด่างในภาวการณ์ดังกล่าวได้อย่าง มีประสิทธิภาพ (Verma et al. 2011) บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 65 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม ภำพที่ 21 | รูปแบบของการให้เกลือเพื่อการ ป้องกันโรคในการเลี้ยงหรืออนุบาลปลาดุกใน บ่อดินขนาดเล็ก หรือการเลี้ยงปลาดุกในกระชัง การปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงระยะแรกใน ฤดูฝน การรักษาระดับความเป็นด่างและ ความเป็นกรด-ด่างเป็นสิ่งที่ส าคัญมาก ไปจนถึงช่วงเดือนที่2-3 ระหว่างนี้หากมีฝน ตกหรือฟา้ครึ้มติดต่อกันให้ใช้วัสดุปูนทั้งปูน มาร์ลหรือโดโลไมท์ตามวิธีที่แนะน าไว้ข้างต้น อย่างสม ่าเสมอ ซึ่งนอกเหนือจากจะเป็นการ ควบคุมสภาพน ้าและลดความเครียด ในตัวปลาแล้ว การใช้วัสดุปูนสม ่าเสมอ จะเป็นการช่วยให้ผิวหนังของปลาแข็งแรง และสามารถต้านทานต่อการติดเชื้อ
กำรรักษำ การรักษาโรคตัวด่างที่ดีที่สุด คือ เมื่อน าปลาพักในบ่อพักควรให้เกลือแกงในอัตรา 0.0 1% (1 กิโลกรัมต่อน ้า 1 ลูกบาศก์เมตร) เพื่อป้องกันการเกิดความเครียด เมื่อ สังเกตเห็นปลาที่แสดงอาการของโรค ให้พยายามน าปลาที่แสดงอาการออกจากระบบการ เลี้ยงมากที่สุด และด่างทับทิม 0.5-1.0 ส่วนในล้านส่วน (0.5 กรัมต่อน ้า 1 ลูกบาศก์เมตร) ทุก ๆ วัน ร่วมกับการถ่ายน ้าทุก ๆ วัน วันละ 20-50% จนกว่าอัตราการตายจะลดลง ระหว่างการให้ด่างทับทิม ต้องมีการให้อากาศอย่างเต็มที่และหลีกเลี่ยงการให้มวลน ้าเคลื่อนที่ รุนแรงมากจนเกินไป จะท าให้ประสิทธิภาพในการรักษาดีขึ้น นอกเหนือจากด่างทับทิมแล้ว ยังสามารถใช้เกลือแกงในอัตรา 0.1-0.5% (1-5 กิโลกรัมต่อน ้า 1 ลูกบาศก์เมตร) ร่วมกับ การถ่ายน ้าทุก ๆ วัน วันละ 20-50% จนกว่าอัตราการตายจะลดลง ปลาขนาดใหญ่ที่เลี้ยงในบ่อหรือกระชังการรักษาโรคตัวด่างท าได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากสภาพการเลี้ยงไม่เหมาะสมต่อการใช้ยาและสารเคมีนอกเหนือจากการให้เกลือและน า ปลาที่ป่วยหรือแสดงอาการออกไปฝังหรือเผาท าลายแล้ว เพื่อป้องกันการเกิดโรคติดเชื้อชนิด อื่นแทรกซ้อนเกษตรกรสามารถให้ยาปฏิชีวนะ เอ็นโรฟล็อกซาซิน (Enrofloxacin) ผสมใน อาหารที่อัตรา 3-5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ติดต่อกันเป็นเวลา 5-7 วันแล้วจึงหยุด โดยเมื่อ พบอาการป่วยของปลา ให้งดอาหาร 2-3 วัน ก่อนการ ให้ยา แล ะควรมีร ะย ะหยุดยา (Withdrawal period) อย่างน้อย 14-21 วัน ก่อนจับผลผลิต เพื่อความปลอดภัยของ ผู้บริโภค นอกจากนี้ควรให้ปลาได้รับอากาศอย่างเพียงพอโดยการใช้เครื่องให้อากาศแบบต่าง ๆ จะท าให้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคมีสูงขึ้น และควรใช้เท่าที่จ าเป็นเนื่องจากแบคทีเรียที่ก่อโรค ในปลาดุก โดยเฉพาะกลุ่มที่ท าให้เกิดโรคตัวด่างนั้นมักพบว่าจะมีการดื้อยาได้ง่าย (Kumar et al. 2012) บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 66 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม
เร ื่องท ี่3 โรคท ี่ไม่ได้ม ี สำเหต ุ มำจำกกำรติดเช ื้อ นอกจากการเกิดโรคที่มีสาเหตุมา จากการติดเชื้อชนิดต่าง ๆ แล้ว การเกิด โรคที่มีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมที่อยู่ รอบตัวปลาและรวมถึงการจัดการสภาพ การเลี้ยง ซึ่งในปัจจุบันพบว่าเป็นสาเหตุ ส าคัญของการสูญเสียของผลผลิตที่ไม่ยิ่ง หย่อนกว่าโรคติดเชื้อดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งได้แก่ 3.1 โรคตัวคดงอ คอพั บ กะโหลกร้ำว หัวเป็นรู 3.1.1 สำเหตุ สาเหตุของการเกิดโรค คอพับ กะโหลกร้าว หัวเป็นรูในปลาดุกนั้น มีสาเหตุมาจากการขาดหรือได้รับวิตามิน ซี ในอาหารไม่เพียงพอ (Vitamin C Deficiency) มักเกิดกับปลาดุกขน าด ใหญ่เป็นหลัก โดยเฉพาะฟาร์มเลี้ยงปลาดุกที่ท าอาหารใช้ เองหรือใช้อาหารสด พวกคอไก่ ไส้ไก่หรือ โครงไก่บด หรือแม้แต่ฟาร์มเลี้ยงปลาดุก ที่ใช้อาหารเม็ดส าเร็จรูปที่ไม่มีคุณภาพ เ นื่อ ง จ า ก ป ล า ดุก เ ป็น ป ล า กิน เ นื้อ (Carniviorous fish) ซึ่งโดยทั่วไปไม่ สามารถสร้างวิตามิน ซี เองได้เช่นเดียวกับ สัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด เนื่องจาก ไม่มีเอนไซม์ L-gluconolactone oxidase ที่จะสามารถเปลี่ยนน ้าตาลกลูโคสให้เป็น วิตามิน ซีได้ดังนั้นสัตว์ในกลุ่มนี้จ าเป็นที่ จะต้องได้รับวิตามิน ซีในปริมาณที่เพียงพอ จากการกินอาหาร ซึ่งเป็น Co-factor ที่ ส าคัญในกระบวนการทางชีวเคมีหลายประการ ได้แก่ กระบวนการ Hydroxylation ของ กรดอะมิโนจ าเป็น 2 ชนิดคือ Proline และ Lysine ให้กลายไปเป็น Hydroxyproline และ Hydroxylysine ซึ่งเป็นองค์ประกอบ ที่ส าคัญของการสร้าง Collagen ซึ่งเป็น ส่วนส าคัญที่จะพัฒนาไปเป็นส่วนของ เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissues) เนื้อเยื่อใหม่หรือแผลเป็นและรวมถึง องค์ประกอบของโครงสร้างที่เป็นกระดูก ทั้งยังมีส่วนส าคัญในกระบวนการดูดซึม ธาตุเหล็ก ท าหน้าที่เป็นสารต้านทานอนุมูล อิสระเช่นเดียวกับวิตามิน อีนอกจากนี้ยัง ท าหน้าที่กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดความเครียด แ ล ะ ก า ร เ ส ริ ม ก า ร ล ด ค ว า ม เ ป็ น พิ ษ ห รือ สิ่ง แ ป ล ก ป ล อ ม ที่เ กิด ขึ้น ที่ตับ (Biotransformation) โดย ช่ วยก ร ะตุ้น กา รท างานของเอน ไซม์ Cytochrome P450 อีกด้วย ดังนั้นเมื่อปลาได้รับวิตามิน ซี ไม่เพียงพอก็จะส่งผลท าให้กระบวนการ เหล่านี้เกิดขึ้นไม่สมบูรณ์และหากยังได้รับ ในอัตราที่ไม่เพียงพอมาก ๆ ก็อาจส่งผล ท าให้เกิดความผิดปกติตามมา จนเป็นสาเหตุ ของการเกิดโรคบางชนิดได้ บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 67 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม
3.1.2 อำกำร โรคตัวคดงอ คอพับ กะโหลกร้าว หัวเป็นรู อาจจะแสดงอาการร่วมกัน หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง โดยโรคตัวคดงอมักพบตั้งแต่ปลาขนาดเล็ก ซึ่งเกิดกับปลาดุก ขนาดเล็กที่ได้รับวิตามิน ซีไม่เพียงพอ (ภาพที่22) ส่งผลท าให้เมื่อปลาขนาดใหญ่ขึ้นล าตัว จะคดงอไปตลอดชีวิต ส่วนอาการคอพับ กะโหลกร้าวและหัวเป็นรูนั้นจะเกิดขึ้นกับปลา ขนาดใหญ่เป็นหลัก (Lim and Lovell, 1978, Adham and Kamel, 2001) โดยปลาที่ แสดงอาการคอพับและกระโหลกร้าวมักจะแสดงอาการร่วมกัน โดยจะสามารถสังเกตเห็น รอยแผลที่บริเวณรอยต่อระหว่างกะโหลกและเนื้อเยื่อล าตัวด้านท้ายส่วนหัว และส่วนคอ (Ismuth) (ภาพที่23) ขณะที่อาการหัวเป็นรูนั้นจะเกิดขึ้นที่ต าแหน่งกลางหัวเหนือต าแหน่ง สมองแต่จะไม่ทะลุลงไปถึงสมอง (ภาพที่24) อาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นผลมาจากการสร้าง เนื้อเยื่อเกี่ยวพันและ Collagen ที่ไม่สมบูรณ์ท าให้โครงสร้างที่จะพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อ เกี่ยวพันหรือกระดูกบริเวณดังกล่าวมีการพัฒนาไม่เต็มที่ท าให้การเชื่อมต่อกันระหว่าง เนื้อเยื่อต่าง ๆ เกิดความผิดปกติจนกลายเป็นบาดแผลเกิดขึ้น หรือท าให้โครงสร้างกระดูก ต่าง ๆ ผิดรูปหรือผิดปกติไป ปลาที่แสดงอาการเหล่านี้จะไม่แสดงอาการตายออกมาให้เห็น แต่จะเปราะบาง แต่จะตายได้ง่ายในช่วงที่มีการตีอวนเพื่อจับหรือระหว่างการขนส่ง บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 68 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม ภำพที่ 22 | การเกิดอาการคดงอในลูกปลาดุกอันเป็นผลมาจากการขาดวิตามิน ซี ในอาหาร (ตัวบน) เทียบกับปลาปกติ (ตัวล่าง) ภำพที่ 23 | การเกิดโรคกะโหลกร้าวหรือคอพับในปลาดุกอันเป็นผลมาจากการขาดวิตามิน ซี ในอาหาร
3.1.3 สำเหตุโน้มน ำ โรคตัวคดงอ คอพับ กะโหลกร้าว หัวเป็นรูในปลาดุกนั้น มักพบเสมอในการเลี้ยง ปลาดุกของเกษตรกรโดยเฉพาะฟาร์มเลี้ยงปลาดุกที่ท าอาหารใช้เองหรือใช้อาหารสด พวก คอไก่ ไส้ไก่หรือโครงไก่บด หรือแม้แต่ฟาร์มเลี้ยงปลาดุกที่ใช้อาหารเม็ดส าเร็จรูปที่ไม่มี คุณภาพหรือเก็บอาหารไว้นานหรืออาหารหมดอายุหรือเก็บอาหารไม่ดีในสภาพที่มีแสงแดด ความชื้นหรือความร้อนสูง 3.1.4 กำรป้องกันรักษำ กำรป้องกัน 1) หลีกเลี่ยงการใช้อาหารที่ท าเองหรือท าสูตรอาหารด้วยความระมัดระวังและถูกต้อง โดยเฉพาะสัดส่วนและคุณภาพของวิตามิน ซีที่ใส่ 2) ลดอัตราการให้อาหารสดจ าพวกคอไก่ ไส้ไก่หรือโครงไก่บดลง 3) ไม่ควรใช้อาหารที่เก็บไว้นานหรือหมดอายุ 4) เพิ่มปริมาณวิตามิน ซีในอาหารปลาในช่วงที่อากาศร้อนหรือฝนตกติดต่อกัน 5) เก็บอาหารส าเร็จรูปในสภาพที่ห่างไกลจากแสงแดด ความร้อนหรือความชื้น กำรรักษำ 1) เมื่อปลาแสดงอาการของโรคแล้ว ควรปรับลดหรืองดอาหารปลา 2-3 วัน 2) เสริมวิตามิน ซี ในอาหารในอัตรา 3-5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากิน ติดต่อกัน 5-7 วัน อาการปลาจะดีขึ้น 3) หลังจากที่ปลากลับมาเป็นปกติดีแล้ว หากน ้ามีคุณภาพไม่ดีพยายามเปลี่ยนถ่ายน ้า และรักษาคุณภาพน ้าให้ดีอยู่เสมอ บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 69 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม ภำพที่ 24 | การเกิดอาการหัวเป็นรูในปลาดุกอันเป็นผลมาจากการขาดวิตามิน ซี ในอาหาร
3.2 โรคดีซ่ำน (Jaundice) 3.2.1 สำเหตุ การเกิดโรคดีซ่านใน การเลี้ยงปลาดุกนั้นมีได้หลายสาเหตุทั้ง จากการที่ได้รับสารพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง ยา ก าจัดวัชพืช จากเชื้อโรคทั้งแบคทีเรียและ ไวรัส แต่ส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับไขมัน พิษจากการกินอาหารที่ใช้เองหรือใช้อาหาร สด พวกคอไก่ ไส้ไก่หรือโครงไก่บด หรือ แม้แต่ฟาร์มเลี้ยงปลาดุกที่ใช้อาหารเม็ด ส าเร็จรูปที่ไม่มีคุณภาพ เนื่องจากอาหาร เหล่านี้มีการปนเป้ือนไขมันที่เกิดปฏิกริยา ออกซิเดชันหรือที่เรียกว่าไขมันหืน (Rancid oil) ซึ่งส่วนใหญ่มาจากย่อยสลายของ แบคทีเรีย โดยไขมันพิษเหล่านี้จะมีการ สะสมที่ตับเมื่อมีการสะสมมากขึ้นจะส่งผล ท าให้เนื้อเยื่อตับถูกท าลายและไม่สามารถ ท าหน้าที่ส่งน ้าดี(Bile salt) ไปเก็บที่ถุงน ้าดี ได้ตามปกติท าให้น ้าดีแพร่กระจายไปตาม อวัยวะต่าง ๆ (Chinabut, 2002) 3.2.2 อำกำร ปลาที่เกิดอาการดีซ่าน นั้นจะแสดงอาการตัวเหลืองตามผิวหนัง เ นื่อ ง จ า ก น ้า ดีที่แ พ ร่อ อ ก ม า จ ะ มี องค์ประกอบของสารสีจ าพวก Billirubin ซึ่งมีสีเหลืองเกิดขึ้น ท าให้ผิวหนังของปลา บริเวณที่มีสีขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือ เหลืองอ่อน นอกจากนี้เมื่อผ่าช่องท้องเข้า ไปจะพบของเหลวสีเหลืองเข้มอยู่ในช่อง ท้อง อวัยวะภายในตับ ม้ามและไต รวมทั้ง ไขมันที่สะสมในช่องท้อง มีสีซีดตั้งแต่ เหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้ม นอกจากนี้ถุง น ้าดีจะมีสีเข้มทั้งด า เขียวหรือน ้าตาลเข้ม ในกรณีที่เป็นรุนแรง เนื้อเยื่อถุงน ้าดีด้านนอก จะเกิดการตายจนเห็นเป็นสีขาวเป็นริ้ว ๆ สลับกับด า (ภาพที่25) นอกจากนี้ไขมัน พิษที่เกิดขึ้นยังสามารถท าลายเม็ดเลือด ของปลาทั้งเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว ส่งผลท า ให้ปลามีอาการโลหิตจาง โดย สามารถสังเกตได้จากสีของเหงือกจะมีสี ซีดลงอย่างชัดเจน (ภาพที่26) ท าให้ปลา ไม่ทนต่อสภาพการที่น ้ามีปริมาณออกซิเจน ต ่าส่งผลให้ปลามีอาการขาดออกซิเจนตาย เป็นจ านวนมากในตอนเช้าและยังส่งผลให้ ป ล า มี ค ว า ม ต้ า น ท า น โ ร ค ล ด ล ง แ ล ะ เปราะบางเกิดโรคได้ง่าย (Hastuti et al., 2019) บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 70 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม ภำพที่ 25 | ลักษณะอาการภายนอกของ ปลาดุกที่เป็นโรคดีซ่าน
3.2.3 สำเหตุโน้มน ำ การเกิดโรคดีซ่านส่วนใหญ่ในปลาดุกของประเทศไทยมีสาเหตุมาจากการได้รับไขมันพิษ จากการกินอาหารที่ใช้เองหรือใช้อาหารสด พวกคอไก่ ไส้ไก่หรือโครงไก่บด หรือแม้แต่ฟาร์มเลี้ยง ปลาดุกที่ใช้อาหารเม็ดส าเร็จรูปที่ไม่มีคุณภาพหรืออาหารหมดอายุหรือเก็บอาหารไม่ดีในสภาพที่มี แสงแดด ความชื้นหรือความร้อนสูง ท าให้เกิดอาหารมีกลิ่นหืนและมีความเป็นพิษต่อปลา นอกจากนี้เมื่อการเลี้ยงปลาเข้าสู่ระยะท้าย ๆ ของการเลี้ยง ซึ่งพบว่าน ้ามีคุณภาพไม่ดีมีการ ปนเป้ือนของสารอินทรีย์และอนินทรีย์ที่เป็นพิษสูง อีกทั้งยังมีปริมาณออกซิเจนละลายน ้าต ่า โดยเฉพาะช่วงเช้าตรู่ยิ่งจะส่งผลให้เกิดการตายได้มากและรุนแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ภำพที่ 26 | ลักษณะอาการภายในของปลาดุกที่เป็นโรคดีซ่าน บทที่2 การเพาะพันธุ์และการเลี้ยง - 71 - ตอนที่5 โรคและการควบคุม 3.2.4 กำรป้องกันรักษำ กำรป้องกัน 1) หลีกเลี่ยงการใช้อาหารที่ท าเอง 2) ลดอัตราการให้อาหารสดจ าพวกคอไก่ ไส้ ไก่ ห รื อ โค รง ไก่ บดลง ห รื อห ากมี คว าม จ าเป็นต้องใช้ควรใช้อาหารสดที่สดจริง ๆ และไม่ เก็บไว้นานจนส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งเป็นอาหารที่มีการ ปนเป้ือนของไขมันพิษสูง 3) ไม่ควรใช้อาหารที่เก็บไว้นานหรือ หมดอายุ 4) เพิ่มปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ในอาหารปลาช่วงฤดูร้อนหรือ ฤดูฝน ซึ่งสามารถท าได้ในระดับโรงงานอาหาร สัตว์น ้า 5) เก็บอาหา รส า เ ร็จรูปในสภาพที่ ห่างไกลจากแสงแดด ความร้อนหรือความชื้น กำรรักษำ 1) เมื่อปลาแสดงอาการของโรคแล้ว ควรงดการให้อาหาร 2-3 วัน และให้อากาศ อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะช่วงเช้าหรือช่วงฝนตก ติดต่อกัน รวมทั้งให้เกลือโดยการแขวนในอัตรา 120-150 กิโลกรัมต่อไร่ 2) ถ้าน ้ามีคุณภาพไม่ดีควรเปลี่ยนถ่ายน ้า 30-50% แล้วให้เกลืออย่างต่อเนื่องโดยการ แขวนตามข้อวิธีข้างต้น 3) หลังจากอดอาหารแล้วสามารถเริ่มให้ อาหารส าเร็จรูปหรืออาหารสดใหม่ เสริมด้วยวิตามิน ซี ในอาหารในอัตรา 3-5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินติดต่อกัน 5-7 วัน อาการปลาจะดีขึ้น 4) หลังจากที่ปลากลับมาเป็นปกติดีแล้ว หากน ้ามีคุณภาพไม่ดีพยายามเปลี่ยนถ่ายน ้าและ รักษาคุณภาพน ้าให้ดีอยู่เสมอ
เอกสำรอ้ำงอิง - 72 - กรมประมง. ม.ป.ป. เอกสารเผยแพร่คู่มือการล าเลียงพั นธุ์ปลา. ฝ่ายเผยแพร่ ส่วน เผยแพร่การประมง ส านักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง, กรมประมง. หน้า 11 ธนาภรณ์ จิตตปาลพงศ์. 2557. การสร้างสูตรอาหารสัตว์น ้าและสูตรอาหารสัตว์น ้า เศรษฐกิจ. ราชการบริหารส่วนกลาง กรมประมง. หน้า 32. ประพันธ์ศักดิ์ศีรษะภูมิ. 2558. ปลานิล: ผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงในกำรเลี้ยงและ แนวทำงที่เลี่ยงได้. ส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). 88 หน้า. โสภา อารีรัตน์ และ สุปราณี ชินบุตร. 2528. ผลของ Aeromonas hydrophila ที่มีต่อเนื้อเยื่อของปลาดุกด้าน. กรุงเทพฯ : สถาบันประมงน ้าจืดแห่งชาติ. 5 หน้า. อภิชาติ เติมวิชชากร และสิริวรรณ สุขศรี. 2551. พัฒนาการและการจ าแนกชนิดของ ลูกปลาดุกวัยอ่อน. เอกสารวิชาการฉบับที่77/2551. ส านักวิจัยและพัฒนาประมงน ้าจืด กรมประมง. 43 หน้า Adham, K.G. and H. A-S. Kamel. 2001. Vitamin C deficiency in the catfish Clarias gariepinus Aquac. Nutr. 6(2):129 - 139 Ashiru, A.W., Uaboi-Egbeni, P.O., Oguntowo, J.E. and C.N. Idika. 2011. Isolation and antibiotic profile of Aeromonas species from tilapia fish (Tilapia nilotica) and catfish (Clarias betrachus). Pak. J. Nutr. 10(10): 982-986. Chinabut, S. 2002. Jaundice disease in catfish, a case study demonstrating a decline in incidence as a result of research output. p. 77-80. In: J.R. Arthur, M.J. Phillips, R.P. Subasinghe, M.B. Reantaso and I.H. MacRae. (eds.) Primary Aquatic Animal Health Care in Rural, Smallscale, Aquaculture Development. FAO Fish. Tech. Pap. No. 406. Decostere, A., Haesebrouck, F., Turnbull, J. and G. Charlier. 1999. Influence of water quality and temperature on adhesion of high and low virulence strains of Flavobacterium columnare to isolated gill arches. J. Fish. Dis. 22: 1–11. Hastuti, S., Subandiyono, S. and S. Windarto. 2019. Blood performance of jaundice catfish Clarias Gariepinus. AACL Bioflux 12(2): 480-489. Harikrishnan, R., Jawahar, S., Thamizharasan, S., Paray, B.A., Al-Sadoon, M.K. and C. Balasundaram. 2018. Immune defense of emodin enriched diet in Clarias batrachus against Aeromonas hydrophila. Fish Shellfish Immunol. 76: 13-20.
เอกสำรอ้ำงอิง - 73 - Kumar, D., Prasad, Y., Singh, A.K. and A. Ansari. 2012. Columnaris disease and its drug resistance in cultured exotic catfish Clarias gariepinus in India. Biochem. Cell. Arch. 12 (2): 415-420. Lim, C. and Lovell, R.T. 1978. Pathology of the vitamin C deficiency syndrome in channel catfish (Ictalurus punctatus). J. Nutr. 108(7): 1137-46. Lindenstrøm, T., C.J. Secombes and K. Buchmann. 2004. Expression of immune response genes in rainbow trout skin induced by Gyrodactylus derjavini infections. Vet. Immunol. Immunopathol. 97: 137-148. Prasad, Y., Arpana, Kumar, D. and A.K. Sharma. 2011. Lytic bacteriophages specific to Flavobacterium columnare rescue catfish, Clarias batrachus (Linn.) from columnaris disease. J. Environ. Biol. 32(2): 161-168. Sellegounder, D., Gupta, Y.R., Murugananthkumar, R. and B. Senthilkumaran. 2018. Enterotoxic effects of Aeromonas hydrophila infection in the catfish, Clarias gariepinus: Biochemical, histological and proteome analyses. Vet. Immunol. Immunopathol. 204: 1-10. Tubbs, L.A., Poortenaar, C.W., Sewell, M.A. and B.K. Diggles. 2005. Effects of temperature on fecundity in vitro, egg hatching and reproductive development of Benedenia seriolae and Zeuxapta seriolae (Monogenea) parasitic on yellowtail kingfish Seriola lalandi. Int. J. Parasitol. 35(3): 315-327. Verma, V., Prasad, Y. and B.R. Singh. 2011. Effect of pH and salinity on pathogenicity of Flavobacterium columnare and Myxobacterium sp. in Indian cat fish, Clarias batrachus (Linn.) and Heteropneustes fossilis (Bloch.). J. Environ. Biol. 32(5): 573-577.
03 UNIT สถานการณ์สินค้าปลาดุก - 74 - และผลิตภัณฑ์
ผู้เขียน นางเกวลิน หนูฤทธิ์ วุฒิ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ) ต ำแหน่ง หัวหน้ากลุ่มเศรษฐกิจการประมง หน่วยที่เขียน บทที่3 - 75 - นางสาวโชติกานต์ มีจินดา วุฒิ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์) ต ำแหน่ง เศรษฐกร (พนักงานราชการ) หน่วยที่เขียน บทที่3 นางสาวสุกัญญา พิมมาดี วุฒิ เศรษฐศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์) ต ำแหน่ง เศรษฐกรปฏิบัติการ หน่วยที่เขียน บทที่3
สถำนกำรณ์สินค้ำปลำดุกและผลิตภัณฑ์ บทที่3 - 76 - สถานการณ์สินค้าปลาดุก และผลิตภัณฑ์ สถานการณ์สินค้าปลาดุกและผลิตภัณฑ์ในช่วงปี 2561 - 2565 ราคาเฉลี่ยที่ เกษตรกรได้รับ โดยรวมมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตามความต้องการบริโภคที่มากขึ้น เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาสภาวะเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid – 19) ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความต้องการในการ บริโภคปลาดุกเพิ่มขึ้น เนื่องจากปลาดุกเป็นแหล่งโปรตีนราคาถูกเมื่อเทียบกับโปรตีนจาก แหล่งอื่น และปลาดุกสามารถน ามาประกอบอาหารได้หลากหลาย ส าหรับการค้าในช่วงปี 2561 – 2565 การน าเข้าปลาดุกและผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นทั้ง ปริมาณ และมูลค่าเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 11.7 และ 10.1 ตามล าดับ โดยน าเข้ารูปแบบผลิตภัณฑ์ ปลาดุกมีชีวิตเป็นหลัก ส าหรับตลาดน าเข้าหลัก ได้แก่ มาเลเซีย และจีน ส่วนการส่งออกปลาดุก และผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณ และมูลค่าเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 5.5 และ 9.1 ตามล าดับ โดยส่งออกรูปแบบผลิตภัณฑ์ปลาดุกแช่เย็นจนแข็งเป็นหลัก ส าหรับตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นต้น 1. สถำนกำรณ์กำรผลิต การเพาะเลี้ยงปลาดุกในช่วงปี2561 – 2565 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงลดลงเฉลี่ยต่อปี ทั้งผลผลิต มูลค่า และเนื้อที่เลี้ยง ร้อยละ 2.7 1.6 และ 3.2 ตามล าดับ แต่ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 (ตารางที่1 และภาพที่27 - 28) ทั้งนี้เนื่องจากช่วงปี2563 – 2565 สภาวะเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid – 19) ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรชะลอการปล่อยพันธ์ลูกปลาดุก ประกอบกับช่วงปลายปี 2565 พื้นที่เลี้ยงบางส่วนได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยจากพายุโนรูได้สร้างความเสียหาย ให้แก่ฟาร์มเลี้ยงปลาดุก ตำรำงที่1 ผลผลิต มูลค่า เนื้อที่เลี้ยง และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ปลาดุกจากการเพาะเลี้ยง ปี2561 – 2565* ปี ผลผลิต มูลค่า เนื้อที่เลี้ยง ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ตัน %∆ ล้านบาท %∆ ไร่ %∆ กก./ไร่ %∆ 2561 106,201 - 4,667.2 - 94,255 - 1,127 - 2562 97,151 -8.5 4,477.1 -4.1 85,670 -9.1 1,134 +0.6 2563 99,873 +2.8 4,427.0 -1.1 86,359 +0.8 1,156 +1.9 2564 96,215 -3.7 4,389.5 -0.8 81,992 -5.1 1,173 +1.5 2565* 94,892 -1.4 4,369.4 -0.5 82,589 +0.7 1,149 -2.0 เฉลี่ย 98,866 -2.7 4,466 -1.6 86,173 -3.2 1,148 +0.5 ที่มา: กลุ่มสถิติการประมง กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กรมประมงณ วันที่29 ธันวาคม 2565 หมายเหตุ *เป็นค่าประมาณการ ผลผลิตเป็นค่าพยากรณ์
ภำพที่ 27 | ปริมาณผลผลิต และมูลค่าผลผลิตปลาดุกจากการเพาะเลี้ยงปี2561 – 2565* ที่มา: กลุ่มสถิติการประมง กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กรมประมงณ วันที่29 ธันวาคม 2565 หมายเหตุ *เป็นค่าประมาณการ ผลผลิตเป็นค่าพยากรณ์ ภำพที่ 28 | เนื้อที่เลี้ยง และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ปลาดุกจากการเพาะเลี้ยงปี2561 – 2565* ที่มา: กลุ่มสถิติการประมง กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กรมประมงณ วันที่29 ธันวาคม 2565 หมายเหตุ *เป็นค่าประมาณการ ผลผลิตเป็นค่าพยากรณ์ บทที่3 - 77 - สถานการณ์สินค้าปลาดุก และผลิตภัณฑ์
2. สถำนกำรณ์รำคำ ราคาปลาดุกที่เกษตรกรขายได้หน้าฟาร์มเฉลี่ยต่อปีในช่วงปี2561 – 2565 ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก มีราคาเฉลี่ย 48.1 45.1 และ 37.9 ตามล าดับ โดยราคาที่เกษตรกร ขายได้มีอัตราการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 3.7 13.9 และ 14.0 ตามล าดับ (ตารางที่2 และภาพที่29) โดยในช่วงปลายปี 2563 - 2565 ประสบกับสภาวะเศรษฐกิจ ในปร ะเทศช ะลอตัวราคาปลาดุกลดลง ในปี 2564 แต่ราคาปรับเพิ่มขึ้นในปี 2565 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid – 19) เนื่องจากผู้บริโภค มีความต้องการบริโภคปลาดุกเพิ่มขึ้น โดยปลาดุกยังเป็นแหล่งโปรตีนราคาถูก เมื่อเทียบกับ โปรตีนจากแหล่งอื่น เพราะปลาดุกสามารถน ามาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูเข้าถึงผู้บริโภค ได้ทุกพื้นที่ประกอบกับปลาดุกไม่ค่อยประสบปัญหาเรื่องโรคสัตว์น ้าจึงสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตำรำงที่2 ราคาปลาดุกที่เกษตรกรขายได้หน้าฟาร์ม ปี2561 – 2565 ปี ขนาดใหญ่ (2 ตัว/กก.) ขนาดกลาง (3-4 ตัว/กก.) ขนาดเล็ก (5 ตัว/กก.) %การเปลี่ยนแปลง ใหญ่ กลาง เล็ก 2561 43.9 39.1 27.6 - - - 2562 48.8 43.9 40.2 +11.1 +12.2 +45.6 2563 49.3 49.1 40.5 +1.0 +11.9 +0.8 2564 48.0 36.3 37.4 -2.8 -26.1 -7.6 2565 50.5 57.2 43.9 +5.3 +57.8 +17.2 เฉลี่ย 48.1 45.1 37.9 +3.7 +13.9 +14.0 หน่วย : บาท/กก. ที่มา: ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร และจากการค านวณ ภำพที่ 29 | ราคาปลาดุกที่เกษตรกรขายได้หน้าฟาร์ม ปี2561 – 2565 ที่มา: ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร และจากการค านวณ บทที่3 - 78 - สถานการณ์สินค้าปลาดุก และผลิตภัณฑ์
3. สถำนกำรณ์กำรค้ำ 3.1 กำรน ำเข้ำ การน าเข้าปลาดุกและผลิตภัณฑ์ของไทยในช่วงปี 2561 – 2565 ปริมาณเฉลี่ยปีละ 995.2 ตัน คิดเป็นมูลค่า 22.2 ล้านบาท ทั้งปริมาณและมูลค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 และ 10.1 ตามล าดับ ซึ่งการน าเข้าในปี2562 ปริมาณและมูลค่าน าเข้าสูงสุดเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์ปลาดุก มีชีวิตจากมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม การน าเข้าในปี 2565 ลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า ร้อยละ 49.4 และ 41.0 ตามล าดับ เมื่อเทียบกับปี2564 เนื่องจากไม่มีการน าเข้าในรูปแบบผลิตภัณฑ์ เนื้อปลาดุกแบบอื่น ๆ แช่เย็นจนแข็งจากจีน (ตารางที่3 และภาพที่30) เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนมูลค่าการน าเข้าของไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า ตลาดหลักที่มีการน าเข้ามากที่สุด คือ มาเลเซีย ร้อยละ 75.1 รองลงมาคือ จีน ร้อยละ 22.2 และประเทศอื่น ๆ ร้อยละ 2.7 ส าหรับรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่น าเข้าเป็นปลาดุกมีชีวิต ร้อยละ 75.1 ปลาดุกแช่เย็นจนแข็ง ร้อยละ 18.5 และเนื้อปลาดุกแบบอื่น ๆ แช่เย็นจนแข็ง ร้อยละ 6.4 ของมูลค่าการน าเข้าปลาดุกทั้งหมด (ภาพที่31) ตำรำงที่3 ปริมาณและมูลค่าการน าเข้าปลาดุกและผลิตภัณฑ์ ปี 2561 - 2565 ที่มา: กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง ประมวลข้อมูลจากกรมศุลกากรและจากการค านวณ ปี ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท) %การเปลี่ยนแปลง ปริมาณ มูลค่า 2561 656.7 15.0 - - 2562 1,533.3 31.1 +133.5 +107.5 2563 1,260.2 27.5 -17.8 -11.5 2564 1,013.4 23.5 -19.6 -14.6 2565 512.3 13.9 -49.4 -41.0 เฉลี่ย 995.2 22.2 +11.7 +10.1 บทที่3 - 79 - สถานการณ์สินค้าปลาดุก และผลิตภัณฑ์
ภำพที่ 30 | การน าเข้าปลาดุกและผลิตภัณฑ์ ปี 2561 – 2565 ที่มา: กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง ประมวลข้อมูลจากกรมศุลกากร ภำพที่ 31 | สัดส่วนมูลค่าการน าเข้าปลาดุกและผลิตภัณฑ์ ปี 2561 – 2565 ที่มา: กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง ประมวลข้อมูลจากกรมศุลกากร บทที่3 - 80 - สถานการณ์สินค้าปลาดุก และผลิตภัณฑ์
3.2 กำรส่งออก การส่งออกปลาดุกและผลิตภัณฑ์ของไทยในช่วงปี 2561 – 2565 ปริมาณเฉลี่ยปีละ 1,424.7 ตัน คิดเป็นมูลค่า 68.1 ล้านบาท ทั้งปริมาณและมูลค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 และ 9.1 ตามล าดับ ซึ่งการส่งออกในปี2563 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกสูงสุดเป็นผลิตภัณฑ์ ปลาดุกสดแช่เย็นไปยังกัมพูชา และเนื้อปลาดุกแบบอื่น ๆ แช่เย็นจนแข็งไปยังสหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ อย่างไรก็ตามการส่งออกในปี 2565 ลดลงทั้งปริมาณ และมูลค่า ร้อยละ 14.7 และ 1.8 ตามล าดับ เมื่อเทียบกับปี2564 ซึ่งเป็นการลดลงจากผลิตภัณฑ์เนื้อปลาดุกแบบอื่น ๆ แช่เย็นจนแข็งไปยังกัมพูชา (ตารางที่4 และภาพที่32) เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนมูลค่าการส่งออกของไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า ตลาดหลักที่มีการส่งออกมากที่สุด คือ กัมพูชา ร้อยละ 17.2 รองลงมาคือ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ร้อยละ 16.1 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ร้อยละ 15.6 ญี่ปุ่น ร้อยละ 10.7 เกาหลีใต้ ร้อยละ 8.8 และประเทศอื่น ๆ ร้อยละ 31.6 ส าหรับผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกเป็นปลาดุก แช่เย็นจนแข็ง ร้อยละ 45.7 ปลาดุกมีชีวิต ร้อยละ 33.6 เนื้อปลาดุกแบบอื่น ๆ แช่เย็นจนแข็ง ร้อยละ 12.7 ปลาดุกสดแช่เย็น ร้อยละ 7.6 และปลาดุกแห้งไม่รมควัน ร้อยละ 0.4 ของมูลค่า การส่งออกปลาดุกทั้งหมด (ภาพที่33) ตำรำงที่4 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกปลาดุกและผลิตภัณฑ์ ปี 2561 – 2565 ที่มา: กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง ประมวลข้อมูลจากกรมศุลกากรและจากการค านวณ ปี ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท) %การเปลี่ยนแปลง ปริมาณ มูลค่า 2561 1,922.6 81.7 - - 2562 854.4 42.4 -55.6 -48.0 2563 1,908.6 92.9 +123.4 +119.1 2564 1,315.7 62.3 -31.1 -33.0 2565 1,122.1 61.2 -14.7 -1.8 เฉลี่ย 1,424.7 68.1 +5.5 +9.1 บทที่3 - 81 - สถานการณ์สินค้าปลาดุก และผลิตภัณฑ์
ภำพที่ 32 | การส่งออกปลาดุกและผลิตภัณฑ์ ปี 2561 – 2565 ที่มา: กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมงประมวลข้อมูลจากกรมศุลกากร ภำพที่ 33 | สัดส่วนมูลค่าการส่งออกปลาดุกและผลิตภัณฑ์ ปี 2561 – 2565 ที่มา: กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมงประมวลข้อมูลจากกรมศุลกากร บทที่3 - 82 - สถานการณ์สินค้าปลาดุก และผลิตภัณฑ์
4. ปัญหำอุปสรรค 4.1 ต้นทุนการผลิต เช่น ค่าอาหารเม็ดส าเร็จรูป ค่าพลังงาน และปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 4.2 เกษตรกรขาดการรวมกลุ่ม ในการสร้างอ านาจต่อรองราคา 4.3 เกษตรกรสูญเสียโอกาสในการส่งออก เนื่องจากเกษตรกรไม่มีหนังสือก ากับการ จ าหน่ายลูกพันธุ์สัตว์น ้า (FMD) และหนังสือก ากับการจ าหน่ายสัตว์น ้า (MD) รวมทั้งฟาร์มที่ ได้รับมาตรฐาน GAP มีจ านวนน้อย 5. แนวทำงแก้ไขปัญหำอุปสรรค 5.1 สนับสนุนและส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการเพาะเลี้ยงปลาดุก เพื่อเป็นทางเลือก ลดต้นทุนการผลิตและการปรับปรุงพันธุ์ปลาดุกเพื่อการเพาะเลี้ยงอย่างยั่งยืน 5.2 ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ ลดต้นทุนการผลิตรวมถึงสร้างอ านาจต่อรองในการก าหนดราคาขายสินค้า 5.3 ส่งเสริมให้เกษตรกรตระหนักถึงความส าคัญในการสร้างฟาร์มให้ได้มาตรฐาน GAP เพื่อเพิ่มช่องทางในการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ 5.4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด าเนินการตามแผนพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตและ การแปรรูปสัตว์น ้า พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นแผนจัดท าโดยกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น ้าจืด กรมประมง เพื่อส่งเสริมผลักดันการเพาะเลี้ยงปลาดุกเพื่อการแปรรูปในจังหวัดภาคใต้และ พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์สู่ความเป็นมืออาชีพ 5.5 กรมประมง โดยกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น ้าจืด ด าเนินการจัดท า แผนพัฒนาปฏิบัติการพัฒนาปลาดุก ปี 2565 - 2570 เพื่อกรอบแนวทางในการพัฒนา อุตสาหกรรมปลาดุกตลอดห่วงโซ่คุณค่า และพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาดุกของไทยให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด บทที่3 - 83 - สถานการณ์สินค้าปลาดุก และผลิตภัณฑ์
แหล่งท ี่มำของข้อม ู ล - 84 - 1. ข้อมูลสถิติปริมาณผลผลิต มูลค่า เนื้อที่เลี้ยง และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ : กลุ่มสถิติ การประมง กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กรมประมง 2. แผนพัฒนาปฏิบัติการพัฒนาปลาดุก ปี 2565-2570 : กองวิจัยและพัฒนา การเพาะเลี้ยงสัตว์น ้าจืด กรมประมง 3. ราคาปลาดุกที่เกษตรกรขายได้หน้าฟาร์ม : ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร 4. ข้อมูลการน าเข้าและส่งออก : กลุ่มวิเคราะห์การค้าสินค้าประมงระหว่างประเทศ กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กรมประมง ประมวลข้อมูลจากกรมศุลกากร