The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

(Best Practice) 2565โครงงานเม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by melody meme, 2022-05-01 15:33:09

(Best Practice) 2565โครงงานเม

(Best Practice) 2565โครงงานเม

2

คำนำ

ตามที่สำนักงาน กศน.จังหวัดสุโขทัย ให้บุคลากรทุกคน ดำเนินการส่งผลรายงานแนวปฏิบัติที่ดี ( Best
Practice) ระหว่างระยะเวลา วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2565 เสนอผลงานทางวิชาการ (Best
Practice) เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรให้มีการพัฒนาการปฏิบัติงานอยา่ งเต็มศักยภาพ มี
ความเป็นมืออาชีพ โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ตัวชี้วัด “คุณภาพ กศน. สุโขทัย” (ฉบับ
ปรบั ปรุง) พ.ศ.2565 ขอ้ ท่ี 5 ผลงานการปฏบิ ตั งิ านท่เี ป็นเลิศ (Best Practice) สำหรับบุคลากรทกุ ตำแหน่ง นั้น

ในการนีข้ า้ พเจา้ นางสาวสนุ ิษา สดี า ตำแหน่งครกู ศน.ตำบล กศน.อำเภอท่งุ เสลีย่ ม ไดด้ ำเนินการจดั ทำ
รายงานแนวปฏบิ ตั ทิ ี่ดี (Best Practice) เรอ่ื ง “การจดั การเรียนการสอนแบบโครงงาน (Project-Based Learning)
โดยใช้กิจกรรมการเรยี นรู้แบบโครงงานในการขยายผลโครงงานจิตอาสา (ระดบั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย)”

นางสาวสุนษิ า สดี า
ครูกศน.ตำบล กศน.อำเภอทงุ่ เสลี่ยม

สารบญั 3

เร่ือง หน้า
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม 4
2. ความสอดคล้องกับนโยบาย ระบุนโยบายท่ีสอดคลอ้ ง 4
3. ความเปน็ มาของโครงการ /กจิ กรรม 4
4. ปจั จยั ป้อน (Input) 5
5. ขัน้ ตอนการดำเนินงาน (Process) 6
6. ความสำเรจ็ ทเี่ ป็นจดุ เดน่ ของโครงการ/หรอื กจิ กรรมน้ี (Output) 7
7. รางวัลแหง่ ความสำเรจ็ ของโครงการ/กิจกรรม เช่น เกียรตบิ ัตร/การศึกษาดูงาน/การเผยแพร่ 7
8. ข้อคดิ ควรคำนึงในการนำไปขยายผลหรอื นำโครงการน้ไี ปทำ 7
9. ข้อมลู /หลักฐานอ้างอิง 8
10. ผ้เู ขยี น/บรรณาธกิ ารกจิ 8

4

แบบรายงาน Best Practice

1. ชือ่ โครงการ/กิจกรรม

การจดั การเรียนการสอนแบบโครงงาน (Project-Based Learning) โดยใช้กจิ กรรมการเรียนรู้แบบ
โครงงานในการขยายผลโครงงานจติ อาสา (ระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย)

2. ความสอดคลอ้ งกบั นโยบาย ระบนุ โยบายที่สอดคล้อง

2.1 ด้านการจดั การเรยี นรคู้ ณุ ภาพ
2.1.1 สง่ เสริมการจัดการศึกษาเพ่ือเสริมสร้างความมัน่ คง การสรา้ งความเข้าใจที่ถูกต้อง ในการปกครอง
ระบอบประชาธปิ ไตย การเรียนรู้ท่ปี ลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม สร้างวินยั จิตสาธารณะ และอดุ มการณ์ ความยึดมั่น
ในสถาบนั หลักของชาติ รวมถึงการมจี ติ อาสา ผ่านกิจกรรมต่างๆ
2.1.2 ส่งเสรมิ การใชเ้ ทคโนโลยีในการจดั หลักสูตรการเรยี นรู้ในระบบออนไลน์ด้วยตนเองครบวงจร ต้งั แต่
การลงทะเบียนจนการประเมินผลเมอ่ื จบหลักสูตร ท้ังการศกึ ษานอกระบบระดับการศกึ ษาขน้ั พืน้ ฐาน การศกึ ษา
ต่อเนอื่ ง และการศึกษาตามอัธยาศยั เพอื่ เป็นการสรา้ งและขยายโอกาสในการเรียนรูใ้ ห้กับกลุ่มเป้าหมายที่สามารถ
เรียนรู้ ได้สะดวก และตอบโจทย์ความต้องการของผเู้ รียน
2.2 ด้านการสร้างสมรรถนะและทกั ษะคุณภาพ
2.2.1 สง่ เสริมการจัดการศึกษาตลอดชวี ิตที่เน้นการพัฒนาทักษะท่จี ําเป็นสาํ หรบั แต่ละช่วงวยั และ
การจัดการศึกษาและการเรยี นรทู้ เ่ี หมาะสมกับแต่ละกล่มุ เปา้ หมายและบรบิ ทพ้นื ที่
2.2.2 สง่ เสริมการจดั การศึกษาของผ้สู ูงอายุเพือ่ ใหเ้ ปน็ Active Ageing Workforce และมี Life Skill ใน
การดํารงชีวิตท่เี หมาะกับช่วงวัย
2.2.3 สง่ เสรมิ การพัฒนาทักษะดิจิทลั และทกั ษะด้านภาษาใหก้ ับบุคลากร กศน. และผเู้ รียนเพอ่ื รองรับการ
พัฒนาประเทศ
2.2.4 ส่งเสรมิ การสรา้ งนวัตกรรมของผูเ้ รียน กศน.
2.2.5 สรา้ ง อาสาสมคั ร กศน. เพ่อื เปน็ เครือข่ายในการส่งเสรมิ สนับสนุนการจัดการศึกษาตลอดชวี ิตใน

ชุมชน

3. ความเป็นมาของโครงการ /กจิ กรรม
ป่าชุมชน เป็นแหล่งที่อาศัยและพึ่งพาของมนุษย์ซ่ึงเป็นปัจจัย 4 ป่าชุมชนบ้านท่าต้นธงเร่ิมก่อตั้งเมื่อปี

พ.ศ. 2558 เกิดจากการระดมพลังของชาวบ้านชุมชนในการพัฒนาป่าชุมชนให้เกิดระบบการจัดการที่ดีและเกิด
ประโยชน์สงู สดุ ต่อชมุ ชน สังคม และประเทศ โดยความร่วมมือของชมุ ชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการ
สง่ เสริมสนบั สนนุ การดแู ลรักษาทรัพยากรปา่ ไม้เปน็ หลกั ม่งุ สร้างจิตสำนึก ตระหนกั ในคุณค่าของทรพั ยากรป่าไม้
ใหก้ บั ชุมชน ตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงและตามแนวพระราชดำริของพระบรมราชนิ ีนาถ พระบรมราช
ชนนีพนั ปีหลวงในรชั กาลท่ี 9

สำนักงาน กศน.จังหวัดสุโขทยั ไดด้ ำเนินการจดั กิจกรรมอบรมหลักสตู รจิตอาสาของสำนักงาน กศน.
ให้กบั ข้าราชการ บุคลากรและนกั ศึกษา กศน.ของสำนักงาน กศน.จงั หวัดสุโขทยั เมอ่ื วันท่ี 29-30 มกราคม 2565
ท่ผี ่านมา ณ ห้องประชุมโรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม และภายหลังเสร็จส้ินการอบรมให้สถานศึกษาและผู้ผ่าน
การฝึกอบรมดำเนินการจัดกิจกรรมขยายผลโครงการจิตอาสา ประกอบด้วย การประกวดชมุ ชนจติ อาสา การ
แข่งขันขับรอ้ งเพลงพระราชนิพนธใ์ นรัชกาลที่ 9 และการประกวดการจดั ทำโครงงานจิตอาสาตน้ แบบ

ในการนี้ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทุ่งเสลี่ยม จึงได้ดำเนินการ
จัดทำโครงงาน “กศน.จิตอาสาต้นแบบ การพัฒนาป่าชมุ ชน”ขึ้นซึ่งเป็นกิจกรรมจติ อาสาตาม พระราโชบาย ประเภทจิต

5

อาสาพัฒนา กล่มุ งานจติ อาสาพัฒนาชุมชนเขม้ แข็ง ประชามสี ขุ ซึ่งเปน็ กจิ กรรมทีส่ ถานศกึ ษาได้ดำเนนิ การร่วมกบั
ภาคีเครอื ข่ายและชุมชนที่สร้างความเปน็ อยู่ของชุมชนใหเ้ ข้มแข็งประชาชนมีความสขุ อย่างยงั่ ยืน

การจัดการศึกษาต้องคำนึงถึงคุณภาพทั้งด้านความรู้ กระบวนการเรียนรู้และการเช่ือมโยงความรู้ท่ี
ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวนั ได้ และเปดิ โอกาสให้ผเู้ รยี นได้พฒั นาทกั ษะการคิด ปฏิบัติจรงิ
เพอ่ื ส่งเสรมิ และพัฒนาการคิดเปน็ ทำเปน็ และแกป้ ญั หาได้อยา่ งฉลาดและพอเพยี ง ตามความสนใจ ความถนัด
และความสามารถของผ้เู รยี น

ขา้ พเจา้ จงึ เกดิ แนวคิดในการปรับวธิ ีเรียนเปล่ียนวิธีสอน ได้ใชก้ ระบวนการจัดการเรียนร้โู ดยใชโ้ ครงงาน
เป็นฐาน ( Project – based Learning : PBL ) เพ่ือสง่ เสริมให้นกั เรียนเกดิ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กล้าแสดงออกอยา่ งสรา้ งสรรค์ และมีเจตคตทิ ด่ี ีต่อการเรียน การจดั การเรยี นรู้แบบโครงงานเป็นกระบวนการ
แสวงหาความรู้ หรอื การค้นคว้าหาคำตอบในสิ่งทผี่ ู้เรยี นอยากรหู้ รือสงสยั โดยใชก้ ระบวนการและวิธกี ารทาง
วิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะเปน็ ผู้ลงมอื ปฏบิ ัติกจิ กรรมตา่ ง ๆ เพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง โดยใช้ทรพั ยากรท่ีมอี ย่ใู น
ทอ้ งถน่ิ จนไดช้ ้นิ งานท่ีสามารถนำผลการศึกษาไปใชไ้ ด้จรงิ ในชีวติ ประจำวนั และมีครูผู้สอนคอยสนับสนุน ให้
คำปรกึ ษาผู้เรียน ในการศึกษาค้นควา้ เพ่ิมเติมจากแหลง่ เรียนรแู้ ละปรับปรงุ ความรู้ท่ไี ด้ให้สมบรู ณ์ยิ่งข้ึน

4. ปัจจัยปอ้ น (Input)
4.1 ด้านบุคลากร
4.1.1 ผบู้ ริหารมวี สิ ัยทศั นแ์ ละนโยบายการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน(Project-Based

Learning)
4.1.2 บคุ ลากรท่ีได้รับผดิ ชอบมคี วามรคู้ วามสามารถและทักษะ ด้านการผลติ ส่ือการเรยี นและเทคนิค

วิธิการจดั กระบวนการเรียนรู้
4.1.3 ทางสถานศึกษามกี ารพัฒนาความ ให้ความรู้ความเข้าใจและทักษะการเรยี นรู้และสามารถนำ

ความรไู้ ปปรับใชใ้ นชีวติ ประจำวนั การศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
4.1.4 ครูมที ักษะกระบวนแสวงหาหาความรู้ดว้ ยตนเองและจากชอ่ งสือ่ ตา่ งๆท่ีมีความหลากหลายและ

ทนั สมัย
4.1.5 ครูมกี ารลงพนื้ ท่ีเพ่อื มอบหมายงานและตรวจเยี่ยมนักศกึ ษาในการเตรียมความพร้อมในการจัดการ

เรยี นการสอนแบบโครงงาน (Project-Based Learning)
4.16 ชุมชน หน่วยงานอนื่ ท้ังภาครฐั และเอกชน ให้ความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมเปน็ อยา่ งดี
4.2 ด้านงบประมาณ
4.2.1 ได้รับการสนบั สนนุ งบประมาณ จาก กศน.อำเภอทุ่งเสล่ียมในการพัฒนาความรู้การจดั การเรียน

การสอนแบบโครงงาน (Project-Based Learning) อย่างต่อเนือ่ ง
4.2.2 ไดร้ บั สนับสนนุ งบประมาณ จาก กศน.อำเภอท่งุ เสลี่ยม ในการพัฒนาผู้เรียนทางด้านการจดั การ

เรยี นรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning) อยา่ งต่อเน่ืองรวมทง้ั มอบหมายใหค้ รูแต่ละ กศน.ตำบล
รบั ผดิ ชอบชแ้ี นะ แนะนำนกั ศึกษา ใหส้ ามารถเรยี นรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning) ได้อยา่ งมี
ประสทิ ธภิ าพ ทว่ั ถงึ

4.3 ดา้ นสอ่ื วัสดุ อปุ กรณ์
4.3.1 มสี ่ือ วัสดุอปุ กรณ์ ที่เอื้อต่อการจัดทำส่ือในการจัดการเรยี นรู้ ของครู โดยทุกตำบลมีสือ่ อุปกรณ์ ใน
การค้นควา้ เพม่ิ เติม ผู้เรยี นสามารถศึกษาด้วยตนเอง พร้อมทัง้ มคี รู กศน.ตำบลเป็นที่ปรึกษาให้คำช้ีแนะ
4.3.2 มอี ินเตอรเ์ น็ต ฟรีในการใหบ้ รกิ ารแก่ครู และผเู้ รียน
4.4 ด้านการบรหิ ารจัดการ
4.4.1 การจัดการเรยี นการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน (Project-Based Learning) ของ กศน.
อำเภอทุ่งเสลีย่ ม ไดด้ ำเนินการภายใต้วสิ ยั ทศั น์ นโยบายและจุดเน้น รวมถงึ สถานการณ์ ในปจั จุบันกับการแพร่

6

ระบาดของเชอื้ ไวรสั โคโรนา่ 2019 จงึ เล็งเห็นความสำคญั ของการบรหิ ารจดั การในด้านการจดั การศึกษาขั้น
พน้ื ฐานที่เอ้ือต่อการเรยี นรู้อย่างมีประสิทธภิ าพ ท่ีดตี ่อผเู้ รียน กศน.อำเภอทุ่งเสล่ยี ม

5. ข้นั ตอนการดำเนนิ งาน (Process)
5.1 สำรวจและวิเคราะหส์ ภาพปัจจบุ ัน
สำรวจและวเิ คราะห์สภาพปจั จุบนั ปัญหา ความต้องการเก่ียวกบั การบริหารจัดการดา้ นต่าง ๆ จากผู้ที่มี

ส่วนเกี่ยวขอ้ งทุกฝ่ายให้ทราบถงึ บรบิ ทของสถานศึกษาวา่ ขณะนี้อยู่ ณ จุดใด (Where are we now?) เพ่ือ
จัดลำดบั ความสำคญั และกำหนดกรอบการจัดการเรยี นการสอนแบบโครงงาน (Project-Based Learning)

5.2 ขั้นการวางแผน (Plan)
เป็นการออกแบบนวัตกรรมรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน (Project-Based Learning)
สอดคล้องกบั บริบทของสถานศึกษาในการดำเนินโครงการ จากผลสรปุ ของการ วเิ คราะหจ์ ดุ แขง็ จดุ อ่อน โอกาส
และอปุ สรรคการพฒั นาสถานศกึ ษามกี ารกำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานในอนาคตที่ชัดเจน โดยมี
ข้นั ตอนดังนี้
1. ศกึ ษาสภาพปัจจุบนั และปัญหาจากการประชมุ คณะครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศกึ ษา แล้ว
นำมาวเิ คราะห์ถึงสาเหตุของปัญหา
2. ประชมุ วางแผน รว่ มกับครูกศน.ตำบล เพอ่ื ทำความเข้าใจในการจัดการเรยี นการสอนแบบโครงงาน
(Project-Based Learning)
3. แต่งตง้ั คณะกรรมการดำเนินการตามโครงการและมอบหมายหนา้ ท่ีรับผดิ ชอบเพื่อกำหนดกจิ กรรม
ส่งเสริมที่เหมาะสมกับผเู้ รียน จัดทำรายละเอียดโครงการเสนอผู้บรหิ ารเพื่อพจิ ารณาอนุมัติ
4. สร้างเครอ่ื งมือประเมนิ ผลตามวัตถุประสงคข์ องโครงการได้แก่ แบบสอบถาม เกี่ยวกับการจดั กิจกรรม
ส่งเสรมิ แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชนที่มีต่อการดำเนินโครงการ
5. จดั หาทรัพยากร/งบประมาณ รวมทัง้ จัดสภาพแวดลอ้ มภายในโรงเรยี นใหเ้ อื้อตอ่ การเรียนรู้ของผู้เรียน
6. สร้างเครอื ข่ายและประสานความร่วมมอื จากครู บุคลากร/องค์กรตา่ งๆทง้ั ในและนอกสถานศกึ ษา
5.3 ข้นั ตอนท่ี 3 ข้ันปฏบิ ตั ติ ามแผน (Do)
เปน็ การสรา้ งความรู้ ความเข้าใจกบั บุคลากรทุกฝ่าย เพื่อนำนวตั กรรมรูปแบบการจัดการเรยี นการสอน
แบบโครงงาน (Project-Based Learning) ไปใช้ดำเนนิ งาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึง่ เน้นการเปิดโอกาสให้ผเู้ รียน
เรยี นรู้เรอ่ื งใดเรื่องหนงึ่ ตามความสนใจของผเู้ รยี นอยา่ งลุ่มลึก โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปญั หา
ผ้เู รียนจะเปน็ ผลู้ งมอื ปฏบิ ัตเิ พ่ือคน้ หาคำตอบด้วยตนเอง จงึ เป็นการเรียนรจู้ ากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหลง่
เรียนรู้ เพอ่ื สร้างคุณค่าให้กบั ผเู้ รยี นผ่านกระบวนการการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ ดำเนินการจัดกิจกรรมตาม
ความสนใจของผ้เู รยี นผ่านโครงงาน กศน.จิตอาสาต้นแบบ การพฒั นาป่าชุมชน ดำเนนิ การจดั กจิ กรรมดังนี้
1. กจิ กรรมการทำแนวกนั ไฟรว่ มกับองคก์ รนักศึกษา กศน.อำเภอทุ่งเสล่ียม โดยมีนายเอกชยั สังข์ทอง
ประธานป่าชมุ ชนบา้ นทา่ ต้นธง ใหค้ วามรูแ้ ละช่วยเหลอื ในการจัดกิจกรรม
2. กิจกรรมปลูกป่า ร่วมกับองคก์ รนักศึกษา กศน.อำเภอทุ่งเสลี่ยม และประชาชนบา้ นท่าต้นธง
3. สำรวจข้อมูลพนั ธไ์ุ ม้ในป่าชุมชนเพือ่ จัดทำทะเบียนพนั ธ์ุไม้
4. การปลูกแฝกป้องกนั การพังทลายของหนา้ ดิน รว่ มกับองค์กรนักศึกษา กศน.อำเภอทุ่งเสลย่ี ม ณ ศูนย์
ปฏบิ ตั ิธรรมบ้านอ่มิ บุญ
5. จดั ทำธนาคารพันธ์พุ ชื ร่วมกบั องค์กรนักศึกษา กศน.อำเภอทุง่ เสลีย่ ม และชาวบา้ นหมู่ 1
6. การสรา้ งแหลง่ อาหาร (เห็ด) ในป่าชุมชนเพื่อเปน็ แหล่งอาหารให้กับชาวบา้ น ร่วมกับองค์กรนกั ศึกษา
5.4 ข้นั ตอนท่ี 4 ขั้นตรวจสอบ (Check)
เป็นการประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินกิจกรรม จากการใช้nนวัตกรรมการจดั การเรยี นการสอน
แบบโครงงาน (Project-Based Learning) โดยยดึ วตั ถปุ ระสงค์เชงิ กลยุทธ์ของสถานศกึ ษาที่กำหนด

7

ผลสำเร็จรอบดา้ น
5.4.1 จัดทำเครือ่ งมือประเมนิ ผลตามวัตถุประสงค์และเปา้ หมายของโครงการ
5.4.2 ครสู งั เกตพฤติกรรมผู้เรียนก่อนและหลงั จากเขา้ รว่ มกิจกรรมเกบ็ รวบรวมข้อมูลและผลการ ประเมนิ

ผูเ้ รียน ตามเครื่องมือวัดผล
5.4.3 นำข้อมลู ท่ีไดม้ า วเิ คราะหแ์ ละนำเสนอผลทไ่ี ดจ้ ากการใชว้ ธิ กี ารหรอื กจิ กรรมในการแก้ปัญหา น้นั ๆ
5.5 ข้นั ตอนท่ี 5 ขนั้ ปรบั ปรุงแก้ไข (Action)
เป็นการสะท้อนผลการดำเนินงานตามสภาพจริง (Reflection) สถานศึกษาคุณภาพต้องมีการพัฒนา

นวตั กรรมการบรหิ ารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและคุณภาพของผู้เรียน อย่างต่อเน่ือง
5.5.1 สรุปและรายงานผลการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน (Project-Based

Learning)
5.5.2 ปรบั ปรุงแกไ้ ข และพฒั นาการด าเนินงานให้เหมาะสมยิง่ ข้ึน โดยอาศยั ความรว่ มมือของทุกฝ่ายที่

เก่ียวขอ้ ง
5.5.3 ประชาสมั พันธใ์ ห้ผูเ้ ก่ยี วขอ้ งได้รับทราบผา่ นชอ่ งทางออนไลน์ของสถานศกึ ษา

6. ความสำเรจ็ ทเ่ี ปน็ จุดเด่นของโครงการ/หรอื กิจกรรมน้ี (Output)
6.1 ภาคีเครือข่าย เช่น อสม. ตำรวจ ผใู้ หญ่บา้ น อบต. พระสงฆ์ ครู และนกั ศกึ ษา ได้มีส่วนรว่ มในการทำ

กิจกรรม โครงงานจติ อาสาร่วมด้วยช่วยกันรวมใจเป็นหนงึ่ เดยี ว
6.2 เสริมสร้างความสามคั คภี ายในชุมชนร่วมกบั ภาคเี ครือข่ายและสถานศึกษา
6.3 ชมุ ชน วัด สถานศกึ ษามีความสมั พันธท์ ่ดี ตี ่อกัน แบ่งปัน และช่วยเหลือซ่ึงกันและกนั
6.4 ต่อยอดการอบรมจติ อาสาตน้ แบบและสามารถถ่ายทอดส่งต่อคนในชมุ ชนได้อยา่ งชัดเจน
6.5 แกนนำจติ อาสาสามารถขยายผลโครงงานจติ อาสาตน้ แบบได้อย่างเปน็ รปู ธรรม

7. รางวัลแห่งความสำเร็จของโครงการ/กจิ กรรม เชน่ เกยี รติบตั ร/การศึกษาดงู าน/การเผยแพร่

กศน.อำเภอทุ่งเสลยี่ ม ได้รบั รางวัลชนะเลิศ
การประกวดโครงงานจิตอาสาต้นแบบ ระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลาย ช่ือโครงงาน “จิตอาสาร่วม
ดว้ ยช่วยกนั รวมใจเปน็ หน่ึงเดยี ว” กิจกรรมขยายผล
โครงการจิตอาสาของสำนกั งาน กศน. ประจำปี 2565
จากสำนกั งานสง่ เสริมการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศยั จังหวดั สุโขทยั

8. ขอ้ คดิ ควรคำนงึ ในการนำไปขยายผลหรือนำโครงการนีไ้ ปทำ
8.1 ผู้จดั กิจกรรมควรมีความรู้ คุณธรรมจรยิ ธรรม และปฏิบตั ิตนตามหลกั พระพทุ ธศาสนาเพ่อื เป็น

ตัวอย่างทดี่ ี และสอดแทรกความรรู้ ะหวา่ งการจัดกิจกรรม
8.2 ผใู้ ช้พ้ืนทถ่ี นนในชุมชน บรเิ วณรอบวดั รูส้ ึกสบายตา สะอาด สวยงามนา่ อยู่ และให้เขา้ มาใหค้ วาม

ช่วยเหลอื ในระหว่างการทำกิจกรรม
8.3 ผูเ้ ข้ารว่ มกจิ กรรมมีจิตสาธารณะในการบำเพ็ญประโยชนใ์ ห้กบั ชุมชนในพ้นื ท่ีมากขึน้
8.4 ผูเ้ ขา้ ร่วมกจิ กรรมมีความสามารถในการเขา้ ร่วมกิจกรรมรว่ มกับสงั คม มีความรู้ ความสามารถ และ

ประสบการณ์ท่มี ีประโยชน์ตอ่ สังคมมากทีส่ ดุ และส่งเสรมิ ให้ผูอ้ น่ื มจี ิตอาสาตอ่ ไป

8

9. ขอ้ มูล/หลกั ฐานอา้ งอิง

ภาพท่ี 1 ภาพวางแผนการดาเนนิ งาน ภาพท่ี 2 นาเสนอโครงงาน

ภาพท่ี 3 ดาเนนิ โครงงานกศน.จติ อาสาตน้ แบบ การพัฒนาป่าชุมชน ภาพท่ี 4 ภาพกจิ กรรมการสรา้ งแหล่งอาหาร (เห็ด)
ในป่าชุมชน

ภาพท่ี 5 คลปิ โครงงานจติ อาสาตน้ แบบ
การพฒั นาป่าชมุ ชน

10. ผู้เขียน/บรรณาธิการกจิ

ผู้เสนอผลงาน : นางสาวสนุ ษิ า สีดา ภาพท่ี 6 รูปเลม่ โครงงานจติ อาสาตน้ แบบ

ตำแหนง่ : ครู กศน.ตำบล การพฒั นาป่าชมุ ชน

สถานศกึ ษา : ศูนยก์ ารศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั อำเภอทงุ่ เสลี่ยม

สังกดั : สำนักงานสง่ เสริมการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั จงั หวัดสโุ ขทยั

9


Click to View FlipBook Version