การจัดการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย (POE) เรื่อง สารละลาย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัย นางสาวธนิวรรณ ขานเกตุ ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์จิรา จูมพลหล้า ปริญญา ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 0650782563 อีเมล [email protected] บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกตอธิบาย (POE) เรื่อง สารละลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4/6 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนพรเจริญวิทยา จ านวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง สารละลาย ที่ใช้การ จัดการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย (POE) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ โจทย์ปัญหา เรื่อง สารละลาย แบบปรนัย 4 ตัวเลือก โดยมีค่าความยากง่าย (p) อยู่ ระหว่าง 0.27 ถึง 0.67 ค่าอ านาจจ าแนก (r) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.67 และค่าความ เชื่อมั่น เท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบไม่อิสระ (t-test for Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ ท านาย-สังเกต-อธิบาย (POE) ได้คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 2.82 คิดเป็นร้อยละ 14.08 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 14.13 คิดเป็นร้อยละ 70.66 และเมื่อ เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการทดสอบทีแบบไม่อิสระ (t-test for Dependent Samples) พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาหลังเรียนสูง
2 กว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 เป็นไป ตามสมมติฐานของการวิจัย ความส าคัญและความเป็นมาของปัญหา ปัจจุบันวิทยาศาสตร์มีอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ภายในโลก อย่างมาก ผลผลิตของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ล้วนส่งผลต่อความสะดวกสบายของ มนุษย์ทั้งสิ้นรวมทั้งปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นฝนตก ฟ้าร้อง น้ าขึ้น น้ าลง ดาวตก ผีพุ่งใต้ข้างขึ้นข้างแรม สิ่งเหล่านี้ล้วนอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้การ ค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้นต้องอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรียกวิธีการที่ ใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะต้องผ่านการ ตรวจสอบหรือยืนยันแล้วว่าเป็นจริง (พันธ์ ทองชุมนุม. 2547 : 1) อาจกล่าวได้ว่าผลของ วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาความคิดทั้งความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิด วิเคราะห์ วิจารณ์ และมีทักษะพื้นฐานในการสืบเสาะ ค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถใน การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้พัฒนามาจากการอธิบายความเป็นเหตุเป็นผลกันของ ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ โดยวิธีการอนุมาน และอุปมาน ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ เริ่มจากขั้นตอนการสังเกตเพื่อระบุปัญหา การตั้งสมมติฐาน การทดลองหรือการรวบรวม ข้อมูล การวิเคราะห์หรือตีความหมายข้อมูล และการสรุปผลข้อมูลดังกล่าวให้เป็นความรู้ วิทยาศาสตร์ (พันธ์ ทองชุมนุม. 2547 : 3) ทั้งนี้กระบวนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ใน ปัจจุบัน จะต้องสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้ปฏิบัติจริง มี กระบวนการส ารวจ ทดลอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เน้นท างานร่วมกัน กล้าคิด กล้า แสดงออก ใช้วิธีการและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยสิ่งที่สามารถพัฒนา กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนได้คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอน ซึ่ง ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง กล่าวถึงการเรียนรู้ว่าเกิดขึ้นโดยที่ผู้เรียนจะสร้างองค์ ความรู้ในขณะที่ได้รับประสบการณ์ในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยตรง ซึ่งผู้เรียนจะเข้าใจอย่าง ถ่องแท้ เมื่อรู้จักสิ่งนั้นด้วยตนเองอย่างตื่นตัว จะต้องจัดกระท ากับข้อมูลใหม่ด้วยความรู้ที่มี อยู่ (ชนาธิป พรกุล. 2554 : 72)
3 โจทย์ปัญหาประกอบด้วยข้อความเป็นภาษาหนังสือหรือโจทย์ที่เป็นค าพูดที่ไม่ สามารถหาผลลัพธ์ได้ทันทีทันใด ต้องคิดหาวิธีการเพื่อให้ได้ค าตอบเชิงปริมาณหรือตัวเลข โดยอาศัยความรู้ ประสบการณ์ การวางแผน ต้องมีการวิเคราะห์ความหมายของโจทย์ ปัญหาก่อนที่จะด าเนินการหา ค า ตอบได้ (หน่วยศึกษานิเทศก์, 2545) วิชาเคมี เรื่อง สารละลาย เป็นเคมีค านวณ การแก้โจทย์ปัญหาถือว่าเป็นสิ่งส าคัญ เนื่องจากการจัดการ เรียนรู้และการทดสอบส่วนใหญ่เน้นไปที่การหาค าตอบเป็นตัวเลข ถ้านักเรียนไม่สามารถแก้ โจทย์ปัญหา เรื่อง สารละลายได้จะส่งผลกระทบต่อการเรียนในเนื้อหาต่อ ๆ ไปในวิชาเคมี (วรัทยา มณีรัตน์ และปิยรัตน์ ดรบัณฑิต, 2560) จากการสังเกตการจัดการเรียนการสอน เคมีในโรงเรียนพรเจริญวิทยา เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดครูบรรยายเป็นหลัก ท าให้ นักเรียนไม่ได้สร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ไม่มีการคิดแบบเป็นขั้นตอนและไม่มีอิสระในการ คิดแก้โจทย์ปัญหาในด้านเคมีค านวณ นักเรียนจึงเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน แต่การ จัดการเรียนการสอนที่ยังไม่ประสบผลส าเร็จเท่าที่ควรไม่ได้เกิดจากครูผู้สอนเพียงอย่าง เดียว สามารถเกิดจากหลายสาเหตุส่วนหนึ่งคือตัวนักเรียน เช่น นักเรียนขาดความรู้พื้นฐาน ไม่ทบทวนบทเรียน และพบว่าการแก้โจทย์ปัญหาเคมีค านวณของนักเรียนส่วนใหญ่จะพบ ปัญหาหลักๆ คือ นักเรียนไม่เข้าใจว่าโจทย์ปัญหาเคมีค านวณต้องการอะไร และข้อมูลที่ให้ มามีอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์ในการหาค าตอบ มีปัญหาในการค านวณ สับสนในการตั้งค่า โดยเฉพาะการเทียบบัญญัติไตรยางศ์และหน่วยที่ใช้ในการค านวณ เพราะหน่วยที่ใช้ในการ ค านวณเป็นหน่วยที่ไม่คุ้นเคย (Dahsah, 2007) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากการจัดกิจกรรม รูปแบบนี้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ เดิม เพื่อให้ได้มาซึ่งค าตอบของปัญหา หรือสถานการณ์ที่ครูก าหนด (น้ าค้าง จันเสริม. 2551 : 29 ; อ้างอิงจาก White and Gunstone. 1992) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ท านาย-สังเกต-อธิบาย ตามแนวคิดของไวท์ และกันสโตน ให้ประสบผลส าเร็จได้นั้นครู จะต้องให้ความส าคัญกับการสร้างสถานการณ์ที่สัมพันธ์กับความรู้และประสบการณ์เดิม ของผู้เรียน โดยผู้เรียนจะต้องด าเนินการตามขั้นตอนให้ส าเร็จ 3 ขั้นประกอบด้วย ขั้นแรก ผู้เรียนจะต้องท านายผลที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่ก าหนดให้และต้องให้เหตุผล
4 ประกอบการท านาย หลังจากนั้นจะต้องสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น และสุดท้ายผู้เรียนต้องอธิบาย ระหว่างสิ่งที่ท านายและผลการสังเกต (White and Gunstone. 2006) นอกจากนี้ กิจกรรมการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย ยังเน้นการท้าทายผู้เรียนเพื่อให้เกิด"ความมี ส่วนร่วม" ในกระบวนการที่จะเกิดขึ้น เพราะการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบ บรรยายอย่างเดียวนั้นเป็นการท าให้ผู้เรียนอยู่ในสถานะ "พยาน" นั่นก็คือแค่ผ่านมาเห็น เหตุการณ์ ดังนั้น ความเข้าใจและทัศนคติก็อาจแตกต่างไปจาก "ผู้อยู่ในเหตุการณ์" อย่าง แท้จริง (Haysom and Bowen. 2010 :9) ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาและส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย ว่าจะมี ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาสูงขึ้นหรือไม่อย่างไร วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อส่งเสริมและเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาก่อนเรียนและ หลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกตอธิบาย สมมุติฐานของการวิจัย หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย เรื่อง สารละลาย นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มากกว่า เกณฑ์ร้อยละ 70 ขอบเขตของการวิจัย 1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน พรเจริญวิทยา อ าเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ ปีการศึกษา 2566 จ านวน 372 คน จาก 10 ห้องเรียน 2. ตัวแปรในการวิจัย มีดังนี้ 2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย
5 2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา 3. การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้เนื้อหาจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560 ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี รายวิชา เคมีเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สาระที่ 3 ผลการเรียนรู้ 10 และ 11 เรื่อง สารละลาย ประกอบด้วยเนื้อหาย่อยดังนี้ 3.1 การเตรียมสารละลาย 3.2 สมบัติบางประการของสารละลาย 4. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย คือ เวลา 8 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 4 สัปดาห์ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ประโยชน์ที่ได้รับ 1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย เรื่องสารละลายเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 2. ได้ส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง สารละลาย ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้สูงขึ้น 3. เป็นแนวทางส าหรับครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ในการน าแนวทางการพัฒนา ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาไปพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เคมีในสาระอื่นและ ระดับชั้นอื่น ๆ ต่อไป กรอบแนวคิดการวิจัย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย คือ กระบวนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ที่นักเรียนจะต้องเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ เดิม และจะเกิดขึ้นในขณะที่นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมท านาย-สังเกต-อธิบาย ส่งเสริมให้ นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และอภิปรายเกี่ยวกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เป็นขั้นตอน การน าเสนอสถานการณ์และให้นักเรียนท านายว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีการเปลี่ยนแปลง หลังจากนักเรียนท านายแล้วก็ให้นักเรียนสังเกตสถานการณ์ดังกล่าวแล้วจากนั้นก็ให้
6 นักเรียนบอกความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ได้จากการท านาย ซึ่งขั้นตอนตามรูปแบบ ท านายสังเกต-อธิบาย มี 8 ขั้นตอน ดังนี้ การน าเข้าสู่บทเรียนและสร้างแรงจูงใจ หมายถึง ขั้นตอนที่น าสู่บทเรียนโดยใช้ ค าถามที่ท้าทายกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน นักเรียนร่วมกับร่วมกันอภิปรายเพื่อสะท้อน ประสบการณ์หรือความรู้ก่อนหน้าในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน การน าเข้าสู่กิจกรรมหรือการทดลอง หมายถึง ขั้นที่แนะน าการทดลอง แจ้ง จุดประสงค์แนวทางในการเรียน เชื่อมโยงกิจกรรมเข้าสู่ก าถามที่ถามในขั้นต้นกับเรื่องที่ อธิบาย การท านาย หมายถึง ขั้นที่ล้วงประสบการณ์หรือความรู้เดิม ระบุผลการท านายที่จะ เกิดขึ้น พร้อมทั้งแสดงเหตุผลประกอบการท านาย การอภิปรายสิ่งที่ท านาย หมายถึง ขั้นที่ร่วมกันอภิปรายภายในกลุ่มย่อยและทั้งชั้น เรียนถึงการท านายผลการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และร่วมกันเลือกค าท านายที่มีน่าจะ เป็นไปได้มากที่สุดพร้อมทั้งแสดงเหตุผลมารองรับสิ่งที่ท านาย การสังเกต หมายถึง ขั้นที่ร่วมกันสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ และบันทึกสิ่งที่สังเกต จากการทดลองหรือกิจกรรมพยายามรวบรวมข้อมูลที่ได้จากกิจกรรมให้มากที่สุด โดยแสดง หลักฐานและเหตุผลประกอบ โดยใช้ค าถามเป็นแนวทางในการสังเกต การอธิบาย หมายถึง ขั้นที่จัดระบบความคิดของตนเองผ่านการพูดคุยและการเขียน อภิปรายสิ่งที่ได้จากการสังเกต ซึ่งอาจเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มพร้อมทั้งระบุเหตุผลที่สนับสนุน ค าตอบที่อภิปรายร่วมกัน โดยตั้งค าถามอย่างเป็นล าดับเพื่อให้นักเรียนอธิบายเหตุผลของ การเกิด การให้ค าอธิบายทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ขั้นที่ร่วมกันสร้างค าอธิบายทาง วิทยาศาสตร์จากหลักฐานที่ได้จากการส ารวจตรวจสอบเปรียบเทียบและตรวจสอบความ สอดคล้องของค าอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่สร้างกันกับเพื่อนร่วมชั้นและศึกษาใบความรู้ที่ เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับหลักการและเหตุผลแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับประเด็นความรู้ ใหม่
7 การติดตามผล หมายถึง ขั้นที่แสดงข้อมูลป้อนกลับในเรื่องการเขียนด าอธิบายทาง วิทยาศาสตร์และประยุกต์ความรู้เพื่อน าไปใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ หรือ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจ าวัน วิธีด าเนินการวิจัย 1. แบบแผนการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีแบบแผนการทดลอง (Experimental Design) กลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลังทดลอง One Group Pretest – Posttest Design ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แบบแผนการวิจัย สอบก่อน ทดลอง สอบหลัง T1 X T2 สัญลักษณ์ที่ใช้ในแบบแผนการทดลอง T1 หมายถึง การทดสอบก่อนเรียน (Pretest) X หมายถึง การจัดการเรียนรู้ด้วยท านาย-สังเกต-อธิบาย เรื่อง สารละลาย T2 หมายถึง การทดสอบหลังเรียน (Posttest) 2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน พรเจริญวิทยา อ าเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ ปีการศึกษา 2566 จ านวน 372 คน จาก 10 ห้องเรียน 2.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 โรงเรียนพรเจริญวิทยา อ าเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ ปีการศึกษา 2566 จ านวน 1 ห้องเรียน จ านวนนักเรียน 38 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
8 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.1 แผนการจัดการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย 3.2 แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง สารละลาย ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพรเจริญวิทยา อ าเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ แบบ 4 ตัวเลือก จ านวน 20 ข้อ 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 4.1 ก่อนการทดลอง ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างท าแบบทดสอบวัดความสามารถ ในการแก้โจทย์ปัญหา เพื่อน าคะแนนมาวิเคราะห์เป็นคะแนนก่อนเรียน 4.2 ผู้วิจัยด าเนินการสอนนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย จ านวน 4 แผน รวม 8 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 4 สัปดาห์ 4.3 เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ท าการทดลองหลังเรียน โดยให้นักเรียนกลุ่ม ตัวอย่างท าแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ชุดเดิมกับทดสอบก่อน เรียน เพื่อน าคะแนนมาวิเคราะห์เป็นคะแนนหลังเรียน 5. การวิเคราะห์ข้อมูล น าคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียน มาคิด คะแนนเป็น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) แล้วน าคะแนนทั้งสองมา เปรียบเทียบโดยใช้สถิติ t-test for Dependent Sample สรุปผลการวิจัย ผลการศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4/6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย พบว่า นักเรียนมี คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 2.82 คิดเป็นร้อยละ 14.08 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 14.13 คิดเป็นร้อยละ 70.66 ซึ่งไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 เป็นไปตามสมมติฐาน ที่ก าหนดไว้ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีคะแนน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
9 อภิปรายผล ผลการใช้กิจกรรมการการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย เรื่อง สารละลาย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 จ านวน 38 คน สามารถน าประเด็นส าคัญมาอภิปราย ผลได้ดังนี้ จากผลการศึกษาการใช้กิจกรรมการการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย เรื่อง สารละลาย รายวิชาเคมี เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 2.82 คิดเป็นร้อยละ 14.08 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 14.13 คิดเป็นร้อยละ 70.66 เมื่อน ามาทดสอบ ด้วย t-test for Dependent Sample พบว่านักเรียนมีความสามารถในการแก้โจทย์ ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่านักเรียนที่ ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ ก าหนดไว้ จากผลการวิจัยที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย ซึ่ง ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน คือ 1) การน าเข้าสู่บทเรียนและสร้างแรงจูงใจ 2) การน าเข้าสู่ กิจกรรมหรือการทดลอง 3) การท านาย 4) การอภิปรายสิ่งที่ท านาย 5) ขั้นการสังเกต 6) การอธิบาย 7) การให้ค าอธิบายทางวิทยาศาสตร์ และ 8) การติดตามผล สามารถพัฒนา ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง สารละลาย ให้สูงขึ้นได้ อาจเป็นผลมาจาก กิจกรรมการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพสามารถ ใช้เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาในรายวิชาเคมี และได้มีการสร้างแรงจูงใจ ที่กระตุ้นความสนใจของนักเรียน โดยกิจกรรมการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย ใน การน าเข้าสู่บทเรียน เป็นการถามเพื่อทบทวนความรู้เดิม ดึงดูดความสนใจให้นักเรียนเกิด ความอยากรู้อยากเห็น มีความกระตือรือร้นมากขึ้นในการค้นหาค าตอบในขั้นต่อไปซึ่งก็คือ การท านายโดยจะมีการใช้สถานการณ์ที่สอดคล้องกับความรู้เดิมของนักเรียน บาง สถานการณ์ยังเกี่ยวข้องกับชีวิตประจ าวัน อีกทั้งกิจกรรมที่น ามาใช้ในขั้นสังเกตมีความ ชัดเจน สิ่งที่ผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอนสังเกตเห็นได้ จากนักเรียน คือ การที่ผู้เรียนได้แสดง ความคิดเห็น และอภิปรายเกี่ยวกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เป็นขั้นตอน นักเรียนจะเรียนรู้
10 จากการท านาย (Predict) การสังเกต (Observe) และการอธิบาย (Explain) ซึ่งเป็นการ กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจ มุ่งมั่นในการทดลอง นอกจากนี้การท านายผลที่จะ เกิดขึ้นล่วงหน้าก่อนลงมือท ากิจกรรม จะท าให้นักเรียนสังเกตอย่างจดจ่อ ละเอียด รอบคอบ รู้จักน าผลที่ได้จากการสังเกตมาอธิบาย และเปรียบเทียบกับสิ่งที่ท านายไว้ นักเรียนจะรู้สึกสนุกสนานในช่วงที่ท ากิจกรรม เพื่อตรวจสอบผลการท านายของตนเอง ทั้งนี้นักเรียนยังสามารถแก้โจทย์ปัญหาได้ สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นแรงกระตุ้นให้ นักเรียนอยากท ากิจกรรมตามความสามารถของตนเองอย่างเต็มศักยภาพ ส่งผลให้นักเรียน มีความสามารถในแก้โจทย์ปัญหาในเรื่องนั้นได้เป็นอย่างดี จากขั้นตอนที่เป็นจุดเด่นส าคัญของกิจกรรมการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย ดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงส่งผลให้ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง สารละลาย ของ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยควรศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย ใน เนื้อหาอื่น ๆ ของรายวิชาเคมี เช่น อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี กรด-เบส และไฟฟ้าเคมี เป็น ต้น
11 เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย. ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด : ทฤษฎีและการน าไปใช้(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชนกชนม์ ชนะสงคราม. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบท านาย-สังเกต-อธิบาย ร่วมกับ เทคนิคการใช้ค าถาม ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเคมี เรื่อง พันธะเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ. ชญานิษฐ์ สุวรรณกาญจน์. (2562). การพัฒนาความสามารถการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยการเรียนรู้แบบ Predict-Observe-Explain (POE) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ซูไฮมี สาแม, และคณะ. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาดารา ศาสตร์ โลก และอวกาศ เรื่อง การเกิดเมฆ ด้วยบทเรียนเอ็มเลิร์นนิง (M-Learning) บนโทรศัพท์มือถือร่วมกับเทคนิคการสอนแบบท านาย-สังเกต-อภิปราย (POE) ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา. สุราษฎร์ ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี. ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. น้ าค้าง จันเสริม. (2551). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง งานและพลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 บนพื้นฐานของทฤษฎีคอนสตัคติวิสต์ โดยใช้วิธี PredictObserve-Explain (POE). วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง
12 ปัทมาภรณ์ ศรีบุญ. (2560). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การ คูณของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะ โรงเรียนวัดตะกล ่า. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามค าแหง. ปณิกา ยิ้มพงษ์. (2563). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบ ท านาย สังเกต อธิบาย (POE) ร่วมกับเทคนิคการใช้ค าถามที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. ปิยธิดา พยัฆฑา. (2557). การใช้กิจกรรมการสืบเสาะแบบชี้แนะแนวทางด้วยการท านายสังเกต-อธิบาย เพื่อพัฒนาความเข้าใจ เรื่อง พันธะเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี. เปลว ปุริสาร. (2543). การศึกษาความสามารถในการคิดแกปญหาของเด็กปฐมวัยที่ไดรับ การจัดประสบการณแบบโครงการ. ปริญญานิพนธ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิริยา พงษภัก. (2556). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะหเรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลง ของเปลือกโลก โดยใชวิธี Predict - Observe - Explain (POE) ส าหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์. ขอนแข่น : มหาวิทยาลัยขอนแข่น. พันธ์ ทองชุมนุม. (2547). การสอนวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โอ เดียนสโตร์. ภารดี รัตนจามิตร, สิงหา ประสิทธิพงศ์ และเสาวรส ยิ่งวรรณะ. (2564). การพัฒนา แนวคิดวิทยาศาสตรเรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4 ดวยการจัดการเรียนรูแบบท านาย-สังเกต-อธิบาย (POE): ทฤษฎีจากการปฏิบัติการ ในชั้นเรียน. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ. ภูสิทธิ์ จันทนา. (2557). การจัดการเรียนรู้แบบท านาย–สังเกต–อธิบายเพื่อยกระดับ ความเข้าใจแนวคิดวิทยาศาสตร์เรื่อง วงจรไฟฟ้ากระแสตรงอย่างง่าย ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี.
13 มนัสชนก ตานาง. (2562). การพัฒนาความสามารถในการสร้างค าอธิบายทาง วิทยาศาสตร์ เรื่อง สมดุลเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการ สอนแบบท านาย สังเกต อธิบาย (POE). วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต. วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน สาขาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร. วรัทยา มณีรัตน์ และปิยรัตน์ ดรบัณฑิต. (2560). การพัฒนาทักษะกระบวนการแก้โจทย์ ปัญหาเคมี เรื่อง กรด–เบส โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาส าหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เพื่อการเรียนรู้, 8(2), 297-306 วารี ถิระจิตร. (2541). การศึกษาส าหรับเด็กพิเศษ. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศศิธร พงษ์โภคา และอุบลวรรณ ส่งเสริม. (2558). การพัฒนาความสามารถในการคิด แก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการ แก้ปัญหาอนาคตร่วมกับแผนผังความคิด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร. ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. (2561). คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1. กรุงเทพฯ : [ออนไลน์]. ส านักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย. สุธิดา แสนวัง. (2562). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเคมีเรื่อง ปริมาณ สารสัมพันธ์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิค การแก้ปัญหาของโพลยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ งมหา วิทยาลัยมหาสารคาม.
14 สุภาพร แหลมแก้ว. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์และเจตคติในการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้า ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิคการสอนแบบท านาย สังเกต อธิบาย กับวิธีสอน แบบสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E. วารสารศึกษาศาสตร์. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัย นเรศวร. สุภามาส เทียนทอง. (2553). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ศิลปากร. สุภารี คงมั่น. (2545). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจ าวัน โดยการ สอนแบบแก้ปัญหาในกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ แขนงงานบ้าน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การประถมศึกษา บันฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หน่วยศึกษานิเทศก์. (2545). เอกสารเสริมความรู้กลุ่มทักษะคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ. Dahsah, C. (2007). Thai Grade 10 and 11 Students’ Conceptual Understanding and Ability to Solve Stoichiometry Problems. Research in Science and Technological Education, 25(2), 227-241. Haysom, J. and Bowen, M. (2010). Predict, Observe, Explain Activities Enhancing Scientific Understanding. Texas : The National Science Teachers Association Press. Kala, N., Yaman, F. and Ayas, A. (2012,June). “The Effectiveness of PredictObserve-Explain Technique in Probing Student’ Understanding about Acid-Base Chemistry : A Case for the Concepts of pH, pOH and Strength,” International Journal of Science and Mathematics Education. 11, 555-574.
15 Kibirige, I., Osodo, J. and Tlala, K. M. (2014, March). “The Effect of PredictObserve-Explain Stategy on Learner’s Misconceptions about Dissolve Salts,” Mediterranean Journal of Social Science. 5(4), 300-310. Treagust, D. F., Mthernbu, Z. and Chandrasegaran, A. L. (2014). “Evaluation of the Predict-Observe-Explain Instructional Strategy to Enhance Students’ Understanding of Redox Reactions,” in Learning with Understanding in the Chemistry Classroom. (pp. 265-286). Dordrecht : Springer. White, R. and Gunstone, R. (2006). Probing Understanding (6 th ed). Eastbourne : CPI Antony Rowe.