กฎหมายอาญา
ลักษณะ11 ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ
เเละชื่อเสียง
คำนำ
E-BOOK เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาอาญา 2 ภาคความผิดทำ
ขึ้นเพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้สื่อเล่มนี้มีความน่าสนใจในเรื่องความผิดต่อ
เสรีภาพเเละชื่อเสียง การหมิ่นประมาท เปิดเผยความลับสื่อเล่มนี้มีเนื้อหา
เกี่ยวกับความรู้องค์ประกอบ มาตรา ความหมาย คำพิพากษาศาลฎีกา
ผู้จัดทำสื่อเล่มนี้หวังว่าผู้อ่าน นักศึกษาที่กำลังศึกษาวิชานี้จะได้รับประโยชน์
ไม่มากก็น้อย หากผิดพลาดประการใดผู้จัดทำขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
นางสาว ภัคจิรา แก้วลาย641081247
สารบัญ หน้า
เรื่อง 1-7
8-9
ความผิดต่อเสรีภาพ มาตรา 309-321
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2436/2534 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3856/2546 12-14
15-16
ความหมายความผิดเกี่ยวกับชื่อเสียง
18-20
การเปิดเผยความลับ มาตรา322-325
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12685/2558
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2520
ความผิดฐานหมิ่นประมาท มาตรา326-333
1
ความผิดต่อเสรีภาพ มาตรา 309-
321/1
มาตรา 309 "ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่ง
ใดโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สิน
ของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่ นหรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจ
ต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้นหรือจำยอมต่อสิ่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่
เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับถ้าความผิดตามวรรคแรก
ได้กระทำโดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป หรือได้
กระทำเพื่อให้ผู้ถูกข่มขืนใจทำ ถอน ทำให้เสียหาย หรือทำลายเอกสารสิทธิอย่างใด
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำ
ทั้งปรับถ้ากระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่หรือซ่องโจร ไม่ว่าอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้นจะมีอยู่
หรือไม่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่น
บาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท"
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
องค์ประกอบความผิด
(1) ผู้ใด
(2) ขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้
กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้
ถูกข่มขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่น หรือโดยใช้กำลังประทุษร้าย
(3)จนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้นหรือจำยอมต่อสิ่งนั้น
(4) เจตนา (องค์ประกอบภายใน)
การข่มขืนใจทำได้ 2 วิธี คือ
(1)โดยการทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือ
ทรัพย์สิน
คือ ไม่จำกัดวิธี อาจจะโดยการพูด เขียน หรือหลอกให้กลัวก็ได้
(2)โดยใช้กำลังประทุษร้าย
2
มาตรา 310 ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่หรือกระทำ
ด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก เป็นเหตุให้ผู้ถูก
หน่วงเหนี่ยวถูกกักขังหรือต้องปราศจากเสรีภาพใน
ร่างกายนั้นถึงแก่ควาตาย หรือรับอันตรายสาหัส ผู้
กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙๐
มาตรา ๒๙๗ หรือมาตรา ๒๙๘ นั้น
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราช
บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
มาตรา 310 ทวิ1 ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น
หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่ นปราศจากเสรีภาพใน
ร่างกาย และให้ผู้อื่นนั้นกระทำการใดให้แก่ผูกระทำหรือ
บุคคลอื่ นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกิน
หนึ่งแสนบาท
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๔ แห่งพระราช
บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
3
มาตรา 311 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถูก
หน่วงเหนี่ยว ถูกกักขัง หรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
หนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก
เป็นเหตุให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวถูกกักขัง
หรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายนั้นถึงแก่ความตาย
หรือรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติ
ไว้ในมาตรา ๒๙๑ หรือมาตรา ๓๐๐
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
มาตรา 312ผู้ใดเพื่อจะเอาคนลงเป็นทาส หรือให้มีฐานะคล้ายทาส
นำเข้าในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พามาจากที่ใด ซื้อ ขาย
จำหน่าย รับหรือหน่วงเหนี่ยวซึ่งบุคคลหนึ่งบุคคลใด
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
มาตรา ๓๑๒ ทวิ๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๓๑๐ ทวิ
หรือมาตรา๓๑๒ เป็นการกระทำต่อเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี
และปรับไม่เกินสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก หรือมาตรา ๓๑๐ ทวิ
หรือมาตรา ๓๑๒เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ
(๑) รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษ
จำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับไม่เกินสามแสนบาท
(๒) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต
หรือจำคุกตั้งแต่เจ็ดปี ถึงยี่สิบปี
(๓) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต
หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปี
4
มาตรา 313 4 ผู้ใดเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่
(๑) เอาตัวเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไป
(๒) เอาตัวบุคคลอายุกว่าสิบห้าปีไป โดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ
ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วย
ประการอื่ นใดหรือ
(๓) หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบุคคลใดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปี
ถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
หรือประหารชีวิต
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไป
ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูกกักขังนั้นรับอันตรายสาหัส
หรือเป็นการกระทำโดยทรมาน หรือโดยทารุณโหดร้าย
จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำนั้นรับอันตรายแก่กาย หรือจิตใจ
ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
ถ้าการกระทำความผิดนั้นเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว
หรือผู้ถูกกักขังนั้นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม
เติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
5
มาตรา 314 ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตามมาตรา 313 ต้องระวางโทษเช่น
เดียวกับตัวการในความผิดนั้น
มาตรา 315 5 ผู้ใดกระทำการเป็นคนกลาง โดยเรียก รับหรือยอมจะรับ
ทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างใดที่มิควรได้จากผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๓๑๓
หรือจากผู้ที่จะให้ค่าไถ่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามแสน
บาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม
เติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
มาตรา 316 ถ้าผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๓๑๓ มาตรา ๓๑๔
หรือมาตรา ๓๑๕ จัดให้ผู้ถูกเอาตัวไปผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูกกักขังได้รับเสรีภาพก่อน
ศาลชั้นต้นพิพากษา โดยผู้นั้นมิได้รับอันตรายสาหัสหรือตกอยู่ในภาวะอันใกล้จะเป็น
อันตรายต่อชีวิต ให้ลงโทษน้ อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ไม่น้ อยกว่ากึ่งหนึ่ง
มาตรา 317 6 ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุยัไม่เกินสิบห้าปีไปเสีย
จากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และ
ปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาทผู้ใดโดยทุจริตซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวเด็กซึ่งถูก
พรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับ ผู้พรากนั้นถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้
กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจารผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบ
ปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม
เติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
6
มาตรา 318 7 ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไป
เสีย
จากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วย
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสอง
แสนบาทผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวผู้เยาว์ซึ่งถูกพรากตามวรรค
แรกต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้นถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำ
เพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึง
สิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
มาตรา 319 8 ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไป
เสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล เพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร
โดยผู้เยาว์นั้นเต็มใจไปด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับ
ตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาทผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวผู้เยาว์
ซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมระ
มวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
7
มาตรา 320 9 ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้
อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด พาหรือส่ง
คนออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี หรือ
ปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการกระทำความผิด
ตามวรรคแรกได้กระทำเพื่ อให้ผู้ถูกพาหรือส่งไปนั้นตกอยู่ในอำนาจของผู้อื่ น
โดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือเพื่อละทิ้งให้เป็นคนอนาถา ผู้กระทำต้องระวาง
โทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
มาตรา 321 ความผิดตามมาตรา ๓๐๙ วรรคแรก มาตรา ๓๑๐ วรรคแรก
และ
มาตรา ๓๑๑ วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้
๓๒๑/๑ ๑๐ การกระทำความผิดตามมาตรา ๓๑๒ ตรี วรรคสอง และมาตรา
๓๑๗ หากเป็นการกระทำต่อเด็กอายุไม่เกินสิบสามปี ห้ามอ้างความไม่รู้อายุของ
เด็กเพื่อให้พ้นจากความผิดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกา
ความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 309 เป็นความผิดที่ต้องการผล คือ ผู้ถูก
ข่มขืนใจต้องกระทำการ ไม่กระทำการ หรือจำยอมต่อสิ่งใด อันเนื่องมาจากผล
ของความกลัวหรือจากการประทุษร้ายนั้นแต่ถ้าผลไม่เกิดก็ไม่เป็นความผิด
สำเร็จ เป็นได้แค่พยายามเท่านั้น
8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2436/2534 การที่จำเลยซึ่งโดยสารรถจักรยานยนต์ผู้เสีย
หายมายังไม่ถึงจุดหมายบอกให้ผู้เสียหายเลี้ยวรถกลับไปส่งที่เดิม เมื่อผู้เสียหายเลี้ยว
รถจำเลยกลับกระโดดลงจากรถแล้วบอกให้ผู้เสียหายหยุดรถ และเมื่อพวกจำเลยขับขี่รถ
จักรยานยนต์ตามมาบอกให้ยิง จำเลยก็จ้องปืนมาทางผู้เสียหายครั้นผู้เสียหายไม่
หยุดรถและขับรถหลบหนีไป จำเลยก็ยิงปืนขึ้นกรณีไม่ปรากฏเหตุผลอย่างไรที่จำเลยจะ
ต้องให้ผู้เสียหายหยุดรถจนถึงขนาดต้องใช้อาวุธปืนในการบังคับขู่เข็ญเช่นนั้นการกระทำ
ของจำเลยเป็นการข่มขืนใจให้ผู้เสียหายกระทำการโดยทำให้กลัวว่าจะเกิด
อันตรายต่อชีวิตร่างกายของผู้เสียหายอันเป็ นความผิดต่อเสรีภาพโดยมีอาวุธปื นตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสองแต่เมื่อผู้เสียหายไม่หยุดรถตามที่
จำเลยข่มขืนใจ จำเลยจึงมีความผิดเพียงขั้นพยายาม
9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3856/2546 การที่จำเลย
เป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์ให้ บ. นั่งซ้อนท้ายไปด้วยกัน และ
จำเลยจอดรถจักรยานยนต์ให้ บ. ลงจากรถไปและใช้อาวุธปืนขู่
บังคับผู้เสียหายทั้งสองให้ลงจากรถจักรยานยนต์โดยจำเลย
มิได้ห้ามปราม จึงถือได้ว่าจำเลยร่วมกระทำการข่มขืนใจผู้เสีย
หายทั้งสองให้กระทำการใดไม่กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่ง
ใดโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายเสรีภาพชื่อ
เสียงหรือทรัพย์สินของผู้เสียหายอันเป็นความผิดต่อเสรีภาพ
โดยมีอาวุธตามประมวณกฎหมายอาญา มาตรา309 วรรค
สอง แต่เมื่อผู้เสียหายทั้งสองไม่ยอมลงจากรถจักรยานยนต์
ตามที่ บ. ข่มขืนใจ จำเลยจึงมีความผิดเพียงขั้นพยายาม
10
ความผิดเกี่ยวกับชื่อเสียง
11
ความผิดเกี่ยวกับชื่อเสียง คือ
ความผิดเกี่ยวกับชื่อเสียงนั้นเป็นความผิดที่กฎหมายอาญามุ่ง
ประสงค์จะให้ความคุ้มครองชื่อเสียงของบุคคลไม่ให้ใครมาทำให้
เสียหายเพราะชื่อเสียงถือเป็นเกียรติยศที่ได้รับการยอมรับจาก
คนในสังคมหากปล่อยให้ผู้ใดผู้หนึ่งมากระทำการ
ใส่ความหมายมาดูหมิ่นก็จะนำมาซึ่งความไม่พอใจและโกรธแค้น
ของผู้เสียหายอันจะนำมาซึ่งความไม่ปกติสุขของสังคม ดังนั้นจึง
ต้องกำหนดให้การกระทำให้บุคคล
อื่นเสียชื่อเสียงนั้นมีความผิดและโทษทางอาญา เพื่อที่จะได้เป็นการ
ยับยั้งไม่ให้มีการกระทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงเกิดขึ้น ความผิดเกี่ยว
กับชื่อเสียงนี้เป็นความผิดที่เกิดขึ้นได้ง่าย และเป็นความผิดที่
กฎหมายกำหนด (mala prohibita) และไม่ได้ก่อให้
เกิดภยันตรายต่อสังคมโดยรวมกฎหมายจึงกำหนดให้ความผิดใน
หมวนี้เป็นความผิดอันยอมได้
12
ประเภทของความผิดเกี่ยวกับชื่อเสียงโดยที่ควมผิด
ที่เกี่ยวกับชื่่อเสียงสามารถ
แบ่งออกเป็ น 2 ประเภทหลักๆ
ความผิดฐานหมิ่นประมาท
ความผิดฐานดูหมิ่น
ความผิดฐานเปิดเผยความลับมาตรา 322-325
การเปิดเผยความลับ คือ
การเปิดเผยความลับเป็นความผิดอาญาที่ผู้กระทำ
เปิดเผยความลับของผู้อื่ นหรือนำความลับของผู้อื่ นไปใช้เพื่ อ
ประโยชน์ของตนหรือบุคคลที่สาม
13
มาตรา 322 ผู้ใดเปิดผนึกหรือเอาจดหมาย โทรเลข
หรือเอกสารใด ๆซึ่งปิดผนึกของผู้อื่นไป เพื่อล่วงรู้
ข้อความก็ดี เพื่อนำข้อความในจดหมายโทรเลข
หรือเอกสารเช่นว่านั้นออกเปิดเผยก็ดี ถ้าการกระทำ
นั้นน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่น
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 323 ผู้ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้
อื่ นโดยเหตุที่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่โดยเหตุที่
ประกอบอาชีพเป็นแพทย์ เภสัชกร คนจำหน่ายยา
นางผดุงครรภ์ ผู้พยาบาล นักบวช หมอความ
ทนายความ หรือผู้สอบบัญชีหรือโดยเหตุที่เป็นผู้ช่วย
ในการประกอบอาชีพนั้นแล้วเปิดเผยความลับนั้นใน
ประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่
เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้รับการศึกษาอบรมในอาชีพดังกล่าวในวรรคแรก
เปิดเผยความลับของผู้อื่น อันตนได้ล่วงรู้หรือได้มา
ในการศึกษาอบรมนั้น ในประการที่น่าจะเกิดความ
เสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
14
มาตรา 324 ผู้ใดโดยเหตุที่ตนมีตำแหน่งหน้าที่วิชาชีพหรือ
อาชีพอันเป็นที่ไว้วางใจ ล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่นเกี่ยวกับ
อุตสาหกรรม การค้นพบ หรือการนิมิตในวิทยาศาสตร์
เปิดเผยหรือใช้ความลับนั้นเพื่ อประโยชน์ตนเองหรือผู้อื่ น
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไข
เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
15
A DOODLE A DAY
คำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12685/2558
การขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความลับซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดตาม
ป.อ
มาตรา 338 หมายความว่า การขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยเหตุการณ์
ข้อเท็จจริงที่ไม่ประจักษ์แก่บุคคลทั่วไป และเป็นข้อเท็จจริงที่เจ้าของ
ความลับประสงค์จะปกปิดไม่ให้บุคคลอื่นรู้ ดังนี้ ความลับจึงไม่
จำเป็นต้องเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ชอบด้วย
กฎหมายหรือผิดศีลธรรมอันดีของประชาชน หากเป็นเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้นจริงและเจ้าของข้อเท็จจริงประสงค์จะปกปิดไม่ให้บุคคลอื่ นรู้
ก็ถือว่าเป็นความลับแล้ว เมื่อฎีกาของจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่า
จำเลยมีภริยาอยู่แล้ว แต่จำเลยกับผู้เสียหายสมัครใจมีความ
สัมพันธ์ฉันชู้สาวกันมาประมาณ 1 ปี ข้อเท็จจริงที่จำเลยกับผู้เสีย
หายมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกันจึงเป็ นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริงเมื่อ
เป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรมอันดีของประชาชน แสดงว่าผู้เสียหาย
ประสงค์จะปกปิ ดไม่ใหบุคคลอื่นโดยเฉพาะภริยาจำเลยรู้เรื่ องดัง
กล่าว
เรื่องนั้นจึงเป็นความลับของผู้เสียหาย การที่จำเลยขู่เข็ญผู้เสียหาย
ว่าหากผู้เสียหายไม่นำเงินจำนวน 20,000 บาท มาให้จำเลย จำเลย
จะนำเรื่องความสัมพันธ์ฉันชู้สาวระหว่างจำเลยซึ่งมีครอบครัวแล้ว
กับผู้เสียหายไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่น จึงเป็นการขู่เข็ญว่าจะเปิดเผย
ความลับของผู้เสียหาย ครบองค์ประกอบความผิดตาม
ป.อ. มาตรา 338
16
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2520
ความผิดฐานเปิดเผยความลับซึ่งเป็ นความผิดอันยอมความ
ได้เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหาย ได้ตกลงยอมความกับจำเลยเป็นหนังสือไว้
ในชั้นสอบสวน และในชั้นพิจารณาตัวผู้เสียหายเองก็เบิกความรับว่าได้
ตกลงยอมความกับจำเลยจริง ดังนี้เป็นการยอมความกันโดยถูกต้อง
ตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
39(2)แล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีอาญามาฟ้ องจึงเป็นอันระงับไป
17
ตัวอย่างมาตรา 322
จำเลยฎีกาข้อสุดท้ายว่า โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา322 และมาตรา 365 โจทก์นำสืบไม่ได้ว่า
จำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 322 ศาล
ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ไม่ได้ เห็นว่โจทก์
บรรยายฟ้ องไว้แล้วว่า วันเกิดเหตุเวลากลางคืนก่อนเที่ยง จำเลยได้
บังอาจบุกรุกเข้าไปในเคหสถานที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์
ของนางสาวทอง ผู้เสียหาย โดยไม่ด้รับอนุญาตแล้วบังอาจกระทำ
อนาจารผู้เสียหาย โดยใช้อาวุธมีดขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใชกำลัง
ประทุษร้าย และโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์บรรยายฟ้
อง ทั้งโจทกก็ได้ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 365 ด้วย ที่โจทก์อ้างมาตรา322 แทนที่จะเป็นมาตรา 362
จึงเป็นกรณีโจทก์อ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตาม
ฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
อาญา มาตรา192 วรรคห้า
18
ความผิดฐานหมิ่นประมาท
มาตรา 326-333
หมิ่นประมาท คือการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม
อันประการจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูก
เกลียดชัง
มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม
โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือ
ถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
19
องค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาท
-ผู้ใด
-ใส่ความ
-ผู้อื่ น
-ต่อบุคคลที่สาม
-โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น
หรือถูกเกลียดชัง
-เจตนา(องค์ประกอบภายใน) มาตรา 326 "ผู้ใดใส่ความผู้
อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อ
เสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน
หมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับ
ไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ"
20
ความผิดฐานหมิ่นประมาทคนตาย
มาตรา 327 ผู้ใดใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สามและการใส่ความ
นั้น น่าจะเป็นเหตุให้ บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียงถูก
ดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิด
ฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 326นั้น
องค์ประกอบความผิดประมาทต่อคนตาย
- ใส่ความ
- ผู้ตาย
- ต่อบุคคลที่สาม
- การใส่ความนั้น น่าจะเป็นเหตุให้ บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตาย
เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังเจตนาความผิดในมาตรานี้ เป็น
ความผิดที่ผู้ที่ถูกหมิ่นประมาทตายไปแล้ว(ตายก่อนจะถูกหมิ่นประมาท) แต่
การหมิ่นประมาทคนที่ตายไปแล้วนั้นทำให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่เสียชื่อเสียง ถูก
ดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง
บรรณานุกรม
www.sites.google.con
www.wichianl.spot.con
www.satit.up.ac.th
www.Thai-cri.spot.con
www.athiwatlawyer.con
www.drthawip.com