The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

+++รายงานประจำปีการศึกษา 2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Developer Software, 2024-03-04 23:36:08

+++รายงานประจำปีการศึกษา 2566

+++รายงานประจำปีการศึกษา 2566

รายงานประจำปี 2566 | 9 9 รางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจัย ประจ าปีงบประมาณ 2567 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภาสกร ศรีทิพย์สุโข อาจารย์ประจำภาควิชา กุมารเวชศาสตร์ และคณะวิจัย ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัล ผลงานวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2567 (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์) สานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จากผลงานวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลของ วัคซีนโควิด 19 ในประเทศไทย: การศึกษาในสถานการณ์จริง (ปีที่ 1) (COVID-1 9 Vaccine Effectiveness in Thailand: a Real World Study (1 st Year)) รางวัลในงานประชุม 45th RCOST & 43rd ASEAN OA Meeting with Guest Nation from Australia (AOA) ศาสตราจารย์ นายแพทย์บัญชา ชื่นชูจิตต์ อาจารย์ประจำ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ ได้รับรางวัลสมาชิกดีเด่นด้านวิชาการ ของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ประจำปี 2566 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บุญชนะ พงษ์เจริญ ได้รับ ร า ง ว ัล Best Research Award 2 0 2 3 จ า ก ผลงานวิจัยเรื่อง Comparison of Functional Recovery Between Unicompartmental and Total Knee Arthroplasty: A Randomized Controlled Trial WORLD’S TOP 2% SCIENTISTS ปี 2023 ศาสตราจารย์ นายแพทย์อนุชา อภิสารธนรักษ์ (ภาควิชา อายุรศาสตร์) และ ศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงอรุณพร อิฐรัตน์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการแพทย์ แผนไทยประยุกต์ ติดอันดับ World’s Top 2% Scientists ปี 2023 (หรือ A list of top 2 percent of the world scientists) ประเภท Single recent year data (คิดเฉพาะ ผลงานปี ค.ศ. 2022) โดยมีฐานข้อมูลผลงานตีพิมพ์และ ถูกอ้างอิงอันดับต้นของโลก จัดโดย มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา


100 | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รางวัลการน าเสนอผลงานนวัตกรรม ในงาน Seoul International Invention Fair 2023 (SIIF 2023) รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุดาทิพย์ โฆสิตะมงคล และคณะ ได้รับรางวัลเหรียญทอง จากนวัตกรรมเรื่องการออกแบบ เครื่องมือตรวจวัดร้อยละของโปรตีนในน้ำนมแม่ (Detector design of percentage of protein in breast milk) ในงาน Seoul International Invention Fair 2023 (SIIF 2023) รางวัลการน าเสนอผลงานวิจัย ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ “การแพทย์แผนไทยและสาธารณสุขวิจัย ครั้งที่ 4” นายวิชกร วงษ์สุวรรณ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานภาคบรรยาย ระดับดีเยี่ยม จาก ผลงานวิจัย เรื่อง คุณสมบัติการเป็นพรีไบโอติกของยาไทยกลุ่ม บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อหลังผ่านแบบจำลองการย่อย ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ “การแพทย์แผนไทยและ สาธารณสุขวิจัย ครั้งที่ 4” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 ณ โรงแรมคริสตัล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นระดับส่วนงาน ประเภทอาจารย์ ประจ าปี 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. แพทย์แผนไทยประยุกต์ภูริทัต กนกกังสดาล ได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นระดับส่วน งาน ประเภทอาจารย์ ประจำปี 2566


รายงานประจำปี 2566 | 101 รางวัลการน าเสนอผลงานวิจัย ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านการวิจัยของนักศึกษาแพทย์ (International Medical Student Research Conference : IMRC 2023) ประเภท Poster Presentation นายภ ีมพ ล สมรพ ิท ักษ ์กุล และ นางสาววริศรา วัชราภรณ์ ได้รับรางวัล ช น ะ เล ิศ จ าก ผ ล งาน ว ิจ ัย เรื่อ ง Increased Intervals between pediatric tracheostomy tube changes: Is it a safe technique? นายศิรชัช หาญวิวัฒนกูล นางสาวอิสรีย์ เหล่านิพนธ์ และ นายวิรัลพัชร วิไลชนม์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จ า ก ผ ล งา น ว ิจ ัย เร ื่อ ง Comparative Study on the Effectiveness and Safety of 0.13% CBD Acne Cream with 2.5% Benzoyl Peroxide versus 1% Standardized Clindamycin Gel with 2.5% Benzoyl Peroxide for Treatment of Acne Vulgaris : A Randomized Controlled Trial นายศิรชัช หาญวิวัฒนกูล นายแพทย์รุจ นานา และนางสาวพรฑิตา แซ่หลี่ ได้รับรางวัล Popular vote จากผลงาน วิจัย เรื่อง Antibiotic selfmedicating, adverse outcomes, and associated factors among Thai medical students


102 | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และ การแต่งตั้งให้ด ารงต าแหน่งส าคัญ การได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก "มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก" ประจ าปี 2565 ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ประกิตพันธุ์ ทมทิตชงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ก้องเกียรติ กูณฑ์กันทรากร อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่ง ช้างเผือก "มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก" ประจำปี 2565 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2565 การโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น "ราชบัณฑิต" ศาสตราจารย์ นายแพทย์ก้องเกียรติ กูณฑ์กันทรากร ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น "ราชบัณฑิต" ประเภทวิชา แพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ สาขาวิชาอายุรศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์ Fellowship of IDSA และ องค์ปาฐกเกียรติยศ “สมพนธ์ บุณยคุปต์” ศาสตราจารย์ นายแพทย์อนุชา อภิสารธนรักษ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Fellowship of IDSA จาก IDAS (Infectious Diseases Society of America) และเป็นองค์ปาฐกเกียรติยศ “สมพนธ์ บุณยคุปต์” จากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยประจำปี 2566 ใน งานประชุมประจำปี ครั้งที่ 49 “Shaping Knowledge Improving Practice” วันที่ 20-23 ตุลาคม 2566


รายงานประจำปี 2566 | 103 ผู้ตรวจรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจ าปี 2566 (TQA New Assessor Training 2023) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารี เทเลอร์ สาขาปรสิตวิทยา สถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศิริภัทร เกียรติพันธุ์สดใส ภาควิชาศัลยศาสตร์ ประธานชมรมโรคพาร์กินสันไทย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ประวีณ โล่ห์เลขา ภาควิชา อายุรศาสตร์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประธานชมรมโรค พาร์กินสันไทย ในวาระ พ.ศ. 2566-2568 จาก ชมรมโรคพาร์กิน สันไทย (Thai Parkinson's Disease and Movement Disorders Society: Thai PDMDS)


104 | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรและนักศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรและนักศึกษา โดยการให้ทุนสนับสนุนการศึกษาต่อ การเขียน ตำรา/สื่อการสอน และรางวัลการตีพิมพ์บทความวิชาการให้กับบุคลากร และสนับสนุนทุนให้กับนักศึกษาไปนำประชุม อบรม สัมมนา และการนำเสนอผลงานทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังให้การดูแลช่วยเหลือนักศึกษาที่ประสบปัญหาด้าน การเงินทุกปีการศึกษา บุคลากร 1. ทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาโท ปริญญาเอก วุฒิบัตร หรือประกาศนียบัตรภายในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 8 ทุน 2. ทุนการเขียนตำรา/สื่อการสอน (ทุนจากคณะแพทยศาสตร์) สำหรับสื่อการสอน จำนวน 2 ทุน และทุนการเขียน ตำรา จำนวน 10 ทุน 3. ทุนนำเสนอผลงานวิชาการ/เพิ่มพูนความรู้ต่างประเทศ จำนวน 24 ทุน 4. รางวัลการตีพิมพ์บทความวิชาการ จำนวน 11 รางวัล 5. โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายสร้างเสริมสุขภาพสำหรับบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ ปี 2566 6. การตรวจสุขภาพบุคลากรกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจากการทำงาน นักศึกษา 1. จัดสถานที่สำหรับให้นักศึกษาได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง 2. ส่งเสริมศักยภาพของนักศึกษาตามความถนัดและความสนใจของนักศึกษา 3. จัดกิจกรรมผู้บริหารพบนักศึกษาขึ้นทุกปีการศึกษา เพื่อรับฟังปัญหา ทำความเข้าใจและตอบสนองความต้องการ ของนักศึกษา 4. ส่งเสริมสุขภาพนักศึกษา โดยให้นักศึกษาสามารถเข้าใช้ห้องออกกำลังกายของคณะพยาบาลศาสตร์โดยไม่เสีย ค่าใช้จ่ายใด ๆ 5. คลินิกสบายใจ MEDTU STUDENT WELL-BEING CENTER บริการให้คำปรึกษาและดูแลสุขภาพใจ สำหรับ นักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทีมอาจารย์จิตแพทย์ และนักจิตวิทยา ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ 6. จัดสรรทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 102 ทุน เป็นจำนวนเงิน 4,464,654 บาท ระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 25 ทุน 7. จัดสรรทุนสนับสนุนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาไปเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 9 ทุน และทุนผู้ช่วยสอน จำนวน 2 ทุน 8. ปลูกฝังให้นักศึกษามีจิตอาสา ทำประโยชน์ต่อสาธารณะ 9. สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การปลูกฝังจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ และความ ภาคภูมิใจในสถาบัน


รายงานประจำปี 2566 | 105


106 | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์คูคต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ก่อตั้ง ศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์คูคต เพื่อดำเนินโครงการศูนย์ ฝึกปฏิบัติงานชุมชนเชิงบูรณาการ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เพื่อให้บริการแก่ประชาชนที่อยู่ใน ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ในการดูแลสุขภาพของประชาชน สนับสนุนการเรียนการสอนและงานวิจัย โดยให้บริการดูแลสุขภาพใน สถานบริการและชุมชน ครอบคลุมการให้การบริการตรวจรักษาพยาบาล การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และ การฟื้นฟูสภาพ อาทิเช่น การให้บริการตรวจรักษาโรคเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases, NCD) คลินิกคัดกรอง โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ (Acute Respiratory Infection: ARI) และ Covid-19 คลินิกฝากครรภ์ (Antenatal care: ANC) คลินิกวัคซีนเด็ก (Well baby) คลีนิคอัลตราซาวด์คลินิกตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คลินิกโรคติดเชื้อเอชไอวี ในโครงการเอดส์แห่งชาติ(National AIDS Program: NAP) คลินิกตรวจตาเบาหวาน ศูนย์ไตเทียมและคลินิก แพทย์แผนไทยประยุกต์ เน้นการใช้ชุมชนเป็นฐาน ในการเรียนรู้ และเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนในด้านการดูแล สุขภาพแบบองค์รวม ปัจจุบัน ศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์คูคต ได้เปิดให้บริการศูนย์ไตเทียมแพทย์ธรรมศาสตร์ และศูนย์ตรวจสุขภาพ การนอนหลับ (Sleep Lab) สำหรับผู้ที่ต้องการสังเกตการทำงานของร่างกายขณะนอนหลับ ผลการตรวจสามารถ วินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของโรค เพื่อนำมาพิจารณาวางแผนการรักษาที่ถูกต้องต่อไป


รายงานประจำปี 2566 | 107 ศูนย์วิจัยทางคลินิก (Clinical Research Center: CRC) ศูนย์วิจัยทางคลินิก (Clinical Research Center: CRC) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2563 เพื่อให้บริการงานวิจัยทางคลินิก ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลอย่างเต็มรูปแบบ โดยแบ่งเป็น 3 งาน ได้แก่ 1. งานทดลองวิจัยทางคลินิก 2. งานสนับสนุนการวิจัยทางคลินิก 3. งานคลินิกวิจัย ผลการด าเนินงานของศูนย์วิจัยทางคลินิก (Clinical Research Center: CRC) ชื่อโครงการ ผลการดำเนินงาน การศึกษาความเป็นไปได้ของ โครงการวิจัยทางคลินิก (Feasibility Study) จำนวน 14 โครงการ และได้รับการ Awarded จำนวน 8 โครงการ ได้แก่ Heamatology (1 โครงการ) Neurology (1 โครงการ) Rheumatology ( 1 โครงการ) Dematology (1 โครงการ) Surgery (1 โครงการ) Endocrinology ( 1 โครงการ) Nephrology (1 โครงการ) Infectious disease (1 โครงการ) โครงการการให้บริการทบทวน Clinical Trial Agreement; CTA และ Material Transfer Agreement; MTA CTA จำนวน 5 โครงการ และ MTA จำนวน 6 โครงการ โครงการวิจัยที่ขอใช้บริการ CRC ประเภท Sponsor Initiated Trials; SIT มีจำนวนโครงการที่ขอใช้บริการ ทั้งหมด 22 โครงการ (อยู่ระหว่างดำเนินการวิจัย) โดยมีทั้งที่ขอใช้บริการแยก เป็นรายกิจกรรม รายบุคคล และรายคลินิกวิจัย และมีโครงการที่ได้ปิดโครงการ เรียบร้อยแล้วจำนวน 6 โครงการ ประเภท Investigator Initiated Trials; IIT มีโครงการที่กำลังดำเนินการวิจัย อยู่จำนวน 3 โครงการ


108 | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส านักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สาขาแพทยศาสตร์) คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สาขาแพทยศาสตร์) : Human Ethics Committee of Thammasat University (Medicine) หรือเรียกย่อว่า “คณะกรรมการฯ” หรือ “EC” ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการด้าน จริยธรรมการวิจัยในคน พิจารณาให้ความเห็นชอบเชิงจริยธรรมแก่โครงการวิจัยที่ดำเนินการโดยบุคลากรคณะ แพทยศาสตร์ แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ใช้ทุน นักศึกษาที่เรียนในหลักสูตรของคณะแพทยศาสตร์ อาจารย์ที่สอนใน หลักสูตรคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือโครงการวิจัยอื่นที่มีการร้องขอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาโดย ที่โครงการวิจัยทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดได้ดำเนินการในคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ศูนย์การแพทย์ธรรมศาสตร์คูคต ในกรณีที่โครงการวิจัยไม่ได้ดำเนินการในสถานที่ดังกล่าวให้ผู้วิจัยยื่นให้คณะกรรมการ จริยธรรมการวิจัยประจำสถานที่ที่ดำเนินการพิจารณา ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษา จริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2544 หมวด 6 การศึกษาและการทดลองในมนุษย์ ลงประกาศในราช กิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 118 ตอน 12 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2544 ในปี พ.ศ. 2562 - 2566 สำนักงานฯ มีโครงการที่ขอรับการพิจารณาครั้งแรก จำนวน 1,570 โครงการ และมีโครงการที่ รายงานข้อมูลภายหลังการได้รับการรับรอง จำนวน 2,780 โครงการ


รายงานประจำปี 2566 | 109 สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สาขาแพทยศาสตร์) ได้รับการรับรอง มาตรฐานการดำเนินงานระดับนานาชาติจาก The Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review - Forum for Ethical Review Committees in the Asian and Western Pacific region (SIDCER-FERCAP) โดยมี การตรวจประเมินทุก 4 ปี เริ่มตั้งแต่ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนและระดับชาติโดย National Ethics Committee Accreditation System of Thailand (NECAST) จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2565 อีกทั้งยังได้รับการยอมรับคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคนที่พิจารณา โครงการวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับยา จาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2557 จนถึงปัจจุบัน


110 | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ การบริการ คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ เปิดให้บริการตรวจ หัตถบำบัด ประคบสมุนไพร/เฉพาะที่อบสมุนไพร ยาสมุนไพร มารดาหลังคลอด และนวดสุขภาพ ผลิตภัณฑ์ยา


รายงานประจำปี 2566 | 111 ศูนย์ฝึกทักษะการผ่าตัด (Surgical Skill And Cadaveric Training Center) ศูนย์ฝึกทักษะการผ่าตัด คณะแพทยศาสตร์ (Surgical Skill And Cadaveric Training Center) ตั้งอยู่ชั้น 5 อาคาร ศูนย์ฝึกทักษะทางการแพทย์ธรรมศาสตร์ (TMEd) และเปิดให้บริการสำหรับการเรียน การสอนและการทำวิจัยทั้งจาก ร่างอาจารย์ใหญ่และสัตว์ทดลอง โดยศูนย์ฯ มีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้ 1. ดูแลร่างและตัดชิ้นส่วนร่าง (ได้รับอนุญาตให้ตัดชิ้นส่วนได้) 2. จัดทำบัญชีคงคลัง (Stock) ร่าง/ชิ้นส่วนร่าง 3. ดำเนินการอำนวยความสะดวกในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) 4. จัดทำการฌาปนกิจร่างอาจารย์ใหญ่ประจำปี


112 | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน่วยห้องปฏิบัติการวิจัยกลาง หน่วยห้องปฏิบัติการวิจัยกลาง คณะแพทยศาสตร์ รับบริการงานตรวจวิเคราะห์ สำหรับนักวิจัยทั้งภายในและหน่วยงาน ภายนอกที่มาขอใช้บริการ ทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ 1. งานตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารพันธุกรรมและโปรตีน โดยเทคนิค Real time PCR และ Western blot analysis 2. งานตรวจวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรรศน์ Bright field microscopy, Phase contrast microscopyและ Inverted fluorescent microscopy 3. งานตรวจวิเคราะห์สมุนไพรและอาหาร โดยใช้ HPLC, GC-MS, Microplate reader และ AAS 4. งานตรวจวิเคราะห์ทางคลินิกด้วยเทคนิค Enzyme-liked immunosorbent assay (ELISA) เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ 1. เครื่องวิเคราะห์สารแบบโครมาโตกราฟฟีของเหลว (HPLC) สำหรับให้บริการตรวจวิเคราะห์ แยกสารและหาชนิดและปริมาณสารต่างๆ ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยสามารถ ใช้ในงานต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง เช่น ในการวิเคราะห์ทางอาหาร ยา สมุนไพร blood urine เป็นต้น 2. เครื่องแก๊สโครมาโตกราฟพร้อมตรวจวัดแบบวิเคราะห์มวล (GC-MS) สำหรับตรวจวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของสารที่สนใจในตัวอย่างได้ในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยลักษณะของสาร หรือตัวอย่างที่จะวิเคราะห์จะต้องมีคุณสมบัติในการระเหยกลายเป็นไอได้ง่าย เช่น แอลกอฮอล์ น้ำมันหอมระเหย สารพิษ ตกค้างในผัก สารในยาขับปัสสาวะ เป็นต้น 3. เครื่องวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักในสารละลาย (Atomic absorption spectrophotometer) สำหรับตรวจวิเคราะห์ หาธาตุต่างๆ ได้มากกว่า 67 ธาตุ ทั้งในเชิงวิเคราะห์คุณภาพและวิเคราะห์ปริมาณ สามารถใช้งาน หลายๆ ด้าน เช่น การวิเคราะห์ทางการแพทย์ สมุนไพร การวิเคราะห์ทางโลหิตวิทยา การวิเคราะห์เพื่อการเกษตร เป็นต้น 4. เครื่องวิเคราะห์สารปรอทอัตโนมัติ (Mercury analyzer) สำหรับตรวจวิเคราะห์ หาปริมาณของสารปรอทในตัวอย่างที่สนใจ


รายงานประจำปี 2566 | 113 ห้องปฏิบัติการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ ได้รับการรับรองความปลอดภัยทางชีวภาพระดับ 2 (BSL 2) เพื่อรองรับ การทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจุลชีพและงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558 โดยผ่าน การประเมินจากคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประจำทุกปี มีจำนวน ทั้งหมด 5 ห้อง ดังนี้ ห้อง ระยะเวลาการรับรอง ประเภท 4501 2564 - ปัจจุบัน Bacteria/Cell culture 4506 2565 - ปัจจุบัน Cell culture 4520 2565 – ปัจจุบัน Parasite & Bacteria 4804 2562 – ปัจจุบัน Cell culture & Bacteria 4839 2564 – ปัจจุบัน Stem cell


114 | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สื่อสิ่งพิมพ์ของคณะ วารสาร ASIAN MEDICAL JOURNAL AND ALTERNATIVE MEDICINE (AMJAM) วารสาร AMJAM เป็นวารสารออนไลน์ (Open Access Journal) ตีพิมพ์บทความหลากลายสาขาวิชา เช่น Health Science, Medicine และ Alternative Medicines มี Editorial BOARD เป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศที่มี ชื่อเสียง ปัจจุบัน วารสาร AMJAM อยู่ในฐานข้อมูลของ TCI ระดับ 2 ในปี 2565 วารสาร AMJAM ได้รับการตีพิมพ์ จำนวน 4 ฉบับ มีบทความที่ตีพิมพ์ ปี 2563-2563 จำนวน 182 บทความ วารสาร Eye South East Asia (EyeSEA) ปี 2563-2566 มีบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Eye South East Asia (EyeSEA) จำนวน 80 บทความ


รายงานประจำปี 2566 | 115 จุลสารแพทย์ธรรมศาสตร์ จุลสารแพทย์ธรรมศาสตร์ จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ข่าวสาร เรื่องน่ารู้ และกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แก่อาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ศิษย์เก่าและผู้สนใจทั่วไป โดยจะตีพิมพ์ปีละ 4 ฉบับ


116 | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต าราของคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ พรีไบโอติก: ฟังก์ชันนัลโอลิโกแซ็กคาไรด์ (พิมพ์ครั้งที่ 2) รองศาสตราจารย์ ดร.จารุณี ควรพิบูลย์ การไหลเวียนเลือดจุลภาค (Microcirculation) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภัสนันท์ เดือนศักดิ์ แบคทีเรียดื้อยา: เชื้อสแตฟฟิโลคอกคัส ออเรียสที่ดื้อยาเมธิซิลลินและเชื้อเอนเทอ โรแบคเทอราเลสที่ผลิตเอนไซม์เบต้าแลคตาเมสชนิดฤทธิ์ขยาย รองศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี คอนโด เวชปฏิบัติทางกุมารเวชศาสตร์ เล่ม 1 (Clinical Pratice in Pediatrics) รองศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงศริยา ประจักษ์ธรรม รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอิสราภา ชื่นสุวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงขนิษฐา คูศิวิไลส์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุดาทิพย์ ผาติชีพ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์บุญชู ศิริจงกลทอง


รายงานประจำปี 2566 | 117 ตราศัลยศาสตร์ธรรมศาสตร์ เล่ม 3 (Thammasat Surgery III) รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อมรพล กันเลิศ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระยุทธ โถวประเสริฐ จุลชีพก่อโรคในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ (Human Gastrointestinal Pathogen) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรพรรณ สอนเชื้อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์พลวัฒน์ ติ่งเพ็ชร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศกร มาตย์วิเศษ ต าราอายุรศาสตร์ทันยุค (Cureent Update in Internal Medicine) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ศิษฏ์ ศิรมลพิวัฒน์ อาจารย์ แพทย์หญิงลัลธริมา ภู่พัฒน์ อาจารย์ นายแพทย์พีรดนย์ วิภาตะวัต อาจารย์ นายแพทย์ปัณฑ์ชนิต วาณิชเศรษฐกุล อาจารย์ แพทย์หญิงสุทธิยา อนุมาศ


พิมพ์ที่: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พ.ศ. 2567 โทรศัพท์ 0-2564-3104 ถึง 6 โทรสาร 0-2564-3119 http://www.thammasatprintinghouse.com


Click to View FlipBook Version