รายงานการปฏิบัติกิจกรรม การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) Professional Learning Community ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โดย สมาชิกในกลุ่ม PLC ได้แก่ 1. นางบุษยมาศ อันแสน ทำหน้าที่เป็น ประธาน 2. นางชณิดา โคลงชัย ทำหน้าที่เป็น สมาชิกและเลขานุการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ กองการศึกษา เทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง
การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) Professional Learning Community 1. หลักการและเหตุผล ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ตาม หมวด 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ที่มุ่งเน้นให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานสากลที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง มีความพร้อมและเข้มแข็งในการเตรียมบุคลากรใหม่ และการพัฒนาบุคลากรประจำการอย่างต่อเนื่องให้เทียบเคียงมาตรฐานสากล โดยรมต.ศึกษาธิการ ได้มุ่งหวังให้ ครูสามารถพัฒนาตนเองได้ตรงตามศักยภาพ สามารถนำความรู้จากการอบรมไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการ ประกอบอาชีพครู อีกทั้งเป็นการพัฒนาครูเพื่อเชื่อมโยงกับวิทยฐานะ ประกอบกับการพัฒนาให้เป็นไปตาม คุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อรองรับการประเมินภายนอก และนำมาใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาตาม ความมุ่งหวังของการจัดการศึกษาแห่งชาติ 2. ที่มาและความสำคัญ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ ที่ ศธ ๐๒๐๖.๓/ว. ๒๑ ลงวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เรื่องการกำหนด ชั่วโมงการปฏิบัติงานและการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ซึ่งการขอมีวิทยฐานะครู ชำนาญการหรือขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องมีชั่วโมงการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทาง วิชาชีพในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง จึงจะสามารถยื่นคำขอรับการประเมินวิทยฐานะดังกล่าวได้ และจาก ประสบการณ์การสอนของครูในกลุ่มพบว่า ยังมีปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนอีกหลายปัญหาที่ต้องการ แก้ไขและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน 3. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อให้ครูพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยแสวงหาความรู้และเทคนิควิธีใหม่ ๆ นำมาใช้ในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาของผู้เรียน 2.2 เพื่อให้ครูเปิดใจมากขึ้น ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ใจกว้าง และยอมรับการเปลี่ยนแปลง 2.3 เพื่อให้ครูสามารถนำชั่วโมงการปฏิบัติกิจกรรมการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ไปใช้ ในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะได้ 2.4 เพื่อให้ครูมีผลงานการสร้าง สื่อ นวัตกรรม เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ หรือการใช้เทคโนโลยีใน การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ในการจัดการเรียนการสอน 4. ระยะเวลาดำเนินงาน/กิจกรรม 15 ธันวาคม 2565 – 25 มีนาคม 2566 5. สถานที่ดำเนินงาน/กิจกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ
6. ขั้นตอน/วิธีการดำเนินกิจกรรม 6.1 รวมกลุ่มคณะครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความประสงค์เข้าร่วมปฏิบัติ กิจกรรมการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ดังนี้ ที่ ชื่อ - นามสกุล สอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้น ทำหน้าที่เป็น 1 นางบุษยมาศ อันแสน ป. 5 และ 6 ประธาน 2 นางชณิดา โคลงชัย ป.5 สมาชิกและเลขานุการ 6.2 คณะครูในกลุ่มร่วมกันค้นหาและเสนอปัญหาหรือความต้องการในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ - ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน - ปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนของครู หรือเทคนิควิธีการสอนที่ครูควรพัฒนา 6.3 เลือกปัญหาเพียง 1 ปัญหาโดยการพิจารณาร่วมกัน 6.4 ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหา ดังนี้ - เรื่องเล่าเร้าพลัง/บอกเล่าประสบการณ์ที่แก้ปัญหาได้สำเร็จ - ค้นหาตัวอย่าง/รูปแบบที่ประสบความสำเร็จ - ร่วมตัดสินใจเลือกรูปแบบ/วิธีการ/นวัตกรรมในการแก้ปัญหา 6.5 ออกแบบกิจกรรมการแก้ปัญหา โดยการออกแบบกิจกรรมตามวิธีการ/นวัตกรรมที่กลุ่มเลือก 6.6 แลกเปลี่ยนเสนอแนะ โดยการนำเสนอกิจกรรมการแก้ปัญหา ให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีประสบการณ์ ให้ข้อเสนอแนะ 6.7 นำสู่การปฏิบัติ/สังเกตการณ์สอน 1) นำกิจกรรมไปใช้ในการแก้ปัญหา 2) ผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมสังเกตในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น การเยี่ยมชั้นเรียน สังเกต การสอน เป็นต้น 6.8 สะท้อนผล 1) สรุปการนำรูปแบบ/วิธีการ ในการนำไปแก้ปัญหา 2) อภิปรายผลการแก้ปัญหา เสนอแนะแนวทางในการพัฒนา 6.9 คณะครูในกลุ่มร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์การสอนวิชาคณิตศาสตร์ในภาคเรียนที่ผ่านมา เกี่ยวกับ - วิธีการจัดการเรียนการสอนที่ครูคิดว่าได้ผลดีที่สุด - สื่อการสอนที่ครูใช้ในการจัดการเรียนการสอนแล้วได้ผลดี คือทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น 6.10สะท้อนผล 1) สรุปวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ได้ผลดี 2) อภิปรายผลการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ และให้ข้อเสนอแนะ 6.11ร่วมกันหาวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ดีที่สุด ดังนี้ - เรื่องเล่าเร้าพลัง/บอกเล่าประสบการณ์ที่จัดการเรียนการสอนแล้วประทับใจได้ผลดี - ค้นหาตัวอย่าง/รูปแบบที่ประสบความสำเร็จ
- ร่วมตัดสินใจเลือกรูปแบบ/วิธีการ/นวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนที่ดีที่สุด (Best Practice) 7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 7.1 ครูมีการพัฒนาตนเอง มีการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มีสื่อ นวัตกรรม หรือเทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อการแก้ไขปัญหาของผู้เรียน 7.2 ครูเปิดใจ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมากขึ้น 7.3 ครูมีชั่วโมงการปฏิบัติกิจกรรมการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ครบ 50 ชั่วโมงต่อปี การศึกษา กระบวนการ PLC สู่การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน แลกเปลี่ยน/เสนอแนะ สะท้อนผล รวมกลุ่ม PLC ค้นหาปัญหา/ความต้องการรวมกลุ่ม PLC ออกแบบกิจกรรมการแก้ปัญหา นำไปสู่การปฏิบัติ/สังเกตสอน นวัตกรรม/Best Practices วิธีการ/นวัตกรรม
การปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ ชื่อกลุ่ม ครูคณิตฯ ป.5 วิชา คณิตศาสตร์ . จำนวนสมาชิกในกลุ่ม 2 คน. ชื่อกิจกรรม การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้น ป.5 เรื่อง เศษส่วน ระยะเวลา 15 ธันวาคม 2565 – 25 มีนาคม 2566 จำนวนชั่วโมง 30 ชั่วโมง . 1. รายชื่อสมาชิกกลุ่มในกิจกรรมครั้งนี้(ประธาน สมาชิก เลขาฯ เจ้าของประเด็น ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ร่วม สังเกตการณ์ ฯลฯ) ที่ ชื่อ-สกุล ตำแหน่งในกลุ่ม ลายมือชื่อ 1 นา.บุษยมาศ อันแสน. ประธาน 2 นางชณิดา โคลงชัย สมาชิกและเลขานุการ 2. ประเด็นการสนทนากลุ่ม/ปัญหา การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ทศนิยม เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่เรียนมากขึ้น 3. กลุ่มนักเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ,5/2 , 5/3 จำนวน 84 คน 4. การวางแผนการดำเนินการ ขั้นตอน ระยะเวลา (ว/ด/ป) จำนวนชั่วโมง ผู้รับผิดชอบ 1. ประชุม วางแผนการดำเนินการ 15 – 17 ธ.ค. 65 เวลา 15.30 - 16.30 3 สมาชิก ทุกคน 2. ค้นหาปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยใช้การแก้ปัญหาวิธีที่ 1 22 – 24 ธ.ค. 65 เวลา 15.30 - 16.30 3 สมาชิก ทุกคน 3. ศึกษาวิธีการ ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ วิธีการแก้ปัญหาที่เลือก วิธีที่ 1 2 - 4 ก.พ. 66 เวลา 15.30 - 16.30 3 สมาชิก ทุกคน 4. ออกแบบนวัตกรรม นำเสนอสื่อ/นวัตกรรม และวิธีการสอน ที่พัฒนาขึ้น 9 - 117 ก.พ. 66 เวลา 15.30 - 16.30 3 สมาชิก ทุกคน
ขั้นตอน ระยะเวลา (ว/ด/ป) จำนวนชั่วโมง ผู้รับผิดชอบ 5. ทดลองใช้นวัตกรรมเพื่อนำไปแก้ปัญหา สังเกต ชั้นเรียน สะท้อนผลการทำกิจกรรม และอภิปราย สรุปผล 16-18 ก.พ. 66 เวลา 15.30 - 16.30 3 สมาชิก ทุกคน 6. ค้นหาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา ของปัญหาที่เลือก โดยใช้ วิธีที่ 2 และศึกษา วิธีการ ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิธีการ แก้ปัญหาที่เลือก 23 - 25 ก.พ. 66 เวลา 15.30 - 16.30 3 สมาชิก ทุกคน 7. ออกแบบ/จัดทำนวัตกรรม และวิธีการสอน เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหา 2 - 4 มี.ค. 66 เวลา 15.30 - 16.30 3 สมาชิก ทุกคน 8. นำเสนอสื่อ นวัตกรรม และวิธีการสอน ที่ พัฒนาขึ้นเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม 9 – 11 มี.ค. 66 เวลา 15.30 - 16.30 3 สมาชิก ทุกคน 9. ทดลองนำนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น นำไปใช้ใน การสอนจริง สังเกตชั้นเรียน สะท้อนผลการทำ กิจกรรม 16 – 18 มี.ค. 66 เวลา 15.30 - 16.30 3 สมาชิก ทุกคน 10. อภิปรายผลการจัดกิจกรรม และสรุปผลการ ดำเนินงาน 23 -25 มี.ค. 66 เวลา 15.30 - 16.30 3 สมาชิก ทุกคน รวม 30 5. ปัญหาด้านการเรียนรู้ของนักเรียน คือ นักเรียนไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน 6. วิธีการแก้ปัญหาของสมาชิกในกลุ่ม จัดทำนวัตกรรม สื่อการสอน เป็นแบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วน โดยใช้เทคนิควิธีการสอนเสริมนอกเวลา และการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน 7. ความรู้ หลักวิชา หรือหลักการที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหา - การจัดทำแบบฝึกทักษะ - เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน
6. การประเมินผล (ทำอย่างไร) - การสังเกตจากการตอบคำถาม การทำกิจกรรม และการทำแบบฝึกหัดในแบบฝึกทักษะ เรื่อง เศษส่วน - ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน เรื่อง เศษส่วน 7. ผลการดำเนินกิจกรรมโดยสรุป นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง เศษส่วน มากขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียน สูงกว่าก่อน เรียน 8. การนำผลที่ได้จากการแก้ปัญหาไปใช้ นำความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิควิธีการสอนเสริมนอกเวลา และ การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ไปใช้ในการจัดทำแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ในรายวิชาอื่น ๆ และเนื้อหา อื่น ๆ 9 ชื่อนวัตกรรมที่ได้จากการแก้ปัญหา แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิควิธีการสอนเสริมนอกเวลา และการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อน ช่วยเพื่อน 10. เอกสารที่ใช้ระหว่างแก้ปัญหา - ตัวอย่างแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์จากอินเตอร์เน็ต - หลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ - หลักสูตรรายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค15101 - หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ ป.5 - หนังสือคู่มือและหนังสืออ่านประกอบวิชา คณิตศาสตร์ ป.5 อื่น ๆ - วิธีการสอนเสริมออนไลน์ - เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ลงชื่อ............................................ผู้บันทึก (นางบุษยมาศ อันแสน)
การรับรองของผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ถูกต้อง ไม่ถูกต้อง ความคิดเห็นเพิ่มเติม .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ลงชื่อ.......................................................... (นายศราวุธ มนต์สวรรค์) ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดปากน้ำ