The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เอกภพ&กาแล็กซี่

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tiw.norrapat, 2021-09-20 03:51:35

เอกภพ&กาแล็กซี่

เอกภพ&กาแล็กซี่

เอกภพ&กาแล็กซี่

จัดทำโดย
นาย นรภัทร สิทธิบัว

ม. 6/7 เลขที่ 35
เสนอ

ครู รพี อาภัย

โรงเรียน ส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน

*ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการกำเนิดเอกภพ

ทฤษฎีออสเซิลเบทของเอกภพ

ทฤษฎีสภาวะคงที่ หลักฐานสนับสนุน

ทฤษฎีบิ๊กแบง 1. การขยายตัวของเอกภพ

ทฤษฎีระเบิดครั้งใหญ่ 2. ค้นพบอุณหภูมิ

ทฤษฎีบิ๊กแบง (Big Bang = 2.73k(ไมโครเวฟ)

Theory) ของ จอร์จ เลอแมตร์ ที่

เชื่อกันว่า เอกภพเริ่มต้นจาก

ความเป็นศูนย์ ไม่มีเวลา ไม่มี

แม้แต่ความว่างเปล่า และเอกภพ

กำเนิดขึ้นโดยการระเบิด


ทฤษฎีบิ๊กแบงระบุว่าการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่เมื่อประมาณ 15,000
ล้านปีก่อนเป็นต้นกำเนิดของเอกภพและสรรพสิ่งทั้งหมด หลังการ
ระเบิดเอกภพขยายตัวออกทุกทิศทางพร้อมกับอุณหภูมิที่ค่อยๆ
ลดลง เมื่อเวลาผ่านไปนับล้านปีกลุ่มอนุภาคเล่นอิเล็กตรอนและโปร
ตรอนเริ่มรวมตัวกันเป็นกาแล็กซี่ต่อมาฝุ่นภายในกาแล็กซี่จึงรวมตัว
กับแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียมเกิดเป็นดาวฤกษ์ซึ่งเปล่งแสงได้จาก
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นภายใน

ซึ่งหลังจากการระเบิดนั้น เอกภพ ก็เริ่มขยายตัวออกไป ก่อนที่จะเกิด
อนุภาคมูลฐาน อะตอม และโมเลกุล ต่าง ๆ ขึ้นตามมาหลังจากนั้น
ทั้งแรงระเบิดดังกล่าว ยังทำให้เกิดแรงดันระหว่างกาแล็กซีต่าง ๆ ให้
ห่างกันออกไปเรื่อย ๆ ซึ่งแรงดันที่ถือว่าเป็นวิวัฒนาการของเอกภพมี
อยู่แรง 2 แรง คือ แรงดันออกหลังจากการระเบิดครั้งใหญ่ และแรง
โน้มถ่วงดึงดูดให้เอกภพเข้ามารวมตัวกัน ซึ่งทั้ง 2 แรงดังกล่าวเป็น
ปัจจัยสำคัญที่กำหนดลักษณะของ เอกภพ

นักดาราศาสตร์เชื่อว่าเอกภพประกอบด้วย
กาแล็กซี่ถึง หนึ่งแสนล้านกาแล็กซี่!!!

โดยกาแล็กซี่แมกเจนแลนใหญ่อยู่ใกล้กาแล็กซี่ทางช้าง
เผือกของเรามากที่สุด ด้วยระยะทางที่แสงใช้ระยะทางใน
การเดินทางถึง 170,000 ปี

ระบบสุริยะจักรวาล (Solar System)

กำนิดของระบบสุริยะจักรวาลสืบเนื่องมาจากการระเบิดของ
ดวงดาวขนาดใหญ่ (Supernova Explosion) เป็นสาเหตุทำให้เกิด
การรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนของฝุ่นและก๊าซ ส่วนในเป็นการรวมตัวของ
ฝุ่นและก๊าซ เมื่ออุณหภูมิลดลง แรงโน้มถ่วงจะดึงดูดให้ฝุ่นและก๊าซมี
การอัดตัวกันแน่น เกิดความร้อนและปฏิกริยานิวเคลียร์ที่แกนของ
ก๊าซไฮโดรเจนเปลี่ยนเป็นก๊าซฮีเลียมและเกิดเป็นพลังงานมหาศาล
ส่วนนี้กลายเป็นดวงอาทิตย์ ส่วนฝุ่นและก๊าซส่วนที่เหลือ เมื่อเย็นตัว
ลงกลายเป็นดาวเคราะห์หมุนรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งดาวเคราะห์เหล่านี้
ประกอบไปด้วยของแข็ง เช่น ดิน หิน และปกคลุมด้วยก๊าซ ส่วนดาว
เคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากๆ เป็นกลุ่มก้อนก๊าซที่มีขนาด
ใหญ่มาก

ระบบสุริยะจักรวาลเป็นระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ดาว
เคราะห์ 8 ดวง และดวงจันทร์มากกว่า 48 ดวง นอกจากนั้นยัง
ประกอบไปด้วย ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ดาวตก อุกกาบาต เป็น
บริวารโคจรรอบๆ ดวงอาทิตย์

1. ดวงอาทิตย์ (Sun)
2. ดาวพุธ (Mercury)
3. ดาวศุกร์ (Venus)
4. โลก (Earth)
5. ดาวอังคาร (Mars)
6. ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)
7. ดาวเสาร์ (Saturn)
8. ดาวยูเรนัส (Uranus)
9. ดาวเนปจูน (Neptune)

* กาแล็กซี่(Galaxy)

คือ อาณาจักรหรือระบบของดาวฤกษ์จำนวนนับแสนล้านดวง

อยู่รวมกันด้วยแรงโน้มถ่วงระหว่างดวงดาวกับหลุมดำที่มีมวล
มหาศาล ซึ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางของกาแล็กซี โดยมีเนบิวลาซึ่งเป็น
กลุ่มแก๊สและฝุ่นละอองที่เกาะอยู่ในที่ว่างบางแห่งระหว่างดาวฤกษ์

กาแล็กซี กำเนิดขึ้นหลังจากบิกแบง 1,000 ล้านปีเกิดจากกลุ่ม
แก๊สซึ่งยึดเหนี่ยวด้วยแรงโน้มถ่วงแยกเป็นกลุ่ม ๆ
แต่ละกลุ่มก่อกำเนิดเป็นดาวฤกษ์จำนวนมากซึ่งเป็นสมาชิกของ
กาแล็กซี กาแล็กซีที่ระบบสุริยะสังกัดอยู่ คือ กาแล็กซีทางช้างเผือก
นอกจากนี้ยังมีกาแล็กซีอื่น ๆ ได้แก่ กาแล็กซีเอนโดรเมดา กาแล็กซี
แมกเจลแลนใหญ่ และกาแล็กซีแมกเจลแลนเล็ก

ประเภทของกาแลกซี

เมื่อสังเกตจากการนำภาพถ่ายมาวิเคราะห์เราอาจจำแนกชนิด
ของ กาแลกซีจำแนกประเภทของกาแลกซีได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
กาแลกซีรูปวงกลมรี กาแลกซีรูปกังหัน และกาแลกซีอสัณฐาน

1. กาแลกซีรูปวงกลมรี ( E , elliptical galaxies)

ใช้อักษร E แทนกาแลกซีพวกนี้แล้วต่อท้ายด้วยตัวเลขที่มีความ
หมายแทน 10 เท่าของความรีของแผ่นกาแลกซีที่ปรากฏเรียง
ลำดับรูปร่าง นับตั้งแต่เป็นทรงกลม E O ไปจนถึงกลมแบน E 7
มองด้านข้างคล้ายเลนส์นูน ( บริเวณตรงกลางสว่างเป็นรูปไข่)

2. กาแลกซีรูปกังหัน หรือ แบบก้นหอย
(S,Spiral galaxies)

กาแลกรูปกังหัน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ กาแลกซีรูปกังหัน
ปกติ (Barred Spiral galaxies) บริเวณตรงใจกลางมี
ลักษณะคล้ายเลนส์นูนทั้งสองหน้า ขอบตรงข้ามมีแขน 2 แขน
ยืนออกมาแล้วหมุนวนรอบจุดศูนย์กลางไปทางเดียวกัน
ระนาบเดียวกัน และแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ - จุดกลาง
สว่าง บริเวณใจกลางขนาดใหญ่แบนบาง แขนม้วนงอชิดกัน เรียก
ว่า สไปรัล เอส เอ (Spiral Sa) - จุดกลางสว่างไม่มาก มีแขน
หลวม ๆ สองข้างเบนออกกว้าง เรียกว่า สไปรัล เอส บี
(Spiral Sb) เช่น กาแลกซีทางช้างเผือก - จุดกลางไม่เด่น
ชัด บริเวณใจกลางเป็นแกนเหล็ก แขนสองข้างใหญ่ ม้วน
ตัวอย่างหลวม ๆ แยกออกจาก เรียกว่า สไปรัล เอส ซี (Spiral
Sc)

3. กาแลกซีอสัณฐานหรือไร้รูปร่าง
(Irr,Irregular galaxies)

ใช้อักษร Irr แทนกาแลกซีพวกนี้ และแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
คือ- กาแลกซีอสัณฐาน 1 (Irr I) เป็นกาแลกซีอสัณฐานที่มีสสาร
อยู่ระหว่างดาวเป็นจำนวนมาก พร้อมดาวฤกษ์อายุน้อยหรือดาว
ที่เพิ่งเกิดใหม่ มองเห็นเป็นความสว่างกระจัดกระจาย- กาแลกซี
อสัณฐาน 2 (Irr II) มีจำนวนน้อย รูปร่างไม่แน่นอน ไม่ปรากฏ
ให้เห็นเป็นดาวแยกเป็นดวงๆ แต่ประกอบด้วยฝุ่นและก๊าซ
ปริมาณมาก ตัวอย่างกาแลกซีพวกนี้ได้แก่ เมฆแมกเจลเลนใหญ่
และเมฆแมกเจลเลนเล็ก ซึ่งอยู่บนท้องฟ้าซีกโลกใต้ กาแลกซีสว่าง
มากๆ ประมาณ 2 ใน 3 จะเป็นกาแลกซีรูปกังหัน

* เนบิวลา (Nebula)

เป็นกลุ่มก๊าซและฝุ่นที่มีอยู่ระหว่างดาวฤกษ์ในระบบกาแลกซี ไม่มี
แสงสว่างในตัวเองรวมกันอยู่อย่างหนาแน่นเป็นปริมาณมหาศาล
มองผ่านกล้องโทรทรรศน์จะปรากฏเป็นฝ้ามัวๆ บริเวณที่กลุ่มฝุ่น
และก๊าซรวมตัวกันและยึดด้วยแรงโน้มถ่วงของเนบิวลา จะทำให้
บริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ต่างๆ โดยทั่วไปเนบิวลามี
2 ลักษณะ คือ เนบิวลาสว่างกับเนบิวลามืด

1.เนบิวลาส่องสว่าง (Bright cmission nebula)

เป็นเมฆก๊าซที่เปล่งแสงสว่างเรื่องขึ้น เพราะได้ดูดรังสีที่มาจาก
ดาวฤกษ์ ในส่วนที่ห่อหุ้มไว้แล้วแผ่รังสีออกจากตัวโดยการที่
อะตอมของตัวเองละระดับพลังงานลงดังนั้นจึงให้แสงเป็นเส้น
สเปคตรัม

2. เนบิวลามืด (Dark nebula)

เป็นบริเวณที่ฝุ่นละอองและก๊าซอยู่กันอย่างหนาแน่น
ทึบและมีดาวอยู่ไกลออกไป ทำให้ฝุ่นและก๊าซดูดแสง
ดาวที่ผ่านมาหมด จึงมองดูทึบแสง

thang you.


Click to View FlipBook Version