The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by cinniek19, 2022-05-25 21:54:38

แก้ไขล่าสุด

แก้ไขล่าสุด

ร า ย ง า น ผ ล ก า ร ป ฏิ บั ติ ง า น



ของ



ช ม ร ม แ ม่ บ้ า น ม ห า ด ไ ท ย จั ง ห วั ด ป ร า จี น บุ รี







น้ อ ม นำ แ น ว พ ร ะ ร า ช ดำ ริ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ส ย า ม บ ร ม ร า ช กุ ม า รี







คำ นำ

สมาคมแม่บ้านมหาดไทย (Ministry Of Interior’s Ladies Association) เริ่มด้วยการรวมกลุ่มใน
รูปของชมรมแม่บ้าน ซึ่งสามีรับราชการอยู่ในกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน2524 และได้รับอนุญาต
จัดตั้งเป็น “สมาคมแม่บ้านมหาดไทย” เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2525 โดยใช้ดอกแก้วเป็นสัญลักษณ์ของสมาคมฯ
เนื่องจาก “ดอกแก้ว” เป็นดอกไม้ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดี
กระทรวงมหาดไทย ทรงโปรด

วัตถุประสงค์ของสมาคมฯ เพื่อส่งเสริมความสมัครสมานสามัคคี อุปการะซึ่งกันและกันระหว่างแม่บ้านมหาดไทย
เป็นศูนย์รวมความคิดเห็นการปฏิบัติงานของกลุ่มแม่บ้านมหาดไทยพร้อมทั้งพัฒนาบุคลิกภาพโดยส่งเสริมการศึกษา
สุขภาพอนามัย การกีฬาบันเทิง ศีลธรรมจรรยาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มแม่บ้านมหาดไทย เพื่อเสริมสร้าง
ความมั่นคงในด้านสวัสดิภาพความเป็นอยู่ และความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกันของครอบครัวข้าราชการกระทรวงมหาดไทย

ปัจจุบันสมาคมแม่บ้านมหาดไทย โดย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทยได้มีนโยบาย
ให้ชมรมแม่บ้านมหาดไทยในแต่ละจังหวัดร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย
โดยมีนโนบายที่สำคัญ ดังนี้

1. โครงการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารน้อมนำแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “โครงการบ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง”

2. ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนได้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด- 19 อย่างทั่วถึง ตามเป้าหมาย
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่

3. ส่งเสริมการสร้างสุขอนามัยให้แก่เด็กและแม่ เติบโตอย่างถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานสุขลักษณะ
4. โครงการส่งเสริมการใช้ผ้าไทย น้อมนำแนวพระราชดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี
นารีรัตนราชกัญญา “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้
5. โครงการ “ครอบครัวมหาดไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” โดยจัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อน
เพื่อการคัดแยกขยะแห้ง ขยะเปียกให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์
ทั้งนี้ ชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปราจีนบุรี ได้ขับเคลื่อนงานของสมาคมแม่บ้านมหาดไทย
และงานของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีเป้าหมายหลักคือ “การบำบัดทุกข์ บำรุงสุข” เพื่อช่วยกัน
Change for Good สร้างสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นสังคมไทย



ส า ร บั ญ หน้า



1. ความเป็นมาของจังหวัดปราจีนบุรี

เคยเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมายาวนาน ปรากฏการตั้งถิ่นฐานของชุมชน
โบราณเมื่อประมาณ 2000-2500 ปี ที่แหล่งโบราณคดีบ้านกระทุ่มแพ้ว ตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง
บ้านหนองอ้อ ตำบลดงพระราม อำเภอเมืองปราจีนบุรี และบ้านดงชัยมัน ตำบลประจันตคาม อำเภประจันตคาม
โบราณวัตถุที่พบได้แก่ ลูกปัดแก้วแบบอินโด - แปซิฟิก สีต่างๆ ลูกปัดหิน คาร์เนเลียน หินอะเกต และหินควอตซ์
เครื่องมือเหล็กซึ่งแสดงให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนโบราณใกล้เคียงและอินเดียโดยเฉพาะที่บ้านดงชัยมัน
ได้พบชิ้นส่วนกลองมโหระทึก ซึ่งเป็นโบราณวัตถุในวัฒนธรรมดงชอนเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมซึ่งพบทางตอนใต้ของจีน
และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยและยังพบหลักฐานเป็นซาก เมืองโบราณที่เรียกว่า
“เมืองศรีมโหสถ”ที่ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถและบริเวณบ้านโคกขวาง อำเภอศรีมหาโพธิ บริเวณซากเมืองโบราณ
เหล่านี้มีซากโบราณสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมศาสนกิจและโบราณวัตถุ ได้แก่ พระพุทธรูป เทวรูปเครื่องปั้นดินเผา
เครื่องสำริดซึ่งเป็นเครื่องมือและเครื่องใช้กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปต่อมาศูนย์กลางความเจริญได้ย้ายมาตั้งอยู่ริมแม่น้ำ
บางประกง ดังเช่นปัจจุบัน

“เมืองปราจีน” เป็นชื่อที่เรียกกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และยังต่อมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ตอนต้นเรียกว่า “เมืองปราจิณ” หรือ “มณฑลปราจิณ”จวบจนสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดระเบียบการปกครองแผ่นดินตามแบบต่างประเทศ มณฑลปราจิณ
ได้ถูกยุบเลิกคงมีฐานะเป็นเพียงหัวเมืองหนึ่งต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น“จังหวัด”
จึงมีชื่อเรียกใหม่ว่า “จังหวัดปราจีนบุรี”

ตราประจำจังหวัด เป็นรูปต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิปลูกไว้ที่ตำบลโคกปีบ
อำเภอศรีมโหสถเป็นสัญลักษณ์ทางด้านพุทธศาสนาที่เชิดหน้าชูตาของ
จังหวัดปราจีนบุรี เพราะเชื่อกันว่าเป็นต้นโพธิ์ที่สมณทูตจากอินเดีย
ซึ่งมาเผยแพร่พระศาสนาเมื่อราว พ.ศ.500 ได้นำพันธุ์มาจากพระศรีมหาโพธิ์
พุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าประทับบำเพ็ญธรรม
จนสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้นโพธิ์ศรีมหาโพธินี้เป็นที่นับถือ
บูชากราบไหว้ของราษฎรในท้องที่และต่างท้องที่และมีการจัดงานนมัสการ
เป็นประจำทุกปี

หน้า 1

1

ด อ ก ไ ม้ ป ร ะ จำ จั ง ห วั ด ป ร า จี น บุ รี

(ชื่อสามัญ Cork Tree) หรือภาคเหนือเรียกว่า กาซะลอง กาดสะลอง
ภาคกลางเรียกปีบ ภาษากะเหรี่ยง (กาญจนบุรี) เรียกว่า เด็กดองโห่

ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นสูง ประมาณ 10-20 เมตร
เปลือกลำต้นสีเทาขรุขระใบออกเป็นช่อ ลักษณะใบกลมรี ขอบใบเรียบ โคนใบมน ใต้ใบเห็นเส้นใบ
ชัดเจน ดอกออกเป็นช่อตั้งตรง ลักษณะเป็นท่อยาวประมาณ 2-3 นิ้ว สีขาวปนเหลือง
ขนาด 2 เซนติเมตร ปลายกลีบดอกเป็นแฉก 5 แฉก ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย
ติดอยู่ด้านในใกล้ปากท่อ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ภายในมีเมล็ดลักษณะแบบขยายพันธุ์โดย
การเพาะเมล็ดและการปักชำเหมาะที่จะปลุกในพื้นที่ที่มีดินร่วนซุยแสงแดดจัดหรือกลางแจ้ง
มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและประเทศพม่า

ธ ง ป ร ะ จำ จั ง ห วั ด ป ร า จี น บุ รี

สีประจำจังหวัดปราจีนบุรี คือ สีแดงเหลือง
ธงประจำจังหวัดปราจีนบุรี ขนาดพื้นธงกว้าง 1.50 เมตร ยาว 2.25 เมตร
ลักษณะพื้นธงตอนต้นมีพื้นสีแดงซึ่งกำหนดเป็นสีประจำภาค 2 กว้างยาว
ด้านละ 1.50 เมตร มีรูปต้นโพธิ์อยู่ในกรอบวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง
85 เซนติเมตร สำหรับพื้นที่ธงที่เหลือเป็นสีเหลือง

2. ลักษณะทางกายภาพ

จังหวัดปราจีนบุรีตั้งอยู่ภาคตะวันออกของประเทศ อยู่ระหว่าง
เส้นละติจูดที่ 13 องศา 39 ลิปดา ถึง 14 องศา 27 ลิปดาเหนือ และ
เส้นลองติจูดที่ 102 องศา 07 ลิปดาตะวันออก ห่างจากกรุงเทพมหานคร
36 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 33,305 ใช้เวลาเดินทางเพียง
1 ชั่วโมง 30 นาที เป็นจุดเชื่อมโยงการคมนาคมจากกรุงเทพมหานคร
ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และราชอาณาจักร
กัมพูชา ในรัศมี 100 กว่ากิโลเมตร และมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดนครราชสีมา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดสระแก้ว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดนครนายก
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา

หนห้าน้า2 2

2

๓. ข้อมูลการปกครอง/ประชากร

จังหวัดปราจีนบุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปราจีนบุรี
อำเภอศรีมโหสถ อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอประจันตคาม อำเภอนาดี อำเภอกบินทร์บุรี และอำเภอ
บ้านสร้าง โดยแบ่งเขตตำบลออกเป็น 64 ตำบล และหมู่บ้าน 708 หมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 14 เทศบาล 56 องค์การ
บริหารส่วนตำบล (อบต.) และมีครัวเรือน ณ เดือนเมษายน 2565 จำนวน 227,739 ครัวเรือน
โดยมีรายละเอียดข้อมูลแยกรายพื้นที่และจำนวนประชากร ระดับจังหวัด ดังตารางข้างล่างนี้

พื้นที่ ประชากรชาย ประชากรหญิง ครัวเรือน
อำเภอเมืองปราจีนบุรี 45,534
อำเภอกบินทร์บุรี 66,921 42,814 36,180
อำเภอศรีมหาโพธิ 36,945
อำเภอประจันตคาม 24,346 69,125 53,794
อำเภอนาดี 21,974
อำเภอบ้านสร้าง 13,499 38,618 54,287
อำเภอศรีมโหสถ 6,542
ท้องถิ่นเทศบาลตำบลโคกมะกอก 1,049 25,621 17,492
ท้องถิ่นเทศบาลตำบลโคกปีบ 2,758
ท้องถิ่นเทศบาลตำบลศรีมหาโพธิ 1,749 22,169 18,166
ท้องถิ่นเทศบาลตำบลกรอกสมบูรณ์ 1,747
ท้องถิ่นเทศบาลตำบลประจันตาม 2,105 14,030 9,791
ท้องถิ่นเทศบาลตำบลบ้านสร้าง 1,590
ท้องถิ่นเทศบาลตำบลนาดี 3,873 6,757 6,600
ท้องถิ่นเทศบาลตำบลสระบัว 883
ท้องถิ่นเทศบาลตำบลเมืองเก่า 3,199 1,159 837
ท้องถิ่นเทศบาลตำบลบ้านนาปรือ 1,112
ท้องถิ่นเทศบาลตำบลกบินทร์ 1,696 3,078 2,341
ท้องถิ่นเทศบาลเมืองปราจีนบุรี 7,578
245,100 1,866 2,443
รวม
1,757 1,297

2,357 2,399

1,639 1,651

4,030 3,361

920 644

3,319 4,493

1,109 800

1,994 2,200

8,727 8,963

251,089 227,739

ข้อมูล : ที่ทำการปกครองจังหวัดปราจีนบุรี ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2565

หนห้าน้3า 3

3

คณะที่ปรึกษา ชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปราจีนบุรี

นายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์

ผู้ ว่ า ร า ช ก า ร จั ง ห วั ด ป ร า จี น บุ รี
ป ร ะ ธ า น ที่ ป รึ ก ษ า

คณะที่ปรึกษา ประกอบด้วย
1. รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี (1)
2. รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี (2)
3. ปลัดจังหวัดปราจีนบุรี
4. โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดปราจีนบุรี
5. พัฒนาการจังหวัดปราจีนบุรี
6. ท้องถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี
7. เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดปราจีนบุรี
8. ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 3 ปราจีนบุรี

9. หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปราจีนบุรี
10. ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดปราจีนบุรี
11. ผู้จัดการการประปาส่วนภูมิภาคสาขาปราจีนบุรี
12. นายอำเภอทุกอำเภอ

หน้า 4

4

คณะทำงาน ชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปราจีนบุรี

นางมัทนา สุวัณณุสส์

ป ร ะ ธ า น แ ม่ บ้ า น ม ห า ด ไ ท ย จั ง ห วั ด ป ร า จี น บุ รี

คณะทำงาน ประกอบด้วย รองประธานแม่บ้านมหาดไทยคนที่ 1
1. คู่สมรสรองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี (1) รองประธานแม่บ้านมหาดไทยคนที่ 2
2. คู่สมรสรองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี (2) รองประธานแม่บ้านมหาดไทยคนที่ 3
3. คู่สมรมปลัดจังหวัดปราจีนบุรี คณะทำงาน
4. คู่สมรสของหัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ คณะทำงาน
สังกัดกระทรวงมหาดไทย ในจังหวัดปราจีนบุรี เ ล ข า นุ ก า ร
5. คู่สมรสของนายอำเภอทุกอำเภอ
6. หัวหน้าสำนักงานจังหวัดปราจีนบุรี

ข้ อ มู ล ส ม า ชิ ก
ช ม ร ม แ ม่ บ้ า น ม ห า ด ไ ท ย จั ง ห วั ด ป ร า จี น บุ รี
ปัจจุบันชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปราจีนบุรี มีสมาชิกทั้งหมด 49 คน แบ่งเป็น
1. สมาชิกสามัญ ได้แก่ คู่สมรสของข้าราชการ ลูกจ้าง สังกัดกระทรวงมหาดไทย และข้าราชการ
ลูกจ้าง สังกัดกระทรวงมหาดไทยที่ไม่มีคู่สมรสแล้วได้สมัครเป็นสมาชิก จำนวน 25 คน
2. สมาชิกสมทบ ได้แก่ บุคคลที่คณะกรรมการเห็นสมควรซึ่งได้สมัครเป็นสมาชิก จำนวน 24 คน

หหนน้้าา 55

ภ า ร กิ จ ห น้ า ที่ ป ร ะ ธ า น แ ม่ บ้ า น ม ห า ด ไ ท ย จั ง ห วั ด

ตำแหน่งสำคัญที่รับผิดชอบในจังหวัด

นายกเหล่ากาชาดจังหวัด ประธานแม่บ้านมหาดไทย
ประธานอุปการะเด็ก นายกสมาคมส่งเสริม ภาคีเครือข่ายอื่น ๆ
จังหวัด และเยาวชน วัฒนธรรมหญิง
- สภาสังคมสงเคราะห์

- คู่สมรสของผู้ว่าราชการ
- สนับสนุนภารกิจ
- มูลนิธิร่วมจิตต์
- ส่งเสริมวัฒนธรรม
แห่งประเทศไทย
จังหวัดที่รับตำแหน่ง กระทรวงมหาดไทย น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชนใน
สตรีจังหวัด ในพระบรมราชูปถัมภ์
ในการบำบัดทุบำรุงสุข พระบรมราชินูปถัมภ์ โดยมี
เป็นตัวแทนสภาฯ
- ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด - ดำเนินงานตาม
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ร่วมจัดกิจกรรม
หรือผู้ที่สภากาชาดไทยมอบ
วัตถุประสงค์ นโยบายและ
พระองค์เจ้าโสมสวลี เลี้ยงอาหาร ผู้ยากไร้
หมายเป็นผู้เสนอชื่อผู้สมควร
กิจกรรมของสมาคมแม่
กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
ผู้ด้อยโอกาส
ดำรงตำแหน่งนายกเหล่า
บ้านมหาดไทย เป็นองค์ประธาน
กาชาดจังหวัด เหรัญญิก และ


เลขานุการ ให้สภากาชาดไทย
-นักตเรรวียจนติทดุนตมาูมล
ตนิรธิวฯจเยี่ยม

แต่งตั้ง


- นายกเหล่ากาชาดจังหวัดได้

รับพระมหากรุณาธิคุณ
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

- เมื่อรับหน้าที่แล้วปฏิบัติตาม

พันธกิจ

หน้า 6 หน้า 6

ผ ล ก า ร ป ฏิ บั ติ ง า น ข อ ง ช ม ร ม แ ม่ บ้ า น ม ห า ด ไ ท ย จั ง ห วั ด ป ร า จี น บุ รี

• โครงการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร น้อมนำแนวพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี “โครงการบ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง”
• ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนได้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อย่างทั่วถึง ตามเป้าหมาย
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่
• ส่งเสริมการสร้างสุขอนามัยให้แก่เด็กและแม่ เติบโตอย่างถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานสุขลักษณะ

•นาโครีรรัตงกนารราสช่งกัเญสรญิมากา“รผ้ใาช้ไผท้ายไใทส่ยให้น้สอนุมกน”ำแเพนื่อวสพรร้าะงรงาาชนดำสรริ้าสงมอเาด็ชจีพพรสะร้เาจ้งารลาูกยเไธด้อ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี
• โครงการ “ครอบครัวมหาดไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” โดยจัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อน เพื่อการ
คัดแยกขยะแห้ง ขยะเปียกให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์

หน้า 7





โครงการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร น้อมนำแนวพระราชดำริ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


“โครงการบ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง”

จังหวัดปราจีนบุรีดำเนินงานการน้อมนำแ
นวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความมั่นคงทางอาหาร สู่ปฏิบัติการ 90 วัน
ปลูกผักสวนครัวสร้างความมั่นคงทางอาหารรอบ 2 โดยรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัว ในทุกครัวเรือน
อย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่ 7 อำเภอ 71 ตำบล/เทศบาล รวม 767 หมู่บ้าน/ชุมชน (รวมชุมชนในเขตเทศบาลด้วย)
รวมจำนวนทั้งสิ้น 113,750 ครัวเรือน กิจกรรมดังนี้
1. รณรงค์การปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร

1.1 ผู้นำต้นแบบ ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ
ระดับจังหวัด นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ และเจ้าหน้าที่สังกัดกรมการพัฒนาชุมชน
จำนวน 126 คน ดำเนินการปลูกผักสวนครัวในพื้นที่ครัวเรือน อย่างน้อยคนละ 10 ชนิด เพื่อเป็น
ตัวอย่างแก่ประชาชนทั่วไป

1.2 ผู้นำต้องทำก่อน ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ กลุ่มสตรี ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน
กลุ่มองค์กร รวม 2,265 คน ดำเนินการปลูกผักสวนครัว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน
และสร้างกระแสการปลูกผักสวนครัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสื่อสารสร้างการรับรู้ การ
ปลูกผักสวนครัวแก่ประชาชนทั่วไป

1.3 กลไกขับเคลื่อน 3 ประสาน ได้แก่ นักพัฒนาท้องถิ่นของ อบต. /นักพัฒนาพื้นที่
ต้นแบบ(นพต.)/นักพัฒนาชุมชน ของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ได้ดำเนินการขับเคลื่อน
กิจกรรมการปลูกผักสวนครัว ในพื้นที่หมู่บ้าน/ตำบล ที่รับผิดชอบ มีกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ
ขับเคลื่อนเรื่องการปลูกผักสวนครัว รวม 1,283 กิจกรรม

1.4 ครัวเรือนปลูกผัก มากกว่า 10 ชนิด ดำเนินการปลูกผักสวนครัว จำนวน 102,071 ครัวเรือน
คิดเป็นร้อยละ 90.61

1.5 โครงการ 1 ตำบล 1 ถนนกินได้ปลอดภัยไร้สารพิษ มีครัวเรือนร่วมโครงการ จำนวน 5,780 ครัวเรือน

หน้า 8

2. ขยายผลการขับเคลื่อนโครงการปลูกผักสวนครัว สร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยได้ดำเนินการ
กิจกรรมต่างๆ ดังนี้

2.1 สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว ให้ครัวเรือนยากจนตาม TPMAP ของอำเภอบ้านสร้าง
จำนวน 57 ครัวเรือน เป็นเงิน 5,700 บาท โดยได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านอำเภอ
บ้านสร้าง โดยมีนายอำเภอบ้านสร้างเป็นผู้รับมอบ มีคณะทำงานระดับตำบล ร่วมดำเนินการปลูกผักสวนครัว
กับครัวเรือนยากจนเป้าหมาย จำนวน 57 ครัวเรือน

2.2 สนับสนุนการปลูกผักสวนครัว และมอบเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว ให้แก่ครัวเรือนเป้าหมาย
ที่ตกเกณฑ์เรื่องรายได้ตาม TPMAP ของอำเภอกบินทร์บุรีโดยมีคณะทำงานตำบล เป็นผู้รับผิดชอบการ
ปลูกพืชผักสวนครัวร่วมกับครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 264 ครัวเรือน

2.3 ดำเนินการปลูกผักสวนครัว ในกิจกรรม “เอามื้อ สามัคคี” ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนา
คุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” และศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบโคก หนอง นา
ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

2.4 ส่งเสริมให้ผู้นำในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเป้าหมาย ดำเนินการขยายผลการปลูกผักสวนครัว และพืช
สมุนไพร จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ชนิด และดำเนินกิจกรรม “เอามื้อ สามัคคี”ปลูกพืชผักสวนครัว ในแปลงศูนย์เรียนรู้
ทฤษฎีใหม่ รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล

2.5 โครงการสตรีแบ่งปันรัก ปลูกผักสวนครัว โดยมีคณะกรรมการพัฒนาบทบาทสตรี
จังหวัดปราจีนบุรีเป็นผู้ขับเคลื่อนกิจกรรมของจังหวัดปราจีนบุรี ดำเนินการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว
ให้ครัวเรือนของสตรีดำเนินการปลูก

2.6 โครงการ 1 ตำบล 1 ถนนกินได้ ปลอดภัย ไร้สารพิษ ดำเนินการขยายผลการปลูกพืช
ผักสวนครัวไม้ผลไม้ยืนต้น บริเวณข้างถนนอย่างน้อยตำบลละ 1 แห่ง

ข้อมูล : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี

หหน้นา้า99

ชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปราจีนบุรี ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้าง
ค ว า ม มั่ น ค ง ท า ง ด้ า น อ า ห า ร น้ อ ม นำ แ น ว พ ร ะ ร า ช ดำ ริ ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ก นิ ษ ฐ า ธิ ร า ช เ จ้ า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง”
โดยได้รับเมล็ดพันธุ์ ถั่วฝักยาวสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1 จากสมาคมแม่บ้านมหาดไทย เมื่อครั้ง
ประชุมแม่บ้านมหาดไทยสัญจรครั้งที่ 1 ภาคกลางและภาคตะวันออก ในวันที่ 13 ธันวาคม
2564 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดลพบุรี ซึ่งได้มอบเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาว สีม่วง
สิรินธร เบอร์ 1 ซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ขยายผลจากเมล็ดพันธุ์พระราชทานในพื้นที่โก่งธนู
อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ให้ประธานแม่บ้านมหาดไทยทั้ง 25 จังหวัด ได้นำไปปลูกที่
จวนผู้ว่าราชการจังหวัด

ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี และประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปราจีนบุรีพร้อมสมาชิก
ชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปราจีนบุรี ได้นำเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวสีม่วง สิรินธร เบอร์ 1
ปลูกที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 พร้อมปลูกพืชผักสวนครัวอื่นๆ เช่น มะเขือ
พริก กระเพรา และผักสลัด เป็นต้น

หน้า 10 หน้า 10

ปัจจุบันได้เก็บเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวสีม่วง สิรินธร เบอร์ 1 ที่ปลูกที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนำไป
ขยายผลต่อโดยมอบเมล็ดพันธุ์ให้แก่ผู้บริหารของจังหวัด ได้แก่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี
ปลัดจังหวัดปราจีนบุรี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดปราจีนบุรี และนายอำเภอทุกอำเภอ ได้นำไปปลูกที่บ้านพัก

หน้หาน1้า111

ผลการดำเนินการขยายผลโครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” จากเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวสีม่วง สิรินธร
จากจวนผู้ว่าราชการจังหวัดไปสู่บ้านพักผู้บริหารของจังหวัด

หน้า 12 หน้า 12

รวมทั้งยังได้มอบเมล็ดถั่วฝักยาวสีม่วง สิริธร เบอร์1 และพันธุ์ผักสวนครัวอื่นๆ ให้แก่ประชาชน
ในจังหวัด เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนโครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ต่อไปอีกด้วย

หน้หาน้1า312





ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนได้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด- 19

อย่างทั่ วถึง ตามเป้าหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 เพื่ อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่




ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2565 จังหวัดป
ราจีนบุรี ฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 จำนวน 414,188 ราย
คิดเป็นร้อยละ 80.13 เข็มที่ 2 จำนวน 385,300 ราย คิดเป็นร้อยละ 74.54 เข็มที่ 3 จำนวน 173,771 ราย
คิดเป็นร้อยละ 33.61 และเข็มที่ 4 จำนวน 19,852 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.84 โดยฉีดวัคซีนไปแล้ว
รวม 993,111 Dose ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่มโรค และหญิงตั้งครรภ์ สามารถฉีดได้รวม
ร้อยละ 90.98

ทั้งนี้ วัคซีน Moderna ที่ได้รับจัดสรร หน้า 13
จ า ก ส ภ า ก า ช า ด ไ ท ย ไ ด้ ฉี ด ใ ห้ ป ร ะ ช า ช น
ในกลุ่มเสี่ยงตามเป้าหมาย รวม 530 Dose 13
หน้า 14

ข้อมูลการฉีดวัคซีน ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2565 ในกลุ่มนักเรียน/ นักศึกษา อายุ 17 ปีขึ้นไป
ฉีดเข็มที่ 1 จำนวน 38,610 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 36,733 ราย และกลุ่มนักเรียน อายุ 5 – 11 ปี
ฉีดเข็มที่ 1 จำนวน 23,060 ราย และเข็มที่ 2 จำนวน 10,901 ราย

ข้อมูล : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี

หน้หาน้1า514

14

จังหวัดปราจีนบุรีโดยผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการ
ร ณ ร ง ค์ แ ล ะ ป ร ะ ช า สั ม พั น ธ์ เ ชิ ญ ช ว น ป ร ะ ช า ช น เ ข้ า รั บ บ ริ ก า ร ฉี ด วั ค ซี น ป้ อ ง กั น โ ร ค โ ค วิ ด - 1 9
เพื่อร่วมสร้างภูมิคุ้มกันหมู่และผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน เช่น

- จัดสัปดาห์แห่งการฉีดวัคซีนเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงสาธารณสุข และวันพ่อ
แห่งชาติ โดยประชาชนสามารถ walk in เข้ารับการฉีดได้ทุกวัน ณ จุดบริการของโรงพยาบาล

- จัดหน่วยให้บริการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง กลุ่มผู้ประกันตน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้
ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มนักเรียน และพระภิกษุสงฆ์

- จัดกิจกรรม “พาเข็มไปหาแขน” โดยอำเภอร่วมกับสาธารณสุขอำเภอจัดทีมไปฉีดวัคซีน
ตามบ้านเรือนประชาชน

- เน้นให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แก่กลุ่มเป้าหมาย 608 โดยจัดโปรโมชั่น ฉีดวัคซีน
แถมให้ญาติหรือผู้ติดตาม 1 คน

- ประชาสัมพันธ์แผนการฉีดวัคซีนของโรงพยาบาลต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์

หน้า 16 หน้า 15

ทั้งนี้ ชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปราจีนบุรี โดยประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด ได้ร่วมกิจกรรม
รณรงค์ ให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ และผู้ฉีดวัคซีนตามจุดบริการต่างๆ ประชาสัมพันธ์
ให้ความรู้เรื่องวัคซีน การดูแลตนเองภายหลังการฉีดวัคซีน และการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 รวมทั้ง
ชี้แจงการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคส่วนบุคคล DMHTT ด้วย

หน้หาน1้า716

16





ส่งเสริมการสร้างสุขอนามัยให้แก่เด็กและแม่ เติบโตอย่างถูกต้อง
ต า ม เ ก ณ ฑ์ ม า ต ร ฐ า น สุ ข ลั ก ษ ณ ะ

จังหวัดปราจีนบุรี ได้ขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลในการขจัดความยากจน และพัฒนาคนทุกช่วงวัย
อย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป้าหมายคือ การแก้ปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้า
แต่ละครัวเรือน โดยใช้ข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า(Thai People Map
and Analytics Platform) หรือ TPMAP เป็นฐานขับเคลื่อน ด้วยการนำแนวทางเมนูแก้จน 5 ด้าน

(1) มิติสุขภาพ : โดยดูแลครัวเรือนเป้าหมายในทุกช่วงวัย ดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์ อาหารการกิน
ที่ถูกสุขลักษณะ การใช้ยาสามัญประจำบ้าน การมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) มาให้คำแนะนำ และส่งเสริม
การออกกำลัง มีสถานที่ออกกำลัง – สนามเด็กเล่นประจำชุมชน

(2) มิติความเป็นอยู่ : โดยการให้มีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง มีที่ดินทำกินหาเลี้ยงชีพ มีน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาด
และทั่วถึง รวมทั้งให้ความรู้เรื่องสุขภาวะในชุมชน เช่น การคัดแยก-กำจัดขยะ การใช้ส้วมอย่างเหมาะสม

(3) มิติการศึกษา : จัดให้มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การศึกษาก่อนวัยเรียน การศึกษานอกระบบ การศึกษา
ผู้ใหญ่ การศึกษาทางเลือก และอินเตอร์เน็ตหมู่บ้าน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองและการศึกษาตลอดชีวิต

(4) มิติรายได้ : มุ่งยกระดับรายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 38,000 บาท/คน/ปี โดยจัดให้มีการฝึกอาชีพ
ฝึกฝีมือแรงงาน มีอาชีพเสริม เพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ขจัดปัญหาหนี้นอกระบบ และส่งเสริมช่องทาง
ตลาดออนไลน์

(5) มิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ : โดยกลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง "ทั้งหมด"
ต้องไม่ตกหล่น และเข้าถึงระบบสวัสดิการแห่งรัฐ

ชมรมแม่บ้านมหาดไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ในมิติสุขภาพ
โดยช่วยเหลือสนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภคให้แก่แม่และเด็ก แนะนำให้ความรู้การดูแลสุขภาพแม่และเด็ก
ให้ถูกสุขลักษณะ

หน้า 18 หน้า 17

รวมทั้งช่วยเหลือในด้านความเป็นอยู่ โดยจัดทำโครงการแม่บ้านมหาดไทยซ่อมบ้านผู้ยากไร้เทิดไท้
เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จังหวัดปราจีนบุรี ปี พ.ศ.2565 ซ่อมแซมบ้านทั้งหมด 7 หลัง
ซึ่งเป็นครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ มิติด้านความเป็นอยู่ งบประมาณซ่อมแซมหลังละ 30,000 บาท และสนับสนุน
อุปกรณ์เครื่องใข้ภายในบ้าน เพื่อให้บ้านมีสภาพที่ถูกสุขลักษณะ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

หน้หาน้1า918

นอกจากนี้ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปราจีนบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมการอุปการะ
เยาวชนประจำจังหวัดของมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ติดตาม
เยี่ยมเยาวชนที่ได้รับทุน ซึ่งในจังหวัดปราจีนบุรีมีนักเรียนทุนมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ รวมจำนวน
37 ราย เพื่อให้คำแนะนำในการเรียนและการดำเนินชีวิต รวมทั้งช่วยเหลือสนับสนุนเงินทุนการศึกษา
และสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค
หน้า 20

การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง และนักเรียนมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ

ของชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปราจีนบุรี ประจำปี 2564-2565




ลำดับ กลุ่มการช่วยเหลือ จำนวน ความช่วยเหลือ



(ราย)


- มอบเงินช่วยเหลือ 1,000 บาท/คน

1 กลุ่มผู้สูงอายุ 707 - มอบชุดอุปโภค-บริโภค
- มอบผ้าห่ม

- หน้ากากอนามัย/แอลกอฮอล์

2 กลุ่มผู้พิการ - มอบชุดอุปโภค-บริโภค

738 - มอบน้ำดื่ม

- มุ้ง

3 กลุ่มป่วยติดเตียง - มอบชุดอุปโภค-บริโภค

- มอบน้ำดื่ม

1,059 - มุ้ง

- ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

- หน้ากากอนามัย/แอลกอฮอล์

- มอบเงินช่วยเหลือ 2000 บาท/คน
- มอบชุดอุปโภค-บริโภค

4 คนไข้ในพระราชานุเคราะห์ และพระบรมราชานุเคราะห์ 54 - มอบผ้าห่ม

- มอบน้ำดื่ม
- หน้ากากอนามัย/แอลกอฮอล์

- มอบทุนการศึกษา 1,000 บาท/คน

5 นักเรียนทุนมูลนิธิร่วมจิตต์ น้อมเกล้าฯ 37 - มอบผ้าห่ม
- มอบชุดอุปโภค-บริโภค

- หน้ากากอนามัย/แอลกอฮอล์

6 นักเรียนในพื้นที่จังหวัด 56 - มอบทุนการศึกษา 1,000 บาท/คน


รวม 2,651


หนห้าน้า2120





โครงการส่งเสริมการใช้ผ้าไทย น้อมนำแนวพระราชดำริ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา

“ผ้าไทยใส่ให้สนุก” เพื่ อสร้างงานสร้างอาชีพ สร้างรายได้




ผ้ า ป ร ะ จำ จั ง ห วั ด ป ร า จี น บุ รี


1. ผ้าลายดอกปีบมาจากดอกปีบ ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด และสีเหลืองมาจากสีทอง
ของทุเรียนหมอนทองปราจีนบุรี ร่วมกันออกแบบโดยคณะกรมการจังหวัด หอการค้าจังหวัด
สมาคมท่องเที่ยว เมื่อปี พ.ศ.2540 รายได้จากการจำหน่ายผ้าดอกปีบเข้ามูลนิธิปราจีนถิ่นคนดี
ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการช่วยเหลือทางด้านการศึกษาเด็กที่ยากจน

2. ผ้าลาย “ปราจีนบุรี ศรีภูษา” พัฒนาและออกแบบลวดลายมาจากอัตลักษณ์ของจังหวัด
ลวดลายบนผืนผ้าประกอบด้วย “ใบโพธิ์” เป็นตัวแทนของต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ เชื่อว่าเป็นต้นโพธิ์
หน่อมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้ พุทธคยาประเทศอินเดียที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
“สวัสดิกะ”เครื่องหมายที่พบอยู่กลางรอยพระพุทธบาทคู่ที่ใหญ่ที่สุดอายุเก่าแก่ที่สุดอยู่ที่อำเภอศรีมโหสถ
“แม่น้ำปราจีนบุรี” เป็นตัวแทนวิถีชีวิตของชาวปราจีนบุรีที่มีความอุดมสมบูรณ์ผูกพันกับสายน้ำ “ดอกปีบ”
เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี จำนวนเครื่องหมายสวัสดิกะ และ ดอกปีบ บนผืนผ้า มีจำนวน 7 แถว
แทนจำนวน 7 อำเภอของจังหวัดปราจีนบุรี

หน้า 22

ผ้ า ล า ย พ ร ะ ร า ช ท า น

ผ้ า มั ด ห มี่ ล า ย ข อ เ จ้ า ฟ้ า สิ ริ วั ณ ณ ว รี ฯ



วันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2564 จังหวัดปราจีนบุรี โดยผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี เป็นประธาน
ในพิธีมอบแบบลายมัดหมี่ ชื่อลาย " มัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ" ให้กับ หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ
พัฒนาการอำเภอ ผู้แทนกลุ่มทอผ้าจากจังหวัดปราจีนบุรี ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี
ตำบลไม้เค็ด อำเภอเมืองปราจีนบุรี
ผ้ า ขิ ด ล า ย น า รี รั ต น ร า ช กั ญ ญ า



วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2565 นายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี
พร้อมด้วย นางมัทนา สุวัณณุสส์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปราจีนบุรีเป็นประธาน
ในพิธีมอบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ให้กับ หัวหน้าส่วนราชการ
นายอำเภอ พัฒนาการอำเภอ ผู้แทนกลุ่มทอผ้าจากจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อนำไปใช้เป็นต้นแบบ
ในการทอผ้า ผลิตผ้า และ ผลิตภัณฑ์ ในแต่ละท้องถิ่น เป็นการเริ่มต้นต่อยอด แนวความคิด
ในการพัฒนาลวดลายผ้าไทย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไทย ให้มีความทันสมัย สามารถก้าวสู่สากล
เพื่อวิถีชุมชนที่ยั่งยืน

หน้หาน2้า322

จังหวัดปราจีนบุรี ได้ขับเคลื่อนนโยบายการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้
ในแผ่นดินติดตาม ส่งเสริม ให้คำแนะนำแก่กลุ่มทอผ้า เช่น

- ผ้าลายขอพระราชทาน ได้จัดทำโครงการภูมิปัญญาทอผ้าปราจีนบุรี ฝึกอบรมให้ความรู้
การทอผ้ามัดหมี่ลายขอ และการมอบวัสดุ ครุภัณฑ์ให้แก่กลุ่ม จำนวน 9 กลุ่ม

- ผ้าลายขิดพระราชทาน จัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจ และส่งเสริม ต่อยอดการทอผ้าลายขิด

พระราชทาน

- ผ้าลายประจำจังหวัด (ผ้าปราจีน ศรีภูษา) ติดตามลงในพื้นที่เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มทอผ้าดำเนินการทอผ้า
อัตลักษณ์ปราจีนบุรี (ผ้าปราจีน ศรีภูษา) ขณะนี้ดำเนินการแล้ว จำนวน 2 กลุ่ม และมีแผนการดำเนินงาน
ขยายต่อยอดการทอผ้าอัตลักษณ์ปราจีนบุรีให้กับกลุ่มอื่น เพื่อนำไปจำหน่ายให้ แก่ข้าราชการ เอกชน
และประชาชนที่สนใจ นำไปตัดเย็บและสวมใส่

ปัจจุบันจังหวัดปราจีนบุรีมีกลุ่มทอผ้าทอมือ จำนวน 8 กลุ่ม และกลุ่มผลิตผ้าบาติก จำนวน 1 กลุ่ม

รวมทั้งหมด 9 กลุ่ม ประกอบด้วย

ที่ อำเภอ ตำบล ชื่อกลุ่มทอผ้า ผลิตภัณฑ์

1 กบินทร์บุรี หนองกี่ กลุ่มทอผ้ามัดหมี่บ้านทด ผลิตผ้าลายขอพระราชทานและผ้ามัดหมี่

ทอมือลายสร้างสรรค์

2 กบินทร์บุรี วังท่าช้าง กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านวังใหม่ ผลิตผ้ามัดหมี่ลายขอพระราชทาน
ผ้าขาวม้าและผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัด

3 กบินทร์บุรี วังท่าช้าง กลุ่มผ้ามัดหมี่ทอมือบ้านวังใหม่ ผลิตผ้ามัดหมี่ลายขอพระราชทาน
ผ้าขาวม้าและผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัด

4 กบินทร์บุรี ลาดตะเคียน นันทวันไหมไทย ผลิตผ้าไหมลายขอพระราชทาน
และผ้าไหมลายสร้างสรรค์

5 กบินทร์บุรี กบินทร์ . กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าบาติก ผลิตผ้าบาติกลายขอพระราชทาน
ตัดเย็บตำบลกบินทร์

6 ประจันตคาม ดงบัง กลุ่มสตรีทอผ้าดงบัง ผลิตผ้ามัดหมี่ลายขอพระราชทาน
ผ้าขาวม้าและผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัด

7 นาดี สำพันตา กลุ่มอาชีพทอผ้าบ้านโคกกระจง ผลิตผ้ามัดหมี่ลายขอพระราชทาน ผ้า

ขาวม้าและผ้ามัดหมี่ทอมือลายสร้างสรรค์

8 นาดี สำพันตา กลุ่มทอผ้าสตรีบ้านใหม่พัฒนา ผลิตผ้ามัดหมี่ลายขอพระราชทาน
ผ้าขาวม้าและผ้ามัดหมี่ทอมือลายสร้างสรรค์

9 ศรีมโหสถ โคกปีบ กลุ่มนฤมิตร ผลิตผ้ามัดหมี่ลายขอพระราชทาน
และผ้ามัดหมี่ทอมือลายสร้างสรรค์ (มกร)

มีรายได้จากการจำหน่าย ยอดรวมสะสมเดือนตุลาคม 2564 - พฤษภาคม 2565 เป็นเงิน 1,174,200 บาท

ข้อมูล : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี

หน้า 24

ตั ว อ ย่ า ง แ บ บ ล า ย ผ้ า ข อ ง ก ลุ่ ม ต่ า ง ๆ




ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ กับดอกปีบ ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี โดยกลุ่ม
ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านวังใหม่ หมู่ที่ 17 ตำบลวังท่าช้าง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ กับต้นยางนาใหญ่ ซึ่งเป็นต้นไม้สำคัญของอำเภอประจันตคาม
โดยกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านดงบัง หมู่ที่ 1 ตำบลดงบัง อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี

ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ กับลายแก่งหินเพิง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอนาดี
โดย กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านโคกกระจง หมู่ที่ 6 ตำบลสำพันตา อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี

หน้หาน้2า524

ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี และประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปราจีนบุรี ได้ประชาสัมพันธ์
เชิญชวนสวมใส่ผ้าไทย และอุดหนุนผ้าไทยของกลุ่มกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้า
และเครื่องแต่งกาย ผ่านช่องทางสื่อ online และการประชุมประจำเดือนของส่วนราชการ เพื่อรณรงค์
ให้ข้าราชการ ประชาชนได้สวมใส่ผ้าไทย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน ในวันอังคาร และวันศุกร์ และในปี 2565
ได้เชิญชวนทุกภาคส่วนสวมใส่ผ้าไทยสีฟ้าทุกวันศุกร์ เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภัคดีและเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิม
พระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565

หน้า 26

25

รวมทั้ง ได้ลงเยี่ยมและให้คำแนะนำในการทอผ้ากับกลุ่มทอผ้าในการทอผ้าลายพระราชทาน
และผ้าลายประจำจังหวัดอีกด้วย

หหนน้้าา 2276

26





โครงการ “ครอบครัวมหาดไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”
โดยจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน เพื่ อการคัดแยกขยะแห้งขยะเปียกให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์




จังหวัดปราจีนบุรีได้ดำเนินการขับเคลื่อน “แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด”
โดยมีกรอบดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการฯ จำนวน 3 ระยะ ได้แก่ ต้นทาง คือการลดปริมาณขยะ
และการส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง กลางทาง คือการจัดระบบเก็บและขนอย่างมี ประสิทธิภาพ
และปลายทาง คือ ขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยใช้หลัก 3 ช : ใช้น้อย
ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ หรือ 3Rs : Reduce Reuse และ Recycle

ผลการดำเนินงานในปี พ.ศ.2564 จังหวัดปราจีนบุรีร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย ดังนี้
1) การให้ความรู้เกี่ยวกับการลดปริมาณและคัดแยกขยะ
2) การจัดการขยะพลาสติก
3) การจัดทำปุ๋ยจากขยะอินทรีย์หรือขยะเศษอาหารหรือขยะเปียก (ถังขยะเปียกระบบปิด)
4) การเลี้ยงไส้เดือนดินจากขยะ
5) การจัดทำสิ่งประดิษฐ์จากขยะ
6) การอบรมเกี่ยวกับการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์หรือขยะอินทรีย์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปราจีนบุรี มีการติดตั้งถังขยะเปียกในครัวเรือน
และถังขยะเปียกรวมของอาคารชุดพักอาศัยภายในจังหวัด คิดเป็นร้อยละ 94.55 และจัดให้มี
ภาชนะรองรับขยะมูลฝอยแบบแยกประเภทในสถานที่สาธารณะ อย่างน้อยจุดละ 2 ถัง
ประกอบด้วย ถังขยะสีน้ำเงินสำหรับขยะทั่วไป และถังขยะสีเหลืองสำหรับขยะรีไซเคิล ครบทุกแห่ง
มีการนำขยะไปใช้ประโยชน์ เช่น การนำไปหมักทำปุ๋ย การจัดตั้งธนาคารขยะ การจัดทำสิ่งประดิษฐ์
จากขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 20.14 และจำนวนครัวเรือนในจังหวัดปราจีนบุรี ที่เข้าร่วมเครือข่าย
“อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอย คิดเป็นร้อยละ 42.20

การขยายผลและการขับเคลื่อนในปี พ.ศ.2565
การดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามวาระ “ปราจีนบุรี
เมืองสะอาด” นโยบายเน้นหนักของผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี วาระสำคัญ “ปราจีนบุรี น่าอยู่ น่ายล
ประชาชนมีส่วนร่วม” ซึ่งถือเป็นนโยบายสำคัญอีกประการหนึ่งของ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทยโดยมุ่งเน้นรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดและความเป็น
ระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ราชการ บ้านเรือน ตลาดสด ตลาดนัด ถนนหนทาง สถานที่
สาธารณะ รวมถึงการรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริหารจัดการคัดแยกขยะให้เป็นระบบ
มากยิ่งขึ้น

หน้า 28

ผลการดำเนินการ
(๑) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 69 แห่ง (ยกเว้น ทต.โคกปีบ ปิดสำนักงานเนื่องจากมีผู้ติด

เชื้อโควิด-19) ได้จัดกิจกรรม (kickoff) กิจกรรมจิตอาสาพัฒนา “ปราจีนบุรีเมืองสะอาด” เมื่อวันพฤหัสบดี
ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 พร้อมกัน

(๒) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 70 แห่ง ดำเนินการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา
“ปราจีนบุรีเมืองสะอาด” ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนธันวาคม 2565 ซึ่งจะมีการจัด
กิจกรรมรวมทั้งสิ้น 769 ครั้ง

ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้มีข้อราชการเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการทำความดีถวาย
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคล
เฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 จังหวัดปราจีนบุรี จึงได้มอบหมายให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ดังนี้

1. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติท้องถิ่น เรื่อง การอนุญาต
ให้มีการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนใหม่ได้ โดยในแบบก่อสร้างต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียประจำครัว
เรือนอยู่ด้วย

2. ให้อำเภอรณรงค์ส่งเสริมให้มีการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนให้ครบทุกครัวเรือน ในกรณีครัวเรือน
ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เช่น ตึกแถว เป็นต้น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหาถังขยะเพิ่มเติม
อย่างน้อย 3 ถัง ได้แก่ ถังขยะเปียก ถังขยะแห้ง และถังขยะอันตราย โดยให้มีในทุกชุมชน

ข้อมูล : สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี

หหนน้้าา 2298

ชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปราจีนบุรี ได้ดำเนินโครงการ “ครอบครัวมหาดไทย
ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายของสมาคมแม่บ้านมหาดไทย โดยจัดทำถังขยะเปียก
เพื่อนำปุ๋ยที่ได้จากขยะอินทรีย์มาใช้กับแปลงผักหรือผักริมรั้วในครัวเรือนโดยเริ่มต้นจากใน
จวนผู้ว่าราชการจังหวัด และขยายผลต่อไปยังบ้านพักของผู้บริหารในจังหวัด เช่น บ้านพักรอง
ผู้ว่าราชการจังหวัด บ้านพักหัวหน้าสำนักงานจังหวัด เป็นต้น รวมทั้งได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์
ให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และการจัดทำถังขยะอินทรีย์แก่หมู่บ้าน ชุมชน อีกด้วย
หน้า 30



คณะผู้จัดทำ

ที่ปรึกษา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี
นายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี (1)
นายอนุชิต สังฆสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี (2)
นายพงษ์สิทธิ์ เนื่องจำนงค์

คณะผู้จัดทำ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปราจีนบุรี
นางมัทนา สุวัณณุสส์ รองประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปราจีนบุรี คนที่ 1
นางดวงพร สังฆสุวรรณ รองประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปราจีนบุรี คนที่ 2
พ.ต.ท. หญิง สุมน เนื่องจำนงค์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดปราจีนบุรี
นางจารุณี กาวิล เลขานุการชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปราจีนบุรี
หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายในจังหวัดปราจีนบุรี
นางสาววงเดือน ใช้ได้สุก เหรัญญิกชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดปราจีนบุรี

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1. สำนักงานจังหวัดปราจีนบุรี
2. ที่ทำการปกครองจังหวัดปราจีนบุรี
3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี
4. สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดปราจีนบุรี
5. สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดปราจีนบุรี
6. สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดปราจีนบุรี

หน้า 30


Click to View FlipBook Version