สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้ความสำคัญและทุ่มเท
พระวรกายในการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของชาติ อย่างผ้าไทยที่ทรงอนุรักษ์ฟื้นฟูและเป็นแบบอย่าง
ในการใช้ผ้าไทยด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงพลิกฟื้นผ้าไทย จากสิ่งทอของชาวบ้านที่เกือบสูญหายให้กลับมาเป็น
อาภรณ์ของคนทั่วโลก ที่ทรงคุณค่าและงดงามอันประเมินค่ามิได้ จึงมีพระราชดำริ ควรส่งเสริมให้ราษฎรทอผ้าไหม
มัดหมี่เป็นอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ จึงมีพระราชเสาวนีย์ให้ชาวบ้านทอผ้าส่งถวาย พระองค์ทรงรับซื้อ ทำให้เกิด
การฟื้นฟูและส่งเสริมหัตถกรรมทอผ้า นอกเหนือจากอาชีพเกษตรกรรม พร้อมทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ก่อตั้งมูลนิธิ
ส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปี ๒๕๑๙ เป้าหมายเพื่อช่วยชาวนาในถิ่นทุรกันดาร
ทั่วประเทศให้มีรายได้เสริมจากงานหัตถกรรมทอผ้า และหัตถกรรมประเภทอื่น ๆ เป็นการเปิดกว้างให้ชาวบ้านแสดง
ความสามารถในการสร้างสรรค์งานฝีมือ เป็นการสร้างรายได้และพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งยั่งยืน การที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชดำริที่ครบวงจร นับเป็นประโยชน์ใหญ่หลวงต่อราษฎร
ทำให้ชาวไร่ชาวนามีความรู้มากขึ้น สามารถประกอบอาชีพ และต่อยอดศิลปวัฒนธรรมของชาติได้อย่างแท้จริง
ดังพระราชดำริที่ว่า “ขาดทุนของข้าพเจ้า คือกำไรของชาติ”
เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญ
พระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกใน
พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดได้ ที่ทรงพระวิริยะอุตสาหะปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการส่งเสริมเรื่อง “ผ้าไทย”
และสิ่งทอท้องถิ่นที่เกือบสูญหายให้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง พร้อมยกระดับผ้าไทยให้มีความโดดเด่น
และมีชื่อเสียงในเวทีโลก เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
ให้ดียิ่งขึ้น กระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้จังหวัดคัดเลือกลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัด
โดยจังหวัดปราจีนบุรี ได้พัฒนาและออกแบบลายผ้า “ปราจีนบุรี ศรีภูษา” โดยในลายผ้าจะประกอบด้วย
ใบโพธิ์ สวัสดิกะ แม่น้ำปราจีนบุรี และดอกปีบ ซึ่งแต่ละลายมีความหมายสื่อถึงจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อให้ประชาชน
ชาวจังหวัดปราจีนบุรี ได้ร่วมกันสวมใส่ผ้าไทยลายอัตลักษณ์ประจำจังหวัดรวมทั้งเป็นการช่วยเหลือ ผู้ผลิต
ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ในพื้นที่จังหวัดอีกด้วย
บทที่ ๑
ประวัติและข้อมูลทั่วไปของจังหวัดปราจีนบุรี
๑. ความเป็นมาของจังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรี เคยเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมายาวนาน ดังปรากฏการตั้งถิ่นฐานของชุมชน
โบราณเมื่อประมาณ ๒๐๐๐ - ๒๕๐๐ ปีที่แหล่งโบราณคดีบ้านกระทุ่มแพ้ว ตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง
บ้านหนองอ้อ ตำบลดงพระราม อำเภอเมืองปราจีนบุรี และบ้านดงชัยมัน ตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม
โบราณวัตถุที่พบได้แก่ ลูกปัดแก้วแบบอินโด - แปซิฟิก สีต่างๆ ลูกปัดหิน คาร์เนเลียน หินอะเกตและหินควอตซ์
เครื่องมือเหล็ก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนโบราณใกล้เคียงและอินเดียโดยเฉพาะที่บ้านดงชัย
มันได้พบชิ้นส่วนกลองมโหระทึก ซึ่งเป็นโบราณวัตถุในวัฒนธรรมดงชอนเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมซึ่งพบทางตอนใต้
ของจีนและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยและยังพบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ
ที่เรียกว่า “เมืองศรีมโหสถ” ที่ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถและบริเวณบ้านโคกขวาง อำเภอศรีมหาโพธิ
บริเวณซากเมืองโบราณเหล่านี้มีซากโบราณสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมศาสนกิจและโบราณวัตถุได้แก่ พระพุทธรูป
เทวรูป เครื่องปั้นดินเผา เครื่องสำริดซึ่งเป็นเครื่องมือและเครื่องใช้กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปต่อมาศูนย์กลาง
ความเจริญได้ย้ายมาตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางประกง ดังเช่นป
ัจจุบัน “เมืองปราจีน” เป็นชื่อที่เรียกกันมาตั้งแต่สมัย
กรุงศรีอยุธยา และยังต่อมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต
อนต้นเรียกว่า “เมืองปราจิณ” หรือ “มณฑลปราจิณ”
จวบจนสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดระเบียบ
การปกครองแผ่นดินตามแบบต่างประเทศมณฑลปราจิณได้ถูกยุบเลิกคงมีฐานะเป็นเพียงหัวเมืองหนึ่งต่อมา
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” จึงมีชื่อเรียกใหม่ว่า “จังหวัดปราจีนบุรี”
ภาพ : ตราประจำจังหวัดปราจีนบุรี
ตราประจำจังหวัด เป็นรูปต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ ที่ปลูกไว้ที่ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ เป็นต้นโพธิ์
ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เป็นสัญลักษณ์ทางด้านพุทธศาสนาของจังหวัดปราจีนบุรี
หน้า ๑
ภาพ : ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ
ทมีี่อเก่าายแุกก่วท่ีา่สุด๒ใ,น๐ป๐ร๐ะเทปีศซไึ่ทงนยำทีเ่ขเ้ชืา่อมวา่าปเปล็ูนกตเ้ปนต็ัน้โงพตอ้ธินย์ูท่ีทแ่ีเ่ปร็ตกนำหตบ้นน่ลอโโจพคาธกิก์
ตปต้ี้นนบนพี้จมรัีงะขหศนวราัีมดดหปเสาร้โนาพจรีธิอน์ สบบุถวรีางนภขทอาี่ตยงรลใัสนำรตวู้้ัจดนาตก้๒นพุ๐ศทรธเีมมคหยตาราปโสพรูงะธิ์เ๓ทมีศ๐ต้อินเนมโเพดตียธริ์
มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒๕ เมตร นอกจากนี้ยังมีพระเจดีย์ประธานของวัดที่จำลองแบบจาก เจดีย์พุทธคยา มีลายปูนปั้น
รูปเทวดาซึ่งงดงามมากที่ผนังด้านนอกของห้องคูหาส่วนฐานพระเจดีย์ด้วย
ทั้งนี้มีตำนานกล่าวว่า พระเจ้าทวานัมปะยะดิษฐ์ เจ้าครองเมืองศรีมโหสถในสมัยขอมเรืองอำนาจทรงเลื่อมใส
ในพุทธศาสนา จึงได้ส่งคณะทูตเดินทางไปขอกิ่งต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าประทับเมื่อคราวตรัสรู้ จากเจ้าผู้ครอง
นครปาตุลีบุตร ประเทศอินเดีย แล้วนำกิ่งโพธิ์นั้นมาปลูกที่วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด
ปราจีนบุรี ในวันวิสาขบูชาจะมีงานนมัสการต้นพระศรีมหาโพธิ์
หน้า ๒
โบราณสถานสระมรกต ตั้งอยู่ที่วัดสระมรกต ตำบลโคกไทย เป็นกลุ่มโบราณ
สถานทางพุทธศาสนาขนาดใหญ่ ที่สร้างซ้อนทับกันหล
ายสมัย เริ่มตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๔ เป็นต้นมา
จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้าง ศิล
าแลง และอิฐ ส่วนใหญ่คงเหลือเฉพาะรากฐานอาคาร
เท่านั้น ระหว่างการขุดแต่งได้ค้นพบรอยพระพุทธบาทคู่ สลักอยู่บนศิลาแลง สลักเป็นรอยเลียนแบบรอยเท้า
มนุษย์ กลางฝ่าพระบาทสลักรูปธรรมจักรนูนทั้งสองข้างและยังมีการสลักรูปเครื่องหมายสวัสดิกะ ตรงกลางมี
หลุมสำหรับใช้ปักเสาสันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อปักฉัตรหรือร่ม รอยพระพุทธบาทคู่นี้คาดว่าสร้างขึ้นครั้งแรกสมัย
ทวารวดี ถึงสมัยลพบุรี นับเป็นรอยพระพุทธบาทที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ใกล้กันมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
ซึ่งพบพระพุทธรูปและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากภายในบ่อ และเป็นบ่อซึ่งได้นำน้ำขึ้นทูลเกล้าถวายเนื่องใน
พิธีรัชมังคลาภิเษก นอกจากนั้นยังมี สระมรกต เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานสระมรกตประกอบด้วย อาคาร
ศิลาแลงล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ลักษณะเป็นอโรคยาหรือโรงพยาบาล เป็นสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาด
กว้างประมาณ ๑๑๕ เมตร ยาว ๒๑๔ เมตร ลึก ๓.๕๐ เมตร มีพื้นที่ประมาณ ๒๕ ไร่ สันนิษฐานว่าขุดขึ้นมา
เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำ และได้นำศิลาแลงไปใช้เป็นสถาปัตยกรรม นอกจากสระมรกตแล้วยังมีสระบัวหลวงด้วย
หน้า ๓
ภาพ : แม่น้ำปราจีนบุรี
เป็นแม่น้ำสายสำคัญในจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา มีความยาวประมาณ
๒๓๑ กิโลเมตร และมีความกว้างในช่วงที่ไหลผ่านเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราประมาณ ๑๒๐ เมตร แม่น้ำบางปะกง
มีต้นกำเนิดจากแควหนุมานและคลองพระปรงในจังหวัดปราจีนบุรีมาบรรจบกันที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี
จังหวัดปราจีนบุรี โดยจะเรียกว่า "แม่น้ำปราจีนบุรี" และแม่น้ำนครนายกกับคลองบางหอยไหลมาบรรจบกัน
ที่ตำบลบางสมบูรณ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ก่อนที่ทั้งสองสายจะบรรจบกันบริเวณตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง
จังหวัดปราจีนบุรี และไหลออกสู่ทะเลอ่าวไทยที่บริเวณตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เพราะความอุดมสมบูรณ์
ของแม่น้ำปราจีนบุรี และธรรมชาติที่รายล้อม ทำให้แม่น้ำปราจีนบุรี เป็นสายน้ำเย็นที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนริมฝั่ง ทั้งยังมีเทศกาล
แข่งเรือยาวซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านที่มีความผูกพันกับแม่น้ำปราจีนบุรีมาอย่าง
ยาวนาน นอกจากนี้แม่น้ำปราจีนบุรียังเป็นเส้นทางสัญจรครั้นอดีตถึงปัจจุบัน เป็นแหล่งอาหารให้ชาวบ้านและสัตว์
มากมาย เป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับใช้ในการทำเกษตรกรรม สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ของจังหวัดปราจีนบุรี
แสดงถึงวิถีชีวิตของชาวปราจีนบุรีที่มีความผูกพันกับสายน้ำในการดำรงชีวิต
หน้า ๔
ภาพ : ดอกไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี
(ชื่อสามัญ Cork Tree) หรือภาคเหนือเรียกว่า กาซะลอง กาดสะลอง ภาคกลาง
เรียกปีบ ภาษากะเหรี่ยง (กาญจนบุรี) เรียกว่า เด็กดองโห่
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นสูงประมาณ ๑๐ - ๒๐ เมตร เปลือก
ลำต้นสีเทาขรุขระ ใบออกเป้นช่อ ลักษระใบกลมรี ขอบใบเรียบโคนใบมน ใต้ใบเห็นเส้นใบชัดเจน ดอกออก
เป็นช่อตั้งตรง ลักษระเป็นท่อยาวประมาณ ๒ - ๓ นิ้ว สีขาวปนเหลืองขนาด ๒ เซนติเมตร ปลายกลีบดอกเป็น
แฉก ๕ แฉก มีกลิ่นหอมอ่อน ชวนหลงใหล ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียติดอยู่ด้านในใกล้ปากท่อ
ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ภายในมีเมล็ดลักษณะแบบขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการปักชำ เหมาะที่จะ
ปลุกในพื้นที่ที่มีดินร่วนซุย แสงแดดจัดหรือกลางแจ้งมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและประเทศพม่า
หน้า ๕
ภาพ : ธงประจำจังหวัดปราจีนบุรี
ธงประจำจังหวัดปราจีนบุรี ขนาดพื้นธงกว้าง ๑
.๕๐ เมตร ยาว ๒.๒๕ เมตร ลักษณะพื้นธงตอนต้นมีพื้น
สีแดงซึ่งกำหนดเป็นสีประจำภาค ๒ กว้างยาวด้านละ ๑.๕
๐ เมตร มีรูปต้นโพธิ์อยู่ในกรอบวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง
๘๕ เซนติเมตร สำหรับพื้นที่ธงที่เหลือเป็นสีเหลือง
๒. การแบ่งเขตการปกครอง
จังหวัดปราจีนบุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอศรีมโหสถ
อำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอประจันตคาม อำเภอนาดี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอบ้านสร้าง โดยแบ่งเขตตำบลออกเป็น
๖๔ ตำบล และหมู่บ้าน ๗๐๘ หมู่บ้าน
หน้า ๖
บทที่ ๒
ลวดลายความเป็นอัตลักษณ์
จังหวัดปราจีนบุรี โดยคณะกรรมการพิจารณ
าคัดเลือกลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดปราจีนบุรี
ได้พิจาณาออกแบบลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดปราจีนบุรีขึ้นมาใหม่ โดยนำเอาสัญลักษณ์ที่สำคัญและสื่อถึง
ความเป็นจังหวัดปราจีนบุรีนำไปออกแบบเป็นลวดลายบนผืนผ้า ซึ่งสามารถแสดงถึงความเป็นจังหวัดปราจีนบุรี
นำไปออกแบบเป็นลวดลายบนผืนผ้า โดยกำหนดชื่อลายผ้า “ปราจีนบุรี ศรีภูษา” หมายถึง ผ้าที่เป็นเกียรติเป็น
ศรีของจังหวัดปราจีนบุรี โดยในลายผ้าจะประกอบด้วย ใบโพธิ์ สวัสดิกะ แม่น้ำปราจีนบุรี และดอกปีบ ซึ่งแต่ละลาย
มีความหมาย ดังนี้
“ใบโพธิ์” สื่อถึงต้นพระศรีมหาโพธิ์ ต้นไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในเขตวัดต้นโพธิ์ ศรีมหาโพธิ
ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ เชื่อว่าเป็นต้นโพธิ์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สันนิษฐานว่าเป็นหน่อจากต้นพระศรีมหา
โพธิ สถานที่ตรัสรู้จากพุทธคยา ประเทศอินเดีย ซึ่งนำเข้ามาปลูกเป็นต้นแรกในประเทศไทย
“สวัสดิกะ” เป็นภาษาสันสฤตหมายความว่าสัญลักษณ์แห่งโชคและความอยู่ดีมีสุข ปรากฏอยู่ในรอย
พระพุทธบาทคู่ ซึ่งมีแห่งเดียวในประเทศไทย และเป็น ๑ ใน ๔ ของโลกที่มีการค้นพบสัญลักษณ์ดังกล่าว นอกจากนี้
รอยพระพุทธบาทคู่ซึ่งประดิษฐาน ณ โบราณสถานสระมรกต
อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ยังเป็นรอยพระพุทธบาท
ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย แสดงถึงความเจริญรุ่ง
เรืองของพระพุทธศาสนาที่มีการเผยแผ่มายังดินแดนเมือง
ศรีมโหสถในสมัยทวารวดี “แม่น้ำปราจีนบุรี” สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ของจังหวัดปราจีนบุรี แสดงถึงวิถีชีวิตของ
ชาวปราจีนบุรีที่มีความผูกพันกับสายน้ำในการดำรงชีวิตทั้งในการอุปโภค บริโภค และทำเกษตรกรรม
“ดอกปีบ” หรือ ดอกกาสะลอง เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งมีลักษณะรูปดอกเป็นแตร กลีบดอก
๕ กลีบ สีขาวนวล ส่งกลิ่นหอมอ่อน ชวนหลงใหล
“สีประจำจังหวัดประจำจังหวัดปราจีนบุรี” ได้แก่
“สีแดง” สื่อถึง ความมีพลังอำนาจ ชื่อเสียง ลาภยศ ป้องกันสิ่งไม่ดี ปกป้องคุ้มครองให้ปลอดภัย
ความมั่งคั่งเจริญรุ่งเรือง
“สีเหลือง” สื่อถึง ความมั่งคั่งเจริญรุ่งเรือง
โดยจัดวางเครื่องหมาย “สวัสดิกะ” และสัญลักษณ์ “ดอกปีบ” ตามแนวตั้ง ๗ แถว สื่อถึงตัวแทนพื้นที่
ทั้ง ๗ อำเภอของจังหวัดปราจีนบุรี
ลายผ้า “ปราจีนบุรี ศรีภูษา” ได้รับแนวคิดและการออกแบบจาก นายทัศนัย สุธาพจน์ ปลัดจังหวัดปราจีนบุรี
ดร.ภควัต ปิดตาทะโน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนศรีมโหสถ นายสิทธิผล ชำวงษ์ ผู้แทนหอการค้าจังหวัด
ปราจีนบุรี และนายจินดา กิมกูล ข้าราชการบำนาญ
หน้า ๗
หน้า ๘
บทที่ ๓
ผ้าลาย“ปราจีนบุรี ศรีภูษา”
จังหวัดปราจีนบุรี มีประกาศลงวันที่ ๒๖ มกร
าคม ๒๕๖๕ กำหนดให้ลายผ้า “ปราจีนบุรี ศรีภูษา”
เป็นลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดปราจีนบุรี
หน้า ๙
รายละเอียดการทอผ้า
ประกอบจอังาหชีวพัดเปกรษาตจีรนกบรุรรี มมีเคป็วนาพมื้นหฐลาานกหมีลกาายรขถ่อางยททรอัพดยคาวกา
รมทรู้ากงาสรังทคอมผแ้าลพืะ้นวับฒ้านนธขรอรงมท้ปอรงะถิ่ชนาใชนนชุชมาชวนจัตง่าหงวๆัดปทั้รงากจาีนรทบุอรี
ผ้าไหม และการทอผ้าฝ้าย รวมทั้งการทอผ้าผสมใยสังเคราะห์ การทอผ้าในท้องถิ่นได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม
จากภาคอีสาน เช่น การมัดย้อม การทอผ้าขาวม้า เป็นต้น
การทอผ้าฝ้ายยกดอก “ปราจีนบุรี ศรีภูษา” เป็นการทอผ้าที่ทอยก ลวดลายให้นูนสูงขึ้นกว่าพื้นผ้า โดยการ
ยกและแยกเส้นฝ้ายหรือที่เรียนกว่าฝ้ายพุ่ง ขึ้น ลง และมีการเพิ่มเส้นฝ้ายที่ใช้สำหรับเส้นพุ่ง จำนวน ๒ เส้น หรือ
มากกว่านั้น พุ่งเข้าไปกับเส้นฝ้ายทางยืนให้เกิดรูปแบบและลวดลายต่างๆ ตามต้องการ ซึ่งการทอผ้าฝ้ายยก
ดอกนี้จะทำให้เห็นลายผ้าที่เด่นชัด สวยงาม และมีความประณีต ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาจากการทอ
ลาย "ปราจีนบุรียก ศรีภูษา" ทั้งแบบการทอยกดอก การทอแบบมัดย้อม และการทำผ้าบาติก ตามความ
ถนันของกลุ่มทอผ้าในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งปัจจุบันมีกลุ่มทอผ้า ๘ กลุ่ม และกลุ่มผ้าบาติก ๑ กลุ่ม
ให้สามารถต่อยอดสร้างรายได้ต่อไป
หน้า ๑๐
บทที่ ๔
การส่งเสริมและพัฒนาต่อยอด
แนวทางการพัฒนาต่อยอดและยกระดับลายผ้า
อัตลักษณ์ของจังหวัดปราจีนบุรี (ผ้าปราจีนบุรี ศรีภูษา)
๑. สนับสนุนกลุ่มทอผ้าในจังหวัดให้ทอผ้าลา
ย "ปราจีนบุรี ศรีภูษา" โดยการจัดอบรมการฝึกอาชีพ
ให้กลุ่มทอผ้าของจังหวัดปราจีนบุรีทุกกลุ่ม
ปัจจุบันมีกลุ่มทอผ้าที่ดำเนินการทอผ้าลาย "ปราจีนบุรี ศรีภูษา" แล้วตาความถนัดของกลุ่ม เช่น
กลุ่มสตรีบ้านดงบัง ทอแบบยกดอก
กลุ่มบ้านวังใหม่ ทอแบบยกดอกและทอผ้
ามัดหมี่
กลุ่มโคกกะจง ทอผ้ามัดหมี่
หน้า ๑๑
๒. จัดทำผ้าพิมพ์ลาย "ปราจีนบุรี ศรีภูษา" (สีฟ้า) เพื่อรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนสวมใส่ทุกวันศุกร์์
เนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕
ทั้งนี้ จังหวัดปราจีนบุรี โดยผู้ว่าราชการจังหวัดและประธานแม่บ้านมหาดไทย ได้เชิญชวนประชาสัมพันธ์
สวมใส่ผ้าลาย "ปราจีนบุรี ศรีภูษา" เพื่อแสดงความเป็นอัตลักษณ์และความภาคภูมิใจของจังหวัดปราจีนบุรี
หน้า ๑๒
คณะผู้จัดทำ
ที่ปรึกษา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี
นายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี (๑)
นายอนุชิต สังฆสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี (๒)
นายพงษ์สิทธิ์ เนื่องจำนงค์
คณะผู้จัดทำ ประะธธาานนแแม่มบ่้บา้นานมหมาหดาไดทไยทจัยงหจังวัหดปวัดราปจีรนาบจุีรนี บุรี
นางมัทนา สุวัณณุสส์
นางดวงพร สังฆสุวรรณ รหรรัรหออวอัองงหวงปปงหนปป้รรนาระะร้สาะธธะำสาาธธนำนนาัากนนแแนังมมกแแา่่บบงมนม้้่่าาา
บจบั้นนน้งาาหมมจนันหหวงมัมหดาาหหดดปวัาไไารดททดาดปยยจไไีรทจจนทััางงยบยจุหหีจรจันีัววงัังดดบหหุปปรววีััรรดดาาปปจจีีรนนราาบบุุจจรรีีีนนคคบบุนนุรรีททีีี่่คค๒๑นนททีี่่ ๑
พ.ต.ท. หญิง สุมน เนื่องจำนงค์ ๒
นางจารุณี กาวิล
เเลลขขาานุนกุการาชรมชรมมรแมม่แบ้มา่บน้ามนหมาดหไาทดยไจทังยหจวัดงหปวรัาดจปีนรบาุรจีีนบุรี
นางสาววงเดือน ใช้ได้สุก
หหััววหหน้นา้าหหน่นว่ยวตยรตวรจวสจอสบอภบาภยใานยจใังนหจัวังดหปวรัดาจปีนรบาุจรีนบุรี
เเหหรัรญัญญิญกิกชมชรมมรแมมแ่บม้่าบน้ามนหมาดหไาทดยไจทังยหจวัังดหปวรัดาจปีนรบาุรจี นบุรี
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๑. สำนักงานจังหวัดปราจีนบุรี
๒. ที่ทำการปกครองจังหวัดปราจีนบุรี
๓. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี