The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือความปลอดภัยสำหรับลูกจ้าง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

คู่มือความปลอดภัยสำหรับลูกจ้าง

คู่มือความปลอดภัยสำหรับลูกจ้าง

ควสาำมหปรลบั อลดกู จภาัยง

หลกั สตู รความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ มในการทำงาน
สำหรบั ลกู จา งทัว่ ไปและลกู จางเขาทำงานใหม

หัวขอว�ชาท่ี 1 หัวขอ ว�ชาท่ี 2 หวั ขอ วช� าที่ 3

ความรูเกย่ี วกับ กฎหมายความปลอดภยั ขอ บงั คบั วา ดว ยความปลอดภยั
ความปลอดภัยในการทำงาน อาช�วอนามยั อาช�วอนามยั

และสภาพแวดลอ มในการทำงาน และสภาพแวดลอมในการทำงาน

จัดทำโดย สถาบันสง เสรม� ความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ มในการทำงาน (องคก ารมหาชน)

บทนำ

ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน
พ.ศ. 2554 มาตรา 16 กาหนดให้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ออกประกาศกรมสวัสดิการ
และคุ้มครองแรงงาน เร่ือง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไขการฝึ กอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน
และลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน กาหนดให้นายจ้าง
จัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน เพ่อื ให้การ
บริหารจัดการและดาเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน
ได้อย่างปลอดภัย ให้แก่ลูกจ้างระดับบริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างในทุกระดับ กรณีที่ นายจ้าง
ไม่สามารถจัดให้มีการฝึ กอบรมให้แก่ลูกจ้าง ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึ กอบรมกับ
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน หรือหน่วยงาน
ที่กรมสวัสดกิ ารและคุม้ ครองแรงงานกาหนดหรือยอมรับ

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ จึงได้จัดทาหลักสูตรความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทางาน สาหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทางานใหม่ ตามท่ี
กรมสวสั ดิการและคุม้ ครองแรงงานได้กาหนดไว้ในประกาศ

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหลักสูตรนี้ จะช่วยสร้างความเข้าใจให้กับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้าง
เข้าทางานใหม่ สามารถนาองค์ความรู้นี้ไปใช้ในการปฏิบัติงานเพ่ือให้สถานท่ีปฏิบัติงาน
มสี ภาพแวดล้อมในการทางานที่ปลอดภยั

กนั ยายน 2563

สารบัญ

หวั ขอ้ วิชาที่ 1 ความร้เู กยี่ วกับความปลอดภยั ในการทางาน 1
1. คาจากัดความท่เี กย่ี วขอ้ ง 3
2. อุบัติเหตจุ ากการทางาน 5
3. การเจ็บป่ วยจากสภาพแวดลอ้ มในการทางาน 8
4. การป้องกันอบุ ตั เิ หตแุ ละการเจบ็ ป่ วยจากการทางาน 12
5. ความร่วมมือและการสง่ เสริมสขุ ภาพของลูกจา้ ง 16

หวั ขอ้ วิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภยั ฯ 19
1. พระราชบัญญตั ิความปลอดภัยฯ 21
2. กฎหมายทเี่ ก่ยี วขอ้ งกับความปลอดภัยในการทางาน 27

หวั ขอ้ วชิ าที่ 3 ขอ้ บงั คบั วา่ ดว้ ยความปลอดภยั ฯ 28
1. ทม่ี าและความสาคญั 30
2. กฎความปลอดภัยทัว่ ไป 32
3. กฎความปลอดภยั ในการทางานเฉพาะเร่ือง 34
4. ขอ้ บังคบั วา่ ด้วยความปลอดภยั 62

หัวขอว�ชาที่ 1

ความรเู กย่ี วกบั ความปลอดภัยในการทำงาน

สแกน QR-CODE
เพ่อ� รับชมว�ดโี อบรรยาย

หวั ขอว�ชาที่ 1

2 ความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรับลกู จ้างทว่ั ไปและลกู จ้างเข้าทำงานใหม่

หัวขอ้ วิชาท่ี 1 : ความร้เู กยี่ วกบั ความปลอดภยั ในการทำงาน

ประกอบดว้ ยหัวขอ้
1. คาํ จํากัดความที่เก่ียวขอ้ ง
2. อุบัตเิ หตจุ ากการทาํ งาน
3. การเจบ็ ป่ วยจากสภาพแวดลอ้ มในการทาํ งาน
4. การป้ องกนั อุบัตเิ หตแุ ละการเจบ็ ป่ วยจากการทํางาน

แนวคดิ

การประสบอันตรายจากการทาํ งาน อาจมผี ลทําให้เกดิ การบาดเจ็บ พิการ เจ็บป่ วย เกดิ โรค
จากการทํางานหรือเสียชีวิต และอาจทําให้ทรัพย์สินเสียหาย ซึ่งอุบัติเหตุและการเจ็บป่ วยจากการ
ทํางานเหล่านี้ เป็ นเร่ืองที่สามารถป้ องกันมิให้เกิดขึ้นได้ การดําเนินงานด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน จึงเป็นแนวทางในการป้ องกันและควบคุมอุบัติเหตุ
และการเจ็บป่ วยจากการทํางาน สถานประกอบกิจการต้องดําเนินการค้นหาอันตรายและลดความ
เส่ียงต่ออันตรายนั้น ตลอดจนหาสาเหตุของอุบัติเหตุและการเจ็บป่ วยที่เกิดขึ้นกับลูกจ้างและ
ผู้เกี่ยวข้อง และกําหนดมาตรการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ โดยลูกจ้างจะต้องมีส่วนร่วมในการ
ดาํ เนินการตา่ ง ๆ เหล่าน้ดี ว้ ย

การดําเนินงานเพ่ือการป้ องกันอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานนั้น ลูกจ้างจึงต้องมีความเข้าใจ
ถึงปั ญหา สาเหตุของการประสบอันตรายจากการทํางาน ทราบถึงบทบาท หน้าท่ี ความรับผิดชอบ
และมีแนวทางในการปฏิบัติท่ีชัดเจน เพ่ือให้สามารถดําเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทาํ งานในสถานประกอบกิจการให้เกิดประสิทธิผลอยา่ งชดั เจน

วัตถปุ ระสงค์
เม่อื เขา้ รบั การฝึกอบรมในหวั ขอ้ วชิ านีแ้ ลว้ ผูเ้ ขา้ รบั การฝึกอบรมตอ้ งสามารถอธิบาย
1. ความหมายของคําที่เก่ยี วขอ้ งกบั ความปลอดภัยในการทํางานได้
2. สาเหตุของอบุ ัตเิ หตุจากการทํางานได้
3. สาเหตุของการเจบ็ ป่ วยจากสภาพแวดล้อมในการทํางานได้
4. การป้องกนั อบุ ตั เิ หตุและการเจบ็ ป่ วยจากการทํางานได้

ความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรบั ลกู จ้างท่วั ไปและลูกจ้างเขา้ ทำงานใหม่ 3

1. คำจำกัดความที่เกย่ี วข้อง

(1) พระราชบัญญตั ิความปลอดภัย อาชวี อนามัย และสภาพ
แวดลอ้ มในการทํางาน พ.ศ. 2554 ไดใ้ หค้ าํ จาํ กัดความของคาํ ว่า

ความปลอดภยั อาชวี อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทาํ งาน หมายถึง การกระทํา
หรือสภาพการทํางานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทําให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ
หรอื สขุ ภาพอนามยั อันเน่อื งจากการทาํ งานหรือเกี่ยวกับการทาํ งาน

โดยทั่วไปคําว่า ความปลอดภัยในการทํางาน หรือความปลอดภัยและสุขภาพ
อนามัยในการทํางาน (Safety and Health at Work) หรืออาชีวอนามัยและความปลอดภัย
(Occupational Health and Safety) หรือความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (Occupational Safety
and Health) หรือความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ล้วนมคี วามหมาย
เหมอื นกันคอื หมายถึง ความปลอดภยั และสุขภาพอนามัยในการทํางานของลกู จ้าง

นายจ้าง หมายถึง นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและให้
หมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการซึ่งยอมให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาทํางานหรือทําผลประโยชน์
ให้แก่หรือในสถานประกอบกิจการ ไม่ว่าการทํางานหรือการทําผลประโยชน์นั้นจะเป็นส่วนหน่ึง
ส่วนใดหรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการนั้น
หรอื ไมก่ ็ตาม

ลูกจ้าง หมายถึง ลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและให้หมายความ
รวมถึงผ้ซู ึ่งได้รบั ความยินยอมให้ทาํ งานหรือทาํ ผลประโยชน์ให้แกห่ รือในสถานประกอบกิจการของ
นายจา้ งไมว่ ่าจะเรียกช่อื อยา่ งไรกต็ าม

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน หมายถึง ลกู จา้ งซ่งึ นายจ้างแต่งตัง้ ให้ปฏิบัติ
หนา้ ทด่ี า้ นความปลอดภัย อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทาํ งาน

(2) พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ได้ให้คําจํากัดความ

ของคําวา่

ประสบอันตราย หมายถงึ การทีล่ ูกจ้างไดร้ บั อันตรายแกก่ ายหรอื ผลกระทบแกจ่ ิตใจ
หรือถึงแกค่ วามตายเน่ืองจากการทํางาน หรือป้ องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคําสั่ง
ของนายจ้าง

4 ความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรบั ลกู จ้างทว่ั ไปและลูกจา้ งเขา้ ทำงานใหม่

เจ็บป่ วย หมายถึง การที่ลูกจ้างเจ็บป่ วยหรือถงึ แกค่ วามตายด้วยโรคซึ่งเกิดข้ึนตาม
ลักษณะ หรือสภาพของงาน หรือเน่ืองจากการทาํ งาน

โดยทั่วไป การประสบอันตรายจากการทํางาน มีความหมายครอบคลุมถึงการเกิด
อบุ ัติเหตุจากการทํางาน การเจบ็ ป่ วย การเกดิ โรคจากการทํางาน และการเกิดโรคอันเกย่ี วเน่ืองจาก
การทํางาน ทงั้ นี้ การเจ็บป่ วยจากการทํางานมสี าเหตุมาจากสภาพแวดลอ้ มการทํางานและท่าทางการ
ทํางาน เช่น ปวดหลังจากการยกของผิดวิธี อาการตาล้าจากการทํางาน เป็นต้น ส่วนโรคจากการ
ทํางาน หรือโรคจากการประกอบอาชีพ หมายถึง โรคท่ีเกิดจากปั จจัยจากการทํางานโดยตรง
เช่น หตู งึ จากเสียงดงั ในโรงงานปั๊ มโลหะ โรคปอดฝ่ นุ ทรายในโรงงานโมบ่ ดหนิ เป็นตน้

(3) มาตรฐานระบบการจดั การด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางาน (สสปท.1-4-01-00-2562) ไดใ้ ห้คาํ จํากดั ความของ

คาํ ว่า
อนั ตราย หมายถงึ สภาวการณท์ ีม่ เี หตอุ นั จะทาํ ใหเ้ กดิ ความสูญเสยี
อุบตั ิเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่มีผู้ใดตั้งใจให้เกิด เม่ือเกิดข้ึนแล้วมีผลให้เกิดการ

บาดเจบ็ หรือเสยี ชวี ติ หรือทรัพยส์ ินเสยี หาย
เหตุการณ์เกือบเกิดเป็ นอุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ท่ีไม่มีผู้ใดตั้งใจให้เกิด

เม่อื เกดิ ขนึ้ แล้วไมม่ ีผลให้เกดิ การบาดเจ็บ หรอื เสียชีวติ หรอื ทรพั ยส์ นิ เสยี หาย
ความสูญเสยี หมายถึง การบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย หรือเจ็บป่ วย

หรือเป็นโรค
ความเสย่ี ง หมายถึง ระดับของอันตรายท่บี ง่ บอกวา่ ยอมรบั ไดห้ รือยอมรบั ไมไ่ ด้
ระเบียบการปฏบิ ตั ิงาน หมายถึง การอธิบายภาพรวมของการทํางานในกระบวนการ

ทํางานวา่ เกย่ี วขอ้ งกับอะไร ใคร เม่อื ไหร่ ที่ไหน อย่างไร มีเอกสารอะไรบา้ งท่ีเกย่ี วขอ้ ง
ขน้ั ตอนและวิธีการปฏิบัตงิ าน หมายถึง การอธิบายว่าแต่ละขั้นตอนงานมีรายละเอียด

การปฏบิ ตั งิ านอยา่ งไร

ความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรบั ลกู จา้ งท่วั ไปและลกู จา้ งเขา้ ทำงานใหม่ 5

2. อุบตั เิ หตจุ ากการทำงาน

จากนิยามคําว่าอุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่ไมม่ ีผู้ใดตั้งใจให้เกิด เม่ือเกิดขึ้นแล้วมีผลให้
เกิดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย ในที่นี้จะกล่าวถึงอุบัติเหตุที่เกิดข้ึนจากการ
ทํางานเท่านั้น เช่น ลูกจ้างตกจากท่ีสูงขณะทํางานบนหลังคา ลูกจ้างถูกใบเล่ือยบาดขณะเล่ือยไม้
ลูกจา้ งถูกสารเคมีกระเด็นเขา้ ตาขณะผสมสารเคมี เป็นต้น

2.1 สาเหตขุ องอุบตั เิ หตุ

การเกิดอุบัติเหตุที่ทําให้เกิดการบาดเจ็บและความเสียหายต่าง ๆ เป็นผลท่ีสืบเน่ือง
โดยตรงมาจากการกระทาํ ท่ีไมป่ ลอดภยั และ/หรอื สภาพการณ์ทีไ่ มป่ ลอดภยั ไดแ้ ก่

(1) การกระทําที่ไม่ปลอดภัย เป็นการกระทําของผู้ปฏิบัติงานในขณะทํางาน ซึ่งอาจ
จะกอ่ ให้เกิดอบุ ัตเิ หตไุ ด้ ตวั อยา่ งเช่น

1) ใช้เคร่ืองจักร เคร่ืองกล เคร่ืองมือ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ โดยพลการหรือโดยไมไ่ ด้
รบั มอบหมาย

2) ทํางานเรว็ เกินสมควรและใช้เคร่อื งจกั รในอัตราทเ่ี ร็วเกนิ กําหนด
3) ซ่อมแซมหรือบํารุงรกั ษาในขณะทเี่ คร่ืองยนตก์ าํ ลังหมนุ
4) ถอดอุปกรณค์ วามปลอดภยั จากเคร่อื งจกั รโดยไมม่ ีเหตุอนั สมควร
5) หยอกล้อกนั ในขณะทาํ งาน
6) ทํางานในทีท่ ไ่ี มป่ ลอดภัย
7) ใช้เคร่ืองมอื ท่ชี ํารดุ หรือไมถ่ ูกวธิ ี
8) ยกหรือเคล่อื นยา้ ยวสั ดุด้วยทา่ ทางหรือวิธีการท่ไี ม่ปลอดภยั
9) ไมส่ วมใส่อปุ กรณค์ ุม้ ครองความปลอดภัยส่วนบคุ คลทจ่ี ัดให้
10) ไมป่ ฏิบตั ติ ามขอ้ บังคบั ขอ้ ห้าม ป้ายหรอื สัญลักษณเ์ ตือนต่าง ๆ

6 ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลกู จ้างทว่ั ไปและลูกจ้างเขา้ ทำงานใหม่

(2) สภาพการณท์ ีไ่ ม่ปลอดภัย เป็นสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวผู้ปฏิบัติงานในขณะ
ทาํ งาน ซง่ึ อาจเป็นสาเหตุกอ่ ให้เกดิ อุบตั ิเหตุได้ ตวั อยา่ งเช่น

1) ไมม่ ที คี่ รอบหรอื การ์ดปิดคลมุ สว่ นทหี่ มนุ ได้และสว่ นสง่ ถา่ ยกําลังของเคร่อื งจักร
2) ทีค่ รอบหรือการด์ ของเคร่ืองจกั รไมป่ ลอดภัยหรอื ไมเ่ หมาะสม
3) เคร่ืองจกั ร เคร่ืองมอื ท่ีใช้ มีการออกแบบทไ่ี มเ่ หมาะสม
4) บรเิ วณพ้ืนทท่ี าํ งานล่นื ขรุขระ หรอื สกปรก
5) บริเวณท่ที ํางานมกี ารวางของไมเ่ ป็นระเบยี บ กดี ขวางทางเดิน
6) การกองวัสดุสงู เกนิ ไป หรือการซ้อนวัสดไุ มถ่ กู วธิ ี
7) การจดั เกบ็ สารเคมี สารไวไฟต่าง ๆ ไมเ่ หมาะสม
8) แสงสวา่ งไมเ่ หมาะสม เช่น แสงอาจสว่างไมเ่ พยี งพอ หรอื แสงจา้ เกนิ ไป เป็นต้น
9) ไมม่ ีระบบการระบายและถา่ ยเทอากาศท่ีเหมาะสม
ต่อมาได้มีการอธิบายเชิงลึกถึงสาเหตุที่ทําให้เกิดการกระทําที่ไม่ปลอดภัยและ
สภาพการณท์ ไี่ มป่ ลอดภยั ว่ามาจากความบกพร่องของฝ่ ายบริหารที่ขาดการบริหารจัดการอยา่ งเป็น
ระบบ หรือละเลยท่ีจะดําเนินการให้เกิดความปลอดภัยอย่างต่อเน่ือง ทําให้สถานประกอบกิจการ
ขาดโครงการ/กิจกรรมความปลอดภัยท่ีครอบคลุมทุกงานอันตราย ขาดการนํามาตรฐานความ
ปลอดภัยที่เก่ียวขอ้ งมาใช้อย่างครบถ้วนในกิจกรรมท่ีจําเป็น รวมถึงขาดการดําเนินงานด้านความ
ปลอดภยั ที่สอดคล้องกบั ขอ้ กําหนดของกฎหมาย มาตรฐาน และขอ้ แนะต่าง ๆ อยา่ งเคร่งครดั ดงั นั้น
ความบกพร่องในการจัดการของฝ่ ายบรหิ ารของสถานประกอบกิจการ จึงเป็นสาเหตุหลักทีท่ ําให้
เกิดการประสบอันตรายและความสญู เสียในสถานประกอบกจิ การ

2.2 ความสูญเสยี จากการเกดิ อุบัตเิ หตุ

ความสญู เสียหรือคา่ ใช้จ่ายอันเน่อื งมาจากอบุ ตั เิ หตุจากการทาํ งาน อาจแบ่งออกได้เป็น
2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังน้ี

(1) ความสูญเสียทางตรง หมายถึง ค่าใช้จ่ายท่ีเกี่ยวขอ้ งกับผู้ประสบอุบัติเหตุโดยตรง
ไดแ้ ก่

1) คา่ รกั ษาพยาบาล
2) คา่ ทดแทน
3) คา่ ทาํ ขวญั คา่ ทําศพ
4) คา่ ประกันชวี ติ

ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลกู จา้ งทว่ั ไปและลูกจา้ งเข้าทำงานใหม่ 7

(2) ความสูญเสียทางอ้อม หมายถึง คา่ ใช้จ่ายอ่ืน ๆ (ซงึ่ ส่วนใหญ่จะคาํ นวณเป็นตวั เงิน
ไดย้ าก) นอกเหนือจากคา่ ใช้จ่ายจากความสูญเสียทางตรง ได้แก่

1) การสูญเสียเวลาทํางานของ
ก. ผู้ปฏบิ ตั ิงานทไี่ ดร้ ับบาดเจบ็ เพ่อื รักษาพยาบาล
ข. ผูป้ ฏบิ ตั ิงานอ่นื ท่ีตอ้ งหยุดงานชัว่ คราว เน่ืองจาก
- การช่วยเหลอื ผู้บาดเจ็บโดยการปฐมพยาบาล หรอื นาํ ส่งโรงพยาบาล
- ความอยากรู้อยากเหน็
- การวิพากษ์วิจารณ์
- ความต่นื ตระหนก ตกใจ และเสยี ขวัญ
ค. หัวหนา้ งานหรือผบู้ งั คับบญั ชา เน่ืองจาก
- การช่วยเหลอื ผู้บาดเจ็บ
- การสอบสวนหาสาเหตุของการเกดิ อบุ ัติเหตุ
- การบนั ทึกและจัดทาํ รายงานการเกิดอุบัตเิ หตุ
- การจัดหาและฝึกสอนผูป้ ฏบิ ัตงิ านอ่นื ให้เขา้ ทํางานแทนผูบ้ าดเจบ็
- การแกไ้ ขและป้ องกนั อบุ ัติเหตไุ มใ่ ห้เกิดขน้ึ ซาอกี

2) คา่ ใช้จ่ายในการซ่อมแซมเคร่อื งจกั ร เคร่อื งมอื อุปกรณท์ ่ีไดร้ ับความเสยี หาย
3) วัตถดุ ิบหรือสินคา้ ที่ไดร้ ับความเสียหายต้องท้ิง ทาํ ลาย หรือขายท้งิ
4) ผลผลติ ลดลง เน่ืองจากกระบวนการผลติ ขดั ขอ้ ง ตอ้ งหยุดชะงกั
5) คา่ สวัสดิการต่าง ๆ ของผบู้ าดเจ็บ
6) สถานประกอบกจิ การตอ้ งจ่ายคา่ จา้ งให้แกผ่ ูบ้ าดเจ็บตามปกติ แมจ้ ะทาํ งานได้

ไมเ่ ตม็ ท่ี หรอื ตอ้ งหยุดทํางาน
7) การสูญเสียโอกาสทางการค้า เช่น ผลผลิตลดลง ทํางานไม่ได้ตามเป้ าหมาย

เป็นต้น
8) การเสียช่อื เสียง และภาพลักษณ์ของสถานประกอบกจิ การ

8 ความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรับลกู จา้ งทว่ั ไปและลูกจา้ งเข้าทำงานใหม่

9) ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เช่น ค่าเช่า ค่าไฟฟ้ า ค่านาประปา และค่าใช้จ่าย
อ่ืน ๆ ท่ีสถานประกอบกิจการยังคงต้องจ่ายตามปกติ แม้ว่าจะต้องหยุด หรือ
ปิดกิจการในกรณีเกดิ อุบตั เิ หตุรา้ ยแรง

นอกจากน้ี ผู้ประสบอุบตั ิเหตุที่ได้รับบาดเจ็บจนถงึ ขั้นพิการหรือทุพพลภาพไม่สามารถ
กลับเขา้ สู่กระบวนการทํางานดังเดิมได้ ทําให้ไมส่ ามารถดํารงชีวิตได้ตามปกติ กลายเป็นภาระของ
สังคมที่ต้องรับผิดชอบดูแลร่วมกัน ดังนั้นความสูญเสียทางอ้อมนั้นมีมูลค่ามากกว่าความสูญเสีย
ทางตรง ซึ่งปกติเรามกั จะไมค่ าํ นึงถึงความสูญเสยี ดังกลา่ ว

3. การเจ็บป่วยจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน

3.1 สภาพแวดล้อมในการทาํ งานที่เป็นอนั ตรายตอ่ สุขภาพ
สภาพแวดล้อมในการทํางานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หมายถึง ส่ิงหรือสภาพต่าง ๆ ท่ีอยู่
รอบตัวผูป้ ฏบิ ัติงาน เช่น ความรอ้ น ความเย็น แสงสวา่ ง เสียงดงั ความสั่นสะเทือน รงั สี กา๊ ซ ไอสาร
ฝ่ ุน ฟูม ละออง สารเคมี เช้ือโรค และสตั ว์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงสภาพการทํางานท่ีซาซาก การ
เร่งรีบทํางาน การทํางานล่วงเวลา สัมพันธภาพระหว่างเพ่ือนร่วมงาน ค่าตอบแทน และชั่วโมงการ
ทํางาน เป็นตน้ ความไมเ่ หมาะสมของสภาพแวดล้อมในการทํางาน นับว่าเป็นปั จจัยที่มีส่วนเก่ยี วขอ้ ง
ในการกอ่ ให้เกิดการเจบ็ ป่ วยจากการทํางานได้

สภาพแวดลอ้ มในการทํางานทอี่ ยูร่ อบตัวผ้ปู ฏบิ ัติงาน ซงึ่ อาจทําให้เกดิ การเจ็บป่ วย หรือโรค
จากการทาํ งาน แบง่ เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทางเคมี ทางชีวภาพ ทางการย
ศาสตร์ และทางจิตวิทยาสงั คม ดังภาพท่ี 1

ความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรบั ลกู จา้ งท่วั ไปและลูกจ้างเขา้ ทำงานใหม่ 9

ภาพที่ 1 : สภาพแวดลอ้ มในการทาํ งานทีเ่ ป็นอันตรายต่อสขุ ภาพ
(1) สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่ น ความร้อน ความเย็น แสงสว่าง เสียงดัง
ความสนั่ สะเทือน รงั สี และความกดดันบรรยากาศ เป็นต้น
(2) สภาพแวดล้อมทางเคมี เช่น สารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่เป็นวัตถุดิบ หรือผลผลิต
หรือของเสยี ที่ต้องกําจัด โดยทัว่ ไปสารเคมีดังกล่าวอาจจะอยูใ่ นรปู กา๊ ซ ไอสาร ฝ่ ุน ฟมู ควนั ละออง
หรืออยู่ในรูปของเหลว ตัวอย่างสารเคมี เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ตะกั่ว แมงกานีส ปรอท
เบนซีน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ แอสเบสตอส (ใยหิน) เป็นต้น สารเคมีเหล่านี้อาจเข้าสู่ร่างกาย
โดยการหายใจ การกิน หรือการดูดซึมผ่านทางผิวหนังของผู้ปฏิบัติงาน ปริมาณของสารเคมี
นับว่ามีบทบาทอย่างมากที่ส่งผลให้เกิดโรคจากการทํางานช้าหรือเร็ว ถ้าหากผู้ปฏิบัติงาน
ได้รับสารเคมใี นปริมาณท่ีสงู มาก การเกิดโรคจะเหน็ ได้ชดั ในระยะเวลาอันสัน้ แต่ถา้ ได้รบั ในปริมาณ
ไมม่ ากนัก การเกดิ โรคก็จะใช้เวลานาน
(3) สภาพแวดล้อมทางชวี ภาพ เช่น ไวรัส แบคทเี รีย เช้ือรา ไรฝ่ นุ พยาธิ และสัตว์อ่ืน ๆ
เช่น ยุง หนู งู เป็นต้น
(4) สภาพแวดลอ้ มทางการยศาสตร์ เช่น การทาํ งานที่มีทา่ ทางการทาํ งานที่ไมเ่ หมาะสม
การกม้ ยกย้ายของผิดวิธี การบิดเอี้ยวตัว การทํางานซาซาก การทํางานหนักเกินขีดความสามารถ
ของผู้ปฏิบัติงาน การทํางานท่ีสถานีงานมีระดับความสูงไม่เหมาะสมกับความสูงของผู้ปฏิบัติงาน
เป็นต้น

10 ความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลกู จ้างท่วั ไปและลูกจ้างเขา้ ทำงานใหม่

(5) สภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาสังคม เช่น งานที่ก่อให้เกิดความเครียดต่อจิตใจ
ที่เกิดจากการทํางานแข่งกับเวลาต้องทํางานด้วยความเร่งรีบ การทํางานกะ การได้รับค่าจ้าง
ที่ไมเ่ หมาะสม สัมพันธภาพระหวา่ งผปู้ ฏบิ ตั งิ าน เป็นต้น

จากการที่ผู้ปฏิบัติงานต้องทํางานในสภาพแวดล้อมในการทํางานที่ไม่เหมาะสม
อาจเป็นผลทําให้เกิดการเจ็บป่ วยหรือเกิดโรคจากการทํางานขึ้น เม่ือเกดิ การเจ็บป่ วย ผู้ปฏิบัติงาน
นั้นอาจได้รับการตรวจวินิจฉัย รักษาพยาบาล และฟ้ืนฟูสภาพให้หายได้ แต่เม่ือผู้ปฏิบัติงานนั้น
กลับเข้าทํางานในสภาพแวดล้อมการทํางานที่ไม่เหมาะสมเช่นเดิมอีก ผู้ปฏิบัติงานนั้นก็อาจได้รับ
อันตรายทํานองเดียวกับท่เี กดิ ข้นึ แลว้ ไมม่ ที ส่ี น้ิ สุดดังภาพที่ 2

ภาพที่ 2 : วงจรสัมพนั ธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทาํ งานและผปู้ ฏบิ ัติงาน

3.2 องคป์ ระกอบทีท่ ําให้เกิดการเจ็บป่ วย/โรคจากการทาํ งาน
องคป์ ระกอบหลักท่ีทาํ ให้เกดิ อาการเจ็บป่ วย และ/หรอื โรคจากการทาํ งาน มี 3 ปั จจยั ได้แก่
(1) ผปู้ ฏิบัตงิ าน ปั จจัยที่เกี่ยวกับตวั ผู้ปฏิบตั ิงานที่นับว่ามีอิทธพิ ลต่อการเจ็บป่ วย และ/
หรือโรคจากการทํางานมีหลายประการ เช่น อายุ เพศ กรรมพันธ์ุ เช้ือชาติ ภาวะโภชนาการ
ของแต่ละบุคคล โรคประจําตัว ความไวต่อการเกิดโรค พ้ืนฐานการศึกษาของผู้ปฏิบัติงาน
องคป์ ระกอบดา้ นจติ ใจ และองคป์ ระกอบดา้ นพฤติกรรม เป็นตน้

ความปลอดภัย อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรบั ลกู จ้างทว่ั ไปและลูกจา้ งเขา้ ทำงานใหม่ 11

(2) สภาพแวดล้อมในการทํางานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ คือสาเหตุที่สําคัญของการ
เกิดการเจ็บป่ วยและ/หรือโรคจากการทํางาน ซึ่งแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทาง
กายภาพ ทางเคมี ทางชีวภาพ ทางการยศาสตร์ และทางจติ วทิ ยาสังคม

(3) สิ่งแวดล้อมทวั่ ไป เป็นปั จจัยภายนอกท่ีกระตุ้นและสง่ เสริม ท้งั ทางตรงและทางอ้อม
ท่ีจะทําให้โรคเกิดเร็วข้ึน เช่น สภาพที่พักอาศัยไม่ถูกสุขลักษณะ สภาพภูมิอากาศ และสภาพ
เศรษฐกจิ เป็นต้น

3.3 โรคจากการทาํ งาน
โรคจากการทํางาน หรืออาจเรียกวา่ โรคจากการประกอบอาชีพ ซ่ึงบางครั้งอาจปรากฏ
อาการขึ้นอย่างเฉยี บพลัน เน่ืองจากได้รบั สิ่งทท่ี ําให้เกดิ โรคในปริมาณความเข้มขน้ สูงในระยะเวลา
สัน้ ๆ เช่น กรณีหายใจเอากา๊ ซแอมโมเนียท่เี กดิ การรวั่ ไหลจากกระบวนการผลติ จะทําให้เกิดผลต่อ
ระบบทางเดินหายใจ เกิดการเจ็บป่ วยขึ้น แต่บางคร้ังโรคจากการทํางานอาจปรากฏอาการแบบ
เร้ือรงั เน่ืองจากผู้ปฏิบัติงานได้รับสิ่งท่ีทําให้เกิดโรคนั้นทีละเล็กทีละน้อย สะสมเป็นเวลานานหลาย
เดือนหรือหลายปี เช่น หตู งึ จากเสยี งดงั โรคปอดฝ่ ุนฝ้ าย โรคปอดฝ่ ุนทราย เป็นตน้

12 ความปลอดภัย อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรบั ลกู จ้างท่วั ไปและลกู จา้ งเข้าทำงานใหม่

4. การปอ้ งกนั อบุ ตั เิ หตุและการเจ็บปว่ ยจากการทำงาน

ลาํ ดับมาตรการป้ องกนั อนั ตราย หรอื ควบคมุ ความเส่ียง

มาตรการป้ องกันอันตราย หรือควบคุมความเสี่ยงที่อาจจะเกิดข้ึนจากการทํางาน
เป็นการดําเนินการเพ่ือขจัดหรอื ลดอันตรายที่อาจเกิดข้ึนจากการทํางานให้หมดไปหรืออยู่ในระดับ
ที่ยอมรับได้ ซึ่งควรดําเนินการตามลําดับ โดยเริ่มจากมาตรการลําดบั ท่ี 1 จนถงึ มาตรการลําดับที่ 5
แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้มาตรการควบคุมมากกว่า 1 มาตรการ เพ่ือให้การควบคุมอันตรายและลด
ความเสี่ยงเป็นไปอย่างได้ผล ลําดับมาตรการควบคุมอันตรายหรือความเส่ียงที่เกิดข้ึนจากการ
ทาํ งาน มดี ังนี้

มาตรการลาํ ดบั ท่ี 1 การขจดั อนั ตราย
ในการควบคุมความเส่ียง มาตรการท่ีต้องพิจารณาเป็นลําดบั แรกคือการขจัดอันตราย
ซ่ึงถือเป็นมาตรการคุ้มครองดูแลท่ีดีที่สุด เพราะช่วยลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสอันตรายได้ ทําให้
ลูกจ้างมีโอกาสได้รับอันตรายน้อยที่สุด และเป็นการควบคุมท่ีถาวร เช่น การใช้หุ่นยนต์ทํางานแทน
มนษุ ย์ การแยกเส้นทางคนเดนิ กับเสน้ ทางยานพาหนะ เป็นตน้

ความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรบั ลกู จา้ งท่วั ไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ 13

หากสามารถควบคุมความเสี่ยงด้วยมาตรการลําดับท่ี 1 ได้ อันตรายท่ีอาจเกิดขึ้นก็จะ
หมดไป ดังนั้นอาจไม่จําเป็นต้องควบคุมความเสี่ยงด้วยมาตรการลําดับถัดไป แต่หากไม่สามารถ
ควบคมุ อนั ตรายด้วยมาตรการลาํ ดับที่ 1 ได้ กจ็ ะตอ้ งควบคมุ อนั ตรายดว้ ยมาตรการลําดบั ถัดไป

มาตรการลาํ ดับท่ี 2 การทดแทนดว้ ยสิง่ ทมี่ อี ันตรายนอ้ ยกวา่
มาตรการควบคมุ อนั ตรายหรือความเสยี่ งท่ีตอ้ งพิจารณาเป็นลําดบั ที่ 2 คอื การทดแทน
ด้วยวัสดุ วิธีการทํางาน หรืออุปกรณ์ท่ีมีอันตรายน้อยกว่า ถือเป็นมาตรการท่ีช่วยลดความเสี่ยงต่อ
การสัมผัสอันตราย ทําให้มีโอกาสได้รบั อันตรายจากการทํางานนอ้ ยลง เช่น การเลือกใช้สารเคมีท่ีมี
อันตรายนอ้ ยกวา่ แทนการใช้สารเคมที ่ีมีอันตรายมาก หรอื การใช้สีท่ีใช้นาเป็นตวั ทําละลายแทนการใช้
สีที่ใช้สารประเภทนามันเป็นตัวทําละลาย การนําขัน้ ตอนการทํางานที่มีความเส่ียงบนท่ีสูงลงมาทําใน
ระดบั พ้นื ดนิ เป็นตน้

มาตรการลาํ ดับที่ 3 การควบคุมทางวิศวกรรม
หากไม่สามารถควบคุมอันตรายหรือความเส่ียงด้วยการขจัดอันตราย (มาตรการลําดับ
ท่ี 1) และการทดแทนด้วยสิ่งท่ีมีอันตรายน้อยกว่า (มาตรการลําดับท่ี 2) ได้ ก็ให้พิจารณา
ดําเนินการควบคุมด้วยการควบคุมทางวิศวกรรม ซ่ึงเป็นการดําเนินการควบคุมเพ่ือให้สถานที่
ทํางานปลอดภัย เช่น การติดตั้งการ์ดส่วนที่เป็นอันตรายของเคร่ืองจักร การติดตั้งระบบระบาย
อากาศ การลดความดังของเสียง การยกย้ายวัสดุโดยใช้อุปกรณ์เคร่ืองกล การป้ องกันการตกจากที่
สงู โดยการตดิ ตงั้ ราวกันตก เป็นตน้

มาตรการลาํ ดบั ท่ี 4 การควบคมุ เชงิ บรหิ ารจดั การ
การควบคุมอันตรายหรือความเสี่ยงมาตรการที่ 4 เป็นการควบคุมเชิงบริหารจัดการ
โดยการให้ขอ้ มูลความรู้และการอบรมท่เี หมาะสม การตรวจสอบอุปกรณค์ วามปลอดภยั มีระบบการ
อนุญาตเข้าปฏิบัติงาน การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทํางาน การจัดให้มีโครงการเฝ้ าระวัง
สุขภาพสําหรับผู้ปฏิบัติงานท่ีได้มกี ารช้ีบ่งว่ามีความเสี่ยง เช่น ผทู้ สี่ ัมผสั กบั เสียงดัง ผ้ทู ใี่ ช้เคร่อื งมือที่
มคี วามสนั่ สะเทือน ผูท้ ม่ี ีความผดิ ปกติของระบบทางเดนิ หายใจ เป็นต้น

14 ความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลกู จ้างท่วั ไปและลกู จา้ งเข้าทำงานใหม่

มาตรการลาํ ดบั ที่ 5 การใช้อปุ กรณค์ มุ้ ครองความปลอดภยั
สว่ นบคุ คล

ในกรณีท่ีสถานประกอบกิจการไมส่ ามารถควบคมุ อันตรายด้วยมาตรการลําดับที่ 1 - 4
อย่างได้ผล จึงเลือกใช้มาตรการลําดับท่ี 5 เป็นมาตรการสุดท้าย คอื การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความ
ปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น การใช้หน้ากากกันฝ่ ุน ชุดกันความร้อน ครอบหูหรือท่ีอุดหูลดเสียง เป็ นต้น
มาตรการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลนี้ไม่ควรนํามาใช้เป็นมาตรการหลักในการ
ป้องกันอนั ตราย เน่ืองจากมาตรการลําดับที่ 5 เป็นมาตรการควบคุมเพ่ือลดความรุนแรงของการเกดิ
อุบัติเหตุ ไม่ใช่เป็นการลดความเส่ียงของการเกิดอุบัติเหตุ หากจําเป็นต้องใช้ ให้เลือกใช้อย่าง
ถูกต้องและเหมาะสมกับลักษณะงาน เน่ืองจากลูกจ้างมักมีปั ญหากับการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความ
ปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น อุปกรณ์มีขนาดไม่พอดีกับผู้สวมใส่ ผู้ใช้ไม่บํารุงรักษาความสะอาด
อุปกรณ์ทําให้ไม่ถูกสุขอนามัย ผู้ใช้ไม่เคยชินกับการใช้อุปกรณ์ การสวมใส่เป็นเวลานานทําให้รู้สึก
ร้อน อึดอัด รําคาญ ไม่สะดวกสบาย เป็นอปุ สรรคต่อการปฏบิ ัตงิ าน ทําให้อาจไมไ่ ด้รบั ความร่วมมือ
ท่ีดีในการใช้อุปกรณ์จากผู้ปฏิบัติงาน อย่างไรก็ตามควรให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการเลือกใช้อุปกรณ์
คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ตลอดจนมีการให้ความรู้เก่ียวกับวิธีการใช้ การบํารุงรักษา
อุปกรณอ์ ย่างถกู ตอ้ ง

โดยสรุปการขจัดอันตรายเป็นมาตรการแรกที่ต้องพิจารณา หากไม่สามารถดําเนินการ
ไดใ้ ห้ใช้มาตรการลําดับถดั มา คือการทดแทนดว้ ยสิ่งท่ีมอี นั ตรายน้อยกวา่ การควบคมุ ทางวิศวกรรม
ร่วมกับการควบคมุ เชิงบริหารจัดการ เช่น กําหนดวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย การจัดรูปแบบการ
ทํางาน การให้ขอ้ มูลความรู้ และการฝึกอบรม วัตถุประสงคก์ ็เพ่ือเป็นการคมุ้ ครองดูแลผู้ปฏิบตั ิงาน
ทั้งหมด ส่วนการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ควรเป็นมาตรการสุดท้ายที่จะ
นํามาใช้ ซึ่งเป็ นเพียงมาตรการสนับสนุนมาตรการควบคุมอันตราย และในหลายกรณีอาจ
จําเป็นต้องมีการใช้มากกว่าหนึ่งมาตรการเพ่ือควบคุมอันตรายที่เกดิ ข้ึนจากการทํางาน ดังตัวอย่าง
ต่อไปนี้

- กรณีผู้ปฏิบัติงานสัมผัสกับสายไฟฟ้ าเปลือยอาจทําให้ถูกไฟฟ้ าช็อคถึงขั้นเสียชีวิต
แต่หากมีการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น การหุ้มฉนวน การใช้อุปกรณ์ตัดกระแสไฟฟ้ า เป็นต้น
จะสามารถลดความเสยี่ งตอ่ การเกดิ อันตรายตอ่ ผปู้ ฏิบตั ิงานได้

- กรณเี ล่ือยวงเดือน หากมีอุปกรณป์ ้องกนั และวิธีปฏิบตั ิงานอย่างปลอดภัย และใช้งาน
โดยผู้ปฏิบัติงานท่ีผ่านการฝึกอบรม ก็สามารถป้ องกันหรือควบคุมอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการ
ทํางานได้

ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรับลกู จา้ งท่วั ไปและลกู จา้ งเขา้ ทำงานใหม่ 15

- กรณีปฏิบัติงานกับเคร่ืองเจีย กอ่ นไดร้ ับอนุญาตให้ทํางาน ผูป้ ฏิบัติงานต้องผ่านการ
ฝึ กอบรมขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย และก่อนจะทํางานทุกครั้งต้องทําการ
ตรวจสอบอุปกรณ์ตา่ ง ๆ ให้อยูใ่ นสภาพพร้อมใช้งานและปลอดภัย รวมทั้งใช้อุปกรณ์คมุ้ ครองความ
ปลอดภยั สว่ นบุคคลท่เี หมาะสม จงึ จะสามารถลดความเสย่ี งตอ่ การเกิดอนั ตรายจากงานเจียได้

16 ความปลอดภัย อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรบั ลกู จา้ งท่วั ไปและลกู จ้างเขา้ ทำงานใหม่

5. ความร่วมมือและการสง่ เสริมสุขภาพของลกู จ้าง

หากนายจา้ งได้ดําเนินการตามมาตรการดังกล่าวขา้ งต้นแล้ว แต่ลูกจา้ งไมใ่ ห้ความร่วมมือที่
ดใี นการดําเนินการร่วมกบั นายจา้ ง ก็จะทาํ ให้การดําเนินมาตรการป้องกนั อนั ตรายหรอื ควบคุมความ
เสี่ยงไม่ประสบความสาํ เร็จ ดังนั้นลูกจ้างจึงต้องมีความตระหนักถึงปั ญหาความไม่ปลอดภัยในการ
ทํางานท่ีมผี ลกระทบต่อตนเองและเพ่ือนรว่ มงาน และมีจิตสาํ นึกในการป้ องกันอบุ ตั ิเหตุและโรคจาก
การทํางาน ซง่ึ เป็นหนา้ ท่ขี องลกู จา้ งทุกคนที่จะต้องปฏิบตั ใิ นเร่ืองตา่ งๆ ดังน้ี

5.1 การให้ความร่วมมอื กบั นายจา้ งในการดําเนินการ
ตามกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ เช่น

(1) การปฏิบตั ิตามกฎระเบียบดา้ นความปลอดภยั ของสถานประกอบกจิ การอยา่ งเคร่งครัด
(2) การใช้อปุ กรณค์ ุม้ ครองความปลอดภยั ส่วนบคุ คลอยา่ งถูกตอ้ ง
(3) หากพบสภาพการทํางาน หรือการกระทําทไ่ี มป่ ลอดภัยต่าง ๆ ตอ้ งแจง้ ให้
หัวหนา้ งานทราบโดยเรว็
(4) การเขา้ รบั การอบรมในหลักสตู รความปลอดภัยในการทาํ งานต่าง ๆ
(5) การเขา้ รับการตรวจสุขภาพเป็นระยะ ๆ เพ่ือการเฝ้าระวงั โรคจากการทํางาน
(6) เขา้ ร่วมกจิ กรรมและโครงการดา้ นความปลอดภยั ฯ ท่ีนายจ้างจดั ขึน้

5.2 การเขา้ รบั การอบรมในหลกั สูตรความปลอดภัย
ในการทาํ งานตา่ ง ๆ

การทํางานในสถานประกอบกิจการ อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและเจ็บป่ วย
จากสภาพแวดล้อมในการทํางานที่อันตรายและไม่ถูกสุขลักษณะ ดังนั้นการอบรมหลักสูตรความ
ปลอดภัยต่างๆ จึงมีความสําคัญท่ีทําให้ลูกจ้างได้ทราบสาเหตุของอันตรายและวิธีการป้ องกัน
ตลอดจนมีส่วนรว่ มในการดาํ เนินการตามมาตรการ โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ที่สถานประกอบ
กิจการจดั ขึน้ ทงั้ น้ีในการเขา้ รบั การอบรม ลูกจา้ งควรปฏบิ ัตดิ งั นี้

(1) ตัง้ ใจเรียน เน่ืองจากส่ิงท่ีเรียนเป็นแนวทางในการป้ องกันการบาดเจ็บและ
การเจ็บป่ วยท่ีอาจเกิดขึ้นในงานประจําวัน ดังนั้น ถ้าสงสัยให้สอบถามจนเข้าใจ หากไม่เข้าใจ

ความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรบั ลกู จ้างท่วั ไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ 17

อาจทําให้มีการปฏิบัติผิด หรือละเลยการปฏิบัติท่ีถูกต้อง และอาจก่อผลเสียหายต่อผลผลิต
หรือทาํ ใหเ้ กดิ การบาดเจ็บเป็นอันตรายตอ่ ชีวิตและทรพั ย์สนิ โดยสว่ นรวมได้

(2) จดจําสิ่งท่ีเรียนรู้ เพราะการทํางานในสถานประกอบกจิ การตอ้ งปฏบิ ัติตาม
ระเบยี บและขอ้ บังคับทไ่ี ดเ้ รียนรมู้ า จงึ ต้องรู้ขอ้ ควรระมัดระวังและขนั้ ตอนการทาํ งาน เม่อื ฝึกปฏิบตั ิ
ให้สอบถามผูส้ อนหรอื หัวหนา้ งานจนสามารถปฏบิ ตั ิได้อยา่ งถกู ต้อง

(3) หมนั่ ฝึกฝน ถงึ แมว้ ่าได้เรยี นรู้และฝึกปฏบิ ตั ิจนเขา้ ใจแล้ว ยังต้องนํามา
ฝึกฝนให้เกดิ ความชาํ นาญ ทาํ ซา ๆจนสามารถปฏิบัตไิ ดไ้ มผ่ ดิ ขัน้ ตอนและผลงานเป็นท่พี อใจ

5.3 การเรม่ิ ทาํ งานวนั ใหมด่ ว้ ยอารมณส์ ดใส

การมีอารมณ์ที่ดีย่อมส่งผลให้มีสมาธิในการทํางาน สามารถสร้างผลงานที่มี
ประสิทธิภาพ หากเกิดปั ญหาเฉพาะหน้า ที่ต้องตัดสินใจก็จะมีสติในการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง
โดยเฉพาะในเร่ืองความปลอดภัยในการทํางานกอ่ นเร่ิมทํางาน หากลูกจ้างพักผ่อนไม่เพียงพอ
หรือยังคงออ่ นเพลีย หรือเรง่ รีบมาทํางานใหท้ ันเวลา จะทําให้มอี ารมณ์ทีข่ ุน่ มัวหงุดหงดิ เม่ือรา่ งกาย
และจติ ใจไม่มีความพร้อมในการทํางาน ย่อมเป็นสาเหตุนําไปสู่การเกิดอุบัติเหตไุ ด้ ดังนัน้ ลูกจ้าง
จึงตอ้ งมีการวางแผนในการปฏบิ ตั ิกจิ กรรมนอกงานต่าง ๆ เพ่ือไมใ่ หส้ ่งผลกระทบตอ่ การทาํ งาน

5.4 การเจบ็ ป่ วยบอ่ ย ๆ ทําให้ขาดงาน
และประสทิ ธภิ าพการทาํ งานลดลง

รวมทั้งยังพบว่าการประสบอันตรายจากการทํางานที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งมีสาเหตุ
พ้นื ฐานมาจากปั ญหาสุขภาพของลูกจ้าง การเจบ็ ป่ วยของแต่ละคนข้ึนกับสภาพแวดล้อม โภชนาการ
และพฤติกรรม จึงเป็นสาเหตุให้สุขภาพลูกจ้างไม่แข็งแรง ยกเว้นผู้เจ็บป่ วยจากพันธุกรรมหรือเป็น
ตัง้ แต่กําเนิด การเป็นหวัดบอ่ ย ๆ ก็เป็นสัญญาณเตือนความบกพร่องในการดูแลสุขภาพตนเองได้
เช่นกนั ดงั นนั้ เพ่ือป้องกันการเจบ็ ป่ วยลกู จา้ งควรส่งเสรมิ สขุ ภาพกายและใจตนเอง ดงั น้ี

(1) การรบั ประทานอาหารทเี่ ป็นประโยชนต์ อ่ ร่างกาย ครบทัง้ 5 หมู่ ไดแ้ ก่
- หมู่ 1 โปรตีน (เน้ือสตั ว์ ไข่ นม)
- หมู่ 2 คารโ์ บไฮเดรต (ขา้ ว แป้ ง นาตาล เผอื ก มนั )
- หมู่ 3 เกลอื แรห่ รอื แรธ่ าตุ (พืชผกั )
- หมู่ 4 วิตามิน (ผลไม)้
- หมู่ 5 ไขมนั (ไขมันจากพืชและสตั ว์)

18 ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรบั ลกู จา้ งท่วั ไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

(2) การพักผ่อนให้เพียงพอ เพ่ือให้ร่างกายได้รับการฟ้ืนฟูกอ่ นเร่ิมการทํางานใน
แต่ละวัน เน่ืองจากความอ่อนเพลียเป็นสาเหตุหนึ่งท่ีมีความสําคัญต่อการ
เกิดอบุ ัตเิ หตุ

(3) การผ่อนคลายความเครียด ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ฝึกสมาธิ ทําจิตใจให้
ร่าเริงแจ่มใส เป็นต้น เน่ืองจากความเครียดทําให้ขาดสมาธิในการทํางาน
ซึง่ อาจทําให้เกิดอบุ ตั ิเหตุจากการทํางานได้

(4) การงดส่ิงเสพติด เช่น เหล้า บุหร่ี ยาบ้า เป็นต้น เพราะผู้ติดส่ิงเสพติดจะมี
ร่างกายทรุดโทรม ความต้านทานโรคตา ทําให้เส่ียงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
และโรคจากการทาํ งานมากกว่าคนทวั่ ไป

(5) หม่ันออกกําลังกายอย่างสมาเสมอเพ่ือให้ร่างกายแข็งแรง มีการยืดเหยียด
กล้ามเน้อื เพ่อื ลดการบาดเจ็บและเพมิ่ ความต่ืนตัวในการทาํ งาน

(6) ทําความสะอาดที่พักอาศัยและสถานท่ีทํางานให้ถูกสุขลักษณะอย่าง
สมาเสมอ พร้อมท้ังดูแลความสะอาดของร่างกายตนเอง เพ่ือลดความเสีย่ ง
จากการได้รับสิ่งสกปรกและเช้ือโรคเขา้ สู่รา่ งกาย

หัวขอ วช� าที่ 2

กฎหมายความปลอดภยั อาชวี อนามยั
และสภาพแวดลอมในการทำงาน

สแกน QR-CODE
เพ่�อรบั ชมวด� โี อบรรยาย

หัวขอวช� าที่ 2

20 ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรับลกู จา้ งท่วั ไปและลูกจา้ งเขา้ ทำงานใหม่

หวั ขอ้ วิชาที่ 2 : กฎหมายความปลอดภยั อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ประกอบดว้ ยหัวขอ้

1. พระราชบญั ญตั ิความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทาํ งาน พ.ศ. 2554
2. กฎหมายทเี่ กย่ี วขอ้ งกบั ความปลอดภยั ในการทาํ งาน

แนวคิด

กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เป็นมาตรฐานขั้น
ตาท่ีนายจ้างต้องใช้ในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในการทํางานในสถานประกอบกิจการ
เพ่อื ให้ลูกจา้ งปฏบิ ตั งิ านอย่างปลอดภยั

วตั ถุประสงค์
เม่ือเข้ารับการฝึ กอบรมในหัวข้อวิชานี้แล้ว ผู้เข้ารับการฝึ กอบรมต้องสามารถอธิบาย
สาระสําคัญของพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ.
2554 ได้

ความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรบั ลกู จ้างท่วั ไปและลกู จา้ งเข้าทำงานใหม่ 21

1. พระราชบญั ญัตคิ วามปลอดภยั อาชวี อนามัย
และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน พ.ศ. 2554

พระราชบัญญัติความปลอดภยั อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
พ.ศ. 2554 ประกอบด้วย 8 หมวด 74 มาตรา ดังนี้

หมวด 1 บททวั่ ไป ประกอบด้วยมาตรา 6 และมาตรา 7
หมวด 2 การบริหาร การจดั การ และการดําเนินการด้านความปลอดภยั อาชวี อนามยั และ
สภาพแวดล้อมในการทํางาน ประกอบด้วยมาตรา 8 ถึงมาตรา 23
หมวด 3 คณะกรรมการความปลอดภัย อาชวี อนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทํางาน
ประกอบด้วยมาตรา 24 ถงึ มาตรา 31
หมวด 4 การควบคมุ กาํ กบั ดแู ล ประกอบดว้ ยมาตรา 32 ถึงมาตรา 34
หมวด 5 พนกั งานตรวจความปลอดภัย ประกอบด้วยมาตรา 35 ถงึ มาตรา 43
หมวด 6 กองทนุ ความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทาํ งาน
ประกอบดว้ ยมาตรา 44 ถงึ มาตรา 51
หมวด 7 สถาบนั ส่งเสรมิ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางา น
ประกอบดว้ ยมาตรา 52
หมวด 8 บทกําหนดโทษ ประกอบดว้ ยมาตรา 53 ถงึ มาตรา 72
บทเฉพาะกาล ประกอบด้วยมาตรา 73 และมาตรา 74

มาตราสาํ คญั ท่ลี ูกจา้ งควรทราบและต้องปฏิบัติ มีดังน้ี

มาตรา 6 ให้นายจ้างมีหน้าท่ีจัดและดูแลสถานประกอบกิจการและลูกจ้างให้มีสภาพการ
ทํางานและสภาพแวดล้อมในการทํางานท่ีปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสรมิ สนับสนุนการ
ปฏิบัตงิ านของลกู จ้างมิให้ลกู จ้างไดร้ ับอนั ตรายต่อชีวติ รา่ งกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย

ให้ลูกจ้างมีหน้าที่ให้ความร่วมมือกับนายจ้างในการดําเนินการและส่งเสริมด้านความ
ปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เพ่ือให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้างและ
สถานประกอบกิจการ

มาตรา 8 ให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทาํ งาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานท่ีกาํ หนดในกฎกระทรวง

22 ความปลอดภัย อาชวี อนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรบั ลกู จา้ งท่วั ไปและลกู จ้างเข้าทำงานใหม่

การกําหนดมาตรฐานตามวรรคหน่ึง ให้นายจ้างจดั ทําเอกสารหรือรายงานใด โดยมีการ
ตรวจสอบหรอื รับรองโดยบุคคล หรือนติ บิ คุ คลตามทก่ี ําหนดในกฎกระทรวง

ให้ลูกจ้างมีหน้าท่ีปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ
สภาพแวดลอ้ มในการทํางานตามมาตรฐานทกี่ ําหนดในวรรคหน่งึ

กฎกระทรวงท่ีออกตามมาตรา 8 แห่งพระราชบญั ญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทาํ งาน พ.ศ.2554 มดี ังต่อไปนี้

1. กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความ
ปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับการป้ องกันและระงับอัคคีภัย
พ.ศ. 2555

2. กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความ
ปลอดภยั อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทํางานเกีย่ วกับสารเคมอี นั ตราย พ.ศ. 2556

3. กฎกระทรวงการเป็นหน่วยงานฝึ กอบรมการดับเพลิงขั้นต้น และการเป็นหน่วยงาน
ฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ พ.ศ. 2556

4. กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความ
ปลอดภยั อาชวี อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกย่ี วกบั ไฟฟ้ า พ.ศ. 2557

5.. กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความ
ปลอดภยั อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกีย่ วกบั ความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.
2559

6.กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จดั การ และดาํ เนินการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับการป้ องกันและระงับอัคคีภัย (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2561

7. กฎกระทรวงกําหน ดมาตรฐานในการบ ริหาร จัดการ และดําเนินการด้าน
ความปลอดภัยอาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทาํ งานเก่ยี วกบั ท่ีอับอากาศ พ.ศ. 2562

8. กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้าน
ความปลอดภัยอาชวี อนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทํางานเก่ยี วกบั งานประดานา พ.ศ. 2563

มาตรา 14 ในกรณีท่ีนายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในสภาพการทํางานหรือสภาพแวดล้อม
ในการทํางานท่ีอาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย
ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายท่ีอาจจะเกิดข้ึนจากการทํางานและแจกคู่มือปฏิบัติงาน
ให้ลกู จ้างทุกคนกอ่ นท่ลี กู จา้ งจะเขา้ ทํางาน เปลย่ี นงาน หรือเปลย่ี นสถานที่ทาํ งาน

มาตรา 16 ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรม
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เพ่ื อให้ บริหาร จัดการ
และดําเนินการด้านความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทาํ งานไดอ้ ยา่ งปลอดภัย

ความปลอดภัย อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรับลกู จา้ งท่วั ไปและลูกจา้ งเขา้ ทำงานใหม่ 23

ใน กรณี ที่ น ายจ้ างรับ ลู ก จ้ างเข้าทํ างาน เป ลี่ ย น งาน เป ล่ี ย น ส ถ าน ท่ี ทํ างาน
หรือเปล่ียนแปลง เคร่อื งจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต รา่ งกาย จิตใจ
หรือสุขภาพอนามยั ให้นายจา้ งจดั ให้มกี ารฝึกอบรมลูกจ้างทกุ คนกอ่ นการเริ่มทาํ งาน

การฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่ือนไข
ทีอ่ ธบิ ดปี ระกาศกาํ หนด

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ออกประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครอง
แรงงาน เร่อื ง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเง่อื นไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หวั หน้างาน และลูกจา้ ง
ดา้ นความปลอดภยั อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทาํ งาน มีสาระสําคัญคือ

(1) นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม
ในการทํางานเพ่ื อให้ บริหาร จัดการ และดําเนิ นการด้ านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานได้อยา่ งปลอดภัยให้แกล่ ูกจ้างระดบั บริหาร หัวหนา้ งาน และลูกจ้าง
ทุกคน

กรณีลูกจ้างเข้าทํางานใหม่ เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทํางาน หรือเปลี่ยนแปลง
เคร่ืองจักรหรอื อปุ กรณ์ ซึง่ อาจทาํ ให้ลูกจา้ งไดร้ ับอันตรายตอ่ ชวี ิต ร่างกาย จติ ใจ หรือสขุ ภาพอนามยั
ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลกู จ้างทุกคนกอ่ นการเริม่ ทาํ งาน

(2) หลักสูตรฝึ กอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
สําหรบั ลูกจา้ งระดบั บริหาร ให้มรี ะยะเวลาการฝึกอบรม 12 ชั่วโมง

(3) หลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
สําหรบั ลกู จ้างระดับหัวหนา้ งาน มรี ะยะเวลาการฝึกอบรม 12 ช่วั โมง

(4) หลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
สาํ หรับลกู จ้างทัว่ ไปและลูกจ้างเขา้ ทาํ งานใหม่ มรี ะยะเวลาการฝึกอบรม 6 ช่วั โมง

(5) หลักสูตรฝึ กอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
สําหรบั ลกู จ้างเปล่ยี นงาน เปลีย่ นสถานทีท่ ํางาน หรือเปล่ียนแปลงเคร่ืองจกั รหรืออุปกรณ์ซ่งึ มีปั จจยั เสีย่ ง
แตกต่างไปจากเดิม มรี ะยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชวั่ โมง

มาตรา 17 ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเคร่ืองหมายเกี่ยวกับ
ความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทาํ งาน รวมทั้งขอ้ ความแสดงสทิ ธิและหนา้ ท่ี
ของนายจ้างและลูกจ้างตามท่อี ธิบดปี ระกาศกาํ หนดในที่ที่เห็นได้งา่ ย ณ สถานประกอบกจิ การ

24 ความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรับลกู จา้ งท่วั ไปและลูกจา้ งเข้าทำงานใหม่

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ออกประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครอง
แรงงาน เร่ือง สัญลักษณ์เตือนอันตราย เคร่ืองหมายเก่ียวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางาน และข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง
มสี าระสําคญั คือ

(1) ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเคร่ืองหมายเกี่ยวกับความ
ปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ให้เหมาะสมกับลักษณะและสภาพการ
ทาํ งานในทท่ี ี่เห็นได้งา่ ย ณ สถานประกอบกจิ การ

(2) ให้นายจ้างติดประกาศข้อความแสดงสิทธิและหน้าท่ีของนายจ้างและลูกจ้างในท่ี
ท่เี หน็ ไดง้ า่ ย ณ สถานประกอบกิจการ ซง่ึ ต้องประกอบดว้ ยขอ้ ความดังต่อไปนี้

1) นายจ้างและลูกจ้างมีหน้าท่ีในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย
อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทาํ งาน

2) นายจ้างมีหน้าที่จัดและดูแลสถานประกอบกิจการและลูกจ้างให้มีสภาพการ
ทํางานและสภาพแวดล้อมในการทํางานท่ีปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุน
การปฏิบัติงานของลูกจ้างมิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย
(มาตรา 6)

3) นายจ้างมีหน้าท่ีจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย
ส่วนบุคคลท่ีได้มาตรฐาน ถ้าลูกจ้างไม่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว ให้นายจ้างสั่งให้หยุดการทํางาน
จนกวา่ ลูกจ้างจะสวมใสอ่ ุปกรณน์ นั้ (มาตรา 22)

4) นายจ้างมีหน้าที่จัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการ
ฝึ กอบรมให้สามารถบริหารจัดการและดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ
สภาพแวดล้อมในการทํางานได้อยา่ งปลอดภยั กอ่ นการเขา้ ทํางาน เปล่ียนงาน เปล่ียนสถานที่ทาํ งาน
หรอื เปลี่ยนแปลงเคร่อื งจักรหรอื อุปกรณ์ (มาตรา 16)

5) นายจ้างมีหน้าที่แจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายท่ีอาจเกิดขึ้นจากการทํางาน
และแจกคู่มอื ปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนกอ่ นที่ลูกจ้างจะเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน หรือเปลีย่ นสถานท่ี
ทาํ งาน (มาตรา 14)

6) นายจ้างมีหน้าท่ีติดประกาศ คําเตือน คําสั่ง หรือคําวินิจฉัยของอธิบดีกรม
สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พนักงานตรวจความปลอดภัย หรือคณะกรรมการความปลอดภัย
อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทาํ งาน แลว้ แต่กรณี (มาตรา 15)

7) นายจ้างเป็นผอู้ อกค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดลอ้ มในการทํางาน (มาตรา 7)

ความปลอดภัย อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรับลกู จา้ งทว่ั ไปและลูกจา้ งเขา้ ทำงานใหม่ 25

8) ลูกจ้างมีหน้าท่ีให้ความร่วมมือกับนายจ้างในการดําเนินการและส่งเสริมด้าน
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน โดยคํานึงถึงสภาพของงานและ
หนา้ ทร่ี บั ผดิ ชอบ (มาตรา 6 และมาตรา 8)

9) ลูกจ้างมีหน้าท่ีแจ้งข้อบกพร่องของสภาพการทํางาน หรือการชํารุดเสียหาย
ของอาคาร สถานที่ เคร่ืองมอื เคร่อื งจกั ร หรืออุปกรณ์ ทไ่ี มส่ ามารถแกไ้ ขได้ด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่
ความปลอดภัยในการทํางาน หัวหนา้ งาน หรือผบู้ ริหาร (มาตรา 21)

10) ลกู จ้างมหี นา้ ที่สวมใสอ่ ุปกรณค์ มุ้ ครองความปลอดภยั ส่วนบุคคลที่นายจ้างจัด
ให้ และดแู ลให้สามารถใช้งานไดต้ ามสภาพและลกั ษณะของงานตลอดระยะเวลาทาํ งาน (มาตรา 22)

11) ในสถานที่ท่ีมีสถานประกอบกิจการหลายแห่ง ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตาม
หลักเกณฑ์เก่ียวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของนายจ้าง
และสถานประกอบกิจการอ่ืนท่ไี มใ่ ช่ของนายจา้ งดว้ ย (มาตรา 18)

12) ลูกจ้างมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการเลิกจ้าง หรือถูกโยกย้ายหน้าท่ีการ
งานเพราะเหตุทฟี่ ้ องร้อง เป็นพยาน ให้หลักฐาน หรอื ให้ขอ้ มูลเกยี่ วกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานต่อพนักงานตรวจความปลอดภัย คณะกรรมการความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทาํ งาน หรือศาล (มาตรา 42)

13) ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจา้ งหรือสิทธิประโยชน์อ่ืนใดในระหว่างหยุดการทํางาน
หรือหยุดกระบวนการผลิตตามคําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัย เวน้ แต่ลูกจ้างท่ีจงใจกระทํา
การอนั เป็นเหตุให้มกี ารหยุดการทาํ งานหรือหยุดกระบวนการผลิต (มาตรา 39)

มาตรา 18 ในกรณีท่ีสถานที่ใดมีสถานประกอบกิจการหลายแห่ง ให้นายจ้างทุกราย
ของสถานประกอบกจิ การในสถานที่นั้น มีหนา้ ท่ีร่วมกนั ดําเนินการดา้ นความปลอดภัย อาชวี อนามยั
และสภาพแวดลอ้ มในการทํางานให้เป็นไปตามพระราชบญั ญตั นิ ี้

ลูกจ้างซ่ึงทํางานในสถานประกอบกิจการตามวรรคหน่ึง รวมท้ังลูกจ้างซ่ึงทํางาน
ในสถานประกอบกิจการอ่ืนที่ไม่ใช่ของนายจ้าง ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัย
อาชวี อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานซ่งึ ใช้ในสถานประกอบกจิ การนนั้ ด้วย

มาตรา 21 ลูกจ้างมีหน้าท่ีดูแลสภาพแวดล้อมในการทํางานตามมาตรฐานที่กําหนด
ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 เพ่ือให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพ
อนามยั โดยคํานึงถึงสภาพของงานและพ้ืนทีท่ ร่ี บั ผิดชอบ

ในกรณีที่ลูกจ้างทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชํารุดเสียหาย และไม่สามารถแกไ้ ข
ได้ด้วยตนเอง ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าท่ีความปลอดภัยในการทํางาน หัวหน้างาน หรือผู้บริหาร และให้
เจ้าหน้าท่ีความปลอดภัยในการทํางาน หัวหน้างาน หรือผู้บริหารแจ้งเป็นหนังสือต่อนายจ้างโดย
ไมช่ กั ช้า

26 ความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลกู จา้ งท่วั ไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

ในกรณีท่ีหัวหน้างานทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชํารุดเสียหายซึ่งอาจทําให้
ลูกจา้ งได้รับอนั ตราย ตอ่ ชวี ิต ร่างกาย จติ ใจ หรือสุขภาพอนามยั ตอ้ งดําเนินการป้ องกนั อันตรายนั้น
ภายในขอบเขตที่รับผิดชอบหรือท่ีได้รับมอบหมายทันทีท่ีทราบ กรณีไม่อาจดําเนินการได้ให้แจ้ง
ผูบ้ ริหารหรือนายจ้าง ดาํ เนินการแกไ้ ขโดยไมช่ กั ช้า

มาตรา 22 ให้นายจ้างจดั และดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุม้ ครองความปลอดภยั ส่วน
บุคคลท่ไี ด้มาตรฐานตามทอ่ี ธบิ ดีประกาศกําหนด

ลูกจ้างมีหน้าที่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและดูแลรักษา
อุปกรณ์ ตามวรรคหน่งึ ให้สามารถใช้งานได้ตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาทํางาน

ในกรณที ี่ลูกจา้ งไมส่ วมใส่อุปกรณ์ดงั กล่าว ให้นายจา้ งสั่งให้ลูกจ้างหยดุ การทํางาน
นัน้ จนกว่าลกู จ้างจะสวมใสอ่ ุปกรณด์ งั กล่าว

มาตรา 74 ในระหว่างทย่ี ังมไิ ดอ้ อกกฎกระทรวง ประกาศ หรอื ระเบียบเพ่ือปฏิบตั กิ ารตาม
พระราชบัญญัตินี้ให้นํากฎกระทรวงท่ีออกตามความในหมวด 8 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครอง
แรงงานพ.ศ. 2541 มาใช้บังคบั โดยอนุโลม

กฎกระทรวงท่ีออกตามความในหมวดที่ 8 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. 2541 ที่ยงั มผี ลบงั คบั ใช้อยูต่ ามมาตรา 74 ได้แก่

(1) กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เกีย่ วกบั รังสีชนิดกอ่ ไอออน พ.ศ. 2547

(2) กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง และส่งผลการ
ตรวจแกพ่ นักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547

(3) กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทาํ งาน พ.ศ. 2549

(4) กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย
อาชวี อนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทาํ งานเก่ยี วกับงานกอ่ สร้าง พ.ศ. 2551

(6) กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเก่ยี วกับเคร่ืองจักร ปั้ นจนั่ และหมอ้ นา พ.ศ.2552

(7) กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทํางาน (ฉบบั ท่ี 2) พ.ศ. 2553

ความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรบั ลกู จา้ งทว่ั ไปและลูกจ้างเขา้ ทำงานใหม่ 27

2. กฎหมายท่เี ก่ยี วข้องกบั ความปลอดภยั
ในการทำงาน

นอกจากพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
พ.ศ. 2554 แล้ว ยังมีกฎกระทรวงซ่ึงออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ซงึ่ มีความเก่ยี วขอ้ งกบั ความปลอดภัยในการทํางาน ไดแ้ ก่

(1) กฎกระทรวงฉบับท่ี 2 (พ.ศ.2541) เร่ือง งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและ
ความปลอดภัยของลูกจ้าง

(2) กฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2541) เร่ือง งานที่ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซ่ึงเป็นเด็ก
อายตุ า กวา่ 18 ปีทํางาน

(3) กฎกระทรวงฉบบั ที่ 12 (พ.ศ. 2541) เร่ือง งานขนส่งทางบก
(4) กฎกระทรวงกาํ หนดอตั รานาหนักท่นี ายจ้างให้ลูกจา้ งทํางานได้ (พ.ศ. 2547)
(5) กฎกระทรวงวา่ ดว้ ยการจดั สวัสดิการในสถานประกอบกจิ การ (พ.ศ. 2547)
รายละเอียดของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
สามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ของกองความปลอดภัยแรงงาน www.osh.labour.go.th หรือสถาบัน
ส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน (องค์การมหาชน)
www.tosh.or.th

หัวขอ ว�ชาท่ี 3

ขอ บังคับวา ดวยความปลอดภยั อาชีวอนามยั
และสภาพแวดลอมในการทำงาน

สแกน QR-CODE
เพอ�่ รับชมวด� ีโอบรรยาย

หัวขอ วช� าท่ี 3

ความปลอดภัย อาชวี อนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรบั ลกู จ้างทว่ั ไปและลูกจ้างเขา้ ทำงานใหม่ 29

หวั ขอ้ วิชาที่ 3 : ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภยั อาชีวอนามยั
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ประกอบด้วยหวั ขอ้
1. ท่มี าและความสําคญั
2. กฎความปลอดภยั ทวั่ ไป
3. กฎความปลอดภยั ในการทํางานเฉพาะเร่อื ง
4. ขอ้ บังคบั ว่าด้วยความปลอดภยั

แนวคิด

นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม
ในการทํางานไว้ในสถานประกอบกิจการ ซึ่งข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยฯ เป็นเอกสารท่ีอย่าง
นอ้ ยต้องประกอบด้วยขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานท่ีปลอดภัยเพ่ือควบคุมมิให้มีการกระทําที่อาจ
กอ่ ให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทํางาน รวมทั้งนายจ้างต้องจัดให้มีการอบรมและฝึกปฏิบัติตาม
ขอ้ บังคับจนกว่าลูกจ้างจะสามารถทํางานไดอ้ ยา่ งถูกต้องปลอดภัย ดังนัน้ ลูกจ้างจะต้องรู้ และปฏิบตั ิ
ตามขอ้ บังคับวา่ ด้วยความปลอดภัยฯ รวมถึงกฎระเบียบด้านความปลอดภัยที่สถานประกอบกิจการ
กาํ หนดไว้

วัตถุประสงค์
เม่ือเข้ารับการฝึ กอบรมในหัวข้อวิชานี้แล้ว ผู้เข้ารับการฝึ กอบรมต้องสามารถปฏิบัติตาม
กฎระเบียบและข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
ของสถานประกอบกิจการทต่ี นเองปฏิบัตงิ านอยไู่ ดอ้ ย่างถกู ต้องปลอดภัย

30 ความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลกู จา้ งท่วั ไปและลกู จ้างเขา้ ทำงานใหม่

1. ทมี่ าและความสำคัญ

ลูกจ้างเป็นทรพั ยากรที่มคี วามสาํ คัญย่ิงในการทํางานให้แกส่ ถานประกอบกจิ การ และยังเป็น
พลังสําคัญในการขับเคล่ือนเศรษฐกิจของประเทศ ดังนัน้ การดูแลให้ลูกจ้างสามารถทํางานได้อยา่ ง
ปลอดภยั และมสี ขุ ภาพอนามยั ท่ีดี นอกจากจะช่วยใหผ้ ลผลิตเพม่ิ ขึน้ แล้ว ยังเป็นการสรา้ งภาพลกั ษณ์
ที่ดีของสถานประกอบกิจการ ตลอดจนไม่เป็ นเหตุให้ถูกกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ
ทําให้ประเทศมีการพัฒนาไปในทิศทางท่ีดี การที่ลูกจ้างมีงานทํา หมายถึงการมีรายได้เป็ น
คา่ ตอบแทนเพ่ือการดําเนินชีวิตของตนเองและครอบครัว ตลอดจนเป็นการสรา้ งคุณคา่ ให้แกต่ นเอง
ซงึ่ เป็นสิ่งสําคัญสําหรบั การดํารงชีวติ แตก่ ารท่ีลูกจ้างทํางานท่ามกลางเคร่อื งจักร เคร่ืองมือ อปุ กรณ์
และสภาพแวดล้อมที่อาจก่อให้เกดิ อันตราย ทําให้มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทํางาน
ในสถานประกอบกิจการ ดังนั้น ภาครัฐจึงออกกฎหมายให้นายจ้างจัดให้มีการบริหารจัดการ
ด้านความปลอดภัยในการทํางานขึ้น โดยมีเจ้าหนา้ ที่ความปลอดภัยในการทํางาน คณะกรรมการ
ความปลอดภัยฯ บุคลากรและหน่วยงานความปลอดภัย รว่ มกนั รับผิดชอบกับนายจ้างในการดาํ เนิน
โครงการ/กิจกรรมความปลอดภัยฯ ภายในสถานประกอบกิจการให้เป็ นไปตามกฎหมาย
และสามารถลดการประสบอันตรายได้อยา่ งเป็นรูปธรรม ซง่ึ การดําเนินงานป้ องกันอุบตั ิเหตุและโรค
จากการทํางานในสถานประกอบกิจการอย่างได้ผลนั้น จําเป็นอย่างย่ิงท่ีลูกจ้างทุกคนจะต้องมี
จิตสํานึกรับผิดชอบร่วมกบั สถานประกอบกจิ การในการดูแลความปลอดภัยของตนเองและผู้ร่วมงาน
และการจะสร้างความร่วมมือที่ดีนั้น สถานประกอบกิจการต้องให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ
อันตรายท่ีอาจเกดิ ข้ึนกับลูกจ้างขณะทํางานในทุกขั้นตอน และให้นําข้อปฏิบัติเพ่ือป้ องกันอันตราย
ต่าง ๆ มาฝึกปฏิบตั ิจนกวา่ ลูกจา้ งจะทาํ งานได้อยา่ งถูกต้องปลอดภัย ซึ่งหากลูกจ้างทกุ คนปฏบิ ัติตาม
ข้อบังคับและกฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยฯ ของสถานประกอบกิจการอย่างเคร่งครัด
แล้วจะทําให้ลกู จา้ งปลอดภยั ฯ มสี ขุ ภาพอนามัยทดี่ ี และมีคณุ ภาพชีวิตทด่ี ตี ลอดเวลาการทํางาน

ข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานมีที่มาจากบทบัญ ญัติของ
พระราชบัญญตั แิ ละกฎกระทรวง ดังนี้

(1) พระราชบญั ญตั คิ วามปลอดภยั อาชวี อนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการ
ทาํ งาน พ.ศ. 2544

มาตรา 14 ในกรณีท่ีนายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในสภาพการทํางานหรือสภาพแวดล้อม
ในการทํางานท่ีอาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย
ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายท่ีอาจจะเกิดข้ึนจากการทํางานและแจกคู่มือปฏิบัติงาน
ให้ลูกจา้ งทุกคนกอ่ นทล่ี กู จา้ งจะเขา้ ทํางานเปลี่ยนงาน หรือเปล่ียนสถานทีท่ าํ งาน

ความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลกู จ้างท่วั ไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ 31

(2) กฎกระทรวงกาํ หนดมาตรฐานในการบรหิ าร และการจดั การดา้ นความ
ปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดล้อมในการทาํ งาน พ.ศ. 2549

ขอ้ 3 ให้นายจ้างจัดให้มีขอ้ บังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานไว้ในสถาน
ประกอบกจิ การ

ขอ้ บังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องกําหนดขัน้ ตอน
และวิธีการปฏิบัติงานท่ีปลอดภัยเพ่ือควบคุมมิให้มีการกระทําท่ีอาจกอ่ ให้เกิดความไม่ปลอดภัยใน
การทํางาน ทั้งนี้ นายจ้างต้องจัดให้มีการอบรมและฝึ กปฏิบัติจนกว่าลูกจ้างจะสามารถทํางานได้
อย่างถูกต้องปลอดภัย รวมทั้งจัดวางระบบควบคมุ กํากับ ดูแล โดยกําหนดให้เป็นหนา้ ทร่ี ับผดิ ชอบ
ของเจา้ หนา้ ทค่ี วามปลอดภยั ในการงานทกุ ระดับ

คู่มือปฏิบัติงานตามมาตรา 14 ของพระราชบัญญั ติความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 และข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางาน
ตาม ข้อ 3 ของกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร และการจัดการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทาํ งาน พ.ศ. 2549 จงึ เป็นเร่อื งเดียวกันทีก่ ําหนดให้นายจ้าง
ตอ้ งจัดทําขนั้ ตอนและวิธกี ารปฏิบตั งิ านท่ีปลอดภยั ให้แกล่ กู จา้ ง

เม่ือนายจ้างมีขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานท่ีปลอดภัยแล้ว จะต้องจัดให้มีการอบรมและ
ฝึกปฏิบัติจนกวา่ ลูกจ้างจะสามารถทํางานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย หากยังไม่มี นายจ้างต้องจัดทํา
ขนั้ ตอนและวิธีการปฏบิ ตั งิ านทีป่ ลอดภยั โดยเริม่ จากการวิเคราะห์งานเพ่ือความปลอดภัย แลว้ นําผล
ท่ไี ดจ้ ากการวเิ คราะห์งานเพ่ือความปลอดภยั มาจัดทําเป็นขนั้ ตอนและวธิ กี ารปฏบิ ตั ิงานที่ปลอดภัย

ดังนั้น ลูกจ้างจะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานท่ี
กาํ หนดไวอ้ ยา่ งเคร่งครัด เน่ืองจากการจัดทําขอ้ บังคบั และคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางาน
ได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์งานเพ่ือความปลอดภัยมาอย่างละเอียดแล้ว แต่หากมีขั้นตอนและ
วิธีการปฏบิ ัติงานใดมปี ั จจัยท่ีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมท่ีกําหนดไว้ในขอ้ บังคับและคมู่ อื ว่าด้วยความ
ปลอดภัยในการทํางาน ลูกจ้างควรแจ้งให้หัวหน้างานทําการวิเคราะห์งานเพ่ือความปลอดภัย
และนําไปกําหนดเป็นขอ้ บังคับและคูม่ ือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานท่ีเป็นปั จจบุ ันของสถาน
ประกอบกจิ การต่อไป

การอบรมตามหัวขอ้ วิชาที่ 3 น้ี นายจ้างจะต้องจัดอบรมให้แกล่ ูกจ้างโดยใช้ขอ้ บังคับว่าด้วย
ความปลอดภัยฯ ท่ีมีอยู่ หรอื จัดทาํ ขึ้นสําหรับลูกจ้างทป่ี ฏิบตั ิงานในแตล่ ะงาน เช่น งานเจีย งานกลึง
งานเช่ือม งานยกยา้ ยสงิ่ ของ เป็นต้น

32 ความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรบั ลกู จ้างทว่ั ไปและลูกจา้ งเข้าทำงานใหม่

2. กฎความปลอดภัยท่ัวไป

กฎระเบยี บเป็นแบบแผนหรือกติกาการอยู่ร่วมกันในสงั คมเพ่ือให้เกิดความสงบเรียบร้อย ภาครัฐ
กาํ หนดกฎระเบยี บในรปู ของกฎหมายตา่ ง ๆ เพ่ือให้ประชาชนทกุ คนปฏบิ ตั ิ เป็นกฎดูแลให้เกดิ ความ
สงบเรียบร้อยภายในประเทศ หากผู้ใดละเมิดมีโทษจําคุก ปรับ เป็นต้น ในด้านความปลอดภัย
ในการทํางานภาครัฐได้ใช้พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ
ทํางาน พ.ศ. 2554 รวมทั้งกฎหมายท่ีเก่ียวข้องกับความปลอดภัยอ่ืน ๆ เพ่ือควบคุมให้สถาน
ประกอบกจิ การมีการดําเนินการเพ่ือความปลอดภยั ให้แกล่ ูกจา้ ง โดยนายจา้ งจะต้องนําขอ้ กฎหมาย
ต่าง ๆ มาปฏิบัติโดยการกําหนดเป็ นกฎความปลอดภัย เพ่ือการป้ องกันและควบคุมอันตราย
ในกจิ กรรมท่เี สี่ยงตอ่ อบุ ตั เิ หตแุ ละโรคจากการทํางาน

ตวั อยา่ งกฎความปลอดภยั ในการทาํ งานทัว่ ไป

1. พนักงานตอ้ งตระหนักถงึ ความปลอดภยั อยูเ่ สมอ
2. พนักงานต้องศึกษาคู่มือปฏิบัติงานให้เข้าใจก่อนการปฏิบัติงานทุกคร้ัง และปฏิบัติตาม

ขอ้ กาํ หนดอยา่ งเคร่งครดั
3. เช่อื ฟั งและปฏบิ ัตติ ามป้ายเตอื นและสัญลักษณค์ วามปลอดภยั อยา่ งเครง่ ครดั
4. แต่งกายให้เรียบร้อยและสวมใสอ่ ุปกรณค์ ุม้ ครองความปลอดภยั ส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับงาน
5. พนักงานต้องให้ความร่วมมือในกิจกรรมความปลอดภัยฯ โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการ

ปฏบิ ัติงาน
6. ห้ามทาํ งานกับเคร่อื งจกั รหรอื สารเคมีอันตรายโดยไมม่ ีหนา้ ทเ่ี ก่ียวขอ้ ง
7. อุปกรณ์ป้ องกันอันตรายท่ีเคร่ืองจักรถือเป็นส่วนหนึ่งของเคร่ืองจักร ห้ามถอดออกโดย

เด็ดขาด ยกเวน้ เพ่ือทําการซ่อมแซมหรอื บาํ รงุ รกั ษา
8. เม่ือพบเห็นสภาพการทาํ งานที่ไมป่ ลอดภัย ตอ้ งรายงานหวั หนา้ งานทนั ที
9. เม่ือเกิดอุบัติเหตุจากการทํางานหรือเจ็บป่ วย ต้องแจ้งหัวหน้างานหรือเจ้าหน้าที่ความ

ปลอดภัยในการทํางานทราบโดยเรว็
10. ห้ามรบั ประทานอาหารหรือสูบบหุ รใ่ี นท่ีปฏิบตั งิ าน ยกเว้นในบริเวณทจ่ี ัดไวใ้ ห้เป็นการเฉพาะ
11. เม่อื ไดย้ นิ เสียงสญั ญาณฉกุ เฉนิ ให้พนักงานรบี ไปยงั จดุ รวมพลหรือสถานทีป่ ลอดภยั โดยดว่ น
12. พนกั งานตอ้ งใช้เคร่อื งมือและอปุ กรณใ์ ห้ถูกตอ้ งตามลักษณะการใช้งาน ไมใ่ ช้งานผดิ ประเภท
13. ตอ้ งแขวนป้ าย “อนั ตราย” เคร่อื งจักรหรอื อุปกรณก์ อ่ นท่จี ะทาํ งานซ่อมบาํ รงุ
14. พนกั งานไมม่ สี ิทธ์ิทจ่ี ะถอดป้าย “อนั ตราย” ของผอู้ ่ืนออก

ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรบั ลกู จ้างทว่ั ไปและลกู จา้ งเขา้ ทำงานใหม่ 33

15. กรณีหยุดพักการซ่อมเคร่ืองจักรหรืออุปกรณ์ ผู้ที่รับผิดชอบหรือผู้ท่ีเก่ียวขอ้ งกับการซ่อม
เคร่ืองจักรหรืออุปกรณ์นั้นต้องแขวนป้ าย “อุปกรณ์ชํารุด” ณ จุดตามความเหมาะสม พร้อม
กับรายงานให้หวั หนา้ ทราบทนั ที

16. ห้ามบุคคลที่ไม่มีหน้าที่เก่ียวข้องหรือไม่ได้รับอนุญาตขับหรือบังคับควบคุมเคร่ืองจักร
เคร่ืองยนต์ รถยก ปั้ นจัน่ หรืออปุ กรณใ์ นการยกตา่ ง ๆ

17. ห้ามพนักงานใช้อปุ กรณจ์ กั รกลโดยไมผ่ า่ นการฝึกอบรมมากอ่ น
18. ห้ามใช้ลมจากเคร่อื งอัดอากาศมาทําความสะอาดเส้อื ผา้ หรอื สว่ นใดสว่ นหนึ่งของร่างกาย
19. ห้ามหิ้วหรือแบกสารเคมีอนั ตรายท่ีบรรจุในถงั หรอื ภาชนะที่ไมไ่ ดป้ ิดหรือปิดไมเ่ รียบร้อย และ

ในการขนย้ายต้องใช้อุปกรณค์ ้มุ ครองความปลอดภัยส่วนบคุ คลท่ีเหมาะสม
20. ห้ามปีนหรือเกาะไปกับปั้ นจั่นเคร่ืองจักรหรือยานพาหนะท่ีกําลังเคล่ือนท่ีโดยเด็ดขาด เช่น

รถยก, ลฟิ ตข์ นของ ฯลฯ
21. ห้ามขับรถเกินความเร็วท่ีกําหนดในบริเวณโรงงานและปฏิบัติตามกฎจราจรอ่ืน ๆ อย่าง

เครง่ ครัด
22. ห้ามนําสุรา ยาเสพติด อาวุธ วัตถุระเบิดเข้ามาภายในพ้ืนท่ีของโรงงานเป็นอันขาด รวมถึง

ห้ามเล่นการพนนั และทะเลาะววิ าทกนั ในโรงงาน
23. ห้ามผู้มสี ภาพมนึ เมาเขา้ ปฏบิ ตั งิ าน รวมทัง้ เขา้ มาในบริเวณโรงงาน

34 ความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรบั ลกู จ้างท่วั ไปและลูกจ้างเขา้ ทำงานใหม่

3. กฎความปลอดภัยในการทำงานเฉพาะเรอื่ ง

3.1 กฎความปลอดภัยเกยี่ วกบั อุปกรณค์ วามปลอดภัย

1) อยา่ ถอดถอน เคล่ือนยา้ ยอุปกรณค์ วามปลอดภัยต่าง ๆ โดยไมไ่ ดร้ บั อนญุ าต
2) เม่ือพบเคร่ืองจักรไม่มีอุปกรณ์ความปลอดภัย ให้หยุดเคร่ืองจักร และรายงานให้หัวหน้างาน
ทราบทนั ที
3) การถอดถอน หรือการเคล่ือนย้ายอุปกรณ์ฉุกเฉิน จะกระทําได้ก็ต่อเม่ือได้รับอนุญาต
จากผูบ้ งั คับบญั ชา และอยภู่ ายใตก้ ารกาํ กับดแู ลของหัวหนา้ งานเท่านัน้

ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลกู จา้ งท่วั ไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ 35

3.2 กฎความปลอดภยั เกี่ยวกบั ไฟฟ้ า

1) อย่าเขา้ ใกล้หรือจับตอ้ งอุปกรณ์ไฟฟ้ าท่มี ีป้ายห้ามใช้
โดยไมจ่ ําเป็น

2) ผูไ้ มม่ ีหนา้ ทเี่ กี่ยวขอ้ ง ห้ามเขา้ บริเวณติดตัง้ หมอ้ แปลง
ไฟฟ้ าหรอื อปุ กรณไ์ ฟฟ้าแรงดันสงู

3) หากตัวเปียกช้ืน ห้ามจับต้องอปุ กรณเ์ คร่อื งใช้ไฟฟ้ า
4) ห้ามวางวัตถุไวไฟใกล้กบั เตา้ รบั หรืออุปกรณไ์ ฟฟ้า
5) ต้องปิดสวิทช์กอ่ นทําความสะอาดอุปกรณไ์ ฟฟ้ าทุกครัง้
6) การซ่อมบํารงุ ตอ้ งทําโดยช่างไฟฟ้ าเทา่ นั้น
7) การเสียบหรอื ถอดเตา้ เสยี บต้องจบั ท่ตี วั เตา้ เสียบ ห้ามใช้วธิ ดี งึ หรอื จบั ท่ีสายไฟ
8) ห้ามคลมุ หลอดไฟฟ้ าด้วยกระดาษหรอื ผา้ เพราะอาจทาํ ให้เกดิ อัคคีภยั ได้
9) การติดตั้งสายไฟฟ้ าและอปุ กรณ์ไฟฟ้ าต้องใช้สายและอุปกรณท์ ่ีเหมาะสมและติดตง้ั อย่าง
ถูกตอ้ ง
10) ควรระวังอย่าวางสายไฟฟ้ าสอดไว้ใต้พรมปูพ้ืน ใต้บานประตูหน้าต่างหรือขวางทางเดิน
เพราะเม่ือถูกเหยียบยาหรอื กดทับนานเขา้ ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้ าจะชํารุดฉีกขาดอันตรายย่อมเกิดข้ึน
ไดง้ า่ ย
11) อย่าให้หลอดไฟฟ้ าซึ่งมีความร้อนสูงอยู่ติดกับวัตถุซ่ึงเป็นเช้ือเพลิงติดไฟง่าย เช่น ผ้า
หรอื กระดาษ
12) หลอดไฟฟ้ าท่ีขาดแล้ว ควรใส่ไว้กับกระจุ๊บตลอดเวลาจนกว่าจะเปล่ียนหลอดใหม่
เพ่ือป้ องกันไม่ให้ผู้ท่ีรู้เท่าไม่ถึงการณห์ รือเผอเรอเอานว้ิ แหย่เขา้ ไป หากหลอดไฟฟ้ ากระพริบติด ๆ
ดบั ๆ ควรแจ้งใหม้ ีการเปล่ยี นหรือซ่อมบํารงุ
13) เม่ือจะใช้โคมไฟฟ้ านอกชายคา หรือใช้งานสมบุกสมบันแม้จะเป็ นการชั่วคราว
เช่น อู่ซ่อมรถ ควรเลือกใช้โคมไฟฟ้ าที่ดีไดม้ าตรฐาน มีตะแกรงครอบหลอดและมีสายชนิดที่มีฉนวน
ห้มุ หนา
14) อย่าเขา้ ใกล้บริเวณท่ีมีการใช้กระแสไฟฟ้ าแรงสูง หม้อแปลง หรืออุปกรณ์ไฟฟ้ าแรงสูง
อ่ืน ๆ เพราะเม่ือเข้าใกล้ก็อาจเกิดอันตรายได้โดยไม่สัมผัส หากจุดท่ีปฏิบัติงานอยู่ใกล้
สายไฟฟ้าแรงสูงตอ้ งทราบอันตรายและแนวทางป้ องกนั และอยหู่ า่ งในระยะท่ีปลอดภยั
15) เม่ือประสบเหตไุ ฟไหมอ้ ปุ กรณไ์ ฟฟ้ า หรือมีลูกจ้างถูกไฟฟ้ าช็อค ให้ดาํ เนินการดังน้ี

ก. ปิดสวทิ ช์ไฟ ถา้ ไมส่ ามารถทําได้ ให้แจ้งช่างไฟฟ้ าทนั ที
ข. กรณีไม่สามารถปิ ดสวิทช์ไฟได้ทันที เม่ือพบเห็นเหตุพบผู้ถูกไฟฟ้ าช็อค
ให้พยายามช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายออกจากกระแสไฟฟ้ า โดยใช้วัตถุที่ไม่เป็นส่ือไฟฟ้ า

36 ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรับลกู จ้างท่วั ไปและลูกจ้างเขา้ ทำงานใหม่

เช่น ผ้าแห้ง ไม้แห้งเชือกแห้ง สายยางแห้ง เป็ นต้น เขี่ยสายไฟออกจากร่างกายผู้ประสบภัย
อยา่ ช่วยเหลอื ด้วยการจบั ตอ้ งตวั ผู้กาํ ลังถูกไฟฟ้ าช็อคโดยตรง เพราะจะถกู ไฟฟ้ าชอ็ คด้วย

ความปลอดภัย อาชวี อนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลกู จ้างท่วั ไปและลูกจา้ งเขา้ ทำงานใหม่ 37

3.3 กฎความปลอดภยั ในการการใช้ระบบดักจบั ฝ่ นุ สารเคมี
การปิดครอบป้ องกนั เสยี ง ความรอ้ น และการระบายอากาศ

1) ไมเ่ ปิดประตู หรือฝาครอบสิ่งท่ีเป็นอนั ตราย เช่น กา๊ ซ ฝ่ นุ เสยี งดงั และแหลง่ กาํ เนิดความร้อน
2) ตรวจสอบรอยรั่ว และรอยแตกของระบบ ซึ่งอาจเกิดอันตรายจากการร่ัวและฟ้ ุงกระจาย
หากพบวา่ ร่ัว หรือแตกให้แจ้งหวั หนา้ งานเพ่ือการซอ่ มแซม
3) ตรวจสอบระบบระบายอากาศเฉพาะท่ีว่าสามารถใช้งานได้เป็นปกติหรือไม่ และห้าม
ดัดแปลงโดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาตจากหัวหนา้ งาน
4) ห้ามกองวสั ดุไวใ้ กลป้ ากทอ่ ดดู อากาศ เพราะจะทาํ ให้ประสิทธภิ าพการระบายอากาศลดลง

3.4 กฎความปลอดภยั ในสาํ นกั งาน

1) ทําความสะอาดพ้ืนทท่ี าํ งานให้แห้งอยูเ่ สมอ
2) เม่ือพบเหน็ สงิ่ ผิดปกติรีบแจง้ ให้ผรู้ บั ผดิ ชอบทราบ
3) หากต้องการยกของ ไม่ควรยกของสูงเกินไปจนมองไมเ่ ห็นทาง
4) สวมรองเท้าให้รัดกมุ ไมค่ บั หรอื หลวมจนเกนิ ไป
5) เคร่ืองใช้ไฟฟ้ าควรวางใกลป้ ลัก๊ ไฟฟ้ าให้มากทส่ี ดุ
6) สายไฟฟ้า สายโทรศัพท์เดินบนพ้ืนต้องติดเทปกาวให้เรยี บรอ้ ย
7) ไมใ่ ช้เกา้ อีน้ ัง่ มารองยืนเพ่ือหยิบ หรอื วางสิ่งของ
8) กรณที ่หี ยิบส่ิงของที่สูงๆ ให้ใช้แทน่ หรือบันไดวางให้มัน่ คงและมคี นช่วยจับด้วย
9) บรเิ วณมุมอับ หรือหวั มุมตอ้ งเดนิ ให้มุมกว้าง ชดิ ขวามือตนเอง อย่าเดนิ ชดิ หัวมุม
10) หาตูเ้ กบ็ เอกสารใส่แฟ้ มเอกสาร เอกสารที่มนี า หนกั มากควรเก็บไวใ้ นลิ้นชักลา่ ง
11) วางหรอื ยดึ ตู้เอกสารให้มน่ั คง
12) ไมเ่ ปิดต้เู อกสารทลี ะหลาย ๆ ชัน้ พร้อมกนั ควรเปิดทลี ะชั้นเสมอ
13) ไมค่ วรวางของเกะกะทางเดนิ
14) ตรวจบรเิ วณทางเดนิ ใหอ้ ยูใ่ นสภาพที่ปลอดภยั และสะอาดอยเู่ สมอ
15) ต้องใช้อุปกรณเ์ คร่ืองใช้สํานักงานให้ปลอดภัยด้วยความระมัดระวงั
16) ถอดปลั๊กไฟฟ้ า และปิดเคร่ืองใช้ไฟฟ้ าเม่อื เลกิ ใช้งานทกุ คร้ัง
17) พนักงานตอ้ งรูจ้ ักวิธีการใช้ถังดับเพลงิ และวธิ ีการอพยพหนีไฟตามแผนทีก่ ําหนดไว้

38 ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรบั ลกู จ้างทว่ั ไปและลูกจา้ งเขา้ ทำงานใหม่

3.5 กฎความปลอดภยั เกี่ยวกบั คอมพวิ เตอร์

1) ไมป่ ฏบิ ตั งิ านคอมพวิ เตอร์อย่างตอ่ เน่อื งนานเกนิ ๑ ช่วั โมง
2) ควรปฏบิ ตั ิงานประเภทอ่นื สลับกบั งานคอมพิวเตอร์ เช่น ตรวจหรือเขียนเอกสาร

พูดโทรศพั ท์ เขา้ ประชมุ เป็นต้น
3) ขณะพูดโทรศัพท์ ไม่ควรปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ เช่น ไม่ใช้แป้ นพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น

แต่ถ้าจาํ เป็นต้องปฏิบตั งิ านคอมพิวเตอร์ดว้ ย ก็ควรใช้อปุ กรณห์ ูฟั งและไมโครโฟนในการ
พดู โทรศัพท์
4) ถา้ ตอ้ งมองเอกสารขณะปฏิบตั งิ านคอมพิวเตอร์ ควรวางเอกสารบนทีว่ างเอกสาร
5) ควรวางเอกสารตรงหน้าระหวา่ งแป้ นพิมพแ์ ละจอภาพ หรือวางขา้ งจอภาพ
6) ไม่ควรนั่งปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์เป็ นเวลานานๆ ควรลุกขึ้นแล้วเดินไป-มา
และบรหิ ารสว่ นของรา่ งกายท่มี อี าการปวดเม่ือย
7) ให้ปรับเบาะนั่งให้อยรู่ ะดบั ที่เหมาะสม โดยให้ขาท่อนบนขนานกบั พ้นื ขาทอ่ นลา่ งต้ังฉาก
กับพ้นื และเทา้ ท้ังสองข้างวางราบบนพ้นื หรือบนทพี่ ักเทา้
8) ขณะน่ังปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ ไมน่ งั่ ไขว่ห้าง ขัดสมาธิ คกุ เขา่ พบั เพียบ หรือพับขาบน
เบาะนัง่
9) ให้ปรบั พนักพิงหลงั ให้ตัง้ ฉากหรอื เอนไปดา้ นหลังเลก็ นอ้ ย นงั่ พิงพนักพิงหลังอยา่ งเตม็
แผน่ หลงั
10) ขณะปฏบิ ัตงิ านคอมพิวเตอร์ ไมค่ วรวางแขนทั้งสองขา้ งบนท่ีพักแขน นอกจากจะ
สามารถปรับระดับ และระยะชดิ – ห่างจากลาํ ตัวให้เหมาะสมกบั ร่างกายได้

(ขอ้ มลู จาก “มาตรฐานการปฏบิ ตั ิงานคอมพวิ เตอรต์ ามหลักการยศาสตร์” ของ สสปท.)

ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรับลกู จา้ งท่วั ไปและลกู จา้ งเข้าทำงานใหม่ 39

3.6 กฎความปลอดภยั ในการทาํ งานกบั เสยี งดัง

1) สวมใส่ปลัก๊ ลดเสยี งขณะปฏบิ ตั งิ านในสถานท่ีที่กําหนด
2) ตรวจสอบอุปกรณค์ วบคุมเสยี ง และอปุ กรณ์ลดเสียงเป็นประจํา เพ่ือดแู ลให้มสี มรรถนะ

ในการลดเสียงอยา่ งสมาเสมอ
3) ห้ามมิให้ถอดถอนอุปกรณค์ วบคุมเสียงและอปุ กรณ์ลดเสียง และห้ามมใิ ห้ดําเนินการใด ๆ

ทจี่ ะทาํ ให้สมรรถนะของอุปกรณล์ ดลง
4) พนักงานท่ที ํางานอยใู่ นทที่ มี่ ีเสียงดัง จะตอ้ งไดร้ บั การตรวจสมรรถภาพการไดย้ ินเป็นประจาํ

40 ความปลอดภัย อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรับลกู จ้างทว่ั ไปและลูกจ้างเขา้ ทำงานใหม่

3.7 กฎความปลอดภยั เกี่ยวกบั สารเคมี

1) ศึกษาเอกสารขอ้ มลู ความปลอดภัยของสารเคมที ่ีใช้ทกุ ชนิด เพ่อื ทราบอันตรายและ
วิธีการปฏบิ ตั ิเพ่อื ความปลอดภยั ตา่ ง ๆ

2) สวมใสอ่ ุปกรณค์ ุม้ ครองความปลอดภยั ตามความเหมาะสมกบั งาน มีการดแู ลทําความ
สะอาด บาํ รงุ รักษาใหอ้ ยูใ่ นสภาพดี

3) ทําความสะอาดทุกครัง้ ท่มี สี ารเคมีหก รัว่ ไหล
4) ให้ความรว่ มมือในการตรวจสุขภาพประจาํ ปี
5) ไมป่ ฏบิ ัตงิ านตามลําพังหรือไมม่ ีหนา้ ทเ่ี กย่ี วขอ้ ง
6) ไมใ่ ช้ปากดดู สารเคมี แทนลูกยาง
7) ไมท่ ดสอบสารเคมี โดยการสดู ดม หรือกนิ สารเคมี
8) สวมใส่อุปกรณค์ ุม้ ครองความปลอดภยั ส่วนบุคคลทุกครั้งท่ีปฏิบัติงานกบั สารเคมี

เช่น ถุงมอื รองเทา้ ชดุ ป้ องกนั สารเคมี หน้ากาก แวน่ ป้ องกนั สารเคมี
9) เม่อื ต้องการขนถา่ ยสารเคมจี ํานวนมาก ควรใช้รถเขน็ ในจํานวนท่ีไมม่ ากจนเกินกาํ ลงั บรรทุก
10) หลงั ปฏบิ ัติงานต้องทําความสะอาดรา่ งกายตนเอง และพ้นื ทท่ี ป่ี ฏบิ ัตงิ านให้สะอาดทุกครั้ง
11) จัดเกบ็ สารเคมีใหเ้ ขา้ ท่ี (ชั้นจัดเกบ็ ) อยา่ งเป็นระเบยี บและเกบ็ ในพ้ืนท่หี รอื บรเิ วณให้

เกบ็ อยา่ งถูกต้อง

ความปลอดภยั อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรับลกู จา้ งทว่ั ไปและลกู จา้ งเข้าทำงานใหม่ 41

ป้ ายสญั ลกั ษณแ์ สดงความเป็นอันตรายของสารเคมี

สารเคมีที่ใช้ในสารประกอบกิจการโดยทั่วไป เช่น เป็นสารประเภทกรด ด่าง สารฆา่ เช้ือ
สารตัวทําละลาย สารทําสี โลหะหนัก เป็นต้น ซึ่งอาจอยู่ในรูปของแข็ง ของเหลว ไอ ฟูม ฝ่ ุน ก๊าซ
ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความดัน สารเคมีสามารถทําอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ทําให้เกิด
โรคจาการทาํ งาน หรอื อาจกอ่ ให้เกิดอันตรายรา้ ยแรง เช่น การระเบดิ และอัคคีภัย การเก็บสารเคมีมี
ทัง้ บรรจุอยู่ในถุง ในถังพลาสติก หรือถังความดันต่าง ๆ และรถบรรทุกสารเคมี โดยที่ภาชนะบรรจุ
จะติดฉลากเคมีภัณฑ์แสดงข้อมูลเก่ียวกับอันตรายของสารเคมีและวิธีป้ องกัน รวมทั้งมีภาพ
สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายซ่ึงจําแนกไว้ ๙ แบบติดไว้ การเรียนรู้ทําความเข้าใจเก่ียวกับ
สัญลักษณ์ต่าง ๆ จะช่วยให้พนักงานตระหนักภัยท่ีอาจเกิดข้ึนหากไม่ระมัดระวังในการเข้าไป
เกยี่ วขอ้ ง

ภาพ: สัญลกั ษณ์แสดงความเป็นอนั ตรายของสารเคมี

42 ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลกู จา้ งทว่ั ไปและลกู จ้างเขา้ ทำงานใหม่

3.8 กฎความปลอดภยั เก่ียวกบั อัคคีภัย

1) ในบริเวณที่มีป้ าย "ระวังสารไวไฟ” ห้ามจุดไฟ สูบบุหรห่ี รอื มีแหลง่ กาํ เนิดความรอ้ น
ใกลบ้ รเิ วณดงั กลา่ ว

2) ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ เช่น เผาหญ้า ขยะ ในบริเวณท่ีมีนามันเช้ือเพลิงเด็ดขาด
หากจําเป็นให้เลือกสถานที่ปลอดภัยและทําในวันท่ีลมสงบเท่านั้น และหลังจากภารกิจ
เสรจ็ ส้ินแลว้ ต้องตรวจดสู ภาพทันที

3) สบู บุหร่ใี นสถานที่กําหนดหรืออนญุ าตใหส้ ูบเท่านัน้ และหลงั จากภารกิจเสร็จส้ินแล้ว
ตรวจดูให้แนใ่ จว่าไฟดบั จริง ๆ

4) ไมท่ ิง้ เศษนา มนั ขีเ้ ล่อื ย หรอื วัสดเุ ป็นเช้ือเพลิงได้งา่ ยไว้กลางแจ้ง ให้ทง้ิ ในภาชนะที่
จดั เตรียมไว้ให้เทา่ นัน้ และปิดฝาให้เรยี บร้อย

5) เม่ือไดก้ ลน่ิ เหมน็ ไหม้ หรอื พบควันไฟผดิ ปกติ ให้แจง้ เหตุทันที
6) เคร่อื งดับเพลิงและอุปกรณด์ บั เพลิงอยใู่ นสภาพพร้อมใช้งาน ห้ามโยกยา้ ยหรอื เปลยี่ น

ตําแหนง่ ทตี่ ดิ ตัง้ โดยไมไ่ ด้รบั อนุญาต
7) ดูแลรกั ษาเคร่อื งดับเพลิงให้มสี ภาพพรอ้ มใช้งาน และไมว่ างสงิ่ ของกดี ขวางทางเขา้ ถึง

เคร่ืองดับเพลิง
8) ไมว่ างส่ิงของ กีดขวางเส้นทางหนีไฟ ประตู บนั ได และทางออกฉกุ เฉิน

ความปลอดภัย อาชวี อนามยั และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรบั ลกู จา้ งท่วั ไปและลกู จา้ งเข้าทำงานใหม่ 43

9) เม่ือพบเหตเุ พลงิ ไหม้
- รบี รายงานผรู้ บั ผิดชอบโดยเรว็
- ปิดสวทิ ช์ไฟฟ้ าทงั้ หมด
- ดบั เพลิงภายใตก้ ารควบคมุ ของหวั หนา้ งานจนกว่าพนักงานดบั เพลิงมาถึง
- หากเพลิงเกิดจากวัสดุอันตราย หรือมีวัสดุอันตรายอยู่ใกล้เคียง ให้ยก

เคล่ือนยา้ ยวสั ดุเหลา่ นั้นตามคาํ แนะนําของผ้มู คี วามรู้ และรีบดาํ เนินการดบั เพลิงทันที
- ถ้าไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามีการตัดกระแสไฟฟ้ าหรือยัง ห้ามใช้นาในการ

ดบั เพลงิ
- หากนามันเป็นสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ ให้ใช้เคร่ืองดับเพลิงท่ีกําหนดไว้

แตห่ ากไมม่ ใี ห้ใช้แผน่ ใยสงั เคราะหป์ ิดคลุมกองไฟ แล้วจึงดับไฟดว้ ยนา
- เม่ือนามันในภาชนะเกิดการลุกไหม้ ให้ปิ ดภาชนะด้วยแผ่นเหล็ก หรือแผ่น

ใยสงั เคราะห์ ห้ามใช้ทรายเทลงในภาชนะ เพราะจะทําให้นา มันไหลออกมาและเพลิงจะขยายไปทั่วได้
10) แจ้งให้พนักงานทุกคนรถู้ ึงขอ้ ควรปฏบิ ัติเวลาเกดิ เพลิงไหม้
11) พนกั งานทกุ คนทราบว่าอุปกรณด์ ับเพลิงอยูท่ ่ีใด สายฉีดนา ดับเพลิงทใ่ี กล้ที่สุด
อยูท่ จ่ี ุดใดในสาํ นักงาน ตลอดจนเรยี นรู้วิธีการใช้เคร่ืองมือดบั เพลิงอยา่ งถกู ต้อง
12) มีการตรวจสภาพเคร่ืองมอื ดบั เพลิงให้อยใู่ นสภาพพรอ้ มท่ีจะใช้งานได้เสมอ
13) ติดตงั้ สญั ญาณแจง้ เหตุเพลิงไหมใ้ นที่มองเหน็ ไดง้ า่ ย สะดวกแกก่ ารใช้
14) แจง้ พนักงานทกุ คนให้รู้เสน้ ทางหนีไฟทพี่ งึ ใช้เม่ือเวลาเกิดเพลงิ ไหม้
15) มีป้ ายเตอื นท่ีเห็นได้ชัดเจน ห้ามใช้ลิฟตใ์ นขณะเกิดเพลิงไหม้ การละเลยในสิ่งที่เห็นว่า
ยากท่ีจะเกิดข้ึนหรือไม่เคยเกิดขึ้นเลยในสถานที่ทํางาน อาจทําให้เกิดความสูญเสีย
อย่างสูง เม่ือเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น แม้ว่าในปั จจุบันสํานักงานส่วนใหญ่จะได้รับการ
ออกแบบให้ปลอดภัยจากการเกิดเพลิงไหม้ แต่สิ่งท่ีอยู่ภายในสํานักงาน เช่น กระดาษ
โต๊ะไม้ เฟอร์นิเจอร์ และสารเคมีต่าง ๆ ฯลฯ เป็นสิ่งที่ติดไฟได้ง่าย ดังนั้น จึงไม่ควร
ละเลยในจุดนี้
16) กําหนดระเบยี บปฏบิ ัติสําหรับผสู้ ูบบุหร่ี เช่น ห้ามท้ิงไมข้ ีดไฟ เถา้ บหุ รหี่ รอื กน้ บุหรล่ี งใน
ตะกร้าท้ิงขยะบนพ้ืนใกล้กับเคร่ืองจักรหรือใกล้สารเคมีซึ่งไวไฟ ควรจัดท่ีเขี่ยบุหรี่ไว้
สาํ หรบั ผูส้ บู บุหร่ี นอกจากนนั้ ควรห้ามสูบบหุ ร่บี ริเวณห้องเกบ็ ของหรอื ห้องเก็บสารเคมี
ทั้งนี้สารเคมีท่ีเก็บควรบรรจุในภาชนะของบริษัทผู้ผลิตจนกว่าจะมีการเปิ ดออกใช้
หากพบว่าภาชนะทีบ่ รรจุเกดิ รอยรวั่ กต็ ้องเปลี่ยนภาชนะทบ่ี รรจเุ สียใหม่ทันที
17) เศษผ้าหรือกระดาษท่ีใช้ เช็ดทํ าความสะอาด ถ้าเป้ื อนนามันห รือสารติดไฟ
ควรท้งิ ในภาชนะทปี่ ิดมดิ ชดิ อยา่ ทิง้ ไว้ใตเ้ คร่อื งจกั รหรือในถงั ขยะ

44 ความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรบั ลกู จา้ งท่วั ไปและลูกจา้ งเข้าทำงานใหม่

18) เกบ็ กระดาษ กลอ่ งกระดาษหรือส่ิงทตี่ ดิ ไฟไดไ้ วใ้ ห้ห่างจากเคร่ืองจกั รและอุปกรณไ์ ฟฟ้ า
เพราะอาจะเป็นได้ที่อปุ กรณไ์ ฟฟ้ าจะเกดิ การลัดวงจรหรือเคร่อื งจักรเกิดความรอ้ นมาก
จะทําใหเ้ กดิ เพลิงไหมข้ ้ึน

19) ตรวจสายไฟหมอ้ ตม้ นาร้อนหรอื หมอ้ ตม้ กาแฟว่ามชี ํารุดหรอื ไม่ ถ้าชาํ รดุ ควรรีบซ่อม
อย่าใช้ตอ่ ไป

20) กําหนดกฎขอ้ บังคับในการดูแลและทดสอบอปุ กรณท์ ่ใี ช้ดับเพลิง การดําเนนิ การอาจทํา
โดยต้ังกลุ่มผู้รับผิดชอบขึ้นในแต่ละหน่วยงานให้มีหน้าที่ตรวจตราอุปกรณ์ต่าง ๆ
รับผิดชอบในการแจ้งเหตุเพลิงไหม้แก่พนักงานและผู้มาติดต่องาน รวมทั้งแจ้งสถานี
ดับเพลิงด้วย ดูแลการอพยพคนออกจากอาคาร ช่วยเหลือคนพิการและทําหน้าที่
ดบั เพลิงในระยะแรก

ความปลอดภัย อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรบั ลกู จา้ งท่วั ไปและลกู จ้างเข้าทำงานใหม่ 45

3.9 ป้ ายหรอื สัญลกั ษณค์ วามปลอดภยั

สถานประกอบกจิ การจะมีการใช้ป้ ายหรือสัญลักษณ์ความปลอดภัย เพ่ือส่ือสารหรือเตือน
เร่ืองความปลอดภัยกับลูกจ้าง เช่น พ้ืนท่ีนั้นมีอันตรายอะไรท่ีควรระมัดระวัง มีข้อบังคับหรือ
คําแนะนําให้ปฏิบัติตนอย่างไรหรือมีขอ้ ห้ามปฏิบัติอย่างไร เป็นต้น ทั้งน้ีป้ ายหรือสัญลักษณ์ความ
ปลอดภยั ประกอบดว้ ยสิง่ ต่าง ๆ ท่ีส่อื ความหมายแตกต่างกนั ดังนี้

(1) เคร่อื งหมายห้าม

เคร่อื งหมายห้าม ความหมาย

ห้ามทวั่ ไป
(general prohibition)

ห้ามสบู บุหรี่
(no smoking)

ห้ามจดุ ไฟและกอ่ ประกายไฟ ห้ามทําใหเ้ กิดประกายไฟ ห้ามสูบ
บุหร่ี

(no open flame; fire, open ignition source and
smoking prohibited)

ห้ามผา่ น
(no thoroughfare)

ห้ามใช้ด่ืม
(not drinking water)

46 ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรบั ลกู จ้างทว่ั ไปและลูกจา้ งเขา้ ทำงานใหม่

เคร่อื งหมายห้าม ความหมาย
รถยกและยานพาหนะงานอุตสาหกรรม ห้ามเขา้
(no access for fork lift trucks and other industrial vehicles)

บคุ คลท่ตี ิดอปุ กรณค์ วบคมุ การเตน้ ของหวั ใจ ห้ามเขา้
(no access for persons with pacemakers)

ห้ามวสั ดุโลหะหรือนาฬิกา
(no metallic articles or watches)

ห้ามใช้นาดับไฟ
(do not extinguish with water)

ห้ามสมั ผสั
(do not touch)

ห้ามใช้โทรศพั ท์เคล่อื นท่ี
(no activated mobile phones)

บคุ คลทมี่ ีโลหะฝั งใน ห้ามเขา้
(no access for persons with metallic implants)

ห้ามย่ืนสิ่งใดเขา้ ไป
(no reaching in)

ความปลอดภัย อาชีวอนามยั และสภาพแวดลอ้ มในการทำงาน สำหรับลกู จา้ งท่วั ไปและลกู จ้างเข้าทำงานใหม่ 47

เคร่อื งหมายห้าม ความหมาย
ห้ามผลัก
(no pushing)

ห้ามนงั่
(no sitting)

ห้ามเหยยี บ
(no stepping on surface)

ห้ามใช้ลฟิ ตข์ ณะเกิดเพลิงไหม้
(do not use lift in the event of fire)

ห้ามนําสุนัขเขา้
(no dogs)

ห้ามรบั ประทานอาหารหรือเคร่อื งด่ืม
(no eating or drinking)

ห้ามวางส่งิ กดี ขวาง
(do not obstruct)

ห้ามเดินหรือยืนบริเวณนี้
(do not walk or stand here)


Click to View FlipBook Version