The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คำศัพท์สำคัญ เกี่ยวกับ พหุวุฒนธรรมศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

คำศัพท์สำคัญ เกี่ยวกับ พหุวุฒนธรรมศึกษา

คำศัพท์สำคัญ เกี่ยวกับ พหุวุฒนธรรมศึกษา

HE L L O

คำศัพท์สำคัญ

เกี่ยวกับ

พหุวัฒนธรรมศึกษา

นางสาวปภาวรินทร์ ชุตินิรมล 630210031

1.วัฒนธรรม (Culture)

ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามของสังคม ความ
เจริญนั้นแสดงออกได้ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีของ

ประชาชน

อ้างอิง : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.2555.วัฒนธรรม.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565.จากhttp://legacy.orst.go.th

2.พหุวัฒนธรรมนิยม
(Multiculturalism)

การเรียกร้องให้มีการยอมรับอัตลักษณ์ที่ถูกเบียดขับ โดยเฉพาะ
อัตลักษณ์ทางเช้ือชาติ ชาติพันธุ์และวัฒนธรรม การเรียกร้องและ
การให้สิทธิทางวัฒนธรรมในหลายประเทศในตะวันตกเกิดจาก
การยอมรับว่าอัตลักษณ์เป็นสิ่งสําคัญยิ่งสําหรับ บุคคลและบุคคล
จะทนทุกข์หากอัตลักษณ์ต้องสูญเสียไปหรือไม่ได้รับการยอมรับ

อ้างอิง : ศิริจิต สุนันต๊ะ.สถานะการโต้แย้งเรื่องพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย.วารสารภาษาและวัฒนธรรมปีที่ 32 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2556)

3.ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
(Cultural diversity)

มีความแตกต่างกันทางเชื้อชาติศาสนาภาษาวัฒนธรรมหรือมีความ
หลากหลายทางชาติพันธุ์

อ้างอิง : ปัณณพร ไพบูลย์วัฒนกิจ.2551.วิทยุชุมชนกับการดำรงรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์
.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565.จากhttps://erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MjY5OTgw

4.อนุรักษนิยม (Conservatism)

แนวคิดที่มุ่งรักษาความเชื่อและคุณค่าแบบเก่า เช่น ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี
อุดมการณ์ทางการเมืองที่สืบทอดมายาวนาน เฉพาะฝ่ายอนุรักษ์นิยมใน

ประเทศไทยมักผูกโยงศาสนา วัฒนธรรมประเพณี อุดมการณ์ทางการเมืองเข้ากับ
สำนึกทางประวัติศาสตร์ “ราชาชาตินิยม” * ที่เชื่อว่าความเป็นชาติเกิดขึ้นพัฒนา
และมั่นคงมาได้เพราะคุณูปการของสถาบันชนชั้นปกครอง ศาสนาก็เจริญรุ่งเรือง
ได้เพราะชนชั้นปกครองอุปถัมภ์ ดังนั้น สถาบันชนชั้นปกครอง จึงเป็นหลักประกัน
ความมั่นคงของชาติ ศาสนาและเป็นศูนย์รวมจิตใจหรือ “ความจงรักภักดี” ของ

ประชาชนในชาติ(สุรพศ ทวีศักดิ์, 2019)

อ้างอิง :จาตุรงค์ สุทาวัน.แนวคิดนักกฎหมายแบบอนุรักษ์นิยม: การตีความรัฐธรรมนูญด้วยกรอบ แนวคิดปัญญาชน.วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา ปีที่ 9
ฉบับที่ 1

5.เสรีนิยม (Liberalism)

เป็นลัทธิการเมืองที่เป็นรากฐานระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจทุนนิยม
เป็นลัทธินำของโลกปัจจุบัน ประเทศยุโรปตะวันตกกับอเมริกาเหนือซึ่งเป็นแนว
หน้าให้กำเนิดระบอบเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ

ว่าประชาธิปไตย) ล้วนเป็น “เสรีนิยม” (Liberal) ก่อน และค่อยพัฒนาเป็น
ประชาธิปไตย (Democratic) ในภายหลัง

อ้างอิง : ไทยโพสต์.2563.เสรีภาพการแสดงออกในระบอบประชาธิปไตย
.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565.จากhttps://www.thaipost.net/main/detail/75250

6.หลังสมัยใหม่นิยม
(Postmodernism)

เป็นแนวคิดทางการเมือง ปรัชญา วัฒนธรรม สังคม ดนตรี และอื่น ๆ ที่ก่อตัวขึ้น
โดยมีมุมมองที่ต่างออกไปจากมุมมองทางความคิดแบบเดิม ๆ ของโลก

อ้างอิง : -วิรุฬหก-.2563.แนวคิดหลังยุคนวนิยม (Postmodernism)
.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565.https://www.blockdit.com/posts/5ed36e0d0eb1c426d325d801

7.อุดมการณ์ (Ideology)

เป็นกลุ่มของความเชื่อ หรือปรัชญาที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลยึดถือ โดยเฉพาะ
ยึดถือเป็นเหตุผลที่ไม่ได้เป็นญาณวิทยาบริสุทธิ์

อ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.2564.อุดมการณ์
.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565.จาก https://th.wikipedia.org/wiki/

8.การกลืนกลาย (Assimilation)

กระบวนการที่ผู้ย้ายถิ่นหรือชนกลุ่มน้อยรับความเชื่อ ค่านิยม และแบบแผน
พฤติกรรมของเจ้าของถิ่นหรือคนกลุ่มใหญ่ไว้ และในที่สุดได้ผสมกลมกลืนไปกับ
ชนกลุ่มใหญ่ในสังคมนั้น เช่น ชาวมอญที่ปรับความเป็นอยู่ ประเพณี วัฒนธรรม
ให้กลืนกลายเข้ากับชุมชนไทย ชุมชนจีนที่ผสมผสานพิธีกรรมแบบไทยเข้าไปใน
ประเพณีของจีน ชาวมุสลิมที่ก่อสร้างมัสยิดบางหลวงให้มีรูปแบบสถาปัตยกรรม

แบบไทย

อ้างอิง : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.2564.การกลืนกลาย (Assimilation).สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม
2565.จากhttps://www.facebook.com/RatchabanditThai/posts/4406128249445236/

9.วาทกรรม (Discourse)

เป็นเรื่องที่มากกว่าการเขียน และการพูด ยังรวมถึงระบบและกระบวนการในการ
สร้าง การผลิต เอกลักษณ์ และความหมาย ให้กับสรรพสิ่งในสังคมที่อยู่รอบตัว
เรา ไม่ว่าจะเป็นอำนาจ ความรู้ ความจริง หรือแม้กระทั่งตัวตนของเรา และทำ

หน้าที่ในการยึดตรึง สิ่งที่สร้างขึ้นให้ดำรงอยู่และเป็นที่ยอมรับของสังคมต่อ
ไป(Michael Foucault)

อ้างอิง : ประชาไท.2553.วาทกรรมการเมือง (Discourse)
.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565.จากhttps://prachatai.com/journal/2010/12/32341

10.กระบวนทัศน์ (Paradigm)

กรอบความคิดหรือแนวทางทั่วไปที่ใช้ในการมองโลก หรือหมายถึง ระบบคิด วิธี
คิด หรือแบบของการคิดที่ใช้เป็นแนวในการศึกษาวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเป็น

แนวในการจัดระบบในสังคม

อ้างอิง : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.2550.กระบวนทัศน์
.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565.จากhttp://legacy.orst.go.th/5

11.ความเท่าเทียม (Equality) 12.ความเสมอภาค (Equity)

ให้อะไรที่เหมือนกัน ความยุติธรรม
เริ่มจากจุดเดียวกัน มีการเข้าถึง
โอกาศเหมือนกัน

อ้างอิง : กาแฟดำ.2559.ความเท่าเทียมไม่ใช่ความเสมอภาคในสังคม
.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565.จากhttps://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/113670

13.คนชายขอบ (Marginal people)

คนที่อยู่ห่างไกลจากสังคม มักหมายถึงผู้ที่ไม่ได้รับการดูแล ไม่ได้รับบริการหรือ
ความคุ้มครองจากรัฐอย่างที่คนอื่น ๆ ได้รับ. เป็นคนที่ต้องดูแลตนเอง และมี
วัฒนธรรมของตนเอง ที่อาจจะแตกต่างจากวัฒนธรรมของคนที่อยู่ในเมือง

อ้างอิง : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.2550.คนชายขอบ
.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565.จากhttp://legacy.orst.go.th

14.ความเป็นธรรมทางสังคม
(Social justice)

แนวคิดที่ว่าด้วยความเป็นธรรมในทุกมิติของสังคม มิใช่เพียงแค่มิติทางด้าน
กฎหมายเท่านั้น ซึ่งความเป็นธรรมทางสังคมในตัวของมันเอง ก็ตีความได้หลาย
ความหมาย อาจหมายถึงการปฏิบัติต่อกันอย่างเป็นธรรม หรือการแบ่งปันกันอย่าง

เป็นธรรมก็ได้

อ้างอิง : Salforest.2556.Social Justice
.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565.จากhttp://www.salforest.com/glossary/social-justice

15.อำนาจนำ (Hegemony)

มันเป็นอุดมการณ์ที่ซึมซ่านหยั่งรากฝังลึกเหมือนวัฒนธรรม และก็เป็นวัฒนธรรม
ที่มีลักษณะครอบงำชักนำและรับใช้อำนาจหรือผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม
เหมือนอุดมการณ์ อำนาจนำจึงเป็นคำที่รวมองค์ประกอบของอุดมการณ์และ

วัฒนธรรมเข้าด้วยกันอย่างแนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียว

อ้างอิง : Darksingha.2550.อำนาจนำ (hegemony).สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม
2565.จากhttps://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=inthedark&month=10-

2007&date=12&group=16&gblog=86

16.การเหมารวม (Stereotype)

คือทัศนคติจากประสบการณ์ที่เคยเจอ ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งมีต่อคนอีกกลุ่มหนึ่ง เช่น
เชื้อชาติ ศาสนา การเมือง เพศ ไปจนถึงกลุ่มการชอบที่เป็น sub-culture ของ
สังคม จนกลายเป็นมาตรฐานในการตัดสิน และเชื่อไปว่าพวกเขาเป็นแบบนั้น
เหมือนกันหมด ทั้งที่ยังไม่รู้จักตัวตนจริงๆ โดยอาจเป็นได้ทั้งในทางที่ดี และไม่ดี
แต่แนวคิดของการเหมารวมส่วนใหญ่มักมาพร้อมอคติ จนกลายเป็นการเหมารวม

ยกเข่ง ที่ไม่ค่อยยุติธรรมกับบางคนที่ไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป

อ้างอิง : สิริลักษณ์ สุขสวัสดิ์.2563.การเหมารวม สร้างบาดแผลให้ผู้บริสุทธิ์
.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565.จากhttps://urbancreature.co/stereotype-threat/

17.การสร้างภาพตัวแทน
(Representation)

ผลผลิตความหมายของสิ่งที่คิด (concept) ในสมองของเราผ่านภาษา เป็นการ
เชื่อมโยงระหว่างความคิดและภาษา ซึ่งทำให้เราสามารถอ้างอิงถึงโลกวัตถุจริงๆ
ผู้คน เหตุการณ์ หรือจินตนาการถึงโลกสมมุติ ผู้คน และเหตุการณ์สมมุติได้การ

สร้างภาพแทนนั้น

อ้างอิง : seksanrmutl.2556.แนวคิดการสร้างภาพแทน (Representation)
.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565.จากhttps://phdcommunication.wordpress.com

18.ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ
(Power relations)

เป็นหนึ่งในความสัมพันธ์พื้นฐานที่สุดของการอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิต สำหรับสิ่ง
ชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ อำนาจมักจะแสดงออกมาในรูปธรรมง่าย เช่น หากสัตว์ตัวใดมี
ความแข็งแรงมากที่สุด สัตว์ตัวนั้นก็มักจะมีอำนาจและกลายเป็นจ่าฝูงของกลุ่มไป
ทว่า สำหรับสังคมมนุษย์แล้ว อำนาจมักจะแสดงออกมาในรูปแบบที่หลากหลาย
ยิ่งสังคมมนุษย์พัฒนาและมีความซับซ้อนมากขึ้นเท่าไร รูปแบบของอำนาจก็จะยิ่ง

มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง : สมคิด พุทธศรี.2557.อำนาจ ความชอบธรรม และความฉ้อฉล.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม
2565.จากhttps://thaipublica.org/2014/06/absolute-power-corrupts-absolutely/

19.ความเป็นอื่น (Otherness)

การมองคนอื่นที่ไม่ใช่พวกของตนว่าเป็นคนด้อยค่าหรือศัตรู ซึ่งเป็นผลมา จาก
การสร้างระบบความคิดผ่านบทเรียนประวัติศาสตร์ที่มีคนไทยเป็นคนเอก มีกลุ่มคน
เมียนมาเป็น ตัวร้ายและผลจากความรุนแรงเชิงโครงสร้างนโยบายการดำเนินการ

ควบคุมแรงงานข้ามชาติ

อ้างอิง : วิราภรณ์ ไพรเถื่อน.2563.“ความเป็นอื่น” และการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมของ แรงงานข้ามชาติชาว
เมียนมาที่ถูกกฎหมายในสถานการณ์โควิด-19.หน้า4

20.อคติ (Bias/prejudice)

การจัดประเภทของผู้คนหรือมนุษย์ออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ บนพื้นฐานของความชอบ
และหรือไม่ชอบ ซึ่งบางกรณีรุนแรงถึงขั้นเป็นความเกลียดชัง เหยียดหยาม ดูถูก
รังเกียจ ขยะแขยง ทั้งนี้เกิดจากลักษณะทางสังคม-วัฒนธรรม ที่อาจมีจริง และ
ที่จินตนาการเอาว่ามีจริง ลักษณะเช่นนี้มักเกี่ยวพันกับเชื้อชาติ (สีผิว) ศาสนา
ความเชื่อ กลุ่มชาติพันธุ์ ความเป็นหญิง-ชาย ความพิการ ความแตกต่างทางวัย
อาชีพและหรือฐานะทางเศรษฐกิจเป็นต้น กล่าวอย่างย่อ ๆ อคติคือทัศนคติทาง

ลบที่มีต่อผู้อื่น

อ้างอิง : Street Fighting Man.2550.prejudice/bias.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม
2565.จากhttps://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=street-fighting-man&month=02-

2007&date=03&group=39&gblog=9

21.การเลือกปฏิบัติ
(Discrimination)

การปฏิบัติที่แตกต่าง การกีดกัน การจำกัด หรือความพึงพอใจที่ไม่เท่ากัน ต่อ
คน/กลุ่มคนที่เหมือนกันและที่ไม่เหมือนกัน รวมไปถึงการปฏิบัติที่เหมือนกันแต่ส่ง
ผลให้เกิดความเสียเปรียบต่อบางกลุ่มด้วย ซึ่งการปฏิบัติเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่

เป็นอุปสรรคต่อหลักการความเท่าเทียมของมนุษย์

อ้างอิง : Natetida Bunnag.2564.SDG Vocab | 33 – Discrimination – การเลือกปฏิบัติ
.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565.จากhttps://www.sdgmove.com/2021/07/15/sdg-vocab-33-discrimination/

22.Gender
(เพศสภาวะ หรือเพศสภาพ)

บทบาท พฤติกรรม และคุณลักษณะทางเพศ ที่สังคมกำหนดให้ผู้คน

อ้างอิง : ThaiPBS.2564.แตกศัพท์ “เพศ” / “LGBTIQN” เมื่อนิยามยุคใหม่ ไปไกลกว่าแค่ชายกับหญิง
.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565.จากhttps://thevisual.thaipbs.or.th/gender-on-screen/lgbtiqn-keyword/

23.เพศหลากหลาย (LGBTQ- Lesbian, Gay,
Bisexual, Transgender and Queer)

กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือเพศทางเลือก LGBTQ เป็นกลุ่มคนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศ
หรือรสนิยมทางเพศที่แตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่ในสังคม โดยคำว่า LGBTQ ย่อมาจาก

L - Lesbian กลุ่มผู้หญิงรักผู้หญิง
G - Gay กลุ่มชายรักชาย
B - Bisexual หรือกลุ่มที่รักได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
T - Transgender คือกลุ่มคนข้ามเพศ จากเพศชายเป็นเพศหญิง หรือเพศหญิงเป็นเพศชาย
Q - Queer คือ กลุ่มคนที่พึงพอใจต่อเพศใดเพศหนึ่ง โดยไม่ได้จำกัดในเรื่องเพศ และความรัก




อ้างอิง : โรงพยาบาลเพชรเวช.2563.LGBTQ ความหลากหลายที่ต้องเข้าใจ
.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565.จากhttps://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/LGBTQ

24.ความสามารถที่แตกต่าง
(Differently abled)

“ผู้พิการ” ที่บอกว่าเขามีความสามารถต่างออกไป เพราะเขาต้องการ รณรงค์ให้
เรามองว่าผู้พิการไม่ได้ด้อยความสามารถไปกว่าคนธรรมดา แค่ถนัด ในด้านที่ต่าง
ออกไป นึกภาพเหมือนการที่ผู้หญิงมีรังไข่ แต่ผู้ชายไม่มี ก็ไม่ได้ หมายความว่า

ผู้ชายพิการ แค่มีความสามารถต่างกันออกไป

อ้างอิง : Neecey. (2022). 27 COMMON-EUPHEMISMS AND THEIR MEANINGS. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฏาคม 2565.
จาก https://books.allwomenstalk.com/common-cuphemisms-and-their-meanings"

25.ทวิ/พหุภาษา
(Bi/Multilingual education)

กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาแม่และวัฒนธรรมของนักเรียนเป็น
พื้นฐานและสื่อการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด และเชื่อมโยงสู่ภาษาและ
วัฒนธรรมไทยอย่างเป็นระบบ เป็นการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนชั้นอนุบาล
และประถมศึกษา พร้อมกับการรักษาอัตลักษณ์ของตนให้อยู่ร่วมกันได้อย่าง

สันติสุขท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม

อ้างอิง : สุวิไลเปรมศรีรัตน. (2556). ทวิ/พหุภาษา. [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565.จาก
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLC/article/download/20298/17635/43759

26.หลักสูตรแฝง
(Hidden curriculum)

ความรู้ ความเข้าใจ และการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่มิได้กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร
เกิดเพิ่มขึ้นเมื่อผู้เรียนได้รับสาระและประสบการณ์ตามที่หลักสูตรกำหนด นับ

เป็นการเรียนรู้ที่แฝงหรือซ่อนอยู่ในหลักสูตร

อ้างอิง : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2556). หลักสูตรแฝง.สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม
2565.จากhttp://legacy.orst.go.th

27.หลักสูตรทางการ
(Official curriculum)

ประสบการณ์การเรียนของผู้เรียน ที่สถาบันการศึกษาจัดให้แก่ผู้เรียน ประกอบ
ด้วย จุดมุ่งหมาย เนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การประเมินผล

อ้างอิง : ชมพันธุ์ กุญชร ณ อยุธยา.(2557).หลักสูตรและการสอน.สืบค้น 7 กรกฎาคม 2563.จากhttps://kritsada
141242.blogspot.com/2013/07/blog-post.html

28.การสอนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้เรียน
(Culturally responsive teaching)

การสอนที่ตอบสนองต่อวัฒนธรรมเป็นการทำให้การเรียนรู้ในโรงเรียน มีความ
เกี่ยวข้อง และมีประสิทธิภาพสำหรับผู้เรียนโดยอาศัยความรู้ทางวัฒนธรรมของ
นักเรียน ประสบการณ์ชีวิตกรอบการอ้างอิงภาษาและรูปแบบการแสดงและการ
สื่อสาร ของนักเรียนนี่หมายถึงการสร้างสิ่งที่นักเรียนรู้และวิธีที่พวกเขารู้รากฐาน
ของ ปฏิสัมพันธ์และหลักสูตรการเรียนรู้และการสอนนี่เป็นสิ่งที่ดีสำหรับนักเรียน

ทุกคน

อ้างอิง : รสสุคนธ์ เนาวบุตร, รองศาสตราจารย์ ดร.นรินทร์ สังข์รักษา. (2558 ). สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม
2565.การสอนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้เรียน.. [ออนไลน์], จาก https://www.tci-
thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/download/40217/33163

29.ทฤษฎีเชิงวิพากษ์
(Critical Theory)

เป็นทฤษฎีทางสังคมที่ปรับไปสู่การวิจารณ์และการเปลี่ยนแปลงสังคม

อ้างอิง : Pookun.(2552).ทฤษฎีวิพากษ์สังคม - ทฤษฎีวิพากษ์วรรณกรรม
.สืบค้น 7 กรกฎาคม 2563.จากhttps://bookgang.net/paper/227

30.การศึกษาเชิงวิพากษ์
(Critical pedagogy)

การสร้าง จิตสำนึกให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดด้วยตนเองมีการนำปัญหาของสังคม มา
ขบคิดแลกเปลี่ยนความเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งเป็นการ
ปลดปล่อยให้มีเสรีภาพอย่างเเท้จริง

อ้างอิง : Aom Chayasinee.(2563).ปรัชญาการศึกษาวิพากษ์
.สืบค้น 7 กรกฎาคม 2563.จากhttps://prezi.com/p/d_srzq1gb_nk/presentation/

thank you


Click to View FlipBook Version