The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความวิจัย ชลธิชา แข็งขัน 230

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 230 ชลธิชา แข็งขัน, 2024-02-10 10:28:55

บทความวิจัย ชลธิชา แข็งขัน 230

บทความวิจัย ชลธิชา แข็งขัน 230

1 บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา นาฏศิลป์เป็นวิชาที่ทำให้ผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจ องค์ประกอบนาฏศิลป์และแสดงออกทาง นาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ รู้การใช้ศัพท์เบื้องต้นทางนาฏศิลป์วิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์และ ถ่ายทอดความรู้สึกความคิดอย่างอิสระสร้างสรรค์โดยการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆประยุกต์ใช้ นาฏศิลป์ใน ชีวิตประจำวันเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์กับประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเห็นคุณค่าของ นาฏศิลป์ที่เป็น มรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทยและสากล(กระทรวงศึกษาธิการ ,2551)นาฏศิลป์ไทยเป็น ที่รวบรวมแห่งศิลปะการฟ้อนรํา ขับร้อง ดนตรีไทย ศิลปะไทยและวรรณคดีไทย มีท่ารําอ้อนช้อยงดงาม โดย แสดงออกทางกิริยาเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ศีรษะ ไหล่ แขน มือ ลําตัว ขา จนถึงเท้าให้งดงาม ตามจังหวะดนตรีที่ประกอบ (รุจีศรีสมบัติ, 2547, หน้า 2) ด้วยเหตุนี้นาฏศิลป์ไทยนับเป็นวัฒนธรรมทางด้านศิลปะ เป็นเครื่องแสดงความเจริญงอกงามทั้ง ทางจิตใจและวัตถุ เพราะงานศิลป์นั้นจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ มีความสุขสมบูรณ์ในทุกด้าน นาฏศิลป์ไทยจึงมี คุณค่าในแง่เป็นเครื่องแสดงความสมบูรณ์ของชาติไทยในอดีตอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงได้บรรจุวิชานาฏศิลป์ใน หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และได้พัฒนาไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 ซึ่งได้กำหนด ดนตรี– นาฏศิลป์ เป็น รายวิชาซึ่งอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (กรมวิชาการ, 2546, หน้า 1) นาฏยศัพท์ประกอบเพลง เป็นการการฝึกทักษะด้านนาฏศิลป์ ด้วยการแสดงท่าทางประกอบเพลงให้ สอดคล้องกับจังหวะ ทำนอง และเนื้อร้อง นาฏศิลป์เป็นศิลปะแห่งการละครและร่ายรำ ซึ่งท่าทางต่างๆ ได้ นำมาจากการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติเช่น การยืน การเดิน หรือจากกิริยาอารมณ์ต่างๆ เช่น ร้องไห้ ดีใจ อาย มาประดิษฐ์ให้งดงามขึ้น การเคลื่อนไหวลักษณะต่าง ๆ การใช้ภาษาท่า และการคิดประดิษฐ์ท่าประกอบ เพลง การแสดงประกอบเพลงที่เกี่ยวกับธรรมชาติ และสัตว์ การประดิษฐ์ท่าประกอบการรำ ระบำเต้น รำวง มาตรฐาน การเป็นผู้ชมที่ดีและมีมารยาท การรับรู้ ด้านความรู้สึกและการแสดงความรู้สึกอย่างสร้างสรรค์ นาฏยศัพท์ หมายถึง ภาษาที่ใช้เป็นสัญลักษณ์และสื่อความหมายกันในวงการนาฏศิลป์ไทย (ธิดารัตน์ ภักดีรักษ์. 2549: 39) นาฏยศัพท์ เป็นศัพท์ที่ใช้เฉพาะในวงการนาฏศิลป์ เป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกท่าทางที่ ปฏิบัติ หรือ กิริยาอาการต่างๆ ที่ปฏิบัติเกี่ยวกับนาฏศิลป์ (จีรพันธ์ สมประสงค์. 2547: 200) นาฏยศัพท์ คือ คำภาษาที่ใช้


เรียกเป็นสัญลักษณ์ของการแสดงนาฏศิลป์ ไทย โดยเกี่ยวข้อง กับลักษณะท่ารำที่ใช้ประกอบการแสดงแต่ละ ประเภท (สุมิตร เทพวงษ์. 254 : 183) รูปแบบการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นการสอนที่มีพื้นฐานมาจากแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจาย บทบาทใน การสอน กลวิธีแบบเพื่อนช่วยสอนเป็นการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสอนกันเอง วิธีการสอนดังกล่าว มีรากฐาน มาจากแนวคิดทัศนคติเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ซึ่งการให้ผู้เรียนมาช่วยสอน สามารถทำได้2 แบบ คือให้ผู้เรียนรุ่นเดียวกันหรือเพื่อนร่วมชั้นที่อยู่ในระดับเดียวกันเป็นผู้สอน และให้รุ่นพี่หรือผู้เรียนใน ระดับชั้น ที่สูงกว่าเป็นผู้สอน อีกทั้งผู้สอนจะต้องเข้าใจเทคนิคและวิธีการในการสอนเป็นอย่างดีการดำเนินการ สอนต้อง เป็นไปตามขั้นตอน รวมทั้งการจัดอัตราส่วนระหว่างผู้เรียนกับนักศึกษาผู้สอนอย่างเหมาะสมและมี การบันทึกผลการปฏิบัติงานของผู้เรียน โดยผู้สอนจะต้องเป็นผู้ควบคุมดูแลในการสอนโดยเพื่อนช่วยเพื่อน ไม่ มอบภาระการสอนให้เป็นของผู้เรียนเพียงฝ่ายเดียวเพื่อทำ ให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีข้อบกพร่องน้อยที่สุด (ทิศนา แขมมณี, 2556) จากการศึกษาพบว่าในการเรียนการสอนวิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคำ แสนวิทยาสรรค์โดยส่วนใหญ่นักเรียน มีปัญหาด้านทักษะในการปฏิบัติท่ารำ เรื่องการพัฒนาทักษะการปฏิบัติ ท่ารำประกอบเพลง จากปัญหาผู้วิจัยจึงได้พัฒนาทักษะด้านการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงโดยการใช้รูปแบบ การสอนเพื่อนช่วยเพื่อนมาประยุกต์ใช้ควบคู่กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างช้า ๆ สร้าง ความสนใจ ตามความต้องการของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ ความเข้าใจและมีเจตคติที่ดีต่อ นาฏศิลป์รวมทั้งเกิดความภาคภูมิใจในวิชานาฏศิลป์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การนำกลวิธีการเรียนการสอน แบบเพื่อน ช่วยเพื่อนมาใช้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีความบกพร่องการปฏิบัติท่ารำประกอบ เพลง เนื่องจาก โดยธรรมชาติแล้วผู้เรียนจะเรียนรู้และร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆสามารถสื่อสารพูดคุยกันด้วย ความเข้าใจมากกว่า บุคคลอื่น สอดคล้องกับกลวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนซึ่งเป็นกลวิธีที่สามารถ เพิ่มพูนเจตคติที่ดีต่อการ เรียน และสามารถช่วยปรับปรุงอุปนิสัยของผู้เรียนอีกด้วย 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้รูปแบบการจัดการรู้ แบบการสอนเพื่อนช่วยเพื่อน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องการ พัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้รูปแบบการจัดการรู้แบบการสอนเพื่อนช่วยเพื่อน วิชา นาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สาระการ เรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน


3. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องการ พัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้รูปแบบการจัดการรู้แบบการสอนเพื่อนช่วยเพื่อน วิชา นาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สาระการ เรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 1.3 สมมติฐานของการวิจัย 1.การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อนช่วยเพื่อน วิชานาฏศิลป์ เรื่องการพัฒนาทักษะการ ปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. นักเรียนที่เรียนเรื่อง การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อนช่วยเพื่อน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3. นักเรียนที่เรียนเรื่อง การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อนช่วยเพื่อน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 1.4 ขอบเขตของการวิจัย 1.4.1 ประชากร ประชากรที่ใช้ในกาวิจัยครั้งนี้เป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ อำเภอ นากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลยหนองบัวลำภู ปีการศึกษา 2566 1.4.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลยหนองบัวลำภูจังหวัดหนองบัวลำภูปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้อง รวม 33 คน 2. ตัวแปรในการวิจัย 2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อนช่วยเพื่อน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ 1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ นาฏยศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะท่ารำที่ใช้ในการฝึกหัด เพื่อใช้ในการแสดงโขน ละคร เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่างๆ


นาฏยศัพท์แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. นามศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่เรียกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการกระทำของผู้นั้น เช่น วง จีบ สลัดมือ คลาย มือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมื กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้ง กะเทาะ จรดเท้า แตะ เท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่ 2. กิริยาศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา ซึ่งแบ่งออกเป็น • ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อปรับปรุงท่าทีให้ถูกต้องสวยงาม เช่น กันวง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หัก ข้อ หลบศอก เปิดคาง กดคาง ทรงตัว เผ่นตัว ดึงไหล่ กดไหล่ ดึงเอว กดเกลียวข้าง ทับตัว หลบเข่า ถีบเข่า แข็งเข่า กันเข่า เปิดส้น ชักส้น • ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำหรือท่วงทีของผู้รำที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รำรู้ตัว และแก้ไขท่าทีของตยให้ดีขึ้น เช่น วงล้า วงคว่ำ วงเหยียด วงหัก วงล้น คอดื่ม คางไก่ ฟาดคอ เกร็งคอ หอบ ไหล่ ทรุดตัว ขย่มตัว เหลี่ยมล้า รำแอ้ รำลน รำเลื้อย รำล้ำจังหวะ รำหน่วงจังหวะ 1. นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด หมายถึง ศัพท์ต่างๆที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์ นอกเหนือไปจากนามศัพท์ และกิริยา ศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น ลักคอ เดินมือ เอียงทางวง คืนตัว อ่อนเหลี่ยม เหลี่ยมล่าง แม่ทา ท่า-ที ขึ้นท่า ยืน เข่า ทลายท่า นายโรง พระใหญ่ – พระน้อย นางกษัตริย์ นางตลาด ผู้เมีย ยืนเครื่อง ศัพท์แทน 1. การจัดการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนมีลักษณะเป็นกลุ่มย่อย‘near-peer’และ‘copeer’ โดยผู้สอน คือ นักนักเรียนที่เรียนอยู่ด้วยกัน ที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในกลุ่มเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ ผู้เรียนได้รับ ประโยชน์ทางด้านวิชาการด้วยกันทั้งสองฝ่าย มีการพัฒนาและนำ มาใช้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน ออกไปตามจุดมุ่งหมายและวิธีการของผู้สอน โดยมุ่งเน้นเพื่อช่วยเหลือผู้เรียนที่เรียนรู้ช้าและมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ปัญหาในด้านความประพฤติและปัญหาด้านอื่นๆ โดยมีความเชื่อว่าวิธีการให้ผู้เรียนสอนกันเอง จะเรียนรู้ได้ จากกันและกัน และการเรียนรู้แบบนี้จะทำให้ผู้ที่เรียนรู้ช้าเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เนื่องจาก ภาษาที่ใช้ใน การพูดจาสื่อสารกันสามารถสื่อความหมายระหว่างกันและกันได้เป็นอย่างดีเนื่องจากเป็นวัย เดียวกัน ซึ่งสามารถช่วยในการถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้มาให้เพื่อนๆ ฟังด้วยภาษาและรูปแบบในวัยเดียวกันจะ ทำให้ผู้ เรียนเข้าใจในความรู้นั้นได้แจ่มแจ้งมากยิ่งขึ้น 2. ทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์ประกอบเพลง หมายถึง เป็นการการฝึกทักษะด้านนาฏศิลป์โดย นำ ความรู้พื้นฐานทางนาฏยศัพท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มาใช้ปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงได้ อย่าง ถูกต้อง มีลีลาที่อ่อนช้อย สวยงาม มีความพร้อมเพรียง คล่องแคล่ว มีความมั่นใจและกล้า แสดงออก 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนที่ได้จากแผนการจัดการเรียนรู้ ตามสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อนช่วยเพื่อน วิชานาฏศิลป์


เรื่อง การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยวัดจากคะแนน จากการสอบปฏิบัติ 4. ประสิทธิภาพ หมายถึง ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อนช่วยเพื่อน วิชานาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80 80 ตัวแรก หมายถึง ร้อยละของคะแนนที่ทุกคนได้จากการประเมินคะแนนแบบทดสอบท้ายแผน 80 ตัวหลัง หมายถึง ร้อยละของคะแนนที่ทุกคนได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนหลังเรียน 5. นักเรียน หมายถึง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนคำแสน วิทยาสรรค์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลยหนองบัวลำภูจำนวน 1ห้อง รวม 33 คน 1.6 ประโยชน์ที่ได้รับ การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยคาดหวังว่านักเรียนมีทักษะทางการเรียน เรื่อง การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำ ประกอบเพลง สูงขึ้นและปฏิบัตินาฏยศัพท์ได้อย่างถูกต้อง หลังจากใช้รูปแบบการสอนเพื่อนช่วยเพื่อน ประกอบการเรียนการสอน อีกทั้งยังได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันอีกด้วย


บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการสร้างและพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน เรื่องการพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่า รำประกอบเพลง สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ ผู้วิจัยได้ศึกษา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 2.1 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน ทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของ ชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความ สมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึก ในความเป็นพลเมืองไทย และเป็นพลโลก ยึด มั่นในการ ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจต คติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ นาฏศิลป์ มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบนาฏศิลป์ แสดงออกทาง นาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ ใช้ศัพท์ เบื้องต้นทางนาฏศิลป์ วิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่าง อิสระ สร้างสรรค์การ เคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ ประยุกต์ใช้ นาฏศิลป์ในชีวิตประจำวัน เข้าใจความสัมพันธ์ ระหว่างนาฏศิลป์กับประวัติศาสตร์วัฒนธรรม เห็น คุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญา ท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล 2.2 การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน 2.2.1 ความหมายของการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน กิจกรรมการเรียนการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วย เพื่อน เป็นแนวคิดที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีโอกาส ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการกระจายบทบาทการสอนครู ไปสู่นักเรียนนับว่าเป็นวิธีการที่ยึดนักเรียนเป็นสำคัญ วิธีการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วย เพื่อนนี้ได้รับความสนใจ จากนักการศึกษาเป็นจำนวนมากเนื่องจาก วิธีการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นวิธีการที่ครูสอนพยายาม เข้าถึงความต้องการของนักเรียนแต่ละคน เป็นแนวคิดที่ส่งเสริมและโน้มน้าวให้เด็กนักเรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อ สมาชิกภายในกลุ่ม วิธีการสอนดังกล่าวนี้ ครูผู้สอนต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อเป็นการเตรียมนักเรียนให้เข้าใจบทบาทและหน้าที่ ของตนได้อย่าง ถูกต้อง นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนบทบาทครูและนักเรียนอีกด้วย เป็นการฝึกให้นักเรียน กล้าแสดงออกทาง ความคิดมากขึ้น นับได้ว่าเป็นการพัฒนาความคิด การเรียนรู้ของเด็กนักเรียน (พิกุล ภูมิ แสน. 2539: 28) 7


2.2.2วัตถุประสงค์ของการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน การสอนโดยวิธีให้เพื่อนช่วยเพื่อน เป็นวิธีการที่มุ่ง ให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจต่อการเรียนมากขึ้น เนื่องจากนักเรียนทุกคนเป็นผู้มีบทบาทในกิจกรรมการเรียนการ สอนวิธีการสอนดังกล่าวมีจุดประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เรื่องกระบวนการกลุ่มของนักเรียนโดยเน้นการให้นักศึกษาช่วยเหลือ กัน ตลอดจนเห็นคุณค่าของการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง 2. เพื่อให้นักเรียนมีระดับความแตกต่างกัน สามารถเรียนประสบการณ์อย่างเดียวกันได้ 3. เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้จากแหล่งต่าง ๆ มากขึ้น เช่น จากเพื่อน นักเรียนด้วยกัน หรือ จากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาประกอบการเรียน 4.เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีรวมทั้งแรงจูงใจในการเรียน เนื่องจากนักเรียนผู้สอนรู้สึกภาคภูมิใจใน ตนเอง หรือรู้สึกว่าตนเองได้รับความสำเร็จในการเรียน เนื่องจากมีโอกาสได้ทำประโยชน์ให้กับเพื่อนนักเรียน สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาก็จะลดความกังวลในเรื่องข้อบกพร่องของตนเอง 5.เพื่อให้การเรียนการสอนมีลักษณะเป็นการสื่อสารมากขึ้น ลักษณะดังกล่าวจะท่าปฏิสัมพันธ์ ระหว่างนักเรียนดีขึ้น เนื่องจากบรรยากาศในชั้นเรียนมีความเป็นกันเอง 6. ครูเป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำให้คำปรึกษา และคอยสังเกต ตลอดจนทำการแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้น ในการเรียนการสอนของนักเรียนแต่ละกลุ่ม 2.2.3 รูปแบบวิธีการสอนโดยใช้กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน วิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เป็นวิธีการสอน วิธีหนึ่งที่สืบทอดเจตนารมณ์ของปรัชญา การศึกษาที่ว่า Learning by Doing โดยการเน้นให้นักเรียนมีการ รวมกลุ่มเพื่อทำงาน หรือการปฏิบัติใน กิจกรรมการเรียนการสอน อาจกล่าวได้ว่าวิธีการสอนแบบเพื่อนช่วย เพื่อนนั้นยังเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย และยังมุ่งให้ผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำได้รับ ประโยชน์จากเพื่อนนักเรียนที่เรียนเก่งกว่า หรือมีผลสัมฤทธิ์อยู่ในเกณฑ์สูง (อุทัย เพชรช่วย. 2530 : 16-19) การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการจัดชั้นเรียนตามปกติหรืออาจ จัดชั้นเรียนขึ้น เป็นพิเศษ โดยให้นักเรียนเรียนรู้จากเพื่อนในวัยเดียวกัน (Peer – Tutoring) หรืออาจจัดชั้น เรียนให้นักเรียน ผู้สอนมีคุณวุฒิสูงกว่านักเรียน (Cross – Age Tutoring) นอกจากนี้ครูผู้สอนยังสามารถน่าไป ใช้กับเนื้อหา ตามปกติหรือใช้ในการทบทวนหรือ การสอนซ่อมเสริมได้ตามเหมาะสม การจัดการเรียนการสอนของการสอน แบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนนั้น ผู้สอนจะต้องแบ่งนักเรียน ออกเป็นกลุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มเก่ง กลุ่มอ่อนคละกัน โดยมุ่งเน้นให้เด็กเก่งของแต่ละกลุ่มท่าหน้าที่เป็นผู้ช่วยครู(Teacher Assistants) หรือในบางครั้งก็อาจจัดเป็น กลุ่มง่าย ๆ ตามที่นั่งนักเรียน


2.2.4 หลักเกณฑ์ในการจัดกลุ่ม 1. นำคะแนนผลสัมฤทธิ์ของ นักเรียนในวิชาที่สอน มาเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 2. นำผู้ที่ได้คะแนนเท่ากัน หรือใกล้เคียงกันมาจัดเป็นกลุ่มตามจำนวนที่ต้องการ 8 หลังจากนั้นครูผู้สอน จึงมอบหมายงานให้นักเรียนรับผิดชอบศึกษาร่วมกัน และต้องรายงานผลเกี่ยวกับ กิจกรรมนั้น ๆ ในบางครั้งครู อาจจะให้อ่านบทสนทนาเขียนบทความ หลังจากนั้นจะให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มสรุป ใจความ หรือให้เตรียมค่าถามในเรื่องที่อ่าน หรือคิดกิจกรรม ต่าง ๆ ตามความเหมาะสมก่อนที่จะด่าเนินการ เรียนการสอนนั้น ครูผู้สอนจะต้องพิจารณาและด่าเนินการตาม ล่าดับขั้นตอนต่อไปนี้(อุทัย เพชรช่วย. 2528: 27-30) 1. ชี้แนะและกระตุ้นให้นักเรียนได้มองเห็นความสำคัญ และเกิดความเชื่อมั่นว่าตนจะได้รับ ประโยชน์ จากการใช้วิธีการสอนแบบกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน 2. ชี้แจงเกี่ยวกับวิธีการสอน โดยการจัดกลุ่มให้มีผู้นำในการเรียนแก่นักเรียนที่เป็นผู้นำในการ เรียน และ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้น่าในการเรียน เพื่อให้เข้าใจอย่างชัดเจน 3. คอยให้คำแนะนำและเปิดโอกาสให้นักเรียนที่เป็นผู้น าในการเรียนได้มีโอกาสพบปะ เพื่อ ปรึกษาได้ใน ทุกช่วงเวลาที่เด็กนักเรียนต้องการ หรือมีปัญหาเกิดขึ้น 4. การประเมินผลการเรียนของนักเรียนแต่ละกลุ่มเดือนละครั้ง เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนในแต่ละ กลุ่มได้ แข่งขันกันเอง 5. มีการเตรียมแหล่งข้อมูลให้เพียงพอ เช่น หนังสือ คู่มือ หนังสือพิมพ์และวารสารต่าง ๆ ตลอดจน อุปกรณ์ในการเรียน ได้แก่ วิทยุ เทปบันทึกเสียง เป็นต้น 6. การกระจายเนื้อหาในรายวิชาที่จะสอนให้เป็นบทย่อย ๆ แล้วจัดเรียงล าดับความเหมาะสม 7. เตรียมแบบฝึกหัดประกอบการเรียน ตลอดจนการเตรียมแบบทดสอบและขณะเดียวกันจะต้อง มีการ กำหนดเรื่องการให้คะแนน การตีความผลสอบ เพื่อความสะดวกในการด่าเนินกิจกรรมการเรียนการสอน 8. ในการเลือกนักเรียนเป็นผู้สอน (Tutors) นักเรียนที่เรียนกลุ่ม (Turees) เพื่อจัดกลุ่มหรือจัดคู่ ระหว่างนักเรียนผู้สอนและนักศึกษานั้น ครูผู้สอนต้องแนะนำ หรืออธิบายให้นักเรียนเข้าใจบทบาทหน้าที่ของ ตนเอง หลักเกณฑ์ในการเลือกนักเรียนผู้สอน ดังนี้ 1. เป็นผู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์สูง


2. เป็นผู้มีความเสียสละ และมีความสมัครใจสอน 3. เป็นผู้มีความประพฤติและนิสัยดีเป็นที่ยอมรับของผู้เรียนในกลุ่ม หลักเกณฑ์ในการเลือกนักเรียนผู้เรียน ดังนี้ 1. เป็นผู้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ 2. เป็นนักศึกษาที่มีปัญหาในเรื่องการเรียน หรือขาดเรียนบ่อย ๆ อนึ่งเมื่อครูผู้สอนคัดเลือกตัวผู้เรียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปคือ การจัดกลุ่มนักเรียนโดยให้มีอัตรา จำนวนนักเรียนผู้สอนต่อจำนวนนักเรียนผู้เรียนอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ในกรณีที่จัดให้นักเรียนมีการเรียนแบบ เป็นคู่ๆ ผู้สอนควรเลือกนักเรียนที่เป็นเพศเดียวกัน หรืออายุไล่เลี่ยกัน ในการเตรียมนักเรียนผู้สอน ให้เข้าใจถึง 9 วิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนนั้น ครูจะต้องอธิบายให้นักเรียนเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ตลอดจนการเตรียม ตัว ในการสอนรวมทั้งการแก้ไขปัญหาต่าง ๆที่เกิดขึ้นระหว่างเรียน จากที่กล่าวข้างต้นนี้ท่าให้เห็นว่าบทบาทหน้าที่ของครูและนักเรียนในกิจกรรมการเรียนการสอนได้ เปลี่ยนแปลงไป โดยครูได้เปลี่ยนหน้าที่จากผู้สอนมาเป็นผู้กำกับการสอนโดยอาศัยนักเรียนผู้สอนฝึกให้กับ นักเรียน เมื่อนักเรียนผู้สอนเกิดความช านาญในการสอนเพิ่มมากขึ้นแล้ว ครูจะลดบทบาทในการควบคุมดูแล ดังนั้น ตัวนักเรียนเองจะมีส่วนร่วมอย่างมากต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิธีการสอนแบบกลุ่ม เพื่อน ช่วยเพื่อน เป็นวิธีสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่มีการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมต่อการเรียนการสอนอย่างแท้จริง สามารถ ปฏิบัติได้ดังนี้ 1. จัดกิจกรรมโดยให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียน 2. สมาชิกที่มีความเข้าใจเนื้อหาช่วยสมาชิกในกลุ่มที่ยังไม่เข้าใจ 3.รูปแบบชัดเจนแน่นอน คือ จัดกลุ่มเล็ดลอดการด่าเนินงานกิจกรรมการเรียนการสอน 4. ผลัดเปลี่ยนกันมีบทบาท 5. มีความรับผิดชอบร่วมกัน 6. ส่งเสริมทักษะทางด้านสังคม 7. มีการเสริมแรงจูงใจในการทำงานร่วมกัน 8. มีความรับผิดชอบในการทำงานร่วมกัน 9.สมาชิกภายในกลุ่มมีความสามารถแตกต่างกัน 10.สมาชิกแต่ละคนรับผิดชอบงานของตนเอง และของสมาชิกภายในกลุ่ม


11.เน้นวิธีการและผลงาน 2.3 การจัดการเรียนรู้ 2.3.1 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) สาระการเรียนรู้ศิลปะตาม หลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ทำไมต้องเรียนศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะเป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์มีจินตนาการ ทางศิลปะชื่นชมความงามมีสุนทรียภาพความมีคุณค่าซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิต มนุษย์กิจกรรมทางศิลปะช่วย พัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกายจิตใจสติปัญญาอารมณ์สังคมตลอดจนการนำไปสู่ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมส่งเสริมให้ ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเองอันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือประกอบ อาชีพได้ เรียนรู้อะไรในศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจมีทักษะ วิธีการทางศิลปะเกิดความ ซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกอย่างอิสระในศิลปะแขนง ต่างๆประกอบด้วยสาระสำคัญ คือ ทัศนศิลป์มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบศิลป์ทัศนธาตุสร้างและนำเสนอผลงานทางทัศนศิลป์ จาก จินตนาการโดยสามารถใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมรวมทั้งสามารถใช้เทคนิควิธีการของศิลปินในการสร้างงาน ได้ อย่างมีประสิทธิภาพวิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเห็นคุณค่างานศิลปะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทย และสากลชื่นชมประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ดนตรีมีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบดนตรีแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรีถ่ายทอดความรู้สึกทางดนตรีอย่างอิสระชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเห็นคุณค่าดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมภูมิ ปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทยและสากลร้องเพลงและเล่นดนตรีในรูปแบบต่างๆแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ เสียงดนตรีแสดงความรู้สึกที่มีต่อดนตรีในเชิงสุนทรียะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับประเพณีวัฒนธรรม และเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ นาฏศิลป์มีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบนาฏศิลป์แสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ใช้ศัพท์ เบื้องต้นทางนาฏศิลป์วิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึกความคิดอย่างอิสระ สร้างสรรค์การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆประยุกต์ใช้นาฏศิลป์ในชีวิตประจำวันเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง


นาฏศิลป์กับประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิ ปัญญาไทยและสากล 2.3.2 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กระทรวงศึกษาธิการ (2545 : 6) ได้กล่าวถึงความหมายของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไว้ดังนี้ เป็น กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพมุ่งเน้นเพิ่มเติมจาก กิจกรรมที่ได้จัดให้ เรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง8กลุ่มการเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กับกิจกรรมที่เลือกด้วยตนเองตามความถนัดและความสนใจอย่างแท้จริงการพัฒนาที่ สำคัญได้แก่การพัฒนา องค์รวมของความเป็นมนุษย์ให้ครบทุกด้านทั้งร่างกายสติปัญญาอารมณ์และสังคมโดย อาจเป็นแนวทางหนึ่งที่ จะสนองนโยบายในการสร้างเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีศีลธรรมจริยธรรมมีระเบียบวินัย และมีคุณภาพเพื่อ พัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ปลูกฝั่งและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์ เพื่อสังคมซึ่ง สถานศึกษาจะต้องดำเนินการอย่างมีเป้าหมายมีรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมกิจกรรมพัฒนา ผู้เรียนแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. กิจกรรมแนะแนวเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ให้เหมาะสมตาม ความแตกต่างระหว่างบุคคลสามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตนเสริม เสริมทักษะชีวิตวุฒิภาวะทาง อารมณ์การเรียนรู้ในเชิงพหุปัญญาและการสร้างสัมพันธภาพที่ดีซึ่งผู้สอนทุกคน ด้องทำหน้าที่แนะแนวให้ คำปรึกษาด้านชีวิตการศึกษาต้องและการพัฒนาตนเองสู่โลกอาชีพและการมีงานทำ 2.กิจกรรมนักเรียนเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองอย่างครบวงจร ตั้งแต่ศึกษา วิเคราะห์วางแผนปฏิบัติตามแผนประเมินและปรับปรุงการทำงานโดยเน้นการ ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเช่น ลูกเสือเนตรนารียุวกาชาดและผู้บำเพ็ญประโยชน์เป็นต้น 2.3.3 ความสำคัญของการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนโชคชัย (2549 : 32) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไว้ดังนี้ การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจัดให้แก่ผู้เรียน เพราะเป็นการ ส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆให้แก่นักเรียนรอบด้านทั้งด้านร่างกายอารมณ์สังคมและสติปัญญาทั้งยังช่วย เสริมสร้างให้การเรียนรู้ตามหลักสูตรสมบูรณ์ยิ่งขึ้นการเรียนการสอนในห้องเรียนส่วนใหญ่มุ่งเน้นเนื้อหาวิชา หรือการพัฒนาด้านสติปัญญาเป็นสำคัญแต่การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขนั้นผู้เรียนจำเป็นต้องได้รับ การพัฒนาด้านสังคมและด้านอื่นๆควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้ผลผลิตจากระบบโรงเรียนได้พัฒนารอบด้านเป็น กำลังคนที่สมบูรณ์และมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข


2.3.4 หลักการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนโชคชัย โรงเรียนโชคชัย (2549 : 33) ได้กล่าวถึงหลักในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยมีการ กำหนด วัตถุประสงค์และแนวปฏิบัติดังนี้ 1. จัดให้เหมาะสมกับวัยวุฒิภาวะความสนใจความถนัดและความสามารถของผู้เรียนและ วัฒนธรรม ที่ดีงาม 2. บูรณาการวิชาการกับชีวิตจริงให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ตลอด ชีวิตและ รู้สึกสนุกกับการใฝ่รู้ใฝ่เรียน 3.ใช้กระบวนการกลุ่มในการจัดประสบการณ์การเรียนรูปฝากให้คิดวิเคราะห์สร้างสรรค์จินตนาการ ที่เป็นประโยชน์และสัมพันธ์กับชีวิตในแต่ละช่วงวัยอย่างต่อเนื่อง 4. จำนวนสมาชิกมีความเหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรม 5.มีการกำหนดเวลาในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมสอดคล้องกับวิสัยทัศนะและเป้าหมายของ สถานศึกษา 6.ผู้เรียนเป็นผู้ดำเนินการมีครูเป็นที่ปรึกษาถือเป็นหน้าที่และงานประจำโดยคำนึงถึงความ ปลอดภัย 7. ยึดหลักการมีส่วนร่วมโดยเปิดโอกาสไหว้ครูพ่อแม่ผู้ปกครองชุมชนองค์กรทั้งภาครัฐและ เอกชนมี ส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม 8. มีการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมโดยวิธีการสอนที่หลากหลายและสอดคล้องกับ กิจกรรม อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง กล่าวโดยสรุปได้ว่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นกิจกรรมในสถานศึกษาอีกประเภท หนึ่งที่มีความสำคัญต่อผู้เรียนหากมีการวางแผนในการจัดกิจกรรมและหลักการในการจัดกิจกรรมที่มีคุณภาพ ก็จะช่วย ให้การเรียนการสอนในกิจกรรมเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด 2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเพื่อนช่วยเพื่อน เสาวรี ภูบาลชื่น (2560 : บทคัดย่อ) การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1.เพื่อพัฒนาแผนการจัดการ เรียนรู้ทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้รูปแบบการจัดการรู้แบบการสอนเพื่อนช่วยเพื่อน วิชา นาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สาระการ เรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องการ พัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้รูปแบบการจัดการรู้แบบการสอนเพื่อนช่วยเพื่อน วิชา


นาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สาระการ เรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องการ พัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้รูปแบบการจัดการรู้แบบการสอนเพื่อนช่วยเพื่อน วิชา นาฏศิลป์ เรื่อง การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สาระการ เรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1.ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนาฏศิลป์มีความเห็นว่า การจัดการเรียนรู้ควรคำนึงถึง จุดประสงค์และธรรมชาติของรายวิชาเป็นหลัก ส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะความชำนาญ เพื่อให้เกิดความมั่นใจใน และภาคภูมิใจใน ตนเอง 2. กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบทางตรงร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วย เพื่อนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 7 ขั้น มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60) 3. ผลการใช้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ 2.4.1 กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 88.11/87.48 2.4.2 นักเรียนมีทักษะปฏิบัติทางนาฏศิลป์หลัง เรียนเพิ่มขั้นกว่าก่อนเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี มาก 2.4.3 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ.05 2.4.4 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ จัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นโดย ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผู้วิจัยจะอธิบายถึงขั้นตอนหลังจากการทราบถึงปัญหา ของการ วิจัยในชั้นเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการ พัฒนาคุณภาพผู้เรียน การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ไทย โดยมีรายละเอียดขั้นตอนในการดำการวิจัยดังนี้ 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.3 การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล 3.6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนคำแสน วิทยาสรรค์อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู 1 ห้องเรียน จำนวน 33 คน และ ขอบเขต ด้านกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 2/6 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 33 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มสาระ การเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการ พัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 2จำนวน 1 แผน ทำการสอน 60 นาที 3.3 การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนในการดำเนินการสร้างเครื่องมือในการวิจัย ตามลำดับดังต่อไปนี้ 3.3.1 การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอบแบบเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ เรื่องการพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง


3.3.1.1 ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการ เรียนรู้ ศิลปะ หนังสือเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องการพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่าร า ประกอบเพลงเพื่อท าความเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ขอบข่ายเนื้อหา จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการ สอน การ วัดและประเมินผล 3.3.1.2 วิเคราะห์สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ จากหลักสูตร สถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 2 ของโรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ เพื่อกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ สามารถตรวจสอบและวัดผลได้ 3.3.1.3 เขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 1 แผน จำนวน 1 ชั่วโมง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง 3.3.1.4 นำแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนที่สร้างขึ้นเสนอ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้เชี่ยวชาญประกอบไปด้วย 1)นายอุทัย หาระสาร หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ 2)นางวงเดือน เพ็งธรรม ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ 3)นางสาวจุฑาทิพย์สุวรรณเรือง ครู โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ 3.3.1.5 นำแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ที่สร้างขึ้นไป ทดลองใช้ในการจัดการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำ ประกอบเพลง 3.4 เทคนิคที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิจัยกึ่งทดลอง รูปแบบของการวิจัยโดยใช้กลุ่มเดียว มีลักษณะของการ ประเมินผลการ สร้างสรรค์ผลงานการแสดง ก่อนเรียนและหลังเรียน ขั้นตอนของการด าเนินการวิจัย มีดังนี้ 1. ศึกษาข้อมูลหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา ตัวชี้วัด ของสาระนาฏศิลป์ เรื่องการพัฒนา คุณภาพผู้เรียนด้าน ทักษะการคิดสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ไทย โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน การสอนนาฏศิลป์ ผ่านการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 2. ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย และตำราที่เกี่ยวข้อง โดยมีเอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ดังนี้ - ศิลปะละครรำ - นาฏศิลป์ไทย


- สุนทรียนาฏศิลป์ไทย - รำไทย -การพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้แบบหน่วยสมบูรณ์แบบที่เน้นการเรียนรู้แบบ กระตือรือร้น - รายงานการวิจัยในชั้นเรียน - สถิติเบื้องต้นเกี่ยวกับวิจัย 3. จัดทำแผนการเรียนรู้วิชาศิลปะ สาระนาฏศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้าน การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ผ่านการจัด กิจกรรม การเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน กำหนดให้ดำเนินการสอนตามตัวชี้วัด สาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษา ปี ที่ 2 4. สร้างแบบประเมินผลการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ระหว่างเรียนและหลังเรียน 5. จัดทำสื่อนวัตกรรม เพื่อใช้ประกอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 6. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามลำดับดังนี้ 1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาและวัตถุประสงค์ของ การวิจัย เช่น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการคิดสร้างสรรค์ผลงานการ แสดงนาฏศิลป์ไทย โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนนาฏศิลป์ ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แบบเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อให้นักเรียนได้สร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ฝึกปฏิบัติท่ารำที่สร้างสรรค์ขึ้น นำเสนอผลงานการแสดงที่ สร้างสรรค์ขึ้น นักเรียนทำใบงาน และประเมินการสร้างสรรค์ผลงานการแสดง นาฏศิลป์ก่อนเรียนรู้และหลังเรียนรู้ ทักษะกระบวนการทำงานกลุ่มแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ผ่านเอกสาร ประกอบการเรียนการสอนนาฏศิลป์ 2. นำเอกสารประกอบการเรียนการสอนนาฏศิลป์เรื่องความรู้พื้นฐานทางด้านนาฏศิลป์ไทย โดย ผู้วิจัยได้นำเอกสารประกอบการเรียนการสอนนาฏศิลป์ที่สร้างขึ้นเสร็จแล้ว ไปใช้ประกอบการเรียนการ สอนวิชา นาฏศิลป์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์มีขั้นตอนดังนี้คือ 2.1 นักเรียนอ่าน ทบทวน และทำใบงาน จากเอกสารประกอบการเรียนการสอน นาฏศิลป์เรื่องความรู้พื้นฐานทางด้านนาฏศิลป์ไทย เป็นแนวทางในการประดิษฐ์และสร้างสรรค์ท่ารำขึ้นใหม่ ทั้ง ใน ชั่วโมงที่มีเรียน และนอกจากที่ไม่มีเรียน โดยให้นักเรียนที่สนใจยืมไปอ่าน ทบทวน เนื้อหา ตามความสนใจ


2.2 ครูผู้สอน (ผู้วิจัย) ทบทวน แนะนำให้คำปรึกษากับผู้เรียนทั้งในชั่วโมงที่มีการเรียน การ สอนวิชานาฏศิลป์นอกเวลาการสอนวิชานาฏศิลป์ ในการสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ของผู้เรียน โดย แบ่งกลุ่ม ผู้เรียนออกเป็นแบบกลุ่มเท่าๆ กัน 3.ประเมินผลการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทักษะ การคิดสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ไทย โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ผ่านการจัด กิจกรรมการเรียนการสอน 7. ขั้นตอนรวบรวมข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล หลังจากจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทักษะ การคิดสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ไทย โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 7.1 ค่าเฉลี่ย (X) เพื่อหาระดับคะแนนเฉลี่ยของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน 7.2 การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม (E1/E2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนจากการ ประเมินผลการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ไทย ก่อนเรียนและหลังเรียน มีความเหมาะสมกับความ แตกต่าง ระหว่างบุคคล การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน มี ประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 3.5 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์จำนวน 1 ห้องเรียน 33 คน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 จำนวน 33 คน 3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้แบบการสนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการ ปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ ได้ ดำเนินการเก็บ รวบรวมข้อมูลดังนี้ 3.4.1 ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการวิจัยให้กลุ่มตัวอย่างเข้าใจ 3.4.2 แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่สอนแบบธรรมดา (2/6) กลุ่มที่สอนโดยกระบวนการ จัดการ เรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน (2/6) 3.4.3จัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วย เพื่อนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง 3.4.4 การทดสอบย่อยหลังเรียน เพื่อสังเกตพฤติกรรมการเรียน และทักษะการปฏิบัติท่ารำเพลง


3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 3.5.1 การวิเคราะห์ค่ากลางของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการวิเคราะห์การกระจายของข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกณฑ์การแปลผล 15 – 20 หมายถึง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับมาก 10 – 15 หมายถึง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง 5 – 10 หมายถึง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับน้อย 0 – 5 หมายถึง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับควรปรับปรุง 3.5.2การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงสำหรับนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยการจัดการเรียนรู้แบบ เพื่อนช่วยเพื่อนกับเกณฑ์คะแนนร้อยละ 80 ได้แก่ สถิติทีที่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์ (One sample t-test) โดยทดสอบที่ระดับนัยสำคัญ .05 3.5.3 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมผลทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพล โดยนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบ การ ปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ โดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูป 3.6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 3.6.1 สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ 3.6.1.1 การหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ดัชนีความ สอดคล้อง IOC (สมนึก ภัททิยธนี,2544 : 219-221 ) IOC= ∑ เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ ∑ แทน ผลรวมคะแนวความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญ


3.6.2 สถิติพื้นฐาน สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเพื่อดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 3.6.2.1 ค่าเฉลี่ย (Mean: ) ค่าเฉลี่ย หมายถึง ผลรวมของคะแนนของข้อมูลทั้งชุด (X) หาร ด้วยจำนวนข้อมูลของ คะแนนชุดนั้น (n) สูตรที่ใช้ในการคำนวณ (ภัทราพร เกษสังข์, 2549 : 151-152) = n เมื่อ X แทน คะแนนดิบ n แทน จำนวนคนทั้งหมด 3.6.2.2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation: S) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หมายถึง ตัวเลขที่แสดงถึงการกระจายของข้อมูลแต่ละตัวที่ เบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ย สูตรที่ใช้ในการคำนวณ (ภัทราพร เกษสังข์, 2549 : 163) S.D = n∑x² - (∑x) ² n (n-1) เมื่อ X 2 แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละค่ายกกำลังสอง (X)2 แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง 3.6.3 สถิติสรุปอ้างอิง สถิติสรุปอ้างอิงที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 3.6.3.1 สถิติทีที่กลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Samples) t = x̅1−x̅2 2 df = n1 + n2 − 2 S (1 n1 + 1 n2) P


เมื่อ x̅1 แทนค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 x̅2 แทนค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2 Sp 2 แทนความแปรปรวนร่วม (Pooled variance) n1 แทนขนาดของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 n2 แทนขนาดของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2 df แทนชั้นแห่งความเป็นอิสระ (degree of freedom) 3.6.3.2 สถิติทีที่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์ (One sample t-test) (ภัทราพร เกษสังข์, 2549 : 186) ในการวิจัยครั้งนี้ทดสอบที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 t = x͞ - µ₀ Sx โดยที่ df = √n เมื่อ แทน ค่าคงที่หรือคะแนนเกณฑ์ แทน ค่าเฉลี่ย n แทน จำนวนข้อมูล SX แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการปฏิบัติท่ารำเพลงแม่บทเล็กระหว่างการสอน โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนและการสอนแบบธรรมดาของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ ผู้วิจัยได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ ดังนี้ 4.1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 4.2 การนำเสนอข้อมูล 4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 4.1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายของข้อมูล เพื่อให้เข้าใจตรงกัน ผู้วิจัย ได้กำหนด ความหมายของสัญลักษณ์ในการนำเสนอผลวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ x̅แทน ค่าเฉลี่ย (Mean) ของคะแนน N แทน จำนวนนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง S.D. แทน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 0 แทน หมายถึงคะแนนเกณฑ์ t-test แทน สถิติทดสอบที p-Value แทน ค่าระดับนัยสำคัญ 4.2 การนำเสนอข้อมูล ผู้วิจัยได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 4 ส่วน ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 4.2.1 ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติท่ารำเพลงแม่บทเล็กระหว่างการสอนแบบธรรมดา และการสอนโดยใช้ การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 4.2.2 ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงโดยการสอนแบบธรรมดา กับเกณฑ์คะแนน ร้อยละ 80 4.2.3 ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงโดยใช้รูปแบบการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับ เกณฑ์คะแนนร้อยละ 80


4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 4.3.1 ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงระหว่างการสอนแบบธรรมดา และการสอนโดยใช้การ สอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ตารางที่ 1 การทดสอบการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ก่อนเรียน เรื่องการพัฒนา ทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้การเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์การหาค่าเฉลี่ย (x ) การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิต คะแนนทดสอบก่อนเรียนการสร้างสรรค์ผลงานการ แสดงนาฏศิลป์ คะแนนรวม 261 ค่าเฉลี่ย 2.86 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.81 จากตารางที่ 1 พบว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนการคิดสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ไทย โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนนาฏศิลป์ ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 มีค่าเฉลี่ย ( ) = 2.86 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.81 21 ตารางที่ 2 การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ระหว่างเรียน เรื่องการพัฒนาทักษะการ ปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนคำแสนวิทยา สรรค์การหาค่าเฉลี่ย (x ) การหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนการสอนนาฏศิลป์ (E1 ) สถิติ การสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ ระหว่างเรียน เล่มรายงาน วิดีโอการน าเสนอ ผลงานการแสดง แบบทดสอบ ระหว่าง เรียน รวมคะแนนระหว่าง เรียน คะแนน รวม 342 315 285 942 ค่าเฉลี่ย 9.00 9.00 7.50 24.78 E1 90.00% 90.00% 75.00% 82.63% จากตารางที่ 2 พบว่าคะแนนการคิดสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ไทย โดยใช้การสอน แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 ระหว่างเรียน มีค่าเฉลี่ย (x ) = 24.78 การหา


ประสิทธิภาพ การคิดสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ไทย โดยใช้การเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 ระหว่างเรียน E1= 82.63 ตารางที่ 3 การทดสอบการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ไทยหลังเรียน เรื่องการพัฒนาทักษะ การปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนคำแสน วิทยาสรรค์การหาค่าเฉลี่ย (x ) การหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนการสอนนาฏศิลป์ (E2 ) สถิต คะแนนทดสอบการสร้างสรรค์ผลงาน การแสดง นาฏศิลป์ หลังเรียน คะแนนรวม 320 ค่าเฉลี่ย 8.42 E2 84.21% จากตารางที่ 3 พบว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนการพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบ เพลง โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2/6 หลังเรียน มีค่าเฉลี่ย (x ) = 8.42 การหา ประสิทธิภาพ การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 หลัง เรียน E2 = 84.21 ตารางที่ 4 การทดสอบการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ก่อนเรียน และหลังเรียน เรื่อง การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์การหาค่าเฉลี่ย (x ) การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิต คะแนนทดสอบการสร้างสรรค์ผลงาน การแสดง นาฏศิลป์ หลังเรียน รวมคะแนนก่อนเรียน รวมคะแนนหลังเรียน คะแนนรวม 261 320 ค่าเฉลี่ย 6.86 8.42 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.81 0.64


จากตารางที่ 4 พบว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนการพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบ เพลง โดยใช้สอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 มีค่าเฉลี่ย (x ) = 6.86 มีค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.81 คะแนนทดสอบหลังเรียนการพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้สอนแบบ เพื่อนช่วยเพื่อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 หลังเรียน มีค่าเฉลี่ย (x ) = 8.42 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) = 0.64 กล่าวได้ว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน เปรียบเทียบได้จากการหาค่าเฉลี่ย ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (x ) = 6.86 และค่าเฉลี่ยหลังเรียน มีค่าเฉลี่ย ( x) = 8.42 ซึ่งค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงขึ้นกว่า ก่อนเรียนอย่างเห็น ได้ชัดเจน ตารางที่ 5 การหาประสิทธิภาพของการพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้ สอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์การหาประสิทธิภาพ (E1/E2 ) ตารางผลการหาประสิทธิภาพของการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ไทย เรื่องการ พัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบพลง โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2/6 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนาฏศิลป์ E1 E2 E1/E2 - การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่าร าประกอบเพลง โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 82.63 84.21 82.63/84.21 ผลรวม 82.63 84.21 ประสิทธิภาพรวม 82.63 84.21 82.63/84.21 จากตารางข้างต้นแสดงว่า การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้การสอน แบบเพื่อนช่วยเพื่อนมีประสิทธิภาพ 82.63/84.21 เมื่อพิจารณาการพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วย เพื่อน พบว่าจากการนำการคิดสร้างสรรค์ผลงานการ แสดงนาฏศิลป์ไทย โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการ สอนนาฏศิลป์ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ เพื่อนช่วยเพื่อนไปใช้ ประสิทธิภาพของการพัฒนา ทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ระหว่างเรียนและหลังเรียน มี ประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้


บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน การสอน แบบธรรมดาของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตาม ขั้นตอนดังนี้ 5.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 5.2 สมมติฐานการวิจัย 5.3 สรุปผลการวิจัย 5.4 อภิปรายผลการวิจัย 5.5 ข้อเสนอแนะ 5.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 5.1.1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้การสอน แบบเพื่อนช่วยเพื่อน การสอนแบบธรรมดา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 5.1.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้การสอน แบบเพื่อนช่วยเพื่อน การสอนแบบธรรมดาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 กับเกณฑ์คะแนน ร้อยละ 80 5.2 สมมติฐานการวิจัย 5.2.1 นักเรียนที่เรียนโดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน มีผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง หลังเรียน สูงกว่าการสอนแบบธรรมดา 5.2.2 นักเรียนที่เรียนโดยใช้ มีผลสัมฤทธิ์การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน การปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง หลังเรียน สูงกว่าเกณฑ์คะแนนร้อยละ 80 เมื่อเปรียบเทียบกับการสอนแบบ ธรรมดา 5.3 สรุปผลการวิจัย 5.7.1 ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง พบว่า นักเรียนที่เรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการ สอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน สูงกว่า นักเรียนที่เรียนโดยการ สอนแบบธรรมดา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5


5.7.2 ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติท่ารำประกอบเพลงกับเกณฑ์คะแนนร้อยละ 80 พบว่า นักเรียนที่ เรียน โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนมีผลการเรียนหลังเรียน สูงกว่าเกณฑ์คะแนน ร้อยละ 80 เมื่อเทียบ กับนักเรียนที่เรียนโดยใช้การสอนแบบธรรมดา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 5.4 อภิปรายผลการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านการพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำ ประกอบเพลง โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ตามหลักสูตรและตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำผู้เรียนกล้าคิด กล้า แสดงออกอย่างอิสระและสร้างสรรค์ สามารถ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปฏิบัติกิจกรรมจริงด้วยตนเอง ผู้เรียนร่วมกันทำงาน เป็นกลุ่ม รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีทักษะกระบวนการในการค้นคว้าหาความรู้ เช่น การคิด การวางแผนการ ทำงาน การสังเกตท่าทางและการ เคลื่อนไหวจากธรรมชาติมาประดิษฐ์ท่ารำตามจินตนาการ การสำรวจเสาะแสวงหา สื่อดนตรีมาใช้ ประกอบการประดิษฐ์ท่ารำในการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์การทดลอง การหาข้อมูลลงมือ คิด ปฏิบัติท่ารำ ปรับปรุงท่ารำให้ดีขึ้น การรวบรวมข้อมูล การสรุปผล และนำเสนอผลงานการคิดสร้างสรรค์การ แสดง ต่อครูผู้สอนวัดผลและประเมินผล ครูผู้สอนเป็นผู้กำกับดูแล เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่ผู้เรียน การจัดกิจกรรม การเรียนการสอนนาฏศิลป์โดยใช้การสอน แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะ การคิด มีกระบวนการคิดอย่างอิสระสร้างสรรค์ มีความกระตือรือร้นที่ จะเรียนรู้ มีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เมื่อผู้เรียนเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้เรียนเป็นผู้เรียนที่มีคุณภาพตาม หลักสูตรและตัวชี้วัด ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ 5.5 ข้อเสนอแนะ 5.5.1 การพัฒนาทักษะการปฏิบัติท่ารำประกอบเพลง โดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ข้อเสนอแนะทั่วไป ของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์พบว่า นักเรียนที่เรียน การสอนโดยใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนมีผลการเรียนหลังเรียน สูงกว่า นักเรียนที่เรียนโดยการสอนแบบ ธรรมดา สามารถนำกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอน ได้ 5.5.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยต่อไป 5.5.2.1 ควรทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนวิชานาฏศิลป์ในเนื้อหาอื่นๆ ที่นักเรียนบกพร่อง โดย ใช้การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หรือนักเรียน ในระดับชั้นอื่นๆ ต่อไป


5.5.2.2 ควรทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนวิชานาฏศิลป์ในรูปแบบอื่นๆ หรือเปรียบเทียบ กับ การใช้กระบวนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ในเรื่องอื่นๆ เพื่อหาสื่อที่มีประสิทธิภาพในการ แก้ไขข้อบกพร่อง ให้กับนักเรียนอย่างเหมาะสมกับเนื้อหา


บรรณานุกรม ธีรศักดิ์ อัครบวร. ความเป็นครูไทย. พลพิมพ์ (1996) จ ากัด, กรุงเทพมานคร : 2544. สำลี รักสุทธี. ทางก้าวสู่ครูมืออาชีพ. ธนธัชการพิมพ์ จำกัด, กรุงเทพมหานคร : 2544. สุวิทย์ มูลคำ . อรทัย มูลคำ . เรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. ดวงกมลสมัย จำกัด, กรุงเทพมหานคร : 2544. ศรินธร วิทยะสิรินันท์. วิทยาการด้านการคิด. บริษัท เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์, กรุงเทพมหานคร : 2544. ธนิต อยู่โพธิ์ . ศิลปะละครรำ . ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย , กรุงเทพมหานคร : 2531 . สุมิตร เทพวงษ์ . นาฏศิลป์ไทย : นาฏศิลป์ไทยสำหรับครูประถมและมัธยม . กรุงเทพมหานคร : โอ. เอส.พริ้น ติ้ เฮ้าส์ , 2541 อมรา กล่ำเจริญ . สุนทรียนาฏศิป์ไทย . โอ.เอส.พริ้นติ้ เฮ้าส์ , กรุงเทพมหานคร : 2531 . เรณู โกศินานนท์ . รำไทย . องค์การค้าคุรุสภา , กรุงเทพมหานคร : 2531 . นพพร ธนะชัยขันธ์ . สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย . วิทยพัฒน์ , กรุงเทพมหานคร : 2555 . สมศักดิ์ แสวงการ . คู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง . กรุงเทพมหนคร : 2557 . กระทรวงศึกษาธิการ . หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 . ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด , กรุงเทพมหานคร 2551


ภาคผนวก ภาพที่ 1 การทำสมาธิก่อนเรียน ภาพที่ 2 เพลงคืนเดือนหงาย


ภาพที่ 3 เพลงดอกไม้ของชาติ ภาพที่ 4 เพลงบุญบั้งไปเดือนหก


ภาพที่ 5 เพลงกินดอง


ภาพที่ 10 เพลงฮ้องฮับขวัญ


ประวัติโดยย่อของผู้วิจัย ชื่อ นางสาวชลธิชา แข็งขัน ชื่อเล่น ฟินเฟิร์น วัน เดือน ปีเกิด 11 สิงหาคม พ.ศ.2544 สถานที่เกิด อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู สถานที่อยู่ปัจจุบัน 88 หมู่ 9 บ้านนครพัฒนา ตำบลนากลาง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู รหัสไปรษณีย์ 39170 หมายเลขโทรศัพท์ 0833273504 ประวัติการศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกกค้อกกโพธิ์ 2555 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ 2558 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค 2561


Click to View FlipBook Version