The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออย่างง่ายที่สามารถทำได้ทุกเพศ ทุกวัย และนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการบยายพันธุ์พืช

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 62040582, 2022-07-11 20:59:55

คู่มือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออย่างง่าย

คู่มือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออย่างง่ายที่สามารถทำได้ทุกเพศ ทุกวัย และนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการบยายพันธุ์พืช

คู่ มื อ

การพัฒนาเทคนิคการ

เพาะเลี้ยงเนื้ อเยื่อ
พืชอย่างง่าย

ที่เหมาะสมสำหรับทุกเพศ ทุกวัย

จัดทำโดย

นางณิชาพล บัวทอง

และคณะ
ศูนย์เกษตรสุขภาวะ



คำ นำ

ด้วยทางคณะได้เข้าร่วมโครงการของศูนย์เกษตรสุข-
ภาวะของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพรจึงได้สร้างโครงการ
พัฒนาเทคนิ คการเพาะเลี้ยงเนื้ อเยื่อพืชอย่างง่ายที่เหมาะ
สมสำหรับทุกเพศทุกวัยที่เหมาะในการพัฒนาด้านความ
มั่นคงของชาติซึ่งมีความจำเป็นต้องพัฒนาทุกด้าน อาทิ
ด้านการศึกษาด้านเทคโนโลยี ด้านการเกษตร แต่ทั้งนี้
รากฐานการพัฒนาที่สำคัญ คือ การพัฒนาการศึกษาก่อน
อันดับแรก ซึ่งทุกความสำเร็จย่อมเริ่มต้นมาจากสถาบัน
การเรียนการสอนที่เข้มแข็งด้วยประเทศไทยมีภูมิอากาศ
ที่เหมาะสมต่อการเจริญงอกงามของพืชนานาชนิด

ดังนั้นในการเพิ่มจำนวนต้นพันธุ์ให้ได้ปริมาณมากใน
เวลาที่รวดเร็วสามารถนำเทคโนโลยีของการเพาะเลี้ยง
เนื้ อเยื่อมาช่วยแก้ไขปัญหาจึงจำเป็นที่ต้องมีการส่งเสริม
สถาบันการเรียนการสอนให้มีการเพาะเลี้ยงเนื้ อเยื่อพืช
และพืชสมุนไพรอย่างครบวงจร เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้
ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์การนำไปใช้เพื่อให้การ
พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน

นางณิชาพล บัวทอง

ผู้จัดทำ

1

ส า ร บั ญ 1
2
คำนำ 3
สารบัญ 4
ความหมายเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 5
ประโยชน์การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 6
เทคนิค และการเตรียมอาหาร 7
การฟอกฆ่าเชื้อเนื้อเยื่อพืช 11
การเลือกชิ้นส่วนของพืช 13
อุปกรณ์การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 14
สารเคมีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 16
ขั้นตอนการนำเนื้อเยื่อพืชลงขวด
ขั้นตอนการนำเนื้อเยื่อพืชไปดูแล

2

การเพาะเลี้ยงเนื้ อเยื่อพืชคืออะไร

อวัยวะ การนำเอาส่วนใด
เซลล์ ส่วนหนึ่งของพืช เช่น
เนื้ อเยื่อ

เลี้ยงในสูตรอาหาร ไวตามิน น้ำตาล
MS ดัดแปลง
สารควบคลุมการ
เจริญเติบโต 

แร่ธาตุ

ความชื้น โดยมีการควบคุม
อุณหภูมิ สภาพแวดล้อม เช่น 

แสง

ส่วนต่างๆของพืชเหล่านี้ จะสามารถเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่
โดยอาศัยคุณสมบัติพิเศษของเซลล์พืชที่สามรถเจริญเติบโต
พัฒนาไปเป็นต้นใหม่ได้ ซึ่งมีทั้งส่วนใบ ลำต้น และรากที่
สามารถย้ายออกปลูกในสภาพธรรมชาติได้ต่อไป

3

ประโยชน์

ของการเพาะเลี้ยงเนื้ อเยื่อพืช 

เพื่อการศึกษาทางชีวเคมีและสรีรวิทยาของพืช

เพื่อเป็นการผลิตพืชที่ปราศจากโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเชื้อรา
และเชื้อไวรัส เพราะการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชใช้ส่วนเนื้อเยื่อที่เจริญ
ที่อยู่ที่บริเวณปลายยอดของลำต้นและเนื้ อเยื่อคัพภะ(EMBRYO)
ซึ่งถือว่าปลอดจากเชื้อไวรัสมากที่สุด

เพื่อการผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว
โดยอาศัยอาหารสูตรที่สามารถเพิ่มจำนวนต้นเป็นทวีคูณ

เพื่อเป็นการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์แล้ว
คัดเลือกเอาสารพันธุ์ที่ดีไว้ ซึ่งอาจทำได้โดยการใช้สารเคมี การฉาย
รังสี การติดต่อยีนส์ และการย้ายยีนส์

เพื่ อการผลิ ตพื ชพั นธุ์ ต้ านทานโดยการเพาะเลี้ ยงในอาหารที่
มี เงื่ อนไขต่ างๆ เช่ น ต้ านทานต่ อแมลง ต้ านทานต่ อยา ฯลฯ

เพื่อการผลิตยาและสารเคมีจากพืชพืชบางชนิดมีคุณสมบัติทางยา
แต่บางครั้งปริมาณยาในเนื้ อสารมีปริมาณน้อยจึงต้องมีการปรับสภาพ
แวดล้อมและอาหารที่เหมาะสมชักนำให้เกิดการสังเคราะห์สารที่เรา
ต้องการได้มากขึ้น

เพื่อการผลิตพันธุ์พืชทนทาน โดยการคัดสายพันธุ์ทนทานจากการจัด

เงื่อนไขของอาหาร และสภาวะแวดล้อม

เพื่อการเก็บรักษาพันธุ์พืช ปัจจุบันนี้มีพืชหลายชนิดสูญพันพันธุ์ไป
เนื่ องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงวิธีเก็บรักษาไว้ในหลอด
ทดลองจะทำให้พืชมีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ามากทำให้ประหยัด

4 เวลา แรงงาน อาหารและขยายจำนวน

เทคนิคการ 5ขั้นตอน
เลี้ยงเนื้ อเยื่อพืช

เตรียมอาหารสำหรับเลี้ยงเนื้ อเยื่อพืช

ฟอกฆ่าเชื้อเนื้ อเยื่อพืช

นำชิ้ นส่วนเนื้ อเยื่อพืชลงเลี้ยงในขวด

นำขวดเนื้ อเยื่อพืชไปเลี้ยงในห้องควบคุมแสง
และควบคุมอุณหภูมิ

ย้ายเอาพืชออกจากขวดปลูกลงดิน

การเตรียมอาหารสำหรับเลี้ยงเนื้ อเยื่อพืช

อาหารที่ใช้เลี้ยงเนื้ อเยื่อต้องสะอาดและมีแร่ธาตุอาหารครบตรง
ตามที่พืชชนิดนั้นต้องการและเหมาะสม อาหารสูตร MS เป็นสูตร
อาหารที่มีผู้ใช้กันมาก และพบว่าในสารอาหารทั้งธาตุอนินทรีย์หลัก
เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม (NPK) และธาตุอาหาร
รองอื่นๆ รวมทั้งสารประกอบของกรดอะมิโน วิตามินฮอร์โมน และ
น้ำตาลต้องอยู่ในสภาพปลอดเชื้อ

B Zn Fe Cu Mn
N P
Mo Cl KI Co
K
Na Gly Nico
ธาตุหลัก
Pyri Thia
Ca Mg KH 5
ธ า ตุ เ ส ริ ม
ธาตุรอง

การฟอกฆ่าเชื้อเนื้ อเยื่อพืช

วิธีการฟอกฆ่าเชื้อชิ้นส่วนของพืชที่จะนำมาเลี้ยง
มีขั้นตอนดังนี้

1.ควรเลือกชิ้นส่วนของพืชที่จะนำมาเลี้ยง
ให้ปราศจากโรคและเป็นส่วนที่ยังอ่อนอยู่
ตายอดและข้อเป็นอวัยวะที่ดีที่สุด เช่น ใบ
ดอก ราก ก็ใช้ได้ ที่สำคัญจะต้องไม่แก่หรือ
อ่อนเกินไป

2.ตัดเฉพาะชิ้นส่วนที่ต้องการ

นำมาล้างให้สะอาดด้วยน้ำยา

ล้างจาน

3.แช่ในเอทิลแอลกอฮอล์ 70

เปอร์เซ็นต์เป็นเวลา1–2 นาที

4.ฟอกด้วยน้ำยาคลอร็อกซ์ 10
เปอร์เซ็นต์เป็นเวลา10–15 นาที
5.ฟอกต่อด้วยน้ำยาคลอร็อกซ์
5 เปอร์เซ็นต์เป็นเวลา 10 นาที

6.นำไปล้างด้วยน้ำที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้วประมาณ 3 ครั้ง
นำเข้าตู้ปลอดเชื้อ หรือตู้ถ่ายเนื้อเยื่อเพื่อเตรียม
ตัดชิ้ นส่วนเนื้ อเยื่อพืชลงในอาหารเลี้ยงเนื้ อเยื่อ
พืชต่อไป

6

การเลือกชิ้นส่วนของพืชมาเพาะเลี้ยง

1.ขนาดของชิ้ นส่วนพืชเนื้ อเยื่อพืชที่มีขนาดใหญ่จะมีการปน
เปื้ อนจากจุลินทรีย์ต่างๆได้ง่ายขณะที่เนื้อเยื่อขนาดเล็กมีโอกาส
หลีกเลี่ยงการปนเปื้ อนได้มากขึ้นอย่างไรก็ตามขนาดของเนื้อเยื่อ
ที่มีขนาดเล็กเกินไปอาจโตช้าและไม่ตอบสนองต่อการเพาะเลี้ยง
เท่ากับเนื้ อเยื่อที่มีขนาดใหญ่ในทางปฏิบัตินิ ยมเลี้ยงเนื้ อเยื่อที่มี
ขนาดเล็กหลายๆชิ้นรวมกันในขวดเดียวกันเพื่อกระตุ้นให้มีการ
ตอบสนองต่อการเพาะเลี้ยงมากขึ้น โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงชิ้น
ส่วนพืชเพื่อชักนำให้เกิดแคลลัสซึ่งจะโตเร็วกว่าการเลี้ยงชิ้นส่วน
พืชเพียงชิ้นเดียว แต่อาจต้องย้ายเปลี่ยนอาหารบ่อยครั้งขึ้นซึ่ง
เป็นการสิ้นเปลืองทั้งเวลา แรงงาน และ ค่าใช้จ่ายรวมทั้งมีความ
เสี่ยงต่อการปนเปื้ อนจากเชื้อจุลินทรีย์ที่มากขึ้นด้วย 

2.ชนิดของชิ้นส่วนของพืชทุกส่วนของพืชประกอบด้วยเซลล์ที่ยัง
มีชีวิตอยู่สามารถนำมาทำการเพาะเลี้ยงเนื้ อเยื่อได้แต่ความ
สามารถในการเจริญเติบโตนั้นอาจแตกต่างกันไปเนื่ องจากเซลล์
แต่ละชนิดมีความตื่นตัว (ACTIVE) ไม่เท่ากันเนื้อเยื่อพืชที่มี
เซลล์ตื่นตัวมากที่สุดคือเนื้อเยื่อเจริญ (MERISTEM) ซึ่งพบได้
ใน ส่วนต่าง ๆ ดังนี้    

7

การเลือกชิ้นส่วนของพืชมาเพาะเลี้ยง (ต่อ)

2.1ส่วนปลายยอด (SHOOT APEX)เป็นบริเวณที่
เซลล์มีการแบ่งตัวมากที่สุดส่วนนี้ นับจากปลายยอด
สุดลงมาไม่เกิน 5 มิลลิเมตร

2.2ส่วนปลายราก (ROOT APEX) ถัดจากส่วนของ
หมวกรากก็จะมีส่วนที่ประกอบด้วยเนื้ อเยื่อเจริญคล้าย
กับส่วนของปลายยอด

2.3เนื้อเยื่อเจริญในท่อลำเลียง (VASCULAR
CAMBIUM) เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่พบในส่วนของลำต้น
และรากซึ่งอยู่ระหว่างกลุ่มของท่ออาหาร และท่อน้ำ

2.4เนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ระหว่างปล้อง (INTERCALARY
MERISTEM) ซึ่งจะพบในพืชพวก ใบเลี้ยง เดี่ยว ทำ
หน้าที่ในการเพิ่มความยาวของปล้อง

8

การเลือกชิ้นส่วนของพืชมาเพาะเลี้ยง (ต่อ)

2.5เนื้ อเยื่อส่วนอื่นๆที่สามารถนำมาทำการเพาะ

เลี้ยงเนื้ อเยื่อได้แก่
-ส่วนของเปลือกชั้นใน (INNER BARK) ซึ่งส่วนนี้

ประกอบด้วยเนื้อเยื่อชั้น PHLOEM และ

CORTEX

-ส่วนไส้ (PITH) เป็นส่วนในใจกลางสุดของลำต้น

ประกอบด้วยเซลล์พวกPARENCHYMA

-ใบ(LEAF)ในส่วนของใบมีเซลล์ของแผ่นใบที่

เรียกว่า PALISADE PARENCHYMA และ

SPONGY PARENCHYMA อยู่จำนวนมากซึ่ง

นิยมใช้สำหรับแยกโพรโทพลาสต์

-ดอก (FLOWER) ส่วนของดอกส่วนใหญ่ประกอบ

ด้วยเซลล์พวกPARENCHYMA ยกเว้นใน ส่วน

ของก้านดอก (PEDUNCLE) และฐานรองดอก

(RECEPTACLE) ซึ่งอาจมีเนื้อเยื่อเจริญอยู่ด้วย

ยกตัวอย่างในฐานรองดอกของเยอบีร่าและ

เบญจมาศที่สามารถชัก นำให้เกิดต้นได้ดี

9

การเลือกชิ้นส่วนของพืชมาเพาะเลี้ยง (ต่อ)

- ผล (FRUIT) เนื้อเยื่อของผลส่วนใหญ่มักจะประกอบด้วยเซลล์พวก
PARENCHYMA โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลสด (FLESHY FRUIT) ชนิด
ที่ผลมีเปลือกหุ้มผลนิ่มทั้งผลมักมีเมล็ดมากมาย(BERRY) เช่น กล้วย
มะละกอ ละมุด

ส่วนผลมีผนังชั้นนอกของเปลือกหุ้มผล พัฒนามาจากฐานรองดอก
เมื่อผลแก่ผนังนี้จะแข็งและเหนียวแน่นภายในผลนิ่มทั้งผล (PEPO)
เช่น พืชตระกูลแตง และผลที่มีเปลือกหนาคล้ายหนังและมีต่อมน้ำมัน
จำนวนมากข้างในผลแยกเป็นส่วนๆชัดเจน (HESPERIDIUM)เช่น พืช
ตระกูลส้ม
- เมล็ด (SEED) ในส่วนของเมล็ดประกอบด้วยคัพภะ
(EMBRYO)ใบเลี้ยง(COTYLEDON)และ ENDOSPERM ทั้งสามส่วนนี้
ให้ความสำเร็จสูงในการเพาะเลี้ยง

10

อุปกรณ์การเตรียมอาหารเลี้ยงเนื้ อเยื่อพืช

1.เครื่องชั่งไฟฟ้า
(BALANCE) 

2.เครื่องวัดความ
เป็นกรด – ด่าง
(PH METER)

3.หม้อนึ่ งอัดไอน้ำ
(AUTOCLAVE) 

4.เตาไฟฟ้า
(HOT PLATE) 

5.ปิเปต
(PIPETTE)

6.บีกเกอร์ 
(BEAKER) 

7.กระบอกตวง 
(GRADUATED CYLINDER)  

11

อุปกรณ์การเตรียมอาหารเลี้ยงเนื้ อเยื่อพืช

8.ขวดรูปชมพู่ 9.หลอดหยด 
(FLASK)    (DROPPER) 

10.กรวยแก้ว 11.ขวดใส่
   (FUNNEL)  STOCKSOLUTION

12. อะลูมิเนียมฟอยด์ และอาหาร
หรือจุกยางหรือสำลี

13. ไม้แก้ว
(GRASS  ROD)

12

สารเคมี

1.สารเคมีในสูตรของอาหารสูตร MS

2.สารเคมีสำหรับปรับค่าpH ของอาหาร
คือ POTASSIUM HYDROXIDE (KOH)
หรือ SODIUMHYDROXIDE (NaOH)
และ HYDROCHLORICACID (HCl)  

3.น้ำกลั่น/น้ำสะอาด

13

ขั้นตอนการนำชิ้ นส่วนเนื้ อเยื่อพืชลงขวด

1.เตรียมทำความสะอาดตู้ถ่ายเนื้ อเยื่อโดยการใช้

เอทิลแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ฉีดพ่นให้ทั่ว

บริเวณตู้แล้วใช้ผ้าสะอาดที่นึ่ งฆ่าเชื้อแล้วเช็ดให้

สะอาดทั่วบริเวณ ทิ้งไว้สัก 10 นาที ก่อนใช้งาน

2.เตรียมเช็ดขวดอาหารที่นึ่ งฆ่าเชื้อ

แล้ววางเรียงในตู้ถ่าย

3.ใช้ปากคีบมีดผ่าตัดที่สะอาดโดยชุบเอทิลแอลกอฮอล์ 95 เปอร์เซ็นต์ลน

ไฟทิ้ งไว้ให้เย็นโดยวางบนจานแก้วที่นึ่ งฆ่าเชื้อแล้ว

14

ขั้นตอนการนำชิ้ นส่วนเนื้ อเยื่อพืชลงขวด

4.ลนไฟบริเวณปากขวดอาหารเลี้ยง

เนื้ อเยื่อก่อนเปิ ดฝา

5.นำชิ้ นส่วนเนื้ อเยื่อวางบนจานแก้ว

ตัดชิ้นส่วนให้เล็กพอเหมาะ ใช้

ปากคีบใส่ขวดอาหารเลี้ยงเนื้ อเยื่อ

โดยอาจจะวางหรือแทงลงไปบน

อาหารเล็กน้อย

ลนไฟบริเวณปากขวดอีกครั้งแล้วรีบ

ปิดฝาขวดทันที

15

ขั้นตอนการนำขวดเนื้ อเยื่อพืชไปเลี้ยง

1.นำขวดที่จะเลี้ยงเนื้ อเยื่อไปวางบนชั้น

ในห้องเลี้ยงเนื้อเยื่ออุณหภูมิ 25-28°

ความเข้มของแสง 1,000–2,000 ลักซ์

(หลอดไฟ 40 วัตต์ จำนวน 2 หลอด)

ช่วงแสง 16 ชั่วโมงต่อวัน และช่วงมืด 8

ชั่วโมงต่อวัน

2.สังเกตการณ์เจริญเติบโตของชิ้นส่วนพืช

ในระยะ 3-7 วัน สังเกตเนื้อเยื่อว่ามีเชื้อรา

หรือแบคทีเรียขึ้นหรือไม่ ถ้ามีให้รีบนำออก

จากห้องไปถ้าขวดไหนไม่มีก็เลี้ยงต่อไปและ

ต้องเปลี่ยนอาหารใหม่ทุก 2–4 สัปดาห์ จน

ได้ต้นพืชที่สมบูรณ์

16



25 65

TISSUE CULTURE
&

MEDICINAL PLANTS

NICHAPON BUATHONG


Click to View FlipBook Version