The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาพหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ<br><br>Best Practice<br>นางสาววรรณชนก รอดหยู่<br>ผู้อำนวยการโรงเรียนพร้านีลวัชระ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by maxky.m003, 2023-11-28 06:30:46

รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาพหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ

รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาพหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ<br><br>Best Practice<br>นางสาววรรณชนก รอดหยู่<br>ผู้อำนวยการโรงเรียนพร้านีลวัชระ

คำนำ โรงเรียนพร้านีลวัชระ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต ๑ จัดการศึกษา โดยยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียน มีความสำคัญที่สุด ส่งเสริมพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและ ความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ จากการลงมือปฏิบัติให้มีประสบการณ์จริง ตามแนวการจัดการศึกษาของพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่มุ่งพัฒนา ผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต ให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนอย่างเต็มตามศักยภาพให้เป็น คนดีมีปัญญา มีความสุข มีความสามารถหลากหลายโดยพัฒนาตามทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ (Gardner) เพื่อให้การจัดการศึกษาบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ผู้รายงานในฐานะผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็น ผู้นำในการสร้างความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงสร้างความรู้ความเข้าใจความตระหนักให้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ร่วมกันพัฒนา "รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา โดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐานเพื่อส่งเสริมพัฒนาพหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ" อย่างเต็ม ศักยภาพ ขอกราบขอบพระคุณ นายทศพร ถือพุดซา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสมุทรปราการเขต ๑ ที่ส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียนมีอิสระในการออกแบบพัฒนา ยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการศึกษา พัฒนาศักยภาพครูสู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างแท้จริง ขอบคุณทีมบริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ที่ร่วมยกระดับคุณภาพการศึกษากับทาง โรงเรียนด้วย "รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อพัฒนาพหุปัญญา นักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ" อย่างต่อเนื่อง ร่วมวางรากฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามวัยที่ดีงาม สู่การพัฒนาการตามวัยอย่างเข็งแรง มีความเจริญก้าวพัฒนาสู่เป้าหมายในอนาคตต่อไป (นางสาววรรณชนก รอดหยู่) ผู้อำนวยการโรงเรียนพร้านีลวัชระ ผู้จัดทำ ก


๓ สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข สารบัญภาพ ค ๑. ชื่อผลงาน ๑ ๒. ชื่อผู้เสนอผลงาน ๑ ๓. ความสำคัญของผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ๑ ๔. จุดประสงค์และเป้าหมายของผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ๓ ๕. กระบวนการผลิตงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน ๔ ๖. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ ๑๒ ๗. ปัจจัยความสำเร็จ ๑๓ ๘. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned) ๑๓ ๙. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ ๑๓ ๑๐. การขยายผลต่อยอดสู่ความยั่งยืน ๑๔ ๑๑. ข้อเสนอแนะในการนำผลงานไปใช้ ๑๔ บรรณานุกรม ๑๖ ภาคผนวก ๑๗ ข


๔ สารบัญภาพ เรื่อง หน้า ภาพประกอบ ๑ กรอบแนวคิด กระบวนการพัฒนา ๕ รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา โดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาพหุปัญญานักเรียนโรงเรียนพร้านีลวัชระ ภาพประกอบ ๒ กระบวนการพัฒนารูปแบบโรงเรียนส่งเสริมพหุปัญญา ๑๐ พัฒนาศักยภาพนักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ ภาพประกอบ ๓ กระบวนการพัฒนารูปแบบโรงเรียนส่งเสริมพหุปัญญา ๑๑ พัฒนาศักยภาพนักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ ค


๑ รายงานการนำเสนอผลงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ด้านการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ๑. ชื่อผลงาน รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาพหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต ๑ (EDUCATIONAL MANAGEMENT MODEL BY INTERNAL SUPERVISORY BASED TO DEVELOP STUDENTS'S MULTIPLE INTELLIGENCES OF PRANEELWATCHARA SCHOOL SAMUTPRAKAN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE ๑ ๒. ชื่อผู้เสนอผลงาน นางสาววรรณชนก รอดหยู่ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนพร้านีลวัชระ กลุ่มโรงเรียน เมืองสมุทรปราการ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ อีเมล Praneelwatchara๑๑๐๑๐๐๒๐@gmail.com โทรศัพท์ ๐ ๒๓๙๔ ๒๐๗๐ ๓. ความสำคัญของผลงาน นวัตกรรม หรือปฏิบัติที่เป็นเลิศ การศึกษาเป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถและ สติปัญญาเพียงพอที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ กระบวนการจัดการเรียนการสอนผู้เรียนจึงมี ความสำคัญยิ่ง ดังที่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้กล่าวไว้ในหมวด ๔ แนวการจัดการศึกษา มาตรา ๒๒ ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียน มีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและ เต็มตามศักยภาพมาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้(๑) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (๒) ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา (๓) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๑๒๓ ก/หน้า ๑๖/๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๕, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๔๕ ก/หน้า ๑/๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลัง ของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย


๒ และเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาตลอด ชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตาม ศักยภาพ มีจุดหมาย มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและ ประกอบอาชีพ (กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๕๑ : ๔,๕) จากแนวคิดของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และหลักสูตรแกนกลางดังกล่าว สอดคล้องศาสตราจารย์โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐอเมริกา ซึ่งสร้างทฤษฎีที่บอกถึงความฉลาดของมนุษย์ที่มีหลากหลายด้านแตกต่างกัน แต่มีความสอดคล้องกัน โดยจะแสดงเป็นจุดเด่นจุดด้อยตามความแตกต่างและลักษณะเฉพาะของแต่ละ บุคคล เรียกว่า ทฤษฎีพหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ (Gardner) ประกอบไปด้วยปัญญา ๙ ด้าน ได้แก่ ปัญญาด้านภาษา ปัญญาด้านตรรกะ–คณิตศาสตร์ปัญญาด้านมิติ ปัญญาด้านร่างกายและการ เคลื่อนไหว ปัญญาด้านดนตรี ปัญญาด้านความเข้าใจระหว่างบุคคล ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง ปัญญาด้านธรรมชาติ และปัญญาด้านอัตภวนิยม จิตนิยม หรือการดำรงคงอยู่ของชีวิต (Gardner, H. ๒๐๐๕) การสร้างผู้เรียนให้มีคุณภาพ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต ทักษะ อาชีพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตลอดจนมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ นั้น สิ่งสำคัญประการแรก คือ การพัฒนาครูผู้สอน ซึ่งการนิเทศภายในสถานศึกษาเป็นวิธีการหนึ่ง ในการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน เพราะจะทำให้ครูเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การจัดการเรียนรู้และพัฒนางานให้มีคุณภาพ ส่งผลให้ผู้เรียนได้พัฒนาพฤติกรรมและสามารถพัฒนาตนเอง ได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งการนิเทศภายในเป็นกระบวนการดําเนินงานร่วมกันระหว่างบุคลากรทางการศึกษา ภายในโรงเรียน มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนและมุ่งพัฒนา คุณภาพของผู้เรียนเป็นหลัก (ภิญโญ สุทธิทิพย์ศักดิ์, ๒๕๕๑ และดาวรรณ เอมนิล, ๒๕๕๕) โรงเรียนพร้านีลวัชระ จัดการศึกษาระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ มีนักเรียน ๑,๒๙๓ คน มีวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษา คือ ภายในปีการศึกษา ๒๕๗๐ โรงเรียนพร้านีลวัชระ เป็นสถานศึกษาชั้นนำ บริหารการศึกษาด้วยหลักธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ได้ตามมาตรฐาน การศึกษาของชาติและโรงเรียนมาตรฐานสากล ส่งเสริมพหุปัญญา พัฒนาคุณธรรม นำสู่วิถีพอเพียง โดยมุ่ง พัฒนาศักยภาพผู้เรียนสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล เสริมพัฒนาพหุปัญญาผู้เรียนตามความถนัดของ ผู้เรียน โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ เป็นต้นมาที่ทางโรงเรียนจัดกระบวนการเรียนรู้รูปแบบ On-Site ได้ไม่เต็มเวลา นักเรียนมีภาวะถดถอย ทางการเรียนรู้ส่งผลให้เกิดปัญหาพฤติกรรมต่าง ๆ หลายด้าน ผู้รายงานร่วมกับข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนพร้านีลวัชระ ได้ประชุมระดมสมอง เพื่อหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้ได้รับโอกาสเรียนรู้ตามวัย ตามความถนัด เรียนรู้พัฒนาตนเอง


๓ อย่างเต็มศักยภาพ มีความสุข จึงสนใจพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายใน เป็นฐาน สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง เห็นคุณค่าของตนเอง เรียนรู้พัฒนาตนเอง อย่างเต็มศักยภาพ มีทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ปรับตัวอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เจริญเติบโตอย่างมั่นคง เป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต ด้วยเหตุนี้ ผู้รายงานจึงพัฒนา รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อพัฒนาพหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต ๑ ขึ้น ๔. จุดประสงค์และเป้าหมายของผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ๔.๑ จุดประสงค์ ๔.๑.๑ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายใน เป็นฐาน ส่งเสริมพหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ ๔.๑.๒ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐานเพื่อพัฒนา พหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ ๔.๑.๓ เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อพัฒนาพหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ ๔.๑.๔ เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบโรงเรียนส่งเสริมพหุปัญญาพัฒนาศักยภาพนักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ ๔.๒ เป้าหมาย ๔.๒.๑ เชิงปริมาณ ๔.๒.๑.๑ นักเรียนโรงเรียนพร้านีลวัชระ ร้อยละ ๑๐๐ ได้รับการพัฒนาด้วยรูปแบบ การบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาพหุปัญญานักเรียน ๔.๒.๑.๒ ครูโรงเรียนพร้านีลวัชระ ร้อยละ ๑๐๐ ได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพ ในการจัดกระบวนการการเรียนรู้ตามความถนัด ความสนใจเพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของนักเรียน ๔.๒.๒ เชิงคุณภาพ ๒.๒.๒.๑ นักเรียนโรงเรียนพร้านีลวัชระ มีความสามารถตามหลักพหุปัญญาตามที่ ตนเองถนัด ความสนใจ ตามหลักพหุปัญญา ๙ ด้าน ๒.๒.๒.๒ ครูโรงเรียนพร้านีลวัชระ มีศักยภาพในการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของนักเรียน ๒.๒.๒.๓ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนพร้านีลวัชระ มีความพึงพอใจในผลการใช้รูปแบบโรงเรียนส่งเสริม พหุปัญญาพัฒนาศักยภาพนักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ


๔ ๕. กระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน การออกแบบผลงานนวัตกรรม กระบวนการพัฒนา"รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาพหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ" ผู้รายงานใช้กรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบ โดยบูรณาการ Quick Policy สพฐ. ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระบรม ราโชบายด้านการศึกษา ๔ ประการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐ ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ ประเด็น การตระหนักถึงปัญญาของ มนุษย์ที่หลากหลาย แผนการปฏิรูปประเทศ ฯ ด้านการศึกษา กิจกรรมปฏิรูปที่ ๒ การพัฒนาการ จัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ ทักษะ จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ กลุ่มทักษะพื้นฐาน (Foundational Literacy) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง ความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนรู้และรูปแบบการเรียนการสอนโดยมีผู้เรียนได้รับการ พัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดของแต่ละบุคคล กลุ่มทักษะด้านการจัดการปัญหา (Competencies) (มีพื้นฐาน ชีวิตที่มั่นคง มีงานทำมีอาชีพสุจริต) กลุ่มทักษะด้านคุณลักษณะ (Character Qualities) (มีทัศนคติ ที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง) และ (เป็นพลเมืองที่ดี) ตัวชี้วัดคุณภาพผู้เรียน ของเลขาธิการคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านองค์ความรู้ : มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง ด้านทักษะอาชีพ : มีงานทำ มีอาชีพสุจริต ด้านทักษะชีวิต : มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม จุดเน้นของการจัดการศึกษาและการเรียนรู้แต่ละระดับ ของแผนการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา ระดับประถมศึกษา เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลตาม ศักยภาพ นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายเร่งด่วน สพฐ. Quick Policy ๒๕๖๕ และพัฒนาเป็น "รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมพัฒนา พหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ" กระบวนการพัฒนารูปแบบ ผู้รายงานใช้วงจร การควบคุม คุณภาพ (PDCA Cycle) หรือ (Deming Cycle) ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการ ด้วย ๔ ขั้นตอน คือการวางแผน (Planning) การปฏิบัติการ (Doing) การตรวจสอบการปฏิบัติ (Checking) การปรับปรุงแก้ไขพัฒนาต่อเนื่อง (Acting) โดยมีกรอบแนวคิด ดังภาพประกอบ ๑ ดังนี้


ภาพประกอบ ๑ กรอบแนวคิด กระบวนการพัฒนา รูปเพื่อส่งเสริมพัฒนาพหุปัญ


๕ ปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน ญญานักเรียนโรงเรียนพร้านีลวัชระ


๖ การดำเนินงานตามกิจกรรม การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาพหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ มี ๔ ขั้นตอน ดังนี้ ๕.๑ ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารจัดการศึกษารูปแบบการ บริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาพหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ (SWOT Analysis The School : S) มีกระบวนการดำเนินการพัฒนา ดังนี้ ขั้นที่ ๕.๑.๑ ศึกษาวิเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documents Analysis : DA) ขั้นที่ ๕.๑.๒ ศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมโรงเรียน (School Analysis : SA) ทั้งในโรงเรียน ด้านจุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weakness) และภายนอกโรงเรียน ด้านโอกาส (Opportunities) และ อุปสรรค (Threats) เพื่อนำมาวางแผน ส่งเสริมคุณธรรมนำการพัฒนา พหุปัญญาสนองตามธรรมชาติการเรียนรู้ของนักเรียน ขั้นที่ ๕.๑.๓ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานนักเรียนเป็นรายบุคคล (Students Analysis : SA) โรงเรียนดำเนินการ ดังนี้ ๕.๑.๓.๑ จัดเก็บข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่ระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center : DMC) ร่วมกับเจ้าหน้าที่รับนักเรียน ๕.๑.๓.๒ จัดเก็บข้อมูลโดยครูประจำชั้น ครูประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยการสังเกต การสอบถาม การสนทนา การสัมภาษณ์ การเยี่ยมบ้าน เพื่อรู้จักความถนัด ความสนใจ ๕.๑.๓.๓ ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ๕.๑.๓.๔ วัดแววความสามารถพหุปัญญานักเรียน ๕.๑.๓.๕ ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาผู้เรียนตามความถนัดความสนใจบูรณา การในกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน วัดผลประเมินผลตามสภาพจริงจริงพัฒนาการ ขั้นที่ ๕.๑.๔ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู (Teacher Analysis : TA ) ๕.๑.๔.๑ ผู้บริหารศึกษาข้อมูลครูเป็นรายบุคคลจากประวัติการบรรจุ แต่งตั้ง ๕.๑.๔.๒ ผู้บริหาร การสำรวจ การสัมภาษณ์ สนทนา สอบถาม ทั้งรูปแบบ ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อมอบหมายงานให้ตรงกับความถนัด ๕.๑.๔.๓ ผู้บริหารสังเกตการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ๕.๑.๔.๔ ผู้บริหารศึกษาจากการประเมินครูผู้ช่วย


๗ ๕.๑.๔.๕ ผู้บริหารศึกษาข้อมูลการรายงานผลพัฒนาประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ๕.๑.๔.๖ ผู้บริหารและคณะครูประชุมถ้าเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านกระบวนการ ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อปรับการมอบหมาย งานให้เหมาะกับงานตามความถนัดความสนใจของครูและบุคลากร ๕.๒ พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาพหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ (Develop The Model: D) ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน มีส่วนร่วมในการดำเนินการร่วมกัน ดังนี้ ขั้นที่ ๕.๒.๑ พัฒนาครู (Teacher Training: TT) ดังนี้ ๕.๒.๑.๑ เชิญวิทยากรอบรมพัฒนาครูทุกคนในการจัดทำแผนพัฒนา คุณภาพการศึกษาระยะ ๕ ปี (ปี ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ที่โรงเรียน ๕.๒.๑.๒ เชิญวิทยากรอบรมการนิเทศภายใน ให้กับครูทุกคนมาใช้ ในการพัฒนายกระดับคุณภาพทางการศึกษาครู เข้ารับการอบรมพัฒนาตนเองตามความถนัดรูปแบบ Online ๕.๒.๑.๓ ส่งครูเข้ารับการอบรมตามวิชาเอก ตามความสนใจ ตามที่หน่วยงานต้นสังกัดจัด ๕.๒.๑.๔ สนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรมตามความถนัดความสนใจ กับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบ Online และ On-Site ๕.๒.๑.๕ ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูนำผลการอบรมมาใช้ในการพัฒนา กระบวนการจัดการเรียนรู้การวัดผลประเมินผลการพัฒนาโดยกิจกรรมต่างๆ ให้กับผู้เรียนอย่างมี ความสุข ๕.๒.๑.๖ ผู้บริหารและคณะครูประชุมถ้าเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) เพื่อพัฒนา คุณภาพงาน ๕.๒.๑.๗ ประชุมพัฒนา "รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การ นิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาพหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ" ด้วยกระบวนการ PLC ๕.๒.๑.๘ ผู้บริหาร ครู พัฒนาระบบ PDCA ร่วมกันปรับปรุงพัฒนา" รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาพหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ"


๘ ขั้นที่ ๕.๒.๒ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาส่งเสริมพหุปัญญา (School Curriculum : SC) ๕.๒.๒.๑ จัดประชุมปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียน พร้านีลวัชระ พุทธศักราช ๒๕๖๕ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) และหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยโรงเรียนพร้านีลวัชระ พุทธศักราช ๒๕๖๕ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ เพื่อปรับหลักสูตรสถานศึกษา ๕.๒.๒.๒ นำหลักสูตรสถานศึกษามาจัดอบรมโรงเรียนวิทยาศาสตร์ พลังสิบ ให้กับโรงเรียนเครือข่ายจำนวน ๑๐ โรงเรียน ซึ่งโรงเรียนพร้านีลวัชระ เป็นโรงเรียน ศูนย์วิทยาศาสตร์พลังสิบ ในปีการศึกษา ๒๕๖๕ มีหน้าที่พัฒนาโรงเรียนเครือข่าย ขั้นที่ ๕.๒.๓ พัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (Environment Learning : EL) โรงเรียนดำเนินการ ดังนี้ ๕.๒.๓.๑ โรงเรียนประชุมจัดทำแผนพัฒนาการคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติประจำปีโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่อุ่นใจปลอดภัย เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน ๕.๒.๓.๒ ครูนำนักเรียนเข้าศึกษาแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน ๕.๒.๓.๓ ให้นักเรียนศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ตามความสมัครใจ ในเวลาว่างอย่างอิสระ เช่น ห้องสมุด ผู้บริหาร คณะกรรมการนิเทศสังเกตพฤติกรรมนักเรียน การวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงอิงพัฒนาการผู้เรียน ๕.๒.๓.๔ ผู้บริหารครูแลกเปลี่ยนเรียนรู้แหล่งเรียนรู้ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาพหุปัญญาอย่างหลากหลาย ตามความถนัดของผู้เรียนอิสระ ขั้นที่ ๕.๒.๔ พัฒนาพหุปัญญานักเรียน (Multiple intelligences : MI ) ๕.๒.๔.๑ จัดกิจกรรมเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) บูรณาการทุกกลุ่ม สาระการเรียนรู้ ๕.๒.๔.๒ จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชมรมตามความถนัดความสนใจ (Multiple Intelligences Club: MI) ๕.๒.๔.๓ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ลงมือทำ Learning By Doing นักเรียน ที่มีความสนใจพิเศษนอกเวลาเรียน ร่วมกับผู้ปกครองส่งเสริมสนับสนุนให้จัด ขั้นที่ ๕.๒.๕ นิเทศติดตาม (Internal Supervision : IS) ๕.๒.๕.๑ ผู้บริหาร ครูร่วมจัดทำโครงการนิเทศภายใน ๕.๒.๕.๒ ผู้บริหาร ครูร่วมจัดพัฒนาระบบการนิเทศภายใน ประชุม จัดทำแผนการนิเทศภายใน ปฏิทินการนิเทศการสอน


๙ ๕.๒.๕.๓ ผู้บริหาร ครูร่วมอบรมปฏิบัติการการนิเทศภายใน ๕.๒.๕.๔ ผู้บริหาร ครูร่วมสังเกตการจัดกระบวนการเรียนรู้ ๕.๒.๕.๕ ผู้บริหาร ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC ๕.๒.๕.๖ ผู้บริหาร ครูร่วมดําเนินการนิเทศ กํากับ ติดตาม ๕.๒.๕.๗ ผู้บริหาร ครูร่วมประเมินผล และสรุปผลการดําเนินงาน ๕.๒.๕.๘ ผู้บริหาร ครูร่วมการรายงานผลการดําเนินงานต่อ คณะกรรมการสถานศึกษาและนําผลที่ได้มาปรับปรุงเพื่อพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ๕.๓ ทดลองใช้พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาพหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ (Apply The Model : A) ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลาย สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ดังนี้ ขั้นที่ ๕.๓.๑ จัดกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning : AL) ขั้นที่ ๕.๓.๒ จัดกิจกรรมชมรมตามความสนใจ (Multiple Intelligences Club : MI) ขั้นที่ ๕.๓.๓ ดำเนินโครงการส่งเสริมพหุปัญญา (Multiple Intelligences Project : MP) ขั้นที่ ๕.๓.๔ ประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment : AA) ๕.๓.๔.๑ ผู้บริหารสร้าง ความรู้ความเข้าใจให้กับครูการประเมินผล ตามสภาพจริง (Authentic Assessment) ๕.๓.๔.๒ ครูวัดผลผู้เรียนอย่างหลากหลาย เช่น การสังเกต สัมภาษณ์ บันทึกและการรวบรวมข้อมูลจากผลงาน วิธีการ หรือสิ่งที่ผู้เรียนปฏิบัติ ๕.๔ ประเมินผลการใช้รูปแบบโรงเรียนส่งเสริมพหุปัญญาพัฒนาศักยภาพนักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ (Evaluate The Model : E) มีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ ๕.๔.๑ ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนส่งเสริม พหุปัญญาพัฒนาศักยภาพนักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ เพื่อดูความเหมาะสม ความเป็นไปได้ (Appropriate and Feasible : AF) ขั้นที่ ๕.๔.๒ ประเมินพหุปัญญา ๙ ด้าน ของนักเรียน ตามสภาพจริงอิงพัฒนาการ (Multiple Intelligences : M.I.) ขั้นที่ ๕.๔.๓ การสะท้อนผลการใช้รูปแบบโรงเรียนส่งเสริม พหุปัญญาพัฒนา ศักยภาพนักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ (Reflection The Model : RM) กระบวนการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษา โดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาพหุปัญญานักเรียนโรงเรียนพร้านีลวัชระ ดังภาพประกอบ ๓ และ ๔ ดังนี้


๑๐ ภาพประกอบ ๒ กระบวนการพัฒนารูปแบบโรงเรียนส่งเสริมพัฒนาพหุปัญญาพัฒนาศักยภาพ นักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ


ภาพประกอบ ๓ กระบวนการพัฒนารูปแบบโรงเรียนส


๑๑ ส่งเสริมพหุปัญญาพัฒนาศักยภาพนักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ


๑๒ ๖. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ โรงเรียนพร้านีลวัชระ ได้รับรางวัลสถานศึกษาที่มีระบบและกลไกการบริหารจัดการคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและดำเนินการจนเป็นวัฒนธรรม การทำงาน ส่งผลให้การจัดการศึกษาของสถานศึกษามีผลสัมฤทธิ์ยอดเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง จากสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภท สถานศึกษาขนาดใหญ่ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ ผลการพัฒนาพหุปัญญานักเรียนตามรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาพหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระตามเกียรติบัตร รางวัลต่าง ๆ ดัง QR CODE QR CODE ผลการพัฒนาพหุปัญญาตามรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อพัฒนาพหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ


๑๓ ๗. ปัจจัยความสำเร็จ ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อพัฒนาพหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ มีดังนี้ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๑๑ ประการ ดังอักษรย่อ S U P E R V I S I O N ดังนี้ S : SWOT School การวิเคราะห์บริบทโรงเรียนจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องด้วย กระบวนการ PDCA U : Understanding การสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง P : Participation การสร้างวัฒนธรรมองค์กรการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย (Participation : P) ด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ Professional Learning Community E : Experiences การนำประสบการณ์การศึกษาวิจัยในและต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ R : Research การใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา มาพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา V : Vision การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย I : Internal Supervision การนิเทศภายในอย่างกัลยาณมิตรเพื่อการประเมินพัฒนา S : School Culture การสร้างวัฒนธรรมองค์กรรวมใจเป็นหนึ่งมุ่งพัฒนาพหุปัญญา I : Information and Communication Technology การใช้เทคโนโลยีที่ช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำระบบสารสนเทศ O : Open Mind การเปิดใจยอมรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การพัฒนาด้วยกระบวนการ PLC N : National Education Act : N) การนำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติมาใช้เป็นแสงนำทาง ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยสู่เป้าหมาย ๘. บทเรียนที่ได้รับ รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อพัฒนาพหุปัญญานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ เป็นการศึกษา ค้นคว้า เรียนรู้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายการศึกษา แห่งชาตินโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดทุกระดับมาร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ด้วย กระบวนการที่อาศัยความร่วมมือและการยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน จากทุกคนในโรงเรียน ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำร่วมออกแบบแก้ปัญหา ร่วมพัฒนา ร่วมรับผิดชอบ ทำให้งานสำเร็จ ภาคภูมิใจร่วมกัน ๙. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ เว็ปไซด์โรงเรียนพร้านีลวัชระ : https://www.praneelwatchara.ac.th/ การจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อส่งเสริมพัฒนาพหุปัญญา นักเรียน ในโอกาสวันครู๑๖ มกราคม ๒๕๖๖ ณ ศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ สำโรง


๑๔ ๑๐. การขยายผลต่อยอดสู่ความยั่งยืน จากสภาพปัญหา ดังกล่าว ที่ผู้บริหารและคณะครูได้ค้นพบนวัตกรรมที่ใช้ในการส่งเสริมพัฒนา แก้ปัญหาพฤติกรรม โดยจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ควรบูรณาการการบริหารจัดการศึกษา ส่งเสริมพหุปัญญา พัฒนาคุณธรรมนักเรียน สู่การพัฒนาพหุปัญญาอย่างเต็มศักยภาพ เจริญเติบโตเป็นกำลัง สำคัญของสังคมประเทศชาติจากการมีส่วนร่วมของทุกคนในโรงเรียน คือ ผู้บริหาร ครูสภานักเรียน นักเรียนแกนนำ ร่วมกับผู้ปกครอง ๑๑. ข้อเสนอแนะในการนำผลงานไปใช้ ผู้บริหารการศึกษา ความทำความเข้าใจในการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์อย่าง เต็มศักยภาพโดยไม่คำนึงถึงการพัฒนาเฉพาะผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนวิชาการ ที่ออกมาเป็นคะแนน เพียงด้านเดียว ควรศึกษาค้นคว้าเอกสารงานวิจัย ผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบภาพความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้พัฒนาอย่างให้เป็น ทรัพยากรที่มีคุณค่าของสังคมประเทศชาติ ในระดับนโยบายของชาติ ควรทบทวนหลักสูตรแกนกลางที่มีเนื้อหาหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่งผลให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลของครูส่วนใหญ่ยังคงมุ่งเน้นการติว การฝึกการทำ ข้อสอบ แทนการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติ วัดผลตามสภาพจริง หวังเพื่อให้นักเรียนทำ ข้อสอบระดับชาติที่มีการเปรียบเทียบคะแนน เพื่อให้ได้คะแนนที่สูงสร้างการยอมรับในระดับนโยบาย ครูผู้สอนควรศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรที่มีเนื้อหาจำนวนมากร่วมกัน เพื่อออกแบบกระบวนการ จัดการเรียนรู้บูรณาการเป็นทีมอย่างแท้จริงโดยไม่วิตกกังวลคะแนนผลสัมฤทธิ์ เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้าเชิงลึก สร้างองค์ความรู้ในการพัฒนานวัตกรรมแทนการเรียนรู้เพียงเพื่อการใช้นวัตกรรม ให้เป็นเท่านั้น หรือแทนการเรียนรู้เพื่อสะสมความรู้ สะสมคะแนนเฉลี่ยเพียงด้านเดียวโดยขาดโอกาสในการ พัฒนาพหุปัญญาของตนเองให้มีทักษะที่หลากหลาย สร้างโอกาสในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า ภาคภูมิใจ ในตนเอง ป้องกันการเป็นโรคซึมเศร้าและความเสี่ยงต่าง ๆ จากการขาดโอกาสฝึกฝนทักษะชีวิต ทักษะ แห่งศตวรรษ ที่ ๒๑ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของ ผู้เรียนสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลตามความถนัดความสนใจอย่างแท้จริง ให้ความสำคัญกับทุกอาชีพ อย่างเสมอภาค ลดนโยบายการสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อ โดยมุ่งส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาให้โรงเรียนต่าง ๆ มี คุณภาพเท่าเทียมกัน โดยสนับสนุนปัจจัยโรงเรียนที่มีทรัพยากรน้อยให้มีเท่าเทียม แทนการสนับสนุน งบประมาณค่าหัวที่เท่ากัน ซึ่งทำให้ไม่มีโอกาสพัฒนาโรงเรียนต่าง ๆ ให้มีคุณภาพเท่าเทียมกันส่งผลให้ นโยบายส่งลูกเรียนเข้าโรงเรียนใกล้บ้านเป็นไปได้ยาก


๑๕ หากโรงเรียนมีคุณภาพใกล้เคียงกัน นักเรียนไม่ต้องวิตกกังวลการสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อ การจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูมุ่งกระบวนการเรียนรู้ลงมือปฏิบัติ สร้างองค์ความรู้ แนวคิด พัฒนา นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูสู่การพัฒนาพหุปัญญาผู้เรียนอย่างเต็ม ศักยภาพผู้เรียนอย่างแท้จริง เด็กเยาวชนคนไทยมีโอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันได้ใน เวทีระดับโลก ตัวอย่างประสบการณ์การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ประเทศสหพันธรัฐเยอรมันนีการสอนนักเรียน ประยุกต์ใช้ในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษา โดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐานเพื่อส่งเสริมพัฒนา พหุปัญญานักเรียนโรงเรียนพร้านีลวัชระ


๑๖ บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๕๑). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ ดาวรรณ เอมนิล. ๒๕๕๕. การใช้กระบวนการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการสอน โรงเรียนบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕. (๒๕๔๕, ๑๙ ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๑๙ (ตอนที่ ๑๒๓ ก), หน้า ๑๖-๒๑. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓. (๒๕๕๓, ๒๒ กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๔๕ ก.หน้า ๑-๓. ภิญโญ สุทธิทิพย์ศักดิ์. ๒๕๕๑. พฤติกรรมการนิเทศของผู้บริหารกับประสิทธิภาพการสอนของครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. เยาวพา เดชะคุปต์. พหุปัญญา อัจฉริยะ ๙ ด้าน . https://howardgardner.com Gardner, H. (๒๐๐๕). Multiple intelligences. from http://tip.psychology.org/gardner.html


๑๗ ภาคผนวก QR CODE ผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา โดยใช้การนิเทศภายในเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาพหุปัญญานักเรียน


๑๘


๑๙


๒๐


๒๑ ตัวอย่างผลการส่งเสริมพัฒนานักเรียน โรงเรียนพร้านีลวัชระ


๒๒


๒๓


Click to View FlipBook Version