The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานประจำปี 2565

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by N M, 2023-03-31 03:56:45

รายงานประจำปี

รายงานประจำปี 2565

I ค ำน ำ รายงานประจำปี 2565 สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลการปฏิบัติงาน ตามภารกิจของสำนักงานเกษตรจังหวัด/อำเภอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน เนื้อหาในรายงานฉบับนี้ประกอบด้วย ภารกิจของหน่วยงาน ข้อมูลพื้นฐาน การเกษตรจังหวัดยะลา โครงสร้างองค์กร อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ รายงานการเงิน และผลการปฏิบัติงานภายใต้ ภารกิจของหน่วยงานตามกลุ่มงาน ได้แก่ งานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การส่งเสริมและพัฒนาการผลิต การส่งเสริมและพัฒนาเกษตรและองค์กรเกษตรกร งานอารักขาพืช ศูนย์เรียนรู้ และงานอื่นๆ ได้แก่ ทะเบียน เกษตรกร โครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์จังหวัดยะลา โครงการตามแผนพัฒนาจังหวัด กลุ่มจังหวัด และโครงการ พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก และภาคผนวกที่ประกอบด้วยการขับเคลื่อนงานส่งเสริม การเกษตรวิถีใหม่ ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา และทำเนียบบุคลากร สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา ผู้จัดทำเอกสาร หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องต่อไป สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา กันยายน 2565


II สำรบัญ หน้า ส่วนที่ 1 ข้อมูลภาพรวมของหน่วยงาน โครงสร้างองค์กร 1 วิสัยทัศน์ ค่านิยม ยุทธศาสตร์ 2 ทำเนียบผู้บริหารระดับจังหวัด 3 ทำเนียบเกษตรอำเภอ 4 อัตรากำลังบุคลากร 5 ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดยะลา 6 ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร 7 งบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 9 ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงาน โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ 11 โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 11 โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน 12 โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ 12 โครงการพัฒนาและขยายผลอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดยะลา 12 โครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์จังหวัดยะลา 17 โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ 18 โครงการส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในระดับไร่นา 19 โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ 19 โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรตามมาตรฐาน GAP 19 โครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรตามอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น 20 โครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสมุนไพร 21 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 22


III สำรบัญ (ต่อ) หน้า ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงาน (ต่อ) โครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 23 โครงการพัฒนาเกษตรกร 25 โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) 26 โครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการเกษตร 28 โครงการส่งเสริมเคหกิจเกษตรในครัวเรือนเกษตรสูงวัย 31 โครงการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน 31 โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และมาตรฐานสินค้าเกษตรแปรรูป 33 โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน 33 โครงการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร (ตลาดเกษตรกร) 33 โครงการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร 34 โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 34 โครงการส่งเสริมการอารักขาพืชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สินค้าเกษตร 39 โครงการส่งเสริมการผลิตกล้วยหินคุณภาพจังหวัดยะลา 39 โครงการพัฒนาคุณภาพไม้ผลที่มีศักยภาพในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 40 โครงการบูรณาการส่งเสริมและพัฒนาข้าวหอมมือลอครบวงจร 42 โครงการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ยกระดับการผลิตไม้ผลอย่างปลอดภัย และได้มาตรฐาน (ทุเรียน ลองกอง มังคุด) 43 ส่วนที่ 3 ภาคผนวก การขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรวิถีใหม่ DOAE NEXT STEP 45 ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา 47 ทะเบียนบุคลากร สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา 50 คณะทำงานจัดทำรายงานประจำปี 2565 54


IV สำรบัญตำรำง หน้า ตาราง 1 อัตรากำลังเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตร จังหวัดยะลา 5 ตาราง 2 ข้อมูลครัวเรือนและพื้นที่รายอำเภอ จังหวัดยะลา 7 ตาราง 3 ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตรรายอำเภอ (ด้านพืช) 7 ตาราง 4 งบประมาณสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลาจากกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2565 9 ตาราง 5 ข้อมูลเป้าหมายและผลการดำเนินการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียน เกษตรกร ปี 2565 จังหวัดยะลา 34 ตาราง 6 ทะเบียนศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จังหวัดยะลา ปี 2565 35


V สำรบัญแผนภูมิ หน้า แผนภูมิ1 พื้นที่ปลูกยางพารารายอำเภอ 8 แผนภูมิ2 พื้นที่ปลูกทุเรียนรายอำเภอ 8 แผนภูมิ3 พื้นที่ปลูกลองกองรายอำเภอ 8 แผนภูมิ4 พื้นที่ปลูกมังคุดรายอำเภอ 8 แผนภูมิ5 พื้นที่ปลูกเงาะรายอำเภอ 8 แผนภูมิ6 พื้นที่ปลูกข้าวรายอำเภอ 8 แผนภูมิ7 พื้นที่ปลูกกล้วยหินรายอำเภอ 8 แผนภูมิ8 พื้นที่ปลูกกาแฟรายอำเภอ 8 แผนภูมิ9 งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรของสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 9


VI ส่วนที่ 1 ข้อมูลภำพรวมของหน่วยงำน


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 1 สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา เป็นหน่วยงานส่งเสริมการเกษตรในส่วนภูมิภาค ภายใต้การบริหารงาน ของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีภารกิจดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร องค์กร เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการผลิต การแปรรูป การเพิ่มมูลค่า การพัฒนาคุณภาพ สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ โดยการศึกษา วิจัย พัฒนา กำหนดแนวทางในการส่งเสริมการเกษตร การถ่ายทอด เทคโนโลยีการเกษตรและให้บริการแก่เกษตรกรในพื้นที่ ให้สามารถประกอบอาชีพด้านการเกษตร มีรายได้ที่มั่นคง ยั่งยืน และสามารถพึ่งพาตนเองได้ โครงสร้ำงองค์กรของส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ ข้อมูลภำพรวมหน่วยงำน ส่วนที่ 1


2 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ วิสัยทัศน์ “เกษตรกรมีควำมเข้มแข็ง มีคุณภำพชีวิตที่ดี ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และมีรำยได้ที่มั่นคง” ค่านิยม “พัฒนำงำน บริหำรงบ ยึดระบบส่งเสริม เพิ่มศักยภำพคน” ยุทธศาสตร์ 1) ขับเคลื่อนและขยำยผลโครงกำรตำมแนวพระรำชด ำริและนโยบำยส ำคัญของ รัฐบำล 2) สร้ำงควำมเข้มแข็งและมั่นคงให้แก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร 3) เพิ่มขดีควำมสำมำรถในกำรแขง่ขนัของสินคำ้เกษตรทสี่ ำคญั ของจังหวัดยะลำ 4) พัฒนำองค์กร กำรบริหำรจัดกำรและระบบส่งเสริมกำรเกษตร ของส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 3 ท ำเนียบผู้บริหำรระดับจังหวัด


4 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ ท ำเนียบเกษตรอ ำเภอ


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 5 ข้อมูลอัตรำก ำลังบุคลำกรของส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ สำนักงานเกษตรอำเภอ/จังหวัดยะลา มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ 128 อัตรา ผู้ปฏิบัติงาน 125 อัตรา อัตราว่าง 3 อัตรา ได้แก่ ระดับชำนาญการพิเศษ 1 อัตรา ระดับปฏิบัติการ/ชำนาญการ 1 อัตรา และปฏิบัติงาน 1 อัตรา ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ตาราง 1 อัตรากำลังเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา ประเภทโครงสร้าง ข้าราชการ พนักงาน ราชการ ลูกจ้าง ประจำ พนักงานเสริมสร้างงาน ส่งเสริมการเกษตร ในพื้นที่ จ้างเหมา ฝ่ายบริหารทั่วไป 5 5 1 0 5 กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต 5 1 0 0 0 กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร 5 1 0 0 0 กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ 4 1 0 0 0 กลุ่มอารักขาพืช 4 0 0 0 0 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองยะลา 6 7 0 1 1 สำนักงานเกษตรอำเภอรามัน 6 10 0 1 2 สำนักงานเกษตรอำเภอเบตง 5 1 0 1 2 สำนักงานเกษตรอำเภอธารโต 5 1 0 1 2 สำนักงานเกษตรอำเภอบันนังสตา 6 1 0 1 2 สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา 5 3 0 1 2 สำนักงานเกษตรอำเภอกาบัง 3 1 0 1 2 สสำนักงานเกษตรอำเภอกรงปินัง 2 3 0 1 2 รวม 62 35 1 8 20


6 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดยะลำ “ยะลา” มาจากภาษาพื้นเมืองเดิมว่า "ยะลอ” ซึ่งแปลว่า "แห” ตามประวัติตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงตอนต้น กรุงรัตนโกสินทร์ "เมืองยะลา” เป็นส่วนหนึ่งของเมืองมณฑลปัตตานี ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าให้มีการปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาคใหม่ เป็นการปกครอง แบบเทศาภิบาล ยะลาเป็น 1 ใน 7 หัวเมือง ตามประกาศข้อบังคับสำหรับการปกครอง 7 หัวเมือง ร.ศ. 120 ซึ่งในแต่ละเมืองมีพระยาเมืองเป็นผู้รักษาราชการ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑล นครศรีธรรมราช ต่อมาในปีพุทธศักราช 2476 ได้มีการยุบเลิกมณฑลปัตตานี และได้มีการจัดระเบียบราชการ บริหารส่วนภูมิภาคจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน เมืองยะลา จึงเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน เมืองยะลา ได้มีการย้ายที่ตั้งมาแล้ว 4 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านยะลา ครั้งที่ 2 ย้ายไปตั้งที่ตำบลท่าสาป (ฝั่งซ้ายของแม่น้ำปัตตานี) ครั้งที่ 3 ย้ายไปตั้งที่เมืองสะเตง (ทางฝั่งขวาของแม่น้ำ ปัตตานี) และครั้งที่ 4 ย้ายไปตั้งที่ตำบลบ้านนิบง ในสมัย อำมาตย์โทพระรัฐกิจวิจารณ์ (สวาสดิ์ ณ นคร) ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา คนที่ 10 (พ.ศ.2456 – 2458) ได้วางผังเมืองด้วยการหาจุดศูนย์กลางใจเมือง โดยปักหลักไว้และเอาก้อนหินวางไว้เป็นเครื่องหมาย เรียกว่า “กิโลศูนย์” และลากเส้นวงกลมเป็นถนนเป็นชั้นๆ ลักษณะใยแมงมุมเป็นผังเมืองที่สวยที่สุดในประเทศไทย จังหวัดยะลา เป็นจังหวัดใต้สุดของประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 5 - 7 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 100- 102 องศาตะวันออก ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามทางรถไฟสายใต้ 1,039 กิโลเมตร และตามถนน เพชรเกษมสายเก่า 1,395 กิโลเมตร หรือสายใหม่ 1,084 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 4,521 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 2.8 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.4 ของพื้นที่ภาคใต้ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับ จังหวัดสงขลา และปัตตานี ทิศใต้ ติดกับ รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันออก ติดกับ จังหวัดนราธิวาส และรัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตก ติดกับ จังหวัดสงขลา และรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของจังหวัดยะลา มีลักษณะเป็นภูเขา เนินเขาและหุบเขา มีแม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำสายบุรีไหลผ่าน


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 7 ข้อมูลพื้นฐำนด้ำนกำรเกษตร ปีพ.ศ. 2564 จังหวัดยะลา มีครัวเรือนทั้งหมด 171,049 ครัวเรือน เป็นครัวเรือนเกษตรกร 72,791 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 42.55 มีพื้นที่ทั้งหมด 2,859,544 ไร่ เป็นพื้นที่ถือครองทางการเกษตร จำนวน 1,724,273 ไร่ มีการใช้ประโยชน์ปลูกพืชเศรษฐกิจ 4 อันดับแรก ได้แก่ ยางพารา 1,061,109 ไร่ ทุเรียน 89,897 ไร่ ข้าว 47,632 ไร่ และลองกอง 25,896 ไร่ นอกจากนี้มีการปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้นอื่นๆ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน มังคุด กล้วยหิน เงาะ หมาก กาแฟ และส้มโชกุน ตามลำดับ ตาราง 2 ข้อมูลครัวเรือนและพื้นที่รายอำเภอ จังหวัดยะลา อำเภอ ครัวเรือน พื้นที่ (ไร่) ครัวเรือน ทั้งหมด ครัวเรือน เกษตรกร ทั้งหมด ทำการเกษตร อื่นๆ รวม 133,094 72,791 2,861,812 1,732,275 1,132,762 เมือง 32,608 10,337 174,226 116,506 59,142 เบตง 27,084 8,371 823,816 348,132 475,684 บันนังสตา 16,298 13,342 382,123 255,367 126,756 ธารโต 6,095 4,448 462,372 289,047 173,325 ยะหา 12,903 9,740 310,960 238,751 72,209 รามัน 24,343 16,422 318,801 226,740 93,864 กาบัง 7,135 4,343 277,266 164,423 112,843 กรงปินัง 6,628 5,788 112,248 93,309 18,939 ตาราง 3 ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตรรายอำเภอ (ด้านพืช) อำเภอ ยางพารา ทุเรียน ข้าว ลองกอง ปาล์ม น้ำมัน มังคุด กล้วย หิน เงาะ หมาก กาแฟ ส้ม โชกุน รวม 1,061,109 89,878 47,638 25,896 6,544 6,722 3,924 2,042 4,310 829 625 เมือง 51,045 2,066 16,085 1,226 1,058 975 56 325 684 - 2 เบตง 308,090 30,097 - 990 248 3,094 44 311 124 79 572 บันนังสตา 182,810 25,742 250 7,026 141 250 3,002 155 256 456 10 ธารโต 100,423 19,667 - 2,478 64 1,017 105 396 - 69 - ยะหา 175,585 2,619 337 1,164 634 528 201 145 86 72 4 รามัน 162,976 3,402 30,870 9,718 4,310 593 167.25 485 156 148 - กาบัง 1,466 2,098 - 1,488 - 72 77 26 - - 0 กรงปินัง 78,714 4,187 96 1,806 89 193 272 199 188 5 37


8 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ แผนภูมิ 1 พื้นที่ปลูกยางพารารายอำเภอ (ไร่) แผนภูมิ 2 พื้นที่ปลูกทุเรียนรายอำเภอ (ไร่) แผนภูมิ 3 พื้นที่ปลูกลองกองรายอำเภอ (ไร่) แผนภูมิ 4 พื้นที่ปลูกมังคุดรายอำเภอ (ไร่) แผนภูมิ 5 พื้นที่ปลูกเงาะรายอำเภอ (ไร่) แผนภูมิ 6 พื้นที่ปลูกข้าวรายอำเภอ (ไร่) แผนภูมิ 7 แสดงพื้นที่ปลูกกล้วยหินรายอำเภอ (ไร่) แผนภูมิ 8 แสดงพื้นที่ปลูกกาแฟรายอำเภอ (ไร่)


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 9 งบประมำณ ประจ ำปีงบประมำณ พ.ศ. 2565 สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลาได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก 3 แหล่งหลักๆ คือ กรมส่งเสริม การเกษตร ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้รับงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ดำเนินโครงการพัฒนา และเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ตาราง 4 งบประมาณสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลาจากกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2565 แผนภูมิ 9 งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรของสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกรมส่งเสริม การเกษตร ได้รับ เบิกจ่าย ร้อยละ รวม 21,401,642 21,213,992.71 99.12 งบดำเนินงาน 10,315,872 10,202,419.14 98.90 งบบุคลากร 10,126,770 10,053,573.57 99.27 งบลงทุน 959,000 958,000 99.90 21,401,642.00 3,568,700 2,309,800 4,485,775 21,213,992.71 3,458,496 2,303,248 4,473,195 งบกรมสง่เสรมิการเกษตร งบยุทธศาสตร์ฯจังหวัด งบยุทธศาสตร์ฯ กลุ่มจังหวัด งบเศรษฐกิจฐานราก งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ประจ าปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 เบิกจ่าย ได ้รับ


10 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ ส่วนที่ 2 ผลกำรด ำเนินงำน


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 11 1. โครงกำรคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระรำชำนุเครำะห์ฯ สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา ดำเนินโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ จัดบริการ คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ จำนวน 4 ครั้ง ให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ได้แก่ คลินิกดิน คลินิกพืช คลินิกปศุสัตว์ คลินิกประมง โดยกรมประมง คลินิกชลประทาน คลินิกสหกรณ์ คลินิกบัญชี คลินิกกฎหมาย และอื่นๆ ซึ่งมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิชาการ หน่วยงานส่งเสริม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมพัฒนา ฟื้นฟูเกษตรกรให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืนในอาชีพ รวมถึงเจ้าหน้าที่ได้ให้บริการ เกษตรกรได้ทั่วถึง และครอบคลุมทุกปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 วันที่ 29 ธันวาคม 2564 ณ วัดทุ่งยอ ตำบลตาเซะ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เกษตรกรเข้าร่วม จำนวน 187 ราย ครั้งที่ 2 วันที่ 17 มีนาคม 2565 ณ โรงเรียนบ้านบางลาง ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เกษตรกรเข้าร่วม จำนวน 216 ราย ครั้งที่ 3 วันที่ 26 พฤษภาคม 2565 ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอ กรงปินัง ตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา เกษตรกรเข้าร่วม จำนวน 199 ราย ครั้งที่ 4 วันที่ 25 กรกฎาคม 2565 ณ โรงเรียนธารโตวัฑฒนวิทย์ ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เกษตรกรเข้าร่วม จำนวน 323 ราย 2. โครงกำรศูนย์ศึกษำกำรพัฒนำอันเนื่องมำจำกพระรำชด ำริ สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา ดำเนินโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พัฒนา ยกระดับเกษตรกรต้นแบบ จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านกระบวนการแบบมีส่วนร่วม จำนวน 25 ราย และคัดเลือกเกษตรกรไข่แดง 5 ราย และเกษตรกรไข่ขาว 20 ราย เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2565 และ วันที่ 28 มิถุนายน 2565 ณ ห้องประชุม 3 สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อจัดทำ แปลงเรียนรู้ส่งเสริมการเกษตร ส่งผลให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเข้าโครงการไปปรับใช้ได้จริง ภายในแปลงของตนเอง และมีจุดเรียนรู้ในพื้นที่ ผลกำรด ำเนินงำนส่งเสริมกำรเกษตร ส่วนที่ 2


12 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 3. โครงกำรเกษตรเพื่ออำหำรกลำงวัน สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลาร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอ ดำเนินโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในโรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดน (ตชด.) จำนวน 6 โรงเรียน และโรงเรียนสังกัดอิสลาม จำนวน 2 โรงเรียน รวมทั้ง 6 หมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่โรงเรียน ตชด. ตั้งอยู่ ในช่วงเดือนธันวาคม 2564 ถึง เดือนพฤษภาคม 2565 ด้วยการถ่ายทอด ความรู้ด้านเกษตรให้ครู นักเรียน และผู้ปกครอง พร้อมสนับสนุนปัจจัยการผลิตด้านเกษตร เพื่อจัดทำแปลงผลิตพืช ภายในโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ได้รับความรู้ ด้านการเกษตร เกิดทักษะด้านการผลิต การขยายพันธ์พืช การป้องกันโรคแมลงศัตรูพืชแบบผสมผสาน รวมถึงการแปรรูป ถนอมอาหารจากผลผลิตทางการเกษตร สามารถนำผลผลิต มาประกอบเลี้ยงอาหารกลางวันให้กับนักเรียน ทั้งนี้ เกิดการขยายผล องค์ความรู้การพัฒนาจากโรงเรียนสู่ระดับครัวเรือนในหมู่บ้าน ที่โรงเรียนตั้งอยู่ 4. โครงกำรฟำร์มตัวอย่ำงตำมพระรำชด ำริ สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา ดำเนินงานโครงการฟาร์ม ตัวอย่างตามพระราชดำริ โดยสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่ ฟาร์มตัวอย่าง สำหรับจัดทำแปลงเรียนรู้หรือแปลงตัวอย่าง เกษตรทฤษฎีใหม่ภายในฟาร์ม จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ฟาร์ม ตัวอย่างฯ วังพญา - ท่าธง อำเภอรามัน และฟาร์มตัวอย่างฯ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เพื่อให้ฟาร์มสามารถจัดทำแปลง เรียนรู้หรือแปลงตัวอย่างเกษตรทฤษฎีใหม่ภายในฟาร์ม เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ 5. โครงกำรพัฒนำและขยำยผลอันเนื่องมำจำกพระรำชด ำริ จังหวัดยะลำ (งบยุทธศำสตร์กำรพัฒนำจังหวัด) กิจกรรมพัฒนาขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการเพื่อชุมชนเข้มแข็งและร่มเย็นบ้านสันติ 2 ตามพระราชดำริ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา ดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการเพื่อชุมชนเข้มแข็งและร่มเย็นบ้านสันติ 2 ตามพระราชดำริสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ส่งเสริมการปลูกพืชทางเลือกตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ให้บริการเชิงรุกในพื้นที่ห่างไกล ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรแก่เกษตรกร จำนวน 20 ราย เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565 ณ ศาลาประชาคม หมู่ที่ 6 ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา โดยมีเกษตรกรเป้าหมาย จำนวน 20 ราย และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับการสนับสนุนปัจจัย การผลิตด้านพืช สามารถนำองค์ความรู้และปัจจัยการผลิตไปปรับใช้ในพื้นที่


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 13 กิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อขับเคลื่อนโครงการเกษตร เพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียน - จัดอบรมให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงแก่นักเรียนและครูจำนวน 820 ราย จาก 196โรงเรียน ระหว่างวันที่ 7-10กุมภาพันธ์ 2565โดยแบ่งการอบรมเป็น 2 สายๆ ละ 4 รุ่นๆ ละ 1 วัน ดังนี้ สายที่ 1 จัดอบรม ณ โรงเรียนบ้านโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เป้าหมาย : โรงเรียนในพื้นที่อำเภอเมืองยะลา และอำเภอรามัน เข้าอบรม จำนวน 400 ราย หลักสูตร : หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดทำบัญชีกระบวนการกลุ่มยุวเกษตรกร การปลูกผัก ในภาชนะ การขยายจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง การเพาะเลี้ยงแหนแดง และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร (แหนมเห็ดนางฟ้า) สายที่ 2 จัดอบรม ณ โครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เป้าหมาย : โรงเรียนในพื้นที่อำเภอยะหา อำเภอกาบัง อำเภอกรงปินัง อำเภอบันนังสตา อำเภอธารโต และอำเภอ เบตง เข้าอบรม จำนวน 384 ราย หลักสูตร : หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดทำบัญชีกระบวนการกลุ่มยุวเกษตรกร การผลิตเห็ด นางฟ้า การเพาะเลี้ยงแหนแดง การผลิตปุ๋ยใช้เอง และการปลูกพืชผัก - สนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ เครื่องมืออุปกรณ์ทำการเกษตร หัวเชื้อ EM ถุงเพาะปลูก ปุ๋ยอินทรีย์ ดินปลูก ถาดเพาะกล้า และเมล็ดพันธุ์ผัก ให้แก่โรงเรียน จำนวน 196 โรง และนักเรียน จำนวน 588 ราย ส่งผลให้ โรงเรียนมีแปลงเสริมสร้างประสบการณ์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อขับเคลื่อนโครงการเกษตร เพื่ออาหารกลางวัน และนักเรียนได้อบรมความรู้/ฝึกปฏิบัติด้านการเกษตร สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้


14 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ กิจกรรมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนต้นแบบ สนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่โรงเรียน เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับอำเภอ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู่แก่ผู้ที่สนใจ และจัดทำคู่มือการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจพอเพียงแก่โรงเรียน จำนวน 8 โรง ดังนี้ 1) โรงเรียนบ้านพร่อน ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา 2) โรงเรียนบ้านยือโร๊ะ ตำบลบาโงย อำเภอรามัน 3) โรงเรียนบ้านตันหยง ตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา 4) โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส ตำบลบาละ อำเภอกาบัง 5) โรงเรียนบ้านโฉลง ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง 6) ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านภักดี ตำบลเขื่อน บางลาง อำเภอบันนังสตา 7) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนิคมพิทักษ์ราษฎร์ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต และ 8) โรงเรียนบ้านอัยเยอร์เวง ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง กิจกรรมขยายผลเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในชุมชน 2 กิจกรรมย่อย 1. อบรมเกษตรกร จำนวน 160 ราย ในพื้นที่ 8 อำเภอๆ ละ 20 ราย หลักสูตร : หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การทำบัญชีการจัดการดินปุ๋ย การผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์ ชีวภาพ เทคนิคการปลูกพืชและการขยายพันธุ์พืช และดำเนินการจัดอบรมขยายผลเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ในชุมชน ดังนี้ - วันที่21 มีนาคม 2565 ณ โรงเรียนบ้านพร่อน ตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และโรงเรียนบ้านยือโร๊ะ ตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา - วันที่ 22 มีนาคม 2565 ณ โรงเรียนบ้านตันหยง ตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา และโรงเรียนบ้านคลองน้ำใส ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา - วันที่ 23 มีนาคม 2565 ณ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านภักดี ตำบลเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา และโรงเรียนบ้านโฉลง ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา -วันที่ 24 มีนาคม 2565 ณ โรงเรียนบ้านอัยเยอร์เวง ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และโรงเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดนนิคมพิทักษ์ราษฎร์ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา 2. สนับสนุนวัสดุการเกษตรให้แก่กลุ่มเกษตรกร จำนวน 8 กลุ่ม อำเภอละ 1 กลุ่ม ส่งมอบปัจจัยการผลิต ระหว่างวันที่ 18 - 20 กรกฎาคม 2565


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 15 ผลที่เกิด : เกษตรกรนำความรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต นำปัจจัย ทางการเกษตรที่ได้รับการสนับสนุนไปพัฒนาต่อยอดในการประกอบอาชีพ รวมทั้งการทำกิจกรรมด้านการเกษตร ทำให้มีรายได้ที่มั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ดอกเมืองหนาวและไม้ประดับเพื่อการค้า - อบรมเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ จำนวน 100 ราย เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ณ สวนหมื่นบุปผา โครงการไม้ดอกเมืองหนาวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านปิยะมิตร 2 ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัด ยะลา หลักสูตร การผลิตไม้ใบประดับเพื่อการค้า การให้ปุ๋ย และฝึกปฏิบัติการขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ โดยการตัดชำใบ การแบ่งหัว และการเพาะเมล็ด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ ผลการดำเนินงาน มีผู้เข้าอบรม ดังนี้ 1) กลุ่มขยายผลบ้านยะรม อำเภอเบตง 2) กลุ่มหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 10 อำเภอเบตง 3) กลุ่มขยายผลหมู่บ้านวังใหม่ อำเภอเบตง 4) กลุ่มไม้ดอกบ่อน้ำร้อน อำเภอเบตง 5) กลุ่มขยายผล บ้านธารโต อำเภอธารโต 6) เครือข่ายสมาชิกกลุ่มขยายผล ตำบลคีรีเขต อำเภอธารโต 7) เครือข่ายสมาชิก กลุ่มขยายผลตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต 8) เครือข่ายสมาชิกกลุ่มขยายผลตำบลถ้ำทะลุ อำเภอบันนังสตา 9) เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอเบตง สำนักงานเกษตรอำเภอธารโต สำนักงานเกษตรอำเภอบันนังสตา และสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา และ 10) เกษตรกรผู้สนใจ - สนับสนุนปัจจัยการผลิต : ผู้เข้าอบรมได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตไม้กระถาง ไม้ประดับ ไม้ตัดดอก และวัสดุการเกษตร จำนวน 80 ราย ผลที่เกิด : เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะด้านการผลิตไม้ดอกเมืองหนาวและไม้ประดับ เพื่อการค้า การผลิตไม้ดอกเมืองหนาวและไม้ประดับเพื่อการค้าของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมีประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้น


16 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ กิจกรรมขยายผลการปลูกไม้ดอกเมืองหนาวและไม้ประดับเพื่อการค้า - สนับสนุนวัสดุการเกษตร ได้แก่ พันธุ์ไม้ดอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี และวัสดุเกษตร ให้แก่เกษตรกร ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 8 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มขยายผลบ้านยะรม อำเภอเบตง 2) กลุ่มหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 10 อำเภอเบตง 3) กลุ่มขยายผลหมู่บ้านวังใหม่ อำเภอเบตง 4) กลุ่มไม้ดอกบ่อน้ำร้อน อำเภอเบตง 5) กลุ่มขยายผล บ้านธารโต อำเภอธารโต 6) เครือข่ายสมาชิกกลุ่มขยายผล ตำบลคีรีเขต อำเภอธารโต 7) เครือข่ายสมาชิก กลุ่มขยายผลตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต และ 8) เครือข่ายสมาชิกกลุ่มขยายผลตำบลถ้ำทะลุ อำเภอบันนังสตา - ปรับพื้นที่และสนับสนุนวัสดุสร้างโรงเรือนปลูกไม้ดอกไม้ประดับให้แก่กลุ่มเครือข่ายสมาชิกกลุ่มขยายผล ตำบลถ้ำทะลุไม้ดอกเมืองหนาว ตำบลถ้ำทะลุ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ผลที่เกิด : เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการผลิตไม้ดอกเมืองหนาวและไม้ประดับเพื่อการค้า สามารถประกอบการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพิ่มแปลงขยายผลการปลูกไม้ดอกและไม้ประดับเพื่อการค้า สร้างรายได้ แก่เกษตรกร และเจ้าหน้าที่มีความรู้ทักษะด้านการผลิต/ขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับเพิ่มขึ้น กิจกรรมเพิ่มศักยภาพการผลิตของโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ วังพญา - ท่าธง สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา ดำเนินงานโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ โดยสนับสนุนปัจจัย การผลิตให้แก่ฟาร์มตัวอย่างฯสำหรับจัดทำแปลงเรียนรู้หรือแปลงตัวอย่างเกษตรทฤษฎีใหม่ภายในฟาร์ม ณ ฟาร์มตัวอย่างฯ วังพญา - ท่าธงอำเภอรามัน จังหวัดยะลา


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 17 กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตดอกไม้โครงการไม้ดอกเมืองหนาวอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่มีคุณภาพ ดำเนินการสนับสนุนวัสดุและอุปกรณ์ระบบน้ำหยดในโรงเรือนผลิตดอกไม้ แม่พันธุ์ไม้ดอกและไม้กระถาง ให้แก่โครงการไม้ดอกเมืองหนาวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เพื่อให้เกษตรกรสามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตดอกไม้ให้มีคุณภาพ เพิ่มมูลค่าผลผลิตที่มีคุณภาพ ลดต้นทุน ด้านแรงงาน เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ สามารถนำไปขยายผลแก่เกษตรกร และพัฒนาโครงการไม้ดอกเมืองหนาวฯ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีศักยภาพ 6. โครงกำรเสริมสร้ำงภำพลักษณ์จังหวัดยะลำ (งบยุทธศำสตร์กำรพัฒนำจังหวัด) จัดงานแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมผลไม้และของดีเมืองยะลา ประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ณ สำนักงานเกษตร จังหวัดยะลา โดยนายภิรมย์ นิลทยา ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา นายกัสมัน ยะมาแล เกษตรจังหวัดยะลา นายกเทศมนตรีนครยะลา รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา และประธานศูนย์คัดแยกผลไม้ ชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดยะลา ร่วมแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมผลไม้ และของดีเมืองยะลา ประจำปี 2565 จัดงานมหกรรมผลไม้และของดีเมืองยะลา ประจำปี 2565 ระหว่าง วันที่ 13 – 15 สิงหาคม 2565 ณ สนามโรงพิธีช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เพื่อประชาสัมพันธ์การจำหน่ายผลไม้ ผลผลิตด้านปศุสัตว์ เสริมสร้างภาพลักษณ์ของจังหวัด กระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งเสริม การท่องเที่ยวจังหวัดยะลา โดยจัดนิทรรศการด้านการเกษตรของหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดยะลา การประกวดผลไม้ ผลผลิต และผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร การจำหน่ายผลผลิต ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร พันธุ์พืช ขบวนแห่รถผลไม้ การเสวนาแลกเปลี่ยนแนวทางในการผลิตทุเรียนคุณภาพ และการบริหารจัดการแปลงทุเรียน


18 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 7. โครงกำรระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป้าหมาย: แปลงใหญ่ จำนวน 41 แปลง หลักสูตร : การพัฒนาคุณภาพ การเชื่อมโยงการตลาด และการบริหารจัดการกลุ่ม - สนับสนุนการรวมกลุ่ม มีการบริหารจัดการร่วมกัน รวมกันผลิต และรวมกันจำหน่ายโดยมีตลาดรองรับ ที่แน่นอน โดยใช้แนวทางการพัฒนา Smart Group ของกรมส่งเสริมการเกษตร - จัดเวทีการถ่ายทอดความรู้ การศึกษาดูงาน และการพบปะแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่ม โดยร่วมบูรณาการ การดำเนินกิจกรรมต่างๆ จากหน่วยงานภายในกรมส่งเสริมการเกษตร เช่น การจัดการศัตรูพืช การจัดการดิน และปุ๋ย เป็นต้น และการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก มีการบูรณาการจัดทำหลักสูตรการจัดทำแผนธุรกิจ - เตรียมความพร้อม เข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือสินเชื่อต่างๆ -สนับสนุนวัสดุในการพัฒนาคุณภาพผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ทำแปลงเรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต ทดสอบหรือสาธิตเทคโนโลยีในประเด็นที่เกษตรกรต้องการทราบ หรือเทคโนโลยีที่ต้องการชักชวน ให้เกษตรกรพัฒนา ภายใต้ความเห็นชอบของสมาชิกและบูรณาการกับหน่วยงานวิชาการในพื้นที่ ผลที่เกิด : เกษตรกรมีการรวมกลุ่มผลิตสินค้าเกษตรตามแนวทางระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ ด้วยกระบวนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม เกษตรกรที่เป็นสมาชิกแปลงใหญ่ ร้อยละ 60 สามารถลดต้นทุน การผลิต มีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น มีตลาดรองรับภายใต้การบริหารจัดการที่ดี สามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร รวมถึงพื้นที่การเกษตรได้รับการพัฒนาสู่ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ไม่น้อยกว่า 12แปลง


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 19 8. โครงกำรส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภำพกำรใช้น้ ำในระดับไร่นำ - อบรมถ่ายทอดความรู้หลักสูตร “การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าสำหรับ เกษตรกร” แก่เกษตรกร จำนวน 50 ราย โดยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.เครือข่าย) ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัด ยะลา - จัดทำแปลงเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในระดับไร่นา จำนวน 1 แปลง ณ หมู่ที่ 8 ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ผลที่เกิด : เกษตรกรมีการใช้น้ำอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ ได้ผลตอบแทนสูงขึ้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากแปลงเรียนรู้นำความรู้ไปปรับ ใช้ในไร่นาของตนเองได้อย่างเหมาะสม 9. โครงกำรส่งเสริมกำรผลิตสินค้ำเกษตรอินทรีย์ - อบรมเกษตรกรเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และศึกษาดูงาน (รายเดิม ปี 2564) จำนวน 17 ราย และจัดศึกษาดูงาน ณ สวนเกษตรผสมผสาน นูริส ฟาร์ม ตำบลลำใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เพื่อจูงใจให้ เกษตรกรสามารถผลิตสินค้าเกษตรสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้ - อบรมเกษตรกรเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (รายใหม่) เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 ณ ศูนย์เรียนรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก. เครือข่าย) ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 10 ราย -สนับสนุนปัจจัยการผลิตเกษตรอินทรีย์ จำนวน 17 แปลง ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์ สารชีวภัณฑ์ เมล็ดพันธุ์ เป็นต้น โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลาได้ติดตามประเมินแปลงเบื้องต้น - ให้คำแนะนำเกษตรกร สร้างความพร้อมในการขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 10. โครงกำรส่งเสริมกำรผลิตสินค้ำเกษตรตำมมำตรฐำน GAP ขับเคลื่อนส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรผู้ผลิตพืชในแปลงใหญ่และพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการผลิต และการตลาดสินค้าเกษตร ให้มีการพัฒนาระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม ตลอดห่วงโซ่อุปทาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ประกอบด้วยการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ - อบรมเกษตรกรเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP และศึกษาดูงาน จำนวน 225 ราย - ติดตามให้คำแนะนำและตรวจประเมินแปลงเบื้องต้นในแปลงเกษตรกร จำนวน 225 ราย 258 แปลง


20 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ - สนับสนุนการจัดการและพัฒนาผลิตผลสินค้าเกษตร GAP สนับสนุนตะกร้า เข่ง บรรจุภัณฑ์และสติกเกอร์ เครื่องหมายการรับรอง GAP แก่เกษตรกร จำนวน 225 ราย ผลที่เกิด: เกษตรกรได้ความรู้ระบบมาตรฐาน GAP มีการผลิตสินค้าเกษตรตามระบบคุณภาพและมาตรฐาน GAP เพิ่มขึ้น การผลิตมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกษตรกรเป้าหมาย ร้อยละ 70 ผ่านการประเมินแปลงเบื้องต้น สามารถขอการรับรองตามระบบมาตรฐาน GAP 11. โครงกำรส่งเสริมอำชีพด้ำนกำรเกษตรตำมอัตลักษณ์และภูมิปัญญำท้องถิ่น ผลไม้พื้นถิ่นเป็นผลไม้ในกลุ่มรองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและได้รับความนิยมสูง ซึ่งจะเห็นได้จาก มูลค่าการซื้อขายในประเทศสูง และมีตลาดเฉพาะ 1. พัฒนาเกษตรกรผลิตไม้ผลอัตลักษณ์พื้นถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่สู่มาตรฐานเพื่อการรับรองสินค้า GI -ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสินค้าไม้ผลอัตลักษณ์พื้นถิ่น (มังคุดในสายหมอก) ให้แก่เกษตรกร 45 ราย -จัดทำแปลงเรียนรู้การผลิตไม้ผลอัตลักษณ์ที่ได้มาตรฐาน (มังคุดในสายหมอก) จำนวน 1 แปลง - พัฒนาสินค้าไม้ผลอัตลักษณ์สู่กระบวนการรับรองมาตรฐาน GIและตรวจสอบย้อนกลับได้ โดยการจัดเวที จัดเก็บข้อมูลเพื่อเก็บข้อมูลการผลิตไม้ผลอัตลักษณ์ และการเขียนเรื่องราวพืชอัตลักษณ์ 2. พัฒนาการสร้างมูลค่าเพิ่ม การตลาด การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สินค้า - ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ผลไม้ไทย ปี 2565 ---จัดงานเปิดฤดูกาลเก็บเกี่ยวทุเรียนสะเด็ดน้ำมีดแรก และการประกวดทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองจังหวัดยะลา ประจำปี 2565 ---นำสินค้าอัตลักษณ์ไปประชาสัมพันธ์ข้ามถิ่น ณ จังหวัดเชียงใหม่ - พัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลไม้อัตลักษณ์ โดยจัดทำบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้พืชอัตลักษณ์ จำนวน 2 ชนิดสินค้า คือ มังคุดในสายหมอก และทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา - พัฒนาจุดรวบรวมและจัดชั้นคุณภาพไม้ผลอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น (มังคุดในสายหมอก) จำนวน 1 แห่ง 3. บริหารงานตามยุทธศาสตร์ผลไม้โดยติดตามคาดคะเนสถานการณ์ผลไม้ระดับจังหวัดและระดับอำเภอ - เพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำข้อมูลประมาณการผลผลิตไม้ผล โดยการสำรวจแปลงพยากรณ์ และจัดทำ Focus group ระดับจังหวัด 3 ครั้ง และระดับอำเภอๆ ละ 3 ครั้ง รวม 24 ครั้ง 4. บริหารจัดการโครงการ - สรุปผลและติดตามการดำเนินงานโครงการ จำนวน 2 ครั้ง


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 21 12. โครงกำรส่งเสริมกำรเพิ่มประสิทธิภำพกำรผลิตสมุนไพร ขับเคลื่อนส่งเสริมพัฒนาศักยภาพและการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสมุนไพรของตนเอง การผลิต สอดคล้องกับความต้องการของตลาด สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต สร้างช่องทางการตลาด เพื่อความยั่งยืน ในอาชีพ 1) กิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสมุนไพร - จัดเวทีวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่พืชสมุนไพรของเกษตรกรดำเนินการที่ หมู่ที่ 3 บ้านลูโบ๊ะปันยัง ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา จำนวน 30 ราย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564กิจกรรมพัฒนาความรู้และศักยภาพ ของเกษตรด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสมุนไพร 2) กิจกรรมพัฒนาความรู้และศักยภาพของเกษตรด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสมุนไพร - จัดอบรมพัฒนาความรู้และศักยภาพของเกษตรด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสมุนไพร กิจกรรม พัฒนาความรู้และศักยภาพของเกษตรด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสมุนไพร กิจกรรมย่อย จัดเวทีวิเคราะห์ ศักยภาพพื้นที่พืชสมุนไพร เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564 เกษตรกรที่เข้าร่วมเวที จำนวน 30 ราย หลักสูตร กระบวนการผลิตพืชสมุนไพร การตลาด และความรู้ที่เกษตรกรต้องการ ได้แก่ การผลิตพืชสมุนไพร หญ้าหวาน และการสาธิตการจัดทำลูกประคบ ณ อาคารอเนกประสงค์ กูโบร์บ้านลูโบะปันยัง หมู่ที่ 3 ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา และศึกษาดูงาน ณ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโหนด ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา 3) จัดทำจุดเรียนรู้การปลูกพืชสมุนไพร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสมุนไพรและขยายพันธุ์พืชสมุนไพร พันธุ์ดี ปลูกหญ้าหวาน ไพล กระชาย และตะไคร้ตามแผนความต้องการของกลุ่ม ดำเนินการ ณ แปลงเรียนรู้ การผลิตสมุนไพรของนายอิสมะแอ เต็มหลง เลขที่ 122 หมู่ที่ 3 ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา


22 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 13. โครงกำรเพิ่มประสิทธิภำพกำรผลิตสินค้ำเกษตร กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน - อบรมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากล แก่เกษตรกร จำนวน 30 ราย 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 และวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ณ อาคาร อเนกประสงค์ หมู่ที่ 5 ตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา - ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มปาล์มน้ำมัน ผลที่เกิด : เกษตรกรได้รับความรู้การจัดการสวนปาล์มอย่างมีประสิทธิภาพ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ทำให้ มีผลผลิตที่มีคุณภาพ มีความรู้การบริหารจัดการกลุ่มเพื่อยกระดับเป็นแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน กิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมะพร้าวเพื่อความยั่งยืน - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาความรู้และศักยภาพของเกษตรกรทางด้านการผลิต การแปรรูป การตลาด และการรวมกลุ่ม จำนวน 25 ราย 2 ครั้ง โดยถ่ายทอดความรู้วิเคราะห์สภาพพื้นที่ สภาพการผลิต และการตลาด พันธุ์และการปลูก การใส่ปุ๋ย การให้น้ำ และการดูแลรักษา แมลงศัตรูพืชมะพร้าว การลดต้นทุนการผลิต การแปรรูปและการเพิ่มมูลค่าจากมะพร้าว - ศึกษาดูงานการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมะพร้าว ณ กลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าว หมู่ที่ 4 ตำบลปะนาเระ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี โดยมีประธานกลุ่มแปลงใหญ่บรรยายให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการกลุ่ม การเพิ่มมูลค่า ให้สินค้า การผลิต การตลาด และช่องทางการจำหน่าย - สนับสนุนอุปกรณ์ระบบน้ำและพืชแซมมะพร้าว เพื่อจัดทำแปลงเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มะพร้าว ปี 2565 ของนางวิไลวรรณ จันทรพงศ์ หมู่ที่ 1 ตำบลลำใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 23 14. โครงกำรต ำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในจังหวัดชำยแดนภำคใต้ โครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานแก้ไขปัญหา มิติเศรษฐกิจ/การพัฒนา ในกลุ่มภารกิจที่ 5 งานพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่และคุณภาพชีวิตประชาชน โดยน้อมนำ แนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และศาสตร์ของพระราชา “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานบนฐานของความต้องการของประชาชนและศักยภาพของพื้นที่ เสริมสร้าง ความเข้มแข็งและความมั่นคงในการประกอบอาชีพ เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร ลดรายจ่าย สร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สร้างเกษตรกรและชุมชนที่เข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ กิจกรรมงานตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ - จัดเวทีชุมชน รวบรวมข้อมูลความต้องการเพื่อวางแผนพัฒนาร่วมกัน จำนวน 8 อำเภอๆ ละ 1 ตำบล รวม 24 ครั้ง งบประมาณ 240,000 บาท - ถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีด้านการเกษตรตามการวิเคราะห์ชุมชนแก่เกษตรกร รวม 800 ราย งบประมาณ 240,000 บาท -สนับสนุนปัจจัยการผลิตด้านการเกษตรตามการวิเคราะห์ชุมชน จำนวน 8 แห่ง งบประมาณ 240,000 บาท กิจกรรมส่งเสริมการทำการเกษตรเพื่อความมั่นคงทางอาหาร -ส่งเสริมทำแปลงต้นแบบเกษตรผสมผสาน เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร ปีที่ 1 (ปี2565) จำนวน 7 แห่ง ดังนี้ อำเภอเมือง 2 แห่ง ได้แก่ ตำบลสะเตงนอก และตำบลยะลา อำเภอรามัน 3 แห่ง ได้แก่ ตำบลตะโละหะลอ ตำบลกะลูปัง และตำบลกาลอ อำเภอเบตง 1 แห่ง ที่ตำบลธารน้ำทิพย์อำเภอบันนังสตา 1 แห่ง ที่ตำบลถ้ำทะลุ งบประมาณ 315,000 บาท - ส่งเสริมทำแปลงต้นแบบเกษตรผสมผสาน เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ยั่งยืน ปีที่ 2 (ต่อเนื่อง ปี 2564) จำนวน 20 แห่ง ใน 8 อำเภอ โดยสนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบประมาณ 140,000 บาท - ส่งเสริมทำแปลงต้นแบบเกษตรผสมผสาน เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ยั่งยืน ปีที่ 3 (ต่อเนื่อง ปี 2563) จำนวน 9 แห่ง ใน 8 อำเภอ โดยสนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบประมาณ 45,000 บาท - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเกษตรกรต้นแบบการทำการเกษตรผสมผสาน (เกษตรกรปีที่ 3) จำนวน 1 ครั้ง ดำเนินการต่อเนื่องในพื้นที่แปลงต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ มีองค์ความรู้เด่น โดยเจ้าหน้าที่และเกษตรกร


24 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จำนวน 30 ราย ร่วมระดมความคิดเห็น นำเสนอองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อน การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ งบประมาณ 15,080 บาท กิจกรรมส่งเสริมการทำการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง - ถ่ายทอดความรู้เพื่อประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แก่เกษตรกรที่มีรายได้ตกเกณฑ์ จปฐ. จำนวน 60 ราย ใน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอรามัน อำเภอกรงปินัง อำเภอยะหา อำเภอธารโต และอำเภอ เบตง และสนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ โดยดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม 2565 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 -ส่งเสริมการผลิตพืชตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 60 แปลง ใน 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอรามัน อำเภอกรงปินัง อำเภอยะหา อำเภอธารโต และอำเภอเบตง - ส่งเสริมการผลิตพืชตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงปีที่ 2 (ต่อเนื่องปี 2564) จำนวน 130 แปลง ใน 8 อำเภอ แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - ส่งเสริมการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับการผลิตและเชื่อมโยงตลาด แก่กลุ่มเกษตรกร เป้าหมาย จำนวน 8 กลุ่ม ในพื้นที่ทั้ง 8 อำเภอ กิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งและสร้างความเชื่อมโยงในระดับพื้นที่ จ้างเหมางานเสริมสร้างงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ จำนวน 8 ราย อำเภอละ 1 ราย เพื่อสนับสนุน การปฏิบัติงานของสำนักงานเกษตรอำเภอในโครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยังยืน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ งบประมาณ 960,000 บาท ระยะเวลาการจัดจ้างเดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2565 ปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ประสานงานโครงการ รวบรวมข้อมูลเกษตรกร ติดตามวางแผนการผลิตร่วมกับเกษตรกร และติดตามเยี่ยมเยียน ให้คำแนะนำเจ้าหน้าที่และเกษตรกรในพื้นที่ดำเนินการตามกิจกรรม


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 25 15. โครงกำรพัฒนำเกษตรกร กิจกรรมการพัฒนาอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน - ประชุมคณะกรรมการบริหารงานอาสาสมัครเกษตรระดับจังหวัด จำนวน 15 รายเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 เพื่อรายงานผลการส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครเกษตรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดทำแนวทาง การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานอาสาสมัครเกษตรจังหวัดยะลา กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนากระบวนการปฏิบัติงาน - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน จำนวน 80 ราย ใน 8 อำเภอ ดำเนินการเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 เพื่อจัดทำแผนการผลิตรายบุคคล (IFPP) และขยายผลถ่ายทอดความรู้ ที่ได้รับสู่อาสาสมัครเกษตร/อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ผลที่เกิด : อาสาสมัครเกษตรและอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน มีความรู้ความเข้าใจในโครงสร้าง การบริหารงานและการขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตร และมีความรู้ที่จำเป็นต่อการสนับสนุนภารกิจ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สามารถทำงานตามบทบาทหน้าที่ มีส่วนร่วมในการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร ในพื้นที่ และสามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายต่างๆ ได้ อีกทั้งมีโอกาสแสดงศักยภาพความเป็นผู้นำ ประชาสัมพันธ์ ผลงานจนเป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับของเกษตรกรในพื้นที่ กิจกรรมส่งเสริมการทำเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่สวนปาล์มน้ำมัน ยางพารา - อบรมเกษตรกรยางพารา/ปาล์มน้ำมัน วันที่ 19 มกราคม 2565 ด้านการบริหารจัดการเกษตรแบบผสมผสานให้เป็นอาชีพเสริมของ เกษตรกรชาวสวนยางพารารายย่อย/ปาล์มน้ำมันรายย่อยตามศักยภาพ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอบันนังสตา ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 การพัฒนาศักยภาพการผลิตที่มีความหลากหลาย เป็นต้นแบบเกษตร ผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ณ สำนักงานเกษตรอำเภอบันนังสตา ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา - ทัศนศึกษาดูงานการผลิตที่มีความหลากหลาย เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ดังนี้ แปลงเกษตรกรเกษตรผสมผสานต้นแบบ ปี 2564 ของนายมะรูดิง มามะ หมู่ที่ 9 ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ซึ่งมีการปลูกพืชผักแซมสวนทุเรียน การเลี้ยงปลาน้ำจืด การปลูกกาแฟเป็นพืชร่วม ยางพารา การทำสวนทุเรียน และการทำสวนยางพารา


26 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ การทำเกษตรแบบผสมผสาน ของนายอับดุลอาซิส อีซอ หมู่ที่ 8 ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ ปลูกพืชแซมสวนทุเรียน การเลี้ยงปลาน้ำจืด การปลูก กาแฟเป็นพืชร่วมยางพารา และการทำสวนยางพารา - สนับสนุนการจัดทำแปลงต้นแบบเกษตรผสมผสาน คัดเลือก เกษตรกร จำนวน 2 ราย สนับสนุนต้นพันธุ์กาแฟพันธุ์โรบัสต้า ต้นพันธุ์พริกไทย และปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อปลูกแซมทุเรียน และปลูกเป็นพืชร่วมยางพารา แก่นายมะสุเด็ง วาแม หมู่ที่ 8 ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา สนับสนุนต้นพันธุ์ผักเหลียง และปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อปลูกเป็นพืชร่วมยางพาราแก่นางสาวนูรมา อภิบาลแบ หมู่ที่ 2 ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา 16. โครงกำรพัฒนำเกษตรกรปรำดเปรื่อง (Smart Farmer) กิจกรรมการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่องและเกษตรกรรุ่นใหม่ - อบรมพัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้เป็น Young Smart Farmer ครั้งที่ 1 จัดประชุมผ่านวีดีทัศน์ทางไกลด้วย Application Zoom Cloud Meeting ระหว่าง วันที่ 12 – 13 มกราคม 2565 เพื่อปรับกระบวนทัศน์ สร้างแรงจูงใจ การจัดทำแผนกิจกรรม (แผนการผลิต/ การตลาด) ค้นหาความต้องการด้านวิชาการและเทคโนโลยีของเกษตรกรรุ่นใหม่ และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประกอบอาชีพการเกษตรของแต่ละคน ประเมินคุณสมบัติ Young Smart Farmer ก่อนการเรียนรู้ การจัดหา ช่องทางในการเรียนรู้การสื่อสารและการสร้างเครือข่าย และรับฟังบรรยาย เรื่องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับพืชอาหาร (GAP) โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอทุกอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม 2565 ถึง 1เมษายน 2565 ทัศนศึกษาดูงานเรื่อง การเลี้ยงผึ้งจิ๋วและการแปรรูปน้ำผึ้ง ณ ฟาร์มผึ้งจิ๋ว ครูรวิน อำเภอเบตง และการขยายพันธุ์ทุเรียนคุณภาพ ณ สวนศักดิ์ศรี อำเภอเบตง ฟังบรรยาย เรื่องการใช้สารชีวภัณฑ์ป้องกันศัตรูพืช เพื่อลดต้นทุนการผลิต การเชื่อมโยงสินค้าเกษตรคุณภาพผ่านระบบ ออนไลน์และนำเสนอผลงานจากการเรียนรู้


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 27 กิจกรรมการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) - อบรมพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ด้านการพูด ในที่ชุมชนและการพัฒนาบุคลิกภาพ การจัดการดินและปุ๋ย และการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน จำนวน 80 ราย ระหว่างวันที่ 11 - 12 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา เกษตรกรได้รับการพัฒนา คิดเป็นร้อยละ 87.5 เป็น Smart Farmer จำนวน 70 ราย เป็น Developing Smart Farmer จำนวน 10 ราย เป็น Smart Farmer ต้นแบบ จำนวน 20 ราย ผลที่เกิด : เกษตรกรได้รับการประเมินศักยภาพ และจัดทำแนวทางการพัฒนาให้ตรงตามความต้องการ ของเกษตรกร ได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตสินค้าเกษตร การเพิ่มประสิทธิภาพการเกษตร การลดต้นทุน การผลิต การบริหารจัดการทุนและทรัพยากร และการบริหารจัดการองค์กร เกิดเครือข่ายเกษตรกร กิจกรรมการพัฒนา Smart Farmer สู่ผู้ประกอบการเกษตรชั้นนำ (Agri-biz idol) - อบรมหลักสูตรเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ ศึกษาดูงาน ระหว่างวันที่ 15 - 16 มิถุนายน 2565 - เรื่อง การจัดระบบการผลิตสินค้าเกษตรและการเชื่อมโยงตลาด (ตลาดนำการผลิต) ณ ศูนย์บ่มเพาะ เกษตรกรรุ่นใหม่ (เครือข่าย) มืองาบังฟาร์มเห็ดตำบลบางเก่า อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ของนายมูฮัมมัดซาฟิต ยะพา Young Smart Farmer ต้นแบบจังหวัดปัตตานี - เรื่อง การเชื่อมโยงเครือข่ายกระบวนการดำเนินงานกิจกรรมตลาดนำการเกษตรปลอดภัย (ผักสลัด) ณ ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ (เครือข่าย) syifaa farm ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี ของนายก่อศิม มายุดิน Young Smart Farmer ต้นแบบจังหวัดปัตตานี


28 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ - เรื่อง การวางแผนการผลิตพืชเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ และการทำการเกษตรผสมผสานเพื่อให้เกิดรายได้ครบวงจร ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า เกษตรอำเภอธารโต จังหวัดยะลา ของนายธำรงศักดิ์ ชุมนุมมณี Young Smart Farmer ต้นแบบจังหวัดยะลา และสรุปผลการเรียนรู้ - สนับสนุนวัสดุการเกษตรแก่เกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer เจ้าของศูนย์บ่มเพาะฯ เครือข่าย และคณะทำงานเครือข่าย Young Smart Farmer ระดับจังหวัด จำนวน 2 แห่ง 17. โครงกำรสร้ำงควำมเข้มแข็งกลุ่มกำรผลิตด้ำนกำรเกษตร - ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มอาชีพการเกษตรให้มีความเข้มแข็ง จำนวน 2 กลุ่ม สมาชิกจำนวน 30 ราย ได้แก่ กลุ่มส่งเสริมอาชีพโรงเรียนเกษตรกรผักบ้านบันนังกระแจะ ตำบลธารโต อำเภอธารโต และกลุ่มส่งเสริมอาชีพเยาวชนทายาทเกษตรกรบ้านตะโละ ตำบลยะต๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ได้รับการพัฒนาศักยภาพ ของกลุ่ม ยกระดับจากระดับปรับปรุงเป็นระดับปานกลาง ทำให้สมาชิกลุ่ม ช่วยเหลือกันและกัน มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ สามารถเพิ่ม ประสิทธิภาพการบริหารจัดการการผลิต การเพิ่มมูลค่าการผลิต และการตลาด เกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจครัวเรือนและชุมชน ไปสู่ความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเอง พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ ต้นแบบได้ - ส่งเสริมพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 1) พัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ ครัวเรือน เป้าหมาย กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปลาส้มบ้านบาตูมัส ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา มีสมาชิก เข้าร่วม จำนวน 15 ราย - จัดกระบวนการเรียนรู้ ⧫ระยะที่ 1 เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565 เพื่อประเมินสถานการณ์ วิเคราะห์ศักยภาพตนเอง/พื้นที่ และจัดทำแผนการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจครัวเรือน ณ ที่ทำการ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปลาส้มบ้านบาตูมัส ⧫ระยะที่ 2 วันที่ 8 มีนาคม 2565 เพื่อพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจครัวเรือน ณ สำนักงานเกษตรอำเภอธารโต


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 29 - พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจครัวเรือน โดยสนับสนุนป้าย ไวนิลพร้อมขาตั้งอะลูมิเนียมแบบพับเก็บได้และกระเป๋าเก็บ (โรลอัพ) จำนวน 3 ชุด สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรได้รับการพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากร และได้รับการพัฒนาศักยภาพให้เป็น แหล่งเรียนรู้ต้นแบบในการจัดการเรียนรู้รวมถึงเป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้ขยายผลสู่ชุมชน และเป็นศูนย์กลาง ของการสร้างเครือข่ายในการดำเนินกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาให้องค์กรเกษตรกรมีความเข้มแข็ง 2) พัฒนาศักยภาพกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ Smart Group จำนวน 1 กลุ่ม คือ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรพัฒนาอาชีพเกษตรกรบ้านทุ่งยามู ตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา สมาชิกเข้าร่วม จำนวน 10 ราย - จัดกระบวนการเรียนรู้ ณ ที่ทำการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร พัฒนาอาชีพเกษตรกรบ้านทุ่งยามู ⧫ระยะที่ 1 วันที่ 25 มกราคม 2565 เพื่อประเมินสถานการณ์ วิเคราะห์ศักยภาพตนเอง/พื้นที่ จัดทำแผนการพัฒนากลุ่มสู่ Smart Group ⧫ระยะที่ 2 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อพัฒนาศักยภาพ กลุ่มสู่ Smart Group - สนับสนุนบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ ถุงบรรจุผัก และสติ๊กเกอร์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตร การผลิต การเพิ่มมูลค่า การบริการและการตลาด รวมทั้งการเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของครัวเรือนและชุมชน กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้นำในการขับเคลื่อนงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในชุมชน จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มศักยภาพผู้นำในการขับเคลื่อนงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ระดับจังหวัด เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565 ณ ห้องประชุม 3 สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา มีเกษตรกรเข้าร่วม จำนวน 24 ราย พัฒนาศักยภาพผู้นำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับอำเภอ จำนวน 40 คน ดำเนินการเดือนธันวาคม 2564 ในพื้นที่ 8 อำเภอของจังหวัดยะลา ส่งผลให้เกิดเครือข่ายกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับจังหวัด เพื่อเป็นแกนนำ ในการประสานงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านบทบาทสตรีในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน และ สนับสนุนการพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการทำงานส่งเสริมเคหกิจเกษตร


30 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพกลุ่มยุวเกษตรกรต้นแบบ (Smart Group Model) พัฒนาทักษะด้านการเกษตร สร้างความเข้าใจกระบวนการดำเนินงาน กลุ่มยุวเกษตรกร ให้สามารถเขียนแผนการเรียนรู้ แผนการดำเนินกิจกรรม กลุ่มได้โดยคัดเลือกกลุ่มยุวเกษตรกร จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกร โรงเรียนบ้านตันหยง อำเภอยะหา และกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดนนิคมพิทักษ์ราษฎร์อำเภอธารโต สมาชิกกลุ่มละ 15 ราย รวมทั้งสิ้น 30 ราย - จัดกระบวนการเรียนรู้วันที่ 8 และ 14 ธันวาคม 2564 ถ่ายทอด ความรู้เรื่อง การปักชำแบบความแน่น การเพาะต้นอ่อนผักบุ้ง และกระบวนการ กลุ่มยุวเกษตรกร ณ โรงเรียนบ้านตันหยง อำเภอยะหา และโรงเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดนนิคมพิทักษ์ราษฎร์ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต - สนับสนุนวัสดุการเกษตรเพื่อพัฒนากลุ่มยุวเกษตรกรต้นแบบ ตามแผนพัฒนากลุ่ม กิจกรรมส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารระดับชุมชน เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีความสามารถในการผลิตอาหารบริโภคในครัวเรือนได้ตลอดปี ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในครัวเรือน และเกิดความมั่นคงด้านอาหารในระดับชุมชน แก่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบือแนบุดี ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา สมาชิกเข้าร่วม จำนวน 15 ราย - จัดกระบวนการเรียนรู้ ⧫ระยะที่ 1 วันที่ 29 ธันวาคม 2564 สร้างการรับรู้ วิเคราะห์ศักยภาพตนเอง/พื้นที่ และจัดทำแผน สร้างความมั่นคงด้านอาหารระดับชุมชน ⧫ระยะที่ 2 วันที่ 26 มกราคม 2565 พัฒนาทักษะด้านการเกษตรและเคหกิจเกษตร เพื่อสร้าง ความมั่นคงด้านอาหารระดับชุมชน


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 31 18. โครงกำรส่งเสริมเคหกิจเกษตรในครัวเรือนเกษตรสูงวัย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมเกษตรสูงวัย และเพิ่มขีดความสามารถ ของเกษตรสูงวัยในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 1) ส่งเสริมเคหกิจเกษตรในครัวเรือนเกษตรสูงวัย - จัดเวทีเรียนรู้ ⧫เวที1 สร้างการรับรู้เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมเกษตรสูงวัยและถ่ายทอดความรู้ด้านเคหกิจ เกษตรเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในครัวเรือนเกษตรสูงวัย วันที่ 9 ธันวาคม 2564 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลตาชี ตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา เกษตรกรเข้าร่วม จำนวน 10 ราย ⧫เวที 2 ประเมินสถานการณ์วิเคราะห์ศักยภาพตนเอง เพื่อจัดทำแผนการจัดการบ้านเกษตรสมบูรณ์ ในครัวเรือนเกษตรสูงวัยแบบมีส่วนร่วม วันที่ 20 มกราคม 2565 ณ นูริสฟาร์ม ตำบลลำใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เกษตรกรเข้าร่วม จำนวน 10 ราย 2) ส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อสร้างรายได้เสริมจากการประกอบอาชีพในกลุ่มเกษตรสูงวัย - จัดเวทีเรียนรู้ ⧫เวที1 ส่งเสริมการรวมกลุ่ม การจัดตั้งกองทุน และการจัดทำแผนเพื่อสร้างรายได้เสริม จากการประกอบอาชีพในกลุ่มเกษตรสูงวัยแบบมีส่วนร่วม วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ณ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา เกษตรกรเข้าร่วม จำนวน 10 ราย ⧫เวที2 พัฒนาทักษะด้านการเกษตรและเคหกิจเกษตร เพื่อสร้างรายได้เสริมจากการประกอบอาชีพ ในกลุ่มเกษตรสูงวัย เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 ณ สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา มีเกษตรกรเข้าร่วม จำนวน 10 ราย 3) สนับสนุนปัจจัยการผลิตด้านการเกษตรให้แก่กลุ่มส่งเสริมอาชีพปลูกผักเพื่อสุขภาพตำบลตาชี ทั้งแปลง รายบุคคลและแปลงรวม 19. โครงกำรส่งเสริมและพัฒนำวิสำหกิจชุมชน (วสช.) ส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน อำเภอละ 1แห่ง รวม 8แห่ง ได้แก่ 1) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร แปรรูปการเกษตรบ้านตาโล๊ะ อำเภอเมือง 2) วิสาหกิจชุมชนสตรีสหกรณ์บ้านละแออำเภอยะหา3) กลุ่มเกษตรกรบาโงย รวมพลังโคเนื้อ อำเภอรามัน 4)วิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรโกปีมัส อำเภอธารโต 5) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้าน เกษตรกรบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 อำเภอกาบัง 6) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรไม้ผลบราแง อำเภอกรงปินัง 7) วิสาหกิจชุมชน ทุเรียนคุณภาพนาปราง อำเภอบันนังสตา และ 8) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรกือติง อำเภอเบตง


32 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ - ส่งเสริมและพัฒนากิจการวิสาหกิจชุมชน โดยการประเมินศักยภาพและจัดทำแผนพัฒนากิจการ ⧫ครั้งที่ 1 เพื่อประเมินสถานการณ์และวางแผนพัฒนากิจการวิสาหกิจชุมชน ผลการประเมิน พบว่ามี วสช.ระดับปานกลาง จำนวน 7 แห่ง และระดับปรับปรุง จำนวน 1 แห่ง ⧫ครั้งที่ 2 เพื่อประเมินศักยภาพภายหลังการพัฒนา พบว่าอยู่ในระดับดี 8 แห่ง - การยกระดับวิสาหกิจชุมชน จากระดับปานกลางเป็นดี 7 แห่ง และจากระดับปรับปรุงเป็นดี 1 แห่ง - สนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อยกระดับวิสาหกิจชุมชนตามแผนพัฒนากิจการวิสาหกิจชุมชน ให้แก่ วิสาหกิจชุมชน อำเภอละ 1 แห่ง รวม 8 แห่ง - ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน โดยจัดเวทีเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินกิจกรรม และได้รับความรู้ความเข้าใจ ในการบริหารจัดการและจัดทำกิจกรรมในรูปแบบเครือข่ายมากขึ้น - ส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนต้นแบบ โดยจัดประกวด วิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 33 20. โครงกำรพัฒนำผลิตภัณฑ์และมำตรฐำนสินค้ำเกษตรแปรรูป - วันที่ 25 ธันวาคม 2564 อบรมพัฒนาทักษะด้านการแปรรูป สินค้าเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และการตลาดให้กับ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านยือนัง ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา หลักสูตรการทำโดนัทยีสต์หน้าแฟนซี - วันที่ 30 ธันวาคม 2564 พัฒนาทักษะวิสาหกิจชุมชนแม่บ้าน ทำปลาส้มบ้านป่าบอน ตำบลท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา หลักสูตร การทำตลาดออนไลน์ - สนับสนุนการดำเนินงานตามแผนความต้องการพัฒนากระบวนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต วิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมโครงการฯ วิสาหกิจชุมชนละ 35,000 บาท 21. โครงกำรส่งเสริมกำรท่องเที่ยวชุมชน เป้าหมาย วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านเหมืองลาบู ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา - อบรมพัฒนาศักยภาพเกษตรกรด้านการบริหารจัดการ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยและเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565 -สนับสนุนตามแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยจัดทำจุดพักนักท่องเที่ยว จำนวน 1 จุด - ยกระดับแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัย งบประมาณ 3,000 บาท มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีความพร้อมเข้าสู่การตรวจประเมินของกรมการท่องเที่ยว จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบันนังลูวา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มาตรฐานคุณภาพระดับดีมาก และวิสาหกิจชุมชน รักษ์ฮาลา – บาลา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา มาตรฐานคุณภาพระดับดี 22. โครงกำรพัฒนำระบบตลำดภำยในส ำหรับสินค้ำเกษตร (ตลำดเกษตรกร) - จัดอบรมและศึกษาดูงานแก่เกษตรกรผู้จำหน่ายสินค้าในตลาดเกษตรกรหรือตลาดสินค้าเกษตร ⧫ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2565 ณ แปลงเกษตรกร นางสุดใจ หนูลาย ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 10 ราย ⧫ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 5 -6 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องประชุม 1สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา


34 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ - นำเกษตรกรศึกษาดูงานตลาดเกษตร ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 10 ราย - พัฒนาตลาดเกษตรกร จัดทำผ้ากันเปื้อน ผ้าปูโต๊ะ และจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับใช้ทำความสะอาดบริเวณ ตลาด เกษตรกรสามารถจัดการผลิตให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของตลาด จำหน่าย ได้อย่างต่อเนื่อง 23. โครงกำรขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร เป้าหมายขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ประจำปี 2565 จำนวน 51,000 ครัวเรือน ดำเนินการได้ 52,045 ครัวเรือน ข้อมูลแยกเป็นรายอำเภอ ดังตารางที่ 5 ตาราง 5 ข้อมูลเป้าหมายและผลการดำเนินงานขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ปี 2565 จังหวัดยะลา ที่ อำเภอ จำนวนครัวเรือน ในระบบ ทบก. (ครัวเรือน) การจัดเก็บและปรับปรุงข้อมูล เป้าหมาย ปี 2565 ผลการปรับปรุง ทบก. (ครัวเรือน) ครัวเรือน ร้อยละ 1 เมืองยะลา 8,902 8,591 8,652 100.71 2 เบตง 7,275 6,511 6,699 102.89 3 บันนังสตา 8,955 7,999 8,048 100.61 4 ธารโต 4,335 4,080 4,203 103.01 5 ยะหา 5,723 5,371 5,394 100.43 6 รามัน 11,281 10,536 10,699 101.55 7 กรงปินัง 4,041 3,729 3,795 101.77 8 กาบัง 4,657 4,215 4,555 108.07 รวม 55,169 51,000 52,045 102.05 24. โครงกำรศูนยเ์รยีนรกู้ำรเพิ่มประสิทธภิำพกำรผลติสินคำ้เกษตร (ศพก.) โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ดำเนินงานโดยร่วมบูรณาการกับ ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การบริหารจัดการและการตลาดแก่เกษตรกร โดยเน้นการเรียนรู้ จากเกษตรกรต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ในประเด็นการเพิ่ม ผลผลิต การลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาคุณภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต ตลอดจนยึดหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรกรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรต้นแบบ ในลักษณะของเกษตรกรสอนเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรที่มาเรียนรู้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และเกิดจิตสำนึกในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้านการเกษตร


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 35 การดำเนินงานของ ศพก. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มี 2 ส่วน ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้ 1. การดำเนินงานในส่วนศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และศูนย์เครือข่าย กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)และศูนย์เครือข่าย พัฒนาศักยภาพ ศพก. และศูนย์เครือข่าย ให้มีความพร้อม ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของชุมชน และเป็นสถานที่ ให้บริการข่าวสารและบริการด้านการเกษตร โดยเกษตรกรต้นแบบ คณะกรรมการ (ศพก.) สำนักงานเกษตรอำเภอ ร่วมกันวิเคราะห์ ศักยภาพของ ศพก. ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 ถึงเดือนมิถุนายน 2565 และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาปรับปรุง ศพก. ตาราง 6 ทะเบียนศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จังหวัดยะลา ปี 2565


36 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ กิจกรรมพัฒนาเกษตรกร -อบรมเกษตรกรผู้นำ ⧫อบรมเกษตรกรผู้นำ เกษตรกรรายใหม่ หรือเกษตรกรที่เป็นสมาชิกแปลงใหญ่ หรือเกษตรกรที่เตรียม เพื่อจะเข้าเป็นสมาชิกแปลงใหญ่ จำนวน 30ราย/อำเภอ จัดเวทีเรียนรู้ 2 ครั้ง ศึกษาดูงาน จำนวน 1 ครั้ง เกษตรกรได้รับการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี สามารถปรับเปลี่ยนระบบการผลิตสินค้าเกษตรได้เหมาะสม ส่งผลให้มีความเข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้ ⧫อบรมประธานศูนย์เครือข่าย 1 ครั้ง ช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 ถึงเดือนมิถุนายน 2565 เพื่อพัฒนา ศักยภาพของประธานศูนย์เครือข่ายในประเด็นการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่เหมาะสม สามารถเป็นต้นแบบการทำเกษตรด้านต่างๆ ให้แก่เกษตรกรในชุมชนได้ กิจกรรมการสนับสนุนการให้บริการของ ศพก. และศูนย์เครือข่าย จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2565 ใน 8 อำเภอ เกษตรกรได้รับ การถ่ายทอดความรู้ ตามฐานเรียนรู้ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเป้าหมายและประเด็นการถ่ายทอด ดังนี้ อำเภอยะหา วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 ณ แปลงใหญ่ทุเรียนตำบลตาชี ตำบลตาชี อำเภอยะหา ประเด็น การพัฒนาคุณภาพผลผลิตทุเรียน อำเภอธารโตวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอธารโต ประเด็นการพัฒนาคุณภาพผลผลิตทุเรียน อำเภอกรงปินัง วันที่ 10 มีนาคม 2565 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรเครือข่าย ตำบลปุโรง ประเด็นการลดต้นทุนการผลิต อำเภอกาบัง วันที่ 24 มีนาคม 2565 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอกาบัง ประเด็นการจัดการโรคและการปลูกพืชร่วมยาง


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 37 อำเภอเมืองยะลา วันที่ 30 มีนาคม 2565 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอเมือง ประเด็นการลดต้นทุนการผลิต อำเภอบันนังสตา วันที่ 15 มิถุนายน 2565 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอบันนังสตา ประเด็นการผลิตทุเรียนคุณภาพ อำเภอรามัน วันที่ 23 มิถุนายน 2565 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรเครือข่าย ตำบลจะกว๊ะ ประเด็นการใช้ประโยชน์ที่ดินสูงสุด อำเภอเบตง วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรเครือข่าย ตำบลตาเนาะแมเราะ ประเด็นการพัฒนาคุณภาพผลผลิต การบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานเครือข่าย ศพก. เชื่อมโยงกับแปลงใหญ่ สร้างเครือข่ายด้านการผลิต การตลาด โดยมี ศพก. และศูนย์เครือข่าย เป็นแหล่งองค์ความรู้ - ประชุมคณะกรรมการเครือข่าย ศพก. และแปลงใหญ่ ระดับจังหวัด ในรูปแบบปกติ และรูปแบบสัญจร จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุม 3 สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอยะหา - ประชุมคณะกรรมการเครือข่าย ศพก.และแปลงใหญ่ ระดับอำเภอ ในรูปแบบปกติ จำนวน 2 ครั้ง กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) พัฒนาเกษตรกรศูนย์เครือข่าย เป้าหมายศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน จำนวน 23ศูนย์รวม 690 คน -อบรมเกษตรกร สมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลตาชี อำเภอยะหา จำนวน 10 รายโดยกระบวนการ โรงเรียนเกษตรกร จำนวน 4 ครั้ง ตามระยะการเจริญเติบโตของพืช (ทุเรียน)


38 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ -จัดทำแปลงเรียนรู้ต้นแบบด้านการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ (ทุเรียน) จำนวน 1 แปลง 1 ไร่ ที่แปลง ทุเรียนของนายวีรวรรธน์ อินเกื้อ หมู่ที่ 1 ตำบลตาชี อำเภอยะหา - ถ่ายทอดความรู้ด้านการอารักขาพืช และส่งเสริมกระบวนการกลุ่มแก่เกษตรกรสมาชิกศูนย์จัดการ ศัตรูพืชชุมชน 8 อำเภอ 9 ศูนย์รวม 262 ราย - สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ และปัจจัยในการผลิตจุลินทรีย์และแมลงศัตรูธรรมชาติแก่ศูนย์จัดการศัตรูพืช ชุมชน จำนวน 8 ศูนย์ - สนับสนุนอุปกรณ์การสำรวจติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชในศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน และพื้นที่เสี่ยง เพื่อดำเนินการสำรวจติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชในพื้นที่ 8 อำเภอ จำนวน 19 แปลง - ดำเนินงานคลินิกพืช โดยพัฒนาเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ และการให้บริการในพื้นที่ จำนวน 15 ราย - ประชุมขับเคลื่อนการดำเนินงานบูรการการเชื่อมโยงเครือข่ายศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนและแปลงใหญ่ ระดับจังหวัด 1 ครั้ง จำนวน 31 ราย - สนับสนุนวัสดุผลิตขยายชีวภัณฑ์เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์บริการชีวภัณฑ์ชุมชน แก่ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง - คัดเลือกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนดีเด่น ระดับจังหวัด ได้แก่ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง หมู่ที่ 6 ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง กิจกรรมการพัฒนาศูนย์เครือข่าย (ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน) - ประชุมเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนระดับจังหวัดและอำเภอ รวม 15 ราย เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องประชุม 3 สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา - จัดเวทีถอดบทเรียนความสำเร็จการขับเคลื่อนศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน 8 ครั้ง 8 อำเภอ รวม 200 ราย - จัดทำแปลงเรียนรู้ด้านการจัดการดินและปุ๋ย จำนวน 8 แปลง - สนับสนุนการจัดทำฐานการเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการดินและปุ๋ย 8 ศูนย์ 8 อำเภอ - ปรับปรุงฐานข้อมูลศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนในแอพพลิเคชั่นรู้ดินรู้ปุ๋ย 8 ศูนย์ 8 อำเภอ -คัดเลือกศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด 1 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 39 25. โครงกำรส่งเสรมิกำรอำรักขำพืชเพื่อเพิ่มประสิทธิภำพกำรผลิตสินค้ำเกษตร - อบรมถ่ายทอดความรู้การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานและการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องปลอดภัย แก่เกษตรกร จำนวน 75 ราย ดังนี้ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 ณ อาคารตาดีกาบ้านบาโด หมู่ที่ 3 ตำบลยุโป อำเภอเมือง วันที่ 18 พฤษภาคม 2565 ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ณ ศจช.ตำบลสะเอะ หมู่ที่ 3 ตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง - สนับสนุนวัสดุป้องกันและกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีผสมผสานแก่เกษตรกร จำนวน 75 ราย พื้นที่ 150 ไร่ - ตรวจวิเคราะห์สารตกค้างในผลผลิตให้แก่เกษตรกร จำนวน 75 ราย 26. โครงกำรส่งเสริมกำรผลิตกล้วยหินคุณภำพจังหวัดยะลำ โรคเหี่ยวในกล้วยหินจากเชื้อแบคทีเรียเกิดการระบาดแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 8 อำเภอ ของจังหวัดยะลา ประมาณ 2,644 ไร่คิดเป็นร้อยละ 81 ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด เกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ทำให้มีผลผลิตกล้วยหินไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จึงขับเคลื่อนการผลิตกล้วยหินคุณภาพยะลา ดังนี้ 1. สำรวจพื้นที่การระบาดของโรค และประเมินสถานการณ์การเกิดโรคเหี่ยวในกล้วย 2. ประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการผลิตกล้วยหินคุณภาพ และสรุป คำแนะนำวิธีการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวในกล้วยหิน 3. วางแผนการปฏิบัติงานแนวทางการส่งเสริมการผลิตกล้วยหินคุณภาพจังหวัดยะลา กำหนดกิจกรรม กรอบระยะเวลาการปฏิบัติงานในพื้นที่เป้าหมายให้สอดคล้องกับบริบทของการปลูกพืชในพื้นที่ 4. สร้างการรับรู้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เพื่อถ่ายทอดคำแนะนำวิธีการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวในกล้วยหิน และแนวทางการส่งเสริมการผลิตกล้วยหินคุณภาพ 5. จัดทำแปลงต้นแบบการป้องกันและกำจัดโรคเหี่ยวกล้วยหิน 6. ถ่ายทอดความรู้การส่งเสริมการผลิตกล้วยหินคุณภาพจังหวัดยะลา


40 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 7. สนับสนุนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบระดับอำเภอ 8. ติดตามผลการดำเนินการ และสรุปผลการดำเนินการ เกิดแปลงต้นแบบการป้องกันและกำจัดโรคเหี่ยวกล้วยหิน ที่นำไปสู่การขยายผลการจัดการโรคเหี่ยวในกล้วยหิน ของจังหวัดยะลา ทำให้มีปริมาณผลผลิตกล้วยหินออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรสนใจขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น 27. โครงกำรพัฒนำคุณภำพไม้ผลที่มีศักยภำพในกลุ่มจังหวัดภำคใต้ชำยแดน ปีงบประมำณ พ.ศ. 2565 (งบยุทธศำสตร์กำรพัฒนำกลุ่มจังหวัด) กิจกรรมพัฒนาทักษะการผลิตทุเรียนให้ได้มาตรฐาน กิจกรรมย่อยที่ 1 อบรมพัฒนาทักษะการผลิตทุเรียนให้ได้มาตรฐาน - วันที่ 12 มกราคม 2565 อบรมพัฒนาทักษะการผลิตทุเรียนให้ได้มาตรฐาน เกษตรกร 8 อำเภอ รวม 100 ราย เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตทุเรียนคุณภาพ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุเรียนให้ได้มาตรฐาน ตามความต้องการของตลาด มีผลผลิตที่ได้คุณภาพเพิ่มขึ้น กิจกรรมที่ 2 เตรียมพร้อมแปลงเกษตรกรจากเกษตรปลอดภัยสู่ทุเรียนอินทรีย์ - วันที่ 19 - 20 มกราคม 2565 อบรมเตรียมพร้อมแปลงเกษตรกรจากเกษตรปลอดภัยสู่ทุเรียนอินทรีย์ แก่เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน 100 ราย ณ ห้องประชุม 3 สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา เรื่อง หลักเกณฑ์การทำเกษตร ปลอดภัยสู่ทุเรียนอินทรีย์การจัดการสวนทุเรียนตามแนวทางเกษตรอินทรีย์การใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทนการใช้ สารเคมีในสวนทุเรียน โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัดยะลา - สนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อจัดทำแปลงเรียนรู้ เตรียมความพร้อมการผลิตทุเรียนแบบอินทรีย์8 อำเภอ รวม 20 แปลง เกษตรกรมีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในการผลิตเกษตรอินทรีย์ ให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน ต้นทุนการผลิตลดลง มีแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ เพิ่มขึ้น และสามารถบริหารจัดการทรัพยากรทางการเกษตรอย่างสมดุลและยั่งยืน


รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ 41 กิจกรรมที่ 3 สร้างการรับรู้ปัญหาโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกร - วันที่ 3กุมภาพันธ์ 2565 อบรมเกษตรกร จำนวน 100 ราย จาก8 อำเภอ ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเมือง - เดือนสิงหาคม 2565 -กันยายน 2565 สนับสนุนปัจจัยการผลิตรายแปลงเพื่อจัดทำแปลงเรียนรู้ 20 แปลง - เกษตรกรมีความรู้การแก้ไขปัญหาโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียนตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกร และสามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง จำนวน 100 ราย มีแปลงเรียนรู้การจัดการโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน จำนวน 20 แปลง กิจกรรมที่ 4 สร้างการรับรู้ปัญหาหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนตามแนวทางโรงเรียนเกษตรกร - วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 อบรมเกษตรกร จำนวน 100 ราย จาก8 อำเภอ ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดยะลา - เดือนสิงหาคม 2565 - กันยายน 2565 สนับสนุนปัจจัยการผลิตรายแปลงเพื่อจัดทำแปลงเรียนรู้ 20 แปลง เกษตรกรมีการรวมกลุ่มผลิตสินค้าเกษตรตามแนวทางระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ โดยมีส่วนร่วม ในกระบวนการดำเนินงานที่เน้นการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ เกิดแปลงเรียนรู้การจัดการหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน จำนวน 20 แปลง ทำให้เกษตรกรสามารถผลิตทุเรียน คุณภาพ และมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงขี้น ร้อยละ 5


42 รำยงำนประจ ำปี 2565 ส ำนักงำนเกษตรจังหวัดยะลำ กิจกรรมพัฒนาทักษะการผลิตลองกองให้ได้มาตรฐาน - วันที่ 1 มิถุนายน 2565 อบรมถ่ายทอดความรู้พัฒนาทักษะการผลิตลองกองคุณภาพ แก่เกษตรกร 8 อำเภอ 2 ครั้งๆ ละ 100 ราย ณ ห้องประชุมศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดยะลา - สนับสนุนปัจจัยการผลิตจัดทำแปลงต้นแบบการผลิตลองกองคุณภาพ จำนวน 10 แปลง กิจกรรมการตรวจรับรองมาตรฐานพืช GAP ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน - อบรมเตรียมความพร้อมเกษตรกรสู่การผลิตตามมาตรฐาน GAP เกษตรกรเป้าหมาย จำนวน 80 ราย - ตรวจประเมินแปลงเบื้องต้น เตรียมความพร้อมในการขอรับรองมาตรฐาน GAP จำนวน 80 แปลง เกษตรกรมีการผลิตสินค้าเกษตรตามระบบคุณภาพและมาตรฐาน GAP เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรมีการจัดการ ระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นที่ต้องการของตลาด 28. โครงกำรบูรณำกำรส่งเสริมและพัฒนำข้ำวหอมมือลอครบวงจร - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบบูรณาการส่งเสริมและพัฒนาข้าวหอมมือลอครบวงจร แก่เกษตรกร จำนวน 100 ราย จำนวน 4 รุ่น ระหว่างวันที่ 12 - 13 ตุลาคม 2565 ณ ที่ตั้งแปลงใหญ่ข้าว หมู่ที่ 1 ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และวันที่ 14 - 15 ตุลาคม 2565 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า เกษตร ตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา - อบรมให้ความรู้การผลิตข้าวหอมมือลอตามกระบวนการเรียนรู้โรงเรียนเกษตรกร จำนวน 50 ราย 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 26 - 27 ตุลาคม 2564 ครั้งที่ 2 วันที่ 9 - 10 พฤศจิกายน 2565 - จัดเวทีสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกข้าวหอมมือลอ - วันที่ 28 ตุลาคม 2564 ส่งเสริมการตลาดข้าวหอมมือลอผ่านช่องทางตลาดออนไลน์ ณ ห้องประชุม 3 สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา - สนับสนุนปัจจัยการผลิตข้าวหอมมือลอ


Click to View FlipBook Version