The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

GEO BOOKการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่ส่งต่อภูมิประเทศ ภูมิอากาศและทรัพยากรธรรมชาติ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Phonchanit Leewanit, 2022-07-12 04:20:13

GEO BOOK การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่ส่งต่อภูมิประเทศ ภูมิอากาศและทรัพยากรธรรมชาติ

GEO BOOKการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่ส่งต่อภูมิประเทศ ภูมิอากาศและทรัพยากรธรรมชาติ

GEO
BOOK

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่
ส่งต่อภูมิประเทศ ภูมิอากาศและ

ทรัพยากรธรรมชาติ



CONTENT

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการ

เปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงทาง
กายภาพ

ภูมิประเทศ
ภูมิอากาศ
ทรัพยากรธรรมชาติ

1. การเปลี่ยนแปลงทาง
กายภาพที่ส่งผลต่อภูมิประเทศ

คือ ภูมิประเทศที่เกิดจากการ
ปรับระดับพื้นผิวโลก จากตัว
กระทำ ทำให้หินที่แตกหัก หรือ
ผุพังอยู่กับที่เกิดการกัดกร่อน

การพัดพาและทับถม

ภูมิประเทศที่เกิดจาก
การกระทำของน้ำและแม่น้ำ

คือ ตะกอนที่เกิดจากการผุพังอยู่กับที่และการ
กร่อนจะถูกธารน้ำไหลพัดพาไปทับถมบนพื้นที่
ต่างๆ ส่งผลให้เกิดภูมิประเทศได้หลายลักษณะ

ภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของน้ำและแม่น้ำ

การกร่อน

เป็นการกระทำของแม่น้ำ
บริเวณท้องน้ำและตลิ่งทั้ง
สองฝั่งของแม่น้ำด้วยการ
ครูดการกระแทกเสียดสี
แรงกระทำทางชลศาสตร์

และการละลาย ได้แก่
น้ำตก แก่ง โกรก ธาร ร่อง

ธาร ห้วย เป็นต้น

การทับถม

การทับถมของตะกอนเมื่อ
กระแสน้ำลดความเร็ววัตถุ
หรือตะกอนต่างๆ ที่มีขนาด
หนักเกินกว่าความเร็วของ
กระแสน้ำจะพัดพาไปได้จึงตก
ทับถมกัน ณ บริเวณใดบริเวณ
หนึ่ง เรียกว่าตะกอนน้ำพา เช่น
คันดินธรรมชาติ ทะเลสาบรูป
แอกวัว เนินตะกอนรูปพัด คัน
ดอนสามเหลี่ยม เป็นต้น

ภูมิประเทศที่เกิดจาก
การทับถมโดยธารน้ำแข็ง

"ธารน้ำ แข็งเกิดจากการสะสมของหิมะจนกลาย
เป็นชั้นหนาและอัดแข็ง ซึ่งจะไหลไปตามความลาด

ชันของหุบเขาทำให้เกิดการกร่อนบนพื้นที่ภูเขา
การเป็นเศษ ตะกอนถูกพัดพาโดยธารน้ำแข็งและ

ตกตะกอน ทับถม เมื่อน้ำแข็งละลายตะกอนที่
ทับถมจากธารน้ำ แข็งมีหลายขนาดปะปนกัน"

ภูมิประเทศที่เกิดจากการทับถมโดยธารน้ำแข็ง

การกร่อน

การที่หินกร่อน เนื่องจากการเคลื่อนตัวขอ ธารน้ำ แข็งทำให้เกิดการ
บด การขูด การกระแทก การเซาะ การขุดลึก การขีดข่วน การขัดสีกัน
ระหว่างที่ธารน้ำ แข็งเคลื่อนที่ผ่านไปและรวมถึงการกร่อนโดยธารน้ำ

แข็งที่เกิดจากการละลายของธารน้ำแข็งอีกด้วย ได้แก่ อาเเรตเซิร์ก
เป็นต้น

การทับถม

การทับถมของกรวด หิน ดิน ทราย ในบริเวณที่ราบถัดจากธารน้ำ
แข็งโดยการกระทำของน้ำที่ละลายและพัดพาเอากรวด หิน ดิน ทราย

ไปด้วย ได้แก่ ที่ราบเศษ หินธารน้ำแข็ง หลุมธารน้ำแข็ง เป็นต้น

ภูมิประเทศที่เกิดจาก
การกระทำของลม

สภาพอากาศที่แห้งแล้งและร้อนจัด
จะมีกระแสลมแรงและอาจเกิดพายุทราย

การกระทำของลมเป็นการกร่อน
การพัดพา และการทับถม.......

ภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของลม

การกร่อน

การที่ลมพัดกร่อนหินให้ผุพังลงแล้วพัดพาเอาเศษหินทรายให้
กระจัดกระจาย ไปจากเดิมและไปตกสะสมในที่อื่น ได้แก่ แอ่งลมหอบ

เขารูปหงอนไก่ ลาดเชิงเขา เป็นต้น

การทับถม

การที่ลมพัดพาตะกอนต่างไปตกทับถมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง
ซึ่งอยู่ห่างไกลแหล่งกำเนิดออกไป ได้แก่เนินทราย

ภูมิประเทศที่เกิดจาก
การกระทำของน้ำใต้ดิน

น้ำใต้ดิน เป็นตัวทำลายของหินและแร่ที่
ละลายน้ำได้ดี เช่น หินปูนหรือหินที่มี
สารเชื่อมที่ละลายน้ำได้ง่าย ส่วนการก
ร่อน การพัดพา และการทับถมจะเกิด
ขึ้นในบางพื้นที่ที่เป็นโพรงใต้ดิน แต่มี

ความรุนแรงน้อย

ภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของน้ำใต้ดิน

การกร่อน

เป็นการละลายของหินปูนหรือเกลือหินโดยน้ำ ใต้ดิน ได้แก่ ถ้ำ หลุม
ยุบ ป่าช้าหินปูน เขาลอมฟาง เป็นต้น

การทับถม

เกิดขึ้นในถ้ำ เมื่อน้ำ ปูนที่ละลายหยดผ่านเพดานถ้ำ เมื่อตกตะกอน
เป็นเกล็ดแร่แคลไซต์ ได้แก่ ที่ราบคาสต์ หินงอก หินย้อย เป็นต้น

ภูมิประเทศที่เกิดจาก
การกระทำของคลื่นและ

กระแสน้ำชายฝั่ง

เป็นพื้นที่ระหว่างแผ่นดินกับระดับน้ำทะเลที่ขึ้น
สูงสุดและลงต่ำสุด

ภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของคลื่นและกระแสน้ำชายฝั่ง



การกร่อน

การกร่อนโดยคลื่นทะเล ได้แก่ หน้าผาชันชายฝั่ง
เกาะหินโด่ง ซุ้ม หิน ชายฝั่ง แหลม เป็นต้น

การทับถม

การทับถมโดยคลื่นและกระแสน้ำชายฝั่ง ได้แก่ หาดสันดอน
ลากูน ชะวากทะเล เป็นต้น

2. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

การที่อุณหภูมิของโลกค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละ
น้อย อันเนื่องมาจาก 2 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ปัจจัย
ทางธรรมชาติและปัจจัยการเปลี่ยนแปลงปริมาณ
และความเข้มข้นของแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาพอากาศ

แปรปรวน แบ่งได้ดังนี้

1.1) ปัจจัยทางธรรมชาติ ที่มีผลทำ ให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น
คือ ปัจจัยทาง ดาราศาสตร์ เช่น ดวงอาทิตย์มีจุดดับมากขึ้น ดวง
อาทิตย์จะแผ่รังสีมากขึ้น
ส่งผลให้อุณหภูมิสูงขึ้นด้วยการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
ในแต่ละฤดูแต่ละละติจูดเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก นอกจากนี้
ปัจจัยทางธรณีวิทยาก็มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศได้ เช่นกัน เช่น การเลื่อนตัวของทวีป การประทุของ
ภูเขาไฟ ที่ทำให้ฝุ่นละอองใน อากาศเพิ่มขึ้นและฝุ่นละอองเหล่า
นี้อาจคงอยู่ในบรรยากาศได้นานถึง 3 ปี จึงส่งผลให้อุณหภูมิ
โลกลดลง

1.2) ปัจจัยที่เกิดจาการเพิ่มแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศ
การเพิ่มความเข้มข้นของ แก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศ จะมี
ผลทำ ให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น โดยจากการที่ นัก
วิทยาศาสตร์ ได้ศึกษาฟองอากาศในแกนน้ำ แข็ง เพื่อศึกษา
สภาพภูมิอากาศใน อดีตเมื่อ 400,000 ปี ที่ผ่านมา ทำ ให้พบ
ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและปริมาณ แก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศกล่าวคือ เมื่อมีปริมาณแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มขึ้น อุณหภูมิของโลกก็จะ
เพิ่มสูงขึ้นตามไป ด้วย

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง
ภูมิอากาศอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิ

อากาศในรูปแบบต่างๆ

1.) ปริมาณน้ำจืดที่ลดลง ภายในเวลา 50 ปี จำนวน ของ
ประชากรที่ขาดแคลนน้ำดื่มจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 5,000 ล้านคน
จากทั้งหมด 8,000 ล้านคน

2.) ผลผลิตการเกษตรตกต่ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ
อากาศ ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรในระดับท้องถิ่นลดลง
จึงมีผลต่อปริมาณอาหารสำรองในโลก

3.) ภัยธรรมชาติรุนแรงที่เกิดมากขึ้น เช่น ความแห้งแล้ง
ไฟป่า อุทกภัย แผ่นดินถล่ม พายุ และอื่นๆ อีกมากมาย จะส่ง
ผลกระทบมหาศาลต่อสังคมและ เศรษฐกิจ

3. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
ที่ส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติ

การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติในโลก ปัจจุบันได้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงทางกายภาพของโลก ทั้งในส่วนที่เกิดจากภายใน
เปลือกโลก การเปลี่ยนแปลงบริเวณพื้นผิวโลกและการ
เปลี่ยนแปลง ในบรรยากาศของโลกอันมีผลกระทบโดยตรง
อ้อมแต่มนุษย์ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่การเกิดขึ้น
อย่างช้า ๆ ไปจนถึงการ เกิดอย่างฉับพลันและรุนแรง ซึ่งส่ง
ผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก

การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรน้ำ

ปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่ม

เกิดจากการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้จนทำให้หน้าดิน เกิด
ความแตกระแหง

ปัญหาน้ำท่วม

เกิดจากสภาพอากาศแปรปรวน

ปัญหามลพิษทางน้ำ

เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมและการปล่อยน้ำ เสียจาก
ครัวเรือนต่าง ๆ

ภาวะโลกร้อน

คือ ภาวะที่บรรยากาศของโลกมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยสูง
ขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุทำ ให้ภูมิอากาศของโลก เปลี่ยนแปลง
ภาวะโลกร้อนอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝน
ระดับน้ำทะเล และส่ง ผลกระทบต่อ พืช สัตว์ และมนุษย์
อย่างมาก ภาวะโลกร้อน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้
อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นคือ ปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่ง
เกิดจากการที่มนุษย์ได้ปล่อยแก๊สเรือนกระจกออกสู่
บรรยากาศในปริมาณมาก

ความแห้งแล้ง

คือ ลักษณะภูมิอากาศที่มีฝนน้อยกว่าปกติหรือฝนไม่ตกตาม
ฤดูกาล เป็นระยะเวลานานกว่าปกติและครอบคลุมพื้นที่
บริเวณกว้าง ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ พืชพันธุ์ไม้
ต่าง ๆ ขาดน้ำทำ ให้ไม่เจริญเติบโตตามปกติ ส่งผลให้ผู้คนได้
รับความ เดือดร้อนโดยทั่วไป ความแห้งแล้งเป็นภัย
ธรรมชาติประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในภูมิภาค
ต่างๆของโลก

อ้างอิง

GEO BOOK

งานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา
สังคมศึกษา (ส32101)

ภาถเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์

เสนอ
คุณครูวาสนา ทองจิบ

จัดทำโดย

นางสาวนิตินาถ หมาดทิ้ง
เลขที่ 37

[email protected]
ฮอ นอ
0849982295


Click to View FlipBook Version