The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นายสุทิน จันทรวรเชตต์ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

นายสุทิน จันทรวรเชตต์ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่

นายสุทิน จันทรวรเชตต์ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่

Keywords: ศึกษาธิการจังหวัด,ศึกษาธิการจังหวัดแพร่

หน้าที่ | ๑ เอกสารนำเสนอข้อมูล นายสุทิน จันทรวรเชตต์ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ ๑. ประวัติบุคคล ชื่อ-สกุล นายสุทิน จันทรวรเชตต์ ตำแหน่ง ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๑-๓๘๖๔๙๐๒ Line ID ๐๘๑-๓๘๖๔๙๐๒ เกิดวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖ ประวัติการศึกษา กศ.ม. การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร น.บ. นิติศาสตร มหาวิทยาลัยรามคำแหง คบ. การประถมศึกษา สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา ประวัติรับราชการ ๑ มิ.ย. ๒๕๔๒ อาจารย์๑ ระดับ ๓ โรงเรียนบ้านนาคำมูลชมพูพร อ.รัตนวาปี จ.หนองคาย ๓ ธ.ค. ๒๕๕๐ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา สพป. ลำปาง เขต ๑ ๑ ม.ค. ๒๕๕๓ ผู้อำนวยการสถานศึกษา สพป. ลำปาง เขต ๒ ๑๘ ก.พ. ๒๕๖๓ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต ๑ ๘ ก.ย. ๒๕๖๓ รองศึกษาธิการจังหวัดยะลา ๑ ต.ค. ๒๕๖๔ รองศึกษาธิการจังหวัดสุโขทัย ๓ ต.ค. ๒๕๖๖ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ ประสบการณ์ที่เคยได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการ/คณะทำงานในระดับต่าง ๆ - คณะกรรมการตัดสินและคณะทำงานเพื่อพิจารณาตัดสินหน่วยงานและผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบ ผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์เพื่อรับรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS ) ระดับภาคและระดับชาติ ครั้งที่ ๖ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ - คณะกรรมการประเมินความเหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ ประเมินศักยภาพแบบ ๓๖๐ องศา ระดับ เขตพื้นที่การศึกษา ในการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา - คณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัดลำปาง ในคณะอนุกรรมการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๒ - คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา (กตปน.) ของ สพป. ลำปาง เขต ๒ และ สพป. ลำปาง เขต ๑ - ประธานและกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง สอบสวนวินัยไม่ร้ายแรงและวินัยอย่างร้ายแรงข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา


หน้าที่ | ๒ เอกสารนำเสนอข้อมูล นายสุทิน จันทรวรเชตต์ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ ๒. หน้าที่รับผิดชอบปัจจุบันพร้อมผลงาน ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ความภาคภูมิใจ หน้าที่รับผิดชอบปัจจุบันพร้อมผลงาน การดำรงตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดแพร่ ตามคำสั่งของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ของนายสุทิน จันทรวรเชตต์ ได้ปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดแพร่ ตั้งแต่วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ จนถึงปัจจุบัน ด้วยวิสัยทัศน์การบริหาร “มุ่งพัฒนาสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสู่ความเป็นเลิศ เป็นองค์กรบูรณาการประสานพลังสร้างการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การศึกษาโดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ตามหลักธรรมาภิบาล และหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดยยึดหลักการดำเนินงานตามแนวคิด PARA MODEL การมีส่วนร่วม (Participative) ความกระตือรือร้น (Active) การให้เกียรติซึ่งกันและกัน (Respectful) และมีความรับผิดชอบ (Accountability) ด้านที่ ๑ ด้านแผนงาน ๑.๑ การวางแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการศึกษาของจังหวัดกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อ พัฒนาการศึกษาของจังหวัดแพร่ โดยการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดแพร่ และแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ซึ่งมีแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดแพร่ (พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๗๐) ฉบับทบทวนปี พ.ศ.๒๕๖๗ และแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ ๑.๒ การนำแผนสู่การปฏิบัติกำหนดแนวทางที่สำคัญในการนำแผน ฯ ไปสู่การปฏิบัติโดยการสร้าง เครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานทุกระดับในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดแพร่ ดำเนินการชี้แจง สร้างความรู้ ความเข้าใจในสาระสำคัญของแผนปฏิบัติราชการประจำปีโดยสื่อสารทิศทางให้ได้ รับทราบอย่างชัดเจน เพื่อการมีส่วนร่วมและสนับสนุนให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ๑.๓ การกำกับ ติดตาม และประเมินผล การติดตามและประเมินผลตามแผนปฏิบัติราชการของสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ มีระบบการกำกับดูแลให้มีความถูกต้อง โปร่งใส พร้อม ทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า คุ้มทุน ประหยัด เกิดประโยชน์ต่อราชการ และผู้เรียนสูงสุด ด้านที่ ๒ ด้านบริหารงาน ๒.๑ กำกับ ติดตาม การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบาย เป้าหมายวัตถุประสงค์ และระเบียบ กฎหมาย บริหาร จัดการ การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการเชิงรุก รองรับการประเมินผลการดำเนินงานและการตรวจ ราชการหน่วยงานทุกระดับ การสื่อสารทิศทางองค์กรทั้งวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ค่านิยม จุดเน้น การพัฒนา และ เป้าหมายการให้บริการให้บุคลากรได้รับรู้และเข้าใจตรงกันอย่างทั่วถึง จัดระบบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสใน การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ๒.๒ ประสานงานกับหน่วยงานการศึกษา หน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาคเอกชน และประขาชนในการบริหาร และการจัดการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด การปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่นโยบายและยุทธศาสตร์ของส่วน ราชการต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายให้มีประสิทธิภาพ ๒.๓ ปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของ กศจ. และ อกศจ. อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญและสนใจ เกี่ยวกับองค์คณะบุคคลในการจัดการศึกษา ตระหนักให้ความสำคัญกับการรับฟังการมีปฏิสัมพันธ์ และความ คาดหวังของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงกรรมการในองค์คณะบุคคลต่าง ๆ ตามโครงสร้างซึ่งมาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนส่วนราชการ ภาคธุรกิจ ภาคเอกชนและชุมชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญที่อยู่ในพื้นที่


หน้าที่ | ๓ เอกสารนำเสนอข้อมูล นายสุทิน จันทรวรเชตต์ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ ๒.๔ การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจราชการ สนับสนุน การติดตามประเมินผล เป็นกลไกที่สำคัญที่สุด เพื่อติดตามความก้าวหน้าของภารกิจและประเมินผลว่าภารกิจสำเร็จเกิดผลดีในภาพรวม ได้รับความร่วมมือเป็น อย่างดีจากหน่วยงานทางการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านที่ ๓ ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล ๓.๑ การปกครอง บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้าง โดยใช้ความรู้ ความสารถ ทักษะการบูรณาการเป็น หลักและระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการเพื่อ พัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ตรงตามความสามารถและเป้าหมายที่กำหนด ๓.๒ การมอบหมายงานและการพัฒนาบุคลากร มีความตระหนักและให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจัดทำ แผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล ให้สอดคล้องกับการพัฒนาความรู้และสมรรถนะผ่านการปฏิบัติจริง มีการพัฒนา ข้าราชการและบุคลากร ที่สอดคล้องกับนโยบายและตอบสนองต่อความต้องการและความจำเป็นของหน่วยงาน ๓.๓ การสร้างขวัญกำลังใจให้กับข้าราชการและลูกจ้าง มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบงานแก่บุคลากร อย่างชัดเจน รวมทั้งกระจายอำนาจการให้บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ปรับปรุง และพัฒนางานอย่าง เป็นระบบ จัดสภาพแวดล้อมการทำงาน การเข้าถึงทรัพยากรสนับสนุนการทำงาน รวมทั้งนโยบายในการทำงานให้ เหมาะสมกับความต้องการที่หลากหลาย ด้านที่ ๔ ด้านบริหารทรัพยากรและงบประมาณ ๔.๑ การบริหารทรัพยากรและงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสอดคล้องกับ นโยบายและบริบทของจังหวัด และของกระทรวงศึกษาธิการ โดยกำหนดให้มีการจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ในรูปแบบของการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยใช้กรอบแนวคิด นโยบาย ทิศทางการดำเนินงาน เป้าหมายการพัฒนาและบริบทที่เกี่ยวข้องเป็นหลักในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี ๔.๒ บริหารทรัพยากรและงบประมาณได้อย่างถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย การบริหารทรัพยากรและ การใช้จ่ายเงินของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดแพร่ ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย มี หลักเกณฑ์การจัดสรรให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน มีการวางแผนการใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ คำนึงถึงความถูกต้อง รวดเร็ว ประโยชน์ ประหยัด สูงสุดต่อราชการ ๔.๓ บูรณาการการใช้ทรัพยากรและงบประมาณ ร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษาอื่นได้อย่างมีประสิทธิผล การประสานงานและบูรณาการ เพื่อใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาติดต่องาน หรือ ผู้มารับบริการ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ความภาคภูมิใจ ๑. ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและทีมงานในองค์กรร่วมขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง ๒. ความกระตือรือร้น มุ่งมั่นตั้งใจ จริงจังในการปฏิบัติงานของทีมงานและผู้รับผิดชอบงาน ๓. ทีมงานมี Growth mindset กล่าวคือวิธีคิดที่เชื่อว่าทักษะและความรู้ความสามารถของเราสามารถ พัฒนาได้ผ่านการเรียนรู้และการพยายามฝึกฝน ไม่มีอะไรที่อยู่เหนือความพยายามและความตั้งใจ ๔. การให้ความสำคัญและให้เกียรติบุคลากรหรือทีมในการปฏิบัติงาน การส่งเสริมพลังเชิงบวก ความก้าวหน้า


หน้าที่ | ๔ เอกสารนำเสนอข้อมูล นายสุทิน จันทรวรเชตต์ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ ๓. วิสัยทัศน์ หรือแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ปัจจุบัน ให้บรรลุเป้าหมาย หลักการ เหตุผล และความสำคัญ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เป็นหน่วยงานบูรณาการส่งเสริมสนับสนุนประสานเร่งรัด กำกับ ติดตามการ จัดการศึกษาในระดับจังหวัด มีหน้าที่ปฏิบัติภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการบริหารการศึกษาเพื่อ รองรับการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคให้สอดคล้องกับศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๗๙ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ.๒๕๖๖- ๒๕๗๐ ) นโยบายรัฐบาล และนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ มีวิสัยทัศน์ และแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ปัจจุบัน ให้บรรลุเป้าหมาย ดังนี้ ๑. วิสัยทัศน์ มุ่งพัฒนาสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสู่ความเป็นเลิศ เป็นองค์กรบูรณาการประสานพลังสร้างการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การศึกษาโดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ตามหลักธรรมาภิบาลน้อมนำหลักของปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ๒. พันธกิจ ๒.๑ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้ประชากรวัยเรียน เข้าถึงและได้รับโอกาสทาง การศึกษาอย่างมีคุณภาพ ๒.๒ ประชากรทุกช่วงวัยเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงตลอดชีวิต ตามความถนัดและความ ต้องการของตนเอง มีพื้นฐานอาชีพ และทักษะอาชีพ ๒.๓ ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความรู้ตามมาตรฐานตัวชี้วัด มีคุณธรรมมีทักษะชีวิต เป็นกำลังคนที่มีคุณภาพในศตวรรษที่ ๒๑ ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒.๔ หน่วยงานการศึกษามีการประสาน ส่งเสริม สนับสนุน บูรณาการ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย โปร่งใส บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม ๓. เป้าประสงค์ ๓.๑ ประชากรในวัยเรียน เข้าถึงโอกาส และมีความเสมอภาคทางการศึกษา เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข ๓.๒ ประชากรทุกช่วงวัยได้รับการศึกษาตลอดชีวิต ตามความถนัด ความสนใจ มีคุณธรรม จริยธรรม มี ทักษะชีวิต มีพื้นฐานอาชีพและทักษะอาชีพ ๓.๓ ประชากรวัยเรียน มีความรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาตรฐานการศึกษา ตัวชี้วัดเป็นกำลังคน ที่มี คุณภาพตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓.๔ หน่วยงานการศึกษาสามารถปฏิบัติงานบูรณาการ ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน เพื่อพัฒนาคุณภาพ การศึกษาแบบมีส่วนร่วมภายใต้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย โปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล


หน้าที่ | ๕ เอกสารนำเสนอข้อมูล นายสุทิน จันทรวรเชตต์ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ ๔. กลยุทธ์ จากวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ดังกล่าว จึงกำหนดกลยุทธ์การปฏิบัติงานสู่มาตรฐานและคุณภาพ การศึกษา ดังนี้ กลยุทธ์ที่ ๑. ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลประชากรวัยเรียน บุคลากร สภาพปัญหาปัจจุบัน กลยุทธ์ที่ ๒. ร่วมวางแผน กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ กลยุทธ์ที่ ๓. ร่วมปฏิบัติ พัฒนา รูปแบบการมีส่วนร่วม บูรณาการ ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน กลยุทธ์ที่ ๔. ร่วมนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรับฟังความคิดเห็น กลยุทธ์ที่ ๕. ร่วมปรับปรุง แก้ไข พัฒนา หาแนวทางแก้ไขปัญหา กลยุทธ์ที่ ๖. ร่วมชื่นชมผลสำเร็จ สรุปรายงาน แนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ปัจจุบันให้บรรลุเป้าหมาย สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เป็นหน่วยงานหลักทางการศึกษาในภูมิภาคระดับจังหวัด เพื่อจัดการศึกษา ร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษาเชิงบูรณาการ ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๗๙ ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ.๒๕๖๖- ๒๕๗๐ ) นโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ แผนพัฒนาการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ และแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อตอบสนองความ ต้องการของผู้เรียน สังคม ชุมชนและผู้ปกครอง พร้อมทั้งสร้างโอกาส ความเสมอภาค ความเท่าเทียมทาง การศึกษา ลดความเลื่อมล้ำ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง บรรลุวิสัยทัศน์จังหวัดและยุทธศาสตร์ชาติ ทำให้ประเทศชาติมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน แผนภาพ : กรอบแนวทางการนำกลยุทธ์สู่การพัฒนาสำนักงาน


หน้าที่ | ๖ เอกสารนำเสนอข้อมูล นายสุทิน จันทรวรเชตต์ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ ๔. ความคาดหวังในอนาคตอยากดำรงหรือปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง รองศึกษาธิการภาค เหตุผล อยากปฏิบัติงาน ร่วมวางแผนและบริหารจัดการสำนักงานศึกษาธิการภาค เพื่อปฏิบัติภารกิจของ กระทรวงศึกษาธิการในระดับพื้นที่ ในการขับเคลื่อนการศึกษาระดับภาคและจังหวัดโดยจะอำนวยการ ประสานงาน ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาการศึกษาแบบร่วมมือและบูรณาการกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และ หน่วยงานอื่นหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รับผิดชอบเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของ ผู้เรียนทุกช่วงวัย ความต้องการและแนวทางที่จะดำเนินการ ดังนี้ ๑. ด้านแผนงาน ๑.๑) ร่วมกำหนดทิศทาง นโยบาย ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ความคาดหวัง และเป้าหมายความสำเร็จด้าน การศึกษาในระดับภาค กลุ่มจังหวัดและจังหวัด โดยเชื่อมโยงกับพันธกิจของกระทรวงและกรม เพื่อผลักดันให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทั้งในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันจะส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ๑.๒) ร่วมวางแผนบริหารจัดการและติดตามประเมินผล การดำเนินงานของส่วนราชการด้านการศึกษาใน ระดับภาค กลุ่มจังหวัด และจังหวัดให้เป็นไปตามทิศทาง แนวนโยบาย ประเด็นโดยเชื่อมโยงกับพันธกิจของ กระทรวงและกรม เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันจะส่งผลต่อ ความสำเร็จในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ๒. ด้านบริหารงาน ๒.๑) บริหารงานราชการในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน และผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการเพื่อขับเคลื่อน นโยบายของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค เป็นแผน บริหารราชการหรือแผนกลยุทธ์การปฏิบัติราชการ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ๒.๒) สั่งราชการ มอบหมาย อำนวยการ ควบคุม ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข ตัดสินแก้ปัญหา ประเมินผล การปฏิบัติงานและให้คำปรึกษาแนะนำการปฏิบัติราชการ เพื่อให้ผลการปฏิบัติราชการบรรลุเป้าหมายและ ผลสัมฤทธิ์ที่ส่วนราชการกำหนดไว้ได้ ๒.๓) ช่วยเสนอแนะในการปรับปรุงแนวทาง มาตรฐาน กระบวนงาน กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ วิธีการปฏิบัติ รวมทั้งการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา เพื่อให้การปฏิบัติ ราชการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และตอบสนองความต้องการของประชาชน อันจะ ส่งผลให้การดำเนินงานด้านการศึกษา บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่ส่วนราชการกำหนดไว้ ๒.๔) เสนอความเห็นหรือช่วยพิจารณาอนุมัติ อนุญาต การดำเนินงานต่างๆ ตามภารกิจของสำนักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อผลสัมฤทธิ์ภารกิจของภาครัฐ ๒.๕) เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ที่ได้รับการแต่งตั้งการพิจารณาให้ความเห็นการตัดสินใจ แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ๒.๖) สนับสนุนและส่งเสริมการตรวจราชการ รวมทั้งประสานงานกับองค์กรภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ในระดับผู้นำที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือหรือแก้ปัญหาในการปฏิบัติราชการ ๒.๗) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านการศึกษาตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป การศึกษาในภูมิภาคและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมอบหมาย ๒.๘) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนงานด้านวิชาการและดำเนินการวิจัยและพัฒนาการศึกษาระดับภาค


หน้าที่ | ๗ เอกสารนำเสนอข้อมูล นายสุทิน จันทรวรเชตต์ ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ ๒.๙) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนงานของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด และคณะอนุกรรมการศึกษาธิการ จังหวัด คณะอนุกรรมการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์และคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา ๒.๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย ๓. ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ๓.๑) ช่วยปกครอง บังคับบัญชา กำกับดูแล และพัฒนาทรัพยากรบุคคลในส่วนราชการเพื่อการบริหารงาน และพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรตามหลักธรรมาภิบาล ๓.๒) ช่วยบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่ข้าราชการได้อย่างเป็นธรรม ๔. ด้านการบริหารทรัพยากรและงบประมาณ ๔.๑) ช่วยวางแผน ติดตาม ควบคุม และตรวจสอบการใช้งบประมาณและทรัพยากรของส่วนราชการ เพื่อให้การปฏิบัติราชการเกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่า บรรลุเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของส่วนราชการ ๔.๒) ช่วยในการบริหารงานการคลังและการควบคุม การเบิกจ่ายงบประมาณของแผ่นดินให้เกิด ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าเป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง การดำเนินงาน โดยศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันและความต้องการจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จัดลำดับความสำคัญ กำหนดปัญหาและความต้องการ โดยใช้ทฤษฎีเชิงระบบ (System Theory) ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนา ใช้รูปแบบการบริหาร PARA MODEL ดังนี้ P : Participative Competency การเสริมสร้างความร่วมมือ เครือข่ายทางการศึกษา A : Active Competency ความกระตือรือร้น มุ่งมั่นและจริงจัง R : Respectful Competency การเคารพและให้เกียรติแก่ผู้ร่วมงานและผู้อื่น A : Accountability Competency การแสดงออกถึงความรับผิดชอบในผลการกระทำของตน ดำเนินการกำกับติดตาม และควบคุมคุณภาพด้วยวงจรคุณภาพ Deming (PDCA) โดยมีความเชื่อว่า ผลผลิต (Output) ที่ต้องเกิดขึ้น คือ นักเรียนมีคุณภาพ มีทักษะและคุณลักษณะในศตวรรษที่ ๒๑ ผู้บริหารครูและ บุคลากรทางการศึกษาคุณภาพ โรงเรียนคุณภาพและหน่วยงานทางการศึกษาในพื้นที่คุณภาพ


Click to View FlipBook Version