The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Chotika Kunatam, 2022-12-30 02:52:29

Thailand

Thailand

สารบัญ 2
3
ข้อมูลทั่วไป 4
ภาคเหนือ 5
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6
ภาคกลาง 7
ภาคใต้ 8
ตราแผ่นดิน 9
ธงชาติ 10
ชุดประจำชาติ 11
ดอกไม้ประจำชาติ 12
อาหารประจำชาติ 13
สัตว์ประชาติ
สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ

2

เมืองหลวง : กรุงเทพ
ภาษาราชการ : ไทย
ศาสนา : พุทธ อิสลาม คริสต์ ฮินดู
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัติรย์ตรงเป็นประมุข
พื้นที่ : 513,120 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 70,008,190 คน
สกุลเงิน : บาท

ประเทศไทยมีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า สยาม รัฐบาลได้ประกาศเปลี่ยนชื่อเมื่อปี
พ.ศ.2482 มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าทางทิศเหนือและทิศตะวันตก
ประเทศลาวทางทิศตะวันออก ประเทศกำพูชาทางทิศตะวันออก และประเทศ
มาเลเซียทางทิศใต้ มีกรุงเทพเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและ
เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย และมีการปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งเป็น 76
จังหวัด

ภาคเหนือ 3

ภาคเหนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ด้านบนสุดของประเทศไทย ลักษณะภูมิประ
เทสประกอบด้วยเทือกเขาสลับซัับซ้อนต่อเนื่องมาจากทิวเขาชานในประเทศ
พม่าและลาว ภาคเหนือมีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่
เหนือระดับน้ำทะเลทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างชัดเจน
ฤดูหนาวก็หนาวกว่าภาคอื่น
ภาคเหนือมีทั้งหมด 17 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน พะเยา เชียงใหม่
แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง ลำพูน ตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย
เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และ อุทัยธานี

คนท้องถิ่นภาคเหนือมีความอ่อนโยน นุ่มนวล ใชชีวิตเรียบง่ายสไตล์คน
เมืองล้านนา ภาคเหนือมีธรรมชาติป่าไม้ที่สวยงาม และยังเป็นที่อยู่อาศัยของ
คนภูเขาหลายเผ่าพันธ์ุ จึงมีความหลากหลายทางขนบธรรมเนียม ประเพณี
และวัฒนธรรม อาหารภาคเหนือ เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง ข้าวซอย
ขนมจีนน้ำเงี้ยว

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน ตั้งอยู่บ้านแอ่งโคราชและแอ่ง
สกลนคร มีแมท่น้ำโขงกั้นระหว่างประเทศลาว เทือกเขาพนมดงรักกั้นระหว่าง
ประเทศกำพูชา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย
ภาษาหลักของภาคนี้คือ ภาษาอีสาน
ภาคอีสานมีทั้งหมด 20 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา กาฬสินธุ์ ขอนแก่น
ชัยภูมิ นครพนม บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด
ศรีสะเกษ เลย สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี
อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ

ภาคอีสานมีพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ผู็คนท้องถิ่นจึงรับประทานอาหารกัน
แบบเรียบง่าย รับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก ปลาร้าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ
ขาดไม่ได้ มักทานกับผักสดหรือนำไปประกอบอาหารประเภทอื่นๆ อาหารภาค
อีสาน ได้แก่ ซุปหน่อไม้ แกงอ่อม แกงเปรอะ ส้มตำ เป็นต้น

ภาคกลาง 5

ภาคกลาง เป็นภูมิภาคตอนกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุม
แม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่นี้เคยเป็นดินแดนสำคัญของอาณาจักรอยุธยา จนถึง
ปัจจุบัน ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มี กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของ
ประเทศไทยตั้งอยู่
ภาคกลางมีทั้งหมด 21 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร
กำแพงเพชร นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง สระบุรี
พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม
สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม

ภาคกลาง เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ที่มีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย ถือได้ว่าเป๋นภา
คที่มีความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องข้าวปลาอาหาร อาหารของคนภาคกลางจึงมี
ความหลากหลายในเรื่องรสชาติ มีการประยุกต์ปรุงแต่งตามอิทธิพลที่ได้รับมา
และรับประทานข้าวสวยเป็นหลัก อาหารถาคกลางได้แก่ น้ำพริกกะปิ ห่อหมก
แกงจืด แก้งส้ม เป็นต้น

ภาคใต้ 6

ภาคใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู
ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก ทุก
จังหวัดมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจัหวัดยะลาและพัทลุง
ภาคใต้ประกอบด้วยจังหวัด 14 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร ตรัง
นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา
สตูล และสุราษฎร์ธานี

ภาคใต้ มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลเป็นส่วนใหญ่ อาการร้อนชื้น ฝนตก
ตลอดทั้งปี มีอาหารทะเลสมบูรณ์ คนภาคใต้นิยมทำการประมง อาหารหลัก
จึงเป็นพวกอาหารทะเล นิยมใช้เคร่องเทศในการปรุงเพื่อดบคาว
อาหารภาคใต้ เช่น แกงไตปลา ผัดสะตอ น้ำบูดู แกงเหลือง เป็นต้น

ตราแผ่นดิน 7

ตราแผ่นดินของไทย คือ ตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ เทพพาหนะ
ของพระนารายณ์ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจแห่งพระมหากษัตริย์ผู็
เป็นประมุขของชาติและเแ็นองค์อวตารของพระนารายณ์ตามแนวคิดสมมุติ
เทพ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่
หลัง พ.ศ. 2463 เป็นต้นมา แต่มาใช้อย่างอย่างจริงจังแทนตราแผ่นดินเดิม
เมื่อ พ.ศ. 2453

การใช้ ใช้ประทับ หรือพิมพ์ในเอกสารของทางราชการ เช่น ราชกจิจานุ
เบกษา หนังสือโต้ตอบกฎกระทรวง ฯลฯ ยกเว้นที่หัวพระราชบัญญัติ
พระบรมราชโองการ หรือคำสั่งอื่นๆ ในองค์พระมหากษัตริย์ ฯลฯ จะใช้พระ
ราชลัญจกรบรมรราชโองการแทน

ธงชาติ 8

ธงชาติไทย หรือที่เรียกอีกชื่อว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยม
ผืนผ้า ประกอบด้วยสี 3 สี คือ แดง ขาว และน้ำเงิน ธงแบ่งเป็น 5 แถบ
แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านน้อกทั้งบนและล่างเป็นสีขาวและแดงตาม
ลำดับ ธงไตรรงค์หมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประทศไทยคือ
ชาติ(สีแดง) ศาสนา(สีขาว) และพระมหากาัติย์(สีน้ำเงิน) ทั้งสามสีนี้คือ
ที่มาของการเรียกว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม รงค์ = สี )

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาให้ใช้ธงนี้เป็น
ธงชาติ เมื่อช่วงปลาย พ.ศ. 2460 เพื่อแก้ไขปัญหาการชักธงช้างเผือกกลับ
ด้าน (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่รัชกาลที่4) และเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้า
ร่วมสงครามโลกครั้งที่่ 1 กับพันธมิตร

เพลงชาติไทย เป็นชื่อเพลงชาติของสยามและประเทศไทย ประพันธ์
ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ
ปี พ.ศ. 2475 คำร้องฉบับแรกสุดโดย ขุนวิจิตรมาตรา ซึ่งแต่งขึ้นภายหลัง
ในปีเดียวกัน ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อร้องอีกหลายครั้งและได้
เปลี่ยนมาใช้เนื้อร้องฉบับปัจจุบันเมื่อ พ.ศ.2482

ชุดประจำชาติ 9

เครื่องแต่งกายประจำชาติไทย รู้จักกันในนามว่า "ชุดไทยพระราชนิยม"
โดยชุดประจำชาติสำหรับผู้ชายจะเรียกว่า "เสื้อพระราชทาน"

สำหรับสุภาพสตรีจะสวมชุดไทยจักรี เป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียง
ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นจะมีจีบยกข้างหน้่า มีชายพกใช้เข็ดขัดไทยคาด
ส่วนท่อนบนจะเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกัน หรือจะห่มสไบ
ต่างหากก็ได้ ชายสไบคุมไหล่ ทิ้งชายไปด้านหลังยาวตามความเหมาะสม
ความสวยงามของชุดจะอยู่ที่การตัดเย็บและรูปทรงของผู้สวมใส่ สามารถใส่
เครื่องประกับได้ตามความเหมาะสม ส่วนผู้ชายจะใส่เสื้อพระราชทาน
โดยชุดไทยพระราชนิยมแบ่งออกเป็น 8 ประเภทดังนี้

1. ชุดไทยเรือนต้น
2. ชุดไทยจิตรลดา
3. ชุดไทยอมรินทร์
4. ชุดไทยบรมพิมาน
5. ชุดไทยจักรี
6. ชุดไทยจักพรรดิ
7. ชุดไทยดุสิต
8. ชุดไทยศิวาลัย

ดอกไม้ประจำชาติ 10

ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) เป็นดอกไม้ประจำชาติของ
ประเทศไทย ดอกราชพฤกษ์มีช่อดอกสีเหลืองสวยงาม ชาวไทยเชื่อกันว่าสี
เหลืองของดอกไม้ชนิดนี้ คือ สีของพระพุทธศาสนาและความรุ่งโรจน์ อีกทั้ง
ยังเป็นสัญลักษณ์ของความสามาัคคีปรองดองของคนในประเทศ ดอก
ราชพฤกษ์จะเริ่มบานตั้งแต่เดือกุมภาพันธ์ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม จณะที่
ผลิบานต้นจะทิ้งใบเหลือเพียงดอกสีเหลืองอร่าม ดอกราชพฤกษ์เป็นมี่รู้จัก
กันทั่วไปในประเทศไทย และถูกปลูกอย่างแพร่หลายตามแนวถนน

อาหารประจำชาติ 11

ต้มยำกุ้ง เป็นอาหารไทยประเภทแกง ที่เน้นรสเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก
มีส่วนประกอบเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์หลายชนิด เช่น ข่า ตะไคร้ ใบ
มะกรูด ปรุงรสด้วยมะนาว พริกเผาและน้ำปลา

อาหารไทย มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึง
ปัจจุบัน จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรม
ประจำชาติที่สำคัญ

อาหารไทยดั้งเดิมแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ต้ม ยำ ตำ แกง ส่วน
การทำอาหารแบบทอด ผัด และนึ่งนั้นได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน
ในพ.ศ. 2560 มีอาหารไทบยบางส่วนถูกบรรจุลงไปใน " 50 อาหารอร่อยที่สุด
ในโลก " ซึ้งเป็นโพลออนไลน์จากผู้คน 35,000 คนทั่วโลก อาหารไทยที่ติด
อันดับได้แก่ ต้มยำกุ้ง (อันดับ 4) ผัดไทย (อันดับ 5) ส้มตำ (อันดับ 6)
แกงมัสมั่น (อันดับ 10) แกงเขียวหวาน (อันดับ 19) ข้้าวผัดไทย (อันดับ 24)
และน้ำตกหมู (อันดับ 36)

สัตว์ประจำชาติ 12

"ช้าง" เป็นสัตว์ประชาติของประเทศไทย ช้างถือเป็นคู่บ้านคู่เมืองของคน
ไทย เนื่องจากคนไทยมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับช้างมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ครั้งหนึ่งบนธงวชาติไทยก็เคยมีรูปช้างปรากฎอยุ่บนผืนธงสัแดง กระทั่งใน
เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2541 คณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้มีมติเห็นชอบ
ประกาศวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์ช้างไทย เพื่อให้คนไทย
ตระหนักถึงความสำคัญและการดำรงอยู่ของช้างไทย

ช้าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ ปัจจุบันรับรองว่ามีอยู่ 3
สปีชีส์ คือ ช้างแอฟริกา, ช้างป่าแอฟริกา และช้างเอเชีย และยังมีที่สูญพันธุ์ไป
แล้ว เช่น ช้างแมมมอธและช้างงาตรง ช้างเอเชียมีขนาดเล็กกว่าช้างแอฟริกา
รวมทั้งมีใบหูขนาดเล็กกว่า มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 60 ปี ซึ่งถือได้ว่า
มีอายุยืนกว่าช้างแอฟริกา ลำตัวมีสีเทามีโพรงสมองบริเวณหน้าผากกว้างกว่า
ช้างแอฟริกา เนื่องจากมีฮอร์โมนสมองมากกว่า ดังนั้นช้างเอเชียจึงเป็นช้างที่
เฉลียวฉลาด สามารถนำมาฝึกหัดใช้งานและเชื่องกว่าช้างแอฟริกามาก

13

สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ

ถ้ำมรกต เกาะมุก จังหวัดตรัง ได้ชื่อว่า “ถ้ำมรกตอันล้ำค่าแห่ง
อันดามัน” ถ้ำมรกต เป็นถ้ำน้ำเล็กๆ ซึ่งมีความยาวประมาณ 80 เมตร นัก
ท่องเที่ยวจะต้องลอยตัวฝ่าความมืดเพื่อเข้าไปภายในถ้ำและต้องเป็นช่วงเวลา
น้ำลงเท่านั้น

เชียงคาน จังหวัดเลย เป็นเมืองที่คงความสวยงามของสถาปัตยกรรม
โบราณดั้งเดิม เป็นจุดดึงดูดใจของนักท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวทุกมุมโลกมา
เยี่ยมเยียนอย่างไม่ขาดสาย และที่สำคัญเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สามารถไปเที่ยว
ได้ในทุกช่วงเวลาทั้งหน้าร้อน หน้าฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าหนาว

14

สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ

ตึกชิโนโปตุกีส เมืองเก่า จังหวัดภูเก็ต อาคารรุ่นเก่าในตัวเมืองภูเก็ต
ที่เป็นทั้งบ้านเรือน ร้านค้า สถานที่ราชการ ธนาคาร และอื่น ๆ อีกมากมาย
ส่วนใหญ่เป็นตึกซึ่งสร้างขึ้นเมื่อสมัยเกือบร้อยปีมาแล้ว ลักษณะของตัวอาคาร
เป็นการผสมผสานสถาปัตยกรรมแบบจีนและยุโรป เรียกว่า สถาปัตยกรรม
แบบชิโน-โปรตุกีส

ดอยอ่างขาง ซากุระเมืองไทย จังหวัดเชียงใหม่ ซากุระเมืองไทยหรือดอก
พญาเสือโคร่ง ที่ไม่ต้องบินไปไกลก็สามารถเที่ยวชมกันได้ที่ ดอยอ่างขาง
บนดอยอ่างขางยังเต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงามอื่นๆ
มากมายทั้ง สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ไร่ชา ไร่สตรอเบอร์รี่บ้านนอแล จุดชม
วิวม่อนสน และอื่นๆ


Click to View FlipBook Version