แผ่นซับไอน้ำมันและกลิ่น โรงเรียนเทศบาล ๕
จากเส้นใยกล้วย
ในเครื่องดูดควันทำอาหาร
ปั ณณธร ชิณรา
สโรชา สินพิศุทธ์
ติณณภพ อภิรักษ์ไกรศรี
HTTP://T5SURAT.AC.TH
บทคัดย่อ
โครงงานเรื่องแผ่นซับไอน้ำมันและกลิ่นจากเส้นใยกล้วยในเครื่องดูดควันทำอาหาร เป็นการทดลองผลิตเส้นใยกล้วยและขึ้น
รูปเส้นใยกล้วยผสมผงถ่านและพัฒนาเป็นแผ่นซับไอน้ำมันและกลิ่นจากเส้นใยกล้วยในเครื่องดูดควันทำอาหารและทดสอบ
ประสิทธิภาพการดูดซับน้ำมันและกลิ่นโดยนำกาบกล้วยน้ำว้ามาผลิตเป็นเส้นใยโดยใช้กรรมวิธีแบบปลอดภัย SEMICHEMICAL
PROCESS) ลักษณะเส้นใยที่ได้จะเหนียวจับแล้วนุ่มมือมีความมันคล้ายไหมเมื่อนำเส้นใยที่ได้ไปผสมกับแป้งเปียกและผงถ่าน
สามารถทำให้ขึ้นรูปได้จะได้แผ่นที่มีลักษณะคล้ายกระดาษสาและมีสีดำจากนั้นนำแผ่นใยกล้วยที่ได้มาเป็นส่วนประกอบในแผ่น
ซับไอน้ำมันและกลิ่นจากเส้นใยกล้วยในเครื่องดูดควันทำอาหาร โดยออกแบบและประดิษฐ์ให้มีลักษณะคล้ายแผ่นกรองน้ำมัน
ทั่วไปซึ่งใช้แผ่นตะแกรงเหล็กฉีก 2 แผ่นและใส่เส้นใยกล้วยให้อยู่ระหว่างแผ่นทั้ง 2 ประดิษฐ์ช่องสอดแผ่นพร้อมขาแขวนให้
สะดวกและเหมาะกับการใช้งาน นำไปทดสอบประสิทธิภาพของการดูดซับน้ำมันและดูดซับกลิ่น เปรียบเทียบกับแผ่นกรองน้ำมัน
ทั่วไป โดยนำไปติดตั้งในโรงครัวประกอบอาหารกลางวันของโรงเรียนเทศบาล ๕ เป็นเวลา 75 วัน ผลปรากฏว่า แผ่นซับไอ
น้ำมันและกลิ่นจากเส้นใยกล้วย มีประสิทธิภาพในการซับน้ำมันต่อพื้นที่เฉลี่ย 0.083 G/CM2 ใกล้เคียงกับแผ่นกรองน้ำมันทั่วไป
ไม่มีน้ำมันหยดลงมา หลังการใช้จะมีกลิ่นของอาหารเหลือเพียงเล็กน้อยและมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง
ในการประกอบอาหารที่มีต่อแผ่นซับไอน้ำมันและกลิ่นจากเส้นใยกล้วยในเครื่องดูดควันทำอาหารมีค่า 4.88 แสดงว่ามีความพึง
พอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
การนำเส้นใยกล้วยน้ำว้ามาพัฒนาเป็นแผ่นดูดซับน้ำมันและกลิ่นจากเส้นใยกล้วยในเครื่องดูดควันทำอาหาร ทำให้ได้
ผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ ในรูปแบบผลิตภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากทำจากวัสดุธรรมชาติ สามารถ
ย่อยสลาย ได้ง่าย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อในด้านอื่น ๆ ได้อีก เช่น นำไปเป็นเชื้อเพลิงหรือวัสดุในการปลูกพืชได้ต่อไป
ที่มาและความสำคัญ
การปรุงอาหารในห้องครัวสมัยใหม่ที่ต้องใช้เครื่องดูดควันทำอาหาร จำเป็นต้องมีการติดตั้งแผ่นดูดซับน้ำมันในเครื่องดูด
ควันทำอาหารเพื่อใช้ดูดซับน้ำมันที่เกิดจากการประกอบอาหารซึ่งในแผ่นดูดซับน้ำมันทั่วไปส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นอะลูมิเนียม
ซ้อนกันซึ่งน้ำมันจะแทรกตัวตามช่องว่างของแผ่นดังกล่าวเมื่อเวลาผ่านไปน้ำมันเกาะเพิ่มขึ้นจะทำให้น้ำมันไหลซึมลงด้านล่าง จึงเป็น
ปัญหาหนึ่งในการควบคุมความสะอาดภายในห้องครัว เนื่องจากคราบน้ำมันที่ผ่านการปรุงอาหารจะเป็นคราบสกปรก เกาะติดแน่น
และทำความสะอาดได้ยากแผ่นดูดซับน้ำมันที่วางขายจะมีอายุการใช้งานไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับการใช้งานหากแผ่นดูดซับน้ำมันดูดซับ
น้ำมันเต็มจะต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่ในการเปลี่ยนจะต้องเปลี่ยนทั้งชุดไม่มีอะไหล่หรือแผ่นกรองสำหรับเปลี่ยน ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการ
เปลี่ยนค่อนข้างสูง หรืออีกวิธีคือนำแผ่นเก่าไปทำความสะอาดโดยใช้เบกกิ้งโซดาผสมกับน้ำอุ่นใช้ทำความสะอาดซึ่งค่อนข้างยากและ
กำจัดคราบน้ำมันได้ไม่หมด
จากการพัฒนาแผ่นกรองน้ำมันแบบประหยัดจากเส้นใยกล้วยในเครื่องดูดควันทำอาหาร คณะผู้จัดทำได้นำกาบกล้วย 3 ชนิด
คือ กล้วยน้ำว้า กล้วยเล็บมือนางและกล้วยป่า มาผลิตเป็นเส้นใยและนำเส้นใยที่ได้มาผสมกับกาวแป้งเปียกและนำไปทดสอบความ
สามารถในการดูดซับน้ำมัน ผลปรากฏว่า กล้วยน้ำว้ามีปริมาณเส้นใยมากที่สุด และมีความสามารถในการดูดซับน้ำมันดีที่สุดจากนั้น
ได้นำเส้นใยจากกล้วยน้ำว้ามาพัฒนาเป็นแผ่นกรองน้ำมันในเครื่องดูดควันทำอาหาร และได้นำไปทดลองใช้เป็นเวลา 30 วัน เปรียบ
เทียบกับแผ่นดูดซับน้ำมันทั่วไปที่ขายตามท้องตลาด ผลปรากฏว่าแผ่นดูดซับน้ำมันจากกล้วยน้ำว้ามีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับแผ่นดูด
ซับน้ำมันทั่วไป(แพรกานต์ อำไพเมืองและคณะ,2562)แต่แผ่นดูดซับน้ำมันที่จัดทำขึ้นยังไม่แข็งแรงเท่าเทียมกับแผ่นทั่วไป จากปัญหา
ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ผ่านมาคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพของแผ่นดูดซับน้ำมันจากใยกล้วย ให้มีความ
แข็งแรงยิ่งขึ้นด้วยการใช้วัสดุที่มีความแข็งแรงขึ้นและใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องดูดควันทำอาหารสำหรับใช้ในห้องครัวของ
โรงเรียนในการประกอบอาหารกลางวันให้นักเรียน ซึ่งต้องทำปริมาณอาหารเป็นจำนวนมากเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเลือกใช้
แผ่นดูดซับน้ำมันและกลิ่นในเครื่องดูดควันทำอาหาร เพื่อเปรียบเทียบกับแผ่นดูดซับน้ำมันที่ผลิตจากวัสดุอื่น ๆและยังเป็นการเพิ่ม
มูลค่าของพืชในท้องถิ่นได้อีกด้วย
การทดลอง
ค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจ
ของผู้ที่เกี่ยวข้องในการประกอบอาหาร
กลางวันสำหรับของโรงเรียนเทศบาล ๕
ที่มีต่อแผ่นซับไอน้ำมันและกลิ่นจาก
เส้นใยกล้วย ในเครื่องดูดควันทำอาหาร
มีค่า 4.88 แสดงว่ามีความพึงพอใจอยู่
ในระดับมากที่สุดโดยมีคะแนนเฉลี่ย
สูงสุดในด้านของขนาดชิ้นงานมีความ
เหมาะสมในการใช้งาน และส่งผลดีต่อ
สุขภาพในการประกอบอาหาร โดยมีค่า
เฉลี่ย 5.00