The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แอ่วแป้ม่วนใจ 2 วัน 1 คืน กับต้นห้อมและไส้อั่ว ได้ที่ http://bit.ly/HOMline

สามารถจองการเยี่ยมชมบ้านป้าเหงี่ยม (กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญย้อมสีธรรมชาติ)
ได้ที่ http://fb.com/indigobypangiam หรือสนับสนุนสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจฯ
ได้ที่ http://instagram.com/indigo_lovehom

HOM ThungHong เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา SS463 สัมมนาการเรียนการสอนสังคมศึกษา
หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา ภาควิชาสังคมวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

© 2022 HOM ThungHong
Released on: 2022-04-10

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by HOM ThungHong, 2022-03-18 09:45:26

HOM ThungHong ท่องถิ่นไทยพวน ชวนชมหม้อห้อม

แอ่วแป้ม่วนใจ 2 วัน 1 คืน กับต้นห้อมและไส้อั่ว ได้ที่ http://bit.ly/HOMline

สามารถจองการเยี่ยมชมบ้านป้าเหงี่ยม (กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญย้อมสีธรรมชาติ)
ได้ที่ http://fb.com/indigobypangiam หรือสนับสนุนสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจฯ
ได้ที่ http://instagram.com/indigo_lovehom

HOM ThungHong เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา SS463 สัมมนาการเรียนการสอนสังคมศึกษา
หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา ภาควิชาสังคมวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

© 2022 HOM ThungHong
Released on: 2022-04-10

| ท่องถิ่นไทยพวน ชวนชมหม้อห้อม |

แนะนำตัวละคร

ต้นห้อม

ลูกสาวกำนั นบ้านนาคูหา
ผู้ใฝ่ฝันอยากเป็น
มัคคุเทศก์

น้ องแมวเจ้าถิ่น
ผู้ชำนาญพื้นที่

ไส้ อั่ว พวกเราจะพาทุกคน
ไปทำความรู้จักกับ “บ้านทุ่งโฮ้ง”
2
ในมุมมองต่าง ๆ ที่หลากหลาย

Welcome จ.พะเยา ชุมชนทุ่งโฮ้ง

สอง อ.เมือง จ.แพร่

จ.น่ าน

จ.ลำป าง หนองม่วงไข่ร้องกวาง “ตำบลทุ่งโฮ้ง” เป็นส่วนหนึ่ งของ
อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ลอง เมืองทุแ่งโ
ภายในตำบลแบ่งออกเป็น 7 หมู่บ้าน
สูงเม่

ฮ้งพร่
เอกลักษณ์ ของตำบลทุ่งโฮ้งที่หลายคน
น คุ้นเคย คือ ผ้าหม้อห้อม ภาษาพูด

วังชิ้น เด่นชัย ประเพณีกำฟ้า รวมถึงแหล่งการเรียนรู้
การทำผ้าหม้อห้อมย้อมสี ธรรมชาติ
จ.สุโขทัย จ.อุตรดิตถ์

สภาพพื้นที่ส่ วนใหญ่ของตำบล
บ้านทุ่งโฮ้งเป็นที่ราบ มีแหล่งน้ำ
ธรรมชาติหลายแห่ง ได้แก่ ห้วย
รากไม้ ห้วยหัวช้าง ห้วยร่องฟอง
ห้วยร่องม่วง

"ต้นห้อม" พืชที่ใช้ในการย้อมผ้าหม้อห้อม เจริญเติบโตได้ดีในลักษณะภูมิประเทศ
ที่เป็นบริเวณภูเขา มีน้ำไหลผ่าน มีอากาศเย็นและความชื้นสูง ซึ่งในจังหวัดแพร่
มีแหล่งปลูกต้นห้อมอยู่ที่บ้านนาคูหา ตำบลสวนเขื่อน บ้านนาตอง บ้านน้ำจ้อม
บ้านน้ำก๋าย บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง และบ้านห้วยม้า ตำบลห้วยม้า ทั้งนี้ ทางจังหวัด
แพร่ได้ส่งเสริมให้มีการปลูกต้นห้อม เพื่อสอดรับกับการเติบโตของอุตสาหกรรม
การทำผ้าหม้อห้อมในครัวเรือนและการทำผ้าหม้อห้อมจากธรรมชาติ

"ต้นห้อมมีหน้าตา
ประมาณนี้"

3





ประวัติความเป็นมา

บ้านทุ่งโฮ้งเป็นหมู่บ้านชาวไทยพวนที่อพยพมายังแพร่ โดยเจ้าหลวงอินทวิไชยราชา
เจ้าผู้ครองนครแพร่ โปรดให้ตั้งหมู่บ้านนอกกำแพงเมืองแพร่ ด้านทิศเหนื อบริเวณ
บ้านหัวข่วง จากนั้ นได้มีการอพยพเคลื่อนย้ายไปอยู่บริเวณริมลำห้วยร่องฟอง
ริมทุ่งเศรษฐี เพื่อหาพื้นที่ทำไร่ทำนาและสร้างวัดทุ่งเศรษฐีขึ้น แต่ด้วยพื้นที่บริเวณนี้
เป็นที่ลุ่ม ไม่เหมาะกับการตั้งบ้านเรือน จึงได้ย้ายมาตั้งบ้านเรือนบริเวณที่ดอน และ
สร้างวัดทุ่งโห้ง (วัดทุ่งโห้งใต้) ต่อมาเมื่อมีประชากรมากขึ้น ชุมชนจึงมีการขยายตัว
ไปยังบริเวณบ้านทุ่งโฮ้งเหนื อ บ้านกอเปา บ้านร่องถ่าน สืบมาจนถึงปัจจุบัน

ทุ่งโฮ้ง มาจากคำว่า “ทั่งโฮ้ง” โดยคำว่า "นี่ คือทั่งรองรับการตีเหล็ก"
“ทั่ง” หมายถึง ทั่งรองรับการตีเหล็ก และ
คำว่า “โฮ้ง” เป็นภาษาไทยพวน หมายถึง
สถานที่ซึ่งเป็นแอ่งลึกลงไป หรือคนพวน
เรียกว่า “มันโห้งลงไป” เพราะในสมัยก่อน
คนพวนบ้านทุ่งโฮ้งจะมีการตีเหล็กแทบทุก
หลังคาเรือน จึงเรียกว่าบ้านทั่งโห้ง และ
เพี้ยนเสียงเป็น "บ้านทุ่งโฮ้ง" ในปัจจุบัน

"ไปไหว้พระ ในปัจจุบันบ้านทุ่งโฮ้งเป็นแหล่งผลิต
ที่วัดทุ่งโห้งใต้ ผ้าหม้อห้อมที่สำคัญ ผ้าที่ถือเป็นเอกลักษณ์
กับไส้อั่วกันครับ" ของชุดแต่งกายประจำถิ่น ซึ่งทั้งชาวแพร่และ

ชาวบ้านทุ่งโฮ้งนำมาใส่ ในชีวิตประจำวัน
รวมถึงงานประเพณีต่าง ๆ

6

กลุ่มชาติพันธ์ุไทยพวน

บรรพบุรุษดั้งเดิมของชาวไทยพวน จีน เวียดนาม
บ้านทุ่งโฮ้ง ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเมือง พม่า
เชียงขวางหรือเมืองพวน ประเทศลาว เชียงขวาง, ลาว
การย้ายแผ่นดินจากเมืองพวนสู่ นคร , แพร่
แพร่ เกิดจากการกวาดต้อนชาวพวน ทุ่งโฮ้ง
จำนวน 17 ครอบครัว ซึ่งมีทั้งเด็ก
ผู้ใหญ่ และพระสงฆ์สามเณร มายัง ลาว
นครแพร่ โดยพระยารัตนะหัวเมืองแก้ว
พระวังซ้าย และพระวังขวา ภายหลัง ไทย
จากกองทัพสยามพร้อมกองทัพนคร
แพร่และนครน่ านได้ยกกองทัพไปตี
ขับไล่เวียดนามออกจากเมืองเชียงขวาง
สำเร็จในช่วง พ.ศ.2376-2377

The Journey กัมพูชา
of Phuen

พ.ศ.2377 เจ้าหลวงอินทวิไชยราชา
(เจ้าน้อยอินทวิไชย) เจ้าผู้ครองนครแพร่
ได้โปรดให้ชาวพวนตั้งหมู่บ้านอยู่นอกกำแพงเมืองแพร่บริเวณบ้านหัวข่วง แต่พื้นที่
บริเวณนี้ ไม่เหมาะกับการทำไร่ทำนา ชาวพวนจึงอพยพเคลื่อนย้ายไปตามลำห้วย
ร่องฟองเพื่อหาพื้นที่ทำไร่ทำนาและตั้งชุมชนอยู่บริเวณริมทุ่งเศรษฐี
บุกเบิกพื้นที่และสร้างวัดทุ่งเศรษฐีขึ้น แต่พื้นที่นี้ ก็ไม่เหมาะสมกับการตั้งบ้านเรือน
เพราะเป็นพื้นที่ลุ่ม ภายหลังจึงย้ายมาตั้งชุมชนบริเวณที่ดอน พร้อมกับสร้าง
วัดทุ่งโห้ง (วัดทุ่งโห้งใต้) ต่อมาได้ขยายพื้นที่ไปบริเวณบ้าน
ทุ่งโฮ้งเหนื อ เนื่ องจากเป็นพื้นที่เนินน้ำท่วมไม่ถึง ดังนั้ นบริเวณบ้านทุ่งโฮ้งเเห่งนี้
ชาวพวนจึงเลือกเป็นพื้นที่ในการตั้งถิ่นฐาน เพราะเป็นทั้งพื้นที่ลุ่ม ใช้เป็นทุ่งนา
เพาะปลูกข้าว และมีพื้นที่ดอนเป็นที่ตั้งชุมชน จวบจนถึงปัจจุบัน

7

วิถีชีวิตชุมชน

ชาวพวนทุ่งโฮ้งมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น ได้แก่ ภาษาพูด อาหาร และการแต่งกาย

ภาษาพูด เอกลักษณ์การพูดแบบพวน เรียกว่า ภาษาพวน ร่วมกับการพูดคำเมืองและ
ภาษาไทย แต่ชาวพวนบ้านทุ่งโฮ้งยังคงใช้ภาษาพวนในการสื่อสารกันในชุมชน

"ไข่ป่ามลำแต้ ๆ ครับ" พริกมะเขือเทศ"

"น้ำ

อาหาร นิ ยมรับประทานปลาร้า หรือ
นำปลาแดะมาเป็นส่ วนผสมของเครื่อง
ปรุง อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชาว
พวนบ้านทุ่งโฮ้ง ได้แก่ แจ่วหม่าเด่นหรือ
น้ำพริกมะเขือเทศ เต้นปลา และไข่ป่าม

การแต่งกาย ชาวพวนบ้านทุ่งโฮ้งแต่งกาย
ด้วยผ้าหม้อห้อมในการดำเนิ นชีวิตประจำวัน

ผู้หญิง ใส่ซิ่นแหล้ เสื้อหม้อห้อมแขนยาว
สวมสไบสี ขาว

ผู้ชาย สวมเสื้อแขนสั้นผ่าอก ใช้สายมัด
หรือสายผูก หรือใช้กระดุมเรียกว่า เสื้อกุยเฮง
หรือเสื้อหม้อห้อม ใส่กางเกงหม้อห้อมขาก๊วย

หรือเรียกว่า “ซ่งกี” หรือ “เตี่ยวกี”
และใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว

"ชุดงามขนาดเจ้า"

8

วิถีชีวิตชุมชน

อาชีพ ในอดีตชาวพวนบ้านทุ่งโฮ้ง
มีความชำนาญตีเหล็กและคล้องช้างป่า
เมื่อเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองเเพร่
พ.ศ. 2377 ชาวพวนบ้านทุ่งโฮ้งจึงทำหน้ าที่
ตีเหล็กคล้องช้างและโซ่เหล็กล่ามช้างถวาย
เจ้าผู้ครองนครเเพร่ ดังคำกล่าวที่ว่า
“แม่หญิงปั่ นฝ้าย ผู้ชายตีเหล็ก”

ผู้หญิงส่วนใหญ่จะทอผ้าและจกหม้อห้อม จากนั้ นนำมาตัดเย็บเสื้อผ้า
ใช้ในครัวเรือนและนำออกจำหน่ าย ต่อมาการทำผ้าหม้อห้อมได้กลายเป็น

อาชีพที่สำคัญของชาวบ้านทุ่งโฮ้ง สร้างรายได้และชื่อเสียงให้กับ
บ้านทุ่งโฮ้งและจังหวัดแพร่ ผ่านการส่งเสริม ทั้งจากหน่ วยงานภาครัฐ
ภาคเอกชน ชุมชน และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในการจัดตั้งและพัฒนาผ้า
หม้อห้อมให้เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน ร่วมกับการพัฒนาออกแบบ

ให้เป็นที่นิ ยมยกระดับสู่สากล

“แม่หญิงปั่ นฝ้าย Wow!
สุดยอดครับ”

9

การทำผ้าหม้อห้อม

หม้อห้อมเป็นคำที่มาจากคำว่า “หม้อ” หมายถึง ภาชนะชนิดหนึ่ ง มีรูปทรงต่าง ๆ
และคำว่า “ห้อม” หมายถึง พืชชนิดหนึ่ งที่มีใบและต้นให้สีน้ำเงินสำหรับการย้อมผ้า

หรือคำว่า “ห้อม” ของคนไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้งนั้ น หมายถึง สีดำ ดังนั้ น การย้อมผ้า
หม้อห้อมจึงต้องมีการย้อมหลาย ๆ ครั้งจนกระทั่งได้สีห้อมหรือสีดำ จึงเรียกว่า
“ผ้าหม้อห้อม" ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงอัตลักษณ์ของคนไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง

ในอดีตการทำผ้าหม้อห้อมเป็นแบบครัวเรือน
เน้ นใช้วัสดุธรรมชาติ ตั้งแต่การปลูกฝ้าย ทอผ้า

แล้วจึงนำไปย้อม แต่เมื่อการทำหม้อห้อมเข้าสู่
ความเป็นธุรกิจและอุตสาหกรรมมากขึ้น ทำให้

มีการย้อมผ้าโดยใช้สีเคมี ซึ่งส่งผลกระทบต่อ
สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ทำให้กระบวนการย้อมผ้า
หม้อห้อมกลับมาสู่ การย้อมธรรมชาติด้วยต้นห้อม

การทำห้อมเปียก “ตื่นเจ๊ามา
ตัดต้นห้อม”
1. ตัดต้นห้อมในตอนเช้า หรือตอนเย็น
ประมาณ 10-15 กิโลกรัม

“แช่ไว้
2-3 วัน
เน้อครับ”

2. แช่ใบและต้นห้อมในโอ่งใส่น้ำปริมาตร
80-100 ลิตร นำวัสดุที่หนั กกดใบห้อม

ให้จมทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน จนต้นห้อม
เน่ าเปื่ อยและส่งกลิ่นเหม็น

“เหลือไว้แค่ใบ”

3. นำเอาเศษกิ่งก้านใบห้อมออกจากโอ่ง
เหลือไว้แต่น้ำแช่ใบห้อม

10

การทำผ้าหม้อห้อม

4. กรองน้ำแช่ห้อมด้วยผ้าขาวบาง เพื่อกรอง “กรองด้วย
เศษใบห้อมที่มีขนาดเล็กออกจากน้ำห้อม ผ้าขาวบาง”

5. ตีน้ำห้อมให้เกิดฟองด้วยชะลอม “ซวก”
เป็นการเติมออกซิเจนลงไปในน้ำ โดยตีน้ำ
ห้อมกระทั่งฟองยุบตัวลงจึงหยุด

6. กรองน้ำห้อมด้วยผ้าหนา น้ำห้อมจะตก
ตะกอน โดยกรองเอาส่วนที่เป็นตะกอนเก็บไว้

7. ได้ห้อมเปียกเพื่อนำไปใช้ในการย้อมผ้า โดย
น้ำห้อมที่ใช้ได้นั้ นจะใสเป็นสีชา และเนื้ อห้อมจะ
เนี ยนละเอียด สีน้ำเงินสดใสและเป็นเงา

การเตรียมห้อม 1. เตรียมน้ำด่าง โดยการนำขี้เถ้าใส่ในถัง
เปียกสำหรับย้อม ที่เจาะรู จากนั้ นเทน้ำเปล่าให้เต็มถัง โดย
ปล่อยน้ำขี้เถ้าไหลลงสู่ ภาชนะที่เตรียมไว้
“ได้น้ำด่าง
แล้วเน้อเจ้า” ซึ่งน้ำด่างที่ได้จะมีลักษณะเป็นสี น้ำตาล

2. นำห้อมเปียกที่เตรียมไว้มาละลาย
ในน้ำด่าง จากนั้ นเติมปูนขาวลงไปในผสม

แล้วกวนให้ส่วนผสมทั้งหมดเป็นเนื้ อ
เดียวกัน โดยใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที
หรือกระทั่งเกิดฟองสีน้ำเงิน และตั้งทิ้งไว้

ประมาณ 20 วัน

3. ได้น้ำห้อมสำหรับนำไปย้อมเสื้อผ้า

GOOD!

“ได้น้ำห้อมแล้วครับ”

11

การทำผ้าหม้อห้อม

การทำผ้ามัดย้อม

1. เลือกผ้าที่ต้องการนำมาย้อม ส่วนใหญ่
จะใช้ผ้าดิบที่มีการออกแบบและตัดเป็น
เสื้อผ้า กางเกง ผ้า ฯลฯ

2. นำผ้าที่ต้องการย้อมไปซักทำความ "ทำลวดลาย
สะอาดด้วยน้ำผงซักฟอก จากนั้ นนำไป ที่ชอบได้เลย"
ตากให้แห้งหมาด

3. นำผ้าที่ต้องการมาออกแบบลวดลาย
มัดย้อมตามต้องการ

4. นำผ้าที่มัดลายแล้วไปย้อมในน้ำห้อม
ที่เตรียมไว้

5. นำผ้าที่ย้อมแล้วแกะอุปกรณ์ที่มัดออก
และนำไปซัก จากนั้ นก็นำขึ้นมาตากแดด

ให้แห้ง

"นำมาตากแดด
ได้เลยครับ"

"ย้อม ย้อม ย้อม"

12

การค้าชุมชน

บ้านทุ่งโฮ้ง มีการค้าชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ คือ การจำหน่ ายผ้าหม้อห้อมซึ่งเป็น
ผลผลิตจากอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน ทั้งผ้าหม้อห้อมแบบดั้งเดิม และผ้าหม้อ
ห้อมสมัยใหม่ ซึ่งมีการออกแบบให้เข้ากับยุคสมัยและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากผ้าหม้อห้อม ซึ่งเหมาะสำหรับการให้เป็นของขวัญ
ของฝาก หรือใช้แต่งกายในชีวิตประจำวัน
"เชิญเลือกซื้อ
เลือกชมได้
ครับผม"

การรวมกลุ่มและการเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ ในการจัดทำศูนย์การเรียนรู้การทำ
ผ้าหม้อห้อม ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญย้อมสีธรรมชาติ หม้อห้อม
บ้านป้าเหลือง และศูนย์การเรียนรู้ชุมชนการทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ เสมือนเป็น

โรงเรียนที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ ประสบการณ์ และทักษะการทำผ้าหม้อห้อมจากอดีต
สู่ปัจจุบัน ทุกคนสามารถร่วมย้อมผ้าหม้อห้อมได้ ถือเป็นการอนุรักษ์ผ้าหม้อห้อม

ให้คงอยู่สืบไป และช่วยส่งเสริมการย้อมผ้าแบบธรรมชาติแทนการย้อมผ้าแบบเคมี

13

ประเพณีและความเชื่อ

เจ้าชมพู ชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้งนั บถือศาสนาพุทธ
และมีความเชื่อเรื่องผี ได้แก่ ผีด้ำ ผีปู่ย่าหรือ

บรรพบุรุษ ผีย่าหม้อนึ่ ง ผีเสื้อวัด ผีเสื้อนา
ผีเสื้อไร่ ผีเสื้อบ้าน ผีเตาเหล็ก ผีครู ผีนางด้ง
และนั บถือเจ้าชมพูซึ่งเป็นบรรพบุรุษชาวพวน

หมู่บ้านทุ่งโฮ้งยังมีวัดทุ่งโห้งเหนื อ
วัดทุ่งโห้งใต้ และวัดทุ่งเศรษฐี (วัดของชาว

ไทยพวนในอดีต) เป็นศาสนสถาน
และสถานที่ยึดเหนี่ ยวจิตใจของชาวบ้าน

ประเพณีกำฟ้าไทยพวน ประเพณีสำคัญ "มาแอ่วงาน
ของชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง โดยคำว่า “กำ” กำฟ้าไทยพวน
ในภาษาพวน หมายถึง การนับถือสักการะ
ส่วนคำว่า “ฟ้า” หมายถึง เจ้าฟ้า เทวดา กั๋นเจ้า”
สิ่ งศั กดิ์สิทธิ์ ดังนั้ น “กำฟ้า” หมายถึง การ
นับถือบูชาฟ้า ในปัจจุบันงานประเพณีกำฟ้า
เป็นงานท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญ
ของชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้งและจังหวัดแพร่
ทำให้บ้านทุ่งโฮ้งมีมรดกทางวัฒนธรรม
ที่เข้มแข็ง

เกร็ดความรู้

เจ้าชมพู กษัตริย์เมืองพวน โดนจับตัวและถูกสั่งประหารชีวิตด้วยหอก
ขณะที่ทำพิธีประหารนั้ น ฟ้าได้ผ่าลงมาถูกหอกที่จะใช้ประหารหักสะบั้น

เกิดความอัศจรรย์ใจ เจ้านนท์แห่งเวียงจันทน์
จึงปล่อยให้กลับไปครองเมืองพวนตามเดิม ด้วยเหตุการณ์ครั้งนั้ น

ชาวพวนเห็นความสำคัญของฟ้า จึงเกิดเป็นประเพณีกำฟ้า

14

วัฒนธรรมกับการเปลี่ยนแปลง

การสืบทอดและการถ่ายทอดวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง
ต้องอาศั ยความร่วมมือในทุกภาคส่วน ทั้งบ้าน วัด โรงเรียน และราชการ
เพื่อสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ส่งต่อภูมิปัญญาไปสู่รุ่นต่อไป

ครอบครัวมีส่ วนสำคัญในการถ่ายทอด
วิถีชีวิตให้กับลูกหลาน โดยเฉพาะ

ครอบครัวที่ถ่ายทอดการทำผ้าหม้อห้อม
จากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาสาน
ต่อมีการพัฒนา ออกแบบให้ทันสมัย
เข้ากับบริบทของการเปลี่ยนแปลง
แต่ยังคงอนุรักษ์เรื่องราว ภูมิปัญญา
และวิถีชีวิตของชาวไทยพวน

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช วัดทุ่งโห้งเหนือ พื้นที่และแหล่งการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม
บ้านทุ่งโฮ้ง โดยเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล อนุรักษ์ ถ่ายทอด สืบสาน และใช้ประโยชน์

จากองค์ความรู้มรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ผ่านการจัดทำศูนย์ข้อมูลมรดก
ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชนอย่างเป็นระบบ อีกทั้งเสริมสร้างความร่วมมือ
ในการดำเนิ นงานทางวัฒนธรรมกับภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ ส่งเสริม
และพัฒนาการต่อยอดมรดกทางภูมิปัญญาให้เป็นสิ นค้าและบริการภายใต้การพัฒนา

ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ นอกจากนี้ มีการสืบค้นประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์
ไทยพวนทุ่งโฮ้ง การจัดนิ ทรรศการภูมิหลังชาวไทยพวนทุ่งโฮ้ง วิถีชีวิตของชาว

ไทยพวน และสนั บสนุนการเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่นของกลุ่มเยาวชน เพื่อเผยแพร่ข้อมูล
และมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน

15

ทวนความรู้…สู่ทุ่งโฮ้ง

2 10
7 8

1 46

9
3

5

แนวนอน
1. ผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านทุ่งโฮ้ง
2. พืชที่นำใช้ย้อมสีเพื่อทำผ้าหม้อห้อม
4. กลุ่มชาติพันธุ์บ้านทุ่งโฮ้ง
9. การพูดภาษาพวน เรียกว่า...
10. แขวงหนึ่ งของประเทศลาว เป็นถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวพวน

แนวตั้ง
3. ประเพณีที่เป็นอัตลักษณ์ของบ้านทุ่งโฮ้ง
5. ประเทศ...เป็นถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวพวน
6. ทุ่งโฮ้งเพี้ยนมาจากคำว่า
7. ผ้าซิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง
8. อาชีพในอดีตของชายชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง

16

แอ่วแป้ม่วนใจ๋ (2 วัน 1 คืน)

วันที่ 1

ช่วงเช้า ทำบุญตักบาตร และรับประทานอาหารเช้า
ณ ตลาดสดเทศบาลเมืองแพร่ (แนะนำ! ร้านโจ๊กเจ้ศรี)

ช่วงสาย เรียนรู้และลงมือย้อมผ้าหม้อห้อมด้วยตนเอง
ณ ศูนย์เรียนรู้หม้อห้อมป้าเหงี่ยม

ช่วงเที่ยง ลิ้มรสอาหารเหนื อ สไตล์เมืองแป้
ณ ร้านฮอม 2493

ช่วงบ่าย เรียนรู้ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตของชาวไทยพวน
บ้านทุ่งโฮ้ง ณ ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช
และไหว้พระที่วัดทุ่งโฮ้งเหนื อ วัดทุ่งโฮ้งใต้

ช่วงเย็น พักผ่อนที่โฮมสเตย์บ้านป้าเหงี่ยม HThoeusIne dPihgroae
หรือ The Indigo House Phrae

วันที่ 2

ทำบุญตักบาตร ณ ตลาดสดตำบลทุ่งโฮ้ง ช่วงเช้า





ไหว้พระธาตุช่อแฮ (พระธาตุประจำปีขาล) ไหว้หลวงพ่อทันใจ ช่วงสาย

ณ วัดพระธาตุช่อแฮ และเยี่ยมชมคุ้มเจ้าหลวงบ้านวงศ์บุรี ไหว้


พระวัดพระบาทมิ่งเมือง วัดหลวง วัดพงษ์สุนั นท์






ชวนให้ลอง ขนมจีนน้ำย้อยเมืองแป้ ช่วงเที่ยง

ต้นตำรับแห่งน้ำพริกน้ำย้อย






พักผ่อนหย่อนใจ เสพงานศิลป์ ลงมือปั้ นเซรามิค ช่วงบ่าย

ณ Kummee Studio Ceramics pottery






เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ ช่วงเย็น

การเดินทางมาเมืองแพร่โดยขนส่ งสาธารณะ

สายการบินนกแอร์ : กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) - แพร่
รถโดยสารประจำทาง : กรุงเทพฯ (หมอชิต) - แพร่

*ควรตรวจสอบเวลาเดินทางก่อนวางแผนการท่องเที่ยว

17

วิถีการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

สร้างมิตรภาพ สร้างความกลมกลืน
ทำความรู้จักคนในท้องถิ่น เรียนรู้
วิถีชีวิตอย่างเข้าใจ

ขับขี่อย่างระมัดระวัง สนั บสนุนธุ รกิจคนในชุมชน
ระวังรถ ระวังคน อุดหนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
ใส่ ใจเพื่อนร่วมทาง สร้างรายได้ สร้างอาชีพ
กลับสู่ การพัฒนาท้องถิ่น

"ใส่แมส
กั๋นตวยเน้อ

ครับ”

สวมใส่ หน้ ากากอนามัย
ล้างมือบ่อยครั้ง

เว้นระยะห่างกันสักนิ ด
เพื่อชีวิตที่ปลอดภัย

ท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ
ใส่ใจตนเอง ใส่ใจชุมชน
รักษาทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่ งแวดล้อมในชุมชน

ข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดแพร่ วิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญ

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ย้อมสีธรรมชาติ (หม้อห้อมป้าเหงี่ยม)

สำนั กงานแพร่ โดยป้าเหงี่ยม ประภาพรรณ ศรีตรัย

โทรศั พท์ : 054-521-118 โทรศั พท์ : 089-851-3048

18 Facebook : ททท. สำนั กงานแพร่ Facebook : ศูนย์เรียนรู้หม้อห้อมป้าเหงี่ยม

เฉลยเกมทวนความรู้

2 10

ต้ 8 ตี เ ห ล็ ก

7 ซิ่ น แ ห ล้ ชี

ห้ ย

1 4 6 ทั่ ง โ ฮ้ ง
ม9
ผ้ ไ ข

3 ก ำ ฟ้ า ไ ท ย พ ว น

า หย า

ร ม้ พ ง

ป อว

ะ ห้ น

พ อ “เราสองคน
ม ขอลาไปก่อน
5ล า ว
เน้อเจ้า”


< Scan Here for
- วิดีทัศน์ ประกอบการสอน
- กิจกรรมเกม
- PDF ข้อมูลทุ่งโฮ้ง
- Line@

รชพรรณ ฆารพันธ์. (2564). ชุมชนชาติพันธุ์: พวน (ต.ทุ่งโฮ้ง อ.เมือง จ.แพร่).
สืบค้นจาก www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/152

19

"มหัศจรรย์แห่งห้อม มรดกภูมิปัญญา
ล้ำค่าวิถีถิ่นไทยพวน"

เรียบเรียงโดย
นายปิยะพงศ์ ปัญโญ นายสภาพัฒน์ รัชวรพงศ์

และนางสาววริศรา สิงคาม



ขอขอบคุณ
อาจารย์จิณณวัตร เลิศประดิษฐ์ อาจารย์ที่ปรึกษา


Click to View FlipBook Version