รายงาน เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน จัดทำ โดย นางสาว นัสริน หะยีมะ เลขที่ 10 นางสาว วรัญญา รักษ์ทอง เลขที่22 ปสว.1/4แผนกการบัญชี อาจารย์ผู้สอน สุมิตรา เจะอุมา วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี รายงาน หน้าน้ 1 จาก 12
รายงาน หน้าน้ 2 จาก 12
ควาามหมายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน สารบัญ ประเภทของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน อายุให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัว การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า การตัดจำ หน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน การเลิกใช้และการจำ หน่าย การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน รายงาน หน้าน้ 3 จาก 12
ความหมายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ไม่มีตัวตน INTANGIBLE ASSET หมายถึงสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่ สามารถระบุได้และไม่มีรูปธรรมซึ่งเป็น สินทรัพย์ที่หน่วยงานถือไว้เพื่อใช้ในการ ผลิตหรือจำ หน่ายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อ ให้ผู้อื่นเช่า หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการ บริหารงาน ตัวอย่างสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (COMPUTER SOFTWARE) รวมถึงว่าจ้างพัฒนาระบบ เพื่อใช้ในการทำ งาน หรือการซื้อโปรแกรม สำ เร็จรูป สิทธิบัตร (PATENTS)ลิขสิทธิ์ (COPYRIGHTS) ที่มา 1.หลักการและ นโยบายบัญชีสำ หรับหน่วยงานภาครัฐ ฉบับที่ 2 2.มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 55 เรื่องสินทรัพย์ไม่มีตัวตน รายงาน หน้าน้ 4 จาก 12
ประเภทของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอายุการให้ประโยชน์ที่แน่นอน หมายถึงสินทรัพย์ไม่มีตัว ตนซึ่งมีอายุการใช้จำ กัดอายุการใช้ของสินทรัพย์ประเภทนี้ถูกจำ กัดด้วยกฎหมาย ข้อบังคับ ข้อผูกพัน สัญญา หรือโดยสภาพของสินทรัพย์นั่นเองได้แก่ สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์สัมปทาน สิทธิสัญญาเช่า เป็นต้น สินทรัพย์ประเภทนี้จะต้องตัดจำหน่าย ไปตามอายุการใช้ที่ถูกจำ กัดนั้น ในกรณีที่ปรากฏว่าอายุการใช้ของสินทรัพย์นั้น น้อยกว่าอายุตามกฎหมายหรือข้อผูกพันสัญญา สินทรัพย์ไม่มีตัวตนซึ่งมีอายุการให้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน ไม่สามารถ กำ หนดอายุการใช้งานได้แน่นอน (INDEFINITE LIFE)ได้แก่ เครื่องหมายการค้า ชื่อหรือยี่ห้อร้านสัมปทานที่ไม่กำ หนด(PERPETUAL FRANCHISES)ค่าความนิยมหากสินทรัพย์มีอายุในการให้ประโยชน์เป็น รอบๆ ตามกฎหมายแต่สามารถขอต่ออายุ(RENEWAL)ด้เช่น เครื่องหมายการค้าที่ต่ออายุได้ทุก 10 ปี ก็ถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีอายุการให้ ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน กิจการต้องไม่ตัดจำ หน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน อายุการให้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอนแต่ให้ทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์ ไม่มีตัวตนทุกปีและเมื่อมีข้อบ่งชี้ว่าสินทรัพย์ไม่มีตัว รายงาน หน้าน้ 5 จาก 12
อายุให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน กิจการต้องปันส่วนจำ นวนที่คิดค่าตัดจำ หน่ายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ อายุการให้ประโยชน์ทราบได้แน่นอนอย่างมีระบบตลอดอายุการให้ ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน วิธีการตัดจำ หน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัว ตนตามเกณฑ์ที่เป็นระบบตลอดอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์มี หลายวิธี เช่น วิธีเส้นตรง วิธียอดคงเหลือลดลงและวิธีจำ นวนผลผลิต ซึ่งวิธีการตัดจำ หน่ายหากไม่สามารถกำ หนดรูปแบบดังกล่าวได้อย่าง น่าเชื่อถือ กิจการต้องใช้วิธีเส้นตรงในการตัดจำ หน่าย กิจการต้องเริ่ม ตัดจำ หน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเมื่อสินทรัพย์นั้นพร้อมที่ให้ประโยชน์ได้ และหยุดการตัดจำ หน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ณ วันที่กิจการจัดประเภท สินทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย(หรือรวมอยู่ในกลุ่ม สินทรัพย์ที่จัดประเภทเป็น สินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย)ตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5เรื่องสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้ เพื่อขายและการดำ เนินงานที่ยกเลิก และวันที่กิจการตัดรายการ สินทรัพย์นั้นออกจากบัญชีแล้วแต่วันใดจะถึงก่อน วิธีการตัดจำ หน่ายต้องสัมพันธ์กับรูปแบบที่คาดว่าจะได้ใช้ประโยชน์เชิง เศรษฐกิจในอนาคตของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ซึ่งมีข้อสันนิษฐานเบื้องต้น ว่าวิธีการตัดจำ หน่ายโดยอิงกับรายได้เป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมเนื่องจาก ปัจจัยที่ก่อให้เกิดรายได้จากการใช้สินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น ปัจจัยด้าน การตลาดราคาตลาดของสินค้าหรือบริการ จำ นวนคู่แข่งขันใน อุตสาหกรรมเดียวกัน กลยุทธ์ในการแข่งขัน ภาวะเงินเฟ้อเป็นต้น ซึ่ง ไม่สัมพันธ์กับรูปแบบการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ยกเว้น บางสถานการณ์ที่พิสูจนได้ว่ารายได้และรูปแบบการใช้ประโยชน์ของ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก รายงาน หน้าน้ 6 จาก 12
การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า การวัดมูลค่าฉบับที่ 4 เรื่อง การวัดมูลค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ได้แก่ (1) วิธีการวัดมูลค่าโดยการอ้างอิงราคาตลาด(Market approach)* (2) วิธีการวัดมูลค่าโดยใช้รายได้(Income approach)และ (3) วิธีการ วัดมูลค่าโดยใช้ราคาทุน (Cost approach) เนื่องจากประเทศไทยอาจยังไม่มีตลาดซื้อขายคล่อง รองรับธุรกรรมการซื้อขายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอย่างแพร่หลายซึ่ง ต่างจากสินทรัพย์ทางการเงินที่มีตลาดซื้อขายคล่องรองรับ ธุรกรรมซื้อขายหลายรายการ ทำ ให้หลักการวัด มูลค่าของ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิธีการวัดมูลค่า โดยใช้รายได้และหลักราคาทุน ซึ่ง ประกอบด้วยราคาทุนเปลี่ยนแทน (Replacement cost) หรือราคาทุนสร้างทดแทน (Reproduction cost) วิธีการวัดมูลค่าโดยใช้รายได้(Incomeapproach) หลักการในการวัดมูลค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนตามวิธีการวัด มูลค่าโดยใช้รายได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกระแสเงินสดหรือกำ ไรที่ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่พิจารณาสามารถก่อให้เกิดได้(หรือกระแส เงินสดหรือต้นทุนที่สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่พิจารณาสามารถ ประหยัดได้) ที่คิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบันด้วยอัตราคิดลดที่สะท้อน มูลค่าของเงินตามเวลาและความเสี่ยงเฉพาะของสินทรัพย์นั้น รายงาน หน้าน้ 7 จาก 12
การตัดจำ หน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่สามารถระบุได้หรือแยกจาก กิจการได้จะต้องตัดบัญชี (Zmortized ) ให้หมดไป ภายในอายุการให้ประโยชน์ที่ถูกจำ กัดนั้น ซึ่ง มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 51 ได้ให้คำ นิยามไว้ว่า อายุ การให้ประโยชน์ หมายถึง กรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้ ( 1 )ระยะเวลาที่กิจการคาดว่าจะมีสินทรัพย์ไว้ใช้ ( 2 ) จำ นวนผลผลิตหรือจำ นวนหน่วยในลักษณะอื่นที่ คล้ายคลึงกันซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์ ในกรณีที่ปรากฏว่าอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ นั้นน้อยกว่าอายุตามกฎหมายหรือข้อผูกพันสัญญา ก็ อาจตัดบัญชีให้หมดไปภายในระยะเวลาที่เป็นอายุการ ใช้จริง ๆ เช่น ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 กำ หนดให้สิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุ15 ปี ส่วนสิทธิ บัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์มีอายุ7 ปี สำ หรับลิขสิทธิ์ สัมปทาน จะต้องตัดบัญชีให้หมดไปภายในกำ หนด เวลาตามข้อตกลงและหากปรากฎว่าสินทรัพย์หมด ค่าในปีใดก็ควรตัดบัญชีให้หมดไปทันทีในปีที่ทราบนั้น รายงาน หน้าน้ 8 จาก 12
การเลิกใช้และการจำ หน่าย ตัดจำ หน่ายทรัพย์สิน)คือ การเลิกใช้สินทรัพย์ที่เกิดจากการหมดอายุ, เสื่อมสภาพ หรือเก่าล้าสมัยให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกับสินทรัพย์ซึ่งใน ทางบัญชีเมื่อมีการเลิกใช้งานสินทรัพย์จะต้องผ่านรายการเป็นการตัด จำ หน่ายสินทรัพย์นั้นออกไปจากทะเบียนสินทรัพย์ ลักษณะของการตัดจำ หน่ายสินทรัพย์แบ่งออกเป็นดังนี้ 1) การขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 2) การเลิกใช้ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 3)สินทรัพย์เสียหายจากอุบัติภัยต่าง ๆ 4) การแลกเปลี่ยนที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ การขายสินทรัพยกรณีการขายวิธีนี้ถ้าสินทรัพย์ไม่มีราคาซาก การขายจะ ก่อให้เกิด กำ ไรแต่ถ้ามีราคาซาก เงินสดที่ได้รับสูงกว่ามูลค่าซากย่อมเกิดผลกำ ไรแต่ถ้าเงินได้ รับต่ำ ก็ขาด การเลิกใช้ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ กรณีนี้เป็นการเลิกใช้งานเนื่องจากหมดอายุ และมิได้ขายจึงไม่การคำ นวณกำ ไรหรือขาดทุน ยกเว้นสินทรัพย์ที่มีราคาซากคงอยู่ ให้ บันทึกขาดทุนจากการเลิกใช้ สินทรัพย์เสียหายจากอุบัติภัยต่าง ๆ เมื่อเกิดไฟไหม้ น้ำ ท่วม โจรกรรม กิจการต้อง บันทึกตัดจำ หน่ายสินทรัพย์ที่เสียหายออกจากบัญชีทำ ให้เกิดผลขาดทุนขึ้น ส่วน ราคาซากอาจนำ ไปขายเพื่อชดเชยผลขาดทุนได้ การนำ สินทรัพย์เก่าไปแลกเปลี่ยน (Assets Acquired by Exchange) ราคาทุนของ สินทรัพย์ใหม่ ควรบันทึก ด้วยราคาตลาดของสินทรัพย์ที่นำ ไปแลกเปลี่ยน หรือราคา ตลาดของสินทรัพย์ใหม่ แล้วแต่ราคาใดจะเป็นราคาที่มีหลักฐานเป็นที่ทราบแน่นอน ถ้า หากไม่ทราบราคาตลาดทั้ง 2 กรณี ให้ใช้ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่นำ ไปแลก เป็น ราคาทุนของสินทรัพย์ใหม่ เมื่อมีการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น ต้องโอนบัญชีสินทรัพย์เดิมพร้อมค่าเสื่อมราคาสะสมจนถึงวันแลกเปลี่ยน และบันทึกการจ่ายเงินสดเพิ่มเติม ตาม ที่ตกลงกัน รวมทั้งกำ ไรขาดทุนจากการแลกเปลี่ยน รายงาน หน้าน้ 9 จาก 12
หากข้อมูลที่กิจการรายงานในงบการเงินแล้วให้ข้อมูล เกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำ เนินงาน และการ เปลี่ยนแปลงฐานะการเงินที่แท้จริงออกมาได้อย่าง เที่ยงตรง (Precise)แล้วคงไม่มีความจำ เป็นต้องให้ ข้อมูลส่วนเพิ่มแต่อย่างใดแต่การรับรู้รายการและการ วัดมูลค่าตามหลักการบัญชีอาจไม่ได้สะท้อนฐานะการ เงินและผลการดำ เนินงานที่แท้จริงตัวอย่างประเด็น การวิเคราะห์ตามหลักสูตรของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ในเรื่องต่างๆ สะท้อนให้เห็นความลำ เอียง (Bias) ใน การรายงานข้อมูลบัญชี เช่น หนี้สินนอกงบแสดงฐานะ การเงิน การวัดมูลค่าของสินทรัพย์ด้วยพื้นฐานอื่นที่ ไม่ใช่มูลค่ายุติธรรม ข้อกำ หนดให้รับรู้รายจ่ายบาง รายการเป็นค่าใช้จ่าย ทั้งที่รายจ่ายอาจเป็นไปตาม นิยามของสินทรัพย์เป็นต้น การแสดงรายการและการเปิดเผย ข้อมูลในงบการเงิน รายงาน หน้าน้ 10 จาก 12
ประเด็นที่สำ คัญคือการให้ข้อมูลกับผู้ที่มีความรู้ด้านธุรกิจเพียงพอที่จะใช้ข้อมูลและมีความตั้งใจในการศึกษาข้อมูลเพื่อใช้ ประโยชน์ในการตัดสินใจ (ดูนิยามของความเข้าใจได้ในแม่บทการ บัญชี) การให้ข้อมูลคงก่อให้เกิดต้นทุนแก่กิจการแต่การไม่ให้ ข้อมูลดังกล่าวจะก่อให้เกิดต้นทุนในการค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูล สำ หรับนักวิเคราะห์และนักลงทุนรายตัว ซึ่งโดยรวมแล้วคงก่อให้ เกิดต้นทุนรวมต่อระบบเศรษฐกิจที่สูงกว่าแถมยังอาจก่อให้เกิด ข้อมูลภายในที่มีมากขึ้น และอาจก่อให้เกิดกรณีของการใช้ข้อมูล ภายในกิจการในการซื้อขายหลักทรัพย์ ที่จะก่อให้เกิดความไม่ มั่นใจแก่นักลงทุนโดยทั่วไป ข้อมูลที่เปิดเผยจะมีประโยชน์และได้รับการใช้งานในการตัดสินใจ หากข้อมูลนั้นมีคุณภาพจริงแทนที่จะบ่นว่าใครจะใช้ข้อมูล ผู้ทำ บัญชีน่าจะมาไตร่ตรองให้มากขึ้นอีกนิดว่าการให้ข้อมูลใดจะมี ประโยชน์แก่ผู้ใช้งบการเงินและจะส่งผลให้เกิดการใช้ข้อมูลอย่าง กว้างขวางมากขึ้นอย่างที่ตั้งคำ ถามไว้ในย่อหน้าแรก เช่น บาง กิจการให้ข้อมูลจำ แนกตามส่วนงาน แต่มีการเปลี่ยนนิยามของ ส่วนงานอย่างสม่ำ เสมอจนผู้ใช้งบการเงินไม่สามารถวิเคราะห์แนว โน้มของแต่ละส่วนงานในระยะยาวได้เป็นต้น ปล่อยให้ผู้ใช้งบการเงินและกลไกตลาดทำ งานและตัดสินว่าจะใช้ข้อมูลอย่างไร เถิดครับ อย่าเพียงแต่อ้างว่าการเปิดเผยข้อมูลก่อให้เกิดต้นทุนขึ้น โดยไม่มีใครใช้ ข้อมูลเพียงเพื่อหลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูล รายงาน หน้าน้ 11 จาก 12
ข้อมูลเพิ่มเติม รายงาน หน้าน้ 12 จาก 12