. ส านักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 8 โทร 0-453-13740-2 อาชีพทอผ้าไหมมัดหมี่ สมาช ิ กกองท ุ นหม ่ ู บ ้ านธาต ุ น ้ อย
ค าน า เอกสารชุดความรู้เรื่องอาชีพการทอผ้าไหมมัดหมี่ของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ธาตุน้อย หมู่ 10 เล่มนี้จัดท าขึ้นเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับอาชีพการทอผ้าไหมมัดหมี่ ตามวิถีชีวิตของชาวบ้านธาตุน้อย หมู่ 10 ต าบลก้านเหลือง อ าเภออุทุมพรพิสัย จังหวัด ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นการรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและความเป็นมาในการ ทอผ้า กระบวนการขั้นตอนการผลิตผ้าไหมหมัดหมี่ของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านธาตุน้อย และผู้ประสบความส าเร็จจากการประกอบอาชีพทอผ้าไหมมัดหมี่เพื่อจ าหน่าย ส านักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 8 กันยายน 2565
สารบัญ หน้า ข้อมูลทั่วไป 1 กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ 2 จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่อาชีพทอผ้าไหมมัดหมี่ 5 การพัฒนาลายผ้าไหมมัดหมี่ ๖ บทสรุป 9
อาชีพทอผ้าไหมมัดหมี่ ของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านธาตุน้อย ข้อมูลทั่วไป บ้านธาตุน้อยเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่มี 5 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านหนอง เหล็ก หมู่ 8 บ้านหนองเหล็กน้อย หมู่ 9 บ้านธาตุน้อยหมู่ 10 บ้านหัวหนอง หมู่ 16 และ บ้านธาตุน้อย หมู่ 17 ซึ่งบ้านธาตุน้อยหมู่ 10 ต าบลก้านเหลือง อ าเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ มี 90 ครัวเรือน ประชากร 334 คน แยกเป็นชาย 152 คน หญิง 182 คน ซึ่งดั่งเดิมนั้นชาวบ้านธาตุน้อย อพยพมาจากบ้านธาตุต าบลธาตุอ าเภอวังหิน จังหวัดศรี สะเกษ ดังนั้นวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้านธาตุน้อย จึงมีการอยู่อาศัยร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ในรูปแบบเครือญาติซึ่งจะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยประกอบอาชีพท านาเป็นอาชีพหลัก อาชีพเสริมคือเลี้ยงสัตว์ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อน าเส้นไหมมาทอผ้าเป็นผืนผ้าชนิดต่างๆ เช่น ผ้าโสร่ง ผ้าซิ่น ผ้ามัดหมี่ ผ้าขาวม้า เป็นต้น ส่วนใหญ่จะทอผ้าไว้ส าหรับนุ่งห่ม รวมถึง เพื่อจะไว้สวมใส่ในงานบุญประเพณีต่างๆ ซึ่งการทอผ้าไหมของชาวบ้านธาตุน้อยได้มีการสืบ ทอด ภูมิปัญญามาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่น ท าให้มีการการพัฒนาฝีมือ รวมทั้ง ลวดลาย ต่างๆซึ่งความสามารถในการทอผ้าของชาวบ้านธาตุน้อย สามารถทอได้ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย รวมถึงทุกเพศทุกวัยที่อยู่ในหมู่บ้านและอยู่ในครัวเรือนนั้นๆ ก็มีความสามารถใน การทอผ้าเช่นกัน ท าให้ผ้าไหมมัดหมี่ของชาวบ้านธาตุน้อยมีชื่อเสียง ในเรื่องผ้าไหมมัดหมี่ ที่มีการบอกต่อปากต่อปากว่ามีฝีมือในการทอที่ประณีต รวมถึงลวดลายบนผืนผ้าที่มีความ วิจิตรงดงาม
-2- การแต่งกายด้วยผ้าไหมนั้นจะแสดงให้เห็นถึงฐานะทางสังคม ปกติคนส่วนใหญ่ จะใช้ผ้าฝ้ายมาตัดเย็บเพื่อนุ่งห่ม เนื่องจากมีกรรมวิธีที่ไม่ซับซ้อน และมีราคาไม่แพง รวมถึง ซื้อหาได้ง่าย ส่วนเจ้านายหรือชนชั้นสูงจะแต่งกายด้วยผ้าไหม ที่มีลวดลายวิจิตรงดงาม นอกจากผ้าไหมจะน ามาตัดเย็บเพื่อสวมใส่แล้ว ผ้าไหมยังเกี่ยวข้องในพิธีกรรมส าคัญต่างๆใน ท้องถิ่น เช่น พิธีเกิด ซึ่งมารดาจะต้องทอผ้าเตรียมไว้ส าหรับเป็น ผ้าอ้อม ผ้าห่ม เสื้อผ้า ผ้า หุ้มฟูกหุ้มที่นอนส าหรับเด็ก นอกจากนั้นก็ต้องเตรียมไว้ให้กับหมอต าแยผู้ท าคลอดเพื่อเป็น การแสดงความขอบคุณและการส านึกบุญคุณจากการช่วยเหลือในการท าคลอดจนท าให้ลูก ปลอดภัย พิธีบวช ซึ่งชาวอีสานถือว่าการบวชเป็นการสร้างกุศลเพื่อตอบแทนบุญคุณบิดา และมารดา จึงมีความเชื่อกันว่าลูกชายที่บวชเรียนสามารถช่วยให้บิดามารดาได้เกาะชาย ผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์เมื่อบุตรชายอายุครบ 20 ก็จะต้องเข้าพิธีบวช ซึ่งบิดามารดาจะใช้ผ้า ไหมเป็นเครื่องแต่งตัวให้นาค พิธีแต่งงาน จะใช้ผ้าไหมเพื่อเป็นผ้าไหว้ ที่คู่บ่าวสาวจะใช้แสดงความเคารพ ญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย โดยจะใช้ไหว้ในวันท าพิธีแต่งงาน หรือกราบไหว้เมื่อเสร็จสิ้นพิธี งานแต่งงานไปแล้ว พิธีศพ ชาวอีสานจะใช้ผ้าไหมคลุมโลงศพ ซึ่งเป็นการแสดงถึงฐานะของผู้ตาย กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ 1. การเลี้ยงตัวไหม วัตถุดิบและอุปกรณ์ : ใบหม่อน รังไหมพันธุ์ดี(ฝักหรอก) กระด้ง จ่อ เบื้องต้นชาวบ้านจะต้องปลูกต้นหม่อนในปริมาณที่เพียงพอเพื่อไว้เลี้ยงตัวไหม หลังจากนั้นจะน ารังไหมพันธุ์ดีมาใส่กระด้งเพื่อรอให้ผีเสื้อออกจากรังไหมแล้วตัวผู้จะผสม พันธุ์กับตัวเมีย หลังจากนั้นตัวเมียจะวางไข่ ซึ่งไข่จะใช้เวลาฟักประมาณ 9-10 วัน เมื่อไข่ ฟักแล้วจะมีตัวหนอนเล็กๆออกมาจากไข่ ซึ่งหนอนไหมจะมีอยู่ 5 ระยะวัย โดยวัย 1 – 3 จะเป็นวัยอ่อน ต้องให้อาหารที่เป็นใบหม่อนที่อ่อนและสดสะอาด วัย 4 และวัย 5 จะเป็น ตัวไหมวัยแก่ การให้ใบหม่อนเป็นอาหารจะให้วันละ 3 ครั้ง คือเวลา 06.00 น. 11.00 น และ 16.00 น. ซึ่งในระยะวัย 1-5 จะใช้เวลาประมาณ 22-26 วัน พอหนอนไหมแก่หรือ สุกจะหยุดกินใบหม่อน สังเกตได้ง่ายๆคือ ล าตัวของหนอนไหมจะเปลี่ยนเป็นสี่เหลืองใส จะต้องน าตัวไหมที่มีลักษณะเหลืองใสไปใส่จ่อเพื่อให้หนอนไหมชักใยท ารังหุ้มตัวเอง ซึ่งจะใช้
-3- เวลา 5-6 วัน จึงเก็บรังไหมออกจากจ่อ แล้วใส่กระด้งเพื่อเตรียมผลิตเส้นไหมโดยการสาว เป็นเส้นไหมต่อไป ข้อพึงระวัง หนอนไหมวัยแก่จะกินใบหม่อนในปริมาณมาก ท าให้เกิดความ ร้อน ความชื้น และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อันเกิดจากการเผาผลาญอาหาร การหายใจ และการขับถ่ายของเสียของตัวไหม ดังนั้นห้องเลี้ยงไหมจึงอาจมีอุณหภูมิและความชื้นที่ สูงขึ้น ท าให้หนอนไหมอ่อนแอและมีเชื้อโรคเข้าท าลายได้ง่าย อุณหภูมิที่เหมาะสม คือ ประมาณ 24 องศาเซลเซียส ความชื้นประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ 2. การผลิตเส้นไหม วัตถุดิบและอุปกรณ์ : รังไหม รอกและมูเล่ หม้อดิน หรือหม้ออลูมิเนียม หรือหม้อเคลือบส าหรับใส่น้ าต้มรังไหม เตาไฟส าหรับตั้งหม้อต้มรังไหม ไม้คีบส าหรับเกลี่ย รังไหมและเส้นใยไหม ตระกร้าส าหรับใส่เส้นไหมเวลาสาวไหม - น าหม้อใส่น้ าจนเต็มแล้วขึ้นตั้งไฟรอให้ร้อนแล้วใส่รังไหม จากนั้นก็ท าการ ดึงเส้นใยไหมผ่านรอก ใส่ไว้ในตระกร้า ซึ่งการผลิตเส้นไหมในขั้นตอนนี้สามารถผลิตเส้นไหม ได้ 3 – 4 ชนิดขึ้นอยู่กับรังไหมและความช านาญของช่างผู้สาวไหม ได้แก่ ไหมลืบ หรือไหม สาม ไหมน้อย หรือไหมชั้นหนึ่ง ไหมรวมหรือไหมสาวเลย และไหมแลงซึ่งเป็นไหมชั้นในสุด - น าไหมในตระกร้าที่ได้จากการสาวมาท าการกรอเข้า “ กง ” แล้วน าไป หมุนเข้า “ อัก ” เพื่อตรวจหาปุ่มปม หรือตัดแต่งเส้นไหมที่ไม่เท่ากันออก จึงเอาเข้าเครื่อง ปั่นเพื่อให้เส้นไหมแน่นขึ้น ก่อนที่จะหมุนเข้ากงอีกครั้ง เพื่อรวมเป็นไจ ซึ่งหนึ่งไจจะต้องหมุน กง 80 รอบ เรียกว่า “ ไหมดิบ ” - น าเส้นไหมดิบที่ได้ท าการชุบให้อ่อนตัว โดยน าไปชุบน้ าสบู่อ่อนๆ ประมาณ 15-20 นาที แล้วน าไปสลัดและผึ่งลมให้แห้ง โดยหมั่นกระตุกให้เส้นไหมแยกตัว เพื่อน าไปเข้าระวิงได้จากนั้นก็กรอเส้นไหมเข้าหลอดๆ ละเส้น แล้วดึงปลายไหมแต่ละหลอด เข้าไปรวมกัน ม้วนเข้าหลอดควบตามขนาดที่ต้องการ จากนั้นก็น าไปตีเกลียวประมาณ 330 รอบ ต่อความยาว 1 เมตร แล้วก็น าไหมไปนึ่งหรือลวก เพื่อป้องกันมิให้เกลียวเส้นไหมหมุน กลับ หลังจากนั้นก็จะชุบน้ าเย็นแล้วกรอเข้าระวิง เรียกว่า “ ท าเข็ด ” ซึ่งขั้นตอนนี้จะท าให้ เกลียวไหมอยู่ตัว 3. กระบวนการผลิตผ้าไหม กระบวนการผลิตผ้าไหม เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน มีเทคนิคในรายละเอียด มาก ทั้งนี้พอสรุปเป็นขั้นตอนอย่างกว้างๆ 7 ขั้นตอน ดังนี้
-4- ขั้นตอนที่ 1 การฟอกไหม น าไหมดิบมาฟอกเพื่อไม่ให้มีไขมันเกาะ โดยจะ ใช้ด่างจากขี้เถ้าไปฟอกไหม เรียกว่า “ การด่องไหม ” จะท าให้เส้นไหมขาวนวลขึ้น แล้วจึง น าไปย้อม ในสมัยก่อนนิยมใช้สีจากธรรมชาติ เช่น สีแดงจากครั่ง , ผลและใบค าแสด , ราก ยอป่า , มะไฟป่า หรือรากของต้นเข็ม สีเหลืองจากแก่นของ ต้นเข สีจ าปาหรือสีส้มจากดอกค าแสดหรือดอกกรรณิการ์ สี น้ าเงินจากต้นคราม สีเขียวจากเปลือกไม้มะหูด สีเขียว มะกอก จากแก่นไม้ขนุน เปลือกนนทรีและเปลือกต้นตะแบก สีไพล จากใบสัปปะรดอ่อนกับ น้ ามะนาว สีน้ าตาลจะต้น หมาก สีม่วงจากต้นหว้า สีด าจากมะเกลือ , รากต้นชะพลู และสมอแต่ปัจจุบันการย้อมด้วยสีธรรมชาติเริ่มหายไป เนื่องจากมีสีวิทยาศาสตร์เข้ามาแทนที่เพราะหาซื้อง่ายตาม ร้านขายเส้นไหมหรือร้านจ าหน่ายผ้าไหม เมื่อน ามาละลาย น้ าจะแตกตัว ย้อมง่าย สีสดใส ราคาค่อนข้างถูก ทนต่อ การซักได้ดี ขั้นตอนที่ 2 การมัดหมี่ คือการก าหนด ลวดลายของผ้าไหมก่อนน าไปย้อม โดยน าไหมมายึดกับโฮง แล้วมัดเส้นไหมเป็นลวดลายตามที่ต้องการด้วยเชือกฟางให้ แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้สีย้อมหลุดหรือซึมเข้าไปในส่วนที่ ต้องการแต้มสีตามลวดลายที่ต้องการ ขั้นตอนที่ 3 การย้อมสี คือการย้อมโดยใช้สี เคมีหรือสีจากธรรมชาติตามที่ต้องการ โดยน าเส้นไหมลงต้ม ในหม้อย้อม เริ่มจากน้ าอุ่นๆ แล้วเร่งความร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ หมั่นพลิกไหมกลับไปกลับมาเพื่อป้องกันไม่ให้ สีด่าง ซึ่งจะ ใช้เวลาย้อมประมาณ 30-50 นาที จากนั้นจะน าเส้นไหม ขึ้นมาล้างให้สะอาดแล้วน าไปผึ่งให้แห้ง ขั้นตอนที่ 4 การกวักหรือปั่น คือการ น าเอาเส้นไหมมาพันรอบกง แล้วกวักใส่อักไหม จากนั้นแยก ส่วนไหนเป็นไหมเส้นยืน และส่วนไหนที่เป็นไหมเส้นพุ้ง หรือ ไหมที่ไว้ทอก็เตรียมจะน าไปปั่นไว้ใส่หลอดแล้วร้อยลงใส่ เชือกไว้ เพื่อความสะดวกเวลาหยิบใส่กระสวย ทอได้ทันที และจะได้ลายหมี่ที่ต่อเนื่องสวยงาม
-5- ขั้นตอนที่ 5 การค้นหูก คือการน าไหมที่เตรียมไว้ใช้เป็นไหมเส้นยืน มาท า การร้อยไปตามหลักเฝือความยาวตามที่ต้องการ ส่วนความกว้างจะใช้เส้นไหมตามขนาดของ ฟืมซึ่งมีช่องฟันที่มีลักษณะคล้ายหวี ฟืมจะมีขนาดตั้งแต่ 35 – 50 หลบ หรือมากกว่านี้ แต่ละหลบมี 40 ช่องฟัน แต่ละช่องฟันจะสอดเส้นไหมยืน 2 เส้น ดังนั้น การทอครั้งหนึ่ง อาจใช้เส้นไหมยืนประมาณ 2,800 – 4,000 เส้น ขั้นตอนที่ 6 การสืบหูก เป็นกระบวนการที่น าเส้นไหมยืนที่มีการย้อม เรียบร้อยแล้ว มาท าการสืบหรือร้อยใส่ฟืมเพื่อเตรียมทอในล าดับต่อไป ขั้นตอนที่ 7 การทอ เป็นนการน าเส้นไหม มากกว่า 2 เส้นขึ้นไปมาขัดสลับกัน ด้วยการน าไหมพุ้ง ที่ปั่นใส่หลอดแล้วน าใส่ร่องกระสวย ร้อยจากหลอดผ่าน รูเล็กๆ ข้างกระสวย และทอตามล าดับ (หากต้องการสร้าง ลายในขณะทอก็จะใช้วิธีเก็บขิดหรือจก)ซึ่งในแต่ละขั้นตอน จะมีกระบวนการที่มีความยุ่งยากและซับซ้อน ผู้ทอผ้าต้อง ใช้ความสามารถพิเศษเฉพาะตัวค่อนข้างสูง ผนวกกับการ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาประยุกต์ใช้ในการทอผ้าจึงจะท าให้ ผ้าไหมที่ได้มีความปราณีตงดงาม การพัฒนาลายผ้าไหมมัดหมี่ จังหวัดศรีสะเกษ ได้ศึกษาเทคนิคในการสร้างลายจากวิธีการมัดหมี่เพื่อสร้าง ลายบนผืนผ้าซึ่งถือเป็นวิธีการดั้งเดิมที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านในจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีความถนัดและคุ้นเคยเป็นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้ว มาการพัฒนาโดยใช้หลายเทคนิควิธีการ ร่วมกันควบคู่ไปกับความต้องการทางการตลาด มาอบรมให้ความรู้แก่ผู้ผลิตผ้าไหมหมัดหมี่ ให้สามารถออกแบบและสร้างสรรค์ลวดลายต่างๆ เพื่อพัฒนางานผ้าไหมมัดหมี่ของผู้ผลิตผ้า ไหมมัดหมี่และกลุ่มอาชีพผลิตผ้าไหมต่างๆ ให้มีความทันสมัย วิจิตงดงาม และทรงคุณค่า เป็นที่ประทับใจแก่ลูกค้าและบุคคลทั่วไป ตัวอย่างลายผ้าที่พัฒนา ลายต้นสน ลายขอโทรศัพท์ ลายผีเสื้อ
-6- ลายหมากจับหมู่ ผ้ามัดหมี่คั่น ลายขอเชิงเทียน ลายดอกพิกุล ผ้ามัดหมี่ขอ จากภูมิปัญญาสู่อาชีพทอผ้าไหมมัดหมี่ จากวิถีชีวิตของชาวบ้านธาตุน้อยซึ่งได้มีการสืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้ามาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจากรุ่น สู่รุ่น เริ่มตั้งแต่กระบวนการปลูกหม่อน การเลี้ยง ไหม ตลอดจนการสาวไหมด้วยมือตามวิถีพื้นบ้านที่ท าให้เส้นไหมมีความเงางามและอ่อนนุ่ม แล้วฟอกย้อมด้วยกรรมวิธีธรรมชาติและผ่านกระบวนการผลิตที่ท าด้วยมือทุกขั้นตอน ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นผสานกับเทคนิควิธีการถักทอผ้าด้วยความเอาใจใส่อย่างประณีต ละเอียดอ่อน และอดทน ท าให้เนื้อผ้ามีความแน่น สม่ าเสมอ โดยเฉพาะผ้าไหมมัดหมี่ ซึ่งมี ลวดลายชัดเจนงดงามเป็นเอกลักษณ์จนท าให้มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากคนในชุมชน และในพื้นที่ใกล้เคียง ท าให้มีผู้เข้ามาขอซื้อผ้าไหมมัดหมี่จากชาวบ้านธาตุน้อยมากขึ้น ตามล าดับ
-7- ผ้าไหมที่เป็นที่นิยมของตลาดคือผ้าไหมมัดหมี่ ซึ่งมีความต้องการมากที่สุดคือในช่วงเทศกาล งานพิธีต่างๆ ท าให้ชาวบ้านธาตุน้อยเริ่มยึดอาชีพทอผ้าไหมมัดหมี่ขายเป็นอาชีพเสริมมาก ยิ่งขึ้น แต่ปัญหาจากการเลี้ยงไหมซึ่งผู้เลี้ยงได้รับผลกระทบ อันเนื่องมาจากปริมาณ ใบหม่อนไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงตัวไหมบ้าง ระหว่างการเลี้ยงไหม ตัวไหมติดเชื้อตายเป็น จ านวนมากบ้าง ตลอดจนกระบวนการ ผลิตเส้นไหมต้องใช้ระยะเวลานาน ท าให้เส้นไหมที่ได้ไม่เพียงพอ และ ไม่ทันต่อความต้องการในช่วงเวลา ที่ จ ะผ ลิ ตผ้ าไ ห ม ท าให้ปั จ จุบัน ชาวบ้านธาตุน้อยไม่นิยมปลูกหม่อน เลี้ยงไหม แต่หันมาซื้อเส้นไหมเพื่อ น ามาผลิตผืนผ้าแทน แต่ก็ยังมีปัญหา เกี่ยวกับเส้นไหมซึ่งมีราคาสูงท าให้ ชาวบ้านมีเงินทุนไม่เพียงพอในการ ซื้อเส้นไหมจ านวนมากๆ มาผลิตผืนผ้า ให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า จ าเป็นต้องซื้อตามก าลังเงินทุนของ ตนเอง หรือ บางรายต้องกู้ยืมเงินเพื่อน าไปซื้อเส้นไหมมาผลิตผ้าไหม ท าให้มีภาระหนี้สิน ตามมา ต่อมาปีพ.ศ. 2559 รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณโครงการประชารัฐ เพื่อให้ กองทุนหมู่บ้านน าไปลงทุน ซึ่งกองทุนหมู่บ้านธาตุน้อย หมู่ 10 ก็ได้รับอนุมัติให้ด าเนินงาน โครงการทอผ้าไหมมัดหมี่ จ านวน 500,000 บาท และได้รับงบประมาณเพื่อต่อยอด โครงการ ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2560 พ.ศ. จ านวน 200,000 บาท ครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2561 จ านวน 300,000 บาท และครั้งที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2563 จ านวน 200,000 บาท รวมงบประมาณที่ได้รับเป็นจ านวนเงินทั้งสิ้น 1,200,000 บาท (หนึ่งล้านสองแสนบาท) ซึ่งคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านธาตุน้อยได้น างบประมาณดังกล่าวมาเป็นเงินทุนหมุนเวียน ในการจัดซื้อเส้นไหมจากจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นแหล่งจ าหน่ายเส้นไหมรายใหญ่ และมีเส้น ไหมหลากหลายแบบให้เลือกโดยราคาก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเส้นไหม แล้วน ามาจ าหน่ายให้ สมาชิกกองทุนหมู่บ้านในราคาที่ถูก โดยการขายเส้นไหมของกองทุนหมู่บ้านก็มีทั้งขายสด และขายเชื่อ เพื่อให้สมาชิกได้น าเส้นไหมไปผลิตผ้าไหมมัดหมี่เพื่อจ าหน่าย ท าให้เกิดการ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน เพราะได้เส้นไหมที่คุณภาพ ดีราคาถูก ก็ท าให้ต้นทุนในการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ต่ า ผ้าไหมก็มีคุณภาพดี เมื่อน าผ้าไหมไป
-8- จ าหน่ายก็ท าให้ได้ราคาสูงเป็นที่น่าพอใจ ส่งผลให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านรวมถึงคนในชุมชน มีรายได้ ตลอดจนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน นางประชุมพร เมืองศรี ซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านธาตุน้อย เล่าว่า ตอนแรกครอบครัวของตนก็ทอผ้าไหมเพื่อใช้ตัดเย็บสวมใส่เองในครัวเรือนมาตั้งแต่สมัย ปู่ ย่า ตา ยาย และต่อมาก็ได้ใช้ภูมิปัญญาที่ตกทอดมาสู่ตน น ามาต่อยอดในการทอผ้าไหม จ าหน่ายจนมีรายได้แต่ไม่มากพอเนื่องจากทุนน้อย ต่อมาเมื่อมีโครงการประชารัฐเข้ามาใน กองทุนหมู่บ้านท าให้ตนเองและครอบครัวสามารถผลิตผ้าไหมมัดหมี่ได้มากขึ้นจากแต่ก่อน ผลิตได้ปีละ 70 ผืน ปัจจุบันสามารถผลิตได้ปีละ 200 ผืน คิดเป็นเงินเฉลี่ย 200,000 บาท/ปี ส่งผลให้ครอบครัวของตนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถน าเงินที่ได้มาเป็นค่าใช้จ่าย ให้ลูกเรียนจนจบระดับอุดมศึกษาและมีงานท าเป็นหลักแหล่งมั่นคง นางอมรศิลป์ ชัยชนะ สมาชิกกองทุนหมู่บ้านธาตุน้อย เล่าเสริมว่า นอกจากอาชีพทอผ้าไหมมัดหมี่จะสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนแล้ว การทอผ้าไหมมัดหมี่อออ ที่ทุกคนในครัวเรือนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือคนโตตลอดจนหญิงหรือชาย ซึ่งทุกคน มีความสามารถในทุกขั้นตอนของการทอผ้าไหมมัดหมี่อยู่แล้ว โดยแต่ละครอบครัวก็มีการ แบ่งหน้าที่เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทอผ้า ท าให้คนในครอบครัวมีความใกล้ชิด ท าให้ เกิดความสนิทสนม และกิดความรักความสามัคคีผูกพันธ์กัน เนื่องจากกระบวนการต่างๆ ใน การทอผ้าไหมจะท าภายในบ้านของตนเอง เมื่อทุกคนมารวมตัวกันท าก็จะพูดคุยหยอกล้อกัน หากครอบครัวไหนที่มีลูกหลานเป็นวัยรุ่น ก็ท าให้พวกเขาได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดย ให้พวกเขาได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของครอบครัวท างาน เมื่อถึงเวลา จ าหน่ายผ้าไหมได้เงินแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองก็จะแบ่งเงินให้เด็กๆ ท าให้พวกเขามีก าลังใจ และอยากมีส่วนร่วมในการทอผ้าของครอบครัว
-9- บทสรุป ปัจจัยแห่ง ความส าเร็จจากอาชีพทอผ้าไหมมัดหมี่ของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ธาตุน้อย หมู่ 10 ต าบลก้านเหลือง อ าเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ 1. องค์ความรู้ในการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และถือ เป็นวิถีของชาวบ้านธาตุน้อย ในการทอผ้าไหมมัดหมี่ไว้สวมใส่ ซึ่งมีการสืบทอดจากรุ่น สู่รุ่น สู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการผลิตผ้าไหม จาก พช. อบต. กศน. และหน่วยงานต่างๆ ส่งผลให้ผู้ผลิตผ้าไหมมัดหมี่มีองค์ความรู้ตั้งแต่ กระบวนการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ ตลอดจนการบรรจุภัณฑ์และการตลาด ท าให้กระบวนผลิต การออกแบบลวดลายผ้า มีความคิดสร้างสรรค์ ความประณีต วิจิตรงดงาม สร้างมูลค่าให้กับ ผืนผ้าได้ดียิ่งขึ้น 2. งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐในการด าเนินงานโครงการทอผ้า ประชารัฐ ผ่านส านักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติสามารถเป็นทุนในการซื้อ เส้นไหมซึ่งมีราคาถูก เพื่อให้ให้แก่สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน และชุมชน น าไปผลิตผ้าไหม ท าให้ เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน 3. การมีส่วนร่วมของคนในครอบครัว ในการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ส่งผลให้ใช้ ระยะเวลาในกระบวนการผลิตผ้าไหมมัดหมี่น้อย สามารถส่งมอบลูกค้าได้เร็ว ก่อให้เกิด รายได้หมุนเวียนในครัวเรือนอย่างสม่ าเสมอ