The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เล่มรายงานประจำปี 65 รอบ 6 เดิอนแรก (รวมไฟล์)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by dulkung1010, 2022-06-08 01:45:30

เล่มรายงานประจำปี 65 รอบ 6 เดิอนแรก (รวมไฟล์)

เล่มรายงานประจำปี 65 รอบ 6 เดิอนแรก (รวมไฟล์)

Keywords: รายงานรอบ 6 เดือน

รายงานผลการปฏิบัติงานของ
คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

รอบ ๖ เดือนแรก (๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ - ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕)

www.ggc.opm.go.th

คำนำ

รายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
รอบ ๖ เดอื นแรก (๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ – ๓๑ มนี าคม ๒๕๖๕) ฉบับน้ี นาเสนอผลการดาเนินงานของคณะกรรมการ
ธรรมาภิบาลจังหวดั (ก.ธ.จ.) ที่ได้ปฏบิ ัตภิ ารกิจตามบทบาท อานาจหนา้ ที่ ตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าดว้ ย
คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด พ.ศ. ๒๕5๒ และที่แก้ไขเพ่ิมเติม ในการสอดส่องและเสนอแนะการปฏิบัติ
ภารกิจของหน่วยงานของรฐั และเจา้ หนา้ ทีข่ องรฐั ในจงั หวดั ใหใ้ ช้วิธีการบรหิ ารกจิ การบา้ นเมืองท่ดี ี

สานักงานปลัดสานักนายกรฐั มนตรี หวังเปน็ อย่างยงิ่ วา่ รายงานฉบบั นี้ จะเปน็ ประโยชน์ต่อหน่วยงาน
ของรัฐและผู้ที่เก่ียวข้อง ได้รับทราบการดาเนินงานและผลการติดตามสอดส่องแผนงาน/โครงการต่าง ๆ รวมท้ัง
เรื่องร้องเรียน ในพ้ืนท่ีทั้ง ๗๖ จังหวัด ในรอบ ๖ เดือนแรก ของ ก.ธ.จ. อย่างไรก็ตาม รายงานผลการปฏิบัติงาน
ดงั กลา่ ว จะนาไปผนวกกับรายงานผลการปฏบิ ัติงานฯ ในรอบ ๖ เดือนหลัง เพอ่ื สรปุ และจดั ทาเป็นรายงานภาพรวม
ผลการปฏิบตั งิ านประจาปี นาเสนอคณะรัฐมนตรีและเผยแพร่ประชาสัมพันธใ์ ห้ผทู้ ่ีเกย่ี วข้อง ไดร้ ับทราบต่อไป

สานกั งานปลัดสานักนายกรฐั มนตรี
พฤษภาคม ๒๕๖๕

สำรบัญ

 สรุปสาระสาคญั หนา้
 ความเปน็ มา อานาจหนา้ ที่ และแนวทางการขบั เคลื่อนการดาเนินงาน ก-ณ
1-๙
ของคณะกรรมการธรรมาภบิ าลจงั หวดั
1-2
 ความเป็นมา ๓-4
5-9
 อานาจหนา้ ท่ี 10 - 41

 แนวทางการขับเคล่ือนการดาเนินงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจงั หวัด 10
10 - 12
 ผลการปฏบิ ัตงิ านของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจงั หวดั 12 - 41
ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖5 รอบ ๖ เดอื นแรก
12 - 23
 การประชมุ ก.ธ.จ. เพ่ือสอดส่องแผนงาน/โครงการในพื้นที่จังหวัด
24 - 32
 ประเภทของแผนงาน โครงการ/เรอ่ื งร้องเรียน ท่ี ก.ธ.จ. สอดสอ่ ง 33 - 38
39 - 41
 การติดตามสอดสอ่ งหนว่ ยงานของรัฐและเจา้ หน้าที่ของรัฐให้ใชว้ ธิ กี ารบรหิ าร
กจิ การบ้านเมืองท่ีดี พร้อมกรณีตัวอยา่ ง 42
• การสอดส่องแผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบตั ริ าชการประจาปีของจงั หวดั
และกลุม่ จังหวดั 42
• การสอดส่องแผนงาน/โครงการของสว่ นราชการในจงั หวัด
43 - 45
• การสอดสอ่ งแผนงาน/โครงการอ่นื ๆ 46

• การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากการปฏบิ ตั ิงานของหน่วยงานของรัฐ 47 - 64
และเจ้าหน้าทีข่ องรัฐ (เรอ่ื งร้องเรยี น)
 การปฏิบัตงิ านรว่ มกบั หน่วยงานที่รว่ มลงนามในบนั ทึกข้อตกลง (MOU)
ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมชิ อบในสว่ นราชการและ
หนว่ ยงานของรฐั
 การมสี ่วนร่วมในการกากบั และติดตามการปฏบิ ตั ริ าชการในภมู ภิ าค ตามคาสง่ั
สานักนายกรัฐมนตรี ท่ี ๒๔๑/๒๕๖๓ เรอ่ื ง มอบหมายใหร้ องนายกรัฐมนตรกี ากับ
และตดิ ตามการปฏบิ ัติราชการในภูมภิ าค
 การดาเนนิ การเรื่องอื่น ๆ ทีส่ าคญั ตามมตทิ ่ปี ระชมุ ก.ธ.จ.

 ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกยี่ วกับการปฏิบัตงิ านของ ก.ธ.จ.

 ภาคผนวก : รายชื่อแผนงาน/โครงการ/เรอ่ื งรอ้ งเรยี น ที่ ก.ธ.จ. สอดสอ่ ง

สรุปสาระสำคัญ

ในรอบ ๖ เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ (๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕)
ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดได้ขับเคลื่อนการปฏิบัติ
ภารกิจตามอำนาจหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด
พ.ศ. ๒๕๕๒ และที่แกไ้ ขเพ่มิ เติม โดยมผี ลการดำเนินงาน ดงั นี้

๑. การประชมุ ก.ธ.จ. เพ่ือสอดส่องแผนงาน/โครงการในพน้ื ท่ีจงั หวัด

ในรอบ ๖ เดือนแรก ของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ (๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕)
คณะกรรมการธรรมาภบิ าลจังหวดั (ก.ธ.จ.) ได้มกี ารประชมุ เพ่ือกำหนดแผนการติดตามสอดสอ่ งการปฏิบัติงาน
ของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัดให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
รวมทงั้ สิ้นจำนวน ๗๖ ครั้ง โดย ก.ธ.จ. จำนวน ๗๖ คณะ/จังหวดั มีการประชมุ คณะ/จังหวดั ละ ๑ คร้งั

เนอื่ งจากสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรสั โคโรนา 2019 (COVID – 19) ในบางพื้นท่ี
ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน ก.ธ.จ. ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานของ ก.ธ.จ. โดยมีการ
ประชุมกรรมการ ก.ธ.จ. ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน ๑๕ คณะ ๆ ละ 1 ครั้ง ซึ่งทำให้สามารถขับเคลื่อน
การดำเนนิ งานของ ก.ธ.จ ไดอ้ ยา่ งตอ่ เน่อื ง

๒. การติดตามสอดส่องหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ใช้วิธีการบริหาร
กจิ การบา้ นเมอื งทด่ี ี

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๒ และทแ่ี ก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๒๓ ได้กำหนดให้ ก.ธ.จ. สอดส่องหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหาร
กิจการบ้านเมืองที่ดี ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอย่างน้อย
ดังนี้

(๑) ปฏิบัติภารกิจให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม ตลอดจนไม่ละเมิดสิทธิ
และเสรีภาพของประชาชน

(๒) ปฏิบัติภารกิจเพอ่ื อำนวยความสะดวก ใหบ้ ริการ และสนองความต้องการของประชาชน
(๓) ปฏบิ ตั ิภารกจิ เพ่อื ประโยชนส์ ุขของประชาชน
(๔) ปฏิบัตภิ ารกิจให้เกิดผลสมั ฤทธิ์ มปี ระสทิ ธิภาพและมีความคุ้มคา่
(๕) ปฏิบัติภารกิจโดยไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น ให้ทันต่อสถานการณ์โดยเฉพาะ
ในเรื่องทเ่ี ปน็ ความเดือดร้อนและทกุ ข์ยากของประชาชน

รายงานผลการปฏบิ ตั งิ านของ ก.ธ.จ. ก

ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก

สรุปสาระสำคัญ

(๖) ปฏบิ ัตภิ ารกจิ โดยยดึ หลักการมีส่วนรว่ มของประชาชน และการเปดิ เผยขอ้ มลู อยา่ งโปรง่ ใส
(๗) ปฏิบตั ภิ ารกจิ โดยมกี ารติดตาม ตรวจสอบ และประเมนิ ผลการปฏิบตั งิ านสมำ่ เสมอและเผยแพร่
ตอ่ สาธารณะ

ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ก.ธ.จ. ได้มีแผนการปฏิบัติงานในการติดตามสอดส่องแผนงาน/
โครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ส่วนราชการในจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอื่น ๆ จำนวน
๑,๖๑๖ แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ซึ่งในรอบ ๖ เดือนแรก ของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ (๑ ตุลาคม
๒๕๖๔ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕) ก.ธ.จ. ได้ติดตามสอดส่องแผนงาน/โครงการ และเรื่องร้องเรียน รวม ๑๘๖
แผนงาน/โครงการ/เรื่อง พบว่า ไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีจำนวนท้ังสิน้ ๗๕ แผนงาน/
โครงการ/เรื่อง โดย ก.ธ.จ. มีมติเป็นข้อเสนอแนะ จำนวน ๑๒๔ ข้อ ซึ่งจังหวัด/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รับข้อเสนอแนะไปดำเนินการแล้ว จำนวน ๘๗ ข้อ หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๐.๑๖ ของข้อเสนอแนะทั้งหมด
อย่างไรก็ดี ในการติดตามสอดส่องแผนงาน/โครงการ ก.ธ.จ. แต่ละคณะจะได้ดำเนินการขับเคลื่อนการ
ปฏิบัติงานของ ก.ธ.จ. ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในช่วงระยะเวลา ๖ เดือนหลังของปี งบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ตอ่ ไป

ตารางแสดงผลการสอดส่องและให้ข้อเสนอแนะของ ก.ธ.จ.

ลำดบั การสอดสอ่ งของ จำนวนแผนงาน/ จำนวนแผนงาน/ จำนวน จำนวน
ท่ี ก.ธ.จ. โครงการ/เรื่อง โครงการ/เรื่อง ท่ีไมเ่ ป็นไป ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะ
ที่ ก.ธ.จ. สอดสอ่ ง ของ ก.ธ.จ. ท่ีจงั หวดั รับ
(โครงการ/เรื่อง) ตามหลกั การบรหิ าร ไปดำเนนิ การ
กิจการบ้านเมืองที่ดี (ขอ้ )
(โครงการ/เรือ่ ง) (ข้อ)

แผนงาน/โครงการ

1 ตามแผนปฏิบัตริ าชการประจำปี ๔๘ 2๙ ๔๐ ๑๖

ของจังหวัดและกลมุ่ จังหวัด

๒ แผนงาน/โครงการของ ๒๗ ๑๔ ๔๗ ๔๔
ส่วนราชการในจังหวดั

๓ แผนงาน/โครงการอืน่ ๆ ๘๖ ๘ ๑๒ ๘
(เช่น อปท. รฐั วิสาหกจิ ฯลฯ)

การแก้ไขปัญหา

ความเดอื ดรอ้ นจากการ

๔ ปฏิบตั งิ านของหนว่ ยงานของรฐั 25 ๒4 2๕ 1๙

และเจา้ หนา้ ทขี่ องรฐั ในจังหวัด

(เรอื่ งรอ้ งเรยี น)

รวม ๑๘๖ ๗๕ ๑๒๔ ๘๗

แผนงาน/โครงการ และการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ
และเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัด (เรื่องร้องเรียน) ที่ ก.ธ.จ. ได้ดำเนินการสอดส่องทั้งหมด จำนวน
๑๘๖ แผนงาน/โครงการ/เรื่อง พบว่าเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนด้านสาธารณูปโภค อาทิ ถนน
โทรศัพท์ ไฟฟ้า เชื้อเพลิง ประปา การระบายน้ำ การกำจัดขยะ การสื่อสาร ฯลฯ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ
๖๗.๗๔ รองลงมาเปน็ ดา้ นทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ ม คดิ เป็นรอ้ ยละ ๑๒.๓๗ และด้านอืน่ ๆ ดงั น้ี

ข รายงานผลการปฏิบตั ิงานของ ก.ธ.จ.

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก

สรปุ สาระสำคัญ

ตารางแสดงประเภทแผนงาน/โครงการ/เรอ่ื งร้องเรยี น ที่ ก.ธ.จ. สอดสอ่ ง

ลำดับท่ี ดา้ น จำนวนแผนงาน/โครงการ/เรื่อง คดิ เปน็ ร้อยละ

1 สาธารณปู โภค ๑๒๖ ๖๗.๗๔

2 ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ๒๓ ๑๒.๓๗

3 เศรษฐกิจ 22 ๑๑.๘๓

4 สังคม ๑1 ๕.๙๑

5 อื่น ๆ ๓ ๑.๖๑

6 สาธารณสขุ ๑ 0.๕๔

รวม ๑๘๖ 100

การสอดส่องแผนงาน/โครงการ และการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากการปฏิบัติงานของ
หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัด (เรื่องร้องเรียน) ท่ีไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการ
บ้านเมืองที่ดี จำนวน ๗๕ แผนงาน/โครงการ/เรื่อง ดังกล่าว ในภาพรวม พบว่าไม่เป็นไปตามระเบียบฯ
ข้อ ๒๓ (๔) ปฏิบตั ิภารกิจให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสทิ ธภิ าพและมีความคุ้มค่า มากทสี่ ุด คดิ เป็นร้อยละ ๓๖.๖๗
รองลงมาเป็น ข้อ ๒๓ (๓) ปฏิบัติภารกิจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๕๐ และอื่น ๆ
ตามแผนภมู ิ ดงั นี้

แผนภมู ิแสดงรอ้ ยละของแผนงาน/โครงการ/เรอ่ื ง ในภาพรวม
ท่ีไม่เป็นไปตามระเบียบฯ ข้อ ๒๓ (๑) – (๗)

๒๓ (๕) ๒๓ (๖) ๒๓ (๗) ๒๓ (๑) หนว่ ย : รอ้ ยละ
5.00 11.67 0.00 6.66
๒๓ (๒)
12.50

๒๓ (๔)
36.67

๒๓ (๓)
27.50

ซ่งึ สามารถแสดงรายละเอียดผลการสอดส่องของ ก.ธ.จ. ตามแนวทางในการสอดส่อง ดงั น้ี

รายงานผลการปฏิบตั ิงานของ ก.ธ.จ. ค

ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก

สรุปสาระสำคญั

ก.ธ.จ. ได้ดำเนินการสอดส่องแผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด
และกลุ่มจังหวัด ตามกรอบแนวทางในการปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่ของ ก.ธ.จ. จำนวน 48 แผนงาน/
โครงการ โดยเป็นแผนงาน/โครงการด้านสาธารณูปโภค มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๖๗ รองลงมาเป็น
ดา้ นเศรษฐกจิ คิดเป็นรอ้ ยละ ๓๓.๓๓ และดา้ นอน่ื ๆ ตามลำดับ ดังน้ี

ลำดบั ที่ ด้าน จำนวนโครงการ/เรอื่ ง คิดเป็นร้อยละ
20 ๔๑.๖๗
1 สาธารณูปโภค 16 ๓๓.๓๓
9 ๑๘.๗๕
2 เศรษฐกจิ 3 ๖.๒๕
48 100
3 ทรัพยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อม

4 สังคม

รวม

ซึ่งแผนงาน/โครงการที่ ก.ธ.จ. ได้สอดส่องดังกล่าว พบว่า ไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
จำนวน 29 แผนงาน/โครงการ จำแนกได้ว่าไม่เป็นไปตามระเบียบฯ ข้อ ๒๓ (๔) ปฏิบัติภารกิจให้เกิด
ผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มค่า มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๖๑.๓๖ รองลงมาเป็น ข้อ ๒๓ (2)
ปฏบิ ัติภารกจิ เพอื่ อำนวยความสะดวก ให้บริการ และสนองความต้องการของประชาชน และข้อ ๒๓ (๖) ปฏิบัติ
ภารกิจโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน และการเปิดเผยข้อมูล อย่างโปร่งใส เท่ากัน คิดเป็นร้อยละ
๑๓.๖๔ และอนื่ ๆ ดังนี้

แผนภูมแิ สดงร้อยละของแผนงาน/โครงการตามแผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปีของจังหวดั และกลมุ่ จงั หวัด
ท่ีไมเ่ ปน็ ไปตามระเบียบฯ ข้อ 23 (1) – (7)

80
61.36

60

ร้อยละ 40

20 13.64 11.36 13.64
0 00

0

๒๓ (๑) ๒๓ (๒) ๒๓ (๓) ๒๓ (๔) ๒๓ (๕) ๒๓ (๖) ๒๓ (๗)

(7) – (1)23 อ้ข ฯบยบี เะร

โดยการสอดส่องแผนงาน/โครงการดังกลา่ ว ก.ธ.จ. มีมตเิ ป็นขอ้ เสนอแนะ จำนวน ๔๐ ข้อ ซง่ึ จงั หวัด/หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะไปดำเนินการแล้ว จำนวน ๑๖ ข้อ สำหรับข้อเสนอแนะที่เหลือ อยู่ระหว่าง
การดำเนนิ งานของจงั หวดั /หน่วยงาน

ง รายงานผลการปฏิบตั ิงานของ ก.ธ.จ.

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก

สรปุ สาระสำคัญ

โครงการขุดลอกคลองและก่อสร้างถนนทางเข้าโครงการพัฒนาพื้นที่เฉพาะหนองจระเข้คุด ตำบลย่านซื่อ
อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง

ผลการสอดส่องของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. อ่างทอง ได้สอดส่องโครงการขุดลอกคลองและก่อสรา้ งถนนทางเข้าโครงการพัฒนาพ้นื ที่
เฉพาะหนองจระเขค้ ุด ตำบลยา่ นซื่อ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอา่ งทอง ซงึ่ เปน็ โครงการตามแผนปฏิบัติราชการ
ประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยมีโครงการชลประทานอ่างทองเป็นหน่วยงานดำเนินการ พบว่า
การขุดลอกคลองสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการรับน้ำและกักเก็บน้ำ รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการระบาย
น้ำได้ระดับหนึ่ง แต่จังหวัดอ่างทองเป็นที่ราบลุ่มรองรับน้ำจากทางภาคเหนือ จึงทำให้เกิดปัญหาอุทกภัย
ช่วงฤดูน้ำหลาก เกิดปัญหาภัยแล้งช่วงหน้าแล้ง ซึ่งพื้นที่จังหวัดอ่างทองมีแหล่งกักเก็บน้ำไม่มากนักทำให้เกิด
ปัญหาเป็นประจำ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจปฏิบัติภารกิจไม่เป็นไป
ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามระเบียบฯ ข้อ ๒๓ (๒) ปฏิบัติภารกิจเพื่ออำนวยความสะดวก
ให้บริการและสนองความต้องการของประชาชน (4) ปฏิบัติภารกิจให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ และ
มคี วามคุม้ คา่ และ (๖) ปฏบิ ัติภารกจิ โดยยึดหลักการมสี ่วนร่วมของประชาชน และการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส
ขอ้ พิจารณา/มตขิ อง ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. อ่างทอง พิจารณาแล้วขอให้โครงการชลประทานอ่างทองพิจารณาหาพื้นที่จัดทำแหล่ง
กักเก็บน้ำหรือแก้มลิง รวมทั้งเพิ่มความลึกของลำคลองที่มีอยู่เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ในพื้นที่ได้มากข้ึน
ลดผลกระทบจากปญั หาอทุ กภัยและภยั แล้ง
ผลการดำเนนิ การของจงั หวดั /หนว่ ยงานท่เี กย่ี วขอ้ ง
โครงการชลประทานอ่างทอง แจ้งวา่ ได้เรง่ สำรวจแหล่งเกบ็ น้ำและเพ่มิ ศักยภาพในการรับน้ำและ
ระบายน้ำในคลองร่วมกับโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาในพ้นื ท่ี เพื่อต้ังเป็นแผนงานในการเสนอขอรับการสนับสนุน
งบประมาณและบรู ณาการรว่ มกบั องค์กรปกครองสว่ นท้องถิ่นต่อไป

ผตู้ รวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (นางรุ่งรัตนา บญุ -หลง) ประธาน ก.ธ.จ. อ่างทอง
ลงพ้ืนทรี่ ่วมกบั คณะกรรมการธรรมาภิบาลจงั หวัดอ่างทอง

รายงานผลการปฏบิ ตั งิ านของ ก.ธ.จ. จ

ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก

สรปุ สาระสำคัญ

ก.ธ.จ. ได้ดำเนินการสอดส่องแผนงาน/โครงการของส่วนราชการในจังหวัด ตามกรอบ
แนวทางการปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่ของ ก.ธ.จ. จำนวน 27 แผนงาน/โครงการ โดยเป็นแผนงาน/
โครงการด้านสาธารณูปโภค มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๗๗.๗๙ รองลงมาเป็นด้านทรัพยากรธรรมชาติ
และส่ิงแวดลอ้ ม คิดเปน็ ร้อยละ ๑๔.๘๑ และดา้ นอืน่ ๆ ตามลำดับ ดงั นี้

ลำดบั ท่ี ดา้ น จำนวนเรอ่ื ง ร้อยละ
๒๑ ๗๗.๗๙
1 สาธารณูปโภค ๔ ๑๔.๘๑
๑ ๓.๗๐
2 ทรพั ยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อม ๑ ๓.๗๐
๒๗ 100
3 สงั คม

4 เศรษฐกจิ

รวม

ซึ่งแผนงาน/โครงการที่ ก.ธ.จ. ได้สอดส่องดังกล่าว พบว่า ไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
จำนวน 14 แผนงาน/โครงการ จำแนกได้ว่าไม่เป็นไปตามระเบียบฯ ข้อ ๒๓ (3) ปฏิบัติภารกิจเพื่อประโยชน์
สุขของประชาชน มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๕๗ รองลงมาเป็นข้อ ๒๓ (๖) ปฏิบัติภารกิจโดยยึดหลักการมี
สว่ นร่วมของประชาชน และการเปดิ เผยข้อมูล อย่างโปรง่ ใส คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๒๙ และอ่ืน ๆ ดงั น้ี

แผนภูมแิ สดงรอ้ ยละของแผนงาน/โครงการตามแผนงาน/โครงการของส่วนราชการในจงั หวดั
ทีไ่ ม่เปน็ ไปตามระเบียบฯ ขอ้ 23 (1) – (7)

100 78.57
80

้รอยละ 60

40 14.29
00
20 0 0 7.14
0

๒๓ (๑) ๒๓ (๒) ๒๓ (๓) ๒๓ (๔) ๒๓ (๕) ๒๓ (๖) ๒๓ (๗)

ระเบียบฯ ขอ้ 23 (1) – (7)

โดยการสอดสอ่ งแผนงาน/โครงการดงั กล่าว ก.ธ.จ. มมี ติเป็นขอ้ เสนอแนะ จำนวน 47 ขอ้ ซง่ึ จงั หวดั /หนว่ ยงาน
ที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะไปดำเนินการแล้ว จำนวน 44 ข้อ สำหรับข้อเสนอแนะที่เหลือ อยู่ระหว่าง
การดำเนินงานของจงั หวัด/หน่วยงาน

ฉ รายงานผลการปฏิบตั ิงานของ ก.ธ.จ.

ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก

สรุปสาระสำคญั

โครงการก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปา (Water Treatment System) ตามบัญชีนวัตกรรมไทยบ้านไทย
เจริญ อำเภอไทยเจริญ จงั หวัดยโสธร

ผลการสอดส่องของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. ยโสธร ได้สอดส่องโครงการก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปา (Water Treatment System)
ตามบัญชีนวัตกรรมไทย บ้านไทยเจริญ อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร พบว่า โครงการได้ดำเนินการเสร็จ
เรยี บรอ้ ยแล้ว มปี ระชาชนใช้ประโยชน์จากระบบผลิตนำ้ ประปาในพ้ืนท่ี หม่ทู ี่ ๑ บ้านไทยเจริญ จำนวนประมาณ
๒๐๐ ครัวเรือน รวมถึงส่วนราชการและที่ทำการปกครองอำเภอด้วย แต่ระบบจ่ายน้ำยังไม่สามารถจ่ายให้
หมู่บ้านอื่นได้ อีกทั้งยังมีการต่อเติมสิ่งต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่อาจส่งผลต่อ
ความปลอดภัยและเกิดความเสยี หายต่อระบบผลิตน้ำประปา ซงึ่ กรณีดงั กล่าวไม่อยใู่ นเง่ือนไขของการประกันสัญญา
ซึ่งการดำเนินการดังกลา่ วหนว่ ยงานของรัฐหรือเจา้ หน้าที่ของรัฐอาจปฏิบัตภิ ารกิจไม่เป็นไปตามหลักการบรหิ าร
กิจการบ้านเมืองที่ดี ตามระเบยี บฯ ข้อ ๒๓ (๓) ปฏิบัตภิ ารกจิ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรฐั มนตรี (นางสุมติ รา อตศิ ัพท)์ ประธาน ก.ธ.จ. ยโสธร
ประชมุ และลงพืน้ ท่รี ว่ มกบั คณะกรรมการธรรมาภิบาลจงั หวัดยโสธร

ข้อพจิ ารณา/มตขิ อง ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. ยโสธร พิจารณาแล้ว มีมตใิ หจ้ ังหวัด/หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง ดำเนนิ การดังน้ี
๑. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำการต่อเติมสิ่งต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายที่จะก่อให้เกิดประโยชน์
สูงสุด แต่การต่อเติมบางอย่าง เช่น การต่อไฟฟ้าโดยไม่มอี ุปกรณ์ป้องกนั เนื่องจากโครงสร้างของระบบประปา
เป็นเหล็ก จงึ อาจทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าทเี่ ปน็ อนั ตรายกับประชาชนท่อี ยูใ่ นบรเิ วณดังกล่าว และอาจทำใหร้ ะบบ
เกดิ ความเสียหายได้ ซึ่งกรณดี ังกล่าวหากเกิดความเสียหายจะไม่ครอบคลุมเง่ือนไขในการประกนั สัญญา ดังน้ัน
หากจะมีการต่อเติมอปุ กรณ์ใด ๆ ขอใหอ้ งค์การบริหารส่วนตำบลไทยเจริญ (อบต.ไทยเจริญ) มีการปรึกษาหารือ
บริษัทผู้รับจ้าง เกี่ยวกับการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม และควรให้บริษัทผู้รับจ้างได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจกับ
เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูแลระบบทั้งในส่วนของที่ทำการปกครองอำเภอไทยเจริญ และประชาชนกลุ่มผู้ใช้น้ำ
ถงึ ข้อจำกดั และขอ้ พึงระมดั ระวังในเรือ่ งตา่ ง ๆ เป็นสำคญั

รายงานผลการปฏบิ ตั ิงานของ ก.ธ.จ. ช

ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก

สรปุ สาระสำคญั

๒. บริเวณใกล้เคียงระบบประปามีต้นไม้สูง ซึ่งระบบประปาดังกล่าวมีสายล่อฟ้าอยู่ แต่กรณี
ที่มีต้นไม้สูงกว่าระบบประปาดังกล่าว หากมีฝนตกอาจส่งผลให้เกิดฟ้าผ่าต้นไม้โดยตรงไม่ไปที่สายล่อฟ้า
ของระบบ ก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบผลิตน้ำประปาได้ จึงขอให้ที่ทำการปกครองอำเภอไทยเจริญ
และ อบต. ไทยเจริญพึงระวัง โดยควรจัดทำป้ายเตือนไม่ให้ประชาชนเข้าใกลร้ ะบบผลิตน้ำประปาในช่วงฝนตก
และควรตัดตน้ ไม้บริเวณโดยรอบใหต้ ่ำกว่าถงั สงู ของระบบผลิตนำ้ ประปา

๓. โครงการมีการใช้งบประมาณดำเนินโครงการสูง เมื่อมีการถ่ายโอนโครงการฯ ไปยัง อบต.
ไทยเจริญ จะมีการส่งมอบให้กลุ่มผู้ใช้น้ำรับผิดชอบดูแลบริหารจัดการต่อไป จึงขอให้นายอำเภอไทยเจริญ
ช่วยกำกับดูแลหลังจากที่มีการส่งมอบโครงการฯ แล้ว โดยขอให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการ
ให้เกิดความยั่งยืนและในช่วงแรกขอให้ อบต.ไทยเจริญ มีการดูแลควบคู่ไปกับกลุ่มผู้ใช้น้ำจนกว่าจะมั่นใจว่า
กลุ่มผู้ใช้น้ำสามารถควบคุมดูแลได้อย่างมีประสิทธภิ าพ มีการจัดเก็บค่าใช้น้ำไม่สูงจนเกินไป นอกจากนี้ ขอให้
หมั่นตรวจสอบและทำความสะอาดท่อส่งน้ำ เพื่อให้ระบบการส่งน้ำไม่เกิดการอุดตันและไม่มีตะกอนตกค้าง
เพือ่ ใหน้ ำ้ ไหลไดส้ ะดวกย่ิงข้ึน

ผลการดำเนินการของจงั หวดั /หนว่ ยงานที่เกี่ยวขอ้ ง
หนว่ ยงานทเี่ กีย่ วข้องได้ดำเนินการตามขอ้ เสนอแนะของ ก.ธ.จ. ยโสธร เรียบรอ้ ยแล้ว

ก.ธ.จ. ไดด้ ำเนินการสอดสอ่ งแผนงาน/โครงการอน่ื ๆ เช่น แผนงาน/โครงการขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น (Local) และแผนงาน/โครงการของรัฐวิสาหกิจ ตามกรอบแนวทางในการปฏิบัติภารกิจ
ตามอำนาจหน้าที่ของ ก.ธ.จ. จำนวน ๘๖ โครงการ โดยเป็นแผนงาน/โครงการด้านสาธารณูปโภค มากที่สุด
คดิ เปน็ ร้อยละ ๘๖.๐๕ รองลงมาเปน็ ดา้ นสังคม คดิ เปน็ ร้อยละ ๔.๖๕ และด้านอน่ื ๆ ตามลำดับ ดังน้ี

ลำดับท่ี ดา้ น จำนวนเรือ่ ง ร้อยละ
๗๔ ๘๖.๐๕
1 สาธารณปู โภค 4 ๔.๖๕
4 ๔.๖๕
2 สงั คม 3 ๓.๔๙
1 ๑.๑๖
3 เศรษฐกิจ 86 100

4 ทรพั ยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ ม

5 สาธารณสุข

รวม

ซึ่งแผนงาน/โครงการที่ ก.ธ.จ. ได้สอดส่องดังกล่าว พบว่า ไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
จำนวน ๘ แผนงาน/โครงการ จำแนกได้ว่าไม่เป็นไปตามระเบียบฯ ขอ้ ๒๓ (๔) ปฏิบตั ิภารกิจให้เกิดผลสัมฤทธิ์
มีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มค่า มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๑๐ รองลงมาเป็น ข้อ ๒๓ (๒) ปฏิบัติภารกิจ
เพื่ออำนวยความสะดวก ให้บริการ และสนองความต้องการของประชาชน คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๓๒ และอื่น ๆ
ดงั นี้

ซ รายงานผลการปฏบิ ตั ิงานของ ก.ธ.จ.

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก

สรุปสาระสำคัญ

แผนภมู ิแสดงร้อยละของแผนงาน/โครงการอื่น ๆ ทีไ่ ม่เป็นไปตามระเบยี บฯ ขอ้ 23 (1) – (7)

้รอยละ 50 42.10
40
30 26.32

20 15.79 15.79

10 0.00 0.00 0.00
0

๒๓ (๑) ๒๓ (๒) ๒๓ (๓) ๒๓ (๔) ๒๓ (๕) ๒๓ (๖) ๒๓ (๗)

ระเบยี บฯ ขอ้ 23 (1) – (7)

โดยการสอดส่องแผนงาน/โครงการดังกล่าว ก.ธ.จ. มมี ตเิ ปน็ ขอ้ เสนอแนะ จำนวน ๑๒ ขอ้ ซง่ึ จงั หวัด/หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะไปดำเนินการแล้ว จำนวน ๘ ข้อ สำหรับข้อเสนอแนะที่เหลือ อยู่ระหว่าง
การดำเนนิ งานของจงั หวดั /หนว่ ยงาน

โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ลานจอดรถท่าน้ำหน้าพระราชวังจันทรเกษมเพื่อการท่องเที่ยว อำเภอ
พระนครศรอี ยธุ ยา จงั หวัดพระนครศรีอยุธยา

ผลการสอดสอ่ งของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. พระนครศรอี ยุธยา ได้สอดสอ่ งโครงการปรบั ปรุงภูมทิ ศั น์ลานจอดรถท่านำ้ หนา้ พระราชวัง
จันทรเกษมเพื่อการท่องเที่ยว โดยมีเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ พบว่า มีรถเข็น
ของจอดทิ้งไว้บริเวณลานจอดรถและมีการตั้งเต็นท์เพื่อให้ผู้ค้าแผงพระใช้เป็นการชั่วคราว ทำให้พื้นท่ี
ไม่เป็นระเบียบ บดบังอาคารเดิมที่เป็นโครงสร้างถาวร และบดบังภูมิทัศน์ของวังจันทรเกษมที่มีคุณค่า
ทางประวตั ศิ าสตร์ ซงึ่ การดำเนินการดงั กล่าวหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าท่ีของรัฐอาจปฏิบัติภารกิจไม่เป็นไป
ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามระเบียบฯ ข้อ ๒๓ (๒) ปฏิบัติภารกิจเพื่ออำนวยความสะดวก
ให้บริการ และสนองความต้องการของประชาชน (4) ปฏิบัติภารกิจให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ
และมีความคุ้มค่า และ (๖) ปฏิบัติภารกิจโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน และการเปิดเผยข้อมูล
อย่างโปร่งใส

ขอ้ พิจารณา/มตขิ อง ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. พระนครศรีอยธุ ยา พจิ ารณาแลว้ มีมติใหจ้ ังหวดั /หน่วยงานที่เกย่ี วข้อง ดำเนินการดงั น้ี
1. ขอให้เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาดำเนินการจัดระเบียบพื้นที่โดยการลงทะเบียนผู้ที่จะ
เข้ามาค้าขาย
๒. ขอให้พิจารณาถงึ เต๊นท์ที่ให้มีผูค้ า้ แผงพระเชา่ อยู่ในปจั จบุ นั ใหเ้ หมาะสมกับสภาพพื้นท่ีด้วย

รายงานผลการปฏบิ ตั งิ านของ ก.ธ.จ. ฌ

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก

สรปุ สาระสำคัญ

ผู้ตรวจราชการสำนกั นายกรัฐมนตรี (นางร่งุ รัตนา บญุ -หลง) ประธาน ก.ธ.จ. พระนครศรีอยุธยา
ลงพนื้ ทีร่ ่วมกบั คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวดั พระนครศรีอยธุ ยา

ผลการดำเนินการของจังหวัด/หน่วยงานทีเ่ กี่ยวข้อง
เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาแจ้งผลการดำเนนิ การ ดังนี้
1. จดั ประชุมวางแผนในการแก้ไขการจดั ระเบียบพ้ืนที่ โดยเชิญผคู้ ้าภาคเอกชนเข้ารว่ มวางแผนดว้ ย
๒. การต้ังเต็นท์เพ่ือให้ผู้ค้าใช้เป็นการช่วั คราวระหว่างปรบั ปรงุ อาคาร เมื่ออาคารแล้วเสร็จจะร้ือออก

การแก้ไขปญั หาความเดือดรอ้ นจากการปฏบิ ัติงานของหนว่ ยงานของรฐั
และเจ้าหน้าทีข่ องรัฐ (เรื่องร้องเรียน)

การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(เรื่องรอ้ งเรียน) ซง่ึ มีเรื่องรอ้ งเรียนเข้าสู่การพิจารณาของ ก.ธ.จ. จำนวน 25 เรอื่ ง โดยเปน็ เรื่องที่ส่งผลกระทบ
ต่อประชาชนด้านสาธารณูปโภค มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๔๔ รองลงมาเป็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและ
ส่ิงแวดลอ้ ม คิดเป็นร้อยละ ๒๘ และดา้ นอน่ื ๆ ตามลำดบั ดังน้ี

ลำดับที่ ด้าน จำนวนเรอ่ื ง รอ้ ยละ
11 ๔๔
1 สาธารณูปโภค ๗ ๒๘
๓ ๑๒
2 ทรพั ยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ ม ๓ ๑๒

3 สังคม 1 ๔
25 100
๔ อื่น ๆ

๕ เศรษฐกิจ

รวม

ซึ่งเรือ่ งร้องเรยี นที่ ก.ธ.จ. ไดส้ อดสอ่ งดงั กล่าว พบวา่ ไม่เปน็ ไปตามหลกั การบริหารกจิ การบ้านเมืองที่ดี จำนวน
24 เรื่อง จำแนกไดว้ ่าไม่เป็นไปตามระเบยี บฯ ข้อ ๒๓ (๓) ปฏิบัตภิ ารกิจเพ่ือประโยชนส์ ุขของประชาชน มากที่สุด
คดิ เปน็ ร้อยละ ๓๒.๕7 รองลงมาเป็นข้อ ๒๓ (๑) ปฏิบตั ิภารกิจให้เป็นไปตามกฎหมายเพ่ือรักษาประโยชน์ส่วนรวม
ตลอดจนไมล่ ะเมดิ สิทธิและเสรีภาพของประชาชน และข้อ 23 (๔) ปฏิบัติภารกจิ ใหเ้ กิดผลสัมฤทธ์ิ มปี ระสิทธภิ าพ
และมีความคมุ้ คา่ เทา่ กนั คิดเป็นรอ้ ยละ ๑๘.๖๐ และอื่น ๆ ดงั นี้

ญ รายงานผลการปฏบิ ตั ิงานของ ก.ธ.จ.

ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก

สรปุ สาระสำคัญ

แผนภูมิแสดงรอ้ ยละ ของเร่ืองรอ้ งเรียนทีไ่ มเ่ ปน็ ไปตามระเบียบฯ ข้อ 23 (1) – (7)

40 32.57

30

้รอยละ 20 18.6 9.3 18.6
10 13.95
0 6.98

0

๒๓ (๑) ๒๓ (๒) ๒๓ (๓) ๒๓ (๔) ๒๓ (๕) ๒๓ (๖) ๒๓ (๗)

23 (1) – (7) อข้ ฯบยบี เะร

ซึ่งเรื่องร้องเรียนดังกล่าว ก.ธ.จ. มีมติเป็นข้อเสนอแนะ จำนวน 25 ข้อ โดยจังหวัด/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รับข้อเสนอแนะไปดำเนินการแล้ว จำนวน 19 ข้อ สำหรับข้อเสนอแนะที่เหลืออยู่ระหว่างการดำเนินงาน
ของจงั หวัด/หนว่ ยงาน

เรื่องร้องเรียนกรณีสะพานข้ามคลองมหาชัย (สะพานวัดเจษ) ชำรุดเสียหาย ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง
สมุทรสาคร จงั หวัดสมุทรสาคร

ผลการสอดส่องของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. สมุทรสาคร พิจารณาเรื่องร้องเรยี นกรณีสะพานข้ามคลองมหาชัย (สะพานวดั เจษ) ตำบล
มหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เกิดการชำรุดเสียหาย ซึ่งเป็นเร่ืองร้องเรียนของประชาชน
พบวา่ สะพานขา้ มคลองมหาชัยบริเวณถนน จ.1 จากตวั เมืองสมุทรสาครไปตำบลวัดเจษฯ เกิดการชำรดุ เสียหาย
โดยตอม่อสะพานมีความชำรุดเสียหายถึงขั้นมีอันตรายจำนวน ๔ ต้น ซึ่งตอม่อบางต้นที่อยู่ในน้ำพบคอนกรีต
ที่หุ้มตอม่อไว้ถูกน้ำกัดเซาะหลุดออกทำให้น้ำกัดเซาะเข้าไปถึงเหล็กด้านในจนเกิดเป็นสนิมขึ้น ส่งผลอันตราย
ต่อโครงสร้างสะพาน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจปฏิบัติภารกิจ
ไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามระเบียบฯ ข้อ 23 (4) ปฏิบัติภารกิจให้เกิดผลสัมฤทธิ์
มีประสิทธิภาพ และมีความคมุ้ คา่

ข้อพจิ ารณา/มติของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. สมุทรสาคร พจิ ารณาแลว้ มมี ตใิ หห้ น่วยงานที่เก่ียวข้องดำเนนิ การแก้ไขปัญหากรณีสะพาน
ขา้ มคลองมหาชัย เกิดการชำรุดเสยี หาย

ผลการดำเนินการของจงั หวัด/หน่วยงานทเ่ี กี่ยวขอ้ ง
เทศบาลนครสมุทรสาคร ไดด้ ำเนินการ ดังน้ี
1. มีหนังสือถึงกรมทางหลวงชนบทเพื่อขอความอนุเคราะห์งบประมาณเพื่อดำเนนิ การซ่อมแซม
ทั้งนี้ กรมทางหลวงแจง้ วา่ ไมส่ ามารถจดั สรรงบประมาณในการซ่อมแซมได้

รายงานผลการปฏบิ ตั ิงานของ ก.ธ.จ. ฎ

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก

สรปุ สาระสำคัญ

๒. ยื่นญัตติต่อสภาเทศบาลฯ เพื่อขอมติในการใช้เงินสะสมของเทศบาลฯ ซ่อมแซม ซึ่งสภา
เทศบาลฯ มมี ตเิ ห็นชอบให้ใชเ้ งนิ สะสมของเทศบาลฯ ดำเนินการซอ่ มแซมสะพานได้

3. มีหนังสือถึงกรมทางหลวงชนบท และกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อขอความอนุเคราะห์
ออกแบบสะพานและประมาณราคาในการซ่อมแซมสะพาน

ทั้งนี้ เทศบาลนครสมุทรสาคร มีแนวคิดที่อาจจะต้องดำเนินการสร้างสะพานขึ้นมาใหม่
จึงดำเนินการว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีดำเนินการตรวจสอบความเสียหายและ
ออกแบบสะพานอย่างไรก็ตาม นอกจากจะพบปัญหาเรื่องโครงสร้างสะพานที่ชำรุดแล้ว ยังพบว่าสะพาน
ประสบปัญหาในการระบายการจราจรเนื่องจากเชิงสะพานมีทางแยก และทางรถไฟขวางอยู่ ทำให้จราจรติดขัด
มหาวิทยาลยั ฯ จึงได้ออกแบบสะพานเพื่อแก้ปญั หาจราจรไว้ท้ังหมด ๔ แบบ ทั้งการสร้างคอ่ มสะพานเดิม สร้าง
ขนานกบั สะพานเดิมหรือขยายช่องจราจรในตวั สะพานเดิม

ผูต้ รวจราชการสำนักนายกรฐั มนตรี (นายพีระ ทองโพธ์ิ) ประธาน ก.ธ.จ. สมทุ รสาคร
ลงพื้นทร่ี ว่ มกับคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดสมทุ รสาคร

๓. ผลการดำเนนิ การอ่นื ๆ ของ ก.ธ.จ.

ในปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ก.ธ.จ. ไดม้ กี ารดำเนินการเรื่องอนื่ ๆ ดังนี้
๓.๑ การปฏบิ ัติงานร่วมกับหน่วยงานท่ีร่วมลงนามในบนั ทึกข้อตกลง (MOU)ในการป้องกัน
และแกไ้ ขปัญหาการทจุ รติ ประพฤติมิชอบในสว่ นราชการและหน่วยงานของรฐั

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรใี นฐานะหนว่ ยงานสนับสนุนการปฏิบัติงานของ ก.ธ.จ.
สาํ นกั งานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจรติ แห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สาํ นกั งานคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
และกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) การปฏิบัติงานร่วมกันในการป้องกันและ
แก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ซึ่งได้มีการปฏิบัติงานร่วมกัน
โดย ก.ธ.จ. ได้มีมติให้เชิญหน่วยงาน MOU เข้าร่วมประชุม และลงพื้นที่สอดส่องร่วมกันเพื่อรับฟังปัญหาต่าง ๆ
แลกเปล่ียนความคิดเห็น ให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะกับหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบในเชิงป้องกนั

๓.๒ การมีส่วนร่วมในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ตามคำสั่งสำนัก
นายกรัฐมนตรี ท่ี ๒๔๑/๒๕๖๓ เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ
ในภูมภิ าค โดย ก.ธ.จ. ไดล้ งพืน้ ที่สอดสอ่ งโครงการทีไ่ ด้รบั การสนับสนนุ งบประมาณรายจา่ ยประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕

ฏ รายงานผลการปฏบิ ตั งิ านของ ก.ธ.จ.

ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก

สรุปสาระสำคัญ

งบกลาง รายการเงนิ สำรองจ่ายเพ่ือกรณีฉุกเฉิน หรือจำเปน็ ในอำนาจของรองนายกรฐั มนตรี เชน่ ก.ธ.จ. ยโสธร
ศรสี ะเกษ อบุ ลราชธานี อำนาจเจรญิ ตาก พิษณุโลก เพชรบรู ณ์ สุโขทัย เป็นต้น

๓.๓ การดำเนินการเรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญตามมติที่ประชุม ก.ธ.จ. เช่น การเข้าร่วมตรวจ
ราชการแบบบูรณาการ การเข้าร่วมเปน็ คณะกรรมการกำหนดพนื้ ที่ที่จะเดนิ สำรวจออกโฉนดท่ีดิน การเข้าร่วม
ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการต้านการทุจริต
การเข้าร่วมประชมุ คณะกรรมการพจิ ารณาคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ของจงั หวัด
มหาสารคาม เปน็ ต้น

๔. แนวทางการดำเนินงานของปลดั สำนกั นายกรฐั มนตรี
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ) ได้มอบแนวทางการดำเนินงานเชิงรุก

ให้แก่คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดในคราวอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ ก.ธ.จ. เกี่ยวกับ
แนวทางการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงการปฏิบัติงานร่วมกันในการป้องกัน
และแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ (MOU) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เมื่อวันท่ี ๒๒, ๒๗, ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ และวันท่ี ๑๗ มกราคม ๒๕๖๕ โดยขอให้ ก.ธ.จ. เป็นกลไกสำคัญ
ในการสนับสนนุ และช่วยขบั เคลือ่ นการปฏบิ ัตงิ านของทางราชการดา้ นต่าง ๆ ดังน้ี

๑. การตรวจราชการตามแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการ ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ มกี รอบการตรวจราชการแบบบรู ณาการ ดงั น้ี

๑.๑ การขับเคลื่อนประเดน็ นโยบายสำคัญของรฐั บาล (Issue)
๑.๒ การตดิ ตาม ตรวจสอบ และประเมนิ ผล เพ่อื ขับเคล่ือนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ
๑.๓ การติดตามความคืบหนา้ การแก้ไขปญั หาสำคัญในเชิงพื้นท่ี
๑.๔ การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนหรือข้อร้องเรียนของประชาชน หรือผลักดัน
การดำเนนิ โครงการ มาตรการสำคัญในเชิงพนื้ ทข่ี องส่วนราชการ

๒. การสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล เช่น การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตาม
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม การปฏิบัตติ ามพระราชบัญญตั ิธง
พ.ศ. ๒๕๒๒ การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล โดยสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ตรวจราชการ
สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนเพื่อร่วมส่งเสริมหลักคุณธรรม จริยธรรม และ

รายงานผลการปฏิบตั ิงานของ ก.ธ.จ. ฐ

ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก

สรปุ สาระสำคัญ

ธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของหน่วยงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมระดับท้องถิ่น
ตามหลกั ธรรมาภิบาลระหว่างองคก์ รปกครองส่วนท้องถ่นิ ผ้นู ำชุมชน ประชาชนทุกภาคส่วน

๓. การบูรณาการการทำงานของ ก.ธ.จ. ทค่ี าดหวงั
๓.๑ น้อมนำพระปฐมบรมราชโองการ ศาสตร์พระราชาและพระบรมราโชบายของ

พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลกั ในการปฏิบตั ิหน้าที่
๓.๒ ร่วมคิด ร่วมตรวจ ร่วมให้ข้อเสนอแนะ ร่วมสร้างเครือข่ายการตรวจราชการและ

ร่วมขับเคลื่อนให้เกิดการดำเนินการตามข้อเสนอแนะ เพื่อให้การตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจ
ราชการเกดิ ประสิทธิภาพสูงสดุ

๓.๓ ผลักดันให้เกิดการบูรณาการทำงานระหว่างของรัฐ ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้
อย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดการพัฒนาการปฏิบัติราชการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่ประโยชน์
สูงสุดตอ่ ประชาชน

๓.๔ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้เสร็จสิ้น หรือบรรเทาความรุนแรงของปัญหา
กอ่ นท่จี ะลุกลามเป็นปญั หาของมวลชน

๓.๕ ปฏิบัติงานใหเ้ ป็นไปตามอำนาจหน้าท่ี กฎหมายและระเบียบทเี่ ก่ียวข้องอย่างเคร่งครดั

สำหรับหลักการทำงานของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่ยึดถือปฏิบัติมาโดยตลอดนั้น ได้น้อมนำ
พระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักในการปฏิบัติหน้าท่ี โดยยึดปรัชญาในการ
ทำงาน “เร็ว รุก สุขกับงาน วิชาการนำหน้า จิตอาสาเพื่อสังคม” และมุ่งผลสำเร็จของงานเพื่อสร้างความสุข
และเพิ่มรอยยิ้มให้กับประชาชน มีความมุ่งมั่นในการทำความดี เก่ง กล้า มีอุดมการณ์และเป็นแบบอย่างที่ดี
ของสังคม มจี ติ อาสารว่ มกันทำประโยชนเ์ พ่ือสว่ นรวม นอกจากนี้ ไดข้ อให้กรมประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และ
ประชาสัมพนั ธผ์ ลงานของ ก.ธ.จ. อยา่ งต่อเนือ่ งด้วยแลว้

ฑ รายงานผลการปฏบิ ตั งิ านของ ก.ธ.จ.

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก

สรปุ สาระสำคญั

ปลัดสำนกั นายกรัฐมนตรี (นายธรี ภทั ร ประยรู สิทธิ)
ลงพ้นื ที่ติดตามการปฏิบตั ิงานของส่วนราชการ และประสานการทำงานกับ ก.ธ.จ. ในพนื้ ที่
❖ ลงพื้นที่ตรวจราชการร่วมกับนายกรัฐมนตร/ี รองนายกรฐั มนตร/ี รฐั มนตรี

❖ ลงพืน้ ที่ตรวจราชการรว่ มกบั ผู้ตรวจราชการสำนกั นายกรฐั มนตรี

รายงานผลการปฏบิ ตั ิงานของ ก.ธ.จ. ฒ

ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก

สรุปสาระสำคญั

❖ หารือขอ้ ราชการกับคณะกรรมการธรรมาภบิ าลจงั หวดั

❖ ติดตามการบริหารจดั การนำ้ และช่วยเหลอื ผ้ปู ระสบปญั หาอุทกภยั ❖ ติดตามการแกไ้ ขปัญหา
มลพิษทางอากาศและปัญหา
ฝนุ่ PM2.5

❖ ตดิ ตามการแก้ไขปญั หาเร่ืองรอ้ งทุกขข์ องประชาชน

❖ มอบความช่วยเหลือจากกองทนุ เงนิ ช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภยั สำนักนายกรฐั มนตรี

ณ รายงานผลการปฏบิ ตั ิงานของ ก.ธ.จ.

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก

รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก ๑

ความเปน็ มา และอานาจหนา้ ที่

❖ ความเปน็ มา ❖

พระราชบัญญัติระเบียบบรหิ ารราชการแผน่ ดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญตั ิ
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับท่ี ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๕๕/๑ ได้กาหนดให้มีคณะกรรมการธรรมาภิบาล
จังหวัด หรือเรยี กโดยยอ่ ว่า “ก.ธ.จ.” ในทุกจังหวัด ยกเวน้ กรงุ เทพมหานคร เพือ่ ทาหนา้ ที่สอดส่องและเสนอแนะ
การปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐในจงั หวดั ให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบา้ นเมืองที่ดี และเป็นไปตามหลักการ
ท่กี าหนดไว้ตามมาตรา ๓/๑ สาหรบั จานวน วิธกี ารสรรหาและการปฏิบตั ิหน้าที่ของ ก.ธ.จ. ให้เป็นไปตามระเบียบ
สานักนายกรัฐมนตรี

พ.ร.ฎ. วา่ ด้วยหลกั เกณฑ์
และวิธกี ารบริหารกิจการ
บา้ นเมอื งท่ดี ี พ.ศ. ๒๕๔๖

แผนภมู ิท่ี ๑
ความเปน็ มาและภารกิจการสอดส่อง/เสนอแนะของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด

๒ รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก

ระเบยี บสานกั นายกรฐั มนตรี ว่าดว้ ยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวดั พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้ประกาศใน
ราชกจิ จานุเบกษา เม่อื วันท่ี ๒๗ เมษายน ๒๕๕๒ และมีผลใชบ้ งั คับเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๒ ซ่งึ ทาให้เกิด
กระบวนการมสี ว่ นรว่ มของภาคประชาชนในการสอดส่องและเสนอแนะการปฏบิ ัตภิ ารกิจของหน่วยงานของรัฐ
เจ้าหน้าท่ีของรัฐในจังหวัด ให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพ่ือให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรม และมี
ความรับผิดชอบ ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาล
จังหวัด (ฉบับท่ี ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ มีผลใช้บังคับเม่ือวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ซ่ึงเป็นการเปลี่ยนแปลงเก่ียวกับ
หลกั เกณฑ์ วิธีการสรรหากรรมการ การกาหนดสัดส่วนของกรรมการผู้แทนสมาชิกสภาท้องถ่ิน การจัดทาบัญชี
รายชอื่ สารอง ตลอดจนการลงคะแนนเพือ่ เลือกกันเอง

สาหรับองคป์ ระกอบของ ก.ธ.จ. จะประกอบด้วยผู้แทนจาก ๓ ภาคส่วน คอื ผู้แทนภาคประชาสังคม
ผู้แทนสมาชิกสภาทอ้ งถนิ่ ท่ไี ม่ได้ดารงตาแหนง่ ผูบ้ ริหาร และผูแ้ ทนภาคธุรกิจเอกชน เป็นกรรมการ โดยมีผูต้ รวจ
ราชการสานักนายกรฐั มนตรี ซ่ึงมีเขตอานาจในจงั หวัดเป็นประธาน และมีฝ่ายเลขานุการ ซ่ึงเป็นเจ้าหน้าที่จาก
สานักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรี ท่ีปลัดสานักนายกรัฐมนตรีแต่งต้ังเป็นเลขานุการหน่ึงคน ผู้ช่วยเลขานุการ
หน่ึงคน และให้ผู้ว่าราชการจงั หวดั แตง่ ต้ังข้าราชการในจังหวัดน้ันเปน็ ผชู้ ่วยเลขานุการอีกหนง่ึ คน ทั้งน้ี จานวน
ก.ธ.จ. ในแตล่ ะจังหวัดมีเกณฑด์ งั นี้

ตารางแสดงจานวนกรรมการ ก.ธ.จ. ตามเกณฑจ์ านวนอาเภอของแต่ละจังหวัด

จานวนอาเภอ จานวน ประธาน จานวนกรรมการ เลขานุการ
ของจงั หวัด ก.ธ.จ. (ผต.นร.) และผชู้ ว่ ย
ไม่เกนิ ๑๐ ทง้ั หมด ภาค สมาชกิ สภา ภาคธุรกิจ เลขานุการ
๑๔ * ๑ ประชาสังคม ทอ้ งถนิ่ เอกชน

๗* ๓ ๓

ตง้ั แต่ ๑๑ – ๑๕ ๑๖ ๑ ๙ ๓ ๓ จังหวัดละ
๔ ๔ 3 คน
ตัง้ แต่ ๑๖ – ๒๐ ๑๘ ๑ ๙ ๔ ๔

ตงั้ แต่ ๒๑ อาเภอ ๒๐ ๑ ๑๑
ขนึ้ ไป

หมายเหตุ : จานวนทม่ี ี * หมายถึงจานวนไมเ่ กินตวั เลขดังกล่าว

ปจั จบุ ัน ก.ธ.จ. ทว่ั ประเทศมจี านวน ๗๖ คณะ รวม ๑,๓๘๗ คน (รวมประธานและฝ่ายเลขานุการ)
โดยกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดมีวาระการดารงตาแหน่งคราวละ ๓ ปี นับแต่วันท่ีปลัดสานักนายกรัฐมนตรี
ประกาศรับรองรายชื่อกรรมการเปน็ รายจังหวัด กรรมการซ่ึงพน้ จากตาแหน่งตามวาระอาจไดร้ ับการสรรหาอีกได้
แตจ่ ะดารงตาแหน่งติดต่อกนั เกนิ สองวาระไมไ่ ด้

รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก ๓

❖ อานาจหน้าท่ี ❖

1. อานาจหน้าที่ตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด
พ.ศ. ๒๕๕๒ และท่ีแก้ไขเพ่ิมเติม

ขอ้ ๒๒ กาหนดให้ ก.ธ.จ. มีอานาจหน้าที่ ดังนี้
(๑) สอดส่องผลการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัดให้ใช้
วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองทดี่ ี
(๒) แจ้งใหผ้ ู้วา่ ราชการจังหวัด หัวหนา้ ส่วนราชการ รัฐวสิ าหกิจหรอื หนว่ ยงานอืน่ ของรฐั ทเ่ี กยี่ วข้อง
แล้วแต่กรณี ดาเนินการตามอานาจหน้าท่ี ในกรณีที่พบว่า มีการละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือ
ขอ้ บงั คบั หรอื มกี รณที ุจริต
(๓) เสนอแนะแนวทางการปฏบิ ัติและการส่งเสริมตามหลักคุณธรรมจรยิ ธรรมและธรรมาภิบาล
เพ่ือการบริหารกจิ การบ้านเมืองท่ดี ีของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าท่ีของรัฐแก่ผูว้ ่าราชการจังหวัดและหน่วยงาน
ของรฐั ในจงั หวดั
(๔) ตดิ ตามผลการปฏิบัติตามมติ ก.ธ.จ.
(๕) แตง่ ตั้งท่ปี รึกษาด้านวชิ าการ การประชาสัมพนั ธ์ หรอื ดา้ นอ่นื ๆ จานวนไมเ่ กินสามคน
(๖) เผยแพรผ่ ลการปฏบิ ตั ิหน้าท่ตี อ่ สาธารณะตามท่ีเห็นสมควร

การสอดส่องการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัดตามอานาจ
หน้าที่ของ ก.ธ.จ. ข้อ ๒๒ (๑) ให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองท่ีดตี ามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์
และวิธีการบริหารกจิ การบ้านเมืองทด่ี ี อยา่ งนอ้ ย ๗ ประการ ตามระเบียบฯ ข้อ ๒๓ ดังน้ี

(๑) ปฏิบัติภารกิจให้เป็นไปตามกฎหมายเพ่ือรักษาประโยชน์ส่วนรวม ตลอดจนไม่ละเมิดสิทธิ
และเสรีภาพของประชาชน

(๒) ปฏบิ ตั ิภารกิจเพ่อื อานวยความสะดวก ใหบ้ รกิ าร และสนองความตอ้ งการของประชาชน
(๓) ปฏิบตั ิภารกจิ เพ่อื ประโยชนส์ ขุ ของประชาชน
(๔) ปฏบิ ตั ภิ ารกจิ ใหเ้ กิดผลสัมฤทธ์ิ มีประสทิ ธิภาพ และมีความคุ้มค่า
(๕) ปฏบิ ตั ิภารกิจโดยไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจาเป็น ใหท้ นั ตอ่ สถานการณ์โดยเฉพาะ
ในเรื่องที่เปน็ ความเดอื ดรอ้ นและทกุ ขย์ ากของประชาชน
(๖) ปฏบิ ัตภิ ารกิจโดยยดึ หลกั การมสี ่วนร่วมของประชาชน และการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปรง่ ใส
(๗) ปฏิบัติภารกิจโดยมีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานสม่าเสมอและ
เผยแพร่ตอ่ สาธารณะ

สาหรับกลไกการปฏิบัติหน้าท่ีของ ก.ธ.จ. ตามระเบียบฯ ข้อ ๒๖ ได้ให้อานาจ ก.ธ.จ. ในการ
ออกหนังสือแจ้งให้หน่วยงานของรัฐ ผู้ว่าราชการจงั หวัด ที่ปรึกษาตามข้อ ๒๒ (๕) และบุคคลที่เก่ียวข้องเข้าร่วม
ประชุม หรือจัดส่งเอกสารหรือข้อมูลต่าง ๆ รวมท้ังช้ีแจงข้อเท็จจริงเพ่ือประกอบการพิจารณาได้ตามความจาเป็น
นอกจากนี้ ระเบียบฯ ข้อ ๒๘ ยังได้กาหนดว่า “กรณีท่ี ก.ธ.จ. มีมติว่ามีการละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ หรือข้อบังคับหรือมีกรณีทุจริต ให้ประธานแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอ่ืนของรัฐที่เก่ียวข้อง แล้วแต่กรณี เพื่อดาเนินการตามอานาจหน้าท่ี และให้
ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เก่ียวข้อง แล้วแต่กรณี
รายงานผลการดาเนินการให้ประธานทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือหากผู้ว่าราชการจังหวัด
หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอ่ืนของรัฐที่เก่ียวข้อง แล้วแต่กรณี มิได้ดาเนินการ

๔ รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก

ตามอานาจ หน้าท่ี ให้ประธานแจ้งมติ ก.ธ.จ. ตามวรรคหน่งึ ให้ปลดั สานักนายกรฐั มนตรีทราบ เพ่อื รายงาน
ต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดดาเนนิ การตอ่ ไป”

2. อานาจหนา้ ทตี่ ามคาสง่ั สานักนายกรัฐมนตรี ท่ี 241/๒๕๖3 ลงวนั ท่ี ๑๓ สิงหาคม 2563
นายกรฐั มนตรีได้มีคาสั่งสานักนายกรัฐมนตรี ท่ี 241/๒๕๖3 เรอ่ื ง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี

กากบั และติดตามการปฏิบัติราชการในภมู ิภาค ลงวนั ที่ ๑๓ สิงหาคม 2563 โดยกาหนดให้การกากับและติดตาม
การปฏิบัติราชการในภูมิภาคตามคาสั่งนี้ หมายถึง “การตรวจราชการ การขอให้เจ้าหน้าท่ีของรัฐรายงาน
เหตุการณ์และผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์
กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด การประสานราชการเพ่ือให้เกิดการบูรณาการยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด
และยุทธศาสตร์จังหวัด ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม การเร่งรัด การติดตามผล การให้คาแนะนาช่วยเหลือ
เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นท่ี และการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึง
การตรวจสอบความถูกต้องในการดาเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ โดยให้คณะกรรมการ
ธรรมาภิบาลจังหวัดมีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วย” ซึ่งจะเห็นได้ว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันได้ให้ความสาคัญกับ
บทบาทขององค์กรภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อานาจของรฐั

เพ่ือให้การปฏิบัติภารกิจตามอานาจหน้าท่ีของ ก.ธ.จ. ตามคาสั่งสานักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีทิศทางและมาตรฐานเดียวกัน สานักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรีจึงได้กาหนด
แนวทางการปฏิบัติหน้าท่ีของ ก.ธ.จ. กรณีการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบความถูกต้องในการดาเนินโครงการ
และการใชจ้ ่ายงบประมาณของรฐั ไว้ ดงั น้ี

๑. การตรวจสอบความถูกต้องในการดาเนินโครงการและการใช้จา่ ยงบประมาณของรัฐ ในการ
กากับ และติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ให้เป็นดุลยพินิจของรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจา
สานักนายกรัฐมนตรีที่กากับดูแลในแตล่ ะพื้นที่โดยให้ผู้ตรวจราชการสานักนายกรัฐมนตรีในฐานะฝ่ายเลขานุการ
นาเรียนหารอื ในเรอ่ื งดงั กลา่ ว

๒. กรณีท่ีรองนายกรฐั มนตรีหรือรฐั มนตรีประจาสานักนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรให้มีการตรวจสอบ
ความถูกต้องในการดาเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐตามแผนงานโครงการใด ให้ ก.ธ.จ. มีส่วนร่วม
ในการแสวงหาข้อเทจ็ จริงหรือเอกสารหลักฐานต่าง ๆ แลว้ นาเสนอท่ปี ระชุม ก.ธ.จ. เพอ่ื มีมติให้เสนอรองนายก
รฐั มนตรีหรอื รัฐมนตรปี ระจาสานักนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว

๓. กรณีทร่ี องนายกรัฐมนตรหี รือรัฐมนตรีประจาสานักนายกรฐั มนตรีเดินทางไปกากับและติดตาม
การปฏิบัติราชการในพื้นท่ี เม่ือ ก.ธ.จ. ได้รับแจ้งจากฝ่ายเลขานุการ ก.ธ.จ. (ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการสานักนายก
รัฐมนตรี) แล้ว ให้มีผู้แทน ก.ธ.จ. จานวน ๒ คน ตามมติท่ีประชุม ก.ธ.จ. เข้าร่วมกากับและติดตามการปฏิบัติ
ราชการในพนื้ ท่ี

๔. ใหฝ้ ่ายเลขานุการ ก.ธ.จ. (ผ้ชู ่วยผ้ตู รวจราชการสานักนายกรัฐมนตรี) สนบั สนนุ ขอ้ มูลแผนงาน/
โครงการที่รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจาสานักนายกรัฐมนตรีมีกาหนดเดินทางไปกากับและติดตาม
การปฏบิ ตั ิราชการในพ้ืนที่ พร้อมท้ังอานวยความสะดวกในส่วนที่เก่ียวข้องให้กบั ผู้แทน ก.ธ.จ. ท่ไี ดร้ ับมอบหมาย

รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก ๕

แนวทางการขับเคล่อื นการดาเนนิ งานของ
คณะกรรมการธรรมาภิบาลจงั หวัด

การขับเคลื่อนการดาเนนิ งานของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจงั หวัด นอกจากเป็นไปตามระเบียบ
สานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๒ และท่ีแก้ไขเพ่ิมเติม แล้ว ยังต้อง
ขับเคลื่อนให้สอดคลอ้ งและสอดรับกับแผนยทุ ธศาสตรช์ าติ และแผนต่าง ๆ ภายใตย้ ทุ ธศาสตรช์ าติ ดังนี้

ยทุ ธศาสตรช์ าติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐)

ยทุ ธศาสตร์ชาติ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เปา้ หมายได้มุ่งเน้น
กระบวนการยุติธรรมเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ โดยภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและ
ประพฤติมิชอบ บุคลากรภาครัฐยึดม่ันในหลักคุณธรรม จริยธรรม และความซ่ือสัตย์สุจริต และการบริหารจัดการ
การป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างเป็นระบบแบบบูรณาการ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
(พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) ในประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ได้มุ่งเน้นให้ภาครัฐมีความโปร่งใส
ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยผา่ นการพัฒนาคนและการพัฒนาระบบ ใหค้ วามสาคัญกบั การหล่อหลอม
พฤติกรรม “คน” ทุกกลุ่มในสังคมให้มีจิตสานึก และพฤติกรรมยึดมั่นในความชื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งการเพ่ิม
ประสิทธิภาพการดาเนินงานของกระบวนการและกลไกที่เกี่ยวข้องในการปราบปรามการทุจริต ซ่ึงการดาเนินงาน
ของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ตามบทบาท และอานาจหนา้ ที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ดังกล่าว ในการสง่ เสริม
ให้หนว่ ยงานภาครัฐหรอื เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบตั ิหนา้ ทีใ่ ห้เปน็ ไปตามหลักธรรมาภิบาล และหน่วยงานปลอดการทุจริต
และประพฤติมิชอบ มคี วามโปรง่ ใส และสามารถตรวจสอบได้

๖ รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก

แผนปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทจุ รติ และประพฤติมชิ อบ

ภาครฐั ใหค้ วามสาคัญด้านการป้องกันและปราบปรามการทจุ ริตและประพฤติมิชอบอย่างย่ิง เน่อื งจาก
เป็นปัญหาท่ีหยั่งรากลึกในสังคมไทยมานาน และมีความสอดคล้อง กับแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุล
และพฒั นาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ท่ีมุ่งเนน้ ใหภ้ าครัฐมคี วามโปร่งใส ปลอดการทจุ ริตและประพฤติมิชอบ
ทุกภาคส่วน ร่วมต่อต้านการทุจริต โดยส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคีองค์กร ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ชุมชนและ
ประชาชน รวมท้งั เครือข่ายต่าง ๆ เพ่อื สอดส่องเฝ้าระวงั ให้ข้อมลู และรว่ มตรวจสอบการดาเนินการของหน่วยงาน
ภาครัฐตามความเหมาะสมซ่ึงคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดเป็นผู้ท่ีมีบทบาทสาคัญและเป็นกลไกจาก
ภาคประชาชนในการเข้าไปมีส่วนร่วมเสริมสรา้ งสงั คมให้มีธรรมาภิบาล สุจรติ โปรง่ ใส นาไปสูก่ ารพฒั นาประเทศ
อยา่ งยั่งยนื ตามบทบาทอานาจหน้าท่ีท่ีกฎหมายกาหนด

นโยบายและแนวทางการดาเนนิ งานของรองนายกรัฐมนตรี
(นายวิษณุ เครอื งาม)

รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ในฐานะที่ได้รับมอบหมายและมอบอานาจให้กากับ
การบริหารราชการสานักงานปลัดสานักนายกรัฐมนตรีได้ให้ความสาคัญเก่ียวกับการขับเคลื่อนการดาเนินงาน
ของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ในคราวลงพื้นที่เมื่อวันท่ี ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๔ ได้ตรวจเยี่ยมพ้ืนท่ีกากบั
และติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ในพื้นที่เขตตรวจราชการท่ี ๕ (จังหวัดพัทลุงและสงขลา) พร้อมด้วย
รฐั มนตรชี ว่ ยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายนิพนธ์ บญุ ญามณี) ผตู้ รวจราชการสานักนายกรฐั มนตรี (นายพิฆเนศ
ต๊ะปวง) ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย (นายเฉลิมพล ม่ังคั่ง) ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(นายอรุณชัย พทุ ธเจริญ) ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายปรมินทร์ วงศส์ ุวัฒน์)
ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม (นายชัยพล สุขเอ่ียม) ผู้ตรวจราชการกรมประมง (นายธนาวุฒิ กุลจิตติชนก)
และผู้แทนสานักงบประมาณ ประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุง พร้อมด้วยหัวหน้า
ส่วนราชการในจังหวัดที่อยู่ในความรับผิดชอบในพ้ืนที่เขตตรวจราชการท่ี ๕ เพ่ือติดตามผลความก้าวหน้าการ
ดาเนินโครงการตามนโยบายของรัฐบาล รับฟังปัญหาอุปสรรคสาคัญเฉพาะพ้ืนที่และแนวทางการแก้ไขปัญหาของ
จงั หวัด ณ ศาลากลางจังหวัดสงขลา ซ่งึ รองนายกรัฐมนตรี (นายวษิ ณุ เครอื งาม) ได้มอบนโยบายในการดาเนินการ
แต่ละจังหวัด ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้ปฏิบัติงานในพ้ืนที่เกี่ยวกับคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดว่า
“คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดเป็นกลไกของภาคประชาชนในพ้ืนที่ ในการสอดส่องหน่วยงานของรัฐ

รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก ๗

และเจ้าหน้าท่ีของรัฐให้มีการดาเนินการให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จึงควรให้ความ
สาคญั กับคณะกรรมการฯ และควรมกี ารประชุมอยา่ งสมา่ เสมอด้วย”

แนวทางการดาเนนิ งานของปลดั สานกั นายกรฐั มนตรี

ระเบยี บสานกั นายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจงั หวัด พ.ศ. ๒๕๕๒ และที่แก้ไข
เพ่ิมเติม ข้อ ๓๐ ได้กาหนดให้ปลัดสานกั นายกรัฐมนตรี มีหน้าท่ีประสานงาน ให้ข้อมูลข่าวสาร และกาหนด
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการสรรหากรรมการ การรายงาน และการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธรรมาภิบาล
จังหวัด (ก.ธ.จ.) ซ่ึงปลัดสานักนายกรัฐมนตรีได้ดาเนินการให้เป็นไปตามระเบียบฯ ดังกล่าว โดยกาหนดบทบาท
หนา้ ที่ของ ก.ธ.จ. รวมทั้งสนับสนนุ ในเรื่องของกลไกในการปฏิบัติงาน โดยให้ ก.ธ.จ. สอดสอ่ งทุกแผนงาน/โครงการ
ของจังหวัด และส่วนราชการในจังหวัด รวมทั้งการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
ของรัฐและเจ้าหน้าท่ีของรัฐในจังหวัด เพ่ือให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติภารกิจให้เป็นไปตามหลักการบริหาร
กิจการบ้านเมืองท่ีดี บังเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจอย่างเต็มกาลังความสามารถ โดยคานึงถึงประโยชน์และความสุข
ของประชาชนเป็นสาคัญ

ปลัดสานักนายกรัฐมนตรี (นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ) ได้มอบแนวทางการดาเนินงานเชิงรุกให้แก่
คณะกรรมการธรรมาภบิ าลจังหวดั ในคราวอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ ก.ธ.จ. เกีย่ วกบั แนวทาง
การปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานท่ีร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงการปฏิบัติงานร่ว มกันในการป้องกันและแก้ไข
ปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ (MOU) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จานวน ๔ คร้ัง
รวม ๔ ภาค ไดแ้ ก่ ภาคกลางและภาคตะวนั ออก ภาคใต้และภาคใตช้ ายแดน ภาคเหนอื และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เมื่อวันที่ ๒๒, ๒๗, ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ และวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๕ ตามลาดับ มีผู้เข้าร่วมการอบรมท้ังส้ิน
จานวน ๑,๐๒๘ คน มสี าระสาคญั สรปุ ได้ ดงั นี้

๑. กรอบการตรวจราชการตามแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการ ประจา
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ประกอบด้วย

 กรอบการตรวจราชการแบบบูรณาการในภาพรวม
 การตรวจราชการแบบบรู ณาการเชิงพ้นื ที่ (Government Innovation Lab)
 การตรวจราชการของกระทรวงและกรม
 การตรวจราชการตามภารกิจพิเศษ

๘ รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก

สาหรบั ประเดน็ การตรวจราชการที่ควรเน้น ได้แก่
(๑) สอดคล้องกบั ยุทธศาสตรช์ าติ แผนปฏิรูปประเทศ นโยบายรัฐบาลและกระทรวง
(๒) โครงการ/กิจกรรมบรู ณการระหวา่ งหนว่ ยงาน
(๓) งานประจาทั่วไป
(๔) งานพเิ ศษท่มี ผี ลกระทบทางบวกต่อประชาชน
(๕) งานจิตอาสา
ซ่ึงในปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จะมีกรอบการตรวจราชการแบบบูรณาการ ดงั นี้
๑.๑ การขับเคล่ือนประเด็นนโยบายสาคัญของรัฐบาล (Issue) ได้แก่ การฟ้ืนฟูเศรษฐกิจและ
สังคมจากการแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 2019) การจัดการสิ่งแวดล้อมสีเขียว
เพ่อื ความยง่ั ยืน ตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวยี น และเศรษฐกจิ สีเขียว (BCG Model)
และการพัฒนาคุณภาพชวี ติ กลุม่ เปราะบางรายครัวเรอื น
๑.๒ การตดิ ตาม ตรวจสอบ และประเมนิ ผล เพ่อื ขับเคลอ่ื นยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบตั ิ ได้แก่
การเพ่มิ มลู ค่าสนิ ค้าเกษตรแปรรูปและผลติ ภณั ฑ์ และการเพม่ิ ศักยภาพและขีดความสามารถของเศรษฐกจิ ฐานราก
๑.๓ การติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาสาคัญในเชิงพ้ืนท่ี ได้แก่ การจัดการประมง
อย่างยั่งยืน การเตรียมการเพ่ือรองรับการเปล่ียนแปลงระบบนิเวศของแม่น้าโขง การพัฒนาเมืองสมุนไพร
การแก้ไขปญั หามลพษิ ทางอากาศ และการลดอุบตั ิเหตุทางถนน
๑.๔ การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนหรือข้อร้องเรียนของประชาชน หรือผลักดันการด้าเนิน
โครงการ มาตรการสา้ คญั ในเชิงพนื ท่ขี องส่วนราชการ
๒. การสนับสนนุ การขับเคลือ่ นนโยบายรัฐบาลของ ก.ธ.จ.
๒.๑ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
และท่ีแก้ไขเพ่ิมเติม จัดให้มีข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู เช่น สถานที่ รายการข้อมูลข่าวสาร ระเบียบ
ปฏิบตั กิ ารให้บริการ เจา้ หนา้ ทผี่ ้รู ับผดิ ชอบ ฯลฯ
๒.๒ การปฏิบตั ติ ามพระราชบญั ญัตธิ ง พ.ศ. ๒๕๒๒
๒.๓ การบริหารจัดการตามหลกั ธรรมาภบิ าล

- สนับสนุนการปฏิบัตงิ านของผูต้ รวจราชการสานักนายกรฐั มนตรี ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการ
ภาคประชาชนเพื่อร่วมส่งเสริมหลักคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลเพ่ือการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ของหนว่ ยงาน

- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระดับท้องถ่ินตามหลักธรรมาภิบาลระหว่างองค์กรปกครอง
ส่วนทอ้ งถนิ่ ผนู้ าชมุ ชน ประชาชนทุกภาคสว่ น

๒.๔ การป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 19) โดยสนับสนุนและ
ร่วมดาเนินการป้องกันและควบคุมโรคตดิ ต่อ เช่น การเฝ้าระวังการจดั หาวัสดุอุปกรณ์ การช่วยเหลือประชาชน
ที่ไดร้ ับผลกระทบ เป็นตน้

๒.๕ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การจัดการปัญหาไฟป่า
และหมอกควัน อาทิ ร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์การควบคุมไฟป่า ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
และการจดั การขยะ

๒.๖ การบรหิ ารจัดการน้าระดบั ชมุ ชน
๒.๗ สนบั สนุนการมสี ว่ นร่วมในการแกไ้ ขปญั หาเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชน
๒.๘ ความปลอดภยั บนท้องถนนและการลดอุบตั เิ หตทุ างถนน
๒.๙ การก่อสร้างและดแู ลบารุงรกั ษาถนน
๒.๑๐ จติ อาสาเพื่อการพัฒนาทอ้ งถิ่น สนบั สนุนและรว่ มดาเนนิ โครงการจติ อาสาเพือ่ ให้ประชาชน
มคี วามสมัครสมานสามคั คีร่วมพัฒนาท้องถิน่ เชน่ โครงการจิตอาสาเพือ่ การพัฒนาแหล่งนา้ ลาคลอง ฯลฯ

รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก ๙

๓. การบูรณาการการทางานของ ก.ธ.จ. ที่คาดหวัง
๓.๑ น้อมนาพระปฐมบรมราชโองการ ศาสตร์พระราชาและพระบรมราโชบายของพระบาท

สมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัวมาเปน็ หลักในการปฏบิ ัติหนา้ ที่
๓.๒ ร่วมคิด ร่วมตรวจ ร่วมให้ข้อเสนอแนะ ร่วมสร้างเครือข่ายการตรวจราชการและ

ร่วมขับเคล่ือนให้เกิดการดาเนินการตามข้อเสนอแนะ เพื่อให้การตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการ
เกดิ ประสทิ ธิภาพสูงสุด

๓.๓ ผลักดันให้เกิดการบูรณาการทางานระหว่างของรัฐ ท้ังทางตรงและทางอ้อมได้อย่าง
เป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดการพัฒนาการปฏิบัติราชการที่มีประสิทธิภาพมากย่ิงข้ึน และนาไปสู่ประโยชน์สูงสุด
ตอ่ ประชาชน

๓.๔ แก้ไขปญั หาความเดือดร้อนของประชาชนใหเ้ สร็จสนิ้ หรือบรรเทาความรุนแรงของปัญหา
กอ่ นทีจ่ ะลกุ ลามเป็นปญั หาของมวลชน

๓.๕ ปฏิบัตงิ านให้เป็นไปตามอานาจหนา้ ที่ กฎหมายและระเบียบท่ีเก่ียวข้องอย่างเครง่ ครัด

สาหรับหลักการทางานที่ยึดถือปฏิบัติมาโดยตลอดน้ัน ได้น้อมนาพระบรมราโชบายของพระบาท
สมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัวมาเปน็ หลักในการปฏิบัตหิ นา้ ท่ี โดยยดึ ปรชั ญาในการทางาน “เรว็ รุก สุขกบั งาน วชิ าการ
นาหนา้ จติ อาสาเพ่ือสังคม” และม่งุ ผลสาเร็จของงานเพอื่ สร้างความสขุ และเพ่มิ รอยย้ิมให้กับประชาชน มีความ
มุ่งมั่นในการทาความดี เก่ง กล้า มีอุดมการณ์และเป็นแบบอย่างท่ีดีของสังคม มีจิตอาสาร่วมกันทาประโยชน์
เพ่ือส่วนรวม นอกจากน้ี ได้ขอให้กรมประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ผลงานของ ก.ธ.จ.
อย่างต่อเนื่องดว้ ยแล้ว

๑๐ รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก

ผลการปฏิบัติงานของ
คณะกรรมการธรรมาภิบาลจงั หวดั

การประชมุ ก.ธ.จ. เพอ่ื สอดสอ่ งแผนงาน/โครงการในพื้นทจี่ งั หวดั

ในรอบ ๖ เดือนแรก ของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ (๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕)
ก.ธ.จ. ได้มีการประชุมเพ่ือกาหนดแผนการติดตามสอดส่องการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าท่ี
ของรัฐในจังหวัดให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองท่ีดี รวมทั้งส้ินจานวน ๗๖ คร้ังโดย ก.ธ.จ.
จานวน ๗๖ คณะ/จังหวดั มีการประชุมคณะ/จงั หวัดละ ๑ ครั้ง

เน่ืองจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)
ผู้ตรวจราชการสานักนายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน ก.ธ.จ. ได้ขับเคลื่อนการดาเนินงานของ ก.ธ.จ. โดยมีการ
ประชุมกรรมการ ก.ธ.จ. ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จานวน ๑๕ คณะ ๆ ละ 1 ครั้ง ซ่ึงทาให้สามารถขับเคล่ือน
การดาเนินงานของ ก.ธ.จ ไดอ้ ยา่ งตอ่ เนอื่ ง

ประเภทของแผนงาน/โครงการ/เรือ่ งรอ้ งเรยี น ที่ ก.ธ.จ. สอดส่อง

ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ก.ธ.จ. ได้มีแผนการปฏิบัติงานในการติดตามสอดส่องแผนงาน/
โครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด สว่ นราชการในจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถน่ิ และอ่ืน ๆ จานวน
๑,๖๑๖ แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ซึ่งในรอบ ๖ เดือนแรก ของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ (๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ –
๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕) ก.ธ.จ. ได้ติดตามสอดส่องแผนงาน/โครงการ และเรื่องร้องเรียน รวม ๑๘๖ แผนงาน/
โครงการ/เร่ือง พบว่า ไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบา้ นเมืองท่ีดีจานวนทั้งส้ิน ๗๕ แผนงาน/โครงการ/
เร่อื ง โดยจดั เปน็ ประเภทแผนงาน/โครงการ/เร่ือง ตา่ ง ๆ ท่ี ก.ธ.จ. สอดสอ่ ง ตามลาดับ ดังน้ี

ทรพั ยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อม, สาธารณสุข, 0.54%
12.37%
เศรษฐกจิ , 11.83%

สังคม, 5.91%

อ่ืนๆ, 2.15%

อืน่ ๆ, 1.61%

สาธารณูปโภค, 67.74%

แผนภมู ทิ ่ี 2
รอ้ ยละของประเภทแผนงาน/โครงการ/เร่ืองร้องเรียน ท่ี ก.ธ.จ. สอดส่อง

รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก ๑๑

๑. ด้านสาธารณูปโภค เช่น ถนน โทรศัพท์ การขนส่ง ไฟฟ้า เชื้อเพลิง ประปา การระบายน้า
การกาจดั ขยะ การสอื่ สาร จานวน ๑๒๖ แผนงาน/โครงการ/เร่อื ง คดิ เป็นรอ้ ยละ ๖๗.๗๔

2. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า ดินและท่ีดิน แหล่งน้า ขยะมลพิษ
จานวน ๒๓ แผนงาน/โครงการ/เร่ือง คิดเป็นรอ้ ยละ ๑๒.๓๗

๓. ด้านเศรษฐกิจ เช่น การค้า การลงทุน การท่องเท่ียว เศรษฐกิจระดับครัวเรือน (รายได้และ
หนี้สนิ เฉลยี่ ตอ่ ครัวเรือน) จานวน 22 แผนงาน/โครงการ/เรื่อง คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๘๓

๔. ดา้ นสงั คม เชน่ ประชากร แรงงาน การศึกษา ศาสนา ศลิ ปะ วัฒนธรรม คณุ ภาพชวี ติ การเมือง
อาชญากรรม ความยุตธิ รรม ความม่ันคง การปกครอง จานวน ๑1 แผนงาน/โครงการ/เรื่อง คดิ เป็นรอ้ ยละ ๕.๙๑

๕. ด้านอน่ื ๆ จานวน ๓ แผนงาน/โครงการ/เร่อื ง คิดเป็นร้อยละ ๑.๖๑
๖. ด้านสาธารณสุข เช่น การป้องกันควบคุมโรค การส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล
การฟ้นื ฟสู ภาพจานวน ๑ แผนงาน/โครงการ/เร่ือง คิดเป็นรอ้ ยละ 0.๕๔

เมอ่ื แบ่งประเภทตามแนวทางในการสอดสอ่ งของ ก.ธ.จ. จะสามารถจาแนกดา้ นตา่ ง ๆ ของแผนงาน/
โครงการ/เรื่องรอ้ งเรียน ได้ ดงั นี้

การสอดส่องแผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบตั ริ าชการประจาปีของจังหวัด

และกลุ่มจงั หวดั พบวา่ ก.ธ.จ. สอดสอ่ ง จานวน ๔๘ แผนงาน/โครงการ เปน็ แผนงาน/โครงการด้านต่าง ๆ

ตามลาดบั ดงั น้ี
(๑) ด้านสาธารณูปโภค 2๐ แผนงาน/โครงการ คิดเปน็ รอ้ ยละ ๔๑.๖๗
(๒) ด้านเศรษฐกจิ จานวน 1๖ แผนงาน/โครงการ คดิ เปน็ รอ้ ยละ ๓๓.๓๓
(๓) ดา้ นทรพั ยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อม จานวน ๙ แผนงาน/โครงการ คดิ เป็นรอ้ ยละ ๑๘.๗๕
(๔) ด้านสังคม จานวน ๓ แผนงาน/โครงการ คดิ เปน็ ร้อยละ ๖.๒๕

การสอดส่องแผนงาน/โครงการของส่วนราชการในจังหวัด พบว่า

ก.ธ.จ. สอดสอ่ ง จานวน ๒๗ แผนงาน/โครงการ เปน็ แผนงาน/โครงการดา้ นต่าง ๆ ตามลาดับ ดังน้ี
(๑) ดา้ นสาธารณูปโภค จานวน ๒๑ แผนงาน/โครงการ คดิ เป็นรอ้ ยละ ๗๗.๗๘
(๒) ดา้ นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จานวน ๔ แผนงาน/โครงการ คดิ เปน็ รอ้ ยละ ๑๔.๘๑
(๓) ดา้ นสังคม จานวน ๑ แผนงาน/โครงการ คดิ เป็นรอ้ ยละ ๓.๗๐
(๔) ด้านเศรษฐกิจ จานวน 1 แผนงาน/โครงการ คดิ เปน็ ร้อยละ ๓.๗๐

การสอดส่องแผนงาน/โครงการอื่น ๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน รัฐวิสาหกิจ

พบวา่ ก.ธ.จ. สอดสอ่ ง จานวน ๘๖ แผนงาน/โครงการ เปน็ แผนงาน/โครงการดา้ นต่าง ๆ ตามลาดบั ดังนี้
(๑) ด้านสาธารณปู โภค จานวน ๗๔ แผนงาน/โครงการ คิดเปน็ ร้อยละ ๘๖.๐๕
(๒) ด้านสงั คม จานวน ๔ แผนงาน/โครงการ คดิ เป็นร้อยละ ๔.๖๕
(๓) ดา้ นเศรษฐกจิ จานวน ๔ แผนงาน/โครงการ คิดเปน็ ร้อยละ ๔.๖๕
(๔) ดา้ นทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อม จานวน ๓ แผนงาน/โครงการ คิดเปน็ ร้อยละ ๓.๔๙
(๕) ดา้ นสาธารณสุข จานวน 1 แผนงาน/โครงการ คดิ เปน็ ร้อยละ ๑.๑๖

๑๒ รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก

การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐ

และเจ้าหน้าที่ของรัฐ (เรื่องร้องเรียน) พบว่า มีเร่ืองร้องเรียนที่นาเข้าสู่การพิจารณาของ ก.ธ.จ.
จานวน 25 เรื่อง เป็นเรอื่ งรอ้ งเรยี นด้านตา่ ง ๆ ตามลาดบั ดังนี้

(๑) ดา้ นสาธารณปู โภค จานวน 11 เรอ่ื ง คิดเป็นรอ้ ยละ ๔๔
(๒) ด้านทรพั ยากรธรรมชาติและสิง่ แวดลอ้ ม จานวน ๗ เรอ่ื ง คดิ เปน็ รอ้ ยละ ๒๘
(๓) ด้านสังคม จานวน ๓ เรื่อง คดิ เป็นรอ้ ยละ ๑๒
(๔) ด้านอ่ืน ๆ จานวน ๓ เร่ือง คดิ เปน็ รอ้ ยละ ๑๒
(๕) ดา้ นเศรษฐกิจ จานวน 1 เร่อื ง คดิ เปน็ ร้อยละ ๔

การติดตามสอดส่องหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ใช้วิธี
การบริหารกิจการบ้านเมอื งทดี่ ี

ในรอบ ๖ เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ (๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕)
ก.ธ.จ. ได้ดาเนินการติดตามสอดส่องแผนงาน/โครงการ รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากการ
ปฏบิ ัติงานของหนว่ ยงานของรัฐและเจ้าหนา้ ท่ขี องรัฐ (เร่ืองรอ้ งเรียน) ดงั น้ี

การสอดส่องแผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจาปีของ

จงั หวัดและกลุม่ จังหวดั

ก.ธ.จ. ได้ดาเนินการสอดส่องแผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจาปีของจังหวัดและ
กลมุ่ จังหวัด ตามกรอบแนวทางในการปฏบิ ัตภิ ารกิจตามอานาจหน้าทข่ี อง ก.ธ.จ. จานวน จานวน ๔๘ โครงการ
พบว่า แผนงาน/โครงการดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองท่ีดี จานวน 2๙ โครงการ
ซึ่งโครงการท่ีสอดส่องส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อประชาชนด้านสาธารณูปโภค รองลงมา ด้านเศรษฐกิจ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม ตามลาดับ จาแนกได้ว่าไม่เป็นไปตามระเบียบสานัก
นายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 23 (1) – (7)
รวมจานวน ๔๔ ข้อ ในจานวนนี้ไม่เปน็ ไปตามระเบยี บฯ ขอ้ ๒๓ (๔) ปฏบิ ตั ิภารกิจให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ
และมีความคุ้มค่า มากที่สุด จานวน 2๗ ข้อ คิดเป็นร้อยละ ๖๑.๓๖ รองลงมาเป็น ข้อ ๒๓ (2) ปฏิบัติภารกิจ
เพ่อื อานวยความสะดวก ให้บรกิ าร และสนองความต้องการของประชาชน และข้อ ๒๓ (๖) ปฏบิ ัตภิ ารกจิ โดยยึด
หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน และการเปิดเผยข้อมูล อย่างโปร่งใส จานวน ๖ ข้อ เท่ากัน คิดเป็นร้อยละ
๑๓.๖๔ และข้อ ๒๓ (3) ปฏิบัตภิ ารกิจเพ่อื ประโยชนส์ ุขของประชาชน จานวน 5 ขอ้ คดิ เป็นรอ้ ยละ 1๑.๓๖ ดงั น้ี

การสอดสอ่ งแผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบตั ิราชการประจาปีของจงั หวัดและกลมุ่ จังหวัด

รวม 2๙ โครงการ

ไม่เปน็ ไปตามระเบยี บฯ ขอ้ 23 (1) - (7) จานวนขอ้ คิดเปน็
รอ้ ยละ

(๑) ปฏิบัตภิ ารกิจให้เปน็ ไปตามกฎหมายเพอ่ื รักษาประโยชน์สว่ นรวม ตลอดจน - -

ไมล่ ะเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

(๒) ปฏิบตั ภิ ารกจิ เพื่ออานวยความสะดวก ให้บริการ และสนองความต้องการ ๖ ๑๓.๖๔

ของประชาชน

รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก ๑๓

การสอดส่องแผนงาน/โครงการตามแผนปฏบิ ัติราชการประจาปีของจงั หวดั และกลมุ่ จังหวัด

รวม 2๙ โครงการ

ไม่เปน็ ไปตามระเบยี บฯ ข้อ 23 (1) - (7) จานวนข้อ คดิ เป็น
ร้อยละ

(๓) ปฏิบัติภารกิจเพ่ือประโยชนส์ ขุ ของประชาชน 5 11.36

(๔) ปฏบิ ตั ิภารกิจใหเ้ กดิ ผลสมั ฤทธ์ิ มีประสทิ ธภิ าพ และมคี วามค้มุ คา่ 2๗ ๖๑.๓๖

(๕) ปฏิบัตภิ ารกจิ โดยไมม่ ีขน้ั ตอนการปฏบิ ัตงิ านเกินความจาเปน็ ให้ทนั ตอ่ --

สถานการณ์ โดยเฉพาะในเรือ่ งท่ีเป็นความเดือดร้อนและทกุ ขย์ ากของประชาชน

(๖) ปฏบิ ัตภิ ารกิจโดยยดึ หลักการมีสว่ นรว่ มของประชาชน และการเปิดเผยข้อมูล ๖ ๑๓.๖๔

อยา่ งโปรง่ ใส

(๗) ปฏิบตั ภิ ารกิจโดยมีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏบิ ตั ิงาน - -

สมา่ เสมอ และเผยแพรต่ ่อสาธารณะ

รวม ๔๔ 100

ทั้งน้ี การสอดส่องแผนงาน/โครงการดังกล่าว ก.ธ.จ. มีมติเป็นข้อเสนอแนะ จานวน ๔๐ ข้อ
โดยจังหวดั /หนว่ ยงานท่ีเก่ยี วข้องรับข้อเสนอแนะไปดาเนนิ การแลว้ จานวน ๑๖ ข้อ สาหรับขอ้ เสนอแนะท่ีเหลือ
อยรู่ ะหว่างการดาเนนิ งานของจังหวดั /หน่วยงาน

❖ กรณตี ัวอยา่ ง ❖
ผลการสอดส่องแผนงาน/โครงการตามแผนปฏบิ ตั ิราชการประจาปี

ของจังหวัดและกลมุ่ จงั หวดั

(๑) โครงการพฒั นาและปรบั ปรุงภูมิทัศน์อา่ งซับเหล็กแหล่งน้าประปาแห่งแรกของสยาม อาเภอเมือง
ลพบรุ ี จงั หวัดลพบุรี

ผลการสอดสอ่ งของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. ลพบรุ ี ไดส้ อดสอ่ งโครงการพฒั นาและปรบั ปรุงภมู ิทัศน์อ่างซับเหลก็ แหล่งน้าประปาแห่งแรก
ของสยาม อาเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ซ่ึงเป็นโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจาปีของจังหวัดและ
กลุ่มจังหวัด โดยมีสานักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดลพบุรีเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ พบว่า มีผลการ
ดาเนินงานล่าช้ากว่าแผน เนอื่ งจากเกิดปัญหานา้ ท่วมฉับพลนั ในพ้ืนทจ่ี ังหวัดลพบรุ ี สง่ ผลให้ไมส่ ามารถดาเนินงาน
บางกิจกรรมได้ โดยเฉพาะงานหาดทรายเทยี ม ซ่ึงการดาเนนิ การดงั กลา่ วหน่วยงานของรัฐหรือเจา้ หน้าที่ของรัฐ
อาจปฏิบัติภารกิจไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามระเบียบฯ ข้อ ๒๓ (๒) ปฏิบัติภารกิจ
เพื่ออานวยความสะดวก ให้บริการและสนองความต้องการของประชาชน (4) ปฏิบัติภารกิจให้เกิดผลสัมฤทธ์ิ
มปี ระสทิ ธิภาพ และมคี วามคมุ้ ค่า และ (๖) ปฏบิ ัตภิ ารกจิ โดยยดึ หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน และการเปิด
เผยข้อมลู อยา่ งโปร่งใส

ขอ้ พจิ ารณา/มติของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. ลพบรุ ี พิจารณาแลว้ มีมติให้สานกั งานโยธาธกิ ารและผังเมืองจังหวดั ลพบุรีดาเนินการ ดังนี้
1. ขอให้จัดลาดับความสาคญั ในการดาเนินกจิ กรรมก่อนและหลงั โครงการใหเ้ หมาะสม และสอดคล้อง
กับช่วงเวลา สถานการณแ์ ละสภาพพน้ื ท่ี เพ่อื ใหโ้ ครงการสามารถดาเนนิ การไดเ้ ปน็ ไปตามแผนที่กาหนด

๑๔ รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก

๒. เนื่องจากพนื้ ทด่ี าเนนิ การโครงการพัฒนาและปรับปรงุ ภมู ิทศั น์อ่างซบั เหล็กฯ สว่ นใหญเ่ ปน็ หินปูน
ซึ่งส่งผลต่อการอุดตันของการใช้ระบบประปาในโครงการ โดยเฉพาะห้องน้าที่สร้างขึ้นเพ่ือรองรับนักท่องเที่ยว
จงึ เห็นควรพจิ ารณาจดั ทาระบบกรองหินปนู ไว้ลว่ งหนา้ เพอ่ื เป็นการปอ้ งกนั ปญั หาดังกลา่ ว

ผลการดาเนินการของจงั หวดั /หน่วยงานท่เี ก่ยี วขอ้ ง
มีหนังสือแจ้งสานักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวดั ลพบรุ ีดาเนินการตามข้อเสนอแนะของ ก.ธ.จ.
ลพบุรี แลว้

รองประธาน ก.ธ.จ. ลพบุรี และคณะกรรมการธรรมาภิบาลจงั หวัดลพบรุ ี
ลงพ้นื ทีส่ อดส่องโครงการพัฒนาและปรับปรงุ ภมู ิทศั นอ์ า่ งซบั เหล็กแหล่งน้าประปาแห่งแรกของสยาม

อาเภอเมอื งลพบรุ ี จังหวัดลพบุรี

(๒) โครงการก่อสร้างทางขนาน พระพรหมเทวาลัย ทางหลวงหมายเลข 32 ตอนไชโย – สิงห์ใต้
ระหว่างกโิ ลเมตร 82+263 ถงึ กิโลเมตร 83+100 ตาบลม่วงหมู่ อาเภอเมืองสงิ ห์บุรี จังหวดั สงิ ห์บรุ ี

ผลการสอดสอ่ งของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. สิงห์บุรี ได้สอดส่องโครงการก่อสร้างทางขนาน พระพรหมเทวาลัย ทางหลวงหมายเลข 32
ตอนไชโย – สิงห์ใต้ ระหว่างกิโลเมตร 82+263 ถึงกิโลเมตร 83+100 ตาบลม่วงหมู่ อาเภอเมืองสิงห์บุรี
จังหวดั สิงห์บุรี จานวน 2 ช่องจราจร กว้างชอ่ งละ 3.50 เมตร ระยะทาง 0.837 กิโลเมตร ซึง่ เป็นโครงการตาม
แผนปฏิบัติราชการประจาปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยมีแขวงทางหลวงสิงห์บุรีเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ
พบว่า โครงการดังกล่าวเป็นบริเวณสถานที่ตั้งพระพรหมเทวาลัยซึ่งเป็นสถานท่ีท่องเท่ียว โดยปัจจุบันได้มี
สิ่งปลูกสร้างรกร้างที่ไม่ได้รับการดูแล ลานจอดรถท่ีไม่ได้มาตรฐาน และมีสภาพภูมิทัศน์ท่ีไม่สวยงาม ปัญหานี้
ส่วนหน่ึงมาจากไม่มีเจ้าภาพหลักในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ซ่ึงการดาเนินการดังกล่าวหน่วยงาน
ของรัฐหรือเจ้าหนา้ ท่ีของรฐั อาจปฏิบัติภารกิจไม่เป็นไปตามหลักการบรหิ ารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามระเบียบฯ
ข้อ ๒๓ (๒) ปฏิบัติภารกิจเพอ่ื อานวยความสะดวก ใหบ้ ริการและสนองความตอ้ งการของประชาชน (4) ปฏิบัติ
ภารกิจให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มค่า และ (๖) ปฏิบัติภารกิจโดยยึดหลักการมีส่วนร่วม
ของประชาชน และการเปดิ เผยขอ้ มูลอยา่ งโปรง่ ใส
ขอ้ พิจารณา/มตขิ อง ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. สงิ หบ์ รุ ี พิจารณาแล้วมีมติดาเนินการ ดังน้ี
ขอให้จังหวัดได้เร่งรดั ให้สานักงานโยธาธิการและผงั เมืองจังหวดั สิงห์บุรี แกไ้ ขปญั หากรณีการส่งคืน
พื้นท่ีลานจอดรถให้แลว้ เสร็จโดยเรว็ เพื่อที่จังหวัดจะได้พิจารณามอบหมายหนว่ ยงานท่ีเป็นเจ้าภาพหลักเข้ามา
บริหารจัดการพื้นท่ีให้เป็นระบบและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมท้ังควรมีการรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน
ท้งั ภาคเอกชน องคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถ่ิน และภาคประชาชนด้วย

รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก ๑๕

ผูต้ รวจราชการสานกั นายกรัฐมนตรี (นางรุง่ รตั นา บญุ -หลง) ประธาน ก.ธ.จ. สิงหบ์ ุรี
ลงพนื้ ทร่ี ว่ มกับคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดสงิ ห์บุรี

ผลการดาเนนิ การของจงั หวดั /หน่วยงานท่เี กย่ี วขอ้ ง
สานักงานโยธาธกิ ารและผังเมืองจงั หวดั สงิ หบ์ รุ ีแจ้งผลการดาเนนิ การ ดังนี้
ได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้างดาเนินการแก้ไขแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เพ่ือมอบให้จังหวัดพิจารณา
ดาเนินการต่อไป

(๓) โครงการขุดลอกคลองและก่อสร้างถนนทางเข้าโครงการพัฒนาพื้นที่เฉพาะหนองจระเข้คุด
ตาบลยา่ นซ่ือ อาเภอเมืองอา่ งทอง จังหวัดอ่างทอง

ผลการสอดสอ่ งของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. อ่างทอง ได้สอดส่องโครงการขุดลอกคลองและก่อสร้างถนนทางเข้าโครงการพัฒนาพื้นที่
เฉพาะหนองจระเข้คุด ตาบลย่านซ่ือ อาเภอเมืองอ่างทอง จงั หวดั อ่างทอง ซ่ึงเป็นโครงการตามแผนปฏิบตั ิราชการ
ประจาปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยมีโครงการชลประทานอ่างทองเป็นหน่วยงานดาเนินการ พบว่า
การขุดลอกคลองสามารถเพ่ิมขีดความสามารถในการรับน้าและกักเก็บน้า รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการระบาย
น้าได้ระดับหนึ่ง แต่จังหวัดอ่างทองเป็นที่ราบลุ่มรองรับน้าจากทางภาคเหนือ จึงทาให้เกิดปัญหาอุทกภัย
ช่วงฤดูน้าหลาก เกิดปัญหาภัยแล้งช่วงหน้าแล้ง ซ่ึงพื้นท่ีจังหวัดอ่างทองมีแหล่งกักเก็บน้าไม่มากนักทาให้เกิด
ปัญหาเป็นประจา ซง่ึ การดาเนินการดังกล่าวหน่วยงานของรฐั หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจปฏบิ ตั ิภารกิจไม่เป็นไปตาม
หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามระเบียบฯ ข้อ ๒๓ (๒) ปฏิบัติภารกิจเพื่ออานวยความสะดวกให้บริการ
และสนองความต้องการของประชาชน (4) ปฏิบัติภารกิจให้เกิดผลสัมฤทธ์ิ มีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มค่า
และ (๖) ปฏิบตั ิภารกจิ โดยยึดหลกั การมีส่วนร่วมของประชาชน และการเปดิ เผยข้อมลู อยา่ งโปรง่ ใส
ข้อพจิ ารณา/มตขิ อง ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. อ่างทอง พิจารณาแล้วขอให้โครงการชลประทานอ่างทองพิจารณาหาพื้นท่ีจัดทาแหล่ง
กักเก็บน้าหรือแก้มลิง รวมทั้งเพิ่มความลึกของลาคลองท่ีมีอยู่เพื่อให้สามารถกักเก็บน้าไว้ในพ้ืนท่ีได้มากข้ึน
ลดผลกระทบจากปัญหาอทุ กภยั และภัยแล้ง
ผลการดาเนินการของจงั หวดั /หน่วยงานทเ่ี กีย่ วข้อง
โครงการชลประทานอา่ งทองแจง้ ผลการดาเนินการ ดังนี้
ได้เร่งสารวจแหล่งเก็บน้าและเพิ่มศักยภาพในการรับน้าและระบายน้าในคลองร่วมกับโครงการ
สง่ น้าและบารุงรักษาในพ้ืนที่ เพ่ือตัง้ เป็นแผนงานในการเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณและบูรณาการร่วมกับ
องคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถิน่ ต่อไป

๑๖ รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก

ผู้ตรวจราชการสานกั นายกรัฐมนตรี (นางรุ่งรตั นา บุญ-หลง) ประธาน ก.ธ.จ. อ่างทอง
ลงพนื้ ทีร่ ว่ มกบั คณะกรรมการธรรมาภิบาลจงั หวัดอ่างทอง

(๔) โครงการปรับปรุงอาคารศูนย์บริการนักท่องเท่ียว บ้านห้วยทรายขาว หมู่ที่ ๕ ตาบลทรายขาว
อาเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ผลการสอดสอ่ งของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. เชยี งราย ได้สอดส่องโครงการปรบั ปรุงอาคารศูนย์บริการ นกั ท่องเที่ยว บา้ นหว้ ยทรายขาว
หม่ทู ี่ 5 ตาบลทรายขาว อาเภอพาน จังหวดั เชยี งราย ซ่งึ เปน็ โครงการตามแผนปฏิบัติราชการ ประจาปขี องจังหวัด
เชยี งราย ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมสี านกั งานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงรายเป็นหนว่ ยงานรับผิดชอบ พบว่า
ผลการดาเนินการล่าช้า มีค่าปรับจานวน 5,091 บาท จัดจ้างเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ๒๕64 ส่งมอบงานวันที่
20 กรกฎาคม ๒๕64 โอนทรัพย์สินให้องค์การบริหารส่วนตาบลทรายขาว เมื่อวันท่ี 13 กันยายน ๒๕64
ผู้นาหมู่บ้านร่วมกับ อบต.ทรายขาว รับผิดชอบดูแลทรัพย์สิน ซึ่งการดาเนินการดังกล่าวหน่วยงานของรัฐหรือ
เจา้ หน้าทขี่ องรัฐอาจปฏิบตั ภิ ารกจิ ไม่เป็นไปตามหลักการบรหิ ารกจิ การบ้านเมืองท่ีดี ตามระเบยี บฯ ขอ้ 23 (๒)
ปฏิบัติภารกิจเพ่ืออานวยความสะดวก ให้บริการ และสนองความต้องการของประชาชน (๓) ปฏิบัติภารกิจ
เพื่อประโยชน์สขุ ของประชาชน และ (4) ปฏิบัตภิ ารกิจให้เกิดผลสัมฤทธม์ิ ีประสทิ ธิภาพ และมีความคมุ้ ค่า
ขอ้ พิจารณา/มตขิ อง ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. เชียงราย พิจารณาแล้ว มีข้อเสนอแนะให้สานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดควรมีการใช้
ศูนย์บริการนักท่องเท่ียวให้เกิดประโยชน์ โดยสร้างกิจกรรมท่ีส่งเสริมให้มีการนาจุดเด่นของพื้นท่ีบ้าน
ห้วยทรายขาว มาเช่ือมโยงต่อยอด ให้เกิดความน่าสนใจเพ่ือดึงดูดให้นักท่องเที่ยวสนใจมาใช้บริการศูนย์ฯ
อย่างต่อเนื่อง และขอให้คนในหมู่บ้าน/ชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษา และต่อยอด อย่างต่อเน่ือง
รวมทงั้ ควรสง่ เสริมเดก็ /เยาวชนร่นุ ใหมเ่ ขา้ มามีส่วนร่วม และทาการตลาดออนไลน์
ผลการดาเนินการของจังหวัด/หน่วยงานทเ่ี กี่ยวข้อง
เรอื่ งอยรู่ ะหวา่ งการดาเนินการของส่วนราชการ

รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก ๑๗

ผูต้ รวจราชการสานักนายกรฐั มนตรี (นางสมุ ิตรา อตศิ ัพท์) ประธาน ก.ธ.จ. เชยี งราย
ประชมุ และลงพืน้ ท่รี ว่ มกบั คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวดั เชยี งราย

(๕) โครงการพัฒนาแหล่งน้าสนับสนุนบ้านดอนไชย (ฝายห้วยเฮ้ีย) พร้อมระบบส่งน้า ตาบล
ปา่ แลวหลวง อาเภอสนั ตสิ ุข จังหวดั นา่ น

ผลการสอดสอ่ งของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. นา่ น ได้สอดสอ่ งโครงการพฒั นาแหล่งนา้ สนบั สนุนบา้ นดอนไชย (ฝายห้วยเฮย้ี ) พร้อมระบบ
ส่งน้า ตาบลป่าแลวหลวง อาเภอสันติสุข จังหวัดน่าน ซ่ึงเป็นโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจาปีของ
จังหวดั นา่ น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมโี ครงการชลประทานจังหวดั นา่ นเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ พบว่า
โครงการมีการก่อสรา้ งฝายทดนา้ จานวน ๑ แห่ง พรอ้ มระบบส่งน้าและอาคารประกอบแล้วเสร็จตามสัญญาจ้าง
สามารถส่งน้าให้กับพื้นท่ีการเกษตรและอุปโภค – บริโภค และช่วยเหลือพ้ืนที่เพาะปลูก จานวน ๑๕๐ ไร่
ก.ธ.จ. เห็นว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ดี มีประโยชน์กับประชาชนเป็นอย่างมาก จึงขอให้โครงการ
ชลประทานจงั หวดั มีการดาเนินโครงการพัฒนาแหลง่ นา้ อยา่ งตอ่ เน่ืองต่อไป

ผตู้ รวจราชการสานักนายกรฐั มนตรี (นางสมุ ิตรา อตศิ พั ท์) ประธาน ก.ธ.จ. น่าน
ลงพ้นื ทีร่ ่วมกับคณะกรรมการธรรมาภิบาลจงั หวดั น่าน

๑๘ รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก
(๖) โครงการบูรณาการการค้า การลงทุน กิจกรรมหลักเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวงหมายเลข ๑๒๙

ตอนทางเล่ยี งเมืองแพร่ ช่วงจุดกลบั รถ ระยะทางประมาณ ๑.๕ กโิ ลเมตร
ผลการสอดส่องของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. แพร่ ได้สอดส่องโครงการบูรณาการการค้า การลงทุน กิจกรรมหลักเพ่ิมประสิทธิภาพ

ทางหลวงหมายเลข 129 ตอนทางเลี่ยงเมืองแพร่ ช่วงจุดกลับรถ ระยะทางประมาณ 1.๕ กิโลเมตร ซึ่งเป็น
โครงการตามงบประมาณรายจ่ายประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2
โดยมีแขวงทางหลวงแพร่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ พบว่า ในขณะที่ลงพื้นที่สอดส่อง อยู่ระหว่างการดาเนิน
โครงการ มีผลงานก่อสร้างประมาณร้อยละ ๙๐ คงเหลือการก่อสร้าง เพื่อเก็บรายละเอียด เช่น งานปูทางเท้า
งานทาสีทางเท้า งานตีเส้นจราจร และงานระบายน้า ฯลฯ การดาเนินการล่าช้า เน่ืองจากขาดแรงงานก่อสร้าง
ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID – 19) และมีการร้ือย้ายไฟฟ้า ประปา ในพื้นท่ีก่อสร้าง
คาดว่าจะแลว้ เสรจ็ สิ้นเดือนเมษายน ๒๕๖๕

ผู้ตรวจราชการสานกั นายกรัฐมนตรี (นางสุมิตรา อติศัพท)์ ประธาน ก.ธ.จ. แพร่
ลงพน้ื ท่รี ่วมกบั คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวดั แพร่

(๗) โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบบูรณาการ กิจกรรมต่อเติมอาคารจาหน่ายสินค้าตลาดดอย
มเู ซอใหม่ และเทคอนกรีต หมู่ท่ี 5 ตาบลด่านแมล่ ะเมา อาเภอแมส่ อด จงั หวัดตาก

ผลการสอดส่องของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. ตาก ไดส้ อดสอ่ งโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบบูรณาการ กจิ กรรมต่อเตมิ อาคารจาหน่าย
สินค้าตลาดดอยมูเซอใหม่ และเทคอนกรีต หมู่ท่ี 5 ตาบลด่านแม่ละเมา อาเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยได้รับ
งบประมาณให้ดาเนินโครงการฯ จานวน 3,200,000 บาท โดยเป็นโครงการตามแผนปฏิบตั ิราชการประจาปี
งบประมาณ พ.ศ. 2564 ของจังหวัดตาก ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพ้ืนที่สูงจังหวัดตาก เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ
ซึ่งจากการลงพื้นที่สอดส่องโครงการฯ พบว่า การดาเนินโครงการแล้วเสร็จ มีการดาเนินการจัดทากันสาด เทพ้ืน
คอนกรีตด้านหน้าตลาด ก่อสร้างห้องน้าที่ได้มาตรฐาน และติดต้ังป้ายประชาสัมพันธ์ มีการส่งมอบงานและ
เบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในปลายเดือนธันวาคม 2564 โดยใชง้ บประมาณในการก่อสรา้ ง จานวน 1,800,000 บาท
ทาให้งบประมาณท่ีได้รับการจัดสรรส่วนท่ีเหลือต้องพับไป ซ่ึงสืบเน่ืองจากเทศบาลนครแม่สอดได้ออกแบบ

รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก ๑๙

และคานวณราคากลางค่าก่อสร้างฯ เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณ จานวน 3,200,000 บาท
แต่เม่ือได้รับงบประมาณแล้วมีการปรับแบบและคิดคานวณราคากลางใหม่ จึงเหลือค่าก่อสร้างเพียงจานวน
1,788,000 บาท และถึงแม้จะให้สานักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดตากช่วยตรวจสอบราคากลาง
ค่าก่อสร้างตามแบบที่กาหนดก็ได้ราคากลางเพียง 1,827,000 บาท จึงต้องมีการ e – bidding ที่ราคา
1,827,000 บาท ทาให้งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรส่วนที่เหลือต้องพับไป ซ่ึงยังมีบางกิจกรรมที่ไม่ได้
ดาเนินการ ท้ังท่ีได้กาหนดไว้ในครั้งแรกตอนเสนอของบประมาณ ซ่ึง ก.ธ.จ. ตาก มีความเห็นว่า การท่ี
งบประมาณส่วนที่เหลือต้องพับไป ทาให้ศูนย์สาธิตการตลาดชาวไทยภูเขาฯ เสียโอกาสในการพัฒนาศูนย์ฯ
อีกหลายกิจกรรม รวมทั้งจังหวัดตากก็เสียโอกาสในการขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการอื่น ๆ ในจังหวัด สาเหตุ
เน่ืองมาจากการขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องเท่าที่ควร ซ่ึงการดาเนินการดังกล่าว
หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจปฏิบัติภารกิจไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองท่ีดี
ตามระเบียบฯ ข้อ ๒๓ (3) ปฏิบัติภารกิจเพ่ือประโยชน์สุขของประชาชน และ (๔) ปฏิบัติภารกิจให้เกิดผล
สมั ฤทธ์ิ มปี ระสิทธิภาพ และมคี วามคุ้มคา่

ขอ้ พิจารณา/มตขิ อง ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. ตาก พิจารณาแล้ว เห็นควรให้มีหนังสือแจ้งจังหวัดตาก เพื่อให้มีการกากับ ดูแล ในกรณีท่ี
อาจมีการดาเนินการในลักษณะน้ีอีกในอนาคต โดยก่อนดาเนินโครงการ ขอให้ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพ้ืนที่สูง
จังหวัดตาก เทศบาลนครแม่สอด และศูนย์สาธิตการตลาดชาวไทยภูเขาฯ ได้มีการประสานงานและทาความ
เข้าใจกนั ตั้งแต่เร่ิมโครงการ ตัง้ แต่การออกแบบ การใชง้ าน ใหส้ อดคล้องกบั ศูนย์สาธิตการตลาดชาวไทยภูเขาฯ
รวมท้งั ใชก้ ลไกของคณะกรรมการอานวยการศนู ย์สาธิตการตลาดชาวไทยภเู ขาเฉลิมพระเกียรติ เนือ่ งในวโรกาส
72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในการกากับ ดูแล การดาเนินงานของ หน่วยงานที่
เก่ียวข้อง รวมทั้งการบริหารจัดการของศูนย์สาธิตการตลาดชาวไทยภูเขาฯ ให้เป็นไปด้วยความเรี ยบร้อย
เกดิ ประสิทธภิ าพ ประสทิ ธิผล และเกิดประโยชนก์ ับทุกภาคส่วน

ผตู้ รวจราชการสานกั นายกรฐั มนตรี (นางรงุ่ รตั นา บุญ-หลง) ประธาน ก.ธ.จ. ตาก
ลงพ้นื ทรี่ ว่ มกับคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดตาก

๒๐ รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก
ผลการดาเนินการของจังหวัด/หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง
จังหวัดตากได้มีหนังสือท่ี ตก 0017.2/1314 ลงวันท่ี 25 มกราคม 2565 แจ้งผลการดาเนินการ

ตามข้อเสนอแนะว่า ในการดาเนินโครงการ/กิจกรรมดังกล่าวมีเงินเหลือจ่าย จานวน 1,373,000 บาท
โดยจังหวัดตากได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดตาก (ก.บ.จ. ตาก)
ได้นาเงินเหลือจ่ายดังกล่าวไปต่อยอด ขยายผลโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจาปีของจังหวัดตาก
ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ท่ีดาเนินการแล้วเสร็จ เพื่อเพ่ิมเติมเป้าหมายโครงการให้บรรลุผลสัมฤทธิ์
มากข้ึน และเพื่อให้เกิดประโยชน์และเกิดความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ จังหวัดได้
แจ้งให้ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นท่ีสูงจังหวัดตาก ดาเนินการตามข้อเสนอแนะของ ก.ธ.จ. ตาก แล้ว และจักได้
นาขอ้ สังเกตและข้อเสนอแนะของ ก.ธ.จ. ตาก แจ้งในการประชุม ก.บ.จ. ตาก ตอ่ ไป

(๘) โครงการปรับปรุงทางขึ้นวัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว (ตั้งแต่บริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข ๑๒
ถงึ วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว หมู่ท่ี ๗ ตาบลแคมป์สน อาเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

ผลการสอดส่องของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. เพชรบรู ณ์ ไดส้ อดส่องโครงการปรบั ปรุงทางขึ้นวัดพระธาตผุ าซ่อนแก้ว (ต้ังแต่บรเิ วณจุดตัด
ทางหลวงหมายเลข ๑๒ ถึงวัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว หมู่ท่ี ๗ ตาบลแคมป์สน อาเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
ซึ่งเป็นโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจาปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ของจังหวัดเพชรบูรณ์ งบประมาณ
๔๐ ลา้ นบาท แขวงทางหลวงชนบทเพชรบูรณ์เป็นหน่วยงานรบั ผดิ ขอบ พบวา่ อย่รู ะหวา่ งดาเนินการ โดยมกี าร
ปรับปรุงถนนคอนกรตี เสริมเหล็ก กว้าง ๗ เมตร ไม่มีไหล่ทาง ระยะทาง ๒.๑๔๐ กิโลเมตร ปริมาณงานคิดเป็น
ร้อยละ ๕๔.๓๗ ซ่ึงล่าช้ากว่าแผนงานท่ีกาหนด เนื่องจากในขั้นตอนงานวางท่อได้ขุดเจาะและเจอชั้นหิน
ตลอดเส้นทาง ประกอบกับในชว่ งเดือนสิงหาคม – กันยายน เปน็ ช่วงหนา้ ฝน ผรู้ ับจา้ งไม่สามารถเข้าดาเนินงานได้
ซ่ึงขณะนผี้ ู้รับจ้างได้ถูกค่าปรับ แตอ่ ยา่ งไรก็ตาม คาดว่าการดาเนนิ โครงการฯ จะแลว้ เสรจ็ ประมาณปลายเดือน
มกราคม 2565 ซึ่ง ก.ธ.จ. เพชรบูรณ์ ได้ให้ข้อเสนอแนะในพื้นท่ีให้แขวงทางหลวงชนบทเพชรบูรณ์ กากับ
ดแู ลให้ผรู้ บั จ้างเร่งดาเนนิ การใหแ้ ล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้ประชาชน/นักทอ่ งเทีย่ ว สญั จรไป – มา ไดส้ ะดวกยิง่ ข้ึน

ผตู้ รวจราชการสานกั นายกรฐั มนตรี (นางรุง่ รตั นา บญุ -หลง) ประธาน ก.ธ.จ. เพชรบูรณ์
ประชมุ และลงพืน้ ท่รี ว่ มกับคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวดั เพชรบรู ณ์

รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก ๒๑
(๙) โครงการก่อสรา้ งเข่อื นปอ้ งกันตลิ่งริมแม่นา้ นา่ น บา้ นวดั จันทร์ หมทู่ ี่ 7 ตาบลวัดจันทร์ อาเภอ
เมืองพิษณโุ ลก จังหวัดพิษณุโลก

ผลการสอดส่องของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. พิษณโุ ลก ไดส้ อดส่องโครงการก่อสร้างเข่ือนป้องกนั ตลง่ิ ริมแมน่ ้าน่าน บา้ นวัดจนั ทร์ หม่ทู ี่ 7
ตาบลวัดจันทร์ อาเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ซ่ึงเป็นโครงการตามแผนปฏิบัติราชการ ประจาปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖4 งบประมาณ ๒1 ล้านบาทเศษ โดยสานกั งานโยธาธิการและผงั เมืองจังหวัดพิษณุโลก
เป็นหน่วยงานดาเนินการ พบว่า เป็นการก่อสร้างเข่ือนป้องกันตลิ่งริมแม่น้าน่าน ความยาว ๑๕๐ เมตร
อยู่ระหว่างดาเนินการ ซ่ึงล่าช้ากว่าแผนที่กาหนด ปริมาณงานคิดเป็นร้อยละ ๗๑ ซึ่ง ก.ธ.จ. พิษณุโลก ได้ให้
ข้อเสนอแนะในพ้ืนท่ี ขอให้สานักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดพิษณุโลก เร่งรัดดาเนินการให้แล้วเสร็จ
ตามสญั ญาจา้ งในเดอื นกุมภาพนั ธ์ ๒๕๖๕

ผู้ตรวจราชการสานกั นายกรฐั มนตรี (นางรุ่งรตั นา บญุ -หลง) ประธาน ก.ธ.จ. พิษณุโลก
ประชมุ และลงพ้ืนทรี่ ว่ มกับคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวดั พษิ ณุโลก

(๑๐) โครงการขดุ ลอกคลองตาปลิว ตาบลวังใหญ่ ตาบลเกาะตาเล้ยี ง อาเภอศรสี าโรง จงั หวดั สุโขทัย
ผลการสอดส่องของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. สุโขทยั ไดส้ อดสอ่ งโครงการขดุ ลอกคลองตาปลวิ ตาบลวังใหญ่ ตาบลเกาะตาเลยี้ ง อาเภอ

ศรีสาโรง จงั หวัดสุโขทัย ซ่งึ เป็นโครงการตามแผนปฏบิ ัตริ าชการประจาปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ของจงั หวัด
สุโขทัย งบประมาณ ๖ ล้านบาทเศษ โดยโครงการชลประทานสุโขทัย เป็นหน่วยงานดาเนินการ เนื่องจาก
คลองตนื้ เขนิ มีตะกอนดนิ ทับถมเปน็ จานวนมาก ทาใหไ้ ม่สามารถรับนา้ และระบายน้าในช่วงฤดนู ้าหลากได้อย่าง
มปี ระสทิ ธภิ าพ เกษตรกรไมส่ ามารถใช้เป็นเสน้ ทางลาเลียงผลผลิตได้ จึงไดด้ าเนนิ โครงการขุดลอกคลองตาปลิว
ระยะทาง 9.340 กิโลเมตร เริ่มต้นสัญญาจ้าง เม่ือวันท่ี 8 เมษายน 2564 สิ้นสุดสัญญาจ้าง เม่ือวันท่ี
6 กรกฎาคม 2564 แบ่งเป็น งานดินขุดด้วยเครื่องจักร พร้อมขนย้าย 1 กิโลเมตร ปริมาณดินขุด 45,355

๒๒ รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก
ลูกบาศก์เมตร งานดินขุดด้วยเคร่ืองจักร ปริมาณดินขุด 33,060 ลูกบาศก์เมตร งานดินถมบดอัดแน่นด้วย
เครื่องจักร ร้อยละ 95 S.P.C.T. ปริมาณดิน 11,465 ลูกบาศก์เมตร และงานดินลูกรังบดอัดแน่น ร้อยละ 95
M.P.C.T. มีการขุดลึกจากก้นคลองเดิมเฉลี่ย 1 – 2 เมตร จุดท้ิงดินเป็นบริเวณวัดที่อยู่ใกล้เคียง พบว่า
การดาเนินการแล้วเสร็จ สามารถแก้ไขปัญหาการระบายน้าในช่วงฤดูน้าหลาก และเก็บกักน้าไว้ใช้
เพ่ือการเกษตรในช่วงฤดูแล้งได้ ซ่ึง ก.ธ.จ. สุโขทัย ได้ให้ข้อเสนอแนะในพ้ืนท่ีให้โครงการชลประทานสุโขทัย
มกี ารกาจดั ผกั ตบชวาเพ่อื ช่วยการระบายน้าในช่วงน้าหลาก และปลกู หญ้าแฝกเพื่อป้องกันดนิ สไลด์

ผตู้ รวจราชการสานักนายกรฐั มนตรี (นางรุง่ รัตนา บุญ-หลง) ประธาน ก.ธ.จ. สุโขทยั
ประชมุ และลงพน้ื ทร่ี ว่ มกบั คณะกรรมการธรรมาภบิ าลจงั หวดั สุโขทัย

(๑๑) โครงการติดตง้ั ไฟฟา้ แสงสว่าง ทางหลวงหมายเลข 11 ตอนควบคมุ 0501, 0502, 0503
ตอนนาอิน – ชยั มงคล – บงึ หลกั – หนองนา้ เขยี ว จานวน 142 ตน้ พร้อมอุปกรณ์ จังหวดั อตุ รดติ ถ์

ผลการสอดส่องของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. อุตรดิตถ์ ได้สอดส่องโครงการติดต้ังไฟฟ้าแสงสว่าง ทางหลวงหมายเลข 11 ตอนควบคุม
0501, 0502, 0503 ตอนนาอิน – ชัยมงคล – บึงหลัก – หนองน้าเขียว จานวน 142 ต้น พร้อมอุปกรณ์
เป็นโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจาปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ของจงั หวัด งบประมาณ 6,230,000 บาท
แขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ท่ี 1 เป็นหน่วยงานดาเนินการ พบว่า การดาเนินการแล้วเสร็จ มีการติดต้ังเสาไฟฟ้า
แสงสว่างริมถนนสายหลัก ผ่านพื้นท่ีอาเภอพิชัย อาเภอตรอน อาเภอทองแสงขัน และอาเภอเมือง ซึ่งสามารถ
ป้องกันอุบัติเหตุ โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน และอานวยความสะดวกปลอดภัยแก่ประชาชนผู้อยู่บริเวณ
สองข้างทาง รวมทั้งผู้ใช้เส้นทางสัญจร ไป – มา ระหว่างภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พบว่า การดาเนินการแล้วเสร็จก่อนวันสิ้นสุดสัญญาจ้าง ซึ่งทาให้ทัศนวิสัยของผู้ใช้เส้นทางในการขับขี่ช่วงเวลา
กลางคนื เห็นชัดเจนข้ึน ปอ้ งกนั การเกิดอุบัติเหตุ ในช่วงท่ไี มม่ ีไฟฟ้าแสงสว่างที่ไมต่ ่อเนื่อง และจดุ ท่ีมีความเสี่ยง
ท่จี ะเกดิ อุบัติเหตบุ นถนน เดินทางถงึ จุดหมายปลายทางโดยสวัสดิภาพ

รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก ๒๓

ผ้ตู รวจราชการสานักนายกรฐั มนตรี (นางร่งุ รัตนา บญุ -หลง) ประธาน ก.ธ.จ. อตุ รดิตถ์
ลงพื้นที่ร่วมกับคณะกรรมการธรรมาภบิ าลจังหวัดอตุ รดิตถ์

๒๔ รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก

การสอดสอ่ งแผนงาน/โครงการของสว่ นราชการในจังหวดั

ก.ธ.จ. ได้ดาเนินการสอดส่องแผนงาน/โครงการของส่วนราชการในจังหวัดตามกรอบแนวทาง
ในการปฏิบัติภารกิจตามอานาจหน้าที่ของ ก.ธ.จ. จานวน ๒๗ โครงการ พบว่าโครงการดังกล่าวไม่เป็นไปตาม
หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จานวน ๑๔ โครงการ ซึ่งโครงการที่สอดส่องส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อ
ประชาชนด้านสาธารณูปโภค รองลงมา ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ้ ม ด้านเศรษฐกิจและด้านสงั คม
ตามลาดับ จาแนกได้ว่าไม่เป็นไปตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด
พ.ศ. ๒๕๕๒ และท่ีแก้ไขเพ่ิมเติม ข้อ ๒๓ (๑) – (๗) รวมจานวน ๑4 ข้อ ในจานวนนี้ไม่เป็นไปตามระเบียบฯ
ข้อ ๒๓ (3) ปฏิบัติภารกิจเพ่ือประโยชน์สุขของประชาชน มากที่สุด จานวน 1๑ ข้อ คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๕๗
รองลงมาเป็นข้อ ๒๓ (๖) ปฏิบัติภารกิจโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน และการเปิดเผยข้อมูล
อย่างโปร่งใส จานวน ๒ ข้อ คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๒๙ และข้อ ๒๓ (๔) ปฏิบัติภารกิจให้เกิดผลสัมฤทธ์ิ
มีประสทิ ธภิ าพ และมคี วามค้มุ ค่า จานวน ๑ ข้อ คิดเปน็ ร้อยละ ๗.๑๔ ดังนี้

การสอดส่องแผนงาน/โครงการของส่วนราชการในจงั หวัด
รวม ๑๔ โครงการ

ไม่เป็นไปตามระเบยี บฯ ข้อ 23 (1) - (7) จานวนข้อ คิดเปน็
ร้อยละ
(๑) ปฏิบตั ภิ ารกจิ ให้เปน็ ไปตามกฎหมายเพ่อื รักษาประโยชนส์ ่วนรวม ตลอดจน -
ไมล่ ะเมดิ สิทธิและเสรภี าพของประชาชน -
-
(๒) ปฏบิ ตั ภิ ารกจิ เพื่ออานวยความสะดวก ใหบ้ ริการ และสนองความต้องการ --
ของประชาชน 1๑
๑ ๗๘.๕๗
(๓) ปฏิบัตภิ ารกจิ เพ่ือประโยชนส์ ุขของประชาชน - ๗.๑๔

(๔) ปฏบิ ัตภิ ารกิจใหเ้ กดิ ผลสมั ฤทธ์ิ มีประสทิ ธภิ าพ และมคี วามคุ้มคา่ ๒ -

(๕) ปฏบิ ัตภิ ารกจิ โดยไม่มีขน้ั ตอนการปฏิบัติงานเกินความจาเปน็ ใหท้ ันตอ่ - ๑๔.๒๙
สถานการณ์ โดยเฉพาะในเรอื่ งทเ่ี ป็นความเดือดร้อนและทุกข์ยากของประชาชน
๑4 -
(๖) ปฏิบตั ภิ ารกิจโดยยดึ หลักการมสี ่วนร่วมของประชาชน และการเปิดเผยข้อมูล
อยา่ งโปร่งใส 100

(๗) ปฏิบัติภารกิจโดยมกี ารติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏบิ ัติงาน
สมา่ เสมอ และเผยแพร่ต่อสาธารณะ

รวม

ท้ังน้ี การสอดส่องแผนงาน/โครงการดังกล่าว ก.ธ.จ. มีมติเป็นข้อเสนอแนะ จานวน ๔๗ ข้อ
โดยจงั หวดั /หนว่ ยงานทีเ่ กยี่ วข้องรับข้อเสนอแนะไปดาเนนิ การแลว้ จานวน ๔๔ ข้อ

รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก ๒๕

❖ กรณีตัวอยา่ ง ❖

ผลการสอดสอ่ งแผนงาน/โครงการของสว่ นราชการในจังหวัด

(๑) โครงการขยายผลเกษตรเพ่ืออาหารกลางวันอันเนื่องมาจากพระราชดาริ สมเด็จพระกนิษฐา-
ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตาบลคลองหก อาเภอคลองหลวง จังหวัด
ปทมุ ธานี

ผลการสอดส่องของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. ปทมุ ธานี ได้สอดส่องโครงการขยายผลเกษตรเพื่ออาหารกลางวนั อนั เน่อื งมาจากพระราชดาริ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตาบลคลองหก อาเภอ
คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นโครงการตามแผนงานของส่วนราชการในจังหวัด พบว่า โครงการดังกล่าว
เป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างที่ทาการปกครองอาเภอคลองหลวงกับโรงเรียนวัดมูลเหล็ก โดยที่ทาการ
ปกครองอาเภอฯ เป็นผู้ดาเนินการจัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์ตามโครงการฯ ส่งมอบให้แก่โรงเรียนฯ นาไปดาเนิน
โครงการอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน โดยโรงเรียนฯ ได้รับวัสดุอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย
วัสดุอุปกรณ์และอาหารไก่ จานวน 3 รายการ และวัสดุอุปกรณ์ในการปลูกพืช ผักสวนครัว พืชสมุนไพร จานวน
36 รายการ และมีการกาหนดกิจกรรมดาเนินการ จานวน 6 กิจกรรม เนื่องจากในช่วงการดาเนินโครงการ
ดังกล่าวอยู่ในช่วงที่สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีผู้ติดเชื้อจานวนมาก ทาให้
โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอน Online จึงได้มีการปรับแนวทางการดาเนินกิจกรรมการให้ความรู้การปลูกพืช
Online และมอบวัสดุอุปกรณ์ เมล็ดพันธุ์พืช ให้นักเรียนนาไปปลูกท่ีบ้าน และรายงานส่งภาพถ่ายและ
คลิปวิดีโอการปลูกพืชของนักเรียนให้ครูผู้สอน สาหรับไข่ไก่ท่ีได้จากโครงการฯ ได้มอบให้ผู้ปกครองนาไปปรุงเป็น
อาหารกลางวันให้นักเรียนในช่วงการเรียน Online ท่ีบ้าน และติดตามการได้รับประทานอาหารกลางวันถูกต้อง
ตามหลักโภชนาการ ด้วยการสอบถามในชั่วโมงเรียน Online เก่ียวกับรายการอาหารท่ีนักเรียนรับประทาน
ในแต่ละวัน ปรากฏวา่ นกั เรียนมีการนาพืชผักสวนครวั ท่ีปลูกมาใช้ในการประกอบอาหารและนาไข่ไก่ท่ีโรงเรียน
มอบให้มาใช้ในการประกอบอาหาร ท้ังนี้ เมื่อมีการเปิดการเรียนการสอนท่ีโรงเรียนตามปกติแล้วจะนาวัสดุ
ตามโครงการฯ ส่วนท่ียังคงเหลอื มาจดั การเรยี นการสอนในโรงเรียนต่อไป ซ่ึงการดาเนินการดังกลา่ วหน่วยงาน
ของรัฐหรือเจ้าหน้าท่ีของรฐั อาจปฏิบัตภิ ารกิจไม่เป็นไปตามหลกั การบริหารกิจการบ้านเมืองท่ีดี ตามระเบียบฯ
ขอ้ 23 (4) ปฏิบตั ภิ ารกจิ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธภิ าพ และมคี วามคุม้ คา่

ข้อพิจารณา/มติของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. ปทุมธานี พิจารณาแล้วมีมตใิ ห้จังหวดั /หนว่ ยงานทีเ่ กย่ี วข้องดาเนินการ ดังน้ี
1. โรงเรียนควรมีการวางแผนการบริหารจัดการโครงการฯ ให้เกิดความย่ังยืนมากข้ึน สามารถ
ดาเนินการได้อย่างต่อเนื่องด้วยตนเองโดยไม่ต้องรอการสนับสนุนงบประมาณ หรือวสั ดุ อุปกรณ์จากทางราชการ
เชน่ การเก็บเมล็ดพนั ธุ์พชื ผักสวนครวั ทป่ี ลูกในโครงการฯ เพ่ือใช้เป็นเมลด็ พันธ์ุในรอบต่อไปหลงั สน้ิ สดุ โครงการ
และการเตรียมการผลัดเปล่ยี นแม่ไก่ไขช่ ุดใหม่ทดแทนแม่ไก่ชุดปจั จุบัน เพอื่ ใหน้ ักเรยี นมีอาหารกลางวันรับประทาน
ไดอ้ ย่างต่อเนือ่ ง โดยหนว่ ยงานในพนื้ ทที่ ี่เก่ียวขอ้ งควรสนบั สนนุ ให้ความรู้ทางวชิ าการและแนะนาการปฏิบตั ิ
๒. เน่ืองจากวัตถุประสงค์ของโครงการนอกจากเพื่อให้นักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ
ตามหลักโภชนาการเม่ือมาโรงเรียนแลว้ ยังมีวัตถุประสงค์เพ่ือให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้านการเกษตรและสามารถ
นาไปประกอบอาชีพในอนาคตได้ด้วย โดยการมีส่วนร่วมในการดาเนินโครงการฯ ตามความเหมาะสม ดังนั้น
เมื่อมีการเรยี นการสอนตามปกติแลว้ โรงเรียนควรจัดกิจกรรมให้นกั เรยี นมีสว่ นร่วมในโครงการดว้ ย

๒๖ รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก
ผลการดาเนนิ การของจังหวดั /หนว่ ยงานท่เี กี่ยวข้อง
มีหนงั สือแจ้งหน่วยงานที่เกีย่ วขอ้ งดาเนินการตามข้อเสนอแนะของ ก.ธ.จ. ปทุมธานี แล้ว

ผูต้ รวจราชการสานกั นายกรัฐมนตรี (นายเจรญิ ช้อื ตระกูล) ประธาน ก.ธ.จ. ปทุมธานี
ประชุมและลงพ้นื ที่รว่ มกับคณะกรรมการธรรมาภิบาลจงั หวดั ปทมุ ธานี

(๒) โครงการก่อสร้างระบบผลิตน้าประปา (Water Treatment System) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย
บ้านไทยเจรญิ อาเภอไทยเจรญิ จงั หวดั ยโสธร

ผลการสอดสอ่ งของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. ยโสธร ได้สอดส่องโครงการก่อสร้างระบบผลิตน้าประปา (Water Treatment System)
ตามบัญชีนวัตกรรมไทย บ้านไทยเจริญ อาเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร พบว่า โครงการได้ดาเนินการเสร็จ
เรยี บรอ้ ยแลว้ มปี ระชาชนใชป้ ระโยชนจ์ ากระบบผลิตนา้ ประปาในพืน้ ที่ หม่ทู ่ี ๑ บ้านไทยเจรญิ จานวนประมาณ
๒๐๐ ครัวเรือน รวมถึงส่วนราชการและท่ีทาการปกครองอาเภอด้วย แต่ระบบจ่ายน้ายังไม่สามารถจ่ายให้
หมู่บ้านอ่ืนได้ อีกท้ังยังมีการต่อเติมสิ่งต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายท่ีจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่อาจส่งผลต่อ
ความปลอดภัยและเกิดความเสียหายต่อระบบผลิตน้าประปา ซ่ึงกรณีดงั กล่าวไม่อยู่ในเงื่อนไขของการประกันสัญญา
ซ่ึงการดาเนินการดังกล่าวหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหนา้ ท่ีของรัฐอาจปฏิบัตภิ ารกิจไม่เป็นไปตามหลักการบริหาร
กจิ การบา้ นเมอื งทดี่ ี ตามระเบยี บฯ ข้อ ๒๓ (๓) ปฏิบตั ภิ ารกจิ เพอ่ื ประโยชนส์ ขุ ของประชาชน

รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก ๒๗

ผ้ตู รวจราชการสานักนายกรฐั มนตรี (นางสุมติ รา อตศิ ัพท)์ ประธาน ก.ธ.จ. ยโสธร
ประชุมและลงพนื้ ทรี่ ่วมกบั คณะกรรมการธรรมาภบิ าลจงั หวดั ยโสธร

ข้อพิจารณา/มติของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. ยโสธร พจิ ารณาแลว้ มีมติให้จงั หวดั /หนว่ ยงานท่ีเก่ียวข้อง ดาเนนิ การดงั น้ี
๑. องคก์ รปกครองสว่ นท้องถนิ่ ทาการต่อเติมสิ่งต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แต่การต่อเติมบางอย่าง เช่น การต่อไฟฟ้าโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน เนื่องจากโครงสร้างของระบบประปา
เป็นเหล็ก จึงอาจทาให้เกดิ กระแสไฟฟ้าท่ีเป็นอนั ตรายกับประชาชนที่อยู่ในบรเิ วณดงั กล่าว และอาจทาให้ระบบ
เกดิ ความเสียหายได้ ซง่ึ กรณดี ังกล่าวหากเกดิ ความเสียหายจะไม่ครอบคลุมเง่ือนไขในการประกันสัญญา ดังนั้น
หากจะมีการต่อเติมอุปกรณ์ใด ๆ ขอให้องค์การบริหารส่วนตาบลไทยเจริญ (อบต.ไทยเจริญ) มีการปรึกษาหารือ
บริษัทผู้รับจ้าง เกี่ยวกับการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม และควรให้บริษัทผู้รับจ้างได้มีการช้ีแจงทาความเข้าใจกับ
เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูแลระบบทั้งในส่วนของที่ทาการปกครองอาเภอไทยเจริญ และประชาชนกลุ่มผู้ใช้น้า
ถึงข้อจากดั และข้อพงึ ระมดั ระวังในเรอื่ งตา่ ง ๆ เป็นสาคญั
๒. บริเวณใกล้เคียงระบบประปามีต้นไม้สูง ซึง่ ระบบประปาดังกล่าวมีสายล่อฟ้าอยู่ แต่กรณที ม่ี ตี ้นไม้
สูงกวา่ ระบบประปาดังกล่าว หากมฝี นตกอาจส่งผลใหเ้ กดิ ฟ้าผ่าต้นไมโ้ ดยตรงไม่ไปทีส่ ายล่อฟา้ ของระบบ ก่อให้
เกิดความเสยี หายกบั ระบบผลติ น้าประปาได้ จึงขอใหท้ ่ีทาการปกครองอาเภอไทยเจรญิ และ อบต.ไทยเจริญพึง
ระวัง โดยควรจัดทาป้ายเตือนไม่ให้ประชาชนเข้าใกล้ระบบผลิตน้าประปาในช่วงฝนตก และควรตัดต้นไม้
บรเิ วณโดยรอบให้ตา่ กวา่ ถงั สูงของระบบผลติ นา้ ประปา
๓. โครงการมีการใช้งบประมาณดาเนินโครงการสูง เมื่อมีการถ่ายโอนโครงการฯ ไปยัง อบต.ไทยเจริญ
จะมกี ารสง่ มอบให้กลุ่มผู้ใช้นา้ รับผิดชอบดูแลบริหารจดั การต่อไป จงึ ขอให้นายอาเภอไทยเจริญ ชว่ ยกากับดูแล
หลังจากที่มีการส่งมอบโครงการฯ แล้ว โดยขอให้ผู้ท่ีมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการให้เกิดความยั่งยืน

๒๘ รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก

และในช่วงแรกขอให้ อบต.ไทยเจริญ มีการดูแลควบคู่ไปกับกลุ่มผู้ใช้น้าจนกว่าจะม่ันใจว่ากลุ่มผู้ใช้น้าสามารถ
ควบคุมดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดเก็บค่าใช้น้าไม่สูงจนเกินไป นอกจากน้ี ขอให้หม่ันตรวจสอบและ
ทาความสะอาดท่อส่งน้า เพอื่ ให้ระบบการส่งน้าไม่เกิดการอุดตันและไมม่ ีตะกอนตกค้าง เพือ่ ใหน้ ้าไหลไดส้ ะดวก
ยิ่งข้ึน

ผลการดาเนนิ การของจังหวัด/หนว่ ยงานทีเ่ กย่ี วขอ้ ง
ดาเนินการตามข้อเสนอแนะของ ก.ธ.จ. ยโสธร เรียบร้อยแลว้

(๓) โครงการก่อสร้างระบบผลิตน้าประปา (Water Treatment System) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย
บ้านปลาซิวน้อย หมูท่ ่ี 9 ตาบลหนองใหญ่ อาเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผลการสอดส่องของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. ศรสี ะเกษ ไดส้ อดสอ่ งโครงการก่อสรา้ งระบบผลิตนา้ ประปา (Water Treatment System)
ตามบัญชีนวัตกรรมไทย บ้านปลาซิวน้อย หมทู่ ่ี 9 ตาบลหนองใหญ่ อาเภอเมืองจนั ทร์ จงั หวดั ศรีสะเกษ พบว่า
โครงการดาเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ประชาชนใช้ประโยชน์จากระบบผลิตน้าประปาในพื้นท่ี หมู่ที่ 9
บา้ นปลาซิวน้อย จานวน ๒๐๐ กวา่ ครวั เรือน รวมถงึ ส่วนราชการและท่ีทาการปกครองอาเภอ แต่ระบบจ่ายน้า
ยังไม่สามารถจ่ายให้หมู่บ้านอ่ืนได้ อีกทั้งยังมีการต่อเติมสิ่งต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายท่ีจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แต่อาจส่งผลต่อความปลอดภัยและเกิดความเสียหายต่อระบบผลิตน้าประปา ซ่ึงกรณีดังกล่าวไม่อยู่ในเง่ือนไข
ของการประกันสัญญาโครงการดาเนินการแล้วเสร็จตามสัญญา ท้ังนี้ ได้เบิกจ่ายงบประมาณให้ผู้รับจ้าง
เรียบร้อยแล้ว ส่งมอบให้เทศบาลตาบลหนองใหญ่ เพื่อใช้ประโยชน์และบารุงรักษา บริหารจัดการ เมื่อวันท่ี
๒๔ สงิ หาคม 25๖๔ มีการทดสอบระบบช่วงเดือนพฤศจกิ ายน – ธันวาคม ๒๕๖๔ มีน้าต้นทุนจากการขดุ หนองน้า
กลุ่มผู้ใช้น้า คือ บ้านปลาซิว หมู่ท่ี ๑ บ้านปลาซิวน้อย หมู่ที่ ๙ และหมู่บ้านข้างเคียง ประชาชนใช้ประโยชน์
92 ครัวเรือน น้าไหลแรง คุณภาพน้ามีความใสสะอาด ประชาชนมีความพึงพอใจ ระบบช่วยแก้ไขปัญหาขาด
แคลนน้าได้เป็นอย่างดี ซ่ึงการดาเนินการดังกล่าวหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าท่ีของรัฐอาจปฏิบัติภารกิจ
ไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามระเบียบฯ ข้อ ๒๓ (๓) ปฏิบัติภารกิจเพื่อประโยชน์สุข
ของประชาชน

ข้อพจิ ารณา/มตขิ อง ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. ศรีสะเกษ พิจารณาแล้ว โครงการก่อสร้างระบบผลิตน้าประปาเป็นนวัตกรรมใหม่ ดังนั้น
เพ่ือเป็นการยืดอายุการใช้งานของระบบให้เกิดความยั่งยืน และใช้งานได้ระยะยาวและคุ้มค่า จึงเห็นควรให้
หน่วยงานที่เก่ียวข้องและกลุ่มผู้ใช้นา้ ทาความเข้าใจเก่ียวกับการใชง้ านและการดแู ลรกั ษาระบบที่ถูกต้อง และ
ในช่วงระยะเวลาประกนั สัญญาหากมีปัญหาอุปสรรคในการใช้งานระบบ ขอให้ประสานบริษัทผู้รับจา้ งดาเนินการ
แก้ไขและใหค้ าแนะนาเกีย่ วกบั การใช้งานโดยละเอยี ดอยา่ งครบถ้วน

ผลการดาเนนิ การของจงั หวัด/หนว่ ยงานทเ่ี กย่ี วข้อง
ดาเนินการตามข้อเสนอแนะของ ก.ธ.จ. ศรสี ะเกษ เรียบรอ้ ยแล้ว

รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก ๒๙

ผ้ตู รวจราชการสานกั นายกรฐั มนตรี (นางสมุ ติ รา อตศิ ัพท์) ประธาน ก.ธ.จ. ศรสี ะเกษ
ประชมุ และลงพื้นที่รว่ มกับคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวดั ศรสี ะเกษ

(๔) โครงการติดตั้งเครื่องแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ (Food Waste Recycling Machine)
ตามบัญชนี วัตกรรมไทย รหสั 14000029 ขนาด 100 กิโลกรัม โรงผลติ ปุ๋ยชีวภาพ หมูท่ ่ี 1 ตาบลเปือย
อาเภอลอื อานาจ จงั หวัดอานาจเจริญ

ผลการสอดสอ่ งของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. อานาจเจริญ ได้สอดส่องโครงการติดตัง้ เครอื่ งแปลงขยะเศษอาหารโดยใช้จุลินทรยี ์ (Food
Waste Recycling Machine) ตามบัญชีนวัตกรรมไทย รหัส 14000029 ขนาด 100 กิโลกรัม โรงผลิตปุ๋ย
ชีวภาพ หมู่ท่ี 1 ตาบลเปือย อาเภอลืออานาจ จานวน ๑ เคร่ือง ซ่ึงเป็นโครงการของส่วนราชการในจังหวัด
พบว่า ติดต้ังและส่งมอบเคร่ืองแปลงขยะฯ พร้อมตรวจรับและเบิกจ่ายงบประมาณเรียบร้อยแล้ว โดยถ่ายโอน
ให้องคก์ ารบรหิ ารสว่ นตาบลเปือย ดูแลบริหารจัดการและมีคณะกรรมการหมู่บ้าน หมทู่ ่ี ๑ ดแู ลบารงุ รักษาและ
บริหารจดั การ แต่ขณะสอดส่องยังไม่เริ่มใช้งานเครื่องแปลงขยะดังกลา่ ว เนอื่ งจากอยู่ในช่วงการเกบ็ เกีย่ วผลผลิต
(ข้าวนาปี) และเศษอาหารน้อย (๒๐ กิโลกรัมต่อวัน) ซ่ึงการดาเนินการดังกล่าวหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหนา้ ที่
ของรัฐอาจปฏิบตั ิภารกิจไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบา้ นเมืองที่ดี ตามระเบยี บฯ ข้อ ๒๓ (๓) ปฏิบัติภารกิจ
เพอ่ื ประโยชน์สขุ ของประชาชน
ข้อพจิ ารณา/มติของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. อานาจเจรญิ พิจารณามีมติให้จงั หวดั /หนว่ ยงานทเี่ ก่ียวข้องดาเนนิ การ ดังน้ี
๑. เจา้ หนา้ ทท่ี ่ีรับผิดชอบดูแลและใช้งานเครื่องแปลงขยะฯ ควรคานงึ ถึงการเลือกใช้วัตถุดิบทเ่ี หมาะสม
และเป็นไปตามปริมาณน้าหนักท่ีกาหนด เพ่ือป้องกันความเสียหายท่ีอาจเกิดขึ้นและเป็นการยืดอายุการใช้งาน
ของเครื่อง

๓๐ รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดอื นแรก
๒. ควรมกี ารบูรณาการหรอื จดั ทาขอ้ ตกลงในการใช้ประโยชนจ์ ากเคร่ืองแปลงขยะฯ ร่วมกัน เพอ่ื ให้

มีปริมาณขยะอินทรีย์สาหรับใช้ผลิตดินอินทรีย์ในปริมาณท่ีก่อให้เกิดความคุ้มทุน โดยขอให้มีการเร่งส่งมอบ
เคร่อื งแปลงขยะฯ และการบรหิ ารจดั การโดยเรว็ เพ่ือให้เกดิ การใช้ประโยชน์อย่างคมุ้ คา่ และเหมาะสม

๓. การจดั ทาโครงการเพ่ือขอรับการสนบั สนุนงบประมาณ งบกลางฯ ในโอกาสต่อไป ขอให้จงั หวัด/
อาเภอ/หนว่ ยงานทเ่ี กีย่ วข้อง มีการเรยี งลาดับความสาคญั ของโครงการ และคานงึ ถงึ สถานท่ีในการติดต้ังท่ีเหมาะสม

๔. ควรมีการประชาสัมพนั ธ์เกี่ยวกบั ประโยชน์ของเคร่ืองแปลงขยะฯ และการใชง้ านเครื่องแปลงขยะฯ
ให้ประชาชนทราบอย่างท่ัวถึง มีการออกระเบียบ ข้อปฏิบัติและกติกาในการดูแลบารุงรักษาเครื่องแปลงขยะฯ
และควรให้บริษัทผู้รับจ้างได้มีการชี้แจงทาความเข้าใจเกี่ยวกับข้อจากัด ข้อพงึ ระวัง ประเด็นปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
และขอ้ ปฏบิ ัตใิ ห้กบั ผใู้ ชง้ านไดอ้ ย่างถกู ต้อง

ผ้ตู รวจราชการสานักนายกรฐั มนตรี (นางสุมิตรา อติศพั ท)์ ประธาน ก.ธ.จ. อานาจเจรญิ
ประชมุ และลงพ้ืนทร่ี ่วมกับคณะกรรมการธรรมาภิบาลจงั หวัดอานาจเจรญิ

ผลการดาเนนิ การของจังหวดั /หนว่ ยงานทีเ่ กี่ยวขอ้ ง
ดาเนนิ การตามข้อเสนอแนะของ ก.ธ.จ. อานาจเจรญิ เรยี บรอ้ ยแลว้

(๕) โครงการก่อสร้างระบบประปา (Water Treatment System) ขนาดใหญ่ ตามบัญชีนวัตกรรม
ไทย บา้ นกลาง หม่ทู ่ี 1 ตาบลกลาง อาเภอเดชอดุ ม จงั หวดั อุบลราชธานี

ผลการสอดสอ่ งของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. อุบลราชธานี ได้สอดส่องโครงการก่อสร้างระบบประปา (Water Treatment System)
ขนาดใหญ่ ตามบญั ชีนวัตกรรมไทย บา้ นกลาง หมูท่ ่ี 1 ตาบลกลาง อาเภอเดชอุดม จงั หวดั อบุ ลราชธานี พบว่า
โครงการดาเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตรวจรับงานและเบิกจ่ายงบประมาณเรียบร้อยแล้ว ส่งมอบให้องค์การ
บริหารส่วนตาบลกลาง (อบต.กลาง) ในการบริหารและดูแลรักษาระบบประปา ซ่ึงจากการประชาคมมีมติให้

รายงานประจาปงี บประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก ๓๑

อบต.กลาง ดูแลเก็บค่าบริการเช่นเดิม คือ ยูนิตละ ๕ บาท เปิดใช้งานระบบเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 25๖๔
โดยกลมุ่ ผใู้ ช้นา้ คอื ประชาชนในเขตพ้ืนท่ี หมู่ที่ ๑, ๒, ๑๔, ๑๕ ตาบลกลาง ในรศั มี ๓ กโิ ลเมตร จานวน ๔,๗๐๗
ครัวเรือน อีกท้ัง พบว่าสภาพน้าขุ่น ต้องใช้สารปรับปรุงคุณภาพน้าจานวนมาก และฤดูแล้งต้องใช้สารปรับปรุง
คุณภาพน้าเพิ่มขึ้น จึงเปิดใช้งานเป็นชว่ งเวลา ซึ่งการดาเนินการดังกล่าวหน่วยงานของรัฐหรือเจา้ หนา้ ที่ของรัฐ
อาจปฏิบัติภารกิจไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามระเบียบฯ ข้อ ๒๓ (๓) ปฏิบัติภารกิจ
เพื่อประโยชนส์ ขุ ของประชาชน

ข้อพจิ ารณา/มติของ ก.ธ.จ.
ก.ธ.จ. อุบลราชธานี พิจารณามมี ติให้จังหวดั /หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องดาเนนิ การ ดังน้ี
๑. ขอให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษามีการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการจัดเก็บ
ค่านา้ เพอ่ื ใชใ้ นการบริหารจดั การ และคานงึ ถงึ ประโยชนท์ จี่ ะได้รับ
๒. หน่วยงานท่ีรับมอบโครงการควรมอบหมายเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นข้าราชการในการกากับดูแลระบบ
เนอ่ื งจากเปน็ ทรพั ยส์ นิ ของทางราชการ เพ่อื ป้องกันอุปกรณ์สญู หาย
๓. บริเวณใกล้เคียงระบบประปามีต้นไม้สูง ซึ่งระบบประปาดังกล่าวมีสายล่อฟ้าอยู่ หากมีฝนตก
อาจส่งผลให้เกิดฟ้าผ่าต้นไม้โดยตรง ก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบผลิตน้าประปาได้ จึงขอให้พึงระมัดระวัง
โดยควรจัดทาป้ายเตือนไม่ให้ประชาชนเข้าใกล้ระบบผลิตน้าประปาในช่วงฝนตก และควรตัดต้นไม้บริเวณ
โดยรอบไมใ่ หส้ งู กวา่ ถังสูงของระบบผลติ นา้ ประปา
๔. ควรมีแผนงานรองรับแหล่งน้าต้นทุนในการผลิต กรณีปริมาณน้าในแหล่งน้าลดน้อยลงในช่วง
ฤดูแลง้ และจากการระเหยของน้า
๕. การจะต่อเติมอุปกรณ์เพิ่มเติมใด ๆ ขอให้ปรึกษาบริษัทผู้รับจ้าง เพ่ือป้องกันปัญหาท่ีจะเกิดข้ึน
ตามมาตอ่ ไป
๖. ควรขอให้บริษัทผ้รู ับจ้างมีการจัดทาแบบ check list เพอ่ื ให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบและประชาชน
กลมุ่ ผู้ใช้นา้ ทราบว่า ในช่วงเวลาใด ควรมกี ารดาเนนิ การในเร่อื งใด

ผลการดาเนินการของจงั หวัด/หนว่ ยงานที่เก่ียวข้อง
ดาเนินการตามข้อเสนอแนะของ ก.ธ.จ. อุบลราชธานี เรียบร้อยแล้ว


Click to View FlipBook Version