เอกสารประกอบการอบรมเชิชิงชิชิปฏิฏิบับัฏิฏิติติ บับั กติติาร วันวัที่ 3 กุมกุภาพันพัธ์ 2567 ณ หอประชุมแสนเมือมืง โรงเรียรีนหนองเรือรืวิทวิยา การพัฒพันาข้า ข้ ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตาม ว.PA สู่ห้สู่ ห้ องเรียรีนดี มีคมีวามสุขสุ วิทวิยากร ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม ย้ โรงเรียรีนหนองเรือรืวิทวิยา อำ เภอหนองเรือรืจังจัหวัดวัขอนแก่น สำ นักนังานเขตพื้นพื้ที่การศึกษามัธมัยมศึกษาขอนแก่น ศึกษานิเนิทศก์ชำ นาญการพิเพิศษ
ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 1 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 รูปแบบการเรียนการสอน วิธีสอน และเทคนิค 1. รูปแบบการเรียนการสอน (Instructional Model) ในทางศึกษาศาสตร์มีคำที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ คือ รูปแบบการสอน (Model of Teaching หรือ Teaching Model) และรูปแบบการเรียนการสอน (Instructional Model หรือ Teaching and Learning Model) ในที่นี้เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันและสอดคล้องกับแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่เป็นกระบวนการที่ เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน และเน้นความสำคัญของผู้เรียน จึงใช้คำว่ารูปแบบการเรียนการสอน ซึ่งคำศัพท์ดังกล่าวมีผู้อธิบายความหมายไว้หลากหลาย สามารถสรุปความหมายได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอน (Instructional Model) หมายถึง สภาพหรือลักษณะของการเรียนการสอนที่ครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ ตามหลักปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิดหรือความเชื่อต่าง ๆ โดย ประกอบด้วยกระบวนการหรือขั้นตอนสำคัญในการเรียนการสอน รวมทั้งวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ ที่ สามารถช่วยให้สภาพการเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดที่ยึดถือ รูปแบบจะต้องได้รับ พิสูจน์ ทดสอบ หรือยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นแบบแผนในการเรียนการสอนให้บรรลุ วัตถุประสงค์เฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ ดังนั้น รูปแบบการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องมีองค์ประกอบสำคัญ ๆ ดังนี้ (ทิศนา แขมมณี, 2560) 1) มีปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อที่เป็นพื้นฐานหรือเป็นหลักของรูปแบบการเรียน การสอนนั้น ๆ 2) มีการบรรยายและอธิบายสภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักการ ที่ยึดถือ 3 มีการจัดระบบ คือ มีการจัดองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบแต่ละระบบให้สามารถ นำผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของระบบหรือกระบวนการนั้น ๆ 4) มีการอธิบาย หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีสอนหรือเทคนิคการสอนต่าง ๆ อันจะช่วยให้กระบวนการเรียน การสอนนั้น ๆ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า รูปแบบการเรียนการสอน (Instructional Model) เป็นสภาพของการเรียน การสอนที่อยู่ภายใต้ปรัชญา หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ซึ่งได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าสามารถนำไปใช้ในการเรียน การสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในเอกสารฉบับนี้จะเรียกรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับทิศ ทางการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน และสอนคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ครูวางแผนในการปฏิบัติงาน 2. วิธีสอน (Teaching Method) วิธีสอน (Teaching Method) หมายถึง ขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนให้ผู้เรียนบรรลุตาม จุดประสงค์ของการเรียนรู้ วิธีสอนแต่ละวิธีจะมีปรัชญา จิตวิทยา แนวคิด ทฤษฎีเป็นสิ่งกำหนด วิธีสอนจึงมี ความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ในที่นี้จะแบ่งวิธีสอน ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ วิธีสอนทั่วไป และวิธีสอนเชิงกระบวนการ ซึ่งอาจมีความทับซ้อนกันอยู่บ้าง ดัง รายละเอียดต่อไปนี้
ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 2 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 3.2.1 วิธีสอนทั่วไป เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนคุ้นเคยและใช้กันมานาน เป็นที่ยอมรับว่าสามารถพัฒนา ผู้เรียนได้ตามจุดมุ่งหมายของวิธีสอนเหล่านั้น เป็นวิธีสอนที่ทุกคนควรมีความรู้ ความเข้าใจเป็นพื้นฐาน และต่อ ยอดด้วยการเรียนรู้วิธีสอนแบบอื่น ซึ่งจากการอ้างอิงตามแนวคิดของ รองศาสตราจารย์ทิศนา แขมมณี สามารถแบ่งวิธีสอนทั่วไปออกเป็น 14 วิธีสอน ได้แก่ 3.2.1.1 วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย (Lecture) เป็นวิธีสอนที่อาศัยความสามารถของผู้สอน ในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระให้น่าสนใจ โดยการพูด บอกเล่า อธิบาย สิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียน ซักถาม แล้วประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีใดวิธีหนี่ง 3.2.1.2 วิธีสอนโดยใช้การสาธิต (Demonstration) เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับ ประสบการณ์ตรง เห็นสิ่งที่เรียนรู้อย่างเป็นธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจและจดจำในเรื่องที่สาธิตได้ดีและนาน โดยการแสดงหรือทำสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ให้ผู้เรียนสังเกตดู แล้วให้ผู้เรียนซักถาม อภิปราย และสรุป การเรียนรู้ได้จากการสังเกตสาธิต 3.2.1.3 วิธีสอนโดยใช้การทดลอง (Experiment) เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ ตรง ได้ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ได้พิสูจน์ ทดสอบ และเห็นผลประจักษ์ด้วยตนเอง จึงเกิดการเรียนรู้ได้ดี และ จดจำการเรียนรู้ได้นาน โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดปัญหาและสมมติฐานในการทดลอง และลงมือทดลองปฏิบัติ ตามขั้นตอนที่กำหนด โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปอภิปรายผล การทดลอง และสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการทดลอง 3.2.1.4 วิธีสอนโดยใช้การนิรนัย (Deduction) เป็นวิธีสอนจากหลักการไปสู่ตัวอย่างย่อย ๆ ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกฝนการนำหลักการไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ โดยการช่วยให้ผู้เรียนเกิดทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปในเรื่องที่เรียน แล้วให้ตัวอย่างหลาย ๆ ตัวอย่างเกี่ยวกับการใช้ทฤษฎี หลักการ กฎ หรือ ข้อสรุปนั้น หรืออาจให้ผู้เรียนฝึกนำทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปนั้นไปในสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่หลากหลาย เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปนั้น ๆ อย่างลึกซึ้งขึ้น หรือกล่าวได้ว่า เป็น การสอนจากหลักการไปสู่ตัวอย่างย่อย ๆ 3.2.1.5 วิธีสอนโดยใช้การอุปนัย (Induction) เป็นวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนสรุปหลักการ หรือแนวคิดจากตัวอย่างต่าง ๆ ด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและทำความเข้าใจด้วยตนเอง โดยการนำ ตัวอย่าง ข้อมูล ความคิด เหตุการณ์ สถานการณ์ ปรากฏการณ์ที่มีหลักการ แนวคิด ที่ต้องการสอนให้แก่ ผู้เรียนแฝงอยู่ มาให้ผู้เรียนศึกษาวิเคราะห์ จนสามารถดึงหลักการ แนวคิดที่แฝงอยู่ออกมา เพื่อนำไปใช้ใน สถานการณ์อื่นต่อไป หรือกล่าวได้ว่า เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนสรุปหลักการจากตัวอย่างต่าง ๆ ด้วยตนเอง 3.2.1.6 วิธีสอนโดยใช้การไปทัศนศึกษา (Field Trip) เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับ ประสบการณ์ตรงในเรื่องที่เรียน ได้เรียนรู้สภาพความเป็นจริง ได้ใช้แหล่งชุมชนให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ โดยผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันวางแผนและเดินทางไปศึกษาเรียนรู้ ณ สถานที่อันเป็นแหล่งความรู้ในเรื่องนั้น (ซึ่ง อยู่นอกสถานที่ที่เรียนกันอยู่เป็นปกติ) มีการศึกษาสิ่งต่าง ๆ ในสถานที่นั้นตามกระบวนการหรือวิธีการตามที่ได้ วางแผนไว้ และมีการอภิปรายสรุปการเรียนรู้จากข้อมูลที่ได้ศึกษามา
ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 3 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 3.2.1.7 วิธีสอนโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) เป็นวิธีการ สอนที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างทั่วถึง มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ อันจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่เรียนกว้างขึ้น โดยการจัดผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 4 - 8 คน และให้ผู้เรียนในกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็น และประสบการณ์ในประเด็นที่ กำหนด และสรุปผลการอภิปรายออกมาเป็นข้อสรุปของกลุ่ม 3.2.1.8 วิธีสอนโดยใช้การแสดงละคร (Dramatization) เป็นวิธีการสอนที่มุ่งช่วยให้ ผู้เรียนเห็นภาพของเรื่องราวที่ต้องการเรียนรู้ ได้ชัดเจนด้วยตาตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ ชัดเจนและจดจำได้นาน โดยการให้ผู้เรียนแสดงละครซึ่งเป็นเรื่องราวที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามเนื้อหา และบทละครที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง ทำให้เรื่องราวนั้นมีชีวิตขึ้นมา และสามารถทำให้ผู้แสดงและ ผู้ชมเกิด ความเข้าใจและจดจำเรื่องนั้นได้นาน 3.2.1.9 วิธีสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) เป็นวิธีการสอนที่ให้ ผู้เรียนสวมบทบาทในสถานการณ์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง และแสดงออกตามความรู้สึกนึกคิดและ พฤติกรรมที่สังเกตพบ มาเป็นข้อมูลในการอภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ 3.2.1.10 วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง (Case) เป็นวิธีการที่สอนให้ผู้เรียนศึกษาเรื่องที่สมมติ ขึ้นจากความเป็นจริง และตอบประเด็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องนั้น ซึ่งไม่ได้มุ่งที่คำตอบใดคำตอบหนึ่ง แล้วนำ คำตอบและเหตุผลที่มาของคำตอบนั้นมาใช้เป็นข้อมูลในการอภิปรายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตาม วัตถุประสงค์ 3.2.1.11 วิธีสอนโดยใช้เกม (Game) เป็นวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา และนำ เนื้อหาและข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่น และผลการเล่นเกมของผู้เรียนมาใช้ในการอภิปราย เพื่อสรุปการเรียนรู้ 3.2.1.12 วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) เป็นวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนลง ไปเล่นในสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่นที่สะท้อนความเป็นจริง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในสถานการณ์นั้น โดยใช้ข้อมูลที่มีสภาพคล้ายกับข้อมูลในความเป็นจริง ในการตัดสินใจ และแก้ปัญหา ต่าง ๆ ซึ่งการตัดสินใจนั้นจะส่งผลถึงผู้เล่นในลักษณะเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง 3.2.1.13 วิธีสอนโดยใช้ศูนย์การเรียน (Learning Center) เป็นวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียน ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากศูนย์การเรียนรู้ หรือมุมความรู้ ซึ่งผู้สอนได้จัดเตรียมเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่ ใช้สื่อการสอนหลายอย่างประสมกัน เพื่อให้ผู้เรียนใช้เรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนจะหมุนเวียนกันเข้าศูนย์ต่าง ๆ จนครบทุกศูนย์ โดยมีศูนย์สำรองไว้สำหรับผู้เรียนที่เรียนรู้ได้เร็ว และทำกิจกรรมเสร็จก่อนคนอื่น ส่วนผู้สอนทำ หน้าที่เป็นผู้จัดเตรียมศูนย์การเรียนรู้ ให้คำแนะนำ ช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน และ ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน 3.2.1.14 วิธีสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction) เป็น วิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนศึกษาจากบทเรียนสำเร็จรูปด้วยตนเอง (ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากบทเรียนปกติ) โดยการ นำเนื้อหาสาระที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้มาแตกเป็นหน่วยย่อย (Small Steps) เพื่อให้ง่ายแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้
ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 4 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 และนำเสนอแก่ผู้เรียนในลักษณะที่ให้ผู้เรียนสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เรียน และตรวจสอบการเรียนรู้ของ ตนเองได้ทันที (Immediate Feedback) ว่าผิดหรือถูก ผู้เรียนสามารถใช้เวลาในการเรียนรู้มากน้อยตาม ความสามารถ และสามารถตรวจสอบการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เพราะบทเรียนจะมีแบบสอบทั้งแบบสอบก่อน เรียน (Pre-Test) และแบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test) ไว้ให้พร้อม 3.2.2 วิธีสอนเชิงกระบวนการ เป็นวิธีสอนที่ส่งเสริมกระบวนการต่าง ๆ ในตัวผู้เรียน และเน้นที่ ผู้สอนทั่วไปค่อนข้างคุ้นเคย โดยจะแยกออกจาก 14 วิธีสอนทั่วไป ได้แก่ วิธีสอนโดยใช้กระบวนการสืบสวน สอบสวน วิธีสอนโดยใช้การแก้ปัญหา วิธีสอนโดยใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์ วิธีสอนโดยใช้กระบวนการคิด อย่างมีวิจารณญาณ วิธีสอนโดยใช้กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด วิธีสอนโดยใช้กระบวนการทางภาษา ด้านการเขียน วิธีสอนโดยใช้กระบวนการสร้างความตระหนัก วิธีสอนโดยใช้กระบวนการสร้างเจตคติ วิธีสอน โดยใช้กระบวนการสร้างค่านิยม และวิธีสอนโดยใช้กระบวนการปฏิบัติ การจัดการเรียนการสอนโดยปกติทั่วไป ที่ผู้สอนทุกคนเข้าใจ และนำไปใช้ในการเขียนการจัดการเรียน การสอน มี 3 ขั้น ซึ่งขอเรียกว่า วิธีสอนแบบปกติ คือ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นการเรียนการสอน และขั้นสรุป โดยมีแนวคิดสำคัญของแต่ละขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียน ซึ่งสอดคล้อง กับกฎความพร้อม (Law of Readiness) ตามทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดต์ ที่จะเตรียมความพร้อมทั้งด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยการเตรียมความพร้อมดังกล่าวไม่ใช่การทำกิจกรรมแยกส่วนในด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม แต่เป็นลักษณะของกิจกรรมบูรณาการ เช่น การใช้เพลง เกม กิจกรรมที่ นิยมในขั้นนี้คือ การเร้าความสนใจ การทบทวนความรู้เดิม การแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ ขั้นที่ 2 ขั้นการเรียนการสอน มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ซึ่ง วัตถุประสงค์ที่กำหนดจะมีความหลากหลายทั้งความรู้ (Knowledge) กระบวนการ (Process) และ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ (Attribute) ในขั้นนี้ผู้เรียนจะได้รับความรู้ตามวัตถุประสงค์เป็นตัวตั้ง โดยมี กระบวนการเป็นสิ่งที่ทำให้กิจกรรมบรรลุความรู้ และผสมผสานกับการปลูกฝังคุณธรรม หากเป็นวิชาที่ต้องใช้ ทักษะ หลังจากผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจในบทเรียนแล้ว จะมีกิจกรรมการฝึกทักษะเพื่อให้เกิด ความชำนาญตามมา ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนได้จัดระเบียบความรู้ และกระบวนการเรียนรู้ของ ตนเอง ถือเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ที่คงทน และถ่ายโอนความรู้ไปสู่บทเรียนต่อไป 3. เทคนิคการสอน (Teaching Technique) เทคนิคการสอน (Teaching Technique) หมายถึง กลวิธีต่าง ๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการเรียนการสอน ให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ เทคนิค การสอนที่พัฒนาขึ้นล้วนมีรากฐานมาจากทฤษฎี/แนวคิดการเรียนการสอน ส่วนทักษะการสอนในที่นี้ จะเป็นเรื่องของความชำนาญ ความคล่องแคล่วในการใช้ และปรับใช้ เทคนิคการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 5 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 เทคนิคการสอนที่จะนำเสนอประกอบด้วย เทคนิคการสอนพื้นฐาน 9 เทคนิค และเทคนิคการสอน เฉพาะที่พัฒนาขึ้น มีรายละเอียด ดังนี้ 3.3.1 เทคนิคการสอนพื้นฐาน 3.3.1.1 เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน มีจุดมุ่งหมายเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนในด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา กิจกรรมที่ทำในเทคนิคนี้ คือ การทบทวนความรู้ การดึงดูดความสนใจ ในบทเรียนที่จะเรียน และการแจ้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ อาจใช้กิจกรรมที่หลากหลายร่วมในการนำเข้าสู่ บทเรียน เช่น เกม การเล่าเรื่อง การร้องเพลง การสนทนาในเรื่องที่สอดคล้องกับบทเรียนใหม่ การทายปัญหา หรืออุปกรณ์ประกอบการสอนอื่น ๆ เช่น รูปภาพ ของจริง วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ 3.3.1.2 เทคนิคการใช้กริยา วาจา ท่าทาง มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความประทับใจ ความ ศรัทธา เร้าความสนใจ และสื่อความหมายให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยต้องใช้กริยา วาจา และท่าทางให้ เหมาะสมเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในชั้นเรียน จึงควรคำนึงถึงการแสดงออกในเรื่องต่อไปนี้ ได้แก่ การใช้มือและแขน การแสดงออกทางสีหน้า แววตา การวางตัว การใช้น้ำเสียง และการแต่งกาย 3.3.1.3 เทคนิคการอธิบาย เล่าเรื่อง มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจฟังเรื่องราวที่ผู้สอน นำเสนอ และเกิดความรู้ ความเข้าใจในบทเรียน ผู้สอนควรเล่าเรื่องอย่างเป็นธรรมชาติ ใช้เวลาและใช้สื่อประกอบการ เล่าที่เหมาะสมกับความสนใจของผู้เรียน และควรมีการสรุปเรื่องโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนร่วมสรุปด้วย 3.3.1.4 เทคนิคการเร้าความสนใจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีสมาธิ สนใจ และตั้งใจร่วม กิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ผู้สอนต้องใช้สายตา น้ำเสียง สีหน้า และท่าทางประกอบ ที่เหมาะสม รวมไปถึงมีการใช้คำถามร่วมด้วย เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด ซึ่งเป็นการดึงสมาธิเข้าสู่บทเรียน 3.3.1.5 เทคนิคการใช้คำถาม มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดของผู้เรียน ประเมิน ความรู้ ความเข้าใจ และเร้าความสนใจของผู้เรียน ผู้สอนควรใช้คำถามที่หลากหลาย เข้าใจง่าย สอดคล้องกับ บทเรียน และสะท้อนผลคำตอบกลับให้ผู้เรียนทราบ ขณะเดียวกันต้องใช้กริยา ท่าทาง และระดับเสียงที่ เหมาะสมเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจ และตั้งใจคิดหาคำตอบ 3.3.1.6 เทคนิคการใช้สื่อ อุปกรณ์มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจ เรียนรู้ได้ง่าย สามารถจดจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้แม่นยำ และช่วยเพิ่มประสบการณ์ของผู้เรียน ผู้สอนควรเลือกสื่อ อุปกรณ์ที่ เหมาะสมกับบทเรียนและวัยของผู้เรียน มีความทันสมัย ปลอดภัย สามารถมองเห็นได้ชัดเจนทั่วทั้งชั้นเรียน ซึ่ง ต้องมีการฝึกใช้สื่อ อุปกรณ์ดังกล่าวให้คล่องแคล่วก่อนนำมาสอนจริง เพื่อให้การสอนดำเนินไปได้ราบรื่น และ ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้สื่อ อุปกรณ์นั้น ๆ ด้วย 3.3.1.7 เทคนิคการใช้กระดานดำ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสื่อสารบทเรียนให้ผู้เรียนทั้งชั้นเข้าใจ ร่วมกัน ผู้สอนควรแบ่งสัดส่วนพื้นที่ของกระดานให้เหมาะสมกับเนื้อหาบทเรียน เขียนตัวหนังสือให้เป็นเส้นตรง ไม่คดเคี้ยว หากมีข้อความสำคัญ ควรขีดเส้นใต้ หรือเปลี่ยนสีตัวหนังสือเพื่อให้เห็นชัดเจน และควรเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเขียนกระดานดำ
ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 6 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 3.3.1.8 เทคนิคการเสริมกำลังใจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้น หรือจูงใจให้ผู้เรียนต้องการเรียนรู้ ผู้สอนควรเสริมกำลังใจทันที เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ และควรใช้ วิธีการเสริมกำลังใจที่หลากหลาย และเหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียนแต่ละคน ขณะเดียวกันต้องเสริมกำลังใจ แก่ผู้เรียนให้ทั่วถึงทุกคน และไม่ควรเสริมกำลังใจโดยการพูดเกิดความจริง 3.3.1.9เทคนิคการสรุปบทเรียน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนจัดระเบียบความรู้ และกระบวนการ เรียนรู้ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างคงทน สามารถถ่ายโยงความรู้ต่อไปได้ ผู้สอนอาจสรุปโดยอธิบายสั้น ๆ เปิดโอกาสให้มีการสนทนาซักถาม มีการสาธิต หรือใช้สื่ออุปกรณ์ประกอบ เช่น รูปภาพ วีดิทัศน์ ซึ่งต้องให้ บทบาทผู้เรียนเป็นหลักในการสรุป โดยที่ผู้สอนเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้อง และเพิ่มเติมความรู้ให้ 3.3.2 เทคนิคการสอนเฉพาะที่พัฒนาขึ้น 3.3.2.1 เทคนิคการสอนตามแนวคิดการเรียนแบบร่วมมือที่ไม่เป็นทางการ เป็นเทคนิคที่เน้น ให้ผู้เรียนเรียนรู้การทำงานร่วมกัน เพื่อให้กิจกรรมดำเนินไปตามที่ผู้สอนมุ่งหวัง เสริมสร้างการทำงานร่วมกัน เป็นทีม และทักษะทางสังคม ได้แก่ 1) การพูดเป็นคู่ (Rally Robin) เป็นเทคนิคเปิดโอกาสให้ผู้เรียนพูด ตอบ แสดงความคิดเห็น เป็นคู่ ๆ โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกที่เป็นคู่ได้พูดกัน ตัวอย่างเช่น กลุ่มมีสมาชิก 4 คน แบ่งเป็น 2 คู่ คู่หนึ่งประกอบด้วย สมาชิกคนที่ 1 และคนที่ 2 แต่ละคู่จะพูดพร้อม ๆ กันไป โดย 1 พูด 2 ฟัง จากนั้น 2 พูด 1 ฟัง ต่อมา 1 พูด 2 ฟัง เป็นต้น ดังภาพ 2) การเขียนแบบคู่ (Rally Table) เป็นเทคนิคคล้ายกับการพูดเป็นคู่ทุกประการ ต่างกันเพียงการเขียนเป็นคู่เป็นการร่วมมือเป็นคู่ ๆ โดยผลัดกันเขียน หรือวาด (ใช้อุปกรณ์ : กระดาษ 2 แผ่น และปากกา 2 ด้ามต่อกลุ่ม) ดังภาพ
ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 7 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 3) การพูดรอบวง/การเล่าเรื่องรอบวง (Round Robin) เป็นเทคนิคการเรียนแบบ ร่วมมือที่เปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มได้เล่าประสบการณ์ ความรู้ สิ่งที่ตนกำลังศึกษา สิ่งที่ตนประทับใจ ให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง สมาชิกของกลุ่มผลัดกันพูด ตอบ เล่า อธิบาย โดยไม่ใช้การเขียน การวาด และเป็น การพูดที่ผลัดกันทีละคนตามเวลาที่กำหนด จนครบ 4 คน ดังภาพ 4) การเขียนรอบวง (Round Table) เป็นเทคนิคที่เหมือนกับการพูดรอบวง แตกต่างกันที่เน้นการเขียน การวาด (ใช้อุปกรณ์ : กระดาษ 1 แผ่น และปากกา 1 ด้ามต่อกลุ่ม) วิธีการคือ ผลัดกัน เขียนลงในกระดาษที่เตรียมไว้ทีละคนตามเวลาที่กำหนด เทคนิคนี้อาจดัดแปลงให้สมาชิกทุกคนเขียนคำตอบ หรือบันทึกผลการคิด พร้อม ๆ กันทั้ง 4 คน ต่างคนต่างเขียนในเวลาที่กำหนด (ใช้อุปกรณ์ : กระดาษ 4 แผ่น และปากกา 4 ด้าม) เรียกเทคนิคนี้ว่าการเขียนพร้อมกันรอบวง (simultaneous round table) ดังภาพ 5) การแก้ปัญหาด้วยการต่อภาพ (Jigsaw problem Solving) เป็นเทคนิคที่ สมาชิกของแต่ละคนคิดคำตอบของตนเองไว้ จากนั้นกลุ่มนำคำตอบของทุกๆ คนรวมกันแล้วอภิปรายเพื่อหา คำตอบที่ดีที่สุด ดังภาพ
ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 8 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 6) คิดเดี่ยว – คิดคู่ – ร่วมกันคิด (Think – Pair – Share) เป็นเทคนิคโดยเริ่มจาก ปัญหาหรือโจทย์คำถาม โดยสมาชิกแต่ละคนคิดหาคำตอบด้วยตนเองก่อน แล้วนำคำตอบไปอภิปรายกับเพื่อน เป็นคู่ จากนั้นจึงนำคำตอบของตนหรือของเพื่อนที่เป็นคู่เล่าให้เพื่อน ๆ ทั้งชั้นฟัง ดังภาพ 7) อภิปรายเป็นคู่ (Pair Discussion) เป็นเทคนิคที่เมื่อผู้สอนตั้งคำถามหรือกำหนด โจทย์แล้วให้สมาชิกที่นั่งใกล้กันร่วมกันคิดและอภิปรายเป็นคู่ ดังภาพ
ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 9 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 8) อภิปรายเป็นทีม (Team Discussion) เป็นเทคนิคที่เมื่อผู้สอนตั้งคำถามแล้วให้ สมาชิกของกลุ่มทุก ๆ คนร่วมกันคิด พูด อภิปรายพร้อมกัน ดังภาพ 9) ทำเป็นกลุ่ม – ทำเป็นคู่ – และทำคนเดียว (Team – Pair – Solo) เป็นเทคนิค ที่ครูกำหนดปัญหาหรือโจทย์หรืองานให้ทำ แล้วนักเรียนทำงานร่วมกันทั้งกลุ่มจนทำงานได้สำเร็จ จากนั้นจะ แยกทำงานเป็นคู่จนสำเร็จ สุดท้ายนักเรียนแต่ละคนแยกมาทำเองจนสำเร็จด้วยตนเอง (Kagan, 1995 อ้างถึง ใน พิมพันธ์ เดชะคุปต์, 2541) ดังภาพ 1. นักเรียนทำงานเป็นทีม 2. นักเรียนทำงานเป็นคู่ 3. นักเรียนทำงานเดี่ยวหรือคนเดียว 10) เทคนิคการเรียงแถว (Line-ups) เป็นเทคนิคที่ง่ายๆ โดยให้นักเรียนยืนแถว เรียงลำดับภาพ คำ หรือสิ่งที่ครูกำหนดให้ เช่น ครูให้ภาพต่างๆ แก่นักเรียน แล้วให้นักเรียนยืนเรียงลำดับภาพ ขั้นตอนของ วงจรชีวิตของแมลง ห่วงโซ่อาหาร เป็นต้น (Kagan, 1995) ดังภาพ
ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 10 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 11) การพูดเป็นคู่ตามเวลากำหนด (time – pair - share) เป็นเทคนิคการเรียน แบบร่วมมือที่สมาชิกจับคู่กัน สมาชิกคนที่ 1 พูดในเวลาที่กำหนดเพื่อตอบโจทย์ หรือปัญหาที่กำหนด สมาชิกคนที่ 2 ฟัง จากนั้นสมาชิกคนที่ 2 พูด คนที่ 1 ฟัง การพูดใช้เวลาเท่ากับครั้งแรก ดังภาพ 12) การทำโครงงานเป็นกลุ่ม (team project) เป็นเทคนิคการเรียนด้วยวิธีโครงงาน โดยครูอาจจะกำหนดวิธีการทำโครงงาน ระบุบทบาทของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม ให้ร่วมกันทำโครงงานตาม มอบหมาย หรืออาจใช้วิธีให้ผู้เรียนร่วมกันคิดทำโครงงานเอง โดยนักเรียนแบ่งหน้าที่ให้สมาชิกทุกคนมีบทบาท ในการทำงาน ดังภาพ 13) การหาข้อยุติ (Showdown) เป็นเทคนิคที่ใช้ทบทวนความรู้ วัดความรู้ ซึ่งอาจ ใช้ได้ทุกขั้นตอนของการสอน โดย 1) สมาชิกแต่ละคนของกลุ่มเขียนคำถามตามที่ผู้สอนกำหนดลงในกระดาษของ ตน จะได้โจทย์คำถามครบตามจำนวนสมาชิกของกลุ่ม
ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 11 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 2) ให้สมาชิกนำโจทย์คำถามพร้อมปากกาวางตรงกลางโต๊ะ 3)กำหนดสมาชิกหัวหน้า เริ่มที่สมาชิกคนใดคนหนึ่งก่อนก็ได้ ให้สุ่มหยิบโจทย์คำถาม 4)สมาชิกทุกคนหยิบปากกา แล้วเขียนคำตอบเพื่อตอบโจทย์ในกระดาษของตนเอง 5)จากนั้นตรวจคำตอบร่วมกัน ถ้าตอบถูกต้องทุกคนก็ได้แสดงความชื่นชมกัน ถ้าตอบ ไม่ถูกต้องให้เปิดหนังสือค้นคว้าหรือถามผู้สอนก็ได้ แล้วแก้ไขให้ถูกต้องทุกคน 6)จากนั้นหมุนเวียนสมาชิกคนต่อไปเป็นหัวหน้าแล้วจึงดำเนิน กิจกรรมตามข้อ 3) –5) ให้ทำเช่นนี้จนสมาชิกทุกคนตอบโจทย์คำถามทุกข้อได้ครบ ดังภาพ 14) การคิดเดี่ยว คิดคู่ ร่วมกันคิด (Think - pair - square) เป็นกลุ่มเป็นเทคนิคที่เริ่ม จากปัญหา หรือครูตั้งคำถามให้นักเรียนตอบ แล้วให้สมาชิกแต่ละคนคิดหาคำตอบด้วยตนเอง แล้วนำคำตอบ ไปอภิปรายตรวจสอบกับเพื่อนเป็นคู่หรือเพื่อนที่นั่งติดกับตน จนได้คำตอบของคู่ตนเองจากนั้นนำคำตอบไป อภิปรายตรวจสอบกับสมาชิกคู่อื่น ๆ ในกลุ่มตนเองเพื่อได้คำตอบของกลุ่ม จากนั้น อาจให้มีการนำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำคำตอบมาเล่าให้เพื่อนทั้งชั้น หรืออภิปรายตรวจสอบร่วมกับเพื่อนทั้งชั้น ดังภาพ 15) การพูดวงกลมซ้อน (Inside–outside circle) เป็นเทคนิคที่ให้นักเรียนนั่ง หรือยืนเป็นวงกลม ซ้อนกัน 2 วง แต่ละวงมีจำนวนกลุ่มเท่ากัน วงในหันหน้าออก วงนอกหันหน้าเข้า หรืออาจ นั่งหรือยืนเป็นคู่ก็ได้ นักเรียนที่เป็นคู่หรือกลุ่มที่เป็นคู่กันจะพูด หรืออภิปราย หรือนำเสนอผลงานกลุ่มแก่กัน
ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 12 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 และกัน โดยผลัดกันพูด อาจมีกำหนดเวลาด้วย จากนั้นจะหมุนเวียนเปลี่ยนคู่หรือกลุ่มใหม่ไปเรื่อย ๆ โดยไม่ซ้ำ กัน โดยนักเรียนวงนอกและวงในเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้าม เพื่อให้พบสมาชิกไม่ซ้ำกลุ่มเดิม ดังภาพ 16) การให้ข้อมูลย้อนกลับแบบหมุนเวียน (Rotating Feedback) เป็นเทคนิคที่ สมาชิกทุกคนในแต่ละกลุ่มให้ข้อมูลย้อนกลับ ซึ่งอาจเป็นข้อคิด ข้อเสนอแนะ ข้อดีข้อบกพร่อง ต่อผลงานของ กลุ่มอื่น ๆ โดยหมุนเวียนไปทีละกลุ่มจนครบอย่างเป็นระบบ หรืออาจมีกำหนดเวลาให้แต่ละกลุ่มด้วยก็ได้ ดังภาพ 17) เทคนิคคู่ตรวจสอบ (Pairs check) เป็นเทคนิคแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มละ 4 หรือ 6 คน ให้นักเรียนจับคู่กันทำงาน ที่ให้สมาชิกในกลุ่มจับคู่กันทำงาน เมื่อได้รับ คำถามหรือปัญหาจากครู นักเรียนคนหนึ่งจะเป็นคนทำและอีกคนหนึ่งทำหน้าที่เสนอแนะหลังจากที่ทำข้อที่ 1 เสร็จ นักเรียนคู่นั้นจะ
ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 13 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 สลับหน้าที่กัน เมื่อทำเสร็จครบแต่ละ 2 ข้อ แต่ละคู่จะนำคำตอบมาและ เปลี่ยนและตรวจสอบคำตอบของคู่ อื่น (Kagan, 1995) 18) เทคนิคกลุ่มร่วมกันคิด (Numbered Heads Together) เป็นลักษณะการจับกลุ่ม โดยคละความสามารถของผู้เรียนในแต่ละกลุ่ม ประกอบด้วยผู้เรียนที่เก่ง ปานกลาง และอ่อน เริ่มจากครูถาม คำถาม เปิดโอกาสให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบ ค้นคว้าหาคำตอบจากแบบทดสอบหรืองาน ที่ ผู้สอนมอบหมาย จากนั้นครูจึงเรียกให้นักเรียนคนใดคนหนึ่งจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือทุกๆกลุ่ม ตอบคำถาม เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการทบทวนหรือตรวจสอบความเข้าใจ 19) รวมหัวกันคิด (Think-Head Together) เป็นเทคนิคที่คล้ายกับเทคนิค ร่วมกันคิด แต่มีขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนคิดเป็นรายบุคคลก่อน 20) การสัมภาษณ์แบบสามขั้นตอน (Three Step Interview)รูปแบบการจัดการเรียน การสอนแบบนี้มี 3 ขั้นตอน โดยครูกำหนดคำถามหรือประเด็นโจทย์ปัญหาให้นักเรียนตอบ มีหลักการดังนี้ - นักเรียนจับคู่กัน คนที่ 1 เป็นผู้สัมภาษณ์โดยถามคำถามให้คนที่ 2 เป็นผู้ตอบ - นักเรียนสลับบทบาทกัน จาก ผู้ถามเป็นผู้ตอบ และจากผู้ตอบเป็นผู้ถาม โดยมีกิจกรรมดังนี้ 20.1 ผู้สอนกำหนดสถานการณ์ ปัญหา ให้สมาชิกที่จับคู่กันในแต่ละกลุ่ม 20.2 ผู้เรียนแต่ละคู่ผลัดกันเป็นผู้สัมภาษณ์และผู้ตอบจากคำถามที่กำหนด 20.3 ผู้เรียนแต่ละคู่นำข้อสรุปจากการสัมภาษณ์ นำเสนอ อภิปราย แลกเปลี่ยน กับสมาชิกคู่อื่นในกลุ่มจนได้คำตอบที่ดีที่สุดที่สมาชิกทุกคนยอมรับ ผลที่ได้จากเทคนิคการสัมภาษณ์ 3 ขั้น คือทักษะการพูด การสนทนาที่เป็น ทางการ ทักษะการฟัง ทักษะทางการใช้ภาษาที่เหมาะสม ทำให้เกิดทักษะการคิดการตั้งคำถามที่เหมาะสม การสรุปความที่ได้จากสัมภาษณ์ รวมทั้งฝึกความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน 21) เทคนิคแบบมุมสนทนา (Corners) เป็นเทคนิควิธีที่ครูเสนอปัญหา และประกาศ มุมต่าง ๆหรือจุดต่าง ๆ ภายในห้องเรียนแทนแต่ละข้อ เริ่มต้นจากการให้ผู้เรียนกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มเข้าไปนั่ง ตามมุมหรือจุดต่าง ๆ ของห้องเรียนแล้วนักเรียนแต่ละกลุ่มย่อยเขียนหมายเลขข้อที่ชอบมากกว่า และเคลื่อน เข้าสู่มุมที่เลือกไว้ นักเรียนร่วมกันอภิปรายภายในกลุ่มตามมุมต่าง ๆ และช่วยกันหาคำ ตอบสำ หรับโจทย์ ปัญหาต่าง ๆ ที่ครูยกขึ้นมา และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนอธิบายเรื่องราวที่ตนศึกษาให้นักเรียนในมุมใดมุมหนึ่ง อภิปรายเรื่องราวที่ได้ศึกษาให้ชัดเจน หลังจากนั้นจะเปิดโอกาสเพื่อนในมุมอื่นฟัง (Kagan, 1995) 22) การสร้างทีมคำเชื่อมโยง (Team – Word Webbing) เป็นเทคนิคที่ให้ นักเรียนเขียนแนวคิด หลัก และองค์ประกอบย่อยของความคิดหลักพร้อมกับแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความคิดหลักกับ องค์ประกอบย่อยบนแผ่นกระดาษลักษณะของแผนภูมิความรู้ (Kagan, 1995) 23) การจัดประเภท (Categorization) เป็นเทคนิคที่เน้นให้ความสามารถในการ จำแนก โดยผู้สอนกำหนดรูปภาพ สิ่งของ หรือข้อความต่าง ๆ จำนวนมากพอสมควร แล้วให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่ม ช่วยกันจัด กลุ่ม และระบุเหตุผลหรือเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดประเภท อาจให้มีกิจกรรมการเสนอแนวคิดที่กลุ่มแบ่ง ประเภทสิ่งเหล่านั้นต่อเพื่อนร่วมชั้นเรียนและนำมาประกอบการตัดสินใจในการจัดประเภทอีกครั้ง
ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 14 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 24) ปรึกษากลุ่ม (Teammate Consult) เป็นเทคนิคที่เน้นให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัด ร่วมกัน โดยสมาชิกในกลุ่ม ร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนค้นหาคำตอบจนเป็นที่ยอมรับแล้วจึงให้แต่ละคนเขียน คำตอบของตนเอง 25) ข้อเขียนกลุ่ม (Team statement) เป็นเทคนิคที่ต้องการให้ผู้เรียนร่วมกัน สรุปคำจำกัดความ นิยาม หรือลงข้อสรุปเกี่ยวกับคำใดคำหนึ่ง 26) ความเหมือน ความต่าง (Same - Different) เป็นเทคนิคที่ให้ผู้เรียนสามารถจำแนก ความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ โดยผู้สอนนำเสนอภาพ สิ่งของ 2 ภาพหรือสิ่งของ 2 สิ่งขึ้นไป ให้สมาชิกแต่ละกลุ่ม พิจารณา แล้วให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มช่วยค้นหา สิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันของสิ่งเหล่านั้น อาจมีการจดบันทึก เพื่อเตรียมพร้อมเวลาที่ผู้สอนสอบถาม กิจกรรมตามเทคนิคความเหมือน ความต่าง 27) ตลาดนัดวิชาการ (Academic Market) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการทบทวน ความรู้ หรือใช้ในการให้ผู้เรียน สร้างงานด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม โดยมีการคัดเลือกปัญหาที่สนใจที่ผู้สอนได้ เสนอไว้ 28) เทคนิคระดมสมอง (Brainstorming) เป็นการระดมความคิดจากทุกๆ มุมมอง โดยไม่มีการตัดสินถูกผิดของสมาชิกในกลุ่ม เพื่อหาทางเลือกในการตัดสินใจ ความคิดใหม่ ๆ และใช้ในการ วางแผนจำนวนคนที่ร่วมระดมสมองถ้าจะให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดควรอยู่ระหว่าง 4 ถึง 9 คน ถ้าน้อยไปจะ ได้ความคิดและมุมมองน้อย แต่ถ้ามากไปความคิดจะแตกออกนอกทะเลไป หรือมีคนที่นั่งเงียบไม่ออกความคิด เห็น เทคนิคระดมสมอง เป็นเทคนิคที่ใช้ประกอบการอภิปรายร่วมกันเป็นกลุ่ม โดย เน้นให้ทุกคนมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ มีจุดเน้น 4 ประการ คือ เน้นให้มีการแสดงความคิด ออกมา (Expressiveness) เน้นการไม่ประเมินความคิดในขณะที่กำลังระดมสมอง (Non – evaluative Thinking) เน้นปริมาณของความคิด (Quantity) และเน้นการสร้างความคิด (Building) 3.3.2.2 เทคนิคการใช้ผังกราฟิก (Graphic Organizer) เป็นเทคนิคที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก การจัดโครงสร้างความคิดล่วงหน้าตามทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (meaningful learning theory) ของเดวิด อูซูเบล (David P. Ausubel) นักจิตวิทยาอเมริกัน ที่เสนอการจัดโครงสร้างความคิด หรือโครงสร้าง ภาพรวมล่วงหน้า (presenting first) เพื่อใช้สำหรับอ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาจากตำรา หลังจากนั้น มีแผนภาพแบบต่าง ๆ เกิดขึ้นมากกว่า 20 ชนิด รวมทั้งโครงสร้างภาพรวมที่นำมาใช้ทำความเข้าใจบทความที่มี ความยาวมาก ๆ โดยนำเสนอข้อมูลในรูปไดอะแกรม และรูปภาพต่าง ๆ เทคนิคการใช้ผังกราฟฟิก (Graphic Organizer) เป็นแบบของการสื่อสารเพื่อนำเสนอ ข้อมูลอย่างเป็นระบบ เข้าใจง่าย ถือเป็นเทคนิคที่ส่งเสริมทักษะการคิดต่าง ๆ ในการจัดกระทำข้อมูลและ นำเสนอข้อมูล ได้แก่ ผังมโนทัศน์ (Concept Map) ผังแมงมุม (A Spider Map) ผังความคิด (Mind Map) ผังเวนน์ไดอะแกรม (Venn Diagram) ผังทีชาร์ต (T Chart) ผังก้างปลา (Fishbone) ผังวงจร (Circle Map) ผังจัดลำดับแบบบันได (Ranking Ladder) ผังแผนภูมิกง (Pie Chart) ผังลำดับขั้น (Sequential map) ผัง KWL (KWL Map) ผังการแก้ปัญหา (Problem Solving Map) มีรายละเอียด ดังนี้
ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 15 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 1) ผังมโนทัศน์ (Concept Map) เป็นผังที่แสดงมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดใหญ่ไว้ ตรงกลางและแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ย่อย ๆ เป็นลำดับขั้นด้วยเส้นเชื่อมโยง 2) ผังแมงมุม (A Spider Map) มีลักษณะเหมือนผังมโนทัศน์ แตกต่างกันที่ผังมโนทัศน์จะ แสดงความคิดรวบยอดของข้อมูลตามลำดับของความคิด ส่วนผังใยแมงมุมจะแสดงถึงสิ่งที่เป็นสาเหตุที่ ก่อให้เกิดผลตามมาของสิ่งอื่น ๆ แสดงความเชื่อมโยงของข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวพันกัน 3) ผังความคิด (Mind Map) เป็นผังแสดงโครงสร้างสาระความคิดจินตนาการต่าง ๆ ใน ภาพรวมซึ่งเป็นภาพกว้าง มักใช้สัญลักษณ์และรูปภาพเพื่อจำแนกหรือจัดเรียงลำดับความสำคัญของสาระหรือ ข้อมูล จะลากเส้นในลักษณะต่าง ๆ ทั้งที่เป็นเส้นตรง เส้นโค้ง ทั้งที่มีลูกศรกำกับหรือไม่มีก็ได้ เพื่อแสดงการเชื่อมโยง ของข้อมูลและความคิดต่าง ๆ โดยจะมีคำเชื่อมหรือไม่มีก็ได้ การใช้mind map มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิด ความคิดจินตนาการแล้วสร้างเป็นภาพความคิด การแสดงตัวแทนความหมายของความคิดนั้น อาจจะแสดง ด้วยข้อความที่เป็นวลี คำประโยคหรือภาพสัญลักษณ์ก็ได้
ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 16 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 4) ผังเวนน์ไดอะแกรม (Venn Diagram) เป็นผังที่แสดงการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูล อย่างน้อย 2 สิ่ง เพื่อเปรียบเทียบว่าข้อมูลมีความเหมือนและมีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อหาจุดต่างและจุด ร่วมของสิ่งต่าง ๆ ลักษณะของผังจะเป็นวงกลม 2 วง มีส่วนหนึ่งที่ทับซ้อนกัน ส่วนที่ทับซ้อนคือเป็นตัวแทน ของความคิดหรือข้อมูลที่เหมือนกัน หรือเป็นจุดร่วมระหว่างข้อมูลทั้งสอง และส่วนที่เหลือของวงกลมซึ่งไม่ได้ ทับซ้อนกัน คือ ส่วนที่เป็นลักษณะเฉพาะของสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกัน 5) ผังที - ชาร์ท (T - Chart) เป็นผังที่แยกข้อมูลหรือความคิดออกเป็น 2 ส่วน โดยมี จุดประสงค์เพื่อแสดงความแตกต่างของความคิดหรือข้อมูลที่ศึกษาทั้ง 2 ด้าน แสดงมุมมองความคิดทั้ง 2 ด้าน และแสดงเหตุผลของความคิดหรือความจริงที่เป็นอยู่ 6) ผังก้างปลา (Fishbone) เป็นผังที่แสดงข้อมูลที่เป็นผลหรือปัญหาที่เกิดขึ้นและจะ แสดงให้เห็นถึงความคิดและการวิเคราะห์ แยกย่อย เพื่อหาสาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดผลต่อปัญหานั้น ๆ ให้สำหรับการวิเคราะห์หาสาเหตุย่อยของปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา
ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 17 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 7) ผังวงจร (Circle Map) เป็นผังที่แสดงลำดับขั้นตอนที่ต่อเนื่องกันเป็นวงกลมหรือวัฏจักร ที่ไม่แสดงจุดสิ้นสุดหรือจุดเริ่มต้นที่แน่นอน 8) ผังลำดับขั้น (Sequential Map) เป็นผังที่แสดงขั้นตอนของสิ่งต่าง ๆ หรือ กระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ที่แสดงให้เห็นจุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุด ซึ่งสำหรับจุดสิ้นสุดอาจมีต่อเนื่องเรื่อยไป อาจไม่มีสิ้นสุดก็ได้ เป็นการฝึกให้เด็กคิดไกล ๆ คิดเป็นขั้นตอน 9) ผัง KWL (KWL Map) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการอ่าน ซึ่งสอดคล้องกับทักษะการคิดอย่างรู้ตังว่าตนคิดอะไร มีวิธีคิดอย่างไร สามารถตรวจสอบความคิดของตนเองได้ และสามารถปรับเปลี่ยนกลวิธีการคิดของตนเองได้โดยผู้เรียนจะได้รับการฝึกให้ตระหนักในกระบวนการ ทำความเข้าใจตนเอง มีการวางแผน ตั้งจุดมุ่งหมาย ตรวจสอบความเข้าใจของตน มีการจัดระบบข้อมูลเพื่อการดึง มาใช้ภายหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 18 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 10) ผังแผนภูมิกง (Pie Chart) เป็นการนำเสนอที่ต้องการเปรียบเทียบข้อมูล โดยการแสดง สัดส่วนของข้อมูล 11) ผังการแก้ปัญหา (Problem-Solving Map) เป็นการแสดงให้เห็นถึงการแยกแยะปัญหา และพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหาและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นหลากหลาย 3.3.2.3 บันทึกการเรียนรู้(Learning Logs) เป็นวิธีการบันทึกการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่ผู้เข้าอบรม ผู้เรียน หรือผู้เข้าร่วมการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ใช้สรุปขุมความรู้ (Knowledge Asset) ที่ได้เรียนรู้ในวิชาหรือประเด็นที่ พูดคุยกันในเวที/ห้องเรียน ว่าเราได้ประเด็นความรู้อะไรบ้าง ท่านมีแนวคิดต่อความรู้นั้นอย่างไร รวมทั้งสามารถ นำไปสู่การพัฒนางาน พัฒนาตน พัฒนาทีมได้อย่างไร ประโยชน์อีกประการหนึ่งคือ เป็นการทบทวนความรู้ที่ได้และ เป็นเครื่องมือประเมินตนเองได้เป็นอย่างดี สถานการณ์ในห้องเรียนที่มีการจัดการเรียนรู้ ครูใช้เป็นเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนาความสามารถใน การเขียนสรุปความรู้ และช่วยพัฒนาความสามารถในการสื่อสารด้านการเขียน ผู้สอนควรชี้แจงให้ผู้เรียนเข้าใจ
ดร.ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 19 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ความหมาย ลักษณะการเขียน ประโยชน์และความยาวของบันทึกการเรียนรู้ที่เขียนในแต่ละครั้ง นอกจากนี้ควร บอกเกณฑ์การประเมิน การกำหนดเวลาส่งบันทึกการเรียนรู้ และให้ผู้เรียนเห็นตัวอย่างของบันทึกการเรียนรู้ ทั้งตัวอย่างที่ดีและ ตัวอย่างที่ไม่ดี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวางแผนการเขียนบันทึกการเรียนรู้ของตนเองได้เปิด โอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระในการเขียนบันทึกการเรียนรู้ เพื่อให้บันทึกความคิด ความรู้สึก หรือข้อคิดเห็นที่ตรงกับ ตัวผู้เรียนมากที่สุด ซึ่งจะช่วยสร้างความหมายหรือความเข้าใจใหม่สำหรับตัวผู้เรียนเอง ขณะเดียวกันผู้สอน ต้องสะท้อนผลกลับไปในบันทึกผลการเรียนรู้ดังกล่าว อาจเป็นลักษณะของการให้ความแนะ ข้อคิดเห็น การให้ กำลังใจ ชมเชย หรือการตอบปัญหาที่ผู้เรียนถามมา รวมไปถึงการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้มีการคิด นอกจากนี้ ผู้สอนควรกำหนดเกณฑ์ หรือให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์และประเมินผลงาน โดยเน้น ให้คะแนนในส่วนเนื้อหาหรือองค์ประกอบของบันทึกการเรียนรู้มากกว่า หลักไวยากรณ์หรือการสะกดคำ
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 20 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 การจัดการเรียนรู้ ไม่ใช่การถ่ายทอดเนื้อหาวิชาโดยใช้วิธีการบอกให้จดจำ และท่องจำเพื่อการสอบ เท่านั้น แต่การจัดการเรียนรู้ เป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่ผู้สอนนำมาใช้จัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ดังนั้น ครูจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถวางแผนและจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม บรรลุจุดมุ่งหมาย และพัฒนาผู้เรียนตามแนว ทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายความหมายของการจัดการเรียนรู้ไว้หลากหลาย ซึ่งมีความหมาย ครอบคลุมทั้งด้านวิธีการ กระบวนการ และตัวบุคคล จึงอาจสรุปความหมายของ การจัดการเรียนรู้ได้ว่า หมายถึง กระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ของผู้สอน จากความหมายดังกล่าว จะเห็นว่า การจัดการเรียนรู้มีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้เรียน เพราะ นอกจากจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้แล้ว ยังเป็นสิ่งที่จุดประกายความใฝ่รู้ ในการศึกษาความรู้เพิ่มเติมนอกบทเรียนเพื่อหาคำตอบจากสิ่งที่ผู้เรียนสงสัย หรือเกิดความสนใจได้ ลักษณะของการจัดการเรียนรู้ 1. เป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นไปตามลำดับ ขั้นตอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 2. มีจุดประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่กำหนดไว้ 3 ด้าน ได้แก่ด้านความรู้ความคิด หรือด้านพุทธิพิสัย ด้านทักษะกระบวนการ หรือด้านทักษะพิสัย และด้านเจตคติ หรือด้านจิตพิสัย 3. การจัดการเรียนรู้จะประสบผลสำเร็จได้ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถของผู้สอน ทั้งด้านความรู้ และเทคนิคการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ 1. ผู้เรียน ผู้สอนควรคำนึงถึงธรรมชาติของผู้เรียน ความสามารถทางสมอง ความถนัด ความสนใจ พัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ รวมไปถึงความต้องการพื้นฐาน เพื่อให้เข้าใจตัวผู้เรียน และสามารถ วางแผนจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนได้มากที่สุด 2. บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น ความเป็นประชาธิปไตย ความเคร่งเครียด ความชื่นบาน ของผู้เรียน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวกำหนดบรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียนทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่ผู้สอนจึงควร คำนึงถึงไม่ใช่เฉพาะความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของผู้เรียนเพียงเท่านั้น แต่ควร สำรวจความพร้อมทั้ง 4 ด้านของตนเองด้วย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีความพร้อมในการเรียนรู้ให้มากที่สุด ซึ่งจะ ช่วยเสริมสร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่ดีในชั้นเรียนอีกทางหนึ่ง ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้และขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 21 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียน ผู้สอนควรดูแล เอาใจใส่ผู้เรียน รวมไปถึงหากลวิธีที่จะตอบสนองต่อความรู้สึกนึกคิด และความต้องการพื้นฐานของผู้เรียนให้มากที่สุด เพื่อ สร้างบรรยากาศที่ดีในชั้นเรียน และนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ที่ประสบผลสำเร็จ หลักพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงหลักการพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ไว้ในทิศทางคล้ายกัน สรุปได้4 ประการ คือ 1. หลักการเตรียมความพร้อมพื้นฐาน ได้แก่ การเตรียมตัวผู้สอนด้านความรู้ ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ และด้านการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ 2. หลักการวางแผนและเตรียมการจัดการเรียนรู้ ได้แก่การเตรียมเขียนแผน การจัดการเรียนรู้ การผลิตสื่อ เตรียมแบบทดสอบ และซ้อมสอน 3. หลักการใช้จิตวิทยาการเรียนรู้ เช่น หลักความแตกต่างระหว่างบุคคล หลักการเร้าความสนใจ หลักการเสริมแรง 4. หลักการประเมินผลและรายงานผล ซึ่งเกี่ยวกับการกำหนดจุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ การสร้าง และการใช้เครื่องมือการประเมิน การตีความหมายและการรายงานผลการประเมิน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และแก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มาตรา 22 ระบุไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมี ความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา ต้อง ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553) จากที่กล่าว มาจะเห็นว่า การจัดการเรียนรู้ในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคศตวรรษที่ 21 จะต้องจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการทำงานและการดำเนิน ชีวิตได้อย่างมีความสุข การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการเปลี่ยนบทบาทของครูจาก "ผู้สอน" หรือ "ผู้ถ่ายทอดความรู้" มาเป็น "ผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้" ให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การเปลี่ยนแปลงบทบาทนี้เป็นการเปลี่ยน จุดเน้นของการเรียนรู้ให้เน้นอยู่ที่ผู้เรียนมากกว่าอยู่ที่ผู้สอน ดังนั้น ผู้เรียนจึงกลายเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน เพราะบทบาทในการเรียนรู้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า การจัดการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ ไม่ใช่รูปแบบการสอนหรือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แต่เป็นหลักการจัดการเรียนรู้ที่ผู้บริหาร ครู อาจารย์แต่ละคนต้องตระหนักในหลักการที่ว่า จะทำอย่างไรให้นักเรียนทุกคนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพและได้รับประโยชน์สูงสุด
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 22 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ลักษณะของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีลักษณะสำคัญ คือ ผู้เรียนได้ลงมือกระทำหรือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้เรียนรู้ตาม ความถนัด ความสามารถ ความสนใจของตนเอง ได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งในและนอก ห้องเรียน มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้ฝึกกระบวนการคิด เช่น การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น ส่งผลให้นักเรียน สามารถสร้าง องค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง และได้เรียนรู้อย่างมีความสุข การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีหลักการสำคัญ ดังนี้ 1) การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความต้องการ ความถนัด และความสนใจของตนเอง 2) การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนรู้ เพื่อให้มีความรู้สึกถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรม การเรียนรู้ และพร้อมที่จะทำกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ 3) การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม (Participation) ในกิจกรรมการเรียนรู้ให้มากที่สุด ได้ลงมือ ปฏิบัติจริง ได้ทำกิจกรรมการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการ ทั้งทางด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม 4) การให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ในสภาพความเป็นจริง และได้รับประสบการณ์ตรง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ (Constructionism) ได้ด้วยตนเอง 5) การให้ผู้เรียนได้ทำงานกลุ่ม หรือการทำงานเป็นทีม เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และเกิด การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ 6) การให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น ครู เพื่อน สถานที่ต่าง ๆ ภายในโรงเรียนและชุมชน สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมทางด้านสื่อโสตทัศนูปกรณ์ วัสดุ และ เทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นต้น 7) การให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการคิดต่าง ๆ เช่น การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์การคิดอย่างมี วิจารณญาณ การคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น 8) การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ได้ทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่ท้าทาย สนุกสนานกับกิจกรรม การเรียนรู้ และเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย 9) ครูมีบทบาทเป็นที่ปรึกษา ผู้ให้คำแนะนำ ผู้อำนวยความสะดวก ให้ความช่วยเหลือและผู้สนับสนุน การทำกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน 10) การให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Application) ในสถานการณ์ต่าง ๆ และสามารถนำ ความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริงได้
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 23 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 หลักการของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สรุปได้ดังภาพ ภาพหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (สิทธิพล อาจอินทร์, 2560) การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความต้องการ ความถนัด และความสนใจของตนเอง การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนรู้ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ให้มากที่สุด การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง และได้รับประสบการณ์ตรง การให้ผู้เรียนได้ทำงานกลุ่ม ทำงานเป็นทีม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว การให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการคิด การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ได้ทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่ท้าทาย สนุกสนาน ครูมีบทบาทเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ ผู้อำนวยความสะดวก ให้ความช่วยเหลือผู้เรียน การให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ หลักการของ การจัดการ เรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็น สำคัญ
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 24 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน โดยมองเห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันระหว่าง จุดมุ่งหมายของการสอน (Objective) กระบวนการเรียนการสอน (Learning – teaching process) และ การประเมินผล (Evaluation) ซึ่งการกำหนดจุดมุ่งหมายของการสอน (Objective) เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ เห็นแนวทางการกำหนดเนื้อหา การเลือกวิธีสอน กิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนการประเมินผล (Evaluation) ให้มีความชัดเจนและเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติยิ่งขึ้น สิ่งที่สำคัญคือ ผู้สอนต้องรู้ให้แน่ชัดตั้งแต่ต้นว่า วิชานี้ บทนี้ จะต้องวัดอะไรบ้าง จะต้องวัดมากน้อยอย่างละเท่าไร และจะต้องวัดด้วยวิธีใด ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่สุดของกระบวนการประเมินผล (Evaluation) ดังนั้นการที่จะตอบคำถามดังกล่าวนั้นได้ จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ ถึงจุดมุ่งหมายของวิชา หรือบทเรียนนั้นก่อนว่าต้องการให้เกิดสิ่งใดกับผู้เรียนบ้าง จึงจะสามารถทำการวัดได้ อย่างถูกต้อง ความสัมพันธ์ระหว่างจุดมุ่งหมายของการสอน (Objective) กระบวนการเรียนการสอน (Learning – teaching process) และการประเมินผล (Evaluation) นี้มีความสำคัญอย่างมากในการเขียนแผนการสอน โดยผู้สอนต้องเริ่มจากกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ว่า ต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมหรือผลลัพธ์การเรียนรู้ อะไร หลังจากนั้นจึงกำหนดวิธีการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้และเลือกประเมินผล ว่าผู้เรียนบรรลุหรือเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่ ซึ่งกระบวนการดังกล่าว เรียกย่อ ๆ ว่า OLE ประกอบด้วย 1) O = Objective = จุดมุ่งหมาย 2) L = Learning Experience = การจัดประสบการณ์การเรียนการสอน 3) E = Evaluation = การประเมินผล แสดงเป็นวงจรไว้ดังภาพ ภาพวงจรการเรียนการสอน ที่มา : ไพฑูรย์ ลินลารัตน์ 2526 : 106 จากวงจรการเรียนการสอน จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน มีความเกี่ยวข้องต่อเนื่องกันคือ 1. จุดมุ่งหมาย (Objective) การเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยเน้นที่เป้าหมายของการสอน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความคิด (ด้านพุทธิพิสัย) ด้านเจตคติ (ด้านจิตพิสัย) คือการได้เห็นคุณค่า เห็นความสำคัญ และด้านทักษะ (ด้านทักษะพิสัย) คือการปฏิบัติได้ถูกต้องตามวัย จุดมุ่งหมาย (O) การจัดประสบการณ์ การเรียนการสอน (L) การประเมินผล (E)
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 25 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ดังนั้น ในการสอนจึงต้องตั้งจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน มิใช่เพียงด้านใดด้าน หนึ่งเพียงด้านเดียว จึงจะถือว่าเป็นการสอนที่สมบูรณ์ ตลอดจนมุ่งให้ผู้เรียนสามารถนำประสบการณ์ใหม่ไป ใช้ได้ 2. การเรียนการสอน (Learning Experience) เป็นกิจกรรมที่สำคัญในกระบวนการทาง การศึกษา เพราะเป็นการนำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ คุณภาพของการศึกษาจะ ดีหรือไม่นั้น การสอนเป็นสำคัญซึ่งจะทำหน้าที่พัฒนาและเสริมสร้างผู้เรียนให้เกิด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และมีประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มขึ้น 3. การประเมินผล (Evaluation) เป็นการติดตามผลการจัดการเรียนการสอนว่าผู้เรียน บรรลุผลมากน้อยเพียงใด ตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนขึ้นอยู่กับการพัฒนาทางสติปัญญาและทางร่างกาย ซึ่งมีความแตกต่างกัน การประเมินผลการเรียนจะเชื่อมโยงกับจุดมุ่งหมายทางการศึกษาและวิธีการเรียน การสอน กล่าวคือ ผู้สอนมักจะตั้งความหวังก่อนสอนว่าต้องการจะให้ผู้เรียนรู้อะไร เกิดพฤติกรรมอะไร หรือ ทำอะไรได้บ้าง ซึ่งความหวังนี้เรียกว่า จุดมุ่งหมายทางการศึกษา ซึ่งมี 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะ พิสัย วิธีการวัดและประเมินผลจึงต้องเกี่ยวพันกับจุดมุ่งหมายการศึกษา ดังนั้นครูหรือผู้ประเมินต้องสามารถตีความหมายของจุดมุ่งหมายรายวิชานั้น ๆ ให้ถูกต้อง ครอบคลุมและชัดเจน จึงจะสามารถวัดและประเมินได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการ แต่ปัญหาที่มักพบในทางปฏิบัติ คือ จากจุดมุ่งหมายของรายวิชาเดียวกัน ครูผู้สอนแต่ละคนมักจะตีความต่างกันไป โดยเฉพาะในแง่ของ ขอบข่าย อันส่งผลให้การดำเนินการสอนและการสอบวัดในประเด็นที่แตกต่างกันไป ขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ 1. ศึกษาเอกสาร และเทคนิคในการจัดการเรียนการสอน ตามแนวคิด/รูปแบบ ตลอดจนขั้นตอน องค์ประกอบ บทบาทครูและนักเรียน สถานการณ์ สื่อการเรียนการสอน ที่สอดคล้องและสามารถดำเนินการ จัดการเรียนการสอนในเนื้อหาที่พัฒนาได้อย่างสัมพันธ์กัน 2. ดำเนินการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ โดยวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ เนื้อหาสาระ วัตถุประสงค์ วิธีการจัดการเรียนการสอน และการดำเนินการเขียนโครงร่างของแผน 3. กำหนดวิธีการประเมินผล สื่อการเรียนการสอน ออกแบบการทำกิจกรรมของนักเรียนแต่ละ กิจกรรมทั้งที่เป็นรายบุคคลและงานกลุ่ม 4. ขอความคิดเห็นและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ (ผอ. ศน. /ครู Expert) จากการตรวจสอบความตรง เฉพาะหน้า (Face Validity) เพื่อพิจารณาในเรื่องภาษา การดำเนินกิจกรรม เวลา ความเหมาะสมของ แผนการจัดการเรียนรู้ ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาด้วยคือต้องเป็น แผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาตามแนวคิด…. ที่สามารถกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 5. ปรับปรุงภาษา ข้อความ กิจกรรมและเวลา จากข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ (ผอ. ศน./ครู Expert)
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 26 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 6. นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1. มาตรฐาน 2. ตัวชี้วัด ว่าจะเกิดกับผู้เรียน ซึ่งการที่ลักษณะของผู้เรียนเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิด สมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางและส่วนที่เพิ่มเติมให้ หลักสูตรสถานศึกษา 3. สาระสำคัญ เป็นการเขียนหัวข้อเรียงลำดับตามสาระการเรียนรู้หรือหัวเรื่องหรือ เขียนเป็น ความเรียง โดยระบุเฉพาะส่วนที่แก่นของบทเรียนนั้น 4. จุดประสงค์การเรียนรู้เป็นการระบุความคาดหวังที่แสดง พฤติกรรมของผู้เรียนที่คาดหวัง หลังจบบทเรียน ซึ่งต้องครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และเจตคติ เขียนเป็นข้อ ๆ เรียงลำดับ ตามหัวข้อสาระการเรียนรู้ ในการเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้สามารถเขียนได้ 2 ลักษณะ คือ เขียนเป็นจุดประสงค์ทั่วไป เพื่อ บอกลักษณะต่าง ๆ ของผู้เรียน โดยใช้คําที่ไม่อาจสังเกตเห็นพฤติกรรมที่ชัดเจนได้ แต่สามารถบอกภาพรวม ที่ เป็นลักษณะของผู้เรียนได้ ส่วนอีกลักษณะหนึ่ง คือ จุดประสงค์เฉพาะ หรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ ประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ คำกริยาที่สังเกตได้ของผู้เรียน เงื่อนไขของการแสดงพฤติกรรมและ เกณฑ์การตัดสินผลของพฤติกรรม ตัวอย่างเช่น เมื่อจบบทเรียนแล้วนักเรียนสามารถยกตัวอย่างซื่อสารในชีวิตประจำวันที่มีฤทธิ์เป็นกรดได้ ถูกต้อง 5 ชนิด 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้ การเขียนกระบวนการจัดการเรียนรู้ในแผนการจัดการเรียนรู้มี 3 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน จะเขียนระบุกิจกรรมที่นำมาใช้เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ เรื่องที่เรียนซึ่งกิจกรรมนั้นจะต้องน่าสนใจ และเชื่อมโยงได้กับบทเรียนที่เรียนโดยใช้เวลาสั้น ๆ (2) ขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นการเขียนรายละเอียดของกิจกรรมแต่ละขั้นตอน ของ วิธีสอน ซึ่งมีได้หลายวิธี แต่ละวิธีมีขั้นตอนและรายละเอียดแตกต่างกันโดยกิจกรรมนั้นควรเน้นให้ผู้เรียน ได้ปฏิบัติ และใช้ขั้นตอนระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อํานวยความ สะดวกใน การเรียนรู้ของผู้เรียน (3) ขั้นสรุปบทเรียน เป็นการเขียนกิจกรรมหรือคําถามนําทางให้ผู้เรียนสรุปบทเรียนได้ ด้วย ตนเอง เป็นคุณลักษณะสำคัญของผู้เรียนที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยในแต่ละ แผนการจัดการเรียนรู้ จะหยิบยกมาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและคาด เกิด
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 27 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 5. สาระ/เนื้อหา เป็นการเขียนระบุเนื้อหาของบทเรียน หรือเรื่องที่จะสอน การเรียงลำดับ สาระการเรียนรู้ หรือหัวเรื่อง จะต้องจัดลำดับตามเนื้อหาที่ต้องการก่อน หลัง และตามลำดับความ ยากง่าย 6. สมรรถนะของนักเรียน เป็นคุณลักษณะเชิง พฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ทำให้นักเรียนสามารถ เรียนรู้หรือปฏิบัติงานหรือสร้างผลงานได้ โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานอื่น ๆ ในชั้นเรียน 7. ขั้นตอน/กิจกรรม เป็นการระบุกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดย แบ่งเป็น ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน และขั้นสรุป 8. สื่อและแหล่งการเรียนรู้เป็นการเขียนรายการวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ และแหล่งเรียนรู้ ที่ใช้ใน การจัด กิจกรรมของแผนการจัดการเรียนรู้นั้น 9. การวัดและประเมินผล เป็นการเขียนระบุวิธีการประเมินผล ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับ จุดประสงค์การ เรียนรู้ วิธีการประเมินผลทำได้หลายวิธี เช่นการให้ตอบคําถาม การสังเกต การปฏิบัติกิจกรรม หรือปฏิบัติการ ทดลอง การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม การตรวจผลงานหรือผลการทดลอง การให้ทำแบบฝึกหัด การทดสอบ ทั้งนี้ต้อง ระบุชนิดของเครื่องมือ และเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินด้วย 10. ความคิดเห็นผู้บริหาร เป็นการนิเทศ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้สอนปรับรายละเอียดของแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกันและเหมาะสมกับผู้เรียน 11. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้เป็นการเขียนบันทึกปัญหา อุปสรรคที่พบ และข้อเสนอแนะที่ ได้หลังจากการสอน เมื่อจบบทเรียนแล้ว ข้อมูลต่าง ๆเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครั้งต่อไป ทั้งนี้ ผู้สอนจำเป็นจะต้องศึกษาจากข้อมูลหลายประการเพื่อนำมาช่วยเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของ ตนและการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งการจัดการเรียนรู้ไม่ว่าระดับใดก็ตามจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ผู้เรียน บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบรรยากาศทาง จิตวิทยาในชั้นเรียน หากองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ทั้ง 3 ประการนี้ดำเนินไปได้ด้วยดีจะทำให้ผู้เรียน ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้อย่างมาก องค์ประกอบดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้ 1) ผู้เรียน ธรรมชาติของผู้เรียนเป็นสิ่งที่ผู้สอนจะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก โดยต้องคำนึงเกี่ยวกับ ความสามารถทางสมอง ความถนัด ความสนใจ พัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ ความต้องการ พื้นฐานเป็นสิ่งที่ผู้สอนจะต้องคำนึงถึง และจะละเลยไม่ได้ 2) บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ผู้สอนเป็นส่วนที่สำคัญและเป็นส่วนหนึ่งที่จะ กำหนดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เป็นไปในรูปแบบที่ต้องการ ความเป็นประชาธิปไตย ความเคร่งเครียด ความชื่นบาน ของผู้เรียน สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้โดยผู้สอนเป็นผู้กำหนด แต่ถึงกระนั้นก็ตามบรรยากาศในชั้นเรียนยังมี องค์ประกอบอื่นๆ อีกนอกเหนือไปจากตัวผู้สอน คือ ผู้เรียนเข้าชั้นเรียนโดยไม่ได้รับประทานอาหารเช้า หรือ อาหารกลางวัน ผู้เรียนเริ่มเรียนชั่วโมงแรกด้วยความรู้สึกหิวหรือบางครั้งผู้เรียนได้รับสิ่งกระทบกระเทือนใจ ติดตามมาเนื่องจากความไม่ปรองดองในครอบครัว เป็นต้น
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 28 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ส่วนด้านตัวผู้สอนนั้น อาจจะมีความกดดันจากฝ่ายบริหารหรือจากครอบครัว เศรษฐกิจ อาหารเช้า ก่อนมาสถานศึกษาของผู้สอนมีเพียงน้ำแก้วเดียวเท่านั้น สิ่งที่นำมาก่อนเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนที่ผู้สอนและผู้เรียน จะมาพบกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่จะบ่งได้ว่าบรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียนที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้จะปรากฏ ออกมาในรูปแบบใด 3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและ ผู้เรียนจะเป็นเครื่องชี้บ่งถึงเงื่อนไขหรือสถานการณ์ ว่าผู้เรียนจะประสบความสำเร็จ หรือความล้มเหลวต่อ การเรียนรู้ ผู้สอนควรจะคิดถึงผู้เรียน ในฐานะเป็นบุคคลหนึ่ง ผู้เรียนมีสิทธิที่จะได้รับความต้องการพื้นฐาน และผู้สอนจะต้องหากลวิธีที่จะตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานของผู้เรียนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และ ผู้สอนควรจะฝึกให้มีความรู้สึกไวต่อความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียน เพื่อความสำเร็จแห่งการเรียนรู้และ การเจริญเติบโตเป็นบุคคลที่สมบูรณ์ต่อไป การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Centered) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นประการสำคัญ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วน ร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง มีปฏิสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมกับผู้สอนและผู้เรียน ด้วยกัน ได้ฝึกทักษะกระบวนการเรียนรู้ ฝึกกระบวนการคิด การวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ วางแผน และ ตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยตนเอง สามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง และสามารถนำความรู้และวิธีการเรียนรู้ไปใช้ใน ชีวิตจริงได้ โดยมีผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก ผู้ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา ให้ความช่วยเหลือให้ การสนับสนุน และให้กำลังใจแก่ผู้เรียน ซึ่งเรียกว่า การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในที่นี้จะนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน 12 รูปแบบ ดังนี้ 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โมเดลชิปปา (CIPPA Model) 1.1 ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ เป็นรูปแบบของหลักการที่สามารถนําไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน โดยจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก“CIPPA” ซึ่งเป็นการผสานแนวคิด ได้แก่ 1) C (Construction) แนวคิดการสร้างความรู้ 2) I (Interaction) แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3) P (Physical Participation) แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้ 4) P (Process Learning) แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้กระบวนการ 5) A (Application) แนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนความรู้แนวคิดเหล่านี้เหมาะสมกับการเรียนการสอน การแก้ปัญหา และทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นกลุ่ม การสื่อสารรวมทั้งเกิด ความใฝ่รู้
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 29 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 C มาจากคำว่า Construction of Knowledge หมายถึง การสร้างความรู้ตามแนวคิดการสรรค์ สร้างความรู้ได้แก่ กิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งทำให้ผู้เรียนเข้าใจและเกิด การเรียนรู้ที่มีความหมายต่อต้นเอง กิจกรรมนี้ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา I มาจากคำว่า Interaction หมายถึง การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ได้แก่ กิจกรรมที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล เช่น ครู เพื่อน ผู้รู้หรือมีปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อม เช่น แหล่งความรู้ และสื่อประเภทต่าง ๆ เป็นต้น กิจกรรมนี้ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม P มาจากคำว่า Process Learning หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นทักษะที่จำเป็นต่อ การดำรงชีวิต ได้แก่ กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนทำเป็นขั้นตอนจนเกิดการเรียนรู้ ทั้งเนื้อหาและกระบวนการ กระบวนการที่นำมาจัดกิจกรรม เช่น กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม กระบวนการ แสวงหาความรู้ เป็นต้น กิจกรรมนี้ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา P มาจากคำว่า Physical Participation หมายถึง การมีส่วนร่วมทางกาย ได้แก่ กิจกรรมที่ให้ ผู้เรียนมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะต่าง ๆ A มาจากคำว่า Application หมายถึง การนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้แก่ กิจกรรมที่ให้โอกาสผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติที่ เป็นประโยชน์ใช้ชีวิตประจำวัน กิจกรรมนี้ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้หลายอย่างแล้วแต่ลักษณะของกิจกรรม หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โมเดลซิปปา (CIPPA MODEL) Construction Interaction Physical Participation Process Learning Application C I P P A
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 30 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 1.2 กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนดังนี้ 1) การทบทวนความรู้เดิม เป็นการสนทนาซักถามถึงกิจกรรมที่เคยเรียนรู้ หรือพื้นความรู้ของนักเรียนในเรื่องที่จะดำเนินการ สอน ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้ของผู้เรียนในเรื่องที่เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ ใหม่กับความรู้เดิมของตน 2) การแสวงหาความรู้ใหม่ เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนยังไม่มีจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่างๆ ซึ่งครูอาจ เตรียมมาให้ผู้เรียน หรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับ แหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาได้ 3) การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม เป็นการศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล/ความรู้ที่หาได้ ผู้เรียนต้องสร้างความหมายของข้อมูล/ ประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่มในการ อภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ซึ่งอาจจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเมื่อได้เรียนรู้แล้ว นำองค์ความรู้นั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสะท้อนความคิด ของตน ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตนกับผู้อื่น และได้รับประโยชน์ จากความรู้ ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อม ๆ กัน 5) ขั้นการสรุปและการจัดระเบียบความรู้ เป็นการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็นระบบ ระเบียบเพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่ เรียนได้ง่าย 6) ขั้นการแสดงผลงาน เป็นกิจกรรมเสนอสิ่งที่เรียนรู้ในรูปของการจัดกิจกรรม ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการ สร้าง ความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตน และช่วย ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์ 7) ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ เป็นการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือเพื่อแก้ปัญหาในสิ่งที่ต้องการคำตอบต่อไป ส่งเสริมให้ ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชำนาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจำเป็นในเรื่องนั้น 1.3 บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง บทบาทของครู บทบาทของนักเรียน 1. การทบทวนความรู้เดิม ครูสร้างการสนทนา ซักถามสถานการณ์ กระตุ้นผู้เรียน เพื่อตรวจสอบหรือทบทวนความรู้เดิม นักเรียนสนทนา ตอบโต้ เล่าประการณ์เดิมเพื่อ ทบทวนความรู้เดิม
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 31 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 บทบาทของครู บทบาทของนักเรียน 2. การแสวงหาความรู้ใหม่ ครูเตรียมสื่อหรือแหล่งเรียนรู้ให้นักเรียนได้ศึกษา นักเรียนศึกษา เรียนรู้เพิ่มเติมจากสื่อหรือแหล่ง ความรู้ต่าง ๆ 3. การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม ครูร่วมอภิปราย กระตุ้นกระบวนการคิด เพื่อให้นักเรียน ได้สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาใหม่ นักเรียนสร้าง อภิปราย สรุปความรู้ใหม่ 4. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม ครูร่วมอภิปราย กระตุ้นกระบวนแลกเปลี่ยนความคิด ข้อสรุป ของนักเรียนเป็นกลุ่ม นักเรียนแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อสรุป จาก การศึกษาความรู้ใหม่เป็นกลุ่ม 5. ขั้นการสรุปและการจัดระเบียบความรู้ ครูร่วมจัดระเบียบ สรุป เรียบเรียงองค์ความรู้ นักเรียนร่วมกันสร้างข้อสรุป เพื่อให้เป็นสิ่งที่จดจำ และเข้าใจได้ง่าย 6. ขั้นการแสดงผลงาน ครูส่งเสริมให้นักเรียนได้ปฏิบัติ ได้ตรวจสอบ และมี ผลงานเพื่อแสดงออก นักเรียนปฏิบัติ ประเมินตนเอง สร้างผลงานจาก องค์ความรู้ที่สร้างขึ้น 7. ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ ครูเตรียมสถานการณ์ต่าง ๆ ให้นักเรียนได้นำองค์ความรู้ ไปประยุกต์ใช้ นักเรียนนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ ต่าง ๆ 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนววัฏจักรการเรียนรู้โดยการสืบสวนสอบสวนเป็นฐาน (The 5 E’s of Inquiry-Based Learning: 5 E’s) 2.1 ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ เป็นรูปแบบของการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้นักเรียนมีประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้ โดย การแสวงหาและศึกษาค้นคว้า เพื่อสร้างองค์ความรู้ของตนเอง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมี ครูผู้สอนคอยอำนวยการและสนับสนุน ทำให้ผู้เรียนสามารถค้นพบความรู้หรือแนวทางแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน 2.2 กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ชั้น ดังนี้ (Biological Science Curriculum Society: BSCS, 1997) ขั้นที่ 1 การสร้างความสนใจ (Engagement) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการเรียนรู้ที่ จะนำเข้าสู่บทเรียน จุดประสงค์ที่สำคัญของขั้นตอนนี้ คือ ทำให้ผู้เรียนสนใจในกิจกรรม ควรนำเข้าสู่บทเรียน โดยเชื่อมโยงประสบการณ์การเรียนรู้เดิมกับปัจจุบัน และควรเป็นกิจกรรมที่คาดว่ากำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งทำให้
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 32 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ผู้เรียนสนใจจดจ่อที่จะศึกษาความคิดรวบยอด กระบวนการ หรือทักษะ และเริ่มคิดเชื่อมโยงความคิดรวบยอด กระบวนการ หรือทักษะกับประสบการณ์เดิม ขั้นที่ 2 การสำรวจและค้นหา (Exploration) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ ร่วมกันในการสร้างและพัฒนาความคิดรวบยอด กระบวนการ และทักษะ โดยการให้เวลาและโอกาสแก่ผู้เรียน ในการทำกิจกรรมการสำรวจและค้นหาสิ่งที่ผู้เรียนต้องการเรียนรู้ตามความคิดเห็นผู้เรียนแต่ละคน หลังจากนั้น ผู้เรียนแต่ละคนได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความคิดรวบยอด กระบวนการ และทักษะใน ระหว่างที่ผู้เรียนทำกิจกรรมสำรวจและค้นหา เป็นโอกาสที่ผู้เรียนจะได้ตรวจสอบหรือเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับความคิดรวบยอดของผู้เรียนที่ยังไม่ถูกต้องและยังไม่สมบูรณ์ โดยการให้ผู้เรียนอธิบายและยกตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้เรียน ครูควรระลึกอยู่เสมอเกี่ยวกับความสามารถของผู้เรียนตามประเด็นปัญหา ผลจากการที่ผู้เรียนมีใจจดจ่อในการทำกิจกรรม ผู้เรียนควรจะสามารถเชื่อมโยงการสังเกต การจำแนกตัวแปร และคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นได้ ขั้นที่ 3 การอธิบาย (Explanation) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถใน การอธิบายความคิดรวบยอดที่ได้จากการสำรวจและค้นหา ครูควรให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกันเกี่ยวกับทักษะหรือพฤติกรรมการเรียนรู้ การอธิบายนั้นต้องการให้ผู้เรียนได้ใช้ข้อสรุปร่วมกัน ในการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมนี้ครูควรชี้แนะผู้เรียนเกี่ยวกับการสรุปและการอธิบาย รายละเอียด แต่อย่างไรก็ตามครูควรระลึกอยู่เสมอว่ากิจกรรมเหล่านี้ยังคงเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นั่นคือ ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการอธิบายด้วยตัวผู้เรียนเอง บหบาทของครูเพียงแต่ชี้แนะผ่านทางกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสอย่างเต็มที่ในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในความคิดรวบยอดให้ชัดเจน ในที่สุดผู้เรียน ควรจะสามารถอธิบายความคิดรวบยอดได้อย่างเข้าใจ โดยเชื่อมโยงประสบการณ์ ความรู้เติมและสิ่งที่เรียนรู้ เข้าด้วยกัน ขั้นที่ 4 การขยายความรู้ (Elaboration) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนได้ยืนยันและขยายหรือ เพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจในความคิดรวบยอดให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น และยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึก ทักษะและปฏิบัติตามที่ผู้เรียนต้องการ ในกรณีที่ผู้เรียนไม่เข้าใจหรือยังสับสนอยู่หรืออาจจะเข้าใจเฉพ าะ ข้อสรุปที่ได้จากการปฏิบัติการสำรวจและคันหาเท่านั้น ควรให้ประสบการณ์ใหม่ผู้เรียนจะได้พัฒนาความรู้ ความเข้าใจในความคิดรวบยอดให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น เป้าหมายที่สำคัญของขั้นนี้ คือ ครูควรขี้แนะให้ ผู้เรียนได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันจะทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด กระบวนการ และทักษะ เพิ่มขึ้น ขั้นที่ 5 การประเมินผล (Evaluation) ขั้นตอนนี้ผู้เรียนจะได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการอธิบาย ความรู้ความเข้าใจของตนเอง ระหว่างการเรียนการสอนในขั้นนี้ครูต้องกระตุ้น หรือส่งเสริมให้ผู้เรียนประเมิน ความรู้ความเข้าใจและความสามารถของตนเอง และยังเปิดโอกาสให้ครูได้ประเมินความรู้ความเข้าใจและ พัฒนาทักษะของผู้เรียนด้วย
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 33 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามแนววัฏจักรการเรียนรู้โดยการสืบสวนสอบสวนเป็นฐาน (The 5 E’s of Inquiry-Based Learning) นอกจากนี้ Eisenkraft (2003) ได้ขยายรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ จาก 5 ขั้นเป็น 7 ขั้น เพื่อให้นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากสิ่งที่ได้เรียนมาให้เกิดประโยชน์ใน ชีวิตประจำวัน และนักเรียนสามารถเลือกแนวคิดที่ สอดคล้องกับนักวิทยาศาสตร์ ทำให้นักเรียนเกิดแนวคิดที่ ผิดพลาดน้อยลง ซึ่งเพิ่มขึ้นมา 2 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียน (Elicitation) และขั้นที่ 7 การนำความรู้ไปใช้ (Extension) เพื่อให้นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ จากสิ่งที่ได้เรียนมาให้เกิด ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน การปรับขยายรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้จาก 5Es เป็น 7Es ดังนี้ ขั้นที่ 1 การตรวจสอบความรู้เดิม (Elicitation) ครูจะต้องทำหน้าที่ในการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้น ให้ นักเรียนได้แสดงความรู้เดิม คำถามอาจจะเป็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามสภาพสังคมท้องถิ่น หรือประเด็นข้อ ค้นพบทางวิทยาศาสตร์ การนำวิทยาศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน และนักเรียนสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ไป ยังประสบการณ์ที่ตนมี ทำให้ครูได้ทราบว่านักเรียนแต่ละคนมีความรู้พื้นฐานเป็นอย่างไร ครูควรเติมเต็มส่วนใด ให้กับนักเรียน และครูยังสามารถวางแผนการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของ นักเรียน ขั้นที่ 2 การสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นการนำเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียนหรือเรื่องที่น่าสนใจ ซึ่งอาจเกิดจากความสนใจของนักเรียน หรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่มเรื่องที่น่าสนใจอาจมาจาก เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นหรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่นักเรียนเพิ่งเรียนรู้มาแล้ว ครู ทำหน้าที่ กระตุ้น สร้างคำถามยั่วยุให้นักเรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น และกำหนดประเด็นที่จะศึกษาให้กับ นักเรียน ในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นที่น่าสนใจครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร อินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งทำให้นักเรียนเกิดความคิดขัดแย้งจากสิ่งที่นักเรียนเคยรู้มาก่อน ครูเป็นผู้ที่ทำหน้าที่
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 34 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 กระตุ้นให้นักเรียนคิดโดยเสนอประเด็นที่สำคัญขึ้นมาก่อน แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือ คำถามที่ครูกำลังสนใจมาเป็นเรื่องที่ให้นักเรียนศึกษา เพื่อนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบในขั้นตอนต่อไป ขั้นที่ 3 การสำรวจและค้นหา (Exploration) เมื่อนักเรียนทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่ สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทาง การสำรวจตรวจสอบตั้งสมมติฐาน กำหนด ทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบ อาจทำได้หลายวิธี เช่น สืบค้นข้อมูล สำรวจ ทดลอง กิจกรรมภาคสนาม เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างพอเพียง ครูทำหน้าที่กระตุ้นให้นักเรียนตรวจสอบปัญหา และดำเนินการสำรวจตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ขั้นที่ 4 การอธิบายและลงสรุป (Explanation) เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วนักเรียนก็จะนำข้อมูลเหล่านั้น มาทำการวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น บรรยาย สรุป สร้างแบบจำลอง รูปวาด ตาราง กราฟ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเห็นแนวโน้มหรือความสัมพันธ์ของข้อมูล สรุปและอภิปราย ผลการทดลอง โดยอ้างอิงประจักษ์พยานอย่าง นำเสนอแนวคิดต่อไป ขั้นนี้จะทำให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ ใหม่ การค้นพบในชั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมมติฐาน แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปแบบใดก็ สามารถสร้างความรู้และช่วยนักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ เป็นต้น ขั้นที่ 5 การขยายความรู้ (Elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือ แนวคิดเดิมที่ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือนำแบบจำสองหรือข้อสรุปที่ได้ไปสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ถ้าใช้ อธิบายเรื่องราวต่างๆ ได้มากก็แสดงว่ามีข้อจำกัดน้อย ซึ่งก็จะช่วยให้เชื่อมโยง เกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ และ ทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น ครูควรจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ให้นักเรียนมีความรู้มากขึ้น และขยาย กรอบแนวคิดของตนเองและต่อเติมให้สอดคล้องกับประสบการณ์เดิม ครูควรส่งเสริมให้นักเรียนตั้งประเด็น เพื่ออภิปรายและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ขั้นที่ 6 การประเมินผล (Evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่านักเรียน รู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด ขั้นนี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาประมวลและปรับ ประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ ได้ ครูควรส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้ใหม่ที่ได้ไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมและสร้างเป็น องค์ความรู้ใหม่ นอกจากนี้ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตรวจสอบซึ่งกันและกัน ขั้นที่ 7 การนำความรู้ไปใช้ (Extension) ครูจะต้องมีการจัดเตรียมโอกาสให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้ ไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน ครูเป็นผู้ทำหน้าที่กระตุ้นให้นักเรียน สามารถนำความรู้ไปสร้างความรู้ใหม่ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 35 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 2.3 บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง บทบาทของครู บทบาทของนักเรียน 1. การสร้างความสนใจ (Engagement) 1. สร้างความสนใจ 2. สร้างความอยากรู้อยากเห็น 3. ตั้งคำถาม กระตุ้นให้นักเรียนคิด 4. ให้เวลานักเรียนคิดก่อนตอบคำถาม หรือไม่เร่งเร้าใน การตอบคำถาม 1. ตั้งคำถาม 2. ตอบคำถาม 3. แสดงความคิดเห็น 4.กำหนดปัญหาหรือเรื่องที่จะสำรวจตรวจสอบให้ ชัดเจน 5. ดึงเอาคำตอบหรือความ คิดที่ยังไม่ชัดเจนไม่สมบูรณ์ 6. เปิดโอกาสให้นักเรียนทำความกระจ่างในปัญหาที่จะ สำรวจตรวจสอบ 7. เปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกหรือกำหนดปัญหาที่จะ สำรวจตรวจสอบ 5. แสดงความสนใจ 2. การสำรวจและค้นหา (Exploration) 1. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้วิเคราะห์กระบวนการสำรวจ ตรวจสอบ 2. ซักถามเพื่อนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบ 3. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำงานร่วมกันในการสำรวจ ตรวจสอบ 4. ให้เวลานักเรียนในการคิดไตร่ตรองปัญหา 5. สังเกตการณ์ทำงานของนักเรียน 6. ฟังการโต้ตอบกันของนักเรียน 7. ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษา 8. อำนวยความสะดวก 1. คิดอย่างอิสระ แต่อยู่ในขอบเขตของกิจกรรม 2. ตั้งสมมติฐาน 3. พิจารณาสมมติฐานที่เป็นไปได้โดยการอภิปราย 4. ระดมความคิดเห็นในการแก้ปัญหาในการสำรวจ ตรวจสอบ 5. ตรวจสอบสมมติฐานอย่างเป็นระบบ ขั้นตอน ถูกต้อง 6. บันทึกการสังเกตหรือผลการสำรวจตรวจสอบ อย่างเป็นระบบ ละเอียดรอบคอบ 7. กระตือรือร้นมุ่งมั่นในการสำรวจตรวจสอบ 3. การอธิบาย (Explanation) 1. ส่งเสริมให้นักเรียนได้อธิบายผลการสำรวจตรวจสอบ และแนวคิดด้วยคำพูดของนักเรียนเอง 2. ให้นักเรียนอธิบายโดยเชื่อมโยงประสบการณ์ความรู้ เดิม และสิ่งที่ได้เรียนรู้ หรือสิ่งที่ได้ค้นพบเข้าด้วยกัน 3. ให้นักเรียนอธิบายโดยมีเหตุผล หลักการ หรือ หลักฐานประกอบ 1. อธิบายการแก้ปัญหาหรือผลการสำรวจตรวจ สอบที่ได้ 2. อธิบายผลการสำรวจตรวจสอบสอดคล้องกับ ข้อมูล 3. อธิบายแบบเชื่อมโยงสัมพันธ์และมีเหตุผล หลักการ หรือหลักฐานประกอบ
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 36 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 บทบาทของครู บทบาทของนักเรียน 3. การอธิบาย (Explanation) 4. ให้ความสนใจกับคำอธิบายของนักเรียน 5. ส่งเสริมให้นักเรียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน สมเหตุสมผล 4. ฟังการอธิบายของผู้อื่น แล้วคิด วิเคราะห์ 5.อภิปรายซักถามเกี่ยวกับสิ่งที่เพื่อนอธิบาย 4. การขยายความรู้ (Elaboration) 1. ส่งเสริมให้นักเรียนอธิบายอย่างละเอียดชัดเจน สมบูรณ์ และอภิปรายแสดงความคิด เห็นเพิ่มเติม หรือ เติมเต็มหรือขยายแนวความ คิด และทักษะจากการ สำรวจตรวจสอบ 2. ส่งเสริมให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้จากการสำรวจ ตรวจสอบกับความรู้อื่น ๆ 3. ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมหรือเติมเต็ม หรือขยายกรอบความรู้ความคิด 1. ใช้ข้อมูลจากการสำรวจตรวจสอบไปอธิบายหรือ ทักษะ จากการสำรวจตรวจสอบไปใช้ในสถานการณ์ ใหม่ที่คล้ายกับสถานการณ์เดิม 2. นำข้อมูลจากการสำรวจตรวจสอบไปสร้างความรู้ ใหม่3. นำความรู้ใหม่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมเพื่อ อธิบาย หรือนำไปใช้ในชีวิต ประจำวัน 5. การประเมินผล (Evaluation) 1. ถามคำถามเพื่อนำไปสู่การประเมิน 2. ส่งเสริมให้นักเรียนประเมินกระบวนการและผลงาน ด้วยตนเอง 3. ให้นักเรียนวิเคราะห์สิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขในการ สำรวจตรวจสอบ ทั้งกระบวนการและองค์ความรู้ที่ได้ 1. วิเคราะห์กระบวนการสร้างองค์ความรู้ของตนเอง 2. ถามคำถามที่เกี่ยวข้องจากการสังเกต หลักฐาน และคำอธิบายเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน สมบูรณ์ และอาจนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบใหม่ 3. ประเมินกระบวนการและองค์ความรู้ของตนเอง 3. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning Model: PBL) 3.1 ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนมีทักษะในการสืบค้นข้อมูล กระบวนการคิด การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการกลุ่ม การบันทีกและการอภิปราย โดยผู้เรียนสร้างความรู้ขึ้นจากกระบวนการทำงาน เพื่อฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ และยังมุ่งพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะการวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง อาศัยแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดจาก การลงมือทำด้วยตนเอง (Learning by Doing) โดยใช้ปัญหาเป็นเครื่องมือในการการเรียนรู้ ผู้เรียนได้เผชิญกับ ปัญหาในสถานการณ์จริง เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความความสงสัย ต้องการแสวงหาความรู้เพื่อตอบข้อสงสัย หรือจัดการกับปัญหานั้น ๆ เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการคิดและแก้ปัญหา ซึ่งจะช่วย พัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิต และเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้จากปัญหาหรือการเรียนรู้แบบ PBL (Problem-Based Learning) เป็นวิธีการเตรียมพร้อม ให้ผู้เรียนสามารถรับมือกับปัญหา หัดเป็นนักแก้ปัญหา โดยครูเป็นโค้ช (Coach) หรือผู้ให้ความช่วยเหลือ เท่านั้น วิธีการสอนแบบนี้จะเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในการแสวงหาความรู้ และรู้จักการรวมกลุ่มทำงาน
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 37 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 เป็นทีมเพื่อแก้ไขปัญหา โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถนำทักษะที่ได้มาใช้ในการแก้ปัญหา ในชีวิตประจำวันได้ ปัญหาที่ครูนำมาใช้นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกับความรู้ที่เรียนหรือนำมาจากสถานการณ์จริงก็ได้ ภาพแสดงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้จากปัญหา กระบวนการและคำตอบ ลักษณะสำคัญของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ PBL มีดังนี้ 1) ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง (student-centered learning) 2) จัดผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย ๆ ให้มีจำนวนกลุ่มละประมาณ 5 – 8 คน 3) ผู้สอนทำหน้าที่ เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) หรือผู้ให้คำแนะนำ (guide) 4) ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น (สิ่งเร้า) ให้เกิดการเรียนรู้ 5)ลักษณะของปัญหาที่นำมาใช้ ต้องมีลักษณะคลุมเครือ ไม่ชัดเจน มีวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างหลากหลาย อาจมีคำตอบได้หลายคำตอบ 6) ผู้เรียนเป็นผู้แก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง (self-directed learning) 7)การประเมินผล ใช้การประเมินผลจากสถานการณ์จริง (authentic assessment) ดูจากความสามารถใน การปฏิบัติของผู้เรียนในขณะทำกิจกรรมการเรียนรู้(Learning process) และพิจารณาจากผลงานที่เกิดขึ้น จากการเรียนรู้ (Learning product) การดำเนินการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จะมีขั้นตอนหลัก 3 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 การจัดเตรียมการเรียนการสอน ได้แก่ - การกำหนดวัตถุประสงค์ และเนื้อหาพื้นฐานที่ผู้เรียนต้องแสวงหาความรู้ - การกำหนดปัญหาให้สอดคล้องกับสภาพจริง ของสังคมและแนวทางการประเมินผล ขั้นที่ 2 การดำเนินการจัดการเรียนรู้(แจกแจงรายละเอียดในกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ ทั้ง 5 ขั้นตอน) 1) ระบุปัญหา (Problem Identification) 2) การแสวงหาข้อมูลด้วยตนเอง (Self-directed Learning) 3) การเรียนการสอนในกลุ่มย่อย (Small Group Tutorial Learning)
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 38 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ขั้นที่ 3 การประเมินผล การประเมินผลการเรียนการสอน ผู้เรียนประเมินผลตนเอง (Self-Evaluation) และการประเมินผล การปฏิบัติการของสมาชิกกลุ่ม (Peer Evaluation) โดยเน้นที่กระบวนการเรียนของผู้เรียน ใช้การประเมินจาก สภาพจริง (Authentic Assessment) ที่ดูจากความสามารถในการปฏิบัติงาน 3.2 กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ชั้น ดังนี้ (สำนักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา, 2550) ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา เป็นขั้นที่ผู้สอนจัดสถานการณ์ต่าง ๆเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและ มองเห็นปัญหา สามารถกำหนดสิ่งที่เป็นปัญหาที่ผู้เรียนอยากรู้อยากเรียนได้ และเกิดความสนใจที่จะค้นคว้าหา คำตอบ ขั้นที่ 2 ทำความเข้าใจกับปัญหา ผู้เรียนจะต้องทำความเข้าใจกับปัญหาที่ต้องการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียน สามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาได้ ขั้นที่ 3 ดำเนินการศึกษาค้นคว้า ผู้เรียนต้องกำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ หรือสิ่งที่จะ ดำเนินการศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเองด้วยวิธีการที่หลากหลาย ขั้นที่ 4 สังเคราะห์ความรู้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกัน อภิปรายผลและสังเคราะห์ความรู้ที่ได้มาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด ขั้นที่ 5 สรุปและประเมินค่าคำตอบ ผู้เรียนสรุปผลงานของกลุ่มและประเมินผลงานว่าข้อมูลที่ได้ศึกษาค้นคว้า มามีความเหมาะสมหรือไม่ เพียงใด โดยพยายามตรวจสอบแนวคิดภายในกลุ่มของตนเองอย่างอิสระ และทุกกลุ่ม ช่วยกันสรุปองค์ความรู้ในภาพรวมของปัญหาอีกครั้ง ขั้นที่ 6 นำเสนอและประเมินผลงาน ผู้เรียนนำข้อมูลที่ได้มาจัดระบบองค์ความรู้และนำเสนอผลงาน ในรูปแบบที่หลากหลาย นักเรียนทุกกลุ่มรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาร่วมกัน ประเมินผลงาน 3.3 บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง บทบาทของครู บทบาทของนักเรียน 1. เป็นผู้คอยกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากค้นคว้าหาความรู้ใน การคิดแก้ปัญหา โดยใช้การวิธีการตั้งคำถามที่เหมาะสม และเป็นคำถามปลายเปิดที่ต้องการคำอธิบาย 1. ผู้เรียนต้องปรับทัศนคติในบทบาทหน้าที่และการ เรียนรู้ของตนเอง 2. เป็นผู้แนะนำและช่วยสนับสนุนด้านสื่ออุปกรณ์ หนังสือ หรือเอกสารที่ให้ผู้เรียนสามารถค้นหาคำตอบที่ ต้องการได้ โดยที่ผู้เรียนจะต้องไปศึกษาด้วยตนเอง 2. ผู้เรียนต้องมีคุณลักษณะด้านการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มี ความรับผิดชอบสูง รู้จักการทำงานร่วมกันอย่างเป็น ระบบ 3. เป็นผู้คอยกำกับดูแลให้ผู้เรียนในกลุ่มได้แสดงความรู้ที่ ตนค้นคว้ามา และสามารถอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่ ตนรู้ 3. ผู้เรียนต้องได้รับการวางพื้นฐาน และฝึกทักษะที่จำเป็นในการ เรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เช่น กระบวนการคิด การสืบค้นข้อมูล การทำงานกลุ่ม การอภิปราย การ สรุป การนำเสนอผลงาน และการประเมินผล
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 39 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 4. เป็นผู้จัดเตรียมประสบการณ์การเรียนรู้และจัดเตรียม ทรัพยากรการเรียนรู้ที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนจัดระบบ การเรียนและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง 4. ผู้เรียนต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดี สามารถสื่อสาร ได้ตรงตามจุดมุ่งหมาย 5. เป็นผู้ช่วยเหลือให้แนวทาง มีส่วนร่วมในการอภิปรายและ ให้แรงจูงใจในการเรียนรู้ เพื่อที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงประเด็น ที่ศึกษา และต้องชี้แนะข้อบกพร่องให้แก่ผู้เรียนอีกด้วย 4. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning Model: PBL) 4.1 ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ เป็นการเรียนรู้ที่จัดประสบการณ์ในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้เรียนเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริงอย่างมี ระบบ เพื่อเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ตรง ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา วิธีการหาความรู้ความจริง อย่างมีเหตุผล ได้ทำการทดลอง ได้พิสูจน์สิ่งต่างๆด้วยตนเอง รู้จักการวางแผนการทำงาน ฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม ตลอดจนได้พัฒนากระบวนการคิดโดยเฉพาะการคิดขั้นสูง และการประเมินตนเอง โดยมีครูเป็นผู้กระตุ้นเพื่อ นำความสนใจที่เกิดจากตัวผู้เรียนมาใช้ในการทำกิจกรรมค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเอง นำไปสู่การเพิ่มความรู้ที่ ได้จากการลงมือปฏิบัติ การฟัง และการสังเกตจากผู้รู้ โดยผู้เรียนมีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม ที่จะน ามาสู่การสรุปความรู้ใหม่ มีการเขียนกระบวนการจัดทำโครงงานและได้ผลการจัดกิจกรรมเป็นผลงาน แบบรูปธรรมนอกจากนี้การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ลักษณะสำคัญของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน มีดังนี้ 4.1.1 ยึดหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำงานตามระดับ ทักษะที่ตนเองมีอยู่ 4.1.2 เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active Learning) 4.1.3 เป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจและรู้สึกสบายใจที่จะทำ 4.1.4 ผู้เรียนได้รับสิทธิในการเลือกว่าจะตั้งคำถามอะไร และต้องการผลผลิตอะไรจากการทำโครงงาน 4.1.5 ครูทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์และจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน สนับสนุนการแก้ไขปัญหา และสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน 4.1.6 ผู้เรียนกำหนดการเรียนรู้ของตนเอง 4.1.7 เชื่อมโยงกับชีวิตจริง สิ่งแวดล้อมจริง 4.1.8 มีฐานจากการวิจัย ศึกษา ค้นคว้า หรือ องค์ความรู้ที่เคยมี 4.1.9 ใช้แหล่งข้อมูล หลายแหล่ง 4.1.10 ฝังตรึงด้วยความรู้และทักษะต่าง ๆ 4.1.11 สามารถใช้เวลามากพอเพียงในการสร้างผลงาน 4.1.12 มีผลผลิต
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 40 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 4.2 กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อม ครูเตรียมมอบหมายโครงงานโดยระบุในแผนการสอนในชั้นเรียนครู อาจกำหนดขอบเขตของโครงงานอย่างกว้าง ๆ ให้สอดคล้องกับรายวิชา หรือความถนัดของ นักเรียน ขั้นที่ 2 การคิดและเลือกหัวข้อ ให้นักเรียนเป็นผู้สร้างทางเลือกในการออกแบบโครงงานเพื่อเปิด โอกาสให้รู้จักการค้นคว้าและสร้างสรรค์ความรู้เชิงนวัตกรรม ครูอาจให้ผู้เรียนทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ก่อน เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกหัวข้อ การทำงานเป็นทีม กระตุ้นให้เกิด brain storm ขั้นที่ 3 การเขียนเค้าโครง เป็นการสร้าง mind map แสดงแนวคิด แผน และขั้นตอนการทำโครงงาน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมองเห็นภาระงาน บทบาท และระยะเวลาในการดำเนินงาน ทำให้สามารถปฏิบัติโครงงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขั้นที่ 4 การปฏิบัติโครงงาน นักเรียนลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ในเค้าโครงของโครงงาน ถ้ามีการ วางเค้าโครงเอาไว้แล้ว นักเรียนจะรู้ได้เองว่าจะต้องทำอะไรในขั้นตอนต่อไป โดยไม่ต้องรอถามครู ในระหว่าง การดำเนินการครูผู้สอนอาจมีการให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ขั้นที่ 5 การนำเสนอโครงงาน นักเรียนสรุปรายงานผล โดยการเขียนรายงาน หรือ การนำเสนอใน รูปแบบอื่น ๆ เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์ จัดนิทรรศการ รายงานหน้าชั้นเรียน ส่งงานทางเว็บไซต์ หรืออีเมล ขั้นที่ 6 การประเมินผลโครงงาน ควรมีการประเมินผลการเรียนรู้โดยหลากหลาย เช่น นักเรียน ประเมินตนเอง ประเมินซึ่งกันและกัน ประเมินจากบุคคลภายนอก การประเมินจะไม่วัดเฉพาะความรู้หรือ ผลงานสุดท้ายเพียงอย่างเดียว แต่จะวัดกระบวนการที่ได้มาซึ่งผลงานด้วย ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning Model: PBL)
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 41 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 4.3 บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง บทบาทของครู บทบาทของนักเรียน 1. ใช้คำถามกระตุ้นการเรียนรู้ คำถามที่ใช้ในการกระตุ้น การเรียนรู้นั้น ต้องเป็นคำถามที่มีลักษณะเป็นคำถาม ปลายเปิด เพื่อให้ผู้เรียนได้อธิบาย โดยขึ้นต้นว่า “ทำไม” หรือ ลงท้ายว่า “อย่างไรบ้าง” “อะไรบ้าง” “เพราะอะไร” 1. นักเรียนระบุปัญหาตามความสนใจ 2. ทำหน้าที่เป็นผู้สังเกต ครูจะต้องคอยสังเกตว่า ผู้เรียน แต่ละคนมีพฤติกรรมอย่างไร ขณะปฏิบัติกิจกรรมเพื่อ หาทางชี้แนะ กระตุ้น หรือยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม 2. นักเรียนออกแบบการรวบรวมข้อมูลเพื่อหา คำตอบด้วยตนเอง 3. สอนให้ผู้เรียนเรียนรู้การตั้งคำถาม เมื่อผู้เรียนสามารถ ตั้งคำถามได้ จะทำให้ผู้เรียนรู้จักถามเพื่อค้นคว้าข้อมูล รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และร่วมแสดงความ คิดเห็นของตนเองในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ 3. นักเรียนใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 4. ให้คำแนะนำเมื่อผู้เรียนเกิดข้อสงสัย ครูจะต้องเป็นผู้ คอยแนะนำ ชี้แจง ให้ข้อมูลต่าง ๆ หรือยกตัวอย่าง เหตุการณ์ใกล้ตัวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของ ผู้เรียนเชื่อมโยงไปสู่ความรู้ด้านอื่น ๆ ในขณะทำ กิจกรรมเมื่อผู้เรียนเกิดข้อสงสัย หรือคำถาม โดยไม่บอก คำตอบ 4. นักเรียนสามารถเข้าใจแนวคิดและความรู้พื้นฐาน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการทำโครงงาน 5. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดหาคำตอบด้วยตนเอง สังเกต และคอยกระตุ้นด้วยคำถามให้ผู้เรียนได้คิดกิจกรรมที่ อยากเรียนรู้และหาคำตอบในสิ่งที่สงสัยด้วยตนเอง 5. นักเรียนสามารถเรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือ การสื่อสาร การมีวิธีคิดเชิง วิพากษ์จากการเรียนรู้ปัญหาชุมชน สำรวจอาชีพที่ ตนเองสนใจ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ที่ให้คำแนะนำ 6. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ผลงานอย่างอิสระตาม ความคิดและความสามารถของตนเอง เพื่อให้ผู้ได้ใช้ จินตนาการและความสามารถของตนเองในการคิด สร้างสรรค์อย่างเต็มที่ 6. นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยี และสามารถ นำเสนองานให้กับผู้ฟังนอกเหนือจากในห้องเรียน ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 42 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 5. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (5 STEPs Collaborative Learning Process หรือ Collaborative 5 STEPs) 5.1 ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5ขั้นตอน (5 STEPs Learning Process) เรียกสั้น ๆคือ Collaborative 5 STEPs เป็นแนวการสอนที่มีการดัดแปลงมาจากกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน โดยเพิ่มเติมการทำงานกลุ่ม แบบรวมพลัง เพื่อให้มีการจัดการเรียนรู้บนฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ความหมายของ กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนเป็นแนวการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่ง ของการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งประยุกต์ความรู้ได้ บนฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์นักเรียนมีการปฏิบัติกิจกรรมแบบทำงานกลุ่มรวมพลัง โดยทุกคนร่วมด้วย ช่วยกัน เด็กเก่งช่วยเด็กเรียนช้ากว่า เด็กถนัดกว่าช่วยเด็กถนัดน้อย เพื่อให้มีความสุขในการเรียนรู้ บทบาทของ ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ (Learner) บทบาทของครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะของ กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (5 STEPs Learning Process) หรือ Co – 5STEPs เป็นแนวการจัดการเรียนรู้อยู่บนฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์ลักษณะ เด่น หลังการสร้างความรู้แล้วครูต้องมีการจัดกิจกรรมหรือให้นักเรียน นำความรู้ไปใช้ หรือประยุกต์ความรู้ ได้ ลักษณะเฉพาะผลงาน/ภาระงาน ไปตอบแทนสังคม เป็นการจัดการเรียนรู้เน้นการทำงานกลุ่มแบบรวมพลัง เด็กร่วมมือช่วยเหลือกันและกัน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาคกัน วิธีสอนสำคัญที่ใช้ใน Collaborative5 STEPs คือ วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ วิธีการจัดการเรียนรู้ แบบโครงงาน วิธีการจัดการเรียนรู้ต่าง ๆ ใช้กิจกรรมเป็นฐาน เช่น เกม กรณีตัวอย่าง บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลองใช้ประเด็นทางสังคม เทคนิคสำคัญที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้แนวนี้ เช่น เทคนิคพัฒนาการคิด การใช้คำถาม การใช้ผัง กราฟิก การใช้ใบกิจกรรม การใช้พหุปัญญา เป็นต้น และการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative Learning) โดยเฉพาะ Think-Pair-Share, Team-Pair-Solo, Pair-Discussion, Peer to Peer, Peer Tutoring, Peer Assessment, Round Robin Rally Robin, Rally Table , เป็นต้น 5.2 กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (5 STEPs Collaborative Learning Process หรือ Collaborative 5 STEPs) มี 5 ขั้นตอนดังนี้
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 43 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ขั้นที่ 1 ขั้นเสนอสิ่งเร้าและระบุคำถามสำคัญ (Stimulating and key Questioning Collaboratively) ลักษณะสำคัญ เป็นขั้นตอนที่ทำให้ผู้เรียนสงสัย (ask) จากการเสนอสิ่งเร้าของครูทบทวนประสบการณ์เดิมของ ผู้เรียน คือ การคาดคะเนคำตอบ หรือตั้งสมมติฐาน หรือจินตนาการคำตอบ ซึ่งครูไม่มีการเฉลยคำตอบ เทคนิค การคาดคะเนคำตอบ โดยให้นักเรียนตอบคำถามเป็นรายบุคคล ให้ตอบเป็นทีม ผู้เรียนอาจจับกลุ่มกัน คาดคะเนคำตอบร่วมกัน หรืออาจใช้วิธีการคิดคนเดียว คิดคู่ คิดเป็นทีม หรือเรียกว่า Think-Pair-Share หรือ Peer to Peer หรือ peer Tutoring ขั้นที่ 2 รวมแสวงหาสารสนเทศและวิเคราะห์อย่างรวมพลัง (Searching and Analyzing Collaboratively) ลักษณะสำคัญ เป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อพิสูจน์สมติฐาน เพื่อหาคำตอบของคำถามสำคัญโดย ครูอาจออกแบบให้ หรือ ครูกับผู้เรียนร่วมกันวางแผน ครูออกแบบการเก็บข้อมูลสารสนเทศให้เอง ด้วยการสร้างสื่อ การเรียนรู้ เช่น ใบกิจกรรม ใบงาน ใบทดลอง รวมทั้งใบความรู้ ครูอาจจะให้ผู้เรียนทำกิจกรมตามใบงาน ใบกิจกรรม หรือครูให้ผู้เรียนออกแบบวางแผนเอง โดยให้ผู้เรียนวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศพร้อมออกแบบ การนำเสนอผลการวิเคราะห์โดยใช้แบบต่าง ๆ หรือเรียกว่า ผังกราฟฟิก ขั้นที่ 3 รวมพลังอภิปรายและสร้างความรู้ (Discussing and Constructing Collaboratively) ลักษณะสำคัญเป็นขั้นสื่อความหมายข้อมูลหลังวิเคราะห์ข้อมูล ผู้เรียนมีการแปลความหมายข้อมูลเพื่อสรุปผล/ สร้างความรู้ด้วยตัวเอง เป็นขั้นที่ผู้เรียนมีการสะท้อนความคิดกัน แต่ละกลุ่มปรับแก้ไขความรู้ที่สร้างขึ้นเอง ครูเชื่อมโยงความรู้ที่ผู้เรียนสร้างไปยังความรู้ที่ถูกต้อง ครูอาจจะทำแบบฝึกหัด/นำเสนอ/อภิปรายหลังการทำ กิจกรรม เชื่อมโยงความรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้ที่ถูกต้องชัดเจน ขั้นที่ 4 สื่อสารและสะท้อนคิดอย่างรวมพลัง (Communicating and Reflecting Collaboratively) ลักษณะสำคัญเป็นขั้นตอนให้ผู้เรียนนำเสนอความรู้ความขณะที่ผู้เรียนนำเสนอเข้าใจที่ได้หน้าชั้นเรียนด้วย หลากหลายวิธีบทบาทสมมติ สัมมนา สนทนา รวมทั้งผลงานติดที่ผนังหรือกระดานหน้าชั้นเรียน ตามหลัก 3P Planning > วางแผนการพูด > ครูประเมินผลการนำเสนอด้วย Preparation > ซ้อม/เตรียม > แบบประเมินต่าง ๆ Presentation > เกณฑ์ระดับมิติคุณภาพ ขั้นที่ 5 รวมพลังประยุกต์และตอบแทนสังคม (Applying and Serving Collaboratively) ลักษณะ สำคัญเป็นขั้นตอนให้ผู้เรียนร่วมกันรวมพลังประยุกต์ความรู้ หรือนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ นักเรียน สร้างชิ้นงาน/ภาระงานใหม่ ได้แก่ รายงานโครงงาน (Innovation) ประเภทต่าง ๆโดยนักเรียนคิดริเริ่มหรือการนำ ความรู้ประยุกต์ ในสถานการณ์ใหม่ (Invention) รายงาน การบอกเล่า การถ่ายทอดความรู้ (Extension)
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 44 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 5.3 บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง ในการจัดการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (5 STEPs Learning Process) หรือ Co – 5STEPs ได้จำแนกบทบาทหน้าที่ของครูและนักเรียนดังนี้ บทบาทครู บทบาทนักเรียน ขั้นที่ 1 ขั้นเสนอสิ่งเร้าและระบุคำถามสำคัญ (Stimulating and key Questioning Collaboratively) 1. ครูนำเสนอสิ่งเร้าหลากหลายให้นักเรียนสังเกต 2. ครูอาจถามคำถามเอง หรือเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ตั้งคำถามได้ทั้งคำถามง่าย และคำถามยาก 3. ครูนำปรับ/เลือกคำถามของผู้เรียนให้สอดคล้อง กับสาระที่ครูต้องเตรียมสอน 4.ครูให้ผู้เรียนคาดคะเนคำตอบอาจเป็นรายบุคคล หรือทีมด้วยการใช้วิธีต่าง ๆ ให้ตรงกับคำถามที่ เตรียมไว้เป็นการสร้างเสริมทักษะอุปนัย 5. ครูต้องไม่เฉลยคำตอบ จากนั้นดำเนินการ จัดการเรียนรู้ต่อไป 1. ผู้เรียนสังเกตสิ่งเร้าด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าถ้าทำได้ พร้อม จดบันทึก (ใช้หลัก 3จ ที่ควรจำ : รู้จัก-จดจำ-จารึก) 2. ผู้เรียนตั้งคำถามเองโดยเป็นคำถามระดับพื้นฐาน (คำถาม ปลายปิด) หรือคำถามง่ายและคำถามระดับสูง (คำถาม ปลายเปิด) หรือคำถามยาก 3. ผู้เรียนร่วมเลือกคำถามสำคัญ (Key Question) เพื่อนำไปสู่ การหาความคิดหลัก (Big deal) หรือสาระที่จะสอน 4. ผู้เรียนต่างคาดคะเนคำตอบ โดยไม่ต้องกังวลว่าเป็นคำตอบ ที่ถูกหรือผิด ซึ่งไม่มีผลต่อคะแนนเป็นแนวทางให้ครูรู้ว่าผู้เรียน ทั้งห้องรู้หรือไม่รู้เท่านั้น เพื่อดำเนินการเรียนรู้ต่อไป 5. ผู้เรียนสนใจใคร่รู้คำตอบจึงต้องดำเนินการเรียนรู้ในขั้นต่อไป และวิเคราะห์อย่างรวมพลัง ขั้นที่ 2 รวมแสวงหาสารสนเทศและวิเคราะห์อย่างรวมพลัง (Searching and Analyzing Collaboratively) 1. ครูให้ผู้เรียนทำกิจกรรมตามใบงาน ใบกิจกรรม ใบทดลอง หรือครูให้ผู้เรียนออกแบบวางแผนเอง 2. ครูให้นักเรียนดำเนินการพิจารณาข้อมูล กลั่นกรองข้อมูลแล้วสรุปผล 3. ครูให้ผู้เรียนวิเคราะห์ข้อมูล/สารสนเทศพร้อม ออกแบบการนำเสนอผลการวิเคราะห์โดยใช้แบบ ต่าง ๆ ที่เรียกว่า ผังกราฟิก 1. ผู้เรียนทำกิจกรรมตามสื่อการเรียนรู้ที่ครูเตรียมในเวลาที่ กำหนด พร้อมบ่มเพาะนิสัยไปด้วย 2. ผู้เรียนดำเนินการพิจารณากลั่นกรองแล้วสรุปผลการ วิเคราะห์สารสนเทศที่จะนำมาใช้ 3. ผู้เรียนดำเนินการวิเคราะห์และอาจมีการใช้ตัวเลขและ ค่าสถิติพร้อมออกแบบการนำเสนอโดยใช้ผังกราฟิกให้ เหมาะสมกับข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ ขั้นที่ 3 รวมพลังอภิปรายและสร้างความรู้ (Discussing and Constructing Collaboratively) 1. ให้ผู้เรียนนำเสนอผลการสื่อความหมายของแต่ ละกลุ่ม 2. ครูอภิปรายหลังการทำกิจกรรม เพื่อให้นักเรียน สรุปผลได้เองทักษะต่าง ๆ 3. ครูนำเชื่อมโยงความรู้และเสริมความรู้ให้ผู้เรียน มีความรู้ที่ถูกต้องและชัดเจน 1. ผู้เรียนนำเสนอผลระหว่างกลุ่ม/หน้าชั้นเรียน และมีการ สะท้อนความคิด 2. ผู้เรียนร่วมอภิปราย ได้แก่ ภายในกลุ่ม (intragroup) ระหว่างกลุ่ม (intergroup) , หน้าชั้นเรียน (in class)จากนั้น ผู้เรียนแต่ละกลุ่มปรับผลการสร้างความรู้ 3. ผู้เรียนรับรู้และกลับไปปรับความรู้ที่ตนสร้างให้ถูกต้องตาม มโนทัศน์ที่ต้องเป็น
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 45 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ขั้นที่ 4 สื่อสารและสะท้อนคิดอย่างรวมพลัง (Communicating and Reflecting Collaboratively) 1. ครูให้ผู้เรียนเตรียมวางแผนการนำเสนอด้วย แบบ และลีลาต่าง ๆ หน้าชั้นเรียนอาจเสนอเดี่ยว หรือทีม 2. ขณะผู้เรียนนำเสนอ ครูประเมินผลการนำเสนอ ของผู้เรียนด้วยแบบประเมินต่าง ๆ รวมทั้งใช้ เกณฑ์ระดับมิติคุณภาพ 3. ครูให้ผู้เรียนสะท้อนการคิด 1.ผู้เรียนเตรียมนำเสนอผลงานความรู้ที่ได้ด้วยหลากหลายวิธี หลากหลายลีลา เช่น บทบาท สมมติ สัมมนา สนทนา ด้วย หลัก 3P เป็นต้น 2. ผู้เรียนนำเสนอผลงานด้วยความตั้งใจพูดและมีทีท่าอย่าง มั่นใจเพื่อผู้เรียนอาจประเมินผลเพื่อนด้วยกัน (Peer Evaluation) 3. ผู้เรียนสะท้อนกระบวนการเรียนรู้ข้อเด่น ข้อบกพร่อง จนได้ บทเรียน ขั้นที่ 5 รวมพลังประยุกต์และตอบแทนสังคม (Applying and Serving Collaboratively) 1. ครูกำหนดแนวทางการจัดทำชิ้นงาน ตามกรอบ เนื้อหาการจัดการเรียนรู้ 1. นักเรียนสร้างชิ้นงาน/ภาระงานใหม่ ได้แก่ รายงานโครงงาน (Innovation) ประเภทต่าง ๆ โดยนักเรียนคิดริเริ่มหรือการนำ ความรู้ประยุกต์ ในสถานการณ์ใหม่ (Invention) รายงาน การ บอกเล่า การถ่ายทอดความรู้ (Extension) 6. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning: BBL) 6.1 ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง (Brain Based Learning) โดยใช้สมองเป็นฐานเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของ สมอง หากสมองยังปฏิบัติตามกระบวนการทำงานปกติ การเรียนรู้ก็ยังจะเกิดขึ้นต่อไปการจัดการเรียนรู้ ที่ คำนึงว่าสมองมีความรู้ความจำได้นาน เมื่อมีการทบทวนความรู้เดิม การทบทวนซ้ำบ่อย ๆ และการนำความรู้ เดิมไปสัมพันธ์เชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้กว้างขวางขึ้น ทำให้เกิดความรู้ความจำได้นาน เพราะมีกิจกรรมที่ได้มีการทบทวนความรู้เดิม มีการนำเสนอ มีการซ้ำบ่อยๆจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และ กระตุ้นการทำงานของเซลล์สมอง สมองเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญที่สุดในร่างกายของคนเรา เพราะการที่มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ นั้นจะต้องอาศัยสมองและระบบประสาทเป็นพื้นฐานของการรับรู้ รับความรู้สึกจากประสาทสัมผัส ได้แก่ ตา ทำให้เห็น หูทำให้ได้ยิน จมูกทำให้ได้กลิ่น ลิ้นทำให้ได้รับรส และผิวกายทำให้เกิดการสัมผัส โดยการใช้ความรู้ ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับสมองเป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์ 6.2 กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักการสมองกับการเรียนรู้บนความคิดพื้นฐาน 3 ด้าน คือ อารมณ์เป็นส่วนสำคัญใน
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 46 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 การเรียนรู้ทุกขั้นตอน การเรียนรู้ต้องใช้ทุกส่วนทั้งการคิด ความรู้สึกและการลงมือปฏิบัติไปพร้อม ๆ กันจึงเป็น การเรียนรู้ที่ดีที่สุดกระบวนการและลีลานำไปสู่การสร้างแบบแผนอย่างมีความหมาย การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานไปใช้ สามารถดำเนินการได้อย่างยืดหยุ่น และสอดคล้องกับ บริบท ด้วยการคำนึงถึงขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และสามารถลำดับขั้นตอนได้ในขอบเขตของ STEP 1 - 5 ได้แก่ 1) ขั้นอุ่นเครื่อง (Warm-up) เพื่อให้ผู้เรียน พร้อมสู่การเรียน ให้สมอง ตื่นตัว พร้อมเรียน อาจเป็นการทำกิจกรรมต่าง ๆ การออกกำลังเพื่อขยับกายขยาย สมองก่อนเรียนให้ผู้เรียนเกิดความกระปรี้กระเปร่า 2) นำเสนอความรู้ (Present) ต้องคำนึงถึงสิ่งที่สำคัญ คือจะต้องมีสื่อนำเสนอที่ จูงใจ เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ และการรับรู้เนื้อหาของผู้เรียน 3) ลงมือเรียนรู้ฝึกทำฝึกฝน (Learn and Practice) ลงมือเรียนรู้ หรือลงมือทำ เพื่อให้ผู้เรียนเห็นจริง และเข้าใจสิ่งที่เรียนมากขึ้น 4) สรุปความรู้ (Summary) ผู้เรียนสรุปความรู้จากการเรียนรู้ โดยคำพูดของ ผู้เรียนจะสะท้อนว่าได้ หรือไม่ได้สิ่งใด ประเด็นใด 5) ประยุกต์ใช้ (Apply) ขั้นนำไปใช้ในชีวิตจริง อาจมีการสมมติสถานการณ์และให้ ผู้เรียนแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการนำไปใช้จริง ปฏิบัติจริง เป็น ประสบการณ์การเรียนรู้โดยมีการดำเนินการอื่นที่เชื่อมโยงกันด้วย วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง 1) การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะให้ เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการเพราะ อาหารจะทำให้เซลล์ประสาท/เซลล์สมองเจริญเติบโต ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 3) การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน 4)การฟังเพลง/ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง ดนตรีจะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงาน ของสมองทั้งสองซีก 5) การคลายความเครียด 6) การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะเร้าให้ สมองทำงาน อย่างดีเป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง การเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ครูจำเป็นต้องใช้กิจกรรมที่เป็นสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย การสาธิต การทำโครงงาน ทัศนศึกษา การรับรู้ประสบการณ์ด้วยการมองเห็นของจริง การเล่าเรื่อง ละคร และการมีปฏิสัมพันธ์ต่อคน หลาย ๆ ประเภท การเรียนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษาสามารถเรียนรู้ได้ในกระบวนการโดยผ่านเรื่องหรือ การเขียน ความสำเร็จขึ้นอยู่กับการใช้ประสาทสัมผัสและให้ผู้เรียนพบประสบการณ์ที่ซับซ้อนและมีความเกี่ยวข้อง
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 47 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 กันในเนื้อหา ครูไม่ควรเป็นเพียงผู้บรรยาย แต่ควรเป็นผู้กำกับที่ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อ การเรียนรู้ การส่งเสริมให้ผู้เรียนเผชิญกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นการเรียนรู้ ควรสร้างสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยเพื่อการเรียนรู้ โดยผ่านการเล่นแบบท้าทาย การเสี่ยง ความสนุกสนาน เป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้เกิดการเรียนรู้การถูกทำโทษอันเนื่องมาจากความผิดพลาดจะทำให้เป็น อุปสรรคต่อการเรียนรู้ครูจึงไม่ควรลงโทษผู้เรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเผชิญกับสถานการณ์ แวดล้อมที่กระตุ้นการเรียนรู้ การบริหารจัดการ และการบริหารงานวิชาการ โดยคำนึงถึงกุญแจ 5 ดอก กุญแจดอกที่ 1 สนามเด็กเล่น (Playground) เป็นสนามสำหรับผู้เรียนได้เล่น เพื่อออกกำลังกาย จะพัฒนาและจัดสมดุลการทำงานของสารสื่อประสาทของสมอง ต้องมีฐานที่หลากหลาย เช่น ปีน กระโดด มุด เล่นได้ต่อเนื่องอย่างน้อย 20 นาที เพื่อให้ร่างกายได้พัฒนาทุกกริยาบท เป็นการขยับกายขยายสมอง จะทำให้ เด็กมีสมาธิ เกิดการเรียนรู้ และการจดจำสูงขึ้น กุญแจดอกที่ 2 ห้องเรียนเปลี่ยนแปลงสมอง (Classroom) การสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียน จะมีส่วนช่วยให้สมองเพิ่มประสิทธิภาพ และสนองต่อการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น โดยองค์ประกอบหลัก ๆ ใน ห้องเรียน ควรมีลักษณะ ดังนี้ 1) โต๊ะ เก้าอี้ ต้องพร้อมใช้งาน สะอาด สวยงาม และมีสีอ่อน ผู้เรียนเห็นแล้วสบายตา รู้สึกสงบ และ จะช่วยให้ผู้สอนควบคุมชั้นเรียนได้ดี 2) บอร์ดความรู้ ควรเป็นบอร์ดที่ใช้งานง่าย ใช้ได้หลายครั้ง เช่น บอร์ดตระแกรง เป็นบอร์ดที่ตกแต่ง สวยงาม เป็นประโยชน์ต่อเรื่องที่เรียน และกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ 3) การจัดโต๊ะ เก้าอี้ มีการจัดโต๊ะที่หลากหลายสอดคล้องกับกิจกรรมหรือเทคนิคที่ใช้สอน โดยการจัดโต๊ะ ต้องมีความลื่นไหล คือพร้อมใช้งาน ใช้งานง่าย สอดคล้องกับกิจกรรม สะดวกต่อการเดิน 4) มุมการเรียนรู้ ควรมีมุมการเรียนรู้ต่าง ๆเพื่อเสริมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะ เกิดการเรียนรู้ตาม ความสนใจ ได้ความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากบทเรียน และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ กุญแจดอกที่ 3 กระบวนการเรียนรู้แบบ BBL (BBL Teaching & Learning) กระบวนการเรียนรู้แบบ BBL มีการเรียนการสอน 5 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 อุ่นเครื่อง ขั้นที่ 2 นำเสนอความรู้ ขั้นที่ 3 ลงมือเรียนรู้หรือลงมือทำ ขั้นที่ 4 สรุปความรู้ ขั้นที่ 5 นำไปใช้ในชีวิตจริง กุญแจดอกที่ 4 หนังสือ แบบฝึกหัด และใบงาน (Book & Worksheet) 3 สิ่งนี้ ต้องมีความสัมพันธ์ กับผู้เรียนให้มาก มีภาพประกอบตามความเหมาะสม มีคำศัพท์ประกอบ สมองจะเกิดการเรียนรู้ดีขึ้น เนื้อหา
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 48 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จะต้องมีความชัดเจน เข้าใจง่าย ตัวหนังสือต้องมีขนาดที่เหมาะสม มีการแบ่งส่วนคำสั่ง คำถาม คำตอบ หรือ เนื้อหาอย่างชัดเจน กุญแจดอกที่ 5 สื่อและนวัตกรรมที่กระตุ้นสมอง (Resources & Innovation) การจัดการเรียนการสอนจะต้องมีสื่อที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน โดยที่ใช้สื่อจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 1) ทำมาจากวัสดุที่หาง่าย และประหยัด 2) สื่อมีการตกแต่งสวยงาม กระตุ้นให้ตื่นตัว ท้าทาย อยากหยิบ อยากลอง อยากลงมือทำ 3) เป็นสื่อที่ใช้แล้วรู้สึกว่า การเรียนคือการลงมือปฏิบัติ ได้เล่น ได้สนุกกับเพื่อน 4) เป็นสื่อที่ใช้แล้วผู้เรียนรู้สึกมีแรงจูงใจอยากทำงานให้สำเร็จ 5) ผู้เรียนสามารถเลือกใช้สื่อที่ต้องการได้ในการทำงานให้สำเร็จ 6) มีพื้นที่เก็บสื่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อย แยกเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน สะดวกต่อการหยิบใช้
คู่มือนวัตกรรมส่งเสริมครูให้มีสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 49 รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 6.3 บทบาทผู้เกี่ยวข้อง บทบาทครู บทบาทนักเรียน 1. เป็นครูที่มีทักษะ “facilitator” เป็นผู้อำนวยการ เรียนรู้ ไม่ใช่ผู้ที่ยืนสอน 1. นักเรียนมีทักษะการอ่านและการเขียนดีขึ้น มี ทักษะความเข้าใจในเรื่องที่เขียนได้ดีขึ้น 2. เป็น “โค้ช”ที่คอยดึงศักยภาพและจุดเด่นของเด็ก ออกมา 2. นักเรียนมีความกล้าแสดงออก กล้าคิด กล้า ตัดสินใจมากขึ้น 3. ให้ Feed Forword กับเด็ก ชี้ให้เด็กเห็นสิ่งที่จะ พัฒนาต่อไปข้างหน้า 3. นักเรียนมีพัฒนาการและทักษะการเรียนรู้ที่ดีขึ้น และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น 4. เป็นผู้แนะแนวทางการศึกษาให้กับเด็ก 4. นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ที่ดีและมีความสุขใน 5. เป็นที่ปรึกษาเวลาที่เด็กมีคำถาม การเรียนรู้ 6. เน้นสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กอยากเรียนรู้ 7. เน้นตั้งคำถามให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง 8. สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้และแบ่งปัน 9. ครูทำงานเป็นทีมและเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ 7. รูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบการคิดขั้นสูงเชิงระบบ 5 ขั้นตอน (GPAS 5 Steps) 7.1 ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ ด้วยความที่รูปแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning นั้นเป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนจึงต้องมีเป้าหมายในการเรียนรู้ และรู้จักค้นหาแนวทางที่จะนำไปสู่โครงสร้างความรู้ที่มีความหมาย สอดคล้องกับข้อมูลเดิมที่มีอยู่ โดยอาศัยหลักของการสร้างความรู้ (Construction of Knowledge) ซึ่งผู้เรียน สามารถที่จะสร้างความรู้ได้ จากการเชื่อมโยงข้อมูลใหม่เข้ากับความรู้เดิมอย่างมีความหมาย ซึ่งการที่จะ ดำเนินการได้เช่นนั้น ผู้เรียนจะต้องมีเครื่องมือที่เป็นระบบความคิดที่มีประสิทธิภาพ กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS) จึงเป็นเครื่องมือชีวิตหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาไปถึงจุดนั้นได้อย่างเหมาะสม หลักการแนวคิดที่นำมาใช้เป็นพื้นฐานการออกแบบรูปแบบกระบวนการพัฒนาศักยภาพการจัดการ เรียนรู้สู่การเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนและนวัตกรรม ด้วยกระบวนการคิดคิดขั้นสูงเชิงระบบ 5 ขั้นตอน (GPAS 5 Steps) ในครั้งนี้ ได้สังเคราะห์หลักการแนวคิดทฤษฎีที่มีแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นหลัก ผสมผสานกับแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้สู่การเสริมสร้าง สมรรถนะผู้เรียนมาเป็นรูปแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน การคิดขั้นสูงเชิงระบบ 5 ขั้นตอน (GPAS 5 Steps) ประกอบด้วย 1. Gathering รวบรวม คัดเลือกข้อมูล 2. Processing จัดระบบข้อมูล ตัดสินใจนำาไปใช้ 3. Apply 1 ลงมือปฏิบัติ สรุปหลักการ