The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tong88181, 2022-12-01 04:30:08

มหาพระเวสสันดรชาดก

pdf_20221201_162943_0000

มหาเวสสันดรชาดก

คำนำ

รายงานการศึกษาค้นคว้า เรื่อง มหาชาติ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา
ภาษาไทยรหัสวิชา ท๓๑๑๐๒ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ
มหาชาติหรือพระเวสสันดรว่าง
การศึกษาค้นคว้า เรื่อง มหาชาติหรือพระเวสสันดร ข้าพเจ้า ได้
วางแผนดำเนินการศึกษา ตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ถึง ๒
ธันวาคม ๒๕๖๕ ซึ่งได้ศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ เช่น ศึกษา
หนังสือ วารสาร และแหล่งเรียนรู้จากเว็บไซต์
การจัดรายงานฉบับนี้ สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ด้วยดี ข้าพเจ้าขอ
ขอบพระคุณคุณครู สุชาติ พิบลูย์วรศักดิ์ ที่ให้คำปรึกษาในการการ
เขียนรายงานจนรายงานฉบับนี้สมบูรณ์ข้าพเจ้าหวังว่ารายงานฉบับนี้ที่
ได้เรียบเรียงมาคงเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจเป็นอย่างดี หากมีสิ่งใด
ในรายงานฉบับนี้ที่จะต้องปรับปรุงข้าพเจ้าน้อมรับในข้อชี้แนะและจะ
นำไปแก้ไขพัฒนาให้ถูกต้องสมบูรณ์ต่อไป

คณะผู้จัดทำ

สารบัญ หน้า

ผู้แต่ง ๒
ที่มาของเรื่อง
ลักษณะคำประพันธ์ ๓
จุดประสงค์
กัณฑ์ที่๑-๑๓ ๔
คำศัพท์ ๑๔
วิจารณ์ตัวละคร ๑๕
ฝนโบกขรพรรษ ๑๖
ทศชาติ ๑๗
ข้อคิด ๑๘
บรรณานุกรม ๒๒
รายชื่อสมาชิก ๒๓



ผู้แต่ง

๑. กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ ๕ กัณฑ์คือ
๑. ทศพร
๒. หิมพานต์
๓. มหาราช
๔. นครกัณฑ์

๒. พระบาทสมเด็จพระจอมเก้าเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์ ๓ กัณฑ์ คือ
๑. วนปเวสนื
๒. จุลพน
๓. สักบรรพ

๓.เจ้าพระยาพระคลัง ( หน ) นิพนธ์ ๒ กัณฑ์ คือ
๑. กุมาร
๒. มัทรี

๔. พระเทพโมลี ( กลั่น ) นิพนธ์ ๑ กัณฑ์ คือ มหาพน
๕. สำนักวัดถนน นิพนธ์ ๑ กัณฑ์ คือ ทานกัณฑ์
๖. สำนักวัดสัขจาย นิพนธ์ ๑ กัณฑ์ คือ ชูชก



ที่มาของเรื่อง

ที่มาของมหาเวสสันดรชาดกน่าจะเป็นเรื่องเล่าหรือนิทานของชาว
พื้นเมืองอินเดียมาก่อน พัฒนาการวรรณกรรมมหาพระเวสสันดร
ในระยะแรกพบว่า เวสสันดรชาดก เป็นชื่อในภาษาบาลี ส่วนภาษา
สันสกฤตเรียกว่า วิศวันตระอวทาน มีเนื้อเรื่องแตกต่างกันบาง
อนุภาค
มหาเวสสันดรชาดกมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "มหาชาติชาดก" ในการ
เทศนา เรียกว่า "เทศน์มหาชาติ" มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นอย่าง
น้อยเพราะปรากฏหลักฐานอยู่ในจารึกหลักที่ ๓ หรือจารึกนครชุม
ซึ่งจารึกขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐ ในรัชกาลของพระมหาธรรมราชาที่
๑หรือพญาลิไท ความว่า "…ธรรมเทศนาอันเป็นต้นว่า พระ
มหาชาติหาคนสวดแลมิได้เลย…"มหาชาติฉบับภาษาไทยที่เก่าแก่
ที่สุดที่มีต้นฉบับเหลือมายังปัจจุบัน เป็นของแต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ.
๒๐๒๕ ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงให้ราชบัณฑิต
แต่ง เรียกว่า มหาชาติคำหลวง แต่ต้นฉบับไม่สมบูรณ์ จากนั้นมี
ฉบับพระเจ้าทรงธรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๐ เรียกว่า กาพย์มหาชาติ



ลักษณะคำประพันธ์

แต่งแปลเป็นภาษาไทยใช้ฉันทลักษณ์เดียวคือ ร่ายยาว เพื่อใช้
สำหรับเทศน์ให้อุบาสกอุบาสิกได้ฟังกัน

จุดประสงค์

ร่ายยาวมหาเสสันดรชาดก แต่งขึ้นเพื่อใช้เทศน์มหาชาติ
เนื่องจากร่ายยาวหมาเสสันดรชาดกเป็นชาดกเรื่องใหญ่ที่สุด
เป็นชาติที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเสสันดรซึ่งเป็น
พระชาติสุดท้ายก่อนจะประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะแล้วเสด็จ
ออกผนวชกระทั่งได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเรื่อง
ราวในพระชาติที่เป็นพระเวสสันดรได้ทรงบำเพ็ญทศบารมี
ครบทั้ง ๑๐ ประการ โดนเฉพาะอย่างยิ่ง ทานบารมี ซึ่งทรง
บริจาคบุตรทารทาน คือ บริจาคพระชาลีพระกัณหา และพระนา
งมัทรี จึงเป็นชาติที่สำคัญและยิ่งใหญ่ เรียกว่า “มหาชาติ” หรือ
“มหาเสสันดรชาดก”



เนื้อเรื่องทั้ง ๑๓ กัณฑ์

กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์ประสาทพรแก่พระนางผุสดี ก่อนที่
จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร
ภาคสวรรค์ พระนางผุสดีเทพอัปสรสิ้นบุญ ท้าวสักกะเทวราชสวามีทรงทราบ
จึงพาไปประทับยังสวนนันทวันในเทวโลก พร้อมให้พร ๑๐ ประการ คือ ให้ได้
อยู่ในประสาทของพระเจ้าสิริราชแห่งนครสีพี ขอให้มีจักษุดำดุจนัยน์ตาลูก
เนื้อ ขอให้คิ้วดำสนิท ขอให้พระนามว่า ผุสดี ขอให้มีโอรสที่ทรงเกียรติยศ
เหนือกษัตริย์ทั้งหลายและมีใจบุญ ขอให้มีครรภ์ที่ผิดไปจากสตรีสามัญคือ
แบนราบในเวลาทรงครรภ์ ขอให้มีถันงามอย่ารู้ดำและหย่อนยาน ขอให้มี
เกศาดำสนิท ขอให้มีผิวงาม และข้อสุดท้ายขอให้มีอำนาจปลดปล่อยนักโทษ
ได้

กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์ เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรบริจาคทานช้างปัจจัย
นาค ประชาชนสีพีโกรธแค้นจึงขับไล่ให้ไปอยู่เขาวงกต
พระนางผุสดีได้จุติลงมาเป็นพระราชธิดาพระเจ้ามัททราช เมื่อเจริญ
ชนม์ได้ ๑๖ ชันษาจึงได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัย แห่งสีวิรัฐ
นคร ต่อมาได้ประสูติพระโอรสนามว่า “เวสสันดร”ในวันที่ประสูตินั้น
ได้มีนางช้างฉัททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึงนำมาไว้ในโรง
ช้างต้นคู่บารมีให้มีนามว่า “ปัจจัยนาค” เมื่อพระเวสสันดรเจริญชนม์
๑๖ พรรษา พระราชบิดาก็ยกสมบัติให้ครอบครองและทรงอภิเษกกับ
นางมัทรี พระราชบิดาราชวงศ์มัททราช มีพระโอรส ๑ องค์ชื่อ ชาลี
ราชธิดา ชื่อ กัณหา พระองค์ได้สร้างโรงทาน บริจาคทานแก่ผู้เข็ญใจ
ต่อพระเจ้ากาลิงคะแห่งนครกาลิงครัฐได้ส่งพราหมณ์มาขอ
พระราชทานช้างปัจจัยนาค พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาค
พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่พระเจ้ากาลิงคะ ชาวกรุงสัญ
ชัย จึงเนรเทศพระเวสสันดรออกนอกพระนคร



กัณฑ์ ๑

กัณฑ์ ๒



กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงแจกมหาสัตสดก
ทาน คือ การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่
ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลี และกัณหาออกจาก
พระนคร จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การ
ให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสี ทาสาสรรพวัตถา
ภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ ๗๐๐

กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศน์ เป็นกัณฑ์สี่กษัตริย์เดินดงบ่ายประพักตร์
สู่เขาวงกต
เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหนา
ศาลาพระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมือง แต่
พระเวสสันดรทรงปฏิเสธ และเมื่อเสด็จถึงถึงเขาวงกตได้พบศาลา
อาศรม ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของท้าวสักกะเทว
ราช กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนววชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรมสืบมา

กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก เป็นกัณฑ์ที่ชูชกได้นางอมิตตามาเป็นภรรยาและหมาย
จะได้โอรส และธิดาพระเวสสันดรมาเป็นทาส
ในแคว้นกาลิงคะมีพราหมณ์แก่ชื่อชูชก พนักในบ้านทุนวิฐะ เที่ยว
ขอทานในเมืองต่างๆ เมื่อได้เงินถึง ๑๐๐ กหาปณะ จึงนำไปฝากไว้กับ
พราหมณ์ผัวเมีย แต่ได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัวเมื่อชูชกมาทวงเงิน
คืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชก นางอมิตดาเมื่อมาอยู่ร่วมกับชู
ชกได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับ
ภรรยาตน หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตีนางอมิตดา
ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเป็นทาสรับใช้ เมื่อเดินทางมา
ถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพราหมณ์เจตบุตรผู้รักษาประตูป่า



กัณฑ์๓

กัณฑ์๔
กัณฑ์๕



กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน เป็นกัณฑ์ที่พรานเจตบุตรหลงชูชก และชี้ทางสู่อา
ศรมอจุตฤๅษี
ชูชกได้ชูกลักลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตรอ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของ
เจ้ากรุงสญชัยจึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี

กัณฑ์ที่ ๗ มหาพล เป็นกัณฑ์ป่าใหญ่ ชูชกหลอกหล่อจุตฤๅษีให้บอก
ทางสู่อาศรมพระเวสสันดรแล้วก็รอนแรมเดินไพรไปหา
เมื่อถึงอาศรมฤๅษี ชูชกได้พบกับจุตฤๅษี ชูชกใช้คารมหลอกหล่อน
จนอจุตฤๅษี ให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรมพระ
เวสสันดร

กัณฑ์ที่ ๘ กัณฑ์กุมาร เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงได้ทานสอง
โอรสแก่เฒ่าชูชก
พระนางมัทรีฝันร้ายเหมือนบอกเหตุแห่งการพลัดพรากรุ่งเช้าเมื่อ
นางมัทรีเข้าป่าหาอาหารแล้วชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร สอง
กุมารจึงพากันลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระพระเวสสันดรจึงลงเสด็จ
ติดตามสองกุมาร แล้วจึงมอบให้แก่ชูชก



กัณฑ์๖

กัณฑ์๗
กัณฑ์๘

๑๐

กัณฑ์ที่ ๙ กัณฑ์มัทรี เป็นกัณฑ์ที่พระนางมัทรีทรงได้ตัดความห่วงหาอาลัยในสายเลือด
อนุโมทนาทานโอรสทั้งสองแก่ชูชก
พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึกจนคล้อยเย็นจึงเดินทางกลับอาศรม แต่มีเทวดา
แปลงกายเป็นเสือนอนขวางทางจนค่ำ เมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรส พระเวสสันดรได้
กล่าวว่านางนอกใจ จึงออกเที่ยวหาโอรสและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์ พระองค์ทรง
ตกพระทัยลืมตนว่าเป็นดาบส จึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง เมื่อนางมัทรีฟื้ น
จึงถวายบังคมประทานโทษพระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสแก่ชูชกแล้ว
หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบนางจึงได้ทรงอนุโมทนา

กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ เป็นกรรณที่พระอินทร์เจ้าจำแลงกายเป็นพราหมณ์มาขอ
พระนางมัทรี แล้วสลบลงเมื่อได้พบ
ท้าวสักกะเทวราชเสด็จแปลงเป็นพราหมณ์เพื่อทูลขอนางมัทรีพระเวสสันดรจึง
พระราชทานให้พระนางมัทรีก็ยินดีอนุโมทนาเพื่อร่วมทานบารมีให้สำเร็จพระ
สัมโพธิญาณเป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวสะท้าน ท้าวสักกะเทวราชในร่าง
พราหมณ์จึงฝากนางมัทรีไว้ยังไม่รับไป ตรัสบอกความจริงและถวายคืนพร้อม
ถวายพระพร ๘ ประการ
เล็กน้อย

กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช เป็นกัณฑ์ที่เทพเจ้าจำแลงองค์องค์ทำนุบำรุงขวัญสอง
กุมารก่อนเสด็จนิวัติถึงมหานครสีพี
เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้ ส่วนตนปีนขึ้นไป
นอนบนต้นไม้เหล่าเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมาร จนเดินทางถึง
กรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์ เมื่อเสด็จลงหน้าลาน
หลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสองพระองค์ ทรงทราบ
ความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะเดโช
ธาตุไม่ย่อย ชาลีจูงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร ใน
ขณะเดียวกันเจ้านครกลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี

๑๑

กัณฑ์๙

กัณฑ์๑๐
กัณฑ์๑๑

๑๒

กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์ เป็นกัณฑ์ที่ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญีภาพสลบลงเมื่อได้พบ
หน้า ณ อาศรมดาบสที่เขาวงกต
พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา ๑ เดือน กับ ๒๓ วัน จึงเดินถึงเขาวงกต เสียงโห่ ร้อง
ของทหารทั้ง ๔ เหล่า พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนนครสีพี จึงชวน
นางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขาพระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดา ได้
ทรงตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหกกษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุด
ประมาณ รวมทั้งทหารเหล่าทัพ ทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืน ท้าวสักกะเทวราช
จึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหกกษัตริย์และหวยหาญได้หายเศร้าโศก

กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่หกกษัตริย์นำพยุหโยธาเสด็จนิวัติพระนคร
ททพระเวสสันดรขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดา
พระเจ้ากรุงสัญชัยตรัสสารภาพผิด พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระ
นางมัทรีและเสด็จกลับสู่สีพีนคร เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่
กักขัง ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมา
รับบริจาคทาน พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชนท้าวโกสีห์ได้ทราบจึง
บันดาลให้มีฝนแก้ว ๗ ประการ ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง พระ
เวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาตามปรารถนา ที่เหลือให้ขนเข้า
คลังหลวง ในการต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิ
ธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ

๑๓

กัณฑ์ ๑๒

กัณฑ์๑๓

๑๔

คำศัพท์ ความหมาย
ซากศพ
คำศัพท์
กเลวระ มองดู
เมิล
ปริภาษณา กล่าวโทษ
นิ่งมัธยัสถ์
พญาพาฬมฤคราช ไม่ยอมพูดจา

ราชาแห่งสัตว์
ร้ายที่กินสัตว์
อื่นเป็นอาหาร

สัตพิธรัตน์ แก้ว ๗ ประการ คือ
ทอง เงิน เพชร
มุกดาหาร ไพฑูรย์
ทับทิม และแก้ว
ประพาฬ

๑๕

วิจารณ์ตัวละคร

พระเวสสันดร
เป็นตัวละครที่มีบทบาทสาคัญ อยู่ในวรรณคดีเรื่องร่ายยาวมหา เวสสันดร
ชาดก มีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น หน่อพระชินศรีโมลีโลก สมเด็จ พระบรมนรา
พิสุทธิ์พุทธางกูร เป็นต้น เป็นพระโอรสของพระเจ้ากรุงสญชัย และพระนางผุ
สดีแห่งเมืองสีพี มี อุปนิสัยและพฤติกรรมที่สาคัญคือ การ บริจาคทาน

พระนางมัทรี เป็นตัว ละครประกอบอยู่ในวรรณคดี เร่ืองร่ายยาวมหาเวสสันดร
ชาดก มีช่ือเรียกต่างๆ กัน เช่น พระ สุณิสาศรีสะใภ้ นางแก้วกัลยาณี เป็นต้น
และเป็นพระมารดาของ กันหา ชาลี มีอุปนิสัยที่สาคัญคือ รักลูกรักสามี คอย
ดูแลพระ เวสสันดรและลูกก้

พระชาลี เป็นตัวละคร ประกอบอยู่ในวรรณคดีเรื่องร่าย ยาวมหา-เวสสันดรชาดก
มีชื่อเรียก ต่างๆ เช่น พ่อสายใจ พ่อหน่อน้อย ภาคีไนยนาถ เป็นต้น เป็นพระ
เชษฐาของพระกัณหา เมื่อเวลา ประสูติพระประยูรญาติได้ทรงนา ตาข่ายทอง
มารองรับ จึงได้รับ พระราชทานนามว่า ชาลี แปลว่า ผู้มีตาข่าย

พระกัณหา หรือ กัณหาชินา เป็นตัว ละครประกอบอยู่ในวรรณคดีเรื่องร่าย ยาว
มหาเวสสันดรชาดกเป็นพระธิดา ของพระเวสสันดรและพระนางมัทรี เป็นพระ
นัดดาของพระเจ้ากรุงสญชัย และพระนางผุสดี และเป็นพระกนิษฐา ของพระชาลี
พระกัณหาเป็นผู้หนึ่งที่ทา ให้พระเวสสันดรได้บาเพ็ญบุตรทาน บารมีซึ่งเป็นทาน
อันยิ่งใหญ่ที่มนุษย์ ทั้งหลายไม่สามารถทาได้นอกจากมหา บุรุษผู้ทรงหวังพระ
โพธิญาณเท่านั้น

๑๖

ฝนโบกขรพรรษ

ฝนโบกขรพรรษ
ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพระประยูรญาติ เมื่อพระองค์เสด็จ

ถึงพระนครกบิลพัสดุ์แล้ว ฝ่ายพระประยูรญาติมีพระเจ้าสุทโธ
ทนะเป็นประธานเสด็จมาต้อนรับ ต่างก็ยังมีทิฐิมานะแรงกล้าไม่
ยอมนอบน้อมนมัสการพระบรมศาสดา ด้วยเห็นว่าพระพุทธองค์
มีวัยอ่อนกว่าตนพระพุทธองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นเหตุดังนั้น
จึงทรงแสดงปาฏิหาริย์เสด็จลอยขึ้นไปจงกรมอยู่บนอากาศ ให้ธุลี
ละอองพระบาทหล่นลงมาบนพระเศียรเหล่าพระประยูรญาติ
ลำดับนั้นหมู่พระประยูรญาติต่างพากันคลายทิฐิมานะประคอง
อัญชลีนมัสการชื่นชมโสมนัสด้วยบุญญาภินิหารของพระพุทธ
องค์ ขณะนั้น “ฝนโบกขรพรรษ” ก็ตกลงมาเป็นที่น่าอัศจรรย์
ฝนโบกขรพรรษมีลักษณะ ดังนี้
๑. น้ำฝนมีสีแดงดังเท้านกพิราบ เสียงสนั่นลั่นออกไปดังสายฝน
ธรรมดา
๒. ผู้ใดปรารถนาจะให้เปียกกายจึงจะเปียก หากมิได้ปรารถนา
แม้แต่เม็ดหนึ่งก็มิได้เปียก
๓. เมื่อถูกกายแล้วจะหล่นสู่พื้นดินเสมือนหยาดน้ำที่ตกลงสู่ใบ
บัวแล้วกลิ้งตกลงไปฉะนั้น
๔. ไม่เจิ่งนองพื้นดิน เมื่อตกลงแล้วก็ซึมหายไปในแผ่นดินทันที

๑๗

ทศชาติ

ทศชาติชาดก เป็นชาดกที่สำคัญ กล่าวถึง ๑๐ ชาติสุดท้ายของ
พระโพธิสัตว์ ก่อนจะเสวยพระชาติมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า หรือ
เจ้าชายสิทถัตถะ แห่งศากยวงศ์ ชาดกทั้ง ๑๐เรื่อง เพื่อให้จำง่าย
มักนิยมท่องโดยใช้พยางค์แรกของแต่ละชาติ คือ เต ช สุ เน ม ภู
จ นา วิ เว

คำว่า ชาตก หรือ ชาดก แปลว่า ผู้เกิด คือเล่าถึงการที่
พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในชาติต่างๆ ได้
พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้างชั่วบ้าง แต่ก็ได้พยายามทำความดี
ติดต่อกันมากบ้างน้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติ
สุดท้าย กล่าวอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่า เรื่องชาดกเป็นวิวัฒนาการแห่ง
การบำเพ็ญคุณงามความดี ของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ยังเป็นพระ
โพธิสัตว์อยู่ก็ได้ ในอรรถกถาแสดงด้วยว่า ผู้นั้นผู้นี้กลับชาติมา
เกิดเป็นใครในสมัยพระพุทธเจ้า แต่ในบาลีพระไตรปิฎกกล่าวถึง
เพียงบางเรื่อง เพราะฉะนั้น สาระสำคัญจึงอยู่ที่คุณงามความดีและ
อยู่ที่คติธรรมในนิทานนั้นๆ

๑๘

ข้อคิด

ข้อคิดในมหาเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์
๑.กัณฑ์ทศพร
ข้อคิดประจำกัณฑ์
การทำบุญจักให้สำเร็จสมประสงค์ต้องอธิษฐานจิตตั้ง เป้าหมายชีวิตที่ตน
ปรารถนาไว้ ความปรารถนาที่จะสำเร็จสมดังตั้งใจผู้นั้นต้องมีศีลบริบูรณ์
กล่าวคือ
๑. ต้องกระทำความดี
๒.ต้องรักษาความดีนั้นไว้
๓. หมั่นเพิ่มพูนความดีให้มากยิ่งขึ้น

๒.กัณฑ์หิมพานต์
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑.คนดีเกิดมานำพาโลกให้ร่มเย็น
๒. โลกต้องการผู้เสียสละมิฉะนั้นหายนะจะบังเกิด
๓. การทำดีย่อมมีอุปสรรค "มารไม่มีบารมีไม่มามารยิ่งมาบารมียิ่งแก่กล้า"
๔. จุดหมายแห่งการเสียสละอยู่ที่พระโพธิญาณมิหวั่นไหวแม้จะได้รับทุกข์

๓.ทานกัณฑ์
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑.ความรักของแม่ ความห่วงของเมีย
๒.โทษทัณฑ์ของการเป็นหม้าย คือถูกประนามหยามหมิ่นอาจถึงจบชีวิต
ด้วยการก่อกองไฟให้รุ่งโรจน์แล้วโดดฆ่าตัวตาย
๓.เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม พึงยอมเสียสละประโยชน์สุขส่วนตัว
๔. ยามบุญมีเขาก็ยกยามตกต่ำเขาก็หยาม ชีวิตมีทั้งชื่นบานและขื่นขม

๑๙

๔.วนประเวศน์
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. ยามเห็นใจ ยามจน ยามเจ็บ ยามจากเป็นยามที่ควรจะได้รับ
ความเหลียวแล
๒. ผลดีของมิตรแท้ คือ ไม่ทอดทิ้งในยามเพื่อนทุกข์ ช่วยอุ้มชูยาม
เพื่อนอ่อนล้า ช่วยฉุดดึงยามเพื่อนตกต่ำ
๓. น้ำใจของคนดี หากรู้ชัดว่าปกติสุขของคนส่วนมากจะตั้งอยู่ได้
เพราะการเสียสละของตน ก็สมัครสลัดโอกาสและโชคลาภอันจะ
พึงได้ ด้วยความชื่นชม

๕.กัณฑ์ชูชก
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑.ของที่รักและหวงแหน ที่โบราณห้ามฝากผู้อื่นไว้คือ เงิน ม้า เมีย
ยิ่งน้องเมียห้ามฝากเด็ดขาด อันตรายมาก
๒.ภรรยาที่ดีย่อมไม่ย่อหย่อนต่อหน้าที่ ข้าวดำ น้ำตัก ฟืนตอหักหา
น้ำร้อน น้ำชาเตรียมไว้เสร็จ
๓.ของไม่คู่ควรย่อมมีปัญหา ตำราหิโตปเทศกล่าวว่า "ความรู้เป็น
พิษเพราะเหตุที่ไม่ใช้ อาหารเป็นพิษเพราะเหตุไฟธาตุไม่ย่อย เมีย
สาวเป็นพิษเพราะผัวแก"

๖.กัณฑ์จุลพน
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. มีอำนาจหากขาดปัญญาย่อมถูกหลอกได้ง่าย
๒. คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนฉลาด
๓. ไว้ใจทาง วางใจคน จะจนใจตัว

๒๐

๗.กัณฑ์มหาพน
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. ฉลาดแต่ขาดเฉลียว มีปัญญาแต่ขาดสติก็เสียทีพลาดท่าได้
๒. สงสารฉิบหาย เชื่อง่ายเป็นทุกข์
๓. คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ซื้อเสื่อให้ดูลาย

๘.กัณฑ์กุมาร
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. ความเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ ไม่ผลีผลามเข้าไปขอรอจนพระมัทรีเข้าป่า
จึงเข้าเฝ้า เพื่อของสองกุมาร เป็นเหตุให้ชูชกประสบผลสำเร็จใจสิ่งที่
ตนปรารถนา ดังภาษิตโบราณว่า "ช้า ๆ จะได้พร้าเล่มงาม ด่วนได้สาม
ผลามมักพลิกแพลง" ช้าเป็นการนานเป็นคุณ ผู้รู้จักโอกาส มีมารยาท
กล้าหาญ ใจเย็น เป็นสำเร็จ
๒. พ่อแม่ทุกคนรักลูกเหมือนกัน แต่เป็นห่วงไม่เท่ากัน ห่วงหญิง
มากกว่าห่วงชาย เพราะท่านเปรียบไว้ว่า "ลูกหญิงเหมือนข้าวสาร
ลูกชายเหมือนข้าวเปลือก"
๓. สติ เตสัง นิวารณัง สติเป็นเครื่องป้องกันอันตรายทั้งปวงได้ ขันติ
สาหสวารณา ขันติป้องกันความหุนหันพลันแล่นได้เป็นเหตุให้พระ
เวสสันดรไม่ประหารชูชกด้วยพระขรรค์ เมื่อถูกชูชกประนาม
๔. วิสัยหญิงนั้น แม้จะมากอยู่ด้วยเมตตากรุณา ชอบปลดเปลื้องทุกข์
แก่ผู้อื่นก็จริงอยู่ แต่เว้นอย่างเดียว ที่ผู้หญิงนั้นไม่มีวันจะสละสิ่งนั้น คือ
"ลูก"

๒๑

๙.กัณฑ์มัทรี
ข้อคิดประจำกัณฑ์
ลูกคือแก้วตาดวงใจของผู้เป็นพ่อแม่ "ลูก ดีเป็นที่ชื่นใจของพ่อแม่ ลูกแย่พ่อ
แม่ช้ำใจ" รักใครเล่าจะเท่าพ่อแม่รัก ห่วงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่ห่วง หวงใดเล่าจะ
เท่าพ่อแม่หวง ให้ใครเล่าจะเท่าพ่อแม่ให้ เพราะฉะนั้นพึงเป็นลูกแก้ว ลูกขวัญ
ลูกกตัญญู ที่ชาวโลกชื่นชม พรหมก็สรรเสริญฯ

๑๐.กัณฑ์สักกบรรพ
ข้อคิดประจำกัณฑ์
การทำดีแม้ไม่มีคนเห็น ก็เป็นความดีอยู่วันยังค่ำ ดุจทองคำแม้จะอยู่ในตู้โชว์
หรือในกำปั่ นก็เป็นทองคำอยู่นั่นเอง เข้าลักษณะว่า ความ(ของ)ดีดีเด็ดเหมือน
เพชรเหมือนทอง ถึงไร้เจ้าของก็เหมือนตัวยัง ถึงใส่ตู้อุด ถึงขุดหลุมฝัง ก็มีวัน
ปลั่งอะหลั่งฉั่งชู การทำความดีแม้ไม่มีคนเห็น แต่เทพยดาอารักษ์เบื้องบนท่าน
ย่อมรู้

๑๑.กัณฑ์มหาราช
ข้อคิดประจำกัณฑ์
คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ย่อมได้รับความปกป้องคุ้มครองภัยในที่ทุก
สถาน

๑๒.กัณฑ์ฉกษัตริย์
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. พรากมีวันพบ จากมีวันเจอ จากกันยามเป็นได้เห็นน้ำใจจากกันยามตายได้
เห็นน้ำตา
๒. การให้อภัยเป็นเพราะได้สำนึกเป็นเหตุให้ลบรอยร้าวฉานบันดาลสันติสุข
แก่ส่วนรวม
๓. สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้ผิด บรรพชิตยังรู้เผลอ ความผิดพลาดเป็น
เรื่องของมนุษย์ แต่การให้อภัยเป็นวิสัยของเทวดา

๑๓.นครกัณฑ์
ข้อคิดประจำกัณฑ์
การทำความดี ย่อมได้รับผลดีตอบแทน การใช้ธรรมะในการปกครองย่อม
ทำให้เกิดความสงบร่มเย็น

๒๒

บรรณานุกรม

ผู้แต่ง [ออนไลน์] แหล่งที่มา
https://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-
6/no39/theme_4.html

เนื้อเรื่องย่อทั้ง ๑๓ กัณฑ์ [ ออนไลน์ ] แหล่งที่มา
https://jirawanjane.wordpress.com/เนื้อเรื่องย่อของกัณฑ์/

คำศัพท์ [ ออนไลน์ ] แหล่งที่มา http://maistdsru.blogspot.com/2016/05/blog-
post_17.html

ฝนโบกขรพรรษ [ ออนไลน์ ] แหล่งที่มา
http://wutthichai28973.blogspot.com/2014/02/blog-post_5795.html?m=1

ทศชาติ [ ออนไลน์ ] แหล่งที่มา
https://sites.google.com/site/prawatithschatichadk/

๒๓

ผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้รายวิชา
ท๓๑๑๐๒ ภาษาไทย ๒
เสนอ

คุณครู สุชาติ พิบูลย์วรศักดิ์
ครูประจำชั้น

จัดทำโดย

นิพิฐพนธ์ แต้สุวรรณ ชั้นม.๔/๙ เลขที่ ๑๐
นิธิพงศ์ ยิ้มเรือน ชั้นม.๔/๙ เลขที่๑๖
พิชญ์สินี ตุรงค์รัตนชัย ชั้นม.๔/๙ เลขที่๑๘
จุฑามาศ พรรษา ชั้นม.๔/๙ เลขที่๒๔
จิดาภา สมบัติใหม่ ชั้นม.๔/๙ เลขที่๒๗
เมธปิยา บุญเติม ชั้นม.๔/๙ เลขที่๒๘
ณภัทร ผิวละเอียด ชั้นม.๔/๙ เลขที่๓๑
ปลายฟ้า กัลปโชติธีวนันท์ ชั้นม.๔/๙ เลขที่๓๗
ธิดาวรรรณ์ นาคแก้ว ชั้นม.๔/๙ เลขที่๔๓


Click to View FlipBook Version