The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Fa Premkamol, 2022-11-30 23:36:56

พระมหานารทชาดก

6578BFAC-0705-415D-A58E-4746182D9033

มหานชาาติทรี่ ทชาดก

การบำเพ็ญอุเบกขาบารมี

แนะนำตัวละคร

พระมหานารท พระเจ้าอังคติราช พระนางรุจา

แนะนำตัวละคร

อลาตอำมาตย์ สุนามอำมาตย์ วิชยอำมาตย์

แนะนำตัวละคร

คุณาชีวก วีชกะ

ปัจจุบันวัตถุ

ชาดกเรื่องนี้มีอยู่ว่าหลังจากที่พระพุทธเจ้าได้โปรด
ชฎิลสามพี่น้อง โดยมีอุรุเวลกัสสปะคนพี่มาบวชเป็นสาวกแล้ว

มหาชนก็ต่างชื่นชมพระพุทธองค์เป็นจำนวนมาก
พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงอานุภาพและตรัสว่า การที่เราได้
ทำลายทิฐิของอุรุเวลกัสสปะ ในชาตินี้ยังไม่น่าอัศจรรย์เท่ากับ
อดีตชาติในสมัยที่เรายังเป็นพรหมที่มีโลภโกรธหลงอยู่
ตถาคตเองก็เคยทำลายทิฐิของอุรุเวลกัสสปะในกาลก่อน
เช่นกัน จากนั้นพระองค์ก็ทรงเล่าเรื่องของนารทชาดกว่า...

อดีตวัตถุ

พระเจ้าอังคติราชแห่งแคว้นวิเทหรัฐ เป็นผู้ที่มากไปด้วยทรัพย์สมบัติ
และกองกำลังทหารมากมาย ทรงมีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวพระนามว่า
พระรุจา พระเจ้าอังคติราชได้ทรงครองเมืองโดยธรรม ทรงพระราชทานผอบ
ดอกไม้และภูษาแพรพรรณอย่างดีให้พระธิดาทุก ๆ วัน และในทุก ๑๕ วันจะ
ทรงพระราชทานทรัพย์ให้พระธิดาบริจาคทาน ทรงให้พระสนมอีกหลายหมื่นหมั่น
บริจาคทานอยู่เนือง ๆ ด้วยเช่นกัน

อยู่มาวันหนึ่ง ในคืนวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๑๒ พระเจ้า
อังคติราช ได้ทำการประชุมเหล่าอำมาตย์ โดยมีอำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่ ๓ นาย คือ
๑. วิชยอำมาตย์ ๒. สุนามอำมาตย์ ๓. อลาตอำมาตย์

ในคืนนั้นเองพระองค์ได้ตรัสถามเหล่าอำมาตย์ ว่า “ในวันเพ็ญเดือน
๑๒ เช่นนี้ พระจันทร์แจ่มกระจ่าง กลางคืนวันนี้เราได้มาพร้อมหน้าพร้อมตากัน
พวกเจอกันในคราวนี้ เราควรทำการสิ่งใดกันดี”

พระราชาจึงตรัสถามพวกอำมาตย์ทั้งหลาย อำมาตย์เหล่านั้นถูกพระองค์
ตรัสถามจึงกราบทูลถ้อยคำ อันสมควรตามอัธยาศัยของตนเอง

> อลาตอำมาตย์กราบทูลให้พระเจ้าอังคติราช จัดกองกำลังไพร่พลไป
ออกรบเพื่อพิชิตศัตรูหัวเมืองน้อยใหญ่

> สุนามอำมาตย์กราบทูลให้พระเจ้าอังคติราชจัดงานรื่นรมย์
เสวยกามคุณและรับชมการขับร้องฟ้อนรำ

> วิชยอำมาตย์กราบทูลให้พระเจ้าอังคติราชไปฟังธรรม

อลาตอำมาตย์ผู้ที่มีมิจฉาทิฐิเมื่อได้ยินวิชยอำมาตย์ทูลจึงรีบแนะนะ
นักปราชญ์ที่เป็นอเจลก (ชีเปลือย) อยู่ในป่ามีนามว่าคุณาชีวก พระเจ้าอังคติราช
เมื่อได้ฟังที่อำมาตย์ทูลจึงลงมติให้ทุก ๆ ท่านนั้นไปฟังธรรมกับคุณาชีวกในป่า
มฤคทายวันด้วยกันในทันที

พระราชาจึงยกขบวนเสด็จไปยังสำนักชีตนนั้น พระราชาทรงตรัสถามแก่คุณาชีวกเป็นปริศนาธรรมว่า "สิ่งใดควรทำสำหรับ
พระราชา เมื่อทำแล้วย่อมสำเร็จสู่สวรรค์ สิ่งใดมิควรทำสำหรับพระราชา ทำแล้วย่อมเป็นทางนำสู่นรก และสิ่งใดเป็นข้อควรประพฤติปฏิบัติ
ต่อบิดามารดา อาจารย์ บุตรภรรยา ผู้เฒ่าผู้อาวุโส พราหมณ์และสมณสงฆ์ และไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน"

เมื่อชีเปลือยคุณาชีวกอับจนปัญญา จึงกราบทูลตามลัทธิมิจฉาทิฐิของตนเองว่า ขอเดชะท่านมหาบพิตรความสงสัยของ
พระองค์นั้นตอบได้ดังนี้

๑. เรื่องของบุญนั้นไม่มีจริง บาปก็ไม่มี ภพหน้าก็ไม่มี
๒. เรื่องของบุพการีบิดามารดาก็ไม่มีจริง มิต้องปฏิบัติด้วยดีอย่างใด เพราะคนเราเกิดมาตามธรรมดา ดั่งเรือเล็กตามเรือใหญ่
ไม่ใช่ผู้มีบุญคุณต่อกัน
๓. สัตว์ทั้งหลายก็เสมอกันเช่นดั่งคน วัยผู้เฒ่าผู้อาวุโสก็เสมอเหมือนกัน มิต้องนอบน้อมบำรุงปฏิบัติหรือเกื้อกูลแต่อย่างไร
๔. สมณพราหมณ์ก็มิได้วิเศษใด ทำดีไปสวรรค์ ทำชั่วไปนรกมิใช่เรื่องจริง ทำทานไปก็มิได้สิ่งใดตอบแทน มิมีผลแห่งบุญหรือ
ผลแห่งบาป
๕. การถือศีลก็จะทำให้หิว มิควรถือศีลให้ทานก็คือความโง่แต่คนฉลาดคิดแต่รับทาน

คุณาชีวกเห็นพระราชานิ่งสดับฟังดังนั้น ก็รีบกล่าวต่ออย่างลำพองใจในมิจฉาทิฐิของตนอีกว่า
"แม้แต่ร่างกายของคนเรานั้นก็รวมกันมาจาก ๗ สิ่งคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ สุข ทุกข์ และชีวิต
หากเมื่อสูญสลายตายไปแล้วส่วนที่เป็นไฟก็จะไปอยู่กับไฟ ส่วนที่เป็นลมก็จะล่องลอยไป
อยู่กับลม สุขและทุกข์ก็ลอยไปในลมในอากาศเช่นเดียวกับชีวิต ดังนั้น การฆ่าหรือตัดชีวิต
ใครก็จึงมิใช่เรื่องของบาปหรือกรรม สัตว์และมนุษย์เวียนว่ายตายเกิดอีกชั่ว ๘๔ กัป อยู่แล้ว
ต่อจากนั้นก็จะบริสุทธิ์ได้เองมิต้องถือศีลทำบุญ"

อลาตอำมาตย์เมื่อได้ฟังดังนั้นก็รีบทูลสนับสนุนว่า ตนเองก็เห็นจริงเช่นนั้น ก็อ้างว่าตนระลึกชาติได้ว่าเคยเป็นคนบาป
ชื่อ "ปิงคละ" ผู้ฆ่าโคกระบือ ชาติต่อมายังได้เกิดเป็นกุลบุตรในตระกูลเสนาบดีจนมียศศักดิ์จนถึงวันนี้ มิเห็นต้องตกนรกหมกไหม้แต่
อย่างใด ก็ย่อมแสดงว่าบาปบุญไม่มีจริงดังที่คุณาชีวกกล่าว เพราะหากบาปมีจริงตนก็คงต้องไปตกนรกหมกไหม้แล้ว

แต่ในทางแห่งความเป็นจริงที่เป็นมา อลาตอำมาตย์เกิดเป็นกุลบุตรในตระกูลดี เนื่องจากในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า
ได้ถวายพวงอังกาบบูชาพระเจดีย์ เมื่อตายไปเกิดเป็นปิงคละผู้ฆ่าโค และอานิสงส์ในภพที่ถวายพวงอังกาบ จึงได้มาเกิดเป็น
เสนาอำมาตย์ในชาติภพนี้ แต่อำมาตย์ระลึกชาติได้ชาติเดียวจึงเห็นผิดไปว่า เรื่องการทำบาปมิได้ส่งผลให้ต้องชดใช้กรรมแต่อย่างใด

ในขณะนั้น บุรุษนาม "วีชกะ" ผู้เป็นทาสจากครอบครัวยากไร้ได้ฟังความด้วย ก็ร่ำไห้ออกมา
ครั้นพระราชาตรัสถาม วีชกะก็กราบทูลว่า ตนเสียใจนัก ตนเคยระลึกชาติว่าเป็นเศรษฐีเมตตาจิตบริจาค
ทานอยู่ตลอดชีวิต แต่ชาตินี้จึงมาเกิดเป็นคนจนอนาถา แสดงว่าบุญและบาปไม่มีจริง ๆ แน่นอนแล้วล่ะนี่

ซึ่งในความจริงนั้น ชาติเดิมวีชกะเป็นคนเลี้ยงโค วันหนึ่งโคหายก็พาลดุด่า พระภิกษุที่ผ่านมา
ถามหนทาง ตายไปจึงมาเกิดเป็นคนต่ำต้อย ซึ่งวีชกะระลึกชาติได้แค่ชาติเดียวที่เกิดเป็นเศรษฐี

จากนั้นเมื่อมีผู้สนับสนุนเห็นพ้องด้วยกับมิจฉาทิฐิของคุณาชีวก พระเจ้าอังคติราชก็พลอยเชื่อถือ
คำของคุณาชีวกจากนั้นก็มิทรงทำความเคารพชีเปลือยอีก ทว่าพระราชาเสด็จกลับวังในทันทีนั้นเองเพราะ
เห็นว่าบาปกรรมไม่มีการเสวนาในครั้งนี้จึงไร้ประโยชน์

เมื่อเสด็จสู่พระราชวังพระเจ้าอังคติราชก็ทรงให้จัดมหรสพรื่นเริง ให้มีดุริยางค์
ขับกล่อมตลอดเวลา มีนางกำนัลแต่งกายยั่วยวนฟ้อนรำ จัดสุราอาหารสำราญพร้อม
และมิสนใจในกิจแห่งแผ่นดินอีก ทรงมุ่งแต่มัวเมาในทางกามคุณ ละเว้นโรงทาน
และศาลาธรรมจนสิ้น จนทั่วทั้งนครต่างก็ลือกันว่าพระราชาหลงอบายมุขตามลัทธิ
มิจฉาทิฐิของคุณชีวกไปเสียแล้ว

ต่อมาพระธิดารุจาก็เสด็จเข้าเฝ้าตามกำหนด ทว่าเมื่อทรงทูลขอทรัพย์เพื่อทำทานตามปกติ แต่พระราชา
ทรงตรัสว่า ตั้งแต่แจกทานทำบุญก็มีแต่หมดทรัพย์ แต่มิได้สิ่งตอบแทนคืน ตอนนี้พระองค์รู้ทางถูกแล้ว คนเรา
ควรเอาเงินบำรุงบำเรอความสุขให้ตนเอง ดังนั้นขอให้พระธิดาเลิกเอาเงินไปบริจาคทานเสียทีเถิด คุณาชีวกก็ได้
สำแดงลัทธิให้เข้าใจแล้ว ทาสวีชกะก็ยังยืนยันเช่นกัน

เมื่อธิดารุจาได้ฟังก็ให้สลดพระทัยยิ่งจึงกราบทูลว่า "ข้าแต่พระบิดา ไฉนพระองค์หลงผิดไปเชื่อความ
ของคนที่ไร้สติปัญญาเช่นนั้น"

พระราชบิดาตรัสตอบพระธิดาว่า "เจ้าหญิงเอ๋ย พ่อเชื่อเพราะเห็นว่าความที่คุณาชีวกแสดงมานั้น
เป็นเรื่องจริงที่น่าเชื่อถือ ทำให้พ่อหายโง่ เลิกทำบุญถือศีลซึ่งมิได้ผลดีอันใด"

พระนางรุจาจึงกล่าวตอบ "หากพราหมณ์นั้นกล่าวว่าคนนั้นเสมอเหมือนกัน และการบำเพ็ญภาวนาไม่มี
ผลใด แล้วพราหมณ์นั้นไฉนจึงเฝ้าบำเพ็ญภาวนา เป็นอาจารย์ให้ผู้คนกราบไหว้และเชื่อฟัง ข้าแต่พระราชบิดา
หากคนเราคบคนพาลย่อมเป็นพาลไปด้วยหากคบหาบัณฑิตนักปราชญ์ก็ย่อมจะพลอยเป็นปราชญ์ไปด้วยชีเปลือย
คุณาชีวกก็ยังให้คนนับถือตนและบำเพ็ญกิริยาต่าง ๆ แล้วจะมาว่าการบำเพ็ญไม่มีผลบุญบาปได้อย่างไร"

พระนางรุจากล่าวต่อ ว่าอลาตอำมาตย์และวีชกนั้นระลึกชาติแค่ชาติเดียวเท่านั้น หม่อมฉันระลึกได้ถึง ๑๔ ชาติ ประกอบไป
ด้วยอดีต ๗ อนาคต ๗ ในชาติหนึ่งนั้นเกิดเป็นหญิงมีสกุลแต่คบชู้ ตายไปก็ได้เกิดเป็นกะเทยมหาเศรษฐี ด้วยผลบุญก่อน
ยังหนุนแต่ก็ถูกดูหมิ่นดูแคลน อาภัพรัก แต่ถึงกระนั้นยามเป็นกะเทยเศรษฐีก็ยังทำทานถือศีลเพราะมีมิตรดี เมื่อตายไปก็ตกนรก
หมกไหม้เพราะผลกรรมที่ลักลอบเป็นชู้ตามมาทัน จากนรกก็ไปเกิดเป็นลา ถูกทรมานตาย แล้วเกิดเป็นลูกลิง ถูกกัดอัณฑะจนตาย
จากนั้นจึงไปเกิดบนชั้นสวรรค์ เป็นพระมเหสีของพระอินทร์ ๔ ชาติ เพราะผลบุญจากชาติที่ทำทานตามมา และในชาตินี้ก็เกิดเป็น
พระราชธิดาพระราชาคือพระบิดานี้เอง"

พระราชาทรงเงียบนิ่งด้วยเพราะหาทางโต้แย้งมิได้ พระธิดารุจาจึงทูลต่อว่า "การคบคนเลวต่างหากที่จะพาให้
พระบิดาตกนรก การคบหาคนดีจึงจะเสด็จสู่สวรรค์ได้ คนที่เป็นครูเป็นอาจารย์ หากอบรมสั่งสอนสิ่งชั่วร้ายเลวทรามให้แก่ศิษย์
ผู้เป็นศิษย์ก็ย่อมตกต่ำไปด้วยเสมือนดั่งใช้ใบไม้เน่าห่อปลา ปลานั้นย่อมจะเหม็นเน่าไปด้วย หากห่อปลาด้วยใบไม้หอม
ปลาก็ย่อมจะหอมหวลด้วยแน่นอน ขอให้พระบิดาทรงใคร่ครวญ"

เมื่อพระราชาสดับฟังดังนั้นก็ยังมิเปลี่ยนความเชื่อมั่น ด้วยเพราะยังคงทรงตกต่ำมัวเมาอยู่ในเพศรส มิจฉาทิฐิดังเดิม ให้ทวยเทพ
ช่วยเหลือ พระธิดารุจาจึงทรงนมัสการ ๑๐ ทิศ แล้วตั้งสัตย์อธิษฐานว่า ขอให้ทวยเทพยดาช่วยให้พระราชบิดา ให้พ้นทางมัวเมา
ตามมิจฉาทิฐินั้นด้วยเถิด "ข้าแต่ทวยเทพยดา ท้าวจตุโลกบาล ท้าวมหาพรหมแลสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ขอพระองค์ทั้งหลายทรง
โปรดช่วยพระราชบิดาให้พ้นทางมัวเมา ให้เห็นทางสว่างพ้นจากทางผิดอันมืดมิดด้วยเทอญ"

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นมหาพรหมนามว่านารท เที่ยวตรวจดูโลก เพื่อจะดูเหล่าสัตว์ผู้ปฏิบัติดีและปฏิบัติชั่ว ขณะท่าน
ตรวจดูโลกเห็นพระนางรุจาราชธิดานั้นกำลังนมัสการเหล่าเทวดาให้มาช่วยบิดา พระองค์ก็ได้ทรงจำแลงกายเป็นฤาษีมาเข้าเฝ้า
พระเจ้าอังคติราช โดยเหาะลอยมาในอากาศพร้อมทองหาบหนึ่ง พระราชาทรงตรัสถามพระมหานารทว่า "ไฉนพรหมจึงเหาะได้ "
พระนารทจึงทรงทูลว่า เพราะว่าบำเพ็ญคุณธรรม ๔ ประการ คือ รักษาสัจจะ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ประพฤติผิดในกาม และประพฤติ
ชอบธรรมทั้งกาย วาจา ใจ คือเสียสละ

พระราชาแคลงพระทัยนัก ทรงถามว่าภพหน้าและบาปบุญมีจริงหรือ พระนารททรงทูลว่า "เรื่องนั้นมีจริง" พระราชาจึงทรงว่า
" ถ้างั้นก็ขอยืมเงิน ๕๐๐ แล้วตนจะนำไปคืนในชาติหน้า ๑๐๐๐ " พระนารทจึงกล่าวว่า "พระราชาเป็นคนผิดศีล ไม่มีธรรม ตายไปก็จะ
เกิดในนรก ซึ่งคงไม่มีใครกล้าลงไปทวงในนรก แต่หากพระราชาเป็นคนประพฤติชอบ แม้กี่พันก็จะให้ยืมเพราะชาติหน้าพระองค์ย่อมชดใช้
โดยดี"

เมื่อพระราชาฟังแล้วเงียบนิ่ง พระนารทจึงทรงกล่าวสืบไปว่า " ถ้าพระราชาหลงผิดในทางอบายมุข ละเว้นธรรมเช่นนี้
เมื่อตายไปก็จะเกิดในนรก ต้องถูกแร้งกาจิกกินจนเลือดโทรมกาย เจ็บปวดทรมานในนรกโลกันต์อันมืดมิด มีหอกคอยทิ่มตำ มีหนามงิ้ว
คอยเสียดแทง มีทั้งฝนอาวุธตกลงมาทิ่มแทงใส่กาย หากล้มไปก็ถูกนิรยบาลรุมแทง กระหน่ำย่ำเหยียบและโยนลงกระทะเดือด ในนรก
มีภูเขาเหล็กลูกมหึมากลิ้งมาทับบดร่างให้แหลกยับ ถูกกรอกด้วยน้ำทองแดงจนตับไตไส้พุงขาดวิ่น ยามหิวต้องกินน้ำเลือดน้ำหนอง
ของตนเอง บรรดาสุนัขนรกตัวเท่าช้างก็คอยมาแทะกัดกินเนื้อตัว ให้ทุกข์ทรมานมิรู้สุดสิ้น

พระราชาทรงนิ่งสดับฟังเสร็จแล้วก็ให้หวาดหวั่นพระทัยนัก ทรงตรัสด้วยความกลัวตัวสั่นว่า "เรานี้เป็นคนหลงมัวเมา
ในทางผิด เรามิอยากตกในนรกเลยนะท่านมหานารท ขอให้ท่านจงช่วยชี้ทางถูกให้ข้าพเจ้าเถิด"

จากนั้นพระนารทจึงทรงทูลว่า ให้พระราชาทรงละมิจฉาทิฐิหมั่นบำเพ็ญกุศลทำทาน และรักษาศีล
อย่างแน่วแน่ บรรดาช้าง ม้า โค กระบือที่แก่เฒ่าก็ให้ปล่อยเสีย เช่นเดียวกับอำมาตย์ และให้ยึดมั่น
ในการรักษาศีล ๕ และศีล ๘ อันจะมีผลในภายหน้าอย่างสูงส่ง เป็นทางสู่สวรรค์ชั้นฟ้าด้วย ให้พระราชา
ครองราชย์โดยชอบธรรม ตั้งกายเป็นราชรถ ตั้งจิตเป็นสารถี ให้สารถีขับรถคือจิตนำกายไป ประพฤติตาม
กุศลกรรมบท ๑๐ ประการ ละเว้นกิเลส สำรวมตน คบมิตรที่ดี และไม่ประมาทเสมอไป

เมื่อทรงแสดงโอวาทแล้ว พระนารทมหาพรหมก็เหาะกลับสู่วิมาน พระราชาและเหล่าเสนา
อำมาตย์ที่พบเห็นก็แตกตื่นรีบก้มสักการะ และนับแต่นั้นมา พระเจ้าอังคติราชก็ประพฤติตามโอวาทพระนารท
บำเพ็ญกุศลถือศีลทำทาน ปกครองเมืองโดยสงบ ร่มเย็น เมื่อเสด็จสวรรคตก็ทรงขึ้นสู่สวรรค์

คาถา

และ

ไวยากรณ์

คาถา
[๘๔๕] คุณาชีวกกัสสปโคตรได้ฟังพระดำรัสของพระเจ้าวิเทหราช ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชาขอพระองค์ทรงสดับทางที่จริงแท้

ของพระองค์ ผลแห่งธรรมที่ประพฤติ แล้วเป็นบุญเป็นบาปไม่มี. ขอเดชะ ปรโลกไม่มี ใครเล่าจากปรโลกนั้นมาโลกนี้ ปู่ย่าตายายไม่มี มารดาบิดา
จะมีที่ไหน ขึ้นชื่อว่าอาจารย์ไม่มี ใครจักฝึกผู้ที่ฝึกไม่ได้ สัตว์เสมอกันหมด ผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญไม่มี กำลังหรือความเพียรไม่มี บุรุษ
ผู้มีความหมั่นจักได้รับผลแต่ที่ไหน สัตว์ที่เกิดตามกันมา เหมือนเรือน้อยห้อยท้ายเรือใหญ่ สัตว์ย่อมได้สิ่งที่ควรได้. ในข้อนั้น ผลทานจักมีแต่ที่ไหน
ผลทานไม่มี ความเพียรไม่มีอำนาจ. ทาน คนโง่บัญญัติไว้ คนฉลาดรับทาน. คนโง่สำคัญตัวว่าฉลาด เป็นผู้ไม่มีอำนาจ ย่อมให้ทานแก่นักปราชญ์
ทั้งหลาย.

ไวยากรณ์
อิธาคโต ความว่า ชื่อว่าผู้จากปรโลกนั้น มาสู่โลกนี้ ย่อมไม่มี.
ปิตโร วา ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ เฉพาะปิยชนทั้งหลาย มีปู่ย่าตายายเป็นต้น ย่อมไม่มี. เมื่อท่านเหล่านั้นไม่มี

มารดาจะมีแต่ที่ไหน บิดาจะมีแต่ที่ไหน?.
ยถา โหถ วิโย ตถา ความว่า พวกสัตว์เป็นเหมือนเรือน้อย ห้อยท้ายตามเรือใหญ่ไป ฉะนั้น. ท่านกล่าวว่า เรือน้อย

ที่ผูกห้อยท้ายตามหลังเรือใหญ่ไป ฉันใด. สัตว์เหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมติดตามไป อย่างแน่นอนทีเดียวถึง ๘๔ กัป.

คาถา
[๘๔๖] รูปกายอันเป็นที่รวม ดิน น้ำ ลม ไฟ สุข ทุกข์และชีวิต ๗ ประการนี้ เป็นของเที่ยง ไม่ขาดสูญ ไม่กำเริบ. รูปกาย ๗ ประการ

นี้ของสัตว์เหล่าใด ชื่อว่าขาด ไม่มี. ผู้ที่ถูกฆ่าหรือถูกตัด หรือเบียดเบียนใด ๆ ไม่มี. ศาสตราทั้งหลายพึงเป็นไปในระหว่างรูปกาย ๗ ประการนี้. ผู้
ใดตัดศีรษะของผู้อื่นด้วยดาบอันคม ผู้นั้นไม่ชื่อว่า ตัดร่างกายเหล่านั้น. ในการทำเช่นนั้น ผลบาปจะมีแต่ที่ไหน.

ไวยากรณ์
กายา แปลว่า หมู่.
หญฺญเร วาปิ โกจินํ ความว่า ผู้ใดพึงเบียดเบียน แม้ผู้นั้นก็ไม่จัดว่า เป็นผู้ทำร้าย.
สตฺถานิ วินิวตฺตเร ความว่า ศาสตราทั้งหลายเที่ยวไป อยู่ในภายในกายทั้ง ๗ นี้ ไม่สามารถจะตัดได้.
นิสิตาสินา ความว่า ท่านกล่าวว่า ตัดด้วยดาบอันคม.

คาถา
[๘๕๓] ตั้งแต่รุ่งสว่าง พระเจ้าอังคติราชรับสั่งให้ประชุมเหล่าอำมาตย์ ในที่ประทับสำราญพระองค์แล้วตรัสว่า จงจัดกามคุณทั้งหลาย

เพื่อเรา ไว้ในจันทกปราสาทของเราทุกเมื่อ เมื่อข้อราชการลับและเปิดเผยเกิดขึ้น ใคร ๆ อย่าเข้ามาหาเรา อำมาตย์ผู้ฉลาดในราชกิจ ๓ นาย
คือวิชยอำมาตย์ ๑ สุนามอำมาตย์ ๑ อลาตเสนาบดี ๑ จงนั่งพิจารณาข้อราชการเหล่านั้น. พระเจ้าวิเทหราช ครั้นตรัสดังนี้แล้วจึงตรัสว่า ท่านทั้ง
หลายจงใส่ใจกามคุณให้มาก ไม่ต้องขวนขวายในพราหมณ์ คฤหบดี และกิจการอะไรเลย.

ไวยากรณ์
วิเธนฺตุ เม ความว่า จงจัด คือจงบำรุงบำเรอกามคุณทั้งหลาย แก่เราเป็นนิตย์.
อตฺเถ ได้แก่ ในที่เป็นที่วินิจฉัยเหตุผล.
นิสีทนฺตุ ความว่า จงนั่งกับด้วยอำมาตย์ที่เหลือ เพื่อกระทำกิจที่เราพึงกระทำ.

คาถา
[๘๖๖] ในกาลนั้น นารทมหาพรหมตรวจดูชมพูทวีป ได้เห็นพระเจ้าอังคติราชผู้ทรงมีความเห็นผิด จึงมาจากพรหมโลกถึงถิ่นมนุษย์

ลำดับนั้น นารทมหาพรหมได้ยืนอยู่ที่ปราสาท เบื้องพระพักตร์แห่งพระเจ้าวิเทหราช ก็พระนางรุจาราชธิดาเห็นนารทฤาษีนั้นมาถึง จึงนมัสการ.

ไวยากรณ์
อทฺทส ความว่า นารทมหาพรหม ผู้สถิตอยู่ในพรหมโลกนั่นแล ได้เพ่งดูชมพูทวีป ได้เห็นพระเจ้าอังคติราช ผู้ยึดถือ

ความเห็นผิด ในสำนักของคุณาชีวก. อธิบายว่า เพราะเหตุนั้น จึงมา.
ตโต ปติฏฺฐา ความว่า แต่นั้น พรหมนั้น เมื่อจะแสดงรอยในที่ไม่มีรอยนั้น ในปราสาทนั้น เบื้องพระพักตร์ของพระราชานั้น

ผู้แวดล้อมไปด้วยหมู่อำมาตย์ประทับอยู่ จึงยืนอยู่บนอากาศ.
อนุปฺปตฺตํ แปลว่า ถึงแล้ว คือมาถึงแล้ว. อิสึ ความว่า พระศาสดาตรัสเรียกว่า อิสึ เพราะมาด้วยเพศแห่งฤาษี.

ประชุมชาดก

อลาตเสนาบดี เป็น พระเทวทัต.
สุนามอำมาตย์ เป็น พระภัททชิ.
วิชยอำมาตย์ เป็น พระสารีบุตร.
คุณาชีวกผู้อเจลก เป็น สุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร.
พระนางรุจาราชธิดา เป็น พระอานนท์.
พระเจ้าอังคติราช เป็น พระอุรุเวลกัสสปะ.
มหาพรหมโพธิสัตว์ หรือ พระมหานารท เป็น พระพุทธเจ้า


Click to View FlipBook Version