การรำคู่
ศุภลักษณอ์ ้มุ สม
คำนำ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) นี้ เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอน
ในรายวิชา นศศ ๒๒๔ นาฏศิลป์ไทยสำหรับครู ๓ คณะศิลปกรรมศาสตร์
สาขานาฏศิลป์ (กศ.บ.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยผู้จัดทำได้
รวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับการแสดงละครในเรื่องอุณรุท ตอนศุภลักษณ์อุ้มสม
อาทิเช่น ที่มาของการแสดง การปฏิบัติท่ารำคู่ และองค์ประกอบของการ
แสดง ประกอบด้วย ผู้แสดง เพลงร้องและทำนองเพลง วงดนตรีที่ใช้
ประกอบการแสดง เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ประกอบการแสดง และ
โอกาสที่ใช้แสดง เป็นต้น การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) นี้ มี
จุดประสงค์เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน สำหรับผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับ
การแสดงละครในเรื่องอุณรุท ตอนศุภลักษณ์อุ้มสม และสามารถนำไป
ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนั้นยังเป็นการเรียบเรียงข้อมูลที่หา
มาให้เป็นระบบระเบียบ ทำให้ง่ายต่อการอ่าน เพื่อศึกษาหรือเป็น
แหล่งข้อมูลให้ผู้ต้องการข้อมูลทางด้านนี้นำมาศึกษาให้ลึกซึ้งต่อไป โดย
คณะผู้จัดทำคาดหวังว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) นี้ จะเป็นประโยชน์
แกค่ ณะผ้จู ัดทำและผูน้ ำไปศึกษาตอ่ ไมม่ ากก็นอ้ ย
คณะผู้จดั ทำ
-ก-
สารบัญ
เรอื่ ง หน้า
คำนำ ...........................................................................................................................ก
สารบัญ ........................................................................................................................ข
๑. ท่มี าของการแสดงชดุ ศุภลักษณอ์ ้มุ สม ....................................................................๑
๒. องค์ประกอบการแสดงชดุ ศุภลกั ษณอ์ ุ้มสม ..........................................................๒๘
๒.๑ ผู้แสดง ...................................................................................................๒๙
๒.๒ เพลงร้องและทำนองเพลง ......................................................................๓๓
๒.๓ วงดนตรที ใ่ี ชป้ ระกอบการแสดง ...............................................................๓๖
๒.๔ เครอ่ื งแต่งกายและอุปกรณป์ ระกอบการแสดง ........................................๓๘
๒.๕ โอกาสทใ่ี ชแ้ สดง .....................................................................................๔๖
๓. การปฏิบัตทิ า่ รำคชู่ ดุ ศภุ ลักษณอ์ ุ้มสม ..................................................................๔๗
๔. สรปุ .....................................................................................................................๘๓
๕. คณะผ้จู ดั ทำ .........................................................................................................๘๕
๕.๑ หน้าที่การปฏบิ ตั ิงาน PowerPoint ............................................................๘๖
๕.๒ หนา้ ที่การปฏบิ ัตงิ าน E-Book .................................................................๘๗
๖. บรรณานกุ รม .......................................................................................................๘๘
-ข-
ประวตั ิความเปน็ มา
-๑-
ที่มาของการแสดง ชุด ศุภลกั ษณ์อมุ้ สม
การแสดงชุดศุภลักษณ์อุ้มสม เป็นการแสดงชุดหนึ่งอยู่ในการแสดงละครในเรื่องอุณรุท
ตอนศุภลักษณ์อุ้มสม บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑
แห่งราชวงศ์จักรี ที่นับเป็นวรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งที่มีความเป็นมายาวนาน สืบเนื่องมาจาก
ชมพูทวีปจนถึงสุวรรณภูมิ และได้มีการสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน นับว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง
ดงั จะได้กลา่ วถึงทีม่ าของการแสดงชุดศุภลกั ษณ์อุ้มสม เป็นลำดับดงั นี้
๑. ความหมายของคำว่า “อุ้มสม”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พุทธศักราช ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า อุ้มสม
หมายถึง อุ้มไปสมสู่กัน (ในวรรณคดีใช้แก่เทวดาที่อุ้ม
พระเอก ที่ตนเห็นว่าคู่ควร ไปสมสู่กับนางเอก),
เหมาะสมกนั (ใช้กบั คผู่ ัวตวั เมีย)
จากบทความสารคดี โดย กาญจนา นาคสกุล
ฉบับที่ ๒๖๐๔ ปีที่ ๕๐ ประจำวันอังคารที่ ๑๔
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้ให้ความหมายของคำว่า อุ้ม
สม หมายถึง เป็นอาการที่เทวดาอุ้มตัวพระเอกไปนอน
เพื่อให้ร่วมรักกับนางเอก ในสมัยก่อนนิยมสร้างขึ้น
เพื่อให้พระเอกกับนางเอกได้พบกัน และได้เสียเป็น
สามีภรรยากัน คำว่า อุ้มสม จึงใช้ในความหมายที่ตรง
ตัว คือ อุ้มคนหนึ่งไปสมสู่กับอีกคนหนึ่ง โดยที่คนทั้ง
สอง ไม่สามารถพูดคุย หรือไต่ถามชื่อเสียง หรือ
เรื่องราวอะไรกันได้ เมื่อได้นอนได้ร่วมรักกันเรียบร้อย
แล้ว เทวดานั้นก็จะอุ้มพระเอกมานอนที่นอนของตน
ตามเดิม ผู้ที่เทวดาจะอุ้มไปสมกัน เป็นผู้ที่เป็นเนื้อคู่กัน
และมกั จะเปน็ พระเอกนางเอกของเรื่อง
-๒-
๒. วรรณคดีท่ีมเี น้อื เรือ่ งเกีย่ วกบั การอุ้มสม
วรรณคดีไทยที่มีเนื้อเรื่องให้เทวดาอุ้มพาพระเอกไปพบกับนางเอกและได้ร่วมรักกัน โดยไม่
สามารถพูดคยุ กันไดอ้ ยา่ งที่เรียกวา่ “อุ้มสม” นีพ้ บว่า มอี ยู่ ๓ เร่อื ง คอื
๒.๑ สมุทรโฆษคำฉันท์ วรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนกลาง ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร
ในรัชกาลที่ ๖ ว่าเป็นยอดของวรรณคดีคำฉันท์ แต่งโดยอาศัยเค้าโครงเรื่องของปัญญาชาดก ซึ่งเป็น
เรื่องที่ภิกษุชาวล้านนาแต่งไว้ เป็นภาษามคธ ระหว่างพ.ศ. ๒๐๐๐ - ๒๒๐๐ อันเป็นชาดกที่มีชื่อเสียง
มาก แพร่หลายไปถึงประเทศใกล้เคียงอย่างลาว พม่า กัมพูชา เป็นต้น (อัญชนา โรหิตเสถียร และ
สทุ ธินาดา เอกกมลกลุ , ๒๕๔๙, หนา้ ๘)
สมุทรโฆษคำฉันท์ เป็นคำฉันท์ชั้นเก่า เยี่ยมที่สุด และอ่านยากที่สุด มีตำนานอันน่าอัศจรรย์
ที่สุด คือ ใช้เวลาในการแต่งยาวนานที่สุด เพราะเริ่มแต่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และมี
กวีแต่งตอ่ กันถึง ๓ ท่านจงึ จบเรือ่ ง ได้แก่
๒.๑.๑ พระมหาราชครู แต่งตอนต้น เพื่อใช้เล่น
หนังใหญ่ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อครั้งฉลอง
พระชนมายุครบเบญจเพส แต่ยังไม่ทันจบถึงแก่
อนิจกรรมเสยี กอ่ น
๒.๑.๒ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราช
นิพนธ์ตอนกลาง เนื่องจากทรงเสียดาย ที่หนังสือเริ่มต้น
แต่งไว้ดแี ล้ว แต่ต้องคา้ งอยู่
๒.๑.๓ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุ
ชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ตอนปลาย ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
รัชกาลที่ ๓ ด้วยเหตุตามที่ทรงนิพนธ์ไว้ในโครงสี่สุภาพ
ตอนจบว่า “โดยมุมานะหฤทัย อดสูดูไขษย กวีฤแล้งแห่ง
สยาม” (เรือ่ งเดียวกนั , หนา้ ๘)
เนื้อเรื่องจากสมุทรโฆษคำฉันท์ ตอนอุ้มสม กล่าวไว้ว่า พระพุทธองค์ เมื่อครั้งเสวยพระชาติ
เป็นพระสมุทรโฆษได้เสด็จไปคล้องช้างในป่า พักที่ใต้ต้นโพธิ์ก่อนบรรทมหลับ พระองค์ได้กล่าว
สรรเสริญและขอพรต่อเทพารักษ์ เทวดาอารักษ์เกิดความเมตตา จึงได้อุ้มสมกับนางพินทุมวดี
พระธิดาของท้าวนรคุปตก์ บั นางกนกพตี แหง่ เมอื งรมยบรุ ี เกอื บถงึ รุ่งอรุณจงึ นำกลบั มาที่เดมิ
-๓-
๒.๒ อนิรุทธคำฉันท์ ชื่อกันว่าศรีปราชญ์ เป็นผู้แต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เนื่องจากบิดา คือ พระมหาราครูปรามาสศรีปราชญ์ว่า แต่งฉันท์ไม่ได้ ศรีปราชญ์จึงแต่งเรื่องอนริ ุทธ
ขึ้นเป็นคำฉันท์ กาพย์ และมีร่ายปนอยู่ อนริ ทุ ธคำฉนั ทน์ ้ี มปี รากฏในคมั ภรี ว์ ษิ ณปุ รุ าณะและพระราช
นพิ นธน์ ารายณ์สบิ ปาง ในอวตารปางที่ ๘ กม็ ีเรื่องอนริ ุทธปรากฏอยดู่ ว้ ย
เนื้อเรื่องจากอนิรุทธคำฉันท์ ที่กล่าวถึงการอุ้มสม มี
ลักษณะคล้ายกับ สมุทรโฆษคำฉันท์ เพียงแต่ชื่อตัวละคร
และสถานที่เปลี่ยนไปตามเนื้อเรื่อง กล่าวไว้ว่า พระอนิรุทธ
ลาน พระกฤษณะ แห่งเมืองทวารวดี ได้ออกประพาสป่าล่า
สัตว์และประทับแรมใต้ต้นไทร ก่อนบรรทมหลับ พระองค์
ได้กล่าวสรรเสริญเทพารักษ์และขอพรให้ช่วยป้องกัน
อันตราย เทพารักษ์ที่อยู่รักษาต้นไทรเกิดความเมตตา จึง
อุ้มสมพระอนิรุทธไปยังปราสาทของนางอุษา ธิดาของพระ
เจ้ากรุงพาณแห่งโสณิตนคร เพื่อให้ได้เสียเป็นสามีภรรยา
กัน ก่อนรุ่งเช้าพระไทรก็พาพระอนิรุทธกลับมาประทับใต้
ตน้ ไทรดงั เดมิ
๒.๓ บทละครเรื่องอุณรุท บทพระราชนิพนธ์ ใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ดังจะได้กล่าว
โดยละเอียดเฉพาะเรอื่ งอณุ รุทตอ่ ไป
-๔-
๓. บทละครอุณรุท พระราชนิพนธ์ในรชั กาลที่ ๑
มีท่ีมาและเนอื้ เร่อื งย่อดงั น้ี
๓.๑ ที่มาของละครเรื่องอุณรุท บทละครเรื่องอุณรุท เป็นบทพระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่ทรงไว้เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๓๐ เป็นบท
ละครเรื่องแรก ก่อนจะทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ อิเหนา และดาหลัง เพื่อให้เป็น
วรรณคดีต้นฉบับแห่งพระนคร ที่ยังใช้ในการเฉลิมฉลองและสมโภชในการมหรสพต่าง ๆ อันเป็น
นาฏกรรมที่ยังความสุขแก่ไพร่ฟ้าประชากรได้ชม ได้จำ ได้ร้อง ได้เล่นตามพระราชประสงค์
เนื่องจากบทละครเรื่อง อุณรุท ของเดิมได้สูญหายไป เมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ในปี
พุทธศักราช ๒๓๑๐ ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงนำเอาเค้าโครงเรื่องเดิม
มาปรบั ปรุงเรื่องใหม่ให้เหมาะสม ดังพระราชประสงคท์ ท่ี รงไว้ท้ายเรอื่ งว่า
อนั พระราชนิพนธอ์ ณุ รุท สมมตไิ มม่ ีแกน่ สาร
ทรงไว้ตามเรือ่ งโบราณ สำหรบั การเฉลมิ พระนคร
ใหร้ ำร้องคร้นื เครงบรรเลงเลน่ เป็นท่แี สนสุขสโมสร
แก่หญงิ ชายไพร้ฟ้าประชากร กถ็ าวรเสร็จส้นิ บรบิ ูรณ์
(พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลก, ๒๕๔๕, หน้า ๔๔๙)
-๕-
แต่อย่างไรก็ดี ในด้านขนบธรรมเนียม
นิยมและลีลากลอนในการแต่งยังคงไว้
อย่างสมัยกรุงศรีอยุธยาแต่เดิมเรื่องราว
“อุณรุท” เป็นที่นิยมกันมาตั้งแต่ครั้งสมัย
กรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ในชื่อเรื่องว่า
“อนิรุทธคำฉันท์” เป็นวรรณคดีที่แต่งโดย
ศรีปราชญ์ กวีนิพนธ์ในรัชสมัยของสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราช โดยการนำ
เรื่องราวตำนานของเทพเจ้าว่าด้วยพระ
นารายณ์ เสด็จอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ
เป็นพระกฤษณะจากคัมภีร์วิษณุปุราณะ
ม า แ ต ่ ง ใ น ล ั ก ษ ณ ะ ข อ ง ค ำ ป ร ะ พ ั น ธ์
ประเภทฉันท์ที่ลักษณะถ้อยคำมีการ
บังคับเสียงหนัก เบาของพยางค์ ทีเ่ รยี กว่า
ครุ ลหุ และมีสัมผัสที่เป็นมาตรฐาน ซึ่ง
ศรีปราชญ์ได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่งใน
การแต่งด้วยเป็นคำประพันธ์ประเภทฉันท์
ที่แต่งได้ยาก บางคนเชื่อกันว่าศรีปราชญ์
แต่งเรื่องนี้ขึ้น เพื่อแข่งกับสมุทรโฆษคำ
ฉันท์ของพระมหาราชครูผู้บิดา ด้วย
ต้องการล้างคำสบประมาทของบิดาที่ว่า
แต่งได้แต่โคลงซึ่งเป็นของง่ายแต่จะแต่ง
ฉนั ทซ์ ง่ึ เป็นลักษณะคำประพันธ์ท่ียากและ
ประณีตไม่ได้
-๖-
ที่กล่าวว่า “อนิรุทธกินรี” ในคำฉันท์นี้ก็เพราะ ในเรื่องมีกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า พระอนิรุทธเสด็จ
ประพาสไพร ไปพบนางกินนรก็ทรงพิศวาส จึงทรงไล่ต้อนพวกนางกินนร แต่ก็ยังเรียกว่า “อนิรุทธ”
ไม่เรียกอุณรุทเหมือนในบทพระราชนิพนธ์ (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, ๒๕๔๕, ไม่
ปรากฏเลขหน้า)
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระ
พุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวง
อิศรสุนทร ได้โปรดฯ ให้ฝึกหัดละครผู้หญิงขึ้นในพระราชวัง และใช้บทละครเรื่องอุณรุทครั้งกรุงเก่า
มาตัดให้เหมาะสม และแสดงในคราวมีงานสมโภชพระแก้วมรกต เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๗ ดังที่ปรากฏใน
โคลงสรรเสรญิ พระเกียรตพิ ระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จุฬาโลก ของ ชำนโิ วหาร ความวา่
มะโหรศพทุกสิง่ เหลน้ ฉลองพุทธ พิมพ์พ่อ
เลง็ ละคอนอนริ ุท รุ่นรอ้ ย
พิลาสพิไลยสดุ จักร่ำ รำนา
แตง่ แงง่ ามอ่อนชอ้ ย เฉดิ ช้โี ฉมสวรรคฯ์
(อทุ ัยศรี ณ นคร, ๒๕๔๒, หน้า ๓๒๕๖)
แต่คณะละครหลวงของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ต้องยุบไปด้วย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดฯ ให้เลิก เนื่องจากตามธรรมเนียม พระ
ราชประเพณีมีอยวู่ า่ ผทู้ ีจ่ ะมีละครผูห้ ญงิ ได้ก็เพียงเฉพาะพระมหากษัตริย์เทา่ น้นั
-๗-
หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึง
ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอุณรุท
และเสด็จเมื่อวันพุธ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน
อ้าย จุลศักราช ๑๑๔๙ ตรงกับวันที่
๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ โดยมีพระ
ราชประสงค์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระ
นครและเพอ่ื
“ให้รำร้องครื้นเครงบรรเลงเล่น เป็นทีแ่ สนสุขสโมสร
แก่หญิงชายไพร่ฟา้ ประชากร ………………………….”
(พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลก, 2545,ไม่ปรากฏเลขหน้า)
-๘-
ในส่วนชื่อเรื่อง อุณรุท ชื่อเรียกตัวละคร ชื่อ
สถานที่ และรายละเอียดต่าง ๆ ในอนิรุทธคำฉันท์
และบทละครเรื่องอุณรุทจะแตกต่างกันบ้าง แต่เนื้อ
เรื่องจะดำเนินไปเป็นเรื่องราวเดียวกัน เช่น การ
เรียกชื่อเรื่องว่า “อนิรุท” กับ “อุณรุท” แตกต่างกัน
นั้น ก็เป็นไปตามแต่ผู้ประพันธ์จะเลือกใช้ ในภายหลัง
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรง
อธบิ ายวา่
“…มีชื่อ ‘อนิรุทธ์’ กับ ‘อุณรุท’ ก็เป็น
อันเดียวกัน เอา อิ เป็น อุ เท่านั้น เว้นแต่ผิดท่ี
เอาตีน อุ ไปใส่เสียตัวหน้ากับตัวสะกดข้างหลัง
ตกไปไม่สำคัญ เขาคงถือเอาเสียงเป็นที่ตั้ง แต่
ถ้าจะเขียนให้ถูกจะต้องเป็น อนุรุทธ’…”
(สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์,
๒๕๐๐, หนา้ ๒๕๐)
เรื่องอุณรุทบทละครพระราชนิพนธ์นี้ มี
ทั้งหมด ๔๒ ตอน แบ่งออกเป็น ภาคต้น ๒๐
ตอน ตั้งแต่เริ่มเรื่องด้วยท้าวกรุงพาณ แห่ง
กรุงรัตนา ไปเล่นสระอโนดาตและแสดง
อำนาจจนถึงสวรรค์ จนมาจบภาคต้นใน
ตอนศุภลักษณ์อุ้มสม และภาคปลายอีก ๒๒
ตอน ตั้งแต่ท้าวไกรสุทประหารพระเพียรพิชัย
จนจบเรื่องในตอนที่ ๔๒ พระอุณรุทเสด็จ
กลับณรงกา ซึ่งจะได้กล่าวเนื้อเรื่องโดย
ละเอยี ดตอ่ ไป
-๙-
๓.๒ เรื่องย่อบทละครเรื่องอุณรุท ตาม ครั้งหนึ่งท้าวกรุงพาณ ทำอุบายแปลง
บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลท่ี ๑ กายเป็นตุ๊ดตู่ แอบอยู่ข้างประตูวิมาน ทาง
ท้าวกรุงพาณ พระยายักษ์ครองกรุง ปราสาทไพชยนต์ของพระอินทร์ เพื่อจำมนต์
รัตนา มีมเหสีนามว่า นางไวยกา มีอิทธิฤทธ์ิ ปิดเปิดทวาร เมื่อพระอินทร์ออกไปประพาส
มาก ประพฤติตนเป็นอันธพาล เที่ยวเกะกะ สวนนันทวัน ท้าวกรุงพาณจึงแปลงกายเป็น
เกเร สร้างความเดือดร้อนแก่หมู่สัตว์ทั้งปวง พระอินทร์ แล้วร่ายเวทเปิดประตูเข้าไปหานาง
ไม่เว้นแม้แต่เทวดานางฟ้า จนพระอินทร์ต้อง สุจิตรา มเหสีเอกของพระอินทร์ เมื่อได้เชยชม
พาเหล่าคณะเทพขึ้นไปเฝ้าพระอิศวร ณ เขา นางสจุ ิตราแล้ว จึงเหาะกลับมายังกรุงรัตนา
ไกรลาส เพอื่ ขอความชว่ ยเหลือ เมื่อพระอินทร์กลับมาจากสวนนันทวัน
พระอิศวรจึงมีบัญชา ให้พระนารายณ์ แล้ว ทราบความเป็นจริงทั้งหมด เกิด
เสด็จอวตาร ลงมาปราบหมู่มาร เป็นพระบรม ความรู้สึกที่ยากจะบรรยายได้ ดังในบทพระ
จักรกฤษณ์ ครองกรุงณรงกา มีมเหสีนามว่า ราชนิพนธ์กล่าวไว้ว่า
นางจันทมาลี มีโอรสชื่อ ไกรสุท ซึ่งอภิเษกกับ
นางรัตนา จนตอ่ มามีโอรสนามวา่ พระอณุ รทุ
“เสยี เมียดง)ั เสยี ชีวิต น้อยจิตปิม4 เลือดตาไหล
เสยี แรงที)เรืองฤทธิไกร มาเสยี รู้แก่อ้ายทรลกั ษณ์”
(พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลก, ๒๕๔๕ หน้า ๗๖)
- ๑๐ -
ส่วนนางสุจิตรามีความแค้นเคืองท้าวกรุง ท้าวกรุงพาณ และนางไวยกา ได้ขอนาง
พาณเป็นอันมาก ปรารถนาจะแก้แค้น โดยการ อุษามาเลี้ยงเป็นธิดา ด้วยทั้งคู่ยังไม่มีพระราช
จุติไปเกิดในโลกมนุษย์ เพื่อล้างมลทินของนาง โอรส หรือพระราชธิดาเลย เมื่อได้นางอุษามา
จึงชวนเหล่าเทวาทั้งหลายขึ้นเฝ้าพระอิศวร และ เลี้ยงเป็นพระธิดาบุญธรรมแล้ว ท้าวกรุงพาณได้
ทูลเรื่องที่เกิดขึ้นให้พระอิศวรได้ทราบทั้งหมด ให้เหล่าเทวดา มาช่วยกันนิมิตปราสาท ให้แก่
พระอิศวรได้ทรงประทานพรให้นางสุจิตราลงมา นางอุษา ทั้งยังมีพี่เลี้ยงทั้งห้าคอยถวายการรับใช้
เกิดในดอกบัวในสระโบกขรณี ใกล้กับอาศรม อย่างใกล้ชิด นางศุภลักษณ์เป็นพี่เลี้ยงที่นางอุษา
ของฤษีสุธาวาส พระฤษีได้เก็บนางมาเลี้ยงดู รักใคร่มากที่สุด ต่อมานางไวยกาก็ประสูติ
เป็นอย่างดีและตั้งชื่อให้ว่า นางอุษา เมื่อนาง พระโอรสมนี ามวา่ ทศมขุ
เติบโตขึ้น ความงามของนางอุษาเลื่องไปทั่ว จน
ความทราบถึงทา้ วกรงุ พาณ
- ๑๑ -
ภาพนางศภุ ลกั ษณถ์ ือกระดาษไปวาดรปู เหลา่ เทพเจ้า เมื่อพระอุณรุทเจริญพระชันษาขึ้น
ท้าวอุทุมราชได้ถวายนางศรีสุดาให้เป็นพระ
เหลา่ เทพบุตร กษตั รยิ ์ ชายา วันหนึ่งพระอุณรุทเสด็จประพาสป่า
ท่ีมา : ประพัฒนพ์ งศ์ ภวู ธน, ๒๕๔๗, หน้า ๒๖ พร้อมด้วยนางศรีสุดา พระอินทร์ให้พระมาตุลี
แปลงเป็นกวางทองมาล่อ นางศรีสุดาเกิด
ความอยากได้จึงทูลขอร้องให้พระอุณรุทไล่จับ
กวางทองมาให้ ทำให้พระอุณรุทพลัดกับไพร่
พลและพระชายา ข้าราชบริพารนำนางศรีสุดา
กลับเข้าเมือง ส่วนพระอุณรุทและข้าราช
บริพารที่ติดตามมาทัน พักแรมที่ต้นไทรใหญ่
ก่อนบรรทมพระอุณรุทได้ขับลำบวงสรวงขอ
พรพระไทรเทพารักษ์ พระไทรสงสารที่พระ
อุณรุท ต้องมานอนเดียวดายอยู่กลางป่า พระ
ไทรจึงอุ้มพระอุณรุทไปสมนางอุษายังกรุง
รัตนา ทั้งยังผูกโอษฐ์มิให้ทั้งสองพูดจากัน พอ
ใกล้รุ่งพระไทรก็อุ้มพระอุณรุทกลับมาไว้ที่เดิม
ครั้นตื่นบรรทมไม่พบนางอุษา จึงได้แต่คร่ำ
ครวญ จนทา้ วไกรสทุ ใหห้ ายายมดมาขับผี
ฝ่ายนางอุษา ก็โศกเศร้าถึงพระอุณรุท
นางศุภลักษณ์พี่เลี้ยงจึงรับอาสาไปวาดรูป
เหล่าเทพเจ้า ดังมีภาพการแสดงละครในเรื่อง
อุณรุท ในฉากที่นางศุภลักษณ์นำกระดาษไป
วาดรปู เหล่าเทพ ดังนี้
- ๑๒ -
การวาดรูปเหล่าเทพบุตร กษัตริย์ และ เมื่อนางอุษาว่าดูรูปพระอุณรุทแล้ว ก็
พระราชโอรสต่าง ๆ ของนางศุภลักษณ์ มีถึง ๓ ทราบว่า เป็นพระสวามีนางศุภลักษณ์ จึงรับ
ครั้งด้วยกัน คือ ครั้งที่ ๑ เหาะขึ้นไปบนสรวง อาสาไปสะกดพระอุณรุท แล้วเชิญอุ้มกลับมา
สวรรค์วาดรูปเทพเจ้าทั้ง ๖ สวรรค์ชั้นฟ้า เช่น สมกับนางอุษา ดังภาพจิตรกรรมแสดงถึงนาง
พระอิศวร พระขันธกุมาร พระนารายณ์ ฯลฯ ศุภลักษณ์อุ้มพระอุณรุทเหาะมายังเมืองณรงกา
ครั้งที่ ๒ วาดรูปเหล่ากษัตริย์ และพระราชโอรส ของ นายศภุ กร ศภุ กิจจานุสรณ์ ดงั น้ี
ของเมืองต่าง ๆ ยกเว้นแต่เมืองณรงกา ที่มิได้
วาด และครั้งที่ได้วาดรูปพระอุณรุท พระราช
โอรสของท้าวไกรสทุ แห่งกรุงณรงกา
- ๑๓ -
ต่อมาทศมุขไม่เห็นนางอุษามาเฝ้าพระบิดา จึงมาหาที่ปราสาทพบพระอุณรุทประทับ
บนพระแท่นคู่กับนางอุษา จึงขึ้นถีบพระอุณรุทตกเตียง ทั้งสองเข้าปะทะกัน จนทศมุขเสียที
นางอุษาขอชีวติ และให้ปล่อยทศมขุ ไป
ท้าวกรุงพาณทราบความ จึงจัดกองทัพ
เฝ้าล้อมปราสาทนางอุษาไว้ ท้าวกรุงพาณขอให้
กาพลนาคมาช่วยรบกับพระอุณรุท พระอุณรุท
เสียที ถูกท้าวกาพลนาคจับมัดประจานไว้บน
ยอดปราสาทเทวดา จึงไปทูลพระบรม
จักรกฤษณ์ จากนั้นพระองค์ทรงครุฑเสด็จมา
ช่วยพระอุณรุท และมอบธำมรงค์วิเศษไว้ให้
ปราบหมู่มาร พระอุณรุทรบและฆ่าท้าวกรุง
พาณตาย ณ เขาอังชัน เมื่อถวายพระเพลิงท้าว
กรุงพาณแล้ว พระอุณรุทอภิเษกให้ทศมุขครอง
กรุงรัตนาสืบไป จากนั้นเสด็จกลับเข้าเมือง
พร้อมดว้ ยนางอุษา
เมื่อนางอุษาพบกับศรีสุดา พระชายาคน
ก่อนของพระอุณรุท มีการหึงหวงกันบ้าง
ภายหลังก็ปรองดองกัน ต่อมาพระอุณรุทเสด็จ
ไปคล้องช้าง ได้นางกินรีทั้ง ๕ ตน และได้ปราบ
วิทยาธรชื่อว่า วิรุญเมศ ได้ช้างเผือกกลับมายัง
กรุงณรงกา สุดท้ายได้ครองเมืองด้วยความเป็น
สุขสืบตอ่ ไป
- ๑๔ -
๔. ท่ีมาของการแสดงชดุ ศภุ ลกั ษณอ์ มุ้ สม
การแสดงชุดนี้อยู่ในบทพระราชนิพนธ์ กระบวนรำชุดศุภลักษณ์อุ้มสมนี้ ได้มีการ
ตอนที่ ๒๐ ของเรื่องอุณรุท ซึ่งเป็นตอนสุดท้าย ถ่ายทอดสืบทอดมาจากละครหลวงในรัชกาลที่
ของภาคต้น เริ่มตั้งแต่นางอุษาได้รับภาพวาด ๒ โดยครูละครที่สำคัญ ๓ ท่านคือ หม่อมครู
พระอุณรุทจากนางศุภลักษณ์และนางศุภลักษณ์ แย้ม หม่อมครูอึ่ง และหม่อมครูนุ่ม ซึ่งได้เข้ามา
พาพระอุณรุทเหาะมายังเมืองรัตนา เพื่อมาสม สอนละครในวังสวนกุหลาบ ของสมเด็จเจ้าฟ้า
นางอุษา จนถึงพระพี่เลี้ยงทั้งห้ากันนางกำนัล อัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา และได้
ไม่ให้มาวุ่นวายในปราสาท โดยอ้างว่านางอุษา ถ่ายทอดกระบวนรำชุดนี้ให้แก่ คุณครูลมุล ยมะ
ประชวร จนเป็นท่สี งสยั ของเหลา่ กำนลั ทงั้ สิ้น คุปต์ คุณครูเฉลย ศุขะวณิช และท่านผู้หญิงแผ้ว
สำหรับการแสดงชุดศุภลักษณ์อุ้มสมน้ี สนิทวงศ์เสนี (อัญชนา โรหิตเสถียร และสุทธินา
เป็นการแสดงการร่ายรำที่บรรยายถึงภาพของ ดา เอกกมลกุล, ๒๕๔๙, หน้า ๑๗) ซึ่งได้
นางศภุ ลักษณข์ ณะพาพระอุณรุทเหาะมายงั เมอื ง ถ่ายทอดต่อให้แก่ศิษย์ในกรมศิลปากร และ
รตั นาในยามกลางคนื กระจายไปยังสถาบนั การศึกษาอีกหลายแหง่
- ๑๕ -
๕. ประวตั ติ ัวละครในการแสดงชุดศภุ ลกั ษณอ์ มุ้ สม
ในการแสดงชุดนี้มีตัวละครสำคัญคือ พระอุณรุทและนางศุภลักษณ์ ดังมีประวัติและ
ความสำคญั ดังน้ี
๕.๑ พระอุณรุท เป็นกษัตริย์โอรสท้าวไกรสุท แห่งกรุงณรงกา เป็นหลานของพระนารายณ์
เปน็ ผมู้ ีรูปโฉมงดงาม ดงั บทพระราชนิพนธ์ ดังน้ี
ยังองคพ์ ระศรีอณุ รุท ลกู ท้าวไกรสทุ เรืองศรี
หลานพระหริรักษ์จกั รี ทรงโฉมพน้ ท่จี ะพรรณนา
งามรูปงามทรงวงพักตร์ จำเรญิ รกั ยวั่ ยวนเสน่หา
ลือท่ัวดินแดนแผน่ ฟ้า อยู่ณรงกาแกว้ กรุงไกร
(พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, ๒๕๔๕, หน้า๑๙๔)
พระอุณรุท นอกจากจะมีรูปโฉมงดงามแล้ว ยังมีความสามารถทางด้านการรบอย่างกษัตริย์
และหมั่นฝกึ ซอ้ มฝมี ือเป็นประจำอกี ด้วย ดงั บทพระราชนพิ นธ์ ดังนี้
พระเดชดังสุรยิ าเพลาเทยี่ ง สำเนยี งคณุ เลอ่ื งหลา้ ปรากฏ
พระเกียรตกิ ้องทกุ นครขจรยศ เกรงศกั ดาหมดทง้ั แปดทิศ
.............................................. ..........……………………………..
เช้าเยน็ เลน่ ลองคชสาร ซอ้ มหดั ทวยหาญให้แกล้วกลา้
ประลองรถสินธพอาชา ศึกษาไม่เวน้ ทวิ าวัน
................................... .............................
เล่นขอล่อแพนด้วยสินธพ เลยี้ วไลต่ ลบสบั สน
ชำนชิ ำนาญชาญผจญ แกว่นแกลว้ ทกุ กลกษัตรา
(เรอ่ื งเดยี วกัน., หน้า ๘๖)
- ๑๖ -
พระอุณรุท นอกจากจะเป็นพระเอก จนถึงไปอุ้มพระอุณรุทมาสมนางอุษา
แล้ว ยังเป็นตัวละครสำคัญในการดำเนินเรื่อง ยังปราสาทของนาง จากนั้นเกิดศึกระหว่าง
ตนหนึ่งด้วย เพราะพระอุณรุทเป็นผู้บวงสรวง ท้าวกรุงพาณกับพระอุณรุท ร้อนถึงท้าวบรม
พระไทรทำให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้น จักรกฤษณ์ ต้องมาช่วยพระอุณรุทรบจน
มากมาย เริ่มตั้งแต่พระไทรพาพระอุณรุทไป เสด็จกลับกรุงณรงกา เมื่อเสร็จศึกท้าวกรุง
อุ้มสมกับนางอุษา เป็นเหตุให้นางศุภลักษณ์พี่ พาณ ตอนสุดท้ายยังกล่าวถึงพระอุณรุทเป็น
เลี้ยงต้องไปวาดรูปเทวดา และกษัตริย์ทุก ผู้เสด็จไปล้อมช้างได้นางกินรี และจากนาง
พระองคม์ าใหน้ างอษุ าเลอื ก กลับคนื กรุงณรงกาอกี คร้งั
- ๑๗ -
๕.๒ นางศภุ ลกั ษณ์เป็นนางยักษ์ มตี ำแหน่งเปน็ “พระพี่เล้ยี ง” ของนางอษุ า
พระราชธิดาท้าวกรุงพาณ เจ้าเมืองรัตนา เป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อนางอุษาเป็นอย่างยิ่ง
จึงเปน็ ท่รี กั ใคร่ และสนิทเสนห่ าย่ิงกว่านางพเี่ ลย้ี งท้งั หมด ดงั บทพระราชนพิ นธ์ดงั นี้
อันนางศภุ ลกั ษณ์กรรฐา แสนสนทิ เสนห่ าสายสมร
ชอบชดิ พิศวาสบงั อร กว่านิกรนารที ้งั สีน่ าง
จะเทย่ี วจรวอนเล่นสง่ิ ใด กต็ ามใจไมท่ ัดขดั ขวาง
จำเรญิ จติ พสิ มยั ไวว้ าง พ่างเพียงชีวิตพระธิดา
(เรือ่ งเดียวกนั , หนา้ ๑๓๔)
นางศุภลักษณ์ เป็นผู้รับอาสานางอุษาเหาะขึ้นไปวาดรูปเทพเจ้า กษัตริย์ถึง ๓ ครั้ง จนพบ
พระอุณรุท และเชิญพระอุณรุทจากเมืองณรงกา มาสมกับนางอุษาที่ปราสาทของท้าวกรุงพาณ
ดังคำกลอนตอ่ ไปนี้
อนั ซึ่งพ่ีนางศุภลกั ษณ์ จงรกั รว่ มชพี สงั ขาร
อาสาเท่ียวไปในไตรดาล ทำการวาดรปู ถงึ สามครา
แลว้ กลบั ไปเชญิ องคพ์ ระทรงเดช มายังนคเรศยักษา
ไม่กลัวภัยอาลัยแก่ชวี า ความกลั ยาเอนกอนนั ต์
(เร่ืองเดียวกนั , หนา้ ๒๙๒)
- ๑๘ -
ครั้นเมื่อกองทัพของท้าวกรุงพาณเคลื่อนมา
ล้อมปราสาทของนางอุษานั้น นางก็ทราบว่า ตนไม่
สามารถต่อสู้กับทัพนั้นได้จึงได้ร่ายเวทมนต์กำบัง
กาย แล้วไปหลบอยู่ยังเขาจักรวาล เมื่อได้ทราบเรื่อง
จากเหล่าเทวดานางฟ้าว่าพระอุณรุทปราบท้าวกรุง
พาลสำเร็จแล้วจึงเหาะกลับมา ด้วยความดีทั้งหมด
ของนาง นางอุษาจึงทูลพระอุณรุทให้พระราชทาน
ทรัพย์คฤงคารแก่นางศุภลักษณ์ ได้แก่ มงกุฎ
สังวาลเพชร ธำมรงค์ สะอิ้ง ทับทรวง ทองกร พาน
ทอง วอทอง ทาสา ทาสี เงินตรา ผ้าทรง และที่อยู่
อาศัยอันเหมาะสม ให้แก่ นางศุภลักษณ์จึงได้สนอง
คุณ ในตำแหน่งพระพี่เลี้ยงของนางอุษาด้วยความ
จงรักภักดีสืบไป จึงนับว่านางศุภลักษณ์เป็นตัวละคร
ที่มีความสำคัญมากตัวหนึ่งของเรื่องอุณรุท เป็นตัว
ละครที่ทำให้เรื่องดำเนินต่อไป จนเข้าสู่ความ
คลคี่ ลายของปญั หาในท่สี ุด
- ๑๙ -
คุณครูเฉลย ศุขะวณิช ผู้เชี่ยวชาญการ ดังจะเห็นได้ชัดเจนอีกประการหนึ่ง คือ
สอนนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป์ ได้กล่าวถึง การใช้คำขึ้นต้นบทกลอน ที่กล่าวถึงนางศุภลักษณ์
นางศุภลักษณ์ว่า แท้จริงแล้วเป็นนางฟ้าจำแลงลง ในบทละครเรื่อง อุณรุท พระราชนิพนธ์ใน
มาเกิดเป็นนางยักษ์ เพื่อคอยให้ความช่วยเหลือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
นางอุษา นางศุภลักษณ์เป็นตัวละครที่มี มีหลายบทที่ใช้คำขึ้นต้นว่า “เมื่อนั้น” ซึ่งเป็นคำ
ความสามารถในการวาดภาพ และมีฤทธิ์เดช ขึ้นต้นที่ใช้สำหรับตัวละครที่มีศักดิ์เป็นเจ้าเมือง
มากกว่าตัวนางอื่น ๆ (ประพัฒน์พงศ์ ภูวธน, กษัตริย์ ตัวละครสำคัญของเรื่องหรือของตอน อีก
๒๕๔๗, หน้า ๑๖) ทั้งมีการกำหนดเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงที่ใช้สำหรับ
การสำแดงฤทธิเ์ ดช เช่น เพลงคกุ พาทย์ เปน็ ตน้
- ๒๐ -
๖. รปู แบบของการแสดงละครเรือ่ งอณุ รทุ
เรื่องราวของ “อุณรุท” เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ในรัชสมัย
ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในรูปของ “อนิรุทธคำฉันท์” ของศรีปราชญ์กวีคนสำคัญ ต่อมา
ในสมยั กรงุ ศรีอยุธยาตอนปลาย ไดม้ ีการนำเรอื่ งอณุ รุท มานำเสนอในรูปแบบของการแสดง
ทำให้พบว่า นอกจากการแสดงละครใน
แล้ว การแสดงเรื่องอุณรุท ยังสามารถแสดงใน
รปู แบบตา่ ง ๆ ดงั ตอ่ ไปนี้
๖.๑ การแสดงละครใน เป็นการแสดงที่
นิยมใช้ผู้หญิงแสดง และจะแสดงแต่ในเขต
พระราชฐานชั้นใน ท่ารำและเพลงร้อง จึงมี
ลักษณะที่นิ่มนวลตามแบบสตรีในราชสำนัก
หรือนางในนั่นเอง เรื่องที่ใช้แสดงมี ๓ เรื่อง คือ
อุณรุท รามเกียรติ์ และอิเหนา เพลงร้องมี
เฉพาะ คือ เพลงจำพวกทางในต่าง ๆ เช่น ร่าย
ใน โอ้ปี่ใน ฯลฯ เพลงที่ร้องช้า ๆ นุ่มนวล ผู้
แสดงจะต้องมีความชำนาญในการรำเป็นอย่าง
ดี เพราะต้องการท่ารำที่สวยงามเหมาะกับ
เพลง และมุ่งรักษาศิลปวัฒนธรรมไว้เป็นมรดก
ของชาติ
- ๒๑ -
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ส่วนการที่นำเอาเรื่อง อุณรุท มาใช้
ดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายถึงมูลเหตุของการ แสดงนั้นทรงอธิบายต่อว่า “ครั้นต่อมาจะเล่น
เกดิ ละครในไว้ดงั นี้ ระบำให้เรื่องแปลกออกไป จึงเลือกเอาเรื่องโขน
บางตอนที่เหมาะสมแก่กระบวนฟ้อนรำ เช่น
“ … อนั มลู เหตทุ จ่ี ะมลี ะครผหู้ ญงิ ขน้ึ ใน อุณรุทในเรื่องกฤษณาวตาร เป็นต้น มาคิดปรุง
สยามประเทศนี้ ยังไม่พบเรื่องราวกล่าวไว้ ณ ท่ี กับกระบวนละคร ฝึกซ้อมให้นางรำของหลวง
ใด จึงได้พิเคราะห์ดู โดยเค้าเงื่อนอันมีใน เล่น ครั้นเล่นก็เห็นว่าดี จึงให้มีละครผู้หญิงของ
ตำนานของโขนละคร สันนิษฐานว่า ชั้นเดิมเห็น หลวงขึ้นตั้งแต่นั้นมา ชั้นแรกเห็นจะเล่นแต่เรื่อง
จะเป็นด้วยพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดพระองค์ อุณรุท แล้วจึงหัดเล่นเรื่องรามเกียรติ์อีกเรื่อง
หนึ่ง ซึ่งครองกรุงศรีอยุธยา (บางทีจะเป็นในชั้น บางทีจะเป็นเพราะเหตุผลที่เอาเรื่องอุณรุทไป
ก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์) ทรง ให้นางรำของหลวงเล่นนั้นเอง โขนจึงมิได้เล่น
พระราชดำริ ให้นางรำเล่นระบำเข้ากับเรื่องไสย เรื่องกฤษณาวตารต่อมา” (เรื่องเดียวกัน, หน้า
ศาสตร์ เช่น ให้แต่งเป็นเทพบุตรเทพธิดาจับ ๑๕-๑๖)
ระบำเข้ากับรามสูรเป็นต้น....บางทีจะเป็นระบำ
เรื่องนี้เองที่เป็นต้นตำรับละครใน” (สมเด็จพระ
เจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ,
๒๕๐๘, หนา้ ๑๖-๑๗)
- ๒๒ -
หลังจากนั้นก็มีการแสดงละครในเรื่องอุณรุทเรื่อยมา ดังปรากฏถึงการแสดงละครผู้หญิง
ของหลวงในงานสมโภชพระพุทธบาท มีกล่าวไว้ใน “ปุณโณวาทคำฉันท์” ของพระมหานาค วัดท่า
ทราย คราวสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จประพาสและสมโภชพระพุทธบาท เข้าใจว่าเมื่อปี
พ.ศ. ๒๒๙๓ ว่า
“ละครก็ฟ้อนรอ้ ง สรุ ศัพท์ขบั ขาน
ฉับฉำ่ ทต่ี ำนาน อนิรุทธกนิ รี
ฝา้ ยฟอ้ นละครใน บรริ กั ษจักรี
โรงรมิ คิรมี ี กลลบั บ่แลชาย
ลว้ นสรรสกรรจ์นาง อรออ่ นลอออาย
ใครยลบอ่ ยากวาย จติ เพอ้ ลเมอฝนั
ร้องเรือ่ งละเดน่ โดย บษุ บาตนุ าหงัน
พาพกั คหุ าบรร พตร่วมฤดีโลม”
(อุทยั ศรี ณ นคร, ๒๕๔๒, หน้า ๓๒๑๕)
“ละครใน” ในบทกลอนนี้ไม่น่าจะใช่ “ละครใน” ที่เป็นคำเฉพาะ แต่น่าจะหมายความว่า เป็น
ละครของพระมหากษัตริย์ ซึ่งต่อมาเรียกละครเช่นนี้ว่า ละครผู้หญิงของหลวง จนถึงรัชกาลที่ ๔
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สรุ พล วิรฬุ ห์รกั ษ์, ๒๕๔๓, หน้า ๓๐)
ภาพการแสดงละครในเรอ่ื งอณุ รทุ ตอนศุภลกั ษณ์วาดรปู อุ้มสม
ท่มี า : https://youtu.be/0n4bwwlTu7Q
ในปัจจุบันก็ยังมีการแสดงละครในเรื่องอุณรุท ตอนศุภลักษณ์วาดรูป ถึงศุภลักษณ์อุ้มสม
ในโอกาสต่าง ๆ เช่น รายการศรีสุขนาฏกรรม การแสดงละครในเรื่องอุณรุท เนื่องในงานคุรุปูชนีย์
๙๖ ปี คุณครเู ฉลย ศุขะวณิช เป็นต้น
- ๒๓ -
๖.๒ การแสดงละครนอก (บทพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรม
พระยานริศรานุวัดติวงศ์) เป็นการแสดงละครที่มีแบบแผนตรงกันข้ามกับละครใน นิยมใช้
ผู้ชายแสดงล้วน เนื้อเรื่องและถ้อยคำที่ใช้ในการแสดง จึงรวดเร็วและติดตลก มุ่งหวังความ
สนุกสนานและตลกคะนองเป็นสำคัญ วิธีการแสดงนั้นไม่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี
กษัตริย์อาจจะเล่นกับเสนาได้ เครื่องแต่งกาย แต่งแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์
เรียกว่า “ยืนเครื่อง” นิยมแสดงเรื่อง สังข์ทอง สุวรรณหงส์ ฯลฯ ยกเว้น ๓ เรื่องที่ใช้ในการ
แสดงละครใน คือ อุณรุท รามเกียรติ์ และอิเหนา (จาตุรงค์ มนตรีศาสตร์อ้างถึงในประพัฒน์
พงศ์ ภวู ธน, ๒๕๒๗, หน้า ๖๗)
- ๒๔ -
บทละครเรื่องอุณรุท ตอนสมอุษา พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรม
พระยานริศรานุวัดติวงศ์ ปรากฏว่า มีการแสดงบทบาทของนางศุภลักษณ์ ตอนศุภลักษณ์วาดรูป
และศุภลักษณ์อุ้มสมแทรกอยู่ด้วย การแสดงละครนอกครั้งนี้ ทรงปรับปรุงขึ้นเป็นกรณีพิเศษ
เพื่อให้ หม่อมหลวงเล็ก กุญชร ได้มีโอกาสแสดงเป็นตัวทศมุข ในงานโกนจุก หม่อมหลวงวงศ์
กมลาศน์ (กุญชร) เมอ่ื ปี พ.ศ. ๒๔๔๙ หม่อมเจ้าดวงจติ ร จติ รพงศ์ ไดอ้ ธิบายไวด้ งั นี้
“ … บทละครเรื่องอณุ รุทนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ทรงปรับปรุงขึ้นเป็นแบบละครนอก เพื่อให้ฝึกซ้อมเล่นงานโกนจุก ม.ล.วงศ์ กมลาศน์ (กุญชร) เมื่อ
ราว พ.ศ. ๒๔๔๗ ทั้งนี้เพราะในสมัยนั้น ม.ล.เล็ก กุญชร ธิดาเจ้าพระยาเทเวศวร์ฯ อายุได้ ๘ - ๙
ขวบ รำละครได้อย่างดี เคยเล่นเป็นตัวนางแมว ในเรื่องไชยเชษฐ์ถวายตัวหน้าพระที่นั่ง เป็นที่พอ
พระราชหฤทัยมาแล้ว จึงทรงเอ็นดูคิดหาเรื่องอันมีบทตัวกุมาร ให้เธอได้มีโอกาสออกร่วมการแสดง
ด้วย ละครเรื่องอุณรุทครั้งนี้ ม.ล.เล็ก ได้ออกแสดงเป็นตัวทศมุข แต่บทที่พิมพ์ในหนังสือนี้ คัดมา
จากต้นฉบับที่ทรงร่างไว้ในการแสดงจริง ๆ นั้นจะได้ตัดทอนอย่างใดบ้างไม่ปรากฏ .. ” (ประพัฒน์
พงศ์ ภวู ธน, ๒๕๔๗, หน้า ๑๘-๑๙)
บทละครสำนวนนี้ น่าจะเป็นการแสดงละครนอกแบบหลวงที่มีลักษณะผสมผสานระหว่าง
ละครในและละครนอก โดยรักษาไว้ซึ่งความงดงาม ความประณีตของละครใน และการใช้ความ
รวดเร็วในการดำเนินเรื่องอย่างละครนอก เป็นแนวทาง จึงตัดบทที่งดงามแต่เชื่องช้าออกไป งดการ
ใช้เสียงของคนรำและนำกลวิธีตลกแบบละครนอกมาใช้บ้าง ลักษณะดังกล่าวเด่นชัด จึงควรนับว่า
ละครนอกแบบหลวง เป็นละครอีกประเภทหนึ่งต่างหากไปจากละครในและละครนอก (สุรพล วิรุฬ
รักษ์, ๒๕๔๓, หน้า ๑๐๓ - ๑๐๔) ดังจะได้ยกตัวอย่างบทละครนอก สำนวนนี้เฉพาะเหตุการณ์ท่ี
นางศุภลักษณ์พาพระอุณรุทไปยังปราสาทนางอุษา เพื่อให้เห็นวิธีการตัดบทละคร จากการแสดง
ละครในมาเปน็ ละครนอก ดงั น้ี
- ๒๕ -
เมอ่ื น้ัน ร้องร่าย
เสดจ็ ดว่ นไปสรงคงคา พระอุณรุทเกษมสันตห์ รรษา
ใหพ้ ี่เลีย้ งคอยท่าพาจรฯ
ปี่พาทย์ทำเพลงเสมอ
เสร็จสรงทรงเครือ่ งสรรพเสรจ็ ทรงพระแสงขรรคเ์ พชรพึงสยอน
ศภุ ลักษณย์ ักษแ์ บกพระภธู ร ออกโดยบัญชรเหาะไปฯ
ปี่พาทย์ทำเพลงเชดิ ฉิ่ง
ร้องบลิ่ม
เลื่อนลอยมากลางอากาศ โอกาสงามแขง่ แขไข
แสงจนั ทน์จับองค์ภวู ไนย แลวไิ ลงามเนอ้ื นวลผจง
งามนางเปน็ พาหนะรอง ทำนองดังนางราชหงส์
งามภูวนาถนั่งดำรงทรง ดังองคพ์ รหมเมศรฤ์ ทธี
ดนั้ หมอกออกเมฆมาไวไว เทเวศรอวยไชยอึงมี่
รีบเรง่ เรว็ มาในราตรี หมายมงุ่ บรุ ีรตั นาฯ
ปี่พาทย์ทำเพลงเชิด
- ๒๖ - (ประพัฒน์พงศ์ ภวู ธน, ๒๕๔๗, หนา้ ๑๑๓)
๖.๓ การแสดงเบ็ดเตล็ด เป็นการเลือก ดงั นน้ั การแสดงรำคู่ ชุดศุภลักษณอ์ ุม้ สม
ชุดการแสดงหลากหลายประเภท รวมถึงการ จึงเป็นชุดหนึ่งที่ได้รับการเลือกเข้ามาแสดง
แสดงเป็นชุดเป็นตอนด้วย โดยคัดตอนมาแสดง ร่วมกับการแสดงอื่น ๆ เนื่องจากเป็นชุดที่
อย่างละเล็กละน้อย นำมาแสดงในคราว สวยงามแปลกตา แสดงถึงฝีมือของผู้แสดงท่ี
เดียวกัน เพื่อให้เหมาะสมแก่เวลาและโอกาส สามารถแสดงให้เห็นว่า นางศุภลักษณ์กำลังอุ้ม
ชุดการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่ได้รับการคัดเลือก พระอุณรุทพาเหาะไปในอากาศ
ได้แก่ การแสดงชดุ ใหญ่ การแสดงรำเดี่ยว รำคู่
การแสดงโขน การแสดงชุดสั้นๆ การต่อสู้ด้วย
อาวุธต่าง ๆ และการแสดงพน้ื เมอื ง ฯลฯ
- ๒๗ -
องค์ประกอบการแสดง
ชุด ศุภลักษณ์อุ้มสม
- ๒๘ -
ผูแ้ สดง
ประกอบด้วยผู้แสดง ๒ คน คือ พระอุณรุท และนางศุภลักษณ์ ควรมีรูปร่างขนาด
และวัยใกล้เคียงกัน อย่างที่ภาษาละคร เรียกว่า “งามสมกัน” จะต้องเป็นผู้มีรูปงามรำงาม
พื้นฐานความรู้ความสามารถในการรำดี มีปฏิภาณไหวพริบ และพลานามัยดี โดยเฉพาะท่า
รำของตัวพระ นาง จะตอ้ งมลี ลี าสัมพนั ธ์กนั ไดเ้ ป็นอยา่ งดี ดังน้ี
- ๒๙ -
อณุ รทุ
อุณรุท ควรมีบุคลิกเช่นเดียวกับตัวละครพระ ในการแสดงละครใน ซึ่งประกอบด้วย ความ
งาม และฝีมือทางการแสดงของผู้แสดงเป็นสำคัญ พระอุณรุท ควรมีรูปร่างไม่เล็กและไม่ใหญ่
เกินไป ดูแล้วสมส่วนแต่ควรจะสูงกว่านางศุภลักษณ์ ผิวพรรณควรสะอาดสะอ้านหมดจด มีบุคลิก
สง่างาม ฝีมือการรำต้องมีทักษะมากพอควร เพราะการแสดงชุดนี้มีความยากและผู้แสดงต้องมีฝีมือ
จรงิ ๆ ถงึ จะทำใหก้ ารแสดงชุดน้อี อกมางดงามและสมบูรณแ์ บบ
- ๓๐ -
นางศุภลักษณ์
ศุภลักษณ์ ตามบุคลิกของตัวนางในละครในต้องนุ่มนวลและสง่างาม ประกอบกับรูปร่าง
น่าตาที่สวยสะอาด ผิวพรรณดี มีฝีมือและความเชี่ยวชาญในการรำบทบาทของตัวนางแบบทีท้าว
ทีพญา และการแสดงอารมณ์ความรู้สึกเล็กน้อยทางใบหน้า ดวงตา และกิริยาท่าทาง แต่แฝงไว้
ด้วยความฉลาด อ่อนหวาน เด็ดเดี่ยวและเข้มแข็ง จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างมาก ในอันที่จะทำให้
สวยงาม ชวนติดตาม (ผุสดี หลิมสกุล , ๒๕๔๖, หน้า ๑) รูปร่างหน้าตา ต้องมีความสวยงาม
รูปร่างสันทัด แขนขาเรียวยาว ไม่โก่ง ลำตัวช่วงบนไม่สั้น คอยาว หน้าผากกว้าง ใบหน้ากลมแป้น
หรือรูปไข่เหมาะกับที่จะใส่มงกุฎ รัดเกล้า หรือกระบังหน้า ตาดำ จมูกโด่ง ปากเรียวได้รูป (เรื่อง
เดียวกัน, หน้า ๓) ผู้ที่มีหน้าตาดี มักได้รับการเอาใจใส่จากครูเป็นพิเศษ เพราะครูมุ่งหวังที่จะให้
หัดเพื่อเป็นตัวเอก แต่หากว่าการมีหน้าตาที่งดงาม โดยปราศจากความขยันฝึกซ้อม และเอาใจใส่
ในกระบวนทา่ รำให้สวยงาม บคุ คลเหล่านน้ั กไ็ ม่อาจจะเปน็ ตัวเอกทีส่ มบูรณไ์ ดเ้ ลย
- ๓๑ -
ผู้รับบทบาทพระอุณรุท และนางศุภลักษณ์ ต้องผ่านการฝึกหัดท่ารำพื้นฐานที่ดี
ประกอบกับลีลาท่าทางที่นุ่มนวล อ่อนช้อย จำจังหวะได้อย่างแม่นยำ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมบทบาท
ให้เด่นขึ้นอย่างรวดเร็ว ในการใช้ความสามารถในการรำขั้นสูง ฝีมือในการร่ายรำ จึงเป็นสิ่งที่
ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาเป็นอันดับแรก ก่อนรูปร่างหน้าตา อีกทั้งต้องฝึกฝนการใช้ไหวพริบ
ปฏิภาณ รวมถึงทักษะในด้านความจำ และการแสดงออกทางนาฏยลีลาที่ถูกต้องครบถ้วน
กระบวนรำอยา่ งมศี ลิ ปะดว้ ย
- ๓๒ -
เพลงร้อง
และทำนองเพลง
- ๓๓ -
ศุภลักษณ์อุ้มสม ใช้ทำนองและเพลงร้องประกอบการแสดง รวม ๔ เพลง ได้แก่ เพลงเชิดฉิ่ง
เพลงเชิด เพลงบลิ่ม และเพลงเบ้าหลดุ ชนั้ เดยี ว ดงั มีเนื้อร้องดังต่อไปนี้
- ป่ีพาทยท์ ำเพลงเชิดฉงิ่ เชิด -
- ร้องเพลงบลม่ิ -
เลอื่ นลอยมากลางนภากาศ โอภาสงามแขง่ แขไข
แสงจนั ทร์จับองค์ภูวนยั วิไลล้ำกว่านวลจนั ทรา
สีดาวจบั เคร่อื งพระโฉมฉาย อรา่ มพรายกวา่ ดาวบนเวหา
นวลพระองค์จับทรงกลั ยา รจนางามเนื้อนวลผจง
- รอ้ งเพลงเบา้ หลดุ ช้ันเดียว -
งามนางเป็นพาหนะรอง ทำนองดงั นางราชหงส์
งามภูวนารถนัง่ ดำรงทรง ดงั องคพ์ รหมเมศวร์ฤทรี
ดนั้ หมอกออกเมฆมาไวไว เทเวศร์อวยชยั องึ มี่
รีบเร่งเรว็ มาในราตรี หมายมุ่งบุรรี ัตนา
- ปี่พาทย์ทำเพลงเชิด -
เพลงร้อง มีความหมายในเชิงเปรียบเทียบความงามของพระอุณรุทกับท้องฟ้ายามค่ำคืนที่
ประกอบไปด้วย พระจันทร์ ดวงดาว และการเดินทางไปโดยทางอากาศที่นางศุภลักษณ์พาพระอุณรุท
เหาะไป เปรียบได้กับความงามของพระพรหม เมื่อทรงหงส์เป็นพาหนะ เป็นการเดินทางที่มีความสุข
ทวยเทพต่างพากันมาอวยชัยใหพ้ รตลอดการเดินทางไปยงั เมอื งรตั นา
- ๓๔ -
ทำนองเพลงท่ใี ช้ในการแสดงชดุ นม้ี ที ั้งหมด ๔ เพลง ตามบทร้องมีลักษณะ ดังน้ี
๒.๑ เชิดฉิ่ง เป็นเพลงหน้าพาทย์ ใช้ประกอบกิริยาไล่จับกันของตัวละคร ทำนองเพลงเหมือน
เพลงเชิดกลองแต่ใช้ฉิ่งตีในเสียง “ฉิ่ง” ถี่ ๆ อย่างสม่ำเสมอกันตลอดทั้งเพลง ประกอบจังหวะในการ
แสดงเพลง เชิดฉิ่ง นอกจากจะใช้ในการไล่จับกันของตัวละครแล้ว ยังใช้ในโอกาสอื่นด้วย เช่น การ
แผลงศร การคน้ หาสิง่ ใดสงิ่ หนงึ่ หรือในโอกาสทตี่ อ้ งการอนื่ ๆ
๒.๒ บลิ่ม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ปวะหลิ่ม” เป็นเพลงอันดับที่ ๔ ในการร้องประกอบการ
แสดงระบำใหญ่ หรือระบำ ๔ บท ซึ่งเป็นเพลงระบำโบราณสืบทอดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ประกอบดว้ ยเพลงรอ้ ง ๔ เพลง คอื พระทอง เบา้ หลุด สระบหุ ร่ง และบล่ิม
๒.๓ เบ้าหลุดชั้นเดียว เป็นเพลงอันดับที่ ๒ ในการร้องประกอบระบำ ๔ บท แต่ในการรำ ๔ บท
รอ้ งเป็นเพลง ๒ ชนั้ สำหรับการแสดงชดุ ศุภลกั ษณอ์ มุ้ สม บรรเลงเปน็ เพลงช้นั เดียว
๒.๔ เชิด เป็นเพลงหน้าพาทย์ใช้ประกอบการแสดงโขน ละคร ในโอกาสที่ตัวละครต้องเดินทาง
อย่างรีบเร่ง หรือเดินทางในระยะไกล การต่อสู้ การยกทัพ นอกจากนี้ยังเป็นเพลงหนึ่งในชุดโหมโรงเย็น
มีกลองทัดตีให้จังหวะไม้กลอง เพลงเชิดแต่ละท่อนเรียกว่า "ตัว" ในการแสดงเพลงเชิดใช้บรรเลงทั้ง
อตั รา ๒ ชัน้ และชั้นเดยี ว
- ๓๕ -
วงดนตรีที่ใชบ้ รรเลงประกอบการแสดง
- ๓๖ -
การแสดงชุดศุภลักษณ์อุ้มสม ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่
ตามโอกาสและความเหมาะสมในการแสดง เคร่ืองดนตรีในวงปีพ่ าทยเ์ ครอ่ื งห้า ประกอบด้วย
ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่
ปี่ใน ตะโพน
กลองทดั ฉงิ่
- ๓๗ -
เครื่องแต่งกาย
และอุปกรณป์ ระกอบการแสดง
- ๓๘ -
เครือ่ งแตง่ กาย
การแสดงชุดศุภลักษณ์อุ้มสม ในลักษณะของการรำคู่ ประกอบด้วย ผู้แสดง ๒ คน
คือ พระอุณรุทและนางศุภลักษณ์ ต้องแต่งกายแบบยืนเครื่องพระนางแบบละครไทย ดังภาพ
ตอ่ ไปน้ี
ภาพการแตง่ กายแบบยืนเครืJองพระ-นางแบบละครไทย
ทีJมา : นางสาวนนทิยา โนนชยั ขนั ท์ และนายธนกฤต ภดู ีทิพย์
นกั ศกึ ษาปริญญาตรี วิทยาลยั นาฏศลิ ป์ กาฬสนิ ธ์ุ
- ๓๙ -
ลกั ษณะเฉพาะของการแตง่ กายของพระอุณรุทและนางศุภลกั ษณ์ตามความนยิ ม คือ
๔.๑ พระอุณรทุ แต่งกายยนื เครอื่ งพระแขนยาว ใช้สเี หลอื งขลบิ ด้วยสีแดง
๔.๒ นางศุภลักษณ์ แต่งกายแบบยืนเครื่องตัวนาง ห่มผ้านางแบบห่มดองหรือห่มสองชาย
ด้วยสไบปกั และประดับศริ าภรณด์ ว้ ยรัดเกลา้ เปลว
รัดเกล้าเปลว เป็นเครื่องประดับศีรษะที่มีปลายเป็นกนกเปลว สร้างขึ้นในสมัยของ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้สำหรับเจ้านายชั้นต่ำกว่าเจ้าฟ้า ตัวนางกษัตริย์ใน
ตำแหน่งหลานหลวง และใชส้ ำหรับนางพ่เี ล้ียงคนสำคญั
รัดเกลา้ ตอ้ งมเี ครอ่ื งประกอบต่าง ๆ ดงั นี้
๑) รัดเกล้าเปลว หรือเครื่องประดับศีรษะที่มีปลายเป็นกนกเปลวทั้ง ๒ ด้าน สวมตรง
กลางศีรษะผแู้ สดง
๒) เกี้ยวรัดท้ายช้อง หรือเกี้ยวที่ใช้สวมช่อผมที่มัดไว้และปล่อยให้ห้อยอยู่ที่ท้ายทอย
ดา้ นหลงั นิยมใหม้ ผี มต่อใหย้ าวลงมาถงึ กลางหลงั
๓) กรรเจียกจร หรือจอนหู เป็นเครื่องประดับศีรษะติดกับใบหูทั้ง ๒ ข้าง ทำเป็นลายกนก
นยิ มใชเ้ ปน็ แผ่นเงินบลุ ายและฝงั เพชร หรือสรา้ งขนึ้ ดว้ ยข้ีรกั และปดิ ทองประดับกระจก
๔) ดอกไม้ทัดและอุบะ ดอกไม้ทัดเป็นดอกไม้สีแดง ติดอยู่เหนือกรรเจียกจรทางด้านซ้าย
และอุบะหรือพวงดอกไม้ห้อยต่อจากดอกไม้ทัดลงมา ๓ ชาย ปลายอุบะนิยมให้อยู่ระดับจมูกของ
ผแู้ สดง
- ๔๐ -
ตวั พระ (พระอุณรุท)
แต่งยืนเครอ่ื งพระสีเหลืองขลิบแดง ดงั นี้
- ๔๑ -
๑) ศีรษะสวมชฎา
๒) อุบะดอกไม้ทัด
๓) กรองคอ
๔) ทับทรวง
๕) สังวาล
๖) อินทรธนู
๗) สนับเพลา
๘) หอ้ ยหนา้
๙) ห้อยข้าง
๑๐) เขม็ ขดั พรอ้ มหวั เข็มขดั
๑๑) รดั สะเอว
๑๒) ทองกร
๑๓) ปะวะหลำ่
๑๔) แหวนรอบ
๑๕) กำไลเท้า
๑๖) เสื้อแขนยาว
๑๗) ผา้ นงุ่
- ๔๒ -
ตัวนาง (นางศภุ ลกั ษณ์)
แต่งยืนเครื่องนางหม่ สไบสองชาย ดังน้ี
- ๔๓ -
๑) ศีรษะใสร่ ัดเกล้าเปลว
๒) อบุ ะดอกไมท้ ัด
๓) นวมนาง
๔) จน้ี าง
๕) ผา้ ห่มนาง
๖) เสื้อในนาง
๗) สะอิ้ง
๘) เข็มขัดพร้อมหวั เขม็ ขดั
๙) ทองกร
๑๐) แหวนรอบ
๑๑) ปะวะหลำ่
๑๒) ผา้ นุ่ง
๑๓) กำไลเท้า
- ๔๔ -
อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดง
การแสดงชุดศุภลักษณ์อุ้มสม มีการจัดฉากเป็นท้องฟ้า มีก้อนเมฆ เนื่องจากเป็นฉากที่
นางศภุ ลักษณ์เหาะพาพระอณุ รุทมาอมุ้ สมนางอษุ า
- ๔๕ -
โอกาสที่ใช้แสดง
๑. การแสดงเหตกุ ารณช์ ว่ งหน่งึ ในการแสดงละคร เร่ืองอณุ รุท ตอนศภุ ลักษณอ์ ้มุ สม
๒. การแสดงชุดหนึ่งในหลาย ๆ ชุดในการแสดงประเภทวิพิธทัศนา หรือนำเป็นชุดเบิกโรง
หรือนำมาเปน็ การแสดงอวดฝมี ือผู้แสดงเปน็ เอกเทศเพียงชดุ เดยี วก็ได้
- ๔๖ -
การปฏิบัติทา่ รำ
ทา่ รำในเพลงเชิดฉงิ่
ข้อ เนือ้ เพลง รูปภาพท่ารำ คำอธิบายทา่ รำ
๑ ท่าออก ๑ พระและนางใช้มือในแตะด้านหลังซึ่งกัน
และกนั
พระอุณรุท หันหน้าปฏิบัติ ต่อเนื่องกัน
ดังน้ี
๑. ก้าวหน้าด้วยเท้าขวาในลักษณะซอยเท้า
ใช้มือนอก (ขวา) จีบคว่ำและสอดจีบออก
แขนตึงระดับไหล่ด้านข้างระดับเอว เอียง
ศีรษะและกดไหล่ซ้าย ปฏิบัติสลับกันจบ
หมดจังหวะ
๒. แตะเท้าซ้าย สอดจีบขวาขึ้นมาปล่อย
จีบออกหงายในลักษณะวงกลางด้านข้าง
งอแขนระดับเอว เอียงศีรษะและกดไหล่
ขวา (ดังภาพ)
นางศุภลักษณ์ หันหน้า ปฏิบัติต่อเนื่องกัน
ดงั น้ี
๑. ก้าวหน้าด้วยเท้าขวาในลักษณะซอยเท้า
ใช้มือนอก (ซ้าย) จีบคว่ำและสอดจีบออก
แขนตึงระดับไหล่ด้านข้างระดับเอว เอียง
ศีรษะและกดไหล่ซ้าย ปฏิบัติสลับกันจบ
หมดจงั หวะ
๒. แตะเท้าซ้าย สอดจีบขวาขึ้นมาปล่อย
จีบออกหงายในลักษณะวงกลางด้านข้าง
งอแขนระดับเอว เอียงศีรษะและกดไหล่
ขวา (ดังภาพ)
- ๔๗ -