The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by มุก กิตติพร, 2022-09-25 03:20:33

โคก หนอง นา พช.เลย เพลินใจ

โคก หนอง นา 16 แปลง

KM

โคก หนอง นา
พช.เลย เพลินใจ

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเลย

คำนำ

หนังสือเล่มนี้เกิดจากความตั้งใจรวบรวมข้อความบอกเล่าจากใจของครัวเรือนต้นแบบ
ดีเด่นที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่
ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” จังหวัดเลย ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเลย ได้ลงพื้น
ที่ติดตามการดำเนินงานของครัวเรือนต้นแบบดีเด่นของแต่ละอำเภอ ที่ได้บอกกล่าวเล่าเรื่อง
ราวความรู้สึก ความประทับใจ ที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่
มาปฏิบัติจนเป็นวิถี (Way of Life) ด้วยเชื่อและศรัทธาในศาสตร์พระราชา ที่เป็นเหมือนแสง
เทียน นำไปสู่ ความอยู่รอด พอเพียง ยั่งยืน เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันแก่ชุมชนให้สามารถพร้อม
รองรับ ปรับตัวเข้ากับทุกวิกฤตที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนเพื่อเป็นการเผยแพร่การขับ
เคลื่ อนงานโครงการพัฒนาพื้ นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์
สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” จังหวัดเลย

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเลย ขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้ร่วมกัน
ดำเนินการให้หนังสือเล่มนี้สำเร็จตามเป้าหมาย และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์
ใช้ตามความเหมาะสมของหน่วยงาน และเป็นวิทยาทานแก่ผู้อ่าน นำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนิน
ชีวิตให้ชีวิตมีความั่นคง ครัวเรือนมั่งคั่ง ชุมชนยั่งยืน

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเลย
กันยายน 2565

สารบัญ

เรื่องเล่า หน้าที่

โคก หนอง นา พช.เลย เพลินใจ 1
นางนิรันดร์ ประทุม ครัวเรือนต้นแบบดีเด่น อำเภอเมืองเลย 2-3
นายนิยม สีหะวงษ์ ครัวเรือนต้นแบบดีเด่น อำเภอนาแห้ว 4-5
นายสงคราม ดีมั่น ครัวเรือนต้นแบบดีเด่น อำเภอปากชม 6-7
นายบัวรอง ศรีบุรินทร์ ครัวเรือนต้นแบบดีเด่น อำเภอนาด้วง 8-9
นางระเบียบ เกตุพิบูลย์ ครัวเรือนต้นแบบดีเด่น อำเภอภูกระดึง 10-11
นายสมศักดิ์ พงพรม ครัวเรือนต้นแบบดีเด่น อำเภอภูหลวง 12-13
นายวันชัย มีสิทธิ์ ครัวเรือนต้นแบบดีเด่น อำเภอท่าลี่ 14-15
นางพัชรี เอี่ยมประชา ครัวเรือนต้นแบบดีเด่น อำเภอด่านซ้าย 16-17
นางสาวนภากรณ์ แสนคำราง ครัวเรือนต้นแบบดีเด่น อำเภอผาขาว 18-19
นายสมศักดิ์ ธัญญรักษ์ ครัวเรือนต้นแบบดีเด่น อำเภอภูเรือ 20-21
นายธัญญิ์นิธิ ศรีบุรินธนาภรณ์ ครัวเรือนต้นแบบดีเด่น อำเภอภูเรือ 22-23
นายอารักษ์ ศรีสกุลเตียว ครัวเรือนต้นแบบระดับตำบลดีเด่น อำเภอภูเรือ 24-25
นางคำมุก สระแก้ว ครัวเรือนต้นแบบดีเด่น อำเภอวังสะพุง 26-27
ว่าที่ร้อยตรีหญิง ธันยนันท์ ธงชัย ครัวเรือนต้นแบบดีเด่น อำเภอเชียงคาน 28-29
นางบุญร่วม นักพรม ครัวเรือนต้นแบบดีเด่น อำเภอเอราวัณ 30-31
นายชนะ สุขบัว ครัวเรือนต้นแบบดีเด่น อำเภอหนองหิน 32-33
ภาคผนวก 34

โคก หนอง นา พช.เลย เพลินใจ

เรื่องราวบอกเล่าจาก 16 ครัวเรือนต้นแบบ จากการออกไปสัญจร ในพื้นที่ 14 อำเภอ
ของจังหวัดเลย เป็นการลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานของครัวเรือนต้นแบบที่มีการ
ดำเนินงานและพัฒนาพื้นที่ของตนเองอย่างต่อเนื่อง บังเกิดผลเป็นรูปธรรม จนได้รับการ
เชิดชูให้เป็นครัวเรือนต้นแบบดีเด่น ระดับอำเภอเพื่อนำคำบอกเล่าของแต่ละครัวเรือนที่ได้
เข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่
“โคก หนอง นา โมเดล” จังหวัดเลย มารวบรวมจัดการเป็นองค์ความรู้ มาให้ลองติดตามกัน
ดูว่า 16 เรื่องราวครัวเรือนต้นแบบ จะให้ข้อคิด ความเพลิดเพลิน และประโยชน์แก่ผู้อ่านได้
นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้อย่างไร

1

จะมีมาก หรือน้อย
ขึ้นอยู่กับ..

การวางแผน

พิกัด ชมคลิป

นางนิรันดร์ ประทุม

ครัวเรือนต้นแบบ HLM อำเภอเมืองเลย

จุดเริ่มต้น

หลังจากเรียนจบได้ตัดสินใจเดินทางไปทำงานที่กรุงเทพฯ เพื่อส่ง

เงินมาเลี้ยงดูครอบครัว แต่คิดถึงลูกจึงได้ตัดสินใจลาออกจากการทำงาน

กลับมารับมรดกเป็นไร่และนา เริ่มแรกได้ทำเกษตรเชิงเดี่ยวตามที่พ่อและแม่

เคยทำ พอทำไปได้สักระยะเริ่มรู้สึกว่ามันไม่ใช่ ไม่อยากเอาร่างกายของตนเอง

ไปเสียเวลากับสารเคมี จึงได้เปลี่ยนความคิดเริ่มทำเกษตรผสมผสาน เปิด

หาความรู้จาก Youtube 2

จุดเปลี่ยน

ได้ยินเสียงประกาศตามหอกระจายข่าวว่ากรมการพัฒนาชุมชนเปิดโอกาสให้
ชาวบ้านทั่วไปได้เข้าร่วมโครงการ โคก หนอง นา จึงได้ปรึกษากับแฟนหากได้เข้า
ร่วมโครงการจะมีที่กักเก็บน้ำ เพราะน้ำในห้วยอาจจะมีสารปนเปื้ อน ทำให้พืชผักที่
ปลูกกินและขายได้รับสารปนเปื้ อนไปด้วย แต่ถ้าเรามีหนองน้ำเป็นของตนเองจะ
สามารถปลูกพืชที่ปลอดสารพิษและปลอดภัย จึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ โดยใช้
พื้นที่ทั้งหมด 3 ไร่

สร้างความมั่นคงทางอาหาร

เริ่มจากการปลูกฝรั่ง กล้วย และผักต่างๆ ในพื้นที่ราบต่ำ มักพบปัญหาเรื่อง
น้ำท่วมขังทำให้ได้รับความเสียหาย ปลูกผักยาก ขายไม่ได้ แต่ในตอนนี้เรามีโคกก็
สามารถย้ายไปปลูกผักบนโคกเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วม

วันๆหนึ่งอย่าให้เสีย โอกาส ปลูกผักไปวันละน้อยๆ หนึ่งเดือนก็ได้หลายต้น
ได้ทำการปลูกข้าวในพื้นที่ 1 ไร่ หากคิดว่าผลผลิตมันน้อย ไม่พอกินก็สามารถทำ
ข้าวนาปังเพิ่มได้ เพื่อตอบโจทย์ว่าปลูกข้าวในเนื้อที่แค่นี้ก็สามารถอยู่ได้ เมื่อเรามี
ความตั้งใจก็เริ่มมีผลผลิตเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ระยะเวลาผ่านไปได้สักพักก็นำผลผลิต
ออกมาขาย คำพูดที่หลายคนดูถูกก็เริ่มน้อยลง รายได้ส่วนใหญ่ในตอนนี้ได้มา
จากการจำหน่ายพืช ผัก ผลไม้ ในสวนทั้งหมด จะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการ
วางแผนของเรา ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย

ความสุขที่ได้รับ

หลังจากทำโครงการโคก หนอง นา ก็รู้สึกมีความสุขที่ได้อยู่พร้อมหน้าพร้อม
ตากับครอบครัว ถ้าอยู่กรุงเทพฯต่อไปก็ต้องทำงานให้คนอื่นที่เป็นของคนอื่นไม่ใช่
ของตนเอง แต่ถ้าเราทำงานอยู่ที่บ้านจะทำมากหรือน้อยก็เป็นงานของเรา ผลผลิต
ที่ได้มาก็สามารถดูแลครอบครัวให้สุขสบาย ต้องการให้ชาวบ้านรู้ว่า ..
" ทฤษฎีใหม่รูปแบบ โคก หนอง นา นั้นเป็นไปได้จริง ทำได้จริง "

3

พิกัด

นายนิยม สีหะวงษ์ ครัวเรือนต้นแบบ HLM อำเภอนาแห้ว

แนะนำตัวหน่อยครับ

ผม นายนิยมสีหะวงษ์ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้ใช้พื้นที่ของนางบัวลัย สีหะวงษ์ ซึ่งเป็นภรรยาเข้าร่วม
โครงการ พวกผมได้ศึกษาและเห็นพร้องด้วยกันว่าศาสตร์พระราชาจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของ
ครัวเรือนให้ดีขึ้น

ทำไมถึงอยากเข้าร่วมโครงการ

ปัญหาของพื้นที่เดิมทำนา ปลูกข้าว แต่ประสบปัญหาน้ำท่วม น้ำแห้ง โรคระบาด และต้องรอฟ้ารอฝน
ในการทำเกษตรทำให้ไม่ได้ผลผลิตเท่าที่ควร จึงอยากหาทางออกให้กับปัญหาของตนเอง

รู้ได้ยังไงว่ามีโครงการ

ผู้ใหญ่บ้านประกาศเสียงตามสายของหมู่บ้าน ทางการเขาบอกมาว่า รับสมัครคนหัวไว ใจสู้ กล้า

เปลี่ยนแปลง มาร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่

"โคก หนอง นา โมเดล" จึงตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากตนและภรรยาได้ศึกษาหลักปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่อยู่แล้ว มีความสนใจอยากจะนำมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ให้ดีขึ้น โดย

เข้าร่วมพื้นที่ 3 ไร่ จากที่มีทั้งหมด 42 ไร่

4

แล้วพัฒนาอะไรบ้างล่ะ

ทำ ทัน ที พออบรมจากโครงการฯ และขุดปรับพื้นที่
เสร็จเรียบร้อย ผมก็ทำทันที เริ่มจากการเอาฟางมาห่มดิน หามูลสัตว์มาหมักเตรียมทำปุ๋ย หาต้นกล้วย
มาปลูกเป็นพี่เลี้ยงก่อน ซึ่งในช่วงแรกๆ ผมก็จะดูแลบำรุงดินเป็นหลัก ส่วนหนองน้ำจะโชคดีเพราะ
สามารถกักเก็บน้ำได้เป็นอย่างดี เนื่องจากบริเวณนี้เป็นบ่อน้ำผุดธรรมชาติอยู่แล้ว พื้นที่โคกผมก็เริ่ม
ปลูกพืชยืนต้นตามกล้วยพี่เลี้ยง เช่น ต้นสัก ต้นมะค่า ต้นพะยูงเอาไว้ใช้สอย โดยกิจกรรมที่ได้พัฒนา
พื้นที่ ได้แก่ ปลูกพืชผัก ปลูกข้าว ทั้งข้าวไร่และข้าวนา โดยเฉพาะข้าวไร่เป็นพันธุ์ข้าวก่ำพื้นถิ่น และการ
ปล่อยพันธุ์ปลาซึ่งได้ผ่านไปเกือบหนึ่งปี

การปลูกผักจะปลูกให้เต็มคันนาทองคำ ปลูกสวนผักเหมือนสวนดอกไม้ ปลูกแบบธรรมชาติไม่ใส่สาร
เคมี ปลูกไว้เป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร พื้นที่แปลงของผมจะติดถนนทำให้คนผ่านไปผ่านมา
มองเข้ามาก็เห็นว่ามีแปลงผัก ได้แวะเวียนมาซื้อผักสร้างรายได้ให้ครัวเรือนได้ประมาณ 300 - 500 บาท/
วัน

ปลาที่เลี้ยง ถึงเวลาให้อาหารลูกชายจะเรียก " โม่ โม่ โม่ " ปลาก็จะมาเป็นฝูงรอกินหัวอาหาร

วางแผนพัฒนาพื้นที่ยังไง

ผมวางแผนจะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบที่มีชีวิต ที่คนในชุมชนและประชาชน
ทั่วไป ได้เข้ามาร่วมเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง เช่น การดำนา ตกปลา ปลูกผัก เก็บผัก และพัฒนาพื้นที่
ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วย เพราะต้นแบบของอำเภอนาแห้วมีทิวทัศน์ที่สวยงาม และ
บรรยากาศที่เย็นสบายตลอดทั้งปี

ได้อะไรจากโครงการ

ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่
และหลักของทฤษฎีบันได 9 ขั้น ของพ่อหลวงมาปฏิบัติในพื้นที่บังเกิดผลได้จริง สามารถเป็นต้นแบบ
ของชุมชนได้ จนนำไปสู่การเป็นศูนย์ผู้นำจิตอาสาของอำเภอนาแห้ว ทำให้เกิด พอเพียง พอสุขใจ
และครอบครัวอบอุ่น

5

พิกัด

นายสงคราม ดีมั่น

ครัวเรือนต้นแบบ HLM บ้านสง่าว ตำบลห้วยพิชัย อำเภอปากชม

แนะนำตัวหน่อยครับ

ผม..นายสงคราม ดีมั่น กำนันตำบลห้วยพิชัย ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ปัจจุบันอายุ 61 ปี
เป็นเกษตรกรเต็มตัว มีภรรยา 1 คน ลูก 2 คนแล้วครับ ได้เข้าร่วมโครงการฯ ในพื้นที่ทั้งหมด 3 ไร่

ทำไมถึงอยากเข้าร่วมโครงการ

จากปัญหาของเศรษฐกิจที่ซบเซา และโรคระบาดโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่
เรื่องการทำมาหากิน การซื้อขายผลผลิตทางการเกษตรก็ลดลงเป็นอย่างมาก ทำให้มีรายได้ลดน้อยลง
มีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น

ผมได้ศึกษาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 มีความเชื่อมั่นว่าจะช่วยพัฒนา
คุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนได้จริง ผมในฐานะผู้นำชุมนจึงต้องการพิสูจน์ด้วยการทำให้ชาวบ้านใน
ชุมชนได้เห็นและยอมรับ

ไปรู้ได้อย่างไรว่ามีโครงการฯ

ในวันประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านพัฒนาการอำเภอได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วม
โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ " โคก หนอง นา
โมเดล"

นายอำเภอ ท่านบอกว่ากำนันสงครามเข้าร่วมโครงการฯ ด้วยนะ จะได้เป็นต้นแบบให้ชาวบ้านในชุมชน
ผมจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ ทันที

ชำนาญในเรื่องอะไร

ผมได้รับการอบรมเรื่องการขยายพันธุ์พืช การเพาะเมล็ด จากสำนักงานเกษตรอำเภอ จนสามารถ

เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพาะพันธุ์พืชเป็นอย่างดี 6

แล้วพัฒนาอะไรบ้างล่ะ

ผมได้ปูพื้นฐานของศูนย์เรียนรู้ฯ บริเวณนี้ไว้ก่อนเข้าร่วมโครงการแล้วครับ โดยได้บริหารจัดการพื้นที่
ตามหลักทฤษฎีใหม่ คือ 30:30:30:10 เรื่องกล้วยๆ เริ่มจากการปลูกกล้วยก่อนจะได้เป็นพี่เลี้ยงให้กับพืชอื่นๆ
ได้ยินคำว่า โคก หนอง นา มานานแล้วแต่ไม่รู้ว่าคืออะไร พอได้เข้าร่วมโครงการฯ และผ่านการอบรมก็เข้าใจแล้ว
ว่าเป็นหลักการบริหารจัดการพื้นที่ให้เหมาะสม เช่นเดียวกันกับหลักทฤษฎีใหม่

ตอนที่เริ่มขุดแปลง เพื่อนบ้านได้มาเห็น เขาพูดว่า " กำนันโง่หรือเปล่า ขุดดินให้เสียพื้นที่ไปทำไม "
ในตอนนั้นผมไม่ได้ตอบกลับอะไร คิดในใจว่าจะตั้งใจพัฒนาปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้อุดมสมบูรณ์ ให้เห็นรูปธรรม
จากวันนั้นถึงวันนี้เพื่อนบ้านคนเดิมมาเห็นก็บอกว่า " โอ้โห ดีจังเลย แปลงกำนันมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ต้นไม้ก็โตเร็ว
มีให้สมัครอีกไหมโครงการนี้"

เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ผมเริ่มด้วยการฟื้ นฟูดินด้วยการใช้ก้านกล้วย ที่เหลือจากการตัดเอาใบตอง
ไปขายเพราะพี่น้องในตำบลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพตัดใบตองขาย ผมจึงได้นำมาประยุกต์ใช้ห่มดินแทนฟางข้าว
ก็ช่วยฟื้ นฟูบำรุงดินได้อย่างดีเลย เมื่อดินดีแล้วผมก็ทยอยปลูกผลไม้ เช่น กล้วย ส้มโอ เงาะ อะโวคาโด ทุเรียน

ส่วนสัตว์ก็เลี้ยงไก่ เป็ด ไว้เก็บไข่กิน ช่วยลดค่าใช้จ่ายและได้ปล่อยปลา 5,000 ตัว ในสระมีทั้งปลาตะเพียน
ปลาดุก และปลานิล ส่วนโคกก็ปลูกไม้ใช้สอย เช่น สัก ยางนา ประดู่ และไผ่ รวมทั้งเป็นศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวของ
กรมการข้าวกับสมาชิกเกษตรในพื้นที่อีก 35 ราย ที่ทำการขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียว กข.22 ให้แก่กรมการข้าว
เพื่อจำหน่ายเมล็ดพันธุ์แก่พี่น้องประชาชนต่อไป

หัวใจสำคัญที่ทำให้ลบคำสบประมาท

เชื่อและศรัทธาในศาสตร์พระราชา ผมจึงเอาใจใส่ตั้งใจทำจริง โดยจะตื่นแต่เช้าลงมือทำทั้งวันช่วงที่แดด
ออกก็พักพอบ่ายคล้อยก็กลับมาทำงาน ทำอย่างนี้ต่อเนื่องทุกวัน

วางแผนพัฒนาพื้นที่อย่างไร

ผมวางแผนจะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ที่คนในชุมชนทุกเพศทุกวัยสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ มีอาคาร
อบรมสามารถรับรองการดูงานของกลุ่มคน และคณะบุคคลจำนวนมาก

ได้อะไรจากโครงการ

ได้ความสุขใจ ได้ความมั่นคงทางอาหาร ไม่ว่าจะต้องเจอกับวิกฤตอะไรในอนาคตก็สามารถอยู่รอดและ
ได้ช่วยเหลือคนอื่น ที่สำคัญอีกประการ คือ ผมได้เป็นส่วนหนึ่งของกลไกการพัฒนาชุมชนในตำบลห้วยพิชัย
ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ รูปแบบ โคก หนอง นา ที่จะขยายผลแก่
ประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป

7

พิกัด

นายบัวรอง ศรีบุรินทร์

บ้านโนนสวาท หมู่ที่ 2 ต.ท่าสวรรค์ อ.นาด้วง จ.เลย



แนะนำตัวหน่อยครับ

ผมนายบัวรอง ศรีบุรินทร์ อดีตกำนัน ต.ท่าสวรรค์ อ.นาด้วง ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่
ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ปัจจุบันอายุ 61 ปี
ได้ผันตัวมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัว มีภรรยา 1 คน และมีลูก 2 คน เป็นผู้ชาย 1 คน ผู้หญิง 1 คน ครับ
ผมมีความสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯ มีพื้นที่ทั้งหมด 3 ไร่

ทำไมถึงอยากเข้าร่วมโครงการ

เนื่องด้วยที่ดินที่ผมนำเข้าร่วมโครงการฯ นั้น ก่อนหน้านี้เป็นสวนมะม่วงทั้งหมด แล้วเจอกับปัญหามะม่วง
เป็นเชื้อรา และปัญหาแมลงวันทองทำให้ผลผลิตเสียหายไปเยอะ ลงทุนสูงแต่ผลตอบแทนต่ำและปัญหาด้าน
เศรษฐกิจส่งผลให้ผลไม้ราคาตกต่ำ

ซึ่งกระผมได้รับข่าวสารการประชาสัมพันธ์จากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาด้วง ว่ามีโครงการพัฒนา
พื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” เลยสอบถาม
ข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เนื่องด้วยครอบครัวตนเองมีการเลี้ยงไก่ ปลูกผัก
สวนครัว เลี้ยงปลา และดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาโดยตลอด จึงมีความประสงค์
นำพื้นที่ที่เป็นสวนมะม่วง จำนวน 3 ไร่ สมัครเข้าร่วมโครงการดังกล่าว

ไปรู้ได้อย่างไรว่ามีโครงการฯ

ในวันประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านท่านพัฒนาการอำเภอได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวน การรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วม

โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “ โคก หนอง นา โมเดล”

โดยให้ผู้ที่สนใจมาติดต่อที่ห้องสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาด้วง และผมก็ได้นำข่าวสารไประชาสัมพันธ์ให้กับ

ลูกบ้านที่สนใจได้รับทราบต่อไปครับ

มีความชำนาญในเรื่องอะไร

เรื่องการเพาะพันธุ์กล้าไม้ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การเลี้ยงกบ การทำนาข้าว สามารถเป็นวิทยากรถ่าย

ทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจได้ครับ 8

แล้วพัฒนาอะไรบ้างล่ะ

ในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการฯ จะมีสระน้ำอยู่ 1 ลูก และมีการเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ปลูกผักสวนครัวอยู่แล้ว
ต้องการปรับปรุงพื้นที่โดยทำการศึกษาการปรับปรุงพื้นที่ให้ได้มาตรฐานได้ศึกษาแบบมาตรฐานของกรม จึงใช้
แบบมาตรฐานของกรมการพัฒนาชุมชน เป็นแบบมาตรฐาน 1:1 พื้นที่ทั้งหมด 3 ไร่

หลังจากนั้นจึงได้เริ่มทำฐานเรียนรู้ 1)ฐานเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 2)ฐานเรียนรู้พันธุ์ไม้ 3)ฐานเรียน
รู้การทำนาข้าวอินทรีย์ 4) ฐานเรียนรู้การปลูกป่าและการปลูกไม้ 5 ระดับ 5)ฐานเรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์บำรุง
ดิน ปรับปรุงดิน ปรับนาดิน และเริ่มปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงปลานิล ปลาช่อน
ปลาดุก ปลาตะเพียน ประมาณ 1,500 ตัว เลี้ยงกบ จำนวน 200 ตัว เลี้ยงไก่พื้นเมือง 100 ตัว ปลูกกล้วย 30
ต้น ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น รวม 50 ต้น

เมื่อเกิดผลผลิตจากโครงการฯ และประสบความสำเร็จ จึงนำผลผลิตที่ได้ไปแบ่งปันให้กับคนในชุมชน
ใครที่ผ่านมายังแปลงก็สามารถเก็บผักสวนครัว ผลไม้ ปลา กบ อื่น ๆ แบ่งไปกินได้ และนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอด
ให้กับผู้ที่สนใจหรือคนในชุมชน และสามารถต้อนรับคณะผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานยังแปลงต้นแบบได้

หัวใจสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

1. สิ่งไหนที่ไม่รู้ หรือไม่เข้าใจ ก็จะศึกษาหาความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง
2. เมื่อผมมีความรู้..ก็นำความรู้ที่ได้มาลงมือปฏิบัติ เกิดการลองผิด ลองถูก และมีการพัฒนาอยู่เรื่อย ๆ
3. ผมมีความคิดนอกกรอบเชื่อว่าไม่มีใครมาตัดสินตัวเราได้นอกจากตัวเราเอง ผลักดันตนเองสร้างแรง
บันดาลใจไปถึงจุดที่ตั้งใจให้ได้ครับ
4. มีหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน ให้การสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ ไม่ใช่แค่
การดำเนินงานของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นศูนย์รวมในการสร้างความมั่นคงทางอาหารสำหรับคนในชุมชน

วางแผนพัฒนาพื้นที่ยังไง

1. ผมอยากให้แปลง โคก หนอง นา เป็นศูนย์เรียนรู้ในการศึกษาดูงานและเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนภายนอก

และภายในหมู่บ้าน เพื่อนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับพื้นที่ของตนเอง

2. ผมจะทำให้พื้นที่แปลงโคก หนอง นา เป็นที่แบ่งปันและสร้างความมั่นคงทางอาหาร ให้กับคนในหมู่บ้าน

และตำบล ปลูกฝังจิตสำนึกให้กับคนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงความสำคัญของการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต

ได้อะไรจากโครงการ

ผมได้มีภูมิคุ้มกันที่ดีพร้อมรับสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ หรือปัญหาโควิด 19
เพราะผมมีความมั่นคงทางอาหาร สามารถลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ บริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ และยังได้แบ่งปัน
ผลผลิตที่ได้ให้กับคนในชุมชน หากเหลือก็สามารถนำมาจำหน่ายเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัวได้ด้วยครับ

9

พิกัด

นางระเบียบ เกตุพิบูลย์

ครัวเรือนต้นแบบ HLM
บ้านศรีรักษา ต.ผานกเค้า อ.ภูกระดึง จ.เลย

แนะนำตัวหน่อยครับ

ดิฉัน นางระเบียบ เกตุพิบูลย์ ปัจจุบัน อายุ 53 ปี มีสมาชิกในครอบครัวทั้งหมด 6 คน
ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เข้าร่วมโครงการฯ ในพื้นที่ทั้งหมด 3 ไร่

เข้าร่วมโครงการได้อย่างไร

เริ่มจากครั้งแรกได้รับทราบจากการประชุมประชาคมหมู่บ้านโดยผู้ใหญ่บ้านศรีรักษาเป็น
ผู้แจ้งให้ทุกคนทราบ จึงมีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการฯ ประกอบกับสำนักงานพัฒนาชุมชน
อำเภอภูกระดึงได้มาดำเนินโครงการสัมมาชีพชุมชน และได้รับคำชี้แจงและเชิญชวนอีกครั้งหนึ่ง
จึงได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์
สู่ โคก หนอง นา โมเดล

10

มีความชำนาญในเรื่องอะไร

จากภูมิเดิมที่มีรากเหง้าของคนอีสานและทำอาชีพเกษตรกรรม
ได้รับสืบทอดจากบรรพบุรุษ ประกอบกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ฝึกปฏิบัติจริงและสั่งสมประสบการณ์ ทำให้มีความรู้ที่สามารถแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดได้ เช่น
การเผาถ่านด้วยเตาดินโบราณ การขยายพันธุ์และปลูกไม้ผล (น้อยหน่าพันธุ์เพชรปากช่อง)
การทำนาข้าว การห่มดิน การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ การทำปุ๋ยหมักแห้ง การทำน้ำยาอเนกประสงค์

ได้อะไรจากโครงการ

จากการเข้าร่วมโครงการฯ ได้เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตร 5 วัน 4 คืน ได้รับความรู้
เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักกสิกรรมธรรมชาติ การออกแบบพื้นที่แปลง
ต้นแบบ โคก หนอง นา โมเดล และฐานการเรียนรู้ต่างๆ การเอามื้อสามัคคี(เอาแฮง) เพื่อสร้าง
พื้นที่ 4 พอ การปลูกป่า 3 อย่างเพื่อประโยชน์ 4 อย่าง การปลูกป่า 5 ระดับเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียว
สร้างโลกให้เย็น ได้รู้จักแลกเปลี่ยนเรียนรู้การให้และการแบ่งปันกับสมาชิกที่เข้าอบรมด้วยกัน

ในส่วนของการขุดปรับพื้นที่ได้แบ่งพื้นที่เป็น สระน้ำ 2 สระและได้เลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสาน
มีปลานิล ปลาตะเพียน ปลาสลิด ปลาสร้อย ปลาจีน ปลาดำ(อี่ก่ำ) ปู หอยขม หอยโข่ง(หอยนา)
หอยปัง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ

ในพื้นที่นา 2 แปลง ได้ปลูกข้าวอินทรีย์และเลี้ยงปลา ส่วนพื้นที่โคกและคันนาทองคำได้ปลูก
ป่า เช่น ไม้แดง พะยูง พะยอม สักทอง ประดู่ ไม้ผล เช่น มะม่วง ส้มโอ อะโวคาโด เงาะ มะพร้าว
เพกา สะตอ ฝรั่ง น้อยหน่า กล้วย พืชผักต่างๆ เช่น ผักไห่ พริก มะเขือ ตะไคร้ ข่า กระชาย สัตว์
เลี้ยง เช่น วัว เป็ด ไก่พื้นเมือง ไก่ไข่ ส่งผลให้มีแหล่งอาหารเพื่อบริโภคอย่างเพียงพอ สามารถ
แบ่งปันเพื่อนบ้าน และจำหน่ายเป็นรายได้เสริมแก่ครอบครัว

วางแผนอนาคตต่อไปอย่างไร

พัฒนาตนเองโดยการแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ
จากโอกาสต่างๆ พัฒนาฐานเรียนรู้และองค์ความรู้ เพื่อให้
สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ ขยายผลสู่ชุมชนและผู้ที่สนใจ
ต่อไป

11

พิกัด

นายสมศักดิ์ พงพรม

ครัวเรือนต้นแบบ HLM ต.เลยวังไสย์ อ.ภูหลวง จ.เลย

แนะนำตัวหน่อยครับ

สวัสดีครับ ผมนายสมศักดิ์ พงพรม อยู่บ้านเลขที่ 59 หมู่ที่ 8 ตำบลเลยวังไสย์ อำเภอ
ภูหลวง จังหวัดเลย ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลัก
ทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล พื้นที่เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งหมด 3 ไร่ ครับ

ทำไมถึงอยากเข้าร่วมโครงการ

คำว่า ตามหลักทฤษฎีใหม่ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง รัชกาลที่ 9 ผมเชื่อ
มั่นว่าจะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง คนในครอบครัวและคนในพื้นที่ให้ดีขึ้นได้
ผมมีความคิดว่าโครงการฯ จะสร้างความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ให้เกิดผลผลิตที่งอกงาม
สร้างงาน สร้างอาชีพ โดยไม่ส่งผลกระทบแม้จะมีปัญหาโควิด - 19 หากเรามีพืช ผัก ผลไม้
อยู่ในสวนก็จะไม่มีวันอดตาย

12

ไปรู้ยังไงว่ามีโครงการฯ

ในวันประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านอำเภอภูหลวง พัฒนาการอำเภอได้ประชาสัมพันธ์
เชิญชวนรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลัก
ทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “ โคก หนอง นา โมเดล ” ผมได้ทราบข่าว จึงคิดว่าเป็นโครงการที่ดี จึงตัดสิน
ใจเข้าร่วมโครงการฯ ในทันที

แล้วพัฒนาอะไรบ้างล่ะ ??

ได้มีการปรับพื้นที่ขุดสระเพื่อกักเก็บน้ำ ทั้งน้ำฝนจากฟ้า น้ำจากลำธาร มีคลองไส้ไก่ เพื่อช่วยเพิ่ม
ความชุ่มชื้นในพื้นที่ ปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาหน้าดิน ปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล กล้วย พืชผัก ผลไม้มากมาย
หลากหลายชนิด เลี้ยงปลา เลี้ยงกบเพื่อบริโภคในครัวเรือน หากเหลือกินเหลือใช้ก็สามารถจำหน่ายเพื่อ
สร้างรายได้ และแบ่งปันให้กับคนในพื้นที่

แล้วท่านชำนาญ/เป็นกูรูเรื่องอะไร

ผมไม่ได้มีความชำนาญเรื่องอะไรเป็นพิเศษแต่ชอบในการทำเกษตร ผมได้เรียนรู้ ลองถูกลองผิด
ไปเรื่อยๆ จนเกิดประสบการณ์ตรงที่ผมได้พบเจอและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ทำให้ผมสามารถมี
ความชำนาญด้านการทำเกษตรมากยิ่งขึ้น

แล้ววางแผนพัฒนาพื้นที่ยังไง

ผมวางแผนจะพัฒนาพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับคนในชุมชนที่มีความสนใจสามารถเข้าไปเรียนรู้
ในพื้นที่ได้ และมีการวางแผนปลูกพืชผสมผสานกับพืชผักผลไม้ เกิดความหลากหลายทางชีวภาพแบบ
ยั่งยืน สามารถใช้สอยบริเวณในพื้นที่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุด

ได้อะไรจากโครงการ

มีความสุขที่ได้พัฒนาพื้นที่ต้นแบบให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร มีความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่
สามารถเลี้ยงดูคนในครอบครัวและเรียนรู้ที่จะแบ่งปันคนในพื้นที่ พออยู่ พอกิน หากเหลือก็แบ่งปัน

13

พิกัด

นายวันชัย มีสิทธิ์

ครัวเรือนต้นแบบ HLM บ้านปากห้วย ต.หนองผือ อ.ท่าลี่ จ.เลย

แนะนำตัวหน่อยครับ

ผม..นายวันชัย มีสิทธิิ์ แปลงโคก หนอง นา โมเดลของผม อยู่ที่ ไร่ไพชยนต์ ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎี
ใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ปัจจุบันผมอายุ 60 ปี ได้เข้าร่วมโครงการฯ ในพื้นที่ทั้งหมด 3 ไร่

ทำไมถึงอยากเข้าร่วมโครงการ

มีความคิดและความตั้งใจตั้งแต่เริ่มทำงานแล้วว่า เมื่อมีความพร้อมในทุกอย่างจะขอลาออกจากงาน
ประจำ โดยจะนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง ร.9 มาใช้ และมีความเชื่อมั่นที่จะช่วยพัฒนา
คุณภาพชีวิตของพี่น้องเกษตรกรได้จริงและยั่งยืน ด้วยการทำให้ชาวบ้านและชุมชนได้เห็นด้วยตนเองก่อน

ไปรู้ยังไงว่ามีโครงการฯ

ทางสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าลี่ ได้ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนให้ผู้ที่มีความสนใจสมัครเข้าร่วม
โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง
นา โมเดล

แล้วพัฒนาอะไรบ้างล่ะ ?

ผมเองได้เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ประมาณ 1 ปี ก่อนที่จะเข้ามาร่วมกับโครงการฯ โดย
ได้บริหารจัดการพื้นที่ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ มีการจัดแบ่งพื้นที่เป็น 30:30:30:10
เน้นพืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่าเป็นหลัก เช่น การปลูกมะนาวในวงท่อและปลูกลงดิน ปลูกผัก
หวานป่า ปลูกมะกรูดตัดใบขาย ปลูกมะพร้าวน้ำหอม เลี้ยงปลา เป็ด และไก่

14

เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ

ในอดีตผมไม่มีที่ดินเลยแต่ใช้วิธีเก็บสะสมไปเรื่อยๆในขณะที่ทำงานประจำ
จนกระทั่งทุกอย่างเริ่มเข้าที่จึงได้ลาออกเพื่อมาทำเกษตรตามที่ตั้งใจ ผมตั้งใจทำ
อย่างจริงจังเพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้เห็นและเป็นแบบอย่าง

ปัจจุบันในสวนมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก เน้นการทำแบบเกษตรอินทรีย์
หมั่นศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา ไม้และพืชเศรษฐกิจที่ปลูกในสวนประกอบไปด้วย ไม้สัก ยางนา พะยูง
มะค่า มะฮอกกานี ประดู่ ไผ่กิมซุง ไผ่รวกหวาน ผักหวานป่า สละอินโด อินทผลัม ทุเรียน ภูพานเฮ เกาลัด
มะม่วง มะพร้าวน้ำหอม ส้มโอ ลองกอง กล้วย ในส่วนของบ่อปลาได้ปล่อยปลาประมาณ 10,000 ตัว
ภายในสวนมีสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ และห่าน เป็นต้น

มีความชำนาญ / กูรูด้านอะไร

เป็นวิทยากรให้แก่เกษตรกรและหน่วยงานต่างๆ รวมถึงนักเรียน
เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ หรือ โคก หนอง นา โมเดล
รวมถึงการตอนกิ่งไม้ชนิดต่างๆ การตอนผักหวาน แนะนำการปลูกด้วยเมล็ด
มีการทำปุ๋ยหมักใช้เองโดยกรรมวิธีการจับจุลินทรีย์จากป่าเบญจพรรณเพื่อทำ
เป็นหัวเชื้อมาผสมทำปุ๋ยหมัก

กรรมวิธีการทำสูตรน้ำหมัก อาหารจานด่วนสำหรับพืช เช่น การทำน้ำหมัก
จากปลา น้ำหมักจากปลวก จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จุลินทรีย์หน่อกล้วย ปุ๋ยน้ำ
อินทรีย์ (ซึ่งเทียบเท่าปุ๋ยเคมี 46-0-0) น้ำยากำจัดเพลี้ยต่างๆ ยาฆ่าเชื้อรา
ยางพารา และน้ำยาแก้ปัญหายางไม่ไหลตายนิ่งให้กลับมาไหลเหมือนเดิม และ
ได้น้ำยามากกว่าเดิม

วางแผนพัฒนาพื้นที่อย่างไร

เราเป็นศูนย์เรียนรู้ที่มีความพร้อมของสถานที่อบรมและมีอุปกรณ์ให้ผู้เข้าอบรมได้ปฏิบัติจริง
พร้อมทั้งมีวิทยากรที่สามารถให้ความรู้แก่เกษตรกรได้อย่างครบถ้วน และจะพยายามขยายเครือข่าย
การทำเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้น โดยศูนย์เรียนรู้เป็นตัวขับเคลื่อนมีหน่วยงานราชการให้การสนับสนุน

ได้อะไรจากโครงการ

มีความสุขทางใจที่ได้แบ่งปันช่วยผู้อื่ น
และคนในสังคม แม้ที่ผ่านมาเราจะเจอกับปัญหา
Covid - 19 แต่เรายังมีความเข้มแข็งและมีความ
มั่นคงทางอาหาร สามารถพึ่งพาตนเองได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืน

15

พิกัด

นางพัชรี เอี่ยมประชา

ครัวเรือนต้นแบบ HLM ต.โคกงาม
อ.ด่านซ้าย จ.เลย

แนะนำตัวหน่อยครับ

ดิฉัน นางพัชรี เอี่ยมประชา ปัจจุบันอายุ 57 ปี มีสมาชิกในครอบครัวทั้งหมด 4 คน
ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ในพื้นที่ทั้งหมด 3 ไร่

เข้าร่วมโครงการได้อย่างไร

ทราบจากการประชุมประชาคมหมู่บ้านโดยกำนันสงคราม คำแก้ว
จึงมีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการฯ และสำนักงานพัฒนาชุมชน
อำเภอด่านซ้ายมาดำเนินโครงการสัมมาชีพชุมชน ได้ชี้แจงราย
ละเอียดและเชิญชวนจึงได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ ในทันที

16

มีความชำนาญในเรื่องอะไร

จากภูมิเดิมที่มีรากเหง้าของคนอีสานและทำอาชีพเกษตรกรสืบทอดมาจากบรรพบุรุษประกอบ
กับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงและสั่งสมประสบการณ์ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนและ
ถ่ายทอด การขยายพันธุ์ไม้ การปลูกไม้ผล การเพาะขยายผัก การปลูกผัก การอนุบาลลูกปลาหรือหอย
การทำนาข้าว การห่มดิน การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ การทำปุ๋ยหมักแห้ง การเลี้ยงแทนแดง การแปรรูป
การทำน้ำมัลเบอรี่ น้ำอ้อยสด กล้วยฉาบ ปลาส้ม และปลาแดดเดียว

ได้อะไรจากโครงการ

หลังจากเข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตร
5 วัน 4 คืน จึงได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง หลักกสิกรรมธรรมชาติ การออกแบบพื้นที่แปลงต้นแบบ
โคก หนอง นา โมเดล และฐานการเรียนรู้ต่างๆ การเอามื้อสามัคคี
(เอาแฮง) เพื่อสร้างพื้นที่ 4 พอ การปลูกป่า 3 อย่างเพื่อประโยชน์
4 อย่าง การปลูกป่า 5 ระดับเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวสร้างโลกให้เย็น
ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การให้และการแบ่งปันกับสมาชิกที่เข้าอบรม

ในส่วนของการขุดปรับพื้นที่ได้แบ่งพื้นที่เป็นสระน้ำ 2 สระ และได้เลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสาน
มีกุ้งก้ามกราม ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาสลิด ปลาดุก กุ้ง หอยขม หอยโข่ง(หอยนา) หอยเชอรี่ ในพื้นที่
นา 1 ไร่ ได้ปลูกข้าวอินทรีย์และเลี้ยงปลาในนาข้าว ปลูกผักบุ้ง ผักกะเฉด ส่วนพื้นที่โคกและคันนาทองคำ
ได้ปลูกป่า ไม้สักทอง ประดู่ ยางนา ไม้ผล อะโวคาโด ทุเรียน ลำไย ส้มโอ มะขาม เงาะ มะพร้าว เพกา สะตอ
ฝรั่ง ชมพู่ มะยม น้อยหน่า กล้วยน้ำว้า กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ มะนาว มะกรูด สตอเบอรี่ แมคคาเดเมีย
ลำไย พริก มะเขือ ข่า ตะไคร้ กระชาย พืชผักและผลไม้ต่างๆอีกมากมายด้วยการปลูกแบบอินทรีย์

ส่งผลให้มีแหล่งอาหารเพื่อบริโภคอย่างพอเพียง สามารถแบ่งปันเพื่อนบ้านหากเหลือก็นำมา
จำหน่ายตลาดนัดชุมชน ตลาดพืชผักปลอดภัย " ด่านซ้ายกรีนเนท " ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
ด่านซ้าย และออกบูทตามงานสำคัญต่างๆเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว

วางแผนพัฒนาพื้นที่อย่างไร

ลำดับแรกจะพัฒนาตนเองโดยแสวงหาความรู้ จากแหล่ง
เรียนรู้ต่างๆเพื่อนำมาปรับใช้และพัฒนาฐานการเรียนรู้ให้กับ
ตนเอง สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ขยายผลสู่ชุมชน และผู้ที่สนใจ
ต่อไป

17

พิกัด

นางสาวนภากรณ์ แสนคำราง

ครัวเรือนต้นแบบ HLM
บ้านดงน้อย ต.ผาขาว
อ.ผาขาว จังหวัดเลย

แนะนำตัวหน่อยครับ

ดิฉัน... นางสาวนภากรณ์ แสนคำราง ปัจจุบัน อายุ 34 ปี เป็นบุตรสาวของ
นายคำ แสนคำราง ได้ดูแลสวนแทนคุณพ่อ และรับช่วงต่อการดำเนินโครงการพัฒนา
พื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา
โมเดล เนื่องจากคุณพ่อได้เสียชีวิตเมื่อไม่นานมานี้

เข้าร่วมโครงการได้อย่างไร

ได้ทราบข้อมูลจาก นางนกน้อย ศรีวิชา และผู้ใหญ่บ้านประกาศว่า ทางสำนักงาน
พัฒนาชุมชน อำเภอผาขาว เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล จึงเกิดความ
สนใจและเข้าไปสอบถามข้อมูล หลังจากนั้นจึงตัดสินใจยื่นใบสมัครเอาไว้

18

แล้วท่านชำนาญ/เป็นกูรูเรื่องอะไร

จากภูมิเดิมที่มีรากเหง้าของคนอีสานและได้ประกอบ
อาชีพเกษตรกรรมสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ได้มีการแลก
เปลี่ยนเรียนรู้ฝึกปฏิบัติจริง ลงมือจริงสั่งสมประสบการณ์
เกี่ยวกับการทำเกษตร ทำให้มีความรู้ความสามารถในการ
ถ่ายทอดให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาและนำไปต่อยอดพัฒนา
อาชีพ จึงมีความชำนาญและเข้าใจในเรื่อง การปลูกผัก
ปลอดภัย และการทำปุ๋ยหมักแห้ง

ได้อะไรจากโครงการ

ได้รับความรู้มากมายจากการเข้าอบรม เปลี่ยนวิธีคิด มุมมอง ของการทำเกษตรดำเนิน
รอยตามในหลวง ร.9 การใช้ชีวิตแบบพอเพียง พึ่งพาตนเอง ใช้ชีวิตที่เรียบง่ายอย่างมีความสุข
มีกิน มีใช้ หากเหลือก็นำมาขายและแบ่งปัน ได้ความรู้จากการปลูกพืชผสมผสาน การปลูกพืช 5
ระดับ สูง กลาง เตี้ย เรี่ยดิน พืชกินหัวและได้จัดแบ่งพื้นที่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับธรรมชาติ
ส่วนบริเวณพื้นที่ลุ่มได้ขุดเพื่อกักเก็บน้ำและเลี้ยงปลาสลิด ปลาหมอ ปลานิล ปลาทับทิมและ
ปลาคาร์ฟ ไว้ดูเพลิดเพลินตา ส่วนพื้นที่โคกได้ปลูกผัก ผลไม้หลากหลายชนิด เช่น

1. ไม้สูงคือ พะยูง ยางนา
2. ไม้กลาง คือ เงาะ ทุเรียน ลำไย อะโวคาโด จำปาดะ ขนุน ผักหวาน ส้มโอ
3. ไม้เตี้ยคือ พริก มะเขือ ตะไคร้ ผักกรูด
4. ไม้เรี่ยดินคือ แตงไท ฟักทอง ฟัก
5. พืชกินหัว คือ ข่า กระชาย เป็นต้น

วางแผนพัฒนาพื้นที่อย่างไร

จะพัฒนาตนเองโดยการแสวงหาความรู้จากแหล่ง
ต่างๆโอกาสต่างๆ พัฒนาฐานเรียนรู้และองค์ความรู้
อย่างต่อเนื่อง ได้วางแผนอนาคตไว้ว่า จะเลี้ยงปลาหลาก
หลายชนิดเพื่อเอาไว้ทำอาหารและนำไปขาย เปิดบริการ
ที่พักโฮมสเตย์ และร้านกาแฟ

19

พิกัด

นายสมศักดิ์ ธัญญรักษ์

ครัวเรือนต้นแบบ HLM ต.สานตม อ.ภูเรือ จ.เลย

แนะนำตัวหน่อยครับ

สวัสดีครับผม..นายสมศักดิ์ ธัญญรักษ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 5 ตำบลสานตม อำเภอภูเรือ
จังหวัดเลย เป็นอีกหนึ่งคนที่ได้น้อมนำหลักปรัญชาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่
มาปรับใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่อยู่แล้ว จึงมีความสนใจและสมัครใจเข้าร่วมโครงการ
พัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา
โมเดล นำพื้นที่เข้าร่วม 3 ไร่ จากทั้งหมด 13 ไร่

ทำไมถึงอยากเข้าร่วมโครงการ

ผมมองว่ามันเป็นโอกาสที่พลาดไม่ได้ ที่จะได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองเพื่อนำมาพัฒนา
พื้นที่ให้มีความอุดมสมบูรณ์ตามแนวทางของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 อยากจะนำมาทำในพื้นที่ให้
เกิดผลเป็นรูปธรรม แล้วผมก็จะต่อยอดเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบถ่ายทอดองค์ความรู้
ให้คนในชุมชนต่อไป

20

ก่อนเข้าร่วมโครงการทำอะไรบ้าง



ในช่วงเริ่มแรกผมทำเกษตรมาแล้วทุกอย่าง วิ่งตามคนอื่นพืชชนิด
ไหนราคาดีก็ปลูกแต่พอจะขายก็ไม่ได้ราคา ปลูกพืชเชิงเดี่ยวก็ขาดทุนจาก
ค่าปุ๋ย ค่ายา จนรู้สึกว่าต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่แล้ว หลังจากได้เป็นผู้ใหญ่
บ้านมีโอกาสได้ไปอบรมเพิ่มความรู้หลากหลายสาขา โดยเฉพาะหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงจึงเกิดความสนใจที่จะนำมาปรับใช้ในการทำเกษตรของตนเอง

แล้วท่านชำนาญ/เป็นกูรูเรื่องอะไร

มีความรู้ด้านการเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งเป็นพืชที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน
การทำดินพร้อมปลูก การปลูกข้าวในคลองไส้ไก่ด้วยพันธุ์ข้าวสันป่าตอง การเพาะพันธุ์อึ่งอ่าง และ
การเพาะพันธุ์กบ

แล้ววางแผนพัฒนาพื้นที่ยังไง

ตั้งใจจะพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ เป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรผสมผสานให้คนในชุมชน
และประชาชนใกล้เคียงได้มาเรียนรู้ มาฝึกปฏิบัติ แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง

ได้อะไรจากโครงการ

หลังจากการเข้าร่วมโครงการฯ สิ่งแรกที่ได้คือการปรับทัศนคติจึงทำให้หันมาทำการเกษตรแบบ
พอเพียง มีเหลือแล้วแบ่งปัน ถ้ามีมากก็นำไปขายเป็นรายได้ให้กับครัวเรือน โดยการบริหารจัดการ

ดินมีความอุดมสมบูรณ์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว มีผักเกิดตามธรรมชาติ
เช่น ผักกูด ผักหนาม และยังปลูกพริก ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ปลูกมะม่วง
เป็นรายได้แก่ครัวเรือน

ด้านปศุสัตว์ ได้ทำการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ เพาะพันธุ์อึ่งอ่างและกบ
สิ่งที่ได้จากโครงการ คือ ความรู้ทางการเกษตรที่สามารถ นำมาต่อ
ยอดการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ไม่ต้องกังวลหรือกลัว
วิกฤตการณ์ในอนาคตที่ไม่สามารถคาดเดาได้เพราะมีแหล่งอาหารเป็น
ของตนเอง มีความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อมรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ให้ยั่งยืน ได้ทานอาหารปลอดภัยไร้สารพิษ มีอากาศที่ดี และเกิดภูมิคุ้มกัน
การใช้ชีวิตในยุค New normal

21

พิกัด

นายธัญญิ์นิธิ ศรีบุรินธนาภรณ์

ครัวเรือนต้นแบบ HLM
บ้านท่าศาลา ต.ท่าศาลา อ.ภูเรือ จ.เลย

แนะนำตัวหน่อยครับ

สวัสดีครับ ผมนายธัญญิ์นิธิ ศรีบุรินธนาภรณ์ อยู่บ้านเลขที่ 99 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าศาลา
อำเภอท่าศาลา จังหวัดเลย

ทำไมถึงอยากเข้าร่วมโครงการ

เกิดจากแรงบันดาลใจที่เคยเห็นวิถีดั้งเดิมสมัยที่ยังเป็นเด็ก ได้พบเห็นคุณพ่อ คุณแม่
ได้ทำมาหากินเลี้ยงลูกๆ ด้วยวิธีการหาปลาตามห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามธรรมชาติ
ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ในสมัยนั้น เมื่อเห็นโครงการโคก หนอง นา โมเดล และได้
ทำการศึกษาดูแล้วว่าเป็นโครงการที่ดีสามารถสร้างแหล่งอาหารให้กับครัวเรือน ให้สามารถมี
ความมั่นคงทางด้านอาหารจึงได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ

22

มีความชำนาญเรื่องอะไร

พื้นฐานเดิมของครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม
จึงมีความชำนาญด้านการปลูกพืชเกษตรที่หลากหลาย ไว้เพื่อบริโภคเองในครัวเรือน
ได้รู้จักการแบ่งปันเพื่อทำบุญให้กับคนที่ขาดเหลือ และยังมีความชำนาญในด้านการแปรรูป
ผลผลิตทางการเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้า OTOP

ได้อะไรจากโครงการฯ

- ได้องค์ความรู้ / มุมมองใหม่ / วิธีการคิดและทำแบบใหม่ตามหลักพึ่งพาตนเอง รู้จักการพอ
เพียง มีแหล่งอาหารให้กับตนเองและครอบครัว

- ได้แหล่งน้ำนำไว้ใช้เพื่อการเกษตร / การเลี้ยงปลาไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือนและแบ่งปันให้
เพื่อนบ้านได้ทานอาหารที่ปลอดภัย ไร้สารเคมี

- ได้ป่า และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ อากาศที่ดีกลับคืนมา
- ได้สถานที่ศึกษาดูงานพื้นที่พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง
นา โมเดล
- ได้แหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่ถ่ายทอดองค์ความรู้วิถีดั้งเดิม ด้านวัฒนธรรม การทำมาหากิน
สมัยเก่าพัฒนาสู่สมัยใหม่เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในยุคปัจจุบัน

วางแผนพัฒนาพื้นที่ในอนาคตอย่างไร

- จะพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้เชิงเกษตรและธรรมชาติเพื่อเปิด

ให้คนที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน

- พัฒนาเป็นคาเฟ่แอนด์ฟาร์ม สถานที่พักผ่อนและเรียนรู้

ด้านการเกษตรเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพและ

สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและชุมชน

- พัฒนาเป็นศูนย์รวมข้อมูลท่องเที่ยวชุมชนและจัดทริปท่อง

เที่ยวชุมชนและธรรมชาติ โดยเชื่อมโยงเครือข่ายกับฟาร์มในพื้นที่

ใกล้เคียง ด้วยการทำกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวชุมชนด้วยกัน

เพื่อให้เกิดความคึกคักทางด้านการท่องเที่ยวขึ้นในแหล่งชุมชน

เป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน และเป็นแรงดึงดูดนักท่องเที่ยว

คนในเมือง ให้มาสัมผัสกับธรรมชาติ เรียนรู้การทำเกษตรและหา

ประสบการณ์ใหม่ๆ

23

พิกัด

นายอารักษ์ ศรีสกุลเตียว

ครัวเรือนต้นแบบ CLM
ตำบลสานตม อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย

แนะนำตัวหน่อยครับ

กระผม..นายอารักษ์ ศรีสกุลเตียว อยู่บ้านเลขที่ 105 บ้านสานตม ตำบลสานตม อำเภอภูเรือ จังหวัด
เลย มีสมาชิกในครอบครัวทั้งหมด 4 คน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เข้าร่วมโครงการฯ ในพื้นที่ทั้งหมด
15 ไร่

เข้าร่วมโครงการได้อย่างไร

ทราบข่าวจากเพื่อนที่เป็นวิทยากรว่าที่ดิน สปก. 4-01 สามารถเข้าร่วมโครงการได้ โดยสามารถสมัคร
เข้าร่วมโครงการฯ ได้ที่พัฒนาชุมชนอำเภอภูเรือ จึงเข้าไปสอบถามรายละเอียดและสมัครเข้าร่วมโครงการใน
ทันที

มีความชำนาญในเรื่องอะไร

จากการเรียนรู้และการปฏิบัติจริง การทำเกษตรตามหลักกสิกรรมธรรมชาติทำให้มีประสบการณ์

สามารถแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ เช่น การทำปุ๋ยหมักแห้ง ปุ๋ยหมักน้ำ (จุลินทรีย์หน่อกล้วย)

จุลินทรีย์จากปลวก การห่มดินที่ถูกต้อง การเผาถ่านให้ไม่มีสารทาร์ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง การเผาถ่าน

เอาน้ำส้มควันไม้มาใช้ไล่แมลง การเก็บอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นถิ่น การทำสบู่ แชมพู น้ำยาอเนกประสงค์ 24

ศรัทธาสร้างแรงบันดาลใจ

ไร่มาลีรักษ์ มีพื้นที่ 125 ไร่ อยู่บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล ถึง 750 เมตร

มีลักษณะเป็นภูเขา สูงชัน เดิมพื้นที่ทำการเกษตรเชิงเดี่ยว โดยการปลูก ข้าวไร่

ข้าวโพด ลิ้นจี่ ไม้ตัดดอก ส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตที่สูง และมีการใช้สารเคมี

เป็นจำนวนมาก จึงคิดว่าไม่ใช่คำตอบในการทำการเกษตรที่ถูกต้อง ประกอบ

กับได้มีโอกาสไปอบรมการออกแบบแปลงโคก หนอง นา ที่เขาใหญ่พาโนรามา

และศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านหนองบอน อำเภอรัตนบุรี จังหวัดศรีษะเกษ ทำให้

เกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่

จึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ พื้นที่ขนาด 15 ไร่ เพื่อปรับพื้นที่ให้สามารถบริหารจัดการ

ทรัพยากรน้ำ ดิน และป่าไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้อะไรจากโครงการ

จากการได้เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตร
แต่เนื่องในช่วงเวลาการอบรมอยู่ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด - 19
จึงได้รับการอบรมผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งได้ให้ความรู้เกี่ยวกับหลัก
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักกสิกรรมธรรมชาติ การออกแบบ
พื้นที่ตามภูมิสังคม และฐานการเรียนรู้ต่างๆ หลักการเอามื้อสามัคคี
การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง การปลูกป่า 5 ระดับ ซึ่งในชีวิตนี้ไม่
คิดว่าป่า 5 ระดับ จะมาปลูกในพื้นที่ระยะชิดกันได้โดยไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ได้เพิ่มพื้นที่สีเขียวมากขึ้นใน
ทุกๆปี เพิ่มอากาศบริสุทธิ์และออกซิเจนให้กับทุกคน ได้เรียนรู้ว่าต้นไม้ทุกต้นสามารถกักเก็บน้ำเอาไว้ในใต้ดิน
ได้เป็นจำนวนมหาศาลแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาตนเองไปเรื่อยๆ ได้ทำการเกษตรแบบไม่ใช้สารเคมี โดยเฉพาะ
ฐานคนรักแม่ธรณีเราสามารถทำปุ๋ยหมักแห้งใช้เอง ปุ๋ยหมักน้ำ การห่มดิน การทำจุลินทรีย์จากปลวก สามารถ
ดำรงชีพได้โดยพึ่งพาปัจจัยภายนอกให้น้อยที่สุด
ในส่วนของการปรับพื้นที่ แบ่งเป็น สระน้ำ 7 สระ ได้เลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปลาช่อน ปลาสวาย ปลานิล ปลา
ตะเพียน ปลาสลิด ได้มีการทำแซนวิซให้ปลาโดยการเลี้ยงแหนแดงให้เป็นอาหารปลา เลี้ยงหนอนแมลงวันลาย
ให้เป็นอาหารปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาสวาย นามีทั้งหมด 9 แปลง ปลูกผักสวนครัว 1 แปลง ปลูก
ดอกไม้เก๊กฮวยทำชา 1 แปลง ปลูกข้าวเหนียวซิวเกลี้ยง 3 แปลง ปลูกข้าวหางปลาไหล 3 แปลง คันนาทองคำ
ปลูกตะไคร้แดง ตะไคร้หอม พริก มะเขือ อื่นๆ ตามคันสระจะปลูกกล้วยชนิดต่างๆ และปลูกป่า 5 ระดับ เช่น
ยางนา สัก พะยูง และอีกมากมาย

วางแผนพัฒนาพื้นที่ยังไง

เริ่มจากการพัฒนาตนเองและแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ

พัฒนาฐานการเรียนรู้ให้ชุมชนและผู้ที่สนใจนำไปปฏิบัติได้อย่างเข้าใจ

และง่ายต่อการนำไปใช้ จัดองค์ความรู้ในแต่ละฐานให้มีความน่าสนใจ

ต้องการให้เป็นแหล่งเรียนรู้และขยายผลไปสู่ชุมชน และสามารถเป็น

แหล่งท่องเที่ยวโคกหนองนา เพื่อให้นักท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้มากิน

มานอน สามารถท่องเที่ยวแถมได้รับความรู้ทางด้านการเกษตร และที่สำคัญได้ทานอาหารปลอดภัยจากสาร

เคมี อยากให้เกิดตลาดชุมชนเกษตรอินทรีย์ สร้างแรงกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวและผู้เข้ามาเยี่ยมชมโครงการฯ

ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง 25

นางคำมุก สระแก้ว พิกัด

ครัวเรือนต้นแบบ HLM
บ้านหนองปาดฟาน ต.หนองหญ้าปล้อง

อ.วังสะพุง จ.เลย

แนะนำตัวหน่อยครับ

ดิฉัน นางคำมุก สระแก้ว อาศัยอยู่บ้านหนองปาดฟาน หมู่ที่ 2 ต.หนองหญ้าปล้อง อ.วังสะพุง จ.เลย เป็นผู้เข้าร่วม
โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “ โคก หนอง นา โมเดล ” ปัจจุบันอายุ
42 ปี อาชีพหลักเป็นเกษตรกร มีบุตร 2 คน ได้เข้าร่วมโครงการฯ ในพื้นที่ทั้งหมด 3 ไร่ เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ผู้ที่สนใจในพื้นที่
และภายในตำบล โดยได้สมัครผ่านผู้ใหญ่บ้าน

ทำไมถึงอยากเข้าร่วมโครงการ

สืบเนื่องมาจากปัญหาของเศรษฐกิจที่ซบเซา และผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 ส่งผลต่อการดำรงชีพของพี่น้อง
ประชาชนในพื้นที่ ทั้งการซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนผลผลิตทางการเกษตร และการท่องเที่ยว ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ออกเดินทางทำให้มี
รายได้ลดน้อยลง รายจ่ายเพิ่มมากขึ้นหนี้สินพอกพูน รายรับ-รายจ่ายไม่สมดุลกับการดำรงชีพของประชาชน จึงทำให้หันมา
สนใจศึกษาแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 มีความเชื่อมั่นว่าจะช่วย
พัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนได้จริง ดิฉันในฐานะประชาชนคนไทยจึงต้องการพิสูจน์ด้วยการทำในครัวเรือนตนเอง
แล้วขยายผลไปสู่เพื่อนบ้าน

ไปรู้ยังไงว่ามีโครงการฯ

ในวันประชุมหมู่บ้านทางผู้ใหญ่บ้านได้แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ผู้ใหญ่บ้านก็ได้
แจ้งว่าตนเองก็เข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าวด้วยเหมือนกัน ในหมู่บ้านของเรามีใครสนใจบ้างหรือเปล่าจะได้เข้าร่วมการอบรม
พร้อมๆกัน เพื่อเป็นต้นแบบให้ชาวบ้านในชุมชนจึงได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ เพราะเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำตามความตั้งใจ
ของตนเอง

มีความชำนาญในเรื่องอะไร

ดิฉัน...ได้รับการอบรมเรื่องการขยายพันธุ์พืช การเพาะเมล็ดจากสำนักงานเกษตรอำเภอ จนสามารถเป็น

วิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพาะพันธุ์พืชเป็นอย่างดี และเป็นวิทยากรกระบวนการวางแผนด้านการ

บริหารจัดการน้ำ/การบริหารพื้นที่เพื่อการเกษตร/การทำน้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น 26

พัฒนาอะไรบ้างล่ะ ??

ดิฉัน ได้ศึกษาและมีพื้นฐานมาก่อนบ้างแล้วจึงได้ปรับพื้นที่บริเวณบ้านก่อนเข้าร่วมโครงการฯ โดยได้บริหารจัดการพื้น
ที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ คือ 30:30:30:10 เรื่องกล้วยๆ เริ่มจากการปลูกกล้วยก่อนโดยหว่านปอเทืองเพื่อปรับสภาพดินเป็นพี่
เลี้ยงให้กับพืชอื่นๆ ได้ยินคำว่า โคก หนอง นา มานานแล้วแต่ไม่รู้ว่าคืออะไร พอได้เข้าร่วมโครงการฯ และผ่านการอบรมก็เข้าใจ
ว่าเป็นหลักการบริหารจัดการพื้นที่ให้เหมาะสม เช่นเดียวกับหลักทฤษฎีใหม่แต่ใช้คำที่ทำให้ชาวบ้านเข้าใจได้ง่าย คือ โคก หนอง
นา นั่นเอง ตอนที่เริ่มขุดแปลงเพื่อนบ้านมาเห็นเขาพูดว่า “ เสียดายพื้นที่นาแท้ เคยปลูกข้าวได้ตั้งเยอะไม่เสียดายเหรอ ”

จึงได้ตอบกลับไปว่าจะตั้งใจพัฒนาปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้อุดมสมบูรณ์เป็นรูปธรรม จากวันนั้นจนถึงวันนี้เพื่อนบ้านคนเดิม
มาเห็นก็บอกว่า “ โอ้ สวยมากเลยมีการแบ่งสัดส่วนการใช้พื้นที่ปลูกอะไรได้ตั้งมากมายมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ต้นไม้ก็โตเร็ว
มากโดยเฉพาะนาข้าว ต้นกล้วย และต้นพะยูง แถมยังมีปูปลามากมายในพื้นที่อยากสมัครโครงการฯ นี้พอจะเปิดรับ
สมัครอีกไหม”

ทำให้สำเร็จ ทำ ทัน ที (ททท.) ค่อยเป็นค่อยไป ดิฉันเริ่มจากการฟื้ นฟูดินด้วยการห่มดิน คลุมฟาง โดยใช้ตอซังข้าว และ
ใบอ้อยที่เหลือจากการตัดอ้อยมาขายซึ่งมีจำนวนมาก เพราะพี่น้องในตำบลส่วนใหญ่ประกอบชีพเกษตรกรรมไร่อ้อย จึงได้นำ
มาประยุกต์ใช้ห่มดินควบคู่กับฟางข้าวสามารถช่วยฟื้ นฟูบำรุงดินได้เป็นอย่างดี พร้อมกับหว่านปอเทืองและหว่านดอกไม้คลุม
ดิน เมื่อดินดีก็ทยอยปลูกพืชล้มลุก เช่น มะละกอ กล้วย ผลไม้จำพวก ลิ้นจี่ น้อยหน่า และอีกมากมาย สัตว์ก็เลี้ยงไก่-เป็ดไว้
เก็บไข่กินเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย

บริหารจัดการพื้นที่ได้ดำเนินการ ดังนี้ พื้นที่โคกปลูกไม้ใช้สอย เช่น สัก ยางนา ประดู่ พะยูง แคนา พื้นที่หนองได้ปล่อย
ปลา 8,000-15,000 ตัว ในสระน้ำทั้ง 2 บ่อ มีทั้ง ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลานิล โดยแยกประเภทแต่ละชนิดและยังมีการนำ
หอย ปูนา กุ้งฝอย มาเลี้ยงในบ่ออีกด้วย พื้นที่นาทำการขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียว กข.2 ให้แก่พี่น้องประชาชน รวมทั้งเป็น
ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรในตำบลและสมาชิกเกษตรในพื้นที่อีกด้วย

หัวใจสำคัญที่ทำให้ประสบผลสำเร็จในพื้นที่

นอกจากความเชื่อและศรัทธาในศาสตร์พระราชา ดิฉันก็ยังมีคู่ชีวิต คือ นายวิชัย
สระแก้ว ผู้เป็นสามีที่นำความรู้ความสามารถ และทักษะต่างๆมาช่วยกันทำในแปลงโดยจะ
ตื่นตั้งแต่เช้ามืดมาลงมือทำแดดออกก็พัก พอบ่ายคล้อยก็กลับมาทำงานช่วยกันทำแบบ
นี้ต่อเนื่องทุกวัน เป็นแรงใจ แรงพลัง ในการขับเคลื่อน ใครๆจึงเรียก แปลงนี้ว่า
“สวนตาบอย” (ชื่อเล่นสามี)

ได้อะไรจากโครงการ วางแผนพัฒนาพื้นที่ยังไง

วางแผนพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่คนในชุมชนทุกเพศทุก
วัยสามารถเข้ามาเรียนรู้ในพื้นที่ได้ มาชื่นชมผลงานของแปลง ยินดีต้อนรับ
ทุกๆโอกาสค่ะ มีความพร้อมด้านการบรรยาย การอบรม สามารถรองรับ
การดูงานทุกกลุ่มและคณะได้เป็นอย่างดี เพราะในพื้นที่ข้างเคียงก็มีเครือ
ข่ายมากมาย

ได้รับความสุขใจ ความมั่นคงทางอาหาร ไม่ว่าจะต้องเจอกับวิกฤตใดๆในอนาคตก็สามารถอยู่รอดได้ และช่วย

เหลือผู้อื่นได้อีกด้วย ที่สำคัญอีกประการคือ ดิฉัน ได้เป็นส่วนหนึ่งของกลไกการพัฒนาชุมชนในตำบลด้วยการน้อม

นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่รูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” มาปรับใช้จนเป็นวิถีชีวิต

ตลอดทั้งองค์ความรู้ต่างๆจากที่ได้ทำมาและศึกษาด้วยการทดลองทำในพื้นที่ให้แก่ผู้ที่สนใจ สร้างเครือข่าย 27
ขยายผลแก่ประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงต่อไปด้วยใจจิตอาสา

พิกัด

ว่าที่ร้อยตรีหญิง
ธันยนันท์ ธงชัย

ครัวเรือนต้นแบบ HLM
ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย




แนะนำตัวหน่อยครับ ดิฉันว่าที่ร้อยตรีหญิง ธันยนันท์ ธงชัย ปลัดอำเภอเชียงคาน

ลูกสาวคนโตของนางไพเราะ สมจันทร์ เจ้าของแปลงโคกหนอง
นา บ้านสวนอุ่นรักฮักแพง เป็นผู้เข้าร่วมโครงการฯ ปัจจุบันอายุ 50 ปี เป็นข้าราชการและเกษตรกรวันหยุด
สมาชิกในครอบครัวของเรามีจำนวน 10 คน อยู่ในช่วง 3 เจนเนอร์เรชั่น (Gen B , Gen X และ Gen y)
ซึ่งมีความแตกต่างกันด้านความคิดและวิธีปฏิบัติที่อยู่บนพื้นฐานของความลงตัวภายใต้หลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงที่พ่อหลวงทรงมอบไว้ให้พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า

ไปรู้อย่างไรว่ามีโครงการ

การประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ โดยพัฒนาการอำเภอเชียงคาน นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่วาระ
ประชุมประชาสัมพันธ์เชิญชวนรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “ โคก หนอง นา โมเดล” ซึ่งเป็นนโยบายที่สามารถตอบโจทย์และสอดคล้องกับ
หลักกสิกรรมธรรมชาติ เพื่อเป็นการสืบสาน รักษาและต่อยอด หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

28

ทำไมถึงอยากเข้าร่วมโครงการ

สืบเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจที่ซบเซาประกอบกับมีโรคระบาดใหม่ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า
2019 (โควิด-19) ส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยโดยเฉพาะพื้นที่อำเภอเชียงคานซึ่งเป็นเมืองที่
มีแหล่งท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ส่งผลให้ชาวเชียงคานได้รับผลกระทบในการทำมาค้าขาย ทำมา
หากิน ไม่ว่าจะเป็น โรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร หาบแร่ แผงลอย รวมถึงเกษตรกรผู้ผลิตผลผลิตทางการเกษตร
ไม่สามารถขายหรือส่งออกได้

พวกเราได้ศึกษาศาสตร์พระราชาและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชน
กาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เกิดความศรัทธาและเชื่อมั่นว่าจะช่วยยกระดับและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในครอบครัว ชุมชน และพี่น้องชาวเชียงคานได้ เราจึงได้เริ่มต้นพัฒนาตนเองให้เป็น
ศูนย์เรียนรู้ฯ ที่สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเกษตรกร คณะศึกษาดูงานและนักท่องเที่ยวได้

แล้วพัฒนาอะไรบ้างล่ะ ??

เราเริ่มต้นสำรวจตัวเอง สำรวจครัวเรือน สำรวจพื้นที่เตรียมความพร้อม
เพื่อเป็น “ต้นกล้าความดี” ที่ได้ผ่านกระบวนการบ่มเพาะทางปัญญาและวิถี
ชีวิตของคนเชียงคานสู่รุ่นแล้วรุ่นเล่าในครอบครัว ส่งผลให้เกิดการถ่ายโอน
ความคิด ความรู้สึก จินตนาการมากมายที่กลั่นกรองวิถีแห่งการแบ่งปันและ
ปันสุขให้แก่เพื่อนพ้องน้องพี่

แล้ววางแผนพัฒนาพื้นที่ยังไง

วางแผนพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ฯ ตามศาสตร์พระราชา ซึ่งศูนย์เรียนรู้ขยายผลโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ (บ้านสวนอุ่นรักฮักแพง) เป็นศูนย์เรียนรู้ฯ แห่งที่ 3 ของอำเภอเชียงคาน

-เป็นที่ตั้งของศูนย์ประสานงาน ของ ศูนย์ศึกษาภูพาน อันเนื่องมาจาก
พระราชดำริ สกลนคร

-เป็นที่ตั้ง “โคก หนอง นา” ต้นแบบ
-เป็นที่ตั้งของศูนย์สัมมาชีพชุมชนบ้านเชียงคาน หมู่ที่ 2
-เป็นที่ตั้งของศูนย์เครือข่ายเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร
(ด้านปศุสัตว์)
-เป็นที่ตั้งศูนย์ป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน
-เป็นศูนย์ให้คำปรึกษา SMEs และ OTOP
-พัฒนาให้ตนเองและสมาชิกในครอบครัวเป็น Smart Farmer

ความภาคภูมิใจในการได้ทำเพื่อตอบแทนคุณแผ่นดินเกิด ได้อะไรจากโครงการ

หวังว่าพี่น้องชาวเชียงคานจะสามารถยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

พร้อมทั้งแบ่งปันและถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม

นำมาต่อยอดให้เกิดการพัฒนาต่อไป 29

พิกัด นางบุญร่วม นักพรม

แแนนะะนนำำตตััววหหนน่่ออยยคครรับับ ครัวเรือนต้นแบบ HLM
ต.ผาสามยอด อ.เอราวัณ จ.เลย




ดิฉัน...นางบุญร่วม นักพรม ประธานคณะกรรมการ

พัฒนาสตรีตำบลผาสามยอด เข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตาม

หลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “ โคก หนอง นา โมเดล ” ในพื้นที่ทั้งหมด 3 ไร่

ทำไมถึงเข้าร่วมโครงการฯ

บ้านห้วยป่าน ต.ผาสามยอด นั้นมีพื้นที่เป็นที่ราบสูงแห้งแล้ง และดินมีลักษณะเป็นหินกรวดสี

แดงลูกเล็กๆ กักเก็บน้ำได้ไม่ดี ครัวเรือนส่วนใหญ่จึงนิยมปลูกพืชที่ทนแล้งได้ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง

ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นการทำเกษตรเชิงเดี่ยว ได้ใช้พื้นที่ทั้งหมดปลูกอ้อยแต่ต้นทุนในการปลูก

และดูแลสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งยังมีโรงงานน้ำดื่มมาตั้งในพื้นที่ติดกัน ทำให้พื้นที่เกิดน้ำท่วมขังในแปลง

เกษตรไม่สามารถปลูกอ้อยได้ตามเดิม จึงได้เรียนรู้การจัดการพื้นที่ตามรูปแบบโคก หนอง นา ซึ่ง

เป็นการบริหารจัดการน้ำอย่างมีแบบแผนตามสภาพของพื้นที่ ซึ่งน่าจะสามารถแก้ไขปัญหาที่กำลัง

ประสบพบเจออยู่ในพื้นที่ได้ แต่ก็ยังขาดทุนทรัพย์ในการลงทุนเพื่อปรับพื้นที่ดังกล่าวจึงได้ตัดสินใจ

เข้าร่วมโครงการฯ กับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเอราวัณ โดยมีพัฒนากรประจำตำบลเป็นผู้ให้คำ

แนะนำและชักชวนเข้าร่วมโครงการฯ 30

วางแผนพัฒนาพื้นที่อย่างไร ??

ลักษณะของพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นแนวยาวลาดลงจำนวนทั้งหมด 11 ไร่ ได้ใช้พื้นที่ใน
ส่วนที่ติดกับโรงงานน้ำดื่มเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ ขนาด 3 ไร่ ในอัตราส่วน 2 : 3 เพื่อลดผลกระทบ
จากน้ำในโรงงาน และบริหารจัดการน้ำโดยใช้หลักการตามโครงการฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับพื้นที่มาก
ที่สุด โดยวางแผนดังนี้

1. เลือกพื้นที่ด้านบนสุดที่ติดกับโรงงานน้ำเป็นพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการฯ
2. วางแผนจัดการพื้นที่ร่วมกับพัฒนากรและนายช่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลผาสามยอด
3. ดำเนินการขุดตามแบบแผนที่วางไว้ ดังนี้

3.1 หนอง : ขุดหลุมขนมครกไว้รองรับน้ำจากโรงงานและน้ำตามธรรมชาติ ขุดคลองไส้ไก่
เพื่อระบายน้ำ และกระจายน้ำให้ทั่วพื้นที่เพื่อเกิดความชุ่มชื้นในดิน

3.2 โคก : เป็นดินที่มาจากการขุดหนอง โดยได้ทำเป็นเนินดินไว้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น เช่น
ลำไย เงาะ ทุเรียน และทำคันนาขนาดใหญ่ไว้ปลูกผักสวนครัวเพื่อรับประทานในครัวเรือนและลดค่าใช้
จ่าย

ทำแล้วได้อะไร ??

สิ่งแรกที่ได้ คือ ได้ปรับเปลี่ยนความคิด คิดที่จะเปลี่ยนวิกฤต
จากโรงงานน้ำดื่มให้เป็นโอกาสโดยการบริหารจัดการน้ำตามรูปแบบ
ของโครงการฯ จากการปรับเปลี่ยนความคิดและพื้นที่ทำให้สามารถใช้
สิ่งที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนลดการพึ่งพา
ปัจจัยภายนอก หากเหลือกินก็แบ่งปันเพื่อนบ้าน แปรรูปผลผลิตเพื่อนำ
มาขายบ้างจึงมีความสุขในการใช้ชีวิตแบบพอเพียง

สิ่งที่อยากทำ

ณ ปัจจุบันมีความสุขกับวิถีชีวิตแบบพอเพียงไม่เบียดเบียน
ตนเองและผู้อื่น จึงอยากเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนการดำเนิน
ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้สตรีในตำบล
ผาสามยอดเป็นแกนนำในการสร้างความมั่นคงทางอาหารภายใน
ครัวเรือนของสตรีก่อนแล้วจึงเผยแพร่สู่ชุมชนต่อไป

สนามรบที่สำคัญ ไม่แพ้อาวุธ คือ เสบียงอาหาร

การดำเนินชีวิตจะต้องมีเสบียงอาหารที่มั่นคง จึงต้องมีการวางแผน
และบริหารจัดการที่ดีนำสิ่งที่เรามีมาพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์
สูงสุด

31

พิกัด

นายชนะ สุขบัว

แนะนำตัวหน่อยครับ ครัวเรือนต้นแบบ HLM
บ้านปวนพุ ต.ปวนพุ อ.หนองหิน จ.เลย




ผม...นายชนะ สุขบัว เป็นครัวเรือนต้นแบบของอำเภอหนองหิน เล่าว่า ผมเลือกจะเปลี่ยนแปลง
ตนเอง เริ่มจากปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ ที่ต้องการทำให้พื้นทำกินกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง หลังจาก
ได้ทำเกษตรเชิงเดี่ยวที่มุ่งหวังจะร่ำรวย แต่ทำเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นหนี้ จนลืมวิถีเกษตรกรของบรรพบุรุษ

วิ่งตามเขา เพราะอยากรวย

ผมได้ทำการปรับเปลี่ยนพื้นที่นา มาทำการปลูกอ้อยส่งโรงงาน เพื่อหวังว่าจะมีรายได้มากกว่าเดิม
จะรวยขึ้น เพราะเห็นว่าเพื่อนบ้านได้หันมาปลูกอ้อยส่งโรงงานกันเกือบหมด เมื่อเริ่มทำก็มีค่าใช้จ่าย
เพิ่มขึ้นตั้งแต่ซื้อพันธุ์อ้อย จ้างแรงงาน ซื้อปุ๋ยเคมี ซื้อยาฆ่าหญ้า ต้นทุนสูงต้องใช้เงินทุกอย่างทำให้
เริ่มกู้เงินธกส. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจนมีหนี้เพิ่มขึ้น แต่เมื่อนำผลผลิตอ้อยไปจำหน่ายกลับ
ให้ผลตอบแทนไม่คุ้มกับการลงทุน ไม่ได้ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น สุขภาพร่างกายก็ถดถอย
พื้นที่ทำกินก็เสื่อมโทรม

จุดเริ่มต้น

ผมจึงเริ่มศึกษาว่าจะทำเกษตรอย่างไรให้มีกิน มีใช้ อยู่ได้ไม่เป็นหนี้สิน จนมาพบกับคำว่า

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 และเริ่มรู้จักกับคำว่าเกษตรทฤษฎีใหม่

รวมทั้ง โคก หนอง นา ที่สามารถบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ จึงมีความตั้งใจจะพลิก

ฟื้ นและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเกษตรของตนให้ดีขึ้น 32

ก้าวแรกกับโคก หนอง นา

ผมได้รับทราบการรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล”
จากทางสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนองหิน จึงได้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ จริงๆ ชื่อโครงการจำ
ไม่ค่อยได้ แต่มีคำลงท้าย “โคก หนอง นา” ที่เราศึกษาและสนใจจึงไม่ลังเลรีบสมัครเลยกลัวว่าจะ
พลาดโอกาสที่จะได้องค์ความรู้เพิ่มเติม และคิดว่าลูกหลานน่าจะเห็นด้วยและช่วยกันทำต่อไป

อนาคตต่อไป

ผมตั้งใจพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชน ที่ถ่ายทอดให้แก่
ผู้ที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง ความถนัดอีกอย่าง
ของผมคือ ด้านการประมงโดยเฉพาะการเลี้ยงปลา จึงได้ปล่อยปลาในสระ
กว่า 5,000 ตัว การให้อาหารของปลาก็จะเป็นของที่มีอยู่ในพื้นที่ แหนแดง
หญ้าที่สับแล้ว และรำข้าว เมื่อปลาเริ่มโตก็จะจับไปขาย และได้นำไปแปรรูป
เป็นปลาส้มที่สามารถเพิ่มรายได้เข้าสู่ครอบครัว

ความสุขของโคก หนอง นา

จากการที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ

การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง

นา โมเดล” ของกรมการพัฒนาชุมชน ทำให้ได้น้อมนำหลักปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันจน

เป็นวิถี เริ่มจากการสร้างความมั่นคงทางอาหาร

ด้วยการปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ผล ไม้ป่า เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ได้ไข่ วันละ 10-15 ฟอง ทำให้มีคลังอาหาร

ในพื้นที่มีน้ำใช้ตลอดปีไม่มีวันหมด ไม่ต้องกังวลกับวิกฤตต่างๆที่จะเกิดขึ้น สร้างความมั่นคงทาง

ทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้หันมาใช้หลักกสิกรรมธรรมชาติจากที่ได้อบรมมาทำปุ๋ยน้ำชาม แห้งชาม

ฟื้ นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน สร้างป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

เพื่อทำให้พื้นที่ร่มเย็น ไม่มีสารพิษ ปลอดสารเคมีในพื้นดิน และ ช่วย

สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม ที่ทำให้เกิดการแบ่งปันผลผลิตในชุมชน

เกิดความเกื้อกูลกัน หากมีผลผลิตจากพื้นที่โคก หนอง นา ก็แบ่งปัน

ให้เพื่อนบ้าน เป็นความสุขที่ผมไม่ต้องไปหาที่ไหนเลย เหลือผมก็ขาย

เช่น ผักสวนครัว ใบตอง และมะละกอ เป็นต้น สร้างรายได้แก่ครอบครัว

ได้เป็นอย่างดี

33

ภาคผนวก

เก็บตกภาพลงพื้นที่

34

เก็บตกภาพลงพื้นที่

35

เก็บตกภาพลงพื้นที่

36

ชื่อหนังสือ โคก หนอง นา พช.เลย เพลินใจ

ผู้จัดทำ กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเลย

ที่ปรึกษา นายคมสิทธิ์ สุริยวรรณ พัฒนาการจังหวัดเลย

นายอร่ามศักดิ์ วิริยะศรีสุวัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมขน

นางสาวเมตตา แสนอินอำนาจ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน

นางภัทราวดี หมั่นเรียน ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน

นางสาวทิพวัลย์ ทันหา ผู้อำนวยการกลุ่มประสานและสนับสนุนบริหารงานพัฒนาชุมชน

คณะผู้จัดทำ นายชานนท์ปิ่ นตระกูล นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

นางสาวกิตติพร มูลชมภู นักพัฒนาชุมชน

นายญาณกวี จริยาคุณากุล นักพัฒนาชุมชน

KM

โคก หนอง นา
พช.เลย เพลินใจ

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเลย
ศาลากลางจังหวัดเลย ถนนมลิวรรณ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 42000

โทร/โทรสาร 042-811773 เว็ปไซต์ htts://Loei.cdd.go.th


Click to View FlipBook Version