ช่ือหนังสือ แนวคิดการกล่าวโทษเหย่อื & หน้าที่ด้านสุขภาพ
พิมพ์ครั้งแรก กันยายน ๒๕๕๙
จ�ำนวน ๑๖,๐๐๐ เลม่
จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย ส�ำนกั งานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
ชั้น ๓ อาคารสุขภาพแหง่ ชาติ ๘๘/๓๙ หมู่ ๔
ต.ตลาดขวญั อ.เมือง จ.นนทบุรี ๑๑๐๐๐
โทรศพั ท์ ๐ ๒๘๓๒ ๙๐๐๐ โทรสาร ๐ ๒๘๓๒ ๙๐๐๑
www.nationalhealth.or.th
ท่ีปรึกษา พลเดช ปิน่ ประทปี
อรพรรณ ศรสี ุขวฒั นา
บรรณาธิการ ทพิ ิชา โปษยานนท์
ผู้เรียบเรียง ทพิ ยพ์ มิ ล เกยี รตวิ าทรี ตั นะ และ อวยพร แตช้ ตู ระกลู
เรียบเรียงจากเอกสารวิชาการเรื่อง แนวคดิ การกลา่ วโทษเหย่อื & หนา้ ท่ีดา้ นสขุ ภาพ
ศกึ ษาโดย : พงษ์พสิ ทุ ธ์ิ จงอดุ มสขุ
สนับสนุนการศึกษาโดย :
สำ� นกั งานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
ออกแบบโดย บริษทั แกน่ สาระ จำ� กัด
๑๕/๔ หมู่ ๓ ต.บางกระทกึ อ.สามพราน
จ.นครปฐม ๗๓๒๑๐
พิมพ์ที่ พมิ พ์ดี
คำ� นำ�
ปรัชญาและแนวคิดของระบบสุขภาพที่บัญญัติไว้ในธรรมนูญว่าด้วยระบบ
สุขภาพแห่งชาติ ฉบับท่ี 2 พ.ศ. 2559 ระบุในความข้อแรกว่า “สุขภาพเป็นสิทธิข้ัน
พน้ื ฐานของคน” ซง่ึ เป็นไปตามหลกั สากลทบ่ี ุคคลจะพงึ ได้รับสิทธดิ า้ นสุขภาพท่จี ำ� เป็น
ตามหลกั สทิ ธมิ นษุ ยชน อยา่ งไรกต็ ามในกระบวนการทบทวนธรรมนญู ฯ ไดม้ กี ารอภปิ ราย
ถึง “สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพของประชาชน” ในหลายมุมมอง พร้อมกับข้อเสนอ
ทีใ่ หร้ ะบุ “สขุ ภาพเปน็ หน้าทขี่ องประชาชน” ไว้ด้วย เพ่ือให้เกิดความรบั ผดิ ชอบในการ
ดูแลสุขภาพตนเองมิให้ก่อเกิดความเสียหายทางสุขภาพ หรือมีพฤติกรรมสุขภาพท่ีไม่
เหมาะสม เชน่ สูบบุหรี่ ไมอ่ อกกำ� ลังกาย รับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม หรือด่ืมสุรา
อนั เปน็ เหตนุ ำ� มาซง่ึ ความเจบ็ ปว่ ย ทตี่ อ้ งใชเ้ งนิ สาธารณะหรอื ภาษขี องประชาชนในการ
ดแู ลรักษา
อยา่ งไรกต็ ามมขี อ้ สงั เกตวา่ หนา้ ทจ่ี ะมาควบคกู่ บั การลงโทษ ดงั นน้ั หากกำ� หนด
ให้สุขภาพเป็นหน้าท่ีแล้ว เมื่อไม่ดูแลสุขภาพตนเองจนเจ็บป่วย บุคคลน้ันจะต้องถูก
ลงโทษหรือไม่ และจะไดร้ ับสทิ ธใิ นการดูแลรกั ษาเหมอื นผ้ปู ่วยทัว่ ไปหรอื ไม่ มีผเู้ สนอว่า
แนวคดิ นเี้ ชื่อมโยงกบั เร่อื ง “การกลา่ วโทษเหยอ่ื ” ทีเ่ ช่ือวา่ การเกิดพฤตกิ รรมสขุ ภาพท่ี
ไม่เหมาะสมนั้นไม่อาจตัดสินว่าเป็นความผิดของบุคคลน้ัน เพราะอาจมีหลายปัจจัย
ท่ีท�ำให้พวกเขาแสดงพฤติกรรมเช่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ การศึกษา
วัฒนธรรม ส่ือโฆษณา ฯลฯ ประชาชนจึงอาจตกเป็นเหยื่อในการถูกกล่าวโทษว่า
พฤติกรรมของตนเองเปน็ สาเหตทุ ก่ี อ่ ใหเ้ กดิ ความเจบ็ ปว่ ยได้
ในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ คร้ังท่ี 2/2559 เมื่อวันที่ 25
มีนาคม พ.ศ. 2559 ทป่ี ระชมุ ได้มอบหมายใหส้ ำ� นกั งานคณะกรรมการสขุ ภาพแห่งชาติ
(สช.) ศกึ ษาประเดน็ นเ้ี พมิ่ เตมิ จนเกดิ ผลการศกึ ษาทไ่ี ดเ้ สนอตอ่ ทป่ี ระชมุ คณะกรรมการฯ
ในเวลาต่อมา
เอกสาร “แนวคิดการกล่าวโทษเหย่ือ & หน้าท่ีด้านสุขภาพ” ฉบับน้ีได้
เรียบเรียงข้ึนใหม่จากต้นฉบับงานวิชาการของนายแพทย์พงษ์พิสุทธ์ิ จงอุดมสุข
อดีตผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและที่ปรึกษาส�ำนักงานคณะกรรมการ
สุขภาพแห่งชาติ โดยเอกสารเล่มเล็กๆ นี้จะส่ือสารให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงความเชื่อมโยง
ระหว่างแนวคดิ เรือ่ ง “การกลา่ วโทษเหยอ่ื ” กับ “หนา้ ทีด่ ้านสขุ ภาพ” และ “สิทธิด้าน
สุขภาพ” อธิบายแนวคิด หลักการ ความหมายผ่านกรณีตัวอย่างที่พบเห็นได้ในสังคม
ทั่วไป โดยจัดแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก “การกล่าวโทษเหยื่อด้าน
สุขภาพ” และส่วนท่ีสอง “หน้าที่ด้านสุขภาพ” ซ่ึงท้ัง 2 ส่วนนี้มีความเชื่อมโยงและ
สามารถน�ำไปใช้อ้างองิ ซึ่งกันและกนั
สช. หวงั เปน็ อยา่ งยง่ิ วา่ เอกสารฉบบั นจี้ ะเปน็ ประโยชนแ์ ละชว่ ยกระตนุ้ ใหเ้ กดิ
การแลกเปลย่ี นความคดิ เรอ่ื ง “สทิ ธแิ ละหนา้ ทด่ี า้ นสขุ ภาพ” ตามธรรมนญู วา่ ดว้ ยระบบ
สขุ ภาพแหง่ ชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559 ให้กวา้ งขวางยง่ิ ข้นึ ตอ่ ไป
สำ� นกั งานคณะกรรมการสขุ ภาพแหง่ ชาติ
กนั ยายน 2559
สารบัญ 1
11
การกล่าวโทษเหยอื่ ดา้ นสขุ ภาพ 26
หนา้ ทดี่ ้านสขุ ภาพ
บรรณานุกรม
การกล่าวโทษเหย่อื ด้านสุขภาพ
การเจบ็ ปว่ ยใดๆ น้ันมีสาเหตุมาจากท้ังปจั จยั ภายนอก อาทเิ ชน่ การได้รบั เช้ือ
หรอื สารทม่ี พี ษิ ทำ� ใหเ้ กดิ โรค การถกู กระแทกโดยของแขง็ หรอื ของมคี มทำ� ใหเ้ กดิ บาดแผล
การถูกสัตว์มีพิษกัด ฯลฯ และปัจจัยภายในซ่ึงมีมากมายและส่วนใหญ่เป็นพฤติกรรม
ส่วนบุคคล เช่น การมีพฤติกรรมการกินและการออกก�ำลังกายไม่เหมาะสมท�ำให้เกิด
โรคอ้วน การสูบบหุ รีท่ ำ� ให้เป็นโรคมะเร็งปอด การมีเพศสมั พันธ์ไมเ่ หมาะสมท�ำใหเ้ ป็น
โรคเอดส์ ฯลฯ
คนโดยท่ัวไปมีแนวโน้มท่ีจะกล่าวหาคนท่ีเจ็บป่วยจากปัจจัยภายในหรือ
พฤติกรรมส่วนบุคคลว่า เขาเหล่าน้ันเป็นต้นเหตุท่ีท�ำให้เกิดความเจ็บป่วยน้ันๆ เอง
เพราะฉะน้ันสังคมไม่ควรจะให้ความช่วยเหลือเยียวยาความเจ็บป่วยนั้น เพราะเป็น
การกระทำ� ของเขาเอง และเปน็ การทำ� ให้เขาหลาบจำ� ไมก่ ลับไปปฏิบตั เิ ช่นเดิมอีก
การกล่าวหานีเ้ รียกสนั้ ๆ ว่า “การกลา่ วโทษเหย่อื (Victim blaming)”
การกล่าวโทษเหยอ่ื คอื อะไร?
การกล่าวโทษเหยื่อ คือ การโยนความผิดไปให้ผู้ป่วยว่าเขาหรือเธอใช้ชีวิต
หรือมีพฤติกรรมท�ำให้ตัวเองตกอยู่ในความเส่ียงต่อการเจ็บป่วย หรือเป็นโรคท่ีเกิด
จากการ “ท�ำใหต้ ัวเองเจ็บปว่ ย”
ด้วยเหตุผลน้ีจึงน�ำไปสู่การเสนอให้ผู้ป่วยต้องแบกรับภาระในการกระท�ำ
ของตัวเอง ซ่ึงหมายถึง “ค่าใช้จ่าย” ด้านสุขภาพ ท้ังแบบ “จ่ายท้ังหมด” และ
“จ่ายบางสว่ น”
1
กลา่ วโทษเหยอ่ื มีลกั ษณะอยา่ งไร
รูปแบบในการโยนความผิดให้เหยื่อว่าเป็นฝ่ายที่ท�ำตัวเองให้เจ็บป่วย มี
หลายแบบและตั้งอย่บู นเง่ือนไขหลากหลาย ไมว่ ่าจะเป็น
- มรี ะบบความคิดและความเชอื่ ในการมองโลกแบบเดมิ (Belief system)
- บดิ เบือนความจรงิ อย่างเป็นระบบ (Systematic distortion of reality)
- บิดเบือนข้นึ โดยไมร่ ู้สึกตัว (Unconscious) หรือไม่ตงั้ ใจ (Unintentional)
รวมถงึ การมคี วามคดิ อยา่ งนั้น เพ่อื รองรับเป้าหมายทีต่ ง้ั ไวใ้ นใจ
ท้ังน้ีท้ังน้ันมุมมองและแนวคิดในการกล่าวโทษเหย่ือ อาจเป็นการคิดและ
การมองปญั หาสังคมกนั คนละแบบ
แบบแรก คือ Exceptionalism หรือ Freedom model มองว่า
การเจบ็ ปว่ ยที่เกิดขนึ้ มาจากการท�ำตัวเอง เชน่ การตดั สนิ ใจเดนิ ข้ามทางม้าลาย ท�ำให้
ตัวเองโดนรถชน จึงต้องยอมรับผลจากการ (ด่วน) ตัดสินใจ (พลาด) ของตัวเอง
อยา่ งไมม่ เี งื่อนไข
แบบที่สอง คือ Universalism หรือ Facticity model หมายถึง
การเจบ็ ปว่ ยทเี่ กดิ ขน้ึ จากปจั จยั ทางสงั คม ไมว่ า่ จะเปน็ เพราะสภาพสงั คมไมส่ มบรู ณแ์ บบ
หรือไม่เป็นธรรม ซ่ึงคนท่ัวไปสามารถคาดการณ์ถึงผลที่จะเกิดตามมาและป้องกันได้
ผ่านการออกกฎเกณฑ์ ระเบียบ และนโยบายสาธารณะ แต่ไม่ยอมทำ�
แนวคิดการผลักภาระให้เหย่ือแบบนี้มาจากการคิดและการมองปัญหาสังคม
แบบ Exceptionalism เหน็ ตวั อยา่ งชดั เจนจากคดขี ม่ ขนื ทห่ี ญงิ สาวมกั จะถกู สงั คมและ
คนรอบข้างตราหน้าว่าเป็นต้นเหตุ เช่น แต่งกายยั่วยุ ชอบพาตัวเองไปอยู่ในท่ีเปลี่ยว
หรือไมก่ เ็ มาเหล้าขาดสติ
ซำ้� ร้ายไปกว่านั้นเหยอ่ื บางคนก็โทษตวั เองดว้ ย น�ำไปส่กู ารเก็บตวั เงียบ เพราะ
คดิ วา่ ตวั เองเปน็ คนผดิ โดยลมื คดิ ไปวา่ ตน้ เหตนุ น้ั มาจากปจั จยั ทต่ี วั เองไมส่ ามารถควบคมุ
ได้ ไม่ว่าจะเป็นสื่อลามกต่างๆ ที่เข้าถึงง่าย แค่เปิดโทรศัพท์ การขาดสติยับยั้งชั่งใจ
ของฝา่ ยกระทำ� รวมถงึ แนวคดิ ทม่ี าจากละครตบจบู แบบไทยๆ ทท่ี ำ� ใหเ้ ขา้ ใจวา่ การขม่ ขนื
คอื ความบกพรอ่ งโดยสุจริตและมีความรักซอ่ นอยู่เบ้ืองหลัง...ซงึ่ มนั ไมใ่ ช่
2
สาเหตขุ องการกล่าวโทษเหยอื่
สาเหตขุ องการกล่าวโทษเหยอื่ มีทฤษฎีทางจิตวทิ ยามารองรบั อยู่ 3 ทฤษฎี คอื
1. Just world หรือ “โลกที่เป็นธรรม” ทฤษฎีน้ีมีสมมติฐานว่า ทุกคนมี
ความเช่ือว่าโลกน้ีปลอดภัย และอยู่ในสังคมซึ่งเป็นธรรมและเช่ือถือได้ ทุกคนรับรู้ว่า
ส่ิงดีๆ จะเกิดกับบุคคลท่ีดี และส่ิงที่ไม่ดีจะเกิดข้ึนกับบุคคลที่ไม่ดีเท่าน้ัน ดังน้ันเมื่อมี
เหย่อื ของเหตกุ ารณ์ใดๆ เกิดขนึ้ ความผดิ จงึ ตกแก่เหยอ่ื คนนัน้
2. Attribution error หรือ “ความคลาดเคลื่อนของการให้เหตุผล”
โดยจะอธิบายพฤตกิ รรมแบ่งเป็น 2 สว่ น คือ
2.1 การให้เหตุผลภายใน (Internal) หมายถึง การกล่าวโทษว่าลักษณะ
เฉพาะของแต่ละคน (Personal characteristics) เป็นสาเหตุของ
พฤติกรรมของคนๆ นนั้
2.2 การให้เหตุผลภายนอก (External) หมายถึง การมองว่าสังคมและ
ส่ิงแวดลอ้ มเป็นตวั ก�ำหนดพฤติกรรมของแตล่ ะคน
ทง้ั นคี้ วามคลาดเคลอื่ นของการใหเ้ หตผุ ลหรอื การกลา่ วโทษจะเกดิ ขนึ้ กต็ อ่ เมอ่ื
ให้น้ำ� หนักกบั การให้เหตผุ ลภายในมากกวา่ ภายนอก การกล่าวโทษเหย่ือจงึ เกดิ ขึน้
3. Invulnerability theory หรือ “ทฤษฎีความอยู่ยงคงกระพัน”
แนวคดิ หลักของทฤษฎนี ้คี อื ไม่ว่าใครกต็ ามตา่ งตอ้ งการให้ตวั เองอยูห่ า่ งจากเหตุการณ์
ท่ไี มพ่ ึงประสงค์ (การตกเป็นเหยอ่ื ) ตามมาดว้ ยความร้สู กึ ผิดๆ วา่ เหตกุ ารณ์น้ีจะไม่เกิด
กบั พวกตน การกล่าวโทษเหยือ่ จึงเป็นการ “แบ่งพรรคแบ่งพวก” พยายามทำ� ให้เหย่ือ
แตกตา่ งจากตวั เอง คดิ เอาเองวา่ เหตกุ ารณน์ จ้ี ะไมเ่ กดิ ขนึ้ กบั ตวั เองเดด็ ขาด เพราะไมเ่ คย
ประพฤตปิ ฏบิ ตั เิ ชน่ เหยื่อคนนน้ั
แล้วเหย่ือในระบบสขุ ภาพละ่ ใครรบั ผิดชอบ?
เหยื่อที่ถูกกล่าวโทษน้ีก็ไม่ต่างอะไรกับเหยื่อในระบบสุขภาพ ท่ีตกเป็นจ�ำเลย
วา่ ท�ำตัวเองให้ปว่ ยแท้ๆ กต็ ้องรับผลกรรมกันไป
ทางหนึ่งอาจเป็นการมองด้วยใจที่คับแคบเกินไป เพราะมีปัจจัยต้ังร้อยแปด
3
ที่จะทำ� ให้คนๆ หน่งึ ล้มป่วยลงได้ เร่ิมจากระยะใกล้ มองไปรอบๆ บา้ น หรือไกลไปถงึ
ท่ีท�ำงาน รวมท้ังปัจจัยด้านปัญหาปากท้อง สังคมรอบตัว วัฒนธรรม ฯลฯ ท้ังหมดน้ี
ถือเปน็ “ผกู้ ่อเหต”ุ ได้หมด
แต่สถานการณ์ท่ีผู้ป่วยมักตกที่น่ังล�ำบากในฐานะจ�ำเลยน้ัน เป็นเพราะข้อ
จ�ำกัดทางจิตใจและร่างกายที่อ่อนแอกว่าคนปกติ ส่งผลให้ไม่สามารถเอาชนะเหตุผล
ท่ีจะปดั ความรับผดิ ชอบจากคนอ่ืนท่ีมอี ำ� นาจมากกวา่ ได้
การกลา่ วโทษผ้อู อ่ นแอกวา่ จงึ ไม่สมควรอย่างย่ิง
ไมม่ ีใครอยากตกเป็นเหยอ่ื
หากพิจารณาถึงสาเหตุที่แท้จริงของการกล่าวโทษเหยื่อทางด้านสุขภาพแล้ว
ทง้ั หมดทง้ั มวลนน้ั มาจากปญั หาเชงิ โครงสรา้ งของความเจบ็ ปว่ ยทถ่ี กู ละเลย และพงุ่ เปา้
ไปทพ่ี ฤติกรรมของเหยอ่ื เหนอื ส่ิงอ่ืนใด
ปญั หาเชงิ โครงสรา้ งของความเจบ็ ปว่ ย เกดิ จากการขาดนโยบายสาธารณะดา้ น
สุขภาพท่ีดี รวมถึงสิ่งแวดล้อมท่ีมีคุณภาพ ชุมชนท่ีพร้อมมีส่วนร่วม ขาดการพัฒนา
ศกั ยภาพในบคุ ลากร ทสี่ �ำคัญคอื ระบบบริการสุขภาพที่ยังมีปัญหา
ส่วนการพุ่งเป้าไปท่ีพฤติกรรมของเหย่ือนั้น มาจากการมองปัญหาสุขภาพ
วา่ เปน็ เรอื่ งของบคุ คล สว่ นหนง่ึ เกดิ จาก “แนวคดิ ชวี การแพทย์ (Biomedical model)”
ท่ีมองร่างกายมนุษย์เหมือนเครื่องจักร และอธิบายความเป็นมาของโรคภัยไข้เจ็บ
ว่าเกิดจากช้ินส่วนใดชิ้นส่วนหน่ึงของเคร่ืองจักรนั้นช�ำรุด อาจจะเป็นเซลล์ โมเลกุล
ยีน ฯลฯ ใช้ความสามารถทางการแพทย์ตรวจจนเจอว่าสาเหตุของโรคนั้นมาจาก
เคร่ืองจักรช้ินใด กซ็ ่อมสิ่งนน้ั ไป – จบเคส
นอกจากนีย้ ังมองวา่ ปจั จัยทางชวี วทิ ยาของคน (People’s biology) เป็น
ตวั ก�ำหนดฐานะทางสงั คม เศรษฐกิจ และสุขภาพ ยกตวั อย่างงา่ ยๆ เชน่ คนท่ยี ากจน
เพราะเกดิ มาโงแ่ ละขเ้ี กียจ ฯลฯ
Robert Crawford ศาสตราจารย์ด้านสหวิทยาการวิทยาศาสตร์และ
ศิลปะ แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เจ้าของงานวิจัยและผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการ
เร่ือง “You are dangerous to your health: the ideology and politics
4
of victim blaming” กล่าวว่า แนวคิดการกล่าวโทษเหย่ือด้านสุขภาพเกิดขึ้น
พร้อมๆ กับการเพิ่มข้ึนของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ในสังคมท่ีมีความคาดหวัง
ทางการแพทย์สูง การโทษว่าเป็นความผิดของเหย่ือเท่ากับการตอบสนองแนวคิดทาง
การเมืองว่า การใช้ชีวิตและพฤติกรรมส่วนบุคคลน้ันมีผลโดยตรงต่ออาการเจ็บป่วย
และโรคภัยมากกว่าโครงสรา้ งของระบบสุขภาพ
ย่ิงไปกว่าน้ันการกล่าวโทษเหยื่อมีผลทางอ้อม ท�ำให้ค่ารักษาพยาบาลลดลง
เพราะเหยื่อมักตอ้ งเสยี ค่ารกั ษาพยาบาลเอง (บางส่วน หรือท้งั หมด) เพราะตวั เองเป็น
ฝา่ ยผิด
มขี ้อมูลชดุ หนึง่ นำ� เสนอว่า ในประเทศสหรฐั อเมริกามีคนที่ตายกอ่ นวยั อนั ควร
(Premature death) ถึง 40 %
การตายก่อนวัยอันควรเกดิ จากสาเหตุใดไดบ้ ้าง?
ท่ีแน่ๆ คือ การใช้ชีวิตและพฤติกรรมส่วนบุคคล ท่ีขยับสาเหตุการตายจาก
โรคติดเชื้อรุนแรงเป็นโรคเรื้อรัง เช่น การสูบบุหรี่ กินอาหาร ออกก�ำลังกาย การมี
พฤตกิ รรมทางเพศท่ีไม่พึงประสงค์ ฯลฯ การสรปุ ดอื้ ๆ เชน่ นีถ้ ือเปน็ การกล่าวโทษเหยอ่ื
ในทางกลับกัน การเลือกที่จะไม่โยนความผิดไปให้เหยื่อ และโทษว่าความ
เจ็บป่วยนั้นเกิดจากสังคมทั้งหมด ผลร้ายก็คือ คนๆ น้ันจะคิดว่าตัวเองไม่ต้อง
กระตือรอื ร้นหรือรบั ผิดชอบอะไร ปล่อยรา่ งกายไปตามยถากรรม
เพ่ือไม่ให้สุดโต่งไปทางใดทางหน่ึง จึงต้องมีการแก้ปัญหาโดยทางสายกลาง
คือ ประชาชนต้องร่วมรับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง และรัฐ
หรือหน่วยงานท่ีรับผดิ ชอบกต็ อ้ งท�ำอยา่ งอ่ืนร่วมด้วย
เหยื่อทางดา้ นสขุ ภาพมีใครบา้ ง?
นักด่ืมสุราและนักขับรถเร็ว
ประชากรไทย 20.86 % เคยดม่ื แอลกอฮอลก์ อ่ นขบั รถยนตห์ รอื จกั รยานยนต์
และ 8.04 % เคยประสบอบุ ตั เิ หตจุ ากเมาแลว้ ขบั ดว้ ยตวั เอง ในจำ� นวนนเี้ ปน็ เพศหญงิ
มากกวา่ เพศชาย ดว้ ยสดั สว่ น 9.65 : 7.8 และพบในกลมุ่ เยาวชน (อายุ 15-24 ป)ี มากกวา่
5
กลมุ่ วยั ทำ� งาน (อายุ 25-59 ป)ี ทง้ั ๆ ทก่ี ลุ่มวัยท�ำงานเมาแลว้ ขับในปรมิ าณมากกวา่
โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ มียอดผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต
เป็นจ�ำนวนมาก ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากสุราหรือเคร่ืองดื่มท่ีมีแอลกอฮอล์มากที่สุด
(25.6 % และ 19.8 % ในปี พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2553) รองลงมา ไดแ้ ก่ การขบั รถ
เร็วเกินก�ำหนด
สว่ นวธิ ที ค่ี ดิ ข้ึนมาเพ่ือแกป้ ญั หา คือ การต้ังขอ้ หา “เมาแล้วขับ” น้นั เป็นการ
พิจารณาเฉพาะพฤติกรรมส่วนบุคคลที่ผิดไปจากชีวิตประจ�ำวัน (เข้าใจว่าปกติคือเมา
ไม่ขับ) แล้วส่งผลกระทบต่อตัวเอง ดังนั้นเม่ือคนๆ น้ันกระท�ำผิดด้วยการเมาแล้วขับ
เขาหรือเธอก็ควรจะมีส่วนรับผิดชอบความเสียหายท่ีเกิดข้ึน จึงมีข้อเสนอในสิทธิ
ประกนั สุขภาพต่างๆ ให้ยกเว้นการรกั ษาบคุ คลเหลา่ นี้ เพอื่ เปน็ แรงจูงใจให้ลด ละ เลิก
พฤตกิ รรมชวนเสยี เงนิ และเจ็บตวั เหล่านี้
แต่ถ้าลองท�ำใจกว้างๆ มองปัญหาเชิงโครงสร้างจะพบว่า ต้นทางอย่างธุรกิจ
เครื่องด่ืมแอลกอฮอล์มีต้นทุนต�่ำและมีก�ำไรมหาศาล ประกอบกับค่านิยมการด่ืมสุรา
ซึ่งอยู่คู่สังคมไทยมายาวนาน ท�ำให้บริษัทเคร่ืองด่ืมแอลกอฮอล์พยายามทุกวิถีทางท่ี
จะให้ผูด้ ่มื มากทสี่ ุด ไมว่ า่ จะทางตรงหรือทางอ้อม
พบว่ายังมีการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ห้ามขาย เช่น ปั๊มน้�ำมัน
5.01 % วดั 2.65 % โรงงาน 1.41 % หอพัก 1.13 % ฯลฯ และดมื่ ในสถานทหี่ ้ามดื่ม
เช่น บนถนน ฟตุ บาท บนรถ 9.33 % วัด 6.18 % ป๊ัมนำ�้ มนั 3.49 % สวนสาธารณะ
2.29 % ฯลฯ
นักด่มื หนา้ ใหม่อายุต่�ำกวา่ 18 ปี มีสัดสว่ นการดมื่ อยทู่ ี่ 8.92 % และเยาวชน
ไทยกว่า 90 % เห็นโฆษณาเคร่ืองด่ืมแอลกอฮอล์ทางโทรทัศน์ ท�ำให้เพ่ิมการอยาก
ลองดม่ื ขนึ้ 4-8 เท่า
ส่ือที่ได้รับความนิยมมากข้ึนเร่ือยๆ อย่าง Social media ก็มีส่วนช่วยสร้าง
ภาพลกั ษณเ์ ครอ่ื งดม่ื แอลกอฮอลโ์ ดยผกู ตดิ และมพี รเี ซนเตอรเ์ ปน็ ดาราและคนมชี อื่ เสยี ง
ในวงการต่างๆ ทป่ี ระสานพลังใส่ภาพลกั ษณ์ทช่ี ิก คลู เก๋ เท่ ใหแ้ กก่ ารดื่ม
การด่ืมเครื่องด่ืมแอลกอฮอล์จึงไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมส่วนบุคคล แต่มี
สว่ นเกีย่ วข้องกบั ธุรกิจอนั มีมูลคา่ มหาศาล
6
นักสูบบุหร่ีและผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด
การสูบบุหรี่ท้ังมือหน่ึงหรือมือสอง มีส่วนท�ำให้เป็นโรคมะเร็งปอด โดยใน
ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า 90 % ของโรคมะเร็งปอดเก่ียวข้องกับการสูบบุหรี่ และ
ประชาชนทส่ี ูบบหุ รมี่ ีโอกาส 15-30 เทา่ ท่ีจะป่วยและตายดว้ ยโรคมะเร็งปอด
ปี พ.ศ. 2554 ประเทศไทยมจี �ำนวนสิงห์อมควนั วัย 15 ปขี ้ึนไป 24 % แบง่ เปน็
เพศชาย 46.6 % และเพศหญิง 2.6 %
จากสถิติน้ีเราจึงคุ้นเคยดีกับการกล่าวโทษเหย่ือโรคมะเร็งปอดว่า เพราะเขา
เหล่านั้นเลือกท่ีจะสูบเอง ตรรกะง่ายๆ คือ ก็ควรต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองก่อไว้
ด้วยการจ่ายค่ารกั ษาเองในฐานะแบบอยา่ งทีไ่ ม่ดแี กส่ งั คม
แต่หากพิจารณาดีๆ จะพบวา่
- ในทางระบาดวิทยา แม้การสูบบุหร่ีจะสัมพันธ์กับการเป็นโรคมะเร็งปอดถึง
90 % แตก่ ็มีประชาชนจ�ำนวนหนึง่ ที่ปว่ ยเปน็ โรคมะเรง็ ปอดจากสาเหตุอ่นื ๆ
ดังน้นั การกล่าวโทษว่าผูป้ ่วยโรคมะเรง็ ปอดทกุ รายเกิดเนื่องจากการสบู บหุ รี่
จงึ ไม่ถกู ตอ้ ง
- บุหร่ีหรือยาสูบเป็นธุรกิจที่มีก�ำไรสูงมากเช่นเดียวกับเคร่ืองด่ืมแอลกอฮอล์
และบริษัทบุหร่ีโดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติมีการท�ำการตลาดค่อนข้างรุนแรง
เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะนักสูบวัยรุ่น (15-17 ปี)
มถี งึ 18.2 % ที่เคยเหน็ การโฆษณาบหุ ร่ี โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ การแสดงบหุ รี/่
การตัง้ วางซองบหุ ร่ี ณ ร้านค้าที่จ�ำหนา่ ยบหุ รี่ รวมถงึ การปรากฏตัวของบุหร่ี
และนกั สบู ในโลกภาพยนตร์ พฤติกรรมเลยี นแบบจงึ เกิดขน้ึ
7
เร่ืองน้ีเกิดขึ้นจริง
วันท่ี 26-28 มถิ นุ ายน พ.ศ. 2547 เด็กหญิงกนกพร หรือ “นอ้ งหมิว” มี
ไขส้ งู ปวดหัว จงึ เขา้ รบั การรกั ษาตัวท่ีโรงพยาบาลรัฐแห่งหนง่ึ
แพทย์คนท่ี 1 : สงสัยวา่ เปน็ ปอดบวม และให้ยาปฏชิ ีวนะ แต่ตลอด 3 วัน
ไข้ไม่ลด แต่น้องหมิวยังพูดคุยรู้เรื่อง กินอาหารเองได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ จนวันที่
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 น้องหมวิ อาการทรดุ หนกั มีอาการชกั ในบางคร้ัง
แพทย์คนท่ี 2 : ท�ำการเจาะไขสันหลัง และสงสยั วา่ เป็นเยือ่ หมุ้ สมองอกั เสบ
เมื่อให้แพทย์ผู้เช่ียวชาญดูฟิล์มเอ็กซเรย์ ก็ยืนยันว่าเป็นวัณโรค จึงได้ให้การรักษา
วัณโรคตงั้ แต่นนั้ มา
วันท่ี 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 นอ้ งหมิวถกู ส่งตัวไปทีโ่ รงพยาบาลศรนี ครนิ ทร์
ขอนแก่น แพทย์วินิจฉัยว่าสมองติดเชื้อ เลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง จนสมองน้องหมิว
ไมร่ บั รแู้ ละควบคมุ ตวั เองไมไ่ ด้ พอ่ แมจ่ งึ ฟอ้ งรอ้ งไปยงั กระทรวงสาธารณสขุ ในฐานะ
หน่วยงานต้นสังกัดของโรงพยาบาล ท้ายท่ีสุดศาลฎีกามีค�ำพิพากษาให้กระทรวง
สาธารณสขุ ต้องชดใชเ้ งนิ จำ� นวน 2 ลา้ นบาท ใหน้ อ้ งหมิว
เรื่องนี้ปัญหาอยู่ตรงที่พ่อของน้องหมิวซึ่งเคยป่วยเป็นวัณโรค ซ่ึงติดต่อถึง
บคุ คลขา้ งเคยี งได้ ไมไ่ ดใ้ หป้ ระวตั แิ กแ่ พทยค์ นแรก จนกระทง่ั แพทยค์ นตอ่ มาวนิ จิ ฉยั
วา่ เป็นเย่อื หมุ้ สมองอกั เสบและสงสัยวา่ น่าจะมาจากเชือ้ วณั โรค (บวกกับผลจากการ
ดฟู ลิ ม์ เอ็กซเรย์) จึงกลบั ไปสอบถาม จงึ พบวา่ มูลเหตุมาจากวณั โรค
กรณีน้ีมีผู้กล่าวโทษน้องหมิวและครอบครัวว่า “…พ่อแม่ไม่รักษาสุขภาพ
ลูกและตัวเอง เม่ือไปโรงพยาบาลแล้วไม่บอกประวัติให้ละเอียด ตรงน้ีพ่อแม่ต้องมี
สว่ นร่วมรบั ผดิ ชอบดว้ ย” และใช้เปน็ ประเดน็ ตอ่ สกู้ ับโจทก์ในศาล
การกลา่ วโทษครอบครวั ของนอ้ งหมวิ มปี ระเดน็ ชวนคดิ ตอ่ วา่ พอ่ ของนอ้ งหมวิ
จะรู้หรอื ไมว่ ่า การท่ีตวั เองเคยปว่ ยเป็นวัณโรค จะมีผลตอ่ อาการของนอ้ งหมิว และ
สง่ ผลรนุ แรงจนทำ� ใหล้ กู พกิ าร ถา้ รมู้ ากอ่ นคงไมม่ พี อ่ คนไหนในโลกอยากปกปดิ ขอ้ มลู
ทชี่ ่วยชวี ติ ลูกได้
อกี สาเหตหุ นง่ึ หรอื แพทยค์ นที่ 1 อาจไมไ่ ดซ้ กั ประวตั พิ อ่ ไดล้ ะเอยี ดพอ เพราะ
มผี ปู้ ว่ ยรอตรวจจำ� นวนมาก ฯลฯ ทงั้ หมดลว้ นเปน็ ปจั จยั ทกี่ อ่ ใหเ้ กดิ กรณเี ชน่ นอ้ งหมวิ
ได้ สิ่งส�ำคัญและควรท�ำ คือ ต้องพิจารณาก่อนกล่าวโทษเหยื่อด้วยความเชื่ออคติ
ส่วนบคุ คล
8
ยงั มีอีกหลายตัวการ...
ก่อนจะกล่าวโทษเหยื่อว่าเป็นต้นเหตุเพียงหน่ึงเดียว ยังมีปัญหาเชิงโครงสร้าง
และนโยบายทร่ี ่วมก่อการไมใ่ ชน่ ้อย
1. ปญั หาดา้ นโภชนาการ คนโดยทว่ั ไปมกั คดิ วา่ เกดิ จากการทเ่ี หยอื่ กนิ อาหาร
ไม่ถูกสุขลกั ษณะ ชอบกินแต่อาหารขยะ (Junk food) และเครอ่ื งด่มื น้ำ� ตาลสูง ท�ำให้
เปน็ โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหติ สงู ฯลฯ
ความจริงแล้วปัญหาด้านโภชนาการสัมพันธ์กับปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัว
บ้านที่ยากจน ทางเลือกในการเลือกซื้อเลือกกินก็น้อย ความรู้ในการเลือกกินก็เข้า
ไมถ่ ึง เพราะขาดโอกาสทางการศกึ ษา ยงั ไม่ต้องพูดถึงวิถชี วี ิตทเ่ี ร่งรีบ พง่ึ ปากท้องไวก้ ับ
กบั ข้าวถุง รวมถึงอาหารขยะท่ีโหมกระหนำ�่ โฆษณาซง่ึ เป็นหน้าทีข่ องรัฐทจี่ ะตอ้ งเขา้ มา
ก�ำกบั ดแู ล
2. ท้องก่อนวัยอันควร พูดแบบตัดปัญหาให้พ้นตัวก็จะได้ว่า เพราะความ
คึกคะนองของวัยรุ่น และรูปแบบการมีเพศสัมพันธ์ที่เปล่ียนไป เช่น ไม่สวมถุงยาง
อนามยั เพราะเดย๋ี วถกู ว่าว่าสำ� ส่อน ครั้นจะกินยาคมุ กำ� เนดิ หรือฉีดยาคมุ ก็กลัวจะเปน็
ฝ้าหรอื มดลูกแหง้ จงึ มเี พศสมั พนั ธ์โดยทไ่ี ม่ป้องกันและตง้ั ทอ้ งข้นึ มา
แต่ผลการศึกษาจากต่างประเทศพบว่า ปัจจัยด้านรายได้มีผลต่อการมีเพศ
สมั พันธข์ องเด็กผู้หญงิ ในวัย 15-19 ปี โดยครอบครัวท่ยี ากจนทสี่ ดุ 10 % ลา่ ง เคยมี
เพศสัมพนั ธ์ 70 % ขณะท่เี ด็กจากครอบครัวที่รำ�่ รวยทสี่ ุด 10 % บน เคยมเี พศสัมพนั ธ์
เพยี ง 47 %
68 % ของเดก็ ผูห้ ญิงทม่ี าจากครอบครวั ที่มีรายได้สูง จะร้สู ึก “แยม่ าก” กบั
การต้ังท้อง ขณะทีเ่ พยี ง 46 % ของเด็กผูห้ ญงิ ท่มี าจากครอบครัวท่มี ีรายได้ต่�ำ จะรูส้ กึ
“แย่มาก” กับการตั้งท้อง พ่อแม่ท่ีมีการศึกษาสูงกว่าจะใช้เวลาในการอบรมสั่งสอน
ลูกมากกว่า ท�ำให้การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรมีสัดส่วนน้อยกว่า แสดงให้เห็นว่า
การเล้ยี งดูของพ่อแม่มีผลอยา่ งย่ิง
นอกจากนีก้ ารสอนเพศศึกษาในโรงเรยี น ครูและผู้รา่ งหลักสูตรจำ� นวนไมน่ ้อย
ยังคิดว่าวิชานี้คือ “ดาบสองคม” ไม่ต่างอะไรกับการช้ีโพรงให้กระรอก เพราะความ
อยากรู้ในสิ่งทผ่ี ูใ้ หญ่ปกปดิ จึงเปน็ อกี สาเหตหุ นงึ่ ของการทอ้ งไม่พร้อมในวยั รุ่น
9
อยา่ แค่โยนบาป แตต่ ้องร่วมหาทางออก
1. เมอื่ พบผทู้ เี่ จบ็ ปว่ ยไมว่ า่ จะดว้ ยเหตอุ นั ใดกต็ าม สง่ิ แรกทค่ี วรแสดงคอื ความ
เห็นอกเห็นใจและความเอาใจใส่ เพราะล�ำพังแค่ปัญหาสุขภาพก็สร้างความทุกข์ให้
มากพอดูแล้ว เขาจึงต้องการก�ำลังใจจากคนรอบข้าง เพื่อมาเยียวยาให้ร่างกายและ
จิตใจฟื้นคืนโดยเรว็
2. กอ่ นกลา่ วโทษบคุ คลใด ใหค้ ดิ อยา่ งถถี่ ว้ นและรอบคอบเสยี กอ่ นวา่ ตงั้ อยบู่ น
ความจริง ไม่มีอคติและมองอย่างรอบด้าน และพึงระลึกเสมอว่า อย่าสร้างเหตุการณ์
“นำ้� ผ้งึ หยดเดยี ว” เปน็ อนั ขาด เพราะการกล่าวโทษไม่นา่ จะมปี ระโยชนใ์ ดๆ นอกจาก
การกลา่ วโทษทม่ี ผี ลตามกฎหมาย
3. การกล่าวโทษเหยอื่ ว่าท้ังหมดเปน็ ผลจากการทำ� ตัวเอง คอื การมองปัญหา
อยา่ งไม่รอบด้าน เพราะมอี ีกหลายปจั จยั ทค่ี วบคุมไม่ได้ ท้ังเหตุผลทางสังคม เศรษฐกจิ
และวฒั นธรรม อยา่ งท่ีไดก้ ล่าวไปแล้ว
การกล่าวโทษที่มุ่งเจตนาโยนความผิดและผลักภาระความรับผิดชอบ เช่น
ค่ารกั ษาพยาบาลให้เหยอื่ จงึ เป็นสิ่งไมส่ มควรอยา่ งย่ิง
นอกจากน้ีการกล่าวโทษเหย่ือยังมีวัตถุประสงค์เพ่ือโยนความผิดและความ
รับผิดชอบ (เช่น ค่ารักษาพยาบาล) ให้เหย่ือ และละเลยที่จะด�ำเนินการใดๆ ที่เป็น
สาเหตขุ องปญั หาทีแ่ ทจ้ ริง จงึ เปน็ สิง่ ทไี่ มถ่ ูกต้องและไมค่ วรเกดิ ขน้ึ
4. กุญแจส�ำคัญอยู่ที่การคิดและมองปัญหาอย่างรอบด้านและรอบคอบ ว่ามี
ปจั จยั ใดบา้ งท่เี อือ้ ใหเ้ กดิ ปญั หา ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ชุมชน ระบบสังคม เศรษฐกิจ
วฒั นธรรม หรือการเมือง
5. การแก้ปัญหาควรท�ำควบคู่กันไป ท้ังในแง่ของการปรับพฤติกรรมและการ
ปรับปรงุ นโยบายด้านสงั คม เศรษฐกจิ และวฒั นธรรม จะได้ไมเ่ กิดเหตกุ ารณ์กล่าวโทษ
กนั อีก
10
หน้าท่ีดา้ นสขุ ภาพ
1. สทิ ธดิ ้านสุขภาพ
องค์การอนามยั โลก (World Health Organization) ได้กล่าวถึง “สทิ ธดิ า้ น
สุขภาพ” ไวใ้ นธรรมนญู ขององค์กรวา่ หมายถงึ “สิทธทิ จี่ ะเข้าถึงสขุ ภาพตามมาตรฐาน
ข้ันสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เป็นสิทธิพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับ โดยไม่จ�ำแนกเชื้อชาติ
ศาสนา ความเชื่อทางการเมือง ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม”(1) สิทธิด้านสุขภาพ
จงึ เป็นสิทธทิ ที่ กุ คนจะไดร้ ับ แตป่ ญั หาคอื ได้รบั อะไร การได้รบั (การเขา้ ถงึ ) “สขุ ภาพ”
น้ัน องคก์ ารอนามยั โลกใหค้ วามหมายของ “สขุ ภาพ” ครอบคลมุ ทั้งสุขภาพทัง้ ทางกาย
จิต สังคม (ในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ก�ำหนดให้มี “ปัญญา”
เป็นองค์ประกอบหน่ึงด้วย) ดังนั้นการสามารถเข้าถึงสุขภาพ จึงต้องมีการจัดการกับ
ปัจจัยต่างๆ ทเ่ี กี่ยวขอ้ งอย่างเป็นระบบและเปน็ องคร์ วม ไมไ่ ด้ดำ� เนินการเฉพาะระบบ
การแพทยเ์ ท่าน้นั
ส่วนจะได้รับแค่ไหน องค์การอนามัยโลกใช้ค�ำว่า “Highly attainable
standard of health” ขณะท่บี างนิยาม (เชน่ จาก Wikipedia) ใช้ค�ำว่า “Minimal
standard of health” หรือ “A standard of living adequate for the health
and well-being” มีการใช้ค�ำว่ามาตรฐานข้ันต่�ำเข้ามา จึงท�ำให้ได้นิยามสิทธิด้าน
สุขภาพใหมว่ า่ เป็น “สิทธทิ ี่ทุกคนจะเข้าถงึ ได้ในเกณฑ์ขน้ั ต่�ำทางดา้ นสุขภาพ ไมว่ ่าจะ
เกย่ี วขอ้ งกับสทิ ธดิ ้านเศรษฐกิจ สงั คม และวฒั นธรรม”(2)
สทิ ธดิ า้ นสขุ ภาพมที งั้ เสรภี าพ (Freedom) และสทิ ธทิ ร่ี ฐั จดั ให้ (Entitlement)
โดยเสรภี าพนน้ั ครอบคลมุ ตงั้ แตเ่ สรภี าพในการดแู ลสขุ ภาพตนเองและรา่ งกาย เสรภี าพ
ท่ีจะปลอดจากการแทรกแซง เช่น การทดลองทางการแพทย์ตา่ งๆ
สว่ นสทิ ธิที่รัฐจดั ให้ เชน่ สทิ ธิท่ที กุ คนจะเขา้ ถงึ สุขภาพตามมาตรฐานข้ันสงู สุด
เทา่ ทจี่ ะเปน็ ไปได้ การทำ� ใหไ้ ดส้ ทิ ธดิ า้ นสขุ ภาพนนั้ ตอ้ งอาศยั เงอ่ื นไขและปจั จยั ทางสงั คม
และอื่นๆ เข้ามาเก่ียวข้องด้วย เช่น ต้องมีบริการสุขภาพให้เพียงพอ มีสถานที่ท�ำงาน
11
ที่ปลอดภัย มบี ้านพกั อาศัยที่ดีพอ มโี ภชนาการทเี่ หมาะสม ฯลฯ
ด้วยเหตุนี้สิทธิด้านสุขภาพจึงมีส่วนใกล้เคียงกับสิทธิมนุษยชนด้านอ่ืนๆ เช่น
สทิ ธิด้านอาหาร สทิ ธดิ ้านที่พกั อาศัย สทิ ธใิ นการศึกษา ฯลฯ(3)
การที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศสิทธิด้านสุขภาพในปี พ.ศ. 2489 ท�ำให้
แนวคดิ ดังกลา่ วแพรห่ ลาย จนกลายเปน็ สว่ นหน่งึ ของประเดน็ สทิ ธมิ นษุ ยชน (Human
rights) และถูกบรรจุไว้ใน International and regional human rights instru-
ments อาทิเช่น(4)
l Universal Declaration of Human Rights (Article 25)
l American Declaration on the Rights and Duties of Man (Article
33)
l European Social Charter (Article 11)
l International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights
(Article 12)
l African Charter on Human and Peoples’ Rights (Article 16)
ในเอกสาร (Fact sheet) ขององค์การอนามัยโลกและ High Commissioner
for Human Rights ขององคก์ ารสหประชาชาติ ได้กลา่ วว่า มคี วามเข้าใจผดิ ๆ เกย่ี วกับ
สิทธิด้านสขุ ภาพ(5) ดงั นีค้ อื
1. สิทธิด้านสุขภาพ (Rights to health) ไม่ใช่สิทธิในการมีสุขภาพดี
(Rights to healthy) เพราะการมีสุขภาพดีเก่ียวข้องกับหลายปัจจัยท่ีอยู่เหนือการ
ควบคมุ
2. รัฐไม่ต้องท�ำอะไรทันที เพราะสิทธิด้านสุขภาพเป็นเป้าหมายท่ีจะบรรลุ
ในระยะยาว จริงๆ แล้วรัฐต้องใช้ความพยายามทั้งหมด บนเงื่อนไขทรัพยากรท่ีมีอยู่
ในการด�ำเนนิ งาน เพื่อสิทธดิ ้านสขุ ภาพโดยไมร่ อช้า
3. ประเทศที่มปี ัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ไมไ่ ด้รับการยกเว้นทจ่ี ะด�ำเนนิ การ
เพอ่ื สทิ ธดิ า้ นสขุ ภาพ รฐั ควรจะสรา้ งหลกั ประกนั สทิ ธดิ า้ นสขุ ภาพบนพนื้ ฐานทรพั ยากร
ที่มีอยู่จริง
12
2. หนา้ ท่ีของรัฐด้านสุขภาพ
สิทธิด้านสุขภาพได้ถูกก�ำหนดไว้ในกฎหมายหลายฉบับ อาทิเช่น รัฐธรรมนูญ
แหง่ ราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศกั ราช 2550 (มาตรา 51-55) พระราชบญั ญตั สิ ขุ ภาพแหง่
ชาติ พ.ศ. 2550 (มาตรา 5-12) พระราชบญั ญตั สิ ง่ เสรมิ และพฒั นาคณุ ภาพชวี ติ คนพกิ าร
พ.ศ. 2550 (มาตรา 20) พระราชบญั ญัติสุขภาพจติ พ.ศ. 2551 (มาตรา 15-20) ฯลฯ
และกฎหมายที่เก่ียวกับสิทธิในการรักษาพยาบาล เช่น พระราชบัญญัติประกันสังคม
พ.ศ. 2533 (มาตรา 54) พระราชบญั ญตั หิ ลกั ประกนั สขุ ภาพแหง่ ชาติ พ.ศ. 2545 (มาตรา
5) และพระราชกฤษฎีกาเงินสวสั ดิการเก่ยี วกับการรกั ษาพยาบาล พ.ศ. 2553 (มาตรา
5) สิทธเิ หลา่ นีเ้ ป็นสิทธิทร่ี ฐั จะต้องจดั ใหก้ บั ประชาชน จงึ กลายเป็นหน้าทข่ี องรฐั ท่ีตอ้ ง
ด�ำเนนิ การด้านสุขภาพ
ท�ำไมรัฐต้องมีหน้าท่ีหลักด้านสุขภาพ
l ปัญหาทางด้านสุขภาพมีความซับซ้อน (Complex problem) เก่ียวข้อง
กบั ปัจจัยต่างๆ ซึ่งเช่ือมโยงกันอย่างเปน็ ระบบ การทจี่ ะแกป้ ญั หาโดยบุคคล
และประสบความส�ำเร็จนั้นท�ำได้ยาก(6) แม้แต่เรื่องของการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมส่วนบุคคลและวถิ ชี วี ิต เพราะมีสว่ นเกย่ี วข้องกบั สงั คม เศรษฐกจิ
และวฒั นธรรม
l ปญั หาความไมส่ มดลุ ของขอ้ มลู ดา้ นสขุ ภาพ (Asymmetry of information)
ระหว่างผู้ให้บริการและประชาชน ท�ำให้ประชาชนไม่สามารถประพฤติ
ปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์แก่ตนเองได้ดีที่สุด(7) และ
ท�ำใหก้ ลไกตลาดล้มเหลว (Market failure) ในการจดั บริการสุขภาพ ผใู้ ห้
บรกิ ารสามารถกระตนุ้ ใหเ้ กดิ อปุ สงคใ์ นบรกิ ารสขุ ภาพ ทำ� ใหป้ ระชาชนไดร้ บั
บริการสขุ ภาพทมี่ ที ง้ั ราคาและคณุ ภาพไม่เหมาะสม(8)
l ปัญหาความเสมอภาคในสิทธิด้านสุขภาพ (Equity problem) ท�ำให้การ
แกไ้ ขปญั หาระดบั บคุ คล (โดยการระบใุ หเ้ ปน็ หนา้ ท)ี่ ไมอ่ าจดำ� เนนิ การได้ รฐั
จึงต้องเข้ามาจัดการระบบและเกล่ียทรัพยากรให้เกิดความเสมอภาคและ
13
ความเป็นธรรม เช่น การจัดให้มีการสร้างสถานพยาบาลพร้อมท้ังบุคลากร
ในชนบททห่ี า่ งไกล การอดุ หนนุ ครอบครวั ทย่ี ากจนใหม้ อี าหารและทพ่ี กั อาศยั
เพียงพอโดยเฉพาะสำ� หรับเด็ก ฯลฯ
l เป็นหน้าท่ีตามหลักศีลธรรม (Moral obligation) โดยหน้าที่ตามหลัก
ศีลธรรม หมายถึง ส่ิงต้องท�ำโดยเหตุผลทางด้านค่านิยมว่าอะไรถูกหรือผิด
หรือเหตุผลทางด้านจริยธรรม การท่ีผู้ป่วยไม่สามารถท่ีจะรับบริการด้าน
สขุ ภาพได้ ดว้ ยเหตผุ ลจากความยากจน กช็ อบทร่ี ฐั (หรอื สงั คม) จะชว่ ยเหลอื
เยยี วยา(9) สงั คมสว่ นใหญ่ยอมรับหน้าท่ี (ตามหลกั ศีลธรรม) ทีจ่ ะใหบ้ ริการ
สขุ ภาพแก่ประชาชนทกุ คนโดยถว้ นหน้า(10)
หน้าท่ีของ “รัฐ” ในด้านสุขภาพ
1. หน้าท่ีท่ีต้องเคารพ (Obligation to respect) รัฐต้องเคารพในสิทธิ
ดา้ นสขุ ภาพท่ีเทา่ เทยี มกันของทุกคน โดยต้องยบั ยัง้ การเข้าไม่ถึงบรกิ ารสุขภาพของคน
บางกลุ่ม เช่น ชนกลุ่มน้อย ผู้ต้องขัง กลุ่มคนล้ีภัย กลุ่มคนอพยพท่ีผิดกฎหมาย ฯลฯ
และหลกี เลยี่ งการบงั คับใชน้ โยบายแบบจำ� แนกแยกแยะ โดยเฉพาะในกลมุ่ สตรี
2. หนา้ ที่ที่ต้องปกปอ้ ง (Obligation to protect) รฐั มหี นา้ ที่ปอ้ งกนั ไมใ่ ห้
บุคคลที่สามเข้าไปแทรกแซงสิทธดิ ้านสุขภาพ เชน่ การออกกฎหมายหรอื มาตรการอื่น
เพื่อสร้างหลักประกันว่า บริษัทเอกชนจะรักษาสิทธิมนุษยชนเม่ือไปใช้บริการสุขภาพ
หรือบรกิ ารอ่ืนๆ การควบคมุ การท�ำการตลาดของยาและเครอื่ งมอื แพทย์ การปกปอ้ ง
บุคคลจากการกระท�ำโดยบุคคลที่สามซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสิทธิด้านสุขภาพ การ
สรา้ งหลกั ประกนั วา่ บคุ คลทสี่ ามจะไมจ่ ำ� กดั การเขา้ ถงึ ขอ้ มลู หรอื บรกิ ารดา้ นสขุ ภาพของ
ประชาชน รวมถึงการสร้างหลกั ประกนั วา่ บคุ ลากรดา้ นสขุ ภาพจะใหบ้ รกิ ารแกผ่ พู้ กิ าร
โดยได้ Informed consent
3. หนา้ ทที่ ต่ี อ้ งเตมิ เตม็ (Obligation to fulfill) รฐั มีหนา้ ทยี่ อมรบั กฎหมาย
งบประมาณ การจดั การ และมาตรการอื่นๆ ที่จะได้ด�ำเนินการในเร่ืองสทิ ธิด้านสุขภาพ
มีแผนและนโยบายระดับชาติที่จะด�ำเนินงาน ครอบคลุมทั้งภาครัฐและเอกชน สร้าง
หลักประกันในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ สร้างหลักประกันในการเข้าถึงปัจจัยที่
เกีย่ วข้องกับสุขภาพ เชน่ น�ำ้ ดม่ื อาหาร งานสุขาภบิ าล ฯลฯ
14
3. หนา้ ทข่ี อง “ประชาชน” ในด้านสขุ ภาพ
ขณะท่ี “สทิ ธิ (Rights)” หมายถงึ สิง่ ทบ่ี คุ คลไดร้ บั หรือได้กระท�ำสง่ิ ใดส่ิงหนงึ่
ด้วยเหตุผลทางกฎหมาย สังคม และจริยธรรม เป็นประโยชน์ท่ีบุคคลได้รับจากสังคม
แต่ “หน้าที่ (Obligation)” หมายถึง บางสิง่ ซ่งึ บุคคลตอ้ งกระทำ� โดยเหตุผลทางด้าน
กฎหมาย ศีลธรรม ความจำ� เป็น หรือด้วย “การท่ไี ด้รบั สทิ ธ”ิ เปน็ ส่ิงทบี่ คุ คลท�ำใหแ้ ก่
สงั คม(11) จะเห็นได้ว่ามกี ารเชอื่ มโยงระหวา่ ง “หน้าที่” กับ “การได้รับสิทธ”ิ
ภายใตร้ ฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย ซง่ึ เปน็ กรอบกฎหมายในการปกครอง
ประเทศ ประชาชนในฐานะผู้อยู่ภายใต้การปกครอง จะได้รับการคุ้มครองสิทธิและ
เสรีภาพไว้อย่างชัดเจน แต่ก็มีหน้าที่บางประการควบคู่ไปด้วย เพราะเมื่อรัฐได้ให้
หลักประกันในเรื่องสิทธิและเสรีภาพแล้ว ประชาชนก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อรัฐด้วย
หากไมป่ ฏบิ ตั กิ ็จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย(12)
เหตุผลที่ว่าเม่ือประชาชนมีสิทธิแล้ว ก็จ�ำเป็นต้องมีหน้าที่ด้วย และเม่ือ
ไม่ท�ำตามหน้าที่ดังกล่าว ย่อมกระทบกับสิทธิที่จะได้รับตามกฎหมายน้ัน เป็นเหตุผล
ท่ีนา่ จะยอมรับได้ง่าย แต่จะเกิดข้นึ กต็ ่อเม่ือสิทธินั้นไม่เป็น “สิทธิดา้ นสขุ ภาพ” เพราะ
“สิทธิดา้ นสุขภาพ” เปน็ สิทธทิ ี่ใหก้ ับประชาชนทุกคน จึงเหน็ ว่ากฎหมายต่างๆ ก็ไมไ่ ด้
มีการระบุหนา้ ที่ (ที่เช่อื มโยงกับสิทธิ) ไวอ้ ยา่ งชัดเจน
จากการทบทวนพบวา่ มกี ารระบใุ นพระราชบญั ญตั สิ ขุ ภาพแหง่ ชาติ พ.ศ. 2550
ทกี่ ำ� หนดใหป้ ระชาชนมหี นา้ ทด่ี า้ นสขุ ภาพ แตก่ เ็ ปน็ หนา้ ทรี่ ว่ มกบั หนว่ ยงานของรฐั ในการ
ด�ำเนินการให้เกิดส่ิงแวดล้อมและสภาพแวดล้อมท่ีเอ้ือต่อสุขภาพ และไม่มีบทลงโทษ
(มาตรา 5 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550) และตามพระราชบัญญัติ
ประกันสงั คม พ.ศ. 2533 ซ่งึ ก�ำหนดใหผ้ ปู้ ระกันตนต้องมีหน้าทจ่ี ่ายเงินสมทบ (มาตรา
46) จงึ จะได้รับสทิ ธิ แต่กเ็ ปน็ สิทธิเฉพาะกลุ่ม ไม่ได้เปน็ ของประชาชนทุกคน
หนา้ ทขี่ องประชาชนดา้ นสขุ ภาพจงึ มขี น้ึ ดว้ ยเหตผุ ลอนื่ (ไมใ่ ชแ่ ลกกบั สทิ ธติ าม
กฎหมาย) ท่ีส�ำคัญคือ การมีหน้าท่ีเพื่อประโยชน์ของสุขภาพตนเอง แต่ก็มีเหมือนกัน
ท่ีประชาชนมหี นา้ ทด่ี ้านสุขภาพเพอื่ สขุ ภาพของคนอ่ืนและสงั คมโดยรวม
15
หน้าที่ของประชาชนเพ่ือสุขภาพตนเอง
1. หน้าทที่ ่ีแลกมากับสทิ ธใิ นการรับบรกิ ารด้านสุขภาพ
ดงั ทไ่ี ดก้ ลา่ วถงึ ผปู้ ระกนั ตนตามพระราชบญั ญตั ปิ ระกนั สงั คม พ.ศ. 2533 จะมี
สิทธิในด้านการรักษาพยาบาลและอื่นๆ ได้ จะต้องเป็นลูกจ้างซึ่งมีอายุตามเกณฑ์ท่ี
ก�ำหนด และเปน็ ผ้จู ่ายเงินสมทบตามทก่ี ฎหมายก�ำหนดเท่านั้น (มาตรา 46) สิทธทิ ่ีวา่ น้ี
จงึ เป็นสิทธทิ ่ีรฐั จดั ให้ (Entitlement) ลูกจ้าง ไม่ใช่ “สิทธิของประชาชน” ที่จะทำ� ให้
เกดิ ความเท่าเทยี มของทุกคน ซึ่งเป็นเป้าหมายของสทิ ธดิ ้านสุขภาพ
ประเทศทพี่ ฒั นาแลว้ มรี ะบบการเงนิ การคลงั ดา้ นสขุ ภาพ 2 รปู แบบ ทส่ี ำ� คญั ๆ
คอื 1) Bismarck model เชน่ ประเทศเยอรมนี ฝร่งั เศส เบลเยี่ยม ญี่ปุ่น ฯลฯ และ
2) Beveridge model เช่น ประเทศองั กฤษ นิวซแี ลนด์ เดนมารก์ ฯลฯ
Bismarck model หรอื Social health insurance เปน็ ระบบทเี่ รียกเกบ็
เงนิ สมทบจากลกู จา้ งและนายจา้ ง (และอนื่ ๆ เชน่ จากภาครฐั ) เพอื่ จดั ตงั้ กองทนุ สขุ ภาพ
(Sickness fund) และให้สิทธิด้านการรักษาพยาบาลกับลูกจ้าง โดยไม่ได้มีเป้าหมาย
หลกั ประกนั สุขภาพถว้ นหนา้
ในขณะท่ี Beveridge model ใช้แหลง่ เงินจากรายไดร้ ฐั (General govern-
ment revenue) เพ่ือจัดบริการสุขภาพให้กับทุกคน ในประเทศที่เป็น Bismarck
model และลูกจ้างของสถานประกอบการขนาดเล็กท่ีไม่สามารถจ่ายเงินสมทบได้
อาจจ�ำเป็นต้องใช้เงินรายได้รัฐช่วยอุดหนุนเพื่อให้ได้รับสิทธิได้ เป็นการเปลี่ยนจาก
“สทิ ธขิ องลกู จา้ ง (Labor rights)” เปน็ “สทิ ธขิ องพลเมอื ง (Rights of citizenship)”(13)
และเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิด้านสขุ ภาพ
“เงินรายได้” ที่จะน�ำมาซ่ึงสิทธิด้านสุขภาพ จะต้องเป็นเงินรายได้รัฐซ่ึงได้
มาจากภาษขี องประชาชนและอืน่ ๆ อาจจะเปน็ Earmarked tax ก็ได้ แตก่ ไ็ ม่ระบวุ า่
คนท่ีไม่จ่ายจะไมไ่ ด้รับสทิ ธิ เพราะสทิ ธดิ ้านสุขภาพเปน็ สทิ ธิของทุกคน
16
ประสบการณ์จากประเทศสหรัฐอเมรกิ า
ในรัฐ West Virginia ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกแบบ Medicaid
program ใหม่ (โครงการรักษาพยาบาลส�ำหรับคนจน) โดยการลดสิทธิประโยชน์
หากประชาชนไม่ลงนามและไม่ปฏิบัติตาม Medicaid Member Agreement
แต่หากปฏิบัติตามข้อตกลงจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม เช่น บริการเพ่ือลดการ
สบู บุหรี่ โภชนศึกษา บริการด้านสุขภาพจติ ฯลฯ
การปฏิบัติตามข้อตกลงครอบคลุมการดูแลสุขภาพตนเองให้มีสุขภาพดี การ
ไปพบแพทย์เม่ือป่วยหรือต้องไปตรวจเช็คสุขภาพ (Check up) การไปพบแพทย์
ตามนัดและกินยาตามสัง่ การนำ� เดก็ ไปพบแพทย์ตามนดั หรือเม่อื เจ็บปว่ ย ฯลฯ
สมาชกิ ทไี่ มส่ ามารถทำ� ตามขอ้ ตกลงจะไดร้ บั การเตอื นและสามารถอทุ ธรณไ์ ด้
สว่ นสมาชกิ ทที่ ำ� ไดจ้ ะไดร้ บั Credit ซงึ่ นำ� ไปซอ้ื บรกิ ารทไ่ี มค่ รอบคลมุ ในสทิ ธปิ ระโยชน์
ของ Medicaid ได้ เพ่อื สง่ เสริมใหส้ มาชกิ มีสุขภาพดี แมว้ า่ จะไม่มผี ลการด�ำเนินงาน
ตามโครงการดังกล่าวอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีผู้ทักท้วงว่า คนป่วยท่ียากจนอาจมี
ปจั จัยมากมาย (ทอ่ี ยูเ่ หนือการควบคมุ ) ท�ำใหไ้ ม่สามารถปฏบิ ตั ิตามข้อตกลงได้ เช่น
การสอ่ื สารท่ีไม่ดีกบั แพทย์ ผลข้างเคยี งของการรกั ษา คำ� แนะน�ำท่ีไม่สามารถปฏบิ ัติ
ได้ ฯลฯ(14)
แม้สิทธิของสมาชิก Medicaid จะไม่ใช่สิทธิด้านสุขภาพ เพราะไม่ได้เป็น
สิทธิของประชาชนทุกคน แต่กรณีน้ีมีประเด็นท่ีน่าสนใจตรงที่การใช้แรงจูงใจ (ทาง
บวกและทางลบ) ของสมาชิกท่ีจะต้องท�ำ (เป็นหน้าท่ีหรือความรับผิดชอบ) ตาม
Medicaid Member Agreement เพ่ือการมีสุขภาพดีและความเจ็บป่วยได้รับ
การเยียวยา แม้ว่าผลยังไม่ปรากฏ แต่จะเห็นได้ว่ามีการโต้แย้งถึงข้อจ�ำกัดทางด้าน
ต่างๆ ท่ีเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของความยากจน ที่อาจท�ำให้ผลของโครงการไม่ดี
เทา่ ที่ควร
17
2. หนา้ ทข่ี องประชาชนเพื่อการสรา้ งเสริมสุขภาพ
เรม่ิ แรกกต็ อ้ งมพี ฤตกิ รรมและวถิ ชี วี ติ ใหเ้ หมาะสม ซง่ึ เปน็ หนง่ึ ในการดำ� เนนิ งาน
ท่ีส�ำคัญตามแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพของกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter)1
ปัจจุบนั พบว่า ภาวะโรคตา่ งๆ ที่เปน็ โรคเร้อื รังเพมิ่ มากข้นึ และส่วนใหญ่เกิดจากการมี
พฤตกิ รรมสขุ ภาพทไ่ี มเ่ หมาะสม โดยมแี นวคดิ การสรา้ งเสรมิ สขุ ภาพทน่ี กั ปรชั ญาการเมอื ง
แบ่งไว้เปน็ 4 แนวคดิ ซ่งึ แสดงความสมั พนั ธร์ ะหว่างปจั เจกบุคคล สังคม และนวตั กรรม
แบบมสี ่วนร่วม คือ(15)
l แนวคดิ อนรุ กั ษน์ ยิ ม (Individual paternalist approach: Conservative)
แนวคิดนี้มีความเช่ือว่า บุคคลสามารถเปล่ียนแปลงวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ไดอ้ ยา่ งมีนยั สำ� คญั ทกุ คนมีทรัพยากรและวิธกี ารท่ีจะดำ� เนินการสรา้ งเสริม
สุขภาพ แนวคิดน้ีละเลยปัญหาเชิงโครงสร้างและความไม่เท่าเทียมด้าน
สขุ ภาพ ซงึ่ เชอื่ มโยงกบั ฐานะทางเศรษฐกจิ และสงั คม เปน็ แนวคดิ แบบตลาด
เสรนี ิยม และมีโอกาสทจ่ี ะเกิด “การกล่าวโทษเหยื่อ (Victim blaming)”2
มากทสี่ ุด
l แนวคดิ เสรีนิยมใหม่ (Individual participatory approach: New Right,
Neoliberal) แนวคดิ นแ้ี ตกตา่ งจากแนวคดิ อนรุ กั ษน์ ยิ มตรงทมี่ นี กั สรา้ งเสรมิ
สขุ ภาพ (Health promoter) และใหน้ กั สรา้ งเสริมสขุ ภาพมีความสัมพนั ธ์
ในลกั ษณะทเ่ี ทา่ เทยี มกนั กบั บคุ คล (Client) แตก่ ารตดั สนิ ใจทง้ั หมดกข็ น้ึ กบั
บุคคลน้ัน บุคคลจะกระตอื รอื รน้ ในการรับคำ� ปรกึ ษา (Counseling) การรบั
ความรู้ (Education) และการประชุมกลมุ่ (Group work) กับนกั สรา้ งเสรมิ
สุขภาพ เป็นการเปลยี่ นบทบาทจากผู้บรโิ ภค (Consumer) เป็นผรู้ ่วมผลติ
(Co-producer)
1 ประเดน็ ท่คี วรด�ำเนนิ งานดา้ นการสร้างเสริมสุขภาพใน Ottawa Charter ประกอบดว้ ยการสร้างนโยบาย
สาธารณะด้านสุขภาพ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การพัฒนาทักษะเฉพาะ
บุคคล และการปรับระบบบรกิ ารสขุ ภาพ
2 การกล่าวโทษเหยื่อ คือ การกระท�ำที่ลดคุณค่าของเหย่ือจากภัยอาชญากรรมหรืออุบัติเหตุ เม่ือเหย่ือเป็น
ผู้รับผิดชอบ (ทั้งหมดหรือบางส่วน) ต่อเหตุการณ์ ในกรณีนี้เหยื่อคือผู้ท่ีเจ็บป่วยด้วยเหตุที่มีพฤติกรรมและ
วิถีชีวติ ไมเ่ หมาะสม เช่น สบู บหุ รี่ ด่มื เหล้า ไม่ออกก�ำลงั กาย ฯลฯ และผูป้ ่วยเป็นผกู้ ระท�ำเอง
18
l แนวคดิ ซา้ ยใหม่ (Collective and individual participatory approach:
New Left) แนวคิดนี้จะให้ความส�ำคัญกับบุคคลและการรวมกลุ่ม (เช่น
เพอื่ นบา้ น และชมุ ชน) กบั กลไกตลาดเสรที บี่ คุ คลและชมุ ชนเขา้ ไปมสี ว่ นรว่ ม
เป็นการบรู ณาการเข้าไปในชุมชน (บางคร้งั เรียกวา่ Communitarianism)
และเป็นท่มี าของสขุ ภาพ
l แนวคิดแบบสังคมนิยม (Collective paternalist approach: Marxist,
Socialist) แนวคิดนี้มองปัจเจกบุคคลในลักษณะที่เชื่อมโยงกับสังคม และ
แยกบคุ คลเปน็ กลมุ่ ๆ (Social group) เป็นชนชน้ั (Social class) ท่มี คี วาม
ไมเ่ ทา่ เทยี มกนั และเกดิ ความขดั แยง้ กนั ดงั นนั้ การจดั การใหเ้ กดิ สขุ ภาพดตี าม
ความจำ� เปน็ ดา้ นสขุ ภาพจงึ ตอ้ งมกี ารจดั การอำ� นาจใหม่ (Redistribution of
power) เพอ่ื ให้ประโยชน์แกผ่ ดู้ ้อยโอกาส ซง่ึ อาจท�ำในลักษณะ Top down
หรือ Bottom up ก็ได้
แนวคดิ ดา้ นการสรา้ งเสรมิ สุขภาพ
19
อย่างไรก็ตามเป็นเร่ืองยากที่จะบอกว่าแนวคิดด้านการสร้างเสริมสุขภาพใด
ถูกตอ้ ง แต่ละสงั คมเลอื กท่จี ะใชแ้ นวคดิ ตา่ งๆ ตามสภาพแวดล้อมทเ่ี หมาะสมกับสังคม
เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของตนเอง
สังคมที่เลือกใช้แนวคิดอนุรักษ์นิยม มีแนวโน้มที่ก�ำหนดให้การมีพฤติกรรม
และวถิ ีชีวติ ทเ่ี หมาะสมเป็น “หนา้ ทขี่ องประชาชนด้านสุขภาพ” มากท่ีสดุ
ดว้ ยเหตนุ จ้ี งึ มคี ำ� ถามวา่ ควรหรอื ไมท่ รี่ ฐั จะกำ� หนดใหก้ ารกระทำ� หรอื ไมก่ ระทำ�
สิ่งใดส่ิงหนึ่งเป็นหน้าท่ีของประชาชน เพ่ือลดภัยทางด้านสุขภาพของตนเอง เพราะ
เทา่ กบั ไปจำ� กดั สทิ ธเิ สรภี าพของประชาชนในการกระทำ� หรอื ไมก่ ระทำ� สง่ิ นน้ั 3 (ประเดน็
การตัดสนิ ใจจะมปี ญั หาน้อยลง หากพฤตกิ รรมนส้ี ง่ ผลต่อสุขภาพของคนอน่ื )
การตัดสินใจนี้ข้ึนอยู่กับสภาพแวดล้อมของประเทศและความเช่ือในเร่ือง
แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น ประเทศไทย การขับข่รี ถจกั รยานยนตแ์ ล้วตอ้ งสวม
หมวกกันน็อก เพราะการสวมหมวกกันน็อกจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้อย่างมาก
(พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522) แต่การสูบบุหรี่ไม่ได้ห้าม แม้จะพบว่า
สมั พนั ธก์ บั โรคมะเรง็ ปอดอยา่ งชดั เจน อาจเปน็ เพราะการสบู บหุ รเ่ี ปน็ คา่ นยิ มของสงั คม
เป็นนิสัย เสพแล้วติด (Addiction) ฯลฯ เช่นเดียวกับการดื่มแอลกอฮอล์ เพียงแต่ว่า
ดื่มแอลกอฮอล์จนเมาแลว้ ขับรถยนต์ไมไ่ ด้ (พระราชบัญญัตจิ ราจรทางบก พ.ศ. 2522)
การบรโิ ภคอาหารทไ่ี มเ่ หมาะสมจนทำ� ใหเ้ ปน็ โรคอว้ น เบาหวาน ความดนั โลหติ
สูง และหลอดเลือด หากจะก�ำหนดเป็นหน้าที่ท่ีจะต้องบริโภคอาหารให้เหมาะสมแล้ว
ก็จะท�ำได้ยาก เพราะเร่อื งรสนยิ มและฐานะทางเศรษฐกิจ การท่ีมีร้านขายอาหาร (เช่น
ร้านอาหารขยะหรอื Junk food) และร้านขายเครอื่ งด่มื ที่ไมเ่ หมาะสม (เช่น เครื่องดืม่
ที่มีน�ำ้ ตาลปนอยู่มาก) ทีอ่ ยูน่ อกเหนือการควบคมุ ของบคุ คล ฯลฯ
3 เหตุผลดังกล่าวสอดคล้องกับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับผ่านประชามติ มาตรา 26 ท่ีว่า
การตรากฎหมายท่ีมีผลเป็นการจ�ำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเง่ือนไขที่บัญญัติไว้ใน
รัฐธรรมนูญ ในกรณีท่ีรัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเง่ือนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดหลักนิติธรรม ไม่เพิ่ม
ภาระหรือจ�ำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลจนสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ของบุคคลมไิ ด้ รวมทั้งตอ้ งระบุเหตผุ ลความจ�ำเปน็ ในการจ�ำกดั สิทธแิ ละเสรีภาพไวด้ ้วย
20
ประสบการณจ์ ากประเทศองั กฤษ
ประเทศอังกฤษใช้แนวคิดเสรีนิยมใหม่ มุ่งเน้นให้ประชาชนตระหนักและ
กระตือรือร้นในการรักษาสุขภาพ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตท่ี
ไม่เหมาะสมด้านสุขภาพ โดยการให้ท้องถิ่นพัฒนายุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมรว่ มกับ National Health Service (NHS) โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวตอ้ ง
มคี ุณภาพ มขี ้อมลู เชงิ ประจกั ษ์รองรับ แลว้ ฝกึ อบรมบคุ ลากรที่จะชว่ ยเปล่ยี นแปลง
พฤตกิ รรมของประชาชน โดยปรบั เปลยี่ นตามความกระตอื รอื รน้ และความตระหนกั รู้
หรอื ความรูเ้ ทา่ ทนั ด้านสขุ ภาพ (Health literacy) ของประชาชน มีการใหค้ วามรู้
และการแนะนำ� โดยแพทย์เวชปฏบิ ตั ิทั่วไป (General practitioner-GP)
การแนะน�ำโดยเพื่อนแบบตัวต่อตัวหรือแบบกลุ่ม บางพื้นที่มีผู้ฝึกอบรม
ทางดา้ นสขุ ภาพและเครอื ขา่ ยคอยใหค้ ำ� แนะนำ� สนบั สนนุ และกระตนุ้ ประชาชนใหม้ ี
พฤติกรรมสขุ ภาพที่ดี มกี ารใชแ้ รงจูงใจ (ทงั้ ทางบวกและทางลบ) และการใหข้ ้อมูล
ข่าวสาร แต่กลับพบว่า ประชาชนยังไม่สามารถมีพฤติกรรมดังท่ีรัฐบาลแนะน�ำ (มี
ภาวะอ้วน 68 % ในเพศชาย และ 59 % ในเพศหญิง ด่ืมแอลกอฮอล์ 37 %
ในเพศชาย และ 28 % ในเพศหญิง ฯลฯ)(16)
ในประเทศอังกฤษยังมีธรรมนูญของระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS
Constitution) ท่ีกล่าวถึงสิทธิด้านสุขภาพของชาวอังกฤษ ขณะเดียวกันก็กล่าวถึง
หน้าที่ด้วย โดยหน้าทีม่ อี ยู่ 9 ข้อ ซึง่ ครอบคลุมทงั้ หนา้ ทข่ี องผมู้ สี ขุ ภาพดแี ละผปู้ ว่ ย
คอื
(1) ท่านควรจะตระหนักว่า ท่านสามารถท�ำให้ชีวิตของท่านและครอบครัว
มีสขุ ภาพดี และรบั ผดิ ชอบต่อหนา้ ท่ดี งั กลา่ ว
(2) ท่านควรจะลงทะเบียนกับแพทย์เวชปฏิบัติท่ัวไป เพ่ือให้เข้าถึงบริการ
ของ NHS
(3) ทา่ นควรจะปฏบิ ตั ติ อ่ บคุ ลากรของ NHS และผปู้ ว่ ยอนื่ ๆ ดว้ ยความเคารพ
(4) ท่านควรจะใหข้ อ้ มูลที่ถกู ต้องเก่ยี วกับสขุ ภาพของตนเอง
(5) ทา่ นควรจะรกั ษาเวลานดั หมายกบั แพทยแ์ ละเลอื่ นนดั ในเวลาทเี่ หมาะสม
21
(6) ท่านควรจะรกั ษาตามเงือ่ นไขทีท่ ่านไดต้ กลงไว้ และพดู กับแพทย์หากพบ
ปัญหา
(7) ท่านควรจะเขา้ รว่ มบริการสาธารณสขุ ทส่ี �ำคญั เชน่ การฉีดวคั ซีน
(8) ท่านควรจะมั่นใจว่าบุคคลท่ีใกล้ชิดท่านมากที่สุด รับรู้เจตนาของท่าน
ในการบรจิ าคอวัยวะ
(9) ทา่ นควรจะใหข้ อ้ มลู (ทงั้ ทางบวกและทางลบ) เกย่ี วกบั การรกั ษาพยาบาล
ท่ที า่ นได้รบั
หน้าท่ขี อ้ 1 และข้อ 7 (อาจรวมข้อ 4) เป็นหนา้ ทท่ี ีเ่ กี่ยวกบั การสรา้ งเสรมิ
สุขภาพและการป้องกันโรค แต่หน้าที่ดังกล่าว หากไม่ปฏิบัติก็ไม่มีการลงโทษใดๆ
(ทั้งทางด้านการเงินหรือแรงจูงใจอื่นๆ) การก�ำหนดให้มีหน้าท่ีดังกล่าวขึ้น เพ่ือเป็น
แรงบันดาลใจให้ประชาชนถือปฏิบัติ ซ่ึงเป็นมาตรการทางสังคมในการส่งเสริม
พฤตกิ รรมดงั กลา่ ว การไมป่ ฏบิ ตั ติ ามหนา้ ทดี่ งั กลา่ วอาจถอื วา่ ไมไ่ ดร้ บั เกยี รตจิ ากสงั คม
เพราะท�ำให้เกิดปัจจัยเส่ียงด้านสุขภาพต่อชุมชน หน้าท่ีด้านสุขภาพท่ีจะเกิดผลดี
ต่อสุขภาพนั้น จะต้องมีส่วนร่วมระหว่างหน้าที่ของบุคคลและหน้าท่ีของสังคม(17)
อย่างไรก็ตามไม่ได้มีรายงานว่า หน้าที่ด้านสุขภาพตามธรรมนูญฯ ท่ีว่านี้ส่งผล
อยา่ งไร
บทบาทขององค์กรระหวา่ งประเทศ
องค์กรบางแห่ง เช่น องค์การอนามัยโลก มีประกาศไม่รับสมัครบุคลากรซ่ึง
สูบบุหรี่ กินขนมหวานทต่ี อ้ งเค้ยี วก่อนกลนื (Chew) หรือสบู ยานตั ถ์ุ แต่ยงั รับบคุ ลากร
ท่ีมีวิถีชีวิตด้านอื่นๆ ท่ีไม่เหมาะสมด้านสุขภาพ(14) การด�ำเนินการนี้มีโอกาสส่งเสริม
ให้ประชาชนมีสุขภาพดี (ตามพฤติกรรมที่ห้ามไว้) เพราะอาจท�ำให้ประชาชนเลิก
พฤติกรรมดังกล่าวเพื่อให้ได้งานท�ำ (แรงจูงใจทางบวก) และการที่องค์กรมีบุคลากร
ทีม่ พี ฤตกิ รรมสรา้ งเสรมิ สขุ ภาพใกลเ้ คยี งกนั กย็ ่งิ สง่ ผลใหพ้ ฤติกรรมดงั กล่าวแพรข่ ยาย
ออกไป
22
หน้าที่ของประชาชนเพ่ือสุขภาพของสังคม
มนษุ ยเ์ ปน็ สตั วส์ งั คม มสี มั พนั ธภาพซงึ่ กนั และกนั นบั จากความสมั พนั ธใ์ กลช้ ดิ
ที่สุด เช่น เป็นบุตรซ่ึงสัมพันธ์กับพ่อและแม่ เป็นเพ่ือนบ้านท่ีอยู่ติดกัน เป็นเพ่ือนท่ี
โรงเรียนหรือทที่ ำ� งาน ฯลฯ เราจึงมคี วามรบั ผิดชอบ (Ethical responsibility) ด้วยเหตุ
ของความสัมพันธด์ ังกล่าวในการเลือกพฤตกิ รรมสุขภาพทด่ี ี ท้ังๆ ทเี่ ราไม่ได้สญั ญาด้วย
วาจา (Verbal promise) หรือการท�ำสญั ญา (Contract) ในการท่จี ะกระท�ำดังกลา่ ว
หน้าท่ีที่จะต้องท�ำตามหลักศีลธรรม (Moral obligation) เป็นอะไรท่ีมากกว่าหน้าที่
ตามสัญญา (Contractual obligation) ในกรณีนี้เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ระหว่าง
แพทย์กับผู้ป่วย ท่ีแพทย์ห่วงใยผู้ป่วยและต้องการท�ำสิ่งดีๆ ให้กับผู้ป่วย โดยไม่ได้
หวงั สิง่ ตอบแทนใด(18)
แพทยเ์ องมหี นา้ ทท่ี ต่ี อ้ งทำ� ตวั ใหม้ สี ขุ ภาพดี (มนี ำ้� หนกั เหมาะสม ออกกำ� ลงั กาย
และไม่สูบบุหรี่ ฯลฯ) และแต่งตัวเหมาะสม (สวมเสื้อกาวน์ และมีหูฟังอยู่ท่ีคอหรือ
กระเป๋า) เพื่อให้ประชาชนและผู้ป่วยนับถือ และเป็นการแสดงความนับถือต่อวิชาชีพ
ด้วย แม้ว่าจะเป็นการปฏิบัติตามกระแสวัฒนธรรม แต่ก็นับเป็นหน้าท่ีท่ีต้องท�ำตาม
หลักศีลธรรมดว้ ย(19)
นอกจากนย้ี งั มหี นา้ ทท่ี ปี่ ระชาชนตอ้ งปฏบิ ตั ติ ามกฎหมาย เพอื่ คมุ้ ครองสขุ ภาพ
ของบุคคลอื่น เชน่ กรณขี องโรคระบาด (การถูกกกั กนั การตอ้ งได้รบั การรักษา) ส่วน
การฉดี วคั ซนี ในเดก็ ยงั มปี ญั หาอยวู่ า่ เปน็ หนา้ ทห่ี รอื ไม่ เพราะแมว้ า่ การฉดี วคั ซนี จะชว่ ย
ป้องกันโรคในเด็กแต่ละคน แต่หากสามารถฉีดวัคซีนเด็กได้จนครอบคลุมเพียงพอและ
เกิด Herd immunity แลว้ กช็ ว่ ยป้องกันโรคในเดก็ ที่ไม่ไดร้ บั วัคซนี ได้
กระน้ันก็ตาม การสูบบุหร่ีแม้จะเป็นสิทธิของแต่ละบุคคลท่ีจะสูบหรือไม่ก็ได้
แต่การสูบบุหร่ีก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของบุคคลอื่น (การสูบบุหร่ีมือสอง) ท�ำให้
ต้องมีกฎหมายห้ามการสูบบุหร่ีในที่สาธารณะเช่นกัน(20) อย่างเช่นประเทศไทยก็มี
พระราชบญั ญัติค้มุ ครองสขุ ภาพของผูไ้ มส่ ูบบุหรี่ พ.ศ. 2535
23
4. ข้อเสนอแนะ
l สทิ ธทิ ร่ี ฐั จดั ให้ (Entitlement) จะถอื เป็นสิทธดิ า้ นสุขภาพ กต็ อ่ เมอ่ื สทิ ธินน้ั
ให้กับประชาชนทุกคน และหากมีหน้าที่ตามกฎหมายที่เก่ียวเน่ืองใดๆ กับสิทธิ
ดังกล่าว ซ่ึงบุคคลต้องปฏิบัติ การไม่ปฏิบัติดังกล่าวจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิทธิ
ทค่ี วรไดร้ บั เชน่ สทิ ธใิ นการรบั การรกั ษาพยาบาล หากถอื เปน็ สทิ ธปิ ระชาชนด้านสุขภาพ
แล้ว แมว้ ่าประชาชนจะดม่ื สรุ าจนเมาแลว้ ขับรถจนเกิดอุบัติเหตุ หรือจะสูบบุหร่จี นเป็น
โรคมะเร็งปอด ฯลฯ ก็จะต้องได้รับสิทธิในการรับการรักษาพยาบาลเช่นเดิม แต่อาจ
มีโทษ (ท่ีเกิดจากการมีหนา้ ทที่ เ่ี มาแลว้ ตอ้ งไมข่ บั แลว้ ปฏเิ สธทจ่ี ะดำ� เนนิ การ) อยา่ งอน่ื
เพมิ่ เตมิ เชน่ เมาแล้วขบั ต้องถูกด�ำเนนิ คดี มโี ทษจำ� คกุ ไมเ่ กิน 1 ปี ปรบั 5,000-20,000
บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ และจะถูกพักใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอน
ใบอนุญาตขับขี่ ถ้าเมาแล้วขับเป็นเหตุให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือถึงแก่ความตาย โทษก็จะ
หนักข้ึน (พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522) หรือการสูบบุหรี่ในเขตปลอด
บุหรี่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท (พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของ
ผู้ไมส่ บู บุหร่ี พ.ศ. 2535)
l เงินรายได้ที่จะน�ำมาซ่ึง “สิทธิด้านสุขภาพ” จะเป็นเงินรายได้ของรัฐซ่ึงได้
มาจากภาษขี องประชาชนและอื่นๆ อาจจะเป็น Earmarked tax กไ็ ด้ แตต่ อ้ งไมร่ ะบุ
วา่ คนท่ีไม่จ่ายจะไม่ได้รบั สทิ ธิ เพราะสิทธดิ า้ นสขุ ภาพเป็นสิทธขิ องทุกคน
l หน้าท่ีด้านสุขภาพจะส่งผลดีต่อสุขภาพของประชาชนได้นั้น จะต้องมี
สว่ นรว่ มกนั ระหวา่ งหนา้ ทขี่ องประชาชนและหนา้ ทขี่ องรฐั การละเลยหนา้ ทด่ี ้านสุขภาพ
ของประชาชนน้ัน ท�ำให้ประชาชนขาดความสนใจและความกระตือรือร้นในการ
ปฏิบัตติ นเองใหม้ ีสุขภาพดี ตามแนวทางที่กำ� หนดโดย Ottawa Charter ขณะเดียวกัน
รัฐก็มีหน้าท่ีต้องปฏิบัติ เพราะปัญหาด้านสุขภาพมีความซับซ้อน มีความไม่เสมอภาค
หรือไมเ่ ปน็ ธรรม ฯลฯ จำ� เป็นทร่ี ัฐตอ้ งเขา้ ไปจัดการดูแล
l โดยทั่วไปหน้าที่ด้านสุขภาพก�ำหนดให้ปฏิบัติโดยไม่มีแรงจูงใจใดๆ โดย
ถือเป็นหน้าที่ตามหลักศีลธรรม (Moral obligation) เป็นมาตรการทางสังคม หรือ
ท�ำโดยแรงบันดาลใจ มีบางประเทศใช้แรงจูงใจ (ท้ังทางบวกและทางลบ) แต่ยังไม่พบ
ความแตกตา่ งใดๆ
24
l การก�ำหนดว่าพฤติกรรมใดของบุคคลเป็นหน้าที่ด้านสุขภาพตามกฎหมาย
และมีบทลงโทษนั้น ข้ึนกับบริบทของแต่ละประเทศ มีแนวโน้มที่พฤติกรรมท่ีส่งผล
ทางลบต่อสขุ ภาพต่อบุคคลอ่นื และสังคมจะถูกบงั คบั โดยกฎหมาย เช่น พฤตกิ รรมกรณี
ท่มี ีการระบาดของโรค การสบู บหุ รใ่ี นทส่ี าธารณะ ฯลฯ
l การก�ำหนดใหพ้ ฤติกรรมใดของบคุ คลเปน็ หน้าที่ด้านสุขภาพนัน้ จะต้องเปน็
พฤตกิ รรมทชี่ ว่ ยสรา้ งเสรมิ สขุ ภาพและอยใู่ นสภาพทบี่ คุ คลนน้ั จะควบคมุ ได้ ซงึ่ รฐั อาจจะ
ตอ้ งมบี ทบาทชว่ ยควบคมุ ดงั กลา่ ว เชน่ การออกกฎหมายใหข้ บั ขจ่ี ักรยานยนต์ต้องสวม
หมวกกนั นอ็ ก ก็ตอ้ งมีหลักประกนั ว่าหมวกกันน็อกจะต้องไมม่ รี าคาแพงจนเกนิ ไป แต่
เรื่องโภชนาการเหมาะสม อาจเป็นไปได้ยาก ด้วยเหตุผลด้านเศรษฐกิจของครัวเรือน
รสนยิ ม และการที่มีรา้ นขายอาหารและเครอ่ื งดม่ื ที่ไมเ่ หมาะสมอยเู่ ป็นจำ� นวนมาก
25
บรรณานุกรม
1. WHO. Constitution of the World Health Organization. 1946.
2. Right to health. Available from: https://en.wikipedia.org/wiki/Right_
to_health
3. WHO. Health and human right. Available from: http://www.who.int/
mediacentre/factsheets/fs323/en/
4. Enrique Gonzalez. The right to health. Available from: https://www1.
umn.edu/humanrts/edumat/IHRIP/circle/modules/module14.htm
5. WHO. The right to health. Fact sheet no.31.
6. Lindsay F Wiley et. al. What is your nanny? Choice, paternalism and
public health in the age of personal responsibility. Journal of Law,
Medicine & Ethics. 2013.
7. A healthy knowledge: Right to information and the right to health.
Free Word Centre; London: 2012.
8. วิวัฒน์ ถาวรวัฒนยงค์ และณัฎฐิญา ค้าผล. แนวคิดเศรษฐศาตร์พื้นฐานใน
เศรษฐศาสตร์ด้านยา. วารสารวิชาการสาธารณสขุ 2553: 19 (4): 655-665.
9. Mark H. Waymack. Ethical issues in health care reform. Available from:
http://ageconsearch.umn.edu/bitstream/17147/1/ar930131.pdf
10. Ian Henneberger. Health care justice: a moral obligation? Philosophy
honors paper. Paper 1 Available from: http://digitalcommons.
conncoll.edu/philhp/1
11. Difference between rights and obligation. Available from: http://www.
differencebetween.com/difference-between-rights-and-vs-obligation/
12. สถาบันพระปกเกลา้ . หนา้ ท่ขี องชนชาวไทย. Available from: http://wiki.kpi.
ac.th/index.php?title=หนา้ ทข่ี องชนชาวไทย
13. Joseph Kutzin. Bismarck vs. Beveridge: is there increasing convergence
between health financing system? Available from: https://www.oecd.
org/gov/budgeting/49095378.pdf
14. Robert Steinbrook. Imposing Personal Responsibility for Health. New
England Journal of Medicine 2006. Available from: www.nejm.org
15. Jennie Naidoo and Jane Wills. Foundations for health promotion.
Elsevier 2016.
16. Catherine F. et al. People in control of their own health and care:
the state of involvement. The Kings Fund. 2014.
17. Harald Schmidt. Personal responsibility in the NHS constitution
and the social determinants of health approach: competitive or
complementary? Health Economics, Policy and Law 2009; 4 (2):
129-138.
18. Roger C Sider and Colleen D Clements. Patient’s ethical obligation for
their health. Journal of Medical Ethic 1984; 10: 138-142.
19. Katy Skimming. An argument for the obligation of physicians to
be healthy. Available from: https://cnu.edu/leadershipreview/
archives/vol3iss1_skimmiong.pdf
20. Ronald Bayer. The continuing tensions between individual rights and
public health. EMBO reports Vol 8 No. 12. 2007.
บนั ทึก
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................