The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

1 ชุดการสอน- ความรู้พื้นฐาน-okka.full

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by pimnipa2050, 2021-09-21 23:16:47

วิชา การเตรียมความพร้อม

1 ชุดการสอน- ความรู้พื้นฐาน-okka.full

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานุการ 21

วิชา การเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร รหัสวิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร 22

โครงการสอนท่ี 1
วิชา การเตรยี มความพรอ้ มสอู่ าชีพเลขานุการ 2201 - 2311

หนว่ ยที่ 1 ความรู้พน้ื ฐานในการเตรียมความพร้อมสูอ่ าชีพเลขานกุ าร

เรื่อง 1. ความหมายของเลขานกุ าร สอนครง้ั ท่ี 1 - 2
2. บทบาทและหนา้ ที่ของเลขานุการ คาบการสอน
3. งานในหนา้ ท่ีของเลขานกุ าร
4. คณุ สมบัตทิ ่ีเหมาะสมของเลขานกุ าร 6 ช่วั โมง
5. สมรรถนะของเลขานุการทนี่ ายจา้ งตอ้ งการ
6. หลักการทำงานรว่ มกบั บุคคลระดบั ตา่ ง ๆ
7. แนวทางการปฏิบตั ิงานประจำในแต่ละวนั ของเลขานุการ
8. การพัฒนาปรบั ปรุงงานของเลขานุการ
9. จรรยาบรรณของเลขานกุ าร

จุดประสงคก์ ารสอน รายการสอน

1. บอกความหมายของเลขานุการได้ 1. ความหมายของเลขานกุ าร

2. บอกบทบาทและหนา้ ท่ีของเลขานุการได้ 2. บทบาทและหน้าท่ีของเลขานุการ

3. บอกงานในหนา้ ท่ีของเลขานุการได้ 3. งานในหน้าท่ีของเลขานกุ าร

4. บอกคณุ สมบัติท่ีเหมาะสมของเลขานกุ ารได้ 4. คุณสมบตั ทิ ่ีเหมาะสมของเลขานุการ

5. บอกสมรรถนะของเลขานกุ ารท่นี ายจา้ งต้องการได้ 5. สมรรถนะของเลขานุการที่นายจ้าง

6. อธบิ ายหลักการทำงานร่วมกับบคุ คลระดับตา่ ง ๆ ได้ ตอ้ งการ

7. อธบิ ายแนวทางการปฏบิ ตั ิงานประจำในแต่ละวนั ของ 6. หลักการทำงานรว่ มกบั บุคคลระดับ

เลขานุการ ต่าง ๆ

8. อธิบายถึงการพฒั นาปรบั ปรุงงานของเลขานกุ ารได้ 7. แนวทางการปฏบิ ัตงิ านประจำในแต่

9. บอกจรรยาบรรณของเลขานุการได้ ละวันของเลขานุการ

10. มคี ณุ ธรรม จริยธรรม และคุณลกั ษณะอันพึงประสงค์ 8. การพัฒนาปรับปรุงงานของ

ในด้านความตง้ั ใจใฝ่เรียนรู้ มวี ินยั ตรงต่อเวลา สามัคคี มี เลขานกุ าร

น้ำใจ สุภาพอ่อนน้อม มมี นุษยสัมพนั ธ์และมีความรบั ผิดชอบ 9. จรรยาบรรณของเลขานุการ

วธิ กี ารสอน บรรยาย/ถาม - ตอบ/ระดมสมอง/นำเสนองานหน้าช้ันเรยี น

ส่อื การสอน สอื่ โปรแกรมนำเสนอข้อมูล (Power Point) ประกอบการเรยี นการสอน หน่วยที่ 1

ใบความรู้ แบบฝกึ หดั กจิ กรรมเสริมการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อน/หลังเรยี น

การประเมินผล คะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อน/หลังเรียน คะแนนจากการทำแบบฝึกหัด แบบ
ประเมินผลกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ และแบบประเมินผลพฤติกรรมด้านคุณธรรม
จริยธรรม และคณุ ลักษณะอันพึงประสงค์

วิชา การเตรียมความพร้อมสูอ่ าชพี เลขานุการ รหสั วิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร 23

หนว่ ยที่ 1 ความรู้พ้นื ฐานเพอื่ การเตรยี มความพรอ้ มสู่อาชีพเลขานกุ าร

สาระสำคัญ

เลขานุการ เป็นผู้ที่ปฏิบัติงานขึ้นรับผิดชอบขึน้ ตรงตอ่ ผู้บริหาร มีบทบาทและหน้าท่ี ที่สำคัญ
ต่อความสำเร็จของผู้บริหารและองค์กร ซึ่งเป็นบุคคลที่ต้องมีความสามารถในทักษะทุก ๆ เรื่องของ
สำนักงาน ผู้บังคับบัญชาให้ความสำคัญและไว้วางใจให้ช่วยแบ่งเบาภาระงานต่าง ๆ ตามที่ได้รับ
มอบหมายโดยไม่ต้องมีการควบคุมหรือสั่งการ ทั้งยังสามารถใชค้ วามคิดพิจารณาตัดสินใจในขอบเขต
ของงานที่ไดร้ ับมอบหมาย ให้ประสบผลสำเรจ็ ไดอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพ

ผู้ที่จะทำหน้าที่เลขานุการได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นจะต้องมีพื้นฐานความรู้ ความ
เข้าใจบทบาทและงานในหน้าที่เกี่ยวกับอาชีพที่ตนจะปฏิบัติเป็นอย่างดี มีคุณสมบัติและสมรรถนะ
ของเลขานุการที่นายจ้างต้องการ สามารถปรับตัวเพื่อทำงานร่วมกับบุคคลในระดับต่าง ๆ ได้อย่าง
เหมาะสม และเรียนรู้การพัฒนาปรับปรุงงานของเลขานุการให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสภาพ
สงั คมและเทคโนโลยีท่ีเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และท่สี ำคัญต้องเป็นผู้ท่ีมีคุณธรรมจริยธรรม มีจรรยาบรรณ
ในการปฏิบตั ิงาน

ดังนั้น ผู้ที่จะประกอบอาชีพเลขานุการ จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมที่จะทำหน้าท่ี
เลขานุการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะความพร้อมด้านพื้นฐานความรู้ในอาชีพของตน จึงจะ
ช่วยให้ประสบความสำเร็จในอาชีพ นำความเจริญก้าวหน้ามาสู่อาชีพการงานของตน และนำความ
สำเร็จไปสอู่ งค์กรหรือหนว่ ยงานของตนได้

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสู่อาชพี เลขานกุ าร รหสั วิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร 24

เน้ือหาสาระ

1. ความหมายของเลขานุการ
2. บทบาทและหนา้ ท่ีของเลขานุการ
3. งานในหน้าท่ีของเลขานกุ าร

3.1 งานประจำ
3.2 งานอำนวยความสะดวก
3.3 งานสว่ นตัวของผ้บู ังคับบัญชา
4. คณุ สมบตั ทิ ี่เหมาะสมของเลขานกุ าร
5. สมรรถนะของเลขานกุ ารที่นายจา้ งต้องการ
6. หลกั การทำงานร่วมกบั บุคคลระดบั ต่าง ๆ ในองค์กร
6.1 การทำงานรว่ มกับผ้บู ังคบั บัญชาหรอื นาย
6.2 การทำงานรว่ มกับเพอื่ นรว่ มงาน
6.3 การทำงานร่วมกับผใู้ ต้บงั คับบัญชา
7. แนวทางการปฏิบัตงิ านประจำในแต่ละวนั ของเลขานกุ าร
8. การพฒั นาปรับปรุงงานของเลขานกุ าร
9. จรรยาบรรณของเลขานกุ าร

วิชา การเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร รหสั วิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร 25

จุดประสงคก์ ารเรียนรู้

จุดประสงค์ทัว่ ไป

1. รู้ความหมายของเลขานุการ
2. รู้บทบาทหน้าท่ีของเลขานกุ าร
3. ร้งู านในหนา้ ทีข่ องเลขานุการ
4. รู้คุณสมบัตทิ เี่ หมาะสมของเลขานกุ าร
5. รู้สมรรถนะของเลขานุการทน่ี ายจ้างตอ้ งการ
6. รู้หลักการทำงานรว่ มกับบคุ คลระดบั ตา่ ง ๆ
7. รู้และเขา้ ใจแนวทางการปฏิบัติงานประจำในแต่ละวันของเลขานกุ าร
8. ร้แู ละเขา้ ใจวธิ ีการพฒั นาปรับปรงุ งานของเลขานุการ
9. รู้จรรยาบรรณของเลขานุการ
10. มีคุณธรรม จรยิ ธรรม และคณุ ลกั ษณะอนั พงึ ประสงค์

จดุ ประสงคเ์ ชิงพฤติกรรม

1. บอกความหมายของเลขานุการได้
2. บอกบทบาทหน้าทีข่ องเลขานุการได้
3. บอกงานในหน้าที่ของเลขานุการได้
4. บอกคุณสมบัติท่ีเหมาะสมของเลขานุการได้
5. บอกสมรรถนะของเลขานุการที่นายจา้ งตอ้ งการได้
6. บอกหลกั การทำงานรว่ มกับบุคคลระดับต่าง ๆ ได้
7. อธิบายแนวทางการปฏบิ ัตงิ านประจำในแต่ละวันของเลขานกุ าร
8. อธบิ ายวธิ ีการพัฒนาปรับปรุงงานของเลขานกุ ารได้
9. บอกจรรยาบรรณของเลขานุการได้
10. มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านความตั้งใจ ใฝ่เรียนรู้
มีวินยั ตรงตอ่ เวลา สามคั คี มนี ้ำใจ สภุ าพออ่ นน้อม มมี นษุ ยสัมพนั ธ์ และมคี วามรับผิดชอบ

วิชา การเตรียมความพรอ้ มส่อู าชพี เลขานกุ าร รหัสวิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมส่อู าชพี เลขานกุ าร 26

กจิ กรรมการเรียนรู้

1. ปฐมนิเทศการจัดการเรียนการสอน เป็นการแนะนำรายวิชา การชี้แจงข้อตกลงในการ
เรียนการสอน และการเตรียมตัวเพื่อทำกิจกรรมการเรียนการสอนตลอดภาคเรียน และการวัดผล
ประเมนิ ผล

2. นกั เรยี นทำแบบทดสอบกอ่ นเรียน หนว่ ยที่ 1
3. ครูผู้สอนนำเข้าสูบ่ ทเรียน โดยใช้คำถามให้นักเรยี นแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเตรียม
ความพรอ้ มสู่อาชีพเลขานกุ าร เชน่

➢ ทำไมถงึ ต้องมกี ารเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานุการ
➢ เลขานุการมีบทบาทและหนา้ ที่อยา่ งไร
➢ บทบาทและหนา้ ทีข่ องเลขานกุ ารจะมากหรอื น้อยข้ึนอย่กู บั อะไร
➢ คนที่จะทำหน้าทีเ่ ลขานกุ ารไดอ้ ยา่ งมีประสิทธิภาพ จำเป็นตอ้ งมคี ณุ สมบตั อิ ยา่ งไร
➢ ถ้านักเรียนเป็นผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชา นักเรียนต้องการเลขานุการที่มีสมรรถนะ
อย่างไรบา้ ง
4. นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเพื่อการเตรียมความพร้อมสู่อาชีพเลขานุการ จาก
สอื่ โปรแกรมนำเสนอข้อมูล (Power Point) และใบความรู้ หน่วยท่ี 1
5. ครผู สู้ อนอธิบายความรู้เพ่มิ เติม โดยใช้ส่ือโปรแกรมนำเสนอขอ้ มูล (Power Point)
6. ครูผู้สอนกับนักเรียนสรุปและอภิปรายเนื้อหาร่วมกัน เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม
ขอ้ สงสัย และรว่ มแสดงความคดิ เหน็
7. นักเรียนทำแบบฝกึ หดั หนว่ ยท่ี 1 เพ่ือให้มคี วามรู้ และความเขา้ ใจในเนือ้ หายงิ่ มากขนึ้
8. นักเรยี นแบง่ กล่มุ ปฏิบตั ิกิจกรรมเสริมการเรยี นรู้ หนว่ ยท่ี 1
9. ครูและนกั เรียนรว่ มกนั สรปุ สาระการเรียนรู้ หน่วยท่ี 1
10. นักเรยี นทำแบบทดสอบหลงั เรยี น หนว่ ยที่ 1

วิชา การเตรียมความพร้อมสูอ่ าชพี เลขานุการ รหสั วิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมส่อู าชพี เลขานกุ าร 27

ส่อื การเรียนรู้

ส่อื การเรียนรู้ ผจู้ ัดทำได้เรียบเรียงไว้ตามลำดับในชุดการสอนแล้ว มรี ายละเอียดการใชด้ ังนี้

1. แบบทดสอบก่อนเรียน ก่อนการเรียนรู้ในหน่วยที่ 1 ครูผู้สอนแจกแบบทดสอบก่อนเรยี น

ใหค้ รบตามจำนวนของนกั เรียน เพื่อวัดความรูข้ องนกั เรยี นก่อนเรียน

2. ใบความรู้ หน่วยที่ 1 เรื่อง ความรู้พื้นฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชีพเลขานุการ

ครูผู้สอนแจกใบความรู้ให้กับนักเรียนทุกคน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ประกอบคำบรรยาย และใช้

ประกอบการศึกษาคน้ คว้าเพม่ิ เติม

3. สื่อโปรแกรมนำเสนอข้อมูล (Power Point) หน่วยที่ 1 โดยครูผู้สอนใช้ประกอบคำ

บรรยายเน้ือหาสาระตามใบความรู้หนว่ ยที่ 1 ระหวา่ งการบรรยายครูควรยกตวั อย่างประกอบ ซักถาม

ความเขา้ ใจ เพอ่ื ให้นักเรียนมีส่วนร่วมแสดงความคดิ เห็น

4. แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนที่ 1 มีจำนวน 2 ตอน เพื่อให้นักเรียนได้ทบทวนเนื้อหา

สาระ ใหม้ คี วามรู้ ความเขา้ ใจมากยิ่งขนึ้ ใหน้ กั เรียนทำหลังจากเรียนจบเนอ้ื หาสาระตามใบความรู้ท่ี 1

5. กิจกรรมเสริมการเรียนรู้ หน่วยที่ 1 เรื่อง แสดงความรู้พื้นฐานการเตรียมความพร้อม

สู่อาชีพเลขานุการ ซึ่งกิจกรรมเสริมการเรียนรู้เป็นสื่อการเรียนรู้ที่นำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้

ของนักเรยี น ฝกึ ให้นักเรียนได้แสดงความคิดรวบยอด ฝึกกระบวนการทำงานเปน็ กลุม่ และเปิดโอกาส

ใหน้ กั เรยี นได้แสดงความสามารถ เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น และสนใจเรียนมาก

ยิ่งขนึ้

6. แบบทดสอบหลังเรียน หลังจากจบการเรียนตามกระบวนการเรียนรู้ในหน่วยที่ 1 ให้

นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับผลการทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัด

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี น

วิชา การเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร รหสั วิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร 28

การวดั ผลประเมนิ ผล

1. คะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อน/หลังเรียน
➢ มีจำนวน 15 ขอ้ (คะแนนเตม็ 15 คะแนน)
➢ นักเรียนต้องทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ถูกต้อง จำนวน 12 ข้อขึ้นไป จึงถือว่าผ่าน

เกณฑ์ คิดเปน็ ร้อยละ 80
2. คะแนนจากการทำแบบฝึกหดั ท้ายหน่วยการเรียน
➢ แบบฝกึ หัดมี 2 ตอน (คะแนนเตม็ 20 คะแนน)
▪ ตอนท่ี 1 มีจำนวน 10 ข้อ (10 คะแนน)
▪ ตอนที่ 2 มีจำนวน 10 ข้อ (10 คะแนน)
➢ นกั เรยี นตอ้ งทำแบบฝึกหดั ได้ถกู ต้อง จำนวน 16 คะแนนขึ้นไป จึงถือวา่ ผ่านเกณฑ์

คดิ เป็นร้อยละ 80
3. คะแนนจากแบบประเมินผลการปฏิบัตกิ ิจกรรมเสรมิ การเรียนรู้ หนว่ ยที่ 1
➢ ประเมนิ โดยวธิ ีการสงั เกตพฤตกิ รรมการทำงานกลุ่ม และใหค้ ะแนนเปน็ รายบุคคล
➢ คะแนนเต็ม 20 คะแนน
➢ นกั เรยี นตอ้ งปฏบิ ัติกิจกรรมเสรมิ การเรยี นรู้ 16 คะแนนข้นึ ไป จึงจะถือวา่ ผ่านเกณฑ์

คิดเปน็ ร้อยละ 80
4. ประเมินผลด้านคุณธรรม จรยิ ธรรม และคณุ ลกั ษณะอนั พึงประสงค์
➢ ประเมินโดยวิธีการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคลที่แสดงให้เห็นในด้าน

ความตั้งใจ ใฝ่เรียนรู้ มีวินัย ตรงต่อเวลา สามัคคี มีน้ำใจ สุภาพอ่อนน้อม มีมนุษยสัมพันธ์ และมีความ
รบั ผดิ ชอบ

➢ นักเรียนต้องมีพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
จำนวน 16 คะแนนขน้ึ ไป จึงจะถอื วา่ ผา่ นเกณฑ์ คิดเปน็ รอ้ ยละ 80

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสูอ่ าชพี เลขานุการ รหัสวิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร 29

แบบทดสอบก่อนเรียน

หนว่ ยที่ 1 ความรพู้ น้ื ฐานเพ่อื การเตรยี มความพรอ้ มสู่อาชพี เลขานกุ าร

คำช้ีแจง ใหน้ กั เรยี นเขียนเครือ่ งหมาย  ลงในกระดาษคำตอบตรงข้อที่เห็นว่าถกู ท่สี ดุ เพยี งข้อ
เดียว (จำนวน 15 ขอ้ 15 คะแนน)

1. คำว่า “เลขานกุ าร” ข้อใดอธิบายความหมายได้ถูกตอ้ งทส่ี ุด
ก. เป็นผ้ทู ่สี ามารถสง่ั การทกุ อย่างแทนผู้บริหาร
ข. ผ้ปู ฏบิ ัตงิ านรับผดิ ชอบขึ้นตรงตอ่ ผ้บู ริหาร
ค. ผทู้ ีม่ หี นา้ ท่ีพิมพ์หนังสอื ขององค์กร
ง. ผู้ปฏบิ ัติงานแทนผู้บรหิ าร

2. ข้อใด ไม่ใช่ บทบาทของเลขานกุ าร
ก. เปน็ ภาพสะท้อนขององค์กร
ข. ผวู้ างแผนและมอบนโยบาย
ค. ผู้ประสานงานกลาง
ง. ผขู้ านรับนโยบาย

3. ในแตล่ ะองค์กร บทบาทหน้าท่ีของเลขานกุ ารจะมากน้อยแตกต่างกนั ขึ้นอยู่กับข้อใด
ก. ขนาดของธรุ กิจ ตำแหนง่ ของผบู้ งั คบั บัญชา และขดี ความสามารถของเลขานกุ าร
ข. ความสามารถในการทำงาน และความรับผดิ ชอบของเลขานุการ
ค. ขนาดของธุรกิจ และตำแหน่งของผู้บงั คบั บญั ชา
ง. ลกั ษณะนิสยั การทำงานของเลขานุการ

4. งานดแู ลรบั ผิดชอบจดหมายเขา้ ออก เปน็ งานในหนา้ ที่ของเลขานกุ าร ตามข้อใด
ก. งานสว่ นตัวของผบู้ งั คับบัญชา
ข. งานอำนวยความสะดวก
ค. งานสรา้ งภาพพจน์
ง. งานประจำ

5. งานในหนา้ ทีข่ องเลขานุการข้อใดคืองานอำนวยความสะดวก
ก. ต้อนรบั ผูม้ าตดิ ต่อกบั ผบู้ งั คับบญั ชา
ข. รับคำส่ังงานของผบู้ ังคบั บญั ชา
ค. ชำระภาษใี ห้ผู้บังคบั บัญชา
ง. โทรศัพท์ติดต่องาน

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสู่อาชพี เลขานุการ รหสั วิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมส่อู าชพี เลขานกุ าร 30

6. ขอ้ ใด ไม่ใช่ คุณสมบัตทิ ่เี หมาะสมของเลขานุการ
ก. วฒุ ิทางการศึกษาอย่างน้อยระดบั ประกาศนียบตั รวิชาชีพทางเลขานกุ าร
ข. มีทกั ษะความเช่ียวชาญเกย่ี วกับงานในหนา้ ทข่ี องเลขานกุ าร
ค. มีความรคู้ วามเชีย่ วชาญดา้ นการบริหาร
ง. มีบุคลกิ ลกั ษณะทด่ี ี

7. ข้อใด ไมใ่ ช่ คุณสมบัติของเลขานุการท่ีดี
ก. ปรบั ปรงุ งานในหน้าท่ีให้ดขี ้นึ อยเู่ สมอ
ข. ปฏิบัตงิ านตามคำสัง่ อยา่ งเคร่งครดั
ค. คิดลว่ งหน้าในสงิ่ ที่ยังไม่เกิดขึ้น
ง. อดทน มีจติ ใจหนกั แนน่

8. สมรรถนะของเลขานุการท่ีตรงกบั ความต้องการของนายจา้ งในยุคปจั จบุ นั ยกเว้น ขอ้ ใด
ก. เป็นตวั แทนผู้บรหิ าร ในการพูดเพ่อื นำเสนองานและพดู ในท่ีสาธารณะได้
ข. มคี วามสามารถใชเ้ ทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการทำงาน
ค. มคี วามสามารถในการบรหิ ารเวลา
ง. เชี่ยวชาญการออกงานสังคม

9. บุคคลในข้อใดต่อไปน้ี ไมใ่ ช่ สมรรถนะของเลขานุการทนี่ ายจ้างตอ้ งการ
ก. สรุ รี ัตน์ สามารถทำงานแทนผบู้ งั คับบญั ชาและให้คำแนะนำผ้บู งั คับบญั ชาได้ในบางโอกาส
ข. สรุ ียพ์ ร เป็นคนทีส่ ามารถจดั สถานทที่ ำงานได้สวยงาม
ค. สุรียฉ์ าย เป็นคนทม่ี ีเชาว์อารมณ์ที่ดีในการทำงาน
ง. สภุ าพร เปน็ คนมีบคุ ลกิ ภาพท่ีดี น่าเช่อื ถือ

10. การทำงานรว่ มกับผ้บู งั คับบัญชา เลขานกุ ารควรปฏิบตั ิตนตามขอ้ ใดมากท่สี ุด
ก. กลา่ วยกย่องชมเชยการทำงานของผูบ้ งั คบั บัญชา
ข. วางตัวให้สอดคล้องกับผบู้ ังคับบญั ชา
ค. ยม้ิ แยม้ แจ่มใส มีมนุษยสมั พันธท์ ดี่ ี
ง. เรยี นรู้อปุ นิสยั ของผ้บู งั คบั บญั ชา

11. ข้อใด ไม่ใช่ การปฏิบตั ิงานในแตล่ ะวนั ของเลขานุการ
ก. ดแู ลความสะอาดโต๊ะทำงานของตนและเพ่ือนรว่ มงานให้พร้อมทำงานอยเู่ สมอ
ข. ดแู ลหนงั สือเขา้ ออก ลงเลขรับ จัดลำดบั ความสำคัญและความเร่งดว่ น
ค. จดั เตรียมอปุ กรณ์การทำงานให้พร้อมใชง้ านอยเู่ สมอ
ง. ตรวจสอบดตู ารางนดั หมายของผบู้ ังคับบัญชา

วิชา การเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร รหสั วิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร 31

12. ในการปฏิบตั งิ านแต่ละวัน เลขานุการควรปฏบิ ัติข้อใดเป็นลำดับแรก
ก. ทำความสะอาด ดูแลโตะ๊ ทำงานและจัดเตรียมอุปกรณข์ องผูบ้ งั คบั บญั ชาให้พร้อม
ปฏิบตั งิ าน
ข. พิมพห์ นงั สอื โต้ตอบท่คี ั่งค้างอย่ใู หเ้ สรจ็ กอ่ นแล้วค่อยทำอยา่ งอื่น
ค. มาถงึ ท่ีทำงานก่อนเวลาประมาณ 10 - 15 นาที
ง. เปิดเคร่อื งสำนักงานทกุ ชนิดใหพ้ รอ้ มใชง้ าน

13. การปฏบิ ตั งิ านของเลขานุการ ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
ก. การบันทึกการสั่งงานของผบู้ ังคบั บญั ชา ควรใช้เครื่องบันทึกเสียง ควบคกู่ บั การจดบันทึก
ข. ดแู ลโตะ๊ ทำงานของตนเองให้ดกี อ่ นแลว้ ค่อยดูแลโต๊ะทำงานของผบู้ ังคบั บัญชา
ค. ควรทำงานที่คง่ั ค้างก่อนแล้วค่อยทำงานเร่งด่วน
ง. จดั เก็บเอกสารเข้าแฟ้มสัปดาห์ละครัง้

14. ขอ้ ใด ไมใ่ ช่ วิธกี ารเพื่อการพัฒนาปรบั ปรุงงานของเลขานุการ
ก. ตะวันฉาย พดู คยุ กับเลขานกุ ารบริหารเพอ่ื รบั ฟงั ประสบการณ์ในการทำงาน
ข. ดวงดาว พยายามเรียนรลู้ กั ษณะนิสยั การทำงานของผู้บงั คับบญั ชา
ค. ดวงจนั ทร์ อ่านขา่ วธรุ กิจจากอนิ เทอรเ์ นต็ เปน็ ประจำทกุ วนั
ง. เดือนดารา พดู คยุ เพ่ือตามข่าวของเพอ่ื น ๆ ในสำนักงาน

15. การปฏิบตั งิ านของเลขานุการ ต้องยึดหลักจรรยาบรรณขอ้ ใดมากที่สุด
ก. รักความก้าวหนา้ มงุ่ ม่ัน ไขวค่ วา้ งานที่สงู กวา่ อาชีพเลขานุการ
ข. รกั ษาความลับของงานในหนา้ ทอี่ ยา่ งเขม้ งวด
ค. ประกอบอาชีพดว้ ยความเมตตา กรณุ า
ง. ยึดหลักความยุติธรรม

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสูอ่ าชพี เลขานกุ าร รหสั วิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร 32

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรยี น

หนว่ ยท่ี 1 ความรพู้ ้ืนฐานเพ่ือการเตรียมความพร้อมสอู่ าชีพเลขานกุ าร

คำชแ้ี จง แบบทดสอบหลังเรียน มีจำนวน 15 ข้อ (คะแนนเต็ม 15 คะแนน) นักเรียนต้องทำ
แบบทดสอบไดถ้ ูกต้อง จำนวน 12 ขอ้ ขึน้ ไป จงึ ถอื วา่ ผา่ นเกณฑ์ คิดเปน็ รอ้ ยละ 80

จำนวน 15 ขอ้

1. ข
2. ข
3. ก
4. ง
5. ก
6. ค
7. ค
8. ง
9. ข
10. ง
11. ก
12. ค
13. ก
14. ง
15. ข

วิชา การเตรียมความพร้อมสูอ่ าชพี เลขานุการ รหสั วิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานุการ 33

วิชา การเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร รหัสวิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสูอ่ าชพี เลขานุการ 34

รูปนกั เรียน นกั ศกึ ษา
แผนกวิชาเลขานุการ วิทยาลยั เทคนิคบุรีรมั ย์

ทม่ี า : นางนิภาภัทร์ แต่เช้ือสาย

หน่วยที่ 1

ความรู้พ้ืนฐานในการเตรยี มความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร

ไม่ว่าจะเป็นการประกอบอาชีพใดก็แล้วแต่ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆ จะต้อง
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของอาชีพที่ตนปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่การเข้าใจเกี่ยวกับความ
สำคัญ บทบาท และงานในหน้าที่ที่ตนต้องปฏิบัติเป็นอย่างดีเสียก่อน จึงจะสามารถปฏิบัติงาน
ในหน้าที่เลขานุการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการมีคุณสมบัติและสมรรถนะของเลขานุการท่ี
นายจา้ งต้องการ สามารถปรบั ตัวเขา้ กบั บุคคลในระดบั ตา่ ง ๆ ไดอ้ ย่างเหมาะสม นอกจากนี้เลขานกุ าร
ยังต้องเรียนรูก้ ารพฒั นาปรับปรุงงานในอาชีพของตนให้มีประสทิ ธิภาพ สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ
สังคมและเทคโนโลยีทเ่ี ปลีย่ นแปลงไปอยา่ งรวดเรว็

1. ความหมายของเลขานกุ าร

สำหรับความหมายของเลขานุการ หากพิจารณาคำจำกัดความจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ
ทีผ่ เู้ ชี่ยวชาญและผู้รหู้ ลายท่านไดใ้ ห้คำจำกัดความเกีย่ วกับเลขานุการไว้ อาทเิ ชน่

วิชา การเตรียมความพร้อมสูอ่ าชพี เลขานุการ รหัสวิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร 35

พจนานกุ รมฉบับราชบัณฑติ ยสถาน พ.ศ. 2542 (2546 : 1030) ให้ความหมายว่า “เลขานุการ”
คอื ผูม้ หี นา้ ท่ีเกี่ยวขอ้ งกับหนงั สอื หรอื อืน่ ๆ ตามที่ผู้บังคบั บญั ชาสัง่

วลัย สุพัฒน์ธี. การเลขานุการ. 2525, หน้า 1 ได้ให้ความหมายว่า “เลขานุการ” คือ
ผูแ้ บง่ เบาภาระของผ้บู ริหารที่สำคัญ ชว่ ยผูบ้ ริหารปฏบิ ตั ิงานตา่ ง ๆ ตามทีผ่ ู้บริหารมอบหมาย เพ่ือให้
ผู้บริหารมีเวลาทำงานด้านบริหารได้อย่างเต็มที่ เช่น ร่างโครงการ วางแผนงานกิจกรรม หรือ
ตรวจสอบโครงการตา่ ง ๆ เป็นต้น

ภรณี วินิจฉัยกุล. บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของเลขานุการ. 2537. หน้า 1 กล่าวว่า
“เลขานุการ” คือ ผู้ช่วยที่สำคัญที่จะช่วยประสานงานทั้งภายในและภายนอกบริษัท ให้งานดำเนินไป
โดยรวดเร็วและประสบผลดี เป็นผู้สร้างสัมพันธภาพอันดีภายในบริษัทและเป็นสื่อกลางระหว่างบริษัท
และผู้มาติดต่อ เป็นภาพลักษณ์ของผู้บริหารและบริษัท ช่วยรับเรื่องต่าง ๆ ที่จะเข้าไปถึงผู้บริหาร
ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแทน และรับผิดชอบในหลาย ๆ เรื่อง พร้อมทั้งให้ข้อมูลและคำปรึกษาแก่
ผูบ้ ริหาร

มาตรฐานอาชีพของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานให้คำนยิ ามของอาชีพเลขานุการไว้ว่า
เป็นผู้ทีท่ ำหน้าที่อำนวยความสะดวกใหแ้ ก่ผู้บริหารขององค์กรในการบริหารจัดการงานขององคก์ รให้
บรรลุผลสำเร็จตามนโยบายและเป้าหมายขององค์กร ตลอดจนช่วยแก้ไขปัญหาและอุปสรรค์ในการ
บรหิ ารจดั การใหเ้ ปน็ ไปด้วยความราบรน่ื และรวดเรว็

จากคำจำกัดความดังกล่าว สรุปได้ว่า “เลขานุการ” เป็นผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบขึ้นตรงต่อ
ผู้บริหาร ผู้บริหารให้ความสำคัญและไว้วางใจให้ช่วยแบ่งเบาภาระงานต่าง ๆ สามารถประสานงาน
และอำนวยความสะดวกบรหิ ารจัดการใหง้ านของผู้บริหารและองค์กรประสบผลสำเรจ็ โดยราบรนื่

ดงั นน้ั จากความหมายดงั กล่าวข้างต้น จะเห็นได้วา่ เลขานุการ เปน็ บุคคลที่มคี วามสำคัญ ต่อ
ความสำเรจ็ ของผ้บู ริหารและองค์กร เพราะผบู้ รหิ ารมอบความไว้วางใจให้เลขานกุ ารปฏิบัติงานสำคัญ
ไดโ้ ดยไมต่ ้องมกี ารควบคุม มคี วามเชอ่ื มั่นวา่ เลขานุการสามารถท่ีจะพิจารณาตัดสนิ ใจภายในขอบเขต
งานของตนได้ อีกทั้งยังช่วยประสานงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้งานประสบผลสำเร็จ และ
เป็นตวั แทนในการสร้างภาพลักษณ์ท่ีดใี หแ้ ก่ผบู้ ริหารและองคก์ ร จึงเปน็ ท่ียอมรับกนั ว่าเลขานุการเป็น
ตัวจักรสำคญั ที่จะทำให้งานของหน่วยงานหรอื องค์กรนัน้ ๆ ดำเนินไปไดอ้ ย่างราบร่ืน และสัมฤทธผ์ิ ล

2. บทบาทและหน้าท่เี ลขานกุ าร

เลขานุการมีบทบาทที่มากมายและกว้างขวาง ซ่ึงในการปฏิบัติงานจริงแล้ว ไม่เพียง
เฉพาะงานท่ีได้รับมอบหมายจากผู้บริหารเท่านั้น เลขานุการยังเป็นทั้งผู้ช่วยงานและเป็นเพื่อนคู่คิด
ของผู้บริหารเลยทีเดียว ดังที่ผู้บริหารหลายท่านได้ยกย่องให้เลขานุการเป็น “มือขวาคนสำคัญ”
เพราะมอบหมายงานจบที่เลขานุการเพียงคนเดียว ก็สามารถปฏิบัติตามที่ได้รับมอบหมายแบบ

วิชา การเตรียมความพร้อมสูอ่ าชพี เลขานุการ รหสั วิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร 36

เบ็ดเสร็จ โดยเลขานุการจะทำหน้าที่ในการประสานงานทุกฝ่ายให้ปฏิบัติงานจนเกิดผลสำเร็จโดย
ราบรน่ื สำหรบั บทบาทหน้าทขี่ องเลขานุการจะมากหรอื น้อยข้นึ อยกู่ บั

➢ นโยบายของหน่วยงาน
➢ ขนาดและลักษณะของหน่วยงาน
➢ ฐานะหรอื ตำแหน่งของผ้บู ริหาร
➢ ความไวว้ างใจของผบู้ รหิ าร
➢ ความร้คู วามสามารถของเลขานกุ าร

อษุ ณยี ์ ตลุ าบดี (2545 : 14) ไดก้ ลา่ วว่า เลขานกุ ารมีบทบาททส่ี ำคัญ สรปุ ไดด้ ังน้ี
2.1 เป็นผู้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า (Problem Solver) เลขานุการต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ในการดำเนินงานต่าง ๆ โดยไม่ต้องสอบถามความคิดเห็นจากผู้บังคับบัญชาทุกครั้ง (ยกเว้นกรณี
ที่สำคัญ ๆ) เช่น การปฏิเสธเมื่อมีผู้ขอเข้าพบผู้บังคับบัญชาในขณะที่ผู้บังคับบัญชาไม่พึงประสงค์
หรือการตัดสินใจในการดำเนินการบางอย่างแทนผู้บังคับบัญชา เป็นต้น เลขานุการจึงต้องเป็นผู้ที่มี
ไหวพริบในการตัดสินใจกับเหตุการณ์หรือปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที และมีความ
เหมาะสม
2.2 เป็นกองหนุนที่พร้อมรบ (Prompt Supporter) เลขานุการต้องมีความพร้อมในทุก ๆ

ดา้ นเสมอ ไม่ว่าจะเปน็ ดา้ นเอกสาร ขอ้ มลู วัสดุ อุปกรณ์ เครือ่ งมือเครอื่ งใช้ และสามารถให้ข้อมูลหรือ

จัดหาสิง่ ตา่ ง ๆ ได้อยา่ งทนั ทีและทนั เวลาเมอื่ ผู้บงั คบั บญั ชาต้องการ

2.3 เป็นกระจกส่องความพร้อม (Ready Mirror) ในที่นี้หมายถึงผู้เป็นเลขานุการต้องเปน็
กระจกหรือเป็นเงาให้ผู้บังคับบัญชา เพื่อแสดงถึงความพร้อมในทุก ๆ ด้านในการทำงาน เช่น ความ
พร้อมดา้ นขอ้ มูลในการเจรจาธรุ กิจ เป็นตน้

2.4 เปน็ ภาพสะท้อนขององค์กร (Reputation Reflection) การปฏบิ ัตงิ านในหน้าที่ของ
เลขานุการ เช่น การต้อนรับผู้มาติดต่อ การรับ - ต่อโทรศัพท์ คุณภาพของงานเอกสาร การดูแลงาน
ของผู้บังคับบัญชา การประสานงาน การเจรจาธุรกิจ รวมถึงบุคลิกลักษณะของเลขานุการ สามารถ
สะท้อนภาพลักษณ์ของผู้บังคับบัญชาและองค์กรได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ติดต่อกับองค์กรเกิด
ความประทับใจและสง่ ต่อความประทับใจไปสู่องค์กรอื่น ๆ

2.5 เป็นผู้ขานรับนโยบาย (Policy Executives) เลขานุการต้องเป็นผู้รับนโยบายของ
ผู้บังคับบัญชามาดำเนินการ เพื่อให้นโยบายของผู้บังคับบัญชาบรรลุวัตถุประสงค์ ในการดำเนินการ
บางอย่างเลขานกุ ารสามารถทำไดด้ ว้ ยตนเอง และในบางกรณีต้องอาศัยความรว่ มมือจากบคุ คลอื่น ๆ
ซึ่งเลขานุการต้องใช้ความสามารถ และทักษะในด้านต่าง ๆ เช่น มนุษยสัมพันธ์ ศิลปะในการพูด
การประสานงาน เป็นตน้ หากเลขานุการเห็นวา่ งานหรือนโยบายท่ีได้รับนั้นอาจก่อใหเ้ กิดความเสียหาย
ในวันข้างหนา้ กค็ วรใชศ้ ิลปะในการพดู ทักท้วงได้ ไม่ควรโต้เถียงต่อหนา้ บคุ คลอ่นื

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสอู่ าชพี เลขานกุ าร รหัสวิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานุการ 37

2.6 เป็นผู้ประสานงานกลาง (Central Coordinator) เลขานุการจะเป็นตัวกลางในการ
ประสานงาน สื่อสารข้อมลู ระหว่างบุคคลในองค์กรและภายนอกองค์กร เพ่ือให้งานของผู้บังคับบัญชา
บรรลวุ ัตถปุ ระสงค์ด้วยความราบรน่ื และกอ่ ให้เกิดความเขา้ ใจทต่ี รงกันทั้งภายในและภายนอกองค์กร

2.7 เป็นนักบริหารสำนักงาน (Office Administrator) เลขานุการจะต้องเป็นผู้นำในการ
บริหารงานต่าง ๆ ในสำนักงาน เป็นศูนย์รวมขององค์กร และเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการทำงาน
เพื่อให้เกดิ ความมปี ระสทิ ธิภาพ ทันสมัย รวดเรว็ ตลอดเวลา

2.8 เป็นคลังสมองที่มีประสิทธิภาพ (Effective Memory Storage) เลขานุการต้องเป็น
ผู้ที่มีความจำดี รู้จักวิธีจัดเก็บข้อมูลและสามารถค้นหาได้ทันที สามารถให้ข้อมูลหรือตอบคำถาม
ผบู้ ังคบั บญั ชาได้เมอ่ื มคี วามตอ้ งการ

2.9 เป็นมือที่เชื่อถือได้ (Reliable Hands) เลขานุการจะเป็นผู้ที่ผู้บังคับบัญชาให้ความ
ไว้วางใจมอบหมายงานใหด้ ำเนนิ การ และมีความมนั่ ใจถงึ ประสิทธิภาพและประสิทธผิ ลของผลงาน

จากการสรุปบทบาทของเลขานุการ ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเลขานุการเป็นบุคคลที่มี
ความสามารถรอบด้าน และมคี วามตน่ื ตัวพร้อมที่จะปฏิบัติงานเพ่ือสนับสนุนส่งเสริมงานของผู้บริหาร
และองคก์ รประสบผลสำเร็จอยา่ งมีประสิทธภิ าพ

3. งานในหน้าท่ขี องเลขานุการ

งานในหน้าที่ของเลขานุการ จะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวไป
แล้วข้างต้น ซึ่งไม่อาจจะระบุแน่นอนตายตัวได้ว่าต้องมีหน้าที่อะไรบ้าง อีกทั้งงานของเลขานุการ
จำเป็นต้องปรับตามลักษณะของโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย แต่โดยทั่วไปขอบข่ายงานในหน้าท่ี
ของเลขานกุ ารมี 4 งานทสี่ ำคญั พอสรปุ ไดด้ งั ต่อไปน้ี

3.1 งานประจำ (Routine Operation)
➢ รับคำสั่งงานของผู้บงั คับบัญชา โดยการจดบันทึก หรอื ใชเ้ ครื่องบันทึกเทปแล้วนำมา

ดำเนินการถอดขอ้ ความ สรุปลำดับความสำคัญในการปฏิบตั ิงาน
➢ ดูแลรับผิดชอบจดหมายเข้าออก โดยรับและจำแนก จัดลำดับ ประเภทของหนังสือ

ที่ส่งมาจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งทางไปรษณีย์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต แล้วกลั่นกรองหนังสือ โดยบันทึก
ความเหน็ ข้ันต้นเสนอ เพอื่ ให้ผ้บู งั คบั บัญชาสัง่ การ กอ่ นจัดสง่ ไปยังผทู้ ่ีเกีย่ วข้องในฝา่ ยตา่ ง ๆ

➢ ร่าง พิมพ์หนังสือโต้ตอบ หรือพิมพ์งานเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในหน้าท่ี และควร
ตรวจสอบความถูกต้องของงานก่อน นำเสนอผู้บังคับบัญชาตามขั้นตอน แล้วจัดส่งหนังสือออกทาง
ไปรษณยี ์ โทรสาร หรอื ทางอินเตอร์เน็ตแลว้ แต่ความเหมาะสม

➢ แยกประเภทเอกสาร แล้วจัดเก็บเอกสารด้วยระบบแฟ้ม หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์
ใหเ้ ป็นหมวดหมู่ เป็นระเบยี บเรยี บรอ้ ย ถูกต้องตามหลกั การจัดเก็บเอกสาร เพอื่ ใหง้ ่ายตอ่ การค้นหา

➢ โทรศพั ท์ติดต่องาน รบั โทรศพั ท์ โอนสาย และต่อสายให้ผูบ้ งั คบั บัญชา

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสอู่ าชพี เลขานกุ าร รหสั วิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร 38

➢ รวบรวมข้อมูล บันทึกสถิติ เขียนสรุปรายงาน เสนอเพื่อเป็นข้อมูลการตดั สินใจของ
ผ้บู งั คบั บัญชา

➢ จัดทำแผนงานประจำวันของผู้บงั คับบัญชา รายงานให้ทราบ และคอยเตือนเมื่อใกล้
กำหนดตามแผนงานน้นั ๆ

➢ เตรียมการประชมุ ดูแลก่อนประชุม ขณะประชุมและหลงั ประชมุ
➢ ออกแบบและจดั ทำแบบฟอรม์ งานต่าง ๆ ทจ่ี ำเป็นตอ้ งใชใ้ นสำนกั งาน
➢ งานอน่ื ๆ จะแตกต่างกันไปตามประเภทของเลขานุการ
3.2 งานอำนวยความสะดวก (Personal Convenience)
➢ บันทึกข้อมูลรายละเอียดส่วนตัว เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บังคับบัญชาสนใจเป็นพิเศษ เรียนรู้
นสิ ัย รู้ใจผ้บู งั คบั บัญชาเพ่อื อำนวยความสะดวก
➢ ต้อนรับผู้มาตดิ ตอ่ กับผบู้ งั คบั บัญชา กลัน่ กรองแขกท่มี าพบ
➢ คอยเป็นกันชน หรอื แก้ไขปญั หากรณีผบู้ งั คับบญั ชามขี ้อขัดแยง้
➢ จดั การเกีย่ วกบั การนัดหมาย เตรยี มข้อมูล แจง้ เตือนวนั เวลา สถานท่ี
➢ เตรียมการเดินทางให้ผู้บังคับบัญชา เช่น จองตั๋วเดินทาง เลือกเส้นทาง ติดต่อ
ยานพาหนะ จองที่พัก เอกสารเกี่ยวกับการเดินทาง จัดทำกำหนดการเดินทางโดยขอความคิดเห็น
ในการจัดด้วย
➢ จดั เตรียมข้อมลู คำปราศรัย หรอื คำบรรยายให้ผบู้ งั คับบญั ชา
➢ ประสานงานระหวา่ งผบู้ ริหารและฝ่ายตา่ ง ๆ
➢ เสนอความคิดเหน็ เรื่องเกี่ยวกับงานเมื่อผบู้ งั คับบัญชาขอความคดิ เหน็
➢ ดูแลความเรียบร้อยของสำนักงาน ออกแบบ ตกแต่งให้น่าอยู่น่าทำงาน สะอาดเป็น
ระเบียบเรียบร้อย
➢ ดูแลรักษาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงานให้มีความเพียงพอ จัดการให้มีการใช้ให้
เกดิ ประโยชนอ์ ยา่ งคมุ้ คา่ และอยูใ่ นสภาพพร้อมใช้งานได้ตลอด
➢ ดูแลความเรยี บร้อย และปฏิบัติงานระหว่างผบู้ ังคับบัญชาไม่อยู่อยา่ งเต็มความสามารถ
➢ คอยประสานงาน ตดิ ตามเรือ่ งต่าง ๆ ทผี่ ู้บังคบั บญั ชาทำอยู่หรือเก่ียวข้องอยู่รายงาน
ให้ทราบหรือเตอื นผูบ้ ังคับบัญชากนั ลืม

➢ อื่น ๆ ท่เี ห็นสมควร
3.3 งานสว่ นตัวของบงั คับบญั ชา (Private Liaison)

➢ เตือนความจำ เนื่องในโอกาสต่าง ๆ เช่น งานเลี้ยง งานสังคม งานการกุศล ฯลฯ
พร้อมจัดเตรยี มของขวัญหรือของทีร่ ะลึกหากจำเป็นต้องนำไปในงานด้วย

➢ ปฏิบัติตามงานท่ีผู้บังคับบัญชาร้องขอ เช่น ติดต่อธนาคาร ติดต่อบริษัทประกัน
ชำระภาษี ฯลฯ

วิชา การเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร รหัสวิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร 39

➢ ดูแลจัดการเก่ยี วกับการเงินตามที่ผู้บังคับบญั ชามอบหมาย ดูแลการใช้จ่ายให้เป็นไป
ตามทีไ่ ด้รบั อนมุ ัติ บันทึกบัญชีและรายงานให้ทราบ

➢ เตรียมสิ่งของเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานสำหรับผู้บังคับบัญชาให้พร้อม ดูแลความ
เรยี บร้อยบนโตะ๊ ทำงานของผูบ้ งั คับบัญชา

➢ ดแู ลทุกขส์ ุขของผบู้ ังคับบญั ชาตามสมควร
3.4 งานสร้างภาพพจน์ (Image Construction)

งานสร้างภาพพจน์ ของเลขานกุ ารแบง่ ออกเป็น 3 ส่วน คอื
3.4.1 สรา้ งภาพพจนใ์ หแ้ ก่องค์กร

➢ การตอ้ นรบั สร้างความประทบั ใจใหก้ ับผูม้ าติดต่อ
➢ การใหข้ อ้ มลู ข่าวสาร ที่ชดั เจน ถกู ต้องและครบถว้ น
➢ การรับโทรศัพท์ อย่างมปี ระสิทธิภาพ
➢ พฤติกรรมท่ีดี และเหมาะสมของเลขานุการ
3.4.2 สรา้ งภาพพจนท์ ดี่ ีให้บงั คบั บญั ชา
➢ ไมพ่ ดู ถงึ ผู้บงั คบั บัญชาในแงล่ บ
➢ ความสะอาด ความถกู ต้อง ความตรงต่อเวลา
➢ การปฏบิ ตั ติ อ่ ผูม้ าตดิ ต่อกับผู้บังคบั บัญชา
➢ การไม่ละเมิดกฎระเบียบท่ีผู้บังคับบัญชากำหนดขน้ึ
➢ ทนั ต่อเหตุการณม์ ขี ้อมลู ทจ่ี ำเปน็ ตดิ ตามขา่ วสารเก่ยี วกับผู้บงั คับบญั ชาเสมอ
➢ เต็มใจในการรกั ษาภาพพจนท์ ่ีดขี องบังคบั บญั ชา
3.4.3 สรา้ งภาพพจน์ใหแ้ ก่ตนเอง
➢ มีความรับผิดชอบต่อหนา้ ท่ี
➢ ศึกษาคน้ ควา้ นำความรมู้ าพัฒนาปรบั ปรุงงานให้มีประสทิ ธภิ าพมากขนึ้
➢ มมี นุษยสัมพนั ธท์ ่ีดี มารยาทดี ดูแลสุขภาพ และฝึกตนให้มจี ิตใจดี
➢ อทุ ิศตน อย่างเต็มกำลงั ความสามารถ เพื่อทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย
➢ ยนิ ดีที่จะทำงานนอกเหนือหน้าท่ี
➢ ศึกษาวธิ กี ารทำงานของผู้บงั คับบญั ชา
➢ พัฒนาปรับปรงุ บุคลิกภาพให้ดดู ี วางตวั ถูกกาลเทศะ
➢ วางตนให้เหมาะสม ไม่แสดงอำนาจเกินขอบเขตของตนเอง

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสู่อาชพี เลขานุการ รหสั วิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานุการ 40

4. คุณสมบตั ทิ ี่เหมาะสมของเลขานุการ

คณุ ลักษณะเดน่ ของเลขานุการ คอื การเป็นผู้ช่วยนักบรหิ าร เลขานุการเปรยี บเสมือนมือขวา
ของเจ้านาย ดังนั้นการเป็นเลขาฯ ที่ดีที่เจ้านายเชื่อถือ ไว้วางใจ จึงต้องมีความชำนาญ และรอบรู้
ในสายงาน ต้องเป็นคนรอบคอบ ไตร่ตรองได้ถูกต้องในการตัดสินใจก่อนที่งานจะส่งถึงมือผู้บริหาร
และที่สำคญั จะต้องรจู้ ักสไตล์การทำงานของเจ้านายเป็นอย่างดี ชนดิ ที่เรยี กวา่ “มองตาก็รู้ใจ” ดังน้ัน
คุณสมบตั ิที่เหมาะสมของเลขานกุ าร มีดงั ต่อไปน้ี

4.1 มคี ณุ วฒุ ิทางการศกึ ษาและมีความรู้ทเ่ี หมาะสม
เลขานุการ ควรมีวุฒิทางการศึกษาอย่างน้อยระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพทางเลขานุการ

จนถึงระดับปริญญาตรี หรือปรญิ ญาโท ขนึ้ อยกู่ ับลกั ษณะงานขององค์กร ขนาดขององคก์ ร และระดับ
ของผู้บังคับบัญชา ควรใช้ภาษาได้มากกว่าหนึ่งภาษา คือภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ เช่น
อังกฤษ ญี่ปุ่น หรือจีน ขึ้นอยู่กับลักษณะของการประกอบธุรกิจขององค์กรนั้น มีความรู้ทั่วไปในด้าน
ต่าง ๆ เช่น ความรู้ด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย ศิลปะ เป็นต้น นอกจากนั้น เลขานุการ
ควรมคี วามรู้ในงานขององคก์ รทีท่ ำงานอยู่ และขวนขวายเพิ่มพนู ความรแู้ ละวิทยาการใหม่ ๆ อยเู่ สมอ

4.2 มคี วามรู้และทกั ษะเกยี่ วกับงานในหนา้ ที่ความรับผิดชอบของงานเลขาฯ

มีความรอบรู้ มีความสามารถ และทักษะความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของ
เลขานุการ ได้แก่ งานจดและแปลชวเลข บันทึกและถอดข้อความ การร่างโต้ตอบจดหมาย งานพิมพ์
เอกสาร ดูแลรับผิดชอบจัดแฟ้มเอกสาร จัดการประชุม เตรียมเอกสารในการประชุม จดบันทึกและ
จัดทำรายงานการประชุม จัดการนัดหมาย และจัดตารางการนัดหมายให้ผู้บังคับบัญชา เตือนการ
นัดหมาย ต้อนรับผู้มาติดต่อ สามารถทำการประชาสัมพันธ์ เพื่อประโยชน์ของผู้บังคับบัญชาและ
องคก์ ร มีทักษะในการใช้อุปกรณส์ ำนกั งาน และสามารถนำเทคโนโลยีท่จี ำเปน็ มาใชใ้ นการปฏิบัติงาน
สามารถให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้บังคับบัญชา ตลอดจนแก้ไขปัญหาและอุปสรรคซึ่งอาจเกิดขึ้นจาก
งานที่รับผิดชอบได้

4.3 มีพ้ืนฐานความรู้ท่ัวไป ท่เี กี่ยวข้องกับงานบริหาร
ในบางคร้ัง เลขานุการอาจมีความจำเปน็ ต้องปฏบิ ัตหิ น้าทแ่ี ทนผู้บริหาร อีกทั้งยังต้องให้

คำปรึกษา เป็นเพื่อนคู่คิดที่ดี ตลอดจนนำความรู้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดข้ึน
ดังนั้น เลขานุการจึงมีความจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานแทน
หรอื อำนวยความสะดวกแก่ผู้บรหิ าร ดังน้ี

4.3.1 ความร้เู ก่ียวกับหลักการใช้ภาษา ทงั้ ภาษาไทย และภาษาตา่ งประเทศท่ีเก่ียวข้อง
กับงานของผู้บังคับบัญชาหรือองค์กร จะต้องใช้ให้ถูกต้องทั้งการออกเสียง การเขียน การสะกดคำ
หากไม่แน่ใจต้องเปิดพจนานุกรมหรือสอบถามจากผู้รู้ มิเช่นนั้นอาจเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของ
ตนเองและผูท้ ่ีเก่ียวข้องได้

วิชา การเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร รหสั วิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร 41

4.3.2 ความรู้เกี่ยวกับมารยาทและการสมาคม ตลอดจนต้องมีหลักจิตวิทยาและศิลปะ
ในการพูด เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ และการประสานงานกิจกรรมต่าง ๆ
“มีความเปน็ มืออาชีพ” ท้ังบคุ ลกิ ภายนอกและความคิดความอ่าน เลขาฯ ที่ดจี ำเป็นต้องแต่งกายให้ดูดี
เปน็ หนา้ เป็นตาใหก้ ับเจ้านายและบรษิ ทั รจู้ ักความเหมาะสมวา่ เม่ือไรควรพูด และเม่อื ไรไม่ควรพดู

4.3.3 ความรู้ด้านกฎหมาย โดยเฉพาะเกี่ยวกับลักษณะการดำเนินงานของผู้บังคับบัญชา
หรือองค์กรนั้น ๆ

4.3.4 ความรอบรู้เกย่ี วกบั องค์กรต่าง ๆ ทเ่ี ลขานุการตอ้ งติดต่อทำธรุ กรรมตา่ ง ๆ ให้กับ
ผูบ้ งั คบั บัญชาหรือองค์กร เชน่ การธนาคาร การประกนั ภัย การขนส่ง การออกใบอนญุ าตต่าง ๆ การ
เสยี ค่าธรรมเนียม การเสยี ภาษี เปน็ ตน้

4.4 มีอุปนสิ ัยและกจิ นสิ ัยในการทำงานทด่ี ี
สิ่งที่เลขานุการต้องพึงตระหนักและให้ความ สำคัญในการฝกึ ฝนตนเองนั่นคือ การฝึกให้

ตนเองมีอุปนิสัยและกิจนิสัยที่ดีในการทำงาน ได้แก่ ความละเอียดรอบคอบ แม่นยำ ตรงต่อเวลา
มีความรบั ผิดชอบ กระตอื รือรน้ มจี ติ ใจท่ีหนักแนน่ ใจเยน็ และรจู้ ักควบคุมอารมณ์ มีความขยัน อดทน
พรอ้ มอุทิศเวลาให้แก่งาน มคี วามซื่อสัตย์ เกบ็ ความลับได้ดี ปฏบิ ัติตามกฎระเบยี บขององค์กร มีทัศนคติ
ทด่ี ตี อ่ ผบู้ งั คบั บญั ชาและเพ่ือนรว่ มงาน ช่วยเหลือและใหค้ วามรว่ มมือกบั ผู้ร่วมงานทกุ คน

4.5 มบี คุ ลกิ ลักษณะท่ดี ี
บทบาทและงานในหน้าทข่ี องเลขานุการ ท่สี ำคญั ประการหนึ่งคือ การสรา้ งภาพลักษณ์

ทด่ี ีให้กบั ผบู้ ังคบั บญั ชาและองค์กร สร้างความประทับใจใหก้ ับผ้มู าติดต่อ เปน็ ที่ยอมรบั นา่ เชอ่ื ถือ และ
ไว้วางใจ ดังนั้น เลขานุการจำเป็นต้องมีบุคลิกลักษณะที่ดี ได้แก่ มีบุคลิกลักษณะที่ปราดเปรียว
คล่องแคลว่ ว่องไว กระฉบั กระเฉง การแตง่ กายดดู ี สะอาด และเหมาะสมกบั บุคลกิ ของตนเอง ยิ้มแย้ม
แจม่ ใส สขุ ภาพดี มีท่วงทีกริ ยิ าและการวางตนท่สี งา่ งาม น้ำเสียงและคำพดู ชดั เจน นุ่มนวลน่าฟงั

ใครทส่ี ำรวจตัวเองแลว้ พบวา่ มคี ณุ สมบตั ิดงั กล่าวมานี้อัดแนน่ อยู่เต็มศักยภาพ ก็จะเป็น
เลขานุการมืออาชีพได้ไม่ยาก แต่หากใครที่ยังมองตาและไม่รู้ใจเจ้านาย ขอให้หมั่นฝึกฝนคุณสมบัติ

ต่อไปนดี้ ้วยความอดทน เพอ่ื สักวนั จะเป็นเลขาฯ ทเี่ จ้านาย...ขาดไมไ่ ด้
คุณสมบัติของเลขานุการจากที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรปุ เป็นคุณสมบัติของเลขานุการท่ีดี

ในทัศนะของผู้บรหิ าร ได้ดังนี้

➢ เชี่ยวชาญงานหลัก รู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบ มีความสามารถงานพื้นฐานทั่วไป

ท่จี ำเปน็ สำหรบั เลขานกุ าร เช่น พิมพด์ ีด การจดบนั ทึก การรา่ งเอกสาร เทคนคิ การใช้โทรศพั ท์ ทักษะ

คอมพวิ เตอร์ ฯลฯ

➢ รูจ้ ักกล่นั กรอง เรือ่ งตา่ ง ๆ เพือ่ ช่วยใหผ้ บู้ ริหารตัดสินใจไดง้ ่ายขน้ึ

➢ ตอบสนองฉับไว เวลาส่ังงานใด ๆ แล้วเลขาฯ ควรสามารถดำเนินการทันที

วิชา การเตรียมความพรอ้ มส่อู าชพี เลขานกุ าร รหสั วิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมส่อู าชพี เลขานกุ าร 42

➢ รู้ใจนายเสมอ เป็นเลขาฯ ต้องรใู้ จผ้บู ริหาร เพราะจะไดท้ ำงานให้ถกู ใจ เชน่ ผ้บู รหิ าร
ทเ่ี ปน็ คนเจ้าระเบยี บ ก็ตอ้ งทำงานให้เรยี บร้อย พมิ พ์งานกต็ อ้ งใหเ้ รยี บร้อย สะอาด และถกู ต้อง ฯลฯ

➢ เสนองานเป็นลำดับ เลขานุการ ที่ดีควรจะสามารถจัดลำดับความสำคัญของงาน
ให้ผบู้ ริหารได้ เพ่ือใหง้ านทันกำหนด

➢ มีความรับผิดชอบ เมื่อผู้บริหารให้งานไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นงานของตัวเองหรือไม่
ตอ้ งมคี วามรับผิดชอบทำงานนนั้ ใหเ้ รียบร้อย หรือพยายามติดตามงานให้ไดต้ ามกำหนด

➢ รอบคอบสอบทาน งานท่ีจะผา่ นเข้าไปยงั โต๊ะผูบ้ รหิ าร หรอื จะปล่อยออกไปจะต้องมี
การพิจารณา ตรวจสอบทานให้ถกู ต้องกอ่ นเสมอ

➢ ปฏิภาณไหวพริบดี เลขาฯ นั้นฉลาดอย่างเดียวไม่พอ ต้องเฉลียวด้วย คือสามารถ
แกไ้ ขปญั หาเฉพาะหนา้ ได้

➢ มีความซอ่ื สตั ย์ เปน็ ทไ่ี วว้ างใจไดใ้ นทกุ เรื่องโดยเฉพาะดา้ นการเงนิ
➢ รักษาความลับ ต้องไม่นำเอาความลับไปเปิดเผย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว หรือเรื่อง
งานขององค์กร
➢ พัฒนาตนเอง ผู้บริหารส่วนใหญ่ชอบเลขาฯ ที่รู้จักปรับปรุงงานให้ดีขึ้นเสมอ หรือ
เร่ืองงานขององคก์ ร
➢ ไม่เกรงงานหนัก บางครั้งบางโอกาสอาจมีงานหนัก ซึ่งบางทีอาจจะล้นมือทำแทบ
ไมท่ นั กอ็ าจจะต้องทำงานนอกเวลา เลขาฯ ทดี ตี ้องสู้กบั งาน ไมท่ อ้ ถอย มุ่งผลสำเรจ็ ของงงานมากกว่า
ค่าตอบแทนการทำงานนอกเวลา
➢ รักงานเลขานกุ าร คนเราจะทำอะไรไดด้ ตี ้องมีความรัก และภูมใิ จในสง่ิ ท่ีตัวเองทำอยู่
เลขานุการที่สามารถค้นคว้า ศึกษาหาความรู้ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติครบถ้วนดังที่
กล่าวมา จะเปรียบเสมือนประตูที่เปิดให้บุคคลนั้นก้าวสู่การเป็นเลขานุการมืออาชีพ และนำความ
เจริญก้าวหน้ามาสู่งานและอาชีพของตนเอง และยังส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าของผู้บังคับบัญชา
และองค์กรอกี ดว้ ย

5. สมรรถนะของเลขานุการที่นายจา้ งตอ้ งการ

จากคุณสมบัติของเลขานุการดังกล่าวข้างต้น สอดคล้องกับผลงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับ
สมรรถนะของเลขานุการที่นายจ้างต้องการ โดยศึกษาจากนายจ้างที่มีเลขานุการประจำตำแหน่ง
ที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลจำนวน 400 คน จาก 111 บริษัท ได้สมรรถนะเลขานุการ
ทน่ี ายจ้างต้องการ ท้ังสน้ิ 9 สมรรถนะ ดังน้ี

วิชา การเตรียมความพรอ้ มส่อู าชพี เลขานุการ รหสั วิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร 43

สมรรถนะที่ 1 มีความรู้ในวิชาชีพเลขานุการ : ผู้ที่ปฏิบัติงานอาชีพนี้ต้องมีวุฒิการศึกษา
อยา่ งน้อยประกาศนยี บตั รวิชาชพี ทางเลขานุการจนถึง ปริญญาตรี หรือ ปริญญาโท ขึน้ อยู่กับลักษณะ
งานขององค์กร ขนาดขององคก์ ร และ ระดบั ผบู้ รหิ าร

สมรรถนะที่ 2 มีความรู้ทุกเรื่องในงานขององค์กร : เนื่องจากเลขานุการต้องทำงานแทน
นายจ้าง และให้ข้อเสนอแนะแก่นายจ้างในบางโอกาส การรู้งานและความเป็นไปในองค์กรเป็นความ
จำเปน็ สำหรับเลขานุการ

สมรรถนะท่ี 3 มีบคุ ลกิ ภาพดี : การทำงานในฐานะเลขานุการบางครั้งต้องเปน็ ตัวแทนของ
องคก์ รหรือผู้บริหาร จึงมีความจำเป็นตอ้ งมบี ุคลิกภาพทน่ี า่ นบั ถือ เปน็ ทเี่ ช่ือถอื

สมรรถนะท่ี 4 สามารถพูดเพื่อนำเสนองานและพูดในที่สาธารณะได้ : งานเลขานุการ
ต้องสามารถติดต่อสื่อสารและสร้างความเข้าใจระหว่างผู้บรหิ ารและผูป้ ฏิบตั ิ บางครง้ั ต้องมีการนำเสนอ
งานเปน็ ตวั แทนขององค์กรและผบู้ ริหาร การพูดเพอื่ ให้ข้อมลู และการพูดเพื่อจูงใจ และชกั ชวนให้บรรลุ
ข้อตกลง แก้ปัญหาเฉพาะหน้า สามารถเจรจาให้การประชุมตกลงเป็นไปด้วยความราบรื่น เรียบร้อย
และสำเร็จตามจดุ ม่งุ หมาย จงึ เป็นความจำเปน็ ท่ีเลขานกุ ารควรมีสมรรถนะด้านนดี้ ว้ ย

สมรรถนะที่ 5 ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้บริหารชาวต่างชาติ : การประกอบ
ธุรกิจในปัจจุบันมีความเชื่อมโยงกับต่างชาติมากขึ้น การทำธุรกรรมและการติดต่อสื่อสารกับคน
ต่างชาติหรือหน่วยงานจากต่างประเทศเป็นภารกิจที่เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ ในการทำธุรกิจในปัจจุบัน
สามารถใช้ชวเลขและภาษาได้มากกว่าหนึ่งภาษาคือ ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ เช่น ประเทศ
องั กฤษ ญีป่ นุ่ หรอื จีน เป็นตน้

สมรรถนะที่ 6 มเี ชาวอ์ ารมณท์ ี่ดีในการทำงานร่วมกัน : การมเี ลขานุการที่มีเชาว์ปัญญาดี
และอารมณ์ดี นอกจากเป็นความโชคดีของผู้บริหารแล้วจะสามารถทำให้การทำงานของผู้บริหาร
ไม่น่าเบื่อ สนุกกับงาน สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำงานได้ยาวนานขึ้น เลขานุการ
ต้องมีความรับผิดชอบงานดีมาก อดทน ทำงานภายในสภาพกดดันสูงได้ และมีมนุษยสัมพันธ์ ตลอดจน
การแก้ไขปัญหาอุปสรรคของงานในความรับผิดชอบของผ้บู งั คับบญั ชา

สมรรถนะท่ี 7 ความสามารถในการบริหารเวลา : การบริหารเวลาเป็นปัญหาที่สำคัญ
ในสังคมไทยโดยเฉพาะผู้บริหารตามกลุ่มตัวอย่างที่ประกอบกิจการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
เพราะนอกจากการจราจรยังไม่สามารถกำหนดเวลาได้แล้ว วัฒนธรรมการรักษาเวลาและการตรงต่อ
เวลาของคนไทยยังต้องมีการย้ำเตือนอย่างสม่ำเสมอ การสละเวลาและทุ่มเทเวลาให้กับงานจึงเป็น
ความต้องการที่คาดหวังจะได้รับจากเลขานุการ

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสูอ่ าชพี เลขานุการ รหัสวิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมส่อู าชพี เลขานกุ าร 44

สมรรถนะที่ 8 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีให้เปน็ ประโยชนใ์ นการทำงาน : ผบู้ ริหาร
ตอ้ งการให้เลขานุการพัฒนาตนใหท้ ันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เน่ืองจากปัจจุบันพฒั นาการของ
เทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามาก และเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีการรับเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ
เข้ามาใช้ในองค์กรและชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป การเป็นเลขานุการมีความจำเป็นต้องตาม
ทันเทคโนโลยดี ว้ ย เพราะเทคโนโลยมี ีอทิ ธพิ ลต่อวธิ คี ดิ การติดต่อส่อื สารและการเจรจาทางธรุ กิจอย่าง
มาก ตอ้ งใช้อปุ กรณส์ ำนกั งานท่จี ำเปน็ ต่องานและสามารถใชค้ อมพวิ เตอร์ และโปรแกรมต่าง ๆ ได้

สมรรถนะที่ 9 ความสามารถในการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก : เป็นสมรรถนะที่ต่อเนื่องจาก
สมรรถนะที่ 8 นายจ้างต้องการให้เลขานุการทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน และโซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็น
กจิ กรรมทางสังคมผ่านเครือข่ายคอมพวิ เตอร์ซ่ึงกำลงั เป็นท่นี ยิ มในปัจจบุ นั แสดงถงึ ความทนั สมยั และ
เป็นผู้ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร สามารถสร้างกลุ่มลูกค้า หรือกลุ่มผู้เคยค้าให้
ยงั คงมีสัมพันธภาพที่ดีไดอ้ ย่างตอ่ เนื่อง

จะเหน็ ไดว้ ่าสมรรถนะของอาชีพเลขานกุ ารทีน่ ายจา้ งตอ้ งการ มกี ารเปลย่ี นแปลงไปตามความ
ทันสมัยของโลกธุรกิจและเทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จากผลการวิจัยดงั กล่าวยังค้นพบ
อกี ว่า นายจ้างทปี่ ระสบความสำเร็จมีสิ่งหนงึ่ ท่ีเหมือนกันคือ “มเี ลขานุการทด่ี ี มสี รรรถนะสูง”

6. หลักการทำงานร่วมกับบคุ คลระดบั ต่าง ๆ

งานในหนา้ ทขี่ องเลขานุการ เป็นงานทตี่ อ้ งเกี่ยวข้องและประสานงานระหว่างผู้บรหิ ารกับคนอ่ืน ๆ
ทั้งภายในและนอกองค์กร ดังนั้น เลขานุการจำเป็นต้องเรียนรู้การทำงานร่วมกับบุคคลระดับต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา หรือแม้แต่บุคคลภายนอกที่อาจต้อง
ทำงานรว่ มกนั ดังน้ัน เลขานุการจึงควรยดึ หลกั ในการทำงานร่วมกบั บคุ คลในระดบั ต่าง ๆ ดังนี้

6.1 การทำงานร่วมกับผู้บังคับบัญชาหรือนาย เลขานุการควรต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า
ผู้บงั คับบัญชาก็เปน็ เพยี งคนธรรมดา จึงไม่ได้ทำหรือคดิ ถูกเสมอ จึงเป็นหนา้ ท่ีของเลขานุการที่จะต้อง
ยอมรบั หรือแกไ้ ขข้อผิดพลาดนน้ั เชน่ นายอาจสงั่ งานไม่ครบ เราก็มหี น้าทถี่ าม ถา้ นายเขียนผิด เรากม็ ี
หน้าที่เขียนให้ถูกต้อง เพราะนายเราอยากให้เราเป็น “ผู้ช่วย” ดังนั้น เราจะต้องทำงานให้สัมพนั ธ์กบั
นายของเราให้จงได้ การทำงานร่วมกบั ผู้บังคับบญั ชาหรือนาย เลขานุการควรมีขอ้ ควรปฏบิ ตั ติ น ดังนี้

6.1.1 ต้องเรียนรู้นิสัยส่วนตัวและนิสัยการทำงานของนาย เพราะเลขานุการไม่มโี อกาส
เลือกผ้บู ังคบั บญั ชาหรือนาย ดังนัน้ ควรพยายามปรบั ตัวในการทำงานใหผ้ ูบ้ ังคบั บญั ชาพึงพอใจ

6.1.2 ให้ความเคารพนับถอื ยกย่อง และมีทศั นคตทิ ดี่ ตี อ่ ผบู้ งั คบั บัญชา
6.1.3 วางตวั ไดเ้ หมาะสมกับกาลเทศะ ไมต่ ีเสมอนายท้ังกาย วาจาใจ รวู้ า่ สิ่งใดควร ไม่ควร
6.1.4 รบั คำสั่ง บนั ทึกและทวนคำสั่ง ถามเมอ่ื ไมแ่ น่ใจ เมอ่ื เขา้ ใจคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
แลว้ นำไปปฏิบตั ิให้ได้ตรงตามความประสงค์ รายงานความกา้ วหนา้ ของงานอย่เู สมอ

วิชา การเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานุการ รหสั วิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานุการ 45

6.1.5 ไม่ควรทำนอกเหนือคำสั่งของนายหากไม่จำเป็น หากเห็นว่าเป็นแนวทางปฏิบัติ
ทด่ี ีกวา่ ควรถามนายใหแ้ น่ใจกอ่ นลงมอื เพราะส่งิ ท่เี ราคดิ วา่ ดีแต่อาจจะไมใ่ ช่ส่ิงทีน่ ายต้องการ

6.1.6 ปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจและเตม็ ความสามารถ มีความรอบคอบ รวดเร็ว และ
ถูกตอ้ ง ตรวจสอบงานใหด้ กี อ่ นสง่ เพ่ือใหผ้ ู้บังคบั บญั ชาเชื่อถอื ไวว้ างใจ

6.1.7 ยนิ ดที ำงานนอกเหนอื หนา้ ท่ที ีไ่ ดร้ ับมอบหมาย
6.1.8 รับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์จากผู้บังคบั บัญชา หลีกเลี่ยงการแสดงอารมณ์ การโต้เถียง
และหาหนทางปรับปรงุ แก้ไขตนเอง
6.1.9 ปฏิบตั ิตนตามกฎระเบียบขององค์กร เพ่อื เปน็ การให้เกียรติผ้บู งั คับบญั ชา
6.1.10 ไม่นินทาผบู้ งั คับบญั ชา ซ่ือสัตย์และจงรักภักดตี อ่ ผบู้ ังคบั บัญชา
6.1.11 หลีกเลี่ยงการบ่นถงึ ความยากลำบากในการทำงานให้ผู้บงั คับบัญชาฟงั และเมื่อ
ต้องขอคำปรกึ ษาจากผูบ้ ังคับบญั ชา ควรดคู วามเหมาะสมและกาลเทศะ
6.1.12 ประเมินผลงานตนเองเป็นระยะ ๆ เพื่อค้นหาข้อบกพร่อง แล้วหาแนวทาง
ปรบั ปรุงการทำงานให้ดีขนึ้
6.2 การทำงานรว่ มกับเพ่ือนรว่ มงาน เลขานุการควรปฏิบตั ิตน ดงั น้ี
6.2.1 ยิม้ แย้ม ทกั ทาย เป็นกันเอง พดู จาสุภาพมหี างเสยี งกับเพอ่ื นร่วมงาน
6.2.2 มีความจริงใจ ให้ความชว่ ยเหลอื ใหค้ ำปรกึ ษา
6.2.3 รา่ งเริง แจ่มใส มมี นษุ ยสัมพันธ์กบั เพ่ือนร่วมงาน
6.2.4 แสดงความมนี ำ้ ใจ เออ้ื เฟื้อ ห่วงใย เอาใจใสด่ ูแลตามสมควร
6.2.5 ไม่เห็นแกต่ ัว ไม่เอารดั เอาเปรียบ ชว่ ยเหลอื สว่ นรวม
6.2.6 อดทนในความบกพร่องของเพือ่ น พยายามปรับตัวเข้าหากัน
6.2.7 ใหเ้ กียรตยิ กยอ่ งชมเชยตามโอกาสอันควร แตพ่ องาม
6.2.8 ร่วมแสดงความยินดี หรือหาโอกาสพบปะสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงานตามสมควร
ในโอกาสสำคญั ต่าง ๆ
6.2.9 อยา่ ปฏเิ สธตลอดเวลา
6.2.10 รับฟังความคดิ เหน็ ของของเพื่อนร่วมงาน
6.2.11 มีความรบั ผิดชอบ ไมโ่ ยนความผดิ ให้ผู้อ่นื
6.2.12 หลกี เลย่ี งการนนิ ทาว่ารา้ ย หรอื วิพากษ์วจิ ารณ์เพอ่ื นรว่ มงานลับหลัง
6.2.13 ใหอ้ ภยั ใหโ้ อกาสเมอ่ื เพ่ือนรว่ มงานปฏิบัติผิดพลาด
6.2.14 เมอื่ มีปญั หาต้องพูดคุยกัน หลีกเล่ียงการแสดงอารมณ์ เมื่อมกี ารขัดแย้งเกิดข้ึน
ใช้เหตุใชผ้ ลในการแกป้ ัญหา มีความอดทน สุขุม ใจเย็น
6.3 การทำงานร่วมกบั ผใู้ ต้บงั คบั บญั ชา เลขานกุ ารควรปฏิบัติตน ดังน้ี

วิชา การเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร รหัสวิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมส่อู าชพี เลขานุการ 46

6.3.1 มีความจริงใจ และให้ความยุติธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน และปฏิบัติต่อ
ผู้ใตบ้ งั คบั บญั ชาด้วยความเสมอภาค

6.3.2 ใช้คนให้เหมาะสมกับงานทเ่ี ขาถนดั และมีความสุขเม่ือได้ทำงานน้นั
6.3.3 รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง อย่าใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหา พยายามควบคุม
อารมณไ์ ปในทางสรา้ งสรรค์ และใหเ้ กดิ ประโยชนต์ ่อองค์การมากทส่ี ุด
6.3.4 ไม่ใช้คำพูดหรือวางอำนาจข่มขู่ผู้ใต้บังคับบัญชา ควรมีศิลปะในการวิพากษ์
วิจารณ์ ใหค้ ำแนะนำ ตักเตือนเมอื่ ผูใ้ ตบ้ งั คบั บญั ชาผดิ พลาด
6.3.5 ยกย่องชมเชยผู้ใต้บังคับบัญชาเมื่อเขาทำงานดีเพื่อเป็นการสร้างขวัญและ
กำลังใจในการทำงานให้มปี ระสิทธิภาพดยี ิ่งขนึ้
6.3.6 ยิม้ แยม้ แจม่ ใส ใหค้ วามเป็นกันเองกบั ผ้ใู ต้บังคบั บญั ชา
6.3.7 เปดิ โอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามสี ่วนรว่ มในงาน มีสว่ นรว่ มแสดงความคดิ เห็น
6.3.8 พยายามสร้างกิจกรรมในกลุ่มสัมพันธ์ต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อให้เกิดความสามัคคีและ
รกั ใครก่ ลมเกลียวกันระหวา่ งผ้บู ังคบั บัญชาและผใู้ ตบ้ งั คับบญั ชา
6.3.9 สื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างชัดเจน หลีกเลี่ยงการสื่อสารทางเดียว มีการ
ช้ีแจงหรอื แจ้งขา่ วคราวความเคล่ือนไหวของงานหรอื ขององค์กรใหท้ ราบ
6.3.10 เอาใจใสใ่ นทุกขส์ ุข รกั ษาผลประโยชน์ของผู้ใตบ้ ังคับบญั ชา ดูแลด้านสวัสดิการ
คา่ จ้าง ซ่ึงจะเปน็ แรงจูงใจในการทำงานอยา่ งมีความสุข พร้อมทง้ั ปรับปรงุ สภาพของการทำงานใหด้ ี
6.3.11 ส่งเสริมสนับสนุนและเปิดโอกาส ให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีความเจริญก้าวหน้าใน
หน้าทก่ี ารงาน

7. แนวทางการปฏิบัติงานประจำในแต่ละวนั ของเลขานกุ าร

สำหรับแนวทางในการปฏิบัติงานในแต่ละวันของเลขานุการนั้น อาจปรับเปลี่ยนไปตาม
สถานการณ์ และความเหมาะสมกับการทำงานของผู้บังคับบัญชา และลักษณะงานขององค์กร
แตโ่ ดยท่ัวไป เลขานกุ ารมีแนวการปฏบิ ตั ิงานประจำในแตล่ ะวัน ดงั นี้

7.1 ควรมาถึงที่ทำงานก่อนเวลา เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน เลขานุการควร
จะมาถึงที่ทำงานก่อนเวลา ประมาณ 10 - 15 นาที เพื่อดูแลความสะอาด และความเป็นระเบียบ
เรียบร้อยของห้องทำงาน จัดโต๊ะทำงานของผู้บังคับบัญชา และของตนเองให้อยู่ในสภาพที่พร้อม
ปฏิบัติงานและต้อนรับผูม้ าติดต่อ เตรียมวัสดุ อุปกรณ์การทำงานให้พร้อม เช่น เหลาดินสอ เติมหมึก
ปากกา จัดหากระดาษบันทึกเติมวางบนโต๊ะ เปลี่ยนวันที่บนปฏิทิน เป็นต้น หากมีแจกันดอกไม้ควร
เปล่ยี นและจัดให้เรยี บรอ้ ย

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสอู่ าชพี เลขานุการ รหสั วิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร 47

7.2 ทำความสะอาด ดูแลความเรียบโต๊ะทำงาน เลขานุการควรจะดูแลความสะอาดและ
ความเรียบร้อยโต๊ะทำงานของผู้บังคับบัญชาก่อน แล้วจึงดูแลในส่วนของตนเอง โดยจัดเตรียม
เครื่องใช้ อุปกรณ์การทำงานให้พร้อม เช่น ปากกา ดินสอ ยางลบ ที่เย็บกระดาษใส่ลวดเย็บให้
เรียบร้อย ถาดวางหนังสือเข้า - ออก ตรายางประทับชนิดตา่ ง ๆ สมุดบันทึกการสั่งงาน แฟ้มเอกสาร
เปน็ ตน้ จัดเตรยี มให้อยู่ในสภาพเรยี บร้อยพร้อมใชง้ าน ดงั รูปท่ี 1.1

รูปที่ 1.1 โตะ๊ ทำงานท่สี ะอาด เรยี บร้อย
ทีม่ า : นิภาภทั ร์ แตเ่ ชอ้ื สาย

7.3 เตรียมอุปกรณ์การรับคำสั่งงาน ประกอบด้วย สมุดจดการสั่งงาน และเครื่องเขียน
ซึ่งควรเตรียมไวห้ ลายอันเพราะอาจจะเกดิ ปัญหาในขณะจดคำบอก บนหัวกระดาษของสมุดจดสั่งงาน
ให้เขียน วัน เดือน ปี ไว้ให้เรียบร้อย และควรจัดเตรียมเครื่องบันทึก เพื่อใช้บันทึกการสั่งงานควบคู่กบั
การจดบนั ทึก ดังรปู ที่ 1.2

วิชา การเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร รหัสวิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร 48

รปู ท่ี 1.2 อุปกรณ์การจดบนั ทกึ รบั คำสั่งงาน

ท่ีมา : นิภาภทั ร์ แตเ่ ชอ้ื สาย

7.4 เตรียมความพร้อมของเครื่องใช้สำนักงาน ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคอมพิวเตอร์
เครอ่ื งถ่ายเอกสาร ทำความสะอาด เสยี บปลก๊ั เปิดเครือ่ งใชต้ ่าง ๆ ให้เรยี บรอ้ ยพรอ้ มปฏบิ ตั ิงาน

7.5 จัดเตรยี มวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานทนั ที เช็ดทำความ
สะอาดเครื่องโทรศัพท์ จัดเตรียมกระดาษสำหรับพิมพ์ หมึกสำหรับเครื่อง Print กระดาษบันทึก
ดินสอ ปากกา พรอ้ มสำหรับการรับข้อความทางโทรศัพท์

7.6 ตรวจสอบดูตารางการนดั หมายของผู้บังคับบัญชา ดวู า่ มรี ายการนดั หมายใดบา้ งในวันนี้
เพื่อแจ้งเตือนผู้บังคับบัญชา จัดเตรียมข้อมูล เอกสารและอุปกรณ์ที่ต้องใช้สำหรับการนัดหมายดังกล่าว
(เลขานกุ ารสามารถเขยี นในบอร์ดเป็นตารางปฏิทินการปฏิบัติงาน ดงั รูปที่ 1.3)

รปู ท่ี 1.3 แสดงตารางปฏิทนิ การปฏบิ ตั งิ าน รหัสวิชา 2201 - 2311
ที่มา : นิภาภัทร์ แต่เช้อื สาย

วิชา การเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานุการ

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสูอ่ าชพี เลขานกุ าร 49

7.7 ดูแลเอกสาร หนังสือเข้า - ออก เปิดหนังสือรับหรือข้อมูลอีเมล์ เปิดซองหนังสือเข้า
ลงเลขท่ีรับหนังสือ และอ่านหนังสือเข้าทุกฉบับ จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วน เสนอ
ความคิดเห็นผ่านไปยังผู้บังคับบัญชา และดำเนินการตามหนังสือนั้นเมื่อหนังสือออกจากห้อง
ผู้บังคับบัญชาแล้ว โดยให้บันทึกเรื่องที่ติดต่อมาทุกเรื่องในสมุดบันทึกของตนเอง และสมุด
ช่วยความจำท่ีโต๊ะผู้บังคับบัญชา

7.8 จัดลำดับงานที่ต้องทำตามความเร่งด่วน ตรวจสอบรายการงานที่จะต้องรีบดำเนินการ
ด่วนในวันน้ี และลงมือปฏิบตั ิ ในกรณีท่ีมหี นังสือดว่ นใหร้ ีบดำเนินการทันที

7.9 สะสางงานที่ค่ังค้าง หลังจากที่งานเร่งด่วนเรียบร้อย ให้พิมพ์หนังสือโต้ตอบที่ยังคงค้าง
และไม่ใชเ่ รือ่ งเร่งดว่ น เตรยี มเพอ่ื การลงนามและส่งออกตามกำหนดเวลา

7.10 จัดเก็บเอกสาร การจัดเก็บเอกสารต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบัน เลขานุการจำเป็นต้องเก็บ
ใหเ้ สร็จวันต่อวัน

7.11 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย เป็นงานที่เลขานุการอาจจะได้ปฏิบัติในหน้าท่ี
ตามสถานการณ์ หรืองานอ่นื ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากผูบ้ ังคับบัญชา

การปฏิบัติงานตามแผนประจำวันนั้น เลขานุการต้องรู้จักยืดหยุ่น และพร้อมเสมอที่จะ
ปรับเปล่ยี นแผนประจำวนั ใหเ้ หมาะสมตามความต้องการของบงั คบั บัญชา

8. การพฒั นาปรบั ปรุงงานของเลขานกุ าร

เลขานุการท่ีดี ควรหาวธิ กี ารพัฒนาปรบั ปรุงงานท่ีต้องรับผิดชอบใหม้ ีผลงานดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา
เพราะการปรับปรุงงานจะส่งผลดีต่อผูป้ ฏบิ ัติได้โดยตรง คือ ช่วยลดเวลาการทำงาน ทำให้การทำงาน
ง่ายและสะดวกรวดเร็ว มีผลงานดีขึ้น ข้อผิดพลาดน้อยลง งานมีผลผลิตเพิ่มขึ้น รู้สึกสนุกกับงานที่ทำ
ที่สำคัญจะทำให้เรารู้สึกภาคภูมิใจในผลสำเร็จ มีกำลังใจในการทำงาน ทำให้ผู้บังคับบัญชาและเพื่อน
ร่วมงานชื่นชม ให้การยอมรับ เชื่อถือ ศรัทธาในความสามารถ และนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ
ตอ่ ไป ดงั นนั้ เลขานกุ ารควรมกี ารพฒั นาและปรับปรงุ งานของตนเอง ดังนี้

8.1 ศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ งานของผู้บังคับบัญชา และงานที่องค์กร
ทำอยู่อย่างกว้างขวาง โดยการศึกษาจากแหล่งวิทยาการต่าง ๆ เช่น วารสารทางธุรกิจ หนังสือพิมพ์
เว็บไซต์ต่าง ๆ ทางอนิ เทอร์เน็ต สถาบันการศกึ ษา หรอื สถาบนั การอบรมต่าง ๆ

8.2 เพิ่มพูนความชำนาญและความคล่องแคล่วในการสื่อสารทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่ การฟัง พูด
อ่าน และเขยี น รวมถึงการสื่อสารด้วยเทคโนโลยตี า่ ง ๆ ท่ที ันสมยั

8.3 ศึกษาระบบงานในสำนักงานของตน ให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของหน่วยงานภายใน
องค์กร และเห็นว่ามีสิ่งใดที่เป็นจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องในระบบ หรือวิธีการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในหน่วยงานของเรา หรือในส่วนที่เราต้องเกี่ยวข้อง พยายามมองหาโอกาสและลู่ทางที่จะ
ปรับปรุงแกไ้ ขให้ดขี ้ึน

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสอู่ าชพี เลขานกุ าร รหสั วิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมส่อู าชพี เลขานุการ 50

8.4 ขอคำแนะนำหรือคำปรึกษาจากผู้ที่อยู่ในตำแหนง่ ทีส่ งู กว่า หรือมีความชำนาญมากกวา่
เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงงาน พยายามคิดหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงาน และสังเกตว่า
ผลงานดีข้นึ หรอื ไม่ หากไดผ้ ลดีก็นำมาจดั ทำเป็นระบบและเสนอแนะให้มีการเปลยี่ นแปลง หรือจัดทำ
เป็นเอกสารคำแนะนำในการปรับปรุงงานเผยแพร่แกผ่ ู้ทเี่ ก่ียวข้องในองค์กร

8.5 ควรหาโอกาสเพิ่มภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ ขยายขอบข่ายงานที่ต้องการทำด้วยการ
พูดกับผู้บังคับบัญชา ปรึกษาขอความเห็นและบอกให้ทราบว่าเราต้องการความรับผิดชอบเพิ่ม และ
สงิ่ ใดท่ีเราทำไดด้ แี ละยนิ ดีทำเพือ่ ชว่ ยแบ่งเบาภาระงานของผู้บงั คบั บญั ชา

8.6 เรียนรู้ลักษณะนิสัยและบุคลิกภาพในการทำงาน ความรับผิดชอบในงานและความมุ่งหวัง
ของผู้บังคบั บญั ชา ความปรารถนาของผูบ้ ังคบั บัญชาท่มี ีตอ่ ตัวเรา ตอ่ ตวั ท่าน และส่งิ ทีท่ า่ นต้องการจะ
ใหเ้ กิดเปน็ ผลดีต่องานหรือต่อองค์กร และนำขอ้ มูลที่ได้มาศึกษาหาวธิ ีการเพื่อชว่ ยเสริมความสามารถ
ของผู้บงั คับบญั ชาด้วยการปรบั ปรงุ ลดข้นั ตอนการทำงาน ช่วยทำงานแทนในเร่อื งท่สี ามารถทำได้

8.7 หลีกเลยี่ งกิจกรรมที่ทำให้เสียเวลาไปโดยไมเ่ กิดประโยชน์ในการปรบั ปรุงและพัฒนางาน
หรอื เรยี นรูส้ ่งิ ที่มีคณุ ค่าต่อการพัฒนาตนเอง ให้มองหาวธิ ีการทจี่ ะปรับปรงุ ส่งิ ตา่ ง ๆ ของตนอยูเ่ สมอ

9. จรรยาบรรณของเลขานกุ าร

จรรยาบรรณ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546 : 289) หมายถึง
การประมวลความประพฤติปฏิบัติที่ผู้ประกอบอาชีพแต่ละอาชีพกำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นหลักในการ
ปฏิบัติงานให้ถกู ต้องเหมาะสม และธำรงไว้ซงึ่ ชอื่ เสยี งของสมาชกิ

อาชีพเลขานุการ เป็นอาชีพที่ผู้บังคับบัญชาและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเกี่ยวข้องให้ความเชื่อถือ
และไว้วางใจ ดังนั้น เลขานุการจึงจำเป็นต้องปฏิบัติงานโดยยึดหลักจรรยาบรรณเลขานุการ ดังน้ี
(สกุ ันยา นิมมานเหมินท,์ 2536 : 2 อา้ งอิงใน สภุ าณี เอาทองทพิ ย,์ 2550 : 21)

9.1 ปฏบิ ตั ิตนตามกฎระเบียบขององค์กรดว้ ยความจริงใจ เปน็ แบบอย่างที่ดี และไม่ทำลาย
ภาพลักษณ์ หรอื ชือ่ เสียงขององคก์ ร

9.2 ธำรงไวซ้ ึ่งความซ่อื สัตย์อันสูงสุดต่อตนเองและตอ่ งานในหนา้ ที่อยา่ งสม่ำเสมอ
9.3 มีความรบั ผดิ ชอบต่องานในหนา้ ทข่ี องตนเองและผใู้ ต้บงั คับบัญชา
9.4 ติดตามและเรียนรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาการ แสวงหาประสบการณ์และการฝึกฝน
ด้านงานเลขานุการ การจัดการ รวมทั้งหาทางเพ่ิมพูนความสามารถและความเข้าใจในวิชาชีพเลขานุการ
โดยการสนับสนุนให้มกี ารแลกเปลี่ยนข่าวสารแก่กันและกนั
9.5 ส่งเสริมให้มกี ารติดตอ่ ส่ือสารกัน การให้ข้อมูลข่าวสารที่สรา้ งสรรค์อย่างมีประสทิ ธิภาพ
ภายในองคก์ รและภายนอกองคก์ รเทา่ ท่ีเหน็ สมควร
9.6 รักษาความลับของงานในหน้าที่ไว้อย่างเข้มงวดและจะไม่ใช้ความลับนั้นเพื่อประโยชน์
สว่ นตัว หรือในลกั ษณะท่ีจะก่อความเสียหายตอ่ องคก์ รที่ตนทำงานอยู่หรือทำงานมาแลว้

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสูอ่ าชพี เลขานุการ รหสั วิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานุการ 51

9.7 คำนงึ ถงึ ความตอ้ งการและปญั หาของผู้ใตบ้ งั คบั บัญชาและในฐานะผนู้ ำ
9.8 ไมใ่ หข้ า่ วหรือแถลงเร่ืองราวใด ๆ เก่ยี วกบั งานของตนในฐานะเลขานุการมืออาชีพ โดยมิได้
ทำความกระจา่ งแจ้งถึงอำนาจและขอบเขตท่ีตนสามารถพูดไดต้ ามควรกับผทู้ ี่เก่ียวข้องทงั้ หมดก่อน
9.9 จะไม่ดูแคลนหรือสร้างความเสียหายต่อสถานภาพทางอาชีพอื่นใดของเลขานุการหรือ
ให้รา้ ยทำลายศักดศิ์ รีงานอาชพี ของตน
หลักในการปฏิบัติงานดังกล่าว เลขานุการจำเป็นใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้ตั้งมั่น
ยดึ เป็นแนวทางในการประพฤตปิ ฏบิ ตั ติ ามใหเ้ หมาะสม เพื่อเปน็ พ้ืนฐานนำไปสคู่ วามสำเร็จในอาชพี

บทสรุปท้ายหน่วย

เลขานุการ เปน็ ผูท้ ่ีผบู้ รหิ ารให้ความสำคญั และไว้วางใจใหช้ ่วยแบง่ เบาภาระงานต่าง ๆ ตามท่ี
ได้รับมอบหมาย สามารถประสานงานและอำนวยความสะดวกให้งานของผู้บริหารประสบผลสำเร็จ
โดยราบรน่ื เลขานุการจึงมีความสำคัญ ที่จะทำให้งานของหนว่ ยงานหรือองค์กรนนั้ ๆ ดำเนินไปได้อย่าง
ราบรื่น และสมั ฤทธ์ิผล

บทบาทเลขานุการมีมากมายและกว้างขวาง ขึ้นอยู่กับลักษณะของหน่วยงาน และผู้บริหาร
รวมถึงความสามารถของเลขานุการเอง ขอบข่ายงานในหน้าที่ของเลขานุการ มีทั้งงานประจำ งาน
อำนวยความสะดวก งานส่วนตัวของผู้บังคับบัญชาและงานสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กร เลขานุการ
ควรมีคุณสมบัติ คือ มีคุณวุฒิทางการศึกษาและมีความรู้ที่เหมาะสม มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับงาน
ในหน้าที่ความรับผิดชอบ มีพื้นฐานความรู้ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับงานบริหาร มีบุคลิกลักษณะ อุปนิสัย
และกิจนิสัยในการทำงานที่ดี และควรฝึกตนเองให้มีสมรรถนะตามความต้องการของผู้บังคับบัญชา
เพราะจะส่งผลต่อความเจริญ ก้าวหน้าในอาชีพของตน มีจรรยาบรรณในอาชีพเพื่อเป็นเครื่อง
ยดึ เหน่ียว ใช้เปน็ หลักในการปฏิบัตงิ านใหถ้ กู ตอ้ งเหมาะสม

หน้าที่ของเลขานุการ จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลในระดับต่าง ๆ ดังน้ัน
เลขานุการต้องสามารถทำงานรว่ มกบั ทุกคนได้ โดยเฉพาะผู้บังคับบญั ชา เลขานกุ ารต้องเรียนรู้ท้ังนิสัย
การทำงานและนิสยั สว่ นตวั วางตนให้เหมาะสมกบั ความเป็นเลขานุการกับผ้บู ังคบั บญั ชา นอกจากนั้น
ในการปฏบิ ตั ิงานร่วมกบั เพื่อนรว่ มงานหรือผู้ใต้บังคับบญั ชา กค็ วรปฏบิ ัตติ นใหเ้ หมาะสมเชน่ กนั

เลขานุการควรเรียนรู้ที่จะพัฒนาปรับปรุงงานของตนเองอยู่อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
เพื่อให้การทำงานสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของ
ผลงานและความก้าวหนา้ ในงานอาชพี ของตน

วิชา การเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร รหสั วิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานุการ 52

แบบฝึกหัด

หน่วยท่ี 1 ความร้พู น้ื ฐานในการเตรยี มความพร้อมสู่อาชพี เลขานุการ

จดุ ประสงค์ เพื่อให้นกั เรียนได้ทบทวนเนอื้ หาสาระ ใหม้ ีความรู้ และความเขา้ ใจมากย่งิ ข้ึน

คำช้ีแจง แบบฝึกหัดมี 2 ตอน (20 คะแนน) ให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้เรียนในหน่วยที่ 1
ตอบคำถามต่อไปนีใ้ หถ้ ูกตอ้ งครบถ้วน

ตอนท่ี 1 ให้นักเรยี นทำเคร่ืองหมาย หนา้ ขอ้ ทีเ่ ห็นว่าถูกต้อง และทำเครื่องหมาย  หน้าข้อ
ทีเ่ หน็ วา่ ผดิ (10 คะแนน)

1. เป็นที่ยอมรับกันว่าเลขานุการเป็นตัวจักรสำคัญที่จะทำให้งานของหน่วยงานหรือองค์กร
นน้ั ๆ ดำเนนิ ไปไดอ้ ย่างราบรน่ื และสัมฤทธ์ผิ ล

2. เลขานุการต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานต่าง ๆ โดยไม่ต้องสอบถามความ
คดิ เห็นจากผูบ้ งั คับบญั ชาทกุ คร้ัง ยกเว้นกรณีทเี่ ป็นเรือ่ งสำคัญเทา่ น้นั

3. การติดต่องาน รับโทรศัพท์ โอนสายและต่อสายผู้บงั คับบญั ชา ถือเป็นงานอำนวยความ
สะดวกของเลขานุการ

4. คุณสมบัติที่เหมาะสมของเลขานุการ จำเป็นต้องมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับงานในหน้าท่ี
รับผิดชอบของงานเลขานุการ

5. เลขานกุ ารควรมาถงึ ที่ทำงานอย่างนอ้ ย 5 นาที เพอ่ื เตรียมความพรอ้ มในการทำงาน
6. งานของเลขานุการจะมปี ริมาณมากน้อยเพยี งใด ขึน้ อย่กู บั ผบู้ ังคบั บัญชาเป็นสำคญั
7. การรกั ษาความลบั ของงานในหน้าทไ่ี วอ้ ยา่ งเข้มงวด เปน็ จรรยาบรรณของเลขานกุ าร
8. เลขานุการควรพูดถึงความยากลำบากในการทำงานให้ผู้บังคับบัญชารับทราบ เพื่อขอ

ความเห็นใจในการปฏบิ ตั ิงาน
9. เมื่อผู้ช่วยงานของเลขานุการทำงานผิดพลาด เลขานุการควรให้คำแนะนำ ตักเตือน

อย่างมศี ลิ ปะ
10. อีกหนึ่งทางเลือกท่ีเลขานกุ ารสามารถพัฒนางานของตนเองได้ คือการศึกษาความรู้จาก

อินเทอร์เน็ต

วิชา การเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร รหสั วิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานุการ 53
ตอนที่ 2 ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ ใหถ้ ูกต้องครบถ้วน (10 คะแนน)
1. ให้อธบิ ายความหมายของเลขานุการ ใหเ้ ข้าใจ

2. บทบาทหน้าที่ของเลขานุการจะมากหรอื น้อยขน้ึ อยู่กบั อะไรบ้าง

3. ขอบข่ายงานในหน้าที่ของเลขานกุ ารที่สำคญั มีกงี่ าน อธิบายสรปุ ยอ่ ให้เข้าใจ

4. เลขานุการควรมีคุณสมบัติอย่างไร บอกมาอย่างนอ้ ย 5 ขอ้

5. จากผลงานวจิ ัยทศ่ี กึ ษาเกย่ี วกับสมรรถนะของเลขานกุ ารทีน่ ายจ้างต้องการ มีกข่ี อ้ อะไรบ้าง

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสูอ่ าชพี เลขานุการ รหสั วิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร 54
6. เลขานกุ ารควรปฏิบตั ิตนอยา่ งไร ในการทำงานรว่ มกบั ผู้บงั คับบญั ชา บอกมาอย่างน้อย 5 ขอ้

7. เลขานกุ ารควรปฏบิ ตั ติ นอยา่ งไร ในการทำงานรว่ มกับเพ่ือนรว่ มงาน และผ้ใู ต้บังคับบัญชา บอกมา
อย่างละ 3 ขอ้
การทำงานรว่ มกบั เพื่อนรว่ มงาน
การทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชา

8. แนวทางการปฏบิ ัตงิ านประจำในแต่ละวนั ของเลขานกุ าร มอี ะไรบ้าง บอกมา 5 ขอ้

9. เลขานุการควรมีการพฒั นาและปรับปรุงงานของตนเองอยา่ งไรบ้าง จงอธบิ าย

10. จรรยาบรรณของเลขานุการมอี ะไรบา้ ง บอกมาอยา่ งนอ้ ย 5 ข้อ

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสู่อาชพี เลขานุการ รหัสวิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร 55

เฉลยแบบฝึกหัด

หนว่ ยท่ี 1 ความรู้พื้นฐานในการเตรยี มความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร

คำชแี้ จง แบบฝึกหัดมี 2 ตอน (20 คะแนน) นักเรียนต้องทำแบบฝึกหัดได้ 16 คะแนนขึ้นไป
จงึ ถือว่าผา่ นเกณฑ์ คดิ เป็นร้อยละ 80

ตอนท่ี 1 ให้นกั เรียนทำเคร่ืองหมาย หนา้ ข้อทเ่ี หน็ ว่าถูกต้อง และทำเครื่องหมาย  หน้าข้อ
ทีเ่ หน็ วา่ ผดิ (10 คะแนน)

 1. เป็นที่ยอมรับกันว่าเลขานุการเป็นตัวจักรสำคัญที่จะทำให้งานของหน่วยงานหรือองค์กร
น้นั ๆ ดำเนินไปได้อย่างราบรืน่ และสมั ฤทธผิ์ ล

 2. เลขานุการต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานต่าง ๆ โดยไม่ต้องสอบถามความ
คิดเห็นจากผู้บังคับบญั ชาทกุ คร้ัง ยกเว้นกรณีทเ่ี ป็นเรื่องสำคญั เทา่ นัน้

 3. การติดต่องาน รับโทรศัพท์ โอนสายและต่อสายผู้บังคับบญั ชา ถือเป็นงานอำนวยความ
สะดวกของเลขานกุ าร

 4. คุณสมบัติที่เหมาะสมของเลขานุการ จำเป็นต้องมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับงานใน
หนา้ ท่ีรับผดิ ชอบของงานเลขานุการ

 5. เลขานุการควรมาถงึ ทท่ี ำงานอย่างนอ้ ย 5 นาที เพ่ือเตรยี มความพรอ้ มในการทำงาน
 6. งานของเลขานกุ ารจะมีปรมิ าณมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กบั ผบู้ ังคับบญั ชาเป็นสำคัญ
 7. การรกั ษาความลับของงานในหน้าทีไ่ วอ้ ย่างเข้มงวด เปน็ จรรยาบรรณของเลขานกุ าร
 8. เลขานุการควรพูดถึงความยากลำบากในการทำงานให้ผู้บังคับบัญชารับทราบ เพื่อขอ

เหน็ ใจในการปฏบิ ตั ิงาน
 9. เมื่อผู้ช่วยงานของเลขานุการทำงานผิดพลาด เลขานุการควรให้คำแนะนำ ตักเตือน

อย่างมศี ิลปะ
 10. อีกหนึ่งทางเลือกที่เลขานกุ ารสามารถพัฒนางานของตนเองได้ คือการศึกษาความรู้จาก

อนิ เทอรเ์ นต็

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสู่อาชพี เลขานกุ าร รหสั วิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร 56

ตอนที่ 2 ให้นกั เรียนตอบคำถามต่อไปน้ี ให้ถูกต้องครบถว้ น (10 คะแนน)

1. ใหอ้ ธบิ ายความหมายของเลขานุการ ให้เข้าใจ
ตอบ เลขานุการ หมายถึง เป็นผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบขึน้ ตรงต่อผูบ้ ริหาร ผู้บริหารให้ความสำคัญ
และไว้วางใจให้ช่วยแบ่งเบาภาระงานต่าง ๆ สามารถประสานงานและอำนวยความสะดวกบริหาร
จัดการให้งานของผู้บริหารและองค์กรประสบผลสำเร็จโดยราบรืน่

2. บทบาทหน้าทข่ี องเลขานุการจะมากหรือน้อยข้นึ อยู่กับอะไรบา้ ง
ตอบ
➢ นโยบายของหนว่ ยงาน
➢ ขนาดและลักษณะของหน่วยงาน
➢ ฐานะหรอื ตำแหน่งของผบู้ รหิ าร
➢ ความไว้วางใจของผ้บู รหิ าร
➢ ความรคู้ วามสามารถของเลขานกุ าร

3. ขอบขา่ ยงานในหน้าท่ีของเลขานุการทีส่ ำคญั มีกง่ี าน อธิบายสรปุ ย่อใหเ้ ข้าใจ
ตอบ โดยทั่วไปขอบข่ายงานในหนา้ ท่ขี องเลขานกุ ารมี 4 งานที่สำคัญ พอสรุปไดด้ ังต่อไปนี้
1. งานประจำ เช่น รับคำสั่งงานของผู้บังคับบัญชา ดูแลรับผิดชอบจดหมายเข้าออก ร่าง
พิมพ์หนังสือโต้ตอบ หรือพิมพ์งานเอกสารต่าง ๆ แยกประเภทเอกสาร แล้วจัดเก็บตามหลักการ
จดั เก็บเอกสาร เพื่อง่ายต่อการค้นหา โทรศัพทต์ ดิ ตอ่ งาน ดูแลการประชมุ เป็นตน้
2. งานอำนวยความสะดวก เช่น ต้อนรับผู้มาติดต่อกับผู้บังคับบัญชา จัดการนัดหมาย
เตรียมการเดินทางให้ผู้บังคับบัญชา จัดเตรียมข้อมูลคำปราศรัย หรือคำบรรยายให้ผู้บังคับบัญชา
ประสานงานระหวา่ งผบู้ รหิ ารและฝา่ ยต่าง ๆ ดแู ลความเรียบรอ้ ยของสำนกั งาน เปน็ ต้น
3. งานส่วนตัวของบังคับบัญชา เตือนความจำ เนื่องในโอกาสต่าง ๆ ปฏิบัติตามงานท่ี
ผบู้ ังคับบญั ชารอ้ งขอ เช่น ตดิ ต่อธนาคาร ชำระเบ้ยี ประกนั ชำระภาษี เปน็ ต้น
4. งานสร้างภาพพจน์ แบง่ ออกเป็น 3 สว่ น คอื สรา้ งภาพพจน์ให้แก่องค์กร สร้างภาพพจน์
ทีด่ ีให้บงั คับบญั ชาสรา้ งภาพพจนใ์ ห้แก่ตนเอง

4. เลขานกุ ารควรมีคุณสมบัติอยา่ งไร บอกมาอย่างนอ้ ย 5 ขอ้

ตอบ 1. มีคุณวุฒทิ างการศึกษาและมีความรู้ทเี่ หมาะสม

2. มคี วามรู้และทกั ษะเกยี่ วกบั งานในหน้าทีค่ วามรบั ผิดชอบของงานเลขาฯ

3. มีพ้ืนฐานความรู้ทว่ั ไป ทเ่ี กย่ี วข้องกับงานบรหิ าร

4. มีอุปนิสัยและกจิ นสิ ยั ในการทำงานที่ดี

5. มีบคุ ลิกลักษณะท่ีดี

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสู่อาชพี เลขานกุ าร รหัสวิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานุการ 57

5. จากผลงานวิจัยทีศ่ กึ ษาเกย่ี วกับสมรรถนะของเลขานกุ ารท่ีนายจ้างต้องการ มีก่ีข้อ อะไรบา้ ง
ตอบ มี 9 ขอ้ ดังนี้
สมรรถนะท่ี 1 มคี วามร้ใู นวชิ าชพี เลขานุการ
สมรรถนะท่ี 2 มีความร้ทู ุกเร่อื งในงานขององค์กร
สมรรถนะท่ี 3 มีบคุ ลิกภาพดี
สมรรถนะที่ 4 สามารถพูดเพ่ือนำเสนองานและพดู ในท่สี าธารณะได้
สมรรถนะที่ 5 ความสามารถในการทำงานร่วมกบั ผู้บรหิ ารชาวต่างชาติ
สมรรถนะท่ี 6 มีเชาว์อารมณ์ทด่ี ใี นการทำงานร่วมกัน
สมรรถนะที่ 7 ความสามารถในการบรหิ ารเวลา
สมรรถนะท่ี 8 ความสามารถในการใชเ้ ทคโนโลยีใหเ้ ป็นประโยชน์ในการทำงาน
สมรรถนะที่ 9 ความสามารถในการใชโ้ ซเชยี ลเน็ตเวิร์ก

6. เลขานุการควรปฏบิ ตั ิตนอย่างไร ในการทำงานรว่ มกับผู้บงั คับบัญชา บอกมาอยา่ งน้อย 5 ข้อ
ตอบ การทำงานรว่ มกับผู้บงั คบั บญั ชาหรอื นาย ควรปฏิบตั ติ น ดังน้ี
1. เรียนรนู้ สิ ยั สว่ นตวั และนสิ ัยการทำงานของนาย
2. ให้ความเคารพนับถือ ยกยอ่ ง และมีทัศนคตทิ ่ดี ีต่อผบู้ ังคับบัญชา
3. วางตัวไดเ้ หมาะสมกับกาลเทศะ ไมต่ ีเสมอนายทง้ั กาย วาจาใจ
4. รบั ฟงั คำวิพากษว์ จิ ารณจ์ ากผบู้ ังคับบัญชา และหาหนทางปรับปรงุ แกไ้ ขตนเอง
5. ปฏิบัติตนตามกฎระเบยี บขององคก์ ร เพอื่ เป็นการให้เกยี รตผิ ู้บังคบั บญั ชา

7. เลขานกุ ารควรปฏบิ ัติตนอย่างไร ในการทำงานร่วมกบั เพอื่ นร่วมงาน และผใู้ ตบ้ งั คบั บัญชา บอกมา
อยา่ งละ 3 ขอ้
ตอบ การทำงานร่วมกับเพื่อนรว่ มงาน เลขานุการควรปฏบิ ัตติ น ดงั น้ี
1. มคี วามจรงิ ใจ ให้ความชว่ ยเหลือ ให้คำปรึกษา
2. ร่างเรงิ แจ่มใส มีมนุษยสัมพันธก์ ับเพอื่ นรว่ มงาน
3. แสดงความมีน้ำใจ เออ้ื เฟื้อ หว่ งใย เอาใจใส่ดูแลตามสมควร
การทำงานรว่ มกบั ผใู้ ตบ้ งั คบั บญั ชา เลขานกุ ารควรปฏบิ ตั ิตน ดงั น้ี
1. มคี วามจริงใจ ปฏิบัตติ อ่ ผูใ้ ตบ้ งั คบั บญั ชาด้วยความเสมอภาค
2. ใชค้ นใหเ้ หมาะสมกบั งานที่เขาถนัดและมีความสุขเมื่อได้ทำงานนั้น
3. สนบั สนุนและเปดิ โอกาสให้ผู้ใตบ้ งั คบั บัญชามีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

วิชา การเตรียมความพรอ้ มส่อู าชพี เลขานุการ รหสั วิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมส่อู าชพี เลขานกุ าร 58

8. แนวทางการปฏบิ ตั งิ านประจำในแตล่ ะวนั ของเลขานกุ าร มอี ะไรบ้าง บอกมา 5 ขอ้
ตอบ
1. ควรมาถึงท่ีทำงานก่อนเวลา
2. ทำความสะอาด ดูแลความเรียบโตะ๊ ทำงาน
3. ตรวจสอบดตู ารางการนัดหมายของผบู้ ังคับบญั ชา
4. ดแู ลเอกสาร หนงั สือเข้า – ออก
5. ปฏบิ ตั ิงานอื่น ๆ ท่ีได้รบั มอบหมาย

9. เลขานกุ ารควรมีการพฒั นาและปรับปรุงงานของตนเองอยา่ งไรบา้ ง จงอธิบาย
ตอบ
1. ศกึ ษาหาความรทู้ ่ีเกี่ยวข้องกับงานในหนา้ ท่ี
2. เพมิ่ พนู ความชำนาญและความคลอ่ งแคลว่ ในการสื่อสาร
3. ศึกษาระบบงานในสำนกั งาน พยายามมองหาโอกาสและลทู่ างทีจ่ ะปรบั ปรุงแก้ไขใหด้ ีขึ้น
4. ขอคำแนะนำจากผู้ท่ีมคี วามชำนาญกวา่ เพ่ือคิดหาวิธกี ารใหม่ ๆ มาใช้ในการปฏิบตั ิงาน
5. ควรหาโอกาส ขยายขอบขา่ ยงานที่ตอ้ งทำเพือ่ ช่วยแบง่ เบาภาระงานของผบู้ งั คบั บัญชา
6. หาวิธกี ารเพอื่ ช่วยเสรมิ ความสามารถของผ้บู ังคับบัญชา
7. หลีกเลยี่ งกิจกรรมทท่ี ำให้เสียเวลาไปโดยไมเ่ กดิ ประโยชน์

10. จรรยาบรรณของเลขานุการมีอะไรบา้ ง บอกมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ
1. ปฏบิ ตั ติ นตามกฎระเบียบขององค์กรดว้ ยความจริงใจ เป็นแบบอย่างท่ดี ี
2. ธำรงไวซ้ ่งึ ความซ่ือสตั ย์อนั สูงสดุ ตอ่ ตนเองและต่องานในหน้าทอี่ ยา่ งสม่ำเสมอ
3. มีความรับผดิ ชอบต่องานในหน้าท่ขี องตนเองและผใู้ ตบ้ ังคบั บญั ชา
4. หาทางเพิ่มพูนความสามารถและความเข้าใจในวิชาชพี เลขานกุ าร
5. รักษาความลับของงานในหนา้ ทไ่ี วอ้ ย่างเข้มงวด

วิชา การเตรียมความพรอ้ มส่อู าชพี เลขานกุ าร รหัสวิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานุการ 59

หน่วยที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรยี มความพรอ้ มสอู่ าชพี เลขานกุ าร

หัวข้อเรอ่ื ง แสดงความรพู้ ืน้ ฐานการเตรยี มความพร้อมสูอ่ าชพี เลขานกุ าร

จดุ ประสงค์ 1. เพอ่ื ให้นักเรยี นไดแ้ สดงความคดิ รวบยอด ในการปฏิบัติงานเลขานกุ าร
2. เพื่อให้นักเรยี นไดฝ้ ึกกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม
3. เพือ่ เปิดโอกาสให้นักเรียนไดแ้ สดงออกและฝึกใหม้ ีความมั่นใจในตนเองเพ่ือเป็น

พ้นื ฐานในการเตรยี มความพร้อมสู่อาชีพเลขานุการ

คำช้แี จง

1. ให้นักเรยี นแบง่ กลุ่มตามความสมัครใจ กลุ่มละ 3 - 4 คน
2. นักเรยี นเลอื กหวั หนา้ กลุม่ และเลขานกุ ารกลมุ่
3. หัวหน้ากลุ่มและเลขานุการกลุ่มประชุมสมาชิกในกลุ่มเพื่อระดมสมองตามหัวข้อและ

กจิ กรรมทไ่ี ด้รับมอบหมาย
4. สมาชกิ ทุกคนร่วมกันอภิปรายและแสดงความคดิ เหน็ หน้าชนั้ เรียนในประเด็นต่อไปน้ี

➢ อาชพี เลขานุการ จะประสบความสำเร็จได้ ตอ้ งมีความรู้พนื้ ฐานหรือองค์ประกอบ
ใดบา้ ง ซึ่งให้อธบิ ายสรปุ ยอ่ พอเข้าใจให้ครบทุกประเดน็

➢ จากการศึกษาเกี่ยวกับความรู้พน้ื ฐานในการเตรยี มความพร้อมสู่อาชีพเลขานุการ นักเรยี น
คิดว่าตนเองมีคุณสมบตั ิพร้อมท่ีจะกา้ วเข้าสอู่ าชีพเลขานุการหรือไม่ เพราะเหตุใด

➢ จากข้อ 2 ถ้านักเรยี นคดิ วา่ ตนเองยงั มีคุณสมบัติทีย่ ังไม่พร้อมจะกา้ วสู่อาชีพการเป็น
เลขานกุ ารทีด่ ี นักเรยี นคดิ วา่ ตนเองขาดคณุ สมบตั ิในขอ้ ใด และมีแนวทางในการ
พัฒนาตนเองอย่างไร เพือ่ เป็นเลขานุการท่ีดี

การประเมนิ ผล

1. ประเมินผลตามแบบประเมินการปฏบิ ัตกิ ิจกรรมเสรมิ การเรยี นรู้ หนว่ ยที่ 1 ตารางท่ี 1.1
2. ประเมนิ โดยวิธีการสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลมุ่ (คะแนนเตม็ 20 คะแนน)

วิชา การเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร รหัสวิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมส่อู าชพี เลขานุการ 60

3. นกั เรียนตอ้ งปฏิบัติกจิ กรรมเสรมิ การเรียนรู้ 16 คะแนนขน้ึ ไป จึงจะถือว่าผา่ นเกณฑ์
คิดเป็นรอ้ ยละ 80

แบบประเมนิ ผลกจิ กรรมเสรมิ การเรยี นรู้

หนว่ ยท่ี 1 ความรพู้ ้นื ฐานในการเตรยี มความพร้อมสู่อาชีพเลขานุการ
หวั ข้อเรื่อง แสดงความรูพ้ ้นื ฐานการเตรยี มความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร

ตารางท่ี 1.1 แบบประเมนิ ผลกจิ กรรมเสรมิ การเรยี นรู้ หน่วยท่ี 1

ขอ้ ที่ หวั ข้อการประเมนิ เกณฑ์การใหค้ ะแนน รวม
4321 (20)
1 รูปแบบการนำเสนอ
2 เนือ้ หาและความรทู้ ่ีได้นำเสนอ
3 สามารถตอบปญั หาหรือให้

ความรู้เพ่ิมเติมได้
4 เวลาที่ใชใ้ นการนำเสนอ
5 ความร่วมมือในการทำงาน

รวม

ระดับคุณภาพ

คะแนน 16 - 20 หมายถงึ ดมี าก
คะแนน 11 - 15 หมายถงึ ดี
คะแนน 6 - 10 หมายถงึ พอใช้
คะแนน 1 - 5 หมายถงึ ปรบั ปรงุ

เกณฑ์ผ่าน
นักเรียนต้องปฏิบัติกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ 16 คะแนนขน้ึ ไป คิดเปน็ ร้อยละ 80

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสู่อาชพี เลขานุการ รหสั วิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร 61

แบบทดสอบหลงั เรียน

หนว่ ยท่ี 1 ความรพู้ นื้ ฐานเพอื่ การเตรยี มความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร

คำชแี้ จง ใหน้ กั เรยี นเขียนเครือ่ งหมาย  ลงในกระดาษคำตอบตรงข้อท่เี หน็ วา่ ถกู ท่ีสุดเพียงข้อ
เดยี ว (จำนวน 15 ขอ้ 15 คะแนน)

1. คำวา่ “เลขานุการ” ข้อใดอธิบายความหมายได้ถูกต้องที่สุด
ก. ผู้ปฏิบตั งิ านแทนผู้บรหิ าร
ข. ผทู้ มี่ หี น้าที่พิมพ์หนังสอื ขององค์กร
ค. ผูป้ ฏบิ ัตงิ านรับผิดชอบขึ้นตรงต่อผู้บริหาร
ง. เป็นผู้ท่สี ามารถสง่ั การทกุ อยา่ งแทนผ้บู รหิ าร

2. ข้อใด ไมใ่ ช่ บทบาทของเลขานกุ าร
ก. ผ้ขู านรบั นโยบาย
ข. ผูป้ ระสานงานกลาง
ค. ผวู้ างแผนและมอบนโยบาย
ง. เปน็ ภาพสะท้อนขององค์กร

3. ในแต่ละองค์กร บทบาทหน้าท่ีของเลขานุการจะมากน้อยแตกต่างกัน ขนึ้ อยู่กับข้อใด
ก. ลักษณะนิสยั การทำงานของเลขานกุ าร
ข. ขนาดของธุรกจิ และตำแหนง่ ของผูบ้ งั คบั บัญชา
ค. ความสามารถในการทำงาน และความรบั ผิดชอบของเลขานุการ
ง. ขนาดของธรุ กิจ ตำแหน่งของผูบ้ ังคับบญั ชา และขดี ความสามารถของเลขานุการ

4. งานดแู ลรับผิดชอบจดหมายเขา้ ออก เปน็ งานในหน้าที่ของเลขานุการ ตามข้อใด
ก. งานประจำ
ข. งานสร้างภาพพจน์
ค. งานอำนวยความสะดวก
ง. งานส่วนตวั ของผ้บู งั คับบัญชา

5. งานในหนา้ ท่ีของเลขานุการข้อใดคืองานอำนวยความสะดวก
ก. โทรศัพทต์ ิดตอ่ งาน

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสูอ่ าชพี เลขานกุ าร รหสั วิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานุการ 62

ข. ชำระภาษีใหผ้ ู้บังคบั บัญชา
ค. รับคำส่ังงานของผ้บู งั คบั บัญชา
ง. ตอ้ นรับผูม้ าตดิ ต่อกบั ผบู้ ังคบั บัญชา

6. ข้อใด ไม่ใช่ คณุ สมบัติทเ่ี หมาะสมของเลขานุการ
ก. มีบคุ ลิกลักษณะทดี่ ี
ข. มคี วามรู้ความเชีย่ วชาญดา้ นการบริหาร
ค. มที กั ษะความเช่ียวชาญเก่ยี วกับงานในหน้าทข่ี องเลขานุการ
ง. วุฒทิ างการศึกษาอย่างน้อยระดับประกาศนียบตั รวชิ าชีพทางเลขานุการ

7. ขอ้ ใด ไม่ใช่ คุณสมบัติของเลขานกุ ารที่ดี
ก. อดทน มีจติ ใจหนกั แน่น
ข. คดิ ล่วงหนา้ ในสง่ิ ทยี่ งั ไมเ่ กดิ ขึ้น
ค. ปฏิบัตงิ านตามคำสัง่ อย่างเคร่งครัด
ง. ปรบั ปรุงงานในหนา้ ท่ีใหด้ ขี น้ึ อย่เู สมอ

8. สมรรถนะของเลขานุการที่ตรงกับความต้องการของนายจา้ งในยคุ ปจั จุบัน ยกเว้น ข้อใด
ก. เชีย่ วชาญการออกงานสงั คม
ข. มีความสามารถในการบรหิ ารเวลา
ค. มคี วามสามารถใชเ้ ทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการทำงาน
ง. เป็นตัวแทนผบู้ รหิ าร ในการพูดเพ่อื นำเสนองานและพดู ในที่สาธารณะได้

9. บคุ คลในข้อใดต่อไปน้ี ไมใ่ ช่ สมรรถนะของเลขานกุ ารทนี่ ายจ้างตอ้ งการ
ก. สภุ าพร เป็นคนมีบุคลิกภาพทดี่ ี นา่ เชื่อถือ
ข. สรุ ีย์ฉาย เปน็ คนท่ีมเี ชาว์อารมณ์ท่ีดีในการทำงาน
ค. สุรีย์พร เปน็ คนทสี่ ามารถจดั สถานที่ทำงานได้สวยงาม
ง. สรุ ีรัตน์ สามารถทำงานแทนผ้บู ังคบั บัญชาและใหค้ ำแนะนำผบู้ ังคับบญั ชาได้ในบางโอกาส

10. การทำงานรว่ มกบั ผู้บังคบั บัญชา เลขานกุ ารควรปฏบิ ัตติ นตามขอ้ ใดมากทส่ี ุด
ก. เรยี นรู้อุปนสิ ัยของผบู้ ังคับบญั ชา
ข. ยิ้มแยม้ แจม่ ใส มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
ค. วางตัวใหส้ อดคลอ้ งกับผ้บู งั คับบญั ชา
ง. กล่าวยกยอ่ งชมเชยการทำงานของผู้บงั คบั บัญชา

11. ขอ้ ใด ไม่ใช่ การปฏิบตั ิงานในแต่ละวันของเลขานุการ
ก. ตรวจสอบดตู ารางนดั หมายของผบู้ งั คับบัญชา

วิชา การเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร รหสั วิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร 63

ข. จัดเตรยี มอุปกรณ์การทำงานใหพ้ ร้อมใช้งานอยูเ่ สมอ
ค. ดแู ลหนังสือเข้าออก ลงเลขรับ จัดลำดับความสำคญั และความเร่งด่วน
ง. ดแู ลความสะอาดโต๊ะทำงานของตนและเพ่ือนรว่ มงานให้พร้อมทำงานอยู่เสมอ

12. ในการปฏิบตั ิงานแต่ละวนั เลขานกุ ารควรปฏิบตั ขิ ้อใดเปน็ ลำดบั แรก
ก. เปิดเคร่อื งสำนักงานทุกชนดิ ใหพ้ ร้อมใช้งาน
ข. มาถงึ ที่ทำงานก่อนเวลาประมาณ 10 - 15 นาที
ค. พิมพห์ นังสือโตต้ อบท่ีคั่งค้างอย่ใู หเ้ สรจ็ กอ่ นแล้วค่อยทำอย่างอน่ื
ง. ทำความสะอาด ดูแลโต๊ะทำงานและจดั เตรียมอปุ กรณ์ของผู้บงั คับบัญชาให้พร้อม
ปฏบิ ตั งิ าน

13. การปฏบิ ัติงานของเลขานุการ ขอ้ ใดกลา่ วได้ถูกต้อง
ก. จัดเกบ็ เอกสารเขา้ แฟ้มสปั ดาหล์ ะครงั้
ข. ควรทำงานที่คง่ั คา้ งก่อนแล้วค่อยทำงานเร่งด่วน
ค. ดแู ลโต๊ะทำงานของตนเองให้ดกี ่อนแลว้ ค่อยดูแลโต๊ะทำงานของผู้บังคับบญั ชา
ง. การบันทกึ การสง่ั งานของผ้บู ังคับบัญชา ควรใช้เครื่องบนั ทึกเสียง ควบคกู่ ับการจดบันทกึ

14. ข้อใด ไมใ่ ช่ วิธีการเพื่อการพัฒนาปรบั ปรุงงานของเลขานุการ
ก. เดอื นดารา พูดคุยเพือ่ ตามข่าวของเพ่ือน ๆ ในสำนักงาน
ข. ดวงจันทร์ อา่ นข่าวธรุ กจิ จากอนิ เทอร์เน็ตเปน็ ประจำทกุ วนั
ค. ดวงดาว พยายามเรยี นรู้ลักษณะนสิ ยั การทำงานของผ้บู งั คับบัญชา
ง. ตะวันฉาย พดู คยุ กบั เลขานุการบรหิ ารเพอ่ื รบั ฟงั ประสบการณ์ในการทำงาน

15. การปฏบิ ัติงานของเลขานุการ ต้องยึดหลกั จรรยาบรรณข้อใดมากท่ีสดุ
ก. ยดึ หลกั ความยุตธิ รรม
ข. ประกอบอาชีพด้วยความเมตตา กรุณา
ค. รักษาความลับของงานในหนา้ ท่ีอย่างเขม้ งวด
ง. รักความก้าวหนา้ ม่งุ มน่ั ไขวค่ วา้ งานทสี่ งู กวา่ อาชพี เลขานุการ

วิชา การเตรียมความพร้อมสูอ่ าชพี เลขานกุ าร รหสั วิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสูอ่ าชพี เลขานกุ าร 64

เฉลยแบบทดสอบหลังเรยี น

หน่วยท่ี 1 ความรู้พื้นฐานเพ่อื การเตรียมความพร้อมสู่อาชีพเลขานกุ าร
คำชแ้ี จง แบบทดสอบหลงั เรียน มจี ำนวน 15 ข้อ (คะแนนเตม็ 15 คะแนน) นกั เรยี นต้องทำ

แบบทดสอบไดถ้ กู ต้อง จำนวน 12 ข้อขน้ึ ไป จึงถอื ว่าผ่านเกณฑ์ คิดเปน็ ร้อยละ 80

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสอู่ าชพี เลขานุการ รหัสวิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร 65

จำนวน 15 ขอ้

1. ค
2. ค
3. ง
4. ก
5. ง
6. ข
7. ข
8. ก
9. ค
10. ก
11. ง
12. ข
13. ง
14. ก
15. ค

ส่ือประกอบการสอน แผน่ ท่ี
1/1 - 1/2
วชิ า การเตรียมความพร้อมสูอ่ าชพี เลขานุการ 2201 - 2311
หนว่ ยท่ี 1 ความรู้พ้นื ฐานในการเตรยี มความพร้อมสูอ่ าชพี เลขานกุ าร

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสู่อาชพี เลขานุการ รหัสวิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร 66

สอ่ื ประกอบการสอน แผน่ ท่ี
1/3 - 1/4
วิชา การเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร 2201 - 2311
หนว่ ยที่ 1 ความรู้พ้นื ฐานในการเตรียมความพร้อมสูอ่ าชีพเลขานกุ าร

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสอู่ าชพี เลขานุการ รหัสวิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พืน้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร 67

สอ่ื ประกอบการสอน แผน่ ท่ี
1/5 - 1/6
วิชา การเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร 2201 - 2311
หนว่ ยที่ 1 ความรู้พ้นื ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชีพเลขานกุ าร

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสอู่ าชพี เลขานุการ รหัสวิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสู่อาชพี เลขานกุ าร 68

สอ่ื ประกอบการสอน แผน่ ท่ี
1/7 - 1/8
วิชา การเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานุการ 2201 - 2311
หนว่ ยที่ 1 ความรู้พ้นื ฐานในการเตรยี มความพร้อมสูอ่ าชีพเลขานกุ าร

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสอู่ าชพี เลขานุการ รหัสวิชา 2201 - 2311

ชดุ การสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร 69

สอ่ื ประกอบการสอน แผ่นที่

วิชา การเตรียมความพร้อมสอู่ าชีพเลขานกุ าร 2201 - 2311 1/9 - 1/10
หนว่ ยที่ 1 ความรู้พ้นื ฐานในการเตรยี มความพร้อมส่อู าชีพเลขานุการ

วิชา การเตรียมความพรอ้ มสอู่ าชพี เลขานุการ รหัสวิชา 2201 - 2311

ชุดการสอนที่ 1 ความรู้พนื้ ฐานในการเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร 70

ส่อื ประกอบการสอน แผ่นที่

วชิ า การเตรยี มความพร้อมสอู่ าชีพเลขานุการ 2201 – 2311 1/11 - 1/12
หนว่ ยท่ี 1 ความรู้พื้นฐานในการเตรียมความพร้อมส่อู าชพี เลขานุการ

วิชา การเตรียมความพร้อมสอู่ าชพี เลขานกุ าร รหัสวิชา 2201 - 2311


Click to View FlipBook Version