The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sudaporn.aeed, 2019-07-06 02:06:29

speech54_60

speech54_60

ประมวลพระราชดำ�รัส

สมเด็จพระเทพรตั นราชสุดา ฯ สยามบรมราชกมุ ารี

ด้านการพฒั นาเด็กและเยาวชนในถิน่ ทุรกันดาร

พุทธศักราช ๒๕๕๔ - ๒๕๖๐



(2)

คํ า นํ า

นับแต่พุทธศักราช ๒๕๒๓ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงงานพัฒนาเพื่อให้เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารห่างไกลมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ทรงดำ�เนินงานโครงการต่างๆ ในโรงเรียน เพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กทั้งในด้านการเกษตร
สุขภาพอนามัย การศึกษา สหกรณ์ การงานอาชีพ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม ตลอดจนวัฒนธรรมท้องถิ่น ทรงติดตามความก้าวหน้าของโครงการโดยเสด็จ
พระราชดำ�เนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียนด้วยพระองค์เอง และในแต่ละปีได้พระราชทานพระราช
วโรกาสให้คณะผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำ�ริเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท พร้อม
ทั้งพระราชทานพระราชดำ�รัสเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และเป็นขวัญกำ�ลังใจแก่
ผู้ปฏิบัติงานด้วย

พุทธศักราช ๒๕๕๓ อันเป็นปีที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงงานพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารครบ ๓๐ ปี สำ�นักงานโครงการสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้รวบรวมพระราชดำ�รัสต้ังแต่ทรงเริ่มงาน
จนถึงพุทธศักราช ๒๕๕๓ และได้จัดพิมพ์เป็นเล่มเพื่อเผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม
พุทธศักราช ๒๕๕๔

นับจากนั้นมาจนถึงพุทธศักราช ๒๕๖๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม
ราชกุมารี ได้มีพระราชดำ�รัสมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ�ทุกปี สำ�นักงานโครงการสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตจัดพิมพ์
เพื่อเผยแพร่ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้สนใจใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน เพื่อประโยชน์
ในการพฒั นาเดก็ และเยาวชนของประเทศชาติต่อไป
สำ�นกั งานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ า ฯ สยามบรมราชกุมารี
ตลุ าคม ๒๕๖๐

(3)

สารบัญ

พระราชดำ�รัส ในโอกาสทีค่ ณะผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำ�ริ เข้าเฝ้าฯ ๑
ณ ศาลาดสุ ิดาลยั สวนจิตรลดา กรงุ เทพมหานคร ๓
วนั อังคาร ที่ ๑๙ เมษายน พทุ ธศักราช ๒๕๕๔ ๖

พระราชดำ�รสั ในโอกาสที่คณะผู้ปฏิบตั ิงานโครงการตามพระราชดำ�ริ เข้าเฝ้าฯ ๑๒
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา กรงุ เทพมหานคร
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๙ เมษายน พุทธศกั ราช ๒๕๕๕

พระราชดำ�รัส ในโอกาสที่คณะผู้ปฏิบตั ิงานโครงการตามพระราชดำ�ริ เข้าเฝ้าฯ
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร
วันพธุ ที่ ๒๔ เมษายน พทุ ธศักราช ๒๕๕๖

พระราชดำ�รัส ในโอกาสที่คณะผู้ปฏิบตั ิงานโครงการตามพระราชดำ�ริ เข้าเฝ้าฯ
ณ ศาลาดสุ ิดาลยั สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร
วนั องั คาร ที่ ๒๑ เมษายน พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๗

พระราชดำ�รสั ในโอกาสที่คณะผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชด�ำ ริ เข้าเฝ้าฯ
ณ อาคารใหม่สวนอมั พร กรงุ เทพมหานคร
วนั พฤหสั บดี ที่ ๓๐ เมษายน พทุ ธศักราช ๒๕๕๘

(4)

พระราชดำ�รสั ในโอกาสที่คณะผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำ�ริ เข้าเฝ้าฯ ๑๕
ณ ศาลาดสุ ิดาลัย สวนจิตรลดา กรงุ เทพมหานคร ๑๙

วันพธุ ที่ ๒๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๙

พระราชดำ�รสั ในโอกาสทีค่ ณะผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำ�ริ เข้าเฝ้าฯ
ณ ศาลาดสุ ิดาลัย สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร
วนั จันทร์ ที่ ๒๔ เมษายน พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐

(5)



พระราชด�ำ รัส

ในโอกาสที่คณะผ้ปู ฏิบตั ิงานโครงการตามพระราชดำ�ริ เข้าเฝ้าฯ
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา กรงุ เทพมหานคร
วนั องั คาร ที่ ๑๙ เมษายน พุทธศกั ราช ๒๕๕๔

ปีนี้สถานศึกษาต่าง ๆ ทีเ่ ข้าร่วมในโครงการได้เพิ่มขึ้นจนไม่สามารถที่จะกล่าวถึงสงั กัด
ต่าง ๆ ที่ได้ทำ�งานร่วมกัน นอกจากน้ันก็มีสถานศึกษาและหน่วยราชการอื่น ๆ ที่ได้มาร่วม
ช่วยกัน และยังมีหน่วยงานเอกชน บริษัท ห้างร้าน หรือบุคคลต่าง ๆ ที่มาช่วยงานกันเป็น
จำ�นวนมาก กต็ ้องขอบคณุ ทกุ ๆ ท่าน

ใน ๒ ปี ตั้งแต่ปีที่แล้วถึงปีนี้ นอกจากการประชุมทีท่ �ำ มาหลายปีแล้ว ในเดือนเมษายน
อย่างเช่นวันนี้ก็ได้มีการชุมนุมกันระลึกถึงการพัฒนาโครงการ ๓๐ ปี ซึ่งได้จัดขึ้น ๕ ครั้ง
การจัดงานเหล่านี้ นอกจากจะมีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และสรุปว่า
การงานไปถึงไหน มีผลอย่างไรแล้ว ยังรู้สึกปลาบปลื้มยินดีที่ได้พบทุกท่าน และปลาบปลื้ม
ที่ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี รวมทั้งเด็กและเยาวชนที่ได้รับการพัฒนา ก็มีจำ�นวนมาก
ที่สำ�เร็จการศึกษา ได้มาปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและต่อสังคม นอกจากนั้น
ยังมีอีกหลายท่านที่ได้มาร่วมเป็นผู้ปฏิบัติงาน การงานจึงขยายใหญ่ได้มากขึ้น ท้ังในทาง
กว้างและในทางลึก ในทางกว้างน้ัน โครงการได้เป็นตัวอย่าง และการที่ได้ไปช่วยปฏิบัติงาน
ในต่างประเทศหลาย ๆ ประเทศ และประเทศเหล่าน้ันก็สนใจในกิจการและวิธีการของเรา
เพือ่ ทีจ่ ะได้ไปพฒั นาเดก็ และเยาวชนในประเทศของเขา และยงั ได้ขยายโครงการในประเทศไทย
ไปถึงที่ที่ทุรกันดารเพิ่มยิ่งขึ้น การเดินทางลำ�บาก และมีข้อจำ�กัดต่าง ๆ ทำ�ให้ต้องคิดถึง
วิธีการพัฒนาที่มีความเจริญสูงขึ้นมากกว่าที่เราเคยพัฒนาหรือได้เคยปฏิบัติงานมา ต้อง
คิดหาวิธีการที่จะเป็นประโยชน์ในพื้นที่ที่แต่ก่อนทุรกันดาร แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ทุรกันดาร แต่
ยังมีสิ่งที่จะทำ�ได้ เราได้ขยายไปในที่ที่ทุรกันดารกว่าเดิมที่เราเคยปฏิบัติกันมา อันนี้เป็นเรื่อง
ทางกว้าง ส่วนทางลึกน้ัน ได้คิดหาวิธีที่จะทำ�ให้ปฏิบัติงานได้ดีขึ้น ลึกขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
ในเรื่องการศึกษา ได้มีการพัฒนาความรู้ของครูและนักเรียนให้มีความรู้มากขึ้นทางด้าน
ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือสังคมศึกษา เป็นต้น และให้มี
ความรู้สึกที่จะต้องรักษาภูมิปัญญาของท้องถิ่น ทั้งในด้านการรักษาวัฒนธรรมประเพณี

1

อันดีของท้องถิ่น และยังต้องรักษาสภาพธรรมชาติ เรื่องนี้มาคิดหนักในตอนนี้ เพราะสังเกต
เห็นว่าประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกน้ัน มีปัญหาทางด้านการเปลี่ยนแปลงของ
สิ่งแวดล้อมมาก บางเรื่องเป็นเรื่องสุดวิสัยที่เราจะทำ�อะไรแก้ไขได้ แต่บางเรื่องน่าจะยังมีส่วน
ที่เราจะพิจารณาและคิดหาทางแก้ไขกันได้ ท้ังเด็กและผู้ใหญ่ เช่น ในเรื่องของทรัพยากรดิน
ทรัพยากรน้ํา ทรัพยากรป่าไม้ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ที่สอนกันคือจะต้อง
รักษาจริง ๆ ไม่เช่นนั้นรุ่นนักเรียนเมื่อโตขึ้น หรือรุ่นลูกหลานของนักเรียนต่อไปก็จะมีชีวิต
ทีย่ ากลำ�บากมากยิ่งกว่านี้ ต้องพิจารณาเรื่องนี้ให้ดี

นอกจากนั้น ยังมีการพัฒนาเรื่องการงานอาชีพที่จะเป็นพื้นฐานประกอบอาชีพ
ต่อไป หรือบางคนอาจจะไม่ได้ใช้วิชาเหล่านั้นประกอบอาชีพ แต่เป็นความรู้ติดตัว บางคน
อาจจะเป็นงานอดิเรกเสริม เพื่อให้มีความคิด หรือได้ฝึกฝนในด้านมือด้านสมองมากยิ่งขึ้น
หรือการฝึกอบรมในเรื่องของการตลาด ให้สามารถนำ�ความรู้ที่มีอยู่นั้นเป็นเครื่องฝึกให้
รักษาตัวต่อ ๆ ไปได้ เป็นอาชีพให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และหลาย ๆ อย่างที่ยังเน้นอย่างเดิม เช่น
ในเรื่องการเกษตร การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อให้นักเรียนมีอาหารที่ดี ซึ่งเรื่องนี้
กลายเป็นไม่ใช่เรื่องเล็ก คือเป็นปัญหาวิกฤตของโลก คนในหลาย ๆ ภูมิภาคไม่มีอาหารกิน
พอเพียง จนกระทั่งหน่วยงานของสหประชาชาติที่ดูแลเรื่องอาหาร เขาอยากให้เรารณรงค์
เพื่อให้คนสำ�นึกว่า ในโลกนี้ยังมีคนที่อดอยากและไม่มีอาหารกินถึงขั้นวิกฤต อย่างบ้านเรา
นับว่าโชคดี ไม่มีเหตุวิกฤตขนาดนั้น แต่ก็มีเหตุที่บางคนในประเทศยังมีอาหารไม่พอเพียง
หรืออาหารที่ไม่ถูกต้อง เราก็ได้พยายามอบรมเน้นเรื่องนี้ทุกที่ และในที่ต่าง ๆ ที่เราขยาย
ออกไป การขาดไม่ใช่เพียงเทคโนโลยีที่ท่านผู้บัญชาการตำ�รวจตระเวนชายแดนได้กล่าว
เมื่อกี้นี้ แต่ในเรื่องของการผลิตอาหารนั้น บางที่ก็ทำ�ได้ บางที่ก็ทำ�ไม่ได้ด้วยเหตุผลต่าง ๆ
เพราะฉะน้ันก็ต้องพยายามหาวิธีการที่จะทำ�ให้ทุกคนมีพอกินพอใช้ และสามารถพึ่งตัวเองได้
โดยพยายามใช้ของที่มีในท้องที่ให้มากทีส่ ดุ

ในโอกาสนี้ ขอขอบคุณทกุ ๆ ท่านที่มาร่วมชุมนมุ กนั และขออาราธนาคณุ พระรตั นตรยั
สิง่ ศกั ดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ช่วยดลบนั ดาลให้ทกุ ๆ ท่านมีความสขุ ความเจริญ คิดสิ่งใดให้สมความ
ปรารถนา และผ่านพ้นจากอุบัติภัยอันตรายต่าง ๆ ถึงแม้จะมีสิ่งที่อันตราย ประสบอุปสรรค
นานาประการ ก็ขอให้มีความคิดมีสติปัญญาที่จะช่วยตนเองให้รอดพ้นจากสิ่งเหล่านี้ หรือ
ให้บรรเทาสิ่งทีเ่ กิดขึ้นได้ ขอให้มีความสุขและโชคดีด้วยกันทกุ คน

2

พระราชด�ำ รสั

ในโอกาสทีค่ ณะผู้ปฏิบตั ิงานโครงการตามพระราชดำ�ริ เข้าเฝ้าฯ
ณ ศาลาดสุ ิดาลยั สวนจิตรลดา กรงุ เทพมหานคร
วนั พฤหสั บดี ที่ ๑๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๕

เนอื่ งในการชมุ นมุ ครงั้ นี้ ขอกลา่ วความคดิ เหน็ บางประการทเี่ กยี่ วกบั โครงการทไี่ ดท้ �ำ มา
ซงึ่ ด�ำ เนนิ ไปดว้ ยดี ประการแรก เกยี่ วกบั สขุ ภาพอนามยั ในการท�ำ งานทกุ วนั นี้ ยอ่ มแตกตา่ งกบั
เมือ่ ๓๐ กว่าปีทีผ่ ่านมาอย่างมากมาย เริ่มต้นน้ันเห็นว่านกั เรียนและประชาชนในถิ่นทุรกันดาร
โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ ในถนิ่ ทมี่ โี รงเรยี นต�ำ รวจตระเวนชายแดน มปี ญั หาในเรอื่ งโภชนาการ การขาด
สารอาหาร แต่ปัจจุบันนี้เท่าที่ไปเห็นมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ผู้ที่มีปัญหาทางด้าน
โภชนาการก็เหลือจำ�นวนอยู่ไม่เท่าไร ท้ังนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะนิ่งนอนใจไม่ปฏิบัติการ
อย่างที่เคยทำ� เพราะเราได้ขยายโครงการออกไปในที่ที่ทุรกันดารยิ่งขึ้นกว่าเดิม นอกจากน้ัน
ยงั ไดป้ ฏบิ ตั กิ ารในประเทศตา่ งๆ อกี หลายประเทศ ซงึ่ เขามาดเู ราเปน็ ตวั อยา่ ง เรายงิ่ ตอ้ งท�ำ ใหด้ ี
ให้เป็นที่ที่เขาจะศึกษาได้ว่า เราทำ�เรือ่ งสุขภาพอนามัยและเชือ่ มโยงกบั เรื่องการงานอาชีพ เช่น
การเกษตร เรื่องการศึกษา อย่างนี้เป็นต้น นอกจากเรื่องโภชนาการแล้วยังมีปัญหาในเรื่อง
สุขภาพอนามัยอื่น ๆ เช่นเรื่องโรคที่เกิดจากฟัน โรคที่เกิดจากหนอนพยาธิที่อยู่ในร่างกาย
โรคมาลาเรีย ความป่วยไข้ต่าง ๆ ที่จริงเป็นเรื่องของทางสาธารณสุข แต่เราที่อยู่ในโรงเรียน
มีวิชาความรู้ หลายแห่งที่หน่วยงานทางสาธารณสุขเข้าไปได้ยาก โรงเรียนก็ได้เป็นศูนย์กลาง
เช่น เป็นสุขศาลา ดูแลนกั เรียน ครอบครัวของนักเรียน และประชาชนโดยทัว่ ไป นอกจากโรค
ภยั ไข้เจ็บแล้ว อาจมีโรคอืน่ ๆ เช่น โรคทีเ่ กิดจากสารพิษ เนือ่ งจากการปฏิบตั ิตนทีไ่ ม่เหมาะสม
ก็ต้องให้ค�ำ แนะน�ำ เพือ่ ที่จะปฏิบตั ิถูกต้องต่อไป

ประการที่สอง คือเรื่องการศึกษา ปรากฏว่าเดิมต้ังแต่ ๓๐ กว่าปีนั้น ได้ต้ัง
เป้าหมายที่ดี คือ ให้ประชาชนทุกคนมีความรู้อ่านออกเขียนได้ ต่อมาก็เรียนจบภาคบังคับ
ต่อมาก็หวังว่าทุกคนควรจะมีโอกาสได้เรียนในระดับสูงขึ้นไปตามสติปัญญาของตัว หลายคน
จบปริญญาตรีปริญญาโท ต่อไปเห็นหลายคนมีแผนจะศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก แล้ว
ออกมาประกอบอาชีพต่าง ๆ ในเวลานี้นอกจากได้เรียนทุกคนแล้ว เราต้องเน้นเรื่องคุณภาพ
การศึกษา อย่างที่เห็นว่าพยายามเน้นท้ังด้านภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ด้านคณิตศาสตร์

3

วทิ ยาศาสตร์ สงั คมศกึ ษา หรอื อนื่ ๆ นอกจากนกั เรยี นแลว้ ผทู้ ใี่ หก้ ารศกึ ษาคอื ครู กต็ อ้ งปรบั ปรงุ
ตัวเองให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ อย่าถือว่าเราเป็นครูแล้วมีความรู้ความสามารถดีกว่าคนอื่น บางเรื่อง
ก็ควรจะศึกษาไปด้วยกัน อย่างปัจจุบันนี้หลาย ๆ แห่งมีสื่อการสอน เช่น มีหนังสือ ก็ควรที่
จะอ่านศึกษาหาความรู้ หรือมีคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และสื่ออิเลก็ ทรอนิกส์อืน่ ๆ การเรียน
ทางไกล อย่างนี้เปน็ ต้น ถ้าเรารู้จกั ค้นหาความรู้ในสื่อเหล่านี้ ไม่ว่าสาขาวิชาใดกส็ ามารถศึกษา
เล่าเรียนได้ แล้วต้องฝึกฝนตนเองให้ได้ให้ดีไปพร้อม ๆ กนั ทุกวนั นี้หลาย ๆ เรื่องหลาย ๆ วิชา
ต้องเชื่อมโยงกันให้ได้ อย่างที่ไปเห็นวันหนึ่ง คุณครูสาธิตการสอนเรื่องไฟฟ้า ดูแล้วเห็นว่า
สอนได้ดี น่าจะเชื่อมโยงได้กับการฝึกอบรมเรื่องปัญหาจากไฟฟ้าที่เราได้รับการอบรมในการ
อบรมครู ตามที่ท่านผู้บัญชาการตำ�รวจตระเวนชายแดนได้กล่าวเมื่อสักครู่นี้ แล้วอาจจะ
เชื่อมโยงกับการฝึกวิชาชีพต่าง ๆ เช่นวิชาชีพทางไฟฟ้า ด้านการเรียนในห้องเรียน หรือการ
ปฏิบัติที่เราปฏิบัติ เช่น เรียนวิชาทางชีววิทยา หรือแม้แต่คณิตศาสตร์ ก็อาจจะเชื่อมโยงกับ
แปลงเกษตร นอกจากทำ�แปลงปลูกพืช เราได้ทำ�เรื่องสหกรณ์ คำ�นวณอะไรต่าง ๆ เป็นวิชา
ความรู้ทุกอย่างที่จะเชือ่ มโยงกนั ได้

สว่ นในดา้ นวชิ าชพี ตอนแรกทคี่ ดิ ในเรอื่ งการสอนวชิ าชพี นน้ั เพราะเหน็ วา่ ในโรงเรยี น
หรือในชุมชนที่มีโรงเรียน ตชด. มีบุคคลที่ไม่สามารถจะประกอบอาชีพปกติ หรือเล่าเรียนได้
ตามปกติ เพราะเปน็ บคุ คลตา่ งดา้ วบ้าง บคุ คลไรส้ ญั ชาติบา้ ง ซึง่ ขณะนีก้ ย็ งั มอี ยู่ บคุ คลเหล่านั้น
ถ้าเรียนวิชาสูงขึ้นไปไม่ได้ ก็ควรจะมีความรู้ทางด้านวิชาชีพเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพ
ที่สุจริตได้ ต่อมาสถานการณ์เหล่านี้ก็ดีขึ้น โอกาสในการศึกษา ความเท่าเทียมดีขึ้น แต่การ
ฝกึ อาชพี นน้ั กค็ วรทจี่ ะปฏบิ ตั ติ อ่ ไปเพราะยงั มปี ระโยชนส์ �ำ หรบั เดก็ ทยี่ งั เลก็ ๆ อยู่ การทไี่ ดท้ �ำ การ
ที่สมัยก่อนเรียกว่า หตั ถศึกษา นั้น เป็นการฝึกอบรมความรู้ หรือเรื่องวฒั นธรรม หรือการรกั
การท�ำ งาน เปน็ การฝึกมือ ให้สามารถใช้ได้ดี เหมือนกบั เราวิ่งออกก�ำ ลังกาย การใช้มือเปน็ การ
เชื่อมโยงระหว่างมือและสมอง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำ�คญั ที่สุด ส�ำ หรบั เดก็ โตก็จะฝึกอบรมให้ท�ำ
อะไร ๆ ได้ และเป็นรายได้เพิ่มเติม การทีเ่ รียนวิชาชีพนี้จะเสริมให้ผู้ปกครองนักเรียนและชมุ ชน
มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เราจะเห็นได้ว่า เดี๋ยวนี้จะมีกลุ่มชาวบ้านที่อาศัยโรงเรียน หรืออยู่ห่าง
ไม่อาศัยโรงเรียนในการผลิตของ เราสามารถหาตลาดให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นการเพิ่มพูน
รายได้ เท่าที่ไปดูที่ผ่านมาก็มีปัญหาอยู่บ้าง เช่นกลุ่มของชาวบ้าน บางทีเมื่อต้ังกลุ่มแล้ว ไม่มี
สถานที่ทีจ่ ะท�ำ งาน เมื่อฝ่ายที่ไปตรวจตราตรวจดู กพ็ บว่าสินค้าไม่มีคณุ ภาพตามสมควร ถ้าได้
ทำ�ในโรงเรียน ครูซึ่งมีความรู้ก็อาจจะเป็นผู้แนะนำ�ได้ว่าควรทำ�อย่างไร เช่นเรื่องความสะอาด
ให้ตรงตามมาตรฐาน ส่งเสริมเรือ่ งการตลาดทีถ่ กู ต้อง นอกจากน้ันวิชาต่าง ๆ ทีเ่ ราเรียน เช่น
การบญั ชี หรือการสหกรณ์ ก็จะเปน็ นิสยั ปจั จยั ต่อไป ให้นกั เรียนเมื่อโตขึ้นได้ทำ�อาชีพทีถ่ กู ต้อง
เป็นการรวมกลุ่มท�ำ ที่โปร่งใส และจะเผยแพร่ความรู้ไปสู่ชุมชนและชาวบ้านได้เช่นกนั

ส่วนเรื่องสำ�คัญมากที่ได้อบรมมา คือการอนุรักษ์ธรรมชาติ เราจะเห็นกับตาได้

4

ทุกวัน อย่างที่เกิดเรื่องหนักเมื่อหลายเดือนมาแล้ว มีหมอกควันเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็น
สาเหตใุ ห้เกิดอบุ ตั ิเหตตุ ่าง ๆ น้ัน พบว่าเป็นเรื่องเผาป่า การเผาป่าทำ�ลายพืชธรรมชาติ ทำ�ให้
เกิดนํ้าท่วม เกิดดินถล่ม เปน็ ของที่เหน็ ๆ กนั อยู่ แต่การที่จะไปพดู ไปว่าใครเขาเปน็ เรื่องลำ�บาก
เพราะเกีย่ วกบั การท�ำ มาหากิน หรือผลประโยชน์ต่าง ๆ ถ้าครูทราบ กรมอุทยาน ฯ ทีเ่ ชิญมาให้
ร่วมมือกันช่วย ๆ กัน นกั เรียนกช็ ่วยกนั เราก็จะรักษาสมบัติของชาติได้ พูดถึงเรื่องวฒั นธรรม
นั้น ในกลุ่มนักเรียนเรานี้ ถือว่าเป็นผู้ที่สืบทอดชีวิตมาจากหลากหลายวัฒนธรรม การที่ได้
รักษาวัฒนธรรมของชุมชนไว้น้ัน เป็นการแสดงเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของตนเอง ซึ่งเป็น
การสร้างความม่นั ใจที่จะเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาต่อได้

นอกจากผู้ที่มาร่วมงานที่มาช่วยงานคุณครู และผู้บังคับบัญชาทั้งหลายที่มาช่วยกัน
บุคคลสำ�คัญที่ควรจะต้องช่วยเหลือทำ�ให้โครงการสำ�เร็จไปได้ ได้แก่ศิษย์ปัจจุบัน และ
นักเรียนเก่า ที่รู้อยู่แล้วว่าควรจะทำ�อย่างไร อยากจะให้นำ�วิชาที่เรียนหรือสิ่งที่ได้ฝึกอบรมนั้น
มาปฏิบัติจริง แล้วเผยแพร่ไปสู่ครอบครัว ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่ได้พบเห็นรู้จัก ถ้ามีโอกาส
ก็สละเวลามาช่วยดูแลโรงเรียนเก่า เพื่อให้รุ่นน้องมีโอกาสสืบต่อมา จะได้ค่อย ๆ พัฒนาตัว
ให้เจริญขึ้นและมีความสขุ กันถ้วนหน้า

ในโอกาสนี้ขอขอบคณุ ทุก ๆ ท่านทีไ่ ด้มาร่วมกันเช่นเคย ขออาราธนาคณุ พระรัตนตรยั
สงิ่ ศกั ดสิ์ ทิ ธทิ์ งั้ หลาย และพระมหากรณุ าธคิ ณุ ของพระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ชว่ ยดลบนั ดาล
ให้ทุกท่านเจริญด้วยจตุรพิธพรชัย คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ได้แก่ อายุยืน สุขภาพดี
มีความคิดอ่านที่ดี เพื่อให้ตนเอง ชุมชน และบ้านเมือง ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างมีความสุข
ตลอดไป

5

พระราชด�ำ รสั

ในโอกาสทีค่ ณะผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชด�ำ ริ เขา้ เฝา้ ฯ
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร
วนั พธุ ที่ ๒๔ เมษายน พทุ ธศักราช ๒๕๕๖

นับแต่ละปีที่ได้ปฏิบัติงานมา มีบุคคลทั้งมาจากหน่วยราชการต่าง ๆ และบุคคลที่
มาจากภาคเอกชน ได้เข้ามาร่วมปรับปรุงการทำ�งานเพื่อให้งานดียิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์
ต่อเยาวชนมากขึ้น จะเห็นว่าเยาวชนที่เป็นนักเรียน นับวันก็มีโอกาสและได้เรียนในระดับที่
สูงขึ้น ๆ และได้ทำ�งานที่เป็นอาชีพเลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
ได้มากขึ้น มีคนที่ประกอบวิชาชีพประสบความสำ�เร็จ อย่างปีนี้ก็มีผู้ที่จบเป็นนายแพทย์
ล้วนแต่เป็นนักเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดน เพราะฉะน้ัน รุ่นใหม่ ๆ ที่เรียนมาอย่างนี้ และ
เห็นพี่ ๆ เป็นตัวอย่าง ก็น่าจะมีกำ�ลังใจในการที่จะขยันหม่ันเพียรและศึกษาเล่าเรียน เพื่อให้
ประสบความสำ�เร็จเหมือนพี่ ๆ ในรุ่นเก่า

ในเรื่องผู้ปฏิบัติการ สังเกตได้ว่า ท้ังประเทศไทยและโลกมีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น มีการ
เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่ท่านผู้บัญชาการตำ�รวจตระเวนชายแดนได้กล่าวเมื่อสักครู่ ว่ามีการ
พูดถึงการรวมกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากการรู้จักเขาแล้ว ก็ต้องรู้จักในแง่ที่ว่าเขามีการ
อบรมบ่มนิสัยกันมาอย่างไร การเล่าเรียนเป็นอย่างไร เพื่อที่ว่าเราจะได้มีข้อเปรียบเทียบ
และแก้ไขในสิ่งที่เรายังด้อยกว่า แม้แต่ผู้ที่ปฏิบัติงานเป็นครู อาจารย์ หรือเป็นเจ้าหน้าที่ด้าน
ต่าง ๆ ก็มิใช่ว่าหยุดนิ่งกับงานที่มีความรู้ความชำ�นาญอยู่แล้ว จำ�เป็นจะต้องศึกษามากยิ่งขึ้น
เพื่อที่จะให้ปฏิบัติงานได้ดีขึ้น จะเห็นว่าในช่วงหลังก็มีการอบรมมากขึ้น เช่น ในเชิงความรู้
ทางวทิ ยาศาสตร์เทคโนโลยี ทพี่ ดู ไว้ว่าตอ้ งการจะให้ใช้สิง่ ทเี่ ปน็ ความกา้ วหน้าทมี่ อี ยู่ในโรงเรียน
เราน้ัน มาปรับปรุงเพื่อเป็นตัวอย่างของการปฏิบัติการในเชิงวิชาการประกอบกับวิชาที่
ได้เรียน เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ เช่นเราเรียนเรื่องไฟฟ้า ในการอบรมเราก็มีการอบรมเรื่อง
การงานอาชพี ตอ่ ไฟ เรากต็ อ้ งเอาสองอยา่ งนมี้ าโยงกนั ใหไ้ ดว้ า่ เปน็ วชิ าเรยี นไฟฟา้ อยา่ งนเี้ ปน็ ตน้
เราต้องพยายามศึกษาหาความรู้ไปเรื่อย ๆ แม้จากสิ่งที่จะเกิดขึ้นในโรงเรียนของเรา เช่น
การก่อสร้าง การขุดหานํ้าดื่มที่สะอาด เป็นต้น เมื่อปีก่อนมีการอบรมเพิ่มขึ้นอีกอย่าง คือ
จากการสังเกตตามโรงเรียน เวลานี้มีนักเรียนที่มีความบกพร่องในการเล่าเรียนมากขึ้น

6

เพราะว่าผู้ปกครองเริ่มสนใจที่จะให้ลูกได้มาศึกษาเล่าเรียนมากขึ้น แต่ก่อนนี้ถ้าใครมีความ
สามารถด้อยก็มักจะไม่เปิดโอกาสให้เข้าโรงเรียน แต่เดี๋ยวนี้มีการศึกษาพิเศษ ให้ทุกคน
พัฒนาได้ตามการศึกษาของตัว ผู้ที่เป็นครูก็จะต้องมีวิธีการสอนที่เหมาะสำ�หรับเด็กแต่ละ
ประเภท เด็กที่มีความสามารถสูงก็ต้องพัฒนาไปตามนั้น เด็กที่ยังมีความบกพร่องในการ
เล่าเรียนก็ได้เชิญครู ตชด. โดยความร่วมมือของส�ำ นักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และโรงเรียน
จิตรลดา ให้ความรู้ร่วมกับทางแพทย์อาสาสมัครที่เขามีความรู้ด้านนี้ และหวังว่าจะปฏิบัติ
ได้ดีขึ้น ส่วนสิ่งที่เราต้ังใจเป็นการทำ�งานหลัก คือเรื่องให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสจะได้
รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ที่ทำ�สด ๆ ทำ�ขึ้นเอง ก็ปรากฏว่าประสบความสำ�เร็จเป็น
อย่างสูง แต่อย่างไรก็ดี เมื่อเดือนสองเดือนที่แล้วได้ฟังวิทยุ มีผู้หลักผู้ใหญ่ท่านหนึ่งกล่าวว่า
เด็กไทยยังมีภาวะขาดอาหารอยู่มาก ฟังแล้วตอนแรกก็รู้สึกว่าที่ท่านพูดเกินความเป็นจริงไป
เพราะว่าเท่าที่ไปมาทั่วประเทศ ไม่มีผู้ที่ผอมแห้งแรงน้อยหรือนํ้าหนักน้อยขนาดนั้น แต่ว่า
ตัวเลขที่เรามีนั้นยังบกพร่องอยู่มาก คือการเจริญเติบโตด้านความสูงของร่างกาย ยังมี
เปอร์เซ็นต์ที่ต่ํากว่าเกณฑ์สูงอยู่ และได้ไปถามผู้รู้ เรื่องนี้ต้องดูแลตั้งแต่เด็กคนน้ันอยู่ในครรภ์
มารดา ซึ่งเรามีโครงการที่ให้ครู ตชด. ดูแลมารดาที่ต้ังครรภ์และกำ�ลังให้นมบุตร ก็มีใน
โครงการอยู่แล้ว เพราะฉะน้ันในโครงการนี้กต็ ้องศึกษาให้ดียิ่งขึ้น

ในโอกาสนี้ขอขอบคุณท่านผู้ที่มาร่วมงานในวันนี้ และคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้มา ที่ได้มา
ช่วยกนั เพื่อให้เกิดความส�ำ เร็จ และให้เยาวชนมีโอกาสมากขึ้น ขอขอบคณุ ทกุ ๆ ท่าน

7

พระราชด�ำ รัส

ในโอกาสที่คณะผปู้ ฏิบตั ิงานโครงการตามพระราชดำ�ริ เข้าเฝ้าฯ
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร
วนั อังคาร ที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๗

ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้มาร่วมมือกันทำ�งานนี้มาเป็นเวลานาน ที่เริ่มทำ�เองก็ประมาณ
๓๐ ปีเศษ แต่ที่ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรม
ราชินีนาถ ทำ�งานในลักษณะนี้ คือดูแลนักเรียนน้ัน เป็นเวลา ๔๐ ปีเศษแล้ว งานนี้เป็นงาน
ทีต่ ้ังใจพยายามให้ดีที่สดุ เท่าทีจ่ ะดีได้ แต่จะทำ�คนเดียวกไ็ ม่ได้ และคิดว่าทีท่ ำ�สำ�เรจ็ มาถึงข้ันนี้
เป็นเพราะได้รับความร่วมมือความช่วยเหลือจากทุกท่าน ส่วนหนึ่งก็อยู่ในที่นี้ ส่วนหนึ่งไม่ได้
อยู่ในทีน่ ี้ หรือบางส่วนกล็ ่วงลบั ไปแล้ว ตลอดเวลาได้นึกถึงท่านเหล่านี้ทีม่ าช่วยเหลือ

ในข้ันนี้เห็นได้ว่าทำ�งานมาอย่างน้อย ๓๐ กว่าปีแล้ว ย่อมมีสิ่งที่ก้าวหน้า แต่ยังมี
บริเวณพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยากและยังลำ�บากยากจน ก็พยายามที่จะทำ�ให้ดีขึ้นในเรื่องเก่า ๆ คือ
เรื่องโภชนาการ อาหาร และสุขภาพ เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีสุขภาพดี ได้รับความรู้ที่จะดูแล
สขุ ภาพ ทีจ่ ะไปช่วยเหลือครอบครัวตนเองได้ ท้ังพ่อแม่ พีน่ ้อง ยังจะต้องทำ�อยู่ อีกอย่างหนึง่
เรื่องการศึกษา ตอนแรกจุดมุ่งหมายเดิมให้อ่านออกเขียนได้ ให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับ
ยังมีโครงการทีพ่ ยายามเน้น เช่น เรือ่ งอนามยั สขุ าภิบาล นํ้าสะอาด ความสะอาดของโรงครวั
มีที่พักที่ดี ท้ังที่พักครูและที่พักนักเรียน ไม่มีขยะเลอะเทอะ ห้องนํ้าห้องส้วมที่สะอาดตาม
มาตรฐาน เป็นเรือ่ งที่จะต้องพยายามกันต่อไป

อีกอย่างคือ ในชุมชนหรือครอบครัว ความต้ังใจมีอยู่ว่าไม่ใช่แค่พัฒนาโรงเรียนเท่านั้น
แต่เมื่อโรงเรียนดีแล้วก็จะเป็นจุดที่ขยายโอกาส และขยายความรู้การปฏิบัติงานเข้าไปใน
ชุมชน นอกจากให้ชุมชนเข้ามาช่วยเหลือแล้ว ก็ต้องปฏิบัติการในชุมชน เช่น งานเกษตร
เพื่อให้ชุมชนได้รับประโยชน์ หรืออุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน
หรืออตุ สาหกรรมขนาดเลก็ ก็สามารถให้ชุมชนปฏิบัติงานอตุ สาหกรรมน้ันได้ เพราะเปน็ ทีท่ ี่เรา
เข้าไปเห็นเข้าไปถึง อะไรที่ยังไม่ดียังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรเราก็ต้องทำ� หรือว่าก้าวหน้าแล้ว
ก็ต้องให้ก้าวหน้าหรือดียิ่งขึ้น ให้ทุกคนพร้อมทุกด้านท้ังด้านร่างกาย ด้านความอยู่เย็นเป็นสุข
ด้านจริยธรรมก็เป็นเรือ่ งส�ำ คญั

8

ส่วนเรื่องโรงเรียน เช่นโรงเรียนมัธยมที่ขึ้นไปอีกขั้นแล้ว มีหลายแห่งได้รับความ
ช่วยเหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากหน่วยราชการต่าง ๆ สถานศึกษาระดับสูงต่าง ๆ มาช่วยสอน
พัฒนาให้ทุกคน เรียกได้ว่าไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อยู่ในบ้านตัวเอง หรือว่าบางคนอาจจะมีความ
บกพร่องทางร่างกาย เช่น ตามองไม่เห็น หูไม่ได้ยิน เราก็หวังว่าจะมีโอกาสที่เท่าเทียมกัน
ซึ่งฟังดูแล้วทุก ๆ อย่างก็อาจจะเป็นเรื่องในอุดมคติ แต่ว่าเป็นเป้าที่เราจะต้องทำ�ให้ได้ใน
ระดบั หนึ่ง

วิชาต่าง ๆ เช่นวิชาภาษา ไม่ว่าภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาอื่น ๆ วิชาทางด้าน
สังคมศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ก็เปน็ เรื่องทีส่ �ำ คญั ท้ังนั้น รวมท้ังงานศิลปะต่าง ๆ
เพราะว่าศิลปะหรือวัฒนธรรมนั้น เป็นเรื่องที่ทำ�ให้เราเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา ถ้าพัฒนาให้ดี
หรือไม่ท�ำ ลายศิลปวฒั นธรรม ถือว่ามีความมั่นคงในชีวิตไปข้ันหนึง่

ตอนนี้พยายามส่งเสริมพัฒนาทั้งนักเรียนและครูผู้สอน ซึ่งพยายามแนะนำ�เสมอว่า
ไม่ใช่ครูผู้สอนเรียนจบวิชาครูเรียนจบวิชาในเนื้อหามาแล้วจะอยู่กับที่แค่น้ัน ต้องพัฒนาตัวเอง
ยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ เพราะว่าโลกหมุนก้าวหน้าไปหรือเปลี่ยนแปลงไป เราก็ต้องให้ทันเหตุการณ์
ในโลกนี้ ทั้งเรื่องในโรงเรียน เรื่องกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ที่ติดกับโรงเรียน

นอกจากนี้ อย่างทีท่ ่านกรมวังผู้ใหญ่พูดว่าได้ไปช่วยนอกประเทศ ซึง่ ท�ำ มาได้ระยะหนึง่
แล้ว ขอให้ภาคภูมิใจว่าโรงเรียนของเรา ท้ังที่เป็นโรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดน โรงเรียน
ในสังกัดอื่น ๆ เช่น สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือกรุงเทพมหานคร
ได้เป็นสถานที่ฝึกอบรมดูงานของบุคคลจากต่างประเทศ เช่น ครู อาจารย์ แพทย์ และ
บุคลากรทางการแพทย์ มีบุคคลหลายประเภทจากต่างประเทศได้มาศึกษาดูงานจากเรา และ
ทางเราก็ไปแนะนำ� ที่เราไปเราจะไปดูว่าพื้นที่เป็นอย่างไร ถ้าพื้นที่หรือสิ่งแวดล้อมต่างกัน
อาจจะทำ�เหมือนที่เราทำ�ไม่ได้ทุกประการ แต่ว่าตามที่เรามีประสบการณ์อยู่เราอาจจะพอ
ให้ความคิดเห็นได้ ล่าสุดที่ทำ�มาประมาณไม่กี่เดือนนี้ เมื่อต้นปีนี้ ประเทศใหม่ที่เราได้เข้าไป
ที่ติมอร์-เลสเต เป็นประเทศอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แยกมาจากประเทศอินโดนีเซีย
ยังไม่ได้เข้าอาเซียน เขาอยากเข้าอาเซียนมาก เขารบกันอยู่นาน ถึงจะเลิกรบมา ๑๐ ปีแล้ว
แต่สภาพชีวิตความเป็นอยู่หลาย ๆ อย่างยังไม่ดีพอ เขาเชิญไป และได้เข้าไปพูดให้ทุกคนฟัง
ในสภาผู้แทนราษฎร มีท้ังนายกรัฐมนตรีไปจนถึงประธานสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ทุก ๆ พรรค ก็ฟังและพูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน รู้สึกเขามีความพยายาม บอกเขาว่า
ที่เห็นนี่ประเทศเขาเป็นประเทศที่เหมาะสมที่สหประชาชาติ FAO จะเริ่มโครงการความหิวโหย
ชื่อโครงการความหิวโหยเป็นศูนย์ หมายความว่าไม่ให้หิวโหยอีก หิวโหยในที่นี้หมายความว่า
การขาดอาหารอันควร อย่างเราถึงว่าจะมีอาหารเต็มไปหมดและอ้วนแล้ว แต่มักจะหิวอยู่

9

ตลอดเวลา ที่เขากล่าวไม่ใช่ในความหมายนี้ แต่หมายความว่า จะไม่ให้ใครอยู่ในสภาพหิวโหย
จากความยากจนอีกต่อไป เท่าที่ไปดูหน่วยงานต่าง ๆ ของเขา เช่น ทางด้านการศึกษา
การสาธารณสุข การเกษตร เขาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่พยายามจะช่วยกัน ปัญหาคือ
งบประมาณน้อยมาก ที่ไปให้บ้างโดยอาศัยสถานเอกอัครราชทูตที่น่ันประสานงาน ไปเห็นว่า
นักเรียนซึ่งเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้วเราอาจจะมีสภาพลักษณะนี้อยู่บ้าง แต่ในขณะนี้แทบจะไม่เห็น
คือสุขภาพไม่ดี อาหารไม่พอเพียง ตอนนี้เขากระตือรือร้นที่จะทำ�การเกษตรโดยคำ�แนะนำ�
ของเรา ในทางสุขาภิบาล เขาก็จัดการล้างโรงเรียน ทางสถานทูตเราไปจัดการอุปกรณ์ต่าง ๆ
ในการล้าง ซึ่งก็ยังมีไม่เพียงพอ นํ้ายาล้างอะไรต่าง ๆ เราช่วยทำ�อาคารให้ถูกสุขลักษณะ
มีห้องสมุด หรือห้องที่ใช้เรียนหนังสือมืดเกินไป ห้องน้ําไม่ได้ไปตรวจแต่ว่ามีกลิ่นออกมา
ในลักษณะนี้ อุปกรณ์เครื่องมือยังไม่มี อาหารก็อาหารปลอดภัยอาหารดี งบประมาณรายหัว
เขาน้อยกว่ารายหัวของเราอีก บางอย่างภาชนะ ซึ่งเราดูแล้วก็ไม่แน่ใจว่าเป็นภาชนะที่
ปลอดภยั จากสารเคมี เราเคยมีเหมือนกนั เช่น อาจจะมีโลหะเป็นพิษทีอ่ อกมาเมื่อโดนอาหาร
ร้อน เราต้องระวังเรื่องพวกนี้ เรียกว่าเป็นไปด้วยดี ก็ถือว่าเราทุกคนทำ�ดีแล้วและมีความรู้
แล้ว จะเป็นบุญกุศลที่เราทำ�ร่วมกัน และเขาก็ไม่ใช่ว่าจะเปิดรับเราอย่างเดียว โครงสร้าง
เขาดีมาก ได้ไปพูดว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่ FAO มาจัดงานนี้เริ่มขับเคลื่อนโครงการนี้
เพราะเห็นว่าความสนใจความเอาใจใส่ของผู้ใหญ่ เช่น ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านประธานสภา
เอาใจใส่จริงจัง และเจ้าหน้าที่จากกระทรวงต่าง ๆ เอาใจใส่ในเรื่องข้อมูล ในเรื่องที่จะร่วมมือ
กนั อย่างจริงจังเปน็ ตวั อย่าง แต่เรือ่ งการขาดแคลนเรากต็ ้องช่วย ๆ กัน ประเทศไทยต้องถือว่า
เปน็ ทีน่ ่าภาคภมู ิใจว่าเราได้รบั ความไว้วางใจให้ท�ำ งานนี้ เปน็ เรือ่ งดี

สำ�หรับนักเรียน การที่ได้อยู่ในโครงการนี้ตั้งแต่เล็ก หวังว่าจะได้ศึกษาวิธีการต่างๆ
นอกจากที่อยู่ในหนังสือเรียนแล้ว วิธีการปฏิบตั ิ เช่น การผลิตไฟฟ้าทีจ่ ะใช้ การใช้ไฟฟ้าอย่าง
ปลอดภัย หรือผลิตอาหาร หรืองานต่าง ๆ อาจจะนำ�มาบูรณาการได้กับวิชาวิทยาศาสตร์
วิชาศิลปะ และวิชาอื่น ๆ ทีต่ ้องเรียนหลายอย่าง และต่อมาน่าจะใช้ในชีวิตประจำ�วันได้ หวังว่า
ทุกคนจะตั้งใจ แม้บางคนอาจจะเห็นว่าวิชาทีเ่ รียน ยิง่ เรียนยิ่งยาก ไม่สามารถกจ็ ะท้อใจ ไม่ควร
จะท้อ ควรจะพยายามเต็มความสามารถ ในที่สุดก็จะพิจารณาหันไปทางที่ตัวถนัดและสนใจ
มีใจรัก ต่อไปก็จะทำ�ประโยชน์ได้ นี่เล่าจากประสบการณ์ที่ไม่ใช่ว่าให้ทุนหรือช่วยทุนนักเรียน
ไทยเท่านั้น นักเรียนในต่างประเทศก็ช่วยทุนเขา นักเรียนไทยที่ไปเรียนที่ให้ทุน ส่วนใหญ่จะ
ประสบความสำ�เร็จเป็นอย่างดีและเรียนได้สูงขึ้น ๆ บางคนกลับมาประกอบอาชีพเป็นอาชีพ
ทีด่ ี ทั้งนักเรียนที่อยู่ในถิน่ ทุรกันดารหรือไม่ทรุ กันดาร ครอบครัวทีย่ ากจนของชาวต่างประเทศ
เช่น ชาวจีน เขาก็ต้ังใจเรียน พอเรียนจบแล้วเขาบอกว่าพอมีรายได้ก็ไปต้ังโครงการเล็ก ๆ
ของเขาช่วยเหลือคนจีนที่ยังลำ�บากอยู่ เป็นการขยายสอนไปเรื่อย ๆ อย่างน้อยแนวความคิด

10

ที่ว่าถ้าเราพอจะทำ�ได้ ก็จะทำ�เพื่อให้คนอื่นได้ดียิ่งขึ้นไป เขามาเล่าให้ฟังก็ชื่นชมกับเขาด้วย
ระหว่างที่เป็นนักเรียนก็ทำ�ดีได้หลายอย่าง ที่ดีที่สุดก็ต้ังใจเรียน ประพฤติตัวให้ดี ทำ�อะไรให้
ถกู ต้อง จะได้เปน็ ทีช่ ื่นชมของทางโรงเรียน ของผู้ปกครองพ่อแม่ และของทุกคนทีท่ ำ�โครงการ

หวังว่าทุกท่านจะได้ผลของบญุ กุศลทีท่ ำ�ความดี และที่เด็ก ๆ ได้แบ่งผลบญุ ผลกุศลให้
รู้สกึ ปลื้มใจมาก หวงั ว่าสงิ่ ดีๆ ทที่ กุ คนท�ำ จะตอบสนองใหท้ กุ คนมีความเจรญิ รงุ่ เรืองยงิ่ ๆ ขึน้ ไป
มีสขุ ภาพดีทั้งสุขภาพกาย สขุ ภาพจิต ประสบความส�ำ เรจ็ ทกุ ๆ ประการ

11

พระราชด�ำ รัส

ในโอกาสทีค่ ณะผ้ปู ฏิบตั ิงานโครงการตามพระราชดำ�ริ เขา้ เฝ้าฯ
ณ อาคารใหม่สวนอัมพร กรงุ เทพมหานคร

วนั พฤหสั บดี ที่ ๓๐ เมษายน พทุ ธศักราช ๒๕๕๘

วันนี้รู้สึกดีใจที่ได้พบคณะผู้ร่วมปฏิบัติงานโครงการที่ทำ�กันมา จริง ๆ ต้องเรียกว่า
เกือบ ๔๐ ปี หรือ ๓๐ กว่าก็ได้ทั้งสองอย่าง งานต่างๆ เมื่อเริ่มต้นกบั ปัจจบุ นั มีแตกต่างกนั บ้าง
แต่หลักใหญ่ ๆ เหมือนกัน เช่น เรื่องสุขภาพอนามัย เริ่มต้นด้วยงานโภชนาการ ซึ่งไม่ได้เป็น
การเอาอาหารไปให้นักเรียนเท่าน้ัน แต่ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเพาะปลูกทำ�การเกษตร
ด้วย จึงเรียกว่า เกษตรเพื่ออาหารกลางวนั จริง ๆ แล้วในส่วนแรกเปน็ ส่วนเรือ่ งของสขุ ภาพ
อนามัย เรื่องอาหารน้ัน แต่เดิมนักเรียนที่มีความบกพร่องในเรื่องโภชนาการมีอยู่เป็นจำ�นวน
มาก มาปัจจุบันเกือบ ๔๐ ปี หรือ ๓๐ กว่าปีนี้ ปรากฏว่าเท่าที่ได้ไปเยี่ยมดู ยังมีปัญหาบ้าง
เพียงเล็กน้อย มีงานด้านสขุ ภาพด้านอืน่ ๆ เช่น เรือ่ งสุขาภิบาลอาหาร สุขาภิบาลอืน่ ๆ ความ
สะอาดของห้องน้ํา ห้องส้วม ห้องครัว บริเวณโรงเรียน เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแปลงผัก
คอกสัตว์ ต้องดูแลให้ถูกสุขลักษณะ เป็นเรื่องที่ต้องดูแลกันต่อไป อย่างที่เราดูแลแล้ว
เน้นในเรื่องที่เกี่ยวกบั อาหาร เช่น โรคพยาธิ กย็ งั มีอยู่บ้าง ต้องดูแลเกี่ยวกบั เรื่องความสะอาด
เรื่องล้างมือ หรือว่าเรื่องทีท่ �ำ ให้รับประทานอาหารไม่ได้ คือ ฟันไม่ดี ทนั ตสุขภาพต้องเน้นเรือ่ ง
การแปรงฟนั เปน็ ต้น

ส่วนเรื่องการผลิตอาหารนั้น เริ่มต้นต้ังแต่การเพาะปลกู เลี้ยงสัตว์ มีเรือ่ งการสหกรณ์
ของที่ผลิตได้น้ันต้องเข้าไปจำ�หน่ายในร้านสหกรณ์ ผู้ที่ผลิตหรือที่ดูแลร้านสหกรณ์ก็เป็น
เด็กนกั เรียน บางคนอาจจะคิดว่าเด็กนกั เรียนเป็นเด็กเลก็ ๆ อายไุ ม่ถึง ๑๐ ขวบ จะไปท�ำ งาน
สหกรณ์ได้อย่างไร เท่าที่ผ่านมา เด็กนักเรียนเหล่านี้สามารถที่จะทำ�งานด้านสหกรณ์ได้เป็น
อย่างดี และมีผลในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น รู้จักทำ�บัญชี รู้จักคิดเลข รู้จักเขียนหนังสือ เปน็ การ
ฝึกประชาธิปไตย คือได้มาหารือกันและออกความคิดเห็นกัน อย่างนี้เป็นต้น เรื่องสหกรณ์
ของนักเรียนนั้น ได้แพร่ขยายไปถึงครอบครัวของนักเรียน และบุคคลอื่น ๆ ที่เหล่าครูบัญชี
อาสาสมัครได้ไปแนะนำ� ในเรื่องอื่น ๆ ที่ผู้บัญชาการ ตชด. ได้เล่ามาถึงการอบรมครู ตชด.
ก็มีประเด็นต่าง ๆ ที่มาจากการปฏิบัติที่ผ่านมา เวลาไปเยี่ยมชมการทำ�งาน จะมีหนังสืออยู่

12

เล่มหนึ่งสำ�หรับประกอบการไปดูงาน ที่บอกรายละเอียดของการปฏิบัติงาน จะสังเกตได้เป็น
บางครั้งว่ามีเรื่องของการผลิตพืชสัตว์ อย่างนี้เป็นต้นที่ค่อนข้างจะน้อย บางครั้งไปถึงที่ก็เห็น
ว่าน้อยจริง ๆ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ได้แก่ มีน้ํามากเกินไป มีนํ้าน้อยเกินไป มีเหตุการณ์ต่าง ๆ
พื้นที่ไม่เพียงพอ เรื่องเหล่านี้สามารถแก้ได้เป็นบางคร้ัง บางคร้ังที่มีภาวะเกินการแก้ไขก็จะ
ปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่ก็ไม่ต้องกลัวเพราะเดี๋ยวนี้ทางโครงการมีทุนทรัพย์ ถ้าอาหารผลิตเอง
ไม่พอก็ซื้อได้ แต่ในบางครั้งก็เป็นเรื่องแปลกที่พอไปถึงแล้วเห็นว่าโรงเรียนทำ�งานได้เป็น
อย่างดี ไม่ใช่เฉพาะโรงเรียน ตชด. โรงเรียนในสังกัดอื่นที่ไปเยี่ยมด้วย เขาก็ทำ�ได้ดี แต่จะมี
ปัญหาในเรือ่ งของการบนั ทึกข้อมลู เรื่องนี้ทางผู้บัญชาการได้กล่าวว่า ได้ตกลงทำ�ความเข้าใจ
ในเรื่องการทำ�ข้อมูลเป็นอย่างดี อีกเรื่องหนึ่งคือ ในเรื่องของการฝึกชลประทานที่เรียก
เพราะ ๆ ว่า ยุวชลกร เรามีหมอดิน ยุวเกษตรแล้ว ในเรื่องของชลประทานหาน้ําสำ�หรับ
ทำ�การต่าง ๆ นั้น ไม่ใช่ว่าจะให้นักเรียนไปเป็นผู้หา แต่มีหน่วยงานที่ช่วยเหลือ แต่ตาม
พระราชดำ�รัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีมานาน ๒๐ กว่าปีแล้ว ท่านตรัสถึงโครงการ
เกษตรเพื่ออาหารกลางวันว่ามีประโยชน์ นอกจากจะมีอาหารให้กินแล้ว นักเรียนยังรู้จัก
ทำ�งานร่วมกัน รู้จักวิชาการต่าง ๆ ในนั้นมีเรื่องของการชลประทานด้วย ซึ่งเรายังไม่ได้ปฏิบัติ
อย่างจริงจัง คร้ังนี้ได้เริ่มปฏิบัติ นักเรียนมีความรู้เรื่องนํ้าแล้ว ต่อไปก็จะเป็นผู้ที่จะดูว่าเรา
ยังขาดแคลนหรืออย่างไร จะได้เล่าให้เจ้าหน้าที่หรือครูอาจารย์ต่อไปได้ เรื่องเกษตร เวลานี้
โครงการต่าง ๆ ดีมาก คิดว่าเมื่อเราทำ�ในห้องเรียนหรือในโรงเรียนแล้ว ความรู้ที่ได้จาก
โรงเรียน หรือพันธุ์พืชพันธ์ุสัตว์ต่าง ๆ ที่เรามีอยู่ในโรงเรียนสามารถขยายพันธุ์ได้ ถ้าพอใช้
ในโรงเรียนแล้ว ก็จะได้ขยายผลไปสู่เกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิง่ ผู้ปกครองของนกั เรียนได้

ในการเรียนการสอน นอกจากเรื่องของวิชาการ เมื่อ ๔๐ ปีนั้นเปลี่ยนแปลงไปมาก
แต่ก่อนนี้นักเรียนของโรงเรียนที่เราไปตั้งความสำ�เร็จแค่ว่าให้สามารถอ่านออกเขียนได้
น่ันก็ถือว่าเป็นความสำ�เร็จใหญ่แล้ว ต่อมาก็ต้องให้สำ�เร็จประถมศึกษา และมีโอกาสเรียนต่อ
ในชั้นมัธยมศึกษา แต่ปัจจุบันนี้ เราส่งเสริมให้ได้เรียนในระดับอุดมศึกษา อาจจะเป็น
ปริญญาตรี โท เอก ในสาขาต่าง ๆ ที่เขาสนใจ และมีความสามารถที่จะเรียนได้ ก็ต้องให้
โอกาสไปถึงที่สุด น่ายินดีที่นักเรียนจบมาแล้วได้ทำ�ประโยชน์ให้แก่โครงการ ทำ�ประโยชน์
ให้แก่สังคมด้วย นอกจากจะเลี้ยงชีพของตนเองแล้ว ก็เป็นผู้ปฏิบัติการที่จะช่วยเหลือกัน
ต่อไปได้ด้วย ขอแนะนำ�ว่าให้นักเรียนพยายามติดต่อกัน พบปะกัน หรือเดี๋ยวนี้มีเครือข่าย
ต่าง ๆ ทีเ่ ราจะติดต่อกันได้

นอกจากการเรียนที่เป็นวิชาการแล้ว ตั้งแต่ต้นเราส่งเสริมเรื่องการงานอาชีพ
ในสมยั นนั้ คนทอี่ ยใู่ นถนิ่ ทรุ กนั ดารคอ่ นขา้ งล�ำ บาก ยงิ่ พวกทไี่ มม่ สี ญั ชาตแิ ลว้ จะไมส่ ามารถเรยี น
ต่อสงู และท�ำ งานหรือหางานที่ดีได้ ตอนน้ันก็ได้แต่ท�ำ เรื่องการฝึกหดั งานอาชีพต่าง ๆ ที่จะไป

13

หาเลี้ยงชีพโดยสุจริตได้ แต่ปัจจุบันนี้โอกาสของคน แม้เกี่ยวกับเรื่องไร้สัญชาติก็ดีขึ้น คนไม่มี
สัญชาติมีโอกาสที่จะเล่าเรียนได้สูง ต้องค่อย ๆ ปรับค่อย ๆ แก้กันไป วิชาที่เรียนน้ันนอกจาก
ที่จะเอามาประกอบอาชีพแล้ว ยังเป็นความรู้เสริม ฝึกหัดมือและได้ความรู้สึกที่จะเห็นว่า
การงานอาชพี ตา่ งๆ ทปี่ ฏบิ ตั นิ เี้ ปน็ สว่ นส�ำ คญั ของชวี ติ เราตอ้ งการใหส้ ามารถหาเลยี้ งชพี ไดด้ ว้ ย
วิชาที่เรียนมา หรือการประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้นอกจากนักเรียนแล้วก็ขยายไปสู่ชุมชน
เช่นกัน จะเห็นว่าในที่ที่มีโรงเรียนในโครงการ จะมีประชาชนที่เป็นกลุ่มอาชีพ นอกจากจะ
ขายเองแล้ว ยังเป็นผู้ส่งสินค้ารายใหญ่ของร้านภูฟ้า ซึ่งเวลานี้แตกสาขาไปอีกหลายแห่ง
สินค้าเหล่านี้ก็เป็นที่นิยม ผู้ที่ทำ�จะเป็นนักเรียนหรือกลุ่มอาชีพ ก็จะมีรายได้ ส่วนที่จำ�หน่าย
ได้ก็นำ�เงินกำ�ไรน้ันมาช่วยเหลือชุมชนหรือโรงเรียน หรือให้เป็นอาหารกลางวันเด็กมัธยม
ซึ่งไม่ได้อยู่ในเงินที่ทางราชการจะให้ หรือเป็นภัตตาหารพระภิกษุ สามเณร อย่างนี้เป็นต้น
ถือว่าเป็นเรือ่ งทีส่ ืบทอดสืบต่อ ต่อเนื่องกันมา

ส่วนที่พยายามเน้นอยู่เสมอคือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เวลาไปทางเฮลิคอปเตอร์
จะเห็นว่ามีเขตที่ควรจะเป็นป่าไม้ก็แหว่ง ๆ หาย ๆ ไป ส่วนที่แหว่งนั้นที่จริงก็กระทบความ
เป็นอยู่ของประชาชนเหมือนกัน ไม่มีต้นไม้ที่ป้องกันดินไว้ก็เกิดการเสื่อมสภาพของดิน
เป็นปัญหาต่อการเกษตรเช่นเดียวกัน เราก็ต้องดูทำ�เกษตรที่ไม่ทำ�ลายสิ่งแวดล้อม หรือว่าเรา
จะรักษาสิ่งแวดล้อมเช่นปลูกป่า อย่างนี้เป็นต้น ปรากฏว่ามีนักเรียนเก่าที่เป็นตัวตั้งตัวตีใหญ่
ในการทำ�งานพวกนี้ ส่วนเรื่องอนุรักษ์วัฒนธรรม ที่บอกแล้วว่าวัฒนธรรมเป็นเรื่องของ
รากเหง้าของเรา บางทีก็เป็นส่วนที่จะสร้างความภูมิใจ นำ�รายได้ ทั้งเรื่องศิลปะ ดนตรี
การฟ้อนรำ� การทำ�สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เราเป็นลูกหลานสืบทอดมา
งานฝีมือหรือแม้แต่วรรณกรรม วรรณคดี ภาษาด้วย เราก็ควรจะอนุรักษ์เอาไว้

ในโอกาสนี้ขอให้ทุก ๆ ท่านประสบความสำ�เร็จในหน้าที่การงาน ในชีวิตประจำ�วัน
ให้มีความสุขความสบาย และมีกำ�ลังใจที่จะร่วมกัน มาช่วยกันต่อ ๆ ไป

14

พระราชด�ำ รสั

ในโอกาสที่คณะผปู้ ฏิบตั ิงานโครงการตามพระราชดำ�ริ เข้าเฝา้ ฯ
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา กรงุ เทพมหานคร
วันพุธ ที่ ๒๗ เมษายน พทุ ธศักราช ๒๕๕๙

ต้องขอขอบคุณทุก ๆ ท่านที่ได้ร่วมมือกันมาตลอดเวลาอันยาวนาน ทำ�ให้กิจการ
ต่าง ๆ สำ�เร็จเป็นผลดี ท้ังนี้มิใช่เฉพาะแต่หน่วยราชการต่าง ๆ แต่มีท้ังภาคเอกชน และอีก
กลุ่มอาจจะเป็นราชการแต่มาทำ�ด้วยความตั้งใจเป็นส่วนตัว ทำ�ให้การงานบรรลุผลสำ�เร็จ
มาจนทุกวันนี้ และขอขอบคุณนักเรียนที่ต้ังใจศึกษาเล่าเรียนมาตลอด และได้ปฏิบัติธรรม
บรรพชาและอทุ ิศส่วนกศุ ลที่ได้กระท�ำ มาให้ ทำ�ให้รู้สึกปลื้มปีติใจเป็นอย่างยิ่ง

โครงการที่ทำ�มาเป็นเวลา ๓๖ ปี ซึ่งปีนี้ก็มีโอกาสที่เฉลิมฉลองหลายประการ
ประการแรกคือการปฏิบัติงานในโครงการนี้ทำ�มาได้ ๓๖ ปี และประการที่สอง คือ การที่
ตชด. จัดว่าไปเยีย่ มโรงเรียนต่าง ๆ มาเป็นโรงเรียนที่ ๘๐๐ ครบที่โรงเรียนมธั ยมพระราชทาน
นายาว ในโอกาสนั้นทางโรงเรียน ตชด. จัดให้มีการแปรอักษรเป็นอักษรว่า ๘๐๐ จนกระทั่ง
มีผู้เรียกว่าโรงเรียน ๘๐๐ ถ้านบั โรงเรียนในสงั กัดอื่นด้วยกเ็ กิน ๘๐๐ ไปแล้ว อีกประการหนึ่ง
คือ ปีนี้เปน็ ปีครบ ๖๐ ปีของการจดั โรงเรียน ตชด. เมือ่ ตอน ๔๐ ปีได้ทำ�หนังสือ ๕๐ ปีกท็ ำ�
หนังสือ ตอนนี้ ๖๐ ปีก็ได้เขียนบทความส่งไปให้ทาง ตชด. เรียบร้อยแล้ว เป็นการสรุปว่า
ทผี่ า่ นมาในชว่ ง ๑๐ ปนี ไี้ ดม้ กี ารปฏบิ ตั งิ านอะไรบา้ งทกี่ า้ วหนา้ เหตทุ ตี่ อ้ งท�ำ ใหก้ า้ วหนา้ เพราะวา่
ประเทศไทยหรอื โลกเรานกี้ า้ วหนา้ สบื ตอ่ ๆ ไปอกี คอื กา้ วหนา้ กวา่ เมอื่ ๑๐ ปที แี่ ลว้ อยา่ งมากมาย

อย่างตอนนี้ใคร ๆ ก็พูดถึงว่า นอกจากจะอยู่กันในประเทศเราแล้ว จะต้องมีการ
เชื่อมสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ต้ังแต่ประเทศในกลุ่มอาเซียน และประเทศอื่น ๆ จริง ๆ คือ
ทั่วโลกนอกกลุ่มอาเซียน ก็คิดว่าเวลาไปที่ไหน ๆ ได้เห็นว่าทุก ๆ แห่งมีการจัดทำ�กิจกรรม
ที่คล้ายของเรา ไม่ทราบว่าจะเป็นเพราะเขามาดูงานของเราแล้วกลับไปทำ� คงมีบางส่วน
หรือเขาเห็นว่ากิจกรรมแบบนี้เหมาะสมกับประเทศของเขา เขาได้นึกและจัดทำ�ขึ้นมาเอง
อย่างพวกที่ปฏิบัติตามแนวที่เราทำ�มานั้นก็มีประเทศที่เคยกล่าวมาแล้วว่า ๑๐ ประเทศ
ได้ร่วมมือกับทางโครงการแล้วดำ�เนินการ นอกจากต่างคนต่างไปดำ�เนินการแล้ว ทางเราก็

15

จัดการประชุมให้ประเทศเหล่านี้ได้มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในการทำ�งาน แล้วก็
ถือโอกาสไปเยีย่ มโรงเรียนต่าง ๆ ที่เราได้ร่วมมือในหลาย ๆ ประเทศ

ยกตวั อยา่ งเชน่ ฟลิ ปิ ปนิ สท์ ไี่ ปเมอื่ ตน้ ปนี ี้ มหี ลายโรงเรยี นทมี่ คี วามแตกตา่ งกบั โรงเรยี นใน
ประเทศไทยหรือโรงเรียน ตชด. ที่เราท�ำ เช่น มีโรงเรียนทีม่ ีนักเรียนจ�ำ นวนมากถึง ๖,๐๐๐ คน
แล้วจะเรียนได้อย่างไร เขาใช้วิธีเรียนภาคเช้าและภาคบ่าย ส่วนคุณครูต้องอยู่ท้ังเช้าท้ังบ่าย
ในกัมพูชาก็เป็นลักษณะนี้ ถามเขาว่าครูก็เหนื่อยแย่ เขาบอกว่าจะมีการให้ค่าตอบแทนเป็น
พิเศษเป็น ๒ เท่า คือท้ังรอบเช้าและรอบบ่าย ปัญหาของเขาคล้าย ๆ ของเราคือจำ�นวนครู
ไม่พอ ต้องใช้ครูช่วยสอน และครูช่วยสอนบางทีก็เปลี่ยนหน้ากันมา มาอบรมที่เรา เช่น เรื่อง
ของห้องพยาบาล เรื่องของการเกษตร แล้วครูผู้น้ันก็ย้ายไปอยู่ที่อื่น มีคนใหม่มาก็ต้องอบรม
กันอีก ส่วนมากต้องเป็น ๒ แบบ คือ โรงเรียนที่ทางประเทศน้ันจะเสนอมา แล้วเจ้าหน้าที่
ฝ่ายเราไปตรวจดู บางทีเวลาไปเยี่ยมประเทศต่าง ๆ ก็ไปดูโรงเรียน เห็นว่าเขาควรจะปฏิบัติ
แบบเรา ก็ได้ทำ�หนังสือมา ได้เขียนเป็นบันทึกมาให้เจ้าหน้าที่โครงการลองเข้าไปศึกษาดู
แล้วเชิญผู้เกี่ยวข้องทางประเทศของเขามาอบรมดูงานในประเทศไทย หลาย ๆ สงั กดั ท้ังสังกัด
ตชด. สพฐ. กศน. และ กทม. ให้เห็นโรงเรียนหลาย ๆ แบบ แล้วเขาก็ทำ�รายงานมาคิดกันว่า
ถ้าไปในบรรยากาศประเทศเขาแล้วจะทำ�อย่างไร แต่บางที่อย่างสุดท้ายที่ไปอินโดนีเซียนั้น
ไปในพื้นทีท่ ี่ครูเขายงั ไม่ได้มาดงู าน เขามีความกงั วลหลาย ๆ อย่าง ก็ได้ไปชี้แจง ส่วนฟิลิปปินส์
ที่ว่านั้น ค่อนข้างจะลำ�บาก เพราะนักเรียน ๖,๐๐๐ คน และมีนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการ
บกพร่องถึงประมาณเกิน ๑,๐๐๐ คน จะใช้พื้นที่ทุกตารางในโรงเรียนของเขาในการเพาะปลูก
แน่นอนว่าไม่พอ วิธีแก้ปัญหานักเรียนอาจจะเอาไปให้ผู้ปกครองทำ�ที่บ้าน แล้วค่อย ๆ คิด
ประสานกับหน่วยงานอื่น เช่น โรงเรียนต้องประสานกับทางสาธารณสุขในการดูแลสุขภาพ
ของนักเรียน ซึ่งเขาก็พยายามอยู่แล้ว เขาติดต่อทั้งหน่วยราชการและเอกชนให้มาช่วยเหลือ
มีเหตุเช่นว่า ครูที่สอนอยู่ย้ายไปที่โรงเรียนอื่น ผู้บริหารก็ย้ายไป ก็ย้ายเอาโครงการไปไว้
โรงเรียนใหม่ที่ตนไปทำ�อยู่ และทำ�ได้ดีมาก แต่ครูคนใหม่ที่มาแทนยังไม่เข้าใจโครงการเต็มที่
ค่อนข้างจะงง ๆ กต็ ้องไปสนทนา ปลกุ ใจ ให้ความมน่ั ใจว่าจะดำ�เนินการช่วยเหลือต่อไป

เรือ่ งที่ทำ�ในโรงเรียนต่าง ๆ ที่เราสอนตอนนี้ อย่างโครงการเกษตรเพือ่ อาหารกลางวนั
น้ัน ก็มีกิจกรรมต่าง ๆ ครบ เรื่องอาหารที่มีประโยชน์ เรื่องของสุขภาพ เรื่องการศึกษา
ความใฝ่รู้ ความที่ว่าทำ�การทำ�งานร่วมกันของนักเรียนและบุคคลอื่น ๆ ครู นักเรียน หนังสือ
ที่รวมพระราชดำ�รัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำ�รัสที่พระราชทานในงาน
พระราชทานปริญญาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พูดถึงผลประโยชน์ของโรงเรียน ตชด.
ว่านักเรียนจะได้ความรู้เรื่องอะไรบ้าง ทรงกล่าวถึงการชลประทานหรือเรื่องน้ําซึ่งเป็นเรื่อง
สำ�คัญ ทุกคร้ังที่ไปโรงเรียน ตชด. กถ็ ือโอกาสให้เจ้าหน้าที่จากกรมชลประทานได้ตามไปด้วย

16

และเจ้าหน้าที่ของ กปร. ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยทรงเรียกว่าถุงเงิน เพื่อจะได้
สนับสนนุ ให้ความช่วยเหลือแก่โรงเรียนและประชาชนในพื้นทีใ่ กล้เคียง

เรื่องชลประทานนั้นก็สืบต่อไปถึงเรื่องพลังงานด้วย เพราะบางทีชลประทานก็ทำ�เรื่อง
พลงั นํ้าทีจ่ ะมาใช้ในการทำ�ไฟฟ้า เรื่องเหล่านี้มาดจู ะเหน็ ว่า น่าจะเป็นหลักสตู รทีท่ ำ�ให้นักเรียน
ได้ศึกษาด้วย ก็กำ�ลังดำ�เนินการ ส่วนในด้านความรู้อื่น ๆ เช่น ภาษา นอกจากภาษาไทยที่
กล่าวมาแล้วว่าจะแก้ปัญหาเรื่องการอ่านออกเขียนได้ ก็ได้เพิ่มภาษาอังกฤษเข้าไปด้วย
มกี ารอบรมครเู รือ่ งวิธีการสอนภาษาองั กฤษใหน้ กั เรยี น นกั เรยี นทีอ่ ยู่ชายแดนจะไดแ้ ลกเปลีย่ น
ความรู้กับนักเรียนในประเทศเพือ่ นบ้านได้บ้าง

ที่เราจะทำ�นี่ก็ทำ�มาตลอด เรื่องของการเรียนรู้ การศึกษา การพัฒนาในเรื่องสุขภาพ
อนามัย ในเรื่องวิชาชีพต่าง ๆ วิชาชีพหลักที่โรงเรียนเราทำ�ก็คือวิชาชีพเกษตร จากเกษตร
จะมีการแปรรูป ถือว่าเป็นเรื่องของอุตสาหกรรม งานต่าง ๆ จากโรงเรียนแล้วแพร่ไปสู่ชุมชน
ในทุก ๆ ด้าน ในส่วนนี้นอกจากในเรื่องของการทำ�สิ่งของแล้วยังมีเรื่องของการตลาด เช่น
สินค้าก็จะขายได้ในร้านภูฟ้า หรือชาวบ้านอาจจะขายเอง ตามที่ทำ�โครงการสารสนเทศนี้
ก็เพิ่มเรื่องสารสนเทศ การค้าก็มีการค้าประเภทออนไลน์ซึ่งชาวบ้านทำ�ได้ ในเมื่อสมัยนี้
คอมพิวเตอร์และสัญญาณอินเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลายไปในที่ต่าง ๆ ที่ไหนทำ�ได้ก็ทำ�ในเรื่องน้ัน
เพราะว่าเปรียบเทียบกนั

พูดถึงเรื่องประเทศต่าง ๆ ได้ไปประเทศคีร์กีซสถาน ซึ่งเป็นประเทศอยู่ในเอเชียกลาง
แต่ก่อนนี้ขึ้นอยู่กับสหภาพโซเวียต ตอนนี้แยกมาเป็นประเทศอิสระได้ประมาณ ๒๕ ปีแล้ว
ได้คุยกับภรรยาประธานาธิบดี ซึ่งท่านเป็นแพทย์ ฟังดูเหมือนว่าเป็นสาธารณสุขมากกว่า
ก่อนจบปริญญาเอกแผนโซเวียต เขาบอกก็ทำ�เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่กระทบ
กับสุขภาพ ตอนนี้ทำ�เรื่องสุขภาพของเด็กอายุ ๑๕ - ๑๘ ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กหญิง
กำ�ลังเรียนปริญญาเอก ทำ�แผนปัจจุบัน ถามท่านว่าแผนโซเวียตกับแผนปัจจุบันต่างกัน
อย่างไร เขาบอกว่าโซเวียตวางรากฐานไว้ให้ความรู้ดีมาก แต่ที่ต้องมาเรียนแผนปัจจุบันใหม่
เพราะในปัจจุบันมีอะไรเพิ่มขึ้นเยอะแยะ ท้ังในเรื่องเครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ และสภาพ
สังคมก็เปลี่ยนแปลงไป เขาบอกว่าที่จะทำ�ให้สุขภาพดีน้ันก็มีปัญหาหลาย ๆ อย่าง ของเด็ก
นอกจากให้ความรู้ตั้งแต่อยู่ในเกณฑ์วิทยานิพนธ์ ๑๕ - ๑๘ ปีไม่พอ ต้องเริ่มให้ความรู้ตั้งแต่
อายุ ๑๑ - ๑๒ ปี ที่จะรู้ทางด้านสุขภาพอนามัยส่วนตวั และที่จะทำ�ให้อนามยั ของชมุ ชนดีขึ้น

หลายๆ แหง่ เหน็ เรือ่ งท�ำ เพาะปลกู เปน็ เอกชน หรอื เปน็ ภตั ตาคารอยา่ งในสหรฐั อเมรกิ า
ที่ชอบไปรับประทาน ตอนนี้ต้ังเป็นมูลนิธิและช่วยสอนแม่บ้านเกี่ยวกับการทำ�อาหาร สอน
เพาะปลูกและสอนนักเรียนในโรงเรียนยากจนที่อยู่ไม่ไกลจากภัตตาคารนัก เดี๋ยวนี้เขาทำ�เป็น
มลู นิธิเรีย่ ไรเลยบริจาคเขาไปทุกปี เพราะถือว่าทำ�งานในลกั ษณะใกล้เคียงกัน

17

พกั นี้อะไร ๆ ในโลกเปลี่ยนแปลงไปเรว็ ครู นักเรียน หรือผู้ปฏิบัติงานต้องติดตามเรื่อง
และศึกษา อะไรทีน่ �ำ มาเป็นประโยชน์กบั เราได้ ใช้ได้ก็ทำ� หรือว่าอนั ไหนของเราที่เปน็ ประโยชน์
ไปช่วยเขาได้ ก็จะเหมือนเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้คนอื่นที่ยังเดือดร้อนอยู่ ได้ไปเยี่ยม
ประเทศกัมพูชา มีคุณครูที่โรงเรียนที่ไปทำ�งานเขาก็บอกปัญหา ก็คล้ายๆ เรา อีกปัญหาคือ
แห้งแล้ง นํ้าไม่พอ ดูเรื่องเพาะปลูก เขาบอกว่าโครงการดีมากอยากให้ขยายโรงเรียน แต่เรา
ยังนิ่ง ๆ อยู่ ก็พยายามจะทำ�ที่มีอยู่ให้ดี เขาสนใจเรื่องห้องนํ้า เราไปก็จะให้ความสนใจเป็น
พิเศษ อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องห้องสมุด เพิ่งได้เห็นว่ากัมพูชานี้มีหนังสือเป็นภาษากัมพูชาที่ดี
ให้ความรู้อย่างมาก ซึ่งบางเล่มเป็นภาษาไทยอาจจะยังไม่มี เพราะมีที่เขาแปลจากภาษา
ต่างประเทศเปน็ ภาษากมั พชู า มีโรงเรียนทีเ่ รียนภาษาอังกฤษด้วย ก�ำ ลังพยายามไปหาหนังสือ
ภาษาอังกฤษที่ราคาถูกกว่าที่เมืองจีน คราวที่แล้วเคยเห็นที่จีนพิมพ์เองเป็นภาษาอังกฤษ
ขอลิขสิทธิ์เขามา แต่เที่ยวนี้อาจจะรีบ ๆ ไป หาไม่เจอ เจอแต่หนังสือนำ�เข้า ราคาแพงเอามา
แจกเยอะ ๆ ไม่ได้ จะไปดูอีกทีที่อินเดีย ซึ่งเขาพิมพ์หนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษเองในอินเดีย
ราคาถกู กว่าหนงั สือภาษาไทยเสียอีก

กฝ็ ากไว้ดเู รือ่ งการศึกษา แนะน�ำ ให้ครแู ละนกั เรียนอ่านหนงั สือมาก ๆ เพือ่ ให้ได้ความรู้
เพราะบางแห่ง ถ้าจะให้ดใู นอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว สญั ญาณยังไปไม่ถึง ยงั ไม่สะดวก ต้องใช้
สือ่ ต่าง ๆ หลาย ๆ อย่างเพื่อเพิม่ พูนความรู้

ขอให้ทุก ๆ ท่านมีความสุข ความสำ�เร็จ ความเจริญ ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง และ
มีพลงั กายพลังใจทีจ่ ะท�ำ สิ่งทีด่ ีต่อไป

18

พระราชดำ�รัส

ในโอกาสที่คณะผปู้ ฏิบตั ิงานโครงการตามพระราชด�ำ ริ เข้าเฝา้ ฯ
ณ ศาลาดสุ ิดาลัย สวนจิตรลดา กรงุ เทพมหานคร
วนั จนั ทร์ ที่ ๒๔ เมษายน พทุ ธศกั ราช ๒๕๖๐

ดังที่ท่านที่ปรึกษาได้กล่าวมาว่าได้ดำ�เนินการโครงการนี้มา ๓๗ ปี ซึ่งนับว่าเป็น
เวลานาน ในตอนแรกที่ปฏิบัติจะมีครูโรงเรียน ตชด. และมีผู้ร่วมปฏิบัติจำ�นวนไม่มากนัก
ต่อมามีผู้มาช่วยเหลือเป็นอันมาก จึงต้องมาทบทวนกัน เช่น จริง ๆ การที่เรียกว่าอบรมครู
ตชด. น้ัน ไม่ใช่เป็นการอบรมอย่างเดียว แต่เป็นการเล่าสู่กันฟังว่ามีโครงการใหม่ ๆ อะไรบ้าง
จะได้ร่วมกันปฏิบัติงานให้ได้ผล ในตอนนี้เป็นช่วงที่เสร็จแผนระยะที่ ๔ ไปแล้ว กำ�ลังทำ�แผน
ระยะที่ ๕ เมื่อกี้ก็อ่านอยู่ว่าจะมีเรื่องอะไรบ้าง และอาจจะมีสิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาบ้าง แต่หลัก
ใหญ่ ๆ ที่เราทำ�และยึดปฏิบัติมาตลอดคือเรื่องของสุขภาพอนามัย ที่เป็นเรื่องเริ่มต้นขึ้นก่อน
เพราะตอนแรกที่ไปดูเรื่องสุขภาพอนามัยที่มีปัญหานั้น ที่จริงก็เห็นง่ายกว่าเรื่องการศึกษา
เพราะเห็นตัวผู้ที่มีสุขภาพอนามัยไม่ดี หรือไปในพื้นที่ก็ไม่ใช่เฉพาะอนามัยส่วนบุคคล แต่
เห็นสภาพทว่ั ๆ ไปของท้องทีท่ ีเ่ รียกว่าเป็นเรือ่ งสขุ าภิบาล ถ้าบางแห่งยงั ไม่ดีนกั ก็ต้องปรับปรุง
ให้ดี

ต่อมาเป็นเรื่องการศึกษา ตามแผนที่เขียนไว้ก็พูดว่าให้เป็นการศึกษาแบบโบราณ
ที่เราใช้กันมา ได้แก่การศึกษา ๔ ประเภท พุทธิศึกษา หมายถึงการศึกษาทางด้านความรู้
สติปญั ญา วิชาการ อย่างทีส่ องคือ จริยศึกษา ไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศ
ทว่ั โลกทีพ่ ูดกนั ว่าเดี๋ยวนี้เป็นยุคแห่งอตุ สาหกรรม ๔.๐ คือต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบ
ดิจิทัลในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะมีผลต่อมนุษย์ต่อสังคมไปอีกมากมาย หรือวิชาการที่เรียนนี้ก็
อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงไป อาชีพบางอย่างอาจจะลดความส�ำ คญั ลง อาจจะมีอาชีพบางอย่าง
เพิม่ ความสำ�คญั มีการเปลีย่ นแปลง แต่ในการกำ�หนดแบบนี้กย็ งั มีคำ�พดู ว่า สิง่ ที่ส�ำ คญั ยิง่ คือ
จริยศึกษา คนยิ่งมีอุปกรณ์เครื่องช่วย มีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ ๆ สิ่งที่ต้อง
ยึดถือเอาไว้กค็ ือความดี ความเหน็ แก่ส่วนรวม เหน็ แก่สงั คม ต้องช่วยเหลือตนเอง ซื่อสัตย์ต่อ
ตนเองและผู้อื่น และต้องช่วยเหลือสังคมเท่าทีจ่ ะทำ�ได้ และมีน้ําใจ เรือ่ งนี้เป็นเรื่องส�ำ คัญที่สุด

19

ท่กี ล่าวมามีเร่อื งพุทธิศึกษาและจริยศึกษาแล้ว ก็มี หัตถศึกษา หมายถึงการใช้ความรู้
ที่มีอยู่มาปฏิบัติการแบบทำ�จริง เพื่อให้รู้จริง เรื่องนี้ก็กลายเป็นเรื่องสำ�คัญ หรือเรื่องการ
ใช้มือทำ�งานฝีมือ งานช่างต่าง ๆ งานช่างจะเลยไปถึงความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเวลานี้ถือว่าเป็น
ความสำ�คัญอย่างยิ่งที่ต้องรู้ นอกจากใช้มือให้เกิดทักษะความคล่องแคล่วในการทำ�งานแล้ว
รู้จักทำ�เรียกว่ามีฝีมือแล้ว ก็ต้องมีความรู้ความคิดที่สร้างสรรค์ที่จะคิดให้ก้าวหน้าขึ้นไป นี่ก็
อยู่ในหัตถศึกษา ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่อยู่ในหลักการศึกษา ๔ ประการ คือ พลศึกษา ซึ่งเป็น
เรื่องที่เราเริ่มต้นทำ�งานกันนี้ คือให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ รู้จักรักษาตัวในด้านอาหาร
กินให้ถูกต้อง เพือ่ ป้องกนั โรคเจบ็ ไข้ได้ป่วยต่าง ๆ โครงการของเราเริ่มท�ำ ต้ังแต่สุขภาพของเด็ก
ที่ยังอยู่ในครรภ์มารดา ผู้ร่วมมือต้องเป็นมารดาและครอบครัว เพื่อให้เด็กเกิดมามีความ
สมบรู ณ์ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ ทางโรงเรียน จะเปน็ อนุบาล ศูนย์เดก็ เลก็ ก็ต้องท�ำ เรื่องนี้ต่อไป

ในเวลานี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปอย่างนี้ ทางราชการก็เปลี่ยนแนวปฏิบัติงาน
ออกไป โลกของเราเดี๋ยวนี้มีอะไรก็ต้องเกี่ยวกันไปทั้งโลก บางทีอยู่คนละซีกโลก แต่ด้วยเหตุ
ต่าง ๆ วิทยาการใหม่ ๆ ทำ�ให้มีการติดต่ออย่างรวดเร็วทั่วถึง เราต้องรู้ด้วย เดี๋ยวนี้คนรุ่นใหม่
ก็พูดกันและมีความร่วมมือกันในเรื่องที่จะดูแลเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาอย่างที่เราทำ�
กันมานาน ส่วนกระทรวงศึกษาธิการเมื่อเปิดเทอมใหม่นี้ก็มีการเปลี่ยนแปลง คือการศึกษา
เตรียมประถมก่อนอนุบาลก็เป็น ๓ ปี และก่อนหน้านั้นก็มีหน่วยงานส่วนท้องถิ่น เช่น อบต.
ดแู ลในเรือ่ งศนู ย์พฒั นาเด็กเลก็ ซึง่ ต้องมีวิธีการและอุปกรณ์ใหม่ ๆ อย่างทีผ่ ู้บัญชาการต�ำ รวจ
ตระเวนชายแดนพูดว่า จะอบรมกันเพื่อให้ช่วงก่อนประถมศึกษาทำ�ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดีมากขึ้น ในช่วงประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ตชด. ต่อจากโรงเรียน
ประถมศึกษา ก็เข้ามาร่วมกันในส่วนที่เป็นโรงเรียนเอกชนและรัฐบาล หรือ สพฐ. เพราะ
ฉะน้ันเป็นยุคของการร่วมมือกัน ที่ว่าจะต้องทำ�ร่วมกัน บางส่วนถ้าไปทำ�ในที่เดียวกันก็ถือว่า
เป็นการช่วยกันร่วมกันอย่างหนึ่ง แต่ต้องระวังไม่ให้การทำ�งานเข้าไปซ้ําซ้อนกัน ทำ�ให้เสีย
บุคลากรที่เรามีอยู่น้อย ก็จะต้องขยายให้ครอบคลุมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะฉะน้ัน
วิชาการต่าง ๆ ทีท่ ี่อื่นมีเราก็ต้องพยายามเรียนรู้ให้มากที่สดุ

ที่พยายามให้แก้เรื่องอ่านออกเขียนได้ เพราะว่าเป็นเรื่องที่สำ�คัญ ถ้าเราอ่านไม่ออก
เขียนไม่ได้เราก็ไม่สามารถใช้สื่อที่จะนำ�มาเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเอง และจะทำ�ให้อ่านออก
เขียนได้ บางคนอาจจะเถียงว่าสมัยนี้สมัยโลกาภิวัตน์ ไม่ต้องเรียนภาษาไทยก็ได้ ให้ไปเรียน
ภาษาอังกฤษซึ่งในสภาพบ้านเมืองเราก็ยังไม่ได้ เราอยู่แล้วเราทำ�กันเองมานานแล้ว ส่วนที่จะ
ทำ�ให้เราก้าวหน้าได้มากคือภาษาไทย นอกจากน้ันเป็นเรื่องของความที่เราจะสื่อสารกันเอง
ในประเทศให้ได้ดียิ่งขึ้น และได้ความช่วยเหลือ แต่ว่าเรากจ็ ะทิ้งเรือ่ งภาษาอังกฤษไม่ได้

20

เรื่องของวัฒนธรรมท้องถิ่นน้ัน เราต้องเข้าใจเรื่องของความเป็นมาของกลุ่มชน
ของเรา แล้วพัฒนากลุ่มชนให้ย่ังยืน เราต้องรู้เรื่องของพื้นบ้านให้มากขึ้น สิ่งสำ�คัญมากที่
จะตอ้ งฝากไวแ้ กเ่ ยาวชนรนุ่ นี้ และผใู้ หญท่ จี่ ะดแู ลเยาวชนคือ เรอื่ งการดแู ลทรพั ยากรของชาติ
จะเปน็ พืช สตั ว์ เรือ่ งนํ้า ดิน เพราะสิง่ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ดแู ลชีวิตของเรา และเป็นสมบัติของเรา
ที่เราจะต้องหวงแหน จะต้องรัก ถ้าไปทำ�ลายจะเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย อย่างเคยไปในเขต
ตะวนั ตกของประเทศจีน เป็นทะเลทราย ตอนนี้เขาต้องปลูกพืช เพราะทรายปลิวไปทับสิ่งทีเ่ ขา
จะขยายความเจริญ ทำ�ทางรถไฟ ถนน ตอนแรกยังไม่ตระหนักในเรื่องเหล่านี้ ตัดต้นไม้หมด
แล้วก็ต้องมาฟื้นฟูใหม่ ถ้าต้นไม้หมดน้ําก็หมด ก็ไม่สามารถที่จะเพาะปลูกหรือทำ�อะไรต่อไป
ต้องปลูกต้นไม้และต้องทำ�ทางน้ํา ใช้งบประมาณอย่างมากมาย เขาบอกว่าถ้าทำ�ผิดแล้วจะ
กลับไปใหม่เป็นเรื่องที่ยาก เขาว่าถ้าเรายังมีของดีอยู่ต้องรักษาไว้ เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่สำ�คัญ
เพราะฉะน้ันสิ่งที่เราทำ�กันมาและเห็นว่าสำ�คัญน้ัน เดี๋ยวนี้ก็เป็นเรื่องที่กล่าวถึงกันท่ัวโลก
เราก็ควรจะท�ำ สิ่งเหล่านี้ต่อไป ตอนนี้ก็ให้ศึกษาเรื่องคอมพิวเตอร์และเชื่อมกับการศึกษาต่อไป
บางทีมีคอมพิวเตอร์ มีสื่ออินเทอร์เน็ต แต่ถ้าเราใช้สื่อเหล่านี้ไม่เป็น ใช้แต่ในเรื่องเล่นเรื่อง
บันเทิงอย่างเดียว หรือในการกล่าวร้ายคน ก็ไม่มีประโยชน์ต่อเรา ต้องใช้ให้เป็นในการที่จะ
สืบค้นความรู้ต่าง ๆ การสืบค้นนั้นต้องใช้ทั้งภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ถ้ายิ่งรู้มากก็ยิ่ง
สืบค้นได้มาก หรือสืบค้นมาแล้วจะต้องพยายามจดจำ�สิ่งต่าง ๆ นักเรียนยังเป็นเด็ก ๆ ยัง
ความจำ�ดีกว่าผู้ใหญ่ และก็ต้องศึกษา ลองคิดต่อว่าสิ่งที่เราประสบ ได้พบได้ความรู้มานั้น
จะเอาไปทำ�อะไรต่อ หรือนำ�มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อไปอย่างไร ผู้ใหญ่ต่าง ๆ
ตอนนี้ก็ได้มาร่วมกันหลายท่าน และมาช่วยกันทำ�งาน ก็ต้องขอขอบคุณทุก ๆ ท่าน ขอให้
ท้ังผู้ใหญ่และเด็กในที่นี้มีความสุข ความเจริญก้าวหน้า และมีความสบายท้ังร่างกายและจิตใจ
สืบต่อไป

21

ประมวลพระราชด�ำ รสั

สมเดจ็ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ด้านการพฒั นาเด็กและเยาวชนในถิ่นทรุ กนั ดาร
พุทธศกั ราช ๒๕๕๔ - ๒๕๖๐
ISBN 978-616-7975-30-6
พิมพ์คร้ังที่ ๑ ตลุ าคม ๒๕๖๐
จ�ำ นวน ๑,๐๐๐ เล่ม

จัดพิมพ์โดย
ส�ำ นกั งานโครงการสมเด็จพระเทพรตั นราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

สวนจิตรลดา พระราชวังดสุ ิต กรงุ เทพฯ ๑๐๓๐๓
โทรศพั ท์ ๐ ๒๒๘๒ ๖๕๑๑ โทรสาร ๐ ๒๒๘๑ ๓๙๒๓

พิมพ์ที่
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำ กัด (มหาชน)
๓๗๖ ถนนชยั พฤกษ์ (บรมราชชนนี) เขตตลิ่งชนั กรงุ เทพฯ ๑๐๑๗๐

โทรศัพท์ ๐-๒๔๒๒-๙๐๐๐, ๐-๒๘๘๒-๑๐๑๐
โทรสาร ๐-๒๔๓๓-๒๗๔๒, ๐-๒๔๓๔-๑๓๘๕
E-Mail : [email protected] Homepage : http://www.amarin.com


Click to View FlipBook Version