The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ความรู้เบื้องต้นระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by admin, 2022-10-28 21:28:55

ความรู้เบื้องต้นระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

ความรู้เบื้องต้นระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

Keywords: ตรวจบ้าน,ไฟฟ้า

ต. ตรวจบ้ าน ความรู้เบื้องต้น

เกี่ยวกับ
ระบบไฟฟ้า

1

ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

3

ก า ร เ ลื อ ก ข น า ด ส า ย เ ม น

6

ก า ร เ ลื อ ก ข น า ด ส า ย ไ ฟ

8

ก า ร ติ ด ตั้ ง เ บ ร ก เ ก อ ร์

11

ก า ร ติ ด ตั้ ง เ บ ร ก เ ก อ ร์ ตั ด ไ ฟ รั่ ว

14

ก า ร ต่ อ ล ง ดิ น

19

ก า ร เ ลื อ ก บั ส บ า ร์

21

ก า ร เ ลื อ ก ใ ช้ เ ต้ า รั บ

22

ก า ร ติ ด ตั้ ง ไ ฟ ฉุ ก เ ฉิ น

ระบบไฟฟ้า 2
ภายในบ้าน
23

อั น ต ร า ย จ า ก ก า ร โ ด น ไ ฟ ฟ้า ดู ด

24

ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

25

ห น้ า ก า ก บั ส บ า ร์ แ ล ะ แ ผ ง กั้ น เ ฟ ส

26

ก า ร อ่ า น ต า ร า ง โ ห ล ด

28

ส วิ ต ซ์ ไ ฟ แ ล ะ เ ต้ า รั บ อ า ร์ ก

29

มิเตอร์ปกติกับมิเตอร์ TOU

31

บล็อกไฟ EV CHARGER

3

การเลือกขนาดสายเมน

สายเมนไลน์ ต้องมีขนาดเพียงพอที่จะรับโหลดทั้งหมดภายในบ้านได้
สายเมนนิวทรัล ต้องมีขนาดเพียงพอที่จะรับกระแสไม่สมดุลสูงสุดที่เกิดขึ้นได้

นิวทรัล

เฟส 1 เฟส 2 เฟส 3

ฉนวนและเปลือก สายนิวทรัล ต้องเป็นสี ฟ้า

ระบบ 1 เฟส ต้องเป็นสี น้ำตาล โดยถ้าหากเป็นสีดำตลอดทั้งเส้น
ระบบ 3 เฟส ต้องเป็นสี น้ำตาล ดำ เทา ให้ทำเครื่องหมายเป็นสี หรือตัวอักษร
ตามลำดับ N ให้เป็นชัดเจน

โดยถ้าหากเป็นสีดำตลอดทั้งเส้น ให้ทำเครื่องหมาย
เป็นสี หรือตัวอักษร L หรือ L1 , L2 , L3
ให้เป็นชัดเจน

4

ขนาดกระแส ของสายเมนแบบทองแดงหุ้มฉนวน PVC (ชนิด NYY)


ที่เดินบนอากาศและเดินใต้ดิน

ตารางที่ 1 ขนาดกระแสสายไฟฟ้า เดินบนฉนวนในอากาศ อ้างอิงตามมาตรฐานวสท. 2564

ตารางที่ 2 ขนาดกระแสสายไฟฟ้า ร้อยท่อฝังดิน อ้างอิงตามมาตรฐานวสท. 2564

5

TIPS !

ภายในบ้าน 1 หลัง สามารถ มีสายเมน
ได้มากกว่า 1 ชุด หากมีระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน
และระบบไฟฟ้าสำรอง มีการรับไฟจากหม้อแปลง
มากกว่า 1 ลูก หรือมีระบบจ่ายไฟให้รถยนต์ไฟฟ้า
EV Charger

การเดินสายเมน หากเดินบนอากาศ
ต้องเป็นสายทองแดงหุ้มฉนวนที่เหมาะสม
และต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 4 ตร.มม.
หากเดินใต้ดิน ต้องเป็นสายทองแดงหุ้มฉนวน
ที่เหมาะสมและต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 10 ตร.มม.

6

การเลือกขนาดสายไฟ

สายไลน์ ต้องมีขนาดกระแสไม่น้อยกว่าผลรวมของโหลดทั้งหมดที่ต่ออยู่ใน


วงจรนั้น และต้อง ไม่น้อยกว่าพิกัดของเบรกเกอร์

สายนิวทรัล ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าขนาดสายดินของเครื่องใช้ไฟฟ้า

นิวทรัล เฟส 1

เฟส 2
เฟส 3

ฉนวนและเปลือก สายนิวทรัล ต้องเป็นสี ฟ้า

ระบบ 1 เฟส ต้องเป็นสี น้ำตาล โดยถ้าหากเป็นสีดำตลอดทั้งเส้น
ระบบ 3 เฟส ต้องเป็นสี น้ำตาล ดำ เทา ให้ทำเครื่องหมายเป็นสี หรือตัวอักษร
ตามลำดับ N ให้เป็นชัดเจน

โดยถ้าหากเป็นสีดำตลอดทั้งเส้น ให้ทำเครื่องหมาย
เป็นสี หรือตัวอักษร L หรือ L1 , L2 , L3
ให้เป็นชัดเจน

7

ขนาดกระแส ของสายไฟแบบทองแดงหุ้มฉนวน PVC (ชนิด 60227

IEC 01) ที่เดินในท่อร้อยสายในอากาศ

ตารางที่ 3 ขนาดกระแสสายไฟฟ้า เดินในท่อร้อยสายในอากาศ อ้างอิงตามมาตรฐานวสท. 2564

8

การติดตั้ง
เบรกเกอร์

ทุกวงจร ต้องมีการ ป้องกัน
กระแสเกิน โดยการติดตั้งเบรกเกอร์
ขนาดพิ กัดเบรกเกอร์ต้องสอดคล้อง
และไม่ต่ำกว่าผลรวมของโหลดทั้งหมด
ที่ต่ออยู่ในวงจรนั้นๆ โดยต้องสามารถ
ป้องกันสายไฟได้ทุกเส้น (ยกเว้นสายดิน)
และต้องสามารถตัดกระแสลัดวงจร
ค่ามากที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยค่าพิกัด
กระแสลัดวงจรไม่ต่ำกว่า 10 kA

การติดตั้งเบรกเกอร์ ตัวเบรกเกอร์

ต้องมีเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่า อยู่ใน

ตำแหน่งปลดหรือสับ ต้องไม่ติดตั้งอยู่ใกล้
กับวัสดุที่ติดไฟง่าย ต้องบรรจุไว้ในกล่อง
หรือตู้อย่างมิดชิด (เฉพาะด้ามสับที่สามารถ

โผล่ออกมาข้างนอกได้) มีที่ว่าง และแสงสว่าง
พอสำหรับการเข้าไปซ่อมแซม และต้องมีการ
ระบุโหลดที่เบรกเกอร์ตัวนั้นจ่าย
ให้ชัดเจน

9

เมนเบรกเกอร์ ต้องสามารถ
ปลดวงจรสายไฟที่เป็นสายไลน์ทุกเส้น
ได้พร้อมกัน ถ้ากรณีที่สายเมนไลน์ไม่ได้มี

การต่อลงดิน เมนเบรกเกอร์ต้องสามารถ

ปลดสายไลน์และสายนิวทรัลทุกเส้นได้
พร้อมกันโดยเมนเบรกเกอร์สำหรับบ้าน

ควรติดตั้งบริเวณชั้นที่ 2 หรือถ้าติดตั้ง
ชั้นล่าง ควรอยู่สูงจากพื้นไม่ต่ำกว่า 1.6

เมตร

ขนาดของเบรกเกอร์ภายในบ้าน
ขึ้นอยู่กับพิ กัดของยี่ห้อเบรกเกอร์ที่เลือก
ใช้งาน แต่ขนาดทั่วไปที่นิยมใช้ ได้แก่
16A, 20A, 25A, 32A, 40A, 50A
เป็นต้น

10

พิ กัดเมนเบรกเกอร์ และโหลดสูงสุดตามขนาดของมิเตอร์ของ

การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)

ตารางที่ 4 พิกัดสูงสุดของเครื่องป้องกันกระแสเกิน และโหลดสูงสุดตามขนาด
เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (สำหรับกฟน.) อ้างอิงตามมาตรฐานวสท. 2564

พิ กัดเมนเบรกเกอร์ และขนาดของมิเตอร์แรงต่ำของ

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

ตารางที่ 5 ขนาดของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแรงต่ำ ขนาดสายไฟฟ้าตัวนำประธาน

(สำหรับกฟภ.) อ้างอิงตามมาตรฐานวสท. 2564

11

การติดตั้ง
เบรกเกอร์ตัดไฟรั่ว

วงจรต่อไปนี้ นอกจากจะต้องมีสายดินของเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้ว ต้องมีการ
ติดตั้งเบรกเกอร์ตัดไฟรั่ว ที่มีค่ากระแสรั่วขนาดไม่เกิน 30 mA มีช่วงระยะ
เวลาในการตัดไม่เกิน 0.04 วินาที และต้องเป็นชนิดที่ปลดสายไฟได้ทุกเส้น
รวมทั้งสายนิวทรัล (ยกเว้นสายนิวทรัลมีการต่อลงดินแล้ว) ด้วย

12

1. เต้ารับบริเวณห้องน้ำ 2. เต้ารับบริเวณอ่างล้างมือ
โรงจอดรถ ห้องครัว ที่ติดตั้งเต้ารับภายในระยะ
ห้องใต้ดิน 1.5 เมตร

3. วงจรภายนอกอาคาร และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่คนสามารถ
เข้าถึงและสัมผัสได้

13

4. เต้ารับบริเวณชั้นที่ 1 5. วงจรเครื่องทำน้ำอุ่น
และบริเวณที่อยู่ต่ำกว่า อ่างอาบน้ำ สระว่ายน้ำ
ระดับดิน

14

การต่อลงดิน

ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ต้องมีการต่อลงดิน ซึ่งจะต้องเดินสายไฟที่มี
การต่อลงดินไปยังเมนเบรกเกอร์ทุกชุด โดยต้องต่อฝากเข้ากับสิ่งห่อหุ้ม
เมนเบรกเกอร์ ซึ่งการต่อฝาก มีจุดประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่า มีความต่อเนื่อง
ทางไฟฟ้า และสิ่งห่อหุ้มเมนเบรกเกอร์ต้องต่อลงดิน

ข้อกำหนดของสายไฟที่ต้องมีการต่อลงดิน ได้แก่
1. ระบบ 1 เฟส 2 สาย ให้สายนิวทรัลเป็นสายที่ต่อลงดิน
2. ระบบ 1 เฟส 3 สาย ให้สายนิวทรัลเป็นสายที่ต่อลงดิน
3. ระบบ 3 เฟส 3 สาย ให้สายไลน์เส้นใดเส้นหนึ่งเป็นสายที่ต่อลงดิน
4. ระบบ 3 เฟส 4 สาย ให้สายนิวทรัลเป็นสายที่ต่อลงดิน

15

เครื่องใช้ไฟฟ้าต่อไปนี้ ต้องมีการต่อลงดิน ได้แก่
1. ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง ตู้น้ำดื่ม เครื่องปรับอากาศ
2. เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เครื่องล้างจาน
เครื่องสูบน้ำ

16

หลักดินทุกชนิดที่อยู่ในบ้านเดียวกัน
จะต้องมีการต่อฝากเข้าด้วยกัน เพื่อให้
กลายเป็นระบบหลักดิน หลักดินที่ใช้โดย
ทั่วไป ทำจากเหล็กหุ้มทองแดง ขนาด
เส้นผ่านศูนย์กลาง 14.2 มม. (5/8 นิ้ว)
ความยาว 2.4 ม. และหลักดินเมื่อตอก
ลงดินแล้ว ต้องมี ความต้านทานการต่อ
ลงดิน ไม่เกิน 5 โอห์ม

สายต่อหลักดิน ต้องเป็นตัวนำทองแดง
และสายดินของเครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องเดินร่วม
ไปกับสายไฟภายในท่อเดียวกัน โดยให้ใช้
ตัวนำทองแดง ฉนวนหรือเปลือกของสายดิน
ต้องเป็นสีเขียว หรือ สีเขียวแถบเหลือง
โดยถ้าหากเป็นสีดำตลอดทั้งเส้น ให้ทำ
เครื่องหมายเป็นสี หรือตัวอักษร PE หรือ
G หรือ E ให้เห็นชัดเจน

17

ขนาดของสายต่อหลักดิน และสายดินของเครื่องใช้ไฟฟ้า

เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า วสท. ดังนี้

ตารางที่ 6 ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดิน ของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ อ้างอิงตามมาตรฐานวสท. 2564

ตารางที่ 7 ขนาดต่ำสุดของสายดิน ของเครื่องใช้ไฟฟ้า อ้างอิงตามมาตรฐานวสท. 2564

18

การต่อสายดินเข้ากับ
หลักดิน ต้องใช้วิธีเชื่อมด้วย
ความร้อน ห้ามต่อโดยใช้การ
บัดกรี ห้ามต่อสายดินมากกว่า
1 เส้นเข้ากับหลักดิน นอกจาก
อุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อเป็นชนิด
ที่ออกแบบมาให้ต่อสายได้
มากกว่า 1 เส้น

ทุกๆ 1 ปี ควรเปิดบ่อพัก
สายดินเพื่ อตรวจสอบว่าสายดิน
มีการเชื่อมต่อกับหลักดินอยู่หรือไม่
เพราะความชื้นหรือฝนตก อาจทำให้
สายดินหลุดออกจากหลักดินได้
เพื่ อเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจ
เกิดขึ้นได้ในอนาคต

19

การเลือกบัสบาร์

ระบบไฟฟ้า 1 เฟส

บาร์นิวทรัล
ระบุอักษร N
หรือเครื่องหมาย สีฟ้า

บาร์เฟส
ระบุอักษร L
หรือเครื่องหมาย สีน้ำตาล

บาร์กราวน์
ระบุอักษร PE, G, E
หรือเครื่องหมาย สีเขียว
แถบเหลือง

20

ระบบไฟฟ้า 3 เฟส

บาร์นิวทรัล
ระบุอักษร N
หรือเครื่องหมาย สีฟ้า

บาร์เฟส
- เฟส 1 ระบุอักษร L1
หรือเครื่องหมาย สีน้ำตาล
- เฟส 2 ระบุอักษร L2
หรือเครื่องหมาย สีดำ
- เฟส 3 ระบุอักษร L3
หรือเครื่องหมาย สีเทา

บาร์กราวน์
ระบุอักษร PE, G, E
หรือเครื่องหมาย สีเขียว
แถบเหลือง

21

การเลือกใช้เต้ารับ

อันตรายจากการต่อขั้วสาย L-N สลับกัน ตามมาตรฐานการติดตั้งทาง
เช่น ในการต่อปลั๊กพ่วง เนื่องจากเวลา ไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย (วสท.)
เบรกเกอร์ตัด จะตัดที่สาย L แต่ถ้ามีการ กำหนดให้ เต้ารับต้องมีสายดิน
เดินสายไฟสลับกัน แทนที่จะตัดเส้นที่มีไฟ ตามมอก. 166-2549 โดยให้มีการ
แต่ตัดเส้นที่ไม่มีไฟแทน ทำให้แม้จะปิดสวิตซ์ จัดเรียงขั้วของเต้ารับ เป็นขั้วเฟส
ที่ปลั๊กพ่วงแล้ว ก็ยังมีไฟอยู่เช่นเดิม ขั้วนิวทรัล และขั้วสายดิน
อาจทำให้เกิดไฟฟ้าดูดได้ แบบทวนเข็มนาฬิ กาหรือขั้วสายดิน
อยู่ทางด้านขวา
อันตรายจากการต่อขั้วสาย L-G สลับกัน
โดยปกติสายดินมีหน้าที่นำกระแสไฟรั่ว
ลงดิน แต่ถ้าหากมีการต่อผิด ทำให้มี
แรงดันไฟที่เปลือกนอกส่วนโลหะของ
เครื่องใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา หากมีคนไป
สัมผัส อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

22

การติดตั้ง
ไฟฉุกเฉิน

ไฟฉุกเฉิน ต้องมีระบบจ่ายไฟสำรอง
สำหรับกรณีฉุกเฉิน โดยจะเป็นแบตเตอรี่
ที่ สามารถจ่ายไฟให้ได้ระยะเวลาที่นาน
เพี ยงพอครอบคลุมกับความต้องการ
ในส่วนที่ต้องมีไฟฟ้าใช้ที่นานที่สุดได้
ซึ่งเมนเบรกเกอร์สำหรับไฟฉุกกเฉิน
ต้องแยกต่างหาก และไม่รวมกับเมน
เบรกเกอร์สำหรับการจ่ายไฟฟ้าปกติ
แต่ต้องติดตั้งรวมอยู่ด้วยกันภายใน
ตู้ไฟฟ้า

การเดินสายไฟ ต้องเป็นสายไฟ
ที่สามารถ ทำงานได้อย่างปลอดภัยใน
สภาวะที่ถูกเพลิงไหม้ หากเปลือกนอก
ของสายไฟไมใช่โลหะ จะต้องเดินสายไฟ
ในท่อโลหะ

23

อันตรายจากการ
โดนไฟฟ้าดูด

1. กระแสน้อยกว่า 0.5 mA : ไม่รู้สึกอะไร
2. กระแส 0.5-2 mA : รู้สึกกระตุกเล็กน้อย
3. กระแส 2-10 mA : กล้ามเนื้อหดตัว
และมีการกระตุกปานกลาง
4. กระแส 10-25 mA : เจ็บปวดกล้ามเนื้อ
และเกร็ง
5. กระแส 25-50 mA : กล้ามเนื้อเกร็ง
และมีการกระตุกรุนแรง
6. กระแส 50-100 mA : หัวใจเต้นผิดจังหวะ
อาจทำให้เสียชีวิตได้
7. กระแสมากกว่า 100 mA : หัวใจหยุดเต้น
เนื้อและผิวหนังไหม้

24

ฉลากประหยัดไฟ
เบอร์ 5

ฉลากแบบเก่า จะแสดงความประหยัดไฟ
ด้วยตัวเลขตั้งแต่ 1-5 ยิ่งมีตัวเลขมาก
ก็แปลว่า ยิ่งประหยัดไฟ

ฉลากแบบใหม่ จะเริ่มต้นด้วยเลข 5
แต่เพิ่มเติมคือ มีดาว 3 ดวง โดยดาว
แต่ละดวง จะแสดงถึงความประหยัดไฟ
มากขึ้นประมาณ 5-10% หากมีดาวเยอะ
แสดงว่ายิ่งประหยัดไฟ โดยมีการปรับ
หน้าฉลาก ให้เห็นถึงค่าไฟฟ้าที่ใช้ในแต่ละปี
รวมถึงค่าประสิทธิภาพให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
โดยทั้งสองค่านี้ สามารถนำไปใช้ประกอบ
การตัดสินใจสำหรับการเลือกซื้อเครื่องใช้
ไฟฟ้าที่อยู่รุ่นใกล้ๆกันได้

ด้านล่างของฉลาก จะมีเว็บไซต์ของกฟผ.
http://labelno5.egat.co.th ที่รวบรวมรายละเอียดของ
ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองจากกฟผ. เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถ
เข้าไปศึกษาเองได้ รวมถึงมีรายละเอียดของฉลากต่างๆ

25

หน้ากากบัสบาร์
และ

แผงกั้นเฟส

หน้ากากบัสบาร์ เป็นแผ่นอะคลิลิกที่ติดไว้หน้าบัสบาร์ โดยมีไว้เพื่อป้องกัน
การสัมผัสสายไฟโดยตรงเวลาซ่อมแซม และมีไว้เพื่อป้องกันสัตว์ต่างๆ เช่น
จิ้งจก ไม่ให้มาสัมผัสกับบัสบาร์โดยตรง เพราะอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้
หากไม่มีการติดตั้งหน้ากากบัสบาร์ ควรให้ช่างไฟที่มีประสบการณ์มาติดตั้ง
เพิ่มเติมให้ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

แผงกั้นเฟส ทำหน้าที่คล้ายกัน
คือเป็นฉนวนที่ติดตั้งไว้ระหว่างสายไฟ
แต่ละเฟส เพื่อป้องกันการสัมผัสโดยตรง
และป้องกันการสัมผัสกันของสายไฟ

26

การอ่าน 1. Panel NO. : ชื่อของตู้ไฟ เพื่อระบุว่า
ตารางโหลด ตู้ไฟนี้คือตู้ไหน กรณีที่มีตู้ไฟหลายตู้
2. Main : บอกรายละเอียดของเมน
ตารางโหลด คือ ตารางที่แสดง เบรกเกอร์ โดยระบุชนิดขั้วและพิกัดกระแส
รายละเอียดต่างๆ ของโหลดภายใน 3. Capacity : ความจุของตู้ไฟฟ้า
ตู้ไฟฟ้าซึ่งออกแบบโดยวิศวกรไฟฟ้า จำนวนช่องที่สามารถใส่เบรกเกอร์ลงไปได้
โดยออกแบบมาให้เหมาะสมกับปริมาณ 4. Location : บอกสถานที่ที่ติดตั้ง
การใช้ไฟฟ้าภายในอาคาร หรือบ้าน ตู้ไฟนั้นๆ
หลังนั้นๆ รูปแบบของตารางโหลด 5. Circuit NO. : หมายเลขวงจร ใช้เพื่อ
จะแตกต่างกันไปตามการออกแบบ ระบุว่าเบรกเกอร์ย่อยลูกนั้นอยู่วงจร
ของวิศวกรไฟฟ้า แต่จะมีองค์ประกอบ ลำดับเท่าไร
หลักๆที่คล้ายกัน 6. Description : รายละเอียดวงจร
ใช้เพื่ อบอกว่าเบรกเกอร์ลูกนั้นควบคุม
วงจรอะไร
7. Conductors : บอกจำนวน ชนิดและ
ขนาดสายไฟ ทั้งสายไลน์ สายนิวทรัล
และสายกราวน์

27

8. Circuit Breaker : บอกรายละเอียดเบรกเกอร์ย่อย โดยระบุชนิด ขั้ว และ
พิ กัดกระแส
9. Conduit : บอกขนาดและชนิดของท่อร้อยสายไฟ
10. Connected load in VA : โหลดไฟฟ้าในแต่ละวงจร โดยบอกขนาดของ
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในวงจรนั้นๆ ซึ่งคิดจากค่าสูงสุดที่เครื่องใช้ไฟฟ้าบริโภค
11. Total connected load : เป็นช่องรวมขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่บริโภค
ภายในตู้ไฟฟ้านั้น
12. Total Demand load : เป็นช่องรวมขนาดของโหลดภายในตู้ไฟฟ้านั้น
ที่คิดจากการใช้งานจริงตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าของ วสท.
13. Main Conductor : สายป้อน คือสายไฟฟ้าที่อาจรับไฟมาจากมิเตอร์
หรือตู้ไฟหลัก โดยบอกจำนวน ขนาด และชนิดของสายไฟ
14. Raceway : บอกขนาดและชนิดของท่อร้อยสายไฟ
15. Connected to : บอกว่าสายไฟจากตู้ไฟนี้ ต่อไปยังตู้ไฟตู้ไหน กรณีมี
ตู้ไฟฟ้ามากกว่า 1 ตู้

28

สวิตซ์ไฟและ
เต้ารับอาร์ก

สวิตซ์ไฟและเต้ารับอาร์ก เกิดจากการ
ที่เข้าสายไฟไม่แน่น เต้ารับหลวม ไม่แน่นพอ
จึงมีโพรงอากาศ วัสดุที่ใช้เป็นตัวนำไฟฟ้า
ไม่ได้คุณภาพ การต่อสายไฟไม่ดี หรือ
หน้าสัมผัสของสวิตซ์สกปรก มีมดเข้าไป
ทำรัง ทำให้กระแสไฟเดินไม่สะดวก
การส่งกระแสไฟขาดหาย และเกิดการอาร์ก
มีเสียงดังเหมือนไฟช็อต

ป้องกันได้โดยการเลือกสวิตซ์ไฟหรือ
เต้ารับที่มีคุณภาพ ไม่ใช้เต้ารับที่เก่าเกินไป
หรือไม่ได้คุณภาพ เลือกปลั๊กพ่วงหรือ
ปลั๊กรางที่มีสวิตซ์บนปลั๊กแต่ละรู ปิดสวิตซ์
อุปกรณ์ไฟฟ้าก่อนเสียบทุกครั้ง และต่อพ่วง
อุปกรณ์ให้ถูกวิธี

29

มิเตอร์แบบปกติ
กับ

มิเตอร์แบบ TOU

มิเตอร์แบบปกติ จะคิดค่าไฟแบบ
Progessive rate หรือแบบอัตราก้าวหน้า
ราคาค่าไฟจะสูงขึ้นตามการใช้งาน ยิ่งใช้
เยอะ ราคาต่อหน่วย ก็จะยิ่งสูงขึ้น

30

มิเตอร์แบบ TOU (Time of Use)
คิดราคาค่าไฟตามช่วงเวลาที่ใช้
โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง

1

ช่วง On Peak
คือ ช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟมาก
ได้แก่ ช่วงเวลา 09.00-22.00 น.
วันจันทร์-ศุกร์ วันหยุดชดเชยและ
วันพื ชมงคลที่ตรงกับจันทร์-ศุกร์
โดยราคาค่าไฟจะสูง ประมาณ
5.2674 บาท/หน่วย

2

ช่วง Off Peak
คือ ช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟน้อย
ได้แก่ ช่วงเวลา 22.00-09.00 น.
วันจันทร์-ศุกร์ 00.00-24.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ
วันหยุดราชการ วันพืชมงคลที่ตรงกับ
วันเสาร์-อาทิตย์ ไม่รวมวันหยุดชดเชย
โดยราคาค่าไฟจะต่ำ ประมาณ
2.1827 บาท/หน่วย

31

บล็อกไฟ
EV CHARGER

ภายในบล็อกไฟ จะประกอบไปด้วยสายไฟ
5 เส้น ได้แก่ สายไลน์ 3 เส้น ( น้ำตาล ดำ เทา
ตามลำดับ) สายนิวทรัล (ฟ้า ) และสายกราวน์
(เขียวแถบเหลือง) และในการจะติดตั้ง
EV Charger มีสิ่งที่ควรรู้ดังนี้

32

1. ควรเลือกมิเตอร์ไฟฟ้าที่มีพิกัดกระแสที่
เหมาะสมให้รองรับกับรถยนต์ไฟฟ้า โดย
รถยนต์ไฟฟ้า จะใช้กระแสไฟฟ้าขณะชาร์จ
ประมาณ 8A-16A ต่อเนื่องจนกว่าแบตเตอรี่
จะเต็ม ดังนั้น มิเตอร์ไฟฟ้าควรมีขนาดไม่
น้อยกว่า 30A หรือเปลี่ยนขนาดมิเตอร์
ใหญ่ขึ้นเป็น 30(100) A ระบบไฟ 1 เฟส
หรือ 3 เฟส ก็ได้ เพื่อป้องกันการใช้ไฟฟ้า
จนเกิดพิ กัด

2. ขนาดสายเมน และเมนเบรกเกอร์
สำหรับสายเมนควรปรับให้สอดคล้อง
กับขนาดของเมนเบรกเกอร์ และ
เมนเบรกเกอร์ ควรปรับให้สอดคล้อง
กับโหลดไฟฟ้าทั้งหมดภายในตู้ ซึ่งรวม
กับโหลด EV Charger ด้วย

33

3. ต้องติดตั้งเบรกเกอร์แยกสำหรับ
EV Charger โดยแยกใช้งานกับเครื่องไฟฟ้า
อื่นๆ และควรใช้เบรกเกอร์กันดูดที่มีระบบ
ตัดไฟรั่ว

4. โดยตามมาตรฐานการติดตั้งทาง
ไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย (วสท.) ระบุ
ไว้ว่า สามารถติดตั้งตู้ไฟฟ้าสำหรับ
EV Charger แยกจากตู้ไฟฟ้าหลัก
ภายในบ้านได้

ต . ต ร ว จ บ้ า น

Thank You

ต.ตรวจบ้าน 082-669-9666 (เมธ)
@t.home 086-500-0019 (เทพ)
t.homeinspector
www.thomeinspector.com


Click to View FlipBook Version