The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Ane Cha, 2023-01-19 03:07:36

รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม

รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม

เอกสารหมายเลข 9/2565 กลุ่มนโยบายและแผน ส านักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม รายงานผลการด าเนินงาน ตามแผนปฏิบัติราชการ ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ส านักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม


คำนำ รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมฉบับนี้ ได้รวบรวมผลการดำเนินงานและโครงการทุกโครงการ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม โดยแสดง ให้เห็นถึงภาพความสำเร็จและความก้าวหน้าของการดำเนินงานในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษา สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ในส่วนของภารกิจที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมรับผิดชอบ ซึ่งจะ นำเสนอผลการดำเนินงานดังกล่าว จำแนกตามประเด็นยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ประเด็น ดังนี้ 1. พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นคง 2. พัฒนาคุณภาพการศึกษา การวิจัย เพื่อรองรับการแข่งขัน 3. พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ 4. สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา 5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมบนฐานของเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้รายงานผล การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด นครปฐม สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานผลการดำเนินงานฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ และแนวทางในการดำเนินงานด้านการพัฒนาการศึกษาต่อไป กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ตุลาคม 2565


สารบัญ หน้า คำนำ สารบัญ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม 1 เป้าประสงค์รวม และประเด็นยุทธศาสตร์ ข้อมูลภาพรวมของหน่วยงาน บทบาทและภารกิจของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด 4 โครงสร้างภายในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 5 ผู้บริหารภายในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 5 อัตรากำลัง 6 งบประมาณ 7 ผลการดำเนินงานตามแผนปฎิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม งบหน้าโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 8 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นคง 12 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ 24 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา 32 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมบนฐาน 39 ของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ภาคผนวก คำสั่งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ที่ 349/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม คณะผู้จัดทำ


8 งบหน้าโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดนครปฐม งบประมาณ (หน่วย : บาท) กลุ่มงาน ที่รับผิดชอบ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นคง 1.1 พัฒนาการจัดการศึกษาในทุกระดับทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีปรองดอง ความจงรักภักดี ต่อสถาบันหลักของชาติและความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 1) โครงการสร้างและส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีตามรอยพระยุคลบาทด้าน การศึกษาสู่การปฏิบัติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 160,000 กลุ่มลูกเสือฯ 2) โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 6,750 กลุ่มลูกเสือฯ 3) โครงการการขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กระทรวงศึกษาธิการ ระดับพื้นที่ 15,000 กลุ่มพัฒนา การศึกษา 1.2 ส่งเสริมผู้เรียนให้มีหลักคิดที่ถูกต้อง ด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา 4) โครงการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2565 40,000 กลุ่มพัฒนา การศึกษา 5) โครงการ ศธ. จิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ 23,500 กลุ่มลูกเสือฯ 6) โครงการฝึกอบรมลูกเสือ เนตรนารี จราจร ประจำปี 2565 100,000 กลุ่มลูกเสือฯ 7) โครงการการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการในการ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ ด้านคุณธรรมจริยธรรม เรื่อง“ความมีวินัย ประหยัดและการออม” ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 - 3 โรงเรียนเอกชน สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครปฐม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน 7,000 กลุ่มนิเทศฯ 1.3 เสริมสร้างกลไกการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด และสร้างความปลอดภัยทางร่างกาย จิตใจ หรือภัยคุกคามใน รูปแบบใหม่ 8) โครงการส่งเสริมศักยภาพการตรวจ ติดตามความประพฤตินักเรียนและ นักศึกษา 30,000 กลุ่มลูกเสือฯ 9) โครงการประเมินความสำเร็จของการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและ นักศึกษา 30,000 กลุ่มลูกเสือฯ 10) โครงการจัดประกวดระเบียบแถวลูกเสือ เนตรนารี ระดับจังหวัด 27,500 กลุ่มลูกเสือฯ 11) โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาของ จังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 21,000 กลุ่มพัฒนา การศึกษา ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพการศึกษา การวิจัย เพื่อรองรับการแข่งขัน 2.1 พัฒนาสมรรถนะและทักษะของผู้เรียนเพื่อรองรับการแข่งขัน - - -


9 กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดนครปฐม งบประมาณ (หน่วย : บาท) กลุ่มงาน ที่รับผิดชอบ 2.2 ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศตามความถนัดและความสนใจ นำไปสู่การพัฒนาทักษะวิชาชีพ และทักษะ การสื่อสารภาษาต่างประเทศ เป็นนักคิด เป็นผู้สร้างนวัตกรรม - - - 2.3 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมทางการศึกษา - - - ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ 3.1 ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของผู้เรียน - - - 3.2 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความเป็นผู้นำทาง วิชาการ ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย 12) โครงการส่งเสริมการจัดงาน 100 ปียุวกาชาดไทย 40,000 กลุ่มลูกเสือฯ 13) โครงการนิเทศการจัดกิจกรรมยุวกาชาดในสถานศึกษา ประจำปี 2565 10,000 กลุ่มลูกเสือฯ 14) โครงการนิเทศการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา ประจำปี 2565 10,000 กลุ่มลูกเสือฯ 15) โรงเรียนดีวิถีลูกเสือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 9,000 กลุ่มลูกเสือฯ 16) โครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชายุวกาชาด หลักสูตร ครูผู้สอนกิจกรรมยุวกาชาด รุ่น 530 40,000 กลุ่มลูกเสือฯ 17) โครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชายุวกาชาด หลักสูตร ครูผู้สอนกิจกรรมยุวกาชาด รุ่น 531 40,000 กลุ่มลูกเสือฯ 18) โครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) วิจัย นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ระยะที่ ๒ 96,000 กลุ่มนิเทศฯ 3.3 ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เชิงบูรณาการองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ (อาทิ สะเต็มศึกษา ทวิภาคี) - - - 3.4 พัฒนาศักยภาพคนให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล - - - 3.5 เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้าน สิ่งแวดล้อม - - - 3.6 ส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้สามารถเป็นอาชีพ และสร้างรายได้ - - - ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา 4.1 เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยให้ผู้เรียนสามารถ เข้าถึงโอกาสทางการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย ครอบคลุมทุกพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย 19) โครงการส่งเสริมโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทาง การศึกษา “พาน้องกลับมาเรียน” ระดับจังหวัด 6,800 กลุ่มพัฒนา การศึกษา 20) โครงการเครือข่ายพัฒนาการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครปฐม 15,000 กลุ่มส่งเสริม การศึกษาเอกชน


10 กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดนครปฐม งบประมาณ (หน่วย : บาท) กลุ่มงาน ที่รับผิดชอบ 21) โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยในระดับ พื้นที่จังหวัดนครปฐม 48,000 กลุ่มนิเทศฯ 4.2 พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต - - - 4.3 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมและ ทำงานร่วมกับผู้อื่นภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคม 22) โครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและ แนวทางพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขึ้นพื้นฐานกับ อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ปีงบประมาณ 2565 72,000 กลุ่มนิเทศฯ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมบนฐานของเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพและประสิทธิผล 5.1 พัฒนาระบบฐานข้อมูลของจังหวัดและฐานข้อมูลกลางด้านการศึกษาให้เป็นเอกภาพเป็นปัจจุบันและทันต่อ การใช้งาน 23) โครงการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 30,300 กลุ่มนโยบาย และแผน 24) โครงการการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนการยกระดับ คุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาจังหวัด นครปฐมโดยผ่านกลไกของ กศจ. 90,900 กลุ่มนโยบาย และแผน 25) โครงการจัดทำฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลระดับพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายของสหประชาชาติว่าด้วยการ พัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา SDG4 30,000 กลุ่มนโยบาย และแผน 26) โครงการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครปฐม 40,000 กลุ่มอำนวยการ 5.2 ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ 27) โครงการจัดประชุมคณะกรรมการศึกษาธิการ คณะอนุกรรมการ ศึกษาธิการจังหวัด 365,000 กลุ่มนโยบาย และแผน 28) โครงการตรวจติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย และยุทธศาสตร์ 60,000 กลุ่มนิเทศฯ 5.3 สนับสนุนให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างอิสระและมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ 29) โครงการการบริหารงานและตรวจติดตามโรงเรียนเอกชนในสังกัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 61,400 กลุ่มส่งเสริม การศึกษาเอกชน 30) โครงการตรวจติดตามเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาของโรงเรียน เอกชนนอกระบบในสังกัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 18,700 กลุ่มส่งเสริม การศึกษาเอกชน 31) โครงการการคัดเลือกบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2) ตำแหน่งประเภททั่วไป เพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 45,010 กลุ่มบริหารงาน บุคคล


11 กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์การศึกษาจังหวัดนครปฐม งบประมาณ (หน่วย : บาท) กลุ่มงาน ที่รับผิดชอบ 32) โครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครปฐม 20,980 กลุ่มนิเทศฯ 5.4 ส่งเสริมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โรงเรียนคุณภาพของชุมชน โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง เพื่อ สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัย - - - รวมทั้งสิ้น 32 โครงการ เป็นเงินงบประมาณ จำนวน 1,609,840 บาท


12 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นคง สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษา เพื่อสร้างความมั่นคง โดยเป้าประสงค์ตามประเด็นยุทธศาสตร์ คือ การจัดการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นคง มีกลยุทธ์ภายใต้ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) พัฒนาการจัดการศึกษาในทุกระดับทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้าง ความสามัคคีปรองดอง ความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติและความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมการเมือง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (2) ส่งเสริมผู้เรียนให้มีหลักคิด ที่ถูกต้อง ด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และ (3) เสริมสร้างกลไก การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด และสร้างความปลอดภัยทางร่างกาย จิตใจ หรือภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ กลยุทธ์ที่ 1.1 พัฒนาการจัดการศึกษาในทุกระดับทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี ปรองดอง ความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติและความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมการเมืองการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของสถานศึกษาทุกสังกัดที่จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีปรองดอง ความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติและความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ค่าเป้าหมาย 100%) 1) โครงการสร้างและส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีตามรอยพระยุคลบาทด้านการศึกษา สู่การปฏิบัติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการสร้างและส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ตามรอยพระยุคลบาทด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้ศึกษาเรียนรู้พระราชกรณียกิจของบูรพกษัตริย์ไทย และพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อประชาชนคนไทย ส่งเสริม ให้ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีเจตคติที่ดีต่อบ้านเมือง มีโอกาสทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี มีพื้นฐาน ชีวิตที่มั่นคงและมีคุณธรรม สามารถวางแผนการประกอบอาชีพเพื่อให้มีงานทำ และส่งเสริมให้ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้เรียนรู้ถึงนวัตวิถีของท้องถิ่นและชุมชนมีจิตสำนึกรักและภูมิใจในท้องถิ่น ชุมชนของตนเอง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน นักศึกษา ในและนอกสถานศึกษา ครู วิทยากร และ บุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดนครปฐม จำนวน 1,230 คน และจัดกิจกรรมดังนี้ - จัดกิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ “ค่ายการเรียนรู้ใต้ร่มพระบารมีจักรีวงศ์” วันที่ 24 มิถุนายน 2565 ณ โรงเรียนศาลาตึกวิทยา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 190 คน


13 - จัดกิจกรรมที่ 2 พลเมืองดีของสังคม (บำเพ็ญประโยชน์ – รักษ์บ้านรักถิ่น) วันที่ 2 มิถุนายน 2565 ณ วัดพระประโทณเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 37 คน - จัดกิจกรรมที่ 2 พลเมืองดีของสังคม (บำเพ็ญประโยชน์ – รักษ์บ้านรักถิ่น) วันที่ 8 มิถุนายน 2565 ณ โรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 1,020 คน - จัดกิจกรรมที่ 2 พลเมืองดีของสังคม (บำเพ็ญประโยชน์ –รักษ์บ้านรักถิ่น) วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ณ โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 620 คน - จัดกิจกรรมที่ 2 พลเมืองดีของสังคม (บำเพ็ญประโยชน์ –รักษ์บ้านรักถิ่น) วันที่ 11 สิงหาคม 2565 ณ โรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ (ศรีวิทยากร) อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน 200 คน ณ โรงเรียน ศรีวิชัยวิทยา อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน 430 คน


14 ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ - นักเรียน นักศึกษา ครูวิทยากรและบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมโครงการฯ 2,497 คน เชิงคุณภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้พระราชกรณียกิจของพระราชวงศ์จักรี มีเจตคติที่ดี ต่อบ้านเมืองมีโอกาส ทำหน้าที่เป็นพลเมืองดีมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม สามารถวางแผนการประกอบอาชีพเพื่อให้มีงานทำ ได้เรียนรู้ถึงนวัตวิถีของท้องถิ่นและชุมชน มีจิตสำนึกรักและภูมิใจในท้องถิ่นชุมชนของตนเอง สามารถนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้และเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ ปัญหา อุปสรรค - แนวทางแก้ไข - 2) โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ข้าราชการและบุคลากรในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีโอกาสแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสืบสานพระราชปณิธาน รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญในการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและมีจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน ข้าราชการและบุคลากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดนครปฐม จำนวน 100 คน และดำเนินกิจกรรม ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องใน โอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ในวันที่ 11 สิงหาคม 2565 ณ โรงเรียนบ้านหอมเกร็ด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 118 คน ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ - นักเรียน ข้าราชการและบุคลากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดนครปฐม เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 118 คน เชิงคุณภาพ นักเรียน ข้าราชการและบุคลากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดนครปฐม มีจิตอาสาพัฒนาและ ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหา อุปสรรค - แนวทางแก้ไข -


15 3) โครงการการขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กระทรวงศึกษาธิการ ระดับพื้นที่ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการการขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กระทรวงศึกษาธิการ ระดับพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพืชพรรณไม้ และการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของประเทศ ตระหนักถึงความสำคัญ และประโยชน์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมหาชนชาวไทย จึงได้ดำเนินการขับเคลื่อน การดำเนินงานตามกรอบกิจกรรมของ อพ.สธ.-ศธ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ สถานศึกษาในจังหวัดนครปฐม และจัดกิจกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ในกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร ครู และบุคลากร ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ติดตาม ให้สถานศึกษาที่เป็นสมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ขับเคลื่อนงาน อพ.สธ. อย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงาน จากภารกิจที่กระทรวงศึกษาธิการมอบหมายให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ดำเนินโครงการ การขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กระทรวงศึกษาธิการ ระดับพื้นที่ 1. ประชาสัมพันธ์ให้สถานศึกษาทุกสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด สมัครเข้าร่วมเป็น สมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 2. ส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ติดตามให้สถานศึกษาที่เป็นสมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ขับเคลื่อนงาน อพ.สธ. อย่างต่อเนื่อง 3. จัดทำข้อมูล และสรุปรายงาน ปัญหา อุปสรรคหรือข้อเสนอแนะผลการดำเนินงาน อพ.สธ. – ศธ ของสถานศึกษาระดับจังหวัด 4. วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2565 นางทองเจือ เอี่ยมธนานุรักษ์ รองศึกษาธิการจังหวัด นครปฐม และนางสาวนงนุช ดวงพรกชกร ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการศึกษา และสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 โดยนายณรงค์ โพธิ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการศึกษา พร้อมคณะ ร่วมนิเทศ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราขสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนสิรินธราชวิทยาลัย โดยมีนายวิวัฒน์ ชูศรีแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียน และคณะครูชี้แจงการดำเนินงานดังกล่าว 5. วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2565 นายคงกระพัน เวฬุสาโรจน์ ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม นางทองเจือ เอี่ยมธนานุรักษ์ รองศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม และนางสาวนงนุช ดวงพรกชกร ผู้อำนวยการ


16 กลุ่มพัฒนาการศึกษา พร้อมคณะติดตามการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม โดยมี นางสาวสุขใจ ไชยมาตย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะครูชี้แจงการดำเนินงานอยู่ในขั้นขอรับป้าย ดำเนินการ ไปถึงองค์ประกอบที่ 3 ปัญหา อุปสรรค - แนวทางแก้ไข - กลยุทธ์ที่ 1.2 ส่งเสริมผู้เรียนให้มีหลักคิดที่ถูกต้อง ด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของผู้เรียนที่ได้รับการส่งเสริมให้มีหลักคิดที่ถูกต้อง ด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา (ค่าเป้าหมาย 90%) 4) โครงการจัดงานวันเด็กแห่งชาติประจำปี2565 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม เป็นหน่วยงานผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการส่วนภูมิภาค ในการสนับสนุน ส่งเสริม ดูแลเด็ก นักเรียน และเยาวชนของชาติ ในด้านการศึกษา เพื่อให้ตระหนักถึง ความสำคัญของเด็กซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญยิ่งต่อประเทศชาติ ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติ บ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคงสืบไป ในปี พ.ศ.2565 ได้จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ เพื่อประชาสัมพันธ์ หน่วยงานสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ให้เป็นที่รู้จักกับเด็กและประชาชนทั่วไป และเพื่อให้เด็ก เยาวชน กล้าคิด กล้าทำ ในทางสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตามความสามารถและความสนใจ กระตุ้นให้เด็กได้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเอง เพื่อที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคตส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็ก เยาวชน ได้ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยดำเนินกิจกรรมมอบโล่รางวัลและเกียรติบัตรให้กับเด็กและเยาวชน ณ โรงเรียน สิรินธรราชวิทยาลัย และมอบของขวัญ สิ่งของให้กับเด็กด้อยโอกาส ณ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม ผลการดำเนินงาน 1. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ และเป็นการ ประชาสัมพันธ์หน่วยงานให้เป็นที่รู้จักกับผู้ร่วมงาน 2. เด็ก และเยาวชน มีความซาบซึ้งและตระหนักถึงความสำคัญของตนเอง เพื่อที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต ปัญหา อุปสรรค - ข้อเสนอแนะ -


17 5) โครงการ ศธ.จิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม เห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้ลูกเสือ - เนตรนารี ยุวกาชาด นักศึกษาวิชาทหาร ตลอดจนบุคลากรทางการศึกษา ได้ร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ จึงได้จัดทำโครงการ ศธ.จิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ ขึ้น เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ นักศึกษาวิชาทหารและบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ รวมไปถึง สร้างความสัมพันธ์ด้านสังคม ขัดเกลาทางด้านจิตใจ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้รู้คุณค่าของการแบ่งปัน และการ ช่วยเหลือผู้อื่น ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีจิตสาธารณะและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด นักศึกษาวิชาทหาร และบุคลากรทางการศึกษา จากหน่วยงานการศึกษาสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ และสถานศึกษาทุกสังกัดในจังหวัดนครปฐม จำนวน 250 คน และดำเนินกิจกรรมดังนี้ 1. โครงการ ศธ.จิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ในวันที่ 16 ธันวาคม 2564 ณ โรงเรียนปรีดารามวิทยาคม อำเภอ สามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 319 คน 2. เชิญชวนสถานศึกษาสังกัดต่าง ๆ ในจังหวัดนครปฐม จัดกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ระหว่างวันที่ 3 ธันวาคม 2564 – 31 กรกฎาคม 2565 มีหน่วยงานที่เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ จำนวน 57 แห่ง 2.1 สพฐ. จำนวนสถานศึกษา 44 แห่ง จำนวน 15,063 คน 2.2 อาชีวศึกษา จำนวนสถานศึกษา 3 แห่ง จำนวน 147 คน 2.3 สำนักงาน กศน. จำนวนสถานศึกษา 8 แห่ง จำนวน 304 คน 2.4 สำนักงาน สช. จำนวนสถานศึกษา 1 แห่ง จำนวน 458 คน 2.5 องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนสถานศึกษา 1 แห่ง จำนวน 52 คน รวม 16,024 คน รวมทั้งสิ้น 16,343 คน ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ - ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด นักศึกษาวิชาทหาร และบุคลากรทางการศึกษา จากหน่วยงานการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และสถานศึกษาทุกสังกัดในจังหวัดนครปฐม รวมทั้งสิ้น 16,343 คน เชิงคุณภาพ - ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนได้ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ร่วมทำกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์รู้คุณค่า ของการแบ่งปันและการช่วยเหลือผู้อื่น มีจิตสาธารณะ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ปัญหา อุปสรรค - แนวทางแก้ไข -


18 6) โครงการฝึกอบรมลูกเสือ เนตรนารี จราจร ประจำปี 2565 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการฝึกอบรมลูกเสือ เนตรนารี จราจร ประจำปี 256๕ ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ลูกเสือ เนตรนารี มีความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎหมายจราจร การใช้รถ ใช้ถนนอย่างปลอดภัย มีทักษะการใช้สัญญาณมือ สัญญาณนกหวีด ในการปฏิบัติหน้าที่การอำนวย ความสะดวก ด้านการจราจรร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร และสามารถนำความรู้ ทักษะ ไปใช้ในการดำเนิน ชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้งเครือข่ายจิตอาสาและการบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อช่วยเหลือสังคม ด้านการจราจรของลูกเสือ เนตรนารี ในสถานศึกษา โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บังคับบัญชา ลูกเสือ เนตรนารี ลูกเสือ เนตรนารี วิทยากรและเจ้าหน้าที่ ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม จำนวน 110 คน โดยดำเนินกิจกรรม ระหว่างวันที่ 28 – 29 มิถุนายน 2565 (ไป – กลับ) ณ โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ - ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ เนตรนารี ลูกเสือ เนตรนารี วิทยากรและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมฯ จำนวน 135 คน เชิงคุณภาพ 1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจและทักษะเรื่องลูกเสือ เนตรนารี จราจร โดยมีคะแนน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจในการจัดโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ปัญหา อุปสรรค - แนวทางแก้ไข - 7) โครงการการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียน การสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ ด้านคุณธรรมจริยธรรม เรื่อง “ความมีวินัย ประหยัด และการออม” ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 - 3 โรงเรียนเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้ตระหนักถึงความสำคัญ ในการขับเคลื่อนคุณธรรม จริยธรรม ในสถานศึกษาด้านการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติให้เป็นวิถีชีวิตในการ สร้างกระบวนการทำงานแบบบูรณาการในทุกมิติ เพื่อส่งเสริม พัฒนา ศักยภาพแก่นักเรียนให้เกิดคุณธรรม


19 จริยธรรม โดยเฉพาะด้านความมีวินัย ประหยัดและการออม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ โรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จำนวน 44 โรงเรียน และได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการคุณธรรม จริยธรรม ในสถานศึกษา โดยการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เป็นข้อมูลในการพัฒนารูปแบบหรือเทคนิคกระบวนการนิเทศ และสรุปรายงานผลสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ ด้านคุณธรรม จริยธรรม เรื่อง“ความมีวินัย ประหยัดและการออม” ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนเอกชน สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม กระทรวงศึกษาธิการ ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ - ครูผู้สอน ครูหัวหน้ากลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เชิงคุณภาพ 1. มีการสะท้อนข้อมูลสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ ด้านคุณธรรม จริยธรรม “ความมีวินัย ประหยัด และการออม” 2. รายงานการศึกษาข้อมูลสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการ ปัญหา อุปสรรค - แนวทางแก้ไข - กลยุทธ์ที่ 1.3 เสริมสร้างกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และสร้างความปลอดภัย ทางร่างกาย จิตใจ หรือภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของสถานศึกษาสร้างกลไกการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด หรือภัยคุกคาม ในรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะภัยจากยาเสพติด อาชญากรรมทางไซเบอร์ การค้ามนุษย์ และโรคอุบัติใหม่ (ค่าเป้าหมาย 100%)


20 8) โครงการส่งเสริมศักยภาพการตรวจ ติดตามความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ในฐานะผู้ปฏิบัติงานตามภารกิจของศูนย์การประสานงาน ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาจังหวัด “ศูนย์เสมารักษ์ ประจำสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด” ได้จัดทำโครงการส่งเสริมศักยภาพการตรวจ ติดตาม ความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา ขึ้น เพื่อเฝ้าระวัง สถานการณ์ ป้องกันและแก้ไขปัญหาความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา และดำเนินการส่งเสริมสนับสนุน และประสานงานสถานศึกษา ในการป้องกัน แก้ไขปัญหาความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา คุ้มครองสิทธิ ของนักเรียนและนักศึกษา ปฏิบัติงานส่งเสริมและคุ้มครองความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา ร่วมกับ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด รวมทั้งเครือข่ายภาครัฐภาคเอกชน และหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้อง ประสาน ตรวจสอบ ดูแล และช่วยเหลือนักเรียนและนักศึกษา สถานศึกษาที่ประสบเหตุภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ และสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนและนักศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครปฐม และได้ดำเนินการออกตรวจ ติตตามเฝ้าระวังสถานการณ์ และปัญหาความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา ตามสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ร้านเกม โต๊ะสนุกเกอร์ สวนสาธารณะ ท่ารถโดยสาร ฯลฯ ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ - ลงพื้นที่ตรวจ ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์และปัญหาความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาในพื้นที่ จังหวัดนครปฐม จำนวน 43 ครั้ง (ไตรมาส 1 - 4) เชิงคุณภาพ - นักเรียนและนักศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครปฐมได้รับการปกป้อง แก้ไข คุ้มครองและส่งเสริมความประพฤติ ปัญหา อุปสรรค 1. อยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2. ขาดรถยนต์ราชการที่ใช้ในการปฏิบัติงาน แนวทางแก้ไข 1. ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังภายใต้มาตรการการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด 2. ใช้รถยนต์ส่วนตัวในการออกปฏิบัติงาน


21 9) โครงการประเมินความสำเร็จของการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการประเมินความสำเร็จของการส่งเสริม ความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา ขึ้น เพื่อสร้างระบบและกลไกที่ชัดเจน ถูกต้องและเหมาะสมในการ ขับเคลื่อนการบริหารงานเครือข่ายการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาจังหวัด โดยได้กำหนด นโยบาย มาตรการ แนวทางและแผนในการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา เพื่อให้ศูนย์เสมารักษ์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม สามารถบูรณาการและขับเคลื่อนการส่งเสริมความประพฤตินักเรียน และนักศึกษาได้อย่างเป็นระบบมีกลไกและเอกภาพในการดำเนินการ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้บริหาร และบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาที่มีผลการปฏิบัติงาน ดีเด่น อีกทั้งเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา ได้พัฒนาตนเอง พัฒนางานให้มีมาตรฐาน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณะกรรมการส่งเสริมความประพฤติ นักเรียนและนักศึกษา เจ้าหน้าที่ศูนย์เสมารักษ์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม และดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1. ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาจังหวัด เจ้าหน้าที่ ศูนย์เสมารักษ์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม บุคลากรที่เกี่ยวข้องและมอบรางวัลเสมาพิทักษ์ ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุม จำนวน 44 คน 2. ดำเนินการจัดการประชุมเพื่อสรุปและรายงานการดำเนินงานการเฝ้าระวังสถานการณ์และปัญหา ความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ในวันที่ 17 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุม มีแววคาเฟ่แอนด์บิสโตร อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 12 คน ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ - มีคณะกรรมการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาจังหวัด และเจ้าหน้าที่ศูนย์เสมารักษ์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม จำนวน 56 คน เชิงคุณภาพ - คณะกรรมการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาจังหวัด เจ้าหน้าที่ศูนย์เสมารักษ์สำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีกลไกการขับเคลื่อนงานการส่งเสริมความประพฤติ นักเรียนและนักศึกษา


22 ปัญหา อุปสรรค - แนวทางแก้ไข - 10) โครงการจัดประกวดระเบียบแถวลูกเสือ เนตรนารี ระดับจังหวัด ประจำปี 2565 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้เห็นความสำคัญของกิจกรรมการประกวดระเบียบแถว ลูกเสือ เนตรนารี ว่าเป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองดี เสริมสร้างทักษะชีวิต ได้จัดทำ โครงการจัดประกวดระเบียบแถวลูกเสือ เนตรนารี ระดับจังหวัด ประจำปี 2565 ขึ้น เพื่อสนองนโยบาย ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการส่งเสริมให้เยาวชนมีระเบียบ มีวินัย โดยใช้กิจกรรมลูกเสือ ให้สถานศึกษา ได้ฝึกอบรมระเบียบวินัยลูกเสือ เนตรนารี โดยผ่านกระบวนการระเบียบแถว และเพื่อปลูกจิตสำนึกให้ลูกเสือ เนตรนารี มีความรัก ความสามัคคีมีระเบียบวินัยและมีบุคลิกที่สง่างาม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ลูกเสือ เนตรนารี ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ บุคลากรทางการลูกเสือในจังหวัดนครปฐม และดำเนินการแจ้งประชาสัมพันธ์ไปยัง หน่วยงานการศึกษา จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดการส่งคลิปวีดีโอ แก่สถานศึกษาที่เข้าร่วมการประกวด แต่งตั้งคณะกรรมการตัดสินผลการประกวด จัดทำประกาศผลการประกวด และส่งไปยังสำนักลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ - ลูกเสือ เนตรนารี ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ บุคลากรทางการลูกเสือในจังหวัดนครปฐม เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 305 คน เชิงคุณภาพ ลูกเสือ เนตรนารี โดยมีระเบียบ วินัย มีความเข้มแข็ง อดทน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้อย่างมีความสุข ปัญหา อุปสรรค บางโรงเรียนที่ส่งกองลูกเสือเข้าร่วมประกวดถ่ายคลิปโดยใช้คุณภาพสูง ไฟล์ที่จัดส่งมามีความละเอียดสูง ทำให้จัดส่งและเปิดได้ไม่สะดวก แนวทางแก้ไข เพิ่มระยะเวลาในการจัดส่งคลิปให้มากขึ้น 11) โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาของจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกัน ยาเสพติดในสถานศึกษาของจังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษา ในจังหวัดนครปฐม มีแผนงาน/กิจกรรมขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด มีความรู้ ความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินงาน


23 โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข และส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด มีความรู้ ความเข้าใจในการรายงานผลการดำเนินงานด้านยาเสพติดจังหวัด (ระบบ Nispa) การรายงานสภาพ การใช้สารเสพติดและยาเสพติดในสถานศึกษาผ่านระบบดูแลและติดตามการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา (ระบบ Catas) และระบบทะเบียนกำลังพลผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด เพิ่มขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ สถานศึกษาและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดจากสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครปฐม และดำเนิน กิจกรรมดังนี้ 1) เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง 2) จัดประชุมชี้แจงการขับเคลื่อนโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยา เสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา 2565 รวมทั้งการรายงานผลใน ระบบ nispa ระบบ catas และระบบกำลังพล 3) จัดกิจกรรมและเข้าร่วมกิจกรรมวันต่อต้านยาเสพติดโลก 26 มิถุนายน 4) สรุปผล และรายงานโครงการ ผลการดำเนินงาน 1. ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจและสามารถนำเข้าระบบกำลังพลได้ มีข้อมูลกำลังพลมากขึ้น 2. ครูผู้รับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด และอบายมุข 3. นักเรียนมีทักษะชีวิต มีความตระหนักรู้ถึงโทษภัยยาเสพติด มีภูมิคุ้มกันยาเสพติด และมีส่วนร่วม ในการเฝ้าระวังป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา ปัญหา อุปสรรค - แนวทางแก้ไข -


24 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ ทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ โดยเป้าประสงค์ตามประเด็นยุทธศาสตร์ คือ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาและเสริมสร้าง ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ กลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) ยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาของผู้เรียน (2) ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มี ความเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย (3) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เชิงบูรณาการองค์ความรู้ แบบสหวิทยาการ (อาทิ สะเต็มศึกษา ทวิภาคี) (4) พัฒนาศักยภาพคนให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล (5) เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรม ที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม และ (6) ส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้สามารถเป็นอาชีพและสร้างรายได้ กลยุทธ์ที่ 3.2 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มี ความเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของสถานศึกษาที่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย (ค่าเป้าหมาย 100%) 12) โครงการส่งเสริมการจัดงาน 100 ปี ยุวกาชาดไทย สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการโครงการส่งเสริมการจัดงาน 100 ปี ยุวกาชาดไทย ขึ้น เพื่อระลึกถึงบุคคลสำคัญผู้ก่อตั้งกิจการยุวกาชาดขึ้นในประเทศไทย ตลอดจนส่งเสริม ให้ผู้บังคับบัญชาและสมาชิกยุวกาชาด ได้ร่วมกิจกรรม ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้แสดงออกในทางสร้างสรรค์ รู้จักบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม และส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนยุวกาชาด ต่อเนื่องเพิ่มมากขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บังคับบัญชายุวกาชาด สมาชิกยุวกาชาด และเจ้าหน้าที่ จากสถานศึกษาที่เปิดสอนกิจกรรมยุวกาชาดในจังหวัดนครปฐม และดำเนินกิจกรรมร่วมปฏิญาณตน สวนสนาม ทำบุญ-ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ณ รัตนโกสินทร์สมโภช บวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย และโรงเรียนมัธยมฐานบินกำแพงแสน รวมทั้งสิ้น 660 คน ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ - มีผู้บังคับบัญชายุวกาชาด สมาชิกยุวกาชาด และเจ้าหน้าที่ จากสถานศึกษาที่เปิดสอนกิจกรรมยุวกาชาด ในจังหวัดนครปฐม เข้าร่วมโครงการ เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้


25 เชิงคุณภาพ เจ้าหน้าที่ ผู้บังคับบัญชาและสมาชิกยุวกาชาด ได้เข้าร่วมในกิจกรรมโครงการส่งเสริมการจัดงาน 100 ปี ยุวกาชาดไทย และร่วมระลึกถึงบุคคลสำคัญผู้ก่อตั้งกิจการยุวกาชาดขึ้นในประเทศไทย ตระหนักในคุณค่า และความสำคัญของการเป็นสมาชิกยุวกาชาด มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้นำ รู้รักสามัคคี ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แสดงออกในทางสร้างสรรค์ รู้จักบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม มีการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนยุวกาชาดต่อเนื่องและเพิ่มมากขึ้น ปัญหา อุปสรรค - อยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) แนวทางแก้ไข - จัดกิจกรรมภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) อย่างเคร่งครัด 13) โครงการนิเทศการจัดกิจกรรมยุวกาชาดในสถานศึกษา ประจำปี 2565 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการนิเทศการจัดกิจกรรมยุวกาชาด ในสถานศึกษา ประจำปี 2565 ขึ้น เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บังคับบัญชายุวกาชาดในสังกัด มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะ ประสบการณ์ที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมยุวกาชาด รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญ ในกระบวนการของกิจกรรมยุวกาชาด ให้เป็นไปตามอุดมการณ์ของกาชาด ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ติดตาม ช่วยเหลือ แนะนำ แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการบริหารจัดการเรียนการสอนยุวกาชาด และเพื่อสร้าง ขวัญกำลังใจให้ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บังคับบัญชายุวกาชาดและเกิดเครือข่ายความร่วมมือส่งเสริมพัฒนา กิจกรรมยุวกาชาด โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บังคับบัญชายุวกาชาด ในจังหวัดนครปฐม รวมจำนวน 21 โรงเรียน และดำเนินการ 1) จัดประชุมคณะวิทยากร วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 โดยจัด ประชุมในรูปแบบ Onsite และ Online ด้วยโปรแกรม Zoom ณ ห้องประชุมสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด นครปฐม 2) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดกิจกรรมยุวกาชาดในสถานศึกษา ประจำปี 2565 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องประชุมโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ - ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บังคับบัญชายุวกาชาด ในจังหวัดนครปฐม รวมจำนวน 21 โรงเรียน เชิงคุณภาพ - ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บังคับบัญชายุวกาชาด ที่เข้ารับการนิเทศ มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะที่ถูกต้อง และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถจัดกิจกรรมยุวกาชาดและบริหารงาน ยุวกาชาดในหมู่ยุวกาชาดโรงเรียนของตนเองได้ถูกต้อง


26 ปัญหา อุปสรรค 1. เนื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) การจัดกิจกรรม ตามโครงการจึงต้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด 2. สถานศึกษายกเลิกจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนยุวกาชาด จำนวน 2 โรงเรียน ทำให้กลุ่มเป้าหมาย เชิงปริมาณไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ 3. ผู้ที่ส่งแบบตอบรับการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการฯ บางรายไม่สามารถเข้าร่วมประชุมตามกำหนดได้ เนื่องจากเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง แนวทางแก้ไข จัดกิจกรรมภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) อย่างเคร่งครัด 14) โครงการนิเทศการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา ประจำปี 2565 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการนิเทศการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา ประจำปี 2565 ขึ้น เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บังคับบัญชาลูกเสือในสังกัด มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะ ที่ถูกต้อง ที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมลูกเสือ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ติดตาม ช่วยเหลือ แนะนำ แก้ไข ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการบริหารจัดการเรียนการสอนลูกเสือ และเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้ผู้บริหาร สถานศึกษา ผู้บังคับบัญชาลูกเสือและเกิดเครือข่ายความร่วมมือส่งเสริมพัฒนากิจกรรมลูกเสือ โดยมี กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ในจังหวัดนครปฐม และดำเนินการจัดประชุม เชิงปฏิบัติการโครงการนิเทศการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา ประจำปี 2565 วันที่ 7 มิถุนายน 2565 ณ ห้องประชุมโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ - มีผู้อำนวยการโรงเรียน รองอำนวยการโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนลูกเสือ เจ้าหน้าที่/คณะกรรมการดำเนินงานและวิทยากร รวมทั้งสิ้น 102 คน เชิงคุณภาพ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ที่เข้ารับการนิเทศ มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะที่ถูกต้อง และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถจัดกิจกรรมลูกเสือและบริหารงาน ลูกเสือในโรงเรียนของตนเองได้ถูกต้อง ปัญหา อุปสรรค 1. เนื่องสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) การจัดกิจกรรม ตามโครงการจึงต้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด


27 2. ผู้ที่ส่งแบบตอบรับการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการฯ บางรายไม่สามารถเข้าร่วมประชุมตามกำหนดได้ เนื่องจากเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง แนวทางแก้ไข จัดกิจกรรมภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) อย่างเคร่งครัด 15) โรงเรียนดีวิถีลูกเสือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมจึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนดีวิถีลูกเสือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖5 ขึ้น เพื่อส่งเสริมผู้บังคับบัญชาลูกเสือให้มีความรู้และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนลูกเสือ ในสถานศึกษาได้ถูกต้อง ตลอดจนให้สถานศึกษา ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ได้รับการยกย่อง เชิดชูเกียรติ เกิดขวัญ กำลังใจ มีเจตคติที่ดีต่อการพัฒนากิจกรรมลูกเสือและให้มีสถานศึกษาที่เป็นศูนย์เรียนรู้ โรงเรียนดีวิถีลูกเสือ ในจังหวัดนครปฐม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ สถานศึกษาที่เป็นศูนย์เรียนรู้โรงเรียนดีวิถีลูกเสือในจังหวัดนครปฐม อย่างน้อย ๑ แห่ง และดำเนินการ 1) ประชาสัมพันธ์ไปยังหน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษาให้สมัครเข้าร่วม โครงการ 2) จัดประชุมคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกฯ 3) ประเมินสถานศึกษาตามสภาพความเป็นจริง 4) ประกาศผลการคัดเลือก จัดส่งไปยังสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ สถานศึกษาที่สมัครเข้ารับการคัดเลือกโครงการโรงเรียนดีวิถีลูกเสือ มีผู้บังคับบัญชาลูกเสือและบุคลากร ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในสถานศึกษาได้ถูกต้อง และได้รับการคัดเลือก เป็นโรงเรียนดีวิถีลูกเสือ จำนวน 2 แห่ง เชิงคุณภาพ 1. ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ มีความรู้และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนลูกเสือในสถานศึกษาได้ถูกต้อง 2. สถานศึกษา ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ได้รับการยกย่อง เชิดชูเกียรติ เกิดขวัญกำลังใจมีเจตคติที่ดีต่อการ พัฒนากิจกรรมลูกเสือ จนผ่านเกณฑ์เป็นโรงเรียนดีวิถีลูกเสือ ปัญหา อุปสรรค - แนวทางแก้ไข - 16) โครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชายุวกาชาด หลักสูตรครูผู้สอนกิจกรรม ยุวกาชาด รุ่น 530 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชา ยุวกาชาด หลักสูตรครูผู้สอนกิจกรรมยุวกาชาด รุ่น 530 ขึ้น เพื่อส่งเสริมเพื่อให้ครูผู้สอนหรือผู้บังคับบัญชา ยุวกาชาด มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะ ประสบการณ์ ที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมยุวกาชาด รวมทั้งตระหนักถึง


28 ความสำคัญในกระบวนการของกิจกรรมยุวกาชาด ให้เป็นไปตามอุดมการณ์ของกาชาดและข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 82) พุทธศักราช 2562 ตลอดจนได้พัฒนาตนเองและผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตร ครูผู้สอนกิจกรรมยุวกาชาด สามารถจัดกิจกรรมยุวกาชาดตามหลักสูตรยุวกาชาดได้อย่างถูกต้อง โดยมี กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนกิจกรรมยุวกาชาดและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 75 คน และดำเนินการ จัดกิจกรรมฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชายุวกาชาด หลักสูตรครูผู้สอนกิจกรรมยุวกาชาด รุ่นที่ 530 ระหว่างวันที่ 8 – 10 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ ครูผู้สอนกิจกรรมยุวกาชาดและบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมการฝึกอบรม จำนวน 71 คน วิทยากร/ เจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน รวมจำนวน 101 คน เชิงคุณภาพ ครูผู้สอนกิจกรรมยุวกาชาดและบุคลากรทางการศึกษา ที่เข้ารับการฝึกอบรม สามารถจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบริหารงานยุวกาชาดในหมู่ยุวกาชาดโรงเรียนของตนเองได้ถูกต้อง ปัญหา อุปสรรค - แนวทางแก้ไข - 17) โครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชายุวกาชาด หลักสูตรครูผู้สอนกิจกรรม ยุวกาชาด รุ่น 531 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชา ยุวกาชาด หลักสูตรครูผู้สอนกิจกรรมยุวกาชาด รุ่น 531 ขึ้น เพื่อส่งเสริมเพื่อให้ครูผู้สอนหรือผู้บังคับบัญชา ยุวกาชาด มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะ ประสบการณ์ ที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมยุวกาชาด รวมทั้งตระหนักถึง ความสำคัญในกระบวนการของกิจกรรมยุวกาชาด ให้เป็นไปตามอุดมการณ์ของกาชาดและข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 82) พุทธศักราช 2562 ตลอดจนได้พัฒนาตนเองและผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตร ครูผู้สอนกิจกรรมยุวกาชาด สามารถจัดกิจกรรมยุวกาชาดตามหลักสูตรยุวกาชาดได้อย่างถูกต้อง โดยมี กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนกิจกรรมยุวกาชาดและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 75 คน และดำเนินการ จัดกิจกรรมฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชายุวกาชาด หลักสูตรครูผู้สอนกิจกรรมยุวกาชาด รุ่นที่ 531 ระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมโรงเรียนวัดพระประโทณเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัด นครปฐม


29 ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ ครูผู้สอนกิจกรรมยุวกาชาดและบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมการฝึกอบรม จำนวน 66 คน วิทยากร/ เจ้าหน้าที่ จำนวน 21 คน รวมจำนวน 87 คน เชิงคุณภาพ ครูผู้สอนกิจกรรมยุวกาชาดและบุคลากรทางการศึกษา ที่เข้ารับการฝึกอบรม สามารถจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบริหารงานยุวกาชาดในหมู่ยุวกาชาดโรงเรียนของตนเองได้ถูกต้อง ปัญหา อุปสรรค - แนวทางแก้ไข - 18) โครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) วิจัยนวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนา การศึกษาจังหวัดนครปฐม ระยะที่ ๒ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการ IFTE (Innovation For Thai Education) ระยะที่ ๒ ขึ้น เป็นโครงการต่อเนื่อง โดยการนำผลการวิเคราะห์ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา มาใช้ในการวางแผนการพัฒนาต่อยอดการดำเนินงาน การสร้างเครือข่าย ความร่วมมือของบุคลากรในทุกภาคส่วน เพื่อสร้างนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งในด้านการบริหาร จัดการศึกษา การจัดการเรียนรู้ และการนิเทศการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพของผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพและทักษะชีวิตในศตวรรษ ที่ ๒๑ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน พัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้และการนิเทศการศึกษารวมทั้งการยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษา อย่างบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศอย่างบูรณาการ ด้านนวัตกรรม และการวิจัยทางการศึกษาในระดับจังหวัด และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนา คุณภาพการศึกษา โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียนในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัด สพฐ. สช. อปท. ในจังหวัดนครปฐม และหน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษาภาครัฐ เอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหน่วยงานและสถานศึกษา และดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1. จัดประชุมชี้แจงสร้างการรับรู้แนวทางการดำเนินงานโครงการ IFTE ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ๒. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพ Supervisor Teams และโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายด้านการสร้าง และพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้และการนิเทศการศึกษา 3. จัดประชุมปฏิบัติการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการใช้นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ การจัดการ เรียนรู้ การนิเทศการศึกษา และการดำเนินงานโครงการ ณ โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นโรงเรียนเครือข่าย การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา


30 ๔. จัดประชุมปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนแนวทางการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา และคัดเลือกนวัตกรรมที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และการ นิเทศการศึกษา ระดับจังหวัด ๕. จัดประชุมปฏิบัติการวิเคราะห์ สังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษา นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา ของสถานศึกษาในจังหวัด 6. จัดประชุมปฏิบัติการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการและเผยแพร่นวัตกรรม ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น สื่อออนไลน์ บทความ วารสาร หนังสือราชการ ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. มีศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศ นวัตกรรม และการวิจัยทางการศึกษาระดับจังหวัด 1 ศูนย์ 2. ได้นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศติดตามและประเมินผลเพื่อพัฒนา คุณภาพการศึกษา ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในระดับสถานศึกษาที่เป็นสถานศึกษาต้นแบบครบทั้ง ๓ ด้า น จำนวน ๒๒ นวัตกรรม 3. มีผลการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจัย จากการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการการจัดการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตามและประเมินผล เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับจังหวัดครบ ๓ ด้าน 4. ได้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับจังหวัด 1 เครือข่าย เชิงคุณภาพ 1. ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาที่มีความถูกต้อง ครอบคลุม ชัดเจน และเป็นปัจจุบัน 2. นวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัด การเรียนรู้ การนิเทศ ติดตามและประเมินผล เป็นแบบอย่างได้ 3. มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศติดตามและ ประเมินผล ครบ ๓ ด้าน รวม ๒๐ นวัตกรรม 4. มีการขยายผล เผยแพร่ นวัตกรรมการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ การนิเทศ ติดตามและ ประเมินผล ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์กลุ่มไลน์ และ เว็บไซต์ ศธจ.นครปฐม


31 5. เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับจังหวัด(คณะ Supervisor Teams ระดับจังหวัด) มีการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการและการพัฒนานวัตกรรมการนิเทศ การจัดการเรียนรู้และการบริหารจัดการ 6. Supervisor Teams ระดับจังหวัดมีการนิเทศ ติดตามและประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 7. สถานศึกษากลุ่มเป้าหมายได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาให้มีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อมี ความพร้อมในการเข้าสู่สังคมคุณภาพ ปัญหา อุปสรรค - แนวทางแก้ไข -


32 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์สร้างโอกาสและความเสมอภาค ทางการศึกษา โดยเป้าประสงค์ตามประเด็นยุทธศาสตร์ คือ การจัดการศึกษาเพื่อสร้างโอกาสและความเสมอภาค ทางการศึกษากลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย ครอบคลุมทุกพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย(2) พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ (3) ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมและ ทำงานร่วมกับผู้อื่นภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคม กลยุทธ์ที่ 4.1 : เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษา ตามอัธยาศัยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย ครอบคลุมทุกพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการเข้ารับบริการทางการศึกษา อย่างทั่วถึง (ค่าเป้าหมาย 100%) 19) โครงการส่งเสริมโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา “พาน้องกลับมาเรียน” ระดับจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดมีหน้าที่สนับสนุน และส่งเสริมการจัดการศึกษา จึงจัดทำโครงการส่งเสริมโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียม ทางการศึกษา “พาน้องกลับมาเรียน” ระดับดับจังหวัด ขึ้น เพื่อติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน ให้กลับสู่ระบบการศึกษา และได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ให้เด็กที่กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา ได้รับ การศึกษาอย่างน้อยจนจบการศึกษาภาคบังคับ หรือได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงชื้น หรือการฝึกอบรมอาชีพ และพัฒนาฝีมือเพื่อการมีงานทำ และเพื่อดูแล ช่วยเหลือ ส่งต่อ โดยบูรณาการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงาน การศึกษาที่เกี่ยวข้องทุกระดับ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันในระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานในจังหวัดนครปฐม และดำเนินกิจกรรมติดตามเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคันของโรงเรียนเอกชน จำนวน 125 คน ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาภาคบังคับ มีการจัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจ และสร้าง กลุ่มไลน์เพื่อประสานการดำเนินงานกับโรงเรียน เพื่อนำเข้าสู่ระบบการศึกษา “พาน้องกลับมาเรียน”


33 ผลการดำเนินงาน 1. โรงเรียนเอกชนในสังกัด จำนวน 32 โรงเรียน ติดตามพบตัวนักเรียน จำนวน 125 คน แบ่งเป็น ระดับอนุบาลจำนวน 76 คน ระดับประถมศึกษา จำนวน 18 คน ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 31 คน 2. โรงเรียนบันทึกการกลับเข้าเรียนมีผู้กลับเข้าเรียน จำนวน 116 คน ส่วนอีกจำนวน 9 คน แบ่งเป็นศึกษาต่อต่างประเทศ 5 คน เสียชีวิต 1 คน จบการศึกษาภาคบังคับไม่เรียนต่อ 3 คน รายละเอียด การบันทึกการกลับเข้าเรียน จำนวน 116 แยกเป็นสังกัด - สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 28 คน - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 24 คน - สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 3 คน - สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 คน - สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 8 คน - กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 6 คน - กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 9 คน - สถานศึกษาตามมาตรา 12 จำนวน 35 คน 3. ผู้ปกครองของนักเรียนไม่มีผู้ใดขอรับความช่วยเหลือ เพราะยังไม่อยากให้ลูกเข้าเรียนตามปกติจนกว่า โรงเรียนจะเปิด หรือสถานการณ์โควิดเข้าสู่ปกติ ปัญหา อุปสรรค ผู้ปกครองไม่ให้เด็กเข้าเรียนส่วนใหญ่เป็นเพราะสถานการณ์โควิด 19 และย้ายนักเรียนไปเข้าสังกัด ของรัฐบาล เพื่อลดค่าใช้จ่าย เด็กส่วนใหญ่จะเป็นเด็กอนุบาล ยังไม่อยู่การศึกษาภาคบังคับ มีผู้ปกครองบางราย จัดการศึกษาให้กับลูกของตนเอง และแจ้งว่าในปีการศึกษาหน้าก็จะนำเด็กเข้าเรียนตามเดิมถ้าโรงเรียนเปิด เรียนตามปกติหรือสถานการณ์โควิด 19 เข้าสู่ภาวะปกติ แนวทางแก้ไข การดำเนินงานข้อมูลมีความคลาดเคลื่อน เพราะจากการติดตามนักเรียนแล้ว ผู้ปกครองได้ส่งเด็กเข้าเรียน ที่อื่นแล้วแต่ยังมีข้อมูลเป็นเด็กตกหล่นอยู่ 20) โครงการเครือข่ายพัฒนาการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการเครือข่ายพัฒนาการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและสร้างการมีส่วนร่วมของเอกชน ในการจัดการศึกษาของรัฐบาล ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน ประชุมเครือข่ายทางการศึกษาเอกชน เช่น คณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาเอกชน เพื่อให้เครือข่ายทางการศึกษาเอกชน ได้รับทราบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานสู่การปฏิบัติในระดับ จังหวัด รวมถึงให้การส่งเสริมการศึกษาเอกชนมีความเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เข้าร่วมการประชุมฯ จำนวน 40 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครปฐม จำนวน 14 คน คณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนนอกระบบจังหวัด นครปฐม จำนวน 16 คน และคณะทำงาน จำนวน 10 ท่าน และดำเนินการ 1) จัดประชุมคณะกรรมการ ประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน เพื่อรับทราบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานสู่การปฏิบัติระดับ จังหวัด ระดมความคิดเห็นพร้อมเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการศึกษาเอกชนให้มีความเป็นเอกภาพ


34 และมีประสิทธิภาพ 2) จัดประชุมคณะทำงาน เพื่อสรุปผล และรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณให้สำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ - ดำเนินการจัดประชุมโครงการฯ ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 ณ แบบบ้านบ้าน Fell Like Home อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย 1. คณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดนครปฐม จำนวน 14 คน 2. คณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนนอกระบบจังหวัดนครปฐม จำนวน 16 คน 3. คณะทำงาน จำนวน 10 ท่าน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 5 คน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 5 คน เชิงคุณภาพ 1. คณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน ร้อยละ 95 รับทราบนโยบายและแนวทาง การดำเนินงานสู่การปฏิบัติในระดับจังหวัด 2. คณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน ร้อยละ 90 สามารถระดมความคิดเห็นและ เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการศึกษาเอกชนให้มีความเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ ปัญหา อุปสรรค การดำเนินงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แนวทางแก้ไข การดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด


35 ตัวชี้วัดที่ 2 ร้อยละของประชากรก่อนวัยเรียน ช่วงอายุ 3 – 5 ปี ได้รับบริการทางการศึกษา (ค่าเป้าหมาย 92%) 21) โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยในระดับพื้นที่จังหวัดนครปฐม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดการศึกษา ปฐมวัยในระดับพื้นที่จังหวัดนครปฐม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กปฐมวัยทุกคน ได้รับการดูแลและพัฒนาในการจัดการศึกษาปฐมวัย อย่างมีมาตรฐาน เหมาะสม และเต็มตามศักยภาพ รวมทั้ง ได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์สังคม สติปัญญา และทักษะการเรียนรู้ที่สมวัย มีพื้นฐานชีวิต ที่มั่นคง เข้มแข็ง อีกทั้งส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาสถานศึกษา/สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมทั้งผู้ปฏิบัติงาน ด้านการจัดการศึกษาปฐมวัย ให้มีความรู้ความเข้าใจและมีคุณภาพตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย แห่งชาติ พ.ศ. 2561 ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเครือข่ายขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดการศึกษา ปฐมวัยในระดับพื้นที่ อย่างบูรณาการทุกภาคส่วน โดยสอดคล้องตามบริบทของพื้นที่ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องที่จัดการศึกษาเด็กปฐมวัยในจังหวัดนครปฐม และดำเนินกิจกรรม 1) จัดประชุมปฏิบัติการเพิ่มพูนศักยภาพครูปฐมวัยในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 2) คัดเลือกรูปแบบ/แนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด จำนวน 2 ชิ้น/ผลงาน 3) นิเทศ ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษาปฐมวัยให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสถานพัฒนา เด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 2561


36 ผลการดำเนินงาน 1.ครูปฐมวัยจำนวน 451 คน ที่เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการเพิ่มพูนศักยภาพครูปฐมวัยในการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้ด้านการคิดเชิงบริหาร (Executive Function : EF) มีความรู้ความเข้าใจและสามารถ ประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้รับจากการประชุมปฏิบัติการไปใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้านการคิด เชิงบริหาร 2. ได้รูปแบบ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด ด้านการ บริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัย (ผู้บริหาร) ระดับดีเยี่ยม จำนวน 1 ผลงาน และระดับดีเด่น จำนวน 2 ผลงาน ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระดับปฐมวัย (ครูผู้สอน) รางวัลระดับดีเยี่ยม จำนวน 1 ผลงาน และระดับดีเด่น จำนวน 2 ผลงาน 3. สถานศึกษาปฐมวัย จำนวน 277 แห่ง ได้รับการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษาปฐมวัย ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 2561 และมีสารสนเทศผลการพัฒนา ปัญหาอุปสรรค 1. ความหลากหลายของหน่วยงานทางการศึกษาที่จัดการศึกษาปฐมวัยและส่วนราชการที่ร่วมกันบูรณาการ ในการทำกิจกรรม ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ต้องใช้เวลาในการประสานงาน 2. ขาดการชี้แจงกรอบและรายละเอียดการดำเนินงานโครงการฯ ของ สป.ศธ. นับแต่เริ่มโครงการ ทำให้ การปฏิบัติงานมีความคลาดเคลื่อนในเรื่องระยะเวลาและการจัดกิจกรรมของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด 3. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิค 19 ในจังหวัดนครปฐม ส่งผลให้การดำเนินโครงการล่าช้า บางกิจกรรมไม่สามารถดำเนินการได้ต้องปรับรูปแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการ โรคติดต่อจังหวัด แนวทางแก้ไข ควรมีการดำเนินโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยในระดับพื้นที่ ในปีงบประมาณ ต่อไป ให้เกิดความต่อเนื่อง ตัวชี้วัดที่ 3 ร้อยละของประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการเข้ารับบริการทาง การศึกษาอย่างทั่วถึง (ค่าเป้าหมาย 100%) 22) โครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางพัฒนาหลักสูตร ต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขึ้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ปีงบประมาณ 2565 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการ จัดทำรูปแบบและแนวทางพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขึ้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ปีงบประมาณ 2565 ขึ้น เพื่อพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความเชี่ยมโยงการจัดการเรียนรู้ในระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ในระดับจังหวัดนครปฐม โดยมี กลุ่มเป้าหมาย คือ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ผู้บริหาร ครู นักเรียน นักศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 (สพฐ.) , สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 (สพฐ.) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดนครปฐม (สพม.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครปฐม (กศน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สถานศึกษาสังกัดวิทยาลัยอาชีวศึกษา (วอศ.) สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ปท.) และได้ดำเนิน กิจกรรม ดังนี้


37 1) ประชุมร่วมกับปลัดกระทรวงศึกษาธิการและศึกษาธิการภาค 2 2) อบรมเชิงปฏิบัติการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) และทำความตกลงร่วมกัน (MOU) 3) นิเทศ ติดตามและประเมินผลการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ปีงบประมาณ 2565 ให้กับสถานศึกษาอาชีวศึกษา ณ วิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล อำเภอพุทธ มณฑล จังหวัดนครปฐม 4) ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนนำเสนอ Model และคัดเลือกการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) 5) สรุปรายงานผลการดำเนินงาน


38 ผลการดำเนินงาน 1. ประชุมร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 โดยวิธี ON LINE ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 โดยวิธี ON LINE ครั้งที่ 3 ในวันที่ 30 สิงหาคม 2565 ร่วมนำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ โรงแรมแกรนด์ ราชพฤกษ์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี) 2. อบรมเชิงปฏิบัติ การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) และทำความตกลงร่วมกัน (MOU) การพัฒนา หลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ดำเนินการเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565 ให้กับสถานศึกษาจังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน จำนวน 50 คน ประกอบด้วย 2.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 5 แห่ง 10 คน 2.2 สถานศึกษาเอกชนจังหวัดนครปฐม จำนวน 3 แห่ง จำนวน 8 คน 2.3 สถานศึกษาท้องถิ่น (เทศบาลจังหวัดนครปฐม) จำนวน 1 แห่ง จำนวน 6 คน 2.4 สถานศึกษา อาชีวศึกษาจังหวัดนครปฐม จำนวน 6 แห่ง จำนวน 12 คน คณะกรรมการดำเนินงาน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จำนวน 14 คน 3. นิเทศ ติดตามการดำเนินงานโครงการของสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ ในการขับเคลื่อนและเสนอ การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ให้กับวิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัด นครปฐม จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2565 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 สถานศึกษาได้รับการชื่นชม เสนอแนะ การนำจัดทำรูปเล่ม การนำเสนอด้วย Power Point และ Cilp Vedio พร้อมทั้งการเสนอแนะ การตั้งชื่อ Model ให้สอดคล้องกับโครงการฯ 4. ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนนำเสนอ Model และคัดเลือกการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) การหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา กับสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 มีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย จังหวัดนครปฐม จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัด นนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ รวมจำนวน 7 หลักสูตร เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2565 5. การดำเนินงานได้เสร็จสิ้นโครงการฯ จึงได้สรุปและรายงานให้กับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม สำนักงานศึกษาธิการภาค 2 และสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2565 ปัญหา อุปสรรค 1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด 2. ส่วนราชการ หน่วยงานเกิดความล่าช้า 3. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) แนวทางแก้ไข 1. หัวหน้าส่วนราชการระดับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครปฐม ควรให้ความร่วมมือเพื่อให้ ตอบโจทย์ความต้องการเชิงพื้นที่ 2. มีการชี้แจงสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจนและทั่วถึง


39 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมบนฐานของเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์พัฒนาระบบการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมบนฐานของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยเป้าประสงค์ตามประเด็น ยุทธศาสตร์ คือ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นฐานการใช้งาน เพื่อให้การ บริหารจัดการศึกษาเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล กลยุทธ์ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) พัฒนาระบบ ฐานข้อมูลของจังหวัดและฐานข้อมูลกลางด้านการศึกษาให้เป็นเอกภาพเป็นปัจจุบันและทันต่อการใช้งาน (2) ส่งเสริม และสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (3) สนับสนุนให้สถานศึกษาสามารถ บริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างอิสระและมีประสิทธิภาพภายใต้กรอบแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ และ (4) ส่งเสริมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โรงเรียนคุณภาพของชุมชน โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัย กลยุทธ์ที่ 5.1 ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ ตัวชี้วัดที่ 2 ร้อยละของหน่วยงานการศึกษามีการพัฒนากลไกการบริหารจัดการศึกษาให้มี ประสิทธิภาพ และบูรณาการร่วมกันทุกระดับ ทุกพื้นที่ และพัฒนาภาคีเครือข่ายด้านการศึกษา (ค่าเป้าหมาย 100%) 23) โครงการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด นครปฐม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ขึ้น เพื่อจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการ (แผนระดับ 3) ให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนระดับ 1 แผนระดับ 2 และบริบทที่เกี่ยวข้อง เป็นกรอบแนวทาง ในการพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ให้กับหน่วยงานการศึกษาในจังหวัดนครปฐม อีกทั้งเป็นเครื่องมือ บริหารงานและปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ หน่วยงานการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดนครปฐม และบุคลากรในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครปฐม และดำเนินการประชุมจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ ประชุมจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) และจัดทำเล่มแผนจำนวน 4 เล่ม ดังนี้


40 ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จำนวน 1 ฉบับ 2. แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 1 ฉบับ 3. แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม (ฉบับปรับปรุงงบประมาณตามที่ได้รับจัดสรร) จำนวน 1 ฉบับ 4. (ร่าง) แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) จำนวน 1 ฉบับ เชิงคุณภาพ 1. มีแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เป็นเครื่องมือในการบริหารงานและเป็นกรอบ แนวทางในการปฏิบัติงานให้บุคลากรในสำนักงาน 2. มีแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด เป็นกรอบแนวทางในการบริหารจัดการและพัฒนาการศึกษาให้กับ ทุกหน่วยงานการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดนครปฐม และบุคลากรในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครปฐม ปัญหา อุปสรรค - แนวทางแก้ไข - 24) โครงการการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาและ ประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาจังหวัดนครปฐมโดยผ่านกลไกของ กศจ. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม เป็นผู้รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ ศึกษาธิการจังหวัดตามยุทธศาสตร์ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เน้นให้มีการ ประสานงานและการบูรณาการดำเนินงานตามภารกิจของแต่ละหน่วยงานที่มีภารกิจจัดการศึกษา หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาครัฐและเอกชนในจังหวัดให้ตอบสนองความต้องการเชิงพื้นที่ ซึ่งจะต้องดำเนินการโดยมี แนวทางที่ผ่านการร่วมกันกำหนด ร่วมกันขับเคลื่อน ร่วมกันประเมิน และร่วมกันนำเสนอและปรับปรุง เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงจัดทำโครงการการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนการยกระดับ คุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาจังหวัดนครปฐมโดยผ่านกลไกของ กศจ. ขึ้น เพื่อให้มีแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาและเรียนรู้ให้มีคุณภาพ เท่าเทียม และทั่วถึงตามบริบท ของจังหวัด มีเครือข่ายในการจัดการศึกษา โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของส่วนราชการ หน่วยงาน สถานศึกษา ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถาบันประกอบการ และสถาบันที่จัดการศึกษาอื่น มีตัวชี้วัดการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมของส่วนราชการหรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในจังหวัด ที่สอดคล้องกับแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ เท่าเทียม และทั่วถึง ตามบริบทของจังหวัด และมีการกำกับ เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการยกระดับ คุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ เท่าเทียม และทั่วถึงของจังหวัดตามตัวชี้วัดการดำเนินงาน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ 1) คนทุกช่วงวัยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม 2) องค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา และ 3) บุคลากรของหน่วยงาน/ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาทุกระดับทุกสังกัด และดำเนินการจัดประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อน


41 การยกระดับคุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาในจังหวัดนครปฐม โดยผ่านกลไก ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมพรินเซสริเวอร์แคว อำเภอ กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมจัดประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนการยกระดับ คุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาจังหวัดนครปฐมโดยผ่านกลไกของ กศจ. ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมพรินเซส ริเวอร์แคว อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 2. คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม และคณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 3 คณะ เข้าร่วมประชุม เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาในจังหวัดนครปฐม ตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ผู้บริหารและข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมกันแสดงความ คิดเห็น เพื่อให้มีการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาในจังหวัดอย่างมีส่วนร่วม 3. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมมีการจัดทำรายงานเสนอต่อผู้บังคับบัญชาเป็นรายไตรมาส และรายงานผลการดำเนินงานไปยังสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรายงานผลการดำเนินงานใน ระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ eMENSCR ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หลังสิ้นไตรมาส เชิงคุณภาพ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้นำแนวทางและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการศึกษาธิการ จังหวัดนครปฐม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนการยกระดับ คุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาในจังหวัดนครปฐม โดยผ่านกลไกของ กศจ. เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 เพื่อกำหนดเป็นแนวทางและนำไปพัฒนางานของตนเอง ภายใต้กลไกของ กศจ. ปัญหา อุปสรรค - เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ต้อง เลื่อนการจัดกิจกรรม และปรับเปลี่ยนโครงการใหม่ จึงไม่สามารถดำเนินการในไตรมาส 3 ได้ตามที่กำหนดไว้ แนวทางแก้ไข ได้เลื่อนกำหนดการจัดกิจกรรมในไตรมาส 4 ซึ่งคาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส


42 โคโรนา 2019 (COVID-19) จะเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งได้กำหนดการดำเนินการในไตรมาส 4 และดำเนินการ จัดประชุมฯ ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 25) โครงการจัดทำฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลระดับพื้นที่เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน เป้าหมายของสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา SDG4 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการจัดทำฐานข้อมูลและระบบติดตาม ประเมินผลระดับพื้นที่เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายของสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการศึกษา SDG4 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ขึ้น เพื่อใช้เป็นแผนปฏิบัติการสำหรับการขับเคลื่อน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4 Roadmap) ไปสู่การปฏิบัติเป็นกรอบในการประสาน จัดเก็บรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงาน กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานขับเคลื่อนเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา ปี พ.ศ.2565 และจัดทำฐานข้อมูลผลการดำเนินงานสำหรับการรายงาน ความก้าวหน้าการดำเนินงานขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (เป้าหมายหลักที่ 4) โดยมี กลุ่มเป้าหมาย คือ หน่วยงานด้านการศึกษาในจังหวัดนครปฐม และดำเนินการ 1) ประชุมเชิงปฏิบัติการสร้าง การรับรู้การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการ ภาค 2 และระดับจังหวัด จังหวัดนครปฐม วันที่ 3 สิงหาคม 2565 ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) 2) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2565 – 2566 จังหวัดนครปฐม วันที่ 16 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมโรงเรียน วัดพระประโทณเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 3) สรุปผลการดำเนินงานขับเคลื่อนเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา 4) เผยแพร่แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 – 2566 จังหวัดนครปฐมและรายงานผลการดำเนินการ ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จังหวัดนครปฐม ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ


43 ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษาฯ ในวันที่ 16 สิงหาคม 2565 ณ โรงเรียนวัดพระประโทณเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ซึ่งมีหน่วยงานการศึกษาในจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด นครปฐม เข้าร่วมประชุมจัดทำแผนฯ เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการขับเคลื่อนฯ 2. จังหวัดนครปฐม มีข้อมูลประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติการฯและรายงานผลการดำเนินงาน ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เชิงคุณภาพ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จัดทำรายงานผลการดำเนินงานขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จังหวัดนครปฐม นำเสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (สป.ศธ.) และเผยแพร่ไปยังหน่วยงานอื่นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการขับเคลื่อน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม และสำนักงานศึกษาธิการภาคทุกภาค สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทุกจังหวัด และหน่วยงานการศึกษา ในจังหวัดนครปฐม ปัญหา อุปสรรค เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ต้องเลื่อน การจัดกิจกรรม และปรับเปลี่ยนโครงการใหม่ จึงไม่สามารถดำเนินการในไตรมาส 3 ได้ตามที่กำหนดไว้ และสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โอนงบประมาณให้จังหวัดไม่ครบ อีกทั้งการประชุมชี้แจงแนวทาง การดำเนินงาน และวิธีการดำเนินงานล่าช้า ทำให้ต้องรอความชัดเจนจาก สป. แนวทางแก้ไข ได้เลื่อนกำหนดการจัดกิจกรรมในไตรมาส 4 ซึ่งคาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) จะเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งได้กำหนดการดำเนินการในไตรมาส 4 ขอให้สำนักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ชี้แจงแนวทาง วิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องชัดเจน และโอนงบประมาณ ให้ในครั้งเดียวตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ เพื่อให้จังหวัดสามารถดำเนินการได้โดยเร็ว เพื่อให้หน่วยงานการศึกษา ในจังหวัดนำไปขับเคลื่อนในระดับจังหวัดได้ 26) โครงการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ขึ้น เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ให้มีแรงจูงใจและเจตคติที่ดีต่อการพัฒนาตนเองและองค์กร ส่งเสริม ให้บุคลากรสามารถนำความรู้ ประสบการณ์และทักษะที่ได้รับจากการพัฒนามาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และให้บุคลากรสามารถปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีความพร้อมที่จะ ปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัลและสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้โดยมี กลุ่มเป้าหมาย คือ ข้าราชการ และลูกจ้าง สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม และดำเนินกิจกรรม 1) ประชุมบุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด นครปฐม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หาแนวทางการเพิ่ม


44 ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานร่วมกันพัฒนาองค์กร 2) อบรมพัฒนาบุคลากรในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการภาครัฐ ตามหลักสูตรการใช้ Digital Platform เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ผลการดำเนินงาน บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลักด้านการ มุ่งผลสัมฤทธิ์ และด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการภาครัฐมีสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับ มอบหมาย มีทักษะด้านดิจิทัล และสามารถนำมาปฏิบัติงานเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล และสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัล การใช้ Digital Platform มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุด ส่งผลประโยชน์ต่อผู้รับบริการ มีแรงจูงใจและเจตคติที่ดีต่อการพัฒนาตนเองและองค์กรพร้อมที่จะขับเคลื่อน ให้องค์กรไปสู่เป้าหมายที่วางไว้และเป็นกำลังคนที่เป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญในการปรับเปลี่ยนภาครัฐ เป็นรัฐบาลดิจิทัลตามนโยบาย Thailand 4.0 1. บุคลากรที่เข้ารับการพัฒนาผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลักสูตรที่กำหนด ร้อยละ 100 2. บุคลากรที่ผ่านการอบรมนำความรู้ ไปใช้ในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 100 3. บุคลากรมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการพัฒนาทักษะดิจิทัล ร้อยละ 96 ปัญหา อุปสรรค - แนวทางแก้ไข - กลยุทธ์ที่ 5.2 ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติ มิชอบ ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของหน่วยงานทางการศึกษาส่งเสริมคุณธรรม ความโปร่งใส และสนับสนุนกิจกรรม การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล (ค่าเป้าหมาย 100%) 27) โครงการจัดประชุมคณะกรรมการศึกษาธิการ คณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จึงจัดทำโครงการจัดประชุมคณะกรรมการศึกษาธิการ จังหวัด และคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ขึ้น เพื่อดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด คณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด คณะอนุกรรมการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์ และคณะอนุกรรมการ


45 เกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา เป็นการปฏิบัติภารกิจตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการบริหาร และจัดการศึกษา ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค หรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม และคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม และดำเนินการ จัดประชุมคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม (กศจ.) ,คณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม (อกศจ.) คณะอนุกรรมการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์ และคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. จัดประชุมคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม (กศจ.) จำนวน 12 ครั้ง 2. จัดประชุมคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม (อกศจ.) จำนวน 10 ครั้ง 3. จัดประชุมคณะอนุกรรมการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์ จำนวน 1 ครั้ง 4. จัดประชุมคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาจังหวัดนครปฐม จำนวน 4 ครั้ง เชิงคุณภาพ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้ปฏิบัติภารกิจตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการบริหาร และจัดการศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค หรือตามที่ได้รับมอบหมาย ปัญหา อุปสรรค สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid 19) ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อการจัดประชุม ความเสี่ยงต่อการพบปะและการเดินทางมาเข้าร่วมประชุม ทำให้ไม่สามารถกำหนดการ ประชุมได้ตามปกติ แนวทางแก้ไข เพื่อให้การประชุมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการบริหารจัดการศึกษาของจังหวัดนครปฐม สำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จึงจัดประชุม กศจ. อกศจ. ในรูปแบบออนไลน์ สลับกับรูปแบบปกติ 28) โครงการตรวจติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการตรวจติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ขึ้น เพื่อรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการดำเนินงาน ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานระดับจังหวัด และเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานและรายงาน ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการระดับ จังหวัด โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ส่วนราชการหรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ


46 ในจังหวัดนครปฐม จำนวน ๓๓3 แห่ง และดำเนินกิจกรรม 1) จัดทำรายงานผลการตรวจราชการ และติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖5 (รอบที่ 2) 2) ลงพื้นที่การตรวจราชการและติดตามประเมินผลตามนโยบายการตรวจราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร่วมกับหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง (ดร.วรัท พฤกษาทวีกุล) และ สำนักงานศึกษาธิการภาค 2 ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ 1. รายงานผลการตรวจราชการ และติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖5 (รอบที่ 2) 2. รายงานการตรวจราชการและติดตามประเมินผลตามนโยบายการตรวจราชการของกระทรวง ศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร่วมกับหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง (ดร.วรัท พฤกษาทวีกุล) และสำนักงานศึกษาธิการภาค 2 ผ่านระบบ e-inspection เชิงคุณภาพ 1. รายงานผลการตรวจราชการ และติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖5 (รอบที่ 2) มีความถูกต้องครบถ้วน บ่งชี้สภาพแท้ของส่วนราชการ หรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการระดับจังหวัด 2. รายงานการตรวจราชการและติดตามประเมินผลตามนโยบายการตรวจราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร่วมกับหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง (ดร.วรัท พฤกษาทวีกุล) และ สำนักงานศึกษาธิการภาค 2 มีความถูกต้องครบถ้วน บ่งชี้สภาพแท้ของส่วนราชการหรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการระดับจังหวัด ปัญหา อุปสรรค สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในจังหวัดนครปฐมมีความรุนแรง ส่งผลให้การดำเนิน กิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะการรวมคนจำนวนมาก และการใช้อาคารของสถานศึกษาถูกจำกัดหรืองด ทำให้ กิจกรรมของโครงการจำเป็นต้องเลื่อนออกไป


47 แนวทางแก้ไข มีการปรับปฏิทินการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์และปรับกิจกรรมให้กระชับ หรือรวบ กิจกรรม รวมถึงปรับแนวทางการดำเนินกิจกรรมเป็นลักษณะออนไลน์มากขึ้น กลยุทธ์ที่ 5.3 สนับสนุนให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างมีอิสระ และมีประสิทธิภาพภายใต้กรอบแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของสถานศึกษาสามารถบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างอิสระและมี ประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ (ค่าเป้าหมาย 100%) 29) โครงการการบริหารงานและตรวจติดตามโรงเรียนเอกชนในสังกัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จัดทำโครงการการบริหารงานและตรวจติดตามโรงเรียน เอกชนในสังกัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ขึ้น เพื่อดำเนินการตรวจ ติดตามการใช้จ่ายเงินอุดหนุนทุกประเภท ของโรงเรียนเอกชน ประจำปีการศึกษา 2564 และปีงบประมาณ พ.ศ.2565 รวมถึงดำเนินการตรวจติดตาม สถานะการขอจัดตั้ง การจัดการเรียนการสอน และการเลิกล้มกิจการของโรงเรียนเอกชนนอกระบบให้เป็นไป ตามระเบียบที่กำหนด พร้อมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำ เป็นไปโดยถูกต้องตามระเบียบ กฎหมาย คำสั่ง และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ โรงเรียนเอกชนในระบบ ในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครปฐม จำนวน 15 โรงเรียน และโรงเรียนเอกชนนอกระบบ ในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด นครปฐม จำนวน 15 โรงเรียน และดำเนินการ 1) ตรวจ นิเทศ และติดตามการขอรับเงินอุดหนุนการใช้ จ่ายเงินอุดหนุนทุกประเภท และการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนในสังกัด ระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน ถึง 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 2) จัดการประชุมคณะทำงาน เพื่อสรุปผลและรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณ ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ สามารถออกตรวจนิเทศ และติดตามการขอรับเงินอุดหนุนและการใช้จ่าย เงินอุดหนุนทุกประเภทได้จำนวน 13 โรงเรียน เชิงคุณภาพ โรงเรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจ และสามารถใช้จ่ายเงินอุดหนุนทุกประเภทของโรงเรียนได้ถูกต้อง ครบถ้วน ตามระเบียบฯ กฎหมาย ที่กำหนด


48 ปัญหา อุปสรรค การดำเนินงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แนวทางแก้ไข ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด 30) โครงการตรวจติดตามเพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนนอกระบบในสังกัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการตรวจติดตามเพื่อส่งเสริม การจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนนอกระบบในสังกัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ขึ้น เพื่อตรวจ ข้อมูลพื้นฐาน และส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำข้อมูลพื้นฐานตามระบบศูนย์กลางบูรณาการ (PEDC) และการ จัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนนอกระบบในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ โรงเรียนเอกชนนอกระบบ ในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 17 โรงเรียน และได้ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินการตามโครงการฯ เพื่อเตรียมความ พร้อมและแนวทางในการตรวจติดตามฯ และตรวจติดตามข้อมูลพื้นฐานตามระบบศูนย์กลางบูรณาการ (PEDC) และการจัดการศึกษา โดยการสุ่มตรวจ จำนวน 17 โรงเรียน ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ - สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ออกตรวจติดตามโรงเรียนเอกชนนอกระบบ จำนวน 17 โรงเรียน เชิงคุณภาพ - โรงเรียนจัดทำข้อมูลพื้นฐานตามระบบ PEDC ได้ถูกต้อง ปัญหา อุปสรรค - แนวทางแก้ไข - 31) โครงการการคัดเลือกบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ตำแหน่งประเภท ทั่วไป เพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการการคัดเลือกบุคลากรทางการศึกษา อื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ตำแหน่งประเภททั่วไป เพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขึ้น เพื่อ 1) ดำเนินการคัดเลือกบุคลากร ทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ตำแหน่งประเภททั่วไป เพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภท วิชาการ ระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ให้การบริหารงานบุคคล มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและเป็นประโยชน์ต่อทางราชการ 3) เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน


49 มีความก้าวหน้าในหน้าที่ราชการ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ที่เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ในหน่วยงานการศึกษาในสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามมาตรฐานตำแหน่งข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ครบถ้วนนับถึงวันเปิดรับ สมัครคัดเลือกวันสุดท้าย และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ที่รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท และ ดำเนินกิจกรรมคัดเลือกบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ด้วยวิธีการประเมินประวัติและผลการ ปฏิบัติงาน , สอบข้อเขียน ภาค ก และภาค ข , สอบภาค ค , ประกาศผลการคัดเลือก , รายงานตัวผู้ผ่านการ คัดเลือก , บรรจุและแต่งตั้ง ,ส่งตัวผู้เข้ารับการบรรจุและแต่งตั้งให้ สพท. , รายงานต่อ สพฐ. และ กคศ. ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ - คัดเลือกบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ตำแหน่งประเภททั่วไป บรรจุและแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 ตำแหน่ง เชิงคุณภาพ - สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ดำเนินการคัดเลือกบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ตำแหน่งประเภททั่วไป เพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด ด้วยความ เรียบร้อย เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นธรรม ถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ และคัดเลือก บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถตรงตามความต้องการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตัวชี้วัดที่ 2 ร้อยละของสถานศึกษาที่มีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งตามกฎกระทรวงว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 มุ่งเน้นการกระจายอำนาจการสร้างเครือข่ายการมี ส่วนร่วม และมีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน (ค่าเป้าหมาย 100%)


50 32) โครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล และติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ให้มีการพัฒนา ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาให้เข้มแข็งและยั่งยืน อันส่งผลให้สถานศึกษาจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐาน และคุณภาพการศึกษาเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาระบบการประกัน คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ขึ้น เพื่อพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนิเทศ ติดตามการดำเนินงาน ประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ โรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จำนวน ๔๔ โรงเรียน และดำเนินกิจกรรม 1) อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง ของสถานศึกษา (SAR) ในระบบสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (E-SAR) ระหว่างวันที่ 13 – 14 มิถุนายน 2565 ผ่านระบบอเล็กทรอนิกส์ 2) นิเทศ ติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ผลการดำเนินงาน เชิงปริมาณ โรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จำนวน ๔๔ โรงเรียน ได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ในระบบสารสนเทศ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (E-SAR) เชิงคุณภาพ โรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จำนวน ๔๔ โรงเรียน พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีมาตรฐาน เป็นไปตามมาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษาอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ปัญหา อุปสรรค การอบรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่สามารถฝึกปฏิบัติการเขียนรายงานผลการประเมินตนเอง ของสถานศึกษา (SAR) และนำเสนอผลงานได้ไม่ชัดเจน แนวทางแก้ไข การรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ควรดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีการศึกษานั้น ๆ ก่อนเปิดภาคเรียนต่อไป


ภาคผนวก


Click to View FlipBook Version