ปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง
กับการประยุกต์ใช้
1
ปรัญชาของเศรษฐกิจพอเพียง
อันนี้เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว
จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร
บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทาง
สายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียงหมายถึงความ
พอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมี
ผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรู้ ความ
รอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ
ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ
นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่
เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อ
การรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และ
วัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
2
หลักแนวคิดของ
เศรษฐกิจพอเพียง
1.กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และ
ปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิต
ดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และ
เป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่ง
เน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ ความมั่นคง และ ความ
ยั่งยืน ของการพัฒนา
2.คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการ
ปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง
และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3.คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ
พร้อม ๆ กัน ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผลการมี
ภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
4.เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ใน
ระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้น
ฐาน
5.แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและ
ยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้าน
เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
3 ห่วง 2 เงื่อนไข 3
พอประมาณ
ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป
โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่ น
มีเหตุผล 1
มีภูมิคุ้มกัน
การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของ การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลก
ความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไป ระทบและการเปลี่ยนแปลงด้าน
อย่างมีเหตุผล โดยพิจารณา พอประมาณ ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึง
จากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอด ความเป็นไปได้ของสถานการณ์
จนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิด ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน
ขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่าง ความพอเพียง อนาคตทั้งใกล้และไกล
รอบคอบ
23
มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันใน
ตัวที่ดี
เงื่ อนไขความรู้ เงื่ อนไขคุณธรรม
ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่ ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย
เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความ ความตระหนักในคุณธรรม มีความ
ซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มี
รอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมา ความเพียรใช้สติปัญญาในการดำเนิน
พิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อ
ชีวิต
ประกอบการวางแผน และความ
ระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ นำไปสู่
ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม
สิ่งแวดล้อม สมดุล มั่นคง ยั่งยืน
ประเทศ ไทย
กับ เศรษฐกิจ
พอเพียง
5
ประเทศไทยกับ
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้ผู้ผลิต หรือผู้บริโภค พยายามเริ่มต้นผลิต
หรือบริโภคภายใต้ขอบเขต ข้อจำกัดของรายได้ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ไปก่อน ซึ่งก็คือ
หลักในการลดการพึ่งพา เพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมการผลิตได้ด้วยตนเอง
และลดภาวะการเสี่ยงจากการไม่สามารถควบคุมระบบตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เศรษฐกิจพอเพียงมิใช่หมายความถึง การกระเบียดกระเสียนจนเกินสมควร หากแต่
อาจฟุ่มเฟือยได้เป็นครั้งคราวตามอัตภาพ แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศ มักใช้จ่ายเกิน
ตัว เกินฐานะที่หามาได้
เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง
สามารถนำไปสู่เป้าหมายของการ สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ทุก
สร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจได้ เช่น สาขา ทุกภาคของเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นจะ
โดยพื้นฐานแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศ ต้องจำกัดเฉพาะแต่ภาคการเกษตร หรือ
เกษตรกรรม เศรษฐกิจของประเทศจึง ภาคชนบท แม้แต่ภาคการเงิน ภาค
ควรเน้นที่เศรษฐกิจการเกษตร เน้นความ อสังหาริมทรัพย์ และการค้าการลงทุน
มั่นคงทางอาหาร เป็นการสร้างความ ระหว่างประเทศ โดยมีหลักการที่คล้ายคลึง
มั่นคงให้เป็นระบบเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง กันคือ เน้นการเลือกปฏิบัติอย่างพอ
จึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดความเสี่ยง ประมาณ มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้
หรือความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะ แก่ตนเองและสังคม
ยาวได้
6
การดำเนินชีวิตตามแนว
พระราชดำริพอเพียง
แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุก
ด้าน ลดละความ. ฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต
2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง
ซื่อสัตย์สุจริต
3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขัน
กันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจาก
ความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้
ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้า
หมายสำคัญ
5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว
ประพฤติตนตามหลักศาสนา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังนั้น เมื่อได้พระราชทานแนวพระราชดำริ
หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของ
ประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด ที่อาจนำไปสู่ความขัด
แย้งในทางปฏิบัติได้
การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง 7
ระดับบุคคลและครอบครัว การประยุกต์ใ์ช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มได้จากระดับเล็กที่สุด
คือบุคคลและครอบครัว โดยการเรียนรู้ที่จะพึ่งพาตนเอง มีเหตุมีผลใช้ชีวิตอย่างสมดุล บนทางสายกลาง
สร้างโอกาสในการเรียนรู้ประสบการณ์ และทักษะต่างๆ เพื่อสามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ยกระดับ
ตนเองด้านคุณธรรม พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมาย การดำเนินชีวิตอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งเป็นพื้นฐาน
สำคัญในการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม และอยู่ร่วมกับ ระบบนิเวศอย่างเกื้อกูล รู้จักแบ่งปัน มีสติยั้งคิด
พิจารณา อย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจหรือกระทำการใด ๆ จนกระทั่งเกิดเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำรง
ชีวิต โดย สามารถคิดและกระทำบนพื้นฐานของความมีเหตุผล พอเหมาะ พอประมาณกับสถานภาพ บทบาท
และหน้าที่ ของแต่ละบุคคลในแต่ละสถานการณ์ แล้วเพียรฝึกปฏิบัติเช่นนี้จนสามารถทำตนให้เป็นที่พึ่งของ
ตนเอง และเป็น ที่พึ่งของผู้อื่นได้
ระดับชุมชน ชุมชนพอเพียงประกอบด้วยบุคคลและครอบครัวที่ดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล รู้จักแบ่งปัน
พึ่งพาตนเอง มี ความรู้และคุณธรรมเป็นกรอบในการดำเนินชีวิต และ ต่างมีความปรารถนาจะสร้างความ
ร่วมมือเพื่อประโยชน์ ส่วนรวม อาทิ การรวมกลุ่มทำกิจกรรมสอดคล้องเหมาะสมกับสถานภาพภูมิสังคมของ
แต่ละชุมชน ใช้ทรัพยากร ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนอย่างเกื้อกูลผ่านการร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมทำ แลก
เปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลหลายสถานภาพ ในสิ่งที่จะสร้างประโยชน์สุขและร่วมสร้างความ เข้มแข็งให้กับชุมชน
นำไปสู่การพัฒนาแก้ไขปัญหาของ ชมุชนอย่างมเีหตผุลโดยอาศัยสติ ปัญญาความสามารถ ของทุกฝ่ายที่
เกี่ยวข้องและบนพื้นฐานของความซื่อสัตย์ สุจริต ขยันหมั่นเพียรและมีความเอื้อเฟื้ อเผื่อแผ่สามัคคี ช่วย
เหลือแบ่งปันกันระหว่างสมาชิกชุมชน จนนำไปสู่ การพัฒนาของชุมชนที่สมดุล มีภูมิคุ้มกันพร้อมรับต่อการ
เปลี่ยนแปลง กระทั่งสามารถขยายไปสู่เครือข่ายระหว่างชุมชนต่าง ๆ ในวงกว้างต่อไป
ระดับประเทศ แผนการบริหารจัดการประเทศ ส่งเสริมให้บุคคล ชุมชนต่างๆ มีวิถีปฏิบัติ มีความร่วมมือ และ
การพัฒนา ในสาขาต่างๆ ตามแนวทางของปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงและดำเนินการตามแผนดังกล่าว
อย่างรอบคอบ เป็นขั้นตอน เริ่มจาการวางรากฐานของประเทศให้มี ความพอเพียง โดยส่งเสริมให้ประชาชน
ส่วนใหญ่สามารถ อยู่อย่างพอมีพอกินและพึ่งตนเองได้ด้วยการมีความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิต
อย่างเท่าทันต่อการ เปลี่ยนแปลงต่างๆ และมีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ขยัน หมั่นเพียร เอื้อเฟื้ อแบ่งปัน และ
ใช้สติปัญญาในการ ตัดสินใจและดำเนินชีวิตพร้อมทั้งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มคนต่างๆ
จากหลากหลายภูมิสังคม
หลากหลายอาชีพ หลากหลายความคิด ประสบการณ์เพื่อสร้างความเข้าใจและรู้ความเป็นจริงระหว่างกันของ
คนในประเทศ จนนำไปสู่ความสามัคคี และจิตสำนึกที่จะร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาประเทศให้เจริญ
ก้าวหน้าไปอย่างสอดคล้องสมดุลกับสถานภาพความเป็นจริงของ
คนในประเทศอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเป็นลำดับๆ ต่อไป
8
กลุ่มเกษตรกร แนวทาง "เกษตรทฤษฎีใหม่" เพื่อการพึ่งตัวเองอย่างยั่งยืน โดย
ขั้นตอนที่ 1 เป็นแนวทางการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมในระดับครอบครัวที่สอดคล้อง
สมดุลกับระบบนิเวศ เพื่อให้พออยู่ พอกิน สมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัดและเลี้ยง
ตนเอง/ครอบครัวได้
ขั้นตอนที่ 2 การรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์ร่วมมือกันในการผลิต จัดการตลาดและพัฒนา
สวัสดิการของชุมชนในรูปแบบต่างๆ เป็นการสร้างความสามัคคีภายในท้องถิ่นและเตรียมความ
พร้อมก่อนก้าวสู่โลกภายนอก
ขั้นตอนที่ 3 ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อจัดหาทุน วิชาการความรู้
เทคโนโลยีจากธุรกิจเอกชน เช่น ธนาคาร บริษัท ห้างร้าน เอกชน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ
มูลนิธิต่างๆ มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต
โดยสรุป แนวพระราชดำริส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้และมีการรวมกลุ่มกัน
และเชื่อมโยงเครือข่ายในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าตามลำดับขั้นอย่างสมดุล
สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น โดยประยุกต์ใช้ความรู้ ภูมิปัญญาและทรัพยากร
ที่มีอยู่อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร เอื้อเฟื้ อแบ่ง
ปัน และใช้สติปัญญาในการตัดสินใจและการดำเนินชีวิต
ภาคธุรกิจเอกชน ภาคธุรกิจเอกชนทุกระดับสามารถปรับใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงใน
การดำเนินธุรกิจ โดยยึดหลักความพอดี มีคุณธรรมจริยธรรม คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
อย่างรอบคอบ ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตขององค์กรธุรกิจที่มั่นคง ยั่งยืน และมีความสุข โดยการ
ประยุกต์ใช้มีจุดเริ่มต้นสำคัญคือการปรับกระบวนการความคิดทั้งผู้บริหารและพนักงานให้มี
ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อร่วมสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมของ
องค์กรนำไปสู่การกำกับดูแลกิจการภายในที่ดี ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยง
เพื่อความยั่งยืนโดยมีการประเมินความสามารถและศักยภาพของตนเอง มีความเพียร์ในการ
ศึกษาข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลาเพื่อความรอบรู้และก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง รักษาสมดุล
ในการแบ่งปันผลประโยชน์ของธุรกิจในระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ อย่างสมเหตุสมผล
ตั้งแต่ผู้บริโภค พนักงาน บริษัทคู่ค้า ผู้ถือหุ้น และสังคมวงกว้าง มุ่งพัฒนาธุรกิจให้เติบโตใน
ระดับที่เหมาะสมพอดีอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ทรัพยากรในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทำลาย
สิ่งแวดล้อม พัฒนาปรับปรุงสินค้าและบริการให้ทันความต้องการของตลาดและการ
เปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีโดยผู้บริหารใช้ความรอบคอบระมัดระวังในการตัดสินใจและ
สนับสนุนการพัฒนาของสังคมและชุมชน ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่ง
แวดล้อม
กลุ่มนักการเมือง 9
นักการเมืองที่มีหลักคิด และหลักปฏิบัติบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงจะต้องเป็นตัวอย่างของผู้นำที่มีความเข้มแข็ง
ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม มีความละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำควมผิดแม้เพียงเล็กน้อย เนื่องจากการกระทำของ
ผู้นำส่งผลกระทบในวงกว้างต่อชุมชน/สังคม และในขณะเดียวกันนักการเมืองในทุกระดับจะต้องรู้จักสังคม ชุมชน ที่แต่ละ
คนเป็นผู้แทนอย่างถ่องแท้ มีความเข้าใจระบบการปกครองและระเบียบปฏิบัติต่างๆ ตามกฎหมายและขนบธรรมเนียม
ประเพณีของสังคม รอบรู้และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยมุ่งที่จะดำเนินวิถี
ทางการเมืองเพื่อให้ท้องถิ่น/ประเทศชาติมีความก้าวหน้าไปอย่างสมดุลในทุก ๆ ด้าน และคนใน
ท้องถิ่น/ประเทศชาติ อยู่อย่างพอเพียงสมัครสมานสามัคคีปรองดองกันการกำหนดนโยบาย การออกกฎหมายและข้อ
บัญญัติต่าง ๆ ต้องยึดมั่นอยู่บนพื้นฐานของความ
พอเพียง โดยบำรุงรักษาสิ่งที่ดีที่มีอยู่แล้ว เช่น ค่านิยมองค์ความรู้ สิ่งแวดล้อมที่ดี ให้คงอยู่ พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดการ
ปรับปรุง/แก้ไข/ยกเลิก ส่วนที่ไม่ดีที่เป็นเหตุ
ให้เกิดความไม่สมดุล ไม่พอเพียงในสังคม ให้กลับมาสู่แนวทางปฏิบัติที่มุ่งสู่ความสมดุลและสนับสนุนให้เกิดสิ่งที่ดีเป็น
ประโยชน์ต่อส่วนรวมแต่ยังขาดอยู่ เช่น ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี การพัฒนาฝีมืออาชีพต่างๆให้เกิดขึ้นอย่างสมดุลกับ
ศักยภาพและระดับการพัฒนาของท้องถิ่น/ประเทศชาติ เพื่อนำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองได้ของคน/ชุมชนในทุก
ระดับ
กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องเริ่มต้นสร้างความพอเพียงให้เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลก่อน โดยตระหนักถึง
บทบาทหน้าที่ของตนในการเป็นผู้ให้บริการแก่สังคม และร่วมเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันของคนใน
สังคมและอยู่ร่วมกันกับระบบนิเวศได้อย่างสมดุล มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต มีสติยั้งคิด ใช้ปัญญาพิจารณา
อย่างรอบคอบในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติหน้าที่บนพื้นฐานของ
ความมีเหตุมีผล พอประมาณกับศักยภาพและสถานภาพของแต่ละบุคคลในแต่ละสถานการณ์ และหมั่นเสริมสร้างความรู้
ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพื่อจะได้มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีการเตรียมนโยบาย แผนงาน หรือโครงการต่างๆต้อง
สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยเน้นการพัฒนาที่สร้างความสมดุลในด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม
และวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยมุ่งให้ประชาชน/ชุมชนสามารถพึ่งตนเองและ
สามารถเป็นที่พึ่งของสังคม/ประเทศชาติได้ในที่สุดเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ควรสั่งการหรือชี้นำประชาชน/ชุมชนมากเกินไป แต่
ควรสนับสนุนให้ประชาชน/ชุมชนสามารถช่วยตนเอง กำหนดทิศทางการพัฒนาหรือแผนงาน กิจกรรมที่ยืนอยู่บนขา
ตนเองพึ่งพาตนเองได้ แล้วให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมาช่วยสนับสนุนให้แผนงาน กิจกรรมนี้เป็นจริงขึ้นมา ตามหลักการพัฒนา
"ช่วยเหลือประชาชน/ชุมชนเพื่อให้เขาช่วยตัวเองได้อย่างยั่งยืน"
กลุ่มครูและอาจารย์
ครูและอาจารย์จะต้องทำตนให้เป็นตัวอย่างแก่นักเรียนและนักศึกษา ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงให้ได้ก่อน จึงจะ
สามารถถ่ายทอด ปลูกฝัง อบรม และทำตนให้เป็นตัวอย่างแก่นักเรียนและนักศึกษา ให้เข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถูก
ต้องและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน ผ่านการบูรณาการในสาระเรียนรู้วิชาต่างๆ ตลอดจน
สอดแทรกในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนต่างๆการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง ต้องเริ่มจากการตระหนักถึงความจำเป็นของการ
อยู่ร่วมกันของคนในสังคม และอยู่ร่วมกับระบบนิเวศได้อย่างสมดุลและเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้ จนเห็น
ว่าเป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติที่จะเสริมสร้างให้สังคมเกิดสันติสุข มีความเจริญก้าวหน้าอย่างสมดุลและยั่งยืน และคนใน
สังคมมีความสามัคคี ปรองดองกัน แล้วฝึกปฏิบัติตนให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต มีสติยั้งคิด ใช้ปัญญา
พิจารณาอย่างรอบคอบ ในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติหน้าที่บนพื้นฐานของความมีเหตุผล พอประมาณกับศักยภาพและ
สถานภาพของแต่ละบุคคล ในแต่ละสถานการณ์และหมั่นเสริมสร้างความรู้ในด้านต่างๆให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะได้
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีเนื่องจากความรู้และความมีเหตุผลมีความสำคัญยิ่งครูและอาจารย์จึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในเรื่องนี้ แต่
อย่าลืมว่าต้องเป็นความรู้ที่รอบคอบ ระมัดระวัง และเหมาะสมกับแต่ละภูมิสังคมด้วย
แนวทางการใช้ชีวิตอย่าง
"พอเพียง"
มีความพอประมาณ 11
ความพอประมาณ คือ การทางสายกลาง ทั้งชีวิต การเงิน และความเป็นอยู่ ถ้าขาด ความพอประมาณ
ชีวิตก็จะได้รับผลกระทบ คือ เกินพอดี เกิดความไม่รู้จักพอ เกินความ ต้องการ อยากได้อยากมี
กระทบการเงิน คือ การใช้จ่ายเกินตัว ไม่รู้จักพอ เกินประมาณ ใช้ เงินเกินความพอดี ความเป็นอยู่ที่
เกินพอดี จะ ใช้แบบหรูหรา ฟุ่มเฟือย ทั้งอาหาร เครื่องใช้ ต่าง ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีความจำเป็นใด ๆ เลย
รู้จักเหตุและผล
หมายถึง การพิจารณาที่จะดำเนินงานใด ๆ ด้วยความถี่ถ้วนรอบคอบ ไม่ย่อท้อ ไร้อคติ คำนึงถึง
เหตุผลและปัจจัยแวดล้อมทั้งหมด เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องดีงาม เกิดประสิทธิผล
เกิดประโยชน์และความสุข โดยปราศจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้ชีวิต
คือการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การ เตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการ เปล่ียนแปลง
ด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นนได้ของ สถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดข้ึ นในอนาคต ทั้งใกล้และไกล เป็น
คุณลักษณะที่สามใน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นอกเหนือจาก คุณลักษณะด้านความพอ
ประมาณและด้านความมีเหตุผล การมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การจัดองค์ประกอบของ
การดำเนินงาน ให้ มีสภาพพร้อมรองรับต่อผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก
และภายในได้เป็นอย่างดี
เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย
โดยต้องคำนึงถึงความจริงในโลกว่า ไม่มีอะไร ได้มาฟรี ๆ ทุกอย่างต้องลงทุนลงแรงทั้งนั้น เช่น
การลงทุนทำมาค้าขาย หาอาชีพเสริมเพิ่ม รายได้ โดยอาจต้องลงทั้งทุน ลงทั้งแรง ศึกษา หาความรู้
เพิ่มเติม เพื่อเป้าหมายในการเพิ่มเงินเดือนหรือหาโอกาสก้าวหน้าขึ้นในอนาคต รายจ่ายแต่ละอย่างมี
ระดับความสำคัญไม่เท่ากัน เราควรใช้จ่ายกับสิ่งจำเป็นต่อการ ดำรงชีวิตก่อน เช่น ค่าอาหาร ค่าที่อยู่
อาศัย และพยายามลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น “เงินทอง ไม่ได้ตกจากฟ้า ได้มาเพราะเราหา หมดไป เพราะ
เราใช้ เหลืออยู่ได้เพราะเราแบ่งเก็บ เมื่อยามเราป่วยเจ็บจะได้เยียวยา”
ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้
ฉลาดซื้อก็คือ การเลือกซื้อสินค้าที่คุ้มค่า คุ้ม ประโยชน์ที่สุด ไม่ซื้อสิ่งของที่ไม่จำเป็น ที่สำคัญคือ
ต้องฉลาดคิดก่อนก่อหนี้ ฉลาดใช้ก็คือ การใช้สิ่งของที่เราซื้อมาให้คุ้มค่าที่สุด มี ประโยชน์สูงสุด และ
รักษาสิ่งของต่าง ๆ ให้คงอยู่ในสภาพที่เหมาะกับการใช้งานได้นาน ๆ รวมถึงประหยัดค่าใช้จ่าย จา
พวกค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์
"คนเรา ถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบือนคน
อื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอ
เพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอ
เพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ก็ต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอ
ประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง...”
พระราชดำรัส ของในหลวง รัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2541
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กับการประยุกต์ใช้
15
ผู้จัดทำ
นางสาวกมลชนก บัวประทุม 62080500402
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
ภาควิชา เทคโนโลและสื่อสารการศึกษา
นายปิยชัย อิ่มจิต 62080500438
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
ภาควิชา เทคโนโลและสื่อสารการศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี