รายงาน เรื่อง แหล่งน้ำเน่าเสียในชุมชน บ้านวัดป่าลิไลยก์ หมู่ที่ 7 ตำบลลำปำ คณะผู้จัดทำ นายธนกฤต ชูพยันต์ ชั้น ม.5/8 เลขที่ 1 นายกฤตวัฒน์ พรหมเมศ ม.5/8 เลขที่ 7 นางสาวธมลวรรณ สุขแก้ว ม.5/8 เลขที่ 16 นางสาวซายน์ ศิริรักษ์ ม.5/8 เลขที่ 19 นางสาวชนิกานต์ แก้วหนูนวล ม.5/8 เลขที่ 21 ครูที่ปรึกษา คุณครูโนรีด้า มุสอ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS2) I30202 โรงเรียนพัทลุง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
รายงาน เรื่อง แหล่งน้ำเน่าเสียในชุมชน บ้านวัดป่าลิไลยก์ หมู่ที่ 7 ตำบลลำปำ คณะผู้จัดทำ นายธนกฤต ชูพยันต์ ม.5/8 เลขที่ 1 นายกฤตวัฒน์ พรหมเมศ ม.5/8 เลขที่ 7 นางสาวธมลวรรณ สุขแก้ว ม.5/8 เลขที่ 16 นางสาวซายน์ ศิริรักษ์ ม.5/8 เลขที่ 19 นางสาวชนิกานต์ แก้วหนูนวล ม.5/8 เลขที่ 21 ครูที่ปรึกษา คุณครูโนรีด้า มุสอ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS2) I30202 โรงเรียนพัทลุง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
(ก) ชื่อเรื่อง : รายงาน เรื่อง แหล่งน้ำเน่าเสียในชุมชนบ้านวัดป่าลิไลยก์ หมู่ที่ 7 ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ผู้จัดทำ : นายธนกฤต ชูพยันต์ ม.5/8 เลขที่ 1 นายกฤตวัฒน์ พรหมเมศ ม.5/8 เลขที่ 7 นางสาวธมลวรรณ สุขแก้ว ม.5/8 เลขที่ 16 นางสาวซายน์ ศิริรักษ์ ม.5/8 เลขที่ 19 นางสาวชนิกานต์ แก้วหนูนวล ม.5/8 เลขที่ 21 ที่ปรึกษา : คุณครูโนรีด้า มุสอ โรงเรียน : พัทลุง จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา : 2/2565
(ข) คำนำ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา IS เพื่อการเรียนรู้ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมี จุดประสงค์ เพื่อศึกษาและสำรวจปัญหาแหล่งน้ำเน่าเสียในชุมชนลำปำ ทั้งนี้ ในรายงานฉบับนี้มีเนื้อหา ซึ่งประกอบด้วย สาเหตุของการเกิดน้ำเน่าเสีย ผลกระทบจากน้ำเน่าเสีย ตลอดจนวิธีแก้ปัญหาแหล่งน้ำ เน่าเสีย คณะผู้จัดทำหวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน ผู้ที่สนใจ หรือนักเรียนที่กำลัง ศึกษาในเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ทางคณะผู้จัดทำขอน้อบรับไว้และขอ อภัยมา ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทำ 23 กันยายน พ.ศ.2565
(ค) สารบัญ เรื่อง หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข สารบัญ ค สารบัญตาราง ง สารบัญภาพ จ บทที่ 1 บทนำ 1 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า 3 บทที่ 3 วิธีดำเนินงานศึกษาค้นคว้า 6 บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า 8 บทที่ 5 สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 9 ภาคผนวก 10 ภาคผนวก ก 11 ภาคผนวก ข 12
(1) บทที่ 1 บทนำ 1.1 ที่มาและความสำคัญ น้ำมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทั้งในด้านอุปโภคและบริโภค แต่ในปัจจุบัน มนุษย์ใช้น้ำอย่างไม่คำนึงถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งมนุษย์ส่วนใหญ่นั้นเห็นแก่ตัวและมักง่าย เช่น ใช้ใน การชำระล้างร่างกาย หรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ แล้วก็ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง การทิ้งขยะ ลงแม่น้ำ ลำคลอง ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำกลายเป็นปัญหาน้ำเน่าเสีย จากการกระทำของมนุษย์ จะเห็นได้ว่ามนุษย์นั้นปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง โดยตรง เป็นส่วนใหญ่ซึ่งถ้าไม่มีการกรองน้ำเสียหรือการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง จะก่อให้เกิด มลพิษทางน้ำ ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ทั้งที่อยู่ในน้ำและบนบก ทำให้ความ หลากหลายของชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นลดลง สัตว์น้ำขาดออกซิเจนตายแล้วทำให้ น้ำเน่าเสีย มนุษย์ก็ต้องรับประทานสัตว์น้ำที่มีสารเคมีเจือปนอยู่ในตัวสัตว์น้ำ เป็นต้น เพราะฉะนั้นเราจึงควรช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมทางน้ำ ด้วยเหตุนี้คณะผู้จัดทำรายงานนี้จึง ได้คิด จัดทำรายงานรักษาแม่น้ำ ลำคลอง เพื่อช่วยลดปัญหามลพิษทางน้ำที่เกิดจากความมักง่ายและ ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ในสังคมยุดปัจจุบัน และยังรักยาสิ่งแวดล้อมให้ดำรงไว้ 1.2 วัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสาเหตุของการเกิดปัญหาน้ำเน่าเสียในชุมชน 2.ศึกษาหาวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย 1.3 ประโยชน์ที่ได้รับ 1.ทราบสาเหตุของปัญหา 2.ทราบวิธีป้องกันปัญหา 1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.ช่วยให้แหล่งน้ำสะอาด 2.สามารถนำข้อมูลที่ได้รับไปใช้เป็นความรู้หรือนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
(2) 1.5 ขอบเขตของการศึกษา 1.5.1 กลุ่มตัวอย่าง 1.5.1.1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประชากรจารกหมู่บ้านวัดป่าลิไลยก์ หมู่ที่ 7 ตำบลลำปำ อำเภอ เมือง จังหวัดพัทลุง 1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ น้ำเสีย คือ น้ำที่มีสารหรือสิ่งปฏิกูลที่ไม่พึงประสงค์ปนอยู่ การปนเปื้อนของสิ่ง สกปรกเหล่านี้ จะทำให้ คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไป
(3) บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรื่อง ปัญหาน้ำเน่าเสีย คณะผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 2.1 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา 2.1.1 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามาจากการค้นคว้า 2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา 2.1.1งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเรื่อง การศึกษาในหัวข้อเรื่อง ปัญหาน้ำเน่าเสีย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามาจากการค้นคว้าและรวบรวมเอกสาร หนังสือ และ งานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาซึ่งในบทนี้ประกอบไปด้วยเนื้อหาดังต่อไปนี้ สาเหตุของการเกิดน้ำเน่าเสีย ผลกระทบของน้ำเน่าเสีย วิธีแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย และเอกสารงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง สาเหตุของการเกิดน้าเน่าเสีย ได้แก่ น้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน น้ำเสียนี้มีสกปรก ในรูปของสารอินทรีย์สูง น้ำเสียจากอุตสาหกรรมได้แก่ น้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการอุตสาหกรรม ตั้งแต่ ขั้นตอนการล้างวัตถุดิบ กระบวนการผลิตจนถึงการทำความสะอาดโรงงานรวมทั้งน้ำเสียที่ยังไม่ได้รับกา บำบัดหรือน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วแต่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งอุตสาหกรรมองค์ประกอบของ น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอัตราการไหลของน้ำทิ้งประเภทและขนาดของ โรงงานน้ำเสียจากเกษตรกรรมได้แก่น้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมทางการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ น้ำเสีย จากการเพาะปลูกจะมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม และสารพิษต่างๆ ในปริมาณสูงส่วนน้ำเสีย จากการเลี้ยงสัตว์จะพบสิ่งสกปรกในรูปของสารอินทรีย์เป็นส่วนมาก
(4) ผลกระทบของน้ำเน่าเสีย มีสีและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ไม่สามารถใช้อุปโภคและบริโภคได้ เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ทั้งในน้ำ และในบริเวณใกล้เคียงทำให้เสียความสมดุลทางธรรมชาติ เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและ สิ่งแวดล้อม เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน เพราะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคและเป็น พาหนะนำโรคต่าง ๆ สู่มนุษย์ สัตว์ และพืช ทำลายทัศนียภาพ โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่ใช้ในการคมนาคม และแหล่งท่องเที่ยว เป็นปัญหาต่อกระบวนการผลิตน้ำประปา ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ เพิ่มมากขึ้น วิธีแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย เราสามารถมีส่วนร่วมในการรักษาสภาพที่ดีของแหล่งน้ำได้โดย 1. ไม่ทิ้งของเสียลงสู่แหล่งน้ำ และทางระบายน้ำสาธารณะ 2. บำบัดน้ำเสียขั้นต้น ก่อนระบายลงแหล่งน้ำหรือท่อระบายน้ำ 3. ช่วยกันลดปริมาณการใช้น้ำ และลดปริมาณขยะในบ้านเรือน 4. ลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืชในกิจกรรมทางเกษตรหรือสารเคมีที่ใช้ ในบ้านเรือน 5. ควรนำน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์ 6. สำรวจเพื่อลดปริมาณน้ำเสีย ของแต่ละขั้นตอนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม 7. สร้างจิตสำนึกของประชาชนในตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาคุณภาพแหล่งน้ำและ ประหยัดการใช้น้ำ 8. รณรงค์ให้หน่วยงาน องค์กรต่างๆมีการบำบัดและขจัดสารพิษก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ 9. รณรงค์ให้ช่วยกันลดปริมาณการใช้น้ำ และลดปริมาณขยะในครัวเรือน
(5) 2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรื่อง ปัญหาน้ำเน่าเสีย มีผู้ศึกษาไว้ดังนี้ การบำบัดน้ำเสียจากชุมชนขนาดเล็กโดยระบบพื้นที่ชุมน้ำประดิษฐ์แบบผสม (Combined Constructed Wetlands for Wastewater Treatment in Small Community) http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/3928/1/SUT7-715-50-20-78- Fulltext.pdf ______________________________________________________________
(6) บทที่ 3 วิธีดำเนินงานศึกษาค้นคว้า การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรื่อง ปัญหาน้ำเน่าเสีย คณะผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษา ดังนี้ 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 3.3 การสร้างเครื่องมือ 3.4 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.1.1 ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชากรจากตำบลลำปำ 3.1.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ ศึกษา คือ ประชากรจำนวน 22 คน จากหมู่บ้านวัดป่าลิไลยก์ หมู่ที่7 ตำบล ลำปำ อำเภอ เมือง จังหวัด พัทลุง 3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ การสร้างแบบสอบถามเพื่อเก็บรวมรวบข้อมูล ปัญหา และความ คิดเห็นของประชากรในชุมชน ขั้นตอนในการสร้างแบบสอบถาม 1.ศึกษาคําถามที่จะใส่ในสอบถาม 2.ร่างคําถามของแบบสอบถามนั้น 3.ตรวจสอบความถูกต้องของการพิมพ์ และตัวอักษร 4.นําแบบสอบถามให้นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างตอบ
(7) 3.3 การสร้างเครื่องมือ 1. เลือกกลุ่มตัวอย่าง 2. ศึกษาปัญหาที่ใช้ในการสอบถาม 3. ร่างคำถามหรือช่วยกันอภิปราย ในการทำแบบฟอร์มสำรวจ 4. แนะนำตัวก่อนสอบถาม 5. บอกวัตถุประสงค์ในการสอบถาม 6. เตรียมการบันทึกโดยการกรอกแบบฟอร์มในเรื่องของปัญหาแหล่งน้ำในชุมชนลำปำ 3.4 วิธีการรวบรวมข้อมูล 1. สอบถามกลุ่มตัวอย่าง 2.นำข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา 3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล 1. วิเคราะห์ปัญหาจากการสอบถาม
(8) บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องการบำบัดน้ำเสีย ชุมชนลำปำ หมู่ที่7 จึงได้จัดทำแบบสอบถาม จาก google form และไปสอบถามชาวบ้านบริเวณนั้น โดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสาเหตุของการเกิดปัญหาน้ำเน่าเสียในชุมชน 2.ศึกษาหาวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย จากการสอบถามข้างต้น สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ว่า ชาวบ้านประสบปัญหาน้ำเน่าเสีย โดยน้ำมีสีขุ่นและส่งกลิ่นเหม็นรบกวนชาวบ้านบริเวณนั้น และอยากให้หน่วยงานต่างๆที่รับมาชอบมา ช่วยแก้ปัญหา การบําบัดน้ำเสียจากชุมชนขนาดเล็กโดยระบบพื้นที่ชุมน้ําประดิษฐ์แบบผสม โดย นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
(9) บทที่ 5 อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ สรุป อภิปรายผลและมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ 5.1 สรุปผลการศึกษา จากการศึกษาปัญหาน้ำเน่าเสียในชุมชนลำปำพบว่า ประชากรส่วนใหญ่ พบเจอปัญหาน้ำเน่า เสีย โดยมีผลกระทบตรงกัน คือน้ำมีกลิ่นเหม็น ส่งกลิ่นรบกวนชาวบ้าน โดยได้รับข้อมูลจาก แบบสอบถาม google formที่ได้ไปสอบถามชาวบ้านชุมชนลำปำหมู่ที่ 7 5.2 อภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า จากการอภิปราย ผู้จัดทำมีความคิดเห็นว่า เราควรจะจัดเวรทำความสะอาด เก็บขยะในแม่น้ำ และรอบบริเวณแม่น้ำ และใช้กังกันชัยพัฒนามาช่วยเพิ่มออกซิเจนให้น้ำ เพื่อให้น้ำไม่ส่งกลิ่นเหม็น 5.3 ข้อเสนอแนะ 1.ควรมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยดูแล และควบคุม 2.ในส่วนขององค์กร รัฐบาลควรจะมีส่วนช่วยเหลือในการจัดการมากกว่านี้ 3.รณรงค์ให้ประชาชนเลิกทิ้งขยะในคูคลอง 4.จัดสร้างโครงการในการขจัดน้ำเสีย
(10) บรรณานุกรม จรียา ยิ้มรัตนบวร. (2554). การบำบัดน้ำเสียจากชุมชนขนาดเล็กโดยระบบพื้นที่ชุ่ม น้ำประดิษฐ์แบบผสม. สืบค้น 6. กันยายน 2565. จาก http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/3928/1/SUT7-715-50-20- 78-Fulltext.pdf ชนิกานต์ แก้วหนูนวล. (2565). แบบสำรวจปัญหาน้ำเน่าเสียในชุมชนลำปำ. สืบค้น 18 กันยายน 2565. จาก https://forms.gle/y57fnYFDP7PAt6B36 สำนักงานสิ่งแวดล้อมควบคุมมลพิษที่ 13 (ชลบุรี). (2562). มลพิษทางน้ำ(Water Pollution). สืบค้น 14 กันยายน 2565. จาก http://reo13.mnre.go.th/th/news/detail/49278
(11) ภาคผนวก
(12) ภาคผนวก ก ภาพแสดงกิจกรรมการศึกษาค้นคว้า การประชุมการวางแผนการจัดทำโครงงาน วันที่ 1 กันยายน 2565 (รูปแบบออนไลน์ ผ่าน Google meet) การประชุมการวางแผนการจัดทำโครงงาน วันที่ 16 กันยายน 2565 (รูปแบบออนไลน์ ผ่าน Google meet)
(13) ภาคผนวก ข เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า การจัดทำแบบสำรวจออนไลน์ โดยใช้ Google Form จากการสอบถามกับประชาชนในชุมชนลำปำ หมู่7 ด้วยแบบฟอร์ม จาก google form สรุปได้ว่า ส่วนใหญ่แล้ว ชาวบ้านจะประสบปัญหาน้ำเน่าเสีย โดยปัญหาที่พบ ส่วนใหญ่จะบอกเป็นเสียง เดียวกันว่า น้ำส่งกลิ่นเหม็น พบเจอขยะลอยอยู่ในน้ำ และสีของน้ำขุ่น ไม่สะอาด แนวทางการแก้ปัญหา ที่ชาวบ้าน นำเสนอมา คือ การเพิ่มออกซิเจนในน้ำ จัดเวรทำความสะอาด การทิ้งขยะให้เป็นที่ และใช้ อุปกรณ์กังหันชัยพัฒนามาบำบัดน้ำ และข้อเสนอแนะ ส่วนใหญ่ อยากมห้หน่วยงานรัฐบาลและเทศบาล มาช่วยกำกับและดูแลให้เข้มงวดกว่านี้
(14)
(15)
แบบประเมินการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการ คำชี้แจง: ให้ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ประเมินการเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการ (คะแนนเต็ม 40 คะแนน) สมาชิกกลุ่ม 1............................................................. 2............................................................. 3............................................................. 4............................................................. ลำดับที่ ประเด็นการประเมิน ระดับคะแนน 4 3 2 1 1. ความถูกต้องในการเขียนบทคัดย่อ มีความยาว 300 คำ 2. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการเป็นภาษาไทยความยาว 4,000 คำ 3. วัตถุประสงค์ของการศึกษาชัดเจน สอดคล้องกับชื่อเรื่อง/หัวข้อศึกษา 4. สมมติฐานของการศึกษาเป็นการคาดคะเนคำตอบที่มีหลักการและ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า 5. ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า ระบุประชากร กลุ่มตัวอย่าง ระยะเวลาที่ศึกษา ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน 6. ระบุจำนวนของประชากรและกลุ่มตัวอย่างพร้อมวิธีการสุ่มตัวอย่าง 7. อ้างอิงด้วยแหล่งของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ 8. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ระบุประเภท และการสร้าง 9. อธิบายวิธีการ ช่วงเวลา และสถานที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 10. เลือกการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ตอบวัตถุประสงค์ของการศึกษา และวิเคราะห์ได้ถูกต้อง คะแนน คะแนนรวม 5............................................................. 6............................................................. ลงชื่อ.......................................ผู้ประเมิน ………/……………./……….
แบบประเมินการเผยแพร่ผลงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นรายกลุ่ม คำชี้แจง: ให้ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ประเมินการเผยแพร่ผลงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (คะแนนเต็ม 10 คะแนน) สมาชิกกลุ่ม 1............................................................. 2............................................................. 3............................................................. 4............................................................. 5............................................................. 6............................................................. ลำดับที่ ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ 5 4 3 2 1 1. มีการนำผลการศึกษาค้นคว้าออกเผยแพร่ทางสื่ออิเล็กท รอนิกส์ ได้หลายช่องทาง 2. มีการสนทนาและวิพากษ์ผลการศึกษาค้นคว้าผ่านสื่ออิเล็กท รอนิกส์ คะแนน คะแนนรวม ลงชื่อ.......................................ผู้ประเมิน ………/……………./……….
แบบประเมินการนำเสนอการตั้งประเด็นคำถาม/ปัญหา เป็นรายบุคคล คำชี้แจง: ให้ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ประเมินการนำเสนอการตั้งประเด็นคำถาม/ปัญหา จากสถานการณ์รอบตัวในปัจจุบันในสังคม/ประเทศและสังคมโลก ชื่อ........................................ชั้น.....................เลขที่...................................... ลำดับที่ ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ 4 3 2 1 1. จากสถานการณ์ปัจจุบันที่สนใจสามารถนำมาตั้งประเด็น คำถาม/ปัญหา และสมมติฐานได้ 2. ขอบข่ายประเด็นคำถาม/ปัญหา 3. นำความรู้/ทฤษฎี มารองรับการตั้งสมมติฐาน 4. ความสอดคล้องของสมมติฐานกับประเด็นคำถาม/ปัญหา 5. กระบวนการคิด( รับรู้ สังเกต) รวมคะแนน ระดับคุณภาพ เกณฑ์การให้คะแนน ดีมาก = 4 ลงชื่อ.......................................ผู้ประเมิน ดี = 3 ………/……………./………. พอใช้ = 2 ปรับปรุง = 1 เกณฑ์ตัดสินคุณภาพ ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ หมายเหตุ ครูอาจใช้วิธีมอบหมายให้ตัวแทนกลุ่มอื่นหรือให้ 17 – 20 4 มีการประเมินโดยเพื่อน แล้วแต่ความเหมาะสมก็ได้ 13 – 16 3 9 – 12 2 1 – 8 1 การคิดคะแนน คะแนนที่ได้ X 5 20 สูตร = = คะแนนจริง
ประเมินการนำเสนอการตั้งประเด็นคำถาม/ปัญหา เป็นรายบุคคล คำชี้แจง: ให้ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ประเมินการนำเสนอการตั้งประเด็นคำถาม/ปัญหา จากสถานการณ์รอบตัวในปัจจุบันในสังคม/ประเทศและสังคมโลก ชื่อ........................................ชั้น.....................เลขที่...................................... ลำดับที่ ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ 4 3 2 1 1. จากสถานการณ์ปัจจุบันที่สนใจสามารถนำมาตั้งประเด็น คำถาม/ปัญหา และสมมติฐานได้ 2. ขอบข่ายประเด็นคำถาม/ปัญหา 3. นำความรู้/ทฤษฎี มารองรับการตั้งสมมติฐาน 4. ความสอดคล้องของสมมติฐานกับประเด็นคำถาม/ปัญหา 5. กระบวนการคิด( รับรู้ สังเกต) รวมคะแนน ระดับคุณภาพ เกณฑ์การให้คะแนน ดีมาก = 4 ลงชื่อ.......................................ผู้ประเมิน ดี = 3 ………/……………./………. พอใช้ = 2 ปรับปรุง = 1 เกณฑ์ตัดสินคุณภาพ ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ หมายเหตุ ครูอาจใช้วิธีมอบหมายให้ตัวแทนกลุ่มอื่นหรือให้ 17 – 20 4 มีการประเมินโดยเพื่อน แล้วแต่ความ 13 – 16 3 9 – 12 2 1 – 8 1 การคิดคะแนน คะแนนที่ได้ X 5 20 สูตร = = คะแนนจริง