M I N I M A L I S M ลั ท ธิ จุ ล นิ ย ม c o m p i l e r b y K a n p i t c h a W e a n g s u k p h a i b u l
MINIMALISM
หนังสือเล่มเล็ก เรื่อง “MINIMALISM ลัทธิจุลนิยม” เล่มนี้ จัดทำ ขึ้น เพื่อเรียบเรียงเนื้อหาข้อมูลและให้ความรู้เกี่ยวกับลัทธิจุลนิยม และเป็นส่วน หนึ่งของวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบ คณะเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้จัดทำ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากหนังสือเล่มเล็ก เล่มนี้ไม่มากก็น้อย หากมีข้อมูลผิดพลาดประการใด ทางผู้จัดทำ ต้องขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วย กานต์พิชชา เวียงสุขไพบูลย์ ผู้จัดทำ
3 0 1 ลั ทธิจุล นิยม...คืออะไร? หรือที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อ เป็นกระแสเคลื่อนไหวทางศิลปะที่เริ่มต้นหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ถือกำ เนิดในประเทศอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 1960 เพื่อต่อต้านศิลปะแนว Abstract Expressionism ที่เน้นการ แสดงอารมณ์ความรู้สึกผ่านผลงาน
4 0 1 ลั ทธิจุล นิยม...คืออะไร? อย่างน้อยที่สุด Minimalism ลัทธิ มินิมอลลิสม์มีความคิดที่ว่า การสร้างสรรค์ผลงานโดย พึ่งพาอารมณ์ความรู้สึกนั้นไม่ใช่ทางออก และไม่สามารถ สื่อสารความคิดได้ พวกเขาจึงเลือกที่จะทิ้งอารมณ์ แล้วหัน มาให้ความสำ คัญกับเนื้อแท้และสาระสำ คัญของผลงาน โดยหลีกเลี่ยงการใส่สัญลักษณ์ เรื่องราว หรือการอุปมาลง ในผลงาน
5 0 1 ลั ทธิจุล นิยม...คืออะไร? “มินิมอลลิสม์” เป็นวิธีการสร้างสรรค์ศิลปะ การออกแบบ การละครที่จะลดทอนรายละเอียดให้มีปริมาณน้อยที่สุดเท่าที่ จะทำ ได้ และเหลือสิ่งที่จำ เป็นเอาไว้ ทำ ให้ศิลปะมินิมอลลิสม์ นั้นมีความเรียบง่ายเป็นจุดเด่น
6 0 1 ลั ทธิจุล นิยม...คืออะไร? เรามักจะคิดว่าศิลปะเป็นสิ่งที่ใช้นำ เสนอแทนสิ่งต่างๆ หรือใช้แสดง ความรู้สึก แต่ในมินิมอลลิสม์นั้นจะไม่มีการพยายามนำ เสนอสิ่งเหล่านั้น ศิลปะมินิมอลลิสม์ต้องการแค่ให้เราสนใจในสิ่งที่อยู่ตรงหน้า สื่อ วัสดุ รูป ร่างของศิลปะนั้นคือตัวของมันเอง ไม่ใช่ตัวแทนของสิ่งอื่นใด เราสามารถมองได้ว่า ศิลปะมินิมอลลิสม์เป็นการขยายขอบเขตแนวคิด ของศิลปะแนวนามธรรม (Abstract Art) ที่กล่าวว่า ศิลปะนั้นควรที่จะมี ความเป็นตัวของตัวเองและไม่เลียนแบบสิ่งอื่น
8 การทำ ซ้ำ (Repetition) ลักษณะขั้นพื้นฐานที่สำ คัญของมินิมอลลิสม์ ทำ หน้าที่สำ คัญในด้านสุนทรียศาสตร์ เป็น สัญลักษณ์แสดงความทนทานและความไม่มีที่สิ้นสุด ลักษณะนี้ไม่ได้จำ กัดอยู่แค่ในทัศนศิลป์ แต่ยังอยู่ในด้านดนตรีอีกด้วย รูปทรงเรขาคณิต ได้รับอิทธิพลจากการออกแบบอุตสาหกรรมและสถาปัตยกรรม ใช้เพื่อแสดงออกให้ได้ มากที่สุดด้วยวัสดุที่มีอยู่จำ กัด มักใช้รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สามเหลี่ยมมุมฉาก วงกลม และ เส้นในการสร้างผลงาน ประกอบกับการจัดวาง 0 1 ลั ทธิจุล นิยม...คืออะไร? Robert Morris, Untitled (Mirrored Cubes), 1965 Frank Stella, Untitled, 1965
9 การเลือกใช้สีอย่างจำ กัด มักใช้สีที่มีการแสดงออกน้อย ผลงานในช่วงแรกๆ จะใช้สีแบบ Monochromatic เพื่อ ให้ผลงานดูมีธรรมชาติ สีจะไม่เป็นอะไรไปมากกว่าสี ความเรียบง่าย จุดเด่นของมินิมอลลิสม์ที่ปฏิเสธรายละเอียดที่ไม่จำ เป็น มินิมอลลิสม์นั้นมีความเรียบ ง่ายและบริสุทธิ์มากกว่าศิลปะแบบอื่นๆ 0 1 ลั ทธิจุล นิยม...คืออะไร? Dan Flavin, Pink out of a Corner, 1963 Donald Judd, Untitled, 1986
10 ขอบที่หนาและมั่นคง ใช้ขอบขั้นระหว่างพื้นที่ของสี จะไม่มีลำ ดับชั้นของสี ทำ ให้มินิมอลลิสม์มีความ เรียบง่าย ไร้การแสดงออก ศิลปะแบบต่างๆ เช่น Romanticism หรือ Symbolism มักใช้ศิลปะเพื่อนำ เสนอเรื่อง ราวที่ซับซ้อนหรือเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งอื่นๆ ในทางกลับกัน มินิมอลลิสม์จะหลีกเลี่ยงสิ่ง เหล่านี้ จะไม่มีการแสดงนิสัยหรือความรู้สึกในผลงาน แต่จะสนใจแค่รูปร่างหน้าตาของมัน 0 1 ลั ทธิจุล นิยม...คืออะไร? Frank Stella, Harran II, 1967 Carmen Herrera, Untitled, 1952
11 สนใจผู้รับชม ในมินิมอลลิสม์ ประสบการณ์ของผู้รับชมจะเป็นจุดสำ คัญของการพิจารณาในการสร้างผล งาน ความเรียบง่ายของมินิมอลลิสม์จะผูกสัมพันธ์ระหว่างผลงานกับผู้รับชมโดยตรง วัสดุทางอุตสาหกรรม วัสดุทำ หน้าที่สำ คัญในมินิมอลลิสม์ มักใช้โลหะ คอนกรีต และกระจก วัสดุที่เรียบง่าย และมีการผลิตออกมาเป็นจำ นวนมากในการสร้างผลงาน แสดงถึงการปฏิเสธต่อขนบทาง ศิลปะแบบเดิมๆ ใช้วัสดุที่เน้นการใช้งานในชีวิตประจำ วันมากกว่าวัสดุหายาก 0 1 ลั ทธิจุล นิยม...คืออะไร? Robert Morris, Untitled (L-Beams), 1972
01ลัทธิจุลนิยม...คืออะไร? 12 เมื่อผลงานศิลปะมินิมอลลิสม์ถูกจัดแสดงในที่สาธารณะครั้ง แรกในปี 1963 มันทำ ให้นักวิจารณ์ศิลปะส่วนใหญ่เกิดความสับสนและประหลาดใจกับสิ่งของวัตถุธรรมดาๆ ที่ดูไม่มีความเป็นศิลปะเอาเสียเลย หลังจากนั้นกระแสเคลื่อนไหวทางศิลปะนี้ก็ได้ถูกตั้งชื่อว่า "มินิมอลลิสม์" คำ ว่า Minimal ถูกใช้เป็นครั้งแรกในปี 1965 โดย Richard Wollheim นักปรัชญาศิลปะชาวอังกฤษ ในข้อเขียนที่มีชื่อว่า Minimal Art ของเขาบ้างก็มีการวิจารณ์ต่อมินิมอลลิสม์ว่า การที่มินิมอลลิสม์เป็นศิลปะที่ลดทอนรายละเอียดออกไป ทำ ให้ผลงานที่ออกมานั้นดูไม่มีเนื้อหาและความลึกซึ้ง ดูมีเพียงมิติเดียวหรือมีความเรียบง่ายมากจนเกินไปบางครั้งผู้รับชมทั่วไปก็ไม่อาจที่จะเข้าถึงผลงานศิลปะมินิมอลลิสม์ได้ มีเพียงแค่กลุ่มนักสะสมและผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์เท่านั้นที่รู้สึกสนใจในตัวผลงานเหล่านี้
0 2 ก่อนจะมาเป็ น...ลั ทธิจุล นิยม ในนิวยอร์กช่วงกลางทศวรรษที่ 1950 Donald Judd, Robert Morris, และ Dan Flavin เหล่าศิลปินรุ่นใหม่ กำ ลังสร้างผลงานศิลปะแนว Abstract Expressionism ที่รุ่งเรืองในสมัยนั้น แต่พวกเขามีความคิด ต้องการสร้างผลงาน ที่แตกต่างไปจากขนบทางศิลปะแบบเดิมๆ สร้างศิลปะแนวใหม่ขึ้นมา โดยได้ อิทธิพลทางความคิดมาจากศิลปะยุโรปยุคใหม่ 15
อย่าง Piet Mondrian สมาชิกของกลุ่ม De Stijl ได้นำ นามธรรมกับรูปธรรมมารวมกันในผลงานเดียว ให้ ความสำ คัญกับสิ่งที่อยู่ในกระดานรูปภาพ ศิลปะจะไม่ เป็นเพียงตัวแทนของสิ่งอื่นๆ อีกต่อไป Piet M ondrian, Co m p ositio n with R e d, Yello w a n d Blu e, 1942หรือ Josef Albers ได้นำ สี่เหลี่ยมซ้อนกับสี่เหลี่ยมที่ มีสีแตกต่างกัน ทำ ให้ภาพดูมีความลึก Josef Albers, Ho m a g e to th e S q u are: A pp aritio n, 1959 16 0 2 ก่อนจะมาเป็ น...ลั ทธิจุล นิยม
อิทธิพลช่วงแรกของมินิมอลลิสม์นี้ ทำ ให้ศิลปินต่างๆ หันมาหาความหมาย ของ Abstract Expressionism อีกครั้งด้วยแรงซัพพอร์ตจากนักเขียน Clement Greenberg และ Harold Rosenberg ในทางกลับกันเมื่อมีศิลปิน Abstract Expressionism มากขึ้น... 17 0 2 ก่อนจะมาเป็ น...ลั ทธิจุล นิยม ศิลปิน Abstract Expressionism อย่าง Mark Rothko ได้นำ สีสองสีวาด เป็นแนวนอนตามผ้าใบ หรือ Barnett Newman ได้ค้นพบการใช้เส้นตรงบางๆ ที่ทำ ให้สามารถแบ่งพื้นที่ของสีต่างๆ ใน รูปภาพได้ ศิลปินต่างๆ ที่กลายเป็นศิลปินมินิมอลลิสม์ ต้องการ ที่จะสร้างผลงานที่แสดงนิสัยของตัวศิลปินน้อยลง และ แสดงตัวตนของศิลปะ เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น Mark Rothko, Orange and Tan, 1954 Frank Stella, To mlinso n Co urt P ark Iภาพวาดใน ชุด Bla ck P aintin gs, 1959
0 2 ก่อนจะมาเป็ น...ลั ทธิจุล นิยม ศิลปะมินิมอลลิสม์ ถือกำ เนิดเคียงคู่กับ กระแสเคลื่อนไหวทางศิลปะอีกแนวอย่าง ศิลปะคอนเซ็ปชวล (Conceptual Art) ซึ่งศิลปินมินิมอลลิสม์หลายคนก็สร้างผล งานแนวนี้ควบคู่กันไปด้วย Frank Stella กับผลงานที่ส่งอิทธิพลต่อศิลปินต่างๆ อย่างมาก Black Paintings ภาพ แถบสีดำ หนาบนพื้นสีขาว ไร้รอยฝีแปลง ที่ขยายขอบเขตความเป็นไปได้ของจิตรกรรม และ ผลงานของเขายังมีการผสมผสานกับสถาปัตยกรรมและประติมากรรมอีกด้วย 18 Barnett Newman, Vir Heroicus Sublimis, 1951
21 03ศิลปินสร้างสรรค์...ผลงานลัทธิจุลนิยม
Donald Judd เป็นศิลปินชาวอเมริกัน ที่ปฏิเสธ ศิลปะแนว Abstract Expressionism และเลือกที่สร้างผลงานศิลปะที่มีความเป็นตัวของตัวเอง เหมือนเกิดขึ้นมาตามธรรมชาติงานของเขาจะมีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิตเดี่ยวๆ หรือมีการทำ ซ้ำ จากวัสดุทางอุตสาหกรรม มีความเรียบง่ายมากจนมักจะทำ ให้ถูกวิจารณ์ว่าขาดเนื้อหามากจนเกินไป 03ศิลปินสร้างสรรค์...ผลงานลัทธิจุลนิยม 22 Donald Judd, Untitled, 1990 Donald Judd, To Susan Buckwalter, 1964 Donald Judd, Untitled, 1971
23 03ศิลปินสร้างสรรค์...ผลงานลัทธิจุลนิยม
03ศิลปินสร้างสรรค์...ผลงานลัทธิจุลนิยม 24 Robert Morris เป็นประติมากร ศิลปิน และนัก เขียนชาวอเมริกัน หนึ่งในคนสำ คัญของวงการMinimalism เช่นเดียวกับ Donald Juddผลงานที่ทำ ให้เขาเป็นที่รู้จักอย่าง งานที่ทำ จากกล่องไม้อัดทาสีขนาดใหญ่ รูปทรงสี่เหลี่ยม รูปทรงคล้ายเสา และตัวอักษรแอล รูปทรงธรรมดาๆ ที่เคยถูกใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบฉากบนเวทีบัลเลต์ หรือจะเป็นงานรูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ที่ทำ จากกระจกเงาทั้งงาน งานที่พัฒนาขึ้นจากความสนใจเกี่ยวกับคุณสมบัติทางสายตาของวัสดุและวิธีการรับรู้ของมนุษย์ Robert Morris, Untitled, 1967-1968 Robert Morris, Untitled (L-Beams), 1965 Robert Morris, Untitled (Pink Felt), 1970
25 03ศิลปินสร้างสรรค์...ผลงานลัทธิจุลนิยม
03ศิลปินสร้างสรรค์...ผลงานลัทธิจุลนิยม 26 Dan Flavin เป็นศิลปินชาวอเมริกัน ผลงานของ เขามีหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์เป็นสัญลักษณ์ เขาเริ่มใช้หลอดไฟในผลงานของเขาเมื่อช่วงต้นทศวรรษที่1960 หลังจากนั้นเขาก็ทิ้งงานจิตรกรรม และหันมาโฟกัสกับหลอดไฟตั้งแต่นั้นมาเขาได้นำ หลอดไฟมาประกอบกันเป็นโครงสร้างรูปทรงเรขาคณิตอย่าง รูปทรงตาราง เส้นตรง นำ มาวางเรียงซ้ำ ๆกัน นอกจากนั้นหลอดไฟที่เขาใช้จะมีช่วงสีและขนาดที่จำ กัดอีกด้วย Dan Flavin, “Monument” 1 for V. Tatlin, 1964 Dan Flavin, Untitled (in honor of Harold Joachim) 3, 1977 Dan Flavin, Alternating pink and “gold”, 1967
27 03ศิลปินสร้างสรรค์...ผลงานลัทธิจุลนิยม
03ศิลปินสร้างสรรค์...ผลงานลัทธิจุลนิยม 28 Sol LeWitt เป็นศิลปินชาวอเมริกันที่มีความ เกี่ยวข้องกับกระแสเคลื่อนไหวทางศิลปะหลายๆอย่าง รวมถึงมินิมอลลิสม์อีกด้วยเขาเริ่มโด่งดังในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 ด้วยผลงานศิลปะอย่าง จิตรกรรมบนฝาผนัง และงานโครงสร้าง นอกจากนั้นเขายังทำ งานในหลากหลายด้านอย่าง งานภาพพิมพ์ การถ่ายภาพ ศิลปะการจัดวาง และหนังสือศิลปะ เขาได้มีงานจัดโชว์ผลงานต่างๆ ทั่วโลกตั้งแต่ปี 1965 Sol LeWitt, Three Stacked Domes, 2005 Sol LeWitt, Incomplete Cube 10-4, 1975 Sol LeWitt, Wall Drawing #1136, 2004
29 03ศิลปินสร้างสรรค์...ผลงานลัทธิจุลนิยม
03ศิลปินสร้างสรรค์...ผลงานลัทธิจุลนิยม 30 Carl Andre เป็นศิลปินและนักกวีชาวอเมริกัน เขาได้สร้างผลงานประติมากรรมรูปทรงเรขาคณิตที่ทำ จากแผ่นอะคริลิคและไม้ รับอิทธิพลมาจากConstantin Brancusi และ Frank Stella เพื่อนสนิทของเขา หลังจากนั้นเขาก็ได้สร้างผลงานประติมากรรมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มันได้ออกห่างจากวิธีการดั้งเดิมอย่างการแกะสลัก เป็นการสร้างผลงานจากกล่องลูกบาศก์ของวัสดุต่างๆ หรือการนำ ผลงานศิลปะที่ปกติแล้วจะอยู่บนผนัง มาวางลงบนพื้น Carl Andre, Black Wholes, 44 Carbon Copper Triads, 2005 Carl Andre, Steel Zinc Plain, 1969 Carl Andre, Equivalent VIII, 1966
ปัจจุบันมินิมอลลิสม์นั้นได้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำ วัน ของทุกคน มินิมอลลิสม์ได้แอบแฝงอยู่ในวงการต่างๆ อย่าง...
0 4 ลั ทธิจุล นิยมจะยังคงพั ฒ นาต่อไ ป มินิมอลลิสม์ในผลิตภัณฑ์ช่วยปรับประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และดีไซน์ที่เรียบง่ายทำ ให้รู้สึกดีต่อสายตา ออกแบบอย่างเรียบง่าย จัดวางเป็นระเบียบ เน้นเนื้อหาที่สำ คัญ มากกว่าการตกแต่ง เว้นช่องว่างเพื่อให้สายตาผู้รับชมโฟกัสไปที่เนื้อหา การใช้เฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่จำ เป็น มีความเรียบง่าย สีสันสบายตาแบบ Monochromatic จัดวางให้ผู้อาศัยรู้สึกมีอิสระ ดูอบอุ่น 34
0 4 ลั ทธิจุล นิยมจะยังคงพั ฒ นาต่อไ ป 35 มินิมอลลิสม์ในสถาปัตยกรรมแยกออกมาจากศิลปะแนวบาศกนิยม มีลักษณะ เป็นการใช้รูปทรงเรขาคณิตที่เรียบง่าย จากวัสดุที่หาได้ง่ายและไม่ใช้วัสดุที่หลาก หลายมากจนเกินไป ไม่เน้นการตกแต่ง มีความเป็นระเบียบและมีพื้นที่เปิด มินิมอลลิสม์ในวรรณกรรมจะใช้ประโยคเรียบง่ายสั้นๆ เพื่อบอกเล่าเนื้อเรื่องให้ออกมา เข้าใจง่ายมากที่สุด เน้นเนื้อหาที่สำ คัญ นิยายแนวมินิมอลลิสม์จะหลีกเลี่ยงเนื้อเรื่องที่มี ความซับซ้อน และจะเน้นไปที่จุดสะเทือนอารมณ์และการพัฒนาของตัวละคร
36 0 4 ลั ทธิจุล นิยมจะยังคงพั ฒ นาต่อไ ป ภาพถ่ายจะมีความเบาบางและให้ความสำ คัญกับการจัดวางอย่างมาก จะหลีกเลี่ยงสีสันอัน ฉูดฉาดและเนื้อหาในภาพถ่ายที่มากจนเกินไป มักจะเน้นการถ่ายภาพวัตถุเดี่ยว โดยมีพื้นหลังที่มี ความเป็นธรรมชาติ ภาพถ่ายรูปทรงเรขาคณิต ลวดลายแบบทำ ซ้ำ เรียบง่ายแต่มีเรื่องราว ผู้สร้างภาพยนตร์แนวมินิมอลลิสม์ชื่อดังอย่าง Robert Bresson, Chantal Akerman, Carl Theodor Dreyer, และ Yasujirou Ozu ภาพยนตร์ของพวกเขาจะมีเนื้อเรื่องที่ไม่ ซับซ้อนและมีมุมกล้องที่ตรงไปตรงมา
0 4 ลั ทธิจุล นิยมจะยังคงพั ฒ นาต่อไ ป 37 การใช้วัตถุดิบในการแต่งเพลงที่น้อย มีรูปแบบดนตรีที่เรียบง่าย ระดับ เสียงและทำ นองที่มีรูปแบบที่ซ้ำ ไปมาทำ ให้จดจำ ได้ง่าย ตัวเพลงมีการ เปลี่ยนแปลงไปทีละนิด และมักจะใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ประกอบ การที่มีเสื้อผ้าจำ นวนน้อยในตู้เสื้อผ้า แต่เต็มไป ด้วยเสื้อผ้าที่เหมาะกับเราและมีคุณค่าทางจิตใจ หรือที่เรียกว่า Capsule Wardrobe เป็นการต่อ ต้านกระแสของ Fast Fashion ที่เน้นปริมาณ ใช้ แล้วทิ้ง เปลี่ยนเสื้อผ้าไปเรื่อยๆ ตามเวลา
การทำ อาหารที่เน้นอาหารที่เรียบง่าย ใช้เวลาและส่วนประกอบ สำ หรับทำ อาหารที่ไม่มาก วิธีการทำ ที่ไม่ซับซ้อน ทำ อาหารหนึ่งจาน เพื่อกินสำ หรับหลายมื้อ การใช้ชีวิตที่โฟกัสแค่สิ่งที่สำ คัญต่อชีวิต เพื่อลดความสิ้นเปลืองและสร้างเวลาชีวิตให้ มากขึ้น ทำ ให้เราเข้าใจถึงความสำ คัญและ คุณค่าของสิ่งต่างๆ 38 0 4 ลั ทธิจุล นิยมจะยังคงพั ฒ นาต่อไ ป
วิกิพีเดีย. (2544). Minimalism. สืบค้น 31 มกราคม 2567, จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Minimalism 1. วิกิพีเดีย. (2548). ミニマリズム. สืบค้น 31 มกราคม 2567, จาก https://ja.wikipedia.org/wiki/ミニマリズム 2. ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์. (2561). มินิมอลลิสม์: ศิลปะแห่งการลดทอนและความจริงแท้ของวัตถุ. สืบค้น 31 มกราคม 2567, จาก https://themomentum.co/minimalism-art/ 3. Tate. (2560). Minimalism. สืบค้น 31 มกราคม 2567, จาก https://www.tate.org.uk/art/artterms/m/minimalism 4. dans le gris. (2565). Minimalism in Art: Definition, Characteristics and Artists. สืบค้น 31 มกราคม 2567, จาก https://danslegris.com/blogs/journal/minimalism-the-minimalist-artmovement 5. The Art Story. (2558). Minimalism Movement Overview. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.theartstory.org/movement/minimalism/ 6. The Art Story. (2557). Donald Judd Sculpture, Bio, Ideas. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.theartstory.org/artist/judd-donald/ 7. วิกิพีเดีย. (2547). Robert Morris (artist). สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Robert_Morris_(artist) 8. The Art Story. (2555). Dan Flavin Sculpture, Bio, Ideas. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.theartstory.org/artist/flavin-dan/ 9. WikiArt. (2555). Sol LeWitt. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.wikiart.org/en/sollewitt 10. 39
11. Tate. (2565). Carl Andre. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.tate.org.uk/art/artists/carl-andre-648 12. Tarkett. (2563). What is minimalist interior design style?. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://home.tarkett.com/en_EU/node/what-is-minimalist-interior-design-style-8860 13. Zeka. (2563). Minimalist Graphic Design Rules. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.zekagraphic.com/minimalist-graphic-design-rules/ 14. Designing Buildings Wiki. (2565). Minimalist architecture. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.designingbuildings.co.uk/wiki/Minimalist_architecture 15. MasterClass. (2564). Literary Minimalism: 3 Characteristics of Literary Minimalism. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.masterclass.com/articles/literary-minimalismexplained 16. วิกิพีเดีย. (2562). Minimalist photography. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Minimalist_photography 17. Readclassic. (2566). Minimalism music หนึ่งในกระแสดนตรีที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.read-classic.com/post/minimalism-music 18. Good On You. (2566). What is Minimalist Fashion? And Is It the Key to a Happier and More Sustainable Lifestyle?. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://goodonyou.eco/minimalist-fashion/ 19. Frugal Minimalist Kitchen. (2563). 11 Minimalist Cooking Tips To Simplify Meal Time. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://frugalminimalistkitchen.com/minimalist-cooking/ 40
“What you see is what you see”
651310350 Kanpitcha Weangsukphaibul Faculty of Information and Communication Technology Subject Field Digital Technology for Design (Game) L e s s I S M o r e . M I N I M A น้อยแต่มต่าก “ ”