รายงานผลการปฏิบัติงานการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ตำแหน่งครูผู้ช่วย ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 12 เมษายน 2566 โรงเรียนวัดควนปันตาราม สำนักงานเขตพี่ที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ องค์ประกอบที่ ๑ การประเมินผลการปฏิบัติตน ๕. จิตวิญญาณความเป็นครู จรรยาบรรณในวิชาชีพ หมายถึงประมวลมาตรฐานความประพฤติที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องประพฤติ ปฏิบัติ เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพปฏิบัติอย่างถูกต้องเพื่อผดุงเกียรติและสถานะของวิชาชีพนั้นก็ได้ ผู้กระทำผิดจรรยาบรรณ จะต้องได้รับโทษโดยว่ากล่าว ตักเตือน ถูกพักงาน หรือถูกยกเลิกใบประกอบวิชาชีพ ได้จรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพมีความสำคัญต่อ วิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งสรุปได้ 3 ประการ คือ 1. ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ 2. รักษามาตรฐานวิชาชีพ 3. พัฒนาวิชาชีพ ลักษณะของจรรยาบรรณวิชาชีพครู 1. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อผู้เรียน (Commitment to the student) 2. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสังคม (Commitment to the society) 3. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อวิชาชีพ (Commitment to the profession) 4. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสถานปฏิบัติงาน ( Commitment to the employment practice) จรรยาบรรณครู 2546 (จรรยาบรรณของวิชาชีพ มี 5 กลุ่ม 9 ประการ) ดังนี้ กลุ่มที่ 1 จรรยาบรรณต่อตนเอง 1. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และ วิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ กลุ่มที่ 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ 2. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็น สมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ กลุ่มที่ 3 จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ 3. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์และ ผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า 4. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ 5. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และ จิตใจ
6. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ 7. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือ ยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ กลุ่มที่ 4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ 8. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นใน ระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ กลุ่มที่ 5 จรรยาบรรณต่อสังคม 9. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของ ส่วนรวม และยึดมั่นในการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เกณฑ์การประเมิน บันทึกผลการปฏิบัติงาน ร่องรอย หลักฐาน/ แหล่งข้อมูล ๕.๑ การเข้าสอนตรงเวลาและ สอนเต็มเวลา ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่ ที่ได้รับ มอบหมายอย่างเต็มความสามารถ และเต็มเวลา กล่าวคือ เข้าสอนตรง เวลา เอาใจใส่ต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดย มีการวางแผนการสอนล่วงหน้า จัดทำ สื่อ และจัดกิจกรรมโดยเน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ รวมทั้งมีการปรับปรุงพัฒนา งานการสอนอยู่เสมอ และไม่ทิ้งงาน สอนกลางคัน ❖ สังเกตพฤติกรรม ❖ สังเกตการแต่งกาย ❖ สอบถาม/สัมภาษณ์ครู นักเรียน ผู้บริหาร ❖ ประมวลภาพกิจกรรม ๕.๒ การตระหนักในความรู้และ ทักษะที่ถูกต้องรวมถึงสิ่งที่ดีๆ ให้กับผู้เรียน ข้าพเจ้าพัฒนาความรู้ความสามารถ ของตนเอง ให้มีความรู้ และรู้ลึกในสิ่ง ที่ต้องการถ่ายทอดให้กับผู้เรียน เพื่อให้ ผู้เรียนได้รับความรู้ที่ถูกต้อง และ ครบถ้วนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ และ ดำรงชีวิตในอนาคต ❖ สังเกตพฤติกรรม ❖ สอบถาม/สัมภาษณ์ครู นักเรียน ผู้บริหาร ❖ ประมวลภาพกิจกรรม ๕.๓ การสร้างความเสมอภาค เป็นธรรมกับผู้เรียนทุกคน ข้าพเจ้ามีการศึกษาผู้เรียนเป็น รายบุคคลก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจผู้เรียน และทราบถึงความ ต้องการของผู้เรียนทุกคนอย่างเท่า เทียม และเพื่อนำผลไปจัดการเรียนรู้ อย่างเหมาะสม ❖ สังเกตพฤติกรรม ❖ สอบถาม/สัมภาษณ์ครู นักเรียน ผู้บริหาร ❖ ประมวลภาพกิจกรรม ❖ รายงานวิเคราะห์ผู้เรียน รายบุคคล ๕.๔ การรู้จักให้อภัยปราศจาก อ ค ติช ่ ว ย เ ห ล ื อ ส ่ ง เ ส ริ ม สนับสนุนให้ผู้เรียนประสบ ความสําเร็จตามศักยภาพ ความ สนใจ หรือความตั้งใจ เมื่อผู้เรียนประพฤติไม่ถูกต้อง ข้าพเจ้า จะตักเตือนด้วยเหตุผล ปราศจากอคติ และให้โอกาสผู้เรียนเริ่มต้นใหม่ รับฟัง ความคิดเห็นของผู้เรียนทุกคนอย่าง เป็นกลาง สอนผู้เรียนทุกระดับชั้นด้วย ความตั้งใจ และเสมอภาค วิเคราะห์ ผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพื่อทราบถึง ความถนัด และสนใจของผู้เรียน อีกทั้ง ข้าพเจ้าส่งเสริม และให้คำปรึกษา เกี่ยวกับเรื่องการศึกษาต่อตามความ สนใจ ❖ สังเกตพฤติกรรม ❖ สอบถาม/สัมภาษณ์ครู นักเรียน ผู้บริหาร ❖ ประมวลภาพกิจกรรม
เกณฑ์การประเมิน บันทึกผลการปฏิบัติงาน ร่องรอย หลักฐาน/ แหล่งข้อมูล ๕.๕ การเป็นที่พึ่งให้กับผู้เรียน ได้ตลอดเวลา ข้าพเจ้าคอยช่วยเหลือผู้เรียน และเป็น ที่ปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ของ ผู้เรียน รวมทั้งให้กำลังใจ และ คำแนะนำทั้งในเวลาเรียน และนอก เวลาเรียน เมื่อผู้เรียนเกิดความสงสัย และไม่เข้าใจเกี่ยวกับการเรียน ผู้เรียน สามารถสอบถามข้าพเจ้าได้ตลอดเวลา ทั้งในเวลาราชการ และนอกเวลา ราชการ โดยใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางใน การติดต่อสื่อสาร ❖ สังเกตพฤติกรรม ❖ สอบถาม/สัมภาษณ์ครู นักเรียน ผู้บริหาร ❖ ประมวลภาพกิจกรรม ๕.๖ การจัดกิจกรรมส่งเสริม การใฝ่รู้ค้นหา สร้างสรรค์ ถ่ายทอด ปลูกฝังและเป็น แบบอย่างที่ดีของผู้เรียน ข้าพเจ้าจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นผู้เกิดองค์ความรู้ด้วยตนเอง ได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การ แก้ปัญหา และการคิดอย่างสร้างสรรค์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความ คิดเห็น ไม่ปิดกั้นความคิด ข้าพเจ้า ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรัก ความศรัทธา ยึดมั่นในอุดมการณ์แห่งวิชาชีพ รวมทั้ง ทุ่มเทในการทำงาน และประพฤติตน เป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้เรียน อีกทั้ง ข้าพเจ้ามีการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น เกม และสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ มา ใช้ในการเรียนรู้ ❖ สังเกตพฤติกรรม ❖ สอบถาม/สัมภาษณ์ครู นักเรียน ผู้บริหาร ❖ ประมวลภาพกิจกรรม ๕.๗ การทุ่มเทเสียสละในการ จัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ข้าพเจ้าจัดทำสื่อที่หลากหลาย และมี การเตรียมใบงานต่าง ๆ ให้ผู้เรียนได้ลง มือทำอย่างหลากหลาย ไม่จำเจ และ ข้าพเจ้าใช้วันหยุดในการศึกษาวิธีการ สอนใหม่ ๆ ❖ สังเกตพฤติกรรม ❖ สอบถาม/สัมภาษณ์ครู นักเรียน ผู้บริหาร ❖ ประมวลภาพกิจกรรม
๕.๑ การเข้าสอนตรงเวลาและสอนเต็มเวลา ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ และเต็มเวลา กล่าวคือ เข้าสอนตรง เวลา เอาใจใส่ต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยมีการวางแผนการสอนล่วงหน้า จัดทำสื่อ และจัดกิจกรรมโดยเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ รวมทั้งมีการปรับปรุงพัฒนางานการสอนอยู่เสมอ และไม่ทิ้งงานสอนกลางคัน ภาพที่ 1 การจัดการเรียนการสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ๕.๒ การตระหนักในความรู้และทักษะที่ถูกต้องรวมถึงสิ่งที่ดี ๆ ให้กับผู้เรียน ข้าพเจ้าพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง ให้มีความรู้ และรู้ลึกในสิ่งที่ต้องการถ่ายทอดให้กับ ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่ถูกต้อง และครบถ้วนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ และดำรงชีวิตในอนาคต ภาพที่ 2 การจัดการเรียนการสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ๕. จิตวิญญาณความเป็นครู
๕.๓ การสร้างความเสมอภาคเป็นธรรมกับผู้เรียนทุกคน ข้าพเจ้ามีการศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคลก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจผู้เรียน และทราบถึง ความต้องการของผู้เรียนทุกคนอย่างเท่าเทียม และเพื่อนำผลไปจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ภาพที่ 3 การจัดการเรียนการสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ๕.๔ การรู้จักให้อภัยปราศจากอคติ ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนประสบความสําเร็จตามศักยภาพ ความสนใจ หรือความตั้งใจ เมื่อผู้เรียนประพฤติไม่ถูกต้อง ข้าพเจ้าจะตักเตือนด้วยเหตุผล ปราศจากอคติ และให้โอกาสผู้เรียน เริ่มต้นใหม่ รับฟังความคิดเห็นของผู้เรียนทุกคนอย่างเป็นกลาง สอนผู้เรียนทุกระดับชั้นด้วยความตั้งใจ และ เสมอภาค วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพื่อทราบถึงความถนัด และสนใจของผู้เรียน อีกทั้งข้าพเจ้าส่งเสริม และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาต่อตามความสนใจ ภาพที่ 4 ส่งความรู้ใหม่ ๆ ให้นักเรียนอย่างสม่ำเสมอ
๕.๕ การเป็นที่พึ่งให้กับผู้เรียนได้ตลอดเวลา ข้าพเจ้าคอยช่วยเหลือผู้เรียน และเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ของผู้เรียน รวมทั้งให้กำลังใจ และคำแนะนำทั้งในเวลาเรียน และนอกเวลาเรียน เมื่อผู้เรียนเกิดความสงสัย และไม่เข้าใจเกี่ยวกับการเรียน ผู้เรียนสามารถสอบถามข้าพเจ้าได้ตลอดเวลา ทั้งในเวลาราชการ และนอกเวลาราชการ โดยใช้เฟซบุ๊กเป็น ช่องทางในการติดต่อสื่อสาร ภาพที่ 5 ให้คำปรึกษานักเรียนนอกเวลาราชการ ๕.๖ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการใฝ่รู้ ค้นหา สร้างสรรค์ ถ่ายทอด ปลูกฝังและเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้เรียน ข้าพเจ้าจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้เกิดองค์ความรู้ด้วยตนเอง ได้ฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการคิดอย่างสร้างสรรค์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น ไม่ปิดกั้น ความคิด ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรัก ความศรัทธา ยึดมั่นในอุดมการณ์แห่งวิชาชีพ รวมทั้งทุ่มเทในการ ทำงาน และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้เรียน อีกทั้งข้าพเจ้ามีการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น เกม และ สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในการเรียนรู้ ภาพที่ 6 สร้างเทคนิคการจำ number ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
๕.๗ การทุ่มเทเสียสละในการจัดการเรียนรู้ ให้กับผู้เรียน ข้าพเจ้าจัดทำสื่อที่หลากหลาย และมีการเตรียมใบงานต่าง ๆ ให้ผู้เรียนได้ลงมือทำอย่างหลากหลาย ไม่จำเจ และข้าพเจ้าใช้วันหยุดในการศึกษาวิธีการสอนใหม่ ๆ ภาพที่ 7 การจัดการเรียนการสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3