The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์

การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์

แบบฝึกทักษะงานช่าง : งานช่างพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ รายวิชาการงานอาชีพ 2 รหัสวิชา ง22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่มที่ 6 เรื่อง การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ สิบเอกเอกชัย พันธิทักษ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนโนนกลางวิทยาคม อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี


ก คำนำ แบบฝึกทักษะงานช่าง รายวิชาการงานอาชีพ 2 รหัสวิชา ง22101 กลุ่มสาระการ เรียนรู้การงานอาชีพ หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง งานช่างพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วยแบบฝึกทักษะงานช่าง จำนวน 7 เล่ม ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง นำไปใช้ในการเรียนการสอนซ่อมเสริมได้ หรือใช้ในการสอนแทนได้เป็นอย่างดี เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องงานช่างพื้นฐานอย่าง คงทน และนำผลไปสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ดียิ่งขึ้น โดยกิจกรรมการเรียนรู้เป็นแบบกลุ่ม ซึ่งมีขั้นตอนในการฝึก ดังนี้ คือ ขั้นเตรียมการ สอน ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ขั้นสะท้อนแลกเปลี่ยนความคิด ขั้นเสนอความรู้ ขั้นประยุกต์ใช้ และขั้นสรุปผลโดยที่แบบฝึกทักษะ แต่ละเล่มเน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการให้เหตุผล ทักษะ การแก้ปัญหา ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และทักษะการเชื่อมโยงความรู้กับชีวิตประจำวัน ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแบบฝึกทักษะงานช่างนี้จะทำให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องงานช่างพื้นฐานได้เป็นอย่างดี และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น สามารถใช้เพื่อศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพ สามารถอำนวยประโยชน์ต่อการเรียนการสอนให้บรรลุ วัตถุประสงค์ของหลักสูตรได้ส่งเสริมให้การจัดการเรียนการสอนมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป เอกชัย พันธิทักษ์


ข สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข คำชี้แจงเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะงานช่าง ค คำแนะนำเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะงานช่าง 1 คำแนะนำการใช้แบบฝึกทักษะสำหรับครู 2 คำแนะนำการใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียน 3 มาตรฐาน / ตัวชี้วัด 4 แผนภูมิลำดับขั้นตอนการใช้แบบฝึกทักษะงานช่าง 6 แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ 7 ใบความรู้ที่ 6 เรื่อง การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ 9 ใบกิจกรรมที่ 6 แบบฝึกทักษะ เรื่อง การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ 22 แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ 25 เฉลยใบกิจกรรมที่ 6 แบบฝึกทักษะ เรื่อง การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ 27 เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน เรื่อง การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ 31 บรรณานุกรม 32 ประวัติย่อเจ้าของผลงาน 33


ค คำชี้แจงเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะงานช่าง 1. แบบฝึกทักษะงานช่าง เรื่อง งานช่างพื้นฐาน รายวิชาการงานอาชีพ 2 รหัสวิชา ง22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วยแบบฝึกทักษะงานช่าง ทั้งหมด 7 เล่ม ดังนี้ เล่มที่ 1 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานช่าง เวลา 2 ชั่วโมง เล่มที่ 2 เรื่อง ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานช่าง เวลา 2 ชั่วโมง เล่มที่ 3 เรื่อง เครื่องมือและอุปกรณ์งานช่าง เวลา 2 ชั่วโมง เล่มที่ 4 เรื่อง การจัดกระบวนการทำงานในงานช่าง เวลา 2 ชั่วโมง เล่มที่ 5 เรื่อง ประเภทของงานสายไฟและการต่อสายไฟฟ้า เวลา 2 ชั่วโมง เล่มที่ 6 เรื่อง การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ เวลา 2 ชั่วโมง เล่มที่ 7 เรื่อง การต่อท่อประปาและการแก้ไขก๊อกน้ำที่รั่วซึม เวลา 2 ชั่วโมง 2. แบบฝึกทักษะงานช่าง เรื่อง งานช่างพื้นฐาน รายวิชาการงานอาชีพ 2 รหัสวิชา ง22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย - คำชี้แจงเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะ - คำแนะนำสำหรับครู - คำแนะนำสำหรับนักเรียน - มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำคัญ - แบบทดสอบก่อนเรียน - ใบความรู้ - ใบกิจกรรม / แบบฝึกทักษะ - แบบทดสอบหลังเรียน - เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน - เฉลยใบกิจกรรม / แบบฝึกทักษะ 3. แบบฝึกทักษะงานช่าง เรื่อง งานช่างพื้นฐานแต่ละเล่ม ใช้เวลา 2 ชั่วโมง


1 คำแนะนำเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะงานช่าง เล่มที่ 6 เรื่อง การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบฝึกทักษะงานช่าง “งานช่างพื้นฐาน” เล่มที่ 6 เรื่อง การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ มีขั้นตอนในการเรียนรู้ดังนี้ 1. แบบฝึกทักษะงานช่าง “งานช่างพื้นฐาน” มีทั้งหมด 7 เล่ม แบบฝึกทักษะ งานช่างเล่มนี้เป็นเล่มที่ 6 เรื่อง การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ 2. ศึกษาเนื้อหาในแต่ละขั้นตอนของแบบฝึกทักษะงานช่าง “งานช่างพื้นฐาน” แต่ละเล่มให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง 3. ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนของแบบฝึกงานช่าง “งานช่างพื้นฐาน” ตามขั้นตอน จนเกิดความเข้าใจ และประสบความสำเร็จบรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนด 4. เอกสารชุดนี้ประกอบด้วย - คำชี้แจงเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะ - คำแนะนำสำหรับครู - คำแนะนำสำหรับนักเรียน - แบบทดสอบก่อนเรียน - ใบความรู้ - ใบกิจกรรม / แบบฝึกทักษะ - แบบทดสอบหลังเรียน - เฉลยใบกิจกรรม / แบบฝึกทักษะ - เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน


2 คำแนะนำการใช้แบบฝึกทักษะสำหรับครู 1. ก่อนการใช้แบบฝึกทักษะควรศึกษารายละเอียดทุกขั้นตอนจากคู่มือให้เข้าใจ โดยศึกษา รายละเอียดต่อไปนี้คำแนะนำการใช้แบบฝึกทักษะสำหรับผู้เรียน จุดประสงค์การเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน ใบความรู้ ลำดับขั้นตอน การปฏิบัติกิจกรรม แบบวัดและ ประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรม 2. ผู้สอนควรชี้แจงให้ผู้เรียนฝึกทักษะ ภายหลังจากเรียนภาคทฤษฎีแล้ว เพื่อพัฒนาทักษะ ทางด้านการปฏิบัติงานด้วยตนเอง เมื่อพบปัญหาหรืออุปสรรค ในระหว่างการปฏิบัติงาน สามารถ ปรึกษาผู้สอนได้ 3. ผู้สอนต้องตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน และให้ผู้เรียน ฝึกทักษะ ตามลำดับขั้นตอนที่กำหนด 4. ผู้สอนควรติดตาม กระตุ้น และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะ การปฏิบัติตาม ความสามารถและเต็มตามศักยภาพของผู้เรียน 5. ผู้สอนควรตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ และดูแลกระบวนการปฏิบัติ กิจกรรมของ ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาหรืออุบัติเหตุในระหว่างการปฏิบัติกิจกรรม 6. ผู้สอนควรเน้นเรื่องคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน สอดแทรก คุณธรรมจริยธรรม และหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข 7. การวัดและการประเมินผลเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในแผนการจัดการเรียนรู้โดย คำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก กล่าวยกย่องชมเชยผลงานของผู้เรียนเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ 8. ผู้สอนตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน–หลังเรียน แบบวัดและประเมินผล การปฏิบัติ กิจกรรม และเก็บผลการประเมินบันทึกไว้เป็นหลักฐาน โดยปฏิบัติทุกครั้ง ที่มีกิจกรรมการเรียน การสอน 9. ผู้สอนแจ้งผลการทดสอบและผลการประเมินทุกครั้งที่มีการทดสอบ การวัดและการ ประเมินผล เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้


3 คำแนะนำการใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียน 1. ผู้เรียนอ่านคำชี้แจงเกี่ยวกับแบบฝึกทักษะงานช่าง ผู้เรียนศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้ ของแบบฝึกทักษะ และคำแนะนำสำหรับผู้เรียนให้เข้าใจก่อนที่จะลงมือศึกษาแบบฝึกทักษะงานช่าง 2. ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 10 ข้อ โดยใช้เวลา 10 นาทีเพื่อวัดความรู้ พื้นฐาน 3. ผู้เรียนต้องตั้งใจศึกษาแบบฝึกทักษะให้เข้าใจอย่างแท้จริงก่อนลงมือ ปฏิบัติกิจกรรม 4. ผู้เรียนควรปฏิบัติกิจกรรมตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดในแบบฝึกทักษะ เมื่อพบปัญหา ควรขอคำปรึกษาจากผู้สอน 5. ผู้เรียนต้องตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมตามแบบฝึกทักษะด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่าง แท้จริง 6. ผู้เรียนทุกคนเข้ารับการวัดและประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรม ตามแบบประเมินที่กำหนด 7. ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนเมื่อเรียนจบในแต่ละแบบฝึกทักษะ เพื่อประเมินผลการ พัฒนาการเรียนรู้ 8. แบบฝึกทักษะงานช่างเล่มนี้ ใช้เวลาในการเรียนรู้ 2 ชั่วโมง ** หมายเหตุ** ในการทำใบกิจกรรมแบบฝึกทักษะ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ให้ผู้เรียนทำด้วยความตั้งใจและมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองให้มากที่สุด โดยไม่ดูเฉลยก่อนทำ ที่มา : http://www.psptech.co.th/ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลอด


4 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะ การจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิต และครอบครัว ตัวชี้วัด ง 1.1 ม.2/1 ใช้ทักษะการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาการทำงาน ง 1.1 ม.2/2 ใช้ทักษะ กระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน ง 1.1 ม.2/3 มีจิตสำนึกในการทำงานและใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานอย่างประหยัด และคุ้มค่า จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด 1. บอกชนิดของหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ได้(K) 2. บอกประโยชน์ของหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ได้(K) 3. บอกส่วนประกอบของหลอดฟลูออเรสเซนต์ได้(K) 4. อธิบายการทำงานของหลอดฟลูออเรสเซนต์ได้(K) 5. บอกประโยชน์ของหลอดฟลูออเรสเซนต์ได้(K) 6. มีทักษะในการแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาการจัดกระบวนการทำงานในงานช่าง (P) 7. มีความใฝ่เรียนรู้และเห็นความสำคัญการจัดกระบวนการทำงานในงานช่างได้(A) สาระสำคัญ หลอดเรืองแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp) ทำด้วยหลอดแก้วที่สูบ อากาศออกจนหมด แล้วบรรจุไอปรอทไว้เล็กน้อย มีไส้ที่ปลายหลอดทั้งสองข้าง หลอดเรืองแสงอาจ ทำด้วยหลอดตรง หรือครึ่งวงกลมก็ได้ หลอดไฟฟ้าชนิดนี้มีลักษณะแตกต่างไปจากหลอดไฟฟ้า ธรรมชาติชนิดไส้ คือ ตัวหลอดทำด้วยแก้วบางใสกลมยาวรูปทรงกระบอกหรือรูปวงกลม ภายใน หลอดแก้วจะสูบอากาศออกเกือบหมด และบรรจุก๊าซอาร์กอนและปรอทไว้เล็กน้อย ที่ผิวด้านในของ


5 หลอดฉาบไว้ด้วยสารเคมีบางชนิดที่เปล่งแสงได้ เมื่อได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเลต สารเคมีที่มีสมบัติ ดังกล่าวนี้เรียกว่า สารเรืองแสง ที่เหลือไส้หลอดแต่ละข้างจะมีขั้วโลหะอาบน้ำยาเพื่อให้กระจาย อิเล็กตรอนได้ง่าย เมื่อได้รับความร้อนจากไส้หลอดขั้วโลหะเป็นขั้วไฟฟ้าที่เรียกว่า อิเล็กโทรด (Electrode) ซึ่งขั้วไฟฟ้าจะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าจากวงจรภายนอกเข้าสู่ตัวหลอด การใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ไม่สามารถต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าในบ้านได้โดยตรงเหมือนกับหลอดไฟฟ้า ธรรมดา เพราะจะทำให้หลอดไส้ขาดทันทีที่กระแสไฟฟ้าผ่าน https://sites.google.com/a/sinpun.ac.th/google-sketup/lamp-fu


6 แผนภูมิลำดับขั้นตอนการใช้แบบฝึกทักษะงานช่าง แผนภูมิลำดับขั้นตอนการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะงานช่าง เล่มที่ 6 เรื่อง การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ อ่านคำชี้แจงและคำแนะนำในการใช้แบบฝึกทักษะงานช่าง ศึกษาแบบฝึกทักษะงานช่างตามขั้นตอน ผ่านการทดสอบ ศึกษาแบบฝึกทักษะงานช่างเรื่องต่อไป ประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากแบบฝึกทักษะงานช่าง ไม่ผ่าน ศึกษาตัวชี้วัดและจุดประสงค์การเรียนรู้ เสริม พื้นฐาน ทดสอบก่อนเรียน ทดสอบหลังเรียน


7 แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง : การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ รายวิชาการงานอาชีพ 2 (22101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 เวลา 10 นาที คำชี้แจง 1. แบบทดสอบฉบับนี้ จำนวน 10 ข้อ คะแนนเต็ม 10 คะแนน เวลาที่ใช้ 10 นาที 2. จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด แล้วเขียนเครื่องหมาย ลงในกระดาษคำตอบ 1. โวลต์(Volt) เป็นหน่วยวัดปริมาณใดทาง ไฟฟ้า ก. ความถี่ ข. แรงดันไฟฟ้า ค. กระแสไฟฟ้า ง. ความต้านทานไฟฟ้า 2. อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดใดทำหน้าที่ตัดต่อ วงจรไฟฟ้า ก. ฟิวส์ ข. ปลั๊ก ค. รีเลย์ ง. สวิตช์ 3. บ้านเรือนในประเทศไทยใช้แรงดันไฟฟ้า กี่โวลต์ ก. 750 โวลต์ ข. 300 โวลต์ ค. 260 โวลต์ ง. 220 โวลต์ 4. สาเหตุใดหลอดไฟจึงติดๆ ดับๆ ก. บัลลาสต์เสีย ข. แรงดันไฟฟ้าตก ค. สตาร์ทเตอร์เสื่อม ง. ใช้บัลลาสต์ไม่ถูกขนาด 5. สตาร์ทเตอร์ทำหน้าที่อะไร ก. ตัดและต่อวงจรสตาร์ทขณะเปิดไฟ ช่วยในการจุดติดไส้หลอด ข. เพิ่มระดับแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้นเพื่อ ช่วยในการจุดติดไส้หลอด ค. ลดแรงดันไฟฟ้าลงขณะจุดติด ไส้หลอด ง. ที่กล่าวมาไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง 6. ชุดหลอดฟลูออเรสเซนต์ประกอบด้วย อุปกรณ์ต่างๆ ยกเว้นในข้อใด ก. หลอดไฟและขั้วหลอด ข. สตาร์ทเตอร์ ค. บัลลาสต์ ง. สวิทซ์


8 7. บัลลาสต์ทำหน้าที่อะไร ก. เป็นสวิตซ์อัตโนมัติในการจุดติด ไส้หลอด ข. ลดแรงดันไฟฟ้าลงขณะจุดติด ไส้หลอด ค. เพิ่มแรงดันให้สูงขึ้นขณะเริ่มต้น จุดให้หลอดทำงาน ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา 8. หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบสั้น (หลอดผอม) มีขนาดกี่วัตต์ ก. 18 วัตต์ ข. 22 วัตต์ ค. 36 วัตต์ ง. 42 วัตต์ 9. สตาร์ทเตอร์ต่อแบบใดในวงจรหลอดฟลูออ เรสเซนต์ ก. ต่อแบบผสม ข. ต่อแบบขนาน ค. ต่อแบบอนุกรม ง. ต่อแบบกับสวิตซ์ 10. บัลลาสต์ต่อแบบใดในวงจรหลอดฟลูออเรส เซนต์ ก. ต่อแบบผสม ข. ต่อแบบขนาน ค. ต่อแบบอนุกรม ง. ต่อแบบคร่อมสวิตซ์ http://sukhumkub.blogspot.com/2011/06/blog-post.html


9 ใบความรู้ที่6 เรื่อง การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ 1. หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า หลอดตะเกียบนั้น เป็นหลอด ฟลูออเรสเซนต์ขนาดเล็กที่ได้มีการพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานและเพื่อใช้แทน หลอดไส้ที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนส์จะมีขนาดกระทัดรัดและมีกำลังส่อง สว่างสูง เหมาะสมในการให้แสงสว่างทั่วไปที่ต้องการความสวยงาม มีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้ ประมาณ 8 เท่า หรือ 8,000 ชั่วโมง และการใช้พลังงานของหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์จะน้อย กว่าหลอดไส้ประมาณ 4 เท่า ปัจจุบันหลอดตะเกียบจริงๆ มันก็คือหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่รวมวงจรบัลลาสต์เข้าไปในตัว หลอดแล้ว (ตรงที่เห็นเป็นกระเปาะขาวๆ) ดังนั้น ไม่แปลกเลยที่ราคาจะแพง เสียเร็วกว่า (เพราะ ความร้อนจากหลอดไปกระทบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้านใน) อายุการใช้งานจึงสั้น หลอดพวกนี้อายุ ประมาณ 6000 ชั่วโมงขึ้นไป แล้วแต่ยี่ห้อ หลอดเหล่านี้จะประหยัดพลังงานไฟฟ้า ประหยัดกว่า หลอดไส้สีส้มๆ เพราะถูกออกแบบมาให้ทดแทนกัน ภาพที่ 6.1 ตัวอย่างหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ ที่มา : https://pantip.com/topic/33958522 (สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2561)


10 ชนิดของหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ มี 2 ชนิด คือ 1. หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน หลอดชนิดนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1.1 หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายในชนิดแกนเหล็ก คือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ได้รวม เอาบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์อยู่ภายใน ผลิตขึ้นมาแทนหลอดไส้สามารถนำไปสวมกับขั้วหลอดไส้ ชนิดเกลียวได้ทุกดวงได้ทันทีลักษณะของหลอดภายในเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดเล็กเป็นแท่ง แก้วดัดโค้งเป็นรูปตัวยูมีเปลือกเป็นโคมทรงกระบอก มีชุดบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ปิดผนึกรวมกัน อยู่ในชิ้นเดียวกันกับตัวหลอด 1.2 หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายในชนิดอิเล็คทรอนิกส์มีลักษณะเหมือนหลอดฟลูออ เรสเซนต์บัลลาสต์ภายในชนิดแกนเหล็ก จะต่างกันที่เป็นหลอดประหยัดไฟขนาดเล็กที่ไม่มีโคม กระบอก ผลิตด้วยเทคโนโลยีล่าสุด ในการทำบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์อิเลคทรอนิกส์ซึ่งพัฒนา รูปแบบของหลอดให้ประหยัดและมีขนาดกระทัดรัดขึ้นกว่าเดิม ตัวหลอดเป็นแท่งแก้วโค้งเป็นรูปตัวยู หลายชุดและใช้เทคนิคพิเศษเชื่อมต่อกัน หลอดชนิดนี้จะติดทันทีโดยไม่กระพริบ 2. หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก ใช้หลักการเช่นเดียวกับหลอดคอมแพคบัลลาสต์ ภายใน แตกต่างกันที่หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก สามารถเปลี่ยนเฉพาะตัวหลอดได้ในการ ติดตั้งใช้งานจะต้องมีขาเสียบเพื่อใช้กับบัลลาสต์ที่แยกออก หรือขาเสียบที่มีชุดบัลลาสต์รวมอยู่ด้วย การต่อหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ 1. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมทั้งหลอดไฟ ขั้วหลอด สายไฟฟ้า กล่องไม้ปลั๊กตัวผู้ ภาพที่ 6.2 การต่อหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ ที่มา : http : // stmath09.files.wordpress.com/2015/07/5064 (สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2561)


11 2. ปอกสายไฟแล้วต่อเข้ากับฐานหลอด (ระวังอย่าให้สายไฟแตะกัน) ดังรูปด้านซ้าย แล้ว เจาะตรงกลางกล่องไม้นำปลายสายไฟอีกด้านหนึ่งสอดเข้าไป จากนั้นทำการขันสกรูยึดขั้วหลอดติด กับกล่องไม้ ภาพที่ 6.3 การต่อหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ ที่มา : http : // stmath09.files.wordpress.com/2015/07/5064 (สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2561) 3. ปอกปลายสายด้านที่เหลือ แล้วต่อเข้ากับปลั๊กตัวผู้(ระวังอย่าให้สายไฟแตะกัน) เมื่อเสร็จ แล้วประกอบฝาอีกข้างหนึ่งเข้าดังรูป ภาพที่ 6.4 การต่อหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ ที่มา : http : // stmath09.files.wordpress.com/2015/07/5064 (สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2561)


12 4. เมื่อต่อเสร็จแล้วนำหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์มาประกอบเข้ากับขั้วหลอด ทำการ ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง แล้วทำการทดลองเสียบปลั๊กไฟดูว่าหลอดติดหรือไม่ ภาพที่ 6.5 การต่อหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ ที่มา : http : // stmath09.files.wordpress.com/2015/07/5064 (สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2561) 2. การต่อวงจรฟูออเรสเซนต์ หลอดไฟฟ้าชนิดนี้ มีลักษณะแตกต่างไปจากหลอดไฟฟ้าธรรมชาติชนิดไส้ กล่าวคือ ตัว หลอดทำด้วยแก้ว บางใสกลมยาวรูปทรงกระบอกหรือรูปวงกลม ภายในหลอดแก้วจะสูบอากาศออก เกือบหมด และบรรจุก๊าซอาร์กอนและปรอทไว้เล็กน้อย ที่ผิวด้านในของหลอดฉาบไว้ด้วยสารเคมีบาง ชนิดที่เปล่งแสงได้ เมื่อได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเลต สารเคมีที่มีสมบัติดังกล่าวนี้เรียกว่า สารเรืองแสง ที่ เหลือไส้หลอดแต่ละข้างจะมีขั้วโลหะอาบน้ำยาเพื่อให้กระจายอิเล็กตรอนได้ง่าย เมื่อได้รับความร้อน จากไส้หลอดขั้วโลหะเป็นขั้วไฟฟ้าที่เรียกว่า อิเล็กโทรด (Electrode) ซึ่งขั้วไฟฟ้าจะทำหน้าที่เป็นตัว เชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าจากวงจรภายนอกเข้าสู่ตัวหลอด การใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ไม่สามารถต่อเข้า กับวงจรไฟฟ้าในบ้านได้โดยตรงเหมือนกับหลอดไฟฟ้าธรรมดา เพราะจะทำให้หลอดไส้ขาดทันทีที่ กระแสไฟฟ้าผ่าน ดังนั้นจึงต้องใช้ต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่นอีก ได้แก่ สตาร์ทเตอร์และบัลลัสต์ หลอดเรืองแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp) ทำด้วยหลอดแก้วที่สูบ อากาศออกจนหมด แล้วบรรจุไอปรอทไว้เล็กน้อย มีไส้ที่ปลายหลอดทั้งสองข้าง หลอดเรืองแสงอาจ ทำด้วยหลอดตรง หรือครึ่งวงกลมก็ได้ ส่วนประกอบและการทำงานของหลอดเรืองแสง มีดังนี้


13 1. ตัวหลอด ตัวหลอดมีไส้โลหะทังสเตนติดอยู่ที่ปลายทั้ง 2 ข้าง ของหลอดแก้ว ซึ่งผิว ภายในของหลอดฉาบด้วยสารเรื่องแสง อากาศในหลอดแก้วถูกสูบออกจนหมดแล้วใส่ไอปรอทไว้ เล็กน้อย ภายในสูบอากาศออกจนหมดแล้วบรรจุไอปรอทและก๊าซอาร์กอนเล็กน้อย ผิวด้านในของ หลอดเรืองแสงฉาบด้วยสารเรืองแสงชนิดต่างๆ แล้วแต่ความต้องการให้เรืองแสงเป็นสีใด เช่น ถ้า ต้องการให้เป็นสีเขียว ต้องฉาบด้วยสารซิงค์ซิลิเคต แสงสีขาวแกมฟ้าฉาบด้วยแมกเนเซียมทังสเตน แสงสีชมพูฉาบด้วยแคดเมียมบอเรต เป็นต้น ภาพที่ 6.6 หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดต่างๆ ที่มา : https://www.surveymonkey.com/r/ZW3XQZX (สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2561) 2. ไส้หลอด ทำด้วยทังสเตนหรือวุลแฟรมอยู่ที่ปลายทั้งสองข้าง เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไส้ หลอดจะทำให้ไส้หลอดร้อนขึ้น ความร้อนที่เกิดขึ้นจะทำให้ไอปรอทที่บรรจุไว้ในหลอดกลายเป็นไอ มากขึ้น แต่ขณะนั้นกระแสไฟฟ้ายังผ่านไอปรอทไม่สะดวก เพราะปรอทยังเป็นไอน้อยทำให้ความ ต้านทานของหลอดสูง


14 หลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นหลอดที่ผนึกไว้อย่างดีภายในบรรจุด้วยปรอท และก๊าซเฉื่อย ความดันต่ำ ปกติใช้ก๊าซอาร์กอน ภายในหลอดเคลือบด้วยฟอสฟอรัส มีขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว ต่อเข้ากับ แหล่งจ่ายไฟฟ้าสลับ ภาพที่ 6.7 ภายในหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่มา : http://www.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/howstuff1/fluorescentlamp/fluorescent-lampthai2.htm (สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2561) เมื่อกดสวิทซ์กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเข้าไปในขั้วหลอด มีแรงดันไฟฟ้าเกิดขึ้นระหว่าง ขั้วหลอด พลังงานไฟฟ้าจะเปลี่ยนสถานะของปรอทจากของเหลวเป็นก๊าซ กระแสของอิเล็กตรอนชน เข้ากับอะตอมของปรอท กระตุ้นให้อิเล็กตรอนเปลี่ยนจากวงโคจรต่ำไปสู่วงโคจรสูงชั่วครู่ มันจะ เปลี่ยนระดับพลังงานเข้าสู่วงโคจรเดิม ปลดปล่อยเป็นแสงออกมา ลักษณะการจัดเรียงอิเล็กตรอนของปรอท ทำให้ปลดปล่อยแสงในช่วงอัลตร้าไวโอเลต ตาของเราไม่สามารถมองเห็นได้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ต้องฉาบฟอสฟอรัสไว้อะตอมของฟอสฟอรัส เมื่อถูกแสงอัลตร้าไวโอเล็ตกระตุ้นอิเล็กตรอนจะกระโดดเข้าสู่ชั้นพลังงานสูง และตกลงสู่วงโคจร เดิม ปลดปล่อยเป็นแสงออกมาให้แสงสีขาว สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ผู้ผลิตบางรายผสมสีให้ ฟอสฟอรัสทำให้ได้แสงสีอื่น


15 ภาพที่ 6.8 ภายในหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่มา : http://utitpo.blogspot.com/p/blog-page_62.html (สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2561) 3. สตาร์ทเตอร์ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ไฟฟ้าอัตโนมัติของวงจร โดยต่อขนานกับหลอด ด้วย หลอดแก้วภายในบรรจุก๊าซนีออนและแผ่นโลหะคู่ที่งอตัวได้เมื่อได้รับความร้อน เมื่อกระแสไฟฟ้า ผ่านก๊าซนีออน ก๊าซนีออนจะติดไฟเกิดความร้อนขึ้น ทำให้แผ่นโลหะคู่งอจนแตะติดกันทำให้ กลายเป็นวงจรปิดทำให้กระแสไฟฟ้าผ่านแผ่นโลหะได้ครบวงจร ก๊าซนีออนที่ติดไฟอยู่จะดับและเย็น ลง แผ่นโลหะคู่จะแยกออกจากกัน ทำให้เกิดความต้านทานสูงขึ้นอย่างทันทีซึ่งขณะเดียวกัน กระแสไฟฟ้าจะผ่านไส้หลอดได้มากขึ้น ทำให้ไส้หลอดร้อนขึ้นมาก ปรอทก็จะเป็นไอมากขึ้นจนพอที่ นำกระแสไฟฟ้าได้ ภาพที่ 6.9 สตาร์ทเตอร์ ที่มา : http://utitpo.blogspot.com/p/blog-page_62.html (สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2561)


16 ภาพที่ 6.10 วงจรฟลูออเรสเซนต์ ที่มา : http://www.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/howstuff1/fluorescentlamp/fluorescent-lampthai4.htm (สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2561) เมื่อกดสวิทซ์ไฟ กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านสวิทซ์สตาร์ทเตอร์ครบวงจร ทำให้ไส้หลอดตรงขั้ว หลอดร้อนขึ้น และปลดปล่อยอิเล็กตรอนออกมาในหลอด สวิทซ์สตาร์ทเตอร์ทำจากหลอดก๊าซขนาดเล็กบรรจุด้วยก๊าซซีนอนเมื่อเรากดสวิทซ์ กระแสไฟฟ้ากระโดดข้ามช่องว่างในหลอดดังภาพที่ 6.11 ภาพที่ 6.11 ที่มา : http://www.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/howstuff1/fluorescentlamp/fluorescent-lampthai4.htm (สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2561)


17 ขั้วไฟฟ้าข้างหนึ่งของสตาร์ทเตอร์ทำด้วยโลหะติดกัน 2 ชนิดเรียกว่า ไบเมทาลิค (Bimetallic) มันจะบิดตัว เมื่อกระแสไหลผ่านและเกิดความร้อน หลังจากที่หลอดฟลูออเรสเซนต์ติด แล้ว กระแสไฟฟ้าจะไม่ไหลผ่านสตาร์ทเตอร์อีก ทำให้โลหะไบเมทาลิคเย็นลง และแยกออกจากกัน ภาพที่ 6.12 ภายในสตาร์ทเตอร์คือหลอดก๊าซ ที่มา : http://www.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/howstuff1/fluorescentlamp/fluorescent-lampthai4.htm (สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2561) ขณะที่สตาร์ทเตอร์ต่อวงจรไฟฟ้า พลังงานจากไส้หลอดจะทำให้ก๊าซเกิดการไอออไนซ์ กลายเป็นตัวนำไฟฟ้า พลังงานที่ทำให้ก๊าซแตกตัวต้องมากพอ นั่นหมายความว่า แรงดันไฟฟ้าต้อง มาก จึงต้องอาศัยอุปกรณ์เพิ่มแรงดันไฟฟ้า ที่เรียกว่า บัลลาสต์ 4. บัลลาสต์เป็นขดลวดที่พันอยู่บนแกนเหล็ก ขณะกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจะเกิดการ เหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้น เมื่อแผ่นโลหะคู่ในสตาร์ทเตอร์ แยกตัวออกจากกันนั้น จะเกิดวงจรเปิดชั่วขณะ แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นในบัลลาสต์จึงทำ ให้เกิดความต่างศักย์ระหว่างไส้หลอดทั้งสองข้างสูงขึ้นเพียงพอ ที่จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไอ ปรอทจากไส้หลอดข้างหนึ่งไปยังไส้หลอดอีกข้างหนึ่งได้แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดจากบัลลาสต์ นั้นจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำไหลสวนทางกับกระแสไฟฟ้าจากวงจรไฟฟ้าในบ้าน ทำให้ กระแส ไฟฟ้าที่จะเข้าสู่วงจรของหลอดเรืองแสงลดลง


18 ภาพที่ 6.13 การต่อสตาร์ทเตอร์เข้าก้บบัลลาสต์ ที่มา : http://www.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/howstuff1/fluorescentlamp/fluorescent-lampthai4.htm (สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2561) บัลลาสต์เพิ่มแรงดันไฟฟ้า เพียงพอที่จะทำให้ก๊าซแตกตัวเป็นอิออน เรียกว่าสถานะนี้ว่า พลาสม่า กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ อิเล็กตรอนไหลออกจากไส้หลอดผ่านพลาสม่า จุดหลอดให้ติดขึ้น หลอดฟลูออเรสเซนต์ใน ยุคเริ่มต้น ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการจุด แต่ปัจจุบันเปิดแล้วสว่างทันที บัลลาสต์ ที่ขายกันอยู่ทั่วๆ ไป เป็นแบบแม่เหล็กทำด้วยขดลวด เมื่อกระแสไหลผ่าน จะเกิด สนามแม่เหล็ก ถ้ากระแสเพิ่มขึ้นสนามแม่เหล็กก็เพิ่มขึ้น จากกฎทางฟิสิกส์ มีกระแสไฟฟ้าไหล ย้อนกลับต้านการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก ด้วยเหตุผลนี้มันจึงสามารถควบคุมปริมาณ กระแสไฟฟ้าภายในหลอดได้


19 ข้อเสียของบัลลาสต์แบบแม่เหล็กคือ มีเสียงฮัมเกิดขึ้น ก่อให้เกิดความรำคาญ บางคนไม่ชอบ อย่างไรก็ตาม บัลลาสต์สมัยใหม่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมกระแสได้เที่ยงตรงและแม่นยำกว่า มากไม่มีเสียงฮัม ปัจจุบันมีหลอดฟลูออเรสเซนต์อยู่หลายแบบ และหลายรูปทรง แต่หลักพื้นฐานเหมือนกัน ทั้งสิ้น ใช้กระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นอะตอมของปรอท ทำให้มันปลดปล่อยรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต และไป กระตุ้นอะตอมของฟอสฟอรัส ให้แสงที่ตามองเห็นออกมา หลักการทำงานของหลอดเรืองแสง เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไอปรอทจะคายพลังงานไฟฟ้าให้อะตอมไอปรอท ทำให้อะตอมของไอ ปรอทอยู่ในสภาวะถูกกระตุ้น (Excited state) และอะตอมของปรอทจะคายพลังงานออกมาเพื่อลด ระดับพลังงานในรูปของรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งอยู่ในช่วงของแสงที่มองไม่เห็นเมื่อรังสีนี้กระทบสาร เรืองแสงที่ฉาบไว้ที่ผิวหลอด สารเรืองแสงจะเปล่งแสงสีต่างๆ ตามชนิดของสารเรืองแสงที่ฉาบไว้ใน หลอดนั้น เช่น แคดเมียมบอเรท (Cadmium borate) ให้แสงสีชมพูแคดเมียมซิลิเคท (Cadmium silicate) ให้แสงสีชมพูอ่อน แมกนีเซียมทังสเตท (Magnesium tungstate) ให้แสงสีขาวอมฟ้า แคลเซียมทังสเตท (Calcium tungstate) ให้แสงสีน้ำเงิน ซิงค์ซิลิเคท (Zinc silicate) ให้แสงสีเขียว ซิงค์เบริลเลียมซิลิเคท (Zinc Beryllium silicate) ให้แสงสีเหลืองนวล ข้อดีและข้อเสียของหลอดเรืองแสง ข้อดี 1. เมื่อให้พลังงานไฟฟ้าเท่ากันจะให้สว่างมากกว่าหลอดไฟฟ้าแบบธรรมดา ประมาณ 4 เท่า และมีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดไฟฟ้าธรรมดา ประมาณ 8 เท่า 2. อุณหภูมิของหลอดไม่สูงเท่ากับหลอดไฟฟ้าแบบธรรมดา 3. ถ้าต้องการแสงสว่างเท่ากับหลอดไฟฟ้าธรรมดา จะใช้วัตต์ที่ต่ำกว่า จึงเสียค่าไฟฟ้าน้อยกว่า ข้อเสีย 1. เมื่อติดตั้งจะเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าหลอดไฟฟ้าธรรมดา เพราะต้องใช้บัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ เสมอ 2. หลอดเรืองแสงมีการกระพริบเล็กน้อยไม่เหมาะในการใช้อ่านหนังสือ


20 ตัวเลขที่ปรากฏบนหลอดไฟฟ้าธรรมดาและหลอดเรืองแสงซึ่งบอกกำลังไฟฟ้า เป็นวัตต์(W) เป็นการบอกถึงปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปใน 1 วินาทีเช่น 20 W หมายถึง หลอดไฟฟ้านี้ใช้ พลังงานไป 20 จุลในเวลา 1 วินาทีดังนั้นหลอดไฟฟ้าและหลอดเรืองแสงที่มีกำลังไฟฟ้ามาก เมื่อใช้ งานก็ยิ่งสิ้นเปลืองกระแสไฟฟ้ามาก ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วย ปัจจุบันมีการผลิตหลอดไฟพร้อม อุปกรณ์ประกอบ เช่น บัลลาสต์แบบประหยัดพลังงานขึ้นมาใช้หลายชนิด เช่น หลอดตะเกียบ หลอด ผอม บัลลาสต์เบอร์5 เป็นต้น การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ ภาพที่ 6.14 วงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่มา : http://tumengkordai.blogspot.com/2013/03/blog-post.html (สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2561) ขั้นตอนการต่อวงจร 1. นำสายไฟต่อจากขั้วที่ 1 ของหลอดไฟไปต่อขั้วที่ 1 ของสตาร์ทเตอร์ 2. นำสายไฟต่อจากขั้วที่ 2 ของสตาร์ทเตอร์ไปต่อขั้วที่ 3 ของหลอดไฟ 3. นำสายไฟต่อจากขั้วที่ 4 ของหลอดไฟไปต่อขั้วที่ 2 ของบัลลาสต์ 4. นำสายไฟต่อจากขั้วที่ 1 ของบัลลาสต์ไปต่อขั้วที่ 2 ของสวิตช์ 5. นำสายไฟต่อจากขั้วที่ 2 ของหลอดไฟและสายไฟต่อขั้วที่ 1 ของสวิตช์ไปต่อกับแหล่งจ่าย ไฟฟ้า 220V


21 ภาพที่ 6.15 การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่มา : http://tumengkordai.blogspot.com/2013/03/blog-post.html (สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2561) ภาพที่ 6.15 การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่มา : http://tumengkordai.blogspot.com/2013/03/blog-post.html (สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2561)


22 ใบกิจกรรมที่ 6 แบบฝึกทักษะ เรื่อง การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามที่กำหนดให้ถูกต้อง 1. จงอธิบายเกี่ยวกับชนิดของหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. 2. ให้นักเรียนอธิบายการต่อหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………..


23 3. โครงสร้างของหลอดฟลูออเรสเซนต์มีลักษณะอย่างไร …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. 4. หลอดฟลูออเรสเซนต์มีหลักการทำงานอย่างไร …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. 5. หลอดฟลูออเรสเซนต์มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………..


24 6. จงอธิบายหลักการทำงานของสตาร์ทเตอร์ …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. 7. วงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………..


25 แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง : การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ รายวิชาการงานอาชีพ 2 (22101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 เวลา 10 นาที คำชี้แจง 1. แบบทดสอบฉบับนี้ จำนวน 10 ข้อ คะแนนเต็ม 10 คะแนน เวลาที่ใช้ 10 นาที 2. จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด แล้วเขียนเครื่องหมาย ลงในกระดาษคำตอบ 1. บ้านเรือนในประเทศไทยใช้แรงดันไฟฟ้ากี่ โวลต์ ก. 110 โวลต์ ข. 220 โวลต์ ค. 260 โวลต์ ง. 280 โวลต์ 2. โวลต์(Volt) เป็นหน่วยวัดปริมาณใดทาง ไฟฟ้า ก. ความถี่ ข. กระแสไฟฟ้า ค. แรงดันไฟฟ้า ง. ความต้านทานไฟฟ้า 3. สตาร์ทเตอร์ทำหน้าที่อะไร ก. ตัดและต่อวงจรสตาร์ทขณะเปิดไฟ ช่วยในการจุดติดไส้หลอด ข. เพิ่มระดับแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้นเพื่อ ช่วยในการจุดติดไส้หลอด ค. ลดแรงดันไฟฟ้าลงขณะจุดติด ไส้หลอด ง. ที่กล่าวมาไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง 4. สาเหตุใดหลอดไฟจึงติดๆ ดับๆ ก. บัลลาสต์เสีย ข. แรงดันไฟฟ้าตก ค. สตาร์ทเตอร์เสื่อม ง. ใช้บัลลาสต์ไม่ถูกขนาด 5. อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดใดทำหน้าที่ตัดต่อ วงจรไฟฟ้า ก. ฟิวส์ ข. ปลั๊ก ค. รีเลย์ ง. สวิตช์ 6. ชุดหลอดฟลูออเรสเซนต์ประกอบด้วย อุปกรณ์ต่างๆ ยกเว้นในข้อใด ก. หลอดไฟและขั้วหลอด ข. สวิทซ์ ค. สตาร์ทเตอร์ ง. บัลลาสต์ 7. บัลลาสต์ต่อแบบใดในวงจรหลอดฟลูออเรส เซนต์ ก. ต่อคร่อมสวิตซ์ ข. ต่อผสม ค. ต่อขนาน ง. ต่ออนุกรม


26 8. บัลลาสต์ทำหน้าที่อะไร ก. เป็นสวิตซ์อัตโนมัติในการจุดติด ไส้หลอด ข. เพิ่มแรงดันให้สูงขึ้นขณะเริ่มต้น จุดให้หลอดทำงาน ค. ลดแรงดันไฟฟ้าลงขณะจุดติด ไส้หลอด ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา 9. สตาร์ทเตอร์ต่อแบบใดในวงจรหลอดฟลูออ เรสเซนต์ ก. ต่อขนาน ข. ต่อผสม ค. ต่ออนุกรม ง. ต่อกับสวิตซ์ 10. หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบสั้น (หลอดผอม) มีขนาดกี่วัตต์ ก. 42 วัตต์ ข. 36 วัตต์ ค. 22 วัตต์ ง. 18 วัตต์


27 เฉลยใบกิจกรรมที่ 6 แบบฝึกทักษะ เรื่อง การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามที่กำหนดให้ถูกต้อง 1. จงอธิบายเกี่ยวกับชนิดของหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ - ชนิดของหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ มี 2 ชนิด คือ 1. หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน หลอดชนิดนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ 1.1 หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายในชนิดแกนเหล็ก คือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ได้รวมเอา บัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์อยู่ภายใน ผลิตขึ้นมาแทนหลอดไส้สามารถนำไปสวมกับขั้วหลอดไส้ชนิด เกลียวได้ทุกดวงได้ทันทีลักษณะของหลอดภายในเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดเล็กเป็นแท่งแก้ว ดัดโค้งเป็นรูปตัวยูมีเปลือกเป็นโคมทรงกระบอก มีชุดบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ปิดผนึกรวมกันอยู่ใน ชิ้นเดียวกันกับตัวหลอด 1.2 หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายในชนิดอิเล็คทรอนิกส์มีลักษณะเหมือนหลอดฟลูออเรส เซนต์บัลลาสต์ภายในชนิดแกนเหล็ก จะต่างกันที่เป็นหลอดประหยัดไฟขนาดเล็กที่ไม่มีโคมกระบอก ผลิตด้วยเทคโนโลยีล่าสุด ในการทำบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์อิเลคทรอนิกส์ซึ่งพัฒนารูปแบบของ หลอดให้ประหยัดและมีขนาดกระทัดรัดขึ้นกว่าเดิม ตัวหลอดเป็นแท่งแก้วโค้งเป็นรูปตัวยูหลายชุด และใช้เทคนิคพิเศษเชื่อมต่อกัน หลอดชนิดนี้จะติดทันทีโดยไม่กระพริบ 2. หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก ใช้หลักการเช่นเดียวกับหลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน แตกต่างกันที่หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก สามารถเปลี่ยนเฉพาะตัวหลอดได้ในการติดตั้งใช้งาน จะต้องมีขาเสียบเพื่อใช้กับบัลลาสต์ที่แยกออก หรือขาเสียบที่มีชุดบัลลาสต์รวมอยู่ด้วย 2. ให้นักเรียนอธิบายการต่อหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ 1. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมทั้งหลอดไฟ ขั้วหลอด สายไฟฟ้า กล่องไม้ปลั๊กตัวผู้ 2. ปอกสายไฟแล้วต่อเข้ากับฐานหลอด (ระวังอย่าให้สายไฟแตะกัน) แล้วเจาะตรงกลาง กล่องไม้นำปลายสายไฟอีกด้านหนึ่งสอดเข้าไป จากนั้นทำการขันสกรูยึดขั้วหลอดติดกับกล่องไม้ 3. ปอกปลายสายด้านที่เหลือ แล้วต่อเข้ากับปลั๊กตัวผู้(ระวังอย่าให้สายไฟแตะกัน) เมื่อเสร็จ แล้วประกอบฝาอีกข้างหนึ่งเข้าดังรูป 4. เมื่อต่อเสร็จแล้วนำหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์มาประกอบเข้ากับขั้วหลอด ทำการ ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง แล้วทำการทดลองเสียบปลั๊กไฟดูว่าหลอดติดหรือไม่


28 3. โครงสร้างของหลอดฟลูออเรสเซนต์มีลักษณะอย่างไร - โครงสร้างของหลอดฟลูออเรสเซนต์หลอดไฟฟ้าชนิดนี้ มีลักษณะแตกต่างไปจากหลอด ไฟฟ้าธรรมชาติชนิดไส้ กล่าวคือ ตัวหลอดทำด้วยแก้ว บางใสกลมยาวรูปทรงกระบอกหรือรูปวงกลม ภายในหลอดแก้วจะสูบอากาศออกเกือบหมด และบรรจุก๊าซอาร์กอนและปรอทไว้เล็กน้อย ที่ผิวด้าน ในของหลอดฉาบไว้ด้วยสารเคมีบางชนิดที่เปล่งแสงได้ เมื่อได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเลต สารเคมีที่มี สมบัติดังกล่าวนี้เรียกว่า สารเรืองแสง ที่เหลือไส้หลอดแต่ละข้างจะมีขั้วโลหะอาบน้ำยาเพื่อให้ กระจายอิเล็กตรอนได้ง่าย เมื่อได้รับความร้อนจากไส้หลอดขั้วโลหะเป็นขั้วไฟฟ้าที่เรียกว่า อิเล็กโทรด (Electrode) ซึ่งขั้วไฟฟ้าจะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อต่อกระแสไฟฟ้าจากวงจรภายนอกเข้าสู่ตัวหลอด การ ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ไม่สามารถต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าในบ้านได้โดยตรงเหมือนกับหลอดไฟฟ้า ธรรมดา เพราะจะทำให้หลอดไส้ขาดทันทีที่กระแสไฟฟ้าผ่าน ดังนั้นจึงต้องใช้ต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่น อีก ได้แก่ สตาร์ทเตอร์ และบัลลาสต์หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp) ทำด้วย หลอดแก้วที่สูบอากาศออกจนหมด แล้วบรรจุไอปรอทไว้เล็กน้อย มีไส้ที่ปลายหลอดทั้งสองข้าง หลอดเรืองแสงอาจทำด้วยหลอดตรง หรือครึ่งวงกลมก็ได้ 4. หลอดฟลูออเรสเซนต์มีหลักการทำงานอย่างไร - หลักการทำงานของหลอดฟลูออเรสเซนต์ มีดังนี้เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไอปรอทจะคาย พลังงานไฟฟ้าให้อะตอมไอปรอท ทำให้อะตอมของไอปรอทอยู่ในสภาวะถูกกระตุ้น (Excited state) และอะตอมของปรอทจะคายพลังงานออกมาเพื่อลดระดับพลังงานในรูปของรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งอยู่ในช่วงของแสงที่มองไม่เห็นเมื่อรังสีนี้กระทบสารเรืองแสงที่ฉาบไว้ที่ผิวหลอด สารเรืองแสง จะเปล่งแสงสีต่างๆ ตามชนิดของสารเรืองแสงที่ฉาบไว้ในหลอดนั้น เช่น แคดเมียมบอเรท (Cadmium borate) ให้แสงสีชมพูแคดเมียมซิลิเคท (Cadmium silicate) ให้แสงสีชมพูอ่อน แมกนีเซียมทังสเตท (Magnesium tungstate) ให้แสงสีขาวอมฟ้า แคลเซียมทังสเตท (Calcium tungstate) ให้แสงสีน้ำเงิน ซิงค์ซิลิเคท (Zinc silicate) ให้แสงสีเขียว ซิงค์เบริลเลียมซิลิเคท (Zinc Beryllium silicate) ให้แสงสีเหลืองนวล


29 5. หลอดฟลูออเรสเซนต์มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร ข้อดีของหลอดฟลูออเรสเซนต์ 1. เมื่อให้พลังงานไฟฟ้าเท่ากันจะให้สว่างมากกว่าหลอดไฟฟ้าแบบธรรมดา ประมาณ 4 เท่า และมีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดไฟฟ้าธรรมดา ประมาณ 8 เท่า 2. อุณหภูมิของหลอดไม่สูงเท่ากับหลอดไฟฟ้าแบบธรรมดา 3. ถ้าต้องการแสงสว่างเท่ากับหลอดไฟฟ้าธรรมดา จะใช้วัตต์ที่ต่ำกว่า จึงเสียค่าไฟฟ้า น้อยกว่า ข้อเสียของหลอดฟลูออเรสเซนต์ 1. เมื่อติดตั้งจะเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าหลอดไฟฟ้าธรรมดา เพราะต้องใช้บัลลาสต์และ สตาร์ทเตอร์เสมอ 2. หลอดเรืองแสงมีการกระพริบเล็กน้อยไม่เหมาะในการใช้อ่านหนังสือ 6. จงอธิบายหลักการทำงานของสตาร์ทเตอร์ - สตาร์ทเตอร์ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ไฟฟ้าอัตโนมัติของวงจร โดยต่อขนานกับหลอด ด้วย หลอดแก้วภายในบรรจุก๊าซนีออนและแผ่นโลหะคู่ที่งอตัวได้เมื่อได้รับความร้อน เมื่อกระแสไฟฟ้า ผ่านก๊าซนีออน ก๊าซนีออนจะติดไฟเกิดความร้อนขึ้น ทำให้แผ่นโลหะคู่งอจนแตะติดกันทำให้ กลายเป็นวงจรปิดทำให้กระแสไฟฟ้าผ่านแผ่นโลหะได้ครบวงจร ก๊าซนีออนที่ติดไฟอยู่จะดับและเย็น ลง แผ่นโลหะคู่จะแยกออกจากกัน ทำให้เกิดความต้านทานสูงขึ้นอย่างทันทีซึ่งขณะเดียวกัน กระแสไฟฟ้าจะผ่านไส้หลอดได้มากขึ้น ทำให้ไส้หลอดร้อนขึ้นมาก ปรอทก็จะเป็นไอมากขึ้นจนพอที่ นำกระแสไฟฟ้าได้


30 7. วงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง - หลอดเรืองแสงหรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp) ทำด้วยหลอดแก้วที่สูบ อากาศออกจนหมดแล้วบรรจุไอปรอทไว้เล็กน้อย มีไส้ที่ปลายหลอดทั้งสองข้าง หลอดเรืองแสงอาจ ทำด้วยหลอดตรง หรือครึ่งวงกลมก็ได้ ส่วนประกอบและการทำงานของหลอดเรืองแสง มี ดังนี้ 1. ตัวหลอด ภายในสูบอากาศออกจนหมดแล้วบรรจุไอปรอทและก๊าซอาร์กอนเล็กน้อย ผิวด้านในของหลอดเรืองแสงฉาบด้วยสารเรืองแสงชนิดต่างๆ แล้วแต่ความต้องการให้เรืองแสงเป็นสี ใด เช่น ถ้าต้องการให้เป็นสีเขียว ต้องฉาบด้วยสารซิงค์ซิลิเคต แสงสีขาวแกมฟ้าฉาบด้วยแมกนีเซียม ทังสเตน แสงสีชมพูฉาบด้วยแคดเมียมบอเรต เป็นต้น 2. ไส้หลอด ทำด้วยทังสเตนหรือวุลแฟรมอยูที่ปลายทั้งสองข้าง เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไส้ หลอดจะทำให้ไส้หลอดร้อนขึ้น ความร้อนที่เกิดขึ้นจะทำให้ไอปรอทที่บรรจุไว้ในหลอดกลายเป็นไอ มากขึ้น แต่ขณะนั้นกระแสไฟฟ้ายังผ่านไอปรอทไม่สะดวก เพราะปรอทยังเป็นไอน้อยทำให้ ความต้านทานของหลอดสูง 3. สตาร์ทเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ไฟฟ้าอัตโนมัติของวงจร โดยต่อขนานกับหลอด ด้วยหลอดแก้วภายในบรรจุก๊าซนีออนและแผ่นโลหะคู่ที่งอตัวได้ เมื่อได้รับความร้อน เมื่อ กระแสไฟฟ้าผ่านก๊าซนีออน ก๊าซนีออนจะติดไฟเกิดความร้อนขึ้น ทำให้แผ่นโลหะคู่งอจนแตะติดกัน ทำให้กลายเป็นวงจรปิดทำให้กระแสไฟฟ้าผ่านแผ่นโลหะได้ครบวงจร ก๊าซนีออนที่ติดไฟอยู่จะดับ และเย็นลง แผ่นโลหะคู่จะแยกออกจากกัน ทำให้เกิดความต้านทานสูงขึ้นอย่างทันทีซึ่งขณะเดียวกัน กระแสไฟฟ้าจะผ่านไส้หลอดได้มากขึ้น ทำให้ไส้หลอด ร้อนขึ้นมาก ปรอทก็จะเป็นไอมากขึ้นจนพอที่ นำกระแสไฟฟ้าได้ 5. บัลลาสต์ เป็นขดลวดที่พันอยู่บนแกนเหล็ก ขณะกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจะเกิดการ เหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้น เมื่อแผ่นโลหะคู่ในสตาร์ทเตอร์ แยกตัวออกจากกันนั้นจะเกิดวงจรเปิดชั่วขณะ แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นในบัลลาสต์จึงทำ ให้เกิดความต่างศักย์ระหว่างไส้หลอดทั้งสองข้างสูงขึ้นเพียงพอ ที่จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไอ ปรอทจากไส้หลอดข้างหนึ่งไปยังไส้หลอดอีกข้างหนึ่งได้ แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดจาก บัลลาสต์นั้นจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำไหลสวนทางกับกระแสไฟฟ้า ทำให้กระแสไฟฟ้าที่ วงจรไฟฟ้าในบ้าน ทำให้กระแสไฟฟ้าที่เข้าสู่วงจรของหลอดเรืองแสงลดลง


31 เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การต่อหลอดฟลูออเรสเซนต์ คำตอบแบบทดสอบก่อนเรียน คำตอบแบบทดสอบหลังเรียน ข้อที่ คำตอบ ข้อที่ คำตอบ 1 ข 1 ข 2 ก 2 ค 3 ง 3 ก 4 ค 4 ค 5 ก 5 ก 6 ง 6 ข 7 ค 7 ง 8 ก 8 ข 9 ข 9 ก 10 ค 10 ง


32 บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 2551. ประธาน รักปรางค์ และคณะเรียบเรียง. งานช่าง 3 ม.3. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์เอมพันธ์. 2555. เพ็ญพร ประมวลสุข. การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.2. กรุงเทพมหานคร. อักษรเจริญทัศน์. 2557. มนตรี สมไร่ขิง. ชุดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างกระบวนการทำงานช่าง ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3). นครปฐม. โรงเรียนรัตนสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายาในพระสังฆราชูปถัมภ์. 2551. สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด , 2555. สันทัด สุทธิพงษ์. งานช่าง ม 1-3. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์แม็ค. 2555. อรุณี ลิมศิริ และคณะ. การงานอาชีพและเทคโนโลยี ม.1 เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช. 2557. https://sites.google.com/site/pongpipat3110/-6 http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/electric3/pan10.htm https://th.wikipedia.org/wiki/หลอดฟลูออเรสเซนต์ http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/sudarat_nok/sec04p03.html http://www.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/howstuff1/fluorescentlamp/fluorescent-lampthai6.htm http : // stmath09.files.wordpress.com/2015/07/5064


Click to View FlipBook Version