The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การดูแลผู้ป่วยพฤติกรรมรุนแรงและ การจำกัดพฤติกรรม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chaniyanan99, 2022-07-23 11:20:36

การดูแลผู้ป่วยพฤติกรรมรุนแรงและ การจำกัดพฤติกรรม

การดูแลผู้ป่วยพฤติกรรมรุนแรงและ การจำกัดพฤติกรรม

การดูแลผู้ป่วยพฤติกรรมรุนแรง



และการจำกัดพฤติกรรม

คลินิกจิตเวชฉุกเฉิน โรงพยาบาลสวนสราญรมย์

พฤติกรรมรุนแรง
(VIOLENT BEHAVIOR)

ความหมาย :
เป็นการแสดงออกของแรงขับก้าวร้าว

(AGGRESSIVE DRIVE) เพื่อมุ่งทำลาย

บุคคลจะแสดงออกถึงการขาดสติ ขาด

การควบคุมตนเอง และไม่สามารถสื่อ

ความต้องการของตนเองในทางที่เหมาะ

สมได้ มีการกระทำหรือพฤติกรรมที่

แสดงออกอย่างรุนแรง ทั้งทางวาจาหรือ

ทางกาย ที่เป็นอันตรายต่อบุคคลอื่น ต่อ

ตนเอง หรือสิ่งแวดล้อม

ลักษณะของพฤติกรรมรุนแรง

แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะได้แก่

1.พฤติกรรมรุนแรงต่อสิ่งของ ได้แก่ ทุบทำลาย

สิ่งของเครื่องใช้ ทุบกระจก จุดไฟเผา

2.พฤติกรรมรุนแรงต่อคนอื่น หาเรื่องวิวาททำร้าย

และละเมิดสิทธิผู้อื่น โดยการกัด การตี การผลัก และ


การใช้อาวุธทำร้ายคนอื่นให้ได้รับบาดเจ็บ
3.พฤติกรรมรุนแรงต่อตนเอง เช่น จุดไฟเผาตนเอง


การฆ่าตัวตาย เป็นต้น

การจัดการกับผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรง





เป้าหมายหลักคือ



** รักษาความปลอดภัยของชีวิต /ทรัพย์สิน **
เป้าหมายรองคือ



ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับภาวะ

อารมณ์ของตนได้

รูปแบบการจัดการในผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรง

1. การจัดการด้วยวาจา : การสร้างสัมพันธภาพ การเปิด

โอกาสให้ระบายความรู้สึก การเจรจาต่อรอง



2 .การจัดการด้านกายภาพ : ใช้ยาฉีด การผูกมัด
(ต้องปฏิบัติด้วยความเมตตา ไม่ใช่การลงโทษ)



3. การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม : ลดการกระตุ้นจากสิ่ง

แวดล้อม

แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผูกยึด

การผูกยึดผู้ป่วย เกิดขึ้นได้เสมอในการดูแลรักษาผู้ป่วยในโรง

พยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลจิตเวช ในการดูแลผู้ป่วยที่มีความ

บกพร่องของสภาพจิตผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรง ผู้ป่วยที่ไม่

สามารถควบคุมตนเองได้ หรือผู้ป่วยที่มีภาวะเพ้อสับสนจากโรค

ทางกาย/จากภาวะถอนพิษสุรา (DELIRIUM) บางครั้งจำเป็นต้อง

มีการผูกยึดผู้ป่วยเพื่อช่วยรักษาหรือป้องกันการบาดเจ็บหรือ

อันตรายต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหรือบุคลากรทางการ

แพทย์ (นันทวัช และคณะ, 2552)ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่

เหมาะสมและทันท่วงทีช่วยลดอันตรายด้านต่างๆ และการบาดเจ็บ

ที่อาจจะเกิดต่อผู้ป่วยและผู้อื่นลงได้

ข้อบ่งชี้ของการจำกัดพฤติกรรมโดยการผูกยึด

-ผู้ป่วยมีพฤติกรรมรุนแรง ควบคุมตนเองไม่ได้ มีอาการ
สับสน หรือผู้ป่วยโรคทั่วไปที่ไม่รู้สึกตัว ไม่ให้ความร่วมมือ
ในการรักษา
-ใช้ในภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยทำร้ายตนเอง
และผู้อื่น
-เพื่อป้องกันการทำลายทรัพย์สิน หรือสิ่งของ เนื่องจาก
พฤติกรรมรุนแรง
-ใช้ป้องกันการทำร้ายตนเอง ในผู้ป่วยที่ไม่สนองต่อการ
รักษาด้วยวิธีอื่น
-เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อน

การดูแลก่อนการผูกยึด

รวบรวมข้อมูลเพื่อตัดสินใจผูกยึด



# ด้านผู้ป่วย สัญญาณเตือนแนวโน้ม

พฤติกรรมรุนแรง

# ด้านสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ผู้ป่วยจะใช้เป็นอาวุธ

เสียง แสง

แนวทางปฏิบัติระหว่างบุคลากรในทีม

1.มีหัวหน้าทีมสั่งการเพียง 1 คนเท่านั้น โดยยึด
แนวทางที่ตกลงร่วมกันไว้
2.มีสมาชิกในทีมประมาณ 4-5 คน โดย 4 คน
อยู่ด้านหลังหัวหน้าทีม อีก 1 คนเป็นหัวหน้าทีม
เป็นผู้จัดการสถานการณ์ ต่อรอง สั่งการ
3. มีท่าทีที่สงบ แสดงถึงความเข้าใจ เห็นใจ และ
ตั้งใจช่วยเหลือ

แนวทางการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของทีม

1.ดูแลผู้รับบริการให้อยู่ในสายตา
2. แน่ใจว่าประตูห้องไม่ได้ล็อคหรือปิด
3. หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในที่ที่เป็นทางปิด /


ตัน
4. อยู่ห่างจากผู้รับบริการประมาณ 8 ฟุต

5. หลีกเลี่ยงการจัดการตามลำพัง
6.ใช้กลยุทธ์ชะลอเวลาและใช้ไหวพริบในการแก้

ปัญหาเฉพาะหน้า

ข้อห้ามของการจำกัดพฤติกรรม

1.ห้ามใช้การผูกยึดเป็นการทำโทษผู้ป่วย



2.ห้ามใช้การผูกยึดแทนการรักษา



3.ห้ามใช้การผูกยึดเพื่ อตอบโต้พฤติกรรมไม่พึ ง

ประสงค์



4.ห้ามใช้การผูกยึดเพื่ อความสะดวกของทีมงาน



5.ห้ามใช้การผูกยึดเพื่อตอบโต้ ผู้ป่วยที่ปฏิเสธ ไม่

ยอมรับการรักษา

การดูแลขณะผูกยึด

1.ตรวจเยี่ยม/ปรับเปลี่ยนอิริยาบถของผู้รับบริการทุก 30

นาที ถึง 1 ชั่วโมง



2. ความต้องการพื้นฐาน : ดูแลเรื่องอาหาร น้ำ การขับถ่าย

และความสุขสบาย / ป้องกันอุบัติเหตุ(ยกไม้กั้นเตียง)


3. สื่อสาร : เน้นให้ข้อมูลสาเหตุที่ผูกยึด / ทำข้อตกลง


4. ประเมินความพร้อมของการยุติการจำกัดพฤติกรรม


5. การจำกัดพฤติกรรมแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 12 ชั่วโมง

การยุติการจำกัดพฤติกรรม

1.ผู้รับบริการมีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวลดลง



2. ผู้รับบริการควบคุมอารมณ์ได้คงที่



3. ผู้รับบริการมีกระบวนการคิดกลับคืนสู่ภาวะปกติ

พึงระลึกเสมอว่า...



การปฏิบัติต่อผู้รับบริการทุกครั้ง
ต้องคำนึงถึงการให้เกียรติ

เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

จัดทำโดย

คลินิกจิตเวชฉุกเฉิน รพ.สวนสราญรมย์


Click to View FlipBook Version