กลุ่มมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนที่เป็นสมาชิกทั้งพฤติกรรม ภายนอกและพฤติกรรมภายในการ การปฏิสัมพันธ์ของคนในกลุ่มมีผลต่อ พฤติกรรมของสมาชิก สําคัญที่ให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางสังคมที่ บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่มขนาดเล็กคือ เคิร์ก เลวิน(Kurt Lewin อ้างถึง ในโยธิน ศันสนยุทธ & จุมพล พูลภัทรชีวิน, 2529, น. 87) ในที่นี้ผู้เขียนจะ กล่าวถึง หัวข้อต่อไปนี้คือ 1) ความหมายของกลุ่ม 2) เหตุผลที่คนเข้ากลุ่ม และ 3) พฤติกรรมของบุคคลในกลุ่ม 1. ความหมายของกลุ่ม ในที่นี้ผู้เขียนขอเสนอความหมายของกลุ่มในความหมายทางจิตวิทยา ดังนี้ มาร์วิน ชอว์ (Marvin Shaw, 1981) กล่าวว่า “กลุ่ม คือ คนตั้งแต่สอง คนหรือมากกว่านั้นที่มี ปฏิสัมพันธ์กันและมีอิทธิพลต่อกัน”สิทธิโชค วรานุสันุสันติกูล (2546, น. 228) สรุปความหมายของกลุ่มจาก นิยามของนักจิตวิทยาสังคม ไว้ว่า กลุ่ม หมายถึง การรวมตัวของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปแล้วมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างสม่ําเสมอในช่วง เวลาหนึ่ง มี บรรทัดฐานรวมกัน และมีเอกลักษณ์เณ์ดียวกัน คนเหล่านี้มีการรับรู้ในตนเอง ว่า พวกเขาขึ้นต่อ กันและกันในอันที่จะปฏิบัติการเพื่อบรรลุเป้าป้หมายร่วมกัน ของเขาเหล่านั้น นอกจากนี้ชอว์ผู้เชี่ยวชาญด้านพลวัตกลุ่ม กล่าวไว้ว่า กลุ่มทุกแบบมี ลักษณะทั่วไปเหมือนกันคือ สมาชิกของกลุ่มมีการปฏิสัมพันธ์กัน และจอห์น เทิร์นเนอร์ (John Turner, 1987) ระบุว่า สมาชิกกลุ่มมี การรับรู้ว่าตัวเอง เป็น “พวกเรา” กับ “พวกเขา” พฤติกรรมของบุคคลและบุคคลในกลุ่ม ลุ่
หากมีคําถามว่าคนหลายๆ คนยืนรอรถประจําทางอยู่ด้วยกันหรือ นักศึกษาที่อ่านหนังสือหรือ ทํางานในห้องสมุดแบบไม่มีการปฏิสัมพันธ์กัน เป็นกลุ่มหรือไม่ เมื่อพิจารณาตามความหมายของชอว์และเทิร์นเนอร์ การ รวมตัวของคนที่ยืนรอรถประจําทางหรือนักศึกษาที่อ่านหนังสือในห้องสมุด ไม่เป็นกลุ่ม เพราะการรวมตัวนั้นแต่ละคนไม่มีปฏิสัมพันธ์และไม่มีอิทธิพล ต่อกัน และไม่มีลักษณะของ “พวกเรา”สรุป กลุ่มหมายถึงการรวมตัวกันของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป มี ปฏิสัมพันธ์ต่อกันในช่วงเวลาหนึ่ง รับรู้ว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม 2. เหตุผลที่คนเข้ากลุ่ม ทําไมคนจึงเข้ากลุ่ม คําถามนี้อาจตอบได้หลายระดับ ฟิลด์แมน (Feldman, 1985, pp. 371-375) อธิบายสาเหตุที่คนเข้าร่วมกลุ่มดังนี้ (อ้าง ถึงใน สิทธิโชค วรานุสันุสันติกุล, 2546, น. 225-227) 2.1 เป้าป้หมายของกลุ่มหรือกิจกรรมของกลุ่มมีความน่าดึงดูดใจ สาเหตุประการแรกที่ทําให้คน อยากเข้ากลุ่มเกิดจากกิจกรรมหรือเป้าป้หมาย ของกลุ่มสามารถตอบสนองความต้องการที่มีความหมายและมีความสําคัญ บางอย่างของเขาได้ นอกจากนี้อาจจะเกิดจากตนเองมีความต้องการบาง อย่างแต่ไม่สามารถดําเนินการได้โดยลําพัง เพราะงานใหญ่หรือมีความซับ ซ้อนหรือทําได้แต่ไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับเข้าร่วม กับคนอื่นที่มีความ ต้องการเหมือนกันแล้วร่วมกันทํา ด้วยเหตุนี้กลุ่มที่เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ ทํากิจกรรมอันนําไปสู่การบรรลุเป้าป้หมายของตนจึงเป็นกลุ่มที่มีพลังความ ดึงดูดใจสมาชิกมากขึ้น 2.2 ความชอบพอกันและกันในหมู่สมาชิกของกลุ่ม คนอาจเข้าเป็น สมาชิกกลุ่มเนื่องจากรู้สึกชอบพอกับสมาชิกกลุ่มหรืออาจกล่าวได้ว่าสมาชิก กลุ่มมีลักษณะดึงดูดบางประการ สาเหตุที่ทําให้คนเกิด ความชอบพอกัน และกัน ได้แก่ ความคล้ายคลึงกันทางความคิด ค่านิยม การอยู่ใกล้ชิดกัน ความมีเสน่ห์ ของบุคลิกภาพหรือการแลกเปลี่ยนความมีประโยชน์ต่น์ ต่อกัน
2.3 สามารถตอบสนองความต้องการทางสังคมและอารมณ์ขณ์องตนเอง คนเรามีความต้องการ ที่จะเปรียบเทียบกับคนอื่นในด้านความคิดเห็น เจตคติ ความเชื่อและอารมณ์ เพื่อจะได้รู้ว่าถูกต้องเหมาะสม หรือไม่ ควรทํา ตัวอย่างไรโดยเฉพาะเมื่อไม่มีมาตรฐานการเปรียบเทียบหรือมีแต่ไม่ชัดเจน เราจะอาศัยการ เปรียบเทียบกับคนอื่นเพื่อเป็นข้อมูลการประเมินสําหรับ ตนเอง จึงกล่าวได้ว่าความต้องการจะเข้าร่วมกลุ่มมีอยู่ในตัวมนุษนุย์ 3. พฤติกรรมของบุคคลในกลุ่ม เมื่อบุคคลอยู่ในกลุ่มเขาจะประพฤติตัวแตกต่างจากเมื่ออยู่ลําพัง คํา ถามซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทางจิตวิทยาสังคมคือผู้อื่นมีอิทธิพลต่อ พฤติกรรมของเราในลักษณะใด ในที่นี้จะอธิบายถึงตัวอย่าง ของอิทธิพลร่วม 3 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ 1) การหนุนนุทางสังคมและการยับยั้งทางสังคม 2) การ ออมแรงทางสังคม และ 3) ประสิทธิผลการแก้ปัญหาและการเรียนรู้ของ บุคคลกับกลุ่ม 3.1 การหนุนนุทางสังคม (Social Facilitation) และการยับยั้งทาง สังคม (Social Inhibition) การศึกษาเกี่ยวกับการหนุนนุทางสังคมนับ เป็นการศึกษาแรกๆ ทางจิตวิทยาสังคม การศึกษาภาคสนามของทริพเพล็ทท์ (Triplett, 1898) พบว่า นักขี่ จักรยานจะขี่จักรยานเร็วขึ้น เมื่อมีผู้อื่นอยู่ด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับการขี่ จักรยานตามลําพัง และการทดลองในห้องทดลองเพื่อทดสอบ ข้อสังเกตดัง กล่าว โดยบอกให้เด็กๆ ม้วนเอ็นคันเบ็ดตกปลาให้เร็วที่สุด ปรากฏว่าเมื่อ ม้วนเอ็นคันเบ็ด ตกปลาพร้อมกับคนอื่นๆ เด็กม้วนได้เร็วกว่าเมื่อทํางานคน เดียว การทดลองลําดับต่อๆ มาปรากฏผลเช่นเดียวกัน
จึงสรุปได้ว่า การมีผู้อื่นอยู่ด้วยในขณะที่บุคคลทํางานจะทํางานมี ประสิทธิภาพดีกว่าการทํางาน คนเดียว ซึ่งในภายหลังฟรอยด์ อัลล์พอร์ท เรียกปรากฏการณ์นี้ณ์ นี้ว่าการหนุนนุทางสังคม อย่างไรก็ตาม การศึกษาของนักวิชาการอื่นๆ มีการค้นพบที่ขัดแย้งกัน กล่าวคือ การมีคนอื่นอยู่ ด้วยหรือการปรากฏตัวของผู้อื่นทําให้บุคคลทํางาน บางอย่างผิดพลาดมากขึ้น ผลงานแย่ลง ช้าลง เช่น การ มีคนอื่นอยู่ด้วยทํา ให้การคํานวณที่ยากๆ ต้องใช้เวลามากขึ้น การเดินทางในเขาวงกตช้าลง ผล การศึกษา ที่ขัดแย้งกันนี้ทําให้เกิดความสับสนในวงวิชาการเป็นอย่างมาก ในเวลาต่อมา โรเบิร์ต ซาจองค์ (Robert Zajonc, 1965) ได้ทบทวนผลการ ศึกษาที่ขัดแย้งกัน ของการหนุนนุทางสังคมและตั้งข้อสังเกตว่า การมีผู้อื่นอยู่ ด้วยอาจทําให้เกิดการหนุนนุหรือและบางครั้งเป็นอุปสรรคต่อการกระทําของ บุคคลเมื่อเปรียบเทียบกับการกระทําตามลําพัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของงา นที่ทํา กล่าวคือ ถ้างานที่ทําเป็นงานง่ายที่บุคคลทําได้คล่องอยู่แล้วการหนุนนุจากสังคมก็จะเกิดขึ้น แต่ถ้างาน ที่ทําเป็นงานยากมีความซับซ้อนหรือเป็น งานที่บุคคลยังทําไม่คล่องการยับยั้งทางสังคมก็จะเกิดขึ้น ซึ่งทําให้ ผลงานที่ ออกมามีคุณภาพต่ำ กว่าทําตามลําพัง กล่าวโดยสรุป การมีผู้อื่นอยู่ด้วยช่วยหนุนนุให้บุคคลทํางานง่ายๆ หรือ ทํางานที่ถนัดได้ง่ายขึ้น แต่เป็นอุปสรรคหรือยับยั้งการทํางานที่มีความยากๆ ความซับซ้อนนั่นเอง
3.2 การออมแรงทางสังคม (Social Loafing) นักจิตวิทยาสังคมสนใจ ศึกษาว่าการทํางานตามลําพังกับการทํางานร่วมกันกับผู้อื่นและได้รับการ ประเมินผลงานเป็นกลุ่ม เราออกแรงในการทํางานเท่ากันหรือไม่ นักวิจัยชื่อแมคซ์ริงเกลมาน (Max Ringlemann) (โยธิน ศันสนยุทธ และจุมพล พูลภัทรชีวิน 2529, น. 97) ได้ทําการทดลองพบว่า เมื่อคนหลาย คนทํางานร่วมกันแต่ละคนจะลดความพยายามของตนลง ริงเกลมานได้บอกให้ผู้รับการทดลองดึงเชือก (กิจกรรมชักเย่อ) อย่างเต็มกํา ลังและวัดความพยายามของ แต่ละคน ในขณะที่ดึงเชือกคนเดียว ดึงเชือก โดยมีคนช่วยอีกหนึ่งคน ดึงเชือกโดยมีคนช่วยอีกสอง และ ดึงเชือกโดยมี คนช่วยอีกเจ็ดคน ปรากฏว่ายิ่งมีคนมากแต่ละคนจะออกแรงในการทํางาน ลดลงเป็นลําดับ ภาพ การทดลองดึงเชือก-การออมแรงทางสัง สั คม บิบบ์ ลาทาเน่ (Bibb Latane, 1981 อ้างถึงใน โยธิน ต้นสนยุทธ และ จุมพล พูลภัทรชีวิน, 2529, น. 98) เรียกปรากฏการณ์นี้ณ์ นี้ว่าการออมแรงทาง สังคม การออมแรงทางสังคมเกิดขึ้นในระหว่างที่มีการร่วม กันทํากิจกรรม ของกลุ่มและทุกคนได้ผลตอบแทนเท่ากัน สมาชิกแต่ละคนลดความ พยายามลง เนื่องจาก เห็นผู้อื่นร่วมทํากิจกรรมอยู่ด้วยจึงทําให้เกิดการกระ จายความรับผิดชอบ ซึ่งทําให้สมาชิกเอาเปรียบผู้อื่นด้วยการออมแรง
3.3 ประสิทธิผลการแก้ปัญหาและการเรียนรู้ของบุคคลกับกลุ่ม (individual versus group performance) โยธิน ศันสนยุทธ และจุมพล พูลภัทรชีวิน (2529, น. 98-99) ได้เสนอผลการแก้ปัญหา และการเรียนรู้ ของบุคคลกับกลุ่มดังนี้ ชอว์ (Shaw, 1932) ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการแก้ปัญหา ของบุคคลกับการแก้ปัญหา ของกลุ่ม พบว่า กลุ่มสามารถตอบคําถามหรือแก้ ปัญหาได้ถูกต้องมากกว่าบุคคล ซึ่งชอว์ได้อธิบายว่าเป็น เพราะใน สถานการณ์กณ์ลุ่มได้มีการตรวจสอบที่ผิดและขจัดข้อเสนอที่ไม่ถูกต้องของ กลุ่ม นอกจากนี้เขายัง พบว่า หากมีสมาชิกคนใดทําผิดหรือตอบผิด สมาชิก คนอื่นๆ ของกลุ่มจะพบคําตอบหรือข้อเสนอที่ผิดนั้น และช่วยแก้ได้ การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการเรียนรู้ของบุคคลกับกลุ่ม ยู เกอร์ (Yuker, 1955) ได้ทดลองเกี่ยวกับการจำ เนื้อเรื่อง ผู้รับการทดลอง 160คนฟังเรื่องเล่าเรื่อง " War of the Ghosts” หลังจากฟังจบแล้ว ผู้รับการ ทดลองต้องเล่าเรื่องที่ได้ฟังเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มจะ ทดลองเกี่ยวกับการจําเนื้อเรื่อง ผู้รับการทดลอง 160 คนฟังเรื่องเล่า เรื่อง “War of the Ghosts” หลัง เรียนได้ดีกว่ารายบุคคลในงานที่มีลักษณะ ดังนี้ (1) บุคคลหลายคนสามารถทํางานได้โดยไม่เป็นอุปสรรค ต่อผู้อื่น (2) สามารถถูกทําได้โดยรวมเอาผลงานของแต่ละคนเข้าด้วยกัน และ (3) อย่าง น้อน้ยบางส่วนของ คําตอบของปัญหาไม่ขึ้นต่อกัน ผลการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนของบุคคลกับกลุ่มมีความสอดคล้องกัน อย่างมากในการแสดงว่า กลุ่มเรียนรู้ได้เร็วกว่ารายบุคคลทั้งในสถานการณ์ ตามธรรมชาติ (Barton, 1926) และในสถานการณ์ห้ณ์ ห้อง ทดลอง (Beaty & Shaw, 1965; Perlmutter & DeMontmolin, 1952; Yuker, 1955) โดยสรุป การมีผู้อื่นอยู่ด้วยมีผลต่อพฤติกรรมของบุคคลทั้งในลักษณะ ของการหนุนนุทางสังคม ยับยั้งทางสังคมและการออมแรงทางสังคม อย่างไร ก็ตามการแก้ปัญหาและการเรียนรู้แบบกลุ่มมีประสิทธิผล มากกว่ารายบุคคล
จิตวิทยานั้นเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษนุย์ในระดับ บุคคล (Individual) การศึกษาและพัฒนาศาสตร์ด้านจิตวิทยาอย่างต่อ เนื่อง พบว่า ปัจจัยทางชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมล้วนแล้วแต่มี อิทธิพลต่อ พฤติกรรมมนุษนุย์ทั้งสิ้น จึงได้มีการพัฒนาศึกษาจิตวิทยาในแขนงต่างๆ อย่างกว้างขวาง ศาสตร์ ด้านจิตวิทยาชุมชน (Community Psychology) นับเป็นศาสตร์หนึ่งที่เชื่อมโยงบุคคล (Individual) เข้ากับชุมชน (Community) ช่วยให้เห็นถึงบริบทของสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีความ สัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อ พฤติกรรมของบุคคล ในบทนี้จะเน้นน้ศึกษา จิตวิทยาชุมชนเพื่อประยุกต์ในการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ ส่วนแรกนี้จะ กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของสาขาจิตวิทยาชุมชนเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักและ เข้าใจบริบทความเป็นมาในสาขาจิตวิทยาชุมชนมากขึ้น 1. ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยาชุมชน จุดเริ่มต้นการเกิดขึ้นของจิตวิทยาชุมชนเกิดขึ้นในหลายประเทศ รวม ถึงในประเทศสหรัฐอเมริกา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีทหารที่ปลดประ จําการจากกองทัพเป็นจํานวนมากที่ผ่านสงครามและประสบ ปัญหาวิกฤติ ด้านจิตใจแล้วต้องกลับมาใช้ชีวิตเป็นพลเรือน การช่วยเหลือเยียวยาด้าน จิตใจโดยจิตแพทย์และนักจิตวิทยามีความสําคัญอย่างยิ่งในการช่วยเหลือ และการฟื้นฟูจิตใจให้บุคคลสามารถปรับตัวเพื่อกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ สุข ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวได้รับการสนับสนุนนุงบประมาณในการวิจัยและฝึก อบรม จากหน่วยงานต่างๆ จํานวนมากในปี ค.ศ. 1946 มีการจัดตั้งสถาบัน สุขภาพจิตแห่งชาติ The National Institute of Mental Health (NIMH) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะที่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สังคมมีการ เปลี่ยนแปลงและปฏิรูปคุณภาพของงานบริการด้านสุขภาพจิต โดยมุ่งเน้นน้การลดขนาดและการพึ่งพิงโรงพยาบาลจิตเวช จากนโยบายเดิมที่เคยมุ่ง เน้นน้การรักษาผู้ป่วป่ยในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องยาวนานมาสู่การปฏิรูปให้ ประวัติความเป็นมาและความหมายของจิตวิทยาชุมชน บทที่ 3 พื้น พื้ ฐานของจิตวิทยาชุมชน
ลดเวลาและลดการพึ่งพิงโรงพยาบาล ภายหลังจากการปฏิรูประบบการรักษา ด้านสุขภาพจิต ดังกล่าวโรงพยาบาลด้านจิตเวชได้ปิดตัวและลดขนาดลง เป็นจํานวนมาก เช่น โรงพยาบาลจิตเวชขนาดใหญ่ 1,000 เตียงหลายแห่ง ถูกลดขนาดลงร้อยละ 50-80 ในหลายประเทศ อาทิ เดนมาร์ก อังกฤษ ไอร์แลนด์ อิตาลี สเปน สวีเดน อเมริกาเหนือ และออสเตรเลีย นโยบายการ ลดการพึ่งพิงสถาบัน (Deinstitutionali- zation) หรือโรงพยาบาลด้าน จิตเวชลง สวนทางกับแนวโน้มน้จํานวนผู้ป่วป่ยทางจิตและความต้องการบริการ ด้านจิตเวชที่เพิ่มขึ้น ในปี 1955-2003 ประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วป่ยเข้ารับ การรักษาในสถานบําบัดทาง จิตเวชเพิ่มขึ้นกว่าเดิม 5 เท่า เมื่อโรงพยาบาล ด้านจิตเวชถูกปิดตัวลง จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งต้องพัฒนา รูปแบบบริการ ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วป่ยด้านสุขภาพจิตแนวใหม่ โดยการศึกษาวิจัยของจอร์จ อัลบี (George Albee, 1959 อ้างถึงใน Kloos et al., 2014, p. 5/44)) พบว่า อัตราค่ารักษาพยาบาลด้านจิตเวชและต้นทุน ในการฝึกอบรมนักจิตวิทยา คลินิกมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ผลงานวิจัยของเขา สรุปว่าสังคมไม่สามารถ จัดสรรงบประมาณในการฝึกอบรมบุคลากรเฉพาะทางด้านจิตเวชได้เพียง พอกับการให้บริการผู้ป่วป่ยจํานวนมากที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ จึง ได้มีการพัฒนาแนวทางเลือกใหม่ในการตอบสนองกับความต้องการ บริการ ด้านสุขภาพจิต แนวทางสําคัญที่เขาได้เสนอคือ การมุ่งเน้นน้การป้อป้งกัน มากกว่าการรักษา (Klooset al., 2014, p. 4/44) นอกจากการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายในการลดขนาดและการพึ่งพิง โรงพยาบาลแล้ว ใน ประวัติศาสตร์ของการรักษาผู้ป่วป่ยที่มีอาการรุนแรงใน โรงพยาบาลจิตเวช พบว่า วิธีการรักษายังไม่มี ประสิทธิภาพในการช่วยให้ อาการผู้ป่วป่ยดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการรักษาที่ลดคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษนุย์ ของผู้ป่วป่ยลง ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เป็นยุคของการกักขัง (The Asylum Era) โดยการควบคุมผู้ป่วป่ย ทางจิตที่ผิดปกติไว้ในโรงพยาบาล มีการลงทุน สร้างโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในลอนดอนและปารีสเพื่อรับผู้ ป่วป่ยด้านจิตเวช ไว้รักษาในโรงพยาบาล แม้จะดูเหมือนว่าเป็นระบบของการรักษาที่ดี มีเวลาดู และผู้ป่วป่ย อย่างเต็มที่ ผู้ป่วป่ยทางจิตเวชในโรงพยาบาลมีความอ่อนแอและ เปราะบาง ยิ่งรักษาตัวในโรงพยาบาลนาน มากขึ้น ยิ่งไม่สามารถปรับตัวกับ โลกภายนอกได้ และต้องพึ่งพาผู้อื่นมากขึ้น นอกจากนั้นผู้ป่วป่ยที่ฐานะ
ยากจนเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอาจไม่ได้รับบริการที่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นโรงพยาบาลก็ไม่ต่างจาก สถานที่คุมขัง (Rappaport, 1977, p. 46, Burns, 2004, 3, Nelson et al., 2014, p. 4/28) นักวิชาการที่สําคัญ ฟูโก (Foucault, 1965 อ้างถึงใน Rappaport, 1977, p. 46) กล่าวถึง โรงพยาบาลทางจิตเวชว่าเปรียบเสมือน “โรงงานที่ ผลิตคนบ้า (The Manufacture of Madness)” โดย ใช้โรงพยาบาลทาง จิตเวชในการกักขังผู้ป่วป่ยทางจิต แยกผู้ป่วป่ยจากสังคม การมองผู้ป่วป่ยว่าผิด ปกติ โดย การโยนความผิดไปให้และการให้ความหมายเชิงลบกับผู้ป่วป่ยว่า กระทําบาป เป็นคนบ้า เป็นการตีตรา แบ่งแยกกีดกันผู้ป่วป่ยโดยใช้สถาบัน โรงพยาบาลทางจิตเวชเป็นตัวกําหนด สําหรับประเทศไทยพบใน ประวัติศาสตร์จิตเวชและสุขภาพจิตในประเทศไทยในสมัยโบราณที่เชื่อถือ เทวดา ผีสาง จึงมักรักษาผู้ป่วป่ย โรคจิตด้วยการเฆี่ยนตี ขับไล่ผี สะเดาะ เคราะห์ หรือเชื่อทางด้านไสยศาสตร์โรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรก ของ ประเทศไทย คือ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 ในยุคแรก ไม่ได้มีลักษณะเป็นโรงพยาบาลเหมือนปัจจุบัน มีกา รนําคนเสียจริตจํานวน 30 คนมาฝากรวมกันไว้ โดย ขังไว้ในห้องล็อกกุญแจ ล้อมลูกกรงเหล็กขนาดใหญ่ ผู้ป่วป่ยคลั่งบางคนก็ถูกล่ามโซ่ตรวน ซึ่งภายหลัง ได้ ปรับเปลี่ยนการดูแลผู้ป่วป่ยให้ดีขึ้น (สารานุกนุรมไทยสําหรับเยาวชน, 2551) ภายหลังนโยบายการลดการพึ่งพิงสถาบัน (Deinstitutionalization) ทําให้มีจํานวนผู้ป่วป่ยจิตเวช ที่ออกจากโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น แม้ผู้ป่วป่ยเหล่านี้ จะสิ้นสุดกระบวนการรักษาไปแล้วก็ตาม หากไม่ได้รับบริการ ที่สอดคล้องกับ ความต้องการเพื่อช่วยฟื้นฟูและการปรับตัวของผู้ป่วป่ยในการกลับไปใช้ชีวิต ในชุมชน จะพบ ไม่มีที่อยู่อาศัย ขาดว่าภายหลังจากที่ออกจากโรงพยาบาล แล้ว ผู้ป่วป่ยยังคงประสบปัญหาความยากจน โอกาสในการทํางาน ถูกแบ่ง แยก กีดกันจากสังคม ทําให้รู้สึกว่าเป็นคนที่แปลกประหลาดจากผู้อื่นใน สังคม (Burns, 2004, p. 3, Nelson et al., 2014, p. 4/28)
ปัจจัยหนึ่งที่ทําให้เกิดการพัฒนาสาขาจิตวิทยาชุมชนขึ้นเนื่องจาก ความไม่พึงพอใจต่อบริการในโรงพยาบาลที่มุ่งเน้นน้แต่การรักษา สาขา จิตวิทยาคลินิกเดิมนั้นมุ่งเน้นน้ศึกษาปัญหาสุขภาพจิตด้วยมุมมอง ทางการ แพทย์ ทําให้ขาดการมองถึงปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่ส่งผล ต่อสุขภาพจิตและชีวิต ความเป็นอยู่ของบุคคล ในขณะที่สาขาจิตวิทยา ชุมชนได้ปรับเปลี่ยนมุมมองสู่การมองถึงสังคม ความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความสัมพันธ์เชิงอํานาจที่ไม่เท่าเทียมกัน เช่น การกดขี่ของนายจ้างกับ ลูกจ้าง การ คอรัปชันของผู้มีอํานาจ รวมถึงระบาดวิทยาเชิงสังคม เช่น ช่วงที่ ประเทศเกิดสงครามทําให้ผู้คนเกิดปัญหา สุขภาพจิต ภาวะเศรษฐกิจตก ต่ําทําให้มีแนวโน้มน้การเกิดภาวะซึมเศร้าและอัตราการฆ่าตัวตายสูง ดังนั้น การพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นจะส่งผลให้ประชาชนมี สุขภาพจิต คุณภาพชีวิตและ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น (Duffy & Wong, 1996, pp. 8-9, Angelique and Culley, 2007, pp. 39-40) สาขาจิตวิทยาชุมชน จึงหันมามุ่งเน้นน้เรื่องของการป้อป้งกันและการใช้โปรแกรมแทรกแซง (intervention program) ในชุมชน ในปี ค.ศ. 1963 สภาคองเกรสได้ออกกฎหมายการจัดตั้งศูนย์สุขภาพ จิตชุมชน The Commu nity Mental Health Centers Act และมีการจัด ตั้งศูนย์สุขภาพจิตชุมชน (Community Mental Health Centers (CMHCs)) เพื่อดูแลสุขภาพจิตของคนในพื้นที่ชุมชนต่างๆ ศูนย์สุขภาพจิต ชุมชนนี้จะต่างจาก โรงพยาบาลจิตเวชเดิม โดยให้ความสําคัญกับการดูแล สุขภาพจิตของบุคคลในชุมชน การแทรกแซงช่วย เหลือบุคคลในภาวะ วิกฤติ (Crisis Intervention) การเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้นําชุมชน (Consultation With Community Agencies) ในศูนย์บริการ สถานีตํารวจ และโรงเรียน การพัฒนาโปรแกรมป้อป้งกันและ ส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ในหลายประเทศได้พัฒนาจัดตั้งศูนย์สุขภาพจิตชุมชนเพื่อดูแลผู้ที่มีปัญหา สุขภาพจิตในชุมชน ช่วยให้ผู้ป่วป่ยได้ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวในชุมชน ไม่ ต้องแยกบุคคลมารักษาในโรงพยาบาล ที่อยู่ห่างไกล การจัดตั้งศูนย์สุขภาพ จิตชุมชนจึงถือว่าเป็นกลไกที่นําไปสู่จุดเริ่มต้นของบทบาทหน้าน้ที่นัก จิตวิทยาชุมชนในเวลาต่อมา (Angelique and Culley, 2007, pp. 39-40, Kloos et al., 2014, p. 5/44)
ในช่วงศตวรรษ 1960s นักจิตวิทยาชุมชนได้ถูกฝึกหัดและพัฒนาด้วย แนวคิดด้านจิตวิทยาคลินิก เพื่อไปเป็นนักจิตวิทยาประจําในศูนย์สุขภาพจิต ชุมชน ซึ่งแนวปฏิบัติดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์เณ์ป็นอย่าง ยิ่งว่าเป็นการทํา งานที่ไม่สอดคล้องกับเป้าป้หมาย จูเลียน แรพพะพอร์ท (Julian Rappaport, 1992 อ้าง ถึงใน Nelson et al., 2014, pp. 5-6/28) ได้วิพากษ์ระบบการ รักษาในศูนย์สุขภาพจิตชุมชนว่า เหมือน การสร้างระบบใหม่ที่ตายไปแล้ว (The Death and Resurrection of Community Mental Health) ศูนย์ สุขภาพจิตชุมชนดังกล่าวยังคงมุ่งเน้นน้การรักษา ระบบดังกล่าวไม่ได้สร้าง การเปลี่ยนแปลงแต่ยังคง สถานะบทบาทเดิมโดยเปลี่ยนเพียงแค่สถานที่ใน การรักษาเท่านั้น แรพพะพอร์ทกล่าวว่าระบบดังกล่าวไม่ ได้เสริมสร้างพลังอํา นาจ (Disempower) เสรีภาพ และการฟื้นฟูสุขภาพจิต (Liberation and Recovery) แก่ผู้รับบริการแต่อย่างใด นักจิตวิทยาชุมชนมองว่าแนวทางการ รักษาด้านจิตเวชในชุมชนอย่างเดียวไม่เพียงพอ สําหรับการทํางานพัฒนา สุขภาพจิตของคนในชุมชน นักจิตวิทยาชุมชนยุคใหม่ อาทิ เรส รีเมอร์ พริลเลล เทนสกี้ และมอนเทโร (Reich, Riemer, Prilleltensky & Montero, 2007) เสนอว่าควรพัฒนาระบบ การดูแลสุขภาพจิตของบุคคล ในชุมชนใหม่ โดยการมุ่งเน้นน้การป้อป้งกัน (Prevention) ซึ่งไม่จําเป็นต้องใช้ ผู้ช่วยเหลือที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ (Nonprofessional Helpers) โดยอาจดึงผู้นํา ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องมาช่วย ในการดูแลผู้ป่วป่ย ทําให้ผู้ป่วป่ยไม่รู้สึกว่า ตนเองอยู่ในระบบการรักษา (Deinstitutionalized Patients) และ ใช้หลัก กลุ่มช่วยเหลือกันเอง (Self-help Group) et al., 2014, pp. 5-6/28) จะ เห็นได้ว่าทิศทางการทํางานด้านจิตวิทยาชุมชนให้ความสําคัญกับแนวทาง การป้อป้งกันและส่งเสริมสุขภาพจิตของคนในชุมชนทั้งระดับบุคคลและระดับ ชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สาขาจิตวิทยาชุมชนก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1965 ที่ เมืองสแวมป์สก็อต (Swampscott) รัฐ แมสซาชูเซตส์ (Massachusetts) ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อหาแนวทางการป้อป้งกันและแก้ปัญหาสุขภาพจิต ของ คนในชุมชน มีการชี้ให้เห็นความสําคัญของบริบทชุมชนที่ส่งผลต่อสุขภาพ จิตของบุคคล
การประชุมครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความสําคัญของจิตวิทยาชุมชนที่แตก ต่างจากจิตวิทยาคลินิก สาขาจิตวิทยาชุมชนมี ขอบข่ายกว้างขวางครอบคลุม ถึงบริบทและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต มากกว่ามุ่งเน้นน้ที่ตัวบุคคล ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนมุมมองต่อสุขภาพจิตในมุมแคบให้มีความกว้างขวาง มากขึ้น นักจิตวิทยาชุมชนเอง ยังสามารถเป็นตัวกระตุ้นหรือผู้นําให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ จากจุดเริ่มต้นดังกล่าวทําให้เกิดการก่อตั้งสาขา จิตวิทยาชุมชนขึ้น ในปี ค.ศ. 1967 นักจิตวิทยาชุมชนได้ก่อตั้งสาขาจิตวิทยาชุมชน เป็น สาขาลําดับที่ 27 (Division 27) ของสมาคมนักจิตวิทยาอเมริกา (the American Psychological Association: APA) และได้มี การพัฒนาองค์ ความรู้ทางวิชาการที่หลากหลายและมีการเผยแพร่และนําไปใช้ในหลาก หลายประเทศใน เวลาต่อมา มีการพัฒนาตํารา วารสารความรู้ด้านจิตวิทยา ชุมชน เช่น 1) the Journal of Community Psychology 2) the American Journal of Community Psychology 3) the Journal of Rural Community Psychology ua: 4) the Journal of Community & Applied Social Psychology นอกจากการพัฒนาวารสารองค์ความรู้เฉพาะ ทางของสาขาแล้ว สาขาจิตวิทยาชุมชนยังมีความสัมพันธ์กับ สาขาอื่น เช่น วารสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สุขภาพจิตในชุมชน (Duffy & Wong, 1996, pp. 8-9; Angelique and Culley, 2007, pp. 39-40) โดยสรุป จิตวิทยาชุมชนเป็นสาขาที่พัฒนาแยกมาจากสาขาจิตวิทยา คลินิก ปัจจัยของสภาพ แวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคมที่นําไปสู่การเกิดสาขา จิตวิทยาชุมชนประกอบด้วยหลายปัจจัย ทั้งด้าน งบประมาณที่จํากัดทําให้ไม่ สามารถจัดสรรงบประมาณในการฝึกพัฒนาวิชาชีพเฉพาะทางด้านจิตเวชให้ เพียงพอกับการให้บริการรักษาผู้ป่วป่ยทุกคนในโรงพยาบาลได้ นําไปสู่การ ผลักดันนโยบายการลดการพึ่งพิง สถาบัน (Deinstitutionalization) ใน ส่วนของโรงพยาบาลจิตเวชลง ระบบการบริการในโรงพยาบาลที่ มุ่งเน้นน้แต่ การรักษาเป็นการแยกผู้ป่วป่ยจากชุมชนทําให้ยากต่อการปรับตัวและการ ฟื้นฟูผู้ป่วป่ยกลับสู่สังคม
นอกจากนั้นการจัดตั้งศูนย์สุขภาพจิตชุมชนมีการกระจายในพื้นที่ ต่างๆ ทําให้บทบาทหน้าน้ที่ของนักจิตวิทยาชุมชนเพิ่มขึ้น อีกทั้งการปรับ เปลี่ยนนโยบายด้านสุขภาพจิตที่หันมามุ่งเน้นน้การป้อป้งกันมากกว่าการรักษา โดยคํานึงถึงปัจจัยทางสังคม สิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ส่งผลต่อการมีคุณภาพ ชีวิต ดังนั้นจิตวิทยาชุมชนจึง พัฒนาหลักการทํางานใหม่จากเดิมที่นัก จิตวิทยาคลินิกมุ่งเน้นน้การบําบัดช่วยเหลือในสถาบันหรือโรงพยาบาล มาสู่ การทํางานในชุมชนพื้นที่ต่างๆ มีการขยายขอบข่ายการทํางานด้านจิตวิทยา ชุมชนให้มี ความกว้างขวางมากขึ้น มุ่งเน้นน้การทํางานเชิงรุกในด้านการ ป้อป้งกันและส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพจิต และคุณภาพชีวิตที่ดี 2. ความหมายของจิตวิทยาชุมชน จิตวิทยาชุมชน (Community Psychology) นับเป็นศาสตร์หนึ่งที่ พัฒนาแยกมาจากสาขา นักวิชาการ ได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ จิตวิทยาคลินิก มุ่งเน้นน้การทํางานในบริบทของชุมชน ความหมายของจิตวิทยาชุมชนมีนัก จิตวิทยาชุมชน จํารอง เงินดี (2545, น. 382-383) ให้ความหมายของจิตวิทยาชุมชน ว่าเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับ เอกกัตบุคคล และความสัมพันธ์ของบุคคลกับ ชุมชน โดยมีความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ผ่านทางครอบครัว โรงเรียน วัด หน่วยงานทางการเมือง กฎหมาย ตลาด รวมถึงหน่วยของสังคมและสถาบัน อื่นๆ ในสังคม จึงเห็นได้ว่าจิตวิทยาชุมชนนั้นกว้างขว้างมาก สอดคล้องกับ การที่ชุมชน สังคมและประเทศชาติก็มีการ เติบโตเพิ่มมากขึ้น เบนเน็ท น็ และคณะ (Bennett et al., 1966 อ้างถึงใน Angelique and Culley, 2007, p. 12) ได้ให้ความหมายของจิตวิทยาชุมชนว่าหมายถึง จิตวิทยาที่สร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยการศึกษา วิจัยในบทบาทที่ จะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลง ในฐานะผู้นําการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) นักเคลื่อนไหว ทางทางการเมือง (Political Activists) และผู้ที่สร้างการมี ส่วนร่วมทางความคิด (Participant Concep tualizers)
แรพพะพอร์ท (Rappaport, 1977, p. 1) ให้ความหมายจิตวิทยาชุมชน ว่า เป็นศาสตร์หนึ่งที่ช่วย เหลือผู้ที่ผิดปกติและเบี่ยงเบนจากบรรทัดฐานของ สังคม โดยสนับสนุนนุสิทธิของบุคคลที่แตกต่างจากผู้อื่น โดยที่ไม่ควรจะต้อง ถูกกีดกันจากสังคม ในการเข้าถึงโอกาสและทรัพยากร เฮลเลอร์ และคณะ (Heller et al., 1984 อ้างถึงใน Duffy & Wong, 1996, p. 9) กล่าวถึง จิตวิทยาชุมชนว่าเป็นศาสตร์ที่เกิดขึ้นเพื่อศึกษาปัจจัย ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบระดับบุคคลกลุ่ม องค์กรและสังคม ดัฟฟี่ และวอง (Duffy & Wong, 1996, p. 11) กล่าวถึง จิตวิทยาชุมชน ว่าเป็นศาสตร์ที่มุ่งเน้นน้ศึกษาประเด็นปัญหาทางสังคม สถาบันทางสังคม และบริบทอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อบุคคล กลุ่มคน และองค์กร เป้าป้หมายเพื่อส่ง เสริมความผาสุกของชุมชนและบุคคล ด้วยการสร้างทางเลือกและออกแบบ โครงการ แทรกแซงอย่างมีส่วนร่วมของคนในชุมชน วิชาชีพต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องและสหสาขาวิชาชีพอื่นๆ โคเวน (Cowen, 2001, p. 82) กล่าวว่า หลักการสําคัญของจิตวิทยา ชุมชนเป็นการศึกษาบริบท ในภาพกว้าง โดยมุ่งเน้นน้การสร้างและพัฒนาองค์ ความรู้เพื่อนําไปสู่การมีสุขภาวะทางจิตที่ดี (Psychological Wellness) โดย การศึกษาวิจัยชุมชนเพื่อทําความเข้าใจกระบวนการทางสังคมซึ่งจะนําไปสู่ การส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคลในชุมชน ดาลตัน และคณะ (Dalton et al., 2001, p. 5) ได้ให้ความหมาย จิตวิทยาชุมชนว่าเป็นการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ชุมชนและ สังคมด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อทําความเข้าใจ และหา แนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของบุคคล ชุมชน และสังคมจากความ หมายดังกล่าวข้างต้น ดาลตันและคณะได้ให้ความสําคัญกับความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลกับชุมชนที่มีความซับซ้อน (Multiple Relationships) และ กว้างขวาง ซึ่งกล่าวถึงบุคคลที่อยู่ในโครงสร้างสังคมที่ซับซ้อน ทําให้มีความ สัมพันธ์ กันในหลายระดับ (Multiple Levels) อาทิ เครือข่ายของเพื่อน ญาติ พี่น้อน้ง ครอบครัว ที่ทํางาน โรงเรียน กลุ่มอาสาสมัคร กลุ่มทางศาสนา ผู้นํา ทางจิตวิญญาณในชุมชน เพื่อนบ้านซึ่งมีความหลากหลายทางสังคม และวัฒนธรรม
เนลสัน และพริลเลลเทนสกี้ (Nelson and Prilleltensky, 2005, pp. 4-5) ได้ให้ความหมายของ จิตวิทยาชุมชนว่าเป็นการศึกษาที่นําไปสู่การ เปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งแตกต่างจากจิตวิทยาดั้งเดิมที่ให้ ความสนใจ ศึกษาในระดับบุคคล ในขณะที่จิตวิทยาชุมชนสนใจศึกษาบุคคลในบริบท (People in ทางสังคม ตั้งแต่ระดับย่อย ได้แก่ ครอบครัว จนไปถึงระดับใหญ่ ของโครงสร้างทางสังคม การเข้าใจบริบท รอบด้านทําให้ไม่เกิดการโยน ความผิดไปที่ตัวบุคคล แต่เป็นการหาแนวทางปรับปรุงบริบทให้ดีขึ้น จิตวิทยา ชุมชนยังมุ่งเน้นน้การสร้างความเข้มแข็งของบุคคล (Strengths of People) ให้สามารถปรับตัวในชุมชน และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (Strengths of Communities) ให้เหมาะกับบุคคลด้วย แอนเจลิค และคัลลีย์ (Angelique and Culley, 2007, pp. 37-38) ได้ให้ความหมายของจิตวิทยา ชุมชนว่าเป็นสาขาที่มุ่งเน้นน้การวิจัยและ ปฏิบัติการเพื่อการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีในระดับบุคคล ความ สัมพันธ์ และสังคม นอกจากนั้นจิตวิทยาชุมชนยังทํางานเพื่อลดปัญหาความทุกข์ยาก และการกดขี่ในสังคมด้วย โดยสรุปความหมายของ จิตวิทยาชุมชน (Community Psychology) คือ ศาสตร์ที่ศึกษาทําความ เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลภายใต้บริบทของ ชุมชนและสังคม โดยการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ชุมชน สังคมและ สิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคคล การศึกษาดังกล่าวเพื่อวิเคราะห์ ทําความเข้าใจและหาแนวทางในการป้อป้งกัน ส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต และคุณภาพชีวิตของบุคคลให้ดีขึ้นตลอดจนการ สร้างความเข้มแข็งให้กับ ชุมชน จากความหมายดังกล่าวเห็นได้ว่าจิตวิทยาชุมชนได้ขยายขอบข่ายการ ศึกษาด้านจิตวิทยาจากระดับบุคคลไปสู่การเชื่อมโยงกับบริบทในชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมที่กว้างขวางมากขึ้น การศึกษา วิเคราะห์ระดับบุคคล ความสัมพันธ์ในสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิต ของบุคคลมีขอบข่ายที่กว้าง จําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจ ปรัชญาและหลักการสําคัญด้านจิตวิทยาชุมชนเพื่อ สามารถดําเนินการไปสู่ เป้าป้หมายที่ต้องการได้
จิตวิทยาชุมชนเป็นศาสตร์ที่ประยุกต์ที่มุ่งเน้นน้การช่วยเหลือพัฒนา คุณภาพชีวิตของบุคคล ดังนั้น เป้าป้หมายหลักจึงถือว่าเป็นแนวทางสําคัญที่ จะกําหนดทิศทางการทํางาน การพัฒนาคนในชุมชนจึงต้อง คํานึงถึงบริบท ทางสังคม หน่วยงาน สถาบันต่าง ๆ ที่เข้ามามีอิทธิพลต่อบุคคล การพัฒนา คุณภาพชีวิต และความผาสุกของบุคคล นักจิตวิทยาชุมชนได้มีหลักการและ วางเป้าป้หมายการทํางานด้านจิตวิทยาชุมชน มีดังนี้ (Duffy and Wong, 1996, pp. 9-18, Nelson, et al., 2007, pp. 19-26, Bret et al., 2014, pp. 13-23/44) 1) มุ่งเน้นน้การป้อป้งกันมากกว่าการรักษา (Prevention Rather than Treatment) การป้อป้งกัน ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปรัชญาแรกที่สําคัญขอ งการทํางานด้านจิตวิทยาชุมชน การป้อป้งกันก่อนที่บุคคลจะ เกิดปัญหา สุขภาพจิต นับเป็นการป้อป้งกันการสูญเสียที่สําคัญ เพราะหากเกิดปัญหา สุขภาพจิตเกิดขึ้นแล้ว จะส่งผลกระทบต่อความสามารถของบุคคล ทําให้เกิด ความสูญเสียทรัพยากรบุคคลในสังคม อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อระบบ เศรษฐกิจก่อให้เกิดการสูญเสียงบประมาณและค่าใช้จ่ายในการบําบัดรักษา และฟื้นฟู จํานวนมาก ปัญหาสุขภาพจิตบางอย่างไม่สามารถฟื้นฟูกลับมาได้ เช่นเดิม เช่น โรคจิต โรคจิตประสาทที่ รุนแรง ภาวะสมองเสื่อมจากการเสพ ยาเสพติด เป็นต้น ก่อให้เกิดภาวะความบกพร่องของความสามารถ เกิดขึ้น นักจิตวิทยาชุมชนจึงเป็นผู้ที่ทํางานเชิงรุก (Proactive Role) ในการป้อป้งกัน ปัญหาสุขภาพจิต ในชุมชน (Rappaprt, 1977, pp. 62-66, Duffy and Wong, 1996, pp. 9-18, Felner et al., 2000, pp. 9-11, Dalton et al., 2001, pp. 14-19, Nelson and Prilleltensky, 2005, pp. 34-35, Kloos et al., 2014, pp. 13-23/44) การป้อป้งกันปัญหาในกลุ่มเสี่ยง เช่น การป้อป้งกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่ พึงประสงค์ในวัยรุ่น ที่จะ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อวัยรุ่นและเด็กทารกที่เกิดมา โดยไม่พร้อม โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ที่ ปลอดภัยแก่วัยรุ่น เพื่อป้อป้งกัน การจัดสิ่งแวดล้อมที่ดี การควบคุมสถานบันเทิงเพื่อลด พฤติกรรมเสี่ยง ใน กรณีที่พลาดเกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ มีศูนย์ ให้การปรึกษาคอยช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาให้มีทางเลือกในการตัดสินใจ หลักการทํางานของจิตวิทยาชุมชน
ได้ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนกฎหมายหรือนโยบายสาธารณะเพื่อป้อป้งกัน ปัญหาการ นอกจากการทํางานด้านการป้อป้งกันแล้ว การทํางานด้านส่งสริม สุขภาพ (Health promotion) นับเป็นแนวทางการทําเงินเชิงรุกด้วยการส่ง เสริมและพัฒนาก่อนที่จะเกิดปัญหา ซึ่งส่วนมากแล้วการทํางาน ด้านการ ป้อป้งกันและส่งเสริมสุขภาพ (Prevention and Health Promotion) ของ บุคคลมักจะทํางานควบคู่ กันไป (Dalton et al., 2001, pp. 14-19, Nelson and Prilleltensky, 2005, pp. 34-35, Kloos et al.2014, pp. 13-23/44) 2. เสริมสร้างความเข้มแข็งและศักยภาพของบุคคล (Emphasis on Strengths and Competen- cies) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของบุคคล เป็นการพัฒนาศักยภาพเพื่อให้บุคคลสามารถเผชิญกับปัญหา และปรับตัว ต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุค ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบ ต่อการดําเนินชีวิตของมนุษนุย์ในชีวิตประจําวัน ผู้ที่มีความเข้มแข็งทางด้าน บุคลิกภาพ ทักษะการจัดการกับปัญหา การจัดการกับอารมณ์ การเผชิญกับ ความเครียดช่วยให้สามารถก้าวข้ามผ่านอุปสรรค สามารถปรับตัวในการดํา เนินชีวิตได้ดีขึ้น ในทางตรงข้ามบุคลที่มีความอ่อนแอและเปราะบางทาง จิตใจมีแนวโน้มน้จะมีปัญหาในการปรับตัวและเกิดปัญหาสุขภาพ จิตในกา รดําเนินชีวิตได้ การเสริมสร้างศักยภาพของบุคคลให้มีความเข้มแข็งจึงเป็น เป้าป้หมายที่สําคัญของ การทํางานด้านจิตวิทยาชุมชน (Duffy and Wong, 1996, pp. 9-18) แม้ว่าจิตวิทยาชุมชนจะเน้นน้ศึกษาบุคคล บริบททางสังคมและสิ่ง แวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน อย่างไร ก็ตามเป้าป้หมายหลักที่สําคัญส่วนหนึ่งคือ การพัฒนาบุคคลให้มีศักยภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตมัก มีปัญหาความอ่อนแอในตนเอง การพัฒนาบุคคลให้มีความเข้มแข็งและมี ศักยภาพเพิ่มขึ้นเป็นเรื่องสําคัญ การมีศักยภาพเพิ่มขึ้นในที่นี้มุ่งเน้นน้ความ สามารถของบุคคลในการใช้และควบคุม การเข้า ถึงโอกาส ทรัพยากร และ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบสังคมและสิ่ง แวดล้อม ที่ดีจะช่วยเพิ่มความเข้มแข็งและศักยภาพของบุคคล การที่บุคคล เข้มแข็งและมีศักยภาพนับเป็นการป้อป้งกัน ปัญหาความอ่อนแอและปัญหา
สุขภาพจิตต่างๆ ได้ (Rappaprt, 1977, pp. 126-128, Duffy and Wong,1996, pp. 9-18) การพัฒนาความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถของบุคคล โดยการ เสริมสร้างพัฒนาทักษะ ความรู้ประสบการณ์ทํณ์ ทําให้บุคคลสามารถใช้ ศักยภาพของตนเองได้มากขึ้น เมื่อบุคคลมีศักยภาพและความเข้มแข็งมาก ขึ้นทําให้สามารถควบคุมจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนและสังคมที่ตนเองอยู่ ให้สามารถดําเนินชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข 3. เคารพความแตกต่างและสร้างทางเลือกที่หลากหลาย (Respect for Diversity and Choice among Alternatives) การทํางานด้านจิตวิทยา ชุมชนนั้นการเคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคลของ คนในชุมชนนับ เป็นพื้นฐานสําคัญ เนื่องจากบุคคลในชุมชนนั้นมีความแตกต่างหลากหลาย ทั้งเพศ เชื้อชาติ ศาสนา การเข้าใจความแตกต่างของบุคคลทําให้การปฏิบัติ ต่อบุคคลที่แตกต่างด้วยการให้เกียรติ เคารพ ในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษนุย์ ไม่กีดกันหรือเลือกปฏิบัติ มีความยุติธรรมทางสังคม การเคารพสิทธิของ ความ แตกต่าง ไม่มองความแตกต่างเป็นความแปลกแยกหรือความอ่อนแอ การเข้าใจความแตกต่างทําให้สามารถกระจายจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเท่า เทียมโดยคํานึงถึงความแตกต่างหลากหลายของบุคคล การตระหนัก ถึง ความแตกต่างของวิถีการดําเนินชีวิตของบุคคลทําให้เกิดการยอมรับ ดังนั้น การจัดการทางสังคมจึงควร คํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ทําให้ ระมัดระวังไม่เปรียบเทียบคนกลุ่มน้อน้ยกับคนกลุ่มใหญ่ ไม่มอง การช่วยเห ลือที่คํานึงถึงความต้องการที่หลากหลายของบุคคลกลุ่มต่างๆ ในชุมชน (Duffy and Wong, 1998, pp. 9-18, Dalton et al., 2001, pp. 18-19, Nelson and Prilleltensky, 2005, pp. 37-38) แนวทางในการส่งเสริมให้บุคคลยอมรับความแตกต่างที่หลากหลาย และลดการแบ่งแยกกีดกันผู้ที่ต่างออกไป จําเป็นต้องทําในหลายระดับ ใน ระดับบุคคลเป็นการส่งเสริมให้บุคคลยอมรับในจุดเด่นหรือ เอกลักษณ์ขณ์อง ผู้อื่นที่แตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยให้บุคคลยอมรับผู้อื่นมากขึ้น นอกจากการ ยอมรับความ แตกต่างแล้ว การศึกษาถึงเงื่อนไขหรือค่านิยมของความ สัมพันธ์เชิงอํานาจที่ไม่เท่าเทียมกันทางสังคมและ การเมืองซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่
เบื้องหลังการตีตรา การกีดกันและลดคุณค่าของผู้ที่แตกต่าง อาทิ การมองผู้ อพยพ ชาวโรฮินญาว่าด้อยกว่า การตระหนักถึงค่านิยมดังกล่าวทําให้ไม่ตก อยู่ภายใต้การครอบงําของบุคคลใด บุคคลหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การ ยอมรับความแตกต่างที่หลากหลายและเห็นคุณค่าของเอกลักษณ์ขณ์อง บุคคลที่มีความแตกต่าง ทําให้บุคคลสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่าง สงบสุข (Duffy and Wong, 1996, pp. 9-18, Dalton et al., 2001, pp. 18-19, Nelson and Prilleltensky, 2005, pp. 37-38) การยอมรับความแตกต่างหลากหลายของมนุษนุย์จะเห็นได้ว่าบุคคลมี ความต้องการที่แตกต่างกันดังนั้นบริการทางสังคมที่มีรูปแบบจํากัด ไม่ สามารถตอบสนองกับผู้รับบริการที่มีความแตกต่างหลากหลายได้ การสร้าง ทางเลือกที่หลากหลายของบริการทางสังคมจึงเป็นทางออกให้ผู้รับบริการที่มี ความแตกต่าง ทั้งเพศ อายุ เชื้อชาติ และศาสนา บุคคลสามารถเลือกใช้ บริการได้หลากหลาย การเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการ มีส่วนร่วมในการเลือก และออกแบบบริการที่พวกเขาต้องการ ผู้ให้บริการในชุมชนจึงควรจัดให้มี บริการที่ หลากหลาย การสร้างสรรค์นวัตกรรมในการบริการหลายรูปแบบที่ สะดวกง่ายต่อการรับและเข้าถึงการบริการ ซึ่งเป็นประโยชน์อน์ย่างยิ่งสําหรับ ผู้รับบริการ (Duffy and Wong, 1996, pp. 9-18) อาทิ การรับยา ของผู้ป่วป่ย ทางจิตเวชซึ่งเป็นการรักษาอย่างต่อเนื่อง บางครั้งผู้ป่วป่ยอาจไม่สามารถไปรับ ยาด้วยตนเองที่ โรงพยาบาล การประสานงานไปยังหน่วยบริการสุขภาพจิต ในชุมชน การให้ญาติผู้ป่วป่ยไปรับยาแทน การตรวจเยี่ยมบ้านเพื่อประเมิน และนํายาไปให้อาจมีความจําเป็นสําหรับผู้ป่วป่ยทางจิตเวชหรือผู้ป่วป่ยที่มี ภาวะความบกพร่องทางกาย เป็นต้น การสร้างบริการและทางเลือกของบริการที่หลากหลายเหล่านี้ สิ่งสําคัญ เป็นการมุ่งเน้นน้ ประโยชน์ ของผู้รับบริการให้สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพ กายและสุขภาพจิตในชุมชนได้อย่างสะดวก การมีบริการทางเดียวไม่มีช่อง ทางเลือกอื่น อาจกลายเป็นความยุ่งยากและเป็นปัญหาอุปสรรคทําให้ไม่ สามารถเข้าถึงบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการทางด้านจิตเวชต่างๆ มักจะ เป็นบริการที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาลศูนย์ใน ส่วนกลางของระบบตติยภูมิ ทําให้ เข้าถึงบริการและการช่วยเหลือได้ยาก ปัจจุบันได้มีความพยายามผลักดัน งานจิตเวชชุมชนไปยังศูนย์บริการสาธารณสุขในชุมชนมากขึ้น เพื่อเพิ่มการ
ประเมิน การคัดกรอง การ ตรวจเยี่ยมบ้าน และการบําบัดฟื้นฟูสุขภาพจิต 4. การเสริมสร้างพลังอํานาจ (Empowerment) เป็นแนวคิดหลักขอ งการทํางานจิตวิทยาชุมชน ที่มุ่งเน้นน้กระบวนการในการเพิ่มศักยภาพในตัว บุคคล ผู้ที่ได้รับการเสริมสร้างพลังอํานาจจะรู้สึกว่าตนเอง มีความสามารถใน การควบคุมจัดการชีวิตตนเองได้ตามที่ตนเองต้องการ ร่วมถึงการรู้สึกว่า ตนเองสามารถ มีส่วนร่วมในการควบคุมตัดสินใจเกี่ยวกับชุมชนอีกด้วย (Duffy and Wong, 1996, pp. 9-18) การเสริมสร้างพลังอํานาจของบุคคล ทําให้บุคคลสามารถตอบสนอง ความต้องการและแก้ปัญหา ด้วยตนเอง สามารถใช้และควบคุมทรัพยากรที่ จําเป็นในการดํารงชีวิต มีความรู้สึกว่าตนเองควบคุมชีวิต ความเป็นอยู่ของ ตนเองได้ มีความรู้สึกเชื่อมั่นและมั่นใจในตนเอง การเสริมสร้างพลังอํานาจ เป็นการ ส่งเสริมให้ความสําคัญกับบุคคล ให้มีศักยภาพในการดําเนินชีวิต ปรับเปลี่ยนการรับรู้และความคิดเกี่ยวกับ ความสามารถของตนเอง จนเกิด ความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถจัดการกับปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นได้ รวมถึงสามารถตัดสินใจและนําทรัพยากรที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการแก้ปัญหา ให้ประสบความสําเร็จได้บุคคลที่ได้รับการเสริมสร้างพลังอํานาจจะลดความรู้ สึกไร้อํานาจของตนเองลงไป ทําให้สามารถคิด การตัดสินใจ แสวงหา ทรัพยากรและจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดําเนินชีวิตของตนเองได้ (Duffy and Wong, 1996,pp. 9-18; Zimmerman, 2000, pp. 43-45; Nelson and Prilleltensky, 2005, pp. 36-38) การเสริมสร้างพลังอํานาจของบุคคล ไม่ได้เป็นเพียงการทํางานในระดับ บุคคลเท่านั้น แต่เป็น แนวคิดที่เชื่อมโยงบุคคลเข้ากับชุมชนและสิ่ง แวดล้อม ทําให้บุคคลสามารถมีพลังในการควบคุมจัดการทรัพยากรทาง สังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเพื่อการดําเนินชีวิตอย่างผาสุก การเสริมสร้าง พลังอํานาจ สามารถทําได้หลายระดับด้วยกันทั้งการเสริมสร้างพลังอํานาจใน ระดับบุคคล ชุมชน และองค์กร อาทิ การ เสริมสร้างพลังอํานาจของบุคคลใน การศึกษาปัญหาของชุมชน การหาแนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชน ร่วมกัน การประเมินผลลัพธ์ของการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงของชุมชนที่เกิดขึ้น การ เสริมสร้างพลังอํานาจ ในระดับกลุ่ม เช่น การสร้างกลุ่มช่วยเหลือตนเองใน
การเลิกดื่มสุรา ซึ่งแสดงถึงการเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถ จัดการแก้ไขปัญหา ด้วยตนเองและด้วยความร่วมมือช่วยเหลือกันเองในชุมชน 5. วิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) การศึกษาปัญหาในชุมชน การประเมินบุคคลและชุมชน เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือบุคคลและ ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม แนวทางที่สําคัญคือ การศึกษาอย่างมี ส่วนร่วมและเข้าถึงชุมชน แนวทางดังกล่าวนั้นเรียกว่าการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งมีเป้าป้หมายในการศึกษาบุคคลและชุมชน โดย เฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยของชุมชน สังคมและ สิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการ มีคุณภาพชีวิตและความผาสุกของบุคคล ดังนั้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่าง มีส่วนร่วมของชุมชนจะช่วยให้เข้าใจถึงปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาที่ จะนําไปสู่การดําเนินโครงการ เพื่อป้อป้งกันช่วยเหลือเปลี่ยนแปลงบุคคล ชุมชน สังคม รวมถึงบริการทางสังคมที่จะช่วยในการแก้ปัญหา และพัฒนา ให้บุคคลในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (Duffy and Wong, 1996, pp. 9- 18; Duffy and Wong, 1996, p. 19) นักจิตวิทยาชุมชนเป็นผู้ที่มีบทบาทสําคัญในการชี้ให้เห็นปัญหา นํา เสนอภาพของปัญหา ด้วยวิธี การศึกษาวิจัยและนําผลไปสู่การปฏิบัติอย่าง จริงจัง (Research and Action) การวิจัยจะทําให้เห็นภาพ ของปัญหาและ ผลกระทบที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่และสุขภาพจิตของคนในชุมชน การศึกษา ดังกล่าวเพื่อให้บุคคลและชุมชน รวมถึงหน่วยงานของรัฐและเอกชนต่างๆ ตระหนักถึงปัญหาร่วมกัน นําไปสู่การร่วมมือ ในการแก้ไขและป้อป้งกันไม่ให้ ปัญหาเหล่านั้นลุกลามมากยิ่งขึ้น 6. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) จิตวิทยาชุมชนให้ ความสําคัญกับมุมมองทาง นิเวศวิทยา (Importance of the Ecological Perspective) เป็นมุมมองที่ขอบข่ายการทํางานที่กว้าง มากขึ้น การคํานึงถึง ระบบนิเวศและบริบทโดยรอบของมนุษนุย์ ทําให้มองเห็นถึงเหตุปัจจัยของสิ่ง แวดล้อม ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษนุย์ได้ มุมมองเชิงนิเวศวิทยามีความสําคัญ ต่อการทํางานด้านจิตวิทยาชุมชนจะช่วย ให้เห็นภาพความเชื่อมโยงของ บริบทระหว่างบุคคล สังคมและสิ่งแวดล้อม ความสอดคล้องระหว่างบุคคล กับสิ่งแวดล้อม (Person-Environment Fit) เป็นสิ่งที่นักจิตวิทยาชุมชนให้
ความสําคัญ (Rappaprt, 1977, pp, 2-4) มุมมองเชิงนิเวศวิทยา(Ecological Perspective) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับ รวมถึงการคํานึงถึง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมซึ่งมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน (Duffy and Wong, สิ่งแวดล้อม (สิ่งแวดล้อมทางสังคมและกายภาพ) และการสร้าง จุดสมดุลระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อม 1996, pp. 9-18; Dalton et al., 2001, pp. 9-13, Nelson and Prilleltensky, 2005, pp. 32-34) มนุษนุย์เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศและสังคม การเปลี่ยนแปลงของ ระบบนิเวศและสังคม การพัฒนาและการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและ อุตสาหกรรมส่งผลกระทบทําให้สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ถูกทําลายมาก ขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการดําเนินชีวิตของมนุษนุย์ตามมา เช่น ทําให้เกิดภาวะโลก ร้อน และภัยพิบัติ ทางธรรมชาติเพิ่มขึ้น ดังนั้นการทํางานในชุมชนนั้นนัก จิตวิทยาชุมชนไม่สามารถละเลยบริบทของสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและสิ่ง แวดล้อมได้เลย ซึ่งทรัพยากรต่างๆ ในระบบนิเวศชุมชนสามารถดึงมาใช้ให้ เกิด การหมุนเวียนและเกิดประโยชน์ต่น์ ต่อบุคคลและชุมชนได้ เป้าป้หมา ยการทํางานด้านจิตวิทยาชุมชนอีกส่วนหนึ่ง คือ การสร้างเปลี่ยนแปลงทาง สังคม (Social Change) ที่เอื้อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตชีวิตและความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป้าป้หมายสําคัญของจิตวิทยาชุมชน คือ การเปลี่ยนแปลงปัจจัยทั้ง ระดับบุคคล ชุมชนและสังคม เพื่อนําไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี หลังจาก ศึกษาทําความเข้าใจระบบสังคมและสิ่งแวดล้อมแล้ว การ วิเคราะห์หาสาเหตุ และลงมือดําเนินการปรับปรุงแก้ไข ผลที่ตามมาบางครั้งนําไปสู่การ เปลี่ยนแปลงของ สังคมทั้งตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ อาทิ ปัญหาน้ําท่วมที่ส่งผล ต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคนในชุมชน ในวงกว้าง ช่วงแรก อาจเกิด การเปลี่ยนแปลงทางสังคมแบบไม่มีแบบแผน (Unplanned Social Change) เช่น การบริจาคสิ่งของช่วยเหลือ การอพยพออกจากพื้นที่ ต่อมามี การพัฒนากระบวนการช่วยเหลืออย่าง เป็นระบบมากขึ้น ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมีแบบแผน (Planned Social Change) เพื่อ รองรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต เช่น หน่วยงานบรรเทา สาธารณภัย มีการวางแผนเตรียมการ อพยพ มีการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ อพยพ หน่วยงานสาธารณสุขมีการเตรียมแพทย์และพยาบาลเพื่อช่วยเหลือ
ด้านสุขภาพ หน่วยงานด้านสุขภาพจิตมีการเตรียมการช่วยเหลือทางจิตใจ ในภาวะวิกฤติ เป็นต้น (Duffy and Wong, 1996, pp. 9-18; Nelson and Prilleltensky, 2005, p. 38) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากสังคมที่ไม่เป็นธรรม (Social Justice) ส่งผลให้เกิด ปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจ การกดขี่ในสังคม ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพ จิตของคนใน ชุมชน การทํางานด้านจิตวิทยาชุมชนจึงต้องที่คํานึงถึงระบบสังคมและนิเวศ ของชุมชนจึงสามารถส่งผลนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมในภาพกว้างได้ กา รนําเสนอและสะท้อนภาพของปัญหาช่วย ให้ประชาชนตระหนักรู้ถึงปัญหา ทางสังคมได้มากขึ้น สามารถกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในการช่วยเหลือ เพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เช่น การสะท้อนภาพปัญหาการยอมรับผู้ ป่วป่ยทางจิตเวชที่รักษาจนหาย แล้วกลับคืนสู่สังคม เพื่อกระตุ้นให้ประชาชน และสังคมทั่วไปเกิดความเข้าใจและยอมรับกลุ่มผู้ที่เคยมีภาวะป่วป่ยทางจิต หรือกรณีผู้บกพร่องทางกายที่ต้องใช้รถเข็น หากสิ่งแวดล้อมอาคารสถานที่ ไม่อํานวยกลาย เป็นข้อจํากัดส่งผลให้การใช้ชีวิตในสังคมมีความยุ่งยากลํา บาก การช่วยให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว สามารถกระตุ้นสร้างการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมในการจัดสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตร การมีลิฟต์ การสร้าง ทางลาดซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่บกพร่องทางร่างกายสามารถเข้าถึงบริการและใช้ ชีวิตร่วมกันในสังคมได้ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะช่วยปรับปรุงสิ่ง แวดล้อมที่จะนําไปสู่การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดี ขึ้นได้ (Nelson and Prilleltensky, 2005, p. 38) 7. การสร้างความร่วมมือกับสหสาขาวิชาชีพอื่น (Collabolative with other Disciplines) การทํางานเพื่อช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนใน ชุมชนลําพังโดยนักจิตวิทยาชุมชนเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถพัฒนาเพื่อ สร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในภาพกว้างได้ ดังนั้น การสร้างความร่วม มือกับสหวิชาชีพอื่นๆ ในการทํางานเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นกระบวนการที่สําคัญที่จะนําไปสู่ การเปลี่ยนแปลงชุมชน สังคมและสิ่ง แวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นักจิตวิทยาชุมชนสามารถ ทําหน้าน้ที่ ประสานงาน สร้างความร่วมมือกับวิชาชีพอื่นที่จําเป็นในฐานะผู้นําการ เปลี่ยนแปลง
(Social change agents) เช่น การสร้างความร่วมมือกับ นักประวัติศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์นักนิเวศวิทยา นักพฤกษศาสตร์ นักสังคมวิทยา นัก มานุษนุยวิทยา นักรัฐศาสตร์นักนโยบายและแผนเพื่อสร้างสรรค์มิติใหม่ที่นํา ไปสู่การ เปลี่ยนแปลงสังคมที่ดีขึ้น (Duffy and Wong, 1996, pp. 9-18; Duffy and Wong, 1996, p. 18) การทํางานแก้ไขปัญหาในชุมชนไม่สามารถทํางานได้โดยลําพัง แต่จํา เป็นต้องทํางานประสาน และร่วมมือกับวิชาชีพและหน่วยงานต่างๆ เช่น แพทย์ พยาบาล นักอาชีวอนามัย เจ้าหน้าน้ที่สาธารณสุข นักจิตวิทยา นอกจาก นั้นแล้วการทํางานในชุมชนยังต้องสร้างความร่วมมือกับชุมชนผ่านผู้นํา ชุมชน กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าน้ที่องค์การบริหารส่วนตําบล นักการเมือง ท้องถิ่น และผู้นําที่ชาวบ้านนับถือ เช่น พระภิกษุ การประสานงานและสร้าง ความร่วมมือกันทุกฝ่าฝ่ยจะเป็นประโยชน์อน์ย่างยิ่งในการช่วยเหลือและ พัฒนา สุขภาพกาย สุขภาพจิต และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น ดังเช่น โครงการฟื้นฟูผู้ป่วป่ยกลับ สู่ชุมชนโดยมีผู้นําทางศาสนาคือ พระเจ้าอาวาส ของวัด ประสานงานกับโรงพยาบาลศูนย์จิตเวช ในการรับ ผู้ป่วป่ยที่ญาติไม่ ยอมรับกลับมาพักชั่วคราวที่วัด โดยพระจะช่วยในการกํากับให้ผู้ป่วป่ยทานยา อย่างต่อเนื่องและดูแลตนเอง รวมทั้งการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายโดยการ ให้ผู้ป่วป่ยทํากิจกรรมช่วยเหลืองานในวัด เช่น การเป็นลูกศิษย์พระไปบิณฑ บาตร การกวาดทําความสะอาดวัด การช่วยเหลืองานชุมชนเมื่อมีกิจกรรมที่ วัด ทําให้ผู้ป่วป่ยได้รับการยอมรับจากสังคมมากขึ้น นอกจากนั้นพระยังมีการ เทศนาสอนชาวบ้านเพื่อปรับ เปลี่ยนความคิดให้ยอมรับต่อผู้ป่วป่ยกลับคืนสู่ สังคม กระบวนการดังกล่าวทําให้ผู้ป่วป่ยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถฟื้นฟู ตนเองปรับตัวในสังคมในเวลาต่อมา 8. ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน (a Sense of Community) เป้าป้หมายการทํางานด้าน จิตวิทยาชุมชนเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่าง มั่นคงและยั่งยืนนั้นเกิดจากความต้องการของชุมชนและความร่วมมือของ คนในชุมชน การสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนให้บุคคลรู้สึกเป็นส่วน หนึ่งของชุมชน นับว่ามีความสําคัญอย่างยิ่ง การยอมรับซึ่งกันและกันของ บุคคลในชุมชน ทําให้เกิดพลังของจิตวิญญาณต่อชุมชน (Community
Spirit) ทําให้รู้สึกมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของชุมชนนั้น ซึ่งเป็นความรู้สึกเชิงบวก ที่ บุคคลมีต่อชุมชน ทําให้เกิดความรู้สึกสุขใจในการดําเนินชีวิตในชุมชน ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน (A Sense of Community) เป็นความ รู้สึกที่บุคคลมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับชุมชน มีความรู้สึกเป็น กลุ่มเป็น พวกพ้องกับผู้อื่นในชุมชน ทําให้บุคคลรู้สึกรักหวงแหน อยากดํารงรักษาและ พัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น (Duffy and Wong, 1996, pp. 9-18; Duffy and Wong, 1996, pp. 17-18; Nelson and Prilleltensky,2005, p. 35) การศึกษาเกี่ยวกับความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ มีความรู้สึกดังกล่าวจะให้ ความร่วมมือกับกิจกรรมของชุมชนในรูปแบบ ต่างๆ อาทิ การใช้สิทธิใช้เสียงในการเลือกตั้ง การแสดงความ คิดเห็นต่อการ เปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะในชุมชน การติดต่อประสานงานกับหน่วย งานหรือเจ้าหน้าน้ที่ การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้านในชุมชน ความรู้สึก เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนสามารถพบใน 4 ลักษณะ (Duffy and Wong, 1996, pp. 9-18) ดังนี้ 1) การเป็นสมาชิก เป็นการที่บุคคลรู้สึกว่าตนเองเป็นสมาชิกส่วนหนึ่ง ของชุมชน 2) การมีอิทธิพลต่อชุมชน เป็นการที่บุคคลรู้สึกว่าตนเองสามารถสร้าง ความเปลี่ยนแปลง ให้กับชุมชนได้ เช่น การแสดงความคิดเห็น การเสนอ แนะ การมีสิทธิ์ในการตัดสินใจร่วมกันในชุมชน 3) การตอบสนองความต้องการเป็นการที่สมาชิกในชุมชนรู้สึกว่า ชุมชนสามารถตอบสนอง ความต้องการในการดําเนินชีวิตของตนเองจากทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ มีอยู่ 4) ความผูกพันทางอารมณ์ เป็นการรับรู้ถึงความรู้สึกเชื่อมโยงกับ ชุมชน มีประสบการณ์ ร่วมกับชุมชนมาก่อน สะท้อนจากการที่สมาชิกมีความ รู้สึกร่วมต่อประวัติศาสตร์ของชุมชนในช่วงเวลาต่างๆ รู้สึกผูกพันกับสถานที่ ต่างๆ และมีประสบการณ์ร่ณ์ ร่วมกับเหตุการณ์หณ์รือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใน ชุมชน ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนั้นสามารถเกิดขึ้นกับกลุ่ม องค์กร การศึกษาเกี่ยวกับความรู้สึก เป็นส่วนหนึ่งกับชุมชนจึงสามารถศึกษาได้
หลายระดับ เช่น อาจศึกษาความผูกพันกับเพื่อนบ้าน หรือการ ศึกษาเชิง ปฏิสัมพันธ์ของคนในชุมชน (Duffy and Wong, 1996, pp. 9-18) แนวคิดเกี่ยวกับการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน นอกจากจะหมายถึงค่า นิยมของความห่วงใย ความรู้สึกผูกพัน การสนับสนุนนุช่วยเหลือกันในการ พัฒนาชุมชนและโครงสร้างพื้นฐานของชุมชนแล้ว นักจิตวิทยา ชุมชน อาทิ Gottlieb, 1981, Cohen, Underwood & Gottlieb (2000 อ้างถึงใน Nelson and Prilleltensky, 2005, p. 35) ยังได้ศึกษาความรู้สึกเป็นส่วน หนึ่งของสังคมในแนวคิดของการสนับสนุนนุทางสังคมและการ พัฒนาระบบ สนับสนุนนุทางสังคมในชุมชน แนวคิดยุคใหม่ได้สนใจศึกษาเกี่ยวกับ ศักยภาพของชุมชนและ ทุนทางสังคม (Community Capacity and Social Capital) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และความผาสุก ของบุคคล Putnam (2000 อ้างถึงใน Nelson and Prillelten sky, 2005, p. 35) กล่าวถึง ทุนทางสังคมในชุมชนว่าประกอบด้วย องค์กรและเครือข่าย ในชุมชน การมีจิตสาธารณะและความร่วมมือ ต่อส่วนรวม เอกลักษณ์ขณ์อง ชุมชน บรรทัดฐานของความเชื่อใจ การสนับสนุนนุช่วยเหลือกัน และการ พัฒนาศักยภาพชุมชน ซึ่งทุนทางสังคมจะเป็นส่วนสําคัญในการส่งเสริม ความผาสุกของคนในชุมชน (Nelson and Prilleltensky, 2005, p. 35) โดยสรุป เป้าป้หมายการทํางานของจิตวิทยาชุมชนเป็นแนวทางสําหรับ การปฏิบัติงานจิตวิทยาชุมชนการศึกษาโดยมุ่งเน้นน้การป้อป้งกันมากกว่าการ รักษา การเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของบุคคล การเคารพ ความ แตกต่างและสร้างบริการที่มีทางเลือกหลากหลาย การเสริมสร้างพลังอํานาจ ของบุคคล วิจัยและปฏิบัติการเพื่อพัฒนา การให้ความสําคัญกับระบบนิเวศ และทรัพยากรรอบตัวบุคคลเพื่อการสร้าง เปลี่ยนแปลงระดับชุมชนและ สังคม การสร้างความร่วมมือและทํางานร่วมสหสาขาวิชาชีพอื่น และการสร้าง ความรู้สึกรักและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
แนวคิดพื้นฐานด้านจิตวิทยาชุมชนที่สะท้อนให้เห็นภาพความเชื่อม โยงระหว่างบริบททางสังคม และสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมของ บุคคล ในส่วนนี้จะกล่าวถึง ทฤษฎีสังคมนิเวศ แนวคิดอุปมา นิเวศ และ แนวคิดต้นทุนชีวิต แนวคิดดังกล่าวจะเชื่อมโยงให้เห็นภาพความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลกับบริบท แวดล้อมในชุมชนและสังคม ยูรี บรอนเฟนเบรนเนอร์ (Urie Bronfenbrenner, 1977, pp. 514- 516) ได้พัฒนาแนวคิดทฤษฎี สังคมนิเวศเพื่อทําความเข้าใจถึงความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพัฒนาการและการ เจริญ เติบโตของบุคคล บรอนเฟนเบรนเนอร์ (1994) ได้อธิบายถึงระบบนิเวศที่มี ผลต่อพัฒนาการของมนุษนุย์ เป็น 5 ระบบย่อยซึ่งมีความเชื่อมโยงและซ้อน กันอยู่ ระบบย่อยดังกล่าวจะเป็นระบบที่สนับสนุนนุและส่งเสริม พัฒนาการ และการเจริญเติบโตงอกงามของเด็กได้ ระบบย่อยต่างๆ ที่ซ้อนกันนั้นจะมี ความสัมพันธ์กัน ประกอบด้วย 5 ระบบ คือ ระบบเล็ก (Micro-Systems) ระบบระหว่างกลาง (Meso-Systems) ระบบ ภายนอก (Exo-Systems) ระบบใหญ่ (Macro-Systems) และระบบเวลา (Chrono-Systems) ระบบ แวดล้อมเหล่านี้จะสัมพันธ์และส่งผลต่อบุคคล ในเนื้อหาส่วนนี้จะยกตัวอย่าง นิเวศทางสังคมที่ส่งผลต่อ พัฒนาการและความงอกงามของเด็ก (Bronfenbrenner, 1977, pp. 514-516; 1994, pp. 39-41; Dalton, Elias, Wandersman, 2001, pp. 10-13) ดังภาพที่ 13.1 ทฤษฎีสั ฎี ง สั คมนิเวศ (Social Ecological Theory) ทฤษฎีแ ฎี ละแนวคิดของจิตวิทยาชุมชน บทที่ 4
1. ระบบเล็ก (Micro-System) หรือระบบจุลภาค เป็นสิ่งแวดล้อมที่ ปฏิสัมพันธ์กับเด็กโดยตรง และมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเด็ก เช่น ครอบครัว โรงเรียน เพื่อน บริการทางสุขภาพระบบเล็กเหล่านี้ จะปฏิสัมพันธ์ กับเด็กโดยตรงอย่างใกล้ชิด ระบบเล็กนี้อาจเป็นรูปแบบของกิจกรรมและ ความสัมพันธ์แบบ เห็นหน้าน้ (face-to-face) เช่น พ่อแม่ดูแลลูก ครูอบรม สอนศิษย์ สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ใกล้ชิดกับเด็กนี้ จะมีผลต่อพัฒนาการของ เด็กอย่างมาก ภาพ โมเดลของทฤษฎีสั ฎี ง สั คมนิเวศ
การศึกษาวิจัยด้านจิตวิทยาชุมชนจํานวนมากพบว่าการเปลี่ยนแปลง ของระบบเล็กเหล่านี้ เช่น การย้ายโรงเรียน การแต่งงาน การหย่าร้าง การมี ลูก การตกงาน จะส่งผลกระทบต่อเด็กก่อให้การเกิด ปัญหาสุขภาพจิตและ การปรับตัวของบุคคลได้ นักจิตวิทยาชุมชนจึงพยายามพัฒนาโปรแกรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งของบุคคลให้มีทักษะในการเผชิญและจัดการกับ ปัญหาดังกล่าว 2. ระบบระหว่างกลาง (Meso-System) เป็นระบบที่เชื่อมโยง (Linkage) หรือปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่าง 2 ระบบ เล็กด้วยกัน อาทิ ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับโรงเรียน โรงเรียน ความสัมพันธ์ระหว่าง พ่อแม่กับครูที่ดีจะเป็นระบบสนับสนุนนุเด็กให้พัฒนาอย่างสอดคล้องกัน ครอบครัวกับโรงเรียนจึงควรมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันด้วยการสื่อสารแบบสอง ทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างพ่อแม่กับครูใน การตัดสินใจเกี่ยวกับเด็ก แม้แต่ภายในโรงเรียน เองการเชื่อมโยงระบบการ เรียนของเด็กระดับอนุบานุลกับรุ่นพี่ระดับประถมศึกษาในการช่วยเหลือกัน สร้างกิจกรรมร่วมกันระหว่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้รุ่น พี่ติวหนังสือรุ่นน้อน้ง การสร้าง ระบบเชื่อมโยงที่สนับสนุนนุช่วยเหลือกันจะช่วย ส่งเสริมพัฒนาการที่ดีให้กับเด็กได้ 3. ระบบภายนอก (Exo-System) เป็นระบบที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ ของสองระบบที่ระบบหนึ่ง สัมพันธ์โดยตรงกับเด็ก แต่อีกระบบไม่ได้ สัมพันธ์กับเด็กโดยตรง เช่น เด็กสัมพันธ์โดยตรงกับพ่อแม่ใน ครอบครัว สถานที่ทํางานของพ่อแม่เป็นระบบภายนอกที่ไม่สัมพันธ์กับเด็ก แต่ระบบ การทํางานล่วงเวลาจนค่ําทุกวันจะส่งผลทางอ้อมทําให้พ่อแม่ไม่มีเวลาในการ ดูแลลูก ระบบสังคมแวดล้อมที่แม้ไม่มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงแต่ก็ยังมีอิทธิพลต่อ เด็ก โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งได้รับอิทธิพลจากทางอ้อมจากกลุ่มเพื่อน หรือสื่อมวลชน ส่วนพ่อแม่ก็ได้รับอิทธิพลจากที่ทํางาน เครือข่าย ทางสังคม ของครอบครัว และบริบทของเพื่อนบ้านที่อยู่โดยรอบ ปัจจัยเหล่านี้ย่อมมี ผลกระทบต่อการเลี้ยงดูและพัฒนาการของเด็ก อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
4. ระบบใหญ่ (Macro-System) หรือระบบมหภาคเป็นระบบที่มีองค์ ประกอบที่กว้าง รวมระบบ โครงสร้างของสังคมและระบบวัฒนธรรม เช่น วัข นบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยม องค์ความรู้ วิถีการดําเนินชีวิต ของคนในสังคม รวมถึงกฎหมายและนโยบายของรัฐ หากระบบใหญ่นี้ เปลี่ยนแปลงก็จะ ส่งผลกระทบต่อระบบเล็กในสังคมด้วย เช่น นโยบายการ ศึกษาของภาครัฐที่เปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลกระทบ ต่อการจัดการศึกษาใน โรงเรียน ตัวเด็กและครอบครัวตามไปด้วย 5. ระบบเวลา (Chrono-System) เป็นระบบที่ทําให้เห็นมุมมองของ ช่วงเวลาที่แตกต่างกันที่ส่ง ผลต่อปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในขณะ นั้น ช่วงเวลาที่ต่างกันปัจจัยของสภาพแวดล้อมแต่ละช่วงเวลาก็ต่างกัน ยุค ก่อนกับยุคสมัยใหม่สิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมแตกต่างกันย่อมส่ง ผลต่อพัฒนาการ ของบุคคลต่างกัน เช่น ในยุค พ.ศ. 2530 ในช่วงเวลาขณะ นั้นเทคโนโลยีสื่อสารยังไม่ก้าวหน้าน้ระบบ อินเทอร์เน็ต น็ ยังไม่แพร่หลาย แม้แต่โทรศัพท์มือถือก็มีจํานวนน้อน้ย ต่างกับปัจจุบัน พ.ศ. 2560 ที่มีความ ก้าวหน้าน้ทางเทคโนโลยีมากขึ้นมีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนแพร่หลาย มีระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต น็ ที่รองรับทําให้สามารถโทรศัพท์ติดต่อสื่อสารแบบ สามารถเห็นหน้าน้ระหว่างสนทนาของอีกฝ่าฝ่ยหนึ่งได้ ระบบเวลา อาจมีช่วง เวลาที่สําคัญ เช่น ประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2540 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจตก ต่ําเกิดภาวะวิกฤติ ต้มยํากุ้ง เศรษฐกิจที่แย่ลงส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจใน ครอบครัว บางคนต้องตกงาน บางคนมีภาวะซึมเศร้า ผู้ใหญ่วัยทํางานที่ ประสบปัญหาย่อมส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กในครอบครัว การ ศึกษาทําความ เข้าใจระบบนิเวศจึงต้องคํานึงช่วงระบบเงื่อนไขของเวลาที่ แตกต่างกัน ยุคปัจจุบันนี้กลับพบว่ายิ่งมี เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และ อินเทอร์เน็ต น็ ที่มีความก้าวหน้าน้ทันสมัย เด็กยุคใหม่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ไน์ด้อย่างสะดวก มากขึ้น ทําให้เด็กยุคใหม่มีความคล่องแคล่วด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาก ขึ้น แต่ผลกระทบเชิงลบของยุคสมัยนี้คือพฤติกรรมติดการใช้เครือข่าย สังคมออนไลน์ผ่น์ ผ่านโทรศัพท์มือถือ ทําให้เกิดภาวะ “สังคมก้มหน้าน้” เกิด ปัญหาการติดโซเชียลของสังคมในยุคสมัยใหม่นี้มากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อ ความสัมพันธ์ในทุกระดับของสังคมปัจจุบัน
ระบบซึ่งอยู่รอบๆ ตัวเด็กเหล่านี้ จะมีอิทธิพลต่อกันและกันและส่งผล ต่อเด็ก แนวทางที่จะส่งเสริม พัฒนาการเด็กด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม คือ วิธีการลดอิทธิพลและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่เป็นลบ เช่น การ ลดความ รุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงในโรงเรียน ลดการนําเสนอความรุนแรง ผ่านสื่อ และเพิ่มอิทธิพล ที่เป็นบวกต่อพัฒนาการของเด็กมากขึ้น เช่น พ่อ แม่เพิ่มการเอาใจใส่ลูก โรงเรียนเสริมสร้างกิจกรรม ชุมชน ช่วยดูแลเด็กและ เยาวชน จากแนวคิดนี้เห็นได้ว่าระบบสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ มีผลต่อ พัฒนาการของ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กด้วย จึงควรมีการพัฒนาระบบ สังคมรอบตัวเด็กให้มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน เด็กอย่างมาก การส่ง เสริมพัฒนาการและการช่วยเหลือสนับสนุนนุเด็กนั้นจึงต้องคํานึงถึงปัจจัย ด้านสังคมเป็นปัจจัยที่เอื้ออํานวยต่อการพัฒนาเด็กทั้งระบบให้ดีขึ้นพร้อม กัน สรุปทฤษฎีสังคมนิเวศ (Social Ecological Theory) ของบรอนเฟน เบนเนอร์ ได้อธิบายระบบ นิเวศที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กระบบดัง กล่าวประกอบด้วย ระบบเล็ก คือ ครอบครัว โรงเรียน ระบบ ต่อมา คือ ระบบ ระหว่างกลางเป็นการเชื่อมโยงสองระบบเล็กเข้าด้วยกัน และระบบภายนอก เป็นระบบที่ ไม่ได้ปฏิสัมพันธ์กับเด็กโดยตรงแต่ก็มีอิทธิพลต่อเด็กได้ เช่น หน่วยงานที่ทํางานของพ่อแม่ นอกจากนั้นยังมี ระบบใหญ่ เป็นระบบ โครงสร้างทางสังคม กฎหมาย นโยบายทางสังคมที่มีผลกระทบต่อเด็ก และ ระบบ เวลา เป็นระบบที่สะท้อนภาพการเปรียบเทียบของช่วงเวลาที่ต่างกันจะ มีปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน ระบบ ทั้ง 5 ระบบนี้เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ พัฒนาการและการเจริญเติบโตงอกงามของเด็ก แนวคิดอุปมานิเวศ พัฒนาโดย เจมส์ เคลลี่ (James Kelly, 1966 อ้าง ถึงใน Nelson, and Prilleltensky, 2005, pp. 71-72) ได้ศึกษาวิเคราะห์ ทางนิเวศวิทยาและเปรียบเทียบความคล้ายคลึงทาง ระบบนิเวศเพื่อทําความ เข้าใจพฤติกรรมความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคม แนวคิดของเคลลี่จะแตก ต่างจาก กรอบด้านนิเวศวิทยาที่พัฒนาขึ้นโดย บรอนเฟนเบรนเนอร์ (Bronfenbrenner, 1977) ที่เน้นน้ศึกษาระดับ ของสภาพแวดล้อมที่ส่งผล แนวคิดอุปมานิเวศ
กระทบต่อปัจเจกบุคคล ส่วนเคลลี่ให้ความสําคัญกับความสัมพันธ์ของบุคคล ในชุมชนที่นําไปสู่การสร้างความสมดุลของระบบนิเวศ มนุษนุย์และชุมชน สัมพันธ์กัน แนวคิดนี้เน้นน้การทํา หน้าน้ที่ของบุคคลในระบบนิเวศทางสังคม เคลลี่ได้อธิบายเปรียบเทียบระบบนิเวศกับความสัมพันธ์ของคนใน สังคม ด้วยหลักของนิเวศความสัมพันธ์ในสังคมไว้ 4 รูปแบบ คือ 1) การพึ่งพากัน (Interdependence) 2) วัฏจักรของทรัพยากร (Cycling of Resources) 3) การปรับตัว (Adaptation) และ 4) การสืบทอด (Succession) (Nelson and Prilleltensky, 2005, pp. 71-72) 1. การพึ่งพากัน (Interdependence) ระบบนิเวศทางสังคมของบุคคล ประกอบไปด้วยบุคคล และสิ่งแวดล้อมหลายระดับทั้งระดับบุคคล ความ สัมพันธ์ในสังคม และโครงสร้างสังคม ระบบหรือหน่วยใน สังคมเหล่านี้มี ความสัมพันธ์กัน ซึ่งส่วนสําคัญที่เคลลี่ชี้ให้เห็นคือ ทุกหน่วยของนิเวศใน สังคมมีความสัมพันธ์ กัน (Interconnected) และการพึ่งพาอาศัยกันใน ระบบต่างๆ การเปลี่ยนแปลงส่วนใดย่อมส่งผลกระทบ ต่อระบบนิเวศของ สังคมระบบอื่นด้วย ตัวอย่างเช่น การทํางานของจิตวิทยาชุมชนที่ต้องการลด การพึ่งพิง สถาบัน (Deinstitutionalization) ด้วยการลดขนาดของโรง พยาบาลทางจิตเวช ส่งผลให้ระบบต้องส่งต่อ ผู้ป่วป่ยทางจิตเวชกลับสู่ ครอบครัวและชุมชน หากไม่มีการเตรียมพร้อมของระบบสังคมและชุมชนที่ ดีในการ รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทําให้สิ่งแวดล้อมในครอบครัว ชุมชน และสังคมกลายเป็นสิ่งแวดล้อม ทางลบที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วป่ยทํา ให้อาการแย่ลงได้ เช่น ครอบครัวไม่ยอมรับในตัวผู้ป่วป่ย กีดกัน กักขัง หรือ ปล่อยปละละเลย จนทําให้บางครั้งผู้ป่วป่ยต้องกลายเป็นคนเร่ร่อน หากไม่มี การเตรียมความพร้อมให้ กับชุมชนและสังคมในการยอมรับผู้ป่วป่ย จะทําให้ เกิดอคติ ความรังเกียจ ปฏิเสธผู้ป่วป่ยจากสังคม ยิ่งส่งผล กระทบต่อผู้ป่วป่ย และครอบครัวมากขึ้น ทําให้เกิดความเครียดต่อผู้ป่วป่ย ครอบครัวรู้สึกเป็น ภาระ จึงกล่าว ได้ว่าระบบนิเวศระหว่างบุคคลกับสังคมมีความเชื่อมโยงกัน หากไม่มีการเตรียมพร้อมจัดระบบที่ดี ระบบดังกล่าวอาจเกิดผลด้านลบต่อ บุคคลโดยไม่ตั้งใจ (Nelson and Pillelensky, 2005, p. 71-72, สุรพล พ ยอมแย้ม, 2556, น. 109-112)
แนวคิดดังกล่าวช่วยในการวิเคราะห์ ปัญหาและผลกระทบที่ตามมา จึง ควรคํานึงถึงและเตรียม นโยบายหรือการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เกิดขึ้นใน สถานศึกษาย่อมต้องมีผลกระทบและมีความจําเป็นพร้อมระบบในการรองรับ และจัดการต่อการเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับการดูแลผู้เรียนในระบบการ ศึกษา ต้องเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง การทํางานเพื่อเปลี่ยนแปลง หรือการใช้โปรแกรมบางอย่างให้กับ ผู้เรียนจึงต้องคํานึงถึงผลกระทบต่อ บุคคลรอบข้างที่อาจเกิดขึ้นทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ เช่น ผู้บริหาร ผู้ปกครอง คณาจารย์ เจ้าหน้าน้ที่ เลขานุกนุาร ภารโรง หน่วยพยาบาล คณะกรรมการ โรงเรียน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นย่อมมีผลกระทบต่อระบบโดยรวม การปรับเปลี่ยนระบบที่ดีจึงควรทําความเข้าใจและสร้างความ ร่วมมือกับ หน่วยต่างๆ ในการพัฒนาสร้างสรรค์เชิงบวกให้กับผู้เรียน 2.วัฏจักรของทรัพยากร (Cycling of Resources) การหมุนเวียน ทรัพยากรนั้นหลักสําคัญคือ การระบุการพัฒนา และการจัดสรรทรัพยากรใน ระบบ เนื่องจากแต่ละระบบจะมีทรัพยากรที่จํากัด การรับรู้ และระบุได้ถึง ทรัพยากรที่มีจะเป็นโยชน์ต่น์ ต่อการปฏิบัติงาน และสะท้อนภาพความเป็นไปได้ ของทรัพยากร และโอกาสในการพัฒนา การหมุนเวียนทรัพยากร รวมถึงการ จัดสรรและกระจายทรัพยากรอย่างเหมาะสม ในชุมชน กรณีการลดขนาดโรง พยาบาลและส่งตัวผู้ป่วป่ยกลับสู่ชุมชน จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดสรร และหมุนเวียนทรัพยากรให้พร้อม ทั้งด้านการเตรียมความพร้อมของตัวผู้ ป่วป่ย การให้ข้อมูลการดูแลผู้ป่วป่ย แก่ครอบครัวและเตรียมพร้อมการปรับตัว ของครอบครัว การเตรียมพร้อมเจ้าหน้าน้ที่สาธารณสุขในชุมชน ในการช่วย เหลืออย่างต่อเนื่อง หากขาดการเตรียมพร้อมที่ดีย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ป่วป่ย และผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่เดิมทรัพยากรในระบบจะมองไปที่เจ้าหน้าน้ที่และ บุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรง แต่การทํางานด้านจิตวิทยาชุมชนจะมีมุมมอง ที่กว้างขวาง สามารถดึงทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือทั้งที่เป็น ทางการ และไม่เป็นทางการ ซึ่งประกอบด้วย นักวิชาชีพโดยตรง เจ้าหน้าน้ที่ สนับสนุนนุบุคคลทั่วไป ผู้นําในชุมชน หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ เข้ามาช่วย ในระบบดังกล่าว การหมุนเวียนทรัพยากรในชุมชนนั้นสามารถนํา เอา ทรัพยากรในชุมชนที่เกี่ยวข้องมาเพื่อการช่วยเหลือสนับสนุนนุงานไปสู่เป้าป้หมายได้สําเร็จ (Nelson and Prilleltensky, 2005, pp. 71-72; สุรพล
3. การปรับตัว (Adaptation) การปรับตัวเป็นกระบวนการที่บุคคลและ ระบบจัดการกับปัญหา และปรับตัวเพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งระดับ บุคคลและระดับสังคม ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการปรับตัวนั้น ต้องปรับทั้ง 2 ทาง คือ ตัวบุคคลมีการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันก็สามารถปรับปรุง หรือจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เหมาะสมกับบุคคลได้ด้วยเช่นกัน กรณีผู้ป่วป่ย จิตเวชที่จะกลับไปอยู่ในชุมชน จําเป็นต้อง มีการเตรียมพร้อมสําหรับการ ปรับตัวของผู้ป่วป่ย การพัฒนาทักษะ ความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ขณะเดียวกันครอบครัวก็ต้องปรับตัวเตรียมพร้อมในการดูแลและเข้าใจถึง ภาวะของโรค อาการและ พฤติกรรมของผู้ป่วป่ยด้วย สังคมและชุมชนจําเป็น ต้องปรับตัวเพื่อช่วยสนับสนุนนุผู้ป่วป่ยและครอบครัว การ การสนับสนุนนุด้าน สวัสดิการ สร้างความเข้าใจกับชุมชนให้ยอมรับผู้ป่วป่ยกับเข้าสู่สังคมไม่ตีตรา หรือกีดกัน ด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตของหน่วยงานจะเป็นอีกส่วนหนึ่ง ในการสนับสนุนนุและช่วยในการปรับตัวได้ ดีขึ้น (Nelsonand Prilleltensky, 2005, pp. 71-72; สุรพล พยอมแย้ม, 2556, น. 109-112) การปรับตัวต่อระบบนิเวศสามารถปรับตัวได้ 2 ทาง ดังนี้ 1) การปรับตัวของบุคคล เป็นการปรับตัวเชิงบวกที่บุคคลพยายาม ปรับตัวให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม เมื่อการเกิดปัญหาขึ้นบุคคลเลือกที่จะจัดการ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น การส่งเสริมศักยภาพบุคคล ให้สามารถเผชิญและจัดการ ปัญหาของตนเองได้จึงเป็นส่วนที่ควรให้ความสําคัญ 2) การปรับระบบ เป็นการมุ่งเน้นน้การปรับระบบและโครงสร้างของ ปัญหาเพื่อปรับ สิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับบุคคล ช่วยเด็กให้เผชิญปัญหา เช่น การปรับปรุงนโยบาย ระบบ หรือโครงสร้างทางสังคม การปรับตัวในระบบนิเวศทางสังคม เป็นกระบวนการปรับตัวจากสองทาง โดยที่บุคคลปรับตัวกับ ข้อจํากัดหรือปัญหา ขณะเดียวกันก็สามารถปรับสิ่ง แวดล้อมให้เหมาะสมกับบุคคล ตัวอย่างเช่นในการปรับ ตัวของนักเรียนที่ เข้าเรียนใหม่ในโรงเรียน มีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม โดยการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม หรือพัฒนาทักษะที่จําเป็นในการเรียน และการปรับด้านสิ่ง แวดล้อม โรงเรียนที่เอื้อต่อการปรับตัวของ นักเรียน โดยการปฐมนิเทศ การ จัดกิจกรรมให้ทํางานร่วมกัน การจัดสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและ สังคมสามารถช่วยในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของนักเรียนได้
4. การสืบทอด (Succession) การสืบทอดเป็นการวิเคราะห์ระบบสังคม ที่ยังคงดํารงอยู่นั้นว่าเกิด จากปัจจัยใด มีประวัติความเป็นมาอย่างไรจึงทําให้ เกิดความคิด ความเชื่อ ค่านิยมบางอย่าง การจะเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศใน ชุมชนจําเป็นอย่างยิ่งต้องวิเคราะห์ระบบที่มีมาก่อนหน้าน้ว่าเกิดจากเหตุปัจจัย ใด เมื่อทําความเข้าใจแล้วจะทําให้สามารถวางแผนเพื่อการปรับเปลี่ยนและ สร้างสิ่งแวดล้อมใหม่ที่จะนําไปสู่ การเปลี่ยนแปลงได้ บริบททุกอย่างใน สังคมนั้นมีที่มาจากสร้างโครงสร้างสังคม ทําให้เกิดบรรทัดฐาน ทัศนคติและ นโยบายของชุมชน การจะเปลี่ยนแปลงแทรกแซงใดในชุมชนการรู้ประวัติ ความเป็นมาจะช่วย ให้สามารถเข้าใจว่าเหตุใดระบบปัจจุบันจึงยังคงดํารงอยู่ (Nelson and Prilleltensky, 2005, pp. 71-72 สุรพล พยอมแย้ม, 2556, pp. 109-112) หลักการสืบทอดนี้สามารถนํามาใช้กับครอบครัว องค์กรและ ชุมชน เพื่อศึกษาและทําความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาในระดับต่างๆ ได้ และ สามารถวางแผนเพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือต่อไป กล่าวโดยสรุป แนวคิดอุปมานิเวศ (The Ecological Methaphor) เป็นการเปรียบเทียบให้เห็น หน้าน้ที่ พลัง การหมุนเวียน และความเชื่อมโยง ระดับบุคคล สังคม และระบบนิเวศทางสังคม การจะศึกษา ทําความเข้าใจ บุคคลต้องทําความเข้าใจภายใต้ระบบความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นนี้ ซึ่ง ประกอบไปด้วยหน้าน้ที่ความสัมพันธ์ 4 รูปแบบ คือ การพึ่งพา กัน (Interdependence) มนุษนุย์และระบบนิเวศต่างพึ่งพาอาศัยกัน วัฏจักร ของทรัพยากร (Cycling of Resources) แสดงให้เห็นการหมุนเวียน แลก เปลี่ยนทรัพยากรในสังคม การปรับตัว (Adaptation) เป็นการที่มนุษนุย์ต้อง มีปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนนุบุคคล และการสืบทอด (Succession) ที่อธิบายถึงปัจจัยที่ทําให้ ระบบสังคมเกิดขึ้น หรือยังดํารงอยู่ แนวคิดต้นทุนชีวิตพัฒนาขึ้นโดยจิตแพทย์ชาวไทย นายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี (2551, น. 3) ได้ศึกษาและพัฒนาแนวคิดต้นทุนชีวิตในการอธิบาย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนต้นทุนชีวิต (Life Assets) รวม เอาทั้งทักษะชีวิต และจิตสํานึกทั้งในตัวตนของเด็กและเยาวชน รวมไปถึงสิ่ง แนวคิดต้นทุน ทุ ชีวิ ชีวิ ต
แวดล้อม รอบตัวเด็กและเยาวชนที่มีอิทธิพลต่อการดําเนินชีวิตประกอบด้วย ปัจจัยสร้าง ปัจจัยปกป้อป้ง หรือ คุณลักษณะที่ดีด้านจิตใจ สังคม และ วัฒนธรรม ที่ส่งผลต่อกระบวนการคิด การตัดสินใจและการแสดงออก ในรูป แบบพฤติกรรมต่างๆ การเสริมสร้างต้นทุนชีวิตในเด็กและเยาวชน จะช่วย ให้เด็กและเยาวชน ครอบครัว สังคมและประเทศ มีภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็ง ปกป้อป้งความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาของเด็กและเยาวชน ได้การเสริมสร้าง ต้นทุนชีวิตเด็ก และเยาวชนนี้ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายในตัวเด็กเอง และ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน เพื่อนและชุมชน ซึ่งหากสามารถ เสริมสร้างปัจจัย ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม จะ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาต้นทุน ชีวิตที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน ทําให้เด็กและเยาวชนเติบโตอย่างมีคุณภาพ สามารถดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (สุริยเดว ทรีปาตี, 2551, น. 3, 2554, น. 8) องค์ประกอบของต้นทุนชีวิตเด็กและเยาวชน สุริยเดว ทรีปาตี (2551) ได้ศึกษาและอธิบายถึงปัจจัยที่จะส่งผลให้เด็ก และเยาวชนไทยมีต้นทุน ชีวิตที่ดี โดยได้กล่าวถึงทุนชีวิตมีองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ พลังตัวตน พลังครอบครัว พลังสร้างปัญญา พลังเพื่อนและ กิจกรรม และพลังชุมชน และได้สร้างเป็นแบบประเมินต้นทุนชีวิตฉบับ เยาวชนให้สอดคล้อง กับบริบทวัฒนธรรมไทย (สุริยเดว ทรีปาตี, 2551, น. 5-6; 2554, น. 10-13) ดังนี้ 1. พลังตัวตน เป็นการรวมพลังคุณค่าในตนเอง พลังสร้างศรัทธา และ ความเชื่อมั่นในตนเอง และพลังการสร้างทักษะชีวิตอันได้แก่การอยู่ในสังคม อย่างสันติสุข การช่วยเหลือผู้อื่น การมีจุดยืนที่ชัดเจน รักความยุติธรรม ไม่ แบ่งแยกชนชั้น ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ การมีวินัยในตนเองที่จะไม่ ข้องเกี่ยว กับพฤติกรรมเสี่ยง พลังตัวตนไม่ได้เกิดขึ้นเองตั้งแต่แรกเกิด ทั้งหมด แต่เป็นต้นทุนที่ต้องสร้างเสริมขึ้นมา ในภายหลัง พลังตัวตนจึงเป็น พลังที่มีความสําคัญมากสําหรับคนทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงชีวิตวัยรุ่น พลังตัวตนถือเป็นแกนที่สําคัญและมีความหมายมาก โดยเฉพาะการรู้สึกถึง คุณค่าในตัวเอง ถ้าเด็กรู้สึกว่า ตัวเองมีคุณค่าทําให้เด็กไม่ทําร้ายตนเอง ไม่ คิดสั้น แต่ถ้าพลังด้านอื่น ๆ อ่อนแอ แล้วกระทบต่อคุณค่าใน ตัวเองจะส่งผล ต่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขของบุคคลได้
2. พลังครอบครัว เป็นพลังที่มีอิทธิพลต่อเด็กมากที่สุด พลังครอบครัว เป็นพลังความรัก ความเอาใจใส่วินัยและการมีชีวิตที่เป็นแบบอย่าง มีการ ติดตามและช่วยเหลือที่เหมาะสมเชิงบวก มีปิยวาจา ในบ้าน มีความอบอุ่น และปลอดภัย พลังครอบครัวสําคัญอย่างมากโดยเฉพาะช่วงตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 3 ขวบ เพราะเด็กยังต้องมีชีวิตที่ขึ้นอยู่กับครอบครัว เป็นช่วงของการ หล่อหลอม พลังครอบครัวจึงมีน้ําหนักมากในช่วงนี้ เด็กยิ่งเล็กเท่าไร พลัง ครอบครัวก็จะยิ่งมีความหมายมากเท่านั้น และครอบครัวมีส่วนช่วยสร้าง พลังตัวตนให้เด็กในภายหลังด้วย พลังครอบครัวจะเป็นเหมือนภูมิคุ้มกัน ชีวิต เพราะเมื่อไรที่เด็กนั้น ตกอยู่ในพฤติกรรมเสี่ยงที่รายล้อมรอบตัว ถ้ามี พลังครอบครัวที่เข้มแข็งก็อาจจะช่วยรักษาสมดุลไว้ได้ ทําให้เด็กไม่ออกนอก ลู่นอกทาง 3. พลังสร้างปัญญา เป็นพลังความมุ่งมั่นในการสนับสนุนนุและส่งเสริม ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา รวมทั้ง ภูมิปัญญาท้องถิ่น พลังสร้างปัญญาจะมีความหมายสําคัญมาก ในช่วงวัย เรียนครูจะมีบทบาทสําคัญมากในช่วงนี้ต่อจากพ่อแม่และครอบครัว ซึ่งบาง ครั้งครูอาจมีอิทธิพล มากกว่าพ่อแม่ด้วยซ้ํา เพราะฉะนั้นในช่วงวัยเรียน พ่อ แม่กับครูจึงเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อเด็กแบบตีคู่กัน มา ซึ่งพลังปัญญานี้ก็ จะช่วยหล่อหลอมให้เกิดพลังตัวตนได้ด้วย การพัฒนาผ่านการเรียนการสอน ทั้งใน ห้องเรียน นอกห้องเรียน การเรียนรู้ในระบบและนอกระบบ การเรียนรู้ การสืบต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดีงาม ยังไม่ค่อยเข้มแข็ง เพราะกิจกรรมที่ส่ง เสริมการเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าวยังมีน้อน้ยมาก ส่วนใหญ่ต้องขวนขวาย เรียนรู้ กันเองในบางชุมชน 4. พลังเพื่อนและกิจกรรม เป็นพลังการทํากิจกรรมในหมู่เพื่อนๆ ที่เป็น ประโยชน์ต่น์ ต่อสังคม ชุมชน เกิดวินัยในหมู่เพื่อน เช่น กิจกรรมออกกําลังกาย การเล่นกีฬา ศิลปะ ดนตรีศาสนา และกิจกรรม สันทนาการนอกหลักสูตร วัยรุ่นเป็นวัยที่ให้ความสําคัญกับเรื่องเพื่อนและกิจกรรมเป็นหลัก เป็นวัยที่มี พลัง มาก ศักยภาพสูง มีความอยากรู้อยากลอง อยากออกความคิดเห็น อยากทํากิจกรรมหลายอย่าง และ ชอบทํากิจกรรมกับกลุ่มเพื่อน เพื่อนและ กิจกรรมจึงมีความสําคัญกับวัยรุ่นอย่างมาก ถ้าวัยรุ่นมีเพื่อนและ กิจกรรมไป ในทางที่ดี ก็จะมีผลต่อการสร้างเสริมต้นทุนชีวิตที่ดี แต่ถ้ามีเพื่อนในกลุ่ม
เสี่ยงอาจชักนําไปทํา กิจกรรมที่ไม่ดี จะส่งผลให้เกิดปัญหาในการดําเนินชีวิต ตามมา 5. พลังชุมชน เป็นพลังของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้อ อาทร มีความเข้าใจ มี มิตรไมตรี มีวินัยและเป็นแบบอย่างที่ดี มีปิยวาจา มี จิตอาสา มีความอบอุ่น ความปลอดภัยภายในชุมชน และมีกิจกรรมร่วมกัน ปัจจุบันพลังชุมชนในสังคมไทยค่อนข้างอ่อนแอ โดยเฉพาะเด็กในเขตเมือง มี แนวโน้มน้จะอ่อนแอเรื่องพลังชุมชน สิ่งหนึ่งที่สะท้อนภาพพลังชุมชนได้ ชัดเจน คือ การขาดเรื่องจิตอาสาใน กลุ่มวัยรุ่น การมีจิตอาสาและความเสีย สละต่อส่วนรวมจะทําให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในชุมชนอย่างเป็นสุข แนวทางการสร้างต้นทุนชีวิตให้เด็กและเยาวชน ต้นทุนชีวิตของเด็กแต่ละวัย ทั้งปฐมวัย วัยเรียน และวัยรุ่น แม้ว่าโดย ภาพรวมจะเหมือนกัน แต่ จริงๆ แล้วมีรายละเอียดและจุดเน้นน้ความสําคัญที่ แตกต่างกัน ฉะนั้นการสร้างต้นทุนชีวิตจะต้องให้ครอบคลุม ทั้ง 3 ช่วงวัย ได้แก่ เด็กปฐมวัย เด็กวัยเรียน และวัยรุ่น (สุริยเดว ทรีปาตี, 2551, น. 35- 47; 2553, 2554,น. 19-21) 1. แรกเกิดถึง 6 ขวบ เด็กปฐมวัย เป็นช่วงวัยเด็กเล็กที่มีพ่อแม่ ครอบครัวและศูนย์เด็กปฐมวัย เป็นผู้ดูแลเลี้ยงดูเอาใจใส่ วัยนี้จึงมีสถาบัน ครอบครัวเป็นหัวใจหลักในการสร้างเสริมต้นทุนชีวิต 2. อายุ 6 ขวบถึง 12 ปี วัยเรียน เป็นช่วงวัยที่เด็กเปลี่ยนจากการอยู่ใกล้ ชิดกับครอบครัว เข้าสู่ ระบบการศึกษาในโรงเรียน มีครู มีเพื่อนเพิ่มมากขึ้น เด็กวัยนี้มีสถาบันการศึกษาและครอบครัวเป็นหัวใจ ในการสร้างเสริมต้นทุน ชีวิต 3. อายุ 12 ปีถึง 25 ปี วัยเยาวชน เด็กจะเริ่มห่างจากครอบครัวและติด เพื่อนมากขึ้น เด็กช่วงวัย นี้จะมีกลุ่มเพื่อนและชุมชนเป็นหัวใจในการสร้าง เสริมต้นทุนชีวิต แต่ครอบครัวก็ยังมีบทบาทสําคัญเช่นเดิม การสํารวจต้นทุนชีวิตของเด็กทั้ง 3 ช่วงวัยอย่างสม่ําเสมอ จะทําให้มอง เห็นปัจจัยเสี่ยง และปัจจัย สร้างที่มีในเด็กและเยาวชน และการหาแนวทางใน การส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
สิ่งที่จะช่วยเสริมต้นทุนชีวิตของเด็กและเยาวชน คือ โรงเรียนพ่อแม่ ที่จะให้ พ่อแม่ได้เรียนรู้กัน ตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ในการดูแลจัดการชีวิตการดูแล ตนเอง การรับผิดชอบในบทบาทพ่อแม่ รวมไปถึงการ ดูแลลูกและครอบครัว ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้าง โดยเริ่ม ต้นเรียนรู้“จับถูก” มากกว่า “จับผิด” การมองหาข้อดีของตนเองและผู้อื่น แล้วสะท้อนความรู้สึกที่ดีออกไปตรงๆ กับลูก ภรรยา สามี และคนรอบข้าง แนวทางการสร้างเสริมต้นทุนชีวิตสําหรับครอบครัว การสร้างเสริมต้นทุนชีวิตของเด็กนั้นครอบครัว พ่อแม่ เป็นผู้ที่ใกล้ชิด และมีบทบาทสําคัญในการ สร้างพื้นฐานที่ดีให้กับเด็ก แนวทางช่วยเสริม สร้างต้นทุนชีวิตในครอบครัว (สุริยเดว ทรีปาตี, 2553) ดังนี้ 1. ครอบครัวควรกําหนดเป้าป้หมายของการสร้างเสริมต้นทุนชีวิตที่ดี ร่วมกันระหว่างสมาชิกใน ครอบครัว โดยการวางโปรแกรมต้นทุนชีวิตที่ดี ร่วมกัน แล้วกําหนดตารางวันเวลาสําหรับการลงมือปฏิบัติ ในแต่ละต้นทุน ร่วมกันในครอบครัว อาจนําไปติดไว้ที่ตู้เย็นเพื่อให้สมาชิกทุกคนใน ครอบครัวมองเห็นได้ง่ายเพื่อการนัดหมายและกระตุ้นเตือนให้ทุกคนใน ครอบครัวมาร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรมที่ดีร่วมกัน 2. การวางแผนสู่การปฏิบัติ ครอบครัวร่วมกันสร้างกิจกรรมใน ครอบครัวด้วยกันอย่างน้อน้ยวันละ 15 นาที และในวันหยุดสุดสัปดาห์ การทํา กิจกรรมเชิงบวกที่สร้างสรรค์ร่วมกันเป็นการสร้างเสริมต้นทุน ชีวิตที่ดีให้ เพิ่มขึ้นกับเด็ก 3. นอกจากการทํากิจกรรมแล้ว การดึงเรื่องราวกลับมาวิเคราะห์พูดคุย ยังทําให้เกิดการเรียนรู้และ ความเข้าใจกับเด็ก อีกทั้งยังเป็นตอกย้ําสิ่งที่ดี เข้าไปความคิดของเด็ก พ่อแม่จึงควรกระตุ้นโดยการเล่าเรื่อง ราวดีๆ ที่ ประสบมาร่วมกันเพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเหตุการณ์จณ์ริง 4. พ่อแม่มีบทบาทที่สําคัญในการติดตามดูแล ให้การปรึกษา ช่วยเหลือ ให้เด็กประสบความสําเร็จ ในการเรียน เด็กในวัยเรียนนั้นบทบาทหน้าน้ที่การ เรียนถือว่าเป็นหน้าน้ที่สําคัญของช่วงวัยที่เด็กต้องเรียนรู้ความรับผิดชอบใน หน้าน้ที่การเรียน การอ่านหนังสือ การทําการบ้านและการสอบเพื่อฝึกความรับ ผิดชอบ ในหน้าน้ที่และระเบียบวินัยของเด็ก การเสริมสร้างให้เด็กประสบ ความสําเร็จในการเรียนหรือการทํากิจกรรมในการเรียนยังส่งเสริมให้เด็กมี การเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มมากขึ้น
5. สร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนรู้ร่วมกันภายในครอบครัว พ่อแม่มี บทบาทสําคัญในการสร้างบรรยากาศที่ดีในครอบครัว การเปิดโอกาสให้ลูก ซักถามในเรื่องต่างๆ โดยไม่ดุว่าหรือตําหนิว่าเป็นสิ่งที่ผิด แม้กระทั่งการพูด คุยเรื่องเพศ พ่อแม่ควรพูดคุยอย่างเป็นมิตร สื่อสารให้เด็กให้เด็กเข้าใจตาม ความเหมาะสมของวัย บรรยากาศในครอบครัวเป็นพื้นฐานสําคัญที่ทําให้เด็ก รู้สึกอบอุ่นปลอดภัย สร้างแรงยึดเหนี่ยว 6.สร้างวินัยในบ้านที่ทุกคนสามารถปฏิบัติและยอมรับได้ ครอบครัว เป็นแหล่งสําคัญในการปลูกฝังพื้นฐานลักษณะนิสัยที่ดี การสร้างวินัยในการ ใช้ชีวิตประจําวัน ครอบครัวอาจมอบหน้าน้ที่การทํางานบ้านให้กับเด็กเพื่อให้ เด็กได้เรียนรู้และฝึกฝน บ้านจึงเป็นพื้นฐานที่สําคัญกับเด็กในอนาคต การ สร้างวินัยของ ระเบียบวินัย การรู้บทบาทหน้าน้ที่และการรับผิดชอบในบทบาท ของตนเอง 7. พ่อแม่ควรทําความรู้จักกับคนรอบบ้าน และทําความรู้จักเพื่อนๆ ของ ลูก การศึกษาปัจจัยที่แวดล้อมตัวเด็กทําให้เกิดความเข้าใจและสามารถดึง บุคคลรอบข้างมาร่วมมือในการสร้างสรรค์เด็ก หากมี บุคคลรอบข้างหรือ เพื่อนของเด็กที่มีแนวโน้มน้มีพฤติกรรมเสี่ยง ครอบครัวที่รู้ได้เร็วจะได้เตรียม พร้อม ในการป้อป้งกันอย่างทันท่วงที 8.เข้าร่วมกิจกรรมของลูกตามจังหวะและโอกาสที่เหมาะสม นอกจาก กิจกรรมร่วมกันในครอบครัว แล้ว เด็กอาจต้องการให้พ่อแม่เข้าร่วมกิจกรรม อื่นๆ พ่อแม่ควรหาจังหวะและโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรม 9. ชื่นชม ให้กํา ลังใจในกิจกรรมที่ดีของสมาชิกในครอบครัว การชื่นชมให้กําลังใจเป็นการ ให้แรง เสริม การให้แรงเสริมไม่จําเป็นต้องให้รางวัลชิ้นใหญ่โตราคาสูงกับ ลูก การชื่นชม ให้กําลังใจ เห็นความสําคัญและมองเห็นคุณค่าในพฤติกรรม เชิงบวกของลูกจะกระตุ้นให้พฤติกรรมเชิงบวกนั้นเพิ่มมากขึ้น พ่อแม่จึงควรชื่นชมและเห็นคุณค่าในตัวเด็ก 10. พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในบ้าน นอกจากการสอนแล้วสิ่งสําคัญ มากกว่านั้นคือ การกระทํา ของพ่อแม่ การกระทําของพ่อแม่บางครั้งสําคัญมา กกว่าคําพูด ดังนั้นพ่อแม่จึงพึงระมัดระวังและปฏิบัติตน ให้เป็นแบบอย่างที่ ดีต่อลูก
แนวทางการสร้างเสริมต้นทุนชีวิตสําหรับโรงเรียน โรงเรียนและสถานศึกษานับเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาผู้เรียน ครู มีหน้าน้ที่บทบาทสําคัญในการ สอนและจัดกิจกรรมพัฒนาต้นทุนชีวิตที่ดีให้ กับเด็กได้ (สุริยเดว ทรีปาตี, 2553) ดังนี้ 1. ครูสามารถเป็นผู้ประสานให้เกิดกิจกรรมจิตอาสากับผู้ปกครอง สา มารถดําเนินกิจกรรมโดย การดึงผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมในการทํากิจกรรมที่ ดีร่วมกับเด็ก จะทําให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจกับกิจกรรม แล้วยังกระตุ้นให้ผู้ปกครองมาเป็นแนวร่วมในการสร้างเสริมพฤติกรรมที่ดี ให้กับเด็กต่อเนื่องไปถึงที่บ้านอีกด้วย 2. โรงเรียนและครูสามารถสร้างกิจกรรม การอบรมต่างๆ ที่เป็น ประโยชน์หน์ลังเลิกเรียน เพื่อดึง เด็กนักเรียนมาทํากิจกรรมที่สร้างสรรค์ ไม่ ไปยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม 3. ครูและโรงเรียนนับเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ครูจึงควรมีส่วนร่วมทํา กิจกรรมกับชุมชนและกระตุ้น ให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมในการทํากิจกรรมที่ดี ร่วมกับชุมชน ครูและโรงเรียนยังสามารถอํานวยความสะดวก ให้กับชุมชน และสนับสนุนนุทรัพยากรอื่นที่จําเป็น โดยควรดึงเด็กให้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย 4. อบรมทักษะการสร้างเสริมต้นทุนต่างๆ หรือทักษะการอยู่ร่วมกันใน สังคมให้กับพ่อแม่หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง 5. ครูสามารถตั้งชมรมบําเพ็ญประโยชน์สู่น์ สู่ชุมชนให้กับนักเรียน เพื่อดึง นักเรียนให้หันมาทํา กิจกรรมที่ดี มีความสร้างสรรค์เป็นประโยชน์กัน์ กับผู้อื่น และเป็นประโยชน์กัน์ กับเด็กในการเรียนรู้ถึงพฤติกรรมการบําเพ็ญตนให้เป็น ประโยชน์ต่น์ ต่อชุมชน 6. เปิดโอกาสให้เด็กและยาวชนเป็นผู้นําด้านกิจกรรม นอกจากครูจะ ช่วยสนับสนุนนุแล้ว เสริมสร้างให้เด็กคิดทํากิจกรรมด้วยตนเองเพื่อพัฒนา ศักยภาพการเป็นผู้นํา พัฒนาทักษะที่ดีของเด็ก แนวทางการสร้างเสริมต้นทุนชีวิตสําหรับชุมชน ชุมชนเป็นพื้นที่ทางสังคมที่สัมพันธ์กับเด็กและครอบครัว ชุมชน สามารถการพัฒนาเด็กผ่านกิจกรรมในชุมชนร่วมกับเด็กและครอบครัว แนวทางการสร้างต้นทุนชีวิตเด็กในชุมชน(สุริยเดว ทรีปาตี, 2553) ดังนี้
1. ชุมชนสามารถสร้างและส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์ในชุมชน ร่วมกันเป็นประจํา อาทิกิทิ กิจกรรมทางสังคม กิจกรรมทางศาสนา กิจกรรมที่ส่ง เสริมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม 2. ชุมชนเป็นสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก การที่บุคคลจะต้องดํา เนินชีวิตต่อไป การสร้างมิตรภาพและสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในชุมชน เชิงบวกจะช่วยสร้างสรรบรรยากาศของสังคมให้ดีและส่งเสริมความสัมพันธ์ ที่ดีต่อกัน 3. ชุมชนสามารถส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมระดับเด็ก เยาวชน และ ครอบครัว โดยร่วมมือกับ วัด โรงเรียน และหน่วยงานอื่นๆ 4. ชุมชนและบุคคลในชุมชนสามารถช่วยกันสอดส่องดูแลความ ปลอดภัยในชุมชน เพื่อป้อป้งกัน ปัญหา ชุมชนยังสามารถสอดส่องพฤติกรรม เสี่ยงต่างๆ ในสังคมให้เกิดขึ้น 5. ครอบครัวควรส่งเสริมเด็กให้มีส่วนร่วมกับชุมชนในการเรียนรู้และ แบ่งปันภูมิปัญญาที่ตนเอง มีและสนใจ จากแนวคิดต้นทุนชีวิตสามารถกล่าวโดยสรุปให้เห็นภาพปัจจัยด้าน สังคมและสิ่งแวดล้อมที่มี อิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กด้านร่างกาย จิตใจ การรู้คิด สติปัญญา การเรียนรู้และคุณธรรมจริยธรรม โดยเด็กจะเรียนรู้จาก การปฏิสัมพันธ์กับสังคมและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ แล้วนําข้อมูลเข้าสู่ตัวตนและ พัฒนา ตนเองในด้านต่างๆ ดังนั้นสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีย่อมเป็นปัจจัย พื้นฐานที่ดีต่อการพัฒนาการเจริญเติบโต และงอกงามของเด็กและเยาวชน ต้นทุนชีวิตประกอบด้วยพลังต่างๆ 5 พลัง จําแนกเป็นต้นทุนชีวิตภายใน (Internal Assets) คือ พลังตัวตน และพลังต้นทุนชีวิตภายนอก (External Assets) ประกอบด้วย พลังครอบครัว พลังสร้างปัญญา พลังเพื่อนและ กิจกรรม และพลังชุมชน การสร้างและพัฒนาต้นทุนชีวิตที่ ดีทั้งจากปัจจัย ภายในตัวเด็กและปัจจัยภายนอกที่เอื้อสนับสนุนนุเด็ก จะช่วยสร้างสรรค์สิ่งที่ดี ให้กับเด็ก และ เป็นการเสริมสร้างคุณลักษณะที่ดีด้านจิตใจ สังคม และ วัฒนธรรม กระบวนการคิด การตัดสินใจให้แก่เด็ก และเยาวชน การ เสริม สร้างต้นทุนชีวิตในเด็กและเยาวชน จะช่วยให้เด็กและเยาวชน ครอบครัว สังคม และประเทศ มีภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็ง ปกป้อป้งความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหา ทําให้เด็กและ เยาวชนเติบโตอย่าง มีคุณภาพ สามารถดํารงชีวิตอยู่ ใน สังคมได้อย่างมีความสุข
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2560). จิตวิทยา และวิทยาการการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บรรณานุกรม